มาตรฐานของ Value Investor โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
มาตรฐานของ Value Investor โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
มาตรฐานของ Value Investor
โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผมเป็น Value Investor มานาน และเมื่อมองย้อนหลังกลับไปก็พบว่าความคิดและมุมมองของตนเองเกี่ยวกับธุรกิจและการใช้ชีวิตส่วนตัวโดยเฉพาะทางด้านการเงินเปลี่ยนแปลงไปมาก พูดให้ชัดเจนก็คือ มาตรฐานในการพิจารณาให้เกรดกิจการต่าง ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตรงกันข้าม การใช้เงินและบริโภคส่วนตัวเน้นคุณค่ามากขึ้น เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ เรื่องที่หนีห่างจากมาตรฐานของสังคมออกไป
เหตุผลที่ทำให้ความคิดเปลี่ยนแปลงนี้ผมคิดว่ามาจากการที่ได้เห็น ได้ศึกษา วิเคราะห์กิจการต่าง ๆ มากมาย และได้ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทจำนวนมากโดยอิงหลักการของ Value Investment ซึ่งในระหว่างกระบวนการเหล่านี้มันช่วยสอนให้รู้ว่าหุ้นและบริษัทแบบไหนเป็นของดีซื้อแล้วได้กำไร แบบไหนลงทุนแล้วขาดทุน สอนให้รู้ว่าความเสี่ยงนั้นคืออะไร และสอนให้จิตใจมีความสุขุมมั่นคงในสังคมที่สับสนวุ่นวายและบ่อยครั้งไร้เหตุผลของผู้คนในตลาดหลักทรัพย์
ก่อนที่จะเป็น Value Investor ผมเคยลงทุนในกิจการบางอย่างโดยไม่ได้คิดอะไรอย่างรอบคอบ มองเห็นแต่อนาคตและผลตอบแทนที่สวยหรูจากกิจการที่อยู่ใน ธุรกิจแห่งอนาคต แต่ตัวบริษัทมีองค์ประกอบของความสำเร็จเพียงน้อยนิด โชคดีที่เป็นการลงทุนจำนวนน้อย บทเรียนที่ได้จึง ไม่แพงจนเกินไป
ผมเคยมีหน้าที่การงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการดูผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทต่าง ๆ มากมายเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี ก่อนที่จะเป็น Value Investor นั้น ดูเหมือนว่าเกือบทุกบริษัทก็ดูดีใช้ได้ไปหมด ต่อมาเมื่อเป็น Value Investor ใหม่ ๆ บริษัทเหล่านั้นดูเหมือนว่าจะมีจุดอ่อน หลาย ๆ บริษัทไม่ดีหรือไม่แข็งแรงพอที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ตอนหลังเมื่อกลายเป็น Value Investor ที่มุ่งมั่นและผ่านประสบการณ์มามากขึ้น ผมก็แทบจะหาบริษัทที่ดูดีไม่ได้เลย
ก่อนที่จะเป็น Value Investor ผมเห็นนักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการบริหารงานโดยใช้วิธีการใต้โต๊ะเอาเปรียบคนอื่น รายงานตัวเลขที่ไม่เป็นจริง ตัดสินใจทางธุรกิจอย่างสุ่มเสี่ยงโดยใช้เงินของคนอื่น ทุกสิ่งที่ทำนั้นลึกลับซับซ้อนเหมือนอยู่ในมุมมืดและผมก็ไม่รู้สึกอะไร ผมคิดว่านั่นคือ ธุรกิจ เป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไทย แต่เมื่อเป็น Value Investor แล้ว ผมรู้สึกว่าผมไม่สามารถที่จะรับกับพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใสได้ เพราะฉะนั้นผมจึงระมัดระวังมากที่จะลงทุนในบริษัทที่ผมไม่แน่ใจว่าบริษัทมีบรรษัทภิบาลที่ดีแม้ว่าจะเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากในแง่ของตัวกิจการและราคาหุ้น
ผมมักจะตื่นเต้นเมื่อผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการเสนอแผนการและประมาณการที่สดใสของบริษัทหลังจากที่กิจการเริ่มดีขึ้นมีกำไรอย่างก้าวกระโดดแม้ว่ากำไรจะยังน้อยนิด แต่เมื่อนำไปประกอบกับภาวะของอุตสาหกรรมที่สดใสแล้วดูเหมือนว่าหนทางข้างหน้าของบริษัทจะปูด้วยกลีบกุหลาบ นั่นเป็นความคิดก่อนที่ผมจะเป็น Value Investor เดี๋ยวนี้ผมไม่รู้สึกตื่นเต้นกับบริษัทที่มีประวัติดีย้อนหลังเพียงแค่ ปีที่แล้ว แต่มี อนาคตที่สดใส ยาวมาก มาตรฐานของผมก็คือบริษัทจะต้องดีต่อเนื่องมานานและอนาคตก็จะดีเหมือนเดิมต่อไปอีกนาน
ผมเคยเรียนมาและเขาบอกว่าบริษัทควรมีหนี้เงินกู้บ้าง เพราะการกู้เงินจะทำให้กำไรในส่วนของเจ้าของสูงขึ้นหรือกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น แต่การกู้เงินก็ไม่ควรมากเกินไปเพราะจะทำให้บริษัทมีความเสี่ยงต่อการล้มละลายสูงขึ้น มาตรฐานของเงินกู้ที่พอเหมาะก็คือ เงินกู้ไม่ควรจะมากกว่าส่วนของทุน ในเมืองไทยเองนั้น บริษัทส่วนใหญ่มีหนี้เงินกู้สูงกว่าทุน บางทีสูงกว่า 3- 4 เท่าก็มี ก่อนเป็น Value Investor ผมรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เดี๋ยวนี้ผมเองไม่ได้ดูว่าหนี้ไม่ควรเกินกี่เท่าของทุน แต่ดูว่าหนี้นั้นจะสามารถใช้คืนได้ด้วยกำไรหมดในกี่ปี ถ้าเกิน 3-4 ปีผมก็ไม่สบายใจแล้ว มาตรฐานของผมก็คือ บริษัทไม่ควรมีหนี้เงินกู้เลยยกเว้นธุรกิจบางประเภท สำหรับผมแล้ว บริษัทที่ดีเยี่ยมจริง ๆ ควรมีกำไรและเงินสดมากจนไม่ต้องพึ่งแบงค์
สมัยก่อนเวลาลงทุนซื้อหุ้นถือไว้สักพัก ได้กำไร 10-20% ผมก็รู้สึกว่าหุ้นตัวนั้นเยี่ยม หรือเราคิดถูก หรือซื้อหุ้นถูกเวลา ผมก็มักจะขายไปทำกำไรแล้วหาหุ้นตัวใหม่ที่จะ เล่น ต่อ ผมไม่ค่อยสนใจว่ากำไรของบริษัทจะเป็นอย่างไรแต่สนใจว่าหุ้นตัวนั้นจะมีข่าวอะไรน่าสนใจหรือใครจะมาเล่นหรือตลาดน่าจะดีขึ้นซึ่งจะทำให้หุ้นตัวนั้นวิ่งขึ้นตาม แต่การเป็น Value Investor ทำให้ผมมองแต่หุ้นที่มีความแข็งแกร่ง มีกำไรดี หุ้นมีราคาถูกที่ผมจะซื้อแล้วถือไว้ยาวนานและมองดูราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นเท่าตัวหรือหลาย ๆ เท่าตัว มาตรฐานก็คือ ถ้าซื้อหุ้นแล้วก็ต้องหวังว่าจะต้องทำกำไรเป็นเท่าตัวภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี การขายเมื่อได้กำไรเพียง 10-20% นั้นไม่อยู่ในความคิดเลย
เรื่องส่วนตัวเช่นการซื้อทรัพย์สิน ความสะดวกสบายและฐานะทางสังคมนั้นผมก็รู้สึกว่าเปลี่ยนไปมาก ก่อนการเป็น Value Investor การใช้เงินในหลาย ๆ เรื่องนั้น นอกจากความคุ้มค่าแล้ว ผมก็ยังคิดถึงเรื่องอื่น ๆ อีกหลายอย่างซึ่งไม่เกี่ยวกับคุณค่า ยกตัวอย่างเช่น การซื้อบ้านก็จะอยากได้บ้านที่ใหญ่โตกว่าความจำเป็นมาก ส่วนหนึ่งคงคิดว่าบ้านใหญ่ก็ดูสะดวกสบายหรูหราและเป็นการ ลงทุน อย่างหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้ความคุ้มค่าคือปัจจัยหลักในการเลือกซื้อเกือบทุกอย่างที่เป็นความจำเป็นและความสุขของชีวิต ความหรูหรา ความพึงพอใจ หรือ หน้าตา ก็เป็นคุณค่าอย่างหนึ่งเพียงแต่เป็นเรื่องที่มีน้ำหนักน้อย
สิ่งที่สรุปได้จากประสบการณ์ของผมก็คือ Value Investment นั้นเป็นแนวความคิดหรือปรัชญาที่มีพลังสามารถเปลี่ยนแปลงความนึกคิดของคนปฎิบัติได้ และยิ่งคุณมีความเป็น Value พันธุ์แท้มากขึ้นเท่าไร ความคิดของคุณก็จะเปลี่ยนมากขึ้นเท่านั้น จนบางทีอาจจะทำให้เราแปลกแยกจากสังคมบางครั้งอย่างไม่รู้ตัว ผมเองบอกไม่ได้ว่านี่เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ แต่นี่คือวิถีของ Value Investor ที่มักกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ที่สูงหรือเข้มงวดกว่าคนกลุ่มอื่น
โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ผมเป็น Value Investor มานาน และเมื่อมองย้อนหลังกลับไปก็พบว่าความคิดและมุมมองของตนเองเกี่ยวกับธุรกิจและการใช้ชีวิตส่วนตัวโดยเฉพาะทางด้านการเงินเปลี่ยนแปลงไปมาก พูดให้ชัดเจนก็คือ มาตรฐานในการพิจารณาให้เกรดกิจการต่าง ๆ สูงขึ้นเรื่อย ๆ ตรงกันข้าม การใช้เงินและบริโภคส่วนตัวเน้นคุณค่ามากขึ้น เช่นเดียวกับอีกหลาย ๆ เรื่องที่หนีห่างจากมาตรฐานของสังคมออกไป
เหตุผลที่ทำให้ความคิดเปลี่ยนแปลงนี้ผมคิดว่ามาจากการที่ได้เห็น ได้ศึกษา วิเคราะห์กิจการต่าง ๆ มากมาย และได้ลงทุนซื้อหุ้นในบริษัทจำนวนมากโดยอิงหลักการของ Value Investment ซึ่งในระหว่างกระบวนการเหล่านี้มันช่วยสอนให้รู้ว่าหุ้นและบริษัทแบบไหนเป็นของดีซื้อแล้วได้กำไร แบบไหนลงทุนแล้วขาดทุน สอนให้รู้ว่าความเสี่ยงนั้นคืออะไร และสอนให้จิตใจมีความสุขุมมั่นคงในสังคมที่สับสนวุ่นวายและบ่อยครั้งไร้เหตุผลของผู้คนในตลาดหลักทรัพย์
ก่อนที่จะเป็น Value Investor ผมเคยลงทุนในกิจการบางอย่างโดยไม่ได้คิดอะไรอย่างรอบคอบ มองเห็นแต่อนาคตและผลตอบแทนที่สวยหรูจากกิจการที่อยู่ใน ธุรกิจแห่งอนาคต แต่ตัวบริษัทมีองค์ประกอบของความสำเร็จเพียงน้อยนิด โชคดีที่เป็นการลงทุนจำนวนน้อย บทเรียนที่ได้จึง ไม่แพงจนเกินไป
ผมเคยมีหน้าที่การงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับการดูผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทต่าง ๆ มากมายเป็นเวลานับสิบ ๆ ปี ก่อนที่จะเป็น Value Investor นั้น ดูเหมือนว่าเกือบทุกบริษัทก็ดูดีใช้ได้ไปหมด ต่อมาเมื่อเป็น Value Investor ใหม่ ๆ บริษัทเหล่านั้นดูเหมือนว่าจะมีจุดอ่อน หลาย ๆ บริษัทไม่ดีหรือไม่แข็งแรงพอที่จะเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย ตอนหลังเมื่อกลายเป็น Value Investor ที่มุ่งมั่นและผ่านประสบการณ์มามากขึ้น ผมก็แทบจะหาบริษัทที่ดูดีไม่ได้เลย
ก่อนที่จะเป็น Value Investor ผมเห็นนักธุรกิจหรือเจ้าของกิจการบริหารงานโดยใช้วิธีการใต้โต๊ะเอาเปรียบคนอื่น รายงานตัวเลขที่ไม่เป็นจริง ตัดสินใจทางธุรกิจอย่างสุ่มเสี่ยงโดยใช้เงินของคนอื่น ทุกสิ่งที่ทำนั้นลึกลับซับซ้อนเหมือนอยู่ในมุมมืดและผมก็ไม่รู้สึกอะไร ผมคิดว่านั่นคือ ธุรกิจ เป็นเรื่องธรรมดาในสังคมไทย แต่เมื่อเป็น Value Investor แล้ว ผมรู้สึกว่าผมไม่สามารถที่จะรับกับพฤติกรรมที่ไม่โปร่งใสได้ เพราะฉะนั้นผมจึงระมัดระวังมากที่จะลงทุนในบริษัทที่ผมไม่แน่ใจว่าบริษัทมีบรรษัทภิบาลที่ดีแม้ว่าจะเป็นหุ้นที่น่าสนใจมากในแง่ของตัวกิจการและราคาหุ้น
ผมมักจะตื่นเต้นเมื่อผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการเสนอแผนการและประมาณการที่สดใสของบริษัทหลังจากที่กิจการเริ่มดีขึ้นมีกำไรอย่างก้าวกระโดดแม้ว่ากำไรจะยังน้อยนิด แต่เมื่อนำไปประกอบกับภาวะของอุตสาหกรรมที่สดใสแล้วดูเหมือนว่าหนทางข้างหน้าของบริษัทจะปูด้วยกลีบกุหลาบ นั่นเป็นความคิดก่อนที่ผมจะเป็น Value Investor เดี๋ยวนี้ผมไม่รู้สึกตื่นเต้นกับบริษัทที่มีประวัติดีย้อนหลังเพียงแค่ ปีที่แล้ว แต่มี อนาคตที่สดใส ยาวมาก มาตรฐานของผมก็คือบริษัทจะต้องดีต่อเนื่องมานานและอนาคตก็จะดีเหมือนเดิมต่อไปอีกนาน
ผมเคยเรียนมาและเขาบอกว่าบริษัทควรมีหนี้เงินกู้บ้าง เพราะการกู้เงินจะทำให้กำไรในส่วนของเจ้าของสูงขึ้นหรือกำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น แต่การกู้เงินก็ไม่ควรมากเกินไปเพราะจะทำให้บริษัทมีความเสี่ยงต่อการล้มละลายสูงขึ้น มาตรฐานของเงินกู้ที่พอเหมาะก็คือ เงินกู้ไม่ควรจะมากกว่าส่วนของทุน ในเมืองไทยเองนั้น บริษัทส่วนใหญ่มีหนี้เงินกู้สูงกว่าทุน บางทีสูงกว่า 3- 4 เท่าก็มี ก่อนเป็น Value Investor ผมรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องที่ยอมรับได้ เดี๋ยวนี้ผมเองไม่ได้ดูว่าหนี้ไม่ควรเกินกี่เท่าของทุน แต่ดูว่าหนี้นั้นจะสามารถใช้คืนได้ด้วยกำไรหมดในกี่ปี ถ้าเกิน 3-4 ปีผมก็ไม่สบายใจแล้ว มาตรฐานของผมก็คือ บริษัทไม่ควรมีหนี้เงินกู้เลยยกเว้นธุรกิจบางประเภท สำหรับผมแล้ว บริษัทที่ดีเยี่ยมจริง ๆ ควรมีกำไรและเงินสดมากจนไม่ต้องพึ่งแบงค์
สมัยก่อนเวลาลงทุนซื้อหุ้นถือไว้สักพัก ได้กำไร 10-20% ผมก็รู้สึกว่าหุ้นตัวนั้นเยี่ยม หรือเราคิดถูก หรือซื้อหุ้นถูกเวลา ผมก็มักจะขายไปทำกำไรแล้วหาหุ้นตัวใหม่ที่จะ เล่น ต่อ ผมไม่ค่อยสนใจว่ากำไรของบริษัทจะเป็นอย่างไรแต่สนใจว่าหุ้นตัวนั้นจะมีข่าวอะไรน่าสนใจหรือใครจะมาเล่นหรือตลาดน่าจะดีขึ้นซึ่งจะทำให้หุ้นตัวนั้นวิ่งขึ้นตาม แต่การเป็น Value Investor ทำให้ผมมองแต่หุ้นที่มีความแข็งแกร่ง มีกำไรดี หุ้นมีราคาถูกที่ผมจะซื้อแล้วถือไว้ยาวนานและมองดูราคาหุ้นที่ปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ เป็นเท่าตัวหรือหลาย ๆ เท่าตัว มาตรฐานก็คือ ถ้าซื้อหุ้นแล้วก็ต้องหวังว่าจะต้องทำกำไรเป็นเท่าตัวภายในเวลาไม่เกิน 5 ปี การขายเมื่อได้กำไรเพียง 10-20% นั้นไม่อยู่ในความคิดเลย
เรื่องส่วนตัวเช่นการซื้อทรัพย์สิน ความสะดวกสบายและฐานะทางสังคมนั้นผมก็รู้สึกว่าเปลี่ยนไปมาก ก่อนการเป็น Value Investor การใช้เงินในหลาย ๆ เรื่องนั้น นอกจากความคุ้มค่าแล้ว ผมก็ยังคิดถึงเรื่องอื่น ๆ อีกหลายอย่างซึ่งไม่เกี่ยวกับคุณค่า ยกตัวอย่างเช่น การซื้อบ้านก็จะอยากได้บ้านที่ใหญ่โตกว่าความจำเป็นมาก ส่วนหนึ่งคงคิดว่าบ้านใหญ่ก็ดูสะดวกสบายหรูหราและเป็นการ ลงทุน อย่างหนึ่ง แต่เดี๋ยวนี้ความคุ้มค่าคือปัจจัยหลักในการเลือกซื้อเกือบทุกอย่างที่เป็นความจำเป็นและความสุขของชีวิต ความหรูหรา ความพึงพอใจ หรือ หน้าตา ก็เป็นคุณค่าอย่างหนึ่งเพียงแต่เป็นเรื่องที่มีน้ำหนักน้อย
สิ่งที่สรุปได้จากประสบการณ์ของผมก็คือ Value Investment นั้นเป็นแนวความคิดหรือปรัชญาที่มีพลังสามารถเปลี่ยนแปลงความนึกคิดของคนปฎิบัติได้ และยิ่งคุณมีความเป็น Value พันธุ์แท้มากขึ้นเท่าไร ความคิดของคุณก็จะเปลี่ยนมากขึ้นเท่านั้น จนบางทีอาจจะทำให้เราแปลกแยกจากสังคมบางครั้งอย่างไม่รู้ตัว ผมเองบอกไม่ได้ว่านี่เป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ แต่นี่คือวิถีของ Value Investor ที่มักกำหนดมาตรฐานต่าง ๆ ที่สูงหรือเข้มงวดกว่าคนกลุ่มอื่น
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 6447
- ผู้ติดตาม: 0
มาตรฐานของ Value Investor โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 2
เห็นด้วยครับ
ผมพบเห็นการลงทุนที่ล้มเหลวหลายครั้ง พบเจอการเงินของคนรอบข้าง
คนที่มีเงินเดือนสูงกว่าที่ผมเคยได้ 3-4 เท่า กลับต้องมาขอเงินคนเงินเดือนแค่หมื่นใช้ ชีวิตมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือเพราะสังคมในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุ ให้ต้องซื้อมาสร้าง ความโก้เก๋(จอมปลอม)ขึ้นมา ผมนึกถึงบางคน มองไม่ออกจริงๆ ว่าเมื่อเวลาผ่านไป พวกเค้าจะเป็นอยู่อย่างไร...
นึกถึงตัวเองนับว่าโชคดีมาก ที่ได้เจอกับการลงทุนแนวนี้ ยิ่งได้ศึกษา ทดลอง พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ก็เริ่มเข้าใจเพิ่มขึ้นทุกวัน
หวังว่าสักวันคงเป็น value โดยจิตวิญญานครับ
ผมพบเห็นการลงทุนที่ล้มเหลวหลายครั้ง พบเจอการเงินของคนรอบข้าง
คนที่มีเงินเดือนสูงกว่าที่ผมเคยได้ 3-4 เท่า กลับต้องมาขอเงินคนเงินเดือนแค่หมื่นใช้ ชีวิตมันเป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือเพราะสังคมในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุ ให้ต้องซื้อมาสร้าง ความโก้เก๋(จอมปลอม)ขึ้นมา ผมนึกถึงบางคน มองไม่ออกจริงๆ ว่าเมื่อเวลาผ่านไป พวกเค้าจะเป็นอยู่อย่างไร...
นึกถึงตัวเองนับว่าโชคดีมาก ที่ได้เจอกับการลงทุนแนวนี้ ยิ่งได้ศึกษา ทดลอง พูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ก็เริ่มเข้าใจเพิ่มขึ้นทุกวัน
หวังว่าสักวันคงเป็น value โดยจิตวิญญานครับ
การลงทุนคืออาหารอร่อยที่สุดเมื่อเย็นดีแล้ว
- yoyo
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4833
- ผู้ติดตาม: 0
มาตรฐานของ Value Investor โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
เป็นบทความที่ดีที่สุดของดร.ในรอบ 56 สัปดาห์เลยครับ
ตรงใจทุกประการเลย
มาตราฐาน VI ไม่ได้มาตราชายใด
มาตราฐาน VI ไม่ได้มาตราชายใด
--จาก VIT-Academy--
ตรงใจทุกประการเลย
มาตราฐาน VI ไม่ได้มาตราชายใด
มาตราฐาน VI ไม่ได้มาตราชายใด
--จาก VIT-Academy--
แก้ไขล่าสุดโดย yoyo เมื่อ อังคาร ก.พ. 22, 2005 3:35 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
-
- Verified User
- โพสต์: 4596
- ผู้ติดตาม: 0
มาตรฐานของ Value Investor โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
เยี่ยมครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1011
- ผู้ติดตาม: 0
มาตรฐานของ Value Investor โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 9
สวัสดีครับ พี่ปรัชญา
หวังว่าพี่สบายดีพร้อมยิ้มรับเงินปันผลในช่วงนี้นะครับ
ผมชอบอ่านบทความของท่าน ดร.นิเวศน์ ได้ข้อคิดในการลงทุนดีครับ
เห็นด้วยกับน้อง yoyo ครับว่า เรื่องนี้เป็น one of the best เลยครับ
ตอนนี้คุณ CK จัดหมวดหมู่หน้าแรกให้ดูหน้าอ่านขึ้นเยอะเลยครับ
TVI แห่งนี้ นับวันคุณภาพยิ่งคับแก้วครับ พี่ว่าไหมครับ
หวังว่าพี่สบายดีพร้อมยิ้มรับเงินปันผลในช่วงนี้นะครับ
ผมชอบอ่านบทความของท่าน ดร.นิเวศน์ ได้ข้อคิดในการลงทุนดีครับ
เห็นด้วยกับน้อง yoyo ครับว่า เรื่องนี้เป็น one of the best เลยครับ
ตอนนี้คุณ CK จัดหมวดหมู่หน้าแรกให้ดูหน้าอ่านขึ้นเยอะเลยครับ
TVI แห่งนี้ นับวันคุณภาพยิ่งคับแก้วครับ พี่ว่าไหมครับ
- ปรัชญา
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 18252
- ผู้ติดตาม: 0
มาตรฐานของ Value Investor โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 10
สบายดีครับคุณธันวาthanwa เขียน:สวัสดีครับ พี่ปรัชญา
หวังว่าพี่สบายดีพร้อมยิ้มรับเงินปันผลในช่วงนี้นะครับ
ผมชอบอ่านบทความของท่าน ดร.นิเวศน์ ได้ข้อคิดในการลงทุนดีครับ
เห็นด้วยกับน้อง yoyo ครับว่า เรื่องนี้เป็น one of the best เลยครับ
ตอนนี้คุณ CK จัดหมวดหมู่หน้าแรกให้ดูหน้าอ่านขึ้นเยอะเลยครับ
TVI แห่งนี้ นับวันคุณภาพยิ่งคับแก้วครับ พี่ว่าไหมครับ
ก้ยังคงถือหุ้นเท่าเดิมครับ สำหรับบริษัทโฆษณา
มีพี่หมอประจวบ ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันครับ
ปันผลก็คงพอกินใช้ทั้งปีครับ
ขอบคุณ คุณธันวาที่นำบทความของ ดร.นิเวศน์ มาลงทุกครั้ง
จะได้สร้างหลักความคิด หลักการลงทุน
จะได้ไม่สะเบะ สะปะ ตามคนนั้นคนนี้ซื้อหุ้น
ยิ่งหนังสือเล่มล่าสุด ที่ท่าน ดร.นิเวศน์ แปล
ผมว่าสร้างนักลงทุนดีกว่าทุกเล่มที่ท่านเขียน
ผมซื้อเป็นโหลเลย แจกคนรู้จักจะได้อ่านกัน
ถ้าให้ชม
ยอดเยี่ยมที่สุดเลยครับหนังสือ ที่เกี่ยวกับชีวิตปีเตอร์ลินซ์
ถึงจะร่ำรวยไม่เท่ากับ วอเรน แต่อ่านแล้วทำได้
วอเรน เล่นหุ้นโดยมีเงินกองทุน+บริษัทประกันเสริม
ทุนจึงมากไม่มีข้อจำกัด ซื้อหุ้นที่มีผลประกอบการดี...
หนังสือเล่มนี้
สอนวิธีหาหุ้น ที่ผมใช้ได้ผลตามสไตล์
คือมีเงินน้อย แต่ซื้อหุ้นแบบในหนังสือ
ตอนหุ้นที่คนไม่สนใจ พอบริษัทฟื้นทำกำไร
หุ้นก็วิ่งขึ้นพร้อมเปลี่ยนพื้นฐาน เอาเงินต่อเงิน
ใช้เงินไปทำงาน บริหารเงิน นานวันเงินก็ยิ่งงอกเงย
ท่าน ดร.นิเวศน์ เป็นผู้รอบรู้ที่สุดในเมืองไทย (ผมคิดแบบนี้ครับ)
-
- Verified User
- โพสต์: 109
- ผู้ติดตาม: 0
มาตรฐานของ Value Investor โดย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
บทความของ ดร.นิเวศ ก็ยังแฝงความรู้และปรัชญาชีวิตที่สามรถนำไปใช้ในการลงทุนและใช้ในชีวิตประจำวันได้ ส่วนตัวผมเองจะสะสม หนังสือของ ดร.ทุกเล่ม แล้วยังแนะนำให้คนที่ผมรักได้นำไปศึกษาบ้าง ขอให้ ดร.เขียนบทความที่ดีเหล่านี้มาให้พวกเราอ่านเยาอะๆนะครับ ขอบคุณครับ