ก่อนอื่น ขอความกรุณาพ่อ Mod ทั้งหลายอย่าเพิ่งย้ายไปห้อง 100คน 100เล่ม
ทั้งๆที่จริงๆเนื้อหาส่วนใหญ่ก็มาจากหนังสือเล่มหนึ่งที่เพิ่งย่อยจบคือ
A Class with Drucker โดยศิษย์เอก William A. Cohen, PhD
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
Bill Cohen ผู้เขียนและถ่ายทอดความทรงจำของตนกับคุณปู่ Drucker
เป็นศิษย์ปริญญาเอกรุ่นแรกของ Claremont Graduate School
ใช้ชีวิตในชั้นเรียนที่นี่ระหว่างปี 1975-1979 (พ.ศ. 2518-2522 )
ความสัมพันธ์ของบุคคลทั้งคู่ แม้จะไม่ลึกซึ้งถึงขนาด Mitch Albom กับคุณครู Morrie
ในหนังสือและหนังเรื่อ'ซึ้งเศร้า Tuesdays with Morrie
( ได้ดูกันหรือเปล่าเอ่ย ประโยคสำคัญที่พอจำได้
Once you know how to die, you know how to live)
แต่ Bill ก็คงสถานภาพศิษย์-ครู Mentor จวบจนวาระสุดท้ายของฝ่ายหลัง
ก่อนจะเข้าชั้นเรียนปริญญาเอกที่ Harper Hall อันเก่าแก่ (ดังรูป)
มาทำความรู้จักโรงเรียนธุรกิจของเราสักเล็กน้อย
Claremont Graduate School เป็น Business School
ภายใต้ Claremont Colleges แห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
อันมีคุณปู่ Peter Drucker ผู้ตัดสินใจมุ่งตะวันตกมาบุกเบิกตำนานเป็นปรมาจารย์ เมื่อปี 1971
อายุอานามขณะนั้นก็ประมาณ 60 ปีกว่าๆ
วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นโรงเรียนบริหารธุรกิจสำหรับคนทำงาน (Practicing Manager)
อำนวยการสอนหลักสูตร MBA Executive MBA และต่อมาขยายถึงระดับ PhD
ซึ่ง Bill Cohen เป็นหนูเอ๊ยศิษย์ทดลองรุ่นแรก
Claremont Graduate School ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น Peter F. Drucker and Masatoshi Ito Graduate School ในปี 1987
เพื่อยกย่องและให้เกียรติผู้บุกเบิกหลักสูตรคือคุณปู่ Drucker
และ Mr. Ito ผู้ให้เงินทุนสนับสนุนก่อตั้งแต่แรกเริ่ม
แน่นอน การเปลี่ยนชื่อก็ย่อมมีกุศโลบายเพื่อเรียกความสนใจจากตลาดการศึกษาด้วย
ไหนๆโปรเฟสเซอร์ชื่อดังสอนสถิตที่นี่(และคิดว่าคงจะไม่ไปไหนอีกแล้ว)
ไฉนเลยจะไม่เอามาเป็นจุดขาย
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
และที่รับไม่ได้ในแวดวง Academic คุณปู่ไม่เคยเขียน Text Book เป็นเรื่องเป็นราวเลย
หนังสือที่คุณปู่เขียนคือ Trade Book ซึ่งใครๆก็เขียนดาษดื่น
วางแผงขึ้นชั้นเป็นหนังสือขายดีอาทิตย์เดียวก็โยนทิ้งแล้ว
อา.แต่พวกเขาคาดผิด หนังสือ Trade Book ของคุณปู่หลายเล่ม
กลายเป็น หนังสืออมตะนิรันดร์กาล ต้องตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก
สร้างความร่ำรวยให้แก่สำนักพิมพ์และผู้เขียนโดยไม่ต้องง้อชื่อเสียงของ มหาวิทยาลัยมารับรอง
ไหนๆว่าผลงานของคุณปู่เป็นเพียงแค่ Trade Book หนังสืออ่านเล่นๆ
มาดูซิว่า คุณปู่รังสรรค์ผลงานอ่านเล่นมากมายแค่ไหน
มีทั้งภาษาเยอรมันและอังกฤษ หลายเล่มได้รับการแนะนำให้อ่านนอกเวลา
บทความหลายชิ้นถูกตีพิมพ์ซ้ำในวารสารเล่มดัง อย่าง Harvard Business Review
ภายหลังที่คุณปู่ได้ฝ่าด่านอรหันต์มายืนตระหง่านบน Hall of Frame ของนักปรัชญาธุรกิจของโลก
Friedrich Julius Stahl: konservative Staatslehre und geschichtliche Entwicklung (1932)
The End of Economic Man: The Origins of Totalitarianism (1939) Google Booksearch Preview
The Future of Industrial Man (1942)
Concept of the Corporation (1945) (A study of General Motors)
The New Society (1950)
The Practice of Management (1954)
America's Next 20 Years (1957)
Landmarks of Tomorrow: A Report on the New 'Post-Modern' World (1959)
Power and Democracy in America (1961)
Managing for Results: Economic Tasks and Risk-Taking Decisions (1964)
The Effective Executive (1966)
The Age of Discontinuity (1968)
Technology, Management and Society (1970)
Men, Ideas and Politics (1971)
Management: Tasks, Responsibilities and Practices (1973)
The Unseen Revolution: How Pension Fund Socialism Came to America (1976)
An Introductory View of Management (1977)
Adventures of a Bystander (1979) (Autobiography)
Song of the Brush: Japanese Painting from the Sanso Collection (1979)
Managing in Turbulent Times (1980)
Toward the Next Economics and Other Essays (1981)
The Changing World of the Executive (1982)
The Temptation to Do Good (1984)
Innovation and Entrepreneurship: Practice and Principles (1985)
The Discipline of Innovation, Harvard Business Review, 1985
The Frontiers of Management (1986)
The New Realities (1989)
Managing the Non-Profit Organization: Practices and Principles (1990)
Managing for the Future: The 1990s and Beyond (1992)
The Post-Capitalist Society (1993)
The Ecological Vision: Reflections on the American Condition (1993)
The Theory of the Business, Harvard Business Review, September-October 1994
Managing in a Time of Great Change (1995)
Drucker on Asia: A Dialogue Between Peter Drucker and Isao Nakauchi (1997)
Peter Drucker on the Profession of Management (1998)
Management Challenges for the 21st century (1999)
Managing Oneself, Harvard Business Review, March-April 1999
The Essential Drucker: The Best of Sixty Years of Peter Drucker's Essential Writings on Management (2001)
Leading in a Time of Change: What it Will Take to Lead Tomorrow (2001; with Peter Senge)
The Effective Executive Revised (2002)
They're Not Employees, They're People, Harvard Business Review, February 2002
Managing in the Next Society (2002)
A Functioning Society (2003)
The Daily Drucker: 366 Days of Insight and Motivation for Getting the Right Things Done (2004)
What Makes An Effective Executive, Harvard Business Review, June 2004.
บทความหลายชิ้นถูกตีพิมพ์ซ้ำในวารสารเล่มดัง อย่าง Harvard Business Review
ภายหลังที่คุณปู่ได้ฝ่าด่านอรหันต์มายืนตระหง่านบน Hall of Frame ของนักปรัชญาธุรกิจของโลก
Hall of Fame ครับ
ไม่ได้ถูกจับขึงเข้ากรอบแต่อย่างใด
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
เป็นศัพท์ที่เรียกกันในวงการหนังสือครับ คุณ Mind
ถ้าเป็นหนังสือตำราเรียนเล่มหนาๆคือ Text Book
ถ้าเป็นหนังสือเขียนอ่านเล่าเรื่องตามที่ขายในร้าน Asia Book
จะเรียกว่า Trade Book ครับ
แต่ Trade Book บางเล่มก็เขียนได้ดี มีผลการวิจัย การวิเคราะห์อ้างอิง
ครอบคลุมเนื้อหา พร้อมตัวอย่างได้ละเอียด
ก็สามารถนำมาใช้เป็น Text Book ได้
อันนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนสอนครับ
เช่น เล่มนี้
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
ฟอร์ด มอเตอร์ ก็เหมือนกัน
ภาพประวัติศาสตร์ที่บริษัทปฏิวัติระบบอุตสาหกรรมรถยนต์
ด้วยระบบ Assembly Line อันตื่นตาตื่นใจกลายเป็นอดีตไปในที่สุด
Model T No Choice Car รถรุ่นเดียวสีดำที่ฟอร์ดนำเสนอ
(ไม่ต้องให้ลูกค้าเลือกมาก)
ถูกค่ายรถ GM แซงตัดหน้าด้วยวิถีดำเนินธุรกิจแบบใหม่
เอ้า อีกสักตัวอย่างหนึ่ง
ในแวดวงไฮเทคไม่มีใครไม่รู้จัก The Big Blue ยักษ์ใหญ่สีฟ้า IBM
ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมคอมพิวเตอร์ระดับโลก
ก่อนหน้านั้น IBM ก็ทำหลายอย่าง
รวมทั้งเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าหัวจุกก๊อกแก๊กเสียงดัง
ซึ่งสาวๆชาวเลขานุการนักพิมพ์ดีดคุ้นเคยกันดี
IBM มองเห็นอนาคตของคอมพิวเตอร์ที่จะมาแทนที่งานเอกสารทุกชนิด
ก็เลยรังสรรค์ประดิษฐกรรม Main Frame ขึ้นมาสำหรับออฟฟิคองค์กรขนาดใหญ่
แน่นอน หน่วยงานที่จำเป็นและต้องใช้เครื่องประเภทนี้มีอยู่จำนวนไม่น้อย
หนึ่งในผู้ใช้ Main Frame รุ่นแรกๆ ก็คือ กรมสรรพากรของเมืองมะกัน
ทีนี้ล่ะ ไม่ผิดพลาดเรื่องข้อมูลและการคำนวณเงินภาษีของประชากร
(เรื่องเงินเรื่องทองเรื่องใหญ่)
ความสำเร็จจาก Main Frame อัจฉริยะ ของ IBM นี้เอง
ทำให้ชาวบิ๊กบลูผู้มีวัฒนธรรมองค์กรสวมเชิ๊ตขาว กางเกงน้ำเงิน ผูกไทค์น้ำเงินทั้งบริษัท
หลงภาคภูมิเลือดสีน้ำเงินของตนยิ่งนัก ใครที่ไหนจะมาแข่งได้
ผู้บริหารเองก็มั่นอกมั่นใจว่ามองตลาดทะลุปรุโปร่งไว้แล้ว ตลาดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์น่ะหรือ ทั้งโลกอาจจะมีแค่ 5 ตัวเท่านั้นละมั้ง
(I think there is a world market for maybe five computers Watson Thomas Senior, Chairman of IBM)
ใครนะ..แว่วๆว่าจะผลิต PC มาแข่ง
จะมีตลาดรึ ใครจะใช้ ในเมื่อ Main Frame สามารถลากต่อไปได้ทุกที่
PC เก็บไว้ให้เด็กๆเล่นดีกว่า
อะหา..สายตายาว(เกินไป)เป็นเหตุ
เมื่อ IBM ตกขบวนรถไฟ PC เบื้องหน้าที่โตมหาศาล
และกินตลาดในส่วน Main Frame เข้ามาทุกขณะ
จนท้ายสุด ต้องกล้ำกลืนเลือดหยิ่ง
ออก PC ตามมาเมื่อตลาดฟ่องฟูไปแล้ว
IBM คือกรณีศึกษาที่ชัดเจนที่สุด
ความจริงมีเรื่องราวต่างๆอีกมากมาย
เกี่ยวกับความหลงอดีตของยักษ์สีฟ้าในกาลต่อมา
จนเกิดวิกฤตแห่งวิกฤตในองค์กร เมื่อไม่สามารถแข่งขันกับใครได้
ก่อนที่ Loiuse Gertsner CEO คนนอก
เข้าไปเป็นอัศวินม้าขาวชุบชีวิตยักษ์สีฟ้าไว้
มีใครรู้บ้างมั้ยว่า
วินาทีนั้น IBM วิกฤตถึงขนาดแทบจะไม่มีเงินสดเหลืออยู่เลย
ข่าวลับๆแจ้งมาว่า ประธานาธิบดีมะกันขณะนั้น ( George Bush ผู้พ่อ)
ถึงกับลงมาปรึกษา Board IBM เองว่า จะจัดการอาการโคม่านี้อย่างไร
เพราะ ยักษ์สีฟ้าคือสัญญลักษณ์ของ Hi Tech เมืองลุงแซม
หากปล่อยให้ล้ม นั่นหมายถึงความพินาศของอุตสาหกรรม Hi Tech ทั้งหมด
(หาอ่านเพิ่มเติม Who Says Elephants Cant Dance : Inside IBMs Historic Turnaround by Louis Gerstner, Jr.
กูรูเองเคยเล่าละเอียดไว้ในโรงเรียน ฮ นกฮูก : บันทึกนิยายชั้นเรียน MBA )
In January 2008, Corporate Responsibility Officer Magazine (CRO) named Eastman one of the five best corporate citizens
among chemical companies in the U.S.[1]
Eastman was also ranked 64th in CRO magazine's list of 100 Best Corporate Citizens for 2008. [2]
ทิ้งอดีตที่เคยรุ่งเรือง มองมุ่งไปข้างหน้า
จึงทำให้ Eastman Chemical มีวันนี้ได้