เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 1

โพสต์

รูปภาพ

ก่อนอื่น ขอความกรุณาพ่อ Mod ทั้งหลายอย่าเพิ่งย้ายไปห้อง 100คน 100เล่ม
ทั้งๆที่จริงๆเนื้อหาส่วนใหญ่ก็มาจากหนังสือเล่มหนึ่งที่เพิ่งย่อยจบคือ
A Class with Drucker โดยศิษย์เอก William A. Cohen, PhD

ถ้าจะเป็นการแนะนำหนังสือ ด้วยการเล่าเรื่องย่อสั้นๆให้ฟัง
แล้วให้เพื่อนๆไปหาอ่านกันเองตามแบบฉบับธรรมเนียมนิยม
ก็คงจะจบได้สั้นๆ  :8)

แต่เอ...หนังสือก็เล่มออกจะหนา ราคาก็ฮืมม์..พันกว่า
ยังไม่แน่ใจว่ามีใครแปลเป็นภาษาไทยหรือยัง
เห็นทีถ้าแนะนำไปแล้ว หาหนังสืออ่านยากก็คงจะเสียอารมณ์
งั้นสู้เอาเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจมาย่อยให้ฟังเป็นตอนๆดีกว่า
ถึงตอนนั้นใครที่อยากจะสืบเสาะหาฉบับเต็มมาอ่านให้อิ่มเอมก็ย่อมได้
หรือเพียงแต่รับรู้ชั่วขณะ พอมีอะไรแว่วๆในขดสมองให้ได้ขบคิดบ้าง
ก็ไม่เสียหายกระไร

ฉะนั้นด้วยสมอง กำลังวังชา และความทรงจำที่ยังพอถูไถใช้งานได้บ้าง
กูรูจะเรียบเรียงเนื้อหาทั้งเล่ม โดยแบ่งเป็นตอนๆตามวิธีการเล่าในแบบของตัวเอง
ซึ่งไม่เหมือนกับการแบ่งตอนในหนังสือแน่ๆ
เพื่อให้พวกราชาวห้องนั่งเล่นของเวปรู้จักและสนุกสนาน
กับบรรยากาศชั้นเรียนอย่างไม่เป็นทางการ แซวเล่นกันได้ :wink:

เอาล่ะ มาเริ่มต้นที่บทเกริ่นนำกระตุ้นน้ำย่อยเสียหน่อย

ในแวดวงจัดการบริหารสมัยใหม่ ปฏิเสธไม่ได้ว่าคุณปู่ Peter Drucker
คือผู้ขรึมขลังคงแก่ทฤษฎีท่านหนึ่ง  จนได้รับการขนานนามว่าเป็น
นักปรัชญาธุรกิจ (Business Philosopher)
เออ...มันเป็นอย่างไรนะ  ปรัชญากับธุรกิจมาบรรจบกันได้ในคนเดียวกันนะหรือ
นี่คือคุณสมบัติอันน่าทึ่งในตัวคุณปู่ Drucker

Drucker คือผู้แหวกกรอบทฤษฎี แนวความเชื่อของธุรกิจเก่าๆเมืองมะกันที่ดำเนินอยู่
ด้วยการตั้งคำถาม ปุจฉา วิสัชนา วิธีการบริหารองค์กรยักษ์ๆทั้งหลายว่า
เหมาะสม ก้าวท่วงทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกหรือไม่
โดยให้คนฟังค้นหาคำตอบเอง
ด้วยท่วงทำนองการเรียนกลับไปสู่ยุคโสกราตีส  
ยุให้ถก ยั่วให้เถียง  เย้าให้แถก...เอ๊ย ไม่ช่าย เย้าให้โต้
สรรค์สร้างชั้นเรียนให้เกิดบทสนทนาคัดค้านซึ่งกันและกัน ไม่มีบทสรุปตายตัว
ชั้นเรียนแบบนี้ คนขี้เกียจหรือไม่ได้ทำการบ้านล่วงหน้ามักจะไม่ชอบ
เพราะต้องอยู่นอกวง ดูคนอื่นเถียงหน้าดำหน้าแดง
ขณะที่ตัวเองได้แต่หุบปากปิดเงียบ ซึ่งเป็นเรื่องน่าละอายใจ
เพราะสังคมการเรียนปริญญาเอก (หรือห้องเรียนทั่วไป) ต้องขอให้ได้พูดไว้ก่อน ผิด..ถูกยังเป็นเรื่องรอง
คนสอนเป็นแค่ ผู้อำนวยความสะดวกหรือ Facilitator เท่านั้น

ชั้นเรียนของ Drucker จะเป็นเรื่องของปรัชญานักบริหารมากกว่าโมเดลคณิตศาสตร์
เป็นเรื่องของคุณธรรมความรับผิดชอบของนักธุรกิจมากกว่าการมองตัวเลข กำไร ขาดทุนเป็นสรณะ
เป็นเรื่องของสำนึกร่วมแห่งองค์กรมากกว่าวีรบุรุษที่สร้างตำนานโดดเดี่ยว
จึงไม่แปลกใจที่นักธุรกิจหรือโปรเฟชเซอร์หลายสำนักไม่ค่อยให้ความนับถือ Drucker เท่าไร
เพราะกรอบความคิดของคุณปู่ค่อนข้างคัดง้างกับระบบทุนนิยมฮีโร่สุดโต่ง
อีกทั้งมีเรื่องของชาตินิยมมาแซมผสม ซึ่งจะเผยให้ทราบในตอนต่อๆไป

Peter Drucker เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2548
มีช่วงอายุที่เบิ่งเพ่งพินิจโลกนานถึง 96 ปี

เอ่าล่ะ ปูพื้นฐานของชั้นเรียน Drucker เล็กน้อย
ก่อนจะเข้าชั้นเรียนของกูรู โดยแบ่งเป็นตอนๆดังนี้

ชั้นเรียนของเราที่ Claremont
คุณครู Drucker : ภูมิหลังที่ไม่ธรรมดา
เก็บตกบทเรียนธุรกิจ
ฯลฯ ( ตอนนี้คิดคร่าวๆ ยังไม่สรุป)

แล้วจะค่อยๆทะยอยเล่าทีละตอนๆนะคร้าบ :lol:
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1289
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คนสอนแนวนี้ รออ่านเลยครับ :D
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
สามัญชน
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 5162
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 3

โพสต์

รอเรียนด้วยคร้าบ
ทุกความเห็นย่อมเปลี่ยนไปตามความรู้ การเรียนรู้ย่อมไม่มีจุดสิ้นสุด
Mr. Boo
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1841
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 4

โพสต์

สมาธิไม่ดี ชอบหลับ ตัวเตี้ย

ขอที่นั่งหน้าสุดนะคร๊าบบบบ
Rabbit VS. Turtle
njTAO
Verified User
โพสต์: 274
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอลักเรียนด้วยคนครับ ท่านอาจารย์ปู่
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 6

โพสต์

มีแต่หลัก แต่ยังไม่มีฐาน
จะทำไงดีล่ะครับ
ฮิฮิ
:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ก้อนหิน
Verified User
โพสต์: 2344
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 7

โพสต์

เข้าคิว ตั้งใจเีรียนครับ  :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 8

โพสต์

:8) ผม peter drinker
     มานั่งอยู่หลังห้อง
     เปิดหนังสือศิลปะอ่านฆ่าเวลาอยู่เรียบร้อยแล้ว
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 9

โพสต์

เอ้า ชั้นเรียนเปิดแล้ว ขอเช็คชื่อหน่อย
โอ้โฮ รุ่นเดอะๆทั้งนั้นเลย ชักเกร็งๆแล้วซิ  :roll:
มีอะไรช่วยกันเสริมนะคร้าบ

ตอนที่ 2 ชั้นเรียนที่ Claremont

รูปภาพ

Bill Cohen ผู้เขียนและถ่ายทอดความทรงจำของตนกับคุณปู่ Drucker
เป็นศิษย์ปริญญาเอกรุ่นแรกของ Claremont Graduate School
ใช้ชีวิตในชั้นเรียนที่นี่ระหว่างปี  1975-1979 (พ.ศ. 2518-2522 )
ความสัมพันธ์ของบุคคลทั้งคู่ แม้จะไม่ลึกซึ้งถึงขนาด Mitch Albom กับคุณครู Morrie
ในหนังสือและหนังเรื่อ'ซึ้งเศร้า Tuesdays with Morrie
( ได้ดูกันหรือเปล่าเอ่ย ประโยคสำคัญที่พอจำได้
Once you know how to die, you know how to live)
แต่ Bill ก็คงสถานภาพศิษย์-ครู Mentor จวบจนวาระสุดท้ายของฝ่ายหลัง

ก่อนจะเข้าชั้นเรียนปริญญาเอกที่  Harper Hall อันเก่าแก่  (ดังรูป)
มาทำความรู้จักโรงเรียนธุรกิจของเราสักเล็กน้อย

Claremont Graduate School เป็น Business  School
ภายใต้ Claremont Colleges แห่งมลรัฐแคลิฟอร์เนีย
อันมีคุณปู่ Peter Drucker ผู้ตัดสินใจมุ่งตะวันตกมาบุกเบิกตำนานเป็นปรมาจารย์ เมื่อปี 1971
อายุอานามขณะนั้นก็ประมาณ 60 ปีกว่าๆ
วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นโรงเรียนบริหารธุรกิจสำหรับคนทำงาน (Practicing Manager)
อำนวยการสอนหลักสูตร MBA   Executive  MBA และต่อมาขยายถึงระดับ PhD
ซึ่ง Bill Cohen เป็นหนูเอ๊ยศิษย์ทดลองรุ่นแรก

Claremont Graduate School ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น
Peter F. Drucker and Masatoshi Ito Graduate School ในปี 1987
เพื่อยกย่องและให้เกียรติผู้บุกเบิกหลักสูตรคือคุณปู่ Drucker
และ Mr. Ito ผู้ให้เงินทุนสนับสนุนก่อตั้งแต่แรกเริ่ม
แน่นอน การเปลี่ยนชื่อก็ย่อมมีกุศโลบายเพื่อเรียกความสนใจจากตลาดการศึกษาด้วย
ไหนๆโปรเฟสเซอร์ชื่อดังสอนสถิตที่นี่(และคิดว่าคงจะไม่ไปไหนอีกแล้ว)
ไฉนเลยจะไม่เอามาเป็นจุดขาย

คุณปู่ Drucker สอนจนถึงฤดูใบไม้ผลิปี 2002 ก่อนจะเลิกราไปเพราะปัญหาสุขภาพ
นั่นหมายความว่า คุณปู่ขอปลดเกษียณหยุดสอนสิ้นเชิงตอนอายุ  93 ปี  ว๊าว...

แล้ว Bill Cohen ล่ะเป็นใคร ถึงยอมสมัครใจมาเป็น 1 ใน 10 ของหนูเอ๊ยศิษย์ทดลองรุ่นแรก
ทำคะแนนวิชาที่คุณปู่สอนได้ดีที่สุด  ขณะที่วิชาอื่นก็งั้นๆ

จากบัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ที่ West Point ต่อ MBA ที่มหาวิทยาลัยชิคาโก
Bill Cohen มีโอกาสเปิดหูเปิดตาไปประจำการที่อิสราเอลพักหนึ่ง
แล้วก็กลับมาทำงานในหน่วยงานผลิตเครื่องชูชีพให้กับกองทัพอากาศและสายการบินอเมริกัน
ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาที่วันๆหมกมุ่นอยู่ในแต่ห้องทดสอบระบบ
จนถึงวันหนึ่งเงยหน้าขึ้นมา เอ้า...พรรคพวกหายไปไหนหมดแล้ว
กอปรกับตำแหน่งที่ใหญ่ขึ้น ปกครองดูแลลูกน้องมากหน้าหลายตา
จนชักจะเห็นว่า  ออกแบบ แก้ไขแบบชิ้นส่วนสารพัด
อย่างไง้อย่างไงก็ไม่ยุ่งยากเหมือนแก้ไขปัญหาคน
ทำงานมาเป็นสิบๆปีรู้จักเครื่องยนต์กลไกพิศดารหมด
แต่ไม่เคยรู้ลึกถึงหัวใจคนทำงานเลย
คิดสะระตะได้ดั่งนี้แล้ว เห็นทีจะต้องหาที่ฝึกปรือวิทยายุทธ์ใหม่นอกจากห้องทดลอง

นี่คือจุดเริ่มต้นของการเข้าชั้นเรียนกับคุณปู่ Drucker ที่ Claremont Graduate School
ซึ่งเจ้าตัวต้องจำทนขับรถจากที่ทำงานตอนเย็นมาถึงบริเวณแคมปัสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง
เข้าชั้นเรียนช่วงหัวค่ำจนดึกแล้วก็ขับกลับบ้านอีก  2 ชั่วโมง
เป็นเช่นนี้ทุกอาทิตย์ตลอดระยะเวลาที่เรียนที่นี่

แต่อะไรล่ะที่ทำให้ Bill ยอมขับรถไกลวันละ 4 ชั่วโมงเพื่อมาเรียนกับ Drucker
(ที่ชอบสอนเกินชั่วโมงเรียนอยู่เรื่อย คือ 4 ทุ่ม บางครั้งปาเข้าไปเกือบ  5 ทุ่ม  
หรือสอนจนกว่าจะสิ้นสุดแม้จะถึงเที่ยงคืนก็ตาม )

แน่ล่ะ นอกเหนือจากได้มีโอกาสใกล้ชิดกับนักปรัชญาธุรกิจคนดังผู้เขียนหนังสือมากมาย
หลักสูตรและวิธีการสอนของชั้นเรียนที่นี่ต่างหากที่ทำให้เขาคิดว่า..ใช่เลย

ปกติชั้นเรียนปริญญาเอกทุกที่จะเน้นความเป็น Specialization
ผู้สมัครเข้ามาเรียนถึงระดับนี้ ก็มักจะเป็นอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการของแขนงนั้นๆ
มาต่อยอดองค์ความรู้ของตัวเอง
ใครสนใจแขนงวิชาไหน ขุดกันให้ลึกลงไป ถึงราก ถึงโคน  ถึงต้นตระกูลเลยถ้าเป็นไปได้
ฉะนั้นไม่แปลกใจถ้าบรรดาด็อกเตอร์ทั้งหลายจะยืดอกพูดอย่างภูมิใจว่า
ยิ่งเรียนสูงเท่าไหร่ ยิ่งรู้น้อยลงเท่านั้น
ยิ่งรู้น้อย ยิ่งไม่กล้าพูด หรือตระหนี่ ระมัดระวังคำจำนรรจามากขึ้น
และเจ้าความรู้ในสิ่งที่น้อยคนรู้นี่แหละ ทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเวลาต่อมา

โอ้..พระเจ้า

ท้ายสุด ก็มักจะจบบทบาทเป็นนักวิชาการ ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัย
(เอ..ถึงตอนนั้นแล้วต้องกล้ากล้าพูดแล้วกระมัง)

หากที่ Claremont หลักสูตรการสอนซึ่งคุณปู่ Drucker มีส่วนร่าง
มุ่งเจาะจง Practicing Manager / Practitioner มากกว่า
เริ่มตั้งแต่คุณสมบัติเบื้องต้น ผู้เรียนจะต้องทำงานด้านบริหารมาไม่น้อยกว่าเวลาที่กำหนด
ระหว่างเรียน (และทำงานไปด้วย)ก็ต้องทำวิจัย  ค้นคว้า เขียนบทความ
นำเสนอผลงานในชั้นและพร้อมจะถูกวิจารณ์เป็นระยะๆ
ท้ายสุดของผลลัพธ์ก็เพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในฐานะผู้บริหารองค์กร
เนื้อหาทั้งหมดย้ำเน้นถึงหลักจัดการบริหารธุรกิจสมัยใหม่สำหรับองค์กรที่มีอยู่จริง
มากกว่าจะเน้นให้คนเรียนจบไปเป็นนักทฤษฎีผู้ริเริ่มโมเดลธุรกิจชวนทึ่ง
แต่ถ้าอยากหันเหชีวิตไปลับคมหอกวิชาการ ก็ไม่ผิดกติกาอะไร
อย่าง Bill เองในบั้นปลายชีวิตก็กลับมาเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ฉะนั้นเมื่อคุณจบ MBA มา คุณเป็นเป็ด
เมื่อจบที่ Claremont Graduate School คุณก็ยังเป็นเป็ดอยู่  

เพียงแต่เป็ดพันธุ์ใหม่อาจจะรู้วิธีบินสูงเหิรฟ้าไกลกว่าเดิม เวลาร่อนถลาก็นุ่มนวลกว่า
อาจจะรู้วิธีว่ายน้ำให้ไกลกว่าเดิม ดำน้ำได้อึดกว่า
แยกแยะจอกแหนออกจากสาหร่ายได้แม่นยำกว่า
สวมบทบาทความเข้าใจในมิติของสัตว์อื่นนอกเหนือจากเป็ด
เช่น สายตาเหยี่ยวที่มองฝูงลูกไก่แน่วนิ่ง
กับสายตาลูกไก่ที่ดีใจกะตู้วู้เพียงเมื่อเห็นหนอนตัวกะจิดริด  :wink:

ตอนหน้า ไปรู้จัก คุณครู Drucker ผู้ไม่ธรรมดา

เอ้า นักเรียนที่นั่งแถวหลังสุด   ตื่น ตื่น Class เลิกแล้วครับ  :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
doodeemak
Verified User
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 10

โพสต์

มาเช็คชื่อขอเรียนด้วยคนครับ...

เคยซื้อหนังสือเล่มโตของอาจารย์ Drucker เรื่อง Task, Management, Responsibility ประมาณ 2 ปี ได้อ่านไปแค่สารบัญกับคำนำเองล่ะครับ แต่ถ้าอ่านจาก web TVI นี่ สู้ไม่ถอยคร้าบ  :lol:
Inactive investor
plamuek76
Verified User
โพสต์: 478
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 11

โพสต์

มาลงชื่อเรียนด้วยคนครับ :8)
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 12

โพสต์

:8) ที่เห็นผมฟุบไปกับโต๊ะนี่
     ถ้าไม่ซี้กันจะิคิดว่าหลับ
     แต่จริงๆนี่เป็นท่าไม้ตายเฉพาะตัวครับ
     เพราะถ้าไม่ทำท่าอย่างนี้เจ้าเพื่อนที่ันั่งข้างๆมันชวนคุยตลอด
     พอฟุบลงไปเราก็ทำสมาธิตั้งใจฟังได้เป็นอย่างดี
     เจ้าตัวคอยจะชวนคุยมันก็คิดว่าเราหลับ ไม่กล้ากวน...ฮ่า...
     ไม่สนิทไม่บอกนะครับ
     ท่าไม้ตายส่วนตัวเนี่ย
     มีท่าไม้ตายท่าที่สองด้วย
     คือต้องมีเสียงกรนนิดๆ ให้เจ้าตัวชวนคุยมันเชื่อสนิทใจ
     อย่าคิดว่าชีวิตนี้เป็นเรื่องง่ายๆทีเดียวเชียว
     เทคนิคเป็นเรื่องสำคัญเสมอๆๆๆๆ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
RONNAPUM
Verified User
โพสต์: 1455
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 13

โพสต์

[quote="por_jai"]:8) ที่เห็นผมฟุบไปกับโต๊ะนี่
อย่าทำตัวเป็นนักแสดง เป็นเพียงผู้ดูก็พอ..
ภาพประจำตัวสมาชิก
doodeemak
Verified User
โพสต์: 411
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 14

โพสต์

แต่ผมว่า สุดยอดของสุดยอดวิชาต้องมีน้ำมูกเยิ้มนิดๆด้วยนะครับ  :roll:
Inactive investor
Mr. Boo
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 1841
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 15

โพสต์

เห็นหลับตา  แต่ก็ยังนั่งตัวตรงนะคร๊าบบบ....
Rabbit VS. Turtle
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1289
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 16

โพสต์

อ่านแล้วเจอชอบ 3จุด  :D

1."ทำงานมาเป็นสิบๆปีรู้จักเครื่องยนต์กลไกพิศดารหมด
แต่ไม่เคยรู้ลึกถึงหัวใจคนทำงานเลย" ..... จิดวิทยา นั้น ไซร้ ยาก แท้ หยั่ง ถึง

2." ยิ่งเรียนสูงเท่าไหร่ ยิ่งรู้น้อยลงเท่านั้น
ยิ่งรู้น้อย ยิ่งไม่กล้าพูด หรือตระหนี่ ระมัดระวังคำจำนรรจามากขึ้น
และเจ้าความรู้ในสิ่งที่น้อยคนรู้นี่แหละ ทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษในเวลาต่อมา"

3. "ที่ Claremont หลักสูตรการสอนซึ่งคุณปู่ Drucker มีส่วนร่าง
มุ่งเจาะจง Practicing Manager / Practitioner มากกว่า
เริ่มตั้งแต่คุณสมบัติเบื้องต้น ผู้เรียนจะต้องทำงานด้านบริหารมาไม่น้อยกว่าเวลาที่กำหนด.....
ท้ายสุดของผลลัพธ์ก็เพื่อนำความรู้ไปปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในฐานะผู้บริหารองค์กร
เนื้อหาทั้งหมดย้ำเน้นถึงหลักจัดการบริหารธุรกิจสมัยใหม่สำหรับองค์กรที่มีอยู่จริง
มากกว่าจะเน้นให้คนเรียนจบไปเป็นนักทฤษฎีผู้ริเริ่มโมเดลธุรกิจชวนทึ่ง " ....CFA ลอยผ่านหัว...แต่มองดีๆ คงไม่ติดฝุ่นหลักสูตรของจารย์ Drucker

ปล. ขอบคุณที่มาแบ่งปัน ....ต่อเลยครับพี่กูรู :wink:
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 17

โพสต์

มาเข้าเรียนสายครับ พอดีรถติด  :oops:

ว่าแล้วก็หาที่นั่งก่อนดีกว่า

:P ตรงนั้นน่าจะดี โดนแอร์ตลอด

ท่าทางจะหลับสบายนะ นั่งเลยละกัน  :lol:
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 18

โพสต์

คำคืนวันศุกร์ หลายคนพักกาย พักใจ ปลดงานที่แบกมาทั้งสัปดาห์
ขอเย้วเย้วให้สนุกสุดเหวี่ยง  :lol:

ขณะที่อีกหลายคนยังมีภาระเข้าห้องเรียนอยู่

เหนื่อยมาทั้งวัน จะงีบหลับก็ไม่ว่ากันครับ
ขอเพียงแต่อย่าส่งเสียงดังรบกวนคนอื่นๆ
จะเอาอย่างท่าไม้ตายของพี่พอใจก็ได้
แต่อย่าถึงขนาดให้มีน้ำหู น้ำตา น้ำมูกไหลแบบที่เพื่อนๆแนะนำเลยครับ
จะเกิดจินตนาการ  :evil:

นั่งใกล้แอร์เย็นๆก็หลับได้เหมือนกันนะ คุณ Fan

พี่บูนั่งสบายๆก็ได้ครับ เดี๋ยวหลังจะแข็ง ไปเตะบอลไม่ได้

คุณ Mind มาถึงแล้วใช่มั้ย

แล้วคนอื่นๆล่ะ  คงจะทะยอยกันมาเรื่อยๆ

เริ่มบทที่ 3 ล่ะ

คุณครู Drucker : ผู้ไม่ธรรมดา

รูปภาพ

จะแปลกใจมั้ยถ้าบอกว่า บิดาแห่งการบริหารองค์กรสมัยใหม่ ท่านนี้
มิได้เรียนจบโรงเรียนธุรกิจใดๆมาเลย
ยิ่งกว่านั้นคุณปู่ยังไม่ใช่ผลิตผลก้นสำนักของมหาวิทยาลัยเมืองมะกันด้วยซ้ำ

อ้าว...หาว่ากูรูลับ ลวง พรางหรือเปล่า ( ตัวจริงก็มีนิดหน่อย)
งั้นไปดูอดีตของคุณปู่ Drucker กัน

19  พฤศจิกายน ปี  1909 ที่ กรุงเวียนนา  ประเทศออสเตรีย
เด็กชาย Drucker ถือกำเนิดขึ้นมา
เป็นชาวออสเตรียนที่มีเลือดเข้มข้นพอๆกับบุรุษยิ่งใหญ่อีกท่าน
อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ผู้นำเผด็จการของลัทธินาซีในกาลต่อมา
แตกต่างกันก็คือ บรรพบุรุษของเด็กชาย Drucker เป็นยิว... :roll:
และเด็กชาย Drucker เองโดยปริยายก็รักษามรดกแห่งสายเลือดข้อนี้ไว้เช่นกัน

เด็กชาย Drucker โชคดี เกิดท่ามกลางครอบครัวข้าราชการผู้ใหญ่
มีโอกาสเข้ารับการศึกษาบ่มเพาะสติปัญญาเฉกเช่นบุตรของชนชั้นสูง
พ่อแม่พี่น้องญาติสนิท เพื่อนของพ่อ ล้วนเป็นคนชอบถกเถียงปรัชญาความรู้
สังคมปัญญาชนจึงเริ่มต้นบนโต๊ะอาหารในบ้าน

หลังจบมัธยมระดับHigh School เด็กชาย Drucker เดินทางไปฝึกงาน
ในบริษัทเทรดดิ้งฝ้ายที่เมืองฮัมเบิร์ก เยอรมัน  เป็นเวลา 1 ปี
เพื่อค้นหาศักยภาพและความถนัดของตัวเอง
ก่อนจะเลือกเรียนวิชาชีพที่ต้องการ
ซึ่งเป็นแบบแผนปฏิบัติเดียวกันกับเด็กวัยรุ่นในยุโรปประเทศอื่นๆ
หยุดเรียนสักพักไปเป็นเด็กฝึกงาน (apprenticeship)ตามบริษัทต่างๆ
ระหว่างฝึกงานก็พยายามทบทวน สำรวจตัวเองว่าใช่แนวอาชีพที่ชอบหรือไม่
หลังจากฝึกงานจบก็สามารถตัดสินใจได้ว่าอยากจะศึกษาเพิ่มเติมอะไร
มาตรฐานการสำรวจตัวเองเช่นนี้ยังคงดำรงอยู่มาถึงทุกวันนี้
(ฉะนั้น ไม่แปลกใจถ้าเห็นเด็กหนุ่มๆสาวๆฝรั่งพักเรียนมาเที่ยวบ้านเรา
พวกเขาอาจกำลังฝึกงานเป็นพนักงานของ Lonely Planet อยู่ก็ได้  หุหุ)

ย้อนกลับมาถึงเด็กหนุ่ม Drucker ในวัย 18 ปี หลังจากฝึกงานระยะหนึ่ง
ก็เริ่มรู้ตัวแล้วว่าชอบเรื่องธุรกิจการค้า
ขณะเดียวกันก็ชอบขีดๆเขียนๆบันทึกเรื่องราวการดำเนินธุรกิจ
หลังจากนั้น เจ้าตัวมุ่งหน้าไปแฟรงค์เฟิร์ตเพื่อฝึกงานด้านการพิมพ์และการเป็นนักหนังสือพิมพ์
ที่แฟรงเฟิร์ตนี้เอง หนุ่มน้อย Drucker ถือโอกาสเรียนต่อด้านกฎหมายระหว่างประเทศและกฏหมายมหาชน
(อาจารย์ดังๆด้านกฏหมายมหาชนบ้านเราหลายท่านก็จบจากเยอรมัน)
จนสำเร็จการศึกษาระดับด็อกเตอร์  

อ้าว..งั้นที่เข้าใจว่า  Drucker เป็น Doctor ก็คือ Doctor ด้านกฏหมายน่ะซิ    
ไม่ใช่ด้านบริหารธุรกิจเสียหน่อย ตูโดนหลอกอีกล่ะ
แล้วจากนักกฏหมาย มาเป็น บิดาแห่งปรัชญาธุรกิจได้อย่างไรล่ะ

ติดตามต่อ  :wink:

เพื่อนๆคนไหนที่เคยไปเรียนที่เยอรมัน(หรือดูหนัง)
จะรู้ว่า บรรยากาศของปัญญาชนที่นั่นเข้มข้นเพียงไร
แม้จะเรียนกฏหมายแต่ก็รอบรู้เรื่องของเศรษฐศาสตร์  ปรัชญา รัฐศาสตร์วรรณคดี ดนตรี
ทุกศาสตร์ล้วนเกี่ยวข้องกันหมด  ทำให้นักศึกษาเป็นดั่งพหูสูตร
(หรือต้นฉบับความเป็นเป็ดนั่นเอง)

ความเป็นพหูสูตรเช่นนี้
มีส่วนในการผลักดันงานเขียนหนังสือในช่วงชีวิตถัดมาของคุณปู่
(ฉะนั้น จงภูมิใจเถิด ถ้าเราไม่เก่งสักด้าน  
เราก็ยังหยิบโน่นนิดนี่หน่อยมาผสมผเสเป็นความเก่งเกณฑ์เฉลี่ย
จนกลายเป็นลักษณะเด่นของเราได้  อิอิ)

เมื่อจบการศึกษาขั้นสูงสุด  Drucker ก็เริ่มทำงานในอาชีพต่างๆ
นอกเหนือจากงานเขียน Free Lance
ก็ยังเป็นนักหนังสือพิมพ์ฝีปากกล้า  เป็นโบรกเกอร์ค้าหลักทรัพย์  
เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำธนาคาร
ชีวิตช่วงนี้คือการเปิดหูเปิดตาสู่โลกองค์กร เรียนรู้คนทำงานอย่างแท้จริง

แต่ชีวิตไม่ได้เรียนรู้แค่ช่วงสงบเท่านั้น
ช่วงสงครามต่อต้านยิว ก็เป็นการเรียนรู้แบบใจเต้นตุ้มๆต่อมๆเช่นกัน
Drucker ต้องหลบหนีออกจากเยอรมันทันที
ก่อนจะถูกจับรมควันที่ค่ายกักกันเฉกเช่นชาวยิวอีกนับแสนๆ
เมื่อแคมเปญไล่ล่าชาวยิวปะทุขึ้น เมื่อปี 1933
ตอนนั้น ผลงานของนักเขียน Druckerเริ่มเข้าตา(จน)ของผู้ปกครองนาซีบ้างแล้ว :evil:
โดยเฉพาะบทความจ้าวปัญหา The Jewish Question in Germany
ซึ่งถูกทางการสั่งเก็บและเผาทิ้ง
ชื่อของ Drucker อยู่ใน Black List จนเจ้าตัสต้องรีบลี้ภัย
จุดหมายปลายทางของการลี้ภัยคืออังกฤษ (เอ๊ะ ช่างเหมือน...)
แล้วก็อพยพข้ามทะเลมาขึ้นฝั่งที่อเมริกา ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 พอดี๊พอดี
ปี 1943 Drucker ขอเปลี่ยนสัญชาติเป็นชาวอเมริกัน
เริ่มชีวิตเป็นอาจารย์สอนหนังสือในมหาวิทยาลัยทางฝั่งแอตแลนติก

กูรูเชื่อแน่เลยว่า การเป็น ดร. ออสเตรียน(เชื้อสายยิว)  
ต้องฝ่าด่านทดสอบต่างๆสารพัดจากสังคมวิชาการเมืองมะกัน
เริ่มตั้งแต่ความกังขา สงสัยว่าเก่งจริงหรือเปล่า  

อ้าว  จบด็อกเตอร์มาได้ อั๊วก็ต้องไม่เบาเหมือนกันนะ...Drucker อาจจะตอบแบบนี้

อ้าว  งั้นลื้อมีผลงานการค้นคว้าหรือทฤษฎีตีพิมพ์อะไรบ้าง ขอดูหน่อย     นักวิชาการเจ้าสำนักทวงถาม

อ้าว  อั๊วมีบทความตีพิมพ์ ทั้ง Journal และ Article เป็นกุรุสเลย

อ้าว  บทความพวกนี้เป็นแค่ความคิดเห็นส่วนตัว ( Personal Point of View) เอามาอ้างอิงทางวิชาการไม่ได้

อ้าว  บทความทั้งหมดอั๊วเก็บสะสมจากประสบการณ์การคลุกคลีเฝ้ามอง (Observation Research)
มานับสิบๆปี ในฐานะคนทำงานตัวจริง เสียงจริง


อ้าว  ไม่ได้ ไม่ได้  ถ้าลื้อจะเอาชื่อเอาเสียงในฐานะนักวิชาการที่นี่  
ลื้อต้องมีบทความประกอบโมเดลการวิจัยแบบ Quantitative
(การวิจัยเชิงปริมาณ) มาด้วย ถึงจะน่าเชื่อถือ
ไม่ใช่เอาความเห็น Subjective ส่วนตัวมาสรุปๆเออเองทั้งหมด

อ้าว....งั้นเลิกพูด  ไม่งั้นเดี๋ยวเกิดหมัดมวย ท่าไม้ตายแน่

เห็นมั้ยครับ แนวความคิดของ Drucker
ถูกกีดกันเล็กๆจากแวดวงโปรเฟสเซอร์ ศาสตราจารย์ชาวมะกัน
ผู้เคร่งครัดในจารีตนิยมของการเรียนการสอนที่ต้องการเน้นโมเดล
การวิจัยเชิงปริมาณ ตัวเลขอนุมาณต่างๆ ไม่นับสูตรคณิตศาสตร์อีกพะเรอ

นอกเหนือจากการที่คุณปู่เป็นชาวต่างชาติ
( ข้อนี้พูดออกนอกหน้าไม่ได้ เดี๋ยวเกิดข้อหากีดกันผิว โดนฟ้องอีก)
ไม่ได้จบบริหารธุรกิจโดยตรง
คุณปู่ไม่เคยเขียนบทความลงในนิตยสารหรือวารสารเชิงวิจัย
ของสถาบันการศึกษาที่เรียกกันว่า Scientific Journal

และที่รับไม่ได้ในแวดวง Academic คุณปู่ไม่เคยเขียน Text Book  เป็นเรื่องเป็นราวเลย
หนังสือที่คุณปู่เขียนคือ Trade Book ซึ่งใครๆก็เขียนดาษดื่น
วางแผงขึ้นชั้นเป็นหนังสือขายดีอาทิตย์เดียวก็โยนทิ้งแล้ว :oops:

อา.แต่พวกเขาคาดผิด  หนังสือ Trade Book ของคุณปู่หลายเล่ม
กลายเป็น หนังสืออมตะนิรันดร์กาล ต้องตีพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก  
สร้างความร่ำรวยให้แก่สำนักพิมพ์และผู้เขียนโดยไม่ต้องง้อชื่อเสียงของ มหาวิทยาลัยมารับรอง

เล่มหนึ่งที่ถูกนำมาใช้สอนในวิชาของคุณปู่ก็คือ Task, Management, Responsibility
(ที่คุณ doodeemak ครอบครองอยู่)

ในเมื่อบรรดา Business School  ชื่อดังเก่าแก่ด้านตะวันออก ไม่ค่อยยินดียินร้ายกับคุณปู่นัก
แต่คุณปู่ก็สามารถยืนหยัดเป็นอาจารย์ด้วยความสามารถพิเศษเฉพาะตัว
ขึ้นชั้นเป็น Professor ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค เป็นเวลานานถึง 20 ปี (1950-1971) จนอายุล่วง 60 กว่า

ถ้าเป็นบ้านเราก็ปลดเกษียณแล้ว
แต่สำหรับบรรดาศาสตราจารย์เก่งมักมีข้อยกเว้น แทนที่จะอยู่บ้านเฉยๆ
อย่ากระนั้นเลย ด้วยเลือดยิวแบบโมเสส  
ขอแหวกแผ่นดินข้ามฟากมาด้านตะวันตกที่แคลิฟอร์เนียดีกว่า
บรรยากาศก็อบอุ่น แดดจัดจ้า ไม่ซึมเซาหดหู่  สภาพแวดล้อมที่ใหม่และเปิดกว้าง
น่าจะปลดปล่อยให้คุณปู่มีเสรีภาพในการสอนมากกว่า
Claremont Gradate School จึงเสมือนเป็นห้องเรียนทดลองแห่งใหม่ของคุณปู่ Drucker
ที่มีสิทธิ์ มีเสียง  สั่งการได้เต็มที่
เช่น อยากจะสอนจนเลยชั่วโมงถึงเที่ยงคืนก็ย่อมได้
(แต่จะเหลือนักศึกษานั่งเรียนกี่คนไม่รู้)
ตรวจรายงานและการบ้านนักศึกษาด้วยตัวเอง
ทั้งๆที่โดยปกติจะมี TA (Teaching Assistant)คอยทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว

ไหนๆว่าผลงานของคุณปู่เป็นเพียงแค่ Trade Book หนังสืออ่านเล่นๆ
มาดูซิว่า คุณปู่รังสรรค์ผลงานอ่านเล่นมากมายแค่ไหน
มีทั้งภาษาเยอรมันและอังกฤษ หลายเล่มได้รับการแนะนำให้อ่านนอกเวลา
บทความหลายชิ้นถูกตีพิมพ์ซ้ำในวารสารเล่มดัง อย่าง Harvard Business Review
ภายหลังที่คุณปู่ได้ฝ่าด่านอรหันต์มายืนตระหง่านบน Hall of Frame ของนักปรัชญาธุรกิจของโลก


Friedrich Julius Stahl: konservative Staatslehre und geschichtliche Entwicklung (1932)

The End of Economic Man: The Origins of Totalitarianism (1939) Google Booksearch Preview

The Future of Industrial Man (1942)

Concept of the Corporation (1945) (A study of General Motors)

The New Society (1950)

The Practice of Management (1954)

America's Next 20 Years (1957)

Landmarks of Tomorrow: A Report on the New 'Post-Modern' World (1959)

Power and Democracy in America (1961)

Managing for Results: Economic Tasks and Risk-Taking Decisions (1964)

The Effective Executive (1966)

The Age of Discontinuity (1968)

Technology, Management and Society (1970)

Men, Ideas and Politics (1971)

Management: Tasks, Responsibilities and Practices (1973)

The Unseen Revolution: How Pension Fund Socialism Came to America (1976)

An Introductory View of Management (1977)

Adventures of a Bystander (1979) (Autobiography)

Song of the Brush: Japanese Painting from the Sanso Collection (1979)

Managing in Turbulent Times (1980)

Toward the Next Economics and Other Essays (1981)

The Changing World of the Executive (1982)

The Temptation to Do Good (1984)

Innovation and Entrepreneurship: Practice and Principles (1985)

The Discipline of Innovation, Harvard Business Review, 1985

The Frontiers of Management (1986)

The New Realities (1989)

Managing the Non-Profit Organization: Practices and Principles (1990)

Managing for the Future: The 1990s and Beyond (1992)

The Post-Capitalist Society (1993)

The Ecological Vision: Reflections on the American Condition (1993)

The Theory of the Business, Harvard Business Review, September-October 1994

Managing in a Time of Great Change (1995)

Drucker on Asia: A Dialogue Between Peter Drucker and Isao Nakauchi (1997)

Peter Drucker on the Profession of Management (1998)

Management Challenges for the 21st century (1999)

Managing Oneself, Harvard Business Review, March-April 1999

The Essential Drucker: The Best of Sixty Years of Peter Drucker's Essential Writings on Management (2001)

Leading in a Time of Change: What it Will Take to Lead Tomorrow (2001; with Peter Senge)

The Effective Executive Revised (2002)

They're Not Employees, They're People, Harvard Business Review, February 2002

Managing in the Next Society (2002)

A Functioning Society (2003)

The Daily Drucker: 366 Days of Insight and Motivation for Getting the Right Things Done (2004)

What Makes An Effective Executive, Harvard Business Review, June 2004.

The Effective Executive in Action (2005)


แต่พูดก็พูดเถอะ ขอแอบนินทาคุณปู่หน่อย  
หนังสือคุณปู่อ่านแล้วง่วงนอนชะมัดเลย เพราะคุณปู่เขียนเป็นแนวร้อยแก้วยาวพรืด
ไม่มีโมเดลหรือไดอะแกรมอธิบายใดๆทั้งสิ้น
คนที่ขี้เกียจหรือตาลายง่าย(อย่างกูรู) จะนอนให้หนังสือก่ายหน้าผากเป็นพักๆ ก่อนจะอ่านจบแต่ละเล่ม
แถมลืมไปแล้วว่าเนื้อหาตรงไหนสำคัญ เพราะไม่มีการเขียนย้ำหรือเน้นประการใด
เป็นสไตล์ของบรรดานักเขียน Journal จริงๆ
เฮอ..ว่าแล้วก็ต้องกลับไปทบทวนหนังสือบางเล่มที่ต้องเอามาใช้งานอีกครั้ง
Innovation & Entrepreneurship  :wink:
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอแก้คำผิด มัวแต่คอยเช็คชื่อนักเรียนมาสาย  :lol:
บทความหลายชิ้นถูกตีพิมพ์ซ้ำในวารสารเล่มดัง อย่าง Harvard Business Review
ภายหลังที่คุณปู่ได้ฝ่าด่านอรหันต์มายืนตระหง่านบน Hall of Frame ของนักปรัชญาธุรกิจของโลก
Hall of Fame ครับ
ไม่ได้ถูกจับขึงเข้ากรอบแต่อย่างใด

4 ทุ่มกว่าแล้ว
กลับบ้านได้แล้วครับ  :lol:

แต่ถ้าใครอยากจะอยู่คุยต่อก็ยินดี

ตอนหน้าเราจะเริ่มเข้าสู่เนื้อหาส่วนที่เป็นหัวใจ

"เก็บตกบทเรียน"
ภาพประจำตัวสมาชิก
กล้วยไม้ขาว
Verified User
โพสต์: 1074
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 20

โพสต์

หนังสือเยอะมากเลยครับ  :shock:

ถ้าซื้อมาหมดทีเดียว คงไม่มีกำลังใจจะอ่านแน่ ๆ เลยครับ  :lol:
njTAO
Verified User
โพสต์: 274
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 21

โพสต์

งานเข้าแล้วซิเรา อิ อิ

คงได้แค่บางเล่มนะครับ (ถ้าหมดทุกเล่ม เดี๋ยวอาจารย์ท่านอื่นจะน้อยใจ)
ที่คิดว่าน่าจะได้
Managing for the Future: The 1990s and Beyond (1992)

The Post-Capitalist Society (1993)

เป็นโปรแกรมวันอาทิตย์ครับ ผมให้เป็น Future Topic ครับ แต่ขอแจ้งไว้ล่วงหน้าว่าของผมเป็นแนว a book a day ครับ (คือ วันละ 1 มื้อ (กำลังพยายามทำให้ได้ทุกวัน) ถ้าทานไม่เสร็จจริงๆ ทีเหลือก็ต้องกลืนลงไป (อาหารค้างวันทานแล้วไม่ดี) วันใหม่ก็รับมื้อใหม่ต่อไป (อนิจจังชีวิตคนเราช่างสั้น ถึงแม้ผมจะอ่านหนังสือวันละหนึ่งเล่มจนตาย ก็อ่านหนังสือดีๆ ได้ไม่หมด  :cry: )) แต่อาทิตย์ไหนยังมิทราบ พอดีอาทิตย์นี้มีนัดแล้วครับ  :o

ส่วน
Managing the Non-Profit Organization: Practices and Principles (1990) เคยอ่านเล่มที่แปลเป็นไทยอยู่ ในห้องสมุดสาธารณะที่เป็นส่วนตัวแห่งหนึ่ง (ไม่น่าเชื่อว่าจะมี) ถ้าว่างจะทำด้วยครับ ถ้าได้ทำก็จะอยู่วันพุธเป็น Organization Topic ครับ

ตอนนี้ลักจำอาจารย์ปู่เล่าไปก่อน เดี๋ยวจะลองแต่งเรื่องนิดๆ หน่อยๆ ด้วย (คำเตือน อย่าลืมทานยาแก้เมาไว้ก่อน) จะได้เสริมแผนภาพ ญาติโยมหลายท่านบอกว่าดูแต่แผนภาพอย่างเดียวไม่เข้าใจครับ ฝากเนื้อฝากตัวไว้ล่วงหน้านะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 22

โพสต์

:8) ผมเคยอ่าน"ชายผู้หลงใหลในตัวเลข"ที่มีคนนำมาแปล
     
     ดูท่าทาง ท่านDrucker นี่คงหลงใหลในปรัชญาเชิงธุรกิจ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1289
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 23

โพสต์

หนังสือ "Trade book" ชื่อสะกด ยัังงี้เลยหรอครับ ผมถามพี่กูเกิ้ลไม่เจอเลยครับอาจารย์
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 24

โพสต์

หนังสือ "Trade book" ชื่อสะกด ยัังงี้เลยหรอครับ ผมถามพี่กูเกิ้ลไม่เจอเลยครับอาจารย์
เป็นศัพท์ที่เรียกกันในวงการหนังสือครับ คุณ Mind
ถ้าเป็นหนังสือตำราเรียนเล่มหนาๆคือ Text Book
ถ้าเป็นหนังสือเขียนอ่านเล่าเรื่องตามที่ขายในร้าน Asia Book
จะเรียกว่า Trade Book ครับ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

trade book Definition 
trade book

noun

a book intended for sale to the general public, as distinguished from a textbook, subscription book, etc
จาก http://www.yourdictionary.com/trade-book

แต่ Trade Book บางเล่มก็เขียนได้ดี มีผลการวิจัย การวิเคราะห์อ้างอิง
ครอบคลุมเนื้อหา พร้อมตัวอย่างได้ละเอียด
ก็สามารถนำมาใช้เป็น Text Book ได้
อันนี้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนสอนครับ
เช่น เล่มนี้

รูปภาพ


เล่มนี้เขียนธรรมดา แต่เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่ผู้เขียนถ่ายทอดความรู้จัก
กาแฟแบรนด์โปรด ในฐานะ Journalist  ก็เลยให้อ่านนอกเวลา

รูปภาพ
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ช่วงนี้ยุ่งๆ ยังไม่ up date  ขอทิ้งการบ้านไว้ก่อนนะครับ

เอ้า..รู้มั้ยว่าเจ้าสิ่งที่เห็นในภาพข้างล่างนี้เรียกว่าอะไร มีประโยชน์หรือใช้งานอย่างไร

รูปภาพ

ตอบถูก..ไม่มีรางวัล แห่ะ แห่ะ
แต่ได้ช่วยแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน  :wink:
MindTrick
Verified User
โพสต์: 1289
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 26

โพสต์

กูรูขอบสนาม เขียน:ช่วงนี้ยุ่งๆ ยังไม่ up date  ขอทิ้งการบ้านไว้ก่อนนะครับ

เอ้า..รู้มั้ยว่าเจ้าสิ่งที่เห็นในภาพข้างล่างนี้เรียกว่าอะไร มีประโยชน์หรือใช้งานอย่างไร

รูปภาพ

ตอบถูก..ไม่มีรางวัล แห่ะ แห่ะ
แต่ได้ช่วยแชร์ประสบการณ์ร่วมกัน  :wink:
Slide rule ครับ ได้ยินชื่อมันครั้งแรกจากลุงโฉลก :wink:

ปล.เรื่องหนังสือ ขอบคุณครับ ผมนี่ไม่รู้ศัพท์วงการเลย แฮะๆ ถ้างั้นพอจะมีอีบุคของปู่เค้าอยู่2-3เล่ม
^
"เมื่อคุณเริ่มทำสิ่งที่รักแล้ว วันต่อๆไปก็จะไม่ใช่การทำงาน"..Brian Tracy
state exact goal/then analyze what fail the goal/then act/if you don't start/dream still be a dream
หุ้นไม่ใช่แค่เศษกระดาษ มันมีคนทำงานจริง
Dech
Verified User
โพสต์: 4596
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ลงทะเบียนสาย ยังรับเข้าเรียนหรือเปล่าครับ
สีลํ พลํ อปฺปฏิมํ สีลํ อาวุธมุตฺตมํ
สีลํ อาภรณํ เสฏฺฐํ สีลํ กวจมพฺภุตํ
ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด
ศีลเป็นเครื่องประดับอย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกราะอย่างอัศจรรย์
ปุย
Verified User
โพสต์: 2032
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 28

โพสต์

เพิ่งมารายงานตัวครับ

อาทิตย์ที่แล้ว ไปนั่งเรียนหนังสือ กับ Prof. u of manchester อยู่ 5 วัน

วันนี้ มี Prof. ที่ไม่รู้จัก ส่ง mail มาชวนไปเรียน MBA ที่ Zurich
แถมยังอ้างอิง อ. Drucker อีกต่างหาก

As held by Dr. Peter F. Drucker, the father of modern management, "The best way to predict the future is to create it".

Are you ready to create a new future and become a more attractive candidate for a management level career?

เปิด web เจอ Prof.กูรู มายืนสอนอีก ไม่เข้ามานั่งฟังได้ไง
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ขอต้อนรับนักเรียนลงทะเบียนใหม่คร้าบ
เข้ามาเสริมได้เรื่อยๆ เพราะยังไม่สอบ Mid Term
ขาดเหลืออื่นใด ถามเพิ่มเติมจากรุ่นที่เรียนอยู่ก่อนแล้วกัน

วันนี้มาถึงบทเรียนที 4 แล้ว
การบ้านที่ให้ไปมีคุณ Mind ตอบมาคนเดียว
สงสัยคนอื่นจะไม่ทัน  :wink:  



เก็บตกบทเรียน

ลุ่มหลงอดีต  บั่นทอนอนาคต


รูปภาพ

เจ้า Slide Rule ที่เห็นในภาพคือเครื่องมือวัดคำนวณอันแสนมหัศจรรย์เมื่อสามสิบปีที่แล้ว
เป็นผู้ช่วยที่เก่งกาจสารพัด ทั้งการคำนวณบวกลบพื้นฐานธรรมดา
หรือสูงขึ้นไปหน่อยก็พวกตรีโกณ ถอด Log  ถอดรูท ชั้นเชิงเรขาคณิต ได้หมดจด
เด็กวิศวะแทบทุกคนต้องมีเจ้าไม้บรรทัดเท่ไม่เบาอันนี้
เหมือนเป็นเฟอร์นิเจอร์บ่งบอกสถานภาพว่าต่างจากเด็กช่างกลนะเฟ้ย
นั่นเขาใช้ไม้  T  อั๊วใช้ Slide Rule
ประโยชน์ก็สารพัด เพราะบางทีก็เป็นอาวุธป้องกันตัวได้

วันดีคืนดี Slide Rule หมดมนต์ขลัง คุณค่าไม่ต่างจากไม้บรรทัด
เพราะเครื่องคิดเลขอันเบ้อเร่อเบ้อร่าเริ่มเข้ามาแทนที่
หลังจากนั้นก็มีพัฒนาการของเครื่องขนาดเล็กจิ๋วตามมา
จนตอนนี้คิดเลขบนโทรศัพท์มือถือได้

Slide Rule เลยถูกถอดวางบนแท่นอดีต
กูรูก็มีอยู่หนึ่งอันทำจากไม้ไผ่ยี่ห้อ Hemmi เอาไว้คอยถามเด็กๆรุ่นหลัง


ปรากฏการณ์เช่นนี้ไม่ใช่เรื่องประหลาดประการใด
พัฒนาการของเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า  การถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นวัตกรรม
ล้วนสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ดีขึ้นๆทุกวัน
ทำให้ของเก่าหมดราคาและใช้งานไม่คุ้มในท้ายสุด

แต่น่าแปลกที่หลายๆครั้ง
บรรดาเจ้าของผลงานหรือบริษัทเหล่านั้นกลับพยายามฝืนการเปลี่ยนแปลง
ลุ่มหลงอยู่กับผลสำเร็จในอดีต  จำกัดความสามารถไว้ในขอบเขตที่ตนเองคุ้นเคย
ต่อเมื่อวันหนึ่งนึกขึ้นมา  ก็ถูกทิ้งโดดเดี่ยว หาคนเหลียวแลเสียแล้ว

นี่เองคือสาเหตุให้ บริษัทรถไฟของลุงแซมผู้เคยเย่อหยิ่งนักหนา
(คุณปู่ Drucker ให้คำนิยามว่า Robber Baron)
ต้องตกรางไปในท้ายสุด เพราะไม่เคยคิดว่าจะมีรถประเภทไหน
มีสมรรถนะความสามารถในการขนส่งลำเลียงสินค้าข้ามทวีปได้
ตั้งแต่ยุคบุกเบิกขยายดินแดนไปตะวันตก  ฆ่าล้างอินเดียนแดงไปหมดเผ่า
ก็ได้รถไฟนี่แหละ เป็นหัวหอกแล่นปรู๊น ปรู๊น ควันดำโขมง
หัวรถจักรแล่นไปที่ไหน ความเจริญถึงที่นั่น

อา..นั่นมันอดีตอันรุ่มรวย เพราะยุคของเครื่องบินยังมาไม่ถึงต่างหาก
แล้วดูปัจจุบันซิ....

คุณปู่ Drucker กล่าวว่าที่เป็นเช่นนี้พราะรถไฟผู้เย่อหยิ่ง
ตีกรอบตัวเองว่าอยู่ในอุตสาหกรรมยานพาหนะ (Vehicle Industry)
ก็เลยมองคู่แข่งเป็นแค่ยานยนต์บนบกทั่วไป
หารู้ไม่พระเอกรายใหม่มาเหนือฟ้าเสียแล้ว

ฟอร์ด มอเตอร์ ก็เหมือนกัน  
ภาพประวัติศาสตร์ที่บริษัทปฏิวัติระบบอุตสาหกรรมรถยนต์
ด้วยระบบ Assembly Line อันตื่นตาตื่นใจกลายเป็นอดีตไปในที่สุด
Model T No Choice Car รถรุ่นเดียวสีดำที่ฟอร์ดนำเสนอ
(ไม่ต้องให้ลูกค้าเลือกมาก)
ถูกค่ายรถ GM แซงตัดหน้าด้วยวิถีดำเนินธุรกิจแบบใหม่

GM ไม่ได้ลงทุนด้านเทคโนโลยีมหัศจรรย์ลึกล้ำอย่างใด
เพียงใช้กลยุทธ์การตลาดแบบแบ่งซอย Segmentation
นำเสนอรถยี่ห้อ รุ่นต่างๆที่สนองความต้องการผู้บริโภคที่เริ่มชอบความหลากหลาย
ขณะที่ผู้บุกเบิกอย่างฟอร์ดยังภูมิใจกับเกียรติยศในอดีต
ยังยึดติดวิถีการดำเนินธุรกิจจากมุมมองของบริษัทเป็นหลัก
ในที่สุด GM ก็ขึ้นแท่นเป็นแชมเปี้ยนรถยนต์นานถึง 50 ปี
แทน Ford ซึ่งพลัดตกบังลังก์
เพราะไม่ใส่ใจกับบริบทของพฤติกรรมลูกค้าที่เปลี่ยนไป

เช่นเดียวกับบรรดาองค์กรใหญ่ๆ
เมื่อถึงจุดที่ประสบความสำเร็จครองบังลังก์ยาวนาน
ก็ไม่มีใครเริ่มขยับอะไรต่อ  ทำไปเกิดพลาดก็เข้าตัวอีก
สู้อยู่เฉยๆ ค่อยๆคิดค่อยๆทำไปดีกว่า
ลูกค้าก็เหนียวแน่นอยู่ในกำมือแล้ว
มองดูคู่แข่ง  ไครสเลอร์เอย ฟอร์ดเอย ก็มีปัญหาภายในองค์กร
ต้องใช้เวลาแก้ไขเรื่องอีรุงตุงนังอีกสักพัก
คิดได้ดังนั้นแล้ว GM ก็เสวยสุข
ชมนก ชมไม้ ชมฟ้าลอยละล่องอยู่เบื้องบน
หารู้ไม่ ยักษ์ใหญ่จากแดนตะวันออกไกล
กำลังโค้งคำนับใกล้เข้ามาทุกที  นั่นก็คือ โตโยต้า
ถึงวันนี้แล้ว คงไม่ต้องกล่าวอะไรมากมาย

เอ้า อีกสักตัวอย่างหนึ่ง
ในแวดวงไฮเทคไม่มีใครไม่รู้จัก The Big Blue ยักษ์ใหญ่สีฟ้า IBM  
ผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมคอมพิวเตอร์ระดับโลก
ก่อนหน้านั้น IBM ก็ทำหลายอย่าง
รวมทั้งเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้าหัวจุกก๊อกแก๊กเสียงดัง
ซึ่งสาวๆชาวเลขานุการนักพิมพ์ดีดคุ้นเคยกันดี

IBM มองเห็นอนาคตของคอมพิวเตอร์ที่จะมาแทนที่งานเอกสารทุกชนิด
ก็เลยรังสรรค์ประดิษฐกรรม Main Frame ขึ้นมาสำหรับออฟฟิคองค์กรขนาดใหญ่
แน่นอน หน่วยงานที่จำเป็นและต้องใช้เครื่องประเภทนี้มีอยู่จำนวนไม่น้อย
หนึ่งในผู้ใช้ Main Frame รุ่นแรกๆ ก็คือ กรมสรรพากรของเมืองมะกัน
ทีนี้ล่ะ  ไม่ผิดพลาดเรื่องข้อมูลและการคำนวณเงินภาษีของประชากร
(เรื่องเงินเรื่องทองเรื่องใหญ่)
ความสำเร็จจาก Main Frame อัจฉริยะ ของ IBM นี้เอง
ทำให้ชาวบิ๊กบลูผู้มีวัฒนธรรมองค์กรสวมเชิ๊ตขาว กางเกงน้ำเงิน ผูกไทค์น้ำเงินทั้งบริษัท
หลงภาคภูมิเลือดสีน้ำเงินของตนยิ่งนัก ใครที่ไหนจะมาแข่งได้
ผู้บริหารเองก็มั่นอกมั่นใจว่ามองตลาดทะลุปรุโปร่งไว้แล้ว
ตลาดสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์น่ะหรือ  ทั้งโลกอาจจะมีแค่ 5 ตัวเท่านั้นละมั้ง
(I think there is a world market for maybe five computers Watson Thomas Senior, Chairman of IBM)

ใครนะ..แว่วๆว่าจะผลิต PC มาแข่ง
จะมีตลาดรึ  ใครจะใช้ ในเมื่อ Main Frame สามารถลากต่อไปได้ทุกที่
PC เก็บไว้ให้เด็กๆเล่นดีกว่า

อะหา..สายตายาว(เกินไป)เป็นเหตุ
เมื่อ IBM ตกขบวนรถไฟ PC เบื้องหน้าที่โตมหาศาล
และกินตลาดในส่วน Main Frame เข้ามาทุกขณะ
จนท้ายสุด ต้องกล้ำกลืนเลือดหยิ่ง
ออก PC ตามมาเมื่อตลาดฟ่องฟูไปแล้ว

จากตัวอย่างเบื้องต้นดังกล่าว
พวกเราเห็นความคล้ายคลึงอะไรบ้าง
องค์กรเหล่าทั้งหมดเริ่มต้นจากนวัตกรรมสร้างสรรค์
มุ่งมั่นต่อยอดประดิษฐกรรม สนองความต้องการของตลาดและผู้บริโภค
ผลงานก้าวแรกไปได้ด้วยดี ด้วยมันสมองผนวกจินตนาการ
พัฒนาการรุ่นต่อมาแก้ไขความผิดพลาดให้ดียิ่งขึ้น
ก็ยิ่งตอกย้ำความเชื่อมั่นในคุณภาพ
จนถึงรุ่นสาม สี่ กระแสค่อยแผ่ว

เมื่อบริษัทมั่นคง ความมุ่งมั่นเริ่มจาง  คนทำงานเอนหลังสุขสบาย
หากผู้บริหารทำยังตัวเสวยสุขเหมือนเป็นทองไม่รู้ร้อน
ยังโอ้อวดลุ่มหลงกับอดีตที่ยิ่งใหญ่
ไม่ยอมหันมองรอบข้างหรือปรามาสคู่แข่งตัวด้อย
เพิกเฉยต่อปัจจัยความเปลี่ยนแปลง
ไม่ต้องให้หมอดูที่ไหนมาฟันธง
เราเองในฐานะผู้สังเกตการณ์ก็คาดเดาอนาคตได้  :oops:

IBM คือกรณีศึกษาที่ชัดเจนที่สุด
ความจริงมีเรื่องราวต่างๆอีกมากมาย
เกี่ยวกับความหลงอดีตของยักษ์สีฟ้าในกาลต่อมา
จนเกิดวิกฤตแห่งวิกฤตในองค์กร เมื่อไม่สามารถแข่งขันกับใครได้
ก่อนที่ Loiuse Gertsner CEO คนนอก
เข้าไปเป็นอัศวินม้าขาวชุบชีวิตยักษ์สีฟ้าไว้
มีใครรู้บ้างมั้ยว่า
วินาทีนั้น IBM วิกฤตถึงขนาดแทบจะไม่มีเงินสดเหลืออยู่เลย :roll:

ข่าวลับๆแจ้งมาว่า ประธานาธิบดีมะกันขณะนั้น ( George Bush ผู้พ่อ)
ถึงกับลงมาปรึกษา Board IBM เองว่า จะจัดการอาการโคม่านี้อย่างไร  
เพราะ ยักษ์สีฟ้าคือสัญญลักษณ์ของ Hi Tech เมืองลุงแซม
หากปล่อยให้ล้ม นั่นหมายถึงความพินาศของอุตสาหกรรม Hi Tech ทั้งหมด
(หาอ่านเพิ่มเติม Who Says Elephants Cant Dance : Inside IBMs Historic Turnaround by Louis Gerstner, Jr.
กูรูเองเคยเล่าละเอียดไว้ในโรงเรียน ฮ นกฮูก : บันทึกนิยายชั้นเรียน MBA )
กูรูขอบสนาม
Verified User
โพสต์: 987
ผู้ติดตาม: 0

เข้าชั้นเรียนกับ Drucker

โพสต์ที่ 30

โพสต์

รูปภาพ

ความจริงยังมีตัวอย่างสำคัญอีกกรณีหนึ่งคือ Kodak
อันนี้ คุณปู่ Drucker ไม่ได้พูดถึง แต่กูรูพูดเอง เพราะเคยศึกษามาบ้าง

เมื่อพูดถึง Kodak กับชาวเมืองโรเชสเตอร์  มลรัฐนิวยอร์ด
ใครๆก็เชิดหน้าภูมิใจว่านี่คือ คุณพ่อสุดที่รักของพวกเรา
คุณพ่อที่อุ้มดูปูเสื่อ ให้การศึกษา ให้งานเราทำ ให้เงินเราใช้
คุณพ่อผู้เป็นสัญญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ในเมืองนี้
สมาชิกอย่างน้อย 1 คนในครอบครัวประชากรโรเชสเตอร์ทำงานที่  Kodak

การเป็นพนักงาน Kodak มีความหมายมหาศาล (พอๆกับเลือดน้ำเงินของชาว IBM)
นั่นหมายถึงอนาคตที่หมดห่วง เพราะมีงานทำจนเกษียณ  
มีรายได้ตอบแทนเหนือกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
ไม่นับโบนัสปลายปีมาพร้อมกับ Santa Kodak  
สิทธิพิเศษต่างๆทางด้านสวัสดิการและสมาชิกคันทรี คลับ เลิศหรู
ทุกคนทำงาน สบายๆ  9 -5 นาฬิกา
หากทำงานนอกเวลานั้นก็มี OT ตอบแทนสาสม

ในด้านผลิตภัณฑ์เองเล่าก็เป็นผู้นำทางฟิลม์อันดับหนึ่ง  
แม้มียักษ์ฟูจิตามมาติดๆแต่ก็ไม่น่ากังวลหรอก
อย่างไรเสีย ญี่ปุ่นก็แค่ญี่ปุ่น ไม่มีทางมาตีตลาดมะกันได้
หนังโฆษณา Kodak ทุกเรื่องแทบทำให้คนดูน้ำซึมไปกับการเล่าเรื่อง
อดีตและความทรงจำอันสวยงามของผู้คน
ตั้งแต่ลูกถือกำเนิดตีนเท่าฝาหอย จนโตเป็นเด็กสาวปอม ปอม เกิร์ล
ถัดมาอีกสักพักก็เป็นเจ้าสาวแสนสวย แล้วก็ท้องป่องกลายเป็นคุณแม่
มีหลานตีนเท่าฝาหอยเกิดมาอีก  วนเวียนซาบซึ้งไปมา
ว่าแล้ว เราก็หรู เริด เชิด หยิ่งไปตามใจเชิบ..เชิบ :lol:

มหันตภัยเงียบมาเยือนไม่รู้ตัว เพราะมัวแต่ซาบซึ้งเรื่องเก่าๆโรแมนติค
คู่แข่งรายใหม่ที่ย่ำกรายในปริมณฑลของการถ่ายภาพ
ม้นไม่ใช่ฟิล์มสีอีกแล้ว
หากคือเทคโนโลยีดิจิตอลที่นำไปประยุกต์ในกล้องถ่ายรูปไม่ต้องใช้ฟิล์ม ( Filmless Camera)
ถ่ายภาพปุ๊บ เห็นทันที ล้างลบออกก็ง่าย ไม่ต้องเสียเวลา
ไม่ต้องซื้อฟิล์ม ไม่ต้องรอล้างฟิล์ม
เอาล่ะซิ คุณพ่อ Kodak มัวแต่สั่งให้ลูกๆพัฒนาฟิล์มสีคุณภาพดียิ่งขึ้นๆ
จนลืมมองข้างนอกว่า เทคโนโลยีได้เปลี่ยนไปแล้ว
ฟิล์มสีสวยสด ถ่ายรูปสมจริง กลายเป็นสิ่งตกยุค ตกสมัย
ความจริงคุณพ่อ Kodak ก็เห็น  
ใช่ว่าจะมืดบอด แผนก R &D ออกใหญ่โต
แต่คงคิดว่า นั่นเป็นการถ่ายภาพแบบโก้เก๋ ไม่ได้ใช้งานจริง
หรือถ้าพัฒนากล้องดิจิตอลขึ้นมาแล้ว  
อุ๊ยโหย๋ย  ก็มากินตลาดฟิล์มลูกรักสุดหวงน่ะซิ ทำไปได้อย่างไร
ว่าแล้วก็ใจเย็น วางเฉยไว้ก่อน
มันเป็นแค่แฟชั่นนะ แฟชั่น เดี๋ยวก็ไปแล้ว

แต่กล้องไร้ฟิล์มโก้เก๋ เป็นแฟชั่นระยะยาวเสียแล้ว
จำนวนกล้องที่ขายได้มากขึ้นๆ  พอๆจำนวนสั่งซื้อฟิล์มสีที่น้อยลงๆ
นั่นคือจุดเริ่มต้นอวสานคุณพ่อ Kodak

กำไรที่ลดลงจนต้องขายกิจการที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปเพื่อรักษากระแสเงินสด
(บริษัทเวชภัณฑ์ Sterling Drug/ ผลิตภัณฑ์ Consumer Household  L&F)  
เริ่มบ่งบอกอาการอ่อนแอของคุณพ่อที่เห็นชัดขึ้นทีละน้อยๆ
ถึงกระนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้กระเป๋าเงินคุณพ่อพองขึ้นมาเลย
เมื่อเริ่มต้นพัฒนากล้อง Digital ออกสู่ตลาด ก็วายไปแล้ว

ทุกวันนี้จากหุ้นที่เคยสูงสุดถึง 90 กว่าเหรียญ เหลือเพียงแค่เท่าไหร่ล่ะ...(ฝากดูให้ด้วยครับ)

ในวิกฤตย่อมมีโอกาส  
ครานี้จะกล่าวถึงบริษัทลูกนอกคอกของคุณพ่อ Kodak
Eastman Chemical เป็นบริษัทผู้ผลิตสารเคมี
เพื่อใช้ในงานผลิตฟิล์มถ่ายภาพและป้อนบริษัทอื่นๆในเครือ
ตั้งอยู่ที่ Kingsport มลรัฐเทนเนซซี่
ห่างไกลจากคฤหาสน์เมืองผู้ดีของคุณพ่อเป็นโยชน์
ลูกกลุ่มนี้เลยมีเลือดกบฎอยู่บ้าง

โดยอุปนิสัยของคนทำงานชาวใต้  ชาว Kingsport ทุกคนทำงานหนัก
ทุ่มเท ขยันขันแข็ง งานเป็นงาน เล่นก็เป็นงาน งานทั้งชีวิต
ประหยัด อดทน อึด (คุณสมบัติหลังนี้จำเป็นมาก)
ไม่มีหรอก Vacation หรูๆ  ปาร์ตี้เรือยอร์ช
หรือใช้ชีวิตสุดสัปดาห์ที่ Country Club แบบชาวโรเชสเตอร์
นั่นคือการใช้ชีวิตแบบบารอนหลงยุค ว่าเข้านั่น

แน่นอนในสายตาของชาว Kodak ที่โรเชสเตอร์
ย่อมมองชาว Eastman Chemical เป็นลูกบ้านนอก
เชย ทึ่ม ไม่มีความคิดสร้างสรรค์  ดีตรงขยันทำงานเป็นวัวควาย  
เพราะฉะนั้นเอาไว้สั่งงานอย่างเดียว

หาไม่รู้ไม่ ลูกบ้านนอกกลุ่มนี้ก็แสนจะอึดอัด
กับวิธีทำงานแบบลูกผู้ดีที่โรเชสเตอร์เหลือเกิน
เสนออะไรไปก็โดนปัด  คิดอะไรใหม่ๆให้ก็บอกให้ชะลอไว้ก่อน
ถูกกดมากๆก็ฮึดขึ้นมา ก่ออารยะขัดขืน ขอแยกตัวออกมาจากบริษัทแม่
ในลักษณะของ Employee  Buy Out (EBO)
จากพลังรวมใจพนักงานทั้งหมด ในปี 1994
ขณะที่บริษัทคุณพ่อกำลังประสบปัญหาการเงิน
ไม่สามารถเกื้อหนุนลูกๆทั้งหลายได้อีกต่อไป
วันต่อวันได้แต่จัดการขายมรดกเก่าเก็บเลี้ยงชีพ พร้อมแผนโละคนออก

Eastman Chemical ฝ่าด่านอรหันต์ออกมา ทนร้อน ทนหนาว
ดำเนินธุรกิจด้วยพนักงานกันเอง ไร้คุณพ่อคอยกุมบังเหียนและสั่งการ
ทดลองบทเรียนบริหารใหม่ๆผิดพลาด พลั้งไป
แต่ก็แก้ตัวได้และเรียนรู้จนเก่งกล้า  ประสบความสำเร็จติดอันดับ Fortune 500
ด้วยยอดขาย $ 7.5 พันล้านเหรียญ ในปี 2006 มีพนักงาน 11,000 คน

นับเป็นความกล้าหาญของผู้บริหารบริษัทบ้านนอกขณะนั้น
หากยังเกาะติดกระเตงกับคุณพ่อ Kodak อยู่ล่ะก้อ
มีหวังถูกยุบหรือไม่ก็ขายทิ้ง
ความสำเร็จของลูกกบฎปรากฏยกย่องในวิกีดังนี้
In January 2008, Corporate Responsibility Officer Magazine (CRO) named Eastman one of the five best corporate citizens
among chemical companies in the U.S.[1]
Eastman was also ranked 64th in CRO magazine's list of 100 Best Corporate Citizens for 2008. [2]
ทิ้งอดีตที่เคยรุ่งเรือง มองมุ่งไปข้างหน้า
จึงทำให้ Eastman Chemical มีวันนี้ได้

มาถึงตรงนี้ หลายคนคงสงสัย
เราจะคาดการณ์อนาคตล่วงหน้าได้อย่างไร
ไม่ใช่พ่อมด หมอผีเสียหน่อย (ถ้าเป็น ป่านนี้คงใบ้ห้วยหุ้นสนุกแล้ว)
คุณปู่ Drucker เอ่ยคำคมทันใด

You cannot predict the future, but you can create it
ทำได้อย่างไรล่ะ

หมั่นขวนขวายหาความรู้ในสิ่งใหม่ๆว่าเกิดอะไรขึ้นกับโลกบ้าง
ไม่ใช่เฉพาะในอุตสาหกรรมที่คุณอยู่  

อย่าถามตัวเองแค่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น  ควรถามต่ออีกว่า อะไรจะเกิดขึ้น  
ถ้าเกิด ..........(ติดเงื่อนไขเติมเอาเอง)  
เล่น what if... บ่อยๆแบบเด็กๆ ให้สมองมองเห็นภาพในอนาคต

อะไรจะเกิดขึ้น    ถ้า.....โลกนี้มีแต่คนอายุไม่เกิน 30 แบบในเวปนี้ หุหุ
อะไรจะเกิดขึ้น    ถ้า.....กรุงเทพได้รับเป็นเจ้าภาพโอลิมปิคครั้งหน้า
(ควันหลงจากป่ายจิง ป่ายจิง เรารักป่ายจิง)
อะไรจะเกิดขึ้น  ถ้า....ภาษาไทยกลายเป็นหนึ่งในภาษาสากล
(อันนี้ฝันเฟื่องเพราะรักภาษาจริงๆนะ)

เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงและค้นหาสาเหตุ  
เมื่อยอดขายขึ้นหรือตกเกินคาดหมาย
มันต้องมีอะไรสักอย่าง อย่าเพียงแต่คิดเข้าข้างตัวเอง
เถอะน่า  แล้วมันก็จะกลับมาสู่สภาพปกติเอง
(อันนี้เอาไปดัดแปลงกับการวิเคราะห์ราคาหุ้นได้)

ดัดแปลง หยิบยืม พัฒนาแนวความคิดใหม่ๆให้เข้ากับแนวทางดำเนินธุรกิจ  
อย่าลุ่มหลงพอใจกับความรุ่งเรืองในอดีต  
ยอมเจ็บปวดในสิ่งใหม่ที่ไม่คุ้นเคย  หากมันนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า

และจำไว้เสมอการเปลี่ยนแปลงคือนิรันดร์ ไม่มีอะไรอยู่คงกระพัน
:roll:



การบ้าน  : คิดว่ามีบริษัทไหนในบ้านเราที่ทำตัวเป็นคุณพ่อแสนดีแบบ Kodak บ้างเอ่ย
โพสต์โพสต์