|0 คอมเมนต์
ต่อล่ะนะ.....สู้ๆ ....อีกนิดเดียววววว
:lol:
.......................................................
อาณาปานสติ ขั้นที่ 14 รู้ ความจางคลาย (วิราคะ)
(ก่อนอื่น อย่าลืมทบทวนถึงความจำเป็นในการศึกษาธรรมมะ เห็นถึงข้อดีของการละกิเลส ว่าเป็นการกำจัดทุกข์ได้อย่างแท้จริง)
ทบทวนขั้นตอน....
....ทำจิตให้อยู่ในอำนาจ..........จับสัตว์ป่ามาเฆี่ยนตี =ควบคุมกายให้สงบระงับ
....สั่งมันให้ทำนั่นนี่ได้.........ฝึกแบบละเอียดอ่อนขึ้น =เข้าสู่ฌาน เกิดปีติ สุข ,จนมันทำได้ตามสั่งทุกลีลา จนมาถึงสงบเย็น ,ใช้จิตที่นิ่มนวลอ่อนโยนดีแล้ว มาใช้งานเพื่อการพิจารณาถึง "ความไม่เที่ยง"
.....ได้รับผลประโยชน์จากการฝึกจิตนั้น.......เมื่อฝึกจนเห้นถึง ไม่เที่ยง จึงเกิด วิราคะ(จางคลาย) ดังนั้น จึงเกิดมีสุขชนิดสงบสะอาด,สว่างสงบจากความยึดมั่นถือมั่น
....................................................
ผลของการเห็นความไม่เที่ยงอย่างละเอียดถึงที่สุด = เกิดความจางคลายจากความยึดมั่นถือมั่น ...ดังนั้น...ทุกข์ กิเลส ย่อมจางลงไปด้วยในสัดส่วนเดียวกัน
(วิธีการที่ดีที่สุด คือย้อนกลับไปเริ่มดูมาแต่ขั้นแรก เห็นความเปลี่ยนแปลงไป ไม่เที่ยงนั้น อย่างแยบคาย)
มองเห็นความไม่เที่ยง แม้แต่กระทั่ง ไม่เที่ยงของความตั้งมั่นของจิต 8) ,ไม่เที่ยงของความที่จิตปล่อยวางอยู่ 8) ....เนื่องจาก แม้ในสองขั้นนี้ มันเกิดขึ้นได้ก็เพราะมันมีเหตุ มีปัจจัย กระทำให้เกิด....ก้เราไง เราทำเอง เราทำตามขั้นตอนแต่ละขั้นมา นั่นแหละ คือปัจจัย ที่ทำให้จิตสามารถตั้งมั่นได้ ,ปล่อยวางได้....เห็นไหม เห็นไหม
ลองเราไม่ทำสิ มันจะเกิดได้ไหม เห็นไหม เห็นไหม ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง .....
เมื่อเห็นถึง"ไม่เที่ยง"จนลึกซึ้งถึงที่สุดขนาดนี้ จางคลายจึงเกิดอย่างอัตโนมัติ เพราะมันทราบแจ้งอย่างแท้จริง ว่าไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นถือมั่นได้จริงเลยยยยยย
การยึดเป็น "ตัวกู ของกู" นั้น ที่แท้แล้วมัน "มายา" นั่นเอง
..............................................................................................
กำไร-เสมอตัว-ขาดทุน ของกูนั้น มันก็แค่เป็นอย่างนั้นเอง :mrgreen:
มันมีเหตุ-ปัจจัย ที่ทำให้เกิดเป็นเช่นนั้น ก็แค่กระทำอย่างไรต่อไปอย่างมีสติพิจารณา ...ไม่จำเป็นเล้ยยยย...ที่ต้องไปยึดเอาอารมณ์เข้ามาประกอบเป็น ทุกข์หรือสุข ,
กำไร-ขาดทุน แล้วยึดมั่นในอารมณ์เป้นตัวเป็นตน .....ไม่เกิดฉลาด แต่กลับพร่ามัวมากขึ้นนนนน
คลายกำหนัดเสีย คลายยึดมั่นถือมั่นนั้นเสีย ด้วยวิธี"จี้"ไปดูถึงความไม่เที่ยง มันก็รู้แล้วว่าไม่มีอะไรที่จะยึดมั่นไว้ได้เลย
ดูให้รู้ ให้เห็น ให้รู้สึกถึง "จางคลาย" ในทุกๆขั้นตอน
(เทคนิค การแลเห็นถึงความไม่เที่ยงนี้นั้น มันไม่ต้องใช้เหตุผล ไม่ต้องคำนวน แค่รู้ว่ามันแปรเปลี่ยนไปได้ "มันคือไม่เที่ยง"...โดยไม่ต้องนั่งหาเหตุผล รู้สึกได้จริงว่า "ไม่เที่ยง" นั้นมันเกิดขึ้นจริง ไม่ต้องคำนวน , เช่น กินอะไรเข้าไปแล้วมันเกิดอร่อย และพักนึงมันก็จะหายอร่อยไป....มันเห็นเอง รู้สึกออกมาเอง ไม่ต้องมัวหาอยู่ว่า มันอร่อยเพราะอะไร , ให้ตั้งมั่นแต่การเห็นถึงความไม่เที่ยงของมัน , เพราะถ้ามัวไปแวะหาว่าอร่อยเพราะอะไร((เช่นอร่อยเพราะข้าวมันหุงมาร้อนๆ)) มันจะเกิดหลงรอ อยากจะได้อร่อยอยู่อย่างนั้น ...ก็พอดีเสร็จกัน ลืมพิจารณาถึงความไม่เที่ยง)
.........................................................
เปรียบความยึดมั่นเป็นเสือร้าย กระโจนเข้ามาจะกัดเรา
เพียงเรามองมัน กำหนดรู้ถึง อนิจจานุปัสสี -ไม่เที่ยง ๆๆๆๆๆ จนเห็นความจางคลาย
มองปราดเดียว เสือร้ายละลายไป พุ่งมากัดเราไม่ได้
ติดอาวุธทางสายตาแห่งการรู้แจ้ง
เมื่อเสือร้ายหายไป ปัญญาจึงเกิด
ยินดีต้อนรับเสี่ยตา ปัญญา ค่ะ....................... :lovl:
"มี วิราคานุปัสสี เห็นถึงความจางคลาย จากความยึดมั่นถือมั่นนั้นๆ อยู่ทุกลมหายใจออกเข้า"