ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!
โพสต์ที่ 1
ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี ตู้สินค้าขาดฉุดขนส่งเสียศูนย์
ตอกย้ำรูปธรรมเศรษฐกิจขาลง นำเข้าต่ำติดดิน ส่งผลตู้คอนเทนเนอร์ขาดหนัก "สุนิดา สกุลรัตนะ" ผอ.การท่าเรือฯแจงเฉพาะ 5 เดือนแรก ไทยต้องนำเข้าตู้เปล่าเพิ่มขึ้น 32.87% สอดคล้องกับตัวเลขสินค้านำเข้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านสภาผู้ส่งสินค้า ทางเรือยอมรับสายการเดินเรือต้องนำตู้เปล่าเข้าประเทศ เพราะการนำเข้าสินค้าทุนลดต่ำลงอย่างมาก แบงก์ชาติทำใจลดตัวเลข จีดีพีเหลือ 3.75% กรรมาธิการ สนช.หวั่นส่งออกเริ่มชะลอตัว
นางสุนิดา สกุลรัตนะ ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์การส่งออกและนำเข้าของไทยว่า ขณะนี้สินค้านำเข้าลดลงมาก ขณะที่การส่งออกคงเดิม ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้า "ตู้เปล่า" เพิ่มขึ้น เฉพาะท่าเรือกรุงเทพมีการนำเข้าตู้เปล่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-ก.พ.2550) จำนวน 52,455 TEU หรือเพิ่มขึ้น 32.87% เนื่องจากมีความต้องการ ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งสินค้าออกยังมีปริมาณคงเดิมและเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ปริมาณการนำเข้าสินค้ากลับลดลง อย่างไรก็ตามการท่าเรือฯคาดว่าในปี 2550 ปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือกรุงเทพจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.45 ล้าน TEU จากที่ในปี 2549 มีปริมาณตู้สินค้า 1.34 ล้าน TEU ส่วนท่าเรือแหลมฉบัง คาดว่าจะมีปริมาณตู้สินค้าผ่าน 4.6-4.7 ล้าน TEU จากในปี 2549 ที่มีปริมาณตู้สินค้า 4 ล้าน TEU
เฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-มี.ค.2550) มีเรือเข้าจอดเทียบท่าเรือแหลมฉบัง 3,248 เที่ยว เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 21.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15.8% และมีตู้สินค้าผ่านท่าจำนวน 2.2 ล้าน TEU เพิ่มขึ้น 15.8%
เรือเข้าจอดเทียบท่าเรือกรุงเทพในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-มี.ค.2550) เปรียบเทียบกับ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 พบว่ามีจำนวนเรือผ่าน ท่า 1,435 เที่ยว เพิ่มขึ้น 2.3% ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 9.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9.6% และมีตู้สินค้าผ่านท่าจำนวน 0.7 ล้าน TEU เท่ากับปีก่อน
ท่าเรือภูมิภาค ท่าเรือเชียงแสน และเชียงของ มีจำนวนเรือผ่านท่า 2,124 เที่ยว เพิ่มขึ้น 15.7% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 90,332 ตัน เพิ่มขึ้น 2.4% ท่าเรือระนอง มีจำนวนเรือผ่าน ท่า 150 เที่ยว เพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าผ่าน ท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 13,190 ตัน เพิ่มขึ้น 547% รวม กทท.มีรายได้ 4,177 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5% ขณะที่ค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 3,157 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% ทำให้มีกำไรสุทธิเป็นเงิน 1,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.1%
การให้บริการตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 579,882 TEU เป็น 635,975 TEU (เปรียบเทียบ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ) โดยเพิ่มขึ้น 56,093 TEU หรือเพิ่มขึ้น 9.67% ท่าเรือแหลมฉบัง ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 1,638,172 TEU เป็น 1,820,457 TEU โดยเพิ่มขึ้น 182,285 TEU หรือเพิ่มขึ้น 11.13% ส่วนท่าเรือระนอง ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 6 TEU เป็น 7 TEU โดยเพิ่มขึ้น 1 TEU หรือเพิ่มขึ้น 16.67% สำหรับท่าเอกชน 4 ท่า ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 88,420 TEU เป็น 90,830 TEU โดยเพิ่มขึ้น 2,410 TEU หรือเพิ่มขึ้น 2.73%
สภาเรือชี้นำเข้าสินค้าทุนต่ำจนตู้ขาด
ด้านนายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ เลขาธิการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้น่าเป็นห่วงสถานการณ์นำเข้าและส่งออกของไทยในระยะสั้นมาก เนื่องจากปริมาณการนำเข้าที่ลดลงในช่วงปลายปี 2549 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปี 2550 จนทำให้เกิดปรากฎการณ์ตู้สินค้าส่งออกขาดแคลน จนสายเดินเรือต้องนำเข้าตู้เปล่ากลับเข้ามาเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนลดลงต่ำและจะส่งผลในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าทำให้การส่งออกลดลงด้วย
ทางกลุ่มผู้ส่งออกมีการประเมินถึงผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วว่า ส่งผลกระทบทำให้ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ไม่กล้ารับออร์เดอร์มาก เพราะส่งออกมากยิ่งขาดทุนมาก ส่วนใหญ่จึงรับออร์เดอร์แค่พอรักษาตลาดเดิมไว้เท่านั้น ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาการนำเข้าสินค้าทุนซึ่งเป็นวัตถุดิบมีการชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ส่งออกได้คาดการณ์ในทางที่ดีว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2-ไตรมาสที่ 3 น่าจะมีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลิตสินค้าส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3-ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ส่วนกรณีที่บริษัทเรือมีการนำเข้าตู้สินค้ามากขึ้นนั้น ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงกับผู้ส่งออก เพราะผู้ส่งออก 80% ส่งออกแบบ FOB ดังนั้นต้นทุนของผู้ส่งออกจึงยังไม่เพิ่มขึ้น
ส่งออกโต 18.4% นำเข้าลดลงต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการส่งออก-นำเข้าสินค้าไทยในเดือนมีนาคมเข้ามาว่า การส่งออกของประเทศไทยยังขยายตัวสูงขึ้นถึง 18.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 13,103.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องจากต้นปี และยังมีมูลค่าสูงกว่า 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกด้วย
ขณะที่การนำเข้าในเดือนมีนาคม ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือเพิ่มขึ้นเพียง 0.58% คิดเป็นมูลค่า 10,836.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้าถึง 2,267.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ในไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.2550) ประเทศไทยมีอัตราการส่งออกขยายตัว 18.2% หรือมูลค่า 34,824.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเกินดุลอยู่ที่ 4,270.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกเติบโตต่อเนื่องเป็นเพราะสินค้าสำคัญในรายการส่งออกมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกหมวด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น 20.4% โดยเฉพาะข้าว, มันสำปะหลัง, อาหารแช่แข็ง/แปรรูป, อาหารทะเล, ผัก/ผลไม้ และไก่
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.4% จากการส่งออกสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์, วัสดุก่อสร้าง, ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องหนัง อีกทั้งกลุ่มสินค้าอื่นๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 24.6% เช่น เคมีภัณฑ์, เครื่องจักรกล/ส่วนประกอบของอากาศยาน, อุปกรณ์การบิน และเลนส์
โดยนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงความกังวลถึงตัวเลขการนำเข้าที่ลดลงอย่างผิดปกติ "น่าจับตามองว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น แต่การนำเข้าสินค้ายังลดลง แต่ประเทศไทยยังสามารถแข่งขันได้และคาดว่าการส่งออกทั้งปีจะยังขยายตัว 12.5% ตามเป้าที่วางไว้"
ธปท.ปรับลด GDP
ในด้านเศรษฐกิจรวม นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2549 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2550 ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศที่อ่อนตัวลงทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่ยังคงเปราะบาง แต่เชื่อว่าการใช้จ่ายภาครัฐที่เริ่มเร่งตัว และการส่งออกที่ยังขยายตัวดีจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
กนง.ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้า ได้เปลี่ยนแปลงสมมติฐานสำคัญในส่วนของราคาน้ำมัน, แนวโน้มค่าเงินบาท, การใช้จ่ายภาครัฐ และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญจึงเปลี่ยนแปลงประมาณการ GDP จากรายงานครั้งก่อนที่ 4-5% เป็น 3.75-4.75%
ส่วนเงินเฟ้อ แม้จะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน แต่ ธปท.ยังคงประมาณการเดิม โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปตลอดปีจะอยู่ที่ 1.5-2.5% เงินเฟ้อพื้นฐาน 1-2% เนื่องมาจากไม่มีปัจจัยการส่งผ่านจากเงินเฟ้อทั่วไปสู่เงินเฟ้อพื้นฐานเพราะการอ่อนตัวของอุปสงค์ในประเทศ
ด้านเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าประเมินว่า ในปี 2550-2551 จะขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชีย ที่คาดว่าจะขยายตัวในปีนี้ 2.3% 2.1% 6.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.0% 2.0% และ 1.9% ตามลำดับ ซึ่งทั้งหมดจะสามารถชดเชยการชะลอตัวของสหรัฐ ที่คาดว่าจะขยายตัวในปี 2550 2.4% จากเดิมมองไว้ที่ 2.5% ผลจากการชะลอตัวในตลาดที่อยู่อาศัย และปัญหาผู้กู้ความน่าเชื่อถือต่ำ
จากการชะลอตัวของสหรัฐ ทำให้คาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ารวมจะขยายตัวที่ 4.4% และจะปรับดีขึ้นเป็น 4.5% ในปี 2551 ตามการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐ จากการที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
"ในระยะที่ผ่านมายอดสต๊อกสินค้าของเอกชนได้ลดต่ำลง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก ส่วนการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมเดิมอาจจะมีต่อเนื่อง แต่โอกาสที่จะเห็นการลงทุนใหม่ในปีนี้คงจะมีไม่มากเนื่องจากปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างที่ไม่เอื้อ เช่น ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสถานการณ์ทางการเมือง แต่ก็คาดว่าหากมีการเลือกตั้งตามกรอบเวลาที่รัฐบาลให้ไว้การลงทุนจะดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีหน้า" นายเมธีกล่าว
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเข้ามาเสริมที่ออกไปแล้ว เพื่อให้เม็ดเงินไปสู่ประชาชนฐานรากมากขึ้น แต่จะมากแค่ไหนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
สำหรับภาวะเศรษฐกิจในเดือน มี.ค.2550 ก็ไม่ได้มีอะไรที่แย่หมดทุกตัว อาทิ ภาคการส่งออกก็ยังขยายตัวได้ถึง 18% แม้ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้น แต่การขยายตัวครั้งนี้อาจจะไม่กระจายทั่วถึงทุกกลุ่ม มีบางกลุ่มได้มาก บางกลุ่มติดลบ ซึ่งกลุ่มไหนที่มีปัญหาก็จะต้องลงไปดูว่าเกิดจากปัจจัยอะไรถึงติดลบ โดยวันที่ 2 พฤษภาคมนี้จะเรียกสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมาหารือเพื่อเร่งรัดสินเชื่อลงสู่ภาคเศรษฐกิจฐานราก ส่วนมาตรการภาษีอสังหาริมทรัพย์ขอศึกษาให้เสร็จก่อน และให้สินเชื่อแบงก์รัฐออกไปก่อน ค่อยพิจารณามาตรการอสังหาริมทรัพย์
กรรมาธิการคลัง หวั่นส่งออกเริ่มชะลอตัวแล้ว
นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ กรรมาธิการการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงนี้ การส่งออกชะลอตัวลง อัตราการบริโภคของประชาชนลดลง
"ผมไม่แน่ใจว่าอัตราการบริโภคของประชาชนที่ลดลงนั้น เกิดจากคนไม่มั่นใจในการบริโภค หรือคนเป็นหนี้จนบริโภคไม่ได้ ผมคาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจก็ยังไม่ดีขึ้น ยกเว้นว่าจะมีการเลือกตั้งที่จะสามารถฟื้นฟูดึงความเชื่อมั่น แต่จะด้วยวิธีใดนั้นคงบอกยาก"
นายสมชายกล่าวต่อไปว่า การส่งออกเริ่มชะลอตัว เพราะผลกระทบจากค่าเงินบาท ต่อไปนี้คือ "ของจริง" ค่าเงินบาทสูง การแข่งขันของเรายังไม่ดีขึ้น ดูได้จากไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้วจนถึงเดือนมีนาคมปีนี้ ลดลงไป 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าการส่งออกมีการชะลอตัวลง ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาความไม่เชื่อมั่นของประชาชน
"ลองถามตัวเองดูก็ได้ว่า มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ดีหรือไม่ดี ตลาดหุ้นจะขึ้นดีหรือไม่ดี ตรงนี้ไม่มีใครบอก ซึ่งจริงๆ แล้วผู้บริหารต้องเลือกว่าจะเอาอะไร จะถูกจะผิดไม่เป็นไร แต่เมื่อไม่เลือก ลอยไปลอยมาอยู่อย่างนี้ คนเลยเลิกใช้เงิน เพราะไม่รู้ว่าการเมืองจะไปทางไหน การตัดสินใจของรัฐบาลนั้นสำคัญ นักลงทุนนักธุรกิจจะตัดสินใจอะไรก็ต้องตัดสินใจหลังรัฐบาลทุกครั้ง เมื่อนักธุรกิจดูแนวทางของรัฐแล้ว แต่รัฐกลับไม่ชัดเจน การวางแผนทางธุรกิจก็ทำได้แต่ wait and see เกียร์ว่างกันทั้งระบบ" นายสมชายกล่าว
ตอกย้ำรูปธรรมเศรษฐกิจขาลง นำเข้าต่ำติดดิน ส่งผลตู้คอนเทนเนอร์ขาดหนัก "สุนิดา สกุลรัตนะ" ผอ.การท่าเรือฯแจงเฉพาะ 5 เดือนแรก ไทยต้องนำเข้าตู้เปล่าเพิ่มขึ้น 32.87% สอดคล้องกับตัวเลขสินค้านำเข้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านสภาผู้ส่งสินค้า ทางเรือยอมรับสายการเดินเรือต้องนำตู้เปล่าเข้าประเทศ เพราะการนำเข้าสินค้าทุนลดต่ำลงอย่างมาก แบงก์ชาติทำใจลดตัวเลข จีดีพีเหลือ 3.75% กรรมาธิการ สนช.หวั่นส่งออกเริ่มชะลอตัว
นางสุนิดา สกุลรัตนะ ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์การส่งออกและนำเข้าของไทยว่า ขณะนี้สินค้านำเข้าลดลงมาก ขณะที่การส่งออกคงเดิม ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้า "ตู้เปล่า" เพิ่มขึ้น เฉพาะท่าเรือกรุงเทพมีการนำเข้าตู้เปล่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-ก.พ.2550) จำนวน 52,455 TEU หรือเพิ่มขึ้น 32.87% เนื่องจากมีความต้องการ ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งสินค้าออกยังมีปริมาณคงเดิมและเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ปริมาณการนำเข้าสินค้ากลับลดลง อย่างไรก็ตามการท่าเรือฯคาดว่าในปี 2550 ปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือกรุงเทพจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.45 ล้าน TEU จากที่ในปี 2549 มีปริมาณตู้สินค้า 1.34 ล้าน TEU ส่วนท่าเรือแหลมฉบัง คาดว่าจะมีปริมาณตู้สินค้าผ่าน 4.6-4.7 ล้าน TEU จากในปี 2549 ที่มีปริมาณตู้สินค้า 4 ล้าน TEU
เฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-มี.ค.2550) มีเรือเข้าจอดเทียบท่าเรือแหลมฉบัง 3,248 เที่ยว เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 21.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15.8% และมีตู้สินค้าผ่านท่าจำนวน 2.2 ล้าน TEU เพิ่มขึ้น 15.8%
เรือเข้าจอดเทียบท่าเรือกรุงเทพในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-มี.ค.2550) เปรียบเทียบกับ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 พบว่ามีจำนวนเรือผ่าน ท่า 1,435 เที่ยว เพิ่มขึ้น 2.3% ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 9.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9.6% และมีตู้สินค้าผ่านท่าจำนวน 0.7 ล้าน TEU เท่ากับปีก่อน
ท่าเรือภูมิภาค ท่าเรือเชียงแสน และเชียงของ มีจำนวนเรือผ่านท่า 2,124 เที่ยว เพิ่มขึ้น 15.7% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 90,332 ตัน เพิ่มขึ้น 2.4% ท่าเรือระนอง มีจำนวนเรือผ่าน ท่า 150 เที่ยว เพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าผ่าน ท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 13,190 ตัน เพิ่มขึ้น 547% รวม กทท.มีรายได้ 4,177 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5% ขณะที่ค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 3,157 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% ทำให้มีกำไรสุทธิเป็นเงิน 1,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.1%
การให้บริการตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 579,882 TEU เป็น 635,975 TEU (เปรียบเทียบ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ) โดยเพิ่มขึ้น 56,093 TEU หรือเพิ่มขึ้น 9.67% ท่าเรือแหลมฉบัง ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 1,638,172 TEU เป็น 1,820,457 TEU โดยเพิ่มขึ้น 182,285 TEU หรือเพิ่มขึ้น 11.13% ส่วนท่าเรือระนอง ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 6 TEU เป็น 7 TEU โดยเพิ่มขึ้น 1 TEU หรือเพิ่มขึ้น 16.67% สำหรับท่าเอกชน 4 ท่า ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 88,420 TEU เป็น 90,830 TEU โดยเพิ่มขึ้น 2,410 TEU หรือเพิ่มขึ้น 2.73%
สภาเรือชี้นำเข้าสินค้าทุนต่ำจนตู้ขาด
ด้านนายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ เลขาธิการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้น่าเป็นห่วงสถานการณ์นำเข้าและส่งออกของไทยในระยะสั้นมาก เนื่องจากปริมาณการนำเข้าที่ลดลงในช่วงปลายปี 2549 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปี 2550 จนทำให้เกิดปรากฎการณ์ตู้สินค้าส่งออกขาดแคลน จนสายเดินเรือต้องนำเข้าตู้เปล่ากลับเข้ามาเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนลดลงต่ำและจะส่งผลในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าทำให้การส่งออกลดลงด้วย
ทางกลุ่มผู้ส่งออกมีการประเมินถึงผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วว่า ส่งผลกระทบทำให้ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ไม่กล้ารับออร์เดอร์มาก เพราะส่งออกมากยิ่งขาดทุนมาก ส่วนใหญ่จึงรับออร์เดอร์แค่พอรักษาตลาดเดิมไว้เท่านั้น ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาการนำเข้าสินค้าทุนซึ่งเป็นวัตถุดิบมีการชะลอตัวลง
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ส่งออกได้คาดการณ์ในทางที่ดีว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2-ไตรมาสที่ 3 น่าจะมีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลิตสินค้าส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3-ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ส่วนกรณีที่บริษัทเรือมีการนำเข้าตู้สินค้ามากขึ้นนั้น ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงกับผู้ส่งออก เพราะผู้ส่งออก 80% ส่งออกแบบ FOB ดังนั้นต้นทุนของผู้ส่งออกจึงยังไม่เพิ่มขึ้น
ส่งออกโต 18.4% นำเข้าลดลงต่อเนื่อง
ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการส่งออก-นำเข้าสินค้าไทยในเดือนมีนาคมเข้ามาว่า การส่งออกของประเทศไทยยังขยายตัวสูงขึ้นถึง 18.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 13,103.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องจากต้นปี และยังมีมูลค่าสูงกว่า 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกด้วย
ขณะที่การนำเข้าในเดือนมีนาคม ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือเพิ่มขึ้นเพียง 0.58% คิดเป็นมูลค่า 10,836.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้าถึง 2,267.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ในไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.2550) ประเทศไทยมีอัตราการส่งออกขยายตัว 18.2% หรือมูลค่า 34,824.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเกินดุลอยู่ที่ 4,270.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกเติบโตต่อเนื่องเป็นเพราะสินค้าสำคัญในรายการส่งออกมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกหมวด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น 20.4% โดยเฉพาะข้าว, มันสำปะหลัง, อาหารแช่แข็ง/แปรรูป, อาหารทะเล, ผัก/ผลไม้ และไก่
ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.4% จากการส่งออกสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์, วัสดุก่อสร้าง, ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องหนัง อีกทั้งกลุ่มสินค้าอื่นๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 24.6% เช่น เคมีภัณฑ์, เครื่องจักรกล/ส่วนประกอบของอากาศยาน, อุปกรณ์การบิน และเลนส์
โดยนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงความกังวลถึงตัวเลขการนำเข้าที่ลดลงอย่างผิดปกติ "น่าจับตามองว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น แต่การนำเข้าสินค้ายังลดลง แต่ประเทศไทยยังสามารถแข่งขันได้และคาดว่าการส่งออกทั้งปีจะยังขยายตัว 12.5% ตามเป้าที่วางไว้"
ธปท.ปรับลด GDP
ในด้านเศรษฐกิจรวม นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2549 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2550 ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศที่อ่อนตัวลงทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่ยังคงเปราะบาง แต่เชื่อว่าการใช้จ่ายภาครัฐที่เริ่มเร่งตัว และการส่งออกที่ยังขยายตัวดีจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
กนง.ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้า ได้เปลี่ยนแปลงสมมติฐานสำคัญในส่วนของราคาน้ำมัน, แนวโน้มค่าเงินบาท, การใช้จ่ายภาครัฐ และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญจึงเปลี่ยนแปลงประมาณการ GDP จากรายงานครั้งก่อนที่ 4-5% เป็น 3.75-4.75%
ส่วนเงินเฟ้อ แม้จะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน แต่ ธปท.ยังคงประมาณการเดิม โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปตลอดปีจะอยู่ที่ 1.5-2.5% เงินเฟ้อพื้นฐาน 1-2% เนื่องมาจากไม่มีปัจจัยการส่งผ่านจากเงินเฟ้อทั่วไปสู่เงินเฟ้อพื้นฐานเพราะการอ่อนตัวของอุปสงค์ในประเทศ
ด้านเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าประเมินว่า ในปี 2550-2551 จะขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชีย ที่คาดว่าจะขยายตัวในปีนี้ 2.3% 2.1% 6.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.0% 2.0% และ 1.9% ตามลำดับ ซึ่งทั้งหมดจะสามารถชดเชยการชะลอตัวของสหรัฐ ที่คาดว่าจะขยายตัวในปี 2550 2.4% จากเดิมมองไว้ที่ 2.5% ผลจากการชะลอตัวในตลาดที่อยู่อาศัย และปัญหาผู้กู้ความน่าเชื่อถือต่ำ
จากการชะลอตัวของสหรัฐ ทำให้คาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ารวมจะขยายตัวที่ 4.4% และจะปรับดีขึ้นเป็น 4.5% ในปี 2551 ตามการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐ จากการที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ของปีนี้
"ในระยะที่ผ่านมายอดสต๊อกสินค้าของเอกชนได้ลดต่ำลง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก ส่วนการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมเดิมอาจจะมีต่อเนื่อง แต่โอกาสที่จะเห็นการลงทุนใหม่ในปีนี้คงจะมีไม่มากเนื่องจากปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างที่ไม่เอื้อ เช่น ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสถานการณ์ทางการเมือง แต่ก็คาดว่าหากมีการเลือกตั้งตามกรอบเวลาที่รัฐบาลให้ไว้การลงทุนจะดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีหน้า" นายเมธีกล่าว
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเข้ามาเสริมที่ออกไปแล้ว เพื่อให้เม็ดเงินไปสู่ประชาชนฐานรากมากขึ้น แต่จะมากแค่ไหนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ
สำหรับภาวะเศรษฐกิจในเดือน มี.ค.2550 ก็ไม่ได้มีอะไรที่แย่หมดทุกตัว อาทิ ภาคการส่งออกก็ยังขยายตัวได้ถึง 18% แม้ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้น แต่การขยายตัวครั้งนี้อาจจะไม่กระจายทั่วถึงทุกกลุ่ม มีบางกลุ่มได้มาก บางกลุ่มติดลบ ซึ่งกลุ่มไหนที่มีปัญหาก็จะต้องลงไปดูว่าเกิดจากปัจจัยอะไรถึงติดลบ โดยวันที่ 2 พฤษภาคมนี้จะเรียกสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมาหารือเพื่อเร่งรัดสินเชื่อลงสู่ภาคเศรษฐกิจฐานราก ส่วนมาตรการภาษีอสังหาริมทรัพย์ขอศึกษาให้เสร็จก่อน และให้สินเชื่อแบงก์รัฐออกไปก่อน ค่อยพิจารณามาตรการอสังหาริมทรัพย์
กรรมาธิการคลัง หวั่นส่งออกเริ่มชะลอตัวแล้ว
นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ กรรมาธิการการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงนี้ การส่งออกชะลอตัวลง อัตราการบริโภคของประชาชนลดลง
"ผมไม่แน่ใจว่าอัตราการบริโภคของประชาชนที่ลดลงนั้น เกิดจากคนไม่มั่นใจในการบริโภค หรือคนเป็นหนี้จนบริโภคไม่ได้ ผมคาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจก็ยังไม่ดีขึ้น ยกเว้นว่าจะมีการเลือกตั้งที่จะสามารถฟื้นฟูดึงความเชื่อมั่น แต่จะด้วยวิธีใดนั้นคงบอกยาก"
นายสมชายกล่าวต่อไปว่า การส่งออกเริ่มชะลอตัว เพราะผลกระทบจากค่าเงินบาท ต่อไปนี้คือ "ของจริง" ค่าเงินบาทสูง การแข่งขันของเรายังไม่ดีขึ้น ดูได้จากไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้วจนถึงเดือนมีนาคมปีนี้ ลดลงไป 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าการส่งออกมีการชะลอตัวลง ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาความไม่เชื่อมั่นของประชาชน
"ลองถามตัวเองดูก็ได้ว่า มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ดีหรือไม่ดี ตลาดหุ้นจะขึ้นดีหรือไม่ดี ตรงนี้ไม่มีใครบอก ซึ่งจริงๆ แล้วผู้บริหารต้องเลือกว่าจะเอาอะไร จะถูกจะผิดไม่เป็นไร แต่เมื่อไม่เลือก ลอยไปลอยมาอยู่อย่างนี้ คนเลยเลิกใช้เงิน เพราะไม่รู้ว่าการเมืองจะไปทางไหน การตัดสินใจของรัฐบาลนั้นสำคัญ นักลงทุนนักธุรกิจจะตัดสินใจอะไรก็ต้องตัดสินใจหลังรัฐบาลทุกครั้ง เมื่อนักธุรกิจดูแนวทางของรัฐแล้ว แต่รัฐกลับไม่ชัดเจน การวางแผนทางธุรกิจก็ทำได้แต่ wait and see เกียร์ว่างกันทั้งระบบ" นายสมชายกล่าว
- LOSO
- Verified User
- โพสต์: 2512
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!
โพสต์ที่ 2
- CEO
- Verified User
- โพสต์: 1243
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!
โพสต์ที่ 4
วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 www.posttoday.com
โกร่งห่วงเศรษฐกิจไทยกู่ไม่กลับ
โพสต์ทูเดย์ ดร.โกร่ง ชี้ ศก.ไทยน่าห่วงไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัว แนะดูแลค่าเงิน คลังรับลูก
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกห่วงเศรษฐกิจไทยปีนี้และปีหน้า เพราะยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว และจากตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือนมีนาคม 2550 แม้ว่าการส่งออกยังขยายตัวสูงถึงกว่า 18% เห็นได้ชัดว่าสัญญาณการลงทุนและกำลังซื้อหดตัวอย่างชัดเจน เนื่องจากการนำเข้าขยายตัวลดวูบลงมาเหลือเพียง 0.6% เท่านั้น
ปีนี้พ่อค้า ประชาชน ทำงานกันหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อวันก่อนภาครัฐประกาศตัวเลขส่งออกโต 18% แต่ตัวเลขการนำเข้ากลับหด นี่มันแปลว่ากำลังซื้อลด การลงทุนลด ผมก็รู้สึกใจหายเหมือนกัน ทำให้เห็นว่าปีนี้ประเทศไทยน่าเป็นห่วงมาก นายวีรพงษ์ กล่าว
นายวีรพงษ์ กล่าวว่า สถานการณ์ของประเทศแย่ลงเกือบทุกด้าน โดยปัจจัยหลักมาจากเรื่องการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งและการยกร่างรัฐธรรมนูญก็จะยังไม่รู้ว่าจะมีบทสรุปเมื่อใด ขณะที่ประเทศเวียดนามและจีนตอนนี้กำลังเป็นตลาดขาขึ้น แต่ตลาดของไทยคงจะคาดหวังอะไรมากไม่ได้
นอกจากนั้น ยังมองว่าเงินบาทยังมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นต่อไป ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะดูแลค่าเงินบาทด้วยความระมัดระวังตั้งแต่ปี 2548-2549 ที่เห็นทิศทางได้ล่วงหน้าแล้ว
ก็ไม่รู้จะทำยังไง มาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ออกมาไม่รู้ว่าจะสามารถหยุดการแข็งค่าของเงินบาทได้หรือไม่ นายวีรพงษ์ กล่าว
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทขณะนี้ยังมีความจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อดูแลการไหลเข้าของเงินทุน เช่น มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ที่ให้ผู้นำเข้าเงินทุนต้องทำสวอปล่วงหน้า 3 เดือน ซึ่งจะทำให้ผู้นำเข้าเงินไม่ได้ประโยชน์จากการเก็งกำไรค่าเงินบาท ขณะเดียวกันค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรมีการเคลื่อนไหวแบบ 2 ทาง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อการดึงดูดนักเก็งกำไร โดยเฉพาะช่วงที่มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจำนวนมาก ไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค
นายฉลองภพ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ลงนามในประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อผ่อนปรนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ต่อไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้ เพราะเกรงว่าหากกลับไปใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% จะทำให้เกิดปัญหาการบริโภคในประเทศรุนแรง เพราะภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ยังชะลอตัว และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบได้ในเร็วๆ นี้ ส่วนการปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องพิจารณาให้รอบคอบ
โกร่งห่วงเศรษฐกิจไทยกู่ไม่กลับ
โพสต์ทูเดย์ ดร.โกร่ง ชี้ ศก.ไทยน่าห่วงไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัว แนะดูแลค่าเงิน คลังรับลูก
นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกห่วงเศรษฐกิจไทยปีนี้และปีหน้า เพราะยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว และจากตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือนมีนาคม 2550 แม้ว่าการส่งออกยังขยายตัวสูงถึงกว่า 18% เห็นได้ชัดว่าสัญญาณการลงทุนและกำลังซื้อหดตัวอย่างชัดเจน เนื่องจากการนำเข้าขยายตัวลดวูบลงมาเหลือเพียง 0.6% เท่านั้น
ปีนี้พ่อค้า ประชาชน ทำงานกันหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อวันก่อนภาครัฐประกาศตัวเลขส่งออกโต 18% แต่ตัวเลขการนำเข้ากลับหด นี่มันแปลว่ากำลังซื้อลด การลงทุนลด ผมก็รู้สึกใจหายเหมือนกัน ทำให้เห็นว่าปีนี้ประเทศไทยน่าเป็นห่วงมาก นายวีรพงษ์ กล่าว
นายวีรพงษ์ กล่าวว่า สถานการณ์ของประเทศแย่ลงเกือบทุกด้าน โดยปัจจัยหลักมาจากเรื่องการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งและการยกร่างรัฐธรรมนูญก็จะยังไม่รู้ว่าจะมีบทสรุปเมื่อใด ขณะที่ประเทศเวียดนามและจีนตอนนี้กำลังเป็นตลาดขาขึ้น แต่ตลาดของไทยคงจะคาดหวังอะไรมากไม่ได้
นอกจากนั้น ยังมองว่าเงินบาทยังมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นต่อไป ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะดูแลค่าเงินบาทด้วยความระมัดระวังตั้งแต่ปี 2548-2549 ที่เห็นทิศทางได้ล่วงหน้าแล้ว
ก็ไม่รู้จะทำยังไง มาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ออกมาไม่รู้ว่าจะสามารถหยุดการแข็งค่าของเงินบาทได้หรือไม่ นายวีรพงษ์ กล่าว
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทขณะนี้ยังมีความจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อดูแลการไหลเข้าของเงินทุน เช่น มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ที่ให้ผู้นำเข้าเงินทุนต้องทำสวอปล่วงหน้า 3 เดือน ซึ่งจะทำให้ผู้นำเข้าเงินไม่ได้ประโยชน์จากการเก็งกำไรค่าเงินบาท ขณะเดียวกันค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรมีการเคลื่อนไหวแบบ 2 ทาง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อการดึงดูดนักเก็งกำไร โดยเฉพาะช่วงที่มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจำนวนมาก ไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค
นายฉลองภพ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ลงนามในประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อผ่อนปรนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ต่อไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้ เพราะเกรงว่าหากกลับไปใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% จะทำให้เกิดปัญหาการบริโภคในประเทศรุนแรง เพราะภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ยังชะลอตัว และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบได้ในเร็วๆ นี้ ส่วนการปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องพิจารณาให้รอบคอบ
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!
โพสต์ที่ 8
แต่ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เดือนมี.ค ฟื้นจากเดือนกพ.นี่ครับ
อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิดก็ได้ ยิ่งถ้าป้อนยาลดดอกก่อนกลางปีอีกซัก1%(น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง)บวกยาวิตามินเมกะโปรเจคให้ต่างชาติเชื่อมั่น และยากระตุ้นอย่างแรงคือประกาศเลือกตั้งปลายปี(ประกาศเดือนต.ค หลังจัดงบขาดดุลปี51เรียบร้อย)
ผมว่าธุรกิจน่าจะฟื้นหลังจากความเชื่อมั่นมาครับ
อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิดก็ได้ ยิ่งถ้าป้อนยาลดดอกก่อนกลางปีอีกซัก1%(น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง)บวกยาวิตามินเมกะโปรเจคให้ต่างชาติเชื่อมั่น และยากระตุ้นอย่างแรงคือประกาศเลือกตั้งปลายปี(ประกาศเดือนต.ค หลังจัดงบขาดดุลปี51เรียบร้อย)
ผมว่าธุรกิจน่าจะฟื้นหลังจากความเชื่อมั่นมาครับ
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!
โพสต์ที่ 9
สถานการณ์ในขณะนี้
Stock สินค้าวัตถุดิบเพื่อนำเข้าเริ่มหร่อยหรอลง เพราะนำเข้าน้อยกว่าส่งออก
คนชะลอการซื้อสินค้ามาประมาณ 2 ไตรมาส จากเหตุการณ์บ้านเมือง ทำให้ไม่มั่นใจ เก็บเงินสภาพคล่องไว้กับธนาคารและลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น
การลงทุนเพื่อขยายการผลิต มีการชะลอตัวแม้ว่า Utilization Rate จะขึ้นไปค่อนข้างสูงแล้ว กว่า 70%
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หนี้สินต่อทุน ดีขึ้นมาก เพราะไม่ยอมกู้เงินไปลงทุน แถมเน้นการจ่ายปันผล บริษัทหลาย ๆ แห่งเก็บเงินเอาไปจ่ายหนี้เพิ่มอีกด้วย
แล้วโอกาสอยู่ตรงไหน
ดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนที่ yield Curve ของพันธบัตระยะยาวมีแนวโน้มลดลง แถมเงินฝากของธนาคารและสถาบันการเงินปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินฝากระยะยาวปรับลดลงมากขึ้น ประมาณ 0.5% ขึ้นไป
Vat 7% เลื่อนออกไปแล้ว
ต้นทุน Financial risk ลดลง ต้นทุนภาษีไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น
ดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารขนาดใหญ่มีการปรับลดลงตามแล้ว
การใช้จ่ายของภาครัฐ คงมีการกระตุ้นทั้งของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ ไตรมาสนี้เป็นต้นไป เพราะขณะนี้ผ่านไป 2 ไตรมาสของปีงบประมาณ ซึ่งยังมีการเบิกจ่ายค่อนข้างน้อย
เมกะโปร์เจ๊กซ์เริ่มมีความคืบหน้าตามลำดับบ้างแล้ว
โครงการสาธารูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน ปูนซิเมนต์ เป็นต้น หน่วยงานรัฐก็ได้ประกาศทิศทาง และหลายบริษัทก็มีการวางแผนการลงทุนระยะยาวให้เห็นบ้างแล้ว และก็เริ่มมีการประกาศทิศทางรองรับในอนาคตอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น PTT SCC โรงไฟฟ้าของภาครัฐ เป็นต้น
คนจะชะลอการใช้จ่ายกันไปอีกสักกี่ไตรมาส ในอดีตเศรษฐกิจชะลอ คนจะชะลอการซื้อสินค้าคงทนไว้ก่อน โดยยืดเวลาการใช้ให้นานขึ้น แต่สินค้าคงทนหลายตัวก็มีอายุการใช้งานเหมือนกัน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่ชะลอการซื้อมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว เป็นต้น ถึงเวลาเมื่อความเชื่อมั่นกลับมา Demand ทั้งจากการชะลอการซื้อของคนซื้อรถยนต์เก่า กับ Demand ของคนซื้อใหม่ที่ชะลอการซื้อไปก่อน คนมีเงินคงไม่เก็บเงินไว้โดยไม่ใช้อย่างแน่นอน อาจเก็บไว้สักระยะหนึ่งเมื่อสถานการณ์เริ่มดีก็นำออกมาใช้จ่ายใหม่
อุตสาหกรรมยังไงก็ต้องผลิตสินค้าวันยังค่ำ อยู่ที่ผลิตน้อยผลิตมาก แต่การชะลอการผลิตไปสักระยะเวลาหนึ่ง ในที่สุดก็ต้องสั่งซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก มิฉะนั้นก็ต้องปิดโรงงาน ตราบใดที่ตลาดต่างประเทศยังโต การส่งออกก็ยังมีโอกาสเติบโตได้บ้าง สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ เมื่อการบริโภคเริ่มดีขึ้น อุตสาหกรรมก็จะต้องผลิตเพิ่มตามไปด้วย
การเลือกตั้งถ้ามีความชัดเจนขึ้น นักลงทุนต่างชาติก็คงจับตาดูตรงนี้อยู่ด้วย
ทั้งหมดอยู่ที่คำตอบว่าจะสร้างความเชื่อมั่นกลับมาได้เร็วเพียงใด
อุปสรรคก็มี และตลาดก็ซึมซับปรับตัวจากข่าวร้าย ๆ ก่อนหน้านี้มาโดยตลอด และบางครั้งก็ยังปรับตัวลงไปมากแล้ว หลายครั้งก็ปรับมากกว่าความเป็นจริง ยิ่งข่าวร้าย ๆ ออกมามากยิ่งขึ้น ผมกลับมองว่ามันใกล้ Bottom ของเศรษฐกิจเข้าไปทุกที เพียงรอโอกาสที่อุปสรรคต่าง ๆ จะเริ่มคลี่คลาย แสงสว่างก็อยู่ที่ปลายอุโมงค์ทันที ความมืดมิดก็จะเริ่มคลายให้เห็นความสว่างบ้าง
อยู่ที่ว่า เราจะมองเห็นแต่อุปสรรคด้านลบอย่างเดียว หรือภายใต้อุปสรรคนั้น ๆ บางคนที่มีสติ และใช้ประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ยาวนาน เห็นการขึ้นลงของภาวะเศรษฐกิจที่มีทั้งขึ้นและลงอยู่ตลอดเวลา ก็อาจเห็นโอกาสอยู่ก็ได้ครับ
เปรียบกับธรรมชาติของหุ้นก็เช่นกัน เราก็คงเห็นแล้วว่ามีขึ้นมีลง
หุ้นขึ้นไปสูง ๆ มาก ๆ เหมือนขึ้นไปใกล้ยอดเขา ยิ่งใกล้เท่าไร ก็ยิ่งใกล้เวลาที่หุ้นจะตกลงเร็วเท่านั้น เพราะมันชันมาก จะเคลื่อนให้สูงมาก ๆ ก็ต้องใช้กำลังมาก ๆ
และเมื่อหุ้นลดต่ำลงมาก ๆ เท่าไร เหมือนเราเดินลงเหวข้างใต้ ยิ่งใกล้เหวลึกมากๆ เท่าไร คนที่อยากขายก็คงท้อใจจนไม่อยากที่จะขายแล้ว เพราะไม่คุ้มที่จะขายหุ้นออกไป ก็ยิ่งใกล้จะกลับตัวมากเท่านั้นครับ
ธรรมชาติของเศรษฐกิจก็เช่นกัน มันก็มีขึ้นมีลงของมันอยู่แบบนั้น เป็นรอบ ๆ เป็นวัฏจักรของมันอยู่เช่นนั้นนั่นเองครับ
Stock สินค้าวัตถุดิบเพื่อนำเข้าเริ่มหร่อยหรอลง เพราะนำเข้าน้อยกว่าส่งออก
คนชะลอการซื้อสินค้ามาประมาณ 2 ไตรมาส จากเหตุการณ์บ้านเมือง ทำให้ไม่มั่นใจ เก็บเงินสภาพคล่องไว้กับธนาคารและลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น
การลงทุนเพื่อขยายการผลิต มีการชะลอตัวแม้ว่า Utilization Rate จะขึ้นไปค่อนข้างสูงแล้ว กว่า 70%
บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หนี้สินต่อทุน ดีขึ้นมาก เพราะไม่ยอมกู้เงินไปลงทุน แถมเน้นการจ่ายปันผล บริษัทหลาย ๆ แห่งเก็บเงินเอาไปจ่ายหนี้เพิ่มอีกด้วย
แล้วโอกาสอยู่ตรงไหน
ดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนที่ yield Curve ของพันธบัตระยะยาวมีแนวโน้มลดลง แถมเงินฝากของธนาคารและสถาบันการเงินปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินฝากระยะยาวปรับลดลงมากขึ้น ประมาณ 0.5% ขึ้นไป
Vat 7% เลื่อนออกไปแล้ว
ต้นทุน Financial risk ลดลง ต้นทุนภาษีไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น
ดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารขนาดใหญ่มีการปรับลดลงตามแล้ว
การใช้จ่ายของภาครัฐ คงมีการกระตุ้นทั้งของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ ไตรมาสนี้เป็นต้นไป เพราะขณะนี้ผ่านไป 2 ไตรมาสของปีงบประมาณ ซึ่งยังมีการเบิกจ่ายค่อนข้างน้อย
เมกะโปร์เจ๊กซ์เริ่มมีความคืบหน้าตามลำดับบ้างแล้ว
โครงการสาธารูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน ปูนซิเมนต์ เป็นต้น หน่วยงานรัฐก็ได้ประกาศทิศทาง และหลายบริษัทก็มีการวางแผนการลงทุนระยะยาวให้เห็นบ้างแล้ว และก็เริ่มมีการประกาศทิศทางรองรับในอนาคตอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น PTT SCC โรงไฟฟ้าของภาครัฐ เป็นต้น
คนจะชะลอการใช้จ่ายกันไปอีกสักกี่ไตรมาส ในอดีตเศรษฐกิจชะลอ คนจะชะลอการซื้อสินค้าคงทนไว้ก่อน โดยยืดเวลาการใช้ให้นานขึ้น แต่สินค้าคงทนหลายตัวก็มีอายุการใช้งานเหมือนกัน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่ชะลอการซื้อมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว เป็นต้น ถึงเวลาเมื่อความเชื่อมั่นกลับมา Demand ทั้งจากการชะลอการซื้อของคนซื้อรถยนต์เก่า กับ Demand ของคนซื้อใหม่ที่ชะลอการซื้อไปก่อน คนมีเงินคงไม่เก็บเงินไว้โดยไม่ใช้อย่างแน่นอน อาจเก็บไว้สักระยะหนึ่งเมื่อสถานการณ์เริ่มดีก็นำออกมาใช้จ่ายใหม่
อุตสาหกรรมยังไงก็ต้องผลิตสินค้าวันยังค่ำ อยู่ที่ผลิตน้อยผลิตมาก แต่การชะลอการผลิตไปสักระยะเวลาหนึ่ง ในที่สุดก็ต้องสั่งซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก มิฉะนั้นก็ต้องปิดโรงงาน ตราบใดที่ตลาดต่างประเทศยังโต การส่งออกก็ยังมีโอกาสเติบโตได้บ้าง สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ เมื่อการบริโภคเริ่มดีขึ้น อุตสาหกรรมก็จะต้องผลิตเพิ่มตามไปด้วย
การเลือกตั้งถ้ามีความชัดเจนขึ้น นักลงทุนต่างชาติก็คงจับตาดูตรงนี้อยู่ด้วย
ทั้งหมดอยู่ที่คำตอบว่าจะสร้างความเชื่อมั่นกลับมาได้เร็วเพียงใด
อุปสรรคก็มี และตลาดก็ซึมซับปรับตัวจากข่าวร้าย ๆ ก่อนหน้านี้มาโดยตลอด และบางครั้งก็ยังปรับตัวลงไปมากแล้ว หลายครั้งก็ปรับมากกว่าความเป็นจริง ยิ่งข่าวร้าย ๆ ออกมามากยิ่งขึ้น ผมกลับมองว่ามันใกล้ Bottom ของเศรษฐกิจเข้าไปทุกที เพียงรอโอกาสที่อุปสรรคต่าง ๆ จะเริ่มคลี่คลาย แสงสว่างก็อยู่ที่ปลายอุโมงค์ทันที ความมืดมิดก็จะเริ่มคลายให้เห็นความสว่างบ้าง
อยู่ที่ว่า เราจะมองเห็นแต่อุปสรรคด้านลบอย่างเดียว หรือภายใต้อุปสรรคนั้น ๆ บางคนที่มีสติ และใช้ประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ยาวนาน เห็นการขึ้นลงของภาวะเศรษฐกิจที่มีทั้งขึ้นและลงอยู่ตลอดเวลา ก็อาจเห็นโอกาสอยู่ก็ได้ครับ
เปรียบกับธรรมชาติของหุ้นก็เช่นกัน เราก็คงเห็นแล้วว่ามีขึ้นมีลง
หุ้นขึ้นไปสูง ๆ มาก ๆ เหมือนขึ้นไปใกล้ยอดเขา ยิ่งใกล้เท่าไร ก็ยิ่งใกล้เวลาที่หุ้นจะตกลงเร็วเท่านั้น เพราะมันชันมาก จะเคลื่อนให้สูงมาก ๆ ก็ต้องใช้กำลังมาก ๆ
และเมื่อหุ้นลดต่ำลงมาก ๆ เท่าไร เหมือนเราเดินลงเหวข้างใต้ ยิ่งใกล้เหวลึกมากๆ เท่าไร คนที่อยากขายก็คงท้อใจจนไม่อยากที่จะขายแล้ว เพราะไม่คุ้มที่จะขายหุ้นออกไป ก็ยิ่งใกล้จะกลับตัวมากเท่านั้นครับ
ธรรมชาติของเศรษฐกิจก็เช่นกัน มันก็มีขึ้นมีลงของมันอยู่แบบนั้น เป็นรอบ ๆ เป็นวัฏจักรของมันอยู่เช่นนั้นนั่นเองครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 843
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!
โพสต์ที่ 11
มาดูข่าวดีกันบ้าง มั๊ยฮ้า
เมืองไทยยังมีข่าวดี [27 เม.ย. 50 - 16:12]
ผมต้องขอขอบคุณสำนักข่าวต่างประเทศสำนักข่าวหนึ่ง ที่มักจะรายงานข่าวหรือพูดถึงประเทศไทยของเราในแง่ที่ดีอยู่เสมอๆ
อาจจะพูดถึงเรื่องร้ายอยู่บ้าง เพราะในช่วงหลังๆ บ้านเรามักมีเรื่องร้ายมากกว่าเรื่องดี เขาก็ต้องรายงานไปตามหน้าที่
แต่ส่วนใหญ่แล้ว เขามักจะพูดถึงเราในแง่ดี และเมื่อ 2-3 วันมานี้ ก็เป็นผู้บอกกล่าวข่าวดีของประเทศไทย ที่ผมต้องขออนุญาตแสดงความชื่นชมไว้ ณ ที่นี้
สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี. หรือ สำนักข่าวฝรั่งเศส น่ะครับ...เก่าแก่นมนานมาหลายปีทีเดียวสำนักนี้
ผมไม่มีเวลาค้นคว้าว่าเขาตั้งมานานแค่ไหน แต่จำได้แม่นยำว่า ตอนที่ผมมาทำข่าวต่างประเทศใหม่ๆ ที่หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย เมื่อปี 1970 หรือ 2513 สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี.มีอยู่แล้วครับ
ได้ชื่อว่าเป็นสำนักข่าวที่รายงานข่าวเกี่ยวกับอินโดจีน โดยเฉพาะข่าวในลาว เวียดนาม เขมร ได้แม่นยำและรวดเร็วกว่าใครๆ
และเมื่อประเทศไทยบ้าคลั่งฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2513 เอาข่าวฟุตบอลโลกมาพาดหัว 3 ชั้น หน้า 1 ราวกับประเทศไทยส่งทีมฟุตบอลไปแข่งเสียเองนั้น สำนักข่าวนี้ได้ชื่อว่ารายงานข่าวฟุตบอลโลกเร็วที่สุด
ช่วงโน้นยังไม่มีถ่ายทอดสดใดๆทั้งสิ้น พวกเรานักแปลข่าวของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ต้องไปนั่งรอที่สำนักข่าวเอ.เอฟ.พี.ที่อยู่แถวๆหัวถนนสุริวงศ์ เยื้องๆโรงพยาบาลจุฬา ตอนตี 3 ตี 4 แทบทุกคืน
ที่มาที่ไปของสำนักข่าวแห่งนี้เท่าที่ผมนึกออก ก็เห็นจะมีเพียงเท่านี้
กลับมาพูดถึงข่าวน่าชื่นใจเกี่ยวกับเมืองไทย ที่สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี. รายงานเมื่อวันวานดีกว่านะครับ
สำนักข่าวแห่งนี้รายงานจากสิงคโปร์ว่า ผลการสำรวจของวีซ่าเอเชียแปซิฟิก และสมาคมการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก ที่รู้จักกันในนาม พาต้า สรุปได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ 10 ประเทศ ยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าเที่ยวที่สุดของเอเชีย
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เป็นเป้าหมายของการสำรวจมีถึง 5,050 คน และให้คำตอบดังกล่าวนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมานี่เอง
ประมาณ 2 ใน 3 ของบุคคลที่ตอบคำถามได้เดินทางมาเอเชีย และ 47 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่เดินทางเหล่านี้มาพักผ่อนในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยกลับมาได้รับความนิยม ในฐานะจุดหมายปลายทางของท่องเที่ยวหมายเลขหนึ่งอีกครั้ง...ตามด้วยญี่ปุ่น และจีน เอกสารของวีซ่าและพาต้าระบุ
ประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถานที่ผ่อนคลายอารมณ์ ซึ่งผู้คนสามารถจะหาความสุขได้จากวัฒนธรรมท้องถิ่น ความงดงามของธรรมชาติ และความมีไมตรีจิต มิตรภาพของประชาชน ซึ่งยังคงเพิ่มขึ้นในความคิดของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเอเชียทั้งหลาย
เหล่านี้เป็นความรู้สึกนึกคิดของนักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่สื่อมักจะรายงานข่าวเกี่ยวกับความวุ่นวายของประเทศไทย
แม้แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเอง ก็แสดงความกังวลว่านักท่องเที่ยวชาวเอเชียเริ่มจะเปลี่ยนทิศทาง โดยจะไม่มาประเทศไทยกันแล้ว เหตุเพราะความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น
ครับ...ย่อหน้าท้าย เอ.เอฟ.พี.เขาคัดลอกความกังวลของ ททท. หรือ TAT มาให้อ่านกันด้วย เป็นการชี้ให้เห็นว่า ทั้งๆที่ ททท.กังวลนี่แหละ แต่ตัวเลขการสำรวจที่ออกมา...ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในดวงใจของนักท่องเที่ยวอยู่นั่นเอง
ผมก็ได้แต่หวังว่า คงจะได้มีการเผยแพร่ข่าวนี้อย่างกว้างขวางให้เป็นที่ทราบกันต่อไป
ขณะเดียวกัน ก็ขอให้ทุกๆท่านที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว จงยืนหยัดกัดฟันสู้ทำหน้าที่ของท่านอย่างเข้มแข็ง
ทุกครั้งที่เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในภาระถดถอย ก็ได้พึ่งพาอาศัยการท่องเที่ยวนี่แหละครับเป็นวีรบุรุษในการกอบกู้ให้ฟื้นกลับคืนมาได้
นักการเมืองเขาจะยุ่งก็ปล่อยให้เขายุ่งกันไป ใครจะทะเลาะกันอย่างไรและเรื่องอะไร ก็ปล่อยเขาไปเถอะ
ขอให้มุ่งหน้าโฆษณาเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทยต่อไปนะครับ...
บางทีความยุ่งเหยิงก็กลายเป็นสินค้าท่องเที่ยวได้...ยกตัวอย่างปฏิวัติคราวที่แล้วไง... ใครๆก็อยากมาถ่ายรูปคู่กับรถถังเป็นที่ระลึกกลายเป็นเรื่องมหัศจรรย์ หรืออะเมซซิ่งไทยแลนด์ของแท้ที่หาไม่ได้ในประเทศอื่นใด
สรุป ผมต้องขอขอบคุณสำนักข่าว เอ.เอฟ.พี.อีกครั้ง...นี่ถ้าเขาไม่รายงานข่าว เราก็คงไม่รู้นะครับเนี่ยว่าเมืองไทยวันนี้ ก็ยังมีข่าวดี.
ซูม
ไทยรัฐ 27 เม.ย 2550
เมืองไทยยังมีข่าวดี [27 เม.ย. 50 - 16:12]
ผมต้องขอขอบคุณสำนักข่าวต่างประเทศสำนักข่าวหนึ่ง ที่มักจะรายงานข่าวหรือพูดถึงประเทศไทยของเราในแง่ที่ดีอยู่เสมอๆ
อาจจะพูดถึงเรื่องร้ายอยู่บ้าง เพราะในช่วงหลังๆ บ้านเรามักมีเรื่องร้ายมากกว่าเรื่องดี เขาก็ต้องรายงานไปตามหน้าที่
แต่ส่วนใหญ่แล้ว เขามักจะพูดถึงเราในแง่ดี และเมื่อ 2-3 วันมานี้ ก็เป็นผู้บอกกล่าวข่าวดีของประเทศไทย ที่ผมต้องขออนุญาตแสดงความชื่นชมไว้ ณ ที่นี้
สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี. หรือ สำนักข่าวฝรั่งเศส น่ะครับ...เก่าแก่นมนานมาหลายปีทีเดียวสำนักนี้
ผมไม่มีเวลาค้นคว้าว่าเขาตั้งมานานแค่ไหน แต่จำได้แม่นยำว่า ตอนที่ผมมาทำข่าวต่างประเทศใหม่ๆ ที่หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย เมื่อปี 1970 หรือ 2513 สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี.มีอยู่แล้วครับ
ได้ชื่อว่าเป็นสำนักข่าวที่รายงานข่าวเกี่ยวกับอินโดจีน โดยเฉพาะข่าวในลาว เวียดนาม เขมร ได้แม่นยำและรวดเร็วกว่าใครๆ
และเมื่อประเทศไทยบ้าคลั่งฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2513 เอาข่าวฟุตบอลโลกมาพาดหัว 3 ชั้น หน้า 1 ราวกับประเทศไทยส่งทีมฟุตบอลไปแข่งเสียเองนั้น สำนักข่าวนี้ได้ชื่อว่ารายงานข่าวฟุตบอลโลกเร็วที่สุด
ช่วงโน้นยังไม่มีถ่ายทอดสดใดๆทั้งสิ้น พวกเรานักแปลข่าวของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ต้องไปนั่งรอที่สำนักข่าวเอ.เอฟ.พี.ที่อยู่แถวๆหัวถนนสุริวงศ์ เยื้องๆโรงพยาบาลจุฬา ตอนตี 3 ตี 4 แทบทุกคืน
ที่มาที่ไปของสำนักข่าวแห่งนี้เท่าที่ผมนึกออก ก็เห็นจะมีเพียงเท่านี้
กลับมาพูดถึงข่าวน่าชื่นใจเกี่ยวกับเมืองไทย ที่สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี. รายงานเมื่อวันวานดีกว่านะครับ
สำนักข่าวแห่งนี้รายงานจากสิงคโปร์ว่า ผลการสำรวจของวีซ่าเอเชียแปซิฟิก และสมาคมการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก ที่รู้จักกันในนาม พาต้า สรุปได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ 10 ประเทศ ยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าเที่ยวที่สุดของเอเชีย
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เป็นเป้าหมายของการสำรวจมีถึง 5,050 คน และให้คำตอบดังกล่าวนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมานี่เอง
ประมาณ 2 ใน 3 ของบุคคลที่ตอบคำถามได้เดินทางมาเอเชีย และ 47 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่เดินทางเหล่านี้มาพักผ่อนในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง
ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยกลับมาได้รับความนิยม ในฐานะจุดหมายปลายทางของท่องเที่ยวหมายเลขหนึ่งอีกครั้ง...ตามด้วยญี่ปุ่น และจีน เอกสารของวีซ่าและพาต้าระบุ
ประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถานที่ผ่อนคลายอารมณ์ ซึ่งผู้คนสามารถจะหาความสุขได้จากวัฒนธรรมท้องถิ่น ความงดงามของธรรมชาติ และความมีไมตรีจิต มิตรภาพของประชาชน ซึ่งยังคงเพิ่มขึ้นในความคิดของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเอเชียทั้งหลาย
เหล่านี้เป็นความรู้สึกนึกคิดของนักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่สื่อมักจะรายงานข่าวเกี่ยวกับความวุ่นวายของประเทศไทย
แม้แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเอง ก็แสดงความกังวลว่านักท่องเที่ยวชาวเอเชียเริ่มจะเปลี่ยนทิศทาง โดยจะไม่มาประเทศไทยกันแล้ว เหตุเพราะความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น
ครับ...ย่อหน้าท้าย เอ.เอฟ.พี.เขาคัดลอกความกังวลของ ททท. หรือ TAT มาให้อ่านกันด้วย เป็นการชี้ให้เห็นว่า ทั้งๆที่ ททท.กังวลนี่แหละ แต่ตัวเลขการสำรวจที่ออกมา...ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในดวงใจของนักท่องเที่ยวอยู่นั่นเอง
ผมก็ได้แต่หวังว่า คงจะได้มีการเผยแพร่ข่าวนี้อย่างกว้างขวางให้เป็นที่ทราบกันต่อไป
ขณะเดียวกัน ก็ขอให้ทุกๆท่านที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว จงยืนหยัดกัดฟันสู้ทำหน้าที่ของท่านอย่างเข้มแข็ง
ทุกครั้งที่เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในภาระถดถอย ก็ได้พึ่งพาอาศัยการท่องเที่ยวนี่แหละครับเป็นวีรบุรุษในการกอบกู้ให้ฟื้นกลับคืนมาได้
นักการเมืองเขาจะยุ่งก็ปล่อยให้เขายุ่งกันไป ใครจะทะเลาะกันอย่างไรและเรื่องอะไร ก็ปล่อยเขาไปเถอะ
ขอให้มุ่งหน้าโฆษณาเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทยต่อไปนะครับ...
บางทีความยุ่งเหยิงก็กลายเป็นสินค้าท่องเที่ยวได้...ยกตัวอย่างปฏิวัติคราวที่แล้วไง... ใครๆก็อยากมาถ่ายรูปคู่กับรถถังเป็นที่ระลึกกลายเป็นเรื่องมหัศจรรย์ หรืออะเมซซิ่งไทยแลนด์ของแท้ที่หาไม่ได้ในประเทศอื่นใด
สรุป ผมต้องขอขอบคุณสำนักข่าว เอ.เอฟ.พี.อีกครั้ง...นี่ถ้าเขาไม่รายงานข่าว เราก็คงไม่รู้นะครับเนี่ยว่าเมืองไทยวันนี้ ก็ยังมีข่าวดี.
ซูม
ไทยรัฐ 27 เม.ย 2550
-
- Verified User
- โพสต์: 6853
- ผู้ติดตาม: 0
ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!
โพสต์ที่ 12
ผมงงอยู่อย่าง
ผลไม้ไทยถูกมาก
แต่คนไทยกินผลไม้ไทยน้อยกว่าความเป็นจริง
หรือต้องมีการแปรรูปให้น่าทานมากขึ้น
บางคนว่ากำลังซื้อมีอยู่ แต่ไม่กล้าใช้
คนกินเงินเดือน ผมเชื่อว่ากำลังซื้อมีอยู่ หนี้มีอยู่
กำลังซื้อไม่ได้หายไปไหน
แต่คน ค้าขาย ขนาดกลางแย่ลง อันนี้คิดไปเองหรือเปล่า
สิ่งที่ผมกลัวคือ
การค้า ที่ละคุณธรรม กำไร ยอดขายมาก่อน
จะแก้อย่างไร
ถ้าเขาจำเป็น
ผลไม้ไทยถูกมาก
แต่คนไทยกินผลไม้ไทยน้อยกว่าความเป็นจริง
หรือต้องมีการแปรรูปให้น่าทานมากขึ้น
บางคนว่ากำลังซื้อมีอยู่ แต่ไม่กล้าใช้
คนกินเงินเดือน ผมเชื่อว่ากำลังซื้อมีอยู่ หนี้มีอยู่
กำลังซื้อไม่ได้หายไปไหน
แต่คน ค้าขาย ขนาดกลางแย่ลง อันนี้คิดไปเองหรือเปล่า
สิ่งที่ผมกลัวคือ
การค้า ที่ละคุณธรรม กำไร ยอดขายมาก่อน
จะแก้อย่างไร
ถ้าเขาจำเป็น