ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี ตู้สินค้าขาดฉุดขนส่งเสียศูนย์

ตอกย้ำรูปธรรมเศรษฐกิจขาลง นำเข้าต่ำติดดิน ส่งผลตู้คอนเทนเนอร์ขาดหนัก "สุนิดา สกุลรัตนะ" ผอ.การท่าเรือฯแจงเฉพาะ 5 เดือนแรก ไทยต้องนำเข้าตู้เปล่าเพิ่มขึ้น 32.87% สอดคล้องกับตัวเลขสินค้านำเข้าที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ด้านสภาผู้ส่งสินค้า ทางเรือยอมรับสายการเดินเรือต้องนำตู้เปล่าเข้าประเทศ เพราะการนำเข้าสินค้าทุนลดต่ำลงอย่างมาก แบงก์ชาติทำใจลดตัวเลข จีดีพีเหลือ 3.75% กรรมาธิการ สนช.หวั่นส่งออกเริ่มชะลอตัว

นางสุนิดา สกุลรัตนะ ผู้อำนวยการ การท่าเรือแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงสถานการณ์การส่งออกและนำเข้าของไทยว่า ขณะนี้สินค้านำเข้าลดลงมาก ขณะที่การส่งออกคงเดิม ทำให้ประเทศไทยต้องนำเข้า "ตู้เปล่า" เพิ่มขึ้น เฉพาะท่าเรือกรุงเทพมีการนำเข้าตู้เปล่าในช่วง 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-ก.พ.2550) จำนวน 52,455 TEU หรือเพิ่มขึ้น 32.87% เนื่องจากมีความต้องการ ตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งสินค้าออกยังมีปริมาณคงเดิมและเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ปริมาณการนำเข้าสินค้ากลับลดลง อย่างไรก็ตามการท่าเรือฯคาดว่าในปี 2550 ปริมาณตู้สินค้าที่ผ่านท่าเรือกรุงเทพจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.45 ล้าน TEU จากที่ในปี 2549 มีปริมาณตู้สินค้า 1.34 ล้าน TEU ส่วนท่าเรือแหลมฉบัง คาดว่าจะมีปริมาณตู้สินค้าผ่าน 4.6-4.7 ล้าน TEU จากในปี 2549 ที่มีปริมาณตู้สินค้า 4 ล้าน TEU

เฉพาะในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-มี.ค.2550) มีเรือเข้าจอดเทียบท่าเรือแหลมฉบัง 3,248 เที่ยว เพิ่มขึ้น 9.4% เมื่อเปรียบเทียบกับ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 21.2 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 15.8% และมีตู้สินค้าผ่านท่าจำนวน 2.2 ล้าน TEU เพิ่มขึ้น 15.8%

เรือเข้าจอดเทียบท่าเรือกรุงเทพในช่วง 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2550 (ต.ค.2549-มี.ค.2550) เปรียบเทียบกับ 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 พบว่ามีจำนวนเรือผ่าน ท่า 1,435 เที่ยว เพิ่มขึ้น 2.3% ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 9.1 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 9.6% และมีตู้สินค้าผ่านท่าจำนวน 0.7 ล้าน TEU เท่ากับปีก่อน

ท่าเรือภูมิภาค ท่าเรือเชียงแสน และเชียงของ มีจำนวนเรือผ่านท่า 2,124 เที่ยว เพิ่มขึ้น 15.7% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าผ่านท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 90,332 ตัน เพิ่มขึ้น 2.4% ท่าเรือระนอง มีจำนวนเรือผ่าน ท่า 150 เที่ยว เพิ่มขึ้น 15.4% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนสินค้าผ่าน ท่ามีจำนวนทั้งสิ้น 13,190 ตัน เพิ่มขึ้น 547% รวม กทท.มีรายได้ 4,177 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.5% ขณะที่ค่าใช้จ่ายเป็นเงิน 3,157 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.6% ทำให้มีกำไรสุทธิเป็นเงิน 1,020 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.1%

การให้บริการตู้สินค้าผ่านท่าเรือกรุงเทพมีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 579,882 TEU เป็น 635,975 TEU (เปรียบเทียบ 5 เดือนแรกของปีงบประมาณ) โดยเพิ่มขึ้น 56,093 TEU หรือเพิ่มขึ้น 9.67% ท่าเรือแหลมฉบัง ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 1,638,172 TEU เป็น 1,820,457 TEU โดยเพิ่มขึ้น 182,285 TEU หรือเพิ่มขึ้น 11.13% ส่วนท่าเรือระนอง ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 6 TEU เป็น 7 TEU โดยเพิ่มขึ้น 1 TEU หรือเพิ่มขึ้น 16.67% สำหรับท่าเอกชน 4 ท่า ตู้สินค้าผ่านท่ามีปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 88,420 TEU เป็น 90,830 TEU โดยเพิ่มขึ้น 2,410 TEU หรือเพิ่มขึ้น 2.73%

สภาเรือชี้นำเข้าสินค้าทุนต่ำจนตู้ขาด

ด้านนายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ เลขาธิการ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้น่าเป็นห่วงสถานการณ์นำเข้าและส่งออกของไทยในระยะสั้นมาก เนื่องจากปริมาณการนำเข้าที่ลดลงในช่วงปลายปี 2549 ต่อเนื่องถึงไตรมาสแรกของปี 2550 จนทำให้เกิดปรากฎการณ์ตู้สินค้าส่งออกขาดแคลน จนสายเดินเรือต้องนำเข้าตู้เปล่ากลับเข้ามาเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนลดลงต่ำและจะส่งผลในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าทำให้การส่งออกลดลงด้วย

ทางกลุ่มผู้ส่งออกมีการประเมินถึงผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วว่า ส่งผลกระทบทำให้ผู้ส่งออกส่วนใหญ่ไม่กล้ารับออร์เดอร์มาก เพราะส่งออกมากยิ่งขาดทุนมาก ส่วนใหญ่จึงรับออร์เดอร์แค่พอรักษาตลาดเดิมไว้เท่านั้น ทำให้ในช่วงที่ผ่านมาการนำเข้าสินค้าทุนซึ่งเป็นวัตถุดิบมีการชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ส่งออกได้คาดการณ์ในทางที่ดีว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2-ไตรมาสที่ 3 น่าจะมีการนำเข้าเพิ่มมากขึ้น เพื่อผลิตสินค้าส่งออกในช่วงไตรมาสที่ 3-ไตรมาสที่ 4 ของปี 2550 ส่วนกรณีที่บริษัทเรือมีการนำเข้าตู้สินค้ามากขึ้นนั้น ยังไม่มีผลกระทบโดยตรงกับผู้ส่งออก เพราะผู้ส่งออก 80% ส่งออกแบบ FOB ดังนั้นต้นทุนของผู้ส่งออกจึงยังไม่เพิ่มขึ้น

ส่งออกโต 18.4% นำเข้าลดลงต่อเนื่อง

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานการส่งออก-นำเข้าสินค้าไทยในเดือนมีนาคมเข้ามาว่า การส่งออกของประเทศไทยยังขยายตัวสูงขึ้นถึง 18.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือคิดเป็นมูลค่า 13,103.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราสูงต่อเนื่องจากต้นปี และยังมีมูลค่าสูงกว่า 13,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นครั้งแรกด้วย

ขณะที่การนำเข้าในเดือนมีนาคม ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง หรือเพิ่มขึ้นเพียง 0.58% คิดเป็นมูลค่า 10,836.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้าถึง 2,267.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ในไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.2550) ประเทศไทยมีอัตราการส่งออกขยายตัว 18.2% หรือมูลค่า 34,824.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ถือว่าเกินดุลอยู่ที่ 4,270.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกเติบโตต่อเนื่องเป็นเพราะสินค้าสำคัญในรายการส่งออกมีอัตราเพิ่มขึ้นทุกหมวด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้น 20.4% โดยเฉพาะข้าว, มันสำปะหลัง, อาหารแช่แข็ง/แปรรูป, อาหารทะเล, ผัก/ผลไม้ และไก่

ส่วนสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น 16.4% จากการส่งออกสินค้าเครื่องอิเล็กทรอนิกส์, ยานยนต์, วัสดุก่อสร้าง, ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องหนัง อีกทั้งกลุ่มสินค้าอื่นๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้น 24.6% เช่น เคมีภัณฑ์, เครื่องจักรกล/ส่วนประกอบของอากาศยาน, อุปกรณ์การบิน และเลนส์

โดยนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงความกังวลถึงตัวเลขการนำเข้าที่ลดลงอย่างผิดปกติ "น่าจับตามองว่า ค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น แต่การนำเข้าสินค้ายังลดลง แต่ประเทศไทยยังสามารถแข่งขันได้และคาดว่าการส่งออกทั้งปีจะยังขยายตัว 12.5% ตามเป้าที่วางไว้"

ธปท.ปรับลด GDP

ในด้านเศรษฐกิจรวม นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เห็นว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/2549 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2550 ชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง อุปสงค์ในประเทศที่อ่อนตัวลงทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นภาคเอกชนที่ยังคงเปราะบาง แต่เชื่อว่าการใช้จ่ายภาครัฐที่เริ่มเร่งตัว และการส่งออกที่ยังขยายตัวดีจะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป

กนง.ได้ประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้า ได้เปลี่ยนแปลงสมมติฐานสำคัญในส่วนของราคาน้ำมัน, แนวโน้มค่าเงินบาท, การใช้จ่ายภาครัฐ และเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่สำคัญจึงเปลี่ยนแปลงประมาณการ GDP จากรายงานครั้งก่อนที่ 4-5% เป็น 3.75-4.75%

ส่วนเงินเฟ้อ แม้จะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้นจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมัน แต่ ธปท.ยังคงประมาณการเดิม โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปตลอดปีจะอยู่ที่ 1.5-2.5% เงินเฟ้อพื้นฐาน 1-2% เนื่องมาจากไม่มีปัจจัยการส่งผ่านจากเงินเฟ้อทั่วไปสู่เงินเฟ้อพื้นฐานเพราะการอ่อนตัวของอุปสงค์ในประเทศ

ด้านเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าประเมินว่า ในปี 2550-2551 จะขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเฉพาะเศรษฐกิจยุโรป ญี่ปุ่น และเอเชีย ที่คาดว่าจะขยายตัวในปีนี้ 2.3% 2.1% 6.2% จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 2.0% 2.0% และ 1.9% ตามลำดับ ซึ่งทั้งหมดจะสามารถชดเชยการชะลอตัวของสหรัฐ ที่คาดว่าจะขยายตัวในปี 2550 2.4% จากเดิมมองไว้ที่ 2.5% ผลจากการชะลอตัวในตลาดที่อยู่อาศัย และปัญหาผู้กู้ความน่าเชื่อถือต่ำ

จากการชะลอตัวของสหรัฐ ทำให้คาดว่าทั้งปีเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ารวมจะขยายตัวที่ 4.4% และจะปรับดีขึ้นเป็น 4.5% ในปี 2551 ตามการปรับตัวดีขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐ จากการที่คาดว่าธนาคารกลางสหรัฐจะเริ่มปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในช่วงปลายไตรมาสที่ 3 ของปีนี้

"ในระยะที่ผ่านมายอดสต๊อกสินค้าของเอกชนได้ลดต่ำลง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ค่อยเกิดขึ้นบ่อยครั้งนัก ส่วนการลงทุนเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตในอุตสาหกรรมเดิมอาจจะมีต่อเนื่อง แต่โอกาสที่จะเห็นการลงทุนใหม่ในปีนี้คงจะมีไม่มากเนื่องจากปัจจัยแวดล้อมหลายอย่างที่ไม่เอื้อ เช่น ความไม่เชื่อมั่นของนักลงทุนต่อสถานการณ์ทางการเมือง แต่ก็คาดว่าหากมีการเลือกตั้งตามกรอบเวลาที่รัฐบาลให้ไว้การลงทุนจะดีขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีหน้า" นายเมธีกล่าว

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจส่วนรวม ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างพิจารณามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่จะเข้ามาเสริมที่ออกไปแล้ว เพื่อให้เม็ดเงินไปสู่ประชาชนฐานรากมากขึ้น แต่จะมากแค่ไหนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ

สำหรับภาวะเศรษฐกิจในเดือน มี.ค.2550 ก็ไม่ได้มีอะไรที่แย่หมดทุกตัว อาทิ ภาคการส่งออกก็ยังขยายตัวได้ถึง 18% แม้ค่าเงินบาทจะแข็งขึ้น แต่การขยายตัวครั้งนี้อาจจะไม่กระจายทั่วถึงทุกกลุ่ม มีบางกลุ่มได้มาก บางกลุ่มติดลบ ซึ่งกลุ่มไหนที่มีปัญหาก็จะต้องลงไปดูว่าเกิดจากปัจจัยอะไรถึงติดลบ โดยวันที่ 2 พฤษภาคมนี้จะเรียกสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐมาหารือเพื่อเร่งรัดสินเชื่อลงสู่ภาคเศรษฐกิจฐานราก ส่วนมาตรการภาษีอสังหาริมทรัพย์ขอศึกษาให้เสร็จก่อน และให้สินเชื่อแบงก์รัฐออกไปก่อน ค่อยพิจารณามาตรการอสังหาริมทรัพย์

กรรมาธิการคลัง หวั่นส่งออกเริ่มชะลอตัวแล้ว

นายสมชาย สกุลสุรรัตน์ กรรมาธิการการคลังการธนาคารและสถาบันการเงิน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ให้ความเห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศในช่วงนี้ การส่งออกชะลอตัวลง อัตราการบริโภคของประชาชนลดลง

"ผมไม่แน่ใจว่าอัตราการบริโภคของประชาชนที่ลดลงนั้น เกิดจากคนไม่มั่นใจในการบริโภค หรือคนเป็นหนี้จนบริโภคไม่ได้ ผมคาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าเศรษฐกิจก็ยังไม่ดีขึ้น ยกเว้นว่าจะมีการเลือกตั้งที่จะสามารถฟื้นฟูดึงความเชื่อมั่น แต่จะด้วยวิธีใดนั้นคงบอกยาก"

นายสมชายกล่าวต่อไปว่า การส่งออกเริ่มชะลอตัว เพราะผลกระทบจากค่าเงินบาท ต่อไปนี้คือ "ของจริง" ค่าเงินบาทสูง การแข่งขันของเรายังไม่ดีขึ้น ดูได้จากไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้วจนถึงเดือนมีนาคมปีนี้ ลดลงไป 40 กว่าเปอร์เซ็นต์ แสดงว่าการส่งออกมีการชะลอตัวลง ซึ่งอาจจะมาจากปัญหาความไม่เชื่อมั่นของประชาชน

"ลองถามตัวเองดูก็ได้ว่า มาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์ดีหรือไม่ดี ตลาดหุ้นจะขึ้นดีหรือไม่ดี ตรงนี้ไม่มีใครบอก ซึ่งจริงๆ แล้วผู้บริหารต้องเลือกว่าจะเอาอะไร จะถูกจะผิดไม่เป็นไร แต่เมื่อไม่เลือก ลอยไปลอยมาอยู่อย่างนี้ คนเลยเลิกใช้เงิน เพราะไม่รู้ว่าการเมืองจะไปทางไหน การตัดสินใจของรัฐบาลนั้นสำคัญ นักลงทุนนักธุรกิจจะตัดสินใจอะไรก็ต้องตัดสินใจหลังรัฐบาลทุกครั้ง เมื่อนักธุรกิจดูแนวทางของรัฐแล้ว แต่รัฐกลับไม่ชัดเจน การวางแผนทางธุรกิจก็ทำได้แต่ wait and see เกียร์ว่างกันทั้งระบบ" นายสมชายกล่าว
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถ้าอีก 3 เดือนข้างหน้า .............................

เครื่องยนต์ที่ยังติดอยู่ 1 เครื่อง ...................

เกิดดับขึ้นมา จะเป็นไงหนอ ......................
ภาพประจำตัวสมาชิก
CEO
Verified User
โพสต์: 1243
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 4

โพสต์

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2550 www.posttoday.com  

โกร่งห่วงเศรษฐกิจไทยกู่ไม่กลับ

โพสต์ทูเดย์ ดร.โกร่ง ชี้ ศก.ไทยน่าห่วงไม่เห็นสัญญาณฟื้นตัว แนะดูแลค่าเงิน คลังรับลูก

นายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รู้สึกห่วงเศรษฐกิจไทยปีนี้และปีหน้า เพราะยังไม่เห็นสัญญาณการฟื้นตัว และจากตัวเลขการค้าระหว่างประเทศเดือนมีนาคม 2550 แม้ว่าการส่งออกยังขยายตัวสูงถึงกว่า 18% เห็นได้ชัดว่าสัญญาณการลงทุนและกำลังซื้อหดตัวอย่างชัดเจน เนื่องจากการนำเข้าขยายตัวลดวูบลงมาเหลือเพียง 0.6% เท่านั้น

ปีนี้พ่อค้า ประชาชน ทำงานกันหนักกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อวันก่อนภาครัฐประกาศตัวเลขส่งออกโต 18% แต่ตัวเลขการนำเข้ากลับหด นี่มันแปลว่ากำลังซื้อลด การลงทุนลด ผมก็รู้สึกใจหายเหมือนกัน ทำให้เห็นว่าปีนี้ประเทศไทยน่าเป็นห่วงมาก นายวีรพงษ์ กล่าว


นายวีรพงษ์ กล่าวว่า สถานการณ์ของประเทศแย่ลงเกือบทุกด้าน โดยปัจจัยหลักมาจากเรื่องการเมือง เนื่องจากการเลือกตั้งและการยกร่างรัฐธรรมนูญก็จะยังไม่รู้ว่าจะมีบทสรุปเมื่อใด ขณะที่ประเทศเวียดนามและจีนตอนนี้กำลังเป็นตลาดขาขึ้น แต่ตลาดของไทยคงจะคาดหวังอะไรมากไม่ได้

นอกจากนั้น ยังมองว่าเงินบาทยังมีทิศทางที่แข็งค่าขึ้นต่อไป ซึ่งฝ่ายที่เกี่ยวข้องควรจะดูแลค่าเงินบาทด้วยความระมัดระวังตั้งแต่ปี 2548-2549 ที่เห็นทิศทางได้ล่วงหน้าแล้ว

ก็ไม่รู้จะทำยังไง มาตรการต่างๆ ของภาครัฐที่ออกมาไม่รู้ว่าจะสามารถหยุดการแข็งค่าของเงินบาทได้หรือไม่ นายวีรพงษ์ กล่าว

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สถานการณ์ค่าเงินบาทขณะนี้ยังมีความจำเป็นต้องมีมาตรการเพื่อดูแลการไหลเข้าของเงินทุน เช่น มาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ที่ให้ผู้นำเข้าเงินทุนต้องทำสวอปล่วงหน้า 3 เดือน ซึ่งจะทำให้ผู้นำเข้าเงินไม่ได้ประโยชน์จากการเก็งกำไรค่าเงินบาท ขณะเดียวกันค่าเงินบาทที่เหมาะสมควรมีการเคลื่อนไหวแบบ 2 ทาง ซึ่งไทยถือเป็นประเทศที่เสี่ยงต่อการดึงดูดนักเก็งกำไร โดยเฉพาะช่วงที่มีเม็ดเงินไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจำนวนมาก ไทยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่ามากที่สุดในภูมิภาค

นายฉลองภพ กล่าวว่า ขณะนี้ได้ลงนามในประกาศกระทรวงการคลัง เพื่อผ่อนปรนการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ต่อไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้ เพราะเกรงว่าหากกลับไปใช้อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 10% จะทำให้เกิดปัญหาการบริโภคในประเทศรุนแรง เพราะภาวะเศรษฐกิจขณะนี้ยังชะลอตัว และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบได้ในเร็วๆ นี้ ส่วนการปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาต้องพิจารณาให้รอบคอบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
CEO
Verified User
โพสต์: 1243
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ไปไม่กลับ หลับไม่ตื่น ฟื้นไม่มี
:'O  :'O  :'O  :'O  :'O
lekmak333
Verified User
โพสต์: 697
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ใกล้ถึงจุดจบหรือเปล่าครับ

ถ้าตลาดหุ้นขึ้นหนักๆ ผมว่าใช่เลยน่ะ จุดจบเรามาถึงแล้ว
woody
Verified User
โพสต์: 3763
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 7

โพสต์

Every ending is the new beginning.....
Impossible is Nothing
ภาพประจำตัวสมาชิก
naris
Verified User
โพสต์: 6726
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 8

โพสต์

แต่ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรม เดือนมี.ค ฟื้นจากเดือนกพ.นี่ครับ
อาจไม่เลวร้ายอย่างที่คิดก็ได้ ยิ่งถ้าป้อนยาลดดอกก่อนกลางปีอีกซัก1%(น่าจะทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง)บวกยาวิตามินเมกะโปรเจคให้ต่างชาติเชื่อมั่น และยากระตุ้นอย่างแรงคือประกาศเลือกตั้งปลายปี(ประกาศเดือนต.ค หลังจัดงบขาดดุลปี51เรียบร้อย)

ผมว่าธุรกิจน่าจะฟื้นหลังจากความเชื่อมั่นมาครับ :D
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 9

โพสต์

สถานการณ์ในขณะนี้

Stock สินค้าวัตถุดิบเพื่อนำเข้าเริ่มหร่อยหรอลง เพราะนำเข้าน้อยกว่าส่งออก

คนชะลอการซื้อสินค้ามาประมาณ 2 ไตรมาส จากเหตุการณ์บ้านเมือง ทำให้ไม่มั่นใจ เก็บเงินสภาพคล่องไว้กับธนาคารและลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น

การลงทุนเพื่อขยายการผลิต มีการชะลอตัวแม้ว่า Utilization Rate จะขึ้นไปค่อนข้างสูงแล้ว กว่า 70%

บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ หนี้สินต่อทุน ดีขึ้นมาก เพราะไม่ยอมกู้เงินไปลงทุน แถมเน้นการจ่ายปันผล บริษัทหลาย ๆ แห่งเก็บเงินเอาไปจ่ายหนี้เพิ่มอีกด้วย

แล้วโอกาสอยู่ตรงไหน

ดอกเบี้ยมีแนวโน้มปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง สะท้อนที่ yield Curve ของพันธบัตระยะยาวมีแนวโน้มลดลง แถมเงินฝากของธนาคารและสถาบันการเงินปรับลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะเงินฝากระยะยาวปรับลดลงมากขึ้น ประมาณ 0.5% ขึ้นไป

Vat 7% เลื่อนออกไปแล้ว

ต้นทุน Financial risk ลดลง ต้นทุนภาษีไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น

ดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารขนาดใหญ่มีการปรับลดลงตามแล้ว

การใช้จ่ายของภาครัฐ คงมีการกระตุ้นทั้งของหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจตั้งแต่ ไตรมาสนี้เป็นต้นไป เพราะขณะนี้ผ่านไป 2 ไตรมาสของปีงบประมาณ ซึ่งยังมีการเบิกจ่ายค่อนข้างน้อย

เมกะโปร์เจ๊กซ์เริ่มมีความคืบหน้าตามลำดับบ้างแล้ว

โครงการสาธารูปโภค เช่น ไฟฟ้า น้ำมัน ปูนซิเมนต์ เป็นต้น หน่วยงานรัฐก็ได้ประกาศทิศทาง และหลายบริษัทก็มีการวางแผนการลงทุนระยะยาวให้เห็นบ้างแล้ว และก็เริ่มมีการประกาศทิศทางรองรับในอนาคตอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น PTT SCC โรงไฟฟ้าของภาครัฐ เป็นต้น

คนจะชะลอการใช้จ่ายกันไปอีกสักกี่ไตรมาส ในอดีตเศรษฐกิจชะลอ คนจะชะลอการซื้อสินค้าคงทนไว้ก่อน โดยยืดเวลาการใช้ให้นานขึ้น แต่สินค้าคงทนหลายตัวก็มีอายุการใช้งานเหมือนกัน เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ที่ชะลอการซื้อมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว เป็นต้น ถึงเวลาเมื่อความเชื่อมั่นกลับมา Demand ทั้งจากการชะลอการซื้อของคนซื้อรถยนต์เก่า กับ Demand ของคนซื้อใหม่ที่ชะลอการซื้อไปก่อน คนมีเงินคงไม่เก็บเงินไว้โดยไม่ใช้อย่างแน่นอน อาจเก็บไว้สักระยะหนึ่งเมื่อสถานการณ์เริ่มดีก็นำออกมาใช้จ่ายใหม่

อุตสาหกรรมยังไงก็ต้องผลิตสินค้าวันยังค่ำ อยู่ที่ผลิตน้อยผลิตมาก แต่การชะลอการผลิตไปสักระยะเวลาหนึ่ง ในที่สุดก็ต้องสั่งซื้อสินค้าเข้ามาใหม่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออก มิฉะนั้นก็ต้องปิดโรงงาน ตราบใดที่ตลาดต่างประเทศยังโต การส่งออกก็ยังมีโอกาสเติบโตได้บ้าง สำหรับอุตสาหกรรมในประเทศ เมื่อการบริโภคเริ่มดีขึ้น อุตสาหกรรมก็จะต้องผลิตเพิ่มตามไปด้วย

การเลือกตั้งถ้ามีความชัดเจนขึ้น นักลงทุนต่างชาติก็คงจับตาดูตรงนี้อยู่ด้วย

ทั้งหมดอยู่ที่คำตอบว่าจะสร้างความเชื่อมั่นกลับมาได้เร็วเพียงใด

อุปสรรคก็มี และตลาดก็ซึมซับปรับตัวจากข่าวร้าย ๆ ก่อนหน้านี้มาโดยตลอด และบางครั้งก็ยังปรับตัวลงไปมากแล้ว หลายครั้งก็ปรับมากกว่าความเป็นจริง ยิ่งข่าวร้าย ๆ ออกมามากยิ่งขึ้น ผมกลับมองว่ามันใกล้ Bottom ของเศรษฐกิจเข้าไปทุกที เพียงรอโอกาสที่อุปสรรคต่าง ๆ จะเริ่มคลี่คลาย แสงสว่างก็อยู่ที่ปลายอุโมงค์ทันที ความมืดมิดก็จะเริ่มคลายให้เห็นความสว่างบ้าง

อยู่ที่ว่า เราจะมองเห็นแต่อุปสรรคด้านลบอย่างเดียว หรือภายใต้อุปสรรคนั้น ๆ บางคนที่มีสติ และใช้ประสบการณ์ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ยาวนาน เห็นการขึ้นลงของภาวะเศรษฐกิจที่มีทั้งขึ้นและลงอยู่ตลอดเวลา  ก็อาจเห็นโอกาสอยู่ก็ได้ครับ

เปรียบกับธรรมชาติของหุ้นก็เช่นกัน เราก็คงเห็นแล้วว่ามีขึ้นมีลง

หุ้นขึ้นไปสูง ๆ มาก ๆ เหมือนขึ้นไปใกล้ยอดเขา ยิ่งใกล้เท่าไร ก็ยิ่งใกล้เวลาที่หุ้นจะตกลงเร็วเท่านั้น เพราะมันชันมาก จะเคลื่อนให้สูงมาก ๆ ก็ต้องใช้กำลังมาก ๆ

และเมื่อหุ้นลดต่ำลงมาก ๆ เท่าไร เหมือนเราเดินลงเหวข้างใต้ ยิ่งใกล้เหวลึกมากๆ เท่าไร คนที่อยากขายก็คงท้อใจจนไม่อยากที่จะขายแล้ว เพราะไม่คุ้มที่จะขายหุ้นออกไป ก็ยิ่งใกล้จะกลับตัวมากเท่านั้นครับ

ธรรมชาติของเศรษฐกิจก็เช่นกัน มันก็มีขึ้นมีลงของมันอยู่แบบนั้น เป็นรอบ ๆ เป็นวัฏจักรของมันอยู่เช่นนั้นนั่นเองครับ
keng56
Verified User
โพสต์: 431
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 10

โพสต์

คุณ thawattt วิเคราะห์ได้โดนใจดีครับ... :idea:
121
Verified User
โพสต์: 843
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 11

โพสต์

มาดูข่าวดีกันบ้าง มั๊ยฮ้า

เมืองไทยยังมีข่าวดี [27 เม.ย. 50 - 16:12]

ผมต้องขอขอบคุณสำนักข่าวต่างประเทศสำนักข่าวหนึ่ง ที่มักจะรายงานข่าวหรือพูดถึงประเทศไทยของเราในแง่ที่ดีอยู่เสมอๆ

อาจจะพูดถึงเรื่องร้ายอยู่บ้าง เพราะในช่วงหลังๆ บ้านเรามักมีเรื่องร้ายมากกว่าเรื่องดี เขาก็ต้องรายงานไปตามหน้าที่

แต่ส่วนใหญ่แล้ว เขามักจะพูดถึงเราในแง่ดี และเมื่อ 2-3 วันมานี้ ก็เป็นผู้บอกกล่าวข่าวดีของประเทศไทย ที่ผมต้องขออนุญาตแสดงความชื่นชมไว้ ณ ที่นี้

สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี. หรือ สำนักข่าวฝรั่งเศส น่ะครับ...เก่าแก่นมนานมาหลายปีทีเดียวสำนักนี้

ผมไม่มีเวลาค้นคว้าว่าเขาตั้งมานานแค่ไหน แต่จำได้แม่นยำว่า ตอนที่ผมมาทำข่าวต่างประเทศใหม่ๆ ที่หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย เมื่อปี 1970 หรือ 2513 สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี.มีอยู่แล้วครับ

ได้ชื่อว่าเป็นสำนักข่าวที่รายงานข่าวเกี่ยวกับอินโดจีน โดยเฉพาะข่าวในลาว เวียดนาม เขมร ได้แม่นยำและรวดเร็วกว่าใครๆ

และเมื่อประเทศไทยบ้าคลั่งฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรก เมื่อปี 2513 เอาข่าวฟุตบอลโลกมาพาดหัว 3 ชั้น หน้า 1 ราวกับประเทศไทยส่งทีมฟุตบอลไปแข่งเสียเองนั้น สำนักข่าวนี้ได้ชื่อว่ารายงานข่าวฟุตบอลโลกเร็วที่สุด

ช่วงโน้นยังไม่มีถ่ายทอดสดใดๆทั้งสิ้น พวกเรานักแปลข่าวของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ ต้องไปนั่งรอที่สำนักข่าวเอ.เอฟ.พี.ที่อยู่แถวๆหัวถนนสุริวงศ์ เยื้องๆโรงพยาบาลจุฬา ตอนตี 3 ตี 4 แทบทุกคืน

ที่มาที่ไปของสำนักข่าวแห่งนี้เท่าที่ผมนึกออก ก็เห็นจะมีเพียงเท่านี้

กลับมาพูดถึงข่าวน่าชื่นใจเกี่ยวกับเมืองไทย ที่สำนักข่าว เอ.เอฟ.พี. รายงานเมื่อวันวานดีกว่านะครับ

สำนักข่าวแห่งนี้รายงานจากสิงคโปร์ว่า ผลการสำรวจของวีซ่าเอเชียแปซิฟิก และสมาคมการท่องเที่ยวเอเชียแปซิฟิก ที่รู้จักกันในนาม พาต้า สรุปได้ว่า ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ 10 ประเทศ ยกให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าเที่ยวที่สุดของเอเชีย

จำนวนนักท่องเที่ยวที่เป็นเป้าหมายของการสำรวจมีถึง 5,050 คน และให้คำตอบดังกล่าวนี้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคมที่ผ่านมานี่เอง

ประมาณ 2 ใน 3 ของบุคคลที่ตอบคำถามได้เดินทางมาเอเชีย และ 47 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่เดินทางเหล่านี้มาพักผ่อนในประเทศไทยเป็นระยะเวลาหนึ่ง

ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยกลับมาได้รับความนิยม ในฐานะจุดหมายปลายทางของท่องเที่ยวหมายเลขหนึ่งอีกครั้ง...ตามด้วยญี่ปุ่น และจีน เอกสารของวีซ่าและพาต้าระบุ

ประเทศไทยมีชื่อเสียงในฐานะที่มีสถานที่ผ่อนคลายอารมณ์ ซึ่งผู้คนสามารถจะหาความสุขได้จากวัฒนธรรมท้องถิ่น ความงดงามของธรรมชาติ และความมีไมตรีจิต มิตรภาพของประชาชน ซึ่งยังคงเพิ่มขึ้นในความคิดของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเอเชียทั้งหลาย

เหล่านี้เป็นความรู้สึกนึกคิดของนักท่องเที่ยวที่เกิดขึ้น ทั้งๆที่สื่อมักจะรายงานข่าวเกี่ยวกับความวุ่นวายของประเทศไทย

แม้แต่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเอง ก็แสดงความกังวลว่านักท่องเที่ยวชาวเอเชียเริ่มจะเปลี่ยนทิศทาง โดยจะไม่มาประเทศไทยกันแล้ว เหตุเพราะความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้น และค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น

ครับ...ย่อหน้าท้าย เอ.เอฟ.พี.เขาคัดลอกความกังวลของ ททท. หรือ TAT มาให้อ่านกันด้วย เป็นการชี้ให้เห็นว่า ทั้งๆที่ ททท.กังวลนี่แหละ แต่ตัวเลขการสำรวจที่ออกมา...ประเทศไทยยังเป็นหนึ่งในดวงใจของนักท่องเที่ยวอยู่นั่นเอง

ผมก็ได้แต่หวังว่า คงจะได้มีการเผยแพร่ข่าวนี้อย่างกว้างขวางให้เป็นที่ทราบกันต่อไป

ขณะเดียวกัน ก็ขอให้ทุกๆท่านที่อยู่ในธุรกิจท่องเที่ยว จงยืนหยัดกัดฟันสู้ทำหน้าที่ของท่านอย่างเข้มแข็ง

ทุกครั้งที่เศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในภาระถดถอย ก็ได้พึ่งพาอาศัยการท่องเที่ยวนี่แหละครับเป็นวีรบุรุษในการกอบกู้ให้ฟื้นกลับคืนมาได้

นักการเมืองเขาจะยุ่งก็ปล่อยให้เขายุ่งกันไป ใครจะทะเลาะกันอย่างไรและเรื่องอะไร ก็ปล่อยเขาไปเถอะ

ขอให้มุ่งหน้าโฆษณาเชิญชวนให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวประเทศไทยต่อไปนะครับ...

บางทีความยุ่งเหยิงก็กลายเป็นสินค้าท่องเที่ยวได้...ยกตัวอย่างปฏิวัติคราวที่แล้วไง... ใครๆก็อยากมาถ่ายรูปคู่กับรถถังเป็นที่ระลึกกลายเป็นเรื่องมหัศจรรย์ หรืออะเมซซิ่งไทยแลนด์ของแท้ที่หาไม่ได้ในประเทศอื่นใด

สรุป ผมต้องขอขอบคุณสำนักข่าว เอ.เอฟ.พี.อีกครั้ง...นี่ถ้าเขาไม่รายงานข่าว เราก็คงไม่รู้นะครับเนี่ยว่าเมืองไทยวันนี้ ก็ยังมีข่าวดี.

ซูม



ไทยรัฐ 27 เม.ย 2550
hot
Verified User
โพสต์: 6853
ผู้ติดตาม: 0

ศก.หัวทิ่ม-นำเข้าทรุดกดจีดีพี !!!!

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมงงอยู่อย่าง

ผลไม้ไทยถูกมาก


แต่คนไทยกินผลไม้ไทยน้อยกว่าความเป็นจริง

หรือต้องมีการแปรรูปให้น่าทานมากขึ้น


บางคนว่ากำลังซื้อมีอยู่ แต่ไม่กล้าใช้

คนกินเงินเดือน ผมเชื่อว่ากำลังซื้อมีอยู่ หนี้มีอยู่

กำลังซื้อไม่ได้หายไปไหน

แต่คน ค้าขาย  ขนาดกลางแย่ลง  อันนี้คิดไปเองหรือเปล่า

สิ่งที่ผมกลัวคือ

การค้า  ที่ละคุณธรรม  กำไร ยอดขายมาก่อน

จะแก้อย่างไร

ถ้าเขาจำเป็น
โพสต์โพสต์