money management
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 1
ถ้าพอร์ตมีเงินสดเหลือ 2 แสนบาทกับมีหุ้นอยู่หนึ่งตัวคือหุ้น A ซื้อมา 1 แสนบาท ตอนนี้ขายได้ 2 แสนบาท และคุณก็คิดว่าราคานี้ fair value พอดี
คราวนี้คุณไปเจอหุ้นตัวหนึ่งคือหุ้น B ซึ่งคุณคิดว่ามีราคาที่น่าลงทุนมากอยากจะซื้อสัก 2 แสนบาท คุณจะทำอย่างไรระหว่าง
เอาเงินสดที่เหลือในพอร์ตมาซื้อ
หรือ
ขายหุ้น A เอาเงินออกมาซื้อ
ชอบอย่างไหนมากกว่ากัน?
คราวนี้คุณไปเจอหุ้นตัวหนึ่งคือหุ้น B ซึ่งคุณคิดว่ามีราคาที่น่าลงทุนมากอยากจะซื้อสัก 2 แสนบาท คุณจะทำอย่างไรระหว่าง
เอาเงินสดที่เหลือในพอร์ตมาซื้อ
หรือ
ขายหุ้น A เอาเงินออกมาซื้อ
ชอบอย่างไหนมากกว่ากัน?
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- ksnk
- Verified User
- โพสต์: 414
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 3
ผมจะถ้าหุ้น B ซึ่งคุณคิดว่ามีราคาที่น่าลงทุนมากๆๆๆๆๆๆๆ
:lol: :lol:เอาเงินสดที่เหลือในพอร์ตมาซื้อ
และ
ขายหุ้น A เอาเงินออกมาซื้อ
ถ้าให้พิจารณาก็คงต้องเปรียบเทียบว่าบริษัท A ที่ fair value มีอนาคต(growth, risk) เป็นอย่างไรถ้าเทียบกับบริษัท B ที่มีราคาน่าลงทุนมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 2266
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 6
ขายหุ้น a มาซื้อหุ้น b ครับ
ถ้าหุ้น b ดีมากๆ จริงๆ เอาเงินที่อยู่ในกระเป๋ามาซื้อเพิ่มด้วย 8)
ถ้าหุ้น b ดีมากๆ จริงๆ เอาเงินที่อยู่ในกระเป๋ามาซื้อเพิ่มด้วย 8)
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 1067
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 9
เอาเงินสดมาซื้อครับ
เหตุผลประกอบด้วย
1. ถ้าเงินอยู่เฉย ๆ ส่วนตัวผมก็ทำได้แค่ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยต่ำต้อย
2. และสมมติเป้าหมายมูลค่าการซื้อไว้ที่สองแสนอยู่แล้ว ก็พอดี ๆ กับเงินสดที่มีอยู่ นั่นคือเงินสดดอกเบี้ยต่ำ มีเพียงพอกับเป้าหมายในการซื้ออยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องรบกวน A
3. Fair Price คิดจาก Discount Rate ที่เราคาดหวังอยู่แล้ว ดังนั้นถือต่อไปก็คงจะได้ผลตอบแทนที่คาดหวัง ซึ่งคงจะมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แน่นอน
4. โดยความนิยมส่วนตัว ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ มักจะไม่นิยมถือเงินสดเป็นประมาณมากเกินไปครับ ซึ่ง 200,000 สำหรับผมถือว่ามากเกินไป
เหตุผลประกอบด้วย
1. ถ้าเงินอยู่เฉย ๆ ส่วนตัวผมก็ทำได้แค่ฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยต่ำต้อย
2. และสมมติเป้าหมายมูลค่าการซื้อไว้ที่สองแสนอยู่แล้ว ก็พอดี ๆ กับเงินสดที่มีอยู่ นั่นคือเงินสดดอกเบี้ยต่ำ มีเพียงพอกับเป้าหมายในการซื้ออยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องรบกวน A
3. Fair Price คิดจาก Discount Rate ที่เราคาดหวังอยู่แล้ว ดังนั้นถือต่อไปก็คงจะได้ผลตอบแทนที่คาดหวัง ซึ่งคงจะมากกว่าดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แน่นอน
4. โดยความนิยมส่วนตัว ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ มักจะไม่นิยมถือเงินสดเป็นประมาณมากเกินไปครับ ซึ่ง 200,000 สำหรับผมถือว่ามากเกินไป
... จุดเริ่มต้นของคนเราไม่สำคัญ
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
มันสำคัญที่ว่าเขาวิ่งได้เร็วแค่ไหนตะหาก ...
- Rocker
- Verified User
- โพสต์: 4526
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 10
ถ้าอนาคตหุ้น B จริงละก็
ขายหุ้น A เพื่อเอาทุนคืน 100000
นําเงินสด 100000+เงินจากA100000 ซื้อหุ้น B=200000บาท
จะเหลือเงิน 100000 และมูลค่าหุ้น A 100000ใน port ไม่ขายหมดเนื่องจาก
สมมุติว่าAมีอนาคตที่ดี ฉะนั้นหุ้นก็เพิ่มตามมูลค่า
ขายหุ้น A เพื่อเอาทุนคืน 100000
นําเงินสด 100000+เงินจากA100000 ซื้อหุ้น B=200000บาท
จะเหลือเงิน 100000 และมูลค่าหุ้น A 100000ใน port ไม่ขายหมดเนื่องจาก
สมมุติว่าAมีอนาคตที่ดี ฉะนั้นหุ้นก็เพิ่มตามมูลค่า
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 11
เทคนิคแพรวพราวกันจริงๆ คับ :D
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- Muffin
- Verified User
- โพสต์: 874
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 12
ถ้าตอบตรงคำถามจริงๆ
หมายถึงว่า อยากได้ B แค่ 2 แสนนะครับ
ผมจะขาย A ออก 1 แสน บาท แล้วเอาเงินสดอีก 1 แสนบาท เข้าซื้อ B 2 แสนบาทครับ
ทำให้ พอร์ทกลายเป็น มี A 1 แสนบาท, B 2 แสนบาท และ เงินสด 1 แสนบาทครับ
แต่ถ้าไม่มีคำว่า "อยากได้ B 200,000 บาท" ผมก็จะขาย A ออกทั้งหมด แล้วเอาเงินที่ได้จากขาย A รวมกับเงินสดอีก 200,000 บาท ซื้อ B ไปทั้งหมดเลย
ทำให้ พอร์ทกลายเป็น B 400,000 บาท
หมายถึงว่า อยากได้ B แค่ 2 แสนนะครับ
ผมจะขาย A ออก 1 แสน บาท แล้วเอาเงินสดอีก 1 แสนบาท เข้าซื้อ B 2 แสนบาทครับ
ทำให้ พอร์ทกลายเป็น มี A 1 แสนบาท, B 2 แสนบาท และ เงินสด 1 แสนบาทครับ
แต่ถ้าไม่มีคำว่า "อยากได้ B 200,000 บาท" ผมก็จะขาย A ออกทั้งหมด แล้วเอาเงินที่ได้จากขาย A รวมกับเงินสดอีก 200,000 บาท ซื้อ B ไปทั้งหมดเลย
ทำให้ พอร์ทกลายเป็น B 400,000 บาท
- naris
- Verified User
- โพสต์: 6726
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 13
ต้องดูคุณภาพของหุ้นทั้ง2ตัวในระยะยาว และ การตีมูลค่าของเราเมื่อเทียบกับตลาดครับ
เช่น ผมเคยคิดว่าหุ้น A= mint ที่ 6บาทกว่าๆ peตอนนั้นที่ประมาณ20เท่า upside ไม่น่าจะเหลือมาก
เมื่อเจอหุ้น B=MCS ราคาประมาณ2.7-2.8 ก็คิดว่าชัวร์100%
ก็เลยขายmint มาซื้อ mcs ทั้งหมด
แล้วก็กลายเป็น mint ขึ้นมาประมาณ50% ส่วน mcs ขึ้นมาประมาณ30%
(แต่ตอนนี้ขายmcsไปหมดแล้วครับ เจอกิ๊กใหม่ )
สรุปว่ายังไงก็ช่างสูตรพี่คลายเคลียดยังใช้ได้ สำหรับคนที่เจอกิ๊กใหม่กลัวสวยแต่รูป จูบไม่หอม และกิ๊กเก่าที่คุณภาพคับแก้วและ ยังรักกันอยู่ เหยียบเรือ2แคม ก็จำเป็นครับ :lol:
เช่น ผมเคยคิดว่าหุ้น A= mint ที่ 6บาทกว่าๆ peตอนนั้นที่ประมาณ20เท่า upside ไม่น่าจะเหลือมาก
เมื่อเจอหุ้น B=MCS ราคาประมาณ2.7-2.8 ก็คิดว่าชัวร์100%
ก็เลยขายmint มาซื้อ mcs ทั้งหมด
แล้วก็กลายเป็น mint ขึ้นมาประมาณ50% ส่วน mcs ขึ้นมาประมาณ30%
(แต่ตอนนี้ขายmcsไปหมดแล้วครับ เจอกิ๊กใหม่ )
สรุปว่ายังไงก็ช่างสูตรพี่คลายเคลียดยังใช้ได้ สำหรับคนที่เจอกิ๊กใหม่กลัวสวยแต่รูป จูบไม่หอม และกิ๊กเก่าที่คุณภาพคับแก้วและ ยังรักกันอยู่ เหยียบเรือ2แคม ก็จำเป็นครับ :lol:
ราคาระยะสั้นตามข่าว--ราคาระยะยาวตามผลกำไร
-
- Verified User
- โพสต์: 2938
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 15
ผมก็ว่าวิธีเหยียบเรือสองแคม น่าจะเหมาะดี
เพราะส่วนมากหุ้นที่ขึ้นมาที่ราคาfair มักจะขึ้นต่อไปที่ราคาไม่แฟร์
ส่วนหุ้นที่ยังไม่ขึ้น จะขึ้นเมื่อไรไม่รู้
ถ้าผมจะใช้วิธีสวิทช์หุ้น แบบเหมาทั้งlot ผมจะใช้กลับหุ้นในกลุ่มเดียวกัน
และมีพื้นฐานใกล้เคียงกัน
อย่างเช่นล่าสุด psl กะ tta ผมก็ซื้อไว้ทั้ง2ตัว
วันหนึ่งpslขึ้นมา35.25 ผมก็ขาย35.25 28/7/49 เพราะเห็น ttaลงมา21.6 เลยมาซื้อttaแทน
ก็ขายยกล๊อตแหละครับ
พออีกไม่กี่วัน psl ลงมา33.75 34 ผมก็เอาเงินส่วนที่เหลือมาซื้ออีกที
วิธีผมอาจจะมองระยะสั้นมากไปหน่อย
โปรดใช้วิจารณาญานในการรับอ่าน
เพราะส่วนมากหุ้นที่ขึ้นมาที่ราคาfair มักจะขึ้นต่อไปที่ราคาไม่แฟร์
ส่วนหุ้นที่ยังไม่ขึ้น จะขึ้นเมื่อไรไม่รู้
ถ้าผมจะใช้วิธีสวิทช์หุ้น แบบเหมาทั้งlot ผมจะใช้กลับหุ้นในกลุ่มเดียวกัน
และมีพื้นฐานใกล้เคียงกัน
อย่างเช่นล่าสุด psl กะ tta ผมก็ซื้อไว้ทั้ง2ตัว
วันหนึ่งpslขึ้นมา35.25 ผมก็ขาย35.25 28/7/49 เพราะเห็น ttaลงมา21.6 เลยมาซื้อttaแทน
ก็ขายยกล๊อตแหละครับ
พออีกไม่กี่วัน psl ลงมา33.75 34 ผมก็เอาเงินส่วนที่เหลือมาซื้ออีกที
วิธีผมอาจจะมองระยะสั้นมากไปหน่อย
โปรดใช้วิจารณาญานในการรับอ่าน
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
- worapong
- Verified User
- โพสต์: 929
- ผู้ติดตาม: 0
Re: money management
โพสต์ที่ 16
โจทย์มันดูเหมือนง่ายแต่ที่จริงซับซ้อนนะครับสุมาอี้ เขียน:ถ้าพอร์ตมีเงินสดเหลือ 2 แสนบาทกับมีหุ้นอยู่หนึ่งตัวคือหุ้น A ซื้อมา 1 แสนบาท ตอนนี้ขายได้ 2 แสนบาท และคุณก็คิดว่าราคานี้ fair value พอดี
คราวนี้คุณไปเจอหุ้นตัวหนึ่งคือหุ้น B ซึ่งคุณคิดว่ามีราคาที่น่าลงทุนมากอยากจะซื้อสัก 2 แสนบาท คุณจะทำอย่างไรระหว่าง
เอาเงินสดที่เหลือในพอร์ตมาซื้อ
หรือ
ขายหุ้น A เอาเงินออกมาซื้อ
ชอบอย่างไหนมากกว่ากัน?
ถ้าแฟร์แวลยู่หมายถึงมูลค่าที่ได้จากการคิดลดกระแสเงินสดด้วยดอกเบี้ยที่พอสมควรแล้วละก็ ไอ้อัตราดอกเบี้ยที่พอสมควรนี่แหละคือสิ่งที่จะบอกว่าเงินสดที่ถืออยู่ หรือหุ้นที่ถืออยู่มีค่ามากกว่ากัน จากความรู้อันจำกัดของผมพบว่าหนังสือส่วนใหญ่เวลาคำนวณมักเอาดอกเบี้ยของพันธบัตรระยะยาวมาเป็นอัตราคิดลด ซึ่งปัจจุบันอยู่ราวๆ 5-6% แต่ในหนังสือส่วนใหญ่ใช้ 9-10% มาคิดลด เค้าบอกว่าถ้าดอกเบี้ยพันธบัตรต่ำกว่าสิบก็ให้เอาสิบมาคิดลดเลย ดังนั้นผมคิดว่าหุ้นเอน่าจะมีมูลค่าสูงกว่าเงินสด ถ้ามีทางเลือกแค่สองทาง การเอาเงินสดมาซื้อหุ้นน่าจะทำให้ผลตอบแทนในระยะยาวดีกว่าครับ ที่สำคัญคือในความคิดส่วนตัวของผม การถือหุ้นสักสี่ห้าตัวก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจกว่าถือตัวเดียวครับ เพราะผมเองไม่ได้เก่งถึงขนาดว่าคำนวณแล้วทุกอย่างที่เกิดขึ้นจะเป็นไปอย่างที่คำนวณเป๊ะๆ บางครั้งบริษัทก็ทำได้ดีกว่าที่คิด แต่บางครั้งก็ทำได้แย่กว่านั้น ผมเองจึงชอบที่จะมีหุ้นมากกว่าหนึ่งตัวในพอร์ต ผมจึงเลือกการเอาเงินสดที่เหลือมาซื้อหุ้นบีครับ แต่ผมก็เห็นว่ามีพี่ๆหลายคนที่เลือกหุ้นตัวเดียวแล้วทำได้ดีมากๆนะครับ ซึ่งดีกว่าหุ้นสี่ห้าตัวในพอร์ตของผมพอสมควรเลยครับ แต่คนที่จะทำได้แบบนั้น ผมคิดว่ามีจำนวนจำกัด เค้าต้องเก่งมากจริงๆ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะทำได้ครับ
margin of safety
circle of competence
waiting for the perfect pitch
circle of competence
waiting for the perfect pitch
- tanate
- Verified User
- โพสต์: 307
- ผู้ติดตาม: 0
ตอบครับ
โพสต์ที่ 17
ขายหุ้น A ออกไป 100,000 บาท แล้วนำเงินที่ได้ + เงินสดในมือ 100,000 บาท ไปซื้อหุ้น B ส่วนเงินที่เหลือ 100,000 บาท เผื่อซื้อเฉลี่ยต้นทุน B กรณีที่หุ้นตกลงมามาก หุ้นAที่เหลืออยู่ถือยาวววว กินเงินปันผล เพราะต้นทุนเหลือต่ำมากๆ
หุ้นขึ้นสักแต่รู้ว่าหุ้นขึ้น หุ้นตกสักแต่รู้ว่าหุ้นตก
- วัวแดง
- Verified User
- โพสต์: 1429
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 18
เป็นผมนะ.......
เงินสดซื้อหุ้น b 2แสน ,หุ้นa เก็บไว้ก่อน......
เมื่อเจอหุ้น c ที่มั่นใจคล้ายๆ หุ้นb จึงขายหุ้นa มาซื้อหุ้นc 2แสน......
ผมไม่เก็บเงินสด(สำหรับซื้อหุ้น) ถ้ามั่นใจตัวไหนก็ซื้อไปเลย เงินสดทำรายได้ให้ผมน้อยมาก
ถ้าคิดว่าถือเงินสดเพื่อรอโอกาสดีๆ ผมไม่ทำ ถ้ามีโอกาสดีๆจริง ผมขายหุ้นทุกตัวเพื่อมาซื้อ....
เงินสดซื้อหุ้น b 2แสน ,หุ้นa เก็บไว้ก่อน......
เมื่อเจอหุ้น c ที่มั่นใจคล้ายๆ หุ้นb จึงขายหุ้นa มาซื้อหุ้นc 2แสน......
ผมไม่เก็บเงินสด(สำหรับซื้อหุ้น) ถ้ามั่นใจตัวไหนก็ซื้อไปเลย เงินสดทำรายได้ให้ผมน้อยมาก
ถ้าคิดว่าถือเงินสดเพื่อรอโอกาสดีๆ ผมไม่ทำ ถ้ามีโอกาสดีๆจริง ผมขายหุ้นทุกตัวเพื่อมาซื้อ....
ถ้าผมคิดเหมือนคนทั่วๆไป ผลตอบแทนผมก็เหมือนคนทั่วๆไป
ใจผมคงละลาย ถ้าผมคิดตามคนอื่น
ผู้ชนะไม่แน่ว่าจะต้องเป็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด...แต่เป็นผู้ที่อดทนที่สุดต่างหาก
ใจผมคงละลาย ถ้าผมคิดตามคนอื่น
ผู้ชนะไม่แน่ว่าจะต้องเป็นคนที่วิ่งเร็วที่สุด...แต่เป็นผู้ที่อดทนที่สุดต่างหาก
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 19
ผมคาดเดาว่าวิธีหา fair value ของคุณสุมาอี้ คือ FCF
ดังนั้น ถ้าสมมุติ ผลตอบแทนที่คำนวณ fair value ไว้ที่ 10%
หุ้น A ที่มีราคาซื้อขายในตลาดที่ fair value แสดงว่าถ้าเราถือลงทุนต่อ ก็จะได้ผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดอิสระ 10% ต่อปี
หุ้น B มีราคาตลาดที่น่าลงทุนมาก ก็แสดงว่าต้องต่ำกว่า fair value ซึ่งถ้าเราลงทุนก็จะได้ผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดอิสระมากว่า 10% ต่อปีมากพอควร
เป็นผมก็คงขายหุ้น A ออก แล้วบวกเงินทั้งหมด ซื้อ หุ้น B ครับ
ปล. เห็นบางคนวัดผลตอบแทนจากราคาตลาด เราไม่รู้หรอกครับว่าในอนาคตอันใกล้ราคาตลาดของ A และ B จะขึ้นหรือลงมากกว่ากัน เพราะราคาตลาดในระยะสั้นคงไม่สัมพันธ์กับ fair value ซักเท่าไร
ดังนั้น ถ้าสมมุติ ผลตอบแทนที่คำนวณ fair value ไว้ที่ 10%
หุ้น A ที่มีราคาซื้อขายในตลาดที่ fair value แสดงว่าถ้าเราถือลงทุนต่อ ก็จะได้ผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดอิสระ 10% ต่อปี
หุ้น B มีราคาตลาดที่น่าลงทุนมาก ก็แสดงว่าต้องต่ำกว่า fair value ซึ่งถ้าเราลงทุนก็จะได้ผลตอบแทนในรูปกระแสเงินสดอิสระมากว่า 10% ต่อปีมากพอควร
เป็นผมก็คงขายหุ้น A ออก แล้วบวกเงินทั้งหมด ซื้อ หุ้น B ครับ
ปล. เห็นบางคนวัดผลตอบแทนจากราคาตลาด เราไม่รู้หรอกครับว่าในอนาคตอันใกล้ราคาตลาดของ A และ B จะขึ้นหรือลงมากกว่ากัน เพราะราคาตลาดในระยะสั้นคงไม่สัมพันธ์กับ fair value ซักเท่าไร
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 20
[quote="chatchai"]
หุ้น A ที่มีราคาซื้อขายในตลาดที่ fair value
หุ้น A ที่มีราคาซื้อขายในตลาดที่ fair value
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2496
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 21
สำหรับดิฉันคิดว่า อยู่ที่กลยุทธด้วยค่ะ
โจทย์ที่ให้มายังไม่ละเอียดพอ จึงต้องถามก่อนว่า สองแสนที่เหลือนั้น คิดเป็นจำนวนเงินสด กี่เปอเซนต์ของเงินลงทุนแท้จริง
ถ้าสองแสน คือ 66.66% ของเงินลงทุนจริง และทุนหุ้น a หนึ่งแสนนั้นเป็นแค่ 33.33% ของเงินลงทุน (กรณีเงินต้นมีสามแสน,มีหุ้นในปอดแค่หุ้น a ตัวเดียว)
สำหรับดิฉันแล้ว คิดว่าพอร์ทแบบนี้ มีหุ้นน้อยเกินไป
โดยเฉพาะถ้าบอกว่า พบแล้ว หุ้นที่มีค่าพอที่จะเป็นตัวที่สองในพอร์ท ถูกมาก ดีมาก อยู่ในจุดที่พร้อมจะขึ้น ...อะไรก็แล้วแต่
งั้นทำไมไม่ตัดสินใจเอา ส่วนของ 66.66% มาลุยล่ะ ทั้งๆที่ปล่อยไว้มันก็ลดค่าตัวมันลงอยู่ตลอดเวลา การที่เงินอยู่เฉยๆบางครั้งอาจเป็นอันตรายมากกว่า การที่เงินอยู่ในหุ้นที่มาถึงราคา แฟร์แวลุ่แล้ว (ยิ่งถ้าคำนวนที่แฟร์แวลู่แล้ว ถ้าอัตราปันผลยังตอบแทนได้ดีกว่าดอกเบี้ยหรือเงินเฟ้อ ยิ่งไปใหญ่)
ทีนี้ในทางกลับกัน
ถ้าสองแสนที่เหลือ คือเป็น 10% ของทุนแท้จริงที่ สองล้านบาท
และหุ้น a มีสัดส่วนการลงทุนแค่ 5% ของเงินลงทุนแท้จริง
อันนี้ก็ต้องพิจารณาหน่อยค่ะ
แรกเลยคือ เอ๊ะ หุ้น a เดิมที่ถืออยู่นี่นะ ขึ้นมาได้ร้อยเปอเซนต์ (ต้องดูว่าใช้เวลาแค่ไหน และขึ้นมาแนวไหน ...ขึ้นมามากเพราะ เดิมที่ลงทุนมันอยู่ต่ำแวลู่มากๆๆๆ หรือ ขึ้นมามาก เพราะบริษัทมีความสามารถในการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง )
แล้ว เอ...ต้องกลับไปนอนคิดหน่อยแล้ว ว่าเราจะขายหรือ ควรจะหาจังหวะซื้อหุ้น a เพิ่มขึ้นอีกหน่อย กันแน่
แล้วก็ อืม...ดูแล้วไงๆ หุ้น b ดีกว่า a แน่นอน เอาล่ะ ลุยหุ้น b มันทั้งหมด สองแสนที่เหลือนี่ดีกว่า (แปลว่าถือหุ้น b =10%ในพอร์ท)
อ้าว...เป็นปัญหาให้คิดอีกอ่ะค่ะ ...สองตัวที่ว่าดีนี่รวมกันแล้ว 15% เอง
เอ๋...อีกตั้ง 85% มันไปลงอยู่ในตัวไหนล่ะ งั้นต้องกลับไปดูแล้วมั้งคะ ว่าอี85% นี่มันดีกว่า 15% สองตัวนี้หรือไม่
ก็ สำหรับดิฉันคือ จะให้ความสำคัญในกลยุทธการจัดการทีม ไม่น้อยไปกว่าการคัดเลือกนักเตะ ค่ะ
โจทย์ที่ให้มายังไม่ละเอียดพอ จึงต้องถามก่อนว่า สองแสนที่เหลือนั้น คิดเป็นจำนวนเงินสด กี่เปอเซนต์ของเงินลงทุนแท้จริง
ถ้าสองแสน คือ 66.66% ของเงินลงทุนจริง และทุนหุ้น a หนึ่งแสนนั้นเป็นแค่ 33.33% ของเงินลงทุน (กรณีเงินต้นมีสามแสน,มีหุ้นในปอดแค่หุ้น a ตัวเดียว)
สำหรับดิฉันแล้ว คิดว่าพอร์ทแบบนี้ มีหุ้นน้อยเกินไป
โดยเฉพาะถ้าบอกว่า พบแล้ว หุ้นที่มีค่าพอที่จะเป็นตัวที่สองในพอร์ท ถูกมาก ดีมาก อยู่ในจุดที่พร้อมจะขึ้น ...อะไรก็แล้วแต่
งั้นทำไมไม่ตัดสินใจเอา ส่วนของ 66.66% มาลุยล่ะ ทั้งๆที่ปล่อยไว้มันก็ลดค่าตัวมันลงอยู่ตลอดเวลา การที่เงินอยู่เฉยๆบางครั้งอาจเป็นอันตรายมากกว่า การที่เงินอยู่ในหุ้นที่มาถึงราคา แฟร์แวลุ่แล้ว (ยิ่งถ้าคำนวนที่แฟร์แวลู่แล้ว ถ้าอัตราปันผลยังตอบแทนได้ดีกว่าดอกเบี้ยหรือเงินเฟ้อ ยิ่งไปใหญ่)
ทีนี้ในทางกลับกัน
ถ้าสองแสนที่เหลือ คือเป็น 10% ของทุนแท้จริงที่ สองล้านบาท
และหุ้น a มีสัดส่วนการลงทุนแค่ 5% ของเงินลงทุนแท้จริง
อันนี้ก็ต้องพิจารณาหน่อยค่ะ
แรกเลยคือ เอ๊ะ หุ้น a เดิมที่ถืออยู่นี่นะ ขึ้นมาได้ร้อยเปอเซนต์ (ต้องดูว่าใช้เวลาแค่ไหน และขึ้นมาแนวไหน ...ขึ้นมามากเพราะ เดิมที่ลงทุนมันอยู่ต่ำแวลู่มากๆๆๆ หรือ ขึ้นมามาก เพราะบริษัทมีความสามารถในการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง )
แล้ว เอ...ต้องกลับไปนอนคิดหน่อยแล้ว ว่าเราจะขายหรือ ควรจะหาจังหวะซื้อหุ้น a เพิ่มขึ้นอีกหน่อย กันแน่
แล้วก็ อืม...ดูแล้วไงๆ หุ้น b ดีกว่า a แน่นอน เอาล่ะ ลุยหุ้น b มันทั้งหมด สองแสนที่เหลือนี่ดีกว่า (แปลว่าถือหุ้น b =10%ในพอร์ท)
อ้าว...เป็นปัญหาให้คิดอีกอ่ะค่ะ ...สองตัวที่ว่าดีนี่รวมกันแล้ว 15% เอง
เอ๋...อีกตั้ง 85% มันไปลงอยู่ในตัวไหนล่ะ งั้นต้องกลับไปดูแล้วมั้งคะ ว่าอี85% นี่มันดีกว่า 15% สองตัวนี้หรือไม่
ก็ สำหรับดิฉันคือ จะให้ความสำคัญในกลยุทธการจัดการทีม ไม่น้อยไปกว่าการคัดเลือกนักเตะ ค่ะ
- Doramon007
- Verified User
- โพสต์: 110
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 22
ได้ความรู้อีกเป็นกระบุง :)
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 24
ขอโทษคุณโดราเอมอนด้วย ไม่ได้ตั้งใจจะ quote ชื่อแบบนั้น
ผมก็เห็นด้วยกับการขาย A ทิ้งให้หมด เอาเงินที่ได้บวกเงินสดที่เหลืออยู่ไปซื้อ B เพราะทั้งการถือ A ต่อไปและการถือเงินสดจะมี NPV=0 แต่การถือ B มี NPV>0
เพียงแต่รู้สึกแปลกๆ ตรงคำว่า หุ้นที่ถึง fair value แล้ว ไม่มีเหตุจะต้องถือต่อไปเท่านั้น
(20 บาท ต้องเป็น PV หรือเปล่า?)
ผมก็เห็นด้วยกับการขาย A ทิ้งให้หมด เอาเงินที่ได้บวกเงินสดที่เหลืออยู่ไปซื้อ B เพราะทั้งการถือ A ต่อไปและการถือเงินสดจะมี NPV=0 แต่การถือ B มี NPV>0
เพียงแต่รู้สึกแปลกๆ ตรงคำว่า หุ้นที่ถึง fair value แล้ว ไม่มีเหตุจะต้องถือต่อไปเท่านั้น
(20 บาท ต้องเป็น PV หรือเปล่า?)
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
- Doraemon
- Verified User
- โพสต์: 243
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 25
โอวว...จะขอโทษผมไปทำไมครับ ไม่เห็นจะมีอะไรเลย จริงๆ จะ quote ชื่อผมอีกกี่ทีก็ได้ ถือเป็นเกียรติครับ
จะว่าไปแล้วผมเองก็ใช้คำพูดผิดไปจริงๆ ที่ว่าไม่มีเหตุจะให้ถือต่อไปแล้ว เพราะจริงๆ ยังได้ที่ WACC อยู่อย่างที่ว่ากัน :oops:
จะว่าไปแล้วผมเองก็ใช้คำพูดผิดไปจริงๆ ที่ว่าไม่มีเหตุจะให้ถือต่อไปแล้ว เพราะจริงๆ ยังได้ที่ WACC อยู่อย่างที่ว่ากัน :oops:
ผมว่า FV กับ PV มันเหมือนกันนะ เพราะ FV ก็คือคำที่เราใช้เรียก PV ของ free cash flow ต่อหุ้น ไม่ใช่หรือครับ?? (งงอีกแล้ว ดีจังเลยครับกระทู้นี้ได้ถกกันเยอะดี)(20 บาท ต้องเป็น PV หรือเปล่า?)
Great Stocks at Bargain Prices
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
money management
โพสต์ที่ 26
เข้าใจล่ะ ผมไปนึกว่า FV หมายถึง Future value :oops:Doraemon เขียน:
ผมว่า FV กับ PV มันเหมือนกันนะ เพราะ FV ก็คือคำที่เราใช้เรียก PV ของ free cash flow ต่อหุ้น ไม่ใช่หรือครับ?? (งงอีกแล้ว ดีจังเลยครับกระทู้นี้ได้ถกกันเยอะดี)
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ