พุธ ก.ย. 24, 2014 2:09 pm | 0 คอมเมนต์
ดำ เขียน: อ.leky ครับ เรื่องการประเมินมูลค่าหุ้น ผมมองเป็น 2 ส่วน คือ
1. ความน่าจะเป็นของการเติบโตของกำไรในระยะสั้น (1-2 ปี) ==> สะท้อนไปที่ตัว "E"
2. คุณภาพในระยะยาวของกิจการ ==> สะท้อนไปที่ตัว "P/E" ("ค่าพรีเมี่ยม")
ยกตัวอย่าง เวลาประเมินหุ้น ผมจะ "เดา" กำไรช่วง 1-2 ปีข้างหน้าว่าโตมากขึ้นจากปัจจุบันแค่ไหน? ที่มาของการโตคืออะไร? ยิ่งโตมากยิ่งน่าสน
จากนั้นจึงมาดูปัจจัยเชิงคุณภาพต่อ (เช่น มองภาพธุรกิจ 3-5 ปีได้ชัดหรือไม่ แนวโน้มอุตสาหกรรมจะเป็นยังไง อัตรากำไรจะมากขึ้นหรือน้อยลง สภาพคล่องและเงินลงทุนจะเป็นยังไง ...) แล้วใช้กำหนด "ค่าพรีเมี่ยม" หรือระดับ P/E ที่เหมาะสม **ซึ่งที่ผมถาม อ.leky เรื่องระดับ Forward P/E ว่าสูงสุดควรให้ได้เท่าไหร่ก็คือตรงนี้ครับ**
จากนั้นก็เอา 1. คูณกับ 2. ออกมาเป็นมูลค่าหุ้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า
รบกวน อ.ช่วยวิจารณ์ทีครับ ว่าวิธีนี้เป็นยังไงบ้าง? จัดเต็มได้เลยครับ ผมจะได้นำไปพิจารณาปรับปรุงดูครับ
ผมว่ามันคงยากที่จะกำหนดเพดานของค่า PE ครับ แต่เอาเป็นว่ายิ่งสูงยิ่งต้องระมัดระวัง
ปกติผมไม่ค่อยได้ลงทุนหุ้นแบบนี้เท่าไหร่ แต่ถ้าจะให้ผมลองแนะนำดู ถ้าผมจะทำผมคง discount ค่า E ลงให้ conservative ไว้ก่อน สมมติคำนวณ EPS = 1 บาทต่อหุ้น ผมอาจจะตีมูลค่าให้ลดลงเหลือ 0.80 บาทต่อหุ้น เหมือนเป็นการวาง MOS เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง
จากตัวอย่างข้างต้น สมมติถ้าหุ้นตัวนี้เดิมมี PE เฉลี่ยอยู่ที่ 30 ถ้าเป็นกรณี EPS = 1 บาท ราคาหุ้นที่คาดว่าน่าจะเป็นไปได้คือ 30 บาท แต่ถ้าเรา discount EPS ลงเป็น 0.8 ราคาหุ้นที่ควรจะเป็นจะลดลงเหลือ 24 บาท
สมมติ ณ ขณะนั้น หุ้นตัวนั้นเทรดที่ 20 บาท EPS 0.67 บาท PE 30 ถ้าคุณมองแบบแรกคือ EPS = 1 บาท คุณจะตีราคาหุ้นในอนาคตที่ 30 บาท พร้อมกับความรู้สึกที่เห็น upside มัน ~ 50% ตรงนี้ความโลภมันจะเข้ามาทันที แต่ถ้าคุณตีราคาแบบที่ 2 upside จะเหลือ 20% ทำให้รู้สึกว่ามันก็อาจจะไม่ได้มากนัก แต่ถ้ามันเกิดทำได้อย่างแบบแรกจริง คุณก็ได้โบนัสไป
ไม่รู้นะครับ ยังไงผมก็รู้สึกว่าหุ้นที่ PE สูง มันต้องตีราคาด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ จะว่าไปหลักการที่เราเอามาคุย ๆ กันนี่ ในความเป็นจริงแล้ว ในทางปฏิบัติ แต่ละคนอาจจะมีขอบเขตไม่เหมือนกัน MOS ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน upside downside ก็ไม่เท่ากัน 20% สำหรับคน ๆ หนึ่งอาจจะรู้สึกว่าน้อย แต่อีกคนหนึ่งอาจจะรู้สึกว่ามาก
ที่สำคัญ คำว่า "ค่าพรีเมี่ยม" มันคือมุมมองของคนส่วนใหญ่ ซึ่งมันเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าย้อนไปดูประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย ซึ่งผมคิดว่าอ.หนึ่งก็น่าจะยืนยันได้เหมือนผม หุ้นที่ตลาดให้ค่าพรีเมี่ยมมันก็เปลี่ยนมาเรื่อย ๆ
ยุคทศวรรษปี 2530 กลาง ๆ ก็กลุ่มอสังหาฯ พร้อม ๆ กับการบูมของที่ดิน -----> ยุคปลายทศวรรษปี 2530 เปลี่ยนมาเป็นหุ้นกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ เป็นอารมณ์ของหุ้นเก็งกำไร -----> ยุคก่อนวิกฤติปี 2540 หุ้นกลุ่มสื่อสาร ประเภทโครงการในกระดาษ ไม่มีค่า PE เพราะยังไม่มีกำไร -----> ยุคต้นทศวรรษ 2540 หลังวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนที่มาพร้อม ๆ กับยุคดอทคอมของอเมริกา -----> ยุคกลางทศวรรษ 2540 ช่วงหลังปี 45 หุ้นกลุ่มพลังงานนำโดย PTT -----> ยุคต้นทศวรรษ 2550 หุ้นกลุ่มค้าปลีกและอาจจะรวมถึงพวกหุ้นรพ. -----> ยุคปัจจุบัน ที่ดูเหมือนจะเริ่มเอียงมาทางกลุ่มพลังงานทางเลือก ??????
ที่สำคัญพอมุมมองของคนส่วนใหญ่เปลี่ยน หุ้นที่เคยรุ่งเรืองเหล่านั้น หลายตัวกลายเป็นรุ่งริ่งไปเลยครับ