VI หาดใหญ่

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
romee
Verified User
โพสต์: 1850
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 721

โพสต์

ดำ เขียน:Darth Vader ตัวจริง หน้าตาก็จะประมาณนี้ครับ

รูปภาพ
บางคนก็มองเขาเปนสุดยอดนักเทรดดิ้ง​นะครับ

สิ่งที่เขาทำกับไทยช่วงต้มยำกุ้ง​ บางคนก้บอกว่า​ ระบบการเงินของเรามันผิดเพี้ยน​อยู่​แล้ว​ เขาแค่เปนตัวเร่ง​

ส่วนดาร์คโหมดของผม​ คงหมายถึง​ เอากำไรโดยใช้ช่องทางเอาเปรียบคนอื่น​ insideข้อมูล, สร้างกระแสข่าวนะครับ

แต่ก็อย่าง​ที่​หลายคนบอก​ คำๆเดียวก็ตีความไปได้หลากหลาย​
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
You only live once, but if you do it right, once is enough.
arica
Verified User
โพสต์: 1112
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 722

โพสต์

ผม คิดว่า Dark mode ในความคิดผม คือ insider trading ครับ ส่วนนักลงทุน หลากหลายแนว คือ ส่วนเติมเต็มของ ตลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 723

โพสต์

insider trading เดี๋ยวนี้ก็ขีดเส้นแบ่งกันยากนะครับ ว่าแค่ไหนถูก แค่ไหนผิด

ในความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ทุกคนในตลาดหุ้นจะได้รับข้อมูลข่าวสารพร้อมกันหมด หรือต่อให้ได้รับพร้อมกัน ก็ไม่สามารถตีความตรงกันอีก

เพื่อนๆ มองกันว่าไงครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 724

โพสต์

แล้วอย่างนักวิแคะบางคนที่เชียร์หุ้นตามสื่อ นสพ.บ้าง ทีวีบ้าง หรือนสพ.หุ้นบางฉบับที่ชอบเอาชื่อหุ้นมาพาดหัวหน้าหนึ่ง แล้วนั่งเทียนเขียนคำโปรยเองบ้าง หรือเขียนเฉพาะด้านบวกด้านเดียวบ้าง โดยที่เมื่อไปดูราคาหุ้นย้อนหลัง มันก็ "บังเอิญ" ที่หุ้นที่เชียร์มักจะมีการไล่ราคาขึ้นมาก่อน (+ปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างมากกว่าปกติ) แล้วก็บ่อยครั้งมากที่ราคาสุดท้ายในวันที่เชียร์จะเป็นราคาต่ำสุดหรือเกือบต่ำสุดของวัน

แบบนี้ Dark Mode รึเปล่าครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 725

โพสต์

คุยไปคุยมาชักมึน สรุปว่าที่คุยกันเรื่อง Dark Mode ในกระทู้นี้หมายถึง กราฟ ใช่มั้ยครับ แล้วมันไม่ผิดกฎหรือครับ

หรือว่าคุยได้เพราะว่าที่นี่คือ ห้องแห่งความลับ :8)

จะได้ขอแจมด้วยคนครับ
arica
Verified User
โพสต์: 1112
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 726

โพสต์

ดำ เขียน:แล้วอย่างนักวิแคะบางคนที่เชียร์หุ้นตามสื่อ นสพ.บ้าง ทีวีบ้าง หรือนสพ.หุ้นบางฉบับที่ชอบเอาชื่อหุ้นมาพาดหัวหน้าหนึ่ง แล้วนั่งเทียนเขียนคำโปรยเองบ้าง หรือเขียนเฉพาะด้านบวกด้านเดียวบ้าง โดยที่เมื่อไปดูราคาหุ้นย้อนหลัง มันก็ "บังเอิญ" ที่หุ้นที่เชียร์มักจะมีการไล่ราคาขึ้นมาก่อน (+ปริมาณซื้อขายที่ค่อนข้างมากกว่าปกติ) แล้วก็บ่อยครั้งมากที่ราคาสุดท้ายในวันที่เชียร์จะเป็นราคาต่ำสุดหรือเกือบต่ำสุดของวัน

แบบนี้ Dark Mode รึเปล่าครับ?
อันนี้ ก็ใช่ ครับ บางครั้งจับมือใครดมก็ไม่ได้ :mrgreen:
dr1
Verified User
โพสต์: 842
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 727

โพสต์

ฟังการอภิปรายของท่านสมาชิกสภาวีไอแล้ว
Dark mode เนี่ยคงราวๆ สิ่งต้องห้าม เรื่องลึกลับ ใต้ดิน มือที่มองไม่เห็น วิชามาร ๆลๆ
มีตั้งแต่เทาๆไปจนดำมืดมิด
1. เทคนิค กร๊าฟต่างๆ
2. เครื่องมือ ฟูทัวร์ เอ๊ย ฟิวเจ้อร์ อ๊อพชั่นส์ ตลาดล่วงหน้า
3. เจ้ามือ (ที่ไม่ใช่ตัวจริง(EPS)) ก๊วนปั่นหุ้น
ดูเมกะเทรนด์แล้ว" สิ่งที่เคยห้าม" ก็กลายมาเป็น"เรื่องปกติ"ที่สนับสนุนให้ทำกันนะครับ
1. "เงิน"ตั้งแต่เปลี่ยนจากโลหะมีค่าเป็นกระดาษ(money)ไปจนถึงสัญญาณอิเลคทรอนิคส์(currency)
2. ดอกเบี้ย โบราณตั้งแต่สมัยเวนิสวานิช(เช็คสเปียร์) ถึงปัจจุบันในบางศาสนา เป็นเรื่องต้องห้าม
3. ตลาดหุ้น บางคนมองว่าไม่ได้สร้างอะไรขึ้นมาเลย(pretty woman)ปั่นด้วยDCFซะอีก
4. อนุพันธ์ อาวุธทำลายล้างสูง(อ.บัฟเฟต์) ตอนนี้มี"มินิฟิวเจอร์"ให้"นักลงทุน"ซื้อขายคล่อง
(ฟังดูเหมือนเอาปืน"จริง"ให้เด็กไป"เล่น"กัน ไม่รุใครจะโดนลูกหลงมั่ง)
5. ตลาดล่วงหน้า ไม่รุเป็นเครื่องป้องกันหรือเพิ่มความเสี่ยงกันแน่(ทำน้ำมันแพงปีก่อนๆเนี่ยป่าว)
6. หวย บ่อน( 3,4,5 เนี่ยก็น่าจะใช่กะเค้าด้วย ถ้ามองในสายตาคนโบราณ)
7. ก๊วนปั่นหุ้น( wallstreet ,boiler room ,etc)

ถ้าเราไม่เรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัว และสิ่งที่กำลังจะมาถึงตามกระแสโลก
แม้จะเป็นการเรียนรู้เพื่อ"ป้องกันตัว" ไม่ใช่เอาไป"กิน"ใคร
อ.ผมเขาสอนตลอดว่า"ไม่รู้คือความเสี่ยง" ครับ
"อย่าโลภเกินรู้" อ.คลายเครียด
"ถ้าเรารู้มาก เราจะถูกหลอกมาก" อ.NB
"he fears nothing ,he knows nothing"(ไม่กลัวอะไรเลย เพราะไม่รู้อะไรเลย)johny english

สรุปว่าที่โอ้โลมมาทั้งหมด คือว่าผมรอวิชามาร เอ๊ย darkmode strategyของอ.NB
แบบว่ายังไม่อยากโดนลบกระทู้ฮะ ฮ่า..
samatah
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 728

โพสต์

dr1 เขียน:สรุปว่าที่โอ้โลมมาทั้งหมด คือว่าผมรอวิชามาร เอ๊ย darkmode strategyของอ.NB
แบบว่ายังไม่อยากโดนลบกระทู้ฮะ ฮ่า..
เห็นด้วยครับ

ผมเห็นตลท.อนุญาตให้โบรกออก DW เป็นว่าเล่น รวมๆ เป็นร้อยตัวแล้วมั้ง ก็ไม่รู้นะครับว่าจะกล้าเปิดเผยให้เห็นกันจะๆ มั้ยว่า เกมศูนย์รวม (zero-sum) นี้ สรุปออกมาใครได้ใครเสีย
ptaseeker
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 729

โพสต์

อารมณ์หนักจีนกำลังภายใน
พระเอกแอบไปฝึกวิชาสำนักอื่น
ถ้าโดนอาจารย์จับได้ต้องทำลายวิทยายุทธทั้งหมด ฮ่าๆ (โดยเฉพาะพรรคมาร)

แต่หลายๆ เรื่องพรรคมารเป็นคนดีก็มี พวกฝ่ายธรรมะนิเลวสุดๆ ก็มีฮ่าๆ
พระเอกมักจะได้วิชาจากหลายสำนักทำให้เก่ง อิอิ
แต่บางทีพอไปเจอตัวละครลับตัวเทพๆ ของแต่ละฝ่ายก็สู้ไม่ได้

ทุกอย่างมีหลายแง่มุมต้องเลือกให้เหมาะกับเราแล้วก็ลงทุนอย่างมีความสุข เพราะเราต้องลงทุนไปตลอดชีวิต
low risk High return!
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 730

โพสต์

ptaseeker เขียน:อารมณ์หนักจีนกำลังภายใน
พระเอกแอบไปฝึกวิชาสำนักอื่น
ถ้าโดนอาจารย์จับได้ต้องทำลายวิทยายุทธทั้งหมด ฮ่าๆ (โดยเฉพาะพรรคมาร)

แต่หลายๆ เรื่องพรรคมารเป็นคนดีก็มี พวกฝ่ายธรรมะนิเลวสุดๆ ก็มีฮ่าๆ
พระเอกมักจะได้วิชาจากหลายสำนักทำให้เก่ง อิอิ
แต่บางทีพอไปเจอตัวละครลับตัวเทพๆ ของแต่ละฝ่ายก็สู้ไม่ได้

ทุกอย่างมีหลายแง่มุมต้องเลือกให้เหมาะกับเราแล้วก็ลงทุนอย่างมีความสุข เพราะเราต้องลงทุนไปตลอดชีวิต
นั่นสิครับ ผมเป็นแฟนนิยายจีนกำลังภายใน อ่านมาก็หลายเรื่องอยู่ อย่างใน ยิ้มเย้ยยุทธจักร เทพมารสะท้านภพ เอาเข้าจริงก็ไม่รู้ฝ่ายธรรมะ อธรรม ใครดีกว่ากัน
ptaseeker
Verified User
โพสต์: 432
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 731

โพสต์

ด้านมืด สำหรับผม คือ ความโลภ ยิ่งตลาดทุนมีของมากระตุ้นความโลภ มากมาย
ผมคิดว่า VI เป็นแนวทางที่เป็น ความจริงมากที่สุด เราลงทุนในบริษัท บริษัททำธุรกิจ เราก็ได้ผลตอบแทนแบบมีที่มาที่ไปมีเหตุมีผลมากที่สุด และคิดว่ามันตรงกับวัตถุประสงค์ของตลาดหลักทรัพย์ (มั่ง!?)
ส่วน เทคนิคเคิ้ล มองเป็นเกมส์การเงิน ชิงไหวชิงพริบ มีกลิ่นอายของการพนันผสมมาเยอะมีได้มีเสีย เงินที่ได้มันเหมือนกับเอาเงินคนอื่นมาเป็นของเรา ในความคิดผมนะเราได้เงินมาก็ต้องมีคนเสียมาเงินให้เรา มันเลยเป็นศาสตร์มืดสำหรับผม พวกเทคนิคอลกับเดย์เทรดก็ไปต่อยอดใน option กับ future พวกนี้มี gearing effect หุ้นขึ้น 10% มันได้ 100% บ้างหละ เราไปเห็นใครได้ผลตอบแทนเยอะๆ ก็มีความมืด ความโลภเข้าครอบงำ อยากได้แบบเค้าบ้าง
ยิ่งหุ้นปั้นก็ไม่ต้องพูดถึง นี้มันหลอกแดกกันชัดๆ แต่ละคนได้กันเป็นลิ้งๆ โม้กันใหญ่ ความโลภก็นำพาให้เราอยากได้อยากมีแบบเค้าบ้าง ได้ข่าวโน้นนี้นั้นมากมาย อยากได้อินไซด์เด็ดๆบ้าง ยิ่งทำให้คนที่เป็น VI อาจหลุดออกไปจากวิถีที่ควรจะเป็น ความโลภมาเต็ม เลยเป็นด้านมืดสำหรับผม
ยิ่งเป็นเดย์เทรดนิ บ่อนชัดๆ ผมมีแบ่งเงินส่วนนึง<5% ไปให้เพื่อนที่เป็นมาร์เก็ตติ่งแบบเล่นเดย์เทรดไปเล่น อยากรู้ว่าเค้าจะทำได้ตามที่โม้ไว้ม้าย อันนี้ผมแค่คอนเฟิร์มออเดอร์ให้อย่างเดียวเลย ไม่คิดขี้เกียจ รอดูถ้าผลประกอบการขาดทุนเกิน 20% จะคัตลอส ผมขอแค่ 10%ต่อเนื่องทุกปีทำได้ใช่มั้ย (เพืื่อนบอกว่า สบาย~) พอเห็นพวกเดย์เทรดได้เงินหลายๆวันติดๆกัน ความมืดเข้าครอบงำอยากได้บ้างเล่นบ้าง มาขอให้เราเอาเงินไปลงเพิ่มบ้าง ไม่ถึงปีเงินส่วนนี้ก็บวกอยู่สัก 10% ที่จริงควรให้เกณฑ์ตามดัชนีก็หุ้นเล่นขึ้นมาตลอดทั้งปี ตอนนี้เหมือนจะแพ้ดัชนี ฮือๆ เดย์เทรดผมว่าเครียดมากเลยนะ ที่ต้องมาเฝ้าราคา ขึ้นไป 4-5 ช่องขาย หาตัวใหม่
ผมเข้าตลาดมาก็ชอบแนว VI เพราะ พวกเทคนิคอล กับเดย์เทรด มันเลยไม่ตอบโจทย์ด้านอิสระภาพทางการเงิน ต้องทำงานทุกวัน แต่ก็อย่างว่าแหละ ป้าๆ แถวบ้านเค้าก็ชอบไปเล่นไพ่กันทุกวันเห็นเค้าก็มีความสุขกันดี การได้ทำงานที่ชอบอาจทำให้เราไม่เหมือนรู้สักว่าทำงานก็ได้ แต่จริงๆ VI ก็ทำงานทุกวันนิ ฟังข่าวอ่านข่าว ไปไหนมาไหนก็ต้องคอยสังเกตุวิเคราะห์มาเป็นหุ้นที่จะเอาไปลงทุนซะหมด จริงมั้ยครับ? แต่มันอาจเป็นสิ่งที่เราชอบเลยไม่รู้สึกเหมือนทำงาน แต่ถ้างบออกเนี้ยจะให้อารมณ์ว่า VI กำลังทำงาน หนักซะด้วยสิ
ส่วนตัวละครฝ่ายธรรมะที่มันกลายเป็นตัวโกงก็เพราะมันโลภนี้แหละ มันอยากได้ไม่รู้จักพอ ฮ่าๆ
low risk High return!
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 732

โพสต์

ดำ เขียน:อ.leky ครับ เรื่องการประเมินมูลค่าหุ้น ผมมองเป็น 2 ส่วน คือ

1. ความน่าจะเป็นของการเติบโตของกำไรในระยะสั้น (1-2 ปี) ==> สะท้อนไปที่ตัว "E"
2. คุณภาพในระยะยาวของกิจการ ==> สะท้อนไปที่ตัว "P/E" ("ค่าพรีเมี่ยม")

ยกตัวอย่าง เวลาประเมินหุ้น ผมจะ "เดา" กำไรช่วง 1-2 ปีข้างหน้าว่าโตมากขึ้นจากปัจจุบันแค่ไหน? ที่มาของการโตคืออะไร? ยิ่งโตมากยิ่งน่าสน

จากนั้นจึงมาดูปัจจัยเชิงคุณภาพต่อ (เช่น มองภาพธุรกิจ 3-5 ปีได้ชัดหรือไม่ แนวโน้มอุตสาหกรรมจะเป็นยังไง อัตรากำไรจะมากขึ้นหรือน้อยลง สภาพคล่องและเงินลงทุนจะเป็นยังไง ...) แล้วใช้กำหนด "ค่าพรีเมี่ยม" หรือระดับ P/E ที่เหมาะสม **ซึ่งที่ผมถาม อ.leky เรื่องระดับ Forward P/E ว่าสูงสุดควรให้ได้เท่าไหร่ก็คือตรงนี้ครับ**

จากนั้นก็เอา 1. คูณกับ 2. ออกมาเป็นมูลค่าหุ้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้า

รบกวน อ.ช่วยวิจารณ์ทีครับ ว่าวิธีนี้เป็นยังไงบ้าง? จัดเต็มได้เลยครับ ผมจะได้นำไปพิจารณาปรับปรุงดูครับ
ผมว่ามันคงยากที่จะกำหนดเพดานของค่า PE ครับ แต่เอาเป็นว่ายิ่งสูงยิ่งต้องระมัดระวัง

ปกติผมไม่ค่อยได้ลงทุนหุ้นแบบนี้เท่าไหร่ แต่ถ้าจะให้ผมลองแนะนำดู ถ้าผมจะทำผมคง discount ค่า E ลงให้ conservative ไว้ก่อน สมมติคำนวณ EPS = 1 บาทต่อหุ้น ผมอาจจะตีมูลค่าให้ลดลงเหลือ 0.80 บาทต่อหุ้น เหมือนเป็นการวาง MOS เข้าไปอีกชั้นหนึ่ง

จากตัวอย่างข้างต้น สมมติถ้าหุ้นตัวนี้เดิมมี PE เฉลี่ยอยู่ที่ 30 ถ้าเป็นกรณี EPS = 1 บาท ราคาหุ้นที่คาดว่าน่าจะเป็นไปได้คือ 30 บาท แต่ถ้าเรา discount EPS ลงเป็น 0.8 ราคาหุ้นที่ควรจะเป็นจะลดลงเหลือ 24 บาท

สมมติ ณ ขณะนั้น หุ้นตัวนั้นเทรดที่ 20 บาท EPS 0.67 บาท PE 30 ถ้าคุณมองแบบแรกคือ EPS = 1 บาท คุณจะตีราคาหุ้นในอนาคตที่ 30 บาท พร้อมกับความรู้สึกที่เห็น upside มัน ~ 50% ตรงนี้ความโลภมันจะเข้ามาทันที แต่ถ้าคุณตีราคาแบบที่ 2 upside จะเหลือ 20% ทำให้รู้สึกว่ามันก็อาจจะไม่ได้มากนัก แต่ถ้ามันเกิดทำได้อย่างแบบแรกจริง คุณก็ได้โบนัสไป

ไม่รู้นะครับ ยังไงผมก็รู้สึกว่าหุ้นที่ PE สูง มันต้องตีราคาด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ จะว่าไปหลักการที่เราเอามาคุย ๆ กันนี่ ในความเป็นจริงแล้ว ในทางปฏิบัติ แต่ละคนอาจจะมีขอบเขตไม่เหมือนกัน MOS ของแต่ละคนก็ไม่เท่ากัน upside downside ก็ไม่เท่ากัน 20% สำหรับคน ๆ หนึ่งอาจจะรู้สึกว่าน้อย แต่อีกคนหนึ่งอาจจะรู้สึกว่ามาก

ที่สำคัญ คำว่า "ค่าพรีเมี่ยม" มันคือมุมมองของคนส่วนใหญ่ ซึ่งมันเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าย้อนไปดูประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย ซึ่งผมคิดว่าอ.หนึ่งก็น่าจะยืนยันได้เหมือนผม หุ้นที่ตลาดให้ค่าพรีเมี่ยมมันก็เปลี่ยนมาเรื่อย ๆ

ยุคทศวรรษปี 2530 กลาง ๆ ก็กลุ่มอสังหาฯ พร้อม ๆ กับการบูมของที่ดิน -----> ยุคปลายทศวรรษปี 2530 เปลี่ยนมาเป็นหุ้นกลุ่มเงินทุนและหลักทรัพย์ เป็นอารมณ์ของหุ้นเก็งกำไร -----> ยุคก่อนวิกฤติปี 2540 หุ้นกลุ่มสื่อสาร ประเภทโครงการในกระดาษ ไม่มีค่า PE เพราะยังไม่มีกำไร -----> ยุคต้นทศวรรษ 2540 หลังวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนที่มาพร้อม ๆ กับยุคดอทคอมของอเมริกา -----> ยุคกลางทศวรรษ 2540 ช่วงหลังปี 45 หุ้นกลุ่มพลังงานนำโดย PTT -----> ยุคต้นทศวรรษ 2550 หุ้นกลุ่มค้าปลีกและอาจจะรวมถึงพวกหุ้นรพ. -----> ยุคปัจจุบัน ที่ดูเหมือนจะเริ่มเอียงมาทางกลุ่มพลังงานทางเลือก ??????

ที่สำคัญพอมุมมองของคนส่วนใหญ่เปลี่ยน หุ้นที่เคยรุ่งเรืองเหล่านั้น หลายตัวกลายเป็นรุ่งริ่งไปเลยครับ :D
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 733

โพสต์

ผมว่าทำอะไร ใช้วิธีไหน ที่ทำให้เรามีความสุข และป้องกันไม่ให้มี "มาร" เข้ามาสิงสู่จิตใจ จนอยากจะไป "รับประทาน" คนอื่น เพื่อให้เรามี เราได้ ประเภท "กูรวยแต่คนอื่นช่างมัน" ถ้าเราทำแบบนี้ได้ก็โอเคครับ

เมื่อก่อนแฟนผมเคยถามผมสั้น ๆ ว่า ถ้าเราได้กำไรจากตลาดหุ้น แปลว่าเราต้องไปกินเงินคนอื่นมาใช่ไหม ผมเองก็ตอบไม่ถูก เพราะจะว่ามันไม่ใช่ก็ไม่เชิง จะใช่ก็ไม่เชิง เพียงแต่ทุกคนยอมรับกฎกติกา คนที่ซื้อของแพงต่อจากเราไปเพราะเค้าคิดแล้วว่าจะได้มากกว่านั้น หลายครั้งเราขายแล้วมันก็ลง คนที่รับไปก็ถือว่าช่วยไม่ได้ บางครั้งเราขายไปแล้วมันขึ้นก็กลายเป็นขายหมู คนซื้อหุ้นต่อก็เอาไปขายทำกำไรต่อ

เพียงแต่เราต้องควบคุม "ความอยาก" ให้มันอยู่ในขอบเขต ไม่ใช่ว่าอยากได้เสียจน เอาเปรียบคนอื่น ประเภทปล่อยข่าวเท็จ, เชียร์หุ้นเพื่อออกของ ฯลฯ ผมว่าถ้าเป็นลักษณะแบบนี้มันก็บาปกรรมชัดเจนครับ เรื่องแบบนี้มันต้องควบคุมจิตใจให้ดีครับ ถ้าปล่อยให้เริ่มตั้งแต่น้อย ๆ สุดท้ายมันก็จะติดใจ เพราะมันทำง่าย ทำแล้วได้เงิน ยิ่งทำยิ่งหนักข้อขึ้น ผมว่าเงินที่เราได้มาก็ควรจะเป็นเงินบริสุทธิ์ ชีวิตถึงจะเจอแต่เรื่องดี ๆ ครับ

สิ่งหนึ่งที่ผมยังสงสัยมาจนทุกวันนี้ก็คือสิ่งพิมพ์เรื่องหุ้น ที่ชอบมีข่าวออกมาที่มีผลต่อราคาหุ้น พอทางตลาดถามไปทางบ.ก็บอกว่าไม่ได้ให้ข่าว แบบนี้จะถือว่าสื่อเหล่านั้นมีความผิดทางกฎหมาย ในลักษณะสร้างข้อมูลเท็จหรือไม่ แล้วทำไมถึงยังปล่อยให้ทำกัน ดีไม่ดีวันหลังใครอยากเปิดนสพ.หุ้นซักฉบับเอาไว้เชียร์หุ้นของตัวเองก็คงจะทำได้ หรือไม่ก็จ้างคนเข้าไปทำงานในนสพ.หุ้นซักคน ให้เข้าไปช่วยคาบข่าวมาบอกว่าพรุ่งนี้เค้าจะเชียร์หุ้นตัวไหนจะได้ซื้อดักเอาไว้
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 734

โพสต์

สำหรับผม เชื่อว่า กรรมเป็นไปตามเจตนาครับ

ถ้าลงทุน/เก็งกำไร โดยเจตนาคือคาดหวังผลตอบแทนจากการวิเคราะห์ว่าราคาหุ้นจะขึ้นไปได้ (ไม่ว่าจะด้วยกำไรบริษัทที่ดีขึ้น หรือแนวโน้มราคาหุ้นกำลังเป็นขาขึ้น) คือใช้ได้ครับ

แต่ถ้าลงทุน/เก็งกำไร โดยเจตนาคือสร้างความเชื่อผิดๆ ให้คนอื่นเข้าใจว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลง โดยที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริงด้วยฝีมือตนเองหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง แล้วแสวงหาผลประโยชน์จากการนั้น คือใช้ไม่ได้ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 735

โพสต์

ขอถาม อ.leky ต่อเรื่องการประเมินมูลค่าหุ้นครับ

ในเมื่อ อ.ไม่ได้ใช้การให้ค่าพรีเมียมกับ P/E ของหุ้น แปลว่า อ.จะใช้การคาดการณ์ "กำไรในอนาคต" แล้วเทียบกับราคาหุ้น ณ ปัจจุบันดูว่า จะได้ P/E ออกมาที่กี่เท่า เพื่อประเมินว่ามันถูกมากพอที่น่าสนใจลงทุนหรือไม่ ยังงั้นรึเปล่าครับ?

แล้วกรณีที่สมมติว่า หุ้น A คำนวณ Forward P/E ได้ 5 เท่า ส่วนหุ้น B คำนวณได้ 8 เท่า แต่หุ้น B เป็นธุรกิจที่ดูเหมือนรายได้จะสม่ำเสมอกว่า หรือมี D/E ต่ำกว่ามาก อย่างนี้จะตัดสินใจยังไงครับ?
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 736

โพสต์

leky เขียน:ดีไม่ดีวันหลังใครอยากเปิดนสพ.หุ้นซักฉบับเอาไว้เชียร์หุ้นของตัวเองก็คงจะทำได้ หรือไม่ก็จ้างคนเข้าไปทำงานในนสพ.หุ้นซักคน ให้เข้าไปช่วยคาบข่าวมาบอกว่าพรุ่งนี้เค้าจะเชียร์หุ้นตัวไหนจะได้ซื้อดักเอาไว้
อ้าว... ไม่ใช่ว่าทุกวันนี้มันมีอยู่แล้วเหรอครับ?
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 737

โพสต์

ดำ เขียน:
leky เขียน:ดีไม่ดีวันหลังใครอยากเปิดนสพ.หุ้นซักฉบับเอาไว้เชียร์หุ้นของตัวเองก็คงจะทำได้ หรือไม่ก็จ้างคนเข้าไปทำงานในนสพ.หุ้นซักคน ให้เข้าไปช่วยคาบข่าวมาบอกว่าพรุ่งนี้เค้าจะเชียร์หุ้นตัวไหนจะได้ซื้อดักเอาไว้
อ้าว... ไม่ใช่ว่าทุกวันนี้มันมีอยู่แล้วเหรอครับ?
เคยอ่านเจอจากหนังสือเล่มหนึ่งว่า รายได้จากการขายนสพ.หุ้นนั้น ไม่ได้มากมายอาจจะถึงขนาดขาดทุน แล้วที่ทำ ๆ กันอยู่เค้าได้อะไร อันนี้น่าคิด
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 738

โพสต์

ดำ เขียน:ขอถาม อ.leky ต่อเรื่องการประเมินมูลค่าหุ้นครับ

ในเมื่อ อ.ไม่ได้ใช้การให้ค่าพรีเมียมกับ P/E ของหุ้น แปลว่า อ.จะใช้การคาดการณ์ "กำไรในอนาคต" แล้วเทียบกับราคาหุ้น ณ ปัจจุบันดูว่า จะได้ P/E ออกมาที่กี่เท่า เพื่อประเมินว่ามันถูกมากพอที่น่าสนใจลงทุนหรือไม่ ยังงั้นรึเปล่าครับ?

ประมาณนั้นครับ แต่จริง ๆ ผมก็ซื้อหุ้นหลายแบบนะครับ พวกหุ้นที่ขาดทุนแล้วจะเทิร์นมากำไร ถ้าน่าสนใจก็ซื้อ พวกนั้นประเมินตัวเลขอาจจะไม่ค่อยได้ ต้องดูเนื้อ story อย่างเดียวก็มี เพียงแต่หุ้น PE สูง ๆ จะไม่ค่อยซื้อเพราะไม่ค่อยถนัดครับ

แล้วกรณีที่สมมติว่า หุ้น A คำนวณ Forward P/E ได้ 5 เท่า ส่วนหุ้น B คำนวณได้ 8 เท่า แต่หุ้น B เป็นธุรกิจที่ดูเหมือนรายได้จะสม่ำเสมอกว่า หรือมี D/E ต่ำกว่ามาก อย่างนี้จะตัดสินใจยังไงครับ?

ดูความแน่นอนของกำไรเป็นหลัก ถ้าปัจจัยเหมือนกัน เลือก forward PE 5 แต่ถ้าเนื้องานไม่เหมือนกันก็ต้องดู เช่น ถ้าหุ้นตัวแรก forward PE 5 แต่กำไรไม่แน่ไม่นอน มีตัวกวนมาก ทั้งความผันผวนของกิจการ ค่าเงิน สต๊อก งานโครงการรายได้ขึ้น ๆ ลง ๆ แบบนี้ต่อให้ต่ำก็ไม่เอา เพราะเรากำลังเล่นกับความไม่แน่นอน แต่ถ้า PE 8 แต่กำไรผันผวนน้อย เห็นกำไร 1 ไตรมาสแล้วแทบจะคูณ 4 ออกมาเป็น EPS ทั้งปีแบบนี้ก็อาจจะเลือกแบบหลังมากกว่า แต่บอกไว้อย่างครับ ยิ่งต่ำมาก ๆ ผมกล้าบอกเลยว่า ถ้างบออกมาเป็นอย่างที่เราคิดจริง ๆ ยากที่หุ้นมันจะไม่ไปครับ ยกเว้นว่าตลาดมันจะแย่หนักจริง ๆ ปีหนึ่งหุ้นแบบนี้อาจจะมีหลุดมาให้เห็นประปรายครับ แค่พยายามหาหุ้นแนวแบบนี้ก็คุ้มแล้วครับ แล้วไม่ต้องสงสัยว่าคนอื่นในตลาดทำไมเค้าไม่เห็น ไอ้ที่เราเห็นมันภาพลวงตาหรือเปล่า อันนี้ขอบอกว่า บางครั้งมันก็เส้นผมบังภูเขา อย่าเชื่อคนส่วนใหญ่มาก คนส่วนใหญ่บางทีเค้าก็ชอบอะไรที่ชัด ๆ ไม่ชอบความคลุมเครือครับ ยิ่งเป็นหุ้นที่คนเค้าไม่สนใจ มันยิ่งมีหลุดออกมาบ่อย ๆ ครับ ถ้าเราลองกล้าออกนอกกรอบเรื่อย ๆ ทำแล้วเห็นผล สุดท้าย เราจะไม่สนใจความคิดของคนหมู่มากเลยครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 739

โพสต์

เข้าใจแล้วครับ ดังนั้นมีโอกาสมากที่หุ้นตามเกณฑ์ที่ว่าจะเป็นหุ้น size S, SS, SSS และมีสภาพคล่องซื้อขายไม่สูงนัก ทำให้เล็ดรอดสายตาของนักลงทุนรายใหญ่ สถาบัน โบรกเกอร์ (รวมทั้งผมด้วย :'O )

เหมือนที่ อ.เคยว่าไว้เรื่องวิธีการหาหุ้น ที่ว่ากรองเอาจาก % เปลี่ยนแปลงของกำไรก่อน เพราะโอกาสจะเจอหุ้นแบบนี้จากข่าวหรือบทวิเคราะห์มีน้อยมากครับ (แต่จาก Opp Day ยังพอมีอยู่)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 740

โพสต์

อีกคำถามครับ อ.leky

อ.ดู Book Value ในการตัดสินใจเลือกหุ้นรึเปล่าครับ?
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 741

โพสต์

ดำ เขียน:เข้าใจแล้วครับ ดังนั้นมีโอกาสมากที่หุ้นตามเกณฑ์ที่ว่าจะเป็นหุ้น size S, SS, SSS และมีสภาพคล่องซื้อขายไม่สูงนัก ทำให้เล็ดรอดสายตาของนักลงทุนรายใหญ่ สถาบัน โบรกเกอร์ (รวมทั้งผมด้วย :'O )

มันก็อาจจะเป็นแบบนั้นก็ได้ครับ เพราะรายใหญ่เค้าไม่ชอบหุ้นสภาพคล่องน้อย เพราะออกของหรือเก็บของยาก ส่วนกองทุนก็รู้ ๆ กัน ว่าหุ้นที่ไม่เข้าเกณฑ์ ต่อให้เป็นหุ้นดีเค้าก็อาจจะไม่ซื้อครับ ส่วนในเรื่องคนส่วนใหญ่นั้น ส่วนหนึ่งเค้าต้องการเก็งกำไร บางทีหุ้นดีแต่มันนิ่งเค้าก็ไม่ชอบครับ

เหมือนที่ อ.เคยว่าไว้เรื่องวิธีการหาหุ้น ที่ว่ากรองเอาจาก % เปลี่ยนแปลงของกำไรก่อน เพราะโอกาสจะเจอหุ้นแบบนี้จากข่าวหรือบทวิเคราะห์มีน้อยมากครับ (แต่จาก Opp Day ยังพอมีอยู่)

พูดเหมือนง่าย แต่ความยากมันมีครับ ถ้ามันเป็นกำไรที่โตขึ้นมากเป็นครั้งแรก เราจะเชื่อว่ามันจริงหรือไม่ แค่ Q เดียวจบหรือเปล่า ยังไม่นับอีกว่าพอข่าวของงบออก ถ้ากำไรมันโดดเด่นมาก หุ้นมันก็ไม่อยู่นิ่ง ๆ แล้ว คือมันจะกระโดดขึ้นไป ความยากมันจะอยู่ที่ ถ้าเราคิดว่ามันยังมี upside เราจะกระโดดเกาะรถตามเลยหรือไม่ หรือจะรอซึ่งบางทีมันก็ไปเรื่อย ๆ แต่เท่าที่ผมลองติดตามดู ถ้าจะซื้อหุ้นแนวพวกนี้มันจะใช้เวลาคิดนานมากไม่ได้ครับ เท่าที่สังเกตมันจะมี 2 phase ครับ phase แรกคือวันที่งบออก หุ้นกระโดดขึ้นแรง อันนี้คือทุกคนรับรู้เหมือนกันหมด ยกเว้นคนรู้อินไซด์ ถ้าออกเช้าหรือบ่าย ผมว่าเราแทบจะไม่มีเวลาศึกษาแน่นอน ต่อให้ออกเย็นมีเวลาอีกหนึ่งคืนก็น่าจะเพียงข้อมูลคร่าว ๆ ยากที่จะโทรไปสอบถามบ.ได้ทัน อันนี้ผมว่าก็คงต้องยอมครับ หมายถึงมันจะไปก็ปล่อยมันไป เพราะผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ของคนที่เข้าไปไล่ราคาใน phase นี้น่าจะเป็นพวก "เกร็ง" เอ้ย เก็งกำไร หลังจากนั้น ราว ๆ ช่วง 1-2 สัปดาห์ ข่าวเริ่มจางลง แรงเก็งกำไรหมด หุ้นส่วนหนึ่งจะไหลลงมาครับ แต่มันคงยากที่จะไหลลงมาถึงขนาดราคาก่อนที่ข่าวจะออก จุดนี้ครับ คือจุดสำคัญ เพราะถ้าหุ้นตัวนั้นดีจริง มันจะเข้า phase 2 ครับ ซึ่งหลังจากผ่านมา 1-2 สัปดาห์ คราวนี้ทุกคนมีเวลาหาข้อมูลกันแล้ว แต่อาจจะจด ๆ จ้อง ๆ อยู่คราวนี้หุ้นก็อาจจะขึ้นไปได้อีกครับ บางทีก็ยาวไปเลยครับ ถ้าอยากลองดู ลองไปศึกษาหุ้น "แม่สี" ตอนที่งบ Q1 ออกดูครับ มันก็จะมีลักษณะแบบนี้ครับ

การจะตัดสินใจจากข้อมูลอะไรก็ตาม ต้องเข้าใจก่อนครับ ว่าอันไหนมันมีความแน่นอนและไม่แน่นอน อย่าโลภครับ ถ้าไม่ชัวร์ ตีความแบบ conservative ไว้ก่อนครับ

แล้วการเข้าไปไล่ราคา ถ้าทำให้ MOS ลดลงจนไม่คุ้มก็ไม่ควรทำครับ ปล่อยมันไปแล้วก็ไปหาตัวใหม่ครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 742

โพสต์

ดำ เขียน:อีกคำถามครับ อ.leky

อ.ดู Book Value ในการตัดสินใจเลือกหุ้นรึเปล่าครับ?
ไม่เน้นครับ แต่ถ้าต่ำ มาก ๆ ก็อาจจะเอามาดูว่ามีอะไรน่าสนใจหรือเปล่า เพราะถ้าเป็นหุ้นพวกที่มีสินทรัพย์ไม่มาก พวกธุรกิจบริการ มันก็อาจจะไม่ได้บอกอะไรเลย

แต่ที่ชอบดูมากกว่าคือหุ้นแม่ที่มีลูกอยู่ในตลาดครับ บางครั้งมูลค่าของหุ้นลูกในตลาดรวมกันเทียบกับราคาหุ้นแม่ ถือว่าหุ้นแม่ถูกมาก แบบนี้ก็น่าสนใจครับ เคยเจอมาแล้วในกรณีของ NMG ที่ถือ NINE & NBC อยู่ กับ SAMART ที่ถือ SAMTEL & SIM อยู่ครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 743

โพสต์

leky เขียน:พูดเหมือนง่าย แต่ความยากมันมีครับ ถ้ามันเป็นกำไรที่โตขึ้นมากเป็นครั้งแรก เราจะเชื่อว่ามันจริงหรือไม่ แค่ Q เดียวจบหรือเปล่า ยังไม่นับอีกว่าพอข่าวของงบออก ถ้ากำไรมันโดดเด่นมาก หุ้นมันก็ไม่อยู่นิ่ง ๆ แล้ว คือมันจะกระโดดขึ้นไป ความยากมันจะอยู่ที่ ถ้าเราคิดว่ามันยังมี upside เราจะกระโดดเกาะรถตามเลยหรือไม่ หรือจะรอซึ่งบางทีมันก็ไปเรื่อย ๆ แต่เท่าที่ผมลองติดตามดู ถ้าจะซื้อหุ้นแนวพวกนี้มันจะใช้เวลาคิดนานมากไม่ได้ครับ เท่าที่สังเกตมันจะมี 2 phase ครับ phase แรกคือวันที่งบออก หุ้นกระโดดขึ้นแรง อันนี้คือทุกคนรับรู้เหมือนกันหมด ยกเว้นคนรู้อินไซด์ ถ้าออกเช้าหรือบ่าย ผมว่าเราแทบจะไม่มีเวลาศึกษาแน่นอน ต่อให้ออกเย็นมีเวลาอีกหนึ่งคืนก็น่าจะเพียงข้อมูลคร่าว ๆ ยากที่จะโทรไปสอบถามบ.ได้ทัน อันนี้ผมว่าก็คงต้องยอมครับ หมายถึงมันจะไปก็ปล่อยมันไป เพราะผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ของคนที่เข้าไปไล่ราคาใน phase นี้น่าจะเป็นพวก "เกร็ง" เอ้ย เก็งกำไร หลังจากนั้น ราว ๆ ช่วง 1-2 สัปดาห์ ข่าวเริ่มจางลง แรงเก็งกำไรหมด หุ้นส่วนหนึ่งจะไหลลงมาครับ แต่มันคงยากที่จะไหลลงมาถึงขนาดราคาก่อนที่ข่าวจะออก จุดนี้ครับ คือจุดสำคัญ เพราะถ้าหุ้นตัวนั้นดีจริง มันจะเข้า phase 2 ครับ ซึ่งหลังจากผ่านมา 1-2 สัปดาห์ คราวนี้ทุกคนมีเวลาหาข้อมูลกันแล้ว แต่อาจจะจด ๆ จ้อง ๆ อยู่คราวนี้หุ้นก็อาจจะขึ้นไปได้อีกครับ บางทีก็ยาวไปเลยครับ ถ้าอยากลองดู ลองไปศึกษาหุ้น "แม่สี" ตอนที่งบ Q1 ออกดูครับ มันก็จะมีลักษณะแบบนี้ครับ
การสังเกตการตอบสนองของราคาหุ้นที่มีต่อข่าวหรือข้อมูลบริษัทแบบนี้ ไม่รู้จะเรียกว่าแนวทางวีไอหรือแนวทางเทคนิคเคิลดีนะครับ

เพราะแนวทางวีไอจริงๆ น่าจะเป็นการนำข้อมูลหรือข่าวที่ว่ามาประเมินหามูลค่าหุ้นแล้วเทียบกับราคาหุ้นที่เห็นอยู่ ณ ปัจจุบันเท่านั้นว่าถูกหรือแพง คุ้มหรือไม่คุ้ม

ส่วนแนวทางเทคนิคเคิลก็น่าจะดูแต่ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นโดยไม่เอาข่าวหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 744

โพสต์

ดำ เขียน:
leky เขียน:พูดเหมือนง่าย แต่ความยากมันมีครับ ถ้ามันเป็นกำไรที่โตขึ้นมากเป็นครั้งแรก เราจะเชื่อว่ามันจริงหรือไม่ แค่ Q เดียวจบหรือเปล่า ยังไม่นับอีกว่าพอข่าวของงบออก ถ้ากำไรมันโดดเด่นมาก หุ้นมันก็ไม่อยู่นิ่ง ๆ แล้ว คือมันจะกระโดดขึ้นไป ความยากมันจะอยู่ที่ ถ้าเราคิดว่ามันยังมี upside เราจะกระโดดเกาะรถตามเลยหรือไม่ หรือจะรอซึ่งบางทีมันก็ไปเรื่อย ๆ แต่เท่าที่ผมลองติดตามดู ถ้าจะซื้อหุ้นแนวพวกนี้มันจะใช้เวลาคิดนานมากไม่ได้ครับ เท่าที่สังเกตมันจะมี 2 phase ครับ phase แรกคือวันที่งบออก หุ้นกระโดดขึ้นแรง อันนี้คือทุกคนรับรู้เหมือนกันหมด ยกเว้นคนรู้อินไซด์ ถ้าออกเช้าหรือบ่าย ผมว่าเราแทบจะไม่มีเวลาศึกษาแน่นอน ต่อให้ออกเย็นมีเวลาอีกหนึ่งคืนก็น่าจะเพียงข้อมูลคร่าว ๆ ยากที่จะโทรไปสอบถามบ.ได้ทัน อันนี้ผมว่าก็คงต้องยอมครับ หมายถึงมันจะไปก็ปล่อยมันไป เพราะผมเชื่อว่าส่วนใหญ่ของคนที่เข้าไปไล่ราคาใน phase นี้น่าจะเป็นพวก "เกร็ง" เอ้ย เก็งกำไร หลังจากนั้น ราว ๆ ช่วง 1-2 สัปดาห์ ข่าวเริ่มจางลง แรงเก็งกำไรหมด หุ้นส่วนหนึ่งจะไหลลงมาครับ แต่มันคงยากที่จะไหลลงมาถึงขนาดราคาก่อนที่ข่าวจะออก จุดนี้ครับ คือจุดสำคัญ เพราะถ้าหุ้นตัวนั้นดีจริง มันจะเข้า phase 2 ครับ ซึ่งหลังจากผ่านมา 1-2 สัปดาห์ คราวนี้ทุกคนมีเวลาหาข้อมูลกันแล้ว แต่อาจจะจด ๆ จ้อง ๆ อยู่คราวนี้หุ้นก็อาจจะขึ้นไปได้อีกครับ บางทีก็ยาวไปเลยครับ ถ้าอยากลองดู ลองไปศึกษาหุ้น "แม่สี" ตอนที่งบ Q1 ออกดูครับ มันก็จะมีลักษณะแบบนี้ครับ
การสังเกตการตอบสนองของราคาหุ้นที่มีต่อข่าวหรือข้อมูลบริษัทแบบนี้ ไม่รู้จะเรียกว่าแนวทางวีไอหรือแนวทางเทคนิคเคิลดีนะครับ

เพราะแนวทางวีไอจริงๆ น่าจะเป็นการนำข้อมูลหรือข่าวที่ว่ามาประเมินหามูลค่าหุ้นแล้วเทียบกับราคาหุ้นที่เห็นอยู่ ณ ปัจจุบันเท่านั้นว่าถูกหรือแพง คุ้มหรือไม่คุ้ม

ส่วนแนวทางเทคนิคเคิลก็น่าจะดูแต่ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นโดยไม่เอาข่าวหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาพิจารณา
ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะเรียกว่าอะไรครับ เพราะผมก็แทบไม่เคยได้ศึกษาทางเทคนิค ผมดูกราฟเพียงเพื่อแค่ดูประวัติของราคาในอดีต ไม่ได้ใช้ indicator อะไร เพราะว่าดูไม่เป็นจริง ๆ แต่ผมสังเกตดูมันก็เห็นแบบนี้บ่อย ๆ ก็จำ ๆ มา ครับ ความสำคัญมันคงไม่ใช่การติดตามราคาและเข้าไปซื้อขาย "แต่มันอยู่ที่ข้อมูลในแง่พื้นฐาน" ซึ่งถ้าราคามันเกิดแพงเกินไปแล้วมันก็ไม่ควรซื้อครับ

สำหรับผมแล้ว เราจะเอาอะไรมาช่วยถ้ามันมีประโยชน์ และมันได้ผลก็ใช้ไปเถอะครับ ไม่ได้ยึดติดว่าถ้าเป็นแบบนี้แล้ว ห้ามไปใช้อีกแบบหนึ่ง ทุกอย่างมันมีข้อดีและข้อเสีย วิธีการเดียวกันคนที่ใช้มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล ผมว่าแม้แต่เรื่องซื้อหุ้นเงินสดกับมาร์จิ้นมันก็อาจจะเหมือนกัน คนส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าไม่ควรซื้อหุ้นมาร์จิ้น แต่คนที่ใช้แล้วพอร์ตโตมากก็บอกว่าว่าใช้ได้ ผมแค่ยกตัวอย่างให้ฟังว่ามันไม่มีอะไรตายตัวในโลกนี้ครับ (ผมก็ไม่ได้ซื้อหุ้นมาร์จิ้นนะ)

ทุกอย่างถ้าทำแล้วผลออกมาดี คนเค้าก็จะฟังเองครับ ไม่ว่าเราจะใช้วิธีอะไรก็ตาม เหมือนอย่างที่โซรอสเคยบอกว่า การที่เค้าประสบความสำเร็จ มันก็ทำให้คนอื่นยอมฟังเค้ามากขึ้นครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 745

โพสต์

leky เขียน:ผมก็ไม่รู้ว่ามันจะเรียกว่าอะไรครับ เพราะผมก็แทบไม่เคยได้ศึกษาทางเทคนิค ผมดูกราฟเพียงเพื่อแค่ดูประวัติของราคาในอดีต ไม่ได้ใช้ indicator อะไร เพราะว่าดูไม่เป็นจริง ๆ แต่ผมสังเกตดูมันก็เห็นแบบนี้บ่อย ๆ ก็จำ ๆ มา ครับ ความสำคัญมันคงไม่ใช่การติดตามราคาและเข้าไปซื้อขาย "แต่มันอยู่ที่ข้อมูลในแง่พื้นฐาน" ซึ่งถ้าราคามันเกิดแพงเกินไปแล้วมันก็ไม่ควรซื้อครับ

สำหรับผมแล้ว เราจะเอาอะไรมาช่วยถ้ามันมีประโยชน์ และมันได้ผลก็ใช้ไปเถอะครับ ไม่ได้ยึดติดว่าถ้าเป็นแบบนี้แล้ว ห้ามไปใช้อีกแบบหนึ่ง ทุกอย่างมันมีข้อดีและข้อเสีย วิธีการเดียวกันคนที่ใช้มีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผล ผมว่าแม้แต่เรื่องซื้อหุ้นเงินสดกับมาร์จิ้นมันก็อาจจะเหมือนกัน คนส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าไม่ควรซื้อหุ้นมาร์จิ้น แต่คนที่ใช้แล้วพอร์ตโตมากก็บอกว่าว่าใช้ได้ ผมแค่ยกตัวอย่างให้ฟังว่ามันไม่มีอะไรตายตัวในโลกนี้ครับ (ผมก็ไม่ได้ซื้อหุ้นมาร์จิ้นนะ)

ทุกอย่างถ้าทำแล้วผลออกมาดี คนเค้าก็จะฟังเองครับ ไม่ว่าเราจะใช้วิธีอะไรก็ตาม เหมือนอย่างที่โซรอสเคยบอกว่า การที่เค้าประสบความสำเร็จ มันก็ทำให้คนอื่นยอมฟังเค้ามากขึ้นครับ
ที่ผมนับถือ อ.leky ก็ตรงนี้ล่ะครับ อะไรใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ จะรู้ว่าเหมาะกับเราหรือไม่นั้น ไม่มีทางไหนจะดีไปกว่าทดลองด้วยตัวเองหรอกครับ เพราะคนเรามีจริต มีความสนใจ มีความชำนาญไม่เหมือนกัน

เวลาฟังคนอื่นว่าไม่ดี ต้องย้อนถามกลับไปว่าไม่ดีเพราะอะไร ไม่ดีเพราะศึกษามาถ่องแท้แล้วได้ข้อสรุปว่าไม่ดี หรือว่าไม่ดีเพราะไม่รู้จริงเอง พอนำไปใช้สุ่มสี่สุ่มห้าแล้วล้มเหลว เลยพานบอกว่าใช้ไม่ได้ซะเลย มีหลายคนที่เป็นแบบนี้นะครับ
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 746

โพสต์

ผมเห็นด้วยกับคุณดำครับ ถึงแม้ว่าผมจะไม่เคยดูทางด้านเทคนิคเลย ทั้ง ๆ ที่ตอนที่ผมรู้จักหุ้นใหม่ ๆ จริง ๆ ผมมีความเชื่อว่าแนวทางนี้น่าจะดีด้วยซ้ำ จนอยากศึกษา ทุกวันนี้ตำราด้านกราฟแท่งเทียนที่พี่สาวเคยถ่ายเอกสารเอาไว้ และผมตั้งใจว่าจะเอามาอ่าน ผ่านมาสิบกว่าปีก็ไม่เคยได้หยิบเอามาอ่านเลย สมัยนั้นมันมีแค่การวิเคราะห์สองค่ายก็คือ "พื้นฐาน" และ "เทคนิค" ไม่มีคำว่าวีไอ ตอนหลังผมถึงจะมีแนวโน้มจะไม่เชื่อเรื่องทางเทคนิค แต่ก็ไม่กล้าจะไปเหมาเอาว่ามันไม่ได้ผล เพราะผมก็เห็นด้วยครับ ว่าเราไม่เคยมานั่งศึกษาทั้งสองเรื่องแล้วเปรียบเทียบกัน จะว่าไปถึงศึกษาก็ไม่ได้แปลว่าเราจะทำได้ดีทั้งสองแบบด้วยซ้ำ จึงทำให้ยากที่จะประเมิน เราอาจจะไม่เคยรู้จักคนที่เค้ารวยด้วยวิธีนี้ ซึ่งในความเป็นจริงมันก็น่าจะมีอยู่ ฉะนั้นจึงอาจจะไม่เหมาะที่จะไปเหมาเอาว่ามันใช้ไม่ได้น่ะครับ ผมรู้จักน้องที่เล่นเทคนิค ก็เคยถามเค้าเหมือนกันในบางเรื่องที่เราสงสัย เช่น ถ้าแนวทางพื้นฐาน ผมคิดว่าผมสามารถให้น้ำหนักได้ว่าหุ้นตัวไหนเสี่ยงมากหรือน้อย ควรจะซื้อมากน้อยแค่ไหน แต่ในทางเทคนิคมันมีอะไรเป็นตัววัด indicator อะไรที่มันจะบอกเราได้ว่า เราสามารถตีแตกหุ้นตัวนั้น แบบซื้อหวังผลได้ ซึ่งก็ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน

แม้แต่เพื่อนที่ทำงานบ.กองทุนรวม จบทางด้าน MBA กลับเคยบอกกลับผมว่า เรื่องงบการเงินยิ่งรู้มาก กลับยิ่งไม่ค่อยเชื่อ เพราะมันสามารถบิดเบือนได้

สุดท้ายมันก็เลยกลายเป็นว่าเวลาเราได้ข้อมูลอะไรมาก็จงฟังหูไว้หู ยิ่งช่วงนี้ข่าวดีอะไรก็ตามกระตุ้นหุ้นได้หมด โครงการยังไม่ทันจะทำหุ้นวิ่งขึ้นไปแล้ว วิ่งขึ้นไปหลายสิบ% หรือเป็นเท่าก็มี

เมื่อปีก่อน ผมก็มีความผิดพลาด เนื่องจากส่วนใหญ่ผมถือหุ้น 100% ตลอดเวลา เมื่อต้นปีก่อน ตอนที่หุ้นขึ้นไปกว่า 1,600 จุด หุ้นบางตัวที่เราขายออกไป เราได้เงินสดมา สุดท้ายมันเหมือนพยายามหาหุ้นที่จะซื้อ ทั้ง ๆ ที่หุ้นที่เราซื้อมามันดีมากหรือไม่ มันก็อาจจะไม่ดีมากขนาดนั้น เพียงแต่มันไม่มีอะไรจะซื้อแล้วก็ไม่อยากถือเงินสด ถึงแม้หุ้นบางตัวในตอนนั้นผมคิดว่ามันลงมามาก สวนทางกลับตลาด สุดท้าเวลาตลาดลงแรง ๆ มันก็สามารถต่ำลงไปได้อีก บทเรียนที่ได้จึงทำให้มองที่ความอยากได้ในหุ้นเป็นตัว ๆ ไปมากกว่า ถ้าไม่มีของดีจริง ก็ต้องอดทนอดกลั้นไว้ ถ้าหุ้นที่อยากได้มันวิ่งขึ้นไปก็ปล่อยมันไปครับ เสียดายดีกว่าเสียใจ ถ้าติดหุ้นแล้วต้องมาแก้ ยุ่งยากกว่าไม่ไปซื้อมันแต่แรกครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 747

โพสต์

คุยเรื่องนี้ชักมันส์แล้วครับ อ.

เอาเรื่องการถือเงินสดก่อนดีกว่า แต่ก่อนหน้านี้ ผมเองก็ยังติดนิสัยว่าไม่อยากถือเงินสด ถ้ามีสภาพคล่องก็อยากเอาไปซื้อหุ้น มันเหมือนกับว่าถ้าถือเงินสดมันไม่มีโอกาสได้ผลตอบแทน ขณะที่การถือหุ้นยังไงมันก็รู้สึกว่ามีโอกาสได้ลุ้น (ลืมนึกไปว่าลุ้นมีทั้งลุ้นขึ้นแล้วก็ลุ้นลงด้วย)

โชคดีที่ปีที่แล้วผมตัดสินใจนำความรู้เรื่อง Money Management เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเทรด (ผมขอเรียกการซื้อขายหุ้นของผมว่าเทรดหุ้นนะครับ) ทำให้หลังจากที่ขายทำกำไรออกไปตอนช่วง Q2 แล้ว ผมตัดสินใจว่าจะกลับเข้าไปซื้อใหม่ไม่เกินครึ่งพอร์ตเท่านั้น เพราะพิจารณาแล้วว่าตลาดโดยรวมมันผันผวนมากขึ้น ต่างจากช่วงปลายปี 55 จนถึงต้นปี 56 ผลที่ได้คือ ช่วงครึ่งหลังของปีที่แล้วเลยเสียหายไม่มากนัก

แนวคิดของผมทุกวันนี้ คือ หากไม่มั่นใจในหุ้นที่ถือแล้ว การถือเงินสดเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แม้ว่าในมุมนึงการถือเงินสดจะปิดโอกาสได้ผลตอบแทน แต่อย่างน้อยมันก็ไม่มีความเสี่ยง ดีกว่าไปถือหุ้นเสี่ยงๆ ที่ไม่แน่ใจว่าจะทำเงินหรือทำลายเงินของเรากันแน่
ภาพประจำตัวสมาชิก
ดำ
Verified User
โพสต์: 4214
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 748

โพสต์

ส่วนเรื่องการวิจารณ์แนวทางอื่นที่ตนเองไม่สนใจหรือไม่ถนัดนั้น สมัยก่อนผมก็เคยเป็นครับ อะไรที่เราไม่เชื่อ ไม่ใส่ใจ มองว่าไม่มีเหตุผล เราก็จะบอกว่ามันใช้ไม่ได้จริง แต่ทุกวันนี้ผมคิดว่ามันเป็นความคิดที่ปิดกั้นการพัฒนาตัวเองอย่างมาก ถ้านักวิทยาศาสตร์เก่งๆ ในโลกคิดแบบนั้นกันหมด ป่านนี้เราคงยังต้องขึ่ช้างขี่ม้าไปทำไร่ทำสวน จุดตะเกียงใช้กันอยู่เลยมั้งครับ

แนวทางวีไอ เทคนิคเคิล ฟันโฟลว์ ควอนท์ System Trading หรือกระทั่งเดย์เทรด มันเป็นไปได้ที่จะมีคนที่ศึกษาจนทำกำไรจากมันได้ทั้งนั้นล่ะครับ เพียงแต่บางแนวทางมันสามารถที่จะอธิบายให้คนอื่นที่ยังไม่มีความรู้มากนักเข้าใจได้ง่าย ในขณะที่บางแนวทางมันเป็นเรื่องที่อาศัยเทคนิคเฉพาะด้านสูงจนยากที่คนทั่วไปจะเข้าใจ ซึ่งก็ไม่แปลกที่คนทั่วไปจึงปรามาสเอาว่ามันใช้ไม่ได้ (แปลตรงๆ ก็คือในเมื่อฟังไม่รู้เรื่อง ลองทำตามแล้วมันไม่ได้ ก็ทึกทักเอาซะว่ามันไม่ได้เรื่องก็แล้วกัน ง่ายดี จบ)

ยกตัวอย่างชัดๆ นะครับ ถ้าเคยลองอ่านหนังสือเกี่ยวกับแนวทางการลงทุนหรือแนวคิดของบัฟเฟตต์เทียบกับของโซรอส ผมเชื่อว่าเกือบร้อยละร้อยจะเข้าใจเนื้อหาของแนวทางบัฟเฟตต์มากกว่าอย่างชัดเจน ทั้งๆ ที่จากสถิติผลตอบแทนการลงทุน ถ้าผมจำไม่ผิด โซรอสจะเหนือกว่าบัฟเฟตต์ด้วยซ้ำไป

บางครั้งผมอ่านเจอแล้วก็งงกับ logic ของหลายๆ คนที่ว่า ถ้าแนวทางอื่นๆ ทำกำไรได้มากจริง ทำไมถึงไม่ออกมาเปิดเผยตัวตนเหมือนแนวทางวีไอล่ะ บางครั้งการที่คนเรามัวแต่อยู่ในกรอบสังคมที่เลือกเอง แล้วไม่ออกไปสัมผัสสังคมอื่นๆ บ้าง จะมาสรุปเอาเองว่า เอ๊ะ ทำไมในกรอบสังคมของเรา ถึงไม่มีใครประสบความสำเร็จด้วยแนวทางอื่นให้เห็นเลย งั้นก็แปลว่ามีแนวทางที่เราเลือกเท่านั้นที่ใช้ได้ แนวทางอื่นมันใช้ไม่ได้จริงหรอก

เวลาเจอคนที่คิดแบบนี้ บางทีผมก็ไม่รู้ว่าจะรู้สึกสงสารหรือรู้สึกตลกดีเหมือนกันครับ
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 749

โพสต์

เรื่องถือเงินสด ต้องถือว่านาน ๆ ผมถึงจะถือมาก ๆ ซักทีครับ เพราะตลาดมันขึ้นมาเรื่อย ๆ จนไม่ค่อยแน่ใจนัก จะว่าไปถ้าถามว่ามีหุ้นราคาถูก ๆ อยู่อีกไหม ผมก็คิดว่ามันก็มีอยู่นะครับ หุ้นพวกนี้ downside ไม่สูงแต่ upside ก็อาจจะไม่มากเช่นกัน พูดง่าย ๆ ว่าเหมือนเหมาะเอาไว้พักเงินมากกว่า อย่างเช่น พวกหุ้นโรงกลั่นบางตัว คือถ้าจะหวังกำไร 10-20% มันก็อาจจะมีความเป็นไปได้ เพียงแต่มันก็ยังมีปัจจัยลบในตัวอุตสาหกรรมอยู่บ้าง

จะว่าไปผมก็คิดว่าช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา เราจะรู้สึกว่าตลาดหุ้นไทย ไม่ถูกไปจนถึงแพง แต่มันก็ไม่ค่อยจะลงมาแรง ๆ ให้ซื้อ แม้แต่ในหนังสือของอ.นิเวศน์ ในส่วนของบทนำ ก็มักจะเกริ่น ๆ หลายครั้งว่าตลาดหุ้นในช่วงดังกล่าว ราคาหุ้นไม่ถูก อาจจะไม่เห็นกำไรที่ดีมาก ๆ แต่มันก็ยังคงไม่ค่อยลง ถึงลงก็ช่วงสั้น ๆ

ผมเองก็เคยมีความเชื่อทั้งจากส่วนตัวและจากที่เคยอ่านมาว่าถ้า SET มี PE เกิน 14 เท่าเมื่อไหร่ ก็เตรียมตัวใครตัวมัน แต่เดี๋ยวนี้ผมชักจะไม่แน่ใจแล้วว่า SET ณ เวลานี้จะเหมือนหุ้นที่มี "ค่าพรีเมี่ยม" ไปแล้วหรือไม่ นั่นแปลว่าเราอาจจะไม่ค่อยมีโอกาสซื้อหุ้นในราคาที่ถูกมาก ๆ หรือเปล่า ซึ่งมันก็อาจจะเป็นไปได้เพราะว่าในปัจจุบัน นลท.รายย่อยมีจำนวนมากขึ้น กองทุนรวมก็มากขึ้น ในขณะที่จำนวนบ.ที่อยู่ในตลาดอาจจะมีน้อยเกินไป เรียกว่าคนซื้อมากกว่าของที่ขาย หุ้นมันก็เลยมีคนเข้ามารับของตลอด

ส่วนเรื่องแนวทางการลงทุน ผมเห็นด้วยนะ ว่าศาสตร์บางศาสตร์เท่าที่เคยอ่านมา ผลตอบแทนดีมาก เช่น แนว Quant ซึ่งผมว่าคนระดับธรรมดาอย่างพวกเรายากที่จะนำมาใช้ได้ ลองอ่านบทความนี้ของคุณสุมาอี้ดูครับ ไม่นานมานี้ที่ทำงานผมก็มีบ.ที่ปรึกษาการลงทุนมานำเสนอการลงทุนแบบใช้สูตร ประมาณใช้กราฟทางเทคนิคที่มีการกำหนดสูตรการซื้อขายหุ้น เข้ามาตัดสินใจ ถ้าจำไม่ผิดเค้าขอส่วนแบ่งกำไรราว ๆ 30% แต่จำได้ว่าคนที่นำเสนอบอกอยู่ประโยคหนึ่งว่า เราต้องการคนที่ขาดทุนในหุ้นมาลงทุนกับเรา เราไม่ต้องการคนที่ได้กำไรอยู่แล้ว ผมว่ามันก็จริงของเค้าครับ เพราะถ้าคนที่ลงทุนไม่เป็นมันก็อาจจะดีกว่าถ้าให้เค้าลงทุนให้ พอดีผมจำไม่ได้ว่าผลตอบแทนระยะยาวของเค้าทำได้เท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นช่วงตลาดไม่ดี เค้าอาจจะถือเงินสดเฉย ๆ ครับ

ผมเคยอ่านเรื่องโซรอสมาบ้าง และผมก็คิดว่าหลาย ๆ คนพยายามจะทำแบบเค้า แต่ผมว่าแนวทางแบบโซรอส ยากที่จะเลียนแบบได้ครับ มันเป็นเป็นพรสวรรค์ส่วนตัว เหมือนเป็นสัญชาติญาณยังไงยังงั้น นอกจากนั้น หลายงานที่โซรอสทำสำเร็จ ถ้าไม่ใช่เพราะชื่อโซรอส ผมว่าถ้าเป็นคนอื่นก็คงไม่สำเร็จ มันก็คงเหมือนกับถ้าเค้าตั้งใจจะ short อะไรบางอย่าง ถ้ามีคนเชื่อและตามเค้า ผลมันก็เลยรุนแรง และสุดท้ายมันก็จะเป็นจริง
Thursday, 28 June 2012
Jim Simons, the Quant

Jim SimonsW คือเจ้าของ Renaisance TechnologiesW เฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน (เฉพาะ Equity) (สินทรัพย์ $35 billions)

กองทุน Medallion ที่ Simons บริหารเป็นเฮ็ดจ์ฟันด์จำพวก Quantitative กล่าวคือ อาศัยโมเดลทางคณิตศาสตร์ในการเทรดล้วนๆ แทนที่จะอาศัยการวิเคราะห์ข่าวหรือปัจจัยพื้นฐาน ทุกอย่างจะถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ ซึ่งพยายามค้นหาช่องว่างในการทำกำไรจากหลักทรัพย์อะไรก็ได้ที่หาได้จากทุก ตลาดที่มี correlation ที่ต่างกัน โดยโมเดลและธุรกรรมทั้งหมดจะถูกปกปิดเป็นความลับสุดยอด เพื่อป้องกันมิให้มีคนเลียนแบบ (ซึ่งจะทำให้โอกาสในการทำกำไรหายไป)

ผลตอบแทนเฉลี่ยในรอบ 20 ปีที่ผ่านมาของกองทุนคือ 38.5% ต่อปี แต่เดิม Simons รับจ้างบริหารเงินให้กับคนอื่น (ค่าบริหาร 5% ต่อปี บวก profit-sharing 36% ของกำไร) แต่ได้ปิดรับเงินใหม่ไปตั้งแต่ปี 1993 และสามารถทยอยคืนเงินลูกค้าเก่าจนหมดได้ในอีก 12 ปีต่อมา ปัจจุบัน สินทรัพย์ทั้งหมดของกองทุนจึงเป็นเงินของ Simons และทีมงานเองล้วนๆ ไปแล้ว

Simons จบ ป.ตรี ด้านคณิตศาสตร์จาก MIT ที่นั่นเขามีความสุขมากกับไขปัญหาคณิตศาสตร์กับเพื่อนๆ อย่างจริงจังในช่วงกลางวัน และเป็นนักโป๊กเกอร์ตัวฉกาจในตอนกลางคืน หลังจากนั้นเขาก็ไปทำปริญญาเอกที่ Berkeley และแต่งงานกับภรรยาคนแรก เขาเอาเงินที่ได้จากงานแต่งงานไปลองเทรดอนุพันธ์ของถั่วเหลืองเป็นครั้งแรก และทำกำไรได้เป็นเท่าตัวภายในเวลาแค่ไม่กี่วัน ก่อนที่จะกลายเป็นขาดทุนในอีกแค่ไม่กี่สัปดาห์ต่อมา

หลังจากนั้นเขาก็ได้เป็นอาจารย์ที่ Harvard และมีโอกาสได้ทำธุรกิจโรงงานกระเบื้องพื้นร่วมกัับบิดาและเพื่อนๆ อีกสองคน ซึ่งทำให้เขาเก็บเงินได้ก้อนหนึ่ง หลังจากนั้นเขาก็ได้งานที่ Institute for Defense Analyses ของเพนตากอน ทำหน้าที่เป็นนักคณิตศาสตร์ด้านการไขรหัสลับ จากนั้นก็กลับไปเป็นอาจารย์คณิตศาสตร์อีกครั้งที่ Stony Brook University ที่นี่ เขากลายเป็นผู้มีชื่อเสียงในแวดวงวิชาการในฐานะนักคณิตศาสตร์ที่คิดค้น Chen-Simons Model ซึ่งนักฟิสิกส์ได้นำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา String TheoryW ในเวลาต่อมา

หลังจากนั้น Simons เริ่มเบื่อวงการวิชาการ จึงได้ร่วมกับเพื่อนก่อตั้งเฮ็ดฟันด์ที่พยายามหากำไรในตลาดคอมโมและอัตราแลก เปลี่ยนขึ้นมาโดยใช้เงินเก็บที่ได้มาจากธุรกิจโรงงานราว $600k แต่ดูเหมือนการใช้โมเดลเทรดจะหากำไรได้ยากมาก ในขณะที่การอาศัยปัจจัยพื้นฐานกลับทำเงินได้มากกว่า สุดท้ายแล้วกองทุนจึงเปลี่ยนมาใช้ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก และสามารถทำกำไรได้ถึง 10 เท่าตัว ในช่วงเวลานี้ เขาได้แต่งงานอีกเป็นครั้งที่สองกับภรรยาคนปัจจุบัน

Simons ยังไม่ละความคิดเรื่องการใช้โมเดลคณิตศาสตร์ในการหากำไร เพราะสิ่งที่เขารักมากที่สุดคือคณิตศาสตร์ ในที่สุดก็ได้ก่อตั้ง Medallion Fund ขึ้นมาใหม่กับเพื่อนนักคณิตศาสตร์คนหนึ่งของเขา ซึ่งภายหลังเพื่อนของเขาได้เลิกลาไปเพราะเบื่อหน่ายโลกการเงินที่มีแต่การ หาเงิน เพราะยังไงเสียเพื่อนของเขาก็ยังชอบ pure math มากกว่า

Simons ยังคงบริหาร Medallion ต่อไป โดยปรับปรุงโมเดลให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และปัจจุบันเขามีเพื่อนร่วมงานถึง 148 คน ซึ่งหนึ่งในสามจบปริญญาเอก ถือได้ว่า Simons เป็น QuantW ที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในโลก และทำให้แนวทางนี้กลายมาเป็นแนวทางที่ทำกำไรได้มากที่สุดในตลาดในปัจจุบันด้วย

ไม่รู้สิครับ ผมว่าประวัติของคุณคนนี้ ทำเป็นหนังฮอลลีวู้ดได้สบายๆ …
"Become a risk taker, not a risk maker"
leky
Verified User
โพสต์: 1803
ผู้ติดตาม: 0

Re: VI หาดใหญ่

โพสต์ที่ 750

โพสต์

นี่ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นความสามารถเฉพาะตัวที่ยากจะเลียนแบบ
Bill Gross

Posted on January 17, 2010 by ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor 16 มกราคม 53

ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

ชื่อของ Bill Gross นั้น ในแวดวงนักลงทุนของไทยคงมีคนรู้จักน้อย แต่ในสหรัฐนั้น เขาเป็น “มือหนึ่ง” ในด้านการลงทุนในตลาดเงินและตราสารหนี้ กองทุน PIMCO หรือ Pacific Investment Management Co. ที่เขาช่วยก่อตั้งขึ้นกลายเป็นกองทุนรวมตราสารหนี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก Bill Gross เองต้องดูแลรับผิดชอบบริหารเงินกว่า 200 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 6 ล้านล้านบาทซึ่งมากกว่างบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาลไทยหลายเท่า มีการทำโพลเมื่อเร็ว ๆ นี้ในแวดวงของนักการเงินพบว่า Bill Gross เป็นรองเพียง วอเร็น บัฟเฟตต์ เท่านั้นในฐานะที่เป็นคนที่สามารถคาดการณ์และวิเคราะห์ภาวะตลาดการเงินในโลกได้แม่นยำที่สุด

ผมคงไม่พูดถึงกลยุทธ์การลงทุนในพันธบัตรหรือตราสารหนี้ของ บิล กรอส เหตุผลก็คือ ผมไม่รู้ว่าเขาทำอย่างไร นอกจากนั้น การลงทุนในตราสารหนี้นั้น ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการดูภาพใหญ่หรือภาพ Macro ในภาษาทางเศรษฐศาสตร์ ถ้ามองภาพใหญ่ออก การซื้อขายพันธบัตรหรือตราสารหนี้ก็ทำได้ไม่ยาก เพราะสูตรทางคณิตศาสตร์ก็จะบอกให้รู้ว่าราคาของพันธบัตรจะวิ่งไปทางไหน แต่สิ่งที่ผมจะพูดถึงก็คือประวัติ แนวความคิด และวิธีทำงานของเขา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์กับการลงทุนของ Value Investor มากกว่า

บิล กรอส เริ่มชีวิตของการเป็นนักลงทุน ถ้าจะว่าไป จากการ “นับไพ่” ในบ่อนกาสิโนที่ลาสเวกัส นั่นคือในช่วงที่เขายังเป็นวัยรุ่นหลายสิบปีมาแล้วที่คนยังไม่ค่อยรู้ว่าการ “นับไพ่” นั้น ถ้าเรารู้เรื่องความน่าจะเป็นทางสถิติ เราจะสามารถเอาชนะเจ้ามือได้ บิล กรอส สามารถทำเงินจาก 200 เหรียญกลายเป็น 10,000 เหรียญจากบ่อนก่อนที่จะถูกเกณฑ์เป็นทหารไปรบในสงครามเวียตนาม แต่ในระหว่างนั้นเขาก็เริ่มคิดไปข้างหน้าว่าในโลกของผู้ใหญ่นั้น จะมีที่ไหนที่เขาจะสามารถทำแบบเดียวกัน นั่นคือ ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ เล่นเป็นเกม แล้วได้กำไร สิ่งที่เขาพบก็คือ ที่ตลาดหุ้น อย่างไรก็ตาม สุดท้ายมันกลายเป็นตลาดพันธบัตรที่ทำให้เขาสามารถทำกำไรหรือสร้างผลตอบแทนอย่างโดดเด่นและทำให้เขาเป็นคนที่มีชื่อเสียงระดับต้น ๆ ของโลกของการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดตราสารหนี้ ผลงานของ บิล กรอส ก็คือ เขาสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยในช่วงสิบปีนับถึงปี 2007 ได้ถึง 8 เปอร์เซ็นต์ต่อปีและชนะอัตราเฉลี่ยของตลาดถึง 5.25% ในช่วง 3 ปีสุดท้าย

ในความคิดของ บิล กรอส เขาบอกว่า ผู้จัดการกองทุนที่ยิ่งใหญ่นั้นจะต้องเป็นนักคณิตศาสตร์ หนึ่งในสาม เป็นนักเศรษฐศาสตร์หนึ่งในสาม และเป็นนักเล่นพนันม้าแข่งอีกหนึ่งในสาม การเป็นนักคณิตศาสตร์นั้น ผมคิดว่าเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการลงทุนในพันธบัตร เพราะการคำนวณราคาที่เหมาะสมของพันธบัตรนั้นต้องใช้สูตรการคำนวณที่ซับซ้อนมากไม่ได้มีตัวเลขง่าย ๆ ที่สามารถนำมาใช้ได้อย่างเช่นค่า PE ในกรณีของหุ้น ส่วนการเป็นนักเศรษฐศาสตร์นั้น ในกรณีนี้ส่วนใหญ่แล้วต้องเป็นเศรษฐศาสตร์มหภาคที่จะช่วยให้รู้ว่าอัตราดอกเบี้ยจะไปทางไหน ซึ่งในกรณีของหุ้นนั้น เราจำเป็นต้องรู้เศรษฐศาสตร์โดยรวมมากกว่า

สุดท้ายก็คือ การเป็นนักเล่นพนันม้าแข่ง ในกรณีนี้ผมคิดว่าเหมือนกันทั้งในการลงทุนในตราสารหนี้และในหุ้น เหตุผลก็คือ ในการซื้อพันธบัตรหรือหุ้นนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะมองที่ตัวบริษัทหรือคุณภาพของบริษัทเพียงด้านเดียว แต่เราต้องดูถึงราคาที่ซื้อขายกันด้วยว่ามันคุ้มไหมที่จะ “แทง” เพราะม้าดี อัตราการจ่ายรางวัลก็มักจะต่ำ เช่นเดียวกัน หุ้นดีหรือบริษัทที่ออกตราสารหนี้มีฐานะการเงินดี ราคาหุ้นหรือตราสารหนี้ก็มักจะสูง ดังนั้น คนที่จะชนะในการพนันม้าและคนที่จะชนะในการพนันหุ้นหรือตราสารหนี้ก็จะต้องรู้จักความน่าจะเป็นของการชนะและอัตราการต่อรองเหมือนกัน

วิธีการทำงานของ บิล กรอส เองก็น่าสนใจ เขาบอกว่าทุกวันตั้งแต่ 8.30 ถึง 10.00 น. เขาจะเล่นโยคะและออกกำลังกายที่คลับที่อยู่ตรงกันข้ามกับที่ทำงาน และเป็นที่รู้กันว่าเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่เป็น “สวรรค์” ของเขาที่ไม่ต้องการให้ใครมารบกวนเลย ที่ผ่านมาเขาเคยถูกเรียกให้กลับไปที่ห้องซื้อขายหลักทรัพย์เพียง 2-3 ครั้งเท่านั้นซึ่งรวมถึงในช่วงวัน Black Monday ที่ตลาดถล่มทลายในปี 1987 ด้วย เวลาที่เขาออกกำลังกายหรือเล่นโยคะนั้นเป็นเวลาที่เขาใช้คิดถึงการลงทุนต่าง ๆ ด้วย และเขาบอกว่าไอเดียดีที่สุดบางอย่างของเขานั้น เกิดขึ้นเมื่อเขายืนอยู่บนศีรษะและขาชี้ฟ้าอยู่

ชีวิตประจำวันอีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ บิล กรอส ตื่นตั้งแต่ตีสี่ครึ่ง และตรวจสอบตลาดการเงินและเศรษฐกิจทั่วโลกจากคอมพิวเตอร์ที่บ้าน เขาถึงที่ทำงานประมาณตีห้าครึ่งเพื่อที่จะบริหารเงินจำนวนมหาศาลด้วยตนเอง คติพจน์ของเขาก็คือ เขาไม่ต้องการติดต่อกับใครเลย เขาต้องการตัดการติดต่อกับทุกคน เขาจะรับสายเพียง 3-4 ครั้งต่อวัน (ยกเว้นภรรยาของเขา) และเขาจะดูอีเมลเฉพาะที่เขาต้องการจะดูเท่านั้น ที่สำคัญ เขาไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ ถ้าจะสรุปก็คือ เขาต้องการความเป็นอิสระที่จะไม่มีอะไรมาทำให้วอกแวกได้ และนี่น่าจะเป็นคุณสมบัติที่สำคัญมากของการเป็นนักลงทุนโดยเฉพาะในการเทรดพันธบัตรหรือตราสารหนี้ที่มักจะต้องมีสมาธิสูงและต้องการความรวดเร็วมากในการ “เคลื่อนย้ายเงิน” จำนวนมโหราฬในเวลาเพียงเสี้ยววินาทีที่จะทำให้ได้ชัยชนะ และนี่อาจจะไม่เหมือนการลงทุนในหุ้นในสไตล์ของ Value Investment ที่มักจะออกแนวช้า ๆ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เหมือนกันก็คือ คุณต้องการความเป็นอิสระในการคิดเหมือนกัน

แน่นอน บิล กรอส คงไม่ได้เป็น “ตำนาน” โดยที่ไม่ได้ผ่าน “วีรกรรม” สำคัญ ๆ เช่นวิกฤติการณ์ ซับไพร์ม หรือวิกฤติการณ์อื่น ๆ อีกหลายอย่าง เขาผ่านมันมาได้อย่างงดงามด้วยการที่สามารถคาดการณ์และวิเคราะห์ได้ถูกต้องว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้นและเตรียมตัวในการรับกับมันให้ได้ และนั่นอาจจะเป็นเงื่อนไขหรือปัจจัยสำคัญในการที่จะยิ่งใหญ่และดำรงความยิ่งใหญ่ให้กับเซียนตัวจริงทุกคน และนี่ทำให้ผมนึกถึง Long Term Capital Fund ที่เคยเป็นกองทุนที่เล่นในตลาดตราสารหนี้ที่เคยยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงมากไม่แพ้ Pimco แต่แล้ว ในวันหนึ่งมันก็ล่มสลายลงพร้อม ๆ กับความยิ่งใหญ่ของคนที่บริหารมัน ผมก็ได้แต่หวังว่า บิล กรอส ในวัยกว่า 60 ปีจะจบชีวิตการลงทุนในฐานะของเซียนสุดยอดการลงทุนในพันธบัตรในอนาคตที่อาจจะไม่ไกลนัก เพราะ “นักเทรด” นั้น ปกติแล้วเป็นเรื่องยากที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพสูงเมื่ออายุมากขึ้น
"Become a risk taker, not a risk maker"