ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ SD

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ SD

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ต้นทุนคงที่ที่สำคัญของผู้ที่ประมูลช่อง HD มี 3 ส่วน คือ

1. ค่าประมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ค่าประมูลขั้นต่ำ จ่ายระยะเวลา 4 ปี ปีแรกจ่าย 50% ปีสองจ่าย 30% ปีที่สามและสี่ จ่าย 10% ส่วนที่สอง คือ มูลค่าส่วนเกินจากขั้นต้น ปีแรกและปีสองจ่ายปีละ 10% ปีที่สามถึงหกจ่ายปีละ 20%

2. ต้นทุนค่าบริการโครงข่ายภาคพื้นดิน ปีละประมาณ 165-171 ล้านบาท

และ 3. ค่าใช้จ่ายการส่งสัญญาณดาวเทียม ปีละประมาณ 12 ล้านบาท

ช่อง SD จะต่างกันที่ต้นทุนประเภท 2 คือ ต้นทุนค่าบริการโครงข่ายภาคพื้นดิน ที่ลดเหลือปีละ 55-57 ล้านบาท

แต่ค่าประมูลจะทะยอยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเท่ากันตลอดระยะเวลา 15 ปี

ดังนั้น ผู้ประมูลช่อง HD จะมีค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องรับรู้ในงบกำไรขาดทุน จำนวนปีละประมาร 400 ล้านบาท ไม่รวมค่าเสื่อมราคาสตูดิโอ อุปกรณ์ รวมทั้งเงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่าย และดอกเบี้ยจ่ายที่แต่ละบริษัทจะต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
kit556
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 272
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณพี่ chatchai ครับ กำลังอยากรู้เลย :D
Kritsada
ภาพประจำตัวสมาชิก
vim
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2748
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ข้อมูลแน่นกว่า IR อีกครับ ขอบคุณมากครับ :mrgreen:
Vi IMrovised
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 4

โพสต์

MCOT ชงเอง กินเอง ....อย่างน้อยก็ 15 ปีแน่ๆ เป็นทางการแล้ว
(แต่ถ้ายังผลงานแบบเดิมๆ ก็น่าเสียดาย เหมือนวานรได้แก้ว... )
Green
Verified User
โพสต์: 2606
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 5

โพสต์

มันมีอายุ สัปทาน กันหรือป่าวครับ หรือว่า ไม่มี
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอบคุณมากครับพี่
ภาพประจำตัวสมาชิก
Linzhi
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1464
ผู้ติดตาม: 1

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 7

โพสต์

แต่ละคนก็คุ้นหน้าคุ้นตาในทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว

แต่ก็หวังว่าประมูลมาขนาดนี้ ทีวีไทยจะมีคุณภาพขึ้นครับ

1. 2563 อนาล็อคจะยุติลงครับ
2. ไม่ได้เรียกว่าสัมปทานแล้วครับ เรียกว่าใบอนุญาตแทน เพราะทุกคนต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน
3. ใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี

แต่กว่าทีวีดิจิตอลจะเต็มตัว มี penetration rate ที่เหมาะสม ย้ายคนดูมาจากดาวเทียมและอนาล็อคได้
คงต้องอีกสองสามปี จะหวังอะไรเป็นชิ้นเป็นอันปีหน้าผมว่ายากครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ช่วยกันขยายความ... ระบบในการจัดสรรให้เอกชนให้บริการนี้ รูปแบบต่างจากระบบเก่า ที่เคยเรียก "สัมปทาน/concession" ด้วยเดิมหน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงและการประชาสัมพันธ์เป็นเจ้าของครอบครองความถี่วิทยุที่ใช้งานราชการอยู่ แล้วแบ่งคลื่นให้เอกชนทำบางส่วน
ถ้าจะนึกภาพให้ออกง่ายสุด ก็คล้ายๆ หน่วยงานรัฐหลายแห่งที่มีที่ดินเยอะแล้วทำเองไม่หมดไม่ไหวเพราะต้องลงทุน ก็เลยใช้ประโยชน์ให้คุ้มกว่าด้วยการแบ่งที่ให้เอกชนเช่าสร้างห้าง สร้างอาคารพาณิชย์ etc. จะจ่ายกลับหน่วยงานรัฐเป็นอย่างไร ขึ้นกับเขียนสัญญา
แต่รูปแบบสำคัญก็คล้ายๆ กันทั่วโลก ที่นิยมใช้ทั่วไปด้านความถี่ คือการแบ่งค่าใช้ความถี่คงที่นิดหน่อย บวกเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้แต่ละช่วงปี (revenue sharing)

ระบบใหม่ ก็คล้ายที่เห็นในต่างประเทศทั่วไปตอนหลัง ในไทยเกิดขึ้นหลังจากมีองค์กรอิสระ เพื่อลดการผูกขาด นำทรัพยากรความถี่กลับมาเป็นส่วนกลางของรัฐและจัดสรรใหม่ (ทั้งสื่อสารและวิทยุโทรทัศน์... ปัจจุบันในชื่อ กสทช) จึงเรียกใบอนุญาต หรือ license
รูปแบบและหลักการหลักสำคัญ เพื่อแข่งขันกันอย่างยุติธรรม แข่งกันมอบบริการ คือจ่ายค่าใบอนุญาต เป็นตัวเลขที่ประมูลแข่งกันได้
หน่วยงานกสทช. จะทำหน้าที่เป็น regulator

และ digital tv ที่เห็นเทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก จึงไม่ใช่การแบ่งความถี่เหมือนเดิม แต่เป็นใบอนุญาตการให้บริการ

ปล. 1 MCOT ได้เปรียบคนอื่น... เพราะเป็นรายเดียวที่มีใบอนุญาต ทั้ง 2 ประเภท เสียดายจริงๆ :|
ปล. 2 อยากรู้ใบอนุญาต MUX 5 ใบ แลกกับการคลื่นของเก่าเร็วขึ้น
ที่เหลืออีก 2 ใบ จะทำไง ใครจะได้หนอ :juju:
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ไทยรัฐ ฐานะหนังสือพิมพ์ อันดับที่ 1 เลือกที่จะทุ่มกับช่อง HD Variety

เดลินิวส์ อันดับสอง เลือกช่องข่าว

มติชน เลือกที่จะรับผลิตข่าว แต่ไม่บริหารสถานี

เนชั่น ทุ่มกับช่อง SD Variety กับ ช่องข่าว

บริษัทผลิตสื่อหนังสือพิมพ์เลือกทางเดินที่แตกต่างกัน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
ภาพประจำตัวสมาชิก
charnengi
Verified User
โพสต์: 2388
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 10

โพสต์

วันนี้ตลาด ขายกลุ่มสื่อทีวีอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องจากวันประมูลเลยครับ
low PROFILE but HIGH PROFITS
I_Jay
Verified User
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ถ้าบริหารขาดทุนนี่ คืนได้ไหมหรือต้องทำอย่างไรครับ ผมว่ามีขาดทุนล้มหายตสยจากกันเพียบแน่ๆ
ภาพประจำตัวสมาชิก
charnengi
Verified User
โพสต์: 2388
ผู้ติดตาม: 0

Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ผมยังมองไม่ออกว่าใครจะตายนะครับ ส่วนใหญ่ก็หน้าเดิมๆ แต่อาจจะเป็นสื่อคนละประเภท พวกหน้าใหม่ก็เงินหนาปึ้ก
low PROFILE but HIGH PROFITS
โพสต์โพสต์