ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ SD
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ SD
โพสต์ที่ 1
ต้นทุนคงที่ที่สำคัญของผู้ที่ประมูลช่อง HD มี 3 ส่วน คือ
1. ค่าประมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ค่าประมูลขั้นต่ำ จ่ายระยะเวลา 4 ปี ปีแรกจ่าย 50% ปีสองจ่าย 30% ปีที่สามและสี่ จ่าย 10% ส่วนที่สอง คือ มูลค่าส่วนเกินจากขั้นต้น ปีแรกและปีสองจ่ายปีละ 10% ปีที่สามถึงหกจ่ายปีละ 20%
2. ต้นทุนค่าบริการโครงข่ายภาคพื้นดิน ปีละประมาณ 165-171 ล้านบาท
และ 3. ค่าใช้จ่ายการส่งสัญญาณดาวเทียม ปีละประมาณ 12 ล้านบาท
ช่อง SD จะต่างกันที่ต้นทุนประเภท 2 คือ ต้นทุนค่าบริการโครงข่ายภาคพื้นดิน ที่ลดเหลือปีละ 55-57 ล้านบาท
แต่ค่าประมูลจะทะยอยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเท่ากันตลอดระยะเวลา 15 ปี
ดังนั้น ผู้ประมูลช่อง HD จะมีค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องรับรู้ในงบกำไรขาดทุน จำนวนปีละประมาร 400 ล้านบาท ไม่รวมค่าเสื่อมราคาสตูดิโอ อุปกรณ์ รวมทั้งเงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่าย และดอกเบี้ยจ่ายที่แต่ละบริษัทจะต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน
1. ค่าประมูล แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ค่าประมูลขั้นต่ำ จ่ายระยะเวลา 4 ปี ปีแรกจ่าย 50% ปีสองจ่าย 30% ปีที่สามและสี่ จ่าย 10% ส่วนที่สอง คือ มูลค่าส่วนเกินจากขั้นต้น ปีแรกและปีสองจ่ายปีละ 10% ปีที่สามถึงหกจ่ายปีละ 20%
2. ต้นทุนค่าบริการโครงข่ายภาคพื้นดิน ปีละประมาณ 165-171 ล้านบาท
และ 3. ค่าใช้จ่ายการส่งสัญญาณดาวเทียม ปีละประมาณ 12 ล้านบาท
ช่อง SD จะต่างกันที่ต้นทุนประเภท 2 คือ ต้นทุนค่าบริการโครงข่ายภาคพื้นดิน ที่ลดเหลือปีละ 55-57 ล้านบาท
แต่ค่าประมูลจะทะยอยรับรู้เป็นค่าใช้จ่ายเท่ากันตลอดระยะเวลา 15 ปี
ดังนั้น ผู้ประมูลช่อง HD จะมีค่าใช้จ่ายคงที่ที่ต้องรับรู้ในงบกำไรขาดทุน จำนวนปีละประมาร 400 ล้านบาท ไม่รวมค่าเสื่อมราคาสตูดิโอ อุปกรณ์ รวมทั้งเงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่าย และดอกเบี้ยจ่ายที่แต่ละบริษัทจะต้องกู้ยืมเงินมาลงทุน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S
โพสต์ที่ 5
มันมีอายุ สัปทาน กันหรือป่าวครับ หรือว่า ไม่มี
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S
โพสต์ที่ 7
แต่ละคนก็คุ้นหน้าคุ้นตาในทีวีดาวเทียมอยู่แล้ว
แต่ก็หวังว่าประมูลมาขนาดนี้ ทีวีไทยจะมีคุณภาพขึ้นครับ
1. 2563 อนาล็อคจะยุติลงครับ
2. ไม่ได้เรียกว่าสัมปทานแล้วครับ เรียกว่าใบอนุญาตแทน เพราะทุกคนต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน
3. ใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี
แต่กว่าทีวีดิจิตอลจะเต็มตัว มี penetration rate ที่เหมาะสม ย้ายคนดูมาจากดาวเทียมและอนาล็อคได้
คงต้องอีกสองสามปี จะหวังอะไรเป็นชิ้นเป็นอันปีหน้าผมว่ายากครับ
แต่ก็หวังว่าประมูลมาขนาดนี้ ทีวีไทยจะมีคุณภาพขึ้นครับ
1. 2563 อนาล็อคจะยุติลงครับ
2. ไม่ได้เรียกว่าสัมปทานแล้วครับ เรียกว่าใบอนุญาตแทน เพราะทุกคนต้องอยู่บนพื้นฐานเดียวกัน
3. ใบอนุญาตมีอายุ 15 ปี
แต่กว่าทีวีดิจิตอลจะเต็มตัว มี penetration rate ที่เหมาะสม ย้ายคนดูมาจากดาวเทียมและอนาล็อคได้
คงต้องอีกสองสามปี จะหวังอะไรเป็นชิ้นเป็นอันปีหน้าผมว่ายากครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S
โพสต์ที่ 8
ช่วยกันขยายความ... ระบบในการจัดสรรให้เอกชนให้บริการนี้ รูปแบบต่างจากระบบเก่า ที่เคยเรียก "สัมปทาน/concession" ด้วยเดิมหน่วยงานรัฐด้านความมั่นคงและการประชาสัมพันธ์เป็นเจ้าของครอบครองความถี่วิทยุที่ใช้งานราชการอยู่ แล้วแบ่งคลื่นให้เอกชนทำบางส่วน
ถ้าจะนึกภาพให้ออกง่ายสุด ก็คล้ายๆ หน่วยงานรัฐหลายแห่งที่มีที่ดินเยอะแล้วทำเองไม่หมดไม่ไหวเพราะต้องลงทุน ก็เลยใช้ประโยชน์ให้คุ้มกว่าด้วยการแบ่งที่ให้เอกชนเช่าสร้างห้าง สร้างอาคารพาณิชย์ etc. จะจ่ายกลับหน่วยงานรัฐเป็นอย่างไร ขึ้นกับเขียนสัญญา
แต่รูปแบบสำคัญก็คล้ายๆ กันทั่วโลก ที่นิยมใช้ทั่วไปด้านความถี่ คือการแบ่งค่าใช้ความถี่คงที่นิดหน่อย บวกเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้แต่ละช่วงปี (revenue sharing)
ระบบใหม่ ก็คล้ายที่เห็นในต่างประเทศทั่วไปตอนหลัง ในไทยเกิดขึ้นหลังจากมีองค์กรอิสระ เพื่อลดการผูกขาด นำทรัพยากรความถี่กลับมาเป็นส่วนกลางของรัฐและจัดสรรใหม่ (ทั้งสื่อสารและวิทยุโทรทัศน์... ปัจจุบันในชื่อ กสทช) จึงเรียกใบอนุญาต หรือ license
รูปแบบและหลักการหลักสำคัญ เพื่อแข่งขันกันอย่างยุติธรรม แข่งกันมอบบริการ คือจ่ายค่าใบอนุญาต เป็นตัวเลขที่ประมูลแข่งกันได้
หน่วยงานกสทช. จะทำหน้าที่เป็น regulator
และ digital tv ที่เห็นเทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก จึงไม่ใช่การแบ่งความถี่เหมือนเดิม แต่เป็นใบอนุญาตการให้บริการ
ปล. 1 MCOT ได้เปรียบคนอื่น... เพราะเป็นรายเดียวที่มีใบอนุญาต ทั้ง 2 ประเภท เสียดายจริงๆ
ปล. 2 อยากรู้ใบอนุญาต MUX 5 ใบ แลกกับการคลื่นของเก่าเร็วขึ้น
ที่เหลืออีก 2 ใบ จะทำไง ใครจะได้หนอ
ถ้าจะนึกภาพให้ออกง่ายสุด ก็คล้ายๆ หน่วยงานรัฐหลายแห่งที่มีที่ดินเยอะแล้วทำเองไม่หมดไม่ไหวเพราะต้องลงทุน ก็เลยใช้ประโยชน์ให้คุ้มกว่าด้วยการแบ่งที่ให้เอกชนเช่าสร้างห้าง สร้างอาคารพาณิชย์ etc. จะจ่ายกลับหน่วยงานรัฐเป็นอย่างไร ขึ้นกับเขียนสัญญา
แต่รูปแบบสำคัญก็คล้ายๆ กันทั่วโลก ที่นิยมใช้ทั่วไปด้านความถี่ คือการแบ่งค่าใช้ความถี่คงที่นิดหน่อย บวกเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้แต่ละช่วงปี (revenue sharing)
ระบบใหม่ ก็คล้ายที่เห็นในต่างประเทศทั่วไปตอนหลัง ในไทยเกิดขึ้นหลังจากมีองค์กรอิสระ เพื่อลดการผูกขาด นำทรัพยากรความถี่กลับมาเป็นส่วนกลางของรัฐและจัดสรรใหม่ (ทั้งสื่อสารและวิทยุโทรทัศน์... ปัจจุบันในชื่อ กสทช) จึงเรียกใบอนุญาต หรือ license
รูปแบบและหลักการหลักสำคัญ เพื่อแข่งขันกันอย่างยุติธรรม แข่งกันมอบบริการ คือจ่ายค่าใบอนุญาต เป็นตัวเลขที่ประมูลแข่งกันได้
หน่วยงานกสทช. จะทำหน้าที่เป็น regulator
และ digital tv ที่เห็นเทคโนโลยีเปลี่ยนไปมาก จึงไม่ใช่การแบ่งความถี่เหมือนเดิม แต่เป็นใบอนุญาตการให้บริการ
ปล. 1 MCOT ได้เปรียบคนอื่น... เพราะเป็นรายเดียวที่มีใบอนุญาต ทั้ง 2 ประเภท เสียดายจริงๆ
ปล. 2 อยากรู้ใบอนุญาต MUX 5 ใบ แลกกับการคลื่นของเก่าเร็วขึ้น
ที่เหลืออีก 2 ใบ จะทำไง ใครจะได้หนอ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจโทรทัศน์ดิจิตอลช่อง HD และ S
โพสต์ที่ 9
ไทยรัฐ ฐานะหนังสือพิมพ์ อันดับที่ 1 เลือกที่จะทุ่มกับช่อง HD Variety
เดลินิวส์ อันดับสอง เลือกช่องข่าว
มติชน เลือกที่จะรับผลิตข่าว แต่ไม่บริหารสถานี
เนชั่น ทุ่มกับช่อง SD Variety กับ ช่องข่าว
บริษัทผลิตสื่อหนังสือพิมพ์เลือกทางเดินที่แตกต่างกัน
เดลินิวส์ อันดับสอง เลือกช่องข่าว
มติชน เลือกที่จะรับผลิตข่าว แต่ไม่บริหารสถานี
เนชั่น ทุ่มกับช่อง SD Variety กับ ช่องข่าว
บริษัทผลิตสื่อหนังสือพิมพ์เลือกทางเดินที่แตกต่างกัน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี