VI บ้าน ๆ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 301
เลือกประกันให้เหมาะกับความต้องการ
ประกันมีหลายแบบจัง...จะเลือกยังไงให้เหมาะนะ
มาดูกันว่าว่าหลักๆ แล้วมีแบบไหนอยู่บ้าง
พอดีเราว่าเราค่อนข้างช่างเลือกและพิจารณา
แต่ละทางเลือกค่อนข้างละเอียดจึงอยากเล่าให้ฟัง
เผื่อเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ ที่แวะมาอ่านบ้าง
1. แบบกำหนดระยะเวลา (Term Insurance)
มีระยะเวลาคุ้มครองที่แน่นอน บริษัทประกันจะจ่ายเงิน
เฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างสัญญามีผลบังคับเท่านั้น
การประกันแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่สูงนัก
และต้องการความคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือคุ้มครองหนี้สิน
เช่น การประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อบ้านระยะเวลา 10 ปี
ประกันแบบนี้เราก็เห็นด้วยและได้เคยเขียนถึงไปแล้วบ้าง
2. แบบตลอดชีพ (Whole-life Insurance)
มีระยะเวลาคุ้มครองตลอดชีพ หรือจนถึงเมื่อผู้เอาประกันอายุ 90 ปี
โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต
แบบนี้จะเล่าถึงยาวๆ ด้านล่างค่ะ
3. แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)
เป็นการผสมผสานระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์
โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรืออยู่จนครบสัญญา
ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการออม ในทางตรงกันข้าม หากผู้เอาประกันเสียชีวิต
ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินตามจำนวนทุนประกันเหมือนแบบตลอดชีพ
แบบนี้ที่้บ้านเราเลือกทำให้กับคนที่เป็นรายได้หลัก
ของครอบครัวเพราะเน้นลดภาษี (30%)
และหากมีการสูญเสียจริง คนรายได้น้อยที่อยู่ข้างหลังจะไม่ลำบาก
เราว่าประกันประเภทนี้ไม่เหมาะกับคนที่รายได้น้อย
เพราะไม่คุ้มกับผลประโยชน์ด้านภาษี
และถ้าบังเอิญสูญเสียคนรายได้น้อยไปจริง
คนข้างหลังมักจะไม่ลำบาก ถ้าคนที่เป็นรายได้หลักยังอยู่
และคนที่ยังรายได้น้อยส่วนใหญ่อาจต้องการสภาพคล่อง
จากการออมเงินมากกว่า การซื้อประกันนั้นขาดสภาพคล่องมากทีเดียว
ดังนั้นอีกข้อที่ผู้ทำประกันต้องคำนึงถึงมาก
คือเรื่องสภาพคล่องของเงินออม
พอดีเคยเจอบ่อยๆ ที่ทำไปแล้วมาคิดได้ทีหลังว่าไม่คุ้ม
หรือพอชีวิตประจำวันขาดสภาพคล่องก็จำเป็นต้องเวนคืน
ได้เงินกลับมาแค่นิดเดียว...เสียดายแทนค่ะ
4. แบบเงินได้ประจำหรือเงินรายปี (Annuity Insurance)
เป็นการคุ้มครองรายได้ที่สม่ำเสมอเมื่อเกษียณอายุ หรือทุพพลภาพ
โดยจ่ายให้เป็นงวดๆ จนกว่าผู้เอาประกันจะเสียชีวิต
การประกันแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเงินไว้ใช้จ่ายยามชรา
แบบนี้ที่บ้านเราไม่ได้เลือก เพราะเรามี passive income
จากเงินปันผลของหุ้นที่พอจะตอบโจทย์อยู่แล้ว
ที่เล่าถึงการเลือกแบบประกันเพราะ
หลังจากได้ตารางผ่อนบ้านและแผนการเงินไป
มีเพื่อนบางคนที่มีคำถามเมื่อได้เห็น
ตารางประกันชีวิตแบบ 20/99
ว่ามันคุ้มหรือ ซึ่งเราได้ตอบไปแล้ว
จึงขอเล่าวิธีคิดในการเลือกประกัน
ตามแบบของราให้ฟังในกระทู้ด้วยดีกว่า
ตั้งใจเลือกทำแบบนี้ (แบบที่ 2)
เพราะคิดว่าเหมาะกับตัวเองที่มีอาชีพรับราชการ
ซึ่งแม้จะมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
แต่มีแนวโน้มที่สิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
ถูกจำกัดลงเรื่อยๆ สังเกตจากการพาแม่ไปหาหมอ
พบว่าต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มหลายรายการ
และค่าห้องในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ให้เบิกได้เพียงวันละ 600 บาท มานาน ยังไม่เคยเปลี่ยน
ทั้งที่ ในความเป็นจริงค่าห้องพิเศษของโรงพยาบาลรัฐบาลนั้นขึ้นราคามามากแล้ว
และเมื่อคนล้นโรงพยาบาลคิวจึงค่อนข้างยาว
วันก่อนนัดส่องกล้องระบบทางเดินอาหารคิวยาวเกือบ 3 เดือน
คุณหมอแจ้งว่าถ้าเลือกทำนอกเวลาราชการจะได้คิวเร็ว (1 สัปดาห์ เร็วกว่ากันมาก)
แต่เบิกตามสิทธิของข้าราชการได้ครึ่งเดียว
เมื่อเรามีประกันสุขภาพเราจึงเลือกทำคลินิกนอกเวลาได้
โดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเลยเพราะประกันสุขภาพที่ซื้อไว้จ่ายส่วนต่างให้
และอยู่ใน รพ. ครบ 6 ชั่วโมงขึ้นไป ยังได้ค่าชดเชยการนอน รพ. อีกด้วย
เท่ากับเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ตัวเองมากขึ้น
และยังเลือกรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ด้วย
ซึ่งสิทธิของข้าราชการไม่สามารถ (ถ้าไม่ฉุกเฉิน)
อีกเหตุผลที่เลือกประกันแบบที่ 2
คือเบี้ยประกันหลักของแบบประกันนี้ถูกที่สุด
แล้วก็มาซื้อประกันสุขภาพเป็นสัญญาเเนบท้าย
เพื่อให้สามารถซื้อประกันสุขภาพต่อได้ยาวๆ
พอครบ 20 ตามสัญญา (อายุ 61 ปี) ก็ไม่ต้องจ่ายเบี้ยหลัก
แต่ค่าชดเชยรายวันนอน รพ. อายุครบ 60 ปี ก็จะหมดสิทธิซื้อไปด้วย
(ตามหลักการสากลที่ว่าอายุนี้มักจะเกษียณหมดรายได้
ดังนั้นจึงหมดสิทธิซื้อค่าชดเชยรายได้แนบท้ายไปด้วย)
แต่ที่เราชอบแบบนี้มากที่สุดเพราะยังสามารถซื้อประกันสุขภาพ
ที่เราต้องการต่อได้ยาวจนถึงอายุ 80 ปี
และประกันโรคร้ายแรงได้จนถึง อายุ 70 ปี
ไม่ต้องมาทำใหม่หลายรอบ เพราะเมื่อทำตอนอายุมากเบี้ยก็สูงขึ้นตาม
เช่น ถ้าทำแบบ 20 ปี สิ้นสุดสัญญาสมมุติ ตอนอายุ 60
เเล้วเรายังมีชีวิตอยู่อยากซื้อประกันใหม่อีกฉบับ
เเน่นอนเบี้ยต้องสูงขึ้น (อายุยิ่งเยอะยิ่งแพง เป็นเหมือนกันทุกบริษัทค่ะ)
ต้องมีการตรวจสุภาพ เเละยกเว้นโรคประจำตัวที่เกิดขึ้นก่อนทำฉบับใหม่
เพราะเกิดสุขภาพไม่ดี เป็นโน่นนี่ บริษัทไม่รับต่อให้เป็นลูกค้าใหม่แน่นอน
(เข้าข่าย...มีเงิน อยากซื้อประกันสุขภาพแต่ซื้อไม่ได้แล้ว)
ดังนั้น ควรแยกกรมธรรม์ เพราะจุดประสงค์ต่างกัน...
ยังมีเรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับการทำประกันอยู่อีก
เกรงจะยาวเกินไปค่อยทยอยมาเล่าต่อนะคะ
ประกันมีหลายแบบจัง...จะเลือกยังไงให้เหมาะนะ
มาดูกันว่าว่าหลักๆ แล้วมีแบบไหนอยู่บ้าง
พอดีเราว่าเราค่อนข้างช่างเลือกและพิจารณา
แต่ละทางเลือกค่อนข้างละเอียดจึงอยากเล่าให้ฟัง
เผื่อเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ ที่แวะมาอ่านบ้าง
1. แบบกำหนดระยะเวลา (Term Insurance)
มีระยะเวลาคุ้มครองที่แน่นอน บริษัทประกันจะจ่ายเงิน
เฉพาะกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิตในระหว่างสัญญามีผลบังคับเท่านั้น
การประกันแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่สูงนัก
และต้องการความคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร หรือคุ้มครองหนี้สิน
เช่น การประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองสินเชื่อบ้านระยะเวลา 10 ปี
ประกันแบบนี้เราก็เห็นด้วยและได้เคยเขียนถึงไปแล้วบ้าง
2. แบบตลอดชีพ (Whole-life Insurance)
มีระยะเวลาคุ้มครองตลอดชีพ หรือจนถึงเมื่อผู้เอาประกันอายุ 90 ปี
โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต
แบบนี้จะเล่าถึงยาวๆ ด้านล่างค่ะ
3. แบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)
เป็นการผสมผสานระหว่างการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์
โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินเมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิตหรืออยู่จนครบสัญญา
ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับการออม ในทางตรงกันข้าม หากผู้เอาประกันเสียชีวิต
ผู้รับประโยชน์จะได้รับเงินตามจำนวนทุนประกันเหมือนแบบตลอดชีพ
แบบนี้ที่้บ้านเราเลือกทำให้กับคนที่เป็นรายได้หลัก
ของครอบครัวเพราะเน้นลดภาษี (30%)
และหากมีการสูญเสียจริง คนรายได้น้อยที่อยู่ข้างหลังจะไม่ลำบาก
เราว่าประกันประเภทนี้ไม่เหมาะกับคนที่รายได้น้อย
เพราะไม่คุ้มกับผลประโยชน์ด้านภาษี
และถ้าบังเอิญสูญเสียคนรายได้น้อยไปจริง
คนข้างหลังมักจะไม่ลำบาก ถ้าคนที่เป็นรายได้หลักยังอยู่
และคนที่ยังรายได้น้อยส่วนใหญ่อาจต้องการสภาพคล่อง
จากการออมเงินมากกว่า การซื้อประกันนั้นขาดสภาพคล่องมากทีเดียว
ดังนั้นอีกข้อที่ผู้ทำประกันต้องคำนึงถึงมาก
คือเรื่องสภาพคล่องของเงินออม
พอดีเคยเจอบ่อยๆ ที่ทำไปแล้วมาคิดได้ทีหลังว่าไม่คุ้ม
หรือพอชีวิตประจำวันขาดสภาพคล่องก็จำเป็นต้องเวนคืน
ได้เงินกลับมาแค่นิดเดียว...เสียดายแทนค่ะ
4. แบบเงินได้ประจำหรือเงินรายปี (Annuity Insurance)
เป็นการคุ้มครองรายได้ที่สม่ำเสมอเมื่อเกษียณอายุ หรือทุพพลภาพ
โดยจ่ายให้เป็นงวดๆ จนกว่าผู้เอาประกันจะเสียชีวิต
การประกันแบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเงินไว้ใช้จ่ายยามชรา
แบบนี้ที่บ้านเราไม่ได้เลือก เพราะเรามี passive income
จากเงินปันผลของหุ้นที่พอจะตอบโจทย์อยู่แล้ว
ที่เล่าถึงการเลือกแบบประกันเพราะ
หลังจากได้ตารางผ่อนบ้านและแผนการเงินไป
มีเพื่อนบางคนที่มีคำถามเมื่อได้เห็น
ตารางประกันชีวิตแบบ 20/99
ว่ามันคุ้มหรือ ซึ่งเราได้ตอบไปแล้ว
จึงขอเล่าวิธีคิดในการเลือกประกัน
ตามแบบของราให้ฟังในกระทู้ด้วยดีกว่า
ตั้งใจเลือกทำแบบนี้ (แบบที่ 2)
เพราะคิดว่าเหมาะกับตัวเองที่มีอาชีพรับราชการ
ซึ่งแม้จะมีสิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาลได้
แต่มีแนวโน้มที่สิทธิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ
ถูกจำกัดลงเรื่อยๆ สังเกตจากการพาแม่ไปหาหมอ
พบว่าต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มหลายรายการ
และค่าห้องในการนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
ให้เบิกได้เพียงวันละ 600 บาท มานาน ยังไม่เคยเปลี่ยน
ทั้งที่ ในความเป็นจริงค่าห้องพิเศษของโรงพยาบาลรัฐบาลนั้นขึ้นราคามามากแล้ว
และเมื่อคนล้นโรงพยาบาลคิวจึงค่อนข้างยาว
วันก่อนนัดส่องกล้องระบบทางเดินอาหารคิวยาวเกือบ 3 เดือน
คุณหมอแจ้งว่าถ้าเลือกทำนอกเวลาราชการจะได้คิวเร็ว (1 สัปดาห์ เร็วกว่ากันมาก)
แต่เบิกตามสิทธิของข้าราชการได้ครึ่งเดียว
เมื่อเรามีประกันสุขภาพเราจึงเลือกทำคลินิกนอกเวลาได้
โดยไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มเลยเพราะประกันสุขภาพที่ซื้อไว้จ่ายส่วนต่างให้
และอยู่ใน รพ. ครบ 6 ชั่วโมงขึ้นไป ยังได้ค่าชดเชยการนอน รพ. อีกด้วย
เท่ากับเป็นการเพิ่มทางเลือกให้แก่ตัวเองมากขึ้น
และยังเลือกรักษาในโรงพยาบาลเอกชนได้ด้วย
ซึ่งสิทธิของข้าราชการไม่สามารถ (ถ้าไม่ฉุกเฉิน)
อีกเหตุผลที่เลือกประกันแบบที่ 2
คือเบี้ยประกันหลักของแบบประกันนี้ถูกที่สุด
แล้วก็มาซื้อประกันสุขภาพเป็นสัญญาเเนบท้าย
เพื่อให้สามารถซื้อประกันสุขภาพต่อได้ยาวๆ
พอครบ 20 ตามสัญญา (อายุ 61 ปี) ก็ไม่ต้องจ่ายเบี้ยหลัก
แต่ค่าชดเชยรายวันนอน รพ. อายุครบ 60 ปี ก็จะหมดสิทธิซื้อไปด้วย
(ตามหลักการสากลที่ว่าอายุนี้มักจะเกษียณหมดรายได้
ดังนั้นจึงหมดสิทธิซื้อค่าชดเชยรายได้แนบท้ายไปด้วย)
แต่ที่เราชอบแบบนี้มากที่สุดเพราะยังสามารถซื้อประกันสุขภาพ
ที่เราต้องการต่อได้ยาวจนถึงอายุ 80 ปี
และประกันโรคร้ายแรงได้จนถึง อายุ 70 ปี
ไม่ต้องมาทำใหม่หลายรอบ เพราะเมื่อทำตอนอายุมากเบี้ยก็สูงขึ้นตาม
เช่น ถ้าทำแบบ 20 ปี สิ้นสุดสัญญาสมมุติ ตอนอายุ 60
เเล้วเรายังมีชีวิตอยู่อยากซื้อประกันใหม่อีกฉบับ
เเน่นอนเบี้ยต้องสูงขึ้น (อายุยิ่งเยอะยิ่งแพง เป็นเหมือนกันทุกบริษัทค่ะ)
ต้องมีการตรวจสุภาพ เเละยกเว้นโรคประจำตัวที่เกิดขึ้นก่อนทำฉบับใหม่
เพราะเกิดสุขภาพไม่ดี เป็นโน่นนี่ บริษัทไม่รับต่อให้เป็นลูกค้าใหม่แน่นอน
(เข้าข่าย...มีเงิน อยากซื้อประกันสุขภาพแต่ซื้อไม่ได้แล้ว)
ดังนั้น ควรแยกกรมธรรม์ เพราะจุดประสงค์ต่างกัน...
ยังมีเรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับการทำประกันอยู่อีก
เกรงจะยาวเกินไปค่อยทยอยมาเล่าต่อนะคะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 302
เลือกประกันให้เหมาะกับความต้องการ (2)
ขอย้ำอีกครั้งว่าเรายกตัวอย่างของตัวเอง
เพื่อเป็นแนวในการเลือกเฉยๆ ว่า กว่าจะเลือกได้
เราคำนึงถึงเรื่องใดบ้างตามบริบทของเรา
แต่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน
เพราะบริบทในชีวิตของเราและเพื่อนๆ แตกต่างกัน
บางบ้านทำได้ดีกว่านี้มากๆ เพียงแต่ไม่ได้มาเล่าให้ฟัง
................................
พอเราอายุมากขึ้นแน่นอน....
สุขภาพย่อมแย่ลงแม้จะดูแลดีแค่ไหน
เพราะเป็นเรื่องสังขารที่ไม่เที่ยง (ที่ย่อมต้องไปเสื่อมตามวัย)
อยากบอกว่าอย่ามองข้าม “เบี้ยประกัน” เด็ดขาด
เคยเจอที่ผู้สูงอายุเริ่มตระหนักว่าควรซื้อประกันสุขภาพเมื่ออายุมาก
นอกจากเบี้ยหลักและเบี้ยสุขภาพจะแพงแล้ว
ก็กำลังจะเกษียณซึ่งจะไม่มีรายรับแล้ว
แต่ยังต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันในอัตราสูงอยู่
คำถามสำคัญคือ...วางแผนจะให้ใครจะจ่ายค่าเบี้ยให้
พอดีเคยเจอบ้านที่ลูกเกี่ยงกันจ่าย และเมื่อไม่ลงตัวก็ไปขอเวนคืน
ต่อมาพอผู้สูงอายุป่วย เลยไม่มีประกันคุ้มครองสุขภาพ
เกิดปัญหายิ่งกว่าเดิมคือเกี่ยงกันจ่ายค่ารักษาพยาบาลอีก
ถ้าคำตอบของเราคือ “ให้ลูกจ่ายให้” แน่ใจได้อย่างไรว่า
ลูกของเราจะไม่ตายก่อนเรา ไม่ได้แช่งนะคะ
สำหรับเราอันนี้คือประเด็นที่ต้องคิดจริงๆ
เพราะมีโอกาสที่ลูกจะตายก่อนพ่อแม่ก็เป็นได้
หรือถ้าไม่ตาย ตัวเราก็ไม่อยากรบกวนเค้า
เพราะลูกต้องไปสร้างครอบครัวของตัวเองอีก
ยิ่งของเราลูกคนเดียว สมมติว่าพ่อแม่อายุยืนทั้งคู่
ลูก 1 คน รับผิดชอบดูแลพ่อแม่ 2 คน ไม่ง่ายค่ะ
แม้ว่าลูกจะกตัญญูและเต็มใจเพียงใดก็ตาม
เราก็ควรบริหารความเสี่ยงไว้ก่อนจะดีกว่า
เราจึงเลือกวางแผนให้เบี้ยประกันหลักหายไปเมื่อถึงวัยเกษียณ
แต่ยังสามารถซื้อประกันสุขภาพต่อได้ถึงอายุ 80 ปี
เพื่อบริหารความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ว่า
บางโรคถึงกับทำให้เกือบจะหมดเนื้อหมดตัวได้เลยทีเดียว
ประกันแบบตลอดชีพ (Whole-life Insurance) จึงตอบโจทย์ของเรา
โดยสรุปคนที่จะเลือกแบบประกัน
ได้เหมาะสมกับเราที่สุดคือตัวเราเอง
อย่าให้ความเกรงใจตัวแทนขายประกัน
เป็นเหตุผลให้เราซื้อประกันเพื่อตัดความรำคาญ
และเราไม่ควรทำสิ่งนั้นกับเรื่องใดๆ ด้วย
เช่น ตัดรำคาญเพื่อนที่มาตื๊อยืมเงินด้วยการ ให้ยืมไปซะ
ตัดรำคาญเซลล์ที่มาขายของบางอย่างที่เราไม่ต้องการ
ด้วยการซื้อไปซักชิ้นนึง (บางคนตัดรำคาญซะชิ้นใหญ่เลย)
..............................
ถ้าเผลอจ่ายค่าเบี้ยไปแล้วและกรมธรรม์ออกมาแล้ว...ทำอย่างไรดี
แนะนำว่าให้รีบเอามาอ่านอย่างละเอียดและตัดสินใจอีกครั้ง
ถ้ายังไม่ตอบโจทย์ ไม่คุ้ม ไม่เหมาะกับเรา ไม่ปิดความเสี่ยง ฯลฯ
ในหมวดสุดท้ายของสัญญาประกันภัยของกรมธรรม์ทุกฉบับ
จะเป็นหมวด “สิทธิในการขอยกเลิกกรมธรรม์” ซึ่งกำหนดไว้ว่า
หากผู้เอาประกันภัย ประสงค์จะยกเลิกกรมธรรม์นี้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ผู้เอาประกันภัยสามารถส่งคืนกรมธรรม์มายังบริษัทภายใน 15 วัน
นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัทและบริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัย
ที่เหลือจากการหักค่าตรวจสุขภาพตามที่จ่ายจริง และค่าใช้จ่าย
ของบริษัทฉบับละ 500 บาท (หมายถึงถ้าไม่มีการตรวจสุขภาพ
ก็จะได้เงินคืนเท่ากับ (ค่าเบี้ย – 500 บาท) นั่นเอง)
ยังไม่หมดค่ะ....แล้วจะมาเล่าต่ออีกเมื่อขยันนะคะ 555
ขอย้ำอีกครั้งว่าเรายกตัวอย่างของตัวเอง
เพื่อเป็นแนวในการเลือกเฉยๆ ว่า กว่าจะเลือกได้
เราคำนึงถึงเรื่องใดบ้างตามบริบทของเรา
แต่ไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน
เพราะบริบทในชีวิตของเราและเพื่อนๆ แตกต่างกัน
บางบ้านทำได้ดีกว่านี้มากๆ เพียงแต่ไม่ได้มาเล่าให้ฟัง
................................
พอเราอายุมากขึ้นแน่นอน....
สุขภาพย่อมแย่ลงแม้จะดูแลดีแค่ไหน
เพราะเป็นเรื่องสังขารที่ไม่เที่ยง (ที่ย่อมต้องไปเสื่อมตามวัย)
อยากบอกว่าอย่ามองข้าม “เบี้ยประกัน” เด็ดขาด
เคยเจอที่ผู้สูงอายุเริ่มตระหนักว่าควรซื้อประกันสุขภาพเมื่ออายุมาก
นอกจากเบี้ยหลักและเบี้ยสุขภาพจะแพงแล้ว
ก็กำลังจะเกษียณซึ่งจะไม่มีรายรับแล้ว
แต่ยังต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันในอัตราสูงอยู่
คำถามสำคัญคือ...วางแผนจะให้ใครจะจ่ายค่าเบี้ยให้
พอดีเคยเจอบ้านที่ลูกเกี่ยงกันจ่าย และเมื่อไม่ลงตัวก็ไปขอเวนคืน
ต่อมาพอผู้สูงอายุป่วย เลยไม่มีประกันคุ้มครองสุขภาพ
เกิดปัญหายิ่งกว่าเดิมคือเกี่ยงกันจ่ายค่ารักษาพยาบาลอีก
ถ้าคำตอบของเราคือ “ให้ลูกจ่ายให้” แน่ใจได้อย่างไรว่า
ลูกของเราจะไม่ตายก่อนเรา ไม่ได้แช่งนะคะ
สำหรับเราอันนี้คือประเด็นที่ต้องคิดจริงๆ
เพราะมีโอกาสที่ลูกจะตายก่อนพ่อแม่ก็เป็นได้
หรือถ้าไม่ตาย ตัวเราก็ไม่อยากรบกวนเค้า
เพราะลูกต้องไปสร้างครอบครัวของตัวเองอีก
ยิ่งของเราลูกคนเดียว สมมติว่าพ่อแม่อายุยืนทั้งคู่
ลูก 1 คน รับผิดชอบดูแลพ่อแม่ 2 คน ไม่ง่ายค่ะ
แม้ว่าลูกจะกตัญญูและเต็มใจเพียงใดก็ตาม
เราก็ควรบริหารความเสี่ยงไว้ก่อนจะดีกว่า
เราจึงเลือกวางแผนให้เบี้ยประกันหลักหายไปเมื่อถึงวัยเกษียณ
แต่ยังสามารถซื้อประกันสุขภาพต่อได้ถึงอายุ 80 ปี
เพื่อบริหารความเสี่ยงเรื่องค่ารักษาพยาบาล ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ว่า
บางโรคถึงกับทำให้เกือบจะหมดเนื้อหมดตัวได้เลยทีเดียว
ประกันแบบตลอดชีพ (Whole-life Insurance) จึงตอบโจทย์ของเรา
โดยสรุปคนที่จะเลือกแบบประกัน
ได้เหมาะสมกับเราที่สุดคือตัวเราเอง
อย่าให้ความเกรงใจตัวแทนขายประกัน
เป็นเหตุผลให้เราซื้อประกันเพื่อตัดความรำคาญ
และเราไม่ควรทำสิ่งนั้นกับเรื่องใดๆ ด้วย
เช่น ตัดรำคาญเพื่อนที่มาตื๊อยืมเงินด้วยการ ให้ยืมไปซะ
ตัดรำคาญเซลล์ที่มาขายของบางอย่างที่เราไม่ต้องการ
ด้วยการซื้อไปซักชิ้นนึง (บางคนตัดรำคาญซะชิ้นใหญ่เลย)
..............................
ถ้าเผลอจ่ายค่าเบี้ยไปแล้วและกรมธรรม์ออกมาแล้ว...ทำอย่างไรดี
แนะนำว่าให้รีบเอามาอ่านอย่างละเอียดและตัดสินใจอีกครั้ง
ถ้ายังไม่ตอบโจทย์ ไม่คุ้ม ไม่เหมาะกับเรา ไม่ปิดความเสี่ยง ฯลฯ
ในหมวดสุดท้ายของสัญญาประกันภัยของกรมธรรม์ทุกฉบับ
จะเป็นหมวด “สิทธิในการขอยกเลิกกรมธรรม์” ซึ่งกำหนดไว้ว่า
หากผู้เอาประกันภัย ประสงค์จะยกเลิกกรมธรรม์นี้ด้วยเหตุผลใดก็ตาม
ผู้เอาประกันภัยสามารถส่งคืนกรมธรรม์มายังบริษัทภายใน 15 วัน
นับแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัทและบริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัย
ที่เหลือจากการหักค่าตรวจสุขภาพตามที่จ่ายจริง และค่าใช้จ่าย
ของบริษัทฉบับละ 500 บาท (หมายถึงถ้าไม่มีการตรวจสุขภาพ
ก็จะได้เงินคืนเท่ากับ (ค่าเบี้ย – 500 บาท) นั่นเอง)
ยังไม่หมดค่ะ....แล้วจะมาเล่าต่ออีกเมื่อขยันนะคะ 555
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 303
ขอบคุณ คุณนุช มากครับ เป็นความรู้ใหม่มาก ๆ เลย
ผมมีประกันอยู่เหมือนกันแรก ๆ ไม่มีความรู้เลยครับ ตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยสนใจมันคือมีไว้ลดภาษี แต่พอได้อ่านที่คุณนุชเขียนเดี๋ยวจะได้ไปคิดและมองมุมใหม่ ๆ ดูบ้าง
ผมมีประกันอยู่เหมือนกันแรก ๆ ไม่มีความรู้เลยครับ ตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยสนใจมันคือมีไว้ลดภาษี แต่พอได้อ่านที่คุณนุชเขียนเดี๋ยวจะได้ไปคิดและมองมุมใหม่ ๆ ดูบ้าง
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 304
ดีใจที่มีคนได้ประโยชน์Nevercry.boy เขียน:ขอบคุณ คุณนุช มากครับ เป็นความรู้ใหม่มาก ๆ เลย
ผมมีประกันอยู่เหมือนกันแรก ๆ ไม่มีความรู้เลยครับ ตอนนี้ก็ยังไม่ค่อยสนใจมันคือมีไว้ลดภาษี แต่พอได้อ่านที่คุณนุชเขียนเดี๋ยวจะได้ไปคิดและมองมุมใหม่ ๆ ดูบ้าง
เชื่อว่าถ้าคุณ NB ตั้งใจดู ต้องได้มุมมองดีๆ มาฝากพวกเราแน่เลยค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 305
เลือกประกันให้เหมาะกับความต้องการ (3)
ตอนนี้จะมาแนะนำราละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ค่ะ
ศัพท์ที่ควรรู้ ขอยกตัวอย่างของที่บ้าน
โดยใส่ตัวบุคคลสมมติไปเลยนะคะจะได้เข้าใจง่าย
ผู้เอาประกัน – ลูก
ชื่อเจ้าของกรมธรรม์ – คุณพ่อ (ผู้ชำระเบี้ย)
ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
1.คุณพ่อ
2.คุณแม่
ด้านหลังจะมีสัดส่วนให้ระบุว่าให้ใครกี่เปอร์เซ็นต์ (ถ้าไม่ถือว่าระบุให้เท่าๆ กัน)
การอธิบายของตารางกรมธรรม์ตามตารางจะเป็นเป็นเชิงพรรณนาอย่างนี้ค่ะ
1994T 1959T และ 1982 นั้นคือสัญญาแนบท้ายค่ะ
เวลารับกรมธรรม์มาต้องดูให้มีครบ และก็ต้องอ่านให้ละเอียดด้วย
เราก็จะเอามาเปลี่ยนให้เป็นตารางที่ดูง่าย
โดยเอาวันที่จริงมานับจำนวนปีตามตารางเชิงพรรณานั้น
ก็จะทราบเลยว่าเหตุการณ์สำคัญตามกรมธรรม์จะไปตกอยู่ที่ปีไหนบ้าง
และของเราก็เอา อายุเรา อายุสามี และอายุลูกมาใส่ไว้ด้วย
จะทำให้เห็นชัดเจนว่าเบี้ยประกันมันจะเป็นภาระหรือไม่
ที่สำคัญเราแนบไว้กับเล่มกรมธรรม์ด้วย
เผื่อมีเหตุไม่คาดฝันเราเป็นอะไรไปลูกหยิบเล่มกรมธรรม์มาดู
จะได้เข้าใจง่ายค่ะ (เราบอกลูกไว้แล้วว่าเอกสารสำคัญอยู่ที่ไหน)
ก็จะทำอย่างนี้กับทุกกรมธรรม์ค่ะ (ที่ยกมานี้เป็นของลูกค่ะ)
แบบนี้เป็นแบบคุ้มครองผู้ส่งเบี้ยซึ่งเราเลือกให้เป็นคุณพ่อ
ที่เป็นรายได้หลักของครอบครัว ถ้าเป็นอะไรไป
ก็หยุดส่งได้แต่ความคุ้มครองยังอยู่ค่ะ
และเมื่อกรมธรรม์มาอยู่ในมือเราแล้วใช้ปากกาเน้นข้อความ
เขียนและเน้นจุดสำคัญๆ ไว้เลยค่ะ เช่น ต้องแจ้งภายใน......วัน
นับแต่........ (คำนี้ต้องดูให้ดีว่านับแต่อะไร)..............
ของ..........(ถ้าเจอคำนี้ต้องดูให้ดีๆ ว่าของอะไร)..........
ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลข เช่น ร้อยละ 121 ของเงินเอาประกัน
ค่อยๆ เทียบปีและเทียบสีตารางจะเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
ตอนนี้จะมาแนะนำราละเอียดปลีกย่อยอื่นๆ ค่ะ
ศัพท์ที่ควรรู้ ขอยกตัวอย่างของที่บ้าน
โดยใส่ตัวบุคคลสมมติไปเลยนะคะจะได้เข้าใจง่าย
ผู้เอาประกัน – ลูก
ชื่อเจ้าของกรมธรรม์ – คุณพ่อ (ผู้ชำระเบี้ย)
ผู้รับประโยชน์ตามกรมธรรม์
1.คุณพ่อ
2.คุณแม่
ด้านหลังจะมีสัดส่วนให้ระบุว่าให้ใครกี่เปอร์เซ็นต์ (ถ้าไม่ถือว่าระบุให้เท่าๆ กัน)
การอธิบายของตารางกรมธรรม์ตามตารางจะเป็นเป็นเชิงพรรณนาอย่างนี้ค่ะ
1994T 1959T และ 1982 นั้นคือสัญญาแนบท้ายค่ะ
เวลารับกรมธรรม์มาต้องดูให้มีครบ และก็ต้องอ่านให้ละเอียดด้วย
เราก็จะเอามาเปลี่ยนให้เป็นตารางที่ดูง่าย
โดยเอาวันที่จริงมานับจำนวนปีตามตารางเชิงพรรณานั้น
ก็จะทราบเลยว่าเหตุการณ์สำคัญตามกรมธรรม์จะไปตกอยู่ที่ปีไหนบ้าง
และของเราก็เอา อายุเรา อายุสามี และอายุลูกมาใส่ไว้ด้วย
จะทำให้เห็นชัดเจนว่าเบี้ยประกันมันจะเป็นภาระหรือไม่
ที่สำคัญเราแนบไว้กับเล่มกรมธรรม์ด้วย
เผื่อมีเหตุไม่คาดฝันเราเป็นอะไรไปลูกหยิบเล่มกรมธรรม์มาดู
จะได้เข้าใจง่ายค่ะ (เราบอกลูกไว้แล้วว่าเอกสารสำคัญอยู่ที่ไหน)
ก็จะทำอย่างนี้กับทุกกรมธรรม์ค่ะ (ที่ยกมานี้เป็นของลูกค่ะ)
แบบนี้เป็นแบบคุ้มครองผู้ส่งเบี้ยซึ่งเราเลือกให้เป็นคุณพ่อ
ที่เป็นรายได้หลักของครอบครัว ถ้าเป็นอะไรไป
ก็หยุดส่งได้แต่ความคุ้มครองยังอยู่ค่ะ
และเมื่อกรมธรรม์มาอยู่ในมือเราแล้วใช้ปากกาเน้นข้อความ
เขียนและเน้นจุดสำคัญๆ ไว้เลยค่ะ เช่น ต้องแจ้งภายใน......วัน
นับแต่........ (คำนี้ต้องดูให้ดีว่านับแต่อะไร)..............
ของ..........(ถ้าเจอคำนี้ต้องดูให้ดีๆ ว่าของอะไร)..........
ส่วนใหญ่จะเป็นตัวเลข เช่น ร้อยละ 121 ของเงินเอาประกัน
ค่อยๆ เทียบปีและเทียบสีตารางจะเข้าใจง่ายขึ้นค่ะ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 307
ข้อดีของการ Refinace
...............................................
ลองเปรียบเทียบตาราง 3 แบบนี้ดูนะคะ
จำลองมาจากตารางคำนวณผ่อนบ้านที่แจกเพื่อนๆ ไป
แบบที่ 1 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 6% (สมมติคือปัจจุบัน_ก่อน refinance)
แบบที่ 2 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดเท่าเดิม)
แบบที่ 3 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดมากขึ้นเล็กน้อย_จ่ายเพิ่มบ้าง)
.................................................
แบบที่ 1 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 6% (สมมติคือปัจจุบัน_ก่อน refinance)
แบบที่ 2 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดเท่าเดิม)
แบบที่ 3 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดมากขึ้นเล็กน้อย_จ่ายเพิ่มบ้าง)
เมื่อเทียบตัวเลขจะเห็นชุดเจนว่ายอด ณ Oct 2559 แตกต่างกันดังนี้
ตารางที่ 1 1,801,644.03
ตารางที่ 2 1,678,496.28 (1,801,644.03 - 1,678,496.28) = 123,147.75
ตารางที่ 3 1,514,269.78 (1,801,644.03 - 1,514,269.78) = 287,374.25
เห็นความแตกต่างค่อนข้างชัดเจนทีเดียว
และถ้ายอดกู้มากกว่านี้ จะยิ่งเห็นความต่างชัดเจนขึ้นอีก
นี่แหละคือเหตุผลที่เราขยันผ่อนบ้าน
และ 100 % ของคนที่ได้ลองคำนวณด้วยตาราง ที่เราทำขึ้นเองนี้
ไป refinance เมื่อครบ 3 ปี (อย่าลืมหักค่าธรรมเนียม refinnace ด้วยนะคะ)
นี่เทียบแค่ 3 ปีนะ ถ้าทุก 3 เราไป refinance เสมอจะยั่งผ่อนหมดเร็วขึ้นอีกค่ะ
คนที่ผ่อนบ้านยังไม่ครบกำหนด re ก็จะรู้ว่าแค่จ่ายต่อเดือนเพิ่ม
และจ่ายเพิ่มบ้างเมื่อได้เงินก้อนใดๆ มา จะทำให้ยอดหนี้ลดลงเร็วมาก
ตามที่เราบอกไปว่าตารางที่เราทำขึ้นมานี้เหมาะกับผู้ที่กำลังผ่อนบ้านทุกคนค่ะ
..............................................
เห็นใน pantip มีคนถามเรื่องนี้แทบทุกวัน เราไม่มี login
เพื่อนๆ ท่านไหนมี login ของ pantip ฝาก link เพื่อแบ่งปันให้ด้วยก็ดีนะคะ
ถือว่าได้ทำกุศลในการช่วยเหลือผู้อื่นร่วมกัน และชีวิตพวกเราก็จะดีไปด้วยกันค่ะ
...............................................
ลองเปรียบเทียบตาราง 3 แบบนี้ดูนะคะ
จำลองมาจากตารางคำนวณผ่อนบ้านที่แจกเพื่อนๆ ไป
แบบที่ 1 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 6% (สมมติคือปัจจุบัน_ก่อน refinance)
แบบที่ 2 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดเท่าเดิม)
แบบที่ 3 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดมากขึ้นเล็กน้อย_จ่ายเพิ่มบ้าง)
.................................................
แบบที่ 1 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 6% (สมมติคือปัจจุบัน_ก่อน refinance)
แบบที่ 2 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดเท่าเดิม)
แบบที่ 3 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดมากขึ้นเล็กน้อย_จ่ายเพิ่มบ้าง)
เมื่อเทียบตัวเลขจะเห็นชุดเจนว่ายอด ณ Oct 2559 แตกต่างกันดังนี้
ตารางที่ 1 1,801,644.03
ตารางที่ 2 1,678,496.28 (1,801,644.03 - 1,678,496.28) = 123,147.75
ตารางที่ 3 1,514,269.78 (1,801,644.03 - 1,514,269.78) = 287,374.25
เห็นความแตกต่างค่อนข้างชัดเจนทีเดียว
และถ้ายอดกู้มากกว่านี้ จะยิ่งเห็นความต่างชัดเจนขึ้นอีก
นี่แหละคือเหตุผลที่เราขยันผ่อนบ้าน
และ 100 % ของคนที่ได้ลองคำนวณด้วยตาราง ที่เราทำขึ้นเองนี้
ไป refinance เมื่อครบ 3 ปี (อย่าลืมหักค่าธรรมเนียม refinnace ด้วยนะคะ)
นี่เทียบแค่ 3 ปีนะ ถ้าทุก 3 เราไป refinance เสมอจะยั่งผ่อนหมดเร็วขึ้นอีกค่ะ
คนที่ผ่อนบ้านยังไม่ครบกำหนด re ก็จะรู้ว่าแค่จ่ายต่อเดือนเพิ่ม
และจ่ายเพิ่มบ้างเมื่อได้เงินก้อนใดๆ มา จะทำให้ยอดหนี้ลดลงเร็วมาก
ตามที่เราบอกไปว่าตารางที่เราทำขึ้นมานี้เหมาะกับผู้ที่กำลังผ่อนบ้านทุกคนค่ะ
..............................................
เห็นใน pantip มีคนถามเรื่องนี้แทบทุกวัน เราไม่มี login
เพื่อนๆ ท่านไหนมี login ของ pantip ฝาก link เพื่อแบ่งปันให้ด้วยก็ดีนะคะ
ถือว่าได้ทำกุศลในการช่วยเหลือผู้อื่นร่วมกัน และชีวิตพวกเราก็จะดีไปด้วยกันค่ะ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 309
ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะPaul VI เขียน:แวะมาทักทายครับ
คุณนุช ปีใหม่นี้ไปเที่ยวไหนครับ
ว่าจะไปเหนือค่ะ แวะไปเยี่ยมญาติที่ลำพูนและเที่ยว
2-3 ปีก่อน เน้นแม่ฮ่องสอน ตาก ครั้งนี้ว่าจะเป็นแบบนี้ค่ะ
เชียงราย
(ดอยตุง วัดร่องขุน และอยากไปวัดท่าน ว.วชิราเมธี ด้วยค่ะ)
เชียงใหม่
(แม่ริม แพแม่ตะมาน นั่งช้าง ล่องแพ และพิพิธภัณฑ์แมลงที่ไปทุกปีค่ะ ลูกชอบค่ะ)
และอาจเลือก อช.สักแห่งเพื่อกางเต้นท์ด้วยค่ะ
ครอบครัวพี่หมอมุขไปไหนคะ?
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 311
theenuch เขียน:ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่ะPaul VI เขียน:แวะมาทักทายครับ
คุณนุช ปีใหม่นี้ไปเที่ยวไหนครับ
ว่าจะไปเหนือค่ะ แวะไปเยี่ยมญาติที่ลำพูนและเที่ยว
2-3 ปีก่อน เน้นแม่ฮ่องสอน ตาก ครั้งนี้ว่าจะเป็นแบบนี้ค่ะ
เชียงราย
(ดอยตุง วัดร่องขุน และอยากไปวัดท่าน ว.วชิราเมธี ด้วยค่ะ)
เชียงใหม่
(แม่ริม แพแม่ตะมาน นั่งช้าง ล่องแพ และพิพิธภัณฑ์แมลงที่ไปทุกปีค่ะ ลูกชอบค่ะ)
และอาจเลือก อช.สักแห่งเพื่อกางเต้นท์ด้วยค่ะ
ครอบครัวพี่หมอมุขไปไหนคะ?
เมื่อหลายปีก่อนไป เชียงใหม่ เชียงราย มายังประทับใจอยู่เลยครับ
อากาศหนาวกับผมนี่ เป็นของคู่กันครับ ชอบหน้าหนาวมากถึงมากที่สุดครับ
เชียงใหม่ ดอยสุเทพคนเยอะพอควรเลยครับ แต่ไปทุกครั้งก็ขึ้นไปนมัสการทุกที ที่มีโอกาส
พระตำหนักดอยสุเทพ ดอกไม้สวยๆ เยอะมาก ผมว่าคุณนุชไม่พลาดแน่นอนครับ
จำได้ว่าไปที่ ที่เค้าจัดงานดอกไม้ครับ ก็สวยสมคำร่ำลือ แต่น่าจะโทรมลงตามกาลเวลาไปบ้างนะครับ แต่หน้าหนาวผมว่า แค่ไปสูดอากาศเย็นๆ ก็ ok แล้วครับ
ส่วนเชียงราย ผมประทับใจแม่สลองครับ แต่ขึ้นไปไม่ถึงสุดครับ ตอนนั้นรถขึ้นไปไม่ไหว สัมภาระเยอะมากเลยไปได้ถึงกลางทาง แต่อากาศดีมาก
แต่ แม่สาย ก็เป็นที่น่าประทับใจมากครับ อากาศตอนที่ไปตอนนั้นเย็นอย่างกับยุโรป ทำเอาเดินเล่นแบบไม่อยากกลับเลยทีเดียวครับ
ข้ามฟากไปตลาดท่าขี้เหล็ก สำหรับผู้ชายก็เฉยๆครับ แต่ผู้หญิงก็คงชอบมากเลยที่ได้ต่อรองราคา
ดอยตุงห้ามพลาดครับ แต่คนเยอะ แน่นอนครับ จอดรถกันถึงไหล่เขาเลยทีเดียว แต่อากาศดี ดอกไม้สวย คุณนุชคงไม่พลาดแน่ครับ
วัดร่องขุ้น ก็สวยมากครับ เสียดายวันที่ผมไปตรงกับวันปีหใ่ คนเยอะมากๆๆๆ แต่ได้ไปเห็นไปถ่ายรูปหน้าวัดก็คุ้มค่าแล้วครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 312
ดีจังได้ที่เที่ยวเพิ่มตามพี่หมอมุขเลยคือ "ดอยแม่สลอง" อยากไปมานานแล้ว ยังไม่เคยไปPaul VI เขียน: เมื่อหลายปีก่อนไป เชียงใหม่ เชียงราย มายังประทับใจอยู่เลยครับ
อากาศหนาวกับผมนี่ เป็นของคู่กันครับ ชอบหน้าหนาวมากถึงมากที่สุดครับ
เชียงใหม่ ดอยสุเทพคนเยอะพอควรเลยครับ แต่ไปทุกครั้งก็ขึ้นไปนมัสการทุกที ที่มีโอกาส
พระตำหนักดอยสุเทพ ดอกไม้สวยๆ เยอะมาก ผมว่าคุณนุชไม่พลาดแน่นอนครับ
จำได้ว่าไปที่ ที่เค้าจัดงานดอกไม้ครับ ก็สวยสมคำร่ำลือ แต่น่าจะโทรมลงตามกาลเวลาไปบ้างนะครับ แต่หน้าหนาวผมว่า แค่ไปสูดอากาศเย็นๆ ก็ ok แล้วครับ
ส่วนเชียงราย ผมประทับใจแม่สลองครับ แต่ขึ้นไปไม่ถึงสุดครับ ตอนนั้นรถขึ้นไปไม่ไหว สัมภาระเยอะมากเลยไปได้ถึงกลางทาง แต่อากาศดีมาก
แต่ แม่สาย ก็เป็นที่น่าประทับใจมากครับ อากาศตอนที่ไปตอนนั้นเย็นอย่างกับยุโรป ทำเอาเดินเล่นแบบไม่อยากกลับเลยทีเดียวครับ
ข้ามฟากไปตลาดท่าขี้เหล็ก สำหรับผู้ชายก็เฉยๆครับ แต่ผู้หญิงก็คงชอบมากเลยที่ได้ต่อรองราคา
ดอยตุงห้ามพลาดครับ แต่คนเยอะ แน่นอนครับ จอดรถกันถึงไหล่เขาเลยทีเดียว แต่อากาศดี ดอกไม้สวย คุณนุชคงไม่พลาดแน่ครับ
วัดร่องขุ้น ก็สวยมากครับ เสียดายวันที่ผมไปตรงกับวันปีหใ่ คนเยอะมากๆๆๆ แต่ได้ไปเห็นไปถ่ายรูปหน้าวัดก็คุ้มค่าแล้วครับ
วางแผนไปก่อนปีใหม่ค่ะ 21 - 27 ธค. สวนทางกับคนอื่นที่เพิ่งขึ้นไปพอดีค่ะ...คนจะได้ไม่มากนัก
ที่จริงเส้นทางตามแผนนี้เคยไปมาตั้งแต่ลูก 4 ขวบ เปิดรูปให้เค้าดูเค้าอยากไปอีกค่ะ
ส่วนแม่สายที่บ้านคนที่ชอบน่าจะเป็นลูกชายค่ะ
เค้าชอบซื้อของมาขาย วันก่อนไปลาว (ไปกับคูณครูปรีดา นักเล่านิทาน)
ก็ไปได้ของกลับมาขายได้กำไรไปไม่น้อยค่ะ
เหมือนๆ เค้าชอบขายของ และชอบเก็บเงิน ค่อนข้างชัดเจนมากๆ
ชอบท่องเที่ยวและชอบอากาศหนาวเหมือนพี่หมอมุขเลยค่ะ
คู่กับกาแฟร้อนๆ...ความสุขเรียบง่ายเล็กๆ น้อยๆ ค่ะ
ปกติชอบเที่ยวแบบปีนป่าย เลอะๆ ลุยๆ ค่ะ
พวกอุทยานแห่งชาติ และน้ำตกต่างๆ
เดี๋ยวจะจัดตามเส้นทางพี่หมอมุขเลยค่ะ
เพิ่มดอยสุเทพ ดอยแม่สลอง และแม่สายในครั้งนี้ด้วย
ขอบคุณพี่หมอมุขมากค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 314
รู้แล้วค่ะ ถ้าจะวางแผนการท่องเที่ยวจะปรึกษาใครPaul VI เขียน:ถ้าเรื่องท่องเที่ยวขอให้บอกครับ คุณนุช คุยได้ทั้งวันเลยทีเดียว
เป็นเรื่องที่บรรจุ ในแผนที่ชีวิต ตลอดเส้นทางของแผนที่ชีวิตผมเลยครับ
การท่องเที่ยวทำให้ชีวิตสมดุลดีนะคะ
การไปออกไปพบโลกกว้างทำให้เรารู้สึกเสมอว่า
เราเป็นสิ่งเล็กๆ บนโลกกว้างใบนี้ และทำให้ถ่อมตัวขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ
ทำให้เราเคารพธรรมชาติ เคารพในวิถีชีวิตของผู้คนที่เราไปพบเจอ
เด็กๆ ก็ได้เรียนรู้หลายสิ่งผ่านการท่องเที่ยวด้วยค่ะ
หรือเพราะ "การท่องเที่ยวบรรจุ ในแผนที่ชีวิต ตลอดเส้นทางของแผนที่ชีวิตของพี่หมอมุข"
ส่งผลให้พี่หมอมุขซึ่งน่าจะเป็นคนที่ถ่อมตัวอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
ให้ยิ่งเป็นคนที่ถ่อมตัวและใส่ใจผู้อื่นได้มากขนาดนี้ น่าจะมีส่วนด้วยนะคะ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 315
ขอบคุณครับtheenuch เขียน: หรือเพราะ "การท่องเที่ยวบรรจุ ในแผนที่ชีวิต ตลอดเส้นทางของแผนที่ชีวิตของพี่หมอมุข"
ส่งผลให้พี่หมอมุขซึ่งน่าจะเป็นคนที่ถ่อมตัวอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
ให้ยิ่งเป็นคนที่ถ่อมตัวและใส่ใจผู้อื่นได้มากขนาดนี้ น่าจะมีส่วนด้วยนะคะ
ที่จริงก็ไม่ขนาดนั้นหรอกครับ แต่เรื่องท่องเที่ยวนี่ ชอบในสายเลือดครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 316
สมัครเป็นผู้ติดตามรีวิวการท่องเที่ยวของพี่หมอมุขทุกๆ trip จากนี้ไปค่ะPaul VI เขียน:ขอบคุณครับtheenuch เขียน: หรือเพราะ "การท่องเที่ยวบรรจุ ในแผนที่ชีวิต ตลอดเส้นทางของแผนที่ชีวิตของพี่หมอมุข"
ส่งผลให้พี่หมอมุขซึ่งน่าจะเป็นคนที่ถ่อมตัวอยู่เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว
ให้ยิ่งเป็นคนที่ถ่อมตัวและใส่ใจผู้อื่นได้มากขนาดนี้ น่าจะมีส่วนด้วยนะคะ
ที่จริงก็ไม่ขนาดนั้นหรอกครับ แต่เรื่องท่องเที่ยวนี่ ชอบในสายเลือดครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 317
แบบที่ 2 และ 3 แก้ไข ดอกเบี้ยลอยตัว เป็น ดอกเบี้ยขั้นบันได ค่ะtheenuch เขียน:ข้อดีของการ Refinace
...............................................
แบบที่ 1 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 6% (สมมติคือปัจจุบัน_ก่อน refinance)
แบบที่ 2 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดเท่าเดิม)
แบบที่ 3 ยอดกู้ 2 ล้าน ดอกเบี้ยลอยตัว 3, 4 ,5 % (สมมติ refinance _จ่ายค่างวดมากขึ้นเล็กน้อย_จ่ายเพิ่มบ้าง)
แก้ไขเป็นtheenuch เขียน:เมื่อเทียบตัวเลขจะเห็นชุดเจนว่ายอด ณ Oct 2559 แตกต่างกันดังนี้
ตารางที่ 1 1,801,644.03
ตารางที่ 2 1,678,496.28 (1,801,644.03 - 1,678,496.28) = 123,147.75
ตารางที่ 3 1,514,269.78 (1,801,644.03 - 1,514,269.78) = 287,374.25
ตารางที่ 1 1,801,644.03
ตารางที่ 2 1,678,496.28 ส่วนต่าง = (1,801,644.03 - 1,678,496.28) = 123,147.75
ตารางที่ 3 1,514,269.78 ส่วนต่าง = (1,801,644.03 - 1,514,269.78) = 287,374.25
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 319
ว่าด้วยเรื่อง “การนินทา”
...........................
อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ.............
..........คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
(กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี")
............................
บทกลอนสอนว่า “การถูกนินทา” เป็นธรรมดา
ย่อมหนีไม่พ้น...อย่าถือมาเป็นสาระ
ถ้า “การถูกนินทา” เป็นเรื่องธรรมดา แสดงว่า
“การนินทาผู้อื่น” ก็เป็นเรื่องธรรมดา...ใช่หรือไม่?
..........................
เราสอนลูกตามบทกลอนนี้...แต่สอนเพิ่มอย่างนี้ค่ะ
เราไม่ควรส่งเสริมให้ “คนช่างนินทา” รู้สึกสำเร็จ
“คนช่างนินทา” จะมีความสุขและรู้สึกสำเร็จ เมื่อ...
อย่างแรกเลยคือมี “ผู้ฟัง” และสำเร็จขั้นสูง
เมื่อ “คนที่ถูกนินทา” แปดเปื้อนได้จริง
คนฟังเชื่อตาม และอาจเอาไปขยายความต่อ
..............................
สอนลูกว่า....ในฐานผู้ฟัง (ถ้าจำเป็นต้องฟัง)
เราควรพิจารณาตัวผู้พูดด้วยไม่ใช่รับรู้เฉพาะ
“เนื้อหา” หรือ “บุคคล” ที่ถูกนิทาว่าร้าย
ในหลายครั้งเราค้นพบด้วยตัวเองว่า
“คนที่ถูกนินทา” บางคนเป็นคนดี
ที่สามารถยกระดับขึ้นมาเป็น
“กัลญาณมิตร” ได้เลยด้วยซ้ำ
.....................................
ทางที่ดีลูกอย่าไปฟังแต่ต้น...เลี่ยงได้ก็เลี่ยงเสีย
คนช่างนินทา..เป็นกิจวัตร เราเปลี่ยนเขาไม่ได้
แต่เราเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมของตัวเราเองได้
ขอให้เราพิจารณาให้ดีว่าเราอยากรับ
คนช่างนินทามาเป็นสิ่งแวดล้อมของเราหรือไม่
ถ้าใช่ สิ่งที่เราต้องสละไปอย่างแรกเลยคือ
“เวลา” อันมีค่าของเราในการฟัง ถัดมาคือ
โอกาสที่เราจะได้ค้นหาสิ่งดีจากตัวผู้ที่ถูกนินทา
ส่วนคนที่พูดเรื่องของคนอื่นจนเป็นกิจวัตรนั้น
เขาเองก็เสียโอกาสในการนำ “เวลา” ที่มีอยู่จำกัด
ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นผลที่เขาต้องรับ
...................................
ที่ลูกควรระวังที่สุดคือ...ถ้าเราคุยกับคนช่างนินทาบ่อยๆ
ทั้งที่เราแค่มารยาทดี รับฟังไปเพราะไม่อยากตัดบท
แต่ภาพที่คนอื่นมองเข้ามา...แน่ใจหรือว่า
เขาไม่นับเราเป็น “คนช่างนินทา” ที่ไม่น่าคบไปด้วย
ถ้าเกิดเรื่องเช่นนั้นขึ้นจริง “ก็น่าเสียดาย” ยิ่งกว่า
คนช่างนินทาเขาไม่มีอะไรจะเสียไปมากกว่านี้แล้ว
เพราะเขาเลือกที่จะเป็นเช่นนั้นเอง แต่คนที่ไม่ได้เป็น
แต่ถูกเหมารวม...เพราะเผลอไปนั่งฟัง...ไม่คุ้มเอาเสียเลย
..............................
บอกลูกว่าเราคัดกรองเพื่อนจากคุณสมบัติข้อนี้ด้วย
และคนดีๆ ที่มีสติ รอบๆ ตัวเรา ก็น่าจะคำนึงถึงเช่นกัน
ในองค์กรต่างๆ ก็น่าจะพิจารณาคุณสมบัติข้อนี้
ในการที่จะเลือกใครสักคนมารับตำแหน่งสำคัญๆ
...............................
ดังนั้นอย่าเสียโอกาสที่จะถูกเลือกคบจากคนดีๆ
เพียงเพราะไม่กล้าปฏิเสธหรือเดินหนี “คนช่างนินทา”
...........................
อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ.............
..........คนเดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา
(กลอนสุนทรภู่ บางตอนจาก "พระอภัยมณี")
............................
บทกลอนสอนว่า “การถูกนินทา” เป็นธรรมดา
ย่อมหนีไม่พ้น...อย่าถือมาเป็นสาระ
ถ้า “การถูกนินทา” เป็นเรื่องธรรมดา แสดงว่า
“การนินทาผู้อื่น” ก็เป็นเรื่องธรรมดา...ใช่หรือไม่?
..........................
เราสอนลูกตามบทกลอนนี้...แต่สอนเพิ่มอย่างนี้ค่ะ
เราไม่ควรส่งเสริมให้ “คนช่างนินทา” รู้สึกสำเร็จ
“คนช่างนินทา” จะมีความสุขและรู้สึกสำเร็จ เมื่อ...
อย่างแรกเลยคือมี “ผู้ฟัง” และสำเร็จขั้นสูง
เมื่อ “คนที่ถูกนินทา” แปดเปื้อนได้จริง
คนฟังเชื่อตาม และอาจเอาไปขยายความต่อ
..............................
สอนลูกว่า....ในฐานผู้ฟัง (ถ้าจำเป็นต้องฟัง)
เราควรพิจารณาตัวผู้พูดด้วยไม่ใช่รับรู้เฉพาะ
“เนื้อหา” หรือ “บุคคล” ที่ถูกนิทาว่าร้าย
ในหลายครั้งเราค้นพบด้วยตัวเองว่า
“คนที่ถูกนินทา” บางคนเป็นคนดี
ที่สามารถยกระดับขึ้นมาเป็น
“กัลญาณมิตร” ได้เลยด้วยซ้ำ
.....................................
ทางที่ดีลูกอย่าไปฟังแต่ต้น...เลี่ยงได้ก็เลี่ยงเสีย
คนช่างนินทา..เป็นกิจวัตร เราเปลี่ยนเขาไม่ได้
แต่เราเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมของตัวเราเองได้
ขอให้เราพิจารณาให้ดีว่าเราอยากรับ
คนช่างนินทามาเป็นสิ่งแวดล้อมของเราหรือไม่
ถ้าใช่ สิ่งที่เราต้องสละไปอย่างแรกเลยคือ
“เวลา” อันมีค่าของเราในการฟัง ถัดมาคือ
โอกาสที่เราจะได้ค้นหาสิ่งดีจากตัวผู้ที่ถูกนินทา
ส่วนคนที่พูดเรื่องของคนอื่นจนเป็นกิจวัตรนั้น
เขาเองก็เสียโอกาสในการนำ “เวลา” ที่มีอยู่จำกัด
ไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นผลที่เขาต้องรับ
...................................
ที่ลูกควรระวังที่สุดคือ...ถ้าเราคุยกับคนช่างนินทาบ่อยๆ
ทั้งที่เราแค่มารยาทดี รับฟังไปเพราะไม่อยากตัดบท
แต่ภาพที่คนอื่นมองเข้ามา...แน่ใจหรือว่า
เขาไม่นับเราเป็น “คนช่างนินทา” ที่ไม่น่าคบไปด้วย
ถ้าเกิดเรื่องเช่นนั้นขึ้นจริง “ก็น่าเสียดาย” ยิ่งกว่า
คนช่างนินทาเขาไม่มีอะไรจะเสียไปมากกว่านี้แล้ว
เพราะเขาเลือกที่จะเป็นเช่นนั้นเอง แต่คนที่ไม่ได้เป็น
แต่ถูกเหมารวม...เพราะเผลอไปนั่งฟัง...ไม่คุ้มเอาเสียเลย
..............................
บอกลูกว่าเราคัดกรองเพื่อนจากคุณสมบัติข้อนี้ด้วย
และคนดีๆ ที่มีสติ รอบๆ ตัวเรา ก็น่าจะคำนึงถึงเช่นกัน
ในองค์กรต่างๆ ก็น่าจะพิจารณาคุณสมบัติข้อนี้
ในการที่จะเลือกใครสักคนมารับตำแหน่งสำคัญๆ
...............................
ดังนั้นอย่าเสียโอกาสที่จะถูกเลือกคบจากคนดีๆ
เพียงเพราะไม่กล้าปฏิเสธหรือเดินหนี “คนช่างนินทา”
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 320
สุดยอดครับ นินทากาเลเหมือนเทน้ำ ขอบคุณครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 321
ฝนเดือน พฤศจิกายน ว่ากันว่า เป็น ฝนเดือนที่หนาวที่สุด และเดือนที่แล้วฝนก็ตกหลายครั้ง
[youtube]8SbUC-UaAxE[/youtube]
[youtube]8SbUC-UaAxE[/youtube]
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 322
ขอบคุณค่ะ คุณ NB แนะนำเพลงมาเพราะมากเลยNevercry.boy เขียน:ฝนเดือน พฤศจิกายน ว่ากันว่า เป็น ฝนเดือนที่หนาวที่สุด และเดือนที่แล้วฝนก็ตกหลายครั้ง
[youtube]8SbUC-UaAxE[/youtube]
เพิ่งรู้ว่า Rock ก็เข้ากันได้กับ กลุ่มเครื่องสายเหมือนกัน
เรามาแปลงเนื้อเพลงเล่นกันดีกว่าเนอะ
'Cause nothin' lasts forever
And we both know hearts can change
And it's hard to hold stocks (เดิมเป็น a candle)
In the cold November rain
We've been through this such a long long time
Just tryin' to kill the pain
แต่เชื่อแน่ว่าพวกเราทำได้ เราผ่านจุดนั้นมาแล้ว
เพื่อที่จะเจ็บปวดกับจุดต่อไป ในเดือน December
555
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 323
555 ยิ้มออกเลยครับ
คุณนุชสุดยอดจริง
คุณนุชสุดยอดจริง
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 324
ประมวลจากความเห็นคุณ NB ด้วยค่ะNevercry.boy เขียน:555 ยิ้มออกเลยครับ
คุณนุชสุดยอดจริง
เลยสรุปว่าพวกเราจะไปหนาวเหน็บ
ในเดือน December ด้วยกัน
ใครหลายคนเขาอาจหนีกันไปเยอะแล้ว
แต่รู้ว่าคุณ NB ยังอยู่เหมือนกันค่ะ 555
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 326
ขอบคุณพี่หมอมุขที่กรุณาแวะมาทักทายเสมอเลยค่ะPaul VI เขียน:เป็นไงบ้างครับ คุณนุช เตรียมตัวไปเที่ยวถึงไหนแล้วครับ
ตอนนี้ผมรอวันไปเที่ยว อย่างใจจดจ่อ
วางแผนท่องเที่ยวเรียบร้อยแล้วค่ะ
รอวันไปเที่ยวอย่างใจจดจ่อเหมือนกันเลยค่ะ
แต่สงสัยต้องพกน้ำเกลือล้างจมูกไปด้วย ช่วงนี้ขาดไม่ได้เลยค่ะ
ไซนัสอักเสบมาเยือน และทำท่าจะตามไปเที่ยวเหนือด้วยค่ะ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 327
วันพ่อ
เมื่อวันพ่อพาเตี่ยไปทานอาหารญี่ปุ่นที่ "ฟูจิ" มาค่ะ
ไม่บ่อยครั้งที่เตี่ยจะยอมไปร้านอาหารแบบนี้
เพราะอย่างที่เคยเล่ามาตลอดว่า
คนที่สอนเรื่อง "เขียม ๆ" และการใช้ชีวิตเรียบง่าย
นอกจากอาม่า แล้วก็เตี่ยนี่แหละค่ะ
ที่จริงก็อาเจ็ก อาแปะ ทั้งหมดด้วย
เตี่ยสอนนิสัยที่ดีให้เรามาหลายเรื่องมากๆ
ทั้งสอน...ทั้งทำเป็นตัวอย่างค่ะ
.....................
แม้จะเป็นครูที่เกษียณราชการ
แต่เตี่ยไม่รู้จัก "วาซาบิ" เตี่ยเรียกมันว่า "มัสตาร์ด"
มีคนอื่นในร้านได้ยินด้วย แต่เราไม่ได้อายใครหรอก
เราก็บอกเตี่ยไปว่ามันคือ "วาซาบิ"
แต่ทำให้เรารู้ว่า เตี่ยสมถะยิ่งกว่าเรามาก
แม้ว่าเราจะไม่ค่อยเข้าร้านอาหารแพงๆ
แต่ก็บ่อยกว่าเตี่ยแน่นอน
ที่ผ่านมาเวลาจะชวนไปร้านอาหารบ้าง
บางทีเตี่ยจะบอกว่าเตี่ยมีข้าวแล้ว
เวลาไปหาแม่ที่อ่างทอง
ขากลับก็จะแวะหาเตี่ยที่อยุธยาด้วยเสมอ
(แยกกันอยู่มานาน..อย่างที่เคยเล่าไว้ค่ะ)
บางครั้งถ้าเราโทรบอกล่วงหน้านานพอ
เตี่ยจะบอกว่าเตี่ยจะหุงข้าวเผื่อเลย
มีน้ำพริกตาแดง มีปลาเค็ม (ประจำ)
บางทีก็มีต้มซื่โครงหมูกับถั่วลิสง
หรือซี่โครงหมูกับหัวไฉ่โป้ว
(นึกถึงตอนเด็กๆ ที่บ้านอาม่าเลย)
มากินด้วยกันนะ เตี่ยจะหุงข้าวเผื่อ
เดี๋ยวจะทำ "ไข่หวาน" ด้วยมีไข่อยู่เยอะ
และที่ขาดไม่ได้เลยคือกล้วยค่ะ
กล้วยตามฤดูกาล "หอม" "ไข่" "น้ำว้า"
......................
ซึ่งเรามักจะตกลงเสมอ
เพราะรู้ว่าคนประหยัดๆ จะชอบแบบนี้แหละ
แม้เราบอกว่าเราจะพาไปเลี้ยง
เตี่ยก็ไม่อยากให้เราเปลืองด้วย
คือไม่ว่าจะเงินใครเตี่ยก็ไม่อยากให้เปลืองทั้งนั้น
และก็เพราะชอบความเรียบง่ายด้วย
.......................
ที่ "ฟูจิ" เตี่ยบอกว่าดีเหมือนกันเนอะ
อาหารเป็นชุดๆ คุมราคาได้ตั้งแต่ตอนสั่ง
ตอนสั่งเตี่ยดูเมนูละเอียดมากดูราคาด้วย
และเลือกชุดที่ถูกๆ คือชุดปลาซาบะ
.........................
รู้สึกคุ้นๆ มั้ยคะ...ถ้าอ่านกระทู้เรามาตลอดจะรู้เลยว่า
เราถอดแบบออกมาจากเตี่ยนี่เอง
ตอนนี้ลูกชายก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน
ส่งต่อมาหลาย generation เลย
......................
วันนี้ถึงเราจะมีฐานะดีขึ้นบ้างแล้ว
แต่เราก็ยังคงประหยัดเหมือนเตี่ย
และเหมือนวันเดิมๆ ของเราเอง
ที่เล่ามาอยากบอกว่า
ถ้าอยากปลูกฝังเรื่องใดๆ ให้ลูก ให้หลาน
ก็ทำเถอะค่ะ ทำให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย
เรื่องใดๆ ก็ตามถ้าสามารถปลูกฝัง
จนเป็นนิสัยไปแล้ว...จะเป็นไปตลอดค่ะ
......................
เหมือนนิสัยประหยัด "เขียมๆ" ของตระกูลเรานี่แหละค่ะ
เมื่อวันพ่อพาเตี่ยไปทานอาหารญี่ปุ่นที่ "ฟูจิ" มาค่ะ
ไม่บ่อยครั้งที่เตี่ยจะยอมไปร้านอาหารแบบนี้
เพราะอย่างที่เคยเล่ามาตลอดว่า
คนที่สอนเรื่อง "เขียม ๆ" และการใช้ชีวิตเรียบง่าย
นอกจากอาม่า แล้วก็เตี่ยนี่แหละค่ะ
ที่จริงก็อาเจ็ก อาแปะ ทั้งหมดด้วย
เตี่ยสอนนิสัยที่ดีให้เรามาหลายเรื่องมากๆ
ทั้งสอน...ทั้งทำเป็นตัวอย่างค่ะ
.....................
แม้จะเป็นครูที่เกษียณราชการ
แต่เตี่ยไม่รู้จัก "วาซาบิ" เตี่ยเรียกมันว่า "มัสตาร์ด"
มีคนอื่นในร้านได้ยินด้วย แต่เราไม่ได้อายใครหรอก
เราก็บอกเตี่ยไปว่ามันคือ "วาซาบิ"
แต่ทำให้เรารู้ว่า เตี่ยสมถะยิ่งกว่าเรามาก
แม้ว่าเราจะไม่ค่อยเข้าร้านอาหารแพงๆ
แต่ก็บ่อยกว่าเตี่ยแน่นอน
ที่ผ่านมาเวลาจะชวนไปร้านอาหารบ้าง
บางทีเตี่ยจะบอกว่าเตี่ยมีข้าวแล้ว
เวลาไปหาแม่ที่อ่างทอง
ขากลับก็จะแวะหาเตี่ยที่อยุธยาด้วยเสมอ
(แยกกันอยู่มานาน..อย่างที่เคยเล่าไว้ค่ะ)
บางครั้งถ้าเราโทรบอกล่วงหน้านานพอ
เตี่ยจะบอกว่าเตี่ยจะหุงข้าวเผื่อเลย
มีน้ำพริกตาแดง มีปลาเค็ม (ประจำ)
บางทีก็มีต้มซื่โครงหมูกับถั่วลิสง
หรือซี่โครงหมูกับหัวไฉ่โป้ว
(นึกถึงตอนเด็กๆ ที่บ้านอาม่าเลย)
มากินด้วยกันนะ เตี่ยจะหุงข้าวเผื่อ
เดี๋ยวจะทำ "ไข่หวาน" ด้วยมีไข่อยู่เยอะ
และที่ขาดไม่ได้เลยคือกล้วยค่ะ
กล้วยตามฤดูกาล "หอม" "ไข่" "น้ำว้า"
......................
ซึ่งเรามักจะตกลงเสมอ
เพราะรู้ว่าคนประหยัดๆ จะชอบแบบนี้แหละ
แม้เราบอกว่าเราจะพาไปเลี้ยง
เตี่ยก็ไม่อยากให้เราเปลืองด้วย
คือไม่ว่าจะเงินใครเตี่ยก็ไม่อยากให้เปลืองทั้งนั้น
และก็เพราะชอบความเรียบง่ายด้วย
.......................
ที่ "ฟูจิ" เตี่ยบอกว่าดีเหมือนกันเนอะ
อาหารเป็นชุดๆ คุมราคาได้ตั้งแต่ตอนสั่ง
ตอนสั่งเตี่ยดูเมนูละเอียดมากดูราคาด้วย
และเลือกชุดที่ถูกๆ คือชุดปลาซาบะ
.........................
รู้สึกคุ้นๆ มั้ยคะ...ถ้าอ่านกระทู้เรามาตลอดจะรู้เลยว่า
เราถอดแบบออกมาจากเตี่ยนี่เอง
ตอนนี้ลูกชายก็เป็นแบบนี้เหมือนกัน
ส่งต่อมาหลาย generation เลย
......................
วันนี้ถึงเราจะมีฐานะดีขึ้นบ้างแล้ว
แต่เราก็ยังคงประหยัดเหมือนเตี่ย
และเหมือนวันเดิมๆ ของเราเอง
ที่เล่ามาอยากบอกว่า
ถ้าอยากปลูกฝังเรื่องใดๆ ให้ลูก ให้หลาน
ก็ทำเถอะค่ะ ทำให้ดูเป็นตัวอย่างด้วย
เรื่องใดๆ ก็ตามถ้าสามารถปลูกฝัง
จนเป็นนิสัยไปแล้ว...จะเป็นไปตลอดค่ะ
......................
เหมือนนิสัยประหยัด "เขียมๆ" ของตระกูลเรานี่แหละค่ะ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1735
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 329
ใช่เลยจ้าน้องสายชล พี่ว่าหล่อพอๆ กะลูกของน้องสายชลเลยนะsaichon เขียน:เข้าใจว่าน้องที่นั่งตรงกลางของรูป น่าจะเป็นลูกชายของพี่นุชใช่ไม๊ครับ
หล๊อ หล่อ...
พี่ยังเก็บรูปลูกของน้องสายชลไว้เลย...มาขึ้นวนเวียนหน้าจอสลับกับรูปลูกพี่ด้วยนะ
ดังนั้นพี่เห็นหน้าเค้าทั้งสองคนทุกๆ วัน...วันละหลายรอบเลยหละ
-
- Verified User
- โพสต์: 1219
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI บ้าน ๆ
โพสต์ที่ 330
555+theenuch เขียน:ใช่เลยจ้าน้องสายชล พี่ว่าหล่อพอๆ กะลูกของน้องสายชลเลยนะsaichon เขียน:เข้าใจว่าน้องที่นั่งตรงกลางของรูป น่าจะเป็นลูกชายของพี่นุชใช่ไม๊ครับ
หล๊อ หล่อ...
พี่ยังเก็บรูปลูกของน้องสายชลไว้เลย...มาขึ้นวนเวียนหน้าจอสลับกับรูปลูกพี่ด้วยนะ
ดังนั้นพี่เห็นหน้าเค้าทั้งสองคนทุกๆ วัน...วันละหลายรอบเลยหละ
เขินจัง...
ซื้อหุ้นตัวที่เมื่อมองไปในอนาคตแล้ว ที่ปัจจุบันราคายัง undervalue ที่สุด