มั่งคั่งด้วยหุ้น ลงทุนอย่างมีคุณค่า
-
- Verified User
- โพสต์: 135
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4172
โรงเรียนแห่งหนึ่ง(เป็นโรงเรียนประจำและเป็นมูลนิธิ) ไกลจาก กทม. ประมาณ ๒๐๐ กม.
มีนักเรียน ป.๑ ถึง ม.๖
ทุกวัน ไม่เว้นเสาร์อาทิคย์ มีกิจกรรมดังนี้
๐๖.๐๐ ถึง ๐๖.๓๐ น. มีการนั่งสมาธิ นั่งสวดมนต์ (ท่าที่ศาสนาพุทธกำหนด) นั่งฟังนิทานแฝงคติธรรม นั่งในท่าพับเพียบ
๑๙.๓๐ ถึง ประมาณ ๑๙.๔๐ น. มีการนั่งสมาธิ นั่งสวดมนต์
ในการนั่งของเด็กนักเรียนเกือบทุกคน มีการนั่งหลังไม่ตรง บ่าห่อไปข้างหน้า บางคนคอตก
มีความเป็นห่วงเด็กเล็ก เพราะเป็นการฝึกให้หลังห่อทุกวัน ทั้งเช้าและเย็น ทุกๆวัน ยกเว้น
โรงเรียนปิด
การเล่นกีฬาของ น.ร ก็คงไม่มาก คงมีตอนวิชาพละ นอกนั้นก็มีการเดินไปมา วิ่งเล่นในยามว่าง
ไม่ทราบคุณหมอท่านใดพอที่จะมี วีดีโอ หรือ ยูทูป หรือภาพโปสเตอร์(หาซื้อได้ที่ใด จะโอนเงินให้เป็นการฝากซื้อ) ดึงดูดความสนใจ เพราะพูดปากเปล่าอย่างเดียวเด็กไม่เห็นภาพก็ไม่เชื่อ
เพื่อต้องการให้ น.ร.เห็น สภาพของพังผืด หรือการผิดรูป ไม่ว่าจะเป็นกระดูกหรือการห่อไหล่ ในการมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆและมีการทำต่อเนื่องสะสมในระยะยาว
น.ร จะได้เห็นความสำคัญในการที่นั่งให้หลังตรง
ขอบคุณมากค่ะ ต้องการมากค่ะ
มีนักเรียน ป.๑ ถึง ม.๖
ทุกวัน ไม่เว้นเสาร์อาทิคย์ มีกิจกรรมดังนี้
๐๖.๐๐ ถึง ๐๖.๓๐ น. มีการนั่งสมาธิ นั่งสวดมนต์ (ท่าที่ศาสนาพุทธกำหนด) นั่งฟังนิทานแฝงคติธรรม นั่งในท่าพับเพียบ
๑๙.๓๐ ถึง ประมาณ ๑๙.๔๐ น. มีการนั่งสมาธิ นั่งสวดมนต์
ในการนั่งของเด็กนักเรียนเกือบทุกคน มีการนั่งหลังไม่ตรง บ่าห่อไปข้างหน้า บางคนคอตก
มีความเป็นห่วงเด็กเล็ก เพราะเป็นการฝึกให้หลังห่อทุกวัน ทั้งเช้าและเย็น ทุกๆวัน ยกเว้น
โรงเรียนปิด
การเล่นกีฬาของ น.ร ก็คงไม่มาก คงมีตอนวิชาพละ นอกนั้นก็มีการเดินไปมา วิ่งเล่นในยามว่าง
ไม่ทราบคุณหมอท่านใดพอที่จะมี วีดีโอ หรือ ยูทูป หรือภาพโปสเตอร์(หาซื้อได้ที่ใด จะโอนเงินให้เป็นการฝากซื้อ) ดึงดูดความสนใจ เพราะพูดปากเปล่าอย่างเดียวเด็กไม่เห็นภาพก็ไม่เชื่อ
เพื่อต้องการให้ น.ร.เห็น สภาพของพังผืด หรือการผิดรูป ไม่ว่าจะเป็นกระดูกหรือการห่อไหล่ ในการมีพฤติกรรมที่ซ้ำๆและมีการทำต่อเนื่องสะสมในระยะยาว
น.ร จะได้เห็นความสำคัญในการที่นั่งให้หลังตรง
ขอบคุณมากค่ะ ต้องการมากค่ะ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4173
http://www.moneychannel.co.th/index.php ... 4-10-45-15๐ วิกฤตหนี้ยุโรป... ใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว
วันเผยแพร่ วันอังคาร, 24 กรกฎาคม 2555 17:45
กูรู เตือน นักลงทุนเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตหนี้ยุโรป เชื่อใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว ชี้ลงทุนหุ้น หรือ ทองคำ ก็มีความเสี่ยงเท่ากัน
นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ ให้สัมภาษณ์ใน money channel ว่า ภายใต้ความผันผวนทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศยูโรโซน ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้ นักลงทุนไม่ควรไว้วางใจหรือลงทุนในสินทรัพย์ใดมากเกินไป เพราะล้วนมีความเสี่ยงที่เท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นหุ้นหรือทองคำ
ทั้งนี้ หากจะเปรียบเทียบสถานการณ์วิกฤตการเงินในกลุ่มยูโรโซนในขณะนี้ กับวิกฤต Subprime ของสหรัฐฯที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปี 2551 จะเห็นได้ว่า ขณะนี้เป็นช่วงที่มีความอ่อนไหวของวิกฤติหนี้ยุโรป ที่ยังหาทางออกไม่ได้ โดยเฉพาะสเปน แต่มองว่า สถานการณ์ขณะนี้ใกล้ถึงจุดต่ำสุดแล้ว
นายกอบศักดิ์ ยังบอกด้วยว่า หลังจากนี้ไปปัญหาที่สะสมมาจากการถูกแก้ไขอย่างไม่ถูกตรงจุดจะค่อยๆ ปะทุ และ ลุกลาม จากสเปน ไป อิตาลี แม้ว่า อิตาลี จะดูมีสถานการณ์ที่ดีกว่า สเปน แต่มีหนี้สาธารณะสูงถึง 120% ต่อจีดีพี และหนี้ส่วนใหญ่หรือ มากกว่า 50% กู้มาจาก ฝรั่งเศส ซึ่งถ้า อิตาลี มีปัญหา ฝรั่งเศส จะได้รับผลกระทบตามไปด้วย
ส่วนกรีซก็ยังไม่สามารถจะแก้ปัญหาหนี้สาธารณะในประเทศ แม้จะได้รับเงินช่วยเหลือมาแล้วก็ตาม ซึ่งผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เชื่อว่า ไม่ว่าเศรษฐกิจ กรีซ จะย่ำแย่เพียงใด ก็จะไม่ออกจากกลุ่มยูโรโซน ซึ่งปัญหาทั้งหมดก็จะกลายเป็นภาระของสมาชิกในกลุ่มยูโรโซนทั้งหมด
สำหรับแนวทางแก้ปัญหาที่จะช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น คือ การลดค่าเงินยูโร เพื่อให้กลุ่มประเทศยูโรโซนมีรายได้เพิ่มขึ้น และจะส่งผลให้มีความสามารถในการชำระหนี้ที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งน่าจะเป็นแนวทางที่ถูกต้องมากกว่าการกู้เงินจำนวนมากมาแก้ปัญหาหนี้สาธารณะ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4175
kunjoja เขียน:ลองเข้ามาดูบ้างเคยแต่แวะทักทายในห้องหมอเล่นหุ้นในเฟสบุ้คเ่ทานั้น
ยินดีที่ได้รู้จักครับ คุณ kujoja
ถือโอกาสนี้แจ้งเพื่อนๆทุกคนครับ ตอนนี้การลงบทความของทีมงานเราจะเน้นไปลงที่ห้อง บทความโดยตรงแล้วนะครับ เราจะไม่ลงที่ห้อง value เช่นเดิมแล้วนะครับ
เพื่อนๆตามเข้าไปดูได้เลยครับ ตอนนี้ทางสมาคมได้รับเกียรติจาก นักลงทุนและนักเขียนที่มีชื่อเสียงหลายท่านในการนำมาลงบทความที่เวบไซต์ Thaivi แห่งนี้ครับ
http://board.thaivi.org/viewforum.php?f=7
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4176
เอาบทความใหม่ล่าสุดของ คุณธันวา นายกสมาคมของเรา ที่เขียนลงใน ประชาชาติธุรกิจ ฉบับล่าสุด
สำหรับผม ชอบมากเลยที่รู้ว่า ชัดเจนเลยว่ามีถึง 6 กลุ่มที่จะรู้ข้อมูลก่อนเราเสมอ และเลือกที่จะทำ หรือ ไม่ทำอะไรบางอย่างได้
ซึ่งเรียกกันง่ายๆว่า Insider Trading
สำหรับผม ชอบมากเลยที่รู้ว่า ชัดเจนเลยว่ามีถึง 6 กลุ่มที่จะรู้ข้อมูลก่อนเราเสมอ และเลือกที่จะทำ หรือ ไม่ทำอะไรบางอย่างได้
ซึ่งเรียกกันง่ายๆว่า Insider Trading
วันนี้ที่รอคอย / ธันวา เลาหศิริวงศ์
เวลานี้ถือว่าเป็นช่วง “วันที่รอคอย” ของนักลงทุนทั้งรายย่อย สถาบัน หรือนักลงทุนต่างชาติ เนื่องจากบริษัทจดทะเบียนเริ่มทยอยประกาศผลประกอบการรายไตรมาส โดยคาดหวังว่ากิจการที่ตนครอบครองนั้น จะมีผลประกอบการที่ดีส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทจ. 11/2552 “เรื่องหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการรายงานการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์” บริษัทจดทะเบียนทุกแห่งต้องรายงานงบการเงินรายไตรมาสที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้ว ภายใน 45 วันหลังจากวันสุดท้ายของแต่ละไตรมาส ในกรณีธนาคารพาณิชย์ต้องรายงานงบการเงินรายไตรมาสก่อนสอบทานภายใน 15 วัน สำหรับงบรายปีนั้น บริษัทจดทะเบียนต้องรายงานงบการเงินรายปีที่ผู้สอบบัญชีได้สอบทานแล้วภายใน 60 วันนับหลังจากวันสุดท้ายของปีของแต่ละบริษัท
ศูนย์พัฒนาการดูแลบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้จัดทำ “หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2549” โดยกล่าวว่า การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) หรือบรรษัทภิบาลที่ดี มีความสำคัญต่อบริษัทจดทะเบียน โดยแสดงให้เห็นถึงการมีระบบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท
การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นทุกราย ทั้งผู้ถือหุ้นที่เป็นผู้บริหารและผู้ถือหุ้นที่ไม่เป็นผู้บริหาร รวมทั้งผู้ถือหุ้นต่างชาติ ควรได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม คณะกรรมการควรมีมาตรการป้องกันกรณีที่กรรมการและผู้บริหารใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ (Abusive self-dealing) ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นอื่น เช่นการซื้อขายหลักทรัพย์โดยใช้ข้อมูลภายใน (Insider Trading) การนำข้อมูลภายในไปเปิดเผยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกรรมการและผู้บริหารซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม
หลังจากบริษัทส่งมอบสินค้าและบริการให้กับผู้ซื้ออย่างสมบูรณ์ (ownership transferred) ในวันสุดท้ายของไตรมาส มีบุคคล 6 กลุ่มที่ต้องรับรู้ผลการดำเนินงานก่อนรายงานมายังตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อเปิดเผยผลประกอบการแก่ผู้ถือหุ้นอย่างเป็นทางการดังนี้ กลุ่มแรก เจ้าหน้าที่ด้านบัญชีและการเงิน ทำหน้าที่บันทึกและปิดบัญชี งบการเงิน อย่างถูกต้องและครบถ้วน กลุ่มสอง ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน (CFO) และผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี การเงิน ต้องควบคุม ดูแลความถูกต้องของตัวเลขผลการดำเนินงานโดยรวม กลุ่มสาม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) กรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารระดับสูง ต้องได้รับรายงานข้อมูลทางการเงินและผลประกอบการเบื้องต้น กลุ่มสี่ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตและทีมตรวจสอบบัญชี ต้องสอบทานบัญชีและงบการเงิน ตลอดจนการรับรองความถูกต้องของงบการเงินของกิจการนั้น
กลุ่มห้า กรรมการตรวจสอบ ต้องได้รับงบการเงินผ่านการสอบทานจากผู้สอบบัญชีล่วงหน้า 1-3 วันเพื่อประชุม ซักถามข้อคิดเห็น ตรวจสอบประเด็นสำคัญ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลที่เหมาะสมและครบถ้วนกับผู้สอบบัญชีโดยตรง และกลุ่มสุดท้ายคือ คณะกรรมการบริษัททุกท่าน ต้องได้รับข้อมูลเพื่อการพิจารณาและรับรองงบการเงินและผลประกอบการในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ที่กล่าวมานั้นคือหลักการ ระเบียบการ กระบวนการทำงานก่อนที่บริษัทจะเผยแพร่ข้อมูลต่อสาธารณะ จะเห็นได้ว่ามีผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยทีเดียวที่ต้องรับรู้ผลประกอบการก่อนรายงานอย่างเป็นทางการ
ตลาดหลักทรัพย์ในประเทศพัฒนาแล้ว อย่างประเทศอเมริกาหรือกลุ่มประเทศแถบยุโรป หลายครั้งที่มีข่าวการดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและอาญากับผู้บริหารระดับสูงหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในการใช้ข้อมูลภายในเพื่อหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่นในทางมิชอบ ซึ่งเป็นโทษสถานหนักแทบทั้งสิ้น เนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นเกี่ยวข้องกับราคาหุ้น ส่งผลกระทบต่อผู้ถือหุ้นโดยรวมและมีผลให้มูลค่าตลาดของกิจการเปลี่ยนแปลง บริษัทจึงต้องเข้มงวดกับผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มอย่างมาก
สำหรับการจัดลำดับ “การกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทจดทะเบียน (CG Rating)” ของบรรษัทภิบาลแห่งชาตินั้น เป็นเรื่องน่ายินดีที่จำนวนบริษัทจดทะเบียนของไทยได้รับการจัดลำดับอยู่ในเกณฑ์ดี ดีมาก หรือดีเลิศเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังพบการเคลื่อนไหวของปริมาณซื้อขายและราคาไปในทิศทางเดียวกับผลการดำเนินงานของบริษัทก่อนการรายงานอย่างเป็นทางการ จึงเป็นข้อสังเกตและข้อสงสัยในความผิดปกติ มากกว่าความ “บังเอิญ” ที่มีการซื้อขายจากการคาดการณ์ผลประกอบการล่วงหน้า
หากมีประการณ์การลงทุนมาบ้าง จะพบว่ามีองค์ประกอบมากมายที่ทำให้ราคาหุ้นเปลี่ยนแปลง เช่น ราคาหุ้นลงแม้ผลประกอบการดี (sell on facts) หรือราคาหุ้นขึ้นแม้ผลประกอบการแย่ แต่ดีกว่าที่คาด จะเห็นว่า มีเรื่องจิตวิทยาเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากเช่นกัน ในฐานะ Value Investor นอกจากการเลือกกิจการยอดเยี่ยม มีศักยภาพในการแข่งขันและผลประกอบการที่ดีต่อเนื่องแล้ว ยังต้องเลือกกิจการที่ปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม พูดง่ายๆ คือเลือกลงสนามใน “เกมผู้ชนะ เกมที่ถนัด” และหลีกเลี่ยง “เกมที่เสียเปรียบ” เสมอ หากเลือกทำเช่นนี้ “วันที่รอคอย” ที่มาถึงก็จะเป็น “วันแห่งความสุข” ของเราอีกวันหนึ่ง
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4177
และก็บทความล่าสุดของ ดร. นิเวศน์ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=52819โลกในมุมมองของ Value Investor 28 กรกฎาคม 55
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
คุณค่าของความคลั่งไคล้
ผมอยู่ในวงการหุ้นและตลาดหุ้นมานาน สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตเห็นก็คือ หุ้นของบริษัทที่ผลิตและขายหรือให้บริการสินค้าที่ลูกค้าบางส่วนมีความนิยมสูงมาก หรือสูงขนาดที่เรียกว่า “คลั่งไคล้” หรือ “เสพติด” มักจะมีราคาดี คือมีค่า PE สูง และเป็นหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงต่อเนื่องยาวนาน ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยเมื่อเทียบกับหุ้นทั่ว ๆ ไป ลักษณะของบริษัทหรือสินค้าเหล่านี้ก็คือ มันมี “สาวก” ที่เหนียวแน่น พวกเขามีความต้องการสินค้าของบริษัทสูง พวกเขาอยากใช้สินค้าของบริษัทด้วยเหตุผลต่าง ๆ โดยเฉพาะเหตุผลทางด้านจิตใจมากกว่าสินค้าของบริษัทอื่นที่ขายสินค้าแบบเดียวกัน ความคลั่งไคล้ของสินค้าของบริษัทนั้น แสดงออกให้เห็นเวลาที่พวกเขาไปซื้อของ ผมไม่รู้จะอธิบายอย่างไร แต่เวลาเราเห็น เรามักจะรู้สึกได้ ลองมาดูกันว่าสินค้าประเภทไหนบ้างที่คน “คลั่งไคล้”
ก่อนอื่นผมอยากจะเริ่มจากผู้หญิงกับเด็ก เพราะนี่คือยอด “นักช้อป” และสินค้าที่พวกเขา คลั่งไคล้ก็คือสินค้าแฟชั่นที่สวยงามและแสดงสถานะที่เริดหรูและมี “มีระดับ” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็เช่น กระเป๋าถือของหลุยส์วิตตอง เสื้อผ้าของร้านที่มีชื่อเสียงออกแบบโดยนักออกแบบชื่อดัง เหล่านี้ ผู้หญิงจำนวนมากที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ต่างก็เรียกหาที่จะต้องมีไว้ครอบครอง บางครั้งแม้จะต้องเข้าคิวและ “ยื้อแย่ง” กันเพื่อจะได้คอลเล็คชั่นใหม่ที่เพิ่งจะออกมาก็ยอม ในส่วนของเด็กนั้น อาการของความคลั่งไคล้อาจจะไม่ติดยึดกับบริษัทมากเท่าตัวสินค้าและการสังเกตก็ต้องติดตามเป็นระยะเพราะมักจะมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว สินค้าที่พวกเขาคลั่งไคล้นั้น อาจจะเป็นตุ๊กตารุ่นใหม่ รองเท้ากีฬาบางแบบ เกมคอมพิวเตอร์ นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นร้านค้าหรือร้านอาหารที่เด็กจะร้องขอที่จะเข้าไปใช้บริการจนเราสังเกตได้ ในการที่จะติดตามหาสินค้าหรือบริษัทเหล่านี้ การสังเกตและใช้ “ความรู้สึก” จะช่วยให้เราได้พบหุ้นก่อนคนอื่น
ถัดจากผู้หญิงและเด็กก็คือ ผู้ชาย ซึ่งความคลั่งไคล้ก็อาจจะไม่สูงเท่าแต่พวกเขาก็ “ติด” อะไรหลาย ๆ อย่าง สินค้าแรกที่โดดเด่นมากก็คือ บุหรี่ นี่คือสุดยอดของสินค้าที่ทำเงิน “มโหฬาร” แม้ว่ากำลังถูก “ต่อต้าน” โดยภาครัฐและสังคมทั่วโลก สินค้าที่คนบางคนอาจจะติดแต่คนส่วนมากอาจจะแค่ “คลั่งไคล้” เล็กน้อยก็คือ เหล้าเบียร์และสินค้าที่มีแอลกอฮอล นี่ก็เป็นสินค้าที่คนดื่มอาจจะติดรสชาดของสินค้าบางยี่ห้อที่ทำให้มันมีค่าสูงกว่าปกติอย่างเช่นครั้งหนึ่งยี่ห้อจอห์นนี่วอคเกอร์ก็ค่อนข้างดังมากในประเทศย่านเอเซีย แต่เดี๋ยวนี้ผมเองก็ไม่ทราบว่าเป็นยี่ห้อไหน บางที เหล้าวอดก้ายี่ห้อ Grey Goose อาจจะกำลังเป็นที่คลั่งไคล้ของคนมีระดับก็เป็นได้ เพราะผมเคยเห็นมีการกล่าวถึงในนิยายหรือบทความหรือข่าวงานเลี้ยงในวงสังคมอยู่บ้างว่าเป็นเหล้าที่มีระดับ “สุดยอด” นอกจากเหล้าเบียร์แล้ว ผู้ชายก็อาจจะมีแนวโน้มที่ชอบหรือคลั่งไคล้การพนันและในเรื่องของการ “แข่งขัน” อย่างเช่น การชมและพนันการแข่งขันกีฬาต่าง ๆ เป็นต้น
กลุ่มสุดท้ายก็คือ คนทั่วไป โดยเฉพาะที่เป็นวัยรุ่นจนถึงอายุใกล้เกษียณ ความคลั่งไคล้ในระยะหลัง ๆ นี้ก็หนีไม่พ้นในเรื่องของเทคโนโลยีโดยเฉพาะที่เป็นการติดต่อไร้สาย นี่ดูเหมือนจะสังเกตได้ง่ายมาก ตัวอย่างเช่นสินค้าตระกูลไอทั้งหลายเช่นไอโฟนและไอแพด ความคลั่งไคล้นั้นเกิดทั่วโลกและเกิดใกล้ตัว ดังนั้น ไม่มีใครไม่รู้ แต่คนที่ตัดสินใจซื้อหุ้นก่อนที่งบการเงินของบริษัทแอปเปิลจะออกนั้น สามารถทำกำไรได้มหาศาล และหุ้นของบริษัทที่มีสินค้าที่คนคลั่งไคล้ทั่วโลกนี้ ได้กลายเป็นหุ้นที่มูลค่าสูงที่สุดในโลกหลังจากที่ผลิตสินค้าที่คนคลั่งไคล้ติดต่อกันมานานเพียงสิบกว่าปี พูดถึงเรื่องโทรศัพท์นี้ น่าจะยังคงจำได้ว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา บีบี ก็เป็นโทรศัพท์ที่คนคลั่งไคล้กันทั่วโลกเช่นกันเห็นได้จากดาราไทยที่ใช้กันเกือบทุกคน และในช่วงนั้น บริษัทที่ผลิตบีบีก็มีค่าสูงมาก แต่หลังจากที่กระแสของบีบีตกลงไป มูลค่าหุ้นก็ตกลงและบริษัทอาจจะกำลังมีปัญหาทางการเงินอยู่ในขณะนี้ ไหน ๆ ก็พูดแล้ว ซัมซุงเองก็มีแท็บเล็ตที่คนเริ่ม “คลั่งไคล้” อยู่เหมือนกันเห็นได้จากยอดขายที่สูงลิ่ว และนี่ก็เช่นกัน ทำให้บริษัทซัมซุงที่ผลิตมันกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในตลาดหุ้นเกาหลีในขณะนี้
ความคลั่งไคล้นั้น ไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดในระดับนานาชาติหรือแม้แต่ทั่วประเทศ มันอาจจะเป็นสินค้าของบริษัทเล็ก ๆ ในระดับท้องถิ่นก็ได้ ข้อสำคัญก็คือ เราต้องเห็นว่าสินค้านั้นมีกลุ่มคนที่ “คลั่งไคล้” และยอมจ่ายเงินซื้อ อาจจะสูงกว่าสินค้าแบบเดียวกัน เพื่อจะได้สินค้ามาใช้หรือมากิน ตัวอย่างที่ผมคิดว่าน่าจะมีลักษณะนี้ก็เช่น ช็อกโกแล็ตของ See’s Candy ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านขายขนมหวานและช็อกโกแล็ตที่บัฟเฟตต์ซื้อมาเป็นบริษัทแรก ๆ ที่บัฟเฟตต์ยอมจ่ายเงินซื้อหุ้นที่ “ไม่ถูก” และมีค่า PE สูงกว่าที่เขาเคยซื้อ เหตุผลของผมก็คือ ชอกโกแล็ตของ See’s นั้น มีราคาแพงมาก ดังนั้น คนที่ซื้อ โดยเฉพาะที่เป็นผู้หญิงนั้น น่าจะต้องติดหรือคลั่งไคล้สินค้าของบริษัท จึงได้ยอมซื้อมาตลอด เหนือสิ่งอื่นใด ขนมหวานนั้นก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่คนมักจะคลั่งไคล้ ผมยังจำได้ถึงครั้งหนึ่งที่มีโดนัทยี่ห้อหนึ่งจากมาเลเซียมาเปิดขายในเมืองไทยแล้วคนเข้าคิวซื้อกันยาวเหยียด ซึ่งหลังจากนั้นไม่นานคนก็เลิกเห่อและร้านที่ขายก็ปิดตัวลง แต่แล้วหลังจากนั้นไม่กี่ปีก็มีโดนัทยี่ห้อใหม่อีกยี่ห้อหนึ่งจากอเมริกาที่เข้ามาและทำให้คนคลั่งไคล้ต่ออาจจะถึงวันนี้ อย่างไรก็ตาม ความคลั่งไคล้ที่จบลงง่าย ๆ นั้น อาจจะไม่ให้คุณค่าอะไรมากนัก ดังนั้น เราจะต้องพยายามมองให้ออกว่าสินค้านั้นจะอยู่ทนได้แค่ไหน
คุณค่าของความคลั่งไคล้นั้น จะมากหรือน้อยคงต้องขึ้นอยู่กับระดับของความคลั่งไคล้ว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน ถ้ามากระดับที่เรียกว่า “เสพติด” เลย มันก็มีค่ามากขึ้น นอกจากนั้น ระยะเวลาที่คนจะคลั่งไคล้นั้นน่าจะยาวแค่ไหน ถ้ายาวมากอย่างที่เรียกว่าเกือบจะ “ถาวร” อย่างกรณีของ หลุยส์วิตตอง นั้น คุณค่าก็มากขึ้นมากเมื่อเทียบกับสินค้าอย่างอื่นที่อาจจะทำให้คนคลั่งไคล้เพียงชั่วครู่ชั่วยาม สุดท้ายก็คือ จำนวนคนที่คลั่งไคล้ ถ้ามีมากทั่วประเทศหรือทั่วโลก คุณค่าก็มากขึ้นตามจำนวนคน
คุณค่าของความคลั่งไคล้จะมากหรือน้อยก็จะสะท้อนออกมาจาก Profit Margin หรือกำไรต่อยอดขายที่จะสูงกว่าเมื่อเทียบกับบริษัทธรรมดาที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน แต่คุณค่าที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ตลาดจะให้ราคาหุ้นที่แพงกว่าบริษัทธรรมดามากวัดจากค่า PE ของหุ้นที่มีคนคลั่งไคล้ในผลิตภัณฑ์จะสูงกว่าบริษัทธรรมดามาก บางทีอาจจะสูงกว่าเท่าตัว เช่น ถ้า PE ของบริษัทที่ไม่มีอะไรโดดเด่นเท่ากับ 10 เท่า บริษัทที่มีคนคลั่งไคล้ในสินค้าสูงและต่อเนื่องยาวนานอาจจะมีค่า PE สูงถึง 20 เท่าเป็นต้น
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสามารถบอกได้ว่าสินค้าไหนหรือร้านไหนมีคนคลั่งไคล้ในช่วงต้น ๆ ที่จะทำให้เรามีโอกาสซื้อหุ้นก่อน เหตุผลก็คือ มันเป็นเรื่องที่ไม่มีใครทำเครื่องวัดหรือทำแบบสอบถามเพื่อทำวิจัยในสถานการณ์แบบนั้น เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องใช้ Sense หรือความรู้สึกเองเมื่อประสบกับคนที่ใช้สินค้าหรือบริการ อีกทางหนึ่งที่จะทำเงินกับบริษัทเหล่านั้นก็คือ ในบางสถานการณ์ที่ตลาดหุ้นตกต่ำหรือในบางช่วงที่บริษัทเหล่านั้นมีปัญหาทำให้หุ้นตกลงมามาก แต่เราดูแล้วว่าสินค้าของบริษัทยังได้รับความนิยมขนาดคลั่งไคล้อยู่ต่อไปได้ เราก็สามารถเข้าไปซื้อหุ้นแล้วรอให้ทุกอย่างกลับมาเป็นปกติ และนี่ก็คือวิธีทำเงินจากหุ้นที่คนคลั่งไคล้ในผลิตภัณฑ์
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4183
คนเราเกิดมาหนึ่งช่วงชีวิต จะมีได้สักกี่คนที่ทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตให้กับตัวเอง
นี่เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ไม่ได้บอกว่าการได้เหรียญทองโอลิมปิกเป็นที่สุดของชีวิต แต่การทำให้ได้ดีสม่ำเสมอและต่อเนื่องในระดับโลกเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
นี่เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น ไม่ได้บอกว่าการได้เหรียญทองโอลิมปิกเป็นที่สุดของชีวิต แต่การทำให้ได้ดีสม่ำเสมอและต่อเนื่องในระดับโลกเช่นนี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B5.htmlไมเคิล เฟลป์สอำลาโอลิมปิกอย่างสวยงามกวาดเหรียญทองที่ 18 และเหรียญรวมที่ 22
ในที่สุดไมเคิล เฟลป์ส ฉลามหนุ่มสหรัฐ ก็สามาถคว้าเหรียญทองเหรียญสุดท้าย ซึ่งเป็นเหรียญที่ 4 จากกีฬาโอลิมปิก ลอนดอน เกมส์ได้สำเร็จ ทำให้เป็นนักกีฬาที่ครองเหรียญโอลิมปิกมากที่สุดในประวัติศาสตร์รวม 22 เหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิก 3 สมัย
ไมเคิล เฟลป์ส สามารถปิดฉากอำลาการแข่งขันโอลิมปิกได้อย่างยิ่งใหญ่ โดยสามารถคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันว่ายผลัดผสม 4 x100 เมตรชายในวันสุดท้ายของกีฬาว่ายน้ำเมื่อวาน โดยทีมของเขาสามารถทำเวลาได้ 3 นาที 29.35 วินาที และในที่สุดเมื่อรวมตลอดการแข่งขันลอนดอน เกมส์ครั้งนี้เขากวาดไป 4 เหรียญทองและ 2 เหรียญเงินทำให้เขาเป็นนักกีฬาโอลิมปิกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยกวาดเหรียญได้มากที่สุดรวม 22 เหรียญจากการเข้าแข่งขันโอลิมปิก 3 สมัยนับตั้งแต่ปี 2547
ในจำนวนนี้ เป็นเหรียญทอง 18 เหรียญ ทำลายสถิติเดิมของ ลาริซ่า ลาตึนิน่า นักยิมนาสติกโซเวียต ที่เคยครองเหรียญโอลิมปิกมากที่สุดในโลกรวม 18 เหรียญ ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเหรียญทอง 9 เหรียญ
ฉลามหนุ่มวัย 27 ปี บอกไว้ในวันที่เขาได้เหรียญโอลิมปิกที่ 19 เมื่อวันพฤหัสบดีว่า เขาจะไม่เข้าร่วมการว่ายน้ำในโอลิมปิกอีก 4 ปีข้างหน้าแล้ว เพราะเขาเคยบอกกับตัวเองไว้ว่า ไม่อยากว่ายน้ำอีกแล้วตอนที่อายุ 30 ปี ล่าสุด เขาได้โพสต์ในทวิตเตอร์ว่า ถึงเวลาที่ต้องเดินหน้าต่อไป ยังมีอะไรอีกมากมายที่อยากทำในชีวิตนี้ อาจเป็นการเริ่มต้นด้วยการเป็นกรรมการว่ายน้ำ
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4184
พี่มุขแอบหลังไมค์มาถามว่าหายไปไหน
เพิ่งขึ้นเป็น senior year ครับ งาน + ความรับผิดชอบหนักขึ้นมาก ต้องปรับตัวพักใหญ่เลย แต่ตอนนี้เริ่มเข้าที่บ้างแล้ว คงกลับมาให้พี่ๆน้องๆได้เห็นหน้าค่าตากันครับ
เพิ่งขึ้นเป็น senior year ครับ งาน + ความรับผิดชอบหนักขึ้นมาก ต้องปรับตัวพักใหญ่เลย แต่ตอนนี้เริ่มเข้าที่บ้างแล้ว คงกลับมาให้พี่ๆน้องๆได้เห็นหน้าค่าตากันครับ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4187
ยินดีต้อนรับครับwigraipat เขียน:พึ่งมาเห็นกระทู้นี้คับปกติอ่านแต่คลังกระทู้คุณค่า ร้อยคนร้อยหุ้น VI
ขอมาแนะนำตัวน้องใหม่การลงทุนกับพี่ๆหมอด้วยกันน่ะคับ
Ladymoon wrote:
ยินดีต้อนรับเช่นกันครับ แวะมาแจมบ่อยๆนะครับ
สวัสดีค่ะ สมาชิกใหม่
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4188
บทความใหม่จาก นายกสมาคม คุณธันวา ครับ
หุ้นไทยไปโอลิมปิก
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=52926
หุ้นไทยไปโอลิมปิก
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=52926
- Fon^^
- Verified User
- โพสต์: 604
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4189
สวัสดีพี่ๆทุกคนค่ะ
ฝนไม่ได้แวะเวียนเข้าเวปมานาน ห่างหายไปจากวงการหุ้น
รู้สึกตัวเองเหมือน เมืองไทยประกันชีวิต
"ดำน้ำ ปีนเขา ล่องแก่ง กิน เที่ยว เดินทาง เรียนภาษา อ่านหนังสือ วิ่ง ฟิตเนส ว่ายน้ำ บลาๆๆๆๆ"
วันนี้เข้ามาอ่าน ไม่รู้จะเริ่มไปห้องใหน
คิดถึงห้องนี้ห้องแรกเลยค่ะ
ช่วงนี้งบออกเยอะมาก ดูกันตาลายไปหมดเลยค่ะ
ฝนไม่ได้แวะเวียนเข้าเวปมานาน ห่างหายไปจากวงการหุ้น
รู้สึกตัวเองเหมือน เมืองไทยประกันชีวิต
"ดำน้ำ ปีนเขา ล่องแก่ง กิน เที่ยว เดินทาง เรียนภาษา อ่านหนังสือ วิ่ง ฟิตเนส ว่ายน้ำ บลาๆๆๆๆ"
วันนี้เข้ามาอ่าน ไม่รู้จะเริ่มไปห้องใหน
คิดถึงห้องนี้ห้องแรกเลยค่ะ
ช่วงนี้งบออกเยอะมาก ดูกันตาลายไปหมดเลยค่ะ
ผิดหนึ่งพึงจดไว้.....ในสมอง
เร่งระวังผิดสอง.....ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก.....เพื่อนเอย
ถึงสี่อีกทีห้า.....หกซ้ำ อภัยไฉน
เร่งระวังผิดสอง.....ภายหน้า
สามผิดเร่งคิดตรอง จงหนัก.....เพื่อนเอย
ถึงสี่อีกทีห้า.....หกซ้ำ อภัยไฉน
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4192
สวัสดีครับ
เข้ามาแนะนำตัวครับ
เคยเล่น Thaivi เมื่อสมัย 3 ปีที่แล้วก่อนไปเรียน
พอเรียนเด้นท์ก็ห่างหายไปนาน ส่วนพอร์ตก็ค่อยๆลดขนาดลงตามเวลาที่ใกล้สอบบอร์ด
และล้างพอร์ตทิ้งทั้งหมด 6 เดือนก่อนสอบครับ
ตอนนี้ชีวิตเข้าสู่ช่วง specialty แล้ว กำลังจะกลับมาลงทุนใหม่
ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
เข้ามาแนะนำตัวครับ
เคยเล่น Thaivi เมื่อสมัย 3 ปีที่แล้วก่อนไปเรียน
พอเรียนเด้นท์ก็ห่างหายไปนาน ส่วนพอร์ตก็ค่อยๆลดขนาดลงตามเวลาที่ใกล้สอบบอร์ด
และล้างพอร์ตทิ้งทั้งหมด 6 เดือนก่อนสอบครับ
ตอนนี้ชีวิตเข้าสู่ช่วง specialty แล้ว กำลังจะกลับมาลงทุนใหม่
ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4193
ยินดีต้อนรับครับjonykeano เขียน:สวัสดีครับ
เข้ามาแนะนำตัวครับ
เคยเล่น Thaivi เมื่อสมัย 3 ปีที่แล้วก่อนไปเรียน
พอเรียนเด้นท์ก็ห่างหายไปนาน ส่วนพอร์ตก็ค่อยๆลดขนาดลงตามเวลาที่ใกล้สอบบอร์ด
และล้างพอร์ตทิ้งทั้งหมด 6 เดือนก่อนสอบครับ
ตอนนี้ชีวิตเข้าสู่ช่วง specialty แล้ว กำลังจะกลับมาลงทุนใหม่
ขอฝากเนื้อฝากตัวด้วยครับ
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4194
ช่วงนี้มีเหตุการณ์หลายอย่างผ่านเข้ามาให้เราต้องขบคิด ต้องตั้งสติ ต้องผ่านมันไปให้ได้
นึกถึงเพลงๆหนึ่ง เอามาไว้เตือนตัวเอง
เห็นว่าเพื่อนๆหลายคนก็เคยมีเหตุการณ์ทำนองนี้ เลยเอามาฝากพร้อมเอาเนื้อร้องดีๆมาฝากด้วยครับ
จริงๆก็ใช้คำง่ายๆว่า ปล่อยมันไป หรือไม่ก็ ช่างมันเถอะ
ขอให้เพื่อนๆชมรมหมอ VI ก็ปล่อยหลายๆเรื่องในชีวิต มันไปบ้างนะครับ ปลงๆกันบ้าง สบายใจ
Let It Be
When I find myself in times of trouble, Mother Mary comes to me
Speaking words of wisdom, let it be
And in my hour of darkness she is standing right in front of me
Speaking words of wisdom, let it be
Let it be, let it be, let it be, let it be
Whisper words of wisdom, let it be
And when the broken hearted people living in the world agree
There will be an answer, let it be
For though they may be parted, there is still a chance that they will see
There will be an answer, let it be
Let it be, let it be, let it be, let it be
There will be an answer, let it be
Let it be, let it be, let it be, let it be
Whisper words of wisdom, let it be
Let it be, let it be, let it be, let it be
Whisper words of wisdom, let it be
And when the night is cloudy there is still a light that shines on me
Shine until tomorrow, let it be
I wake up to the sound of music, Mother Mary comes to me
Speaking words of wisdom, let it be
Let it be, let it be, let it be, yeah, let it be
There will be an answer, let it be
Let it be, let it be, let it be, yeah, let it be
Whisper words of wisdom, let it be
นึกถึงเพลงๆหนึ่ง เอามาไว้เตือนตัวเอง
เห็นว่าเพื่อนๆหลายคนก็เคยมีเหตุการณ์ทำนองนี้ เลยเอามาฝากพร้อมเอาเนื้อร้องดีๆมาฝากด้วยครับ
จริงๆก็ใช้คำง่ายๆว่า ปล่อยมันไป หรือไม่ก็ ช่างมันเถอะ
ขอให้เพื่อนๆชมรมหมอ VI ก็ปล่อยหลายๆเรื่องในชีวิต มันไปบ้างนะครับ ปลงๆกันบ้าง สบายใจ
Let It Be
When I find myself in times of trouble, Mother Mary comes to me
Speaking words of wisdom, let it be
And in my hour of darkness she is standing right in front of me
Speaking words of wisdom, let it be
Let it be, let it be, let it be, let it be
Whisper words of wisdom, let it be
And when the broken hearted people living in the world agree
There will be an answer, let it be
For though they may be parted, there is still a chance that they will see
There will be an answer, let it be
Let it be, let it be, let it be, let it be
There will be an answer, let it be
Let it be, let it be, let it be, let it be
Whisper words of wisdom, let it be
Let it be, let it be, let it be, let it be
Whisper words of wisdom, let it be
And when the night is cloudy there is still a light that shines on me
Shine until tomorrow, let it be
I wake up to the sound of music, Mother Mary comes to me
Speaking words of wisdom, let it be
Let it be, let it be, let it be, yeah, let it be
There will be an answer, let it be
Let it be, let it be, let it be, yeah, let it be
Whisper words of wisdom, let it be
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4195
เอาบทความ ดร.นิเวศน์มาฝากครับ
ดร.นิเวศน์ ต้นตำรับ VI เปิดสูตรปั้นพอร์ตพันล้าน
สไตล์การลงทุนแบบ "นักลงทุนหุ้นคุณค่า" หรือ "Value Investor" ที่เรียก VI พร่หลายวันนี้ หนึ่งในกูรูต้นแบบ VI คือ "ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร" ซึ่งรู้กันว่าเข้ามาเล่นหุ้นเต็มตัวตั้งแต่หลังวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 และสร้างผลตอบแทนได้กว่า 10% ต่อปี ว่ากันว่าวันนี้มีพอร์ตใหญ่หลักพันล้าน "ประชาชาติธุรกิจ" ได้มีโอกาสพูดคุยมานำเสนอดังนี้
"ดร.นิเวศน์" เล่าว่า เดิมในช่วงปี 2538-2539 ใช้กลยุทธ์ซื้อขายเก็งกำไร เน้นหุ้นธุรกิจการเงินที่สภาพคล่องสูง และลงทุนตามกระแสข่าวที่เป็นข้อมูลวงใน ซึ่งเป็นช่วงที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะฟองสบู่ทั้งภาคอสังหาริมทรัพย์ และไฟแนนซ์ที่เฟื่องฟู บรรยากาศเอื้อต่อการเก็งกำไร
"ในช่วงแรก ๆ ผมเคยซื้อขายเก็งกำไรเทรดทุกเดือนเล่นหุ้นไฟแนนซ์ สภาพคล่องสูง และบางครั้งก็ลงทุนตามข้อมูลที่เรารู้มา คิดว่าเป็นข้อมูลแบบที่ไม่มีใครรู้ แต่เอาเข้าจริง ๆ เขาก็รู้กันหมดแล้ว ดังนั้นการลงทุนแบบนี้ก็ไม่ทำให้รวย ได้แค่เสมอตัวหรือขาดทุนนิดหน่อยเท่านั้น"
หลังเกิดวิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ดร.นิเวศน์ออกจากงาน ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ผลักดันให้เดินเข้าสู่ถนนสายการลงทุนอย่างเต็มตัว และเปลี่ยนแนวคิดจากการลงทุนแบบ "เล่นหุ้น" โดยใช้เงินสะสมทั้งชีวิตกว่า 10 ล้านบาท ซื้อหุ้นในตลาดเพื่อหาผลตอบแทนเลี้ยงครอบครัว
พอร์ตลงทุนของเขาคือ จะเป็นหุ้นราคาถูก มีแนวโน้มการเติบโตของกิจการอยู่ในเกณฑ์ดี สามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ ถือเป็นแนวคิดที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะแม้จะถือหุ้นอยู่เฉย ๆ แต่ก็ยังได้เงินปันผลเข้าพอร์ตต่อเนื่อง จนทำให้ผลตอบแทนทบเงินต้นปีแล้วปีเล่า สะสมเป็นพอร์ตขนาดใหญ่ขึ้น
"ตอนนั้นการลงทุนของผมเป็นการลงทุนที่พนันด้วยชีวิต ถ้าผิดพลาดก็จะลำบาก ผมจึงมีแนวคิดว่า ต้องเน้นหุ้นราคาถูกที่พื้นฐานดี จ่ายปันผลต่อเนื่องปีละ 10% ซื้อโดยไม่หวังจะขายต่อ เพราะถึงขายก็ไม่มีคนซื้อเนื่องจากตลาดตอนนั้นไม่ดี ผลลัพธ์ของแนวทางนี้คือผมเจอขุมทรัพย์ เลยต้องซื้อหุ้นต่อไปตัวแล้วตัวเล่า"
อย่างไรก็ตาม ตลาดหุ้นไม่ได้อยู่นิ่งกับที่ เศรษฐกิจไทยในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ในตลาดหลักทรัพย์ฯก็ได้รับปัจจัยบวก ซึ่งสะท้อนมาที่ผลประกอบการ สร้างความมั่นใจการซื้อขาย ทำให้ราคาหุ้นไทยในภาพรวมปรับตัวสูงขึ้น
"แต่เดิมความถูกของราคาหุ้นเป็นเรื่องสำคัญลำดับต้น ๆ แต่ตอนนี้ต้องเปลี่ยนวิธีคิด หันมาเน้นหุ้นที่มีคุณภาพสูงแทน เพราะต้องยอมรับว่าราคาหุ้นบ้านเราไม่ได้ถูกมากแล้ว ดังนั้น VI ก็ต้องปรับ เหมือนว่าถ้าเจอเพชร ถึงแพงก็ต้องซื้อ"
แม้จะต้องซื้อหุ้นแพงขึ้น แต่นักลงทุนควรพิจารณาปัจจัยอื่น ได้แก่ 1.ธุรกิจนั้นเป็นกิจการที่มีอนาคตจะโตต่อไปหรือไม่ 2.บริษัทมีฐานะทางการตลาดอย่างไร และแม้จะเป็นผู้นำครองอันดับ 1 แต่ก็ต้องดูด้วยว่าใหญ่กว่าอันดับ 2 แค่ไหน 3.ฐานะของกิจการ เช่น มีหนี้สินหรือไม่ มากน้อยแค่ไหน และมีความสามารถสร้างกำไรปีละเท่าไหร่ เป็นต้น
กลุ่มหุ้นที่ "ดร.นิเวศน์" ชื่นชอบ ได้แก่ ธุรกิจที่เกี่ยวกับโมเดิร์นเทรด (ห้างสรรพสินค้าและไฮเปอร์มาร์เก็ต)
http://www.prachachat.net/news_detail.p ... catid=0900
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4196
บทความตอนใหม่ของ คุณธันวา ครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=52997
ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ/ธันวา เลาหศิริวงศ์
“ที่นี่น้ำไม่ท่วม ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ” คือคำโฆษณาบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่เห็นเด่นชัดบนป้ายขนาดใหญ่ริมถนนวิภาวดีรังสิต ข้อความดังกล่าวบ่งบอกถึงความมั่นใจและความเชื่อมั่นของบริษัทหรือผู้บริหารว่า จะสามารถบริหารจัดการเรื่องน้ำได้อย่างแน่นอน หรือพูดง่ายๆ คือ ผู้ที่กำลังตัดสินใจซื้อไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วมเพราะ “เอาอยู่” นั่นเอง
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นตลอดเวลาในโลกแม้บางเหตุการณ์อาจเกิดขึ้นด้วยความบังเอิญ แต่เราลองมาดูความเปลี่ยนแปลงที่อยู่ในข่าย “ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ” ผ่านกรณีศึกษาต่อไปนี้ ประเทศเกาหลีใต้มีการพัฒนาเชิงบวกเกือบทุกด้านในรอบไม่กี่สิบปีที่ผ่านมา ภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่ได้สนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมสำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเลคทรอนิคส์ โทรศัพท์มือถือ ภาพยนตร์ เกมส์ออนไลน์ ท่องเที่ยว อาหาร ศัลยกรรมเสริมความงาม การเต้นแบบเกาหลี และการเผยแพร่วัฒนธรรมของประเทศในรูปแบบต่างๆ จนได้รับการยอมรับและมีอิทธิพลต่อสังคมโลกมากขึ้น ประเทศเกาหลีใต้มีขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ใหญ่เป็นลำดับที่ 11 ของโลกแม้มีประชากรเพียง 50 ล้านคน และได้รับความไว้วางใจในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1988 เป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศญี่ปุ่นจัดการแข่งขันฟุตบอลโลกปี 2002 นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังมีนักกีฬาระดับเหรียญรางวัลกีฬาโอลิมปิก และผลงานในกีฬาฟุตบอลอยู่ในระดับแถวหน้าของโลกอีกด้วย
ประเทศสิงคโปร์ ประกาศเอกราชในปี ค.ศ. 1965 มีประชากรเพียง 5 ล้านกว่าคน แต่มีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับสองของโลกอันเนื่องมาจากขนาดพื้นที่และลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเกาะ แม้มีข้อจำกัดและไม่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติมากนักแต่สิงคโปร์มีขนาดผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ถึงครึ่งหนึ่งของไทยโดยอยู่ในอันดับที่ 38 ของโลก สถาบัน IMD ได้จัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับที่ 4 ของโลก สิงคโปร์มีความโดดเด่นเรื่องความปลอดภัย สาธารณูปโภค ระบบขนส่งมวลชน ศูนย์กลางทางการเงิน ที่ตั้งของสำนักงานภูมิภาคของบริษัทระดับโลก มีการพัฒนาแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างๆ เช่น ยูนิเวอร์แซล สตูดิโอ คาสิโน การแข่งขันรถฟอร์มูล่าวัน รวมทั้งมีสายการบินชั้นนำของโลกเพื่อความสะดวกในการเดินทางเข้าออกประเทศอีกด้วย การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาของทั้งประเทศเกาหลีใต้และประเทศสิงคโปร์นั้นเป็นเพียงตัวอย่างของประเทศในโลกที่ “ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ” เลย
Amazon.com (AMZN) เริ่มต้นธุรกิจหนังสือออนไลน์ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1994 ปัจจุบันกลายเป็นร้านค้าปลีกออนไลน์ที่ครอบคลุมผลิตภัณฑ์สินค้านานาชนิดที่ใหญ่ที่สุดและให้บริการผู้ซื้อทั่วโลก จุดเด่นที่สำคัญได้แก่ ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์สินค้าและอุปกรณ์หนังสืออิเลคทรอนิคส์ (kindle) ด้วยราคาที่สมเหตุสมผล ความสะดวก ปลอดภัย และบริการต่างๆ ที่ร่วมกับพันธมิตรธุรกิจ มียอดขาย 3 ปีย้อนหลังคือปี 2009, 2010 และ 2011 เติบโตก้าวกระโดดอย่างต่อเนื่องที่ 24.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ 34.2 พันล้าน และ 48.0 พันล้านเหรียญตามลำดับ ส่งผลให้ราคาหุ้นเพิ่มจากหุ้นละ 1.5 เหรียญในปี 1997 เป็น 233 เหรียญในปัจจุบันและมีมูลค่าตลาดสูงถึง 105,200 ล้านเหรียญในเวลาไม่ถึง 20 ปี
วอร์เรน บัฟเฟตต์ ประสบความสำเร็จในการลงทุนแบบเน้นคุณค่าอย่างมากนับตั้งแต่ปี ค.ศ.1965 ผ่าน บริษัทเบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ (BRK) สร้างผลตอบแทนทบต้นเฉลี่ยที่ 19.8% เอาชนะดัชนี S&P รวมเงินปันผลที่ 9.2% ตลอดเวลา 46 ปีของการลงทุน สร้างผลตอบแทนและความมั่งคั่งให้ผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น 513,055 % (ห้าแสนหนึ่งหมื่นสามพันห้าสิบห้าเปอร์เซ็นต์) เทียบกับ 6,397% (หกพันสามร้อยเก้าสิบเจ็ดเปอร์เซ็นต์) ของดัชนี S&P โดยมี 3 กลยุทธ์สำคัญคือ การเลือกกิจการที่ยอดเยี่ยม (Stock Selection) (Focus Investment) และการถือหุ้นของกิจการเป็นเวลานาน (Period of Investment) สรุปก็คือ พัฒนาการที่โดดเด่นและความสำเร็จของทั้ง Amazon.com และบริษัท เบิร์กไชร์ แฮทธาเวย์ของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็น่าจะ “ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ” เช่นกัน
บริษัทจดทะเบียนของไทยจำนวนไม่น้อยที่สร้างความมั่งคั่งและผลตอบแทนหลายเท่าตัวหรือ “หลายเด้ง” ให้กับผู้ถือหุ้นในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผลประกอบการที่ดีขึ้นและโดดเด่นนั้นเริ่มจากวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร กลยุทธ์ทางธุรกิจ การบริหารจัดการและการทำให้เกิดผลจริง เมื่อนักลงทุนเชื่อมั่นกับศักยภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจของกิจการในระยะยาว ก็จะส่งผลสะท้อนมายังราคาหุ้นและมูลค่าตลาดของกิจการโดยรวม ความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันของกำไรต่อหุ้นและราคาหุ้นเป็นเครื่องพิสูจน์ได้อย่างดีว่า ราคาหุ้นที่เพิ่ม “หลายเด้ง”นั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ ถ้ากิจการมีผลประกอบยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง ก็ต้องนับว่า “ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ” ที่ราคาหุ้นจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างยั่งยืนเช่นกัน
ทั้งหมดนั้นเป็นกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในอดีต ในทางการลงทุนนั้น ผลตอบแทนที่ผ่านมาไม่ได้การันตีผลตอบแทนในอนาคต นักลงทุนบางคนซื้อหุ้นด้วยความ “บังเอิญ” นำมาซึ่งผลตอบแทนที่น่าทึ่ง แม้เป็นเรื่องที่น่ายินดีแต่อาจยังไม่น่า “ภูมิใจ” นักเพราะอาจจะเป็นการทำกำไรเพียงครั้งคราว หน้าที่ของ Value Investor จึงต้องเสาะแสวงหากิจการที่ “ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ” ในราคาปัจจุบันว่ามีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of Safety) มากน้อยเพียงใด หากผ่านเกณฑ์หรือเงื่อนไขลงทุนของตนก็ซื้อและถือไว้ให้นานที่สุด สุดยอด VI พันธุ์แท้ หรือ “VI สายดำ” นั้น ล้วนหมั่นฝึกฝนวิชาการลงทุนทั้งด้านปรัชญา แนวคิด แนวทาง จิตวิทยาการลงทุน และวิถีการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อผลตอบแทนที่ “ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ” ในการลงทุนนั่นเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 842
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4197
มาแสดงความยินดีด้วยครับ
เป็นเซเลปไปซะแระ
คุณหมอพอลวีไอของพวกเรา
ผมลงลิ้งค์ไม่เป็นนะครับ ข่าวจากนสพ.
จะพยามก้าวตามทางสู่อิสรภาพทางการเงินนะครับ
ขอบคุณล่วงหน้าที่คอยดูแลแนวคิด
+สุขภาพทางการเงินของพวกเราและสมาชิกท่านอื่นๆ
อย่าลืมเลคเชอร์+รีวิวเปเปอร์ให้อ่านบ่อยๆนะครับ
เป็นเซเลปไปซะแระ
คุณหมอพอลวีไอของพวกเรา
ผมลงลิ้งค์ไม่เป็นนะครับ ข่าวจากนสพ.
จะพยามก้าวตามทางสู่อิสรภาพทางการเงินนะครับ
ขอบคุณล่วงหน้าที่คอยดูแลแนวคิด
+สุขภาพทางการเงินของพวกเราและสมาชิกท่านอื่นๆ
อย่าลืมเลคเชอร์+รีวิวเปเปอร์ให้อ่านบ่อยๆนะครับ
samatah
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ชมรมหมอ VI
โพสต์ที่ 4199
จาก 'เสื้อกาวน์' สู่ 'เซียนหุ้นวีไอ''นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, August 20, 2012 05:38
ใครๆ ก็ฝันอยากมีอิสระในการเลือกใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ ภายใต้สภาวะความมั่นคงทางการเงิน
หนึ่งในนั้น คือ "หมอมุข" นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อดีตหมอสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหาความหมาย Financial Freedom
ปัจจุบันเขาค้นพบปลายทางของจุดหมาย "อิสรภาพทางการเงิน" อยู่บนถนนสายตลาดหุ้นที่เขาเลือกเดิน !!
กับการก้าวสู่เซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้า
เปิดตัวคุณหมอนักลงทุน 'นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ' ผู้มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหา Financial Freedom จากแพทย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ก้าวสู่เซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้า
"หมอมุข" นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อดีตหมอสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหาความหมาย Financial Freedom ความคิดนี้วนเวียนอยู่ในสมองของเขา! หลังเล่นหุ้นแบบไม่มีหลักการมานานหลายปี...ปัจจุบันนายแพทย์ประมุขในวัย 43 ปี ค้นพบปลายทางของจุดหมาย "อิสรภาพทางการเงิน" อยู่บนถนนสายตลาดหุ้นที่เขาเลือกเดิน!!
ไม่เพียงเขาเป็นหนึ่งในเซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้านพ.ประมุขยังมีบทบาทเป็นอุปนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) เจ้าของล็อกอิน Paul vi ในเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" ที่สมาชิกรู้จักดี
เขาจบแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 98 รุ่นเดียวกับ นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลวิภาวดี ผู้พัฒนาเว็บไซต์ http://www.thaiclinic.com รวมถึง นพ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลบางสะพานน้อย เจ้าของรางวัลแพทย์ชนบท ดีเด่นประจำปี 2553 หลังเรียนจบไปประจำที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ แถวหนองแขม ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ให้อยู่แผนกสูติ-นรีเวช ส่วนภรรยาที่เรียนแพทย์ มาด้วยกันประจำอยู่แผนกเด็ก ทำงานเพียง 3 ปี ก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นเวลา 3 ปี ส่วนภรรยาก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางภาควิชากุมารเวช- ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี คุณหมอนักลงทุนย้อนประวัติการการศึกษาให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เหตุผลที่เลือกเรียนคณะสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นวิชาที่รวมทั้งการผ่าตัดและยาเข้าด้วยกัน ไม่ได้เน้นด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างจากภาควิชาอายุรกรรม หรือภาคอายุรศาสตร์ที่จะมีความเป็นวิชาการสูงมาก
"ช่วงหนึ่งผมเคยชื่นชอบภาควิชา หู คอ จมูก เป็นวิชาที่มีความถนัดมากที่สุด เรียนแพทย์เคยได้เหรียญทองแดง 3 วิชา (เหรียญทองแดงเป็นเหรียญที่มีคะแนนสอบสูงสุด) แบ่งเป็นสาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก เหรียญนี้ได้ตอนเรียนปี 3 และภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา (หู คอ จมูก) ได้ตอนเรียนปี 5 และสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (การป้องกันโรค และป้องกันการบาดเจ็บ) ได้ช่วงเรียนปี 6"
หลังจบแพทย์เฉพาะทาง นพ.ประมุข ไปทำงานที่โรงพยาบาลกลาง แผนกสูติ-นรีเวช ทำได้เพียงครึ่งปี ก็ถูกส่งตัวไปช่วยงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ส่วนภรรยาแยกไปทำงานที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ก่อนจะกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ เพราะโรงพยาบาลขาดแคลนแพทย์ ทำได้ 3 ปี ก็ลาออกมาเปิดคลินิกในต่างจังหวัดเกี่ยวกับสูติ-นรีเวช
"ผมเปิดคลินิกมาแล้ว 18 ปี (ไม่บอกชื่อคลินิก) ส่วนภรรยาก็ทำงานในโรงพยาบาลประมาณ 10 ปี ก่อนจะลาออกมาเปิดคลินิกส่วนตัวเกี่ยวกับหมอเด็ก เปิดมาแล้ว 6-7 ปี คลินิกของเรา 2 คน อยู่ห่างกันไม่มาก เหตุผลที่ลาออกเพราะอยากเป็น "นายตัวเอง" ช่วงที่ออกมาเปิดคลินิกส่วนตัวก็รับเป็นที่ปรึกษาตามโรงพยาบาลเอกชน 2-3 แห่ง สัปดาห์ละ 1 วัน ทำงานวันละ 4 ชั่วโมง ตอนนี้ไม่ได้รับงานเป็นที่ปรึกษาแล้ว"
สำหรับจุดเริ่มต้นที่ก้าวเข้ามาในตลาดหุ้น คุณหมอ เล่าว่า สนใจมาตั้งแต่ปี 2534 ช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย สมัยยังเป็นนักศึกษาแพทย์ก็คิดแล้วว่าอยากทำงานอิสระ ไม่อยากมีเจ้านาย มีเงินสักก้อนอยากลงทุนทำเงินให้งอกเงยตอนนั้นก็มองไว้หลายอย่าง..สุดท้ายมองว่าลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด "ช่วงนั้นผมเริ่มไปหาหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการลงทุนมาอ่าน ยังไม่มีพอคเก็ตบุ๊คเกี่ยวกับการลงทุนให้อ่านมากเหมือนสมัยนี้ บางครั้งก็อาศัยถามรุ่นพี่ ถามเพื่อนที่เขาลงทุนอยู่แล้ว จำได้ว่าเคยถามเพื่อนว่าตัวเลขสีเขียวๆ แดงๆ ที่วิ่งอยู่ตามหน้าจอโทรทัศน์มันคืออะไร..ผมศึกษาข้อมูลต่างๆ จนคิดว่ารู้แน่นปึก หลังจบออกมาทำงานเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็ไปเปิดพอร์ตลงทุนจำได้ว่าปี 2535 ทุนเริ่มต้น "หลักหมื่นบาท" ช่วงนั้นยังเล่นหุ้นแบบไม่มีข้อมูล ซื้อหุ้นตาม สตอรี่ และไม่สนใจดูงบการเงิน เน้นลงทุนระยะสั้น 3 วัน 7 วัน นานสุด 1 เดือน"
ประสบการณ์เล่นหุ้นช่วงแรกกำไรครั้งละ 5-10% สูงสุด 20% บางตัวเคยกำไรสูงถึง 80-90% แต่มาเสียหนักตรงที่ยึดนโยบาย "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน" (หัวเราะ) เคยขาดทุนวอร์แรนท์ตัวหนึ่งถือไว้นานจนราคาหุ้นแทบจะกลายเป็น "ศูนย์"
"ครั้งหนึ่งผมเคยขาดทุนหุ้น บงล.เอกชาติ ตอนนั้นเจ็บใจมากซื้อมาหมื่นกว่าหุ้น มาร์เก็ตติ้งบอกหุ้นตัวนี้ดีมาก ตอนแรกๆ ราคาขึ้นมา ก็คิดว่าน่าจะสูงกว่านี้ พอหุ้นลงก็คิดอีกว่าเดี๋ยวมันขึ้นมาใหม่ สุดท้ายราคาก็ลงเรื่อยๆ จนทำให้จำนวนเงินในพอร์ตหายไปประมาณ 80-90%"
บทเรียนการขาดทุนครั้งนั้นทำให้ นพ.ประมุข มีความคิดว่าการลงทุนในหุ้นเหมือน "เล่นพนัน" ดีๆ นี่เอง ลงทุนแบบไร้ทิศทางอยู่ 2-3 ปี ก็ "ถอยออกมา" ช่วงนั้นต้องออกมาเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง แต่ก็มีซื้อหุ้นปันผลและเก็บหุ้นที่ขาดทุนติดพอร์ตไว้ 2-3 ตัว จากปกติจะถือประมาณ 20 ตัว
"ทุกครั้งที่นึกย้อนกลับไปในช่วงที่เลิกลงทุน ผมถือว่าเป็นคนที่ "โชคดีมาก" (ลากเสียงยาว) เพราะช่วงนั้นเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าขืนลงทุนต่อชีวิตผมคงต้องเดือดร้อนแน่นอน"
หลังเรียนจบแพทย์เฉพาะทางปี 2541 หมอหนุ่มก็ยังไม่คิดจะกลับมาลงทุน ช่วงนั้นตลาดหุ้นซึมๆ ซื้อขายวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท โบรกเกอร์ถึงขนาดนั่งตบยุง ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าการที่ตลาดหุ้นเป็นแบบนี้มันเหมาะมากที่จะหาซื้อหุ้นดีๆ เป็นอย่างยิ่ง!!! กว่าที่จะกลับมามองตลาดหุ้นอีกครั้งก็ปี 2544
การกลับมาครั้งนี้ นพ.ประมุข พัฒนาตัวเองโดยหาหนังสือแนวธุรกิจและการลงทุนมาอ่าน เล่มหนึ่ง "พ่อรวยสอนลูก" ของ โรเบิร์ต คิโยซากิ ที่สอนว่าเงินมี 4 แบบ คือ 1.E (Employee) เงินเดือนที่ได้จากการทำงานให้กับกิจการที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ ข้อนี้..ผมไม่ชอบ ข้อ 2.S (Self-Employed) กิจการส่วนตัวหรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ข้อ 3.B (Business Owner) เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่หรือเจ้าของบริษัท สุดท้าย คือ I (Investor) นักลงทุน
ในหนังสือเขาจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ซ้ายมือ จะเป็น E กับ S เป็นด้านที่อยู่ในวนเวียนของกับดักหนู คือ ไม่มีทางได้พบอิสระทางการเงิน ส่วนขวามือ คือ B กับ I หลายคนทำอยู่ด้วยการให้เงินเป็นคนทำงาน ซึ่งข้อ 4 "ถูกใจ" ผมมากที่สุด และช่วงนั้นเป็น "แฟนคลับ" ของ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ผู้ก่อตั้งชมรมคนออมเงิน ซื้อหนังสือของอาจารย์มาอ่านเกือบทุกเล่ม และก็เป็น แฟนคลับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เพราะทันทีที่อาจารย์ ออกหนังสือ "ตีแตก" ก็ซื้อมาอ่าน..อ่านจบก็ปิ๊งๆ ๆ เลย
ก่อนจะหันมาลงทุนแนว VI ช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลง นพ.ประมุข ยังคงลงทุนระยะสั้นเหมือนเดิม เพียงแต่จะมีหลักการมากขึ้น โดยเริ่มวิเคราะห์กิจการและแนวโน้มธุรกิจ หลังวิกฤติปี 2540 เริ่มจะมองออกว่าธุรกิจอะไรจะ "รุ่ง" ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาท อ่อนตัวโดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับส่งออกดีมาก ช่วงนั้นบอกตรงๆ งบการเงินไม่ดูเลย ไม่รู้เรื่อง เป็น "ไม้เบื่อ ไม้เมา" อ่านทีไรหลับทุกที (หัวเราะ)
"แม้ไม่ค่อยสนใจงบการเงิน แต่ผมก็ได้กำไรเกือบทุกตัว ส่วนใหญ่เล่นหุ้น "พิมพ์นิยม" กลุ่มแบงก์ และพลังงาน ฯลฯ เอากำไรไม่มาก 10-20% ตอนนั้นเริ่มมีหลักการ จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามตลาด เชื่อหรือไม่! ผมไม่ขาดทุนเลย เล่นหลักการแบบนี้จนถึงปี 2547 วันหนึ่งผมกลับมานอนคิดว่า ถ้าเรายังลงทุนแบบนี้ต่อไป ก็คงไม่ต่างอะไรจากการซื้อมาขายไป ไม่ใช่นักลงทุนที่ แท้จริง สุดท้ายจะมีอิสรภาพทางการเงินได้อย่างไร ทำให้ต้องกลับมาค้นหาเส้นทางสู่ Financial Freedom ใหม่อีกครั้ง"
นพ.ประมุข เริ่มมาดูเรื่องการลงทุนใหม่ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นกู้ สุดท้ายก็รู้ว่าตัวเองไม่ถนัดอสังหาริมทรัพย์ เป็นคนหน้าบางทวงเงินใครไม่เป็น และไม่ใช่นักต่อรอง จึงหันไปลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 3-5% ของพอร์ต เพื่อกระจายความเสี่ยง เลือกลงทุน 3 กองทุนที่จ่ายเงินปันผลทุกไตรมาส ถึงปัจจุบันได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% โดยไม่เคยนำเงินปันผลมาใช้ มีแต่นำไป "ทบต้น"
นอกจากนี้ เมื่ออยากเจอกับคำว่า "อิสระทางการเงิน" ก็เป็นแฟนคอลัมน์ Value Way ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ BizWeek เขียนโดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ และ มนตรี นิพิฐวิทยา ที่เอามาลงในเว็บไซต์ พออ่านแล้วรู้สึก "ตรงใจ" ยิ่งได้มาอ่านหนังสือ "ตีแตก" ยิ่งตอกย้ำเลยว่า "ใช่"
ช่วงแรกๆ หมอแทบ "ถอดใจ" ในเว็บไซต์พูดถึงแต่เรื่องงบการเงินที่ตัวเองไม่ถนัด ไม่รู้เรื่องเลย แต่โชคดีมีเพื่อนนักลงทุนคอยให้กำลังใจตลอด ทุกคนพูดว่า "มาใหม่ๆ ก็เป็นแบบนี้แหละ" จึงตัดสินใจ "ฮึด" ใหม่อีกครั้ง คราวนี้ไปหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับงบการเงินและวิเคราะห์ธุรกิจมาอ่านหลายเล่มมาก มีหนังสือของ ดร.นิเวศน์ 3-4 เล่ม กวาดมาหมด หนังสือ One Up On Wall Street ของ ปีเตอร์ ลินช์ และหนังสือแนวคิดของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ หนังสือที่แปลโดย พรชัย รัตนนนทชัยสุข หน้า 400-500 หน้า อ่านจบภายในระยะเวลาไม่นาน พออ่านมากๆ ทำให้รู้ถึงแก่นแท้ของแนวทางวีไอมากขึ้น
คุณหมอ บอกว่า หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนแนว VI จะสอนให้เราดูตัวเลขการเงินสำคัญๆ ไม่จำเป็นต้องดู ทุกตัว แรกๆ จะสอนให้เราดูง่ายๆ ก่อน เช่น P/E, P/BV เมื่อเริ่มยากขึ้นเขาจะสอนให้ดูอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราส่วนราคาต่อผลกำไรสุทธิต่อหุ้นเทียบกับการเพิ่มของผลกำไร (PEG Ratio)
"เมื่ออ่านจบทำให้ผมรู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องเก่งตัวเลขทางการเงินทุกตัว การเป็นนักลงทุนแนว VI ที่ดี ไม่จำเป็นต้องเก่งบัญชี แต่ให้เน้นมองภาพใหญ่ของธุรกิจให้ออก "อาจารย์นิเวศน์" ยังเคยบอกว่า ตัวเขาก็ไม่ได้ดูงบการเงิน เป็นทุกตัว เน้นดูแนวโน้มธุรกิจ"
เรื่องราวของ นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ ยังไม่จบ!!! สัปดาห์หน้าตามต่อ "เทคนิคการลงทุน" เขามีกลยุทธ์อย่างไรจึงค้นพบ Financial Freedom โดยเฉพาะในปี 2554 มีกำไรจากการลงทุนสูงถึง 75%
"ช่วงปี 2541 ตลาดหุ้นซึมๆ ซื้อขายวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท โบรกเกอร์ถึงขนาดนั่งตบยุง ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าการที่ตลาดหุ้นเป็นแบบนี้มันเหมาะมากที่จะหาซื้อหุ้นดีๆ เป็นอย่างยิ่ง!!!"
บรรยายใต้ภาพ
นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B4.html
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, August 20, 2012 05:38
ใครๆ ก็ฝันอยากมีอิสระในการเลือกใช้ชีวิตอย่างที่ตัวเองต้องการ ภายใต้สภาวะความมั่นคงทางการเงิน
หนึ่งในนั้น คือ "หมอมุข" นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อดีตหมอสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์
มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหาความหมาย Financial Freedom
ปัจจุบันเขาค้นพบปลายทางของจุดหมาย "อิสรภาพทางการเงิน" อยู่บนถนนสายตลาดหุ้นที่เขาเลือกเดิน !!
กับการก้าวสู่เซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้า
เปิดตัวคุณหมอนักลงทุน 'นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ' ผู้มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหา Financial Freedom จากแพทย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ก้าวสู่เซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้า
"หมอมุข" นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ อดีตหมอสูติ-นรีเวช โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ มุ่งมั่นออกเดินทางเพื่อค้นหาความหมาย Financial Freedom ความคิดนี้วนเวียนอยู่ในสมองของเขา! หลังเล่นหุ้นแบบไม่มีหลักการมานานหลายปี...ปัจจุบันนายแพทย์ประมุขในวัย 43 ปี ค้นพบปลายทางของจุดหมาย "อิสรภาพทางการเงิน" อยู่บนถนนสายตลาดหุ้นที่เขาเลือกเดิน!!
ไม่เพียงเขาเป็นหนึ่งในเซียนหุ้นวีไอชั้นแนวหน้านพ.ประมุขยังมีบทบาทเป็นอุปนายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย) เจ้าของล็อกอิน Paul vi ในเว็บไซต์ "ไทยวีไอ" ที่สมาชิกรู้จักดี
เขาจบแพทย์ศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 98 รุ่นเดียวกับ นพ.ธเนศ พัวพรพงษ์ ศัลยแพทย์ โรงพยาบาลวิภาวดี ผู้พัฒนาเว็บไซต์ http://www.thaiclinic.com รวมถึง นพ.สมพงษ์ พัฒนกิจไพโรจน์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลบางสะพานน้อย เจ้าของรางวัลแพทย์ชนบท ดีเด่นประจำปี 2553 หลังเรียนจบไปประจำที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ แถวหนองแขม ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ให้อยู่แผนกสูติ-นรีเวช ส่วนภรรยาที่เรียนแพทย์ มาด้วยกันประจำอยู่แผนกเด็ก ทำงานเพียง 3 ปี ก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางเกี่ยวกับภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นเวลา 3 ปี ส่วนภรรยาก็ลาออกไปเรียนต่อแพทย์เฉพาะทางภาควิชากุมารเวช- ศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดี คุณหมอนักลงทุนย้อนประวัติการการศึกษาให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เหตุผลที่เลือกเรียนคณะสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา เป็นวิชาที่รวมทั้งการผ่าตัดและยาเข้าด้วยกัน ไม่ได้เน้นด้านใดด้านหนึ่ง แตกต่างจากภาควิชาอายุรกรรม หรือภาคอายุรศาสตร์ที่จะมีความเป็นวิชาการสูงมาก
"ช่วงหนึ่งผมเคยชื่นชอบภาควิชา หู คอ จมูก เป็นวิชาที่มีความถนัดมากที่สุด เรียนแพทย์เคยได้เหรียญทองแดง 3 วิชา (เหรียญทองแดงเป็นเหรียญที่มีคะแนนสอบสูงสุด) แบ่งเป็นสาขาวิชาพยาธิวิทยาคลินิก เหรียญนี้ได้ตอนเรียนปี 3 และภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา (หู คอ จมูก) ได้ตอนเรียนปี 5 และสาขาเวชศาสตร์ป้องกัน (การป้องกันโรค และป้องกันการบาดเจ็บ) ได้ช่วงเรียนปี 6"
หลังจบแพทย์เฉพาะทาง นพ.ประมุข ไปทำงานที่โรงพยาบาลกลาง แผนกสูติ-นรีเวช ทำได้เพียงครึ่งปี ก็ถูกส่งตัวไปช่วยงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ส่วนภรรยาแยกไปทำงานที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล ก่อนจะกลับมาทำงานที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ เพราะโรงพยาบาลขาดแคลนแพทย์ ทำได้ 3 ปี ก็ลาออกมาเปิดคลินิกในต่างจังหวัดเกี่ยวกับสูติ-นรีเวช
"ผมเปิดคลินิกมาแล้ว 18 ปี (ไม่บอกชื่อคลินิก) ส่วนภรรยาก็ทำงานในโรงพยาบาลประมาณ 10 ปี ก่อนจะลาออกมาเปิดคลินิกส่วนตัวเกี่ยวกับหมอเด็ก เปิดมาแล้ว 6-7 ปี คลินิกของเรา 2 คน อยู่ห่างกันไม่มาก เหตุผลที่ลาออกเพราะอยากเป็น "นายตัวเอง" ช่วงที่ออกมาเปิดคลินิกส่วนตัวก็รับเป็นที่ปรึกษาตามโรงพยาบาลเอกชน 2-3 แห่ง สัปดาห์ละ 1 วัน ทำงานวันละ 4 ชั่วโมง ตอนนี้ไม่ได้รับงานเป็นที่ปรึกษาแล้ว"
สำหรับจุดเริ่มต้นที่ก้าวเข้ามาในตลาดหุ้น คุณหมอ เล่าว่า สนใจมาตั้งแต่ปี 2534 ช่วงสงครามอ่าวเปอร์เซีย สมัยยังเป็นนักศึกษาแพทย์ก็คิดแล้วว่าอยากทำงานอิสระ ไม่อยากมีเจ้านาย มีเงินสักก้อนอยากลงทุนทำเงินให้งอกเงยตอนนั้นก็มองไว้หลายอย่าง..สุดท้ายมองว่าลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะตอบโจทย์ได้ทั้งหมด "ช่วงนั้นผมเริ่มไปหาหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับการลงทุนมาอ่าน ยังไม่มีพอคเก็ตบุ๊คเกี่ยวกับการลงทุนให้อ่านมากเหมือนสมัยนี้ บางครั้งก็อาศัยถามรุ่นพี่ ถามเพื่อนที่เขาลงทุนอยู่แล้ว จำได้ว่าเคยถามเพื่อนว่าตัวเลขสีเขียวๆ แดงๆ ที่วิ่งอยู่ตามหน้าจอโทรทัศน์มันคืออะไร..ผมศึกษาข้อมูลต่างๆ จนคิดว่ารู้แน่นปึก หลังจบออกมาทำงานเก็บเงินได้ก้อนหนึ่งก็ไปเปิดพอร์ตลงทุนจำได้ว่าปี 2535 ทุนเริ่มต้น "หลักหมื่นบาท" ช่วงนั้นยังเล่นหุ้นแบบไม่มีข้อมูล ซื้อหุ้นตาม สตอรี่ และไม่สนใจดูงบการเงิน เน้นลงทุนระยะสั้น 3 วัน 7 วัน นานสุด 1 เดือน"
ประสบการณ์เล่นหุ้นช่วงแรกกำไรครั้งละ 5-10% สูงสุด 20% บางตัวเคยกำไรสูงถึง 80-90% แต่มาเสียหนักตรงที่ยึดนโยบาย "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน" (หัวเราะ) เคยขาดทุนวอร์แรนท์ตัวหนึ่งถือไว้นานจนราคาหุ้นแทบจะกลายเป็น "ศูนย์"
"ครั้งหนึ่งผมเคยขาดทุนหุ้น บงล.เอกชาติ ตอนนั้นเจ็บใจมากซื้อมาหมื่นกว่าหุ้น มาร์เก็ตติ้งบอกหุ้นตัวนี้ดีมาก ตอนแรกๆ ราคาขึ้นมา ก็คิดว่าน่าจะสูงกว่านี้ พอหุ้นลงก็คิดอีกว่าเดี๋ยวมันขึ้นมาใหม่ สุดท้ายราคาก็ลงเรื่อยๆ จนทำให้จำนวนเงินในพอร์ตหายไปประมาณ 80-90%"
บทเรียนการขาดทุนครั้งนั้นทำให้ นพ.ประมุข มีความคิดว่าการลงทุนในหุ้นเหมือน "เล่นพนัน" ดีๆ นี่เอง ลงทุนแบบไร้ทิศทางอยู่ 2-3 ปี ก็ "ถอยออกมา" ช่วงนั้นต้องออกมาเรียนต่อแพทย์เฉพาะทาง แต่ก็มีซื้อหุ้นปันผลและเก็บหุ้นที่ขาดทุนติดพอร์ตไว้ 2-3 ตัว จากปกติจะถือประมาณ 20 ตัว
"ทุกครั้งที่นึกย้อนกลับไปในช่วงที่เลิกลงทุน ผมถือว่าเป็นคนที่ "โชคดีมาก" (ลากเสียงยาว) เพราะช่วงนั้นเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง ถ้าขืนลงทุนต่อชีวิตผมคงต้องเดือดร้อนแน่นอน"
หลังเรียนจบแพทย์เฉพาะทางปี 2541 หมอหนุ่มก็ยังไม่คิดจะกลับมาลงทุน ช่วงนั้นตลาดหุ้นซึมๆ ซื้อขายวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท โบรกเกอร์ถึงขนาดนั่งตบยุง ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าการที่ตลาดหุ้นเป็นแบบนี้มันเหมาะมากที่จะหาซื้อหุ้นดีๆ เป็นอย่างยิ่ง!!! กว่าที่จะกลับมามองตลาดหุ้นอีกครั้งก็ปี 2544
การกลับมาครั้งนี้ นพ.ประมุข พัฒนาตัวเองโดยหาหนังสือแนวธุรกิจและการลงทุนมาอ่าน เล่มหนึ่ง "พ่อรวยสอนลูก" ของ โรเบิร์ต คิโยซากิ ที่สอนว่าเงินมี 4 แบบ คือ 1.E (Employee) เงินเดือนที่ได้จากการทำงานให้กับกิจการที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของ ข้อนี้..ผมไม่ชอบ ข้อ 2.S (Self-Employed) กิจการส่วนตัวหรือเจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก ข้อ 3.B (Business Owner) เจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่หรือเจ้าของบริษัท สุดท้าย คือ I (Investor) นักลงทุน
ในหนังสือเขาจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ซ้ายมือ จะเป็น E กับ S เป็นด้านที่อยู่ในวนเวียนของกับดักหนู คือ ไม่มีทางได้พบอิสระทางการเงิน ส่วนขวามือ คือ B กับ I หลายคนทำอยู่ด้วยการให้เงินเป็นคนทำงาน ซึ่งข้อ 4 "ถูกใจ" ผมมากที่สุด และช่วงนั้นเป็น "แฟนคลับ" ของ ดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ผู้ก่อตั้งชมรมคนออมเงิน ซื้อหนังสือของอาจารย์มาอ่านเกือบทุกเล่ม และก็เป็น แฟนคลับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เพราะทันทีที่อาจารย์ ออกหนังสือ "ตีแตก" ก็ซื้อมาอ่าน..อ่านจบก็ปิ๊งๆ ๆ เลย
ก่อนจะหันมาลงทุนแนว VI ช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลง นพ.ประมุข ยังคงลงทุนระยะสั้นเหมือนเดิม เพียงแต่จะมีหลักการมากขึ้น โดยเริ่มวิเคราะห์กิจการและแนวโน้มธุรกิจ หลังวิกฤติปี 2540 เริ่มจะมองออกว่าธุรกิจอะไรจะ "รุ่ง" ได้ประโยชน์จากค่าเงินบาท อ่อนตัวโดยเฉพาะธุรกิจเกี่ยวกับส่งออกดีมาก ช่วงนั้นบอกตรงๆ งบการเงินไม่ดูเลย ไม่รู้เรื่อง เป็น "ไม้เบื่อ ไม้เมา" อ่านทีไรหลับทุกที (หัวเราะ)
"แม้ไม่ค่อยสนใจงบการเงิน แต่ผมก็ได้กำไรเกือบทุกตัว ส่วนใหญ่เล่นหุ้น "พิมพ์นิยม" กลุ่มแบงก์ และพลังงาน ฯลฯ เอากำไรไม่มาก 10-20% ตอนนั้นเริ่มมีหลักการ จิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวไปตามตลาด เชื่อหรือไม่! ผมไม่ขาดทุนเลย เล่นหลักการแบบนี้จนถึงปี 2547 วันหนึ่งผมกลับมานอนคิดว่า ถ้าเรายังลงทุนแบบนี้ต่อไป ก็คงไม่ต่างอะไรจากการซื้อมาขายไป ไม่ใช่นักลงทุนที่ แท้จริง สุดท้ายจะมีอิสรภาพทางการเงินได้อย่างไร ทำให้ต้องกลับมาค้นหาเส้นทางสู่ Financial Freedom ใหม่อีกครั้ง"
นพ.ประมุข เริ่มมาดูเรื่องการลงทุนใหม่ๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ และหุ้นกู้ สุดท้ายก็รู้ว่าตัวเองไม่ถนัดอสังหาริมทรัพย์ เป็นคนหน้าบางทวงเงินใครไม่เป็น และไม่ใช่นักต่อรอง จึงหันไปลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ประมาณ 3-5% ของพอร์ต เพื่อกระจายความเสี่ยง เลือกลงทุน 3 กองทุนที่จ่ายเงินปันผลทุกไตรมาส ถึงปัจจุบันได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10% โดยไม่เคยนำเงินปันผลมาใช้ มีแต่นำไป "ทบต้น"
นอกจากนี้ เมื่ออยากเจอกับคำว่า "อิสระทางการเงิน" ก็เป็นแฟนคอลัมน์ Value Way ใน นสพ.กรุงเทพธุรกิจ BizWeek เขียนโดย วิบูลย์ พึงประเสริฐ และ มนตรี นิพิฐวิทยา ที่เอามาลงในเว็บไซต์ พออ่านแล้วรู้สึก "ตรงใจ" ยิ่งได้มาอ่านหนังสือ "ตีแตก" ยิ่งตอกย้ำเลยว่า "ใช่"
ช่วงแรกๆ หมอแทบ "ถอดใจ" ในเว็บไซต์พูดถึงแต่เรื่องงบการเงินที่ตัวเองไม่ถนัด ไม่รู้เรื่องเลย แต่โชคดีมีเพื่อนนักลงทุนคอยให้กำลังใจตลอด ทุกคนพูดว่า "มาใหม่ๆ ก็เป็นแบบนี้แหละ" จึงตัดสินใจ "ฮึด" ใหม่อีกครั้ง คราวนี้ไปหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับงบการเงินและวิเคราะห์ธุรกิจมาอ่านหลายเล่มมาก มีหนังสือของ ดร.นิเวศน์ 3-4 เล่ม กวาดมาหมด หนังสือ One Up On Wall Street ของ ปีเตอร์ ลินช์ และหนังสือแนวคิดของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ หนังสือที่แปลโดย พรชัย รัตนนนทชัยสุข หน้า 400-500 หน้า อ่านจบภายในระยะเวลาไม่นาน พออ่านมากๆ ทำให้รู้ถึงแก่นแท้ของแนวทางวีไอมากขึ้น
คุณหมอ บอกว่า หนังสือเกี่ยวกับการลงทุนแนว VI จะสอนให้เราดูตัวเลขการเงินสำคัญๆ ไม่จำเป็นต้องดู ทุกตัว แรกๆ จะสอนให้เราดูง่ายๆ ก่อน เช่น P/E, P/BV เมื่อเริ่มยากขึ้นเขาจะสอนให้ดูอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น (ROE) อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (ROA) และอัตราส่วนราคาต่อผลกำไรสุทธิต่อหุ้นเทียบกับการเพิ่มของผลกำไร (PEG Ratio)
"เมื่ออ่านจบทำให้ผมรู้ว่า เราไม่จำเป็นต้องเก่งตัวเลขทางการเงินทุกตัว การเป็นนักลงทุนแนว VI ที่ดี ไม่จำเป็นต้องเก่งบัญชี แต่ให้เน้นมองภาพใหญ่ของธุรกิจให้ออก "อาจารย์นิเวศน์" ยังเคยบอกว่า ตัวเขาก็ไม่ได้ดูงบการเงิน เป็นทุกตัว เน้นดูแนวโน้มธุรกิจ"
เรื่องราวของ นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ ยังไม่จบ!!! สัปดาห์หน้าตามต่อ "เทคนิคการลงทุน" เขามีกลยุทธ์อย่างไรจึงค้นพบ Financial Freedom โดยเฉพาะในปี 2554 มีกำไรจากการลงทุนสูงถึง 75%
"ช่วงปี 2541 ตลาดหุ้นซึมๆ ซื้อขายวันละ 1,000-2,000 ล้านบาท โบรกเกอร์ถึงขนาดนั่งตบยุง ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าการที่ตลาดหุ้นเป็นแบบนี้มันเหมาะมากที่จะหาซื้อหุ้นดีๆ เป็นอย่างยิ่ง!!!"
บรรยายใต้ภาพ
นพ.ประมุข วงศ์ธนะเกียรติ--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%B4.html