บางจาก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
pushish
Verified User
โพสต์: 60
ผู้ติดตาม: 0

บางจาก

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ผมว่า บางจาก น่าสนใจเหมือนกันนะครับ
ใครมีอะไร comment หรือเปล่าครับ
ที่ 1000 / 053 / 2548

7 มีนาคม 2548

เรื่อง คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547
เรียน กรรมการและผู้จัดการ
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สำเนาเรียน ผู้อำนวยการฝ่ายจดทะเบียนหลักทรัพย์
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
สิ่งที่ส่งมาด้วย คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุด
วันที่ 31 ธันวาคม 2547

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
ได้สนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ มีการจัดทำคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ทุกไตรมาสเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถเข้าใจฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทได้ดียิ่งขึ้นนอกเหนือ
จากข้อมูลตัวเลขในงบการเงิน อีกทั้งเพื่อให้ผู้ลงทุนได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจลงทุนในหลักทรัพย์
ของบริษัท ตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (GOOD GOVERNANCE) ในเรื่องการให้ความสำคัญต่อการ
เปิดเผยข้อมูลนั้น

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียนหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์
ได้ให้ความสำคัญต่อการดำเนินกิจการอย่างโปร่งใสตามแนวนโยบายบรรษัทภิบาล จึงได้จัดทำ
และใคร่ขอนำส่งคำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับปี
สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547 ดังรายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถือ


(นายปฏิภาณ สุคนธมาน)
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่

สำนักแผนกิจการและนักลงทุนสัมพันธ์
โทร. 0 -2335-4583

คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2547

ข้อมูลทั่วไป

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2528 โดย
รัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ โดยมุ่งหมายให้ดำเนินการแบบเอกชน
และเป็นบริษัทน้ำมันของคนไทยที่ดำเนินกิจการสอดคล้องกับประโยชน์ของคนไทยและสังคมไทย

ปัจจุบันบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป ทั้งค้าปลีกและค้าส่ง และบริหารกิจการ
โรงกลั่นน้ำมันขนาด 120,000 บาเรลต่อวัน ซึ่งก่อสร้างใหม่ทดแทนหน่วยเดิม โดยหน่วยกลั่นล่าสุด
แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2536 การออกแบบกระบวนการกลั่นเน้นการผลิตได้น้ำมันสะอาด ประหยัดพลังงาน
และให้ผลผลิตสูง อีกทั้ง บริษัทฯ มีการขยายเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันออกไปประมาณ 1,100 แห่ง
ทั่วประเทศ โดยเป็นสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ประมาณ 600 แห่ง และปั๊มชุมชนขนาดเล็ก
ประมาณ 500 แห่ง

ภาพรวมธุรกิจปี 2547

สำหรับปี 2547 เศรษฐกิจในภูมิภาคเติบโตอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีผลต่อความต้องการใช้น้ำมัน
และค่าการกลั่นที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการใช้น้ำมันเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรม
ปิโตรเคมี ส่งผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี
โดยน้ำมันดิบดูไบซึ่งเป็นน้ำมันดิบอ้างอิงของตะวันออกกลางปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.5 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาเรล
และน้ำมันดิบทาปีสซึ่งเป็นน้ำมันดิบอ้างอิงของตะวันออกไกลปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11.0 ดอลลาร์สรอ.ต่อบาเรล
ส่วนสภาวะการแข่งขันในประเทศมีแนวโน้มผ่อนคลายลงจากปีที่ผ่านมาจากการเจริญเติบโตของสภาวะเศรษฐกิจ
ในประเทศอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับภาครัฐได้ใช้นโยบายตรึงราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลให้การแข่งขันด้านราคา
ในตลาดสถานีบริการลดลงอย่างเด่นชัด ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้เร่งปริมาณการกลั่นและจำหน่ายในทุกช่องทาง
เพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯได้เร่งปริมาณการส่งน้ำมันเตาไปเพิ่มมูลค่า
ที่โรงกลั่นอื่นเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับบริษัทฯ

1. คำอธิบายและวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสำหรับปี 2547 เปรียบเทียบปี 2546

1.1 การวิเคราะห์กำไรขาดทุน
1) ผลการดำเนินงานปี 2547 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิรวมจำนวน 2,636 ล้านบาท
ประกอบด้วยผลกำไรของบริษัท บางจากฯ จำนวน 2,613 ล้านบาท และผลกำไรของบริษัท บางจากกรีนเนท
26 ล้านบาท แต่หักกำไรระหว่างกัน 2 ล้านบาท

2) ผลการดำเนินงานบริษัท บางจากฯ มี EBITDA 4,089 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ 1,553 ล้านบาท อยู่
2,536 ล้านบาท เป็นผลมาจากปัจจัยหลักดังต่อไปนี้
- EBITDA จากธุรกิจโรงกลั่น 3,456 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 906 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2547
บริษัทฯ มีค่าการกลั่น (ไม่รวมกำไรจากสต๊อกน้ำมัน) 1.75 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ
1.41 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นตามสภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและ
มีความต้องการใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาน้ำมันเบนซิน
และดีเซลปรับตัวขึ้นสูงกว่าการปรับตัวขึ้นของน้ำมันดิบ ประกอบกับ ได้มีการร่วมมือในกิจกรรมเพิ่มรายได้
และลดต้นทุนร่วมกับบริษัทน้ำมันอื่นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีกำไรจากสต๊อกน้ำมันจำนวน
2,176 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 52 ล้านบาท จากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น
อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี ส่งผลให้ในปี 2547 ค่าการกลั่นรวมอยู่ที่ระดับ 3.50 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล
โดยการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับ 90 พันบาเรลต่อวัน สูงกว่าปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 74 พันบาเรลต่อวัน

- EBITDA จากธุรกิจการตลาด 633 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อนเล็กน้อยที่อยู่ที่ระดับ 647 ล้านบาท
เนื่องจากในปี 2547 บริษัทฯ มีค่าการตลาด (ไม่รวมน้ำมันเครื่องบิน) อยู่ที่ระดับ 43 สตางค์ต่อลิตร
สูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 39 สตางค์ต่อลิตร ทั้งนี้เป็นผลมาจากการตรึงราคาน้ำมันของภาครัฐ
ส่งผลให้การแข่งขันด้านราคาลดลง แต่อย่างไรก็ตามบริษัทฯ มีผลขาดทุนจากการขายน้ำมันเครื่องบิน จำนวน
37 ล้านบาท เนื่องจากสูตรราคาขายน้ำมันเครื่องบิน จะใช้ราคาน้ำมันเครื่องบินเฉลี่ยเดือนก่อนหน้า
ในขณะที่ต้นทุนขายที่ธุรกิจการตลาดซื้อจากธุรกิจโรงกลั่นเป็นราคาน้ำมันเครื่องบินในเดือนส่งมอบนั้นๆ
ส่งผลให้ในช่วงที่ราคาน้ำมันเครื่องบินมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น การจำหน่ายน้ำมันเครื่องบินจะมีผลขาดทุน
แต่ในทางกลับกันหากเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันเครื่องบินเริ่มคงที่หรือลดลง บริษัทฯ ก็จะมีกำไรกลับมาเช่นกัน
ดังนั้น จากปัจจัยข้างต้น ค่าการตลาดน้ำมันสำเร็จรูปรวมในปี 2547 อยู่ที่ระดับ 0.36 บาทต่อลิตร
ใกล้เคียงกับปีก่อน แต่ปริมาณการจำหน่ายในตลาดบางจากเพิ่มขึ้นเป็น 55.9 พันบาเรลต่อวัน
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่อยู่ที่ระดับ 51.6 พันบาเรลต่อวัน

1.2 การวิเคราะห์รายได้
รายได้รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 80,189 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ของบริษัท บางจากฯ
จำนวน 79,207 ล้านบาท และรายได้ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 7,229 ล้านบาท
ในรายได้ดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 6,247 ล้านบาท โดยรายได้ของบริษัท บางจากฯ
ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ

1) รายได้จากการขายจำนวน 78,902 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 18,087 ล้านบาท
เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นรวม 17.6% และราคาขายน้ำมันเฉลี่ย
เพิ่มขึ้น 14.8% (ราคาน้ำมันเฉลี่ย 11.62 บาท/ลิตร เทียบกับ 10.12 บาท/ลิตร)

2) กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 128 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 165 ล้านบาท
โดยเป็นกำไรอัตราแลกเปลี่ยนจากเจ้าหนี้การค้า 139 ล้านบาท และเป็นขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากอื่นๆ
12 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทจาก 39.7 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2546
เป็น 39.2 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ณ สิ้นปี 2547

3) ในงวดบัญชีปี 2547 บริษัทฯ ได้ทำการปรับปรุงผลขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์จำนวน 47 ล้านบาท
เนื่องจากในปี 2546 บริษัทฯ ได้ทำการด้อยค่าสินทรัพย์ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นสถานีบริการน้ำมัน
ที่ไม่ได้เปิดดำเนินการ โดยในปี 2547 บริษัทฯ ได้นำสถานีบริการน้ำมันที่ไม่ได้เปิดดำเนินการดังกล่าวบางแห่ง
มาให้ผู้ประกอบการเป็นผู้ดำเนินการแทน ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องทำการปรับปรุงผลขาดทุน
จากการด้อยค่าสินทรัพย์ตามมาตรฐานบัญชี

1.3 การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อยจำนวน 76,768 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ
จำนวน 75,810 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากกรีนเนทจำนวน 7,203 ล้านบาท
โดยค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นรายการระหว่างกันจำนวน 6,244 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายของบริษัท บางจากฯ
ที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักคือ

1) ต้นทุนขายจำนวน 74,148 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 15,439 ล้านบาท เป็นผลมาจากปริมาณการจำหน่าย
ที่เพิ่มสูงขึ้นเป็น 116.6 พันบาเรลต่อวัน จากระดับ 103.4 พันบาเรลต่อวันในปี 2546 ประกอบกับราคาน้ำมันดิบ
ได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยน้ำมันดิบดูไบปรับตัวสูงขึ้น ประมาณ 7.5 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรลในปี 2547

2) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจำนวน 1,367 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อน 175 ล้านบาทเนื่องจากในปี 2546
ได้มีการบันทึกสำรองหนี้สงสัยจะสูญเพิ่มเติมจำนวน 233 ล้านบาท ตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงิน
ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในปี 2546 อยู่ในระดับสูงกว่าปกติ แต่หากไม่รวมการบันทึกสำรองหนี้
ดังกล่าวในปี 2546 ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารในปี 2547 ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 58 ล้านบาท
จากปริมาณการจำหน่ายที่เพิ่มสูงขึ้น หักลบกับค่าใช้จ่ายโฆษณาประชาสัมพันธ์ปรับลดลงประมาณ 40 ล้านบาท

3) ดอกเบี้ยจ่ายจำนวน 787 ล้านบาท ลดลง 241 ล้านบาท เป็นผลจากการ Refinance
หุ้นกู้เดิมส่วนใหญ่ด้วยเงินทุนใหม่ที่ได้จากการปรับโครงสร้างการเงิน ประกอบกับ บริษัทฯ
ได้รับวงเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนตามแผนการปรับโครงสร้างการเงิน บริษัทฯ
จึงไม่มีความจำเป็นต้องถือเงินสดเป็นจำนวนมากเพื่อเตรียมไว้ชำระค่าน้ำมันดิบ

2. คำอธิบายและการวิเคราะห์ฐานะการเงินสำหรับ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2547 เปรียบเทียบ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546

2.1 สินทรัพย์
1) สินทรัพย์รวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 34,370 ล้านบาท
ประกอบด้วยสินทรัพย์ของบริษัท บางจากฯ จำนวน 34,269 ล้านบาท และบริษัท บางจากกรีนเนท
จำนวน 540 ล้านบาท ในสินทรัพย์ดังกล่าวมีสินทรัพย์ระหว่างกันซึ่งเป็นบัญชีลูกหนี้บริษัทบางจากกรีนเนท
จำนวน 437 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ให้เครดิตประมาณ 15 วัน
2) สินทรัพย์รวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2547 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2546 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจำนวน
5,738 ล้านบาท ประกอบด้วยสินทรัพย์หลักที่เปลี่ยนแปลงคือ

-เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวน 1,894 ล้านบาท ลดลง 1,455 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ
ณ สิ้นปี 2546 เนื่องจากบริษัทฯ ได้เตรียมเงินสดไว้เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันดิบที่ถึงกำหนดชำระในวันที่
6 มกราคม 2547 จำนวน 46 ล้านดอลลาร์ สรอ. หรือ 1,800 ล้านบาท
ส่งผลให้ยอดเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นปี 2546 อยู่ในระดับสูงกว่าปกติ

-ลูกหนี้และตั๋วเงินรับการค้าจำนวน 3,621 เพิ่มขึ้น 827 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546
เนื่องจากยอดขายน้ำมันที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาขายน้ำมันเฉลี่ยที่ปรับตัวสูงขึ้น

-สินค้าคงเหลือรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 9,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4,551 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณสินค้าคงเหลือ
ที่เพิ่มขึ้น 244 ล้านลิตร เพื่อรองรับการเพิ่มปริมาณการกลั่นและจำหน่าย ประกอบกับราคาเฉลี่ยก็ได้ปรับเพิ่มขึ้น
2.83 บาท/ ลิตร

-เงินชดเชยกองทุนน้ำมันค้างรับจำนวนเงิน 1,343 ล้านบาท เป็นเงินชดเชยค้างรับจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
เพื่อตรึงราคาขายของน้ำมันสำเร็จรูป ณ สถานีบริการน้ำมัน ซึ่งปกติจะมีเทอมการจ่ายคืนประมาณ 45 วัน

-สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจำนวน 1,449 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 476 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546
เป็นผลจากบริษัทฯ ได้ทำการบันทึกค่าสิทธิการเช่าใช้ที่ดินที่ตั้งโรงกลั่นจำนวน 542 ล้านบาท
(บันทึกตั้งแต่งวดบัญชีไตรมาส 1 ปี 2547) จากการที่บริษัทฯ ได้รับการต่ออายุสัญญาเช่าใช้ที่ดินราชพัสดุ
ออกไปจาก 12 ปี เป็น 30 ปี ตามแผนการปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงิน

2.2 หนี้สิน
1) หนี้สินรวมบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 24,589 ล้านบาท ประกอบด้วยหนี้สินของบริษัท
บางจากฯ จำนวน 24,489 ล้านบาท และของบริษัทบางจากกรีนเนท จำนวน 537 ล้านบาท
ซึ่งในหนี้สินของบริษัทบางจากกรีนเนท เป็นหนี้ระหว่างกันกับบริษัทฯ จำนวน 437 ล้านบาท

2) หนี้สินรวมของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2547 เทียบกับ ณ สิ้นปี 2546 มีมูลค่าลดลง 961 ล้านบาท
ประกอบด้วยหนี้สินหลักที่เปลี่ยนแปลงคือ

-เงินกู้รวม ณ สิ้นปี 2547 ลดลง 4,443 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546
เป็นผลจากปรับโครงสร้างทางการเงินโดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนในรูปของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดขึ้นจากหุ้นสามัญบางจาก (CSDR) จำนวน 3,000 ล้านบาท และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์
ที่เกิดจากหุ้นกู้แปลงสภาพ (CDDR)จำนวน 4,000 ล้านบาท ซึ่งในปี 2547 มีการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
จำนวน 97 ล้านหุ้นสามัญ หรือ 1,389 ล้านบาท โดยเงินกู้ ณ สิ้นปี 2547 ประกอบด้วย
*เงินกู้ระยะสั้นจากธนาคารจำนวน 2,000 ล้านบาท เป็นเงินกู้ระยะสั้นที่บริษัทฯ จัดหาจากธนาคารกรุงไทย
เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน
*เงินกู้ระยะยาวจำนวน 11,165 ล้านบาท ประกอบด้วย CDDR จำนวน 2,611 ล้านบาท และเงินกู้ระยะยาว
จากธนาคารกรุงไทยจำนวน 7,800 ล้านบาท (จากวงเงินทั้งสิ้นที่ได้รับจำนวน 8,500 ล้านบาท)
ซึ่งจะครบกำหนดชำระใน 1 ปี จำนวน 191 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ มีหุ้นกู้และตั๋วสัญญาใช้เงินเดิมที่ผู้ถือ
ไม่ให้ไถ่ถอนก่อนกำหนดจำนวน 2,510 ล้านบาท ซึ่งจะครบกำหนดชำระใน 1 ปี จำนวน 1,565 ล้านบาท
*ยอดเจ้าหนี้การค้า ณ สิ้นปี 2547 มีจำนวน 7,583 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546 เพิ่มขึ้น
3,154 ล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยน้ำมันดิบดูไบปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ
7.5 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาเรล ประกอบกับบริษัทฯ มีการยืดเทอมการจ่ายค่าน้ำมันดิบเป็นกรณีพิเศษจำนวน 1 ลำ

2.3 ส่วนของผู้ถือหุ้น
1) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ณ สิ้นปี 2547 รวมจำนวน 9,781 ล้านบาท
เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ จำนวน 9,780 ล้านบาท และเป็นส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยจำนวน 0.54
ล้านบาท (ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทบางจากกรีนเนทมีจำนวนรวม 3 ล้านบาท)

2) ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท บางจากฯ ณ สิ้นปี 2547 จำนวน 9,780 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6,699 ล้านบาท
จาก ณ สิ้นปี 2546 เนื่องจากบริษัทฯ มีผลกำไรสุทธิปี 2547 จำนวน 2,613 ล้านบาท
ประกอบกับมีการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนในรูปของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญบางจาก
จำนวน 3,000 ล้านบาท และมีการแปลงสภาพของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นกู้แปลงสภาพ
(CDDR) เป็นหุ้นสามัญจำนวน 97 ล้านหุ้นสามัญ หรือ 1,389 ล้านบาท โดยในช่วงปีได้บันทึกบัญชีดังต่อไปนี้

*งวดบัญชีไตรมาส 1
-เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วจาก 522,040,940 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เป็น 753,040,940 หุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมเป็นจำนวน 753,040,940 บาท โดยการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุน
ในรูปของใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นสามัญบางจากจำนวน 231 ล้านหุ้นเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2547
ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการจดทะเบียนกับกรมธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2547

- บันทึกส่วนเกินมูลค่าหุ้นจากการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน 231 ล้านหุ้น ส่วนต่างมูลค่าหุ้นละ 12 บาท
ส่งผลทำให้บริษัทฯ มีส่วนเกินมูลค่าหุ้นหลังหักค่าใช้จ่ายในการเสนอขายจำนวน 2,693,820,103 บาท

*งวดบัญชีไตรมาส 2
- ดำเนินการโอนส่วนเกินมูลค่าหุ้นดังกล่าวจำนวน 2,389,126,110 บาท เพื่อมาชดเชยผลขาดทุนสะสม
ซึ่งจะมีผลทำให้ยอดขาดทุนสะสม ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 จำนวน 2,389,126,110 บาท หมดไป
ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2547 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547

*งวดบัญชีไตรมาส 3
-เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2547บริษัทฯ ได้ดำเนินการลดทุนจดทะเบียนชำระแล้วในส่วนของหุ้นสามัญที่เหลือ
จากการแลกเปลี่ยนหุ้นสามัญเป็นใบแสดงสิทธิฯ ของผู้ถือหุ้นเดิมจำนวน189,617,759 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้
หน่วยละ 1 บาท รวมมูลค่า 189,617,759 บาท เพื่อให้จำนวนหุ้นสามัญที่บริษัท สยามดีอาร์ จำกัด
ถืออยู่สอดคล้องกับจำนวนใบแสดงสิทธิฯ ที่ออกและเสนอขายตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2547
เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547

-เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2547 บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 24,000,000 บาท
เพื่อรองรับการออกและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิให้กับ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน จำนวนไม่เกิน 24
ล้านหน่วย ตามมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2547 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547

-เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2547 บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วในส่วนของใบแสดงสิทธิ
ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นกู้แปลงสภาพ (CDDR) ที่ได้ทำการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญในช่วง
ปลายไตรมาส 2 จำนวน 28,108,385 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 1 บาท รวมมูลค่า 28,108,385 บาท

* งวดบัญชีไตรมาส 4
-เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2547 บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วในส่วนของใบแสดงสิทธิ
ในผลประโยชน์ที่เกิดจากหุ้นกู้แปลงสภาพ (CDDR) ที่ได้ทำการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ
ในช่วงปลายไตรมาส 3 จำนวน 69,027,969 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หน่วยละ 1 บาท
รวมมูลค่า 69,027,969 บาท

3. คำอธิบายและการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด สำหรับปี 2547 เปรียบเทียบปี 2546
3.1 ในปี 2547 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 3,245 ล้านบาท
เป็นกำไรจากการดำเนินงานของบริษัท บางจากฯ จำนวน 3,217 ล้านบาท และเป็นกำไรของ
บริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 28 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีเงินสดต้นงวดยกมา
3,523 ล้านบาท เป็นเงินสดต้นงวดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 3,348 ล้านบาท และเป็นเงินสดต้นงวด
ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 174 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ใช้เงินสดดังกล่าวในกิจกรรมของบริษัทฯ
ระหว่างปีจำนวน 1,454 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเป็นหนี้การค้าระหว่างกัน ส่งผลให้บริษัทฯ และบริษัทย่อย
มีเงินสดใช้ไประหว่างปี 1,310 ล้านบาท ดังนั้น คงเหลือเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ณ สิ้นปี 2547
จำนวน 2,213 ล้านบาท โดยเป็นเงินสดของบริษัท บางจากฯ จำนวน 1,894 ล้านบาท และเป็นเงินสด
ของบริษัท บางจากกรีนเนท จำนวน 318 ล้านบาท

3.2 ในส่วนของบริษัท บางจากฯ มีกำไรจากการดำเนินงานจำนวน 3,217 ล้านบาท และมีเงินสดต้นงวด
จำนวน 3,348 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ได้ใช้เงินสดดังกล่าวไปในกิจกรรมดังต่อไปนี้

1) บริษัทฯ มีเงินสดสุทธิที่ใช้ไปในกิจกรรมดำเนินงาน 3,937 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทฯ มีมูลค่าลูกหนี้การค้า
และน้ำมันคงคลังเพิ่มขึ้น 5,353 ล้านบาท จากปริมาณการเก็บสต๊อกน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับปริมาณการกลั่น
และจำหน่ายที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันก็ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง บริษัทฯ มีเงินค้างรับจาก
กองทุนน้ำมันอีก 1,343 ล้านบาท

2) บริษัทฯ มีเงินสดที่ใช้ไปในกิจกรรมลงทุนอีก 602 ล้านบาท จากการที่มีการลงทุนเพิ่มในสินทรัพย์
ถาวร-อุปกรณ์ และมีค่าใช้จ่ายในการปรับโครงสร้างทางการเงิน

3) บริษัทฯ มีเงินสดใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงิน 132 ล้านบาท จากการจ่ายคืนเงินกู้ที่ครบกำหนดชำระบางส่วน
ด้วยกระแสเงินสดคงเหลือจากการดำเนินงานของบริษัทฯ ดังนั้น ณ สิ้นปี 2547 บริษัทฯ มีเงินสด
และรายการเทียบเท่าเงินสด 1,894 ล้านบาท ลดลง 1,454 ล้านบาท เมื่อเทียบกับ ณ สิ้นปี 2546

4. ปัจจัยและอิทธิพลหลักที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือฐานะการเงินในอนาคต
สำหรับธุรกิจน้ำมัน ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานคือค่าการกลั่นและค่าการตลาด
ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากความต้องการใช้น้ำมันที่มีความสัมพันธ์กับอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ
โดยในปี 2547 เศรษฐกิจในภูมิภาคมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน
ที่มีการเติบโตในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับ เศรษฐกิจไทยเองก็คาดว่าจะมีการเติบโตในระดับที่สูง
ส่งผลให้อัตราการใช้น้ำมันมีมากขึ้นเช่นเดียวกัน โดยบริษัทฯ คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาค
และในประเทศจะเข้าสู่ภาวะสมดุลกับกำลังการผลิตในช่วงปี 2548-2549 ซึ่งหากสภาวะเกินดุลนี้หมดไป
ค่าการกลั่นและค่าการตลาดน่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ


นอกจากนี้ ระดับราคาน้ำมันก็ยังมีผลกระทบสำคัญต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้น
ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2546 เป็นต้นมา ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้ว่าราคาน้ำมันอาจปรับตัวลดลงในบางช่วงของ
ปี 2548 เนื่องจากมีการปรับฐานของระดับราคาเป็นครั้งคราว แต่บริษัทฯ คาดว่าระดับราคาน้ำมันดิบ
และน้ำมันสำเร็จรูปจะยังคงอยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันยังมีอัตราการเจริญเติบโต
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดังกล่าวอาจส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับผลกระทบจาก
มูลค่าสต๊อกน้ำมันที่ลดลง แต่บริษัทฯ ก็มีส่วนงานที่คอยติดตามและบริหารความเสี่ยงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
แม้ว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ราคาน้ำมันเตาที่ปรับตัวสูงขึ้นแต่ไม่มากเท่ากับ
ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปชนิดอื่นๆ ส่งผลให้ค่าการกลั่นของบริษัทฯ ถูกจำกัดไว้ในระดับหนึ่ง
แต่จากการที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการส่งน้ำมันเตาของบริษัทฯ ไปเพิ่มมูลค่าที่โรงกลั่นอื่นก็สามารถลดผลกระทบ
จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้บางส่วน ซึ่งบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องจัดหาแนวทางการลดสัดส่วนการผลิต
น้ำมันเตาในระยะยาว เพื่อเพิ่มค่าการกลั่นให้อยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับอุตสาหกรรม โดยขณะนี้อยู่ระหว่าง
การศึกษาความเป็นไปได้และความคุ้มค่าในการลงทุนในหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ซึ่งจะลดสัดส่วนการผลิต
น้ำมันเตาของบริษัทฯ ลงให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับโรงกลั่นอื่นๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อีกทั้งยังเพิ่มคุณภาพน้ำมันให้สอดคล้องกับมาตรฐานคุณภาพน้ำมันใหม่ที่รัฐจะประกาศใช้ในปี 2554

จากการที่อัตราแลกเปลี่ยนมีทิศทางแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของบริษัทฯ
เช่นกัน เนื่องจากราคาซื้อขายน้ำมัน จะอิงอยู่กับสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. รวมทั้ง บริษัทฯ มีสินทรัพย์ที่อ้างอิง
กับสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. คือ สต๊อกน้ำมัน มากกว่าหนี้สินในสกุลเงินดอลลาร์ สรอ. คือ เจ้าหนี้การค้า
ซึ่งจากอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าขึ้นจะส่งผลให้มูลค่าของสินทรัพย์สุทธิลดลง แต่อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ
เชื่อว่าการแข็งค่าของเงินบาทจะเป็นเพียงระยะเวลาช่วงสั้น จากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศ
สหรัฐอเมริกา แต่ทั้งนี้บริษัทฯ ก็มีนโยบายที่จะปรับสัดส่วนสินทรัพย์และหนี้สินที่อยู่ในรูปสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.
ให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกัน
ล็อคหัวข้อ