SNNP
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
SNNP
โพสต์ที่ 1
*"ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง"ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 260 ล้านหุ้น เข้า SET, ใช้คืนเงินกู้ยืม-เป็นเงินทุนหมุนเวียน
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Thursday, September 12, 2019 10:30
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (12 ก.ย. 62)--บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ยื่นแบบแสดงรายกานข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น คิดเป็น 28.89% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็น หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 20% และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม คือ Concord I. Capital Limited จำนวน 80 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.89% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายครั้งนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯมีความประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน วัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อชำระเงินกู้ยืมแก่สถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้ตราสินค้าเจเล่ ไดยาโมโตะ คูลลี่ คูล และเมจิกฟาร์ม และ กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่น ๆ (Asian Drink) ภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม เช่น น้ำเฉาก๊วยผสมเนื้อเฉาก๊วย น้ำมะพร้าวผสมวุ้นมะพร้าว และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว ภายใต้ตราสินค้ายูซุ
และ 2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้นภายใต้ตราสินค้าเบนโตะ , กลุ่มขนมขึ้นรูปและขนมปังแม่ง ภายใต้ตราสินค้าดอกบัว โลตัส และกลุ่มเวเฟอร์ ขนมปังอบ และขนมขบเคี้ยวอื่น ๆ ภายใต้ตราสินค้า ช๊อคกี้ เบเกอรี่เฮาส์
บริษัทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยผ่าน 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ (1) โมเดิร์นเทรด อาทิ ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) เช่น ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านแฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น ร้านค้าประเภทซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาเก็ต ร้านค้าประเภทขายส่ง เช่น แม็คโคร (2) ช่องทางการค้าดั้งเดิม 3 ช่องทางย่อยได้แก่ ผ่านผู้จัดจำหน่าย (Distributor), การค้าดั้งเดิมแบบค้าส่ง และ การค้าดั้งเดิมแบบค้าปลีก (Retail Traditional Trade)
โครงการในอนาคตของบริษัท ได้แก่ โครงการเพิ่มสายการผลิตในประเทศ โดยจะลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้น มูลค่าเงินลงทุนรวม 200-300 ล้านบาท คิดเป็นกำลังการผลิต 2,970 ตันต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 63-64
และโครงการการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายช่องทางการค้าแบบดั้งเดิมด้วยการให้บริษัท เอสเอ็นเอ็นพี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท สิริ โปร จำกัด ในเดือน ม.ค.62 ทำให้มีสัดส่วนการถือหุ้น 70% โดย สิริ โปร เช่าศูนย์กระจายสินค้า 7 แห่งทั่วประเทศ และคาดว่าจะเช่าเพิ่มจนครบ 12 แห่งภายในปี 62 เพื่อให้เข้าถึงร้านค้าให้ได้มากที่สุด รวมถึงเพิ่มจำนวนหน่วยรถกระจายสินค้าให้ได้ประมาณ 150-160 คันภายในปี 62 เช่นกัน ซึ่งจะทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลีกได้ประมาณ 85,000-90,000 ร้านค้า และร้านค้าส่งประมาณ 3,000-3,500 ร้านค้า
นอกจากนั้น บริษัทยังมีโครงการเพิ่มสายการผลิตและจัดจำหน่ายในกัมพูชา ภายใต้บริษัทย่อย ได้แก่ S.C Food Products Ltd. STVV Development Ltd. และ S.C Food Trading Ltd. ณ วันที่ 30 มิ.ย.62 โรงงานก่อสร้างแล้วเสร็จและได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อย มีกำลังการผลิตขนมขาไก่ ประมาณ 275,000 ลังต่อปี ขนมขึ้นรูปและขนมปังแท่ง 200,000 ลังต่อปี คาดว่าจะขยายกำลังการผลิตเพิ่มภายในปี 62 สำหรับขนมขาไก่ 550,000 ลังต่อปี
อย่างไรก็ดี บริษัทอยู่ในระหว่างการวางแผนและศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มสายการผลิต และ/หรือ ขยายกำลังการผลิตของโรงงานผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาเพิ่มเติมในอนาคต โดยใช้พื้นที่ที่ตั้งโรงงานอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้ง มีโครงการเพิ่มสายการผลิตและจัดจำหน่ายในเวียดนาม บริษัทอยู่ในระหว่างศึกษาและวางแผนสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวทั้งในเวียดนามและประเทศใกล้เคียง โดยลงทุนผ่าน บริษัท เอสเอ็นเอ็นพี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จัดตั้งบริษัทในนาม S.T. Food Marketing Ltd. ซึ่งบริษัทถือหุ้น 60% ในเดือน ส.ค.62 S.T. Food Marketing Ltd. ได้เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามเตรียมก่อสร้างโรงงานในไตรมาส 4/62 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 63
ณ วันที่ 16 พ.ค.62 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 450,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 900,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 0.50 บาท เป็นทุนชำระแล้ว 360,000,000 บาท โดยภายหลังจากการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้แล้ว บริษัทฯ จะมีทุนชำระแล้วเต็มจำนวน
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 19 ส.ค.62 ประกอบด้วย Concord I. Capital Limited ถือหุ้น 198 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.50% หลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้แล้วจะลดการถือหุ้นลงเหลือ 13.11%, บริษัท แอสเซนด์ ไอ. โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 180 ล้านหุ้น คิดเป็น 25% จะลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 20%, นายฐากร ชัยสถาพร ถือหุ้น 145 ล้านหุ้น คิดเป็น 20.14% จะลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 16.11%
ผลการดำเนินงานของบริษัทย้อนหลัง 3 ปี คือ ปี 59-61 บริษัทมีรายได้รวมเท่ากับ 5,549.1 ล้านบาท, 5,104.1 ล้านบาท และ 4,886.9 ล้านบาท ตามลำดับ สาเหตุหลักของการลดลงของรายได้เกิดจากการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับบริษัทปรับโครงสร้างการกระจายสินค้าผ่านช่องทางการค้าดั้งเดิม และปรับหน่วยสินค้าของผลิตภัณฑ์ (SKU rationalization) โดยลดการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางประเภทที่มีกำไรและยอดขายไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือ สินค้าที่ไม่เป็นที่นิยม
ขณะที่กำไรสุทธิของบริษัทในช่วงปี 59-61 เท่ากับ 353.9 ล้านบาท 301.4 ล้านบาท และ 249.7 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากการลดลงของรายได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ส่วนงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.62 บริษัทมีรายได้รวม 2,291.6 ล้านบาท ลดลง 2.3% จาก 2,344.7 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้ส่วนใหญ่เกือบทั้ง 100% ยังมาจากการขาย กำไรสุทธิ 43.4 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 119.1 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 มิ.ย.62 มีสินทรัพย์รวม 3,803.4 ล้านบาท หนี้สินรวม 3,533.4 ล้าบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 270.0 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะผู้ให้วงเงินสินเชื่อแก่บริษัท เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิ.ย.62 บริษัทมีวงเงินสินเชื่อระยะสั้น 540 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อระยะยาว 600 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อหนังสือค้ำประกันสัญญา 15 ล้านบาท โดยมียอดคงค้างของวงเงินสินเชื่อระยะสั้น 275 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อระยะยาว 265.9 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อหนังสือค้ำประกันสัญญา 4.8 ล้านบาท
บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 60% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการภายหลังจากหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อบังคับของบริษัทฯ
--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
Source - IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (Th)
Thursday, September 12, 2019 10:30
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (12 ก.ย. 62)--บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ยื่นแบบแสดงรายกานข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น คิดเป็น 28.89% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็น หุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 20% และหุ้นสามัญที่เสนอขายโดยผู้ถือหุ้นเดิม คือ Concord I. Capital Limited จำนวน 80 ล้านหุ้น คิดเป็น 8.89% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายครั้งนี้
ทั้งนี้ บริษัทฯมีความประสงค์จะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน วัตถุประสงค์การใช้เงินที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ เพื่อชำระเงินกู้ยืมแก่สถาบันการเงิน และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินธุรกิจ
ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้ตราสินค้าเจเล่ ไดยาโมโตะ คูลลี่ คูล และเมจิกฟาร์ม และ กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่น ๆ (Asian Drink) ภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม เช่น น้ำเฉาก๊วยผสมเนื้อเฉาก๊วย น้ำมะพร้าวผสมวุ้นมะพร้าว และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว ภายใต้ตราสินค้ายูซุ
และ 2. กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้นภายใต้ตราสินค้าเบนโตะ , กลุ่มขนมขึ้นรูปและขนมปังแม่ง ภายใต้ตราสินค้าดอกบัว โลตัส และกลุ่มเวเฟอร์ ขนมปังอบ และขนมขบเคี้ยวอื่น ๆ ภายใต้ตราสินค้า ช๊อคกี้ เบเกอรี่เฮาส์
บริษัทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยผ่าน 2 ช่องทางหลัก ได้แก่ (1) โมเดิร์นเทรด อาทิ ร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) เช่น ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ร้านแฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น ร้านค้าประเภทซูเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาเก็ต ร้านค้าประเภทขายส่ง เช่น แม็คโคร (2) ช่องทางการค้าดั้งเดิม 3 ช่องทางย่อยได้แก่ ผ่านผู้จัดจำหน่าย (Distributor), การค้าดั้งเดิมแบบค้าส่ง และ การค้าดั้งเดิมแบบค้าปลีก (Retail Traditional Trade)
โครงการในอนาคตของบริษัท ได้แก่ โครงการเพิ่มสายการผลิตในประเทศ โดยจะลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้น มูลค่าเงินลงทุนรวม 200-300 ล้านบาท คิดเป็นกำลังการผลิต 2,970 ตันต่อปี คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 63-64
และโครงการการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายช่องทางการค้าแบบดั้งเดิมด้วยการให้บริษัท เอสเอ็นเอ็นพี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท สิริ โปร จำกัด ในเดือน ม.ค.62 ทำให้มีสัดส่วนการถือหุ้น 70% โดย สิริ โปร เช่าศูนย์กระจายสินค้า 7 แห่งทั่วประเทศ และคาดว่าจะเช่าเพิ่มจนครบ 12 แห่งภายในปี 62 เพื่อให้เข้าถึงร้านค้าให้ได้มากที่สุด รวมถึงเพิ่มจำนวนหน่วยรถกระจายสินค้าให้ได้ประมาณ 150-160 คันภายในปี 62 เช่นกัน ซึ่งจะทำให้สามารถจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลีกได้ประมาณ 85,000-90,000 ร้านค้า และร้านค้าส่งประมาณ 3,000-3,500 ร้านค้า
นอกจากนั้น บริษัทยังมีโครงการเพิ่มสายการผลิตและจัดจำหน่ายในกัมพูชา ภายใต้บริษัทย่อย ได้แก่ S.C Food Products Ltd. STVV Development Ltd. และ S.C Food Trading Ltd. ณ วันที่ 30 มิ.ย.62 โรงงานก่อสร้างแล้วเสร็จและได้เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นที่เรียบร้อย มีกำลังการผลิตขนมขาไก่ ประมาณ 275,000 ลังต่อปี ขนมขึ้นรูปและขนมปังแท่ง 200,000 ลังต่อปี คาดว่าจะขยายกำลังการผลิตเพิ่มภายในปี 62 สำหรับขนมขาไก่ 550,000 ลังต่อปี
อย่างไรก็ดี บริษัทอยู่ในระหว่างการวางแผนและศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มสายการผลิต และ/หรือ ขยายกำลังการผลิตของโรงงานผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาเพิ่มเติมในอนาคต โดยใช้พื้นที่ที่ตั้งโรงงานอยู่ในปัจจุบัน
รวมทั้ง มีโครงการเพิ่มสายการผลิตและจัดจำหน่ายในเวียดนาม บริษัทอยู่ในระหว่างศึกษาและวางแผนสร้างโรงงานผลิตเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวทั้งในเวียดนามและประเทศใกล้เคียง โดยลงทุนผ่าน บริษัท เอสเอ็นเอ็นพี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จัดตั้งบริษัทในนาม S.T. Food Marketing Ltd. ซึ่งบริษัทถือหุ้น 60% ในเดือน ส.ค.62 S.T. Food Marketing Ltd. ได้เช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามเตรียมก่อสร้างโรงงานในไตรมาส 4/62 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 63
ณ วันที่ 16 พ.ค.62 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 450,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ 900,000,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 0.50 บาท เป็นทุนชำระแล้ว 360,000,000 บาท โดยภายหลังจากการเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้แล้ว บริษัทฯ จะมีทุนชำระแล้วเต็มจำนวน
ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ณ วันที่ 19 ส.ค.62 ประกอบด้วย Concord I. Capital Limited ถือหุ้น 198 ล้านหุ้น คิดเป็น 27.50% หลังเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้แล้วจะลดการถือหุ้นลงเหลือ 13.11%, บริษัท แอสเซนด์ ไอ. โฮลดิ้ง จำกัด ถือหุ้น 180 ล้านหุ้น คิดเป็น 25% จะลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 20%, นายฐากร ชัยสถาพร ถือหุ้น 145 ล้านหุ้น คิดเป็น 20.14% จะลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 16.11%
ผลการดำเนินงานของบริษัทย้อนหลัง 3 ปี คือ ปี 59-61 บริษัทมีรายได้รวมเท่ากับ 5,549.1 ล้านบาท, 5,104.1 ล้านบาท และ 4,886.9 ล้านบาท ตามลำดับ สาเหตุหลักของการลดลงของรายได้เกิดจากการชะลอตัวของสภาวะเศรษฐกิจในประเทศ ประกอบกับบริษัทปรับโครงสร้างการกระจายสินค้าผ่านช่องทางการค้าดั้งเดิม และปรับหน่วยสินค้าของผลิตภัณฑ์ (SKU rationalization) โดยลดการผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์บางประเภทที่มีกำไรและยอดขายไม่เป็นที่น่าพอใจ หรือ สินค้าที่ไม่เป็นที่นิยม
ขณะที่กำไรสุทธิของบริษัทในช่วงปี 59-61 เท่ากับ 353.9 ล้านบาท 301.4 ล้านบาท และ 249.7 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากการลดลงของรายได้ตามที่กล่าวมาข้างต้น ประกอบกับการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร
ส่วนงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.62 บริษัทมีรายได้รวม 2,291.6 ล้านบาท ลดลง 2.3% จาก 2,344.7 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีก่อน รายได้ส่วนใหญ่เกือบทั้ง 100% ยังมาจากการขาย กำไรสุทธิ 43.4 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 119.1 ล้านบาท
ณ วันที่ 30 มิ.ย.62 มีสินทรัพย์รวม 3,803.4 ล้านบาท หนี้สินรวม 3,533.4 ล้าบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นรวม 270.0 ล้านบาท
ทั้งนี้ ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะผู้ให้วงเงินสินเชื่อแก่บริษัท เป็นที่ปรึกษาทางการเงินในการเสนอขายหุ้นสามัญในครั้งนี้ ณ วันที่ 30 มิ.ย.62 บริษัทมีวงเงินสินเชื่อระยะสั้น 540 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อระยะยาว 600 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อหนังสือค้ำประกันสัญญา 15 ล้านบาท โดยมียอดคงค้างของวงเงินสินเชื่อระยะสั้น 275 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อระยะยาว 265.9 ล้านบาท และวงเงินสินเชื่อหนังสือค้ำประกันสัญญา 4.8 ล้านบาท
บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่า 60% ของกำไรสุทธิจากงบการเงินเฉพาะกิจการภายหลังจากหักภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินสำรองต่าง ๆ ทุกประเภทตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องและข้อบังคับของบริษัทฯ
--อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 2
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 3
https://market.sec.or.th/public/ipos/IP ... sID=269748
หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : -
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) / N.A.
หนังสือชี้ชวนตราสารทุน
รายละเอียดตราสาร
ผู้ออกหลักทรัพย์ : บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
ผู้เสนอขายหลักทรัพย์ : กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม / บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
วันที่ยื่น Filing version แรก : -
วันที่แก้ไข Filing ครั้งล่าสุด (วันที่นับ 1 Filing) : -
วันที่ Filing มีผลบังคับใช้ : -
วันที่เริ่มต้นการเสนอขาย : -
วันที่สิ้นสุดการเสนอขาย : -
ประเภทหลักทรัพย์ : หุ้นสามัญ
ประเภทการเสนอขาย : การเสนอขายหลักทรัพย์ครั้งแรกต่อประชาชน
ที่ปรึกษาทางการเงิน/ผู้ควบคุม : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) / N.A.
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 4
บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) ยื่นไฟลิ่งเตรียมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น พร้อมแต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงิน
Source - Local Press Release (Th/Eng)
Thursday, September 12, 2019 13:50
กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--เอ็ม ที มัลติมีเดีย
บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ยื่นไฟลิ่งเตรียมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น พร้อมแต่งตั้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน สำหรับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
'บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง' หรือ SNNP ผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ยื่นไฟลิ่งเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น ชูจุดเด่นด้านความเป็นผู้นำในการพัฒนาสินค้าที่หลากหลายภายใต้ตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยมีประสบการณ์ในการดำเนินงานมายาวนานกว่า 30 ปี พร้อมแต่งตั้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเสริมศักยภาพการขยายธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่ดี ทั้งในด้านคุณภาพ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ปัจจุบัน SNNP เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าบริโภค ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
(1) กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนนภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เจเล่ ไดยาโมโตะ และคูลลี่ คูล และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม เช่น น้ำเฉาก๊วยผสมเนื้อเฉาก๊วย น้ำมะพร้าวผสมวุ้นมะพร้าว น้ำภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว ภายใต้ตราสินค้ายูซุ
(2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้นภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เบนโตะ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูปและขนมปังแท่ง ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ดอกบัว และโลตัส และผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบ ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ช๊อคกี้ และเบเกอรี่เฮาส์ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี SNNP มีผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งและหลากหลาย มีตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย อีกทั้งมีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีศักยภาพ ส่งผลให้ SNNP เป็นผู้นำในการพัฒนาและนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ประกอบกับ SNNP มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่แข็งแกร่ง สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกประเภทขายส่ง รวมถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพื่อทำให้สินค้าสามารถกระจายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ สินค้าของบริษัทยังมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งในภูมิภาคอาเซียนและนอกอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นต้น
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล กล่าวเพิ่มเติมว่า SNNP ยังมีจุดเด่นด้านฐานการผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน โดยมีโรงงานในประเทศไทยจำนวน 4 แห่ง ที่มีความพร้อมด้านการผลิตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทำให้ SNNP สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ SNNP มีแผนการขยายฐานการผลิตสินค้าในต่างประเทศ โดยได้เริ่มดำเนินการโรงงานผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาเพื่อลงทุนขยายฐานการผลิตเพิ่มเติมที่ประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับแผนการขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง หรือ SNNP ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 900 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.89 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.00 และร้อยละ 8.89 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ตามลำดับ
Source - Local Press Release (Th/Eng)
Thursday, September 12, 2019 13:50
กรุงเทพฯ--12 ก.ย.--เอ็ม ที มัลติมีเดีย
บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ยื่นไฟลิ่งเตรียมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น พร้อมแต่งตั้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน สำหรับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
'บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง' หรือ SNNP ผู้นำด้านการผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ยื่นไฟลิ่งเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น แบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น ชูจุดเด่นด้านความเป็นผู้นำในการพัฒนาสินค้าที่หลากหลายภายใต้ตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค โดยมีประสบการณ์ในการดำเนินงานมายาวนานกว่า 30 ปี พร้อมแต่งตั้ง ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเสริมศักยภาพการขยายธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่ดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่ดี ทั้งในด้านคุณภาพ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย ปัจจุบัน SNNP เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าบริโภค ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
(1) กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนนภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เจเล่ ไดยาโมโตะ และคูลลี่ คูล และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม เช่น น้ำเฉาก๊วยผสมเนื้อเฉาก๊วย น้ำมะพร้าวผสมวุ้นมะพร้าว น้ำภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว ภายใต้ตราสินค้ายูซุ
(2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้นภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เบนโตะ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูปและขนมปังแท่ง ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ดอกบัว และโลตัส และผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบ ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ช๊อคกี้ และเบเกอรี่เฮาส์ ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี SNNP มีผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งและหลากหลาย มีตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย อีกทั้งมีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีศักยภาพ ส่งผลให้ SNNP เป็นผู้นำในการพัฒนาและนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ประกอบกับ SNNP มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่แข็งแกร่ง สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกประเภทขายส่ง รวมถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพื่อทำให้สินค้าสามารถกระจายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ สินค้าของบริษัทยังมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งในภูมิภาคอาเซียนและนอกอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นต้น
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล กล่าวเพิ่มเติมว่า SNNP ยังมีจุดเด่นด้านฐานการผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน โดยมีโรงงานในประเทศไทยจำนวน 4 แห่ง ที่มีความพร้อมด้านการผลิตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทำให้ SNNP สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ SNNP มีแผนการขยายฐานการผลิตสินค้าในต่างประเทศ โดยได้เริ่มดำเนินการโรงงานผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาเพื่อลงทุนขยายฐานการผลิตเพิ่มเติมที่ประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับแผนการขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง หรือ SNNP ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 900 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.89 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.00 และร้อยละ 8.89 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ตามลำดับ
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 5
“ฐากร ชัยสถาพร” ผลักดัน “ศรีนานาพร” จากยี่ปั๊วขายขนมเล็กๆ สู่ Regional Company
July 17, 2018
หากพูดถึงขนมเด็กๆ ที่มีชื่อเป็นที่รู้จัก อย่าง “เบนโตะ-เจเล่-โลตัส-ช็อกกี้” บางคนอาจจะมองว่าเป็นธุรกิจเล็กๆ ไม่มีมูลค่า แต่จริงๆ แล้ว ขนมเด็กๆ เหล่านี้ สร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี ให้กับ “บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง”
และขนมเด็กๆ เหล่านี้ก็ไม่ได้วางขายอยู่แค่ในประเทศไทย แต่ขยายตลาดไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงกำลังจะขยายไปสู่ตลาดซีแอลเอ็มวี ด้วยฝีมือการผลักดันของผู้บริหารที่ชื่อ “ฐากร ชัยสถาพร” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสสายงานธุรกิจ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (SNNP)
“ฐากร” เล่าว่า “ศรีนานาพร” เติบโตมาจากร้านยี่ปั๊วขนมเล็กๆ ย่านมหานาค เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว เริ่มจากพี่ชายของเขาเริ่มธุรกิจขนมตั้งแต่ปี 2514 โดยเริ่มต้นจากทำเมล็ดแตงโม ตราระฆังทอง จนมีชาวสิงคโปร์มาซื้อกิจการต่อไป จึงย้ายมาทำโรงงานเวเฟอร์ที่ซอยวัดม่วง 63 ย่านบางแค ภายใต้ชื่อแบรนด์คุณหนู และกามเทพ ซึ่งถือเป็นสินค้าขายดีในยุคนั้น และยังขยายธุรกิจต่อมาสู่การเปิดไลน์บิสกิต หลังซื้อเครื่องทำขนมปังเข้ามาเสริม ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจึงมาซื้อที่แถวอ้อมน้อย 3 แปลง
และเมื่อปี 2533 หลังเรียนจบ เขาจึงได้เข้ามาร่วมบริหาร โดยพี่ชายมอบหมายให้ดูเรื่องของคอร์ปอเรท และการตลาดทั้งหมด
“ฐากร” เล่าอีกว่า นอกจากการบริหารตลาดและภาพรวมของบริษัทแล้ว เขายังพัฒนาสินค้าใหม่กับแบรนด์เยลลี่ เจเล่ ขึ้นมาอีกหนึ่งแบรนด์ ซึ่งก็เป็นหนึ่งแบรนด์สินค้าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
แต่เส้นทางทั้งหมดไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2541 -2542 ธุรกิจขนมที่ก่อนหน้านั้นถือเป็นหนึ่งในดาวรุ่งที่ซื้อง่ายขายคล่อง ผลิตอะไรออกมาเท่าไรก็ขายได้ ก็ต้องเจอกับภาวะสะดุดเช่นเดียวกัน เนื่องจากสภาพตลาดเปลี่ยน ลูกค้าที่เป็นยี่ปั๊วล้มหายตายจาก
บริษัทต้องปรับตัวครั้งใหญ่ “ฐากร” ได้เปลี่ยนวิธีบริหารจัดการมาสู่ระบบการขายเงินสด (Cash Sale) ช่องทางขายที่เคยขายตรงสู่ร้านยี่ปั๊ว ต้องเปลี่ยนมาสู่ธุรกิจรีเทลที่มีโมเดิร์นเทรดแบรนด์ใหญ่จากต่างชาติเข้ามาเป็นช่องทางใหม่
การทำธุรกิจจึงต้องกระจายให้ครอบคลุมทุกช่องทาง ทั้งโมเดิร์นเทรด เทรดดิชั่นนอลเทรดหรือร้านค้าปลีกทั่วไป และยังต้องจับมือกับโลจิสติกส์รายใหญ่อย่างบริษัท คาราบาวแดง และ บริษัท เดอเบล จํากัด ของค่ายกระทิงแดง ช่วยกระจายสินค้า เสริมกับรถกระจายสินค้าของบริษัท
แน่นอนตลาดออนไลน์ ก็เป็นอีกตลาดหนึ่งที่ขนมเด็กๆ ของศรีนานาพรฯ บุกไปถึง ซึ่งเขาได้จับมือกับลาซาด้า และอาลีบาบา พร้อมตั้งทีมงานออนไลน์ขึ้นมาพัฒนาช่องทางขาย พัฒนาการตลาด และกำลังพัฒนาสินค้าที่เหมาะสำหรับช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะอีกด้วย
“ฐากร” พูดถึงวิธีการทำตลาดของเขาว่า…”เราต้องรู้ว่าลูกค้าเราคือใคร กระแสของโลกไปทางไหน เราต้องตามกระแสผู้บริโภคให้ทัน และต้องใช้เงินให้มีประสิทธิภาพ เราใช้เงินปีละ 200 ล้าน รายละเอียดเยอะ ต้องแยกย่อย สินค้าบางตัวออนไลน์อย่างเดียว ในอนาคตเราจะทำเรื่องน้ำสมุนไพรที่เป็นธัญพืช เราจะออกออนไลน์อย่างเดียว ถ้าเราทำได้ดี เราสามารถทำคอนเทนต์ยาวๆ ได้ อธิบายที่มาที่ไปของโปรดักส์ได้ อย่างเช่น นมถั่วเหลือง มาอย่างไร จะผสมน้ำมะพร้าวให้ด้วย หรือตัวที่เป็นรวงข้าวโพด เราก็บอกที่มา และประโยชน์ ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ถ้าเรามายิงทีวี เงินบานเลย 1 นาที ….พวกนี้เราจะทำเป็นนิชมาร์เก็ตมากขึ้น เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เป็นเออร์เบิร์น หรือลูเลอร์”
แนวคิดของนักการตลาดคนนี้ ให้ความสำคัญกับทั้งการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ และการขยายช่องทางตลาดเพิ่มขึ้นโดยปัจจุบันสินค้าของศรีนานาพรฯ ขยายออกไปเป็น 4 หมวดใหญ่ ได้แก่ 1. สแน็กซ์ คือ เบนโต๊ะ 2. เยลลี่คือ เจเล่ และแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยซึ่งอยู่ในพอร์ตเยลลี่ 3. บิสกิต มีแบรนด์ โลตัส กับช็อกกี้ และ 4. เครื่องดื่ม ภายใต้แบรนด์ เมจิฟาร์ม
ส่วนช่องทางตลาด นอกจากตลาดในประเทศที่เร่งขยายจนครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว ตลาดใหม่ๆ ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างซีแอลเอ็มวี ก็ถือเป็นตลาดสำคัญ และเป็นโอกาสทางการตลาดที่น่าสนใจ แต่การขยายตลาดใหม่ ศรีนานาพรฯ ก็ต้องเตรียมความพร้อมของตัวเองเป็นอย่างดี
“ฐากร” บอกว่า สิ่งที่ต้องดูก่อนขยายตลาดคือ คุณภาพที่ต้องสู้คู่แข่งในตลาดได้ มีศักยภาพพอที่จะเข้าไปแข่งขัน เส้นทางการเข้าสู่ตลาดเหล่านั้น ต้องศึกษาว่า จะสร้างดิสทริบิวเตอร์หรือไปร่วมกับพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่น และสิ่งสำคัญคือ การลงลุยตลาดเอง พร้อมตั้งโรงงาน เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง
ขณะนี้ ศรีนานาพรฯ ได้เข้าไปลงทุนตั้งโรงงานแรกที่เมียนมา หลังจากนั้นจึงขยายการลงทุนไปตั้งโรงงานใน เวียดนาม และกัมพูชา ส่วนตลาดฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ จีน ก็เป็นตลาดที่มีสินค้าของศรีนานาพรฯ เข้าไปวางจำหน่ายแล้วเช่นกัน
เป้าหมายสูงสุดของผู้บริหารคนนี้คือ การผลักดันสินค้าของบริษัทฯ ไปสู่ตลาดโลก โดยเริ่มสร้างฐานในตลาดซีแอลเอ็มวี หรือ Regional Company ก่อนที่จะขยายไปสู่เอเชีย และจีน ด้วยเป้ายอดขายต่างประเทศในปีนี้อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา ที่มียอดขายอยู่ราว 800 ล้านบาท
ความท้าทายของนักบริหารที่ชื่อ “ฐากร ชัยสถาพร” คนนี้ คือ การรักษาการเติบโต รักษามาร์เก็ตแชร์ ด้วยการขยายพื้นที่การขายแบบมั่นคง และมีศักยภาพ ซึ่งเขามั่นใจว่า การก้าวสู่เป้าหมายนั้น ไม่ไกลเกินฝันแน่นอน
July 17, 2018
หากพูดถึงขนมเด็กๆ ที่มีชื่อเป็นที่รู้จัก อย่าง “เบนโตะ-เจเล่-โลตัส-ช็อกกี้” บางคนอาจจะมองว่าเป็นธุรกิจเล็กๆ ไม่มีมูลค่า แต่จริงๆ แล้ว ขนมเด็กๆ เหล่านี้ สร้างรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี ให้กับ “บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง”
และขนมเด็กๆ เหล่านี้ก็ไม่ได้วางขายอยู่แค่ในประเทศไทย แต่ขยายตลาดไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงกำลังจะขยายไปสู่ตลาดซีแอลเอ็มวี ด้วยฝีมือการผลักดันของผู้บริหารที่ชื่อ “ฐากร ชัยสถาพร” รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสสายงานธุรกิจ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (SNNP)
“ฐากร” เล่าว่า “ศรีนานาพร” เติบโตมาจากร้านยี่ปั๊วขนมเล็กๆ ย่านมหานาค เมื่อกว่า 40 ปีที่แล้ว เริ่มจากพี่ชายของเขาเริ่มธุรกิจขนมตั้งแต่ปี 2514 โดยเริ่มต้นจากทำเมล็ดแตงโม ตราระฆังทอง จนมีชาวสิงคโปร์มาซื้อกิจการต่อไป จึงย้ายมาทำโรงงานเวเฟอร์ที่ซอยวัดม่วง 63 ย่านบางแค ภายใต้ชื่อแบรนด์คุณหนู และกามเทพ ซึ่งถือเป็นสินค้าขายดีในยุคนั้น และยังขยายธุรกิจต่อมาสู่การเปิดไลน์บิสกิต หลังซื้อเครื่องทำขนมปังเข้ามาเสริม ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดจึงมาซื้อที่แถวอ้อมน้อย 3 แปลง
และเมื่อปี 2533 หลังเรียนจบ เขาจึงได้เข้ามาร่วมบริหาร โดยพี่ชายมอบหมายให้ดูเรื่องของคอร์ปอเรท และการตลาดทั้งหมด
“ฐากร” เล่าอีกว่า นอกจากการบริหารตลาดและภาพรวมของบริษัทแล้ว เขายังพัฒนาสินค้าใหม่กับแบรนด์เยลลี่ เจเล่ ขึ้นมาอีกหนึ่งแบรนด์ ซึ่งก็เป็นหนึ่งแบรนด์สินค้าที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
แต่เส้นทางทั้งหมดไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง ปี 2541 -2542 ธุรกิจขนมที่ก่อนหน้านั้นถือเป็นหนึ่งในดาวรุ่งที่ซื้อง่ายขายคล่อง ผลิตอะไรออกมาเท่าไรก็ขายได้ ก็ต้องเจอกับภาวะสะดุดเช่นเดียวกัน เนื่องจากสภาพตลาดเปลี่ยน ลูกค้าที่เป็นยี่ปั๊วล้มหายตายจาก
บริษัทต้องปรับตัวครั้งใหญ่ “ฐากร” ได้เปลี่ยนวิธีบริหารจัดการมาสู่ระบบการขายเงินสด (Cash Sale) ช่องทางขายที่เคยขายตรงสู่ร้านยี่ปั๊ว ต้องเปลี่ยนมาสู่ธุรกิจรีเทลที่มีโมเดิร์นเทรดแบรนด์ใหญ่จากต่างชาติเข้ามาเป็นช่องทางใหม่
การทำธุรกิจจึงต้องกระจายให้ครอบคลุมทุกช่องทาง ทั้งโมเดิร์นเทรด เทรดดิชั่นนอลเทรดหรือร้านค้าปลีกทั่วไป และยังต้องจับมือกับโลจิสติกส์รายใหญ่อย่างบริษัท คาราบาวแดง และ บริษัท เดอเบล จํากัด ของค่ายกระทิงแดง ช่วยกระจายสินค้า เสริมกับรถกระจายสินค้าของบริษัท
แน่นอนตลาดออนไลน์ ก็เป็นอีกตลาดหนึ่งที่ขนมเด็กๆ ของศรีนานาพรฯ บุกไปถึง ซึ่งเขาได้จับมือกับลาซาด้า และอาลีบาบา พร้อมตั้งทีมงานออนไลน์ขึ้นมาพัฒนาช่องทางขาย พัฒนาการตลาด และกำลังพัฒนาสินค้าที่เหมาะสำหรับช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะอีกด้วย
“ฐากร” พูดถึงวิธีการทำตลาดของเขาว่า…”เราต้องรู้ว่าลูกค้าเราคือใคร กระแสของโลกไปทางไหน เราต้องตามกระแสผู้บริโภคให้ทัน และต้องใช้เงินให้มีประสิทธิภาพ เราใช้เงินปีละ 200 ล้าน รายละเอียดเยอะ ต้องแยกย่อย สินค้าบางตัวออนไลน์อย่างเดียว ในอนาคตเราจะทำเรื่องน้ำสมุนไพรที่เป็นธัญพืช เราจะออกออนไลน์อย่างเดียว ถ้าเราทำได้ดี เราสามารถทำคอนเทนต์ยาวๆ ได้ อธิบายที่มาที่ไปของโปรดักส์ได้ อย่างเช่น นมถั่วเหลือง มาอย่างไร จะผสมน้ำมะพร้าวให้ด้วย หรือตัวที่เป็นรวงข้าวโพด เราก็บอกที่มา และประโยชน์ ต้องใช้เวลาระยะหนึ่ง ถ้าเรามายิงทีวี เงินบานเลย 1 นาที ….พวกนี้เราจะทำเป็นนิชมาร์เก็ตมากขึ้น เป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ เป็นเออร์เบิร์น หรือลูเลอร์”
แนวคิดของนักการตลาดคนนี้ ให้ความสำคัญกับทั้งการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ และการขยายช่องทางตลาดเพิ่มขึ้นโดยปัจจุบันสินค้าของศรีนานาพรฯ ขยายออกไปเป็น 4 หมวดใหญ่ ได้แก่ 1. สแน็กซ์ คือ เบนโต๊ะ 2. เยลลี่คือ เจเล่ และแบรนด์เล็กแบรนด์น้อยซึ่งอยู่ในพอร์ตเยลลี่ 3. บิสกิต มีแบรนด์ โลตัส กับช็อกกี้ และ 4. เครื่องดื่ม ภายใต้แบรนด์ เมจิฟาร์ม
ส่วนช่องทางตลาด นอกจากตลาดในประเทศที่เร่งขยายจนครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว ตลาดใหม่ๆ ในประเทศเพื่อนบ้านอย่างซีแอลเอ็มวี ก็ถือเป็นตลาดสำคัญ และเป็นโอกาสทางการตลาดที่น่าสนใจ แต่การขยายตลาดใหม่ ศรีนานาพรฯ ก็ต้องเตรียมความพร้อมของตัวเองเป็นอย่างดี
“ฐากร” บอกว่า สิ่งที่ต้องดูก่อนขยายตลาดคือ คุณภาพที่ต้องสู้คู่แข่งในตลาดได้ มีศักยภาพพอที่จะเข้าไปแข่งขัน เส้นทางการเข้าสู่ตลาดเหล่านั้น ต้องศึกษาว่า จะสร้างดิสทริบิวเตอร์หรือไปร่วมกับพาร์ทเนอร์ในท้องถิ่น และสิ่งสำคัญคือ การลงลุยตลาดเอง พร้อมตั้งโรงงาน เพื่อลดต้นทุนในการขนส่ง
ขณะนี้ ศรีนานาพรฯ ได้เข้าไปลงทุนตั้งโรงงานแรกที่เมียนมา หลังจากนั้นจึงขยายการลงทุนไปตั้งโรงงานใน เวียดนาม และกัมพูชา ส่วนตลาดฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ จีน ก็เป็นตลาดที่มีสินค้าของศรีนานาพรฯ เข้าไปวางจำหน่ายแล้วเช่นกัน
เป้าหมายสูงสุดของผู้บริหารคนนี้คือ การผลักดันสินค้าของบริษัทฯ ไปสู่ตลาดโลก โดยเริ่มสร้างฐานในตลาดซีแอลเอ็มวี หรือ Regional Company ก่อนที่จะขยายไปสู่เอเชีย และจีน ด้วยเป้ายอดขายต่างประเทศในปีนี้อยู่ที่ 2,000 ล้านบาท เติบโตจากปีที่ผ่านมา ที่มียอดขายอยู่ราว 800 ล้านบาท
ความท้าทายของนักบริหารที่ชื่อ “ฐากร ชัยสถาพร” คนนี้ คือ การรักษาการเติบโต รักษามาร์เก็ตแชร์ ด้วยการขยายพื้นที่การขายแบบมั่นคง และมีศักยภาพ ซึ่งเขามั่นใจว่า การก้าวสู่เป้าหมายนั้น ไม่ไกลเกินฝันแน่นอน
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 6
วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล พา ศรีนานาพร สู่อาณาจักรขนมใน CLMV
จากร้านยี่ปั๊วข้างโรงภาพยนตร์สู่โรงงานผลิตเยลลี่ และปลาหมึกแผ่นอันดับ 1 ในประเทศ เดินหน้าคว้าโอกาสประเทศเพื่อนบ้าน ประเดิมสร้างฐานธุรกิจในกัมพูชาและเวียดนาม พร้อมขยายอาณาจักรอุปโภคบริโภคและพลังงานต่อเนื่อง
กว่า 40 ปีของพ่อค้าขนมขบเคี้ยวที่เริ่มต้นช่วยมารดาในร้านค้าส่งขนม “ศรีวิวัฒน์” ข้างโรงภาพยนตร์ปารีส ย่านตลาดมหานาค ตั้งแต่ปี 2515 เด็กหนุ่มวัย 17 ปีขยันขันแข็งช่วยเหลือกิจการจนสามารถขยับขยายเป็นธุรกิจค้าส่งในแถบชานเมืองและครอบคลุมทั่วภาคกลางในชื่อ ศรีเจริญพาณิชย์
ป้ายร้าน “ตั้งกิมเฮง” หรือชื่อศรีวิวัฒน์ซึ่งติดอยู่บนอาคารเป็นมากกว่าความภาคภูมิใจของผู้สร้างรากฐานอาณาจักรอันแข็งแกร่งให้กับตระกูลไกรพิสิทธิ์กุลที่สามารถฝ่ามรสุมทางธุรกิจ ด้วยการเสาะหาน่านน้ำใหม่ที่ไร้คู่แข่งขัน โดยไม่หยุดยั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กลายเป็นกระแสความนิยมแจ้งเกิดผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้หลายพันล้านบาทในปัจจุบัน
บนเส้นทางการค้าที่ไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบของ วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เถ้าแก่ผู้คลุกคลีอยู่ในโลกขนมและการค้าวัย 62 ปี ยังคงระลึกถึงจุดเริ่มของความเปลี่ยนแปลงจากกิจการค้าส่งที่เคยเป็นจุดเริ่มของครอบครัวต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงสู่การสร้างแบรนด์ด้วยการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเม็ดแตงโมอบหรือเม็ดก๋วยจี๊ตราระฆัง ในโรงงานขนาดเล็กที่วัดม่วง ซ.เพชรเกษม 63 บน เนื้อที่ประมาณ 200 ตารางวา และผลิตขนม ประเภทแป้งในปี 2534
“เรามองว่าธุรกิจขายส่งไม่มีแบรนด์ของตัวเองแข่งขันสูงมาก จึงเริ่มต้นโรงงานผลิตเม็ดก๋วยจี๊ ในยุคนั้นขายดีแต่ยังสู้เจ้าเก่าไม่ได้ เราทำประมาณ 1 ปีจึงไปทำสายแป้งเช่น เวเฟอร์ตราคุณหนู ขาย 50 สตางค์และปรับปรุงตลอด”
วิวรรธน์ทบทวนความทรงจำในช่วงเวลาที่กิจการขนมประเภทแป้งกำลังทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยเฉพาะขนมปังปี๊บที่สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงและภาวะแป้งขาดตลาด เนื่องจากยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบแป้งจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสูงฉุดผลกำไรลงจนแทบไม่เหลือแม้ทางออกฉุกเฉินที่สะดวกและง่ายดายที่สุดในการลดต้นทุนธุรกิจคือการปลดพนักงานหรือขึ้นราคาสินค้า
“วิกฤตทำให้เกิดโอกาส เราเลือกนำทีมงานที่มีอยู่ขยายธุรกิจเพิ่ม หลังเดินทางดูนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ญี่ปุ่นเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว จากอาชีพยี่ปั๊วเดิมทำให้เรารู้ว่าอะไรเหมาะกับผู้บริโภคไทย ในจังหวะปรับเทรนด์สินค้าใหม่เราจึงนำเยลลี่แก้วและสั่งเครื่องจากญี่ปุ่นเข้ามาปรับปรุงใหม่เป็นรายแรกในไทย และเบนโตะที่ดัดแปลงผสมกับเนื้อปลา เพื่อเจือจางคอเลสเตอรอล แต่ปลาเส้นมีเจ้าตลาดอยู่เราจึงทำปลาแผ่นและเป็นอันดับ 1 เราหาน่านน้ำธุรกิจของตัวเอง ไม่คิดแข่งกับใคร”
ทันทีที่วิวรรธน์แปลงโฉมเยลลี่ถ้วยเล็กเป็นแก้วพลาสติกขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมชูจุดขายความต่างในการรับประทานแทนมื้ออาหารหรืออาหารว่างช่วยลดความอ้วน ทำให้เจเล่สามารถครองความนิยมได้นานนับสิบปี นอกจากนั้น วิวรรธน์ยังต่อยอดสินค้าขนมปังและเวเฟอร์ จากประสบการณ์จำหน่ายขาไก่และขนมปังปี๊บสมัยเปิดร้านยี่ปั๊ว ทำให้เล็งเห็นโอกาสปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและสะอาดถูกสุขอนามัยมากขึ้น รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่รอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้ตราสินค้าโลตัส โดยสามารถสร้างการเติบโตด้านยอดขายแบบไต่ระดับจากหลักสิบล้านบาทถึงกว่า 800 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
“เราต้องดูเทรนด์ผู้บริโภค และสร้างความแตกต่าง เพื่อให้มีน่านน้ำธุรกิจของตัวเอง เช่น การบรรจุขนมขาไก่ในบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน หรือการทาปลาหมึกแผ่นที่เน้นแต่รสเผ็ด ทำให้ผู้บริโภคอยากลองพิสูจน์ความเผ็ด แม้แต่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะ จีน เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ทำให้ 7-Eleven ไต้หวันติดต่อเป็นช่องทางจำหน่ายเบนโตะตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้ว”
วิวรรธน์กล่าวถึงการเติบโตด้านรายได้จากจำนวน 5.24 พันล้านบาทในปี 2559 สู่ระดับหมื่นล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้าคว้าโอกาสในต่างแดนในแต่ละย่างก้าวของการเติบโตที่เกิดขึ้นจากความพยายามมองหาโอกาสและพร้อมปรับตัวเริ่มต้นธุรกิจนอกกรอบที่ต้องแตกต่างและเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดเดิม
วิวรรธน์ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์รวมถึงการขยายตลาดในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทได้เริ่มวางรากฐานด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในกลุ่มประเทศ CLMV หรือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามเป็นเวลามากกว่า 20 ปี โดยมีสัดส่วนรายได้การจำหน่ายในต่างประเทศประมาณ 13% นำโดยจีน 4% และกลุ่ม CLMV ราว 7% รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียอีก 2% เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์
วิวรรธน์กล่าวถึงการจับมือกับบริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด เจ้าของแบรนด์ทิฟฟี่ ร่วมทุนก่อตั้งบริษัท S.C.Food Products จำกัด โดยศรีนานาพรถือหุ้นประมาณ 60% เพื่อสร้างโรงงานผลิตเวเฟอร์ บิสกิต และเยลลี่ในประเทศกัมพูชามูลค่า 300 ล้านบาทเนื้อที่ราว 42 ไร่ ใกล้กับ จ.สระแก้ว ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้ภายในปี นี้นอกจากนั้น ยังถือหุ้น 60% ในการก่อตั้งบริษัท ป จำกัด พร้อมสร้างโรงงานผลิตเยลลี่และเครื่องดื่มในกรุง Ho Chi Minh City ประเทศเวียดนาม
“ในอนาคต 5 ปี เราต้องการเติบโตต่างประเทศและในประเทศสัดส่วน 100:100 จากปัจจุบัน 13:87 ซึ่งมีความเป็นไปได้จากการขยายช่องทางการจำหน่ายและตั้งโรงงานโดยวางแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้งบปี 2561 และเข้าเทรดปี 2562 เพื่อใช้เงินลงทุนเพิ่มกำลังการผลิต และขยายธุรกิจยังต่างประเทศ เราต้องการก้าวไปอย่างมั่นคง”
ก้าวสู่อุปโภคบริโภคถึงพลังงานความสามารถในการก่อร่างสร้างธุรกิจของวิวรรธน์ไม่จำกัดเฉพาะด้านขนมและเครื่องดื่ม แต่ยังขยายขอบเขตไปยังธุรกิจพลังงาน ในฐานะประธานกรรมการบริหาร บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ทั้งยังถือหุ้นราว 7.50% หรือ 69.16 ล้านหุ้น หลังบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai
“การลงทุนธุรกิจใหม่ไม่ใช่เพราะเห็นโอกาส แต่เพราะต้องการขยายธุรกิจให้ทายาท เช่น ในช่วงที่เราเริ่มต้นธุรกิจพลังงาน แม้จะเป็นเทรนด์ใหม่ แต่ยังมีผู้ประกอบการจำนวนไม่มาก เนื่องจากลงทุนสูงและยังไม่มั่นใจในผลตอบแทนแต่เมื่อถึงเวลาเทรนด์เปลี่ยนตาม ทำให้ธุรกิจเติบโต เช่นเดียวกับธุรกิจปาล์ม และสินค้าอุปโภคที่เรากำลังจะดำเนินการอย่างจริงจังหลังศรีนานาพรเข้าตลาดฯ” วิวรรธน์กล่าวถึงแผนการต่อยอดทางธุรกิจพลังงานและกลุ่มอุปโภคบริโภค จากประสบการณ์การสร้างธุรกิจที่ทำให้เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค การสร้างแบรนด์ นวัตกรรมและการกระจายสินค้า
นอกจากนั้น วิวรรธน์ยังสามารถเสริมรากฐานธุรกิจของครอบครัวให้แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ด้วยการขยายขอบเขตของกลุ่มธุรกิจจากขนมและเครื่องดื่มสู่สินค้าอุปโภคและบริโภค ตลอดจนพลังงาน โดยมีโรงงานน้ำมันปาล์มและโรงงานน้ำตาลเป็นเสมือนห้องครัวผลิตสินค้าให้ศรีนานาพร ซึ่งครอบคลุมถึงวัตถุดิบสำคัญในน้ำตาล ซอส ซีอิ๊ว เนย มาการีน เป็นต้น พร้อมใช้รูปแบบธุรกิจเดียวกัน ได้แก่ การสร้างแบรนด์การขยายช่องทางจำหน่าย และการพัฒนาสินค้าอุปโภคบริโภคให้ตอบโจทย์ความต้องการและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
“ผมอยากให้นึกภาพ CP หรือ TCC ที่มีหลายธุรกิจประกอบกัน ซึ่งจุดกำเนิดของเรามาจากพ่อค้า ทำให้มองเห็นช่องว่างและโอกาสการเติบโตของสินค้า เราสามารถต่อยอดขนมและเครื่องดื่มเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคได้ จากปัจจุบันเรามีศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ต่างๆ เรามี SNNP International เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ศรีนานาพรถือหุ้น 100% และถือเงินลงทุนในต่างประเทศ เช่น กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ รวมถึงเราเพิ่งตั้งศรีนานาพร ดิสทริบิวชั่น เป็นหน่วยรถ”
https://forbesthailand.com/people/asean ... ิ์กุล.html
จากร้านยี่ปั๊วข้างโรงภาพยนตร์สู่โรงงานผลิตเยลลี่ และปลาหมึกแผ่นอันดับ 1 ในประเทศ เดินหน้าคว้าโอกาสประเทศเพื่อนบ้าน ประเดิมสร้างฐานธุรกิจในกัมพูชาและเวียดนาม พร้อมขยายอาณาจักรอุปโภคบริโภคและพลังงานต่อเนื่อง
กว่า 40 ปีของพ่อค้าขนมขบเคี้ยวที่เริ่มต้นช่วยมารดาในร้านค้าส่งขนม “ศรีวิวัฒน์” ข้างโรงภาพยนตร์ปารีส ย่านตลาดมหานาค ตั้งแต่ปี 2515 เด็กหนุ่มวัย 17 ปีขยันขันแข็งช่วยเหลือกิจการจนสามารถขยับขยายเป็นธุรกิจค้าส่งในแถบชานเมืองและครอบคลุมทั่วภาคกลางในชื่อ ศรีเจริญพาณิชย์
ป้ายร้าน “ตั้งกิมเฮง” หรือชื่อศรีวิวัฒน์ซึ่งติดอยู่บนอาคารเป็นมากกว่าความภาคภูมิใจของผู้สร้างรากฐานอาณาจักรอันแข็งแกร่งให้กับตระกูลไกรพิสิทธิ์กุลที่สามารถฝ่ามรสุมทางธุรกิจ ด้วยการเสาะหาน่านน้ำใหม่ที่ไร้คู่แข่งขัน โดยไม่หยุดยั้งการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กลายเป็นกระแสความนิยมแจ้งเกิดผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้หลายพันล้านบาทในปัจจุบัน
บนเส้นทางการค้าที่ไม่เคยโรยด้วยกลีบกุหลาบของ วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด เถ้าแก่ผู้คลุกคลีอยู่ในโลกขนมและการค้าวัย 62 ปี ยังคงระลึกถึงจุดเริ่มของความเปลี่ยนแปลงจากกิจการค้าส่งที่เคยเป็นจุดเริ่มของครอบครัวต้องเผชิญกับการแข่งขันสูงสู่การสร้างแบรนด์ด้วยการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเม็ดแตงโมอบหรือเม็ดก๋วยจี๊ตราระฆัง ในโรงงานขนาดเล็กที่วัดม่วง ซ.เพชรเกษม 63 บน เนื้อที่ประมาณ 200 ตารางวา และผลิตขนม ประเภทแป้งในปี 2534
“เรามองว่าธุรกิจขายส่งไม่มีแบรนด์ของตัวเองแข่งขันสูงมาก จึงเริ่มต้นโรงงานผลิตเม็ดก๋วยจี๊ ในยุคนั้นขายดีแต่ยังสู้เจ้าเก่าไม่ได้ เราทำประมาณ 1 ปีจึงไปทำสายแป้งเช่น เวเฟอร์ตราคุณหนู ขาย 50 สตางค์และปรับปรุงตลอด”
วิวรรธน์ทบทวนความทรงจำในช่วงเวลาที่กิจการขนมประเภทแป้งกำลังทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ โดยเฉพาะขนมปังปี๊บที่สามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ แต่ด้วยการแข่งขันที่รุนแรงและภาวะแป้งขาดตลาด เนื่องจากยังต้องพึ่งพิงการนำเข้าวัตถุดิบแป้งจากต่างประเทศ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นสูงฉุดผลกำไรลงจนแทบไม่เหลือแม้ทางออกฉุกเฉินที่สะดวกและง่ายดายที่สุดในการลดต้นทุนธุรกิจคือการปลดพนักงานหรือขึ้นราคาสินค้า
“วิกฤตทำให้เกิดโอกาส เราเลือกนำทีมงานที่มีอยู่ขยายธุรกิจเพิ่ม หลังเดินทางดูนวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ที่ญี่ปุ่นเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว จากอาชีพยี่ปั๊วเดิมทำให้เรารู้ว่าอะไรเหมาะกับผู้บริโภคไทย ในจังหวะปรับเทรนด์สินค้าใหม่เราจึงนำเยลลี่แก้วและสั่งเครื่องจากญี่ปุ่นเข้ามาปรับปรุงใหม่เป็นรายแรกในไทย และเบนโตะที่ดัดแปลงผสมกับเนื้อปลา เพื่อเจือจางคอเลสเตอรอล แต่ปลาเส้นมีเจ้าตลาดอยู่เราจึงทำปลาแผ่นและเป็นอันดับ 1 เราหาน่านน้ำธุรกิจของตัวเอง ไม่คิดแข่งกับใคร”
ทันทีที่วิวรรธน์แปลงโฉมเยลลี่ถ้วยเล็กเป็นแก้วพลาสติกขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมชูจุดขายความต่างในการรับประทานแทนมื้ออาหารหรืออาหารว่างช่วยลดความอ้วน ทำให้เจเล่สามารถครองความนิยมได้นานนับสิบปี นอกจากนั้น วิวรรธน์ยังต่อยอดสินค้าขนมปังและเวเฟอร์ จากประสบการณ์จำหน่ายขาไก่และขนมปังปี๊บสมัยเปิดร้านยี่ปั๊ว ทำให้เล็งเห็นโอกาสปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและสะอาดถูกสุขอนามัยมากขึ้น รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่ายที่รอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายใต้ตราสินค้าโลตัส โดยสามารถสร้างการเติบโตด้านยอดขายแบบไต่ระดับจากหลักสิบล้านบาทถึงกว่า 800 ล้านบาทในปีที่ผ่านมา
“เราต้องดูเทรนด์ผู้บริโภค และสร้างความแตกต่าง เพื่อให้มีน่านน้ำธุรกิจของตัวเอง เช่น การบรรจุขนมขาไก่ในบรรจุภัณฑ์มาตรฐาน หรือการทาปลาหมึกแผ่นที่เน้นแต่รสเผ็ด ทำให้ผู้บริโภคอยากลองพิสูจน์ความเผ็ด แม้แต่นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะ จีน เกาหลี ไต้หวัน สิงคโปร์ ฮ่องกง ทำให้ 7-Eleven ไต้หวันติดต่อเป็นช่องทางจำหน่ายเบนโตะตั้งแต่ 10 กว่าปีที่แล้ว”
วิวรรธน์กล่าวถึงการเติบโตด้านรายได้จากจำนวน 5.24 พันล้านบาทในปี 2559 สู่ระดับหมื่นล้านบาทใน 5 ปีข้างหน้าคว้าโอกาสในต่างแดนในแต่ละย่างก้าวของการเติบโตที่เกิดขึ้นจากความพยายามมองหาโอกาสและพร้อมปรับตัวเริ่มต้นธุรกิจนอกกรอบที่ต้องแตกต่างและเหนือกว่าคู่แข่งในตลาดเดิม
วิวรรธน์ ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์รวมถึงการขยายตลาดในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทได้เริ่มวางรากฐานด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในกลุ่มประเทศ CLMV หรือ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนามเป็นเวลามากกว่า 20 ปี โดยมีสัดส่วนรายได้การจำหน่ายในต่างประเทศประมาณ 13% นำโดยจีน 4% และกลุ่ม CLMV ราว 7% รวมถึงประเทศอื่นๆ ในเอเชียอีก 2% เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์
วิวรรธน์กล่าวถึงการจับมือกับบริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด เจ้าของแบรนด์ทิฟฟี่ ร่วมทุนก่อตั้งบริษัท S.C.Food Products จำกัด โดยศรีนานาพรถือหุ้นประมาณ 60% เพื่อสร้างโรงงานผลิตเวเฟอร์ บิสกิต และเยลลี่ในประเทศกัมพูชามูลค่า 300 ล้านบาทเนื้อที่ราว 42 ไร่ ใกล้กับ จ.สระแก้ว ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จและเปิดดำเนินการได้ภายในปี นี้นอกจากนั้น ยังถือหุ้น 60% ในการก่อตั้งบริษัท ป จำกัด พร้อมสร้างโรงงานผลิตเยลลี่และเครื่องดื่มในกรุง Ho Chi Minh City ประเทศเวียดนาม
“ในอนาคต 5 ปี เราต้องการเติบโตต่างประเทศและในประเทศสัดส่วน 100:100 จากปัจจุบัน 13:87 ซึ่งมีความเป็นไปได้จากการขยายช่องทางการจำหน่ายและตั้งโรงงานโดยวางแผนเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้งบปี 2561 และเข้าเทรดปี 2562 เพื่อใช้เงินลงทุนเพิ่มกำลังการผลิต และขยายธุรกิจยังต่างประเทศ เราต้องการก้าวไปอย่างมั่นคง”
ก้าวสู่อุปโภคบริโภคถึงพลังงานความสามารถในการก่อร่างสร้างธุรกิจของวิวรรธน์ไม่จำกัดเฉพาะด้านขนมและเครื่องดื่ม แต่ยังขยายขอบเขตไปยังธุรกิจพลังงาน ในฐานะประธานกรรมการบริหาร บริษัท เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ ทั้งยังถือหุ้นราว 7.50% หรือ 69.16 ล้านหุ้น หลังบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai
“การลงทุนธุรกิจใหม่ไม่ใช่เพราะเห็นโอกาส แต่เพราะต้องการขยายธุรกิจให้ทายาท เช่น ในช่วงที่เราเริ่มต้นธุรกิจพลังงาน แม้จะเป็นเทรนด์ใหม่ แต่ยังมีผู้ประกอบการจำนวนไม่มาก เนื่องจากลงทุนสูงและยังไม่มั่นใจในผลตอบแทนแต่เมื่อถึงเวลาเทรนด์เปลี่ยนตาม ทำให้ธุรกิจเติบโต เช่นเดียวกับธุรกิจปาล์ม และสินค้าอุปโภคที่เรากำลังจะดำเนินการอย่างจริงจังหลังศรีนานาพรเข้าตลาดฯ” วิวรรธน์กล่าวถึงแผนการต่อยอดทางธุรกิจพลังงานและกลุ่มอุปโภคบริโภค จากประสบการณ์การสร้างธุรกิจที่ทำให้เข้าใจความต้องการของผู้บริโภค การสร้างแบรนด์ นวัตกรรมและการกระจายสินค้า
นอกจากนั้น วิวรรธน์ยังสามารถเสริมรากฐานธุรกิจของครอบครัวให้แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น ด้วยการขยายขอบเขตของกลุ่มธุรกิจจากขนมและเครื่องดื่มสู่สินค้าอุปโภคและบริโภค ตลอดจนพลังงาน โดยมีโรงงานน้ำมันปาล์มและโรงงานน้ำตาลเป็นเสมือนห้องครัวผลิตสินค้าให้ศรีนานาพร ซึ่งครอบคลุมถึงวัตถุดิบสำคัญในน้ำตาล ซอส ซีอิ๊ว เนย มาการีน เป็นต้น พร้อมใช้รูปแบบธุรกิจเดียวกัน ได้แก่ การสร้างแบรนด์การขยายช่องทางจำหน่าย และการพัฒนาสินค้าอุปโภคบริโภคให้ตอบโจทย์ความต้องการและยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป
“ผมอยากให้นึกภาพ CP หรือ TCC ที่มีหลายธุรกิจประกอบกัน ซึ่งจุดกำเนิดของเรามาจากพ่อค้า ทำให้มองเห็นช่องว่างและโอกาสการเติบโตของสินค้า เราสามารถต่อยอดขนมและเครื่องดื่มเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคได้ จากปัจจุบันเรามีศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์ต่างๆ เรามี SNNP International เป็นบริษัทโฮลดิ้งที่ศรีนานาพรถือหุ้น 100% และถือเงินลงทุนในต่างประเทศ เช่น กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ รวมถึงเราเพิ่งตั้งศรีนานาพร ดิสทริบิวชั่น เป็นหน่วยรถ”
https://forbesthailand.com/people/asean ... ิ์กุล.html
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 7
SNNP : บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน)
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจผลิต จำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว เช่น เยลลี่พร้อมดื่ม เครื่องดื่ม ปลาหมึก ปลาเส้น ขนมปังขาไก่
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร / อาหารและเครื่องดื่ม
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
ไม่เกิน 260,000,000 หุ้น (28.89%) ซึ่งประกอบด้วย
1. หุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 180,000,000 หุ้น
2. หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Concord I. Capital Limited 80,000,000 หุ้น
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
0.50 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ข้อมูล Filing
www.snnp.co.th
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจผลิต จำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว เช่น เยลลี่พร้อมดื่ม เครื่องดื่ม ปลาหมึก ปลาเส้น ขนมปังขาไก่
ตลาดรอง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET)
กลุ่มอุตสาหกรรม / หมวดธุรกิจ เกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร / อาหารและเครื่องดื่ม
สถานะ Filing
จำนวนหุ้นที่ IPO
ไม่เกิน 260,000,000 หุ้น (28.89%) ซึ่งประกอบด้วย
1. หุ้นสามัญเพิ่มทุน จำนวนไม่เกิน 180,000,000 หุ้น
2. หุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย Concord I. Capital Limited 80,000,000 หุ้น
ระยะเวลาเสนอขายหุ้น
n/a
ราคา IPO
n/a
ราคา PAR
0.50 บาท
วันที่เริ่มซื้อขาย n/a
ที่ปรึกษาทางการเงิน
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ข้อมูล Filing
www.snnp.co.th
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 8
‘ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ ยื่นไฟลิ่ง IPO 260 ล้านหุ้นเข้า SET
12/09/2019IPO, SNNP
HoonSmart.com>> “ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง” ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น ระดมทุนตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ชูจุดเด่นผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว เตรียมขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV หนุนเติบโตระยะยาว
น.ส.วีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) กล่าวว่า บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2562
ปัจจุบันบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 900 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 28.89% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 20.00% และ 8.89% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ตามลำดับ
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเสริมศักยภาพการขยายธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หลังจากดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่ดี ทั้งในด้านคุณภาพ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย
ปัจจุบัน SNNP เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าบริโภค ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนนภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เจเล่ ไดยาโมโตะ และคูลลี่ คูล และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม เช่น น้ำเฉาก๊วยผสมเนื้อเฉาก๊วย น้ำมะพร้าวผสมวุ้นมะพร้าว น้ำภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว ภายใต้ตราสินค้ายูซุ
(2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้นภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เบนโตะ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูปและขนมปังแท่ง ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ดอกบัว และโลตัส และผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบ ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ช๊อคกี้ และเบเกอรี่เฮาส์
บริษัทมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี มีผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งและหลากหลาย มีตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย อีกทั้งมีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีศักยภาพ ส่งผลให้ SNNP เป็นผู้นำในการพัฒนาและนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ประกอบกับ SNNP มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่แข็งแกร่ง สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกประเภทขายส่ง รวมถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพื่อทำให้สินค้าสามารถกระจายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ สินค้าของบริษัทยังมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งในภูมิภาคอาเซียนและนอกอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นต้น
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล กล่าวเพิ่มว่า SNNP ยังมีจุดเด่นด้านฐานการผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน โดยมีโรงงานในประเทศไทยจำนวน 4 แห่ง ที่มีความพร้อมด้านการผลิตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทำให้ SNNP สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ SNNP มีแผนการขยายฐานการผลิตสินค้าในต่างประเทศ โดยได้เริ่มดำเนินการโรงงานผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาเพื่อลงทุนขยายฐานการผลิตเพิ่มเติมที่ประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับแผนการขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
12/09/2019IPO, SNNP
HoonSmart.com>> “ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง” ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น ระดมทุนตั้งธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ชูจุดเด่นผู้นำด้านการผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว เตรียมขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV หนุนเติบโตระยะยาว
น.ส.วีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) กล่าวว่า บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2562
ปัจจุบันบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 900 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 28.89% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ
วิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล
ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกิน 20.00% และ 8.89% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ตามลำดับ
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเสริมศักยภาพการขยายธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง หลังจากดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่ดี ทั้งในด้านคุณภาพ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย
ปัจจุบัน SNNP เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าบริโภค ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนนภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เจเล่ ไดยาโมโตะ และคูลลี่ คูล และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม เช่น น้ำเฉาก๊วยผสมเนื้อเฉาก๊วย น้ำมะพร้าวผสมวุ้นมะพร้าว น้ำภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว ภายใต้ตราสินค้ายูซุ
(2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้นภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เบนโตะ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูปและขนมปังแท่ง ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ดอกบัว และโลตัส และผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบ ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ช๊อคกี้ และเบเกอรี่เฮาส์
บริษัทมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี มีผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งและหลากหลาย มีตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย อีกทั้งมีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีศักยภาพ ส่งผลให้ SNNP เป็นผู้นำในการพัฒนาและนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ประกอบกับ SNNP มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่แข็งแกร่ง สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกประเภทขายส่ง รวมถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพื่อทำให้สินค้าสามารถกระจายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ สินค้าของบริษัทยังมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งในภูมิภาคอาเซียนและนอกอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นต้น
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล กล่าวเพิ่มว่า SNNP ยังมีจุดเด่นด้านฐานการผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน โดยมีโรงงานในประเทศไทยจำนวน 4 แห่ง ที่มีความพร้อมด้านการผลิตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทำให้ SNNP สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ SNNP มีแผนการขยายฐานการผลิตสินค้าในต่างประเทศ โดยได้เริ่มดำเนินการโรงงานผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาเพื่อลงทุนขยายฐานการผลิตเพิ่มเติมที่ประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับแผนการขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 9
หุ้นไอพีโอน้องใหม่ “SNNP” เตรียมระดมทุน SET 260 ล้านหุ้น
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Friday, September 13, 2019 12:28
“บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง” หรือ SNNP หุ้นไอพีโอน้องใหม่ ยื่นไฟลิ่งเตรียมเสนอขายหุ้น IPO ในตลาด SET จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา พร้อมธนาคารไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง หรือ SNNP ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 900 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.89 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.00 และร้อยละ 8.89 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ตามลำดับ
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพื่อขยายธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หลังจากที่ดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 30 ปี โดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ปัจจุบัน SNNP เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าบริโภค ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
(1) กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนนภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เจเล่ ไดยาโมโตะ และคูลลี่ คูล และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม เช่น น้ำเฉาก๊วยผสมเนื้อเฉาก๊วย น้ำมะพร้าวผสมวุ้นมะพร้าว น้ำภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว ภายใต้ตราสินค้ายูซุ
(2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้นภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เบนโตะ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูปและขนมปังแท่ง ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ดอกบัว และโลตัส และผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบ ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ช๊อคกี้ และเบเกอรี่เฮาส์
“ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี SNNP มีผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งและหลากหลาย มีตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย อีกทั้งมีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีศักยภาพ ส่งผลให้ SNNP เป็นผู้นำในการพัฒนาและนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ประกอบกับ SNNP มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่แข็งแกร่ง สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกประเภทขายส่ง รวมถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพื่อทำให้สินค้าสามารถกระจายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ สินค้าของบริษัทยังมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งในภูมิภาคอาเซียนและนอกอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นต้น” นายวิวรรธน์ กล่าว
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล กล่าวอีกว่า SNNP ยังมีจุดเด่นด้านฐานการผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน โดยมีโรงงานในประเทศไทยจำนวน 4 แห่ง ที่มีความพร้อมด้านการผลิตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทำให้ SNNP สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ SNNP มีแผนการขยายฐานการผลิตสินค้าในต่างประเทศ โดยได้เริ่มดำเนินการโรงงานผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาเพื่อลงทุนขยายฐานการผลิตเพิ่มเติมที่ประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับแผนการขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
ที่มา: www.prachachat.net
Source - เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจ (Th)
Friday, September 13, 2019 12:28
“บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง” หรือ SNNP หุ้นไอพีโอน้องใหม่ ยื่นไฟลิ่งเตรียมเสนอขายหุ้น IPO ในตลาด SET จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น เมื่อวันที่ 11 ก.ย.ที่ผ่านมา พร้อมธนาคารไทยพาณิชย์เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง หรือ SNNP ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อขอเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 450 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 900 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 28.89 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ โดยแบ่งเป็นหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนไม่เกิน 180 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเดิมจำนวนไม่เกิน 80 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 20.00 และร้อยละ 8.89 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ตามลำดับ
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีแผนเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เพื่อขยายธุรกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ หลังจากที่ดำเนินธุรกิจในไทยมายาวนานกว่า 30 ปี โดยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ปัจจุบัน SNNP เป็นผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายสินค้าบริโภค ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
(1) กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนนภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เจเล่ ไดยาโมโตะ และคูลลี่ คูล และผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม เช่น น้ำเฉาก๊วยผสมเนื้อเฉาก๊วย น้ำมะพร้าวผสมวุ้นมะพร้าว น้ำภายใต้ตราสินค้าเมจิกฟาร์ม และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าว ภายใต้ตราสินค้ายูซุ
(2) กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้นภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น เบนโตะ ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูปและขนมปังแท่ง ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ดอกบัว และโลตัส และผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบ ภายใต้ตราสินค้าที่สำคัญ เช่น ช๊อคกี้ และเบเกอรี่เฮาส์
“ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจมายาวนานกว่า 30 ปี SNNP มีผลิตภัณฑ์ที่แข็งแกร่งและหลากหลาย มีตราสินค้าที่มีความเป็นเอกลักษณ์ มีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคที่หลากหลาย อีกทั้งมีทีมวิจัยและพัฒนาที่มีศักยภาพ ส่งผลให้ SNNP เป็นผู้นำในการพัฒนาและนำเสนอสินค้าใหม่ๆ ออกสู่ตลาด ประกอบกับ SNNP มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่แข็งแกร่ง สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าปลีกประเภทขายส่ง รวมถึงร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม เพื่อทำให้สินค้าสามารถกระจายไปสู่กลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ สินค้าของบริษัทยังมีการส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ทั้งในภูมิภาคอาเซียนและนอกอาเซียน เช่น กัมพูชา ลาว เวียดนาม จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน และฮ่องกง เป็นต้น” นายวิวรรธน์ กล่าว
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล กล่าวอีกว่า SNNP ยังมีจุดเด่นด้านฐานการผลิตที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในภูมิภาคอาเซียน โดยมีโรงงานในประเทศไทยจำนวน 4 แห่ง ที่มีความพร้อมด้านการผลิตในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ ทำให้ SNNP สามารถบริหารจัดการต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ SNNP มีแผนการขยายฐานการผลิตสินค้าในต่างประเทศ โดยได้เริ่มดำเนินการโรงงานผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา และอยู่ระหว่างการพิจารณาและศึกษาเพื่อลงทุนขยายฐานการผลิตเพิ่มเติมที่ประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับแผนการขยายตลาดในกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพ และช่วยสนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจในระยะยาว
ที่มา: www.prachachat.net
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 10
‘ศรีนานาพรฯ’ พลิกเกม เจาะออนไลน์-โฮมช็อปปิ้ง
06 May 2020 10:06 น.
ศรีนานาพรฯ เปิดแผนรับสู้โควิด-19 ทบทวน เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พร้อมโยกเม็ดเงินไตรมาสแรกเดินหน้ารุกออนไลน์ ผนึก Happy Shopping เจาะโฮมช็อปปิ้งรับเทรนด์นักช็อป
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล กรรมการบริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยว อาทิ เจเล่, เบนโตะ, ขนมขาไก่โลตัส, ช๊อคกี้เวเฟอร์ เป็นต้น เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้สภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อไม่ปกติแน่นอนว่ายอดขายของแต่ละบริษัทย่อมลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยในช่วงไตรมาส 1 บริษัทก็ได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย เนื่อง จากเตรียมแผนรองรับล่วงหน้าตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง ลดค่าใช้จ่าย การให้บุคลากรทำงานหลากหลายมากขึ้น ไม่มีการรับพนักงานเพิ่ม
“บริษัทสั่งซื้อวัตถุดิบจากจีน และเห็นสัญญาณเมื่อวัตถุดิบบางอย่างจากจีนเริ่มมีการส่งช้า บางโรงงานสั่งสินค้าไม่ได้ จนกระทั่งปิดตัวไป ในช่วงที่มีการระบาดในจีน ทำให้คาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าและเตรียมแผนตั้งรับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ช่วงที่สถานการณ์ยังไม่ระบาดในไทย”
สำหรับแผนการตลาดบริษัทได้ทบทวน เปลี่ยนแปลงและปรับปรุง เพื่อให้บริษัทสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาได้มีการโยกงบการตลาดมายังช่องทางออนไลน์มากขึ้น จากงบประมาณการตลาดทั้งเครือราว 5% ของยอดขาย ทั้งเรื่องโปรโมชัน ณ จุดขาย, โปรโมชันร่วมกับพาร์ตเนอร์มากขึ้น ผ่านการผสมผสานการตลาดทั้งทั้ง อะโบฟ เดอะ ไลน์ และบีโลว เดอะ ไลน์
ขณะเดียวกันยังปรับงบการตลาดมายังแบรนด์ที่แข็งแกร่งอย่าง เบนโตะ, เจเล่ เป็นผู้นำตลาดแทน เพราะในสภาวะที่ไม่ปกติการนำงบมาใช้กับแบรนด์ที่แข็งแกร่งจะเป็นประโยชน์มากกว่า ส่วนแบรดน์อื่นๆ ก็ลดหลั่นกันไป
“ที่ผ่านมาเราดูสถานการณ์เดือนต่อเดือน โดยมีการโยกเงินมา 1 ไตรมาสก่อน เพื่อดูว่าการใช้จ่ายการสื่อสารในออนไลน์กระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากบริโภคสินค้าของเราหรือไม่ ยกตัวอย่างมีการเปิดแคมเปญ “เจเล่ เวิร์ก ฟรอม โฮม” มานำเสนอแบรนด์ในภาวะวิกฤติ ขณะที่เบนโตะ ก็นำมาให้ความรู้กับผู้บริโภคว่าเบนโตะสามารถทำเป็นอย่างอื่นได้มากกว่าการทานสแน็ก มีการนำมาทำแคมเปญออนไลน์ ต่างๆ เพื่อสื่อสารแบรนด์”
นอกจากนี้ยังเทแผนการตลาดไปยังช่องทางโฮม ช็อปปิ้ง เพราะคนอยู่บ้าน และกักตัวกันมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคหันไปดูทีวีเลือกซื้อของจากโฮมช็อปปิ้งมากขึ้น โดยได้จับมือร่วมกับ Happy Shopping ในการจำหน่ายผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อรับเทรนด์ดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้บริษัทคาดการณ์ว่าสถานการณ์โควิดจะรุนแรงไปจนถึงเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นสถานการณ์จะดีขึ้นคนออกมาใช้จ่ายมากขึ้นแต่เชื่อว่าโควิด-19 ยังอยู่กับคนไทยต่อไป โดยแผน การตลาดในครึ่งปีหลังจะแตกต่างออกไปจากครึ่งปีแรก โดยบริษัทได้มีการเตรียมแคมเปญ แผนการตลาดในครึ่งปีหลังไว้หมดแล้ว
“ถ้าหลังเดือน 6 สถาน การณ์ไม่ดีขึ้นก็จะปรับแผนอีกแบบตามพฤติกรรมของผู้บริโภค สิ่งที่ท้าทายนี้คือทำอย่างไรให้โตมากกว่าปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้การทำให้เป็นไปตามเป้าถือเป็นเรื่องยาก ซึ่งวิกฤติครั้งนี้ถือว่าหนักสุดในรอบกว่า 30 ปีที่มีการก่อตั้งบริษัทมา”
ขณะที่ในส่วนของตลาดต่างประเทศบริษัทมีโรงงานที่กัมพูชา และกำลังดำเนินการก่อสร้างที่เวียดนาม และเมียนมา คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดทำการผลิตได้ในปี 2564 แต่เนื่องจากวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ทำให้ระบบขนส่ง การเดินทาง ไม่สามารถทำได้ จึงจำเป็นต้องมีการเลื่อนแผนงานออกไปก่อน ซึ่งแน่นอนว่าหากสถานการณ์ดีขึ้นก็พร้อมเดินหน้าต่อทันที
อย่างไรก็ดีช่วงที่ผ่านมายังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เพราะเป็นการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย โดยปัจจุบันบริษัทมีรายได้จากการส่งออกราว 20%
นอกจากนี้บริษัทยังได้เลื่อนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจากเดิมที่มีแผนจะจดทะเบียนในปีนี้ โดยมีทำการทบทวนแผนธุรกิจใหม่ให้แข็งแรงกว่าเดิมก่อนในภาวะวิกฤติ จึงต้องชะลอแผนการเข้าตลาดฯ ออกไปก่อนเป็นปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564
หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,571 วันที่ 3-6 พฤษภาคม 2563
06 May 2020 10:06 น.
ศรีนานาพรฯ เปิดแผนรับสู้โควิด-19 ทบทวน เปลี่ยนแปลง ปรับปรุง พร้อมโยกเม็ดเงินไตรมาสแรกเดินหน้ารุกออนไลน์ ผนึก Happy Shopping เจาะโฮมช็อปปิ้งรับเทรนด์นักช็อป
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล กรรมการบริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตขนมขบเคี้ยว อาทิ เจเล่, เบนโตะ, ขนมขาไก่โลตัส, ช๊อคกี้เวเฟอร์ เป็นต้น เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้สภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อไม่ปกติแน่นอนว่ายอดขายของแต่ละบริษัทย่อมลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยในช่วงไตรมาส 1 บริษัทก็ได้รับผลกระทบบ้างเล็กน้อย เนื่อง จากเตรียมแผนรองรับล่วงหน้าตั้งแต่การจัดซื้อ จัดจ้าง ลดค่าใช้จ่าย การให้บุคลากรทำงานหลากหลายมากขึ้น ไม่มีการรับพนักงานเพิ่ม
“บริษัทสั่งซื้อวัตถุดิบจากจีน และเห็นสัญญาณเมื่อวัตถุดิบบางอย่างจากจีนเริ่มมีการส่งช้า บางโรงงานสั่งสินค้าไม่ได้ จนกระทั่งปิดตัวไป ในช่วงที่มีการระบาดในจีน ทำให้คาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าและเตรียมแผนตั้งรับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ช่วงที่สถานการณ์ยังไม่ระบาดในไทย”
สำหรับแผนการตลาดบริษัทได้ทบทวน เปลี่ยนแปลงและปรับปรุง เพื่อให้บริษัทสามารถเดินหน้าต่อไปได้ โดยในไตรมาส 1 ที่ผ่านมาได้มีการโยกงบการตลาดมายังช่องทางออนไลน์มากขึ้น จากงบประมาณการตลาดทั้งเครือราว 5% ของยอดขาย ทั้งเรื่องโปรโมชัน ณ จุดขาย, โปรโมชันร่วมกับพาร์ตเนอร์มากขึ้น ผ่านการผสมผสานการตลาดทั้งทั้ง อะโบฟ เดอะ ไลน์ และบีโลว เดอะ ไลน์
ขณะเดียวกันยังปรับงบการตลาดมายังแบรนด์ที่แข็งแกร่งอย่าง เบนโตะ, เจเล่ เป็นผู้นำตลาดแทน เพราะในสภาวะที่ไม่ปกติการนำงบมาใช้กับแบรนด์ที่แข็งแกร่งจะเป็นประโยชน์มากกว่า ส่วนแบรดน์อื่นๆ ก็ลดหลั่นกันไป
“ที่ผ่านมาเราดูสถานการณ์เดือนต่อเดือน โดยมีการโยกเงินมา 1 ไตรมาสก่อน เพื่อดูว่าการใช้จ่ายการสื่อสารในออนไลน์กระตุ้นให้ผู้บริโภคอยากบริโภคสินค้าของเราหรือไม่ ยกตัวอย่างมีการเปิดแคมเปญ “เจเล่ เวิร์ก ฟรอม โฮม” มานำเสนอแบรนด์ในภาวะวิกฤติ ขณะที่เบนโตะ ก็นำมาให้ความรู้กับผู้บริโภคว่าเบนโตะสามารถทำเป็นอย่างอื่นได้มากกว่าการทานสแน็ก มีการนำมาทำแคมเปญออนไลน์ ต่างๆ เพื่อสื่อสารแบรนด์”
นอกจากนี้ยังเทแผนการตลาดไปยังช่องทางโฮม ช็อปปิ้ง เพราะคนอยู่บ้าน และกักตัวกันมากขึ้น ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคหันไปดูทีวีเลือกซื้อของจากโฮมช็อปปิ้งมากขึ้น โดยได้จับมือร่วมกับ Happy Shopping ในการจำหน่ายผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มเติมเพื่อรับเทรนด์ดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้บริษัทคาดการณ์ว่าสถานการณ์โควิดจะรุนแรงไปจนถึงเดือนมิถุนายน หลังจากนั้นสถานการณ์จะดีขึ้นคนออกมาใช้จ่ายมากขึ้นแต่เชื่อว่าโควิด-19 ยังอยู่กับคนไทยต่อไป โดยแผน การตลาดในครึ่งปีหลังจะแตกต่างออกไปจากครึ่งปีแรก โดยบริษัทได้มีการเตรียมแคมเปญ แผนการตลาดในครึ่งปีหลังไว้หมดแล้ว
“ถ้าหลังเดือน 6 สถาน การณ์ไม่ดีขึ้นก็จะปรับแผนอีกแบบตามพฤติกรรมของผู้บริโภค สิ่งที่ท้าทายนี้คือทำอย่างไรให้โตมากกว่าปีที่ผ่านมา แน่นอนว่าสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้การทำให้เป็นไปตามเป้าถือเป็นเรื่องยาก ซึ่งวิกฤติครั้งนี้ถือว่าหนักสุดในรอบกว่า 30 ปีที่มีการก่อตั้งบริษัทมา”
ขณะที่ในส่วนของตลาดต่างประเทศบริษัทมีโรงงานที่กัมพูชา และกำลังดำเนินการก่อสร้างที่เวียดนาม และเมียนมา คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดทำการผลิตได้ในปี 2564 แต่เนื่องจากวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขณะนี้ทำให้ระบบขนส่ง การเดินทาง ไม่สามารถทำได้ จึงจำเป็นต้องมีการเลื่อนแผนงานออกไปก่อน ซึ่งแน่นอนว่าหากสถานการณ์ดีขึ้นก็พร้อมเดินหน้าต่อทันที
อย่างไรก็ดีช่วงที่ผ่านมายังไม่ได้รับผลกระทบใดๆ เพราะเป็นการนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย โดยปัจจุบันบริษัทมีรายได้จากการส่งออกราว 20%
นอกจากนี้บริษัทยังได้เลื่อนการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯจากเดิมที่มีแผนจะจดทะเบียนในปีนี้ โดยมีทำการทบทวนแผนธุรกิจใหม่ให้แข็งแรงกว่าเดิมก่อนในภาวะวิกฤติ จึงต้องชะลอแผนการเข้าตลาดฯ ออกไปก่อนเป็นปลายปี 2563 หรือต้นปี 2564
หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,571 วันที่ 3-6 พฤษภาคม 2563
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 11
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 12
อาณาจักรขนม ‘ศรีนานาพร’ เจ้าของ “เบนโตะ-เจเล่” รายได้หลักพันล้าน
Date: 08/07/2020Author: NALISA
ศรีนานาพร เจ้าของ เบนโตะ และ เจเล่ จากยี่ปั๊วสู่บริษัทมหาชน (วิเคราะห์)
ใครจะรู้ว่าขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึกอย่าง “เบนโตะ” และเยลลี่พร้อมดื่มอย่าง “เจเล่” มีเจ้าของคนเดียวกัน
มีรายได้ระดับพันล้านที่ตอนนี้กำลังแต่งตัวเตรียมเข้าตลาดหุ้น ใช้นามสกุลมหาชนเต็มตัวต่อท้ายเร็ว ๆ นี้
ก่อนจะมาเป็น บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ในทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นของครอบครัวไกรพิสิทธิ์กุลที่เริ่มธุรกิจเป็นยี่ปั๊วผลิตและจำหน่ายขนมปังบรรจุปี๊บและกลายเป็นร้านค่าส่งขนมเจ้าใหญ่ย่านตลาดมหานาคในชื่อ ตั้งกิมเฮง หรือ ศรีวิวัฒน์ ในปี 2515
ผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทไม่ใช่ ‘เบนโตะ’ หรือ ‘เจเล่’ ที่ขายดิบขายดีอยู่ทุกวันนี้ แต่เป็นผลิตภัณฑ์อย่าง “เมล็ดแตงโม” ขยายมาตั้งโรงงานผลิตเวเฟอร์เคลือบช็อกโกแลตตรา ‘คุณหนู’ และ ‘กามเทพ’ ‘บิสกิตตราช้าง’ ที่คนอายุ 35-40 ปีขึ้นไปคงรู้จักดี
ในช่วงปี 2537 ถือเป็นปีแจ้งเกิดของ ‘เบนโตะ’ ขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึกอบที่เป็นเจ้าแรกที่ผลิตออกมาวางขายในตลาด และขายดีแบบเทน้ำเทท่ากลายเป็นผู้นำตลาด
ปี 2543 ออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเยลลี่พร้อมดื่มตรา ‘เจเล่’ ที่ส่ง ‘เจเล่ไลท์’ เยลลี่ผสมบุกกินแล้วอยู่ท้องในราคา 5 บาทมาวางขาย และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ตราเจเล่อื่น ๆ จนถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้ ยังมีขนมขาไก่ตราโลตัส น้ำมะพร้าว น้ำเฉาก๊วยบรรจุขวดพร้อมดื่มตราเมจิกฟาร์ม และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวตรายูซุ อยู่ในพอร์ตโฟลิโอด้วย
นอกจากจะขายสินค้าในประเทศแล้ว กลุ่มศรีนานาพรยังทำตลาดต่างประเทศกลุ่มประเทศ CLMV จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ด้วย
กว่า 40 ปีที่ครอบครัวไกรพิสิทธิ์กุลเป็นผู้เล่นในตลาดขนมขบเคี้ยว และเยลลี่พร้อมดื่มที่สั่งสมประสบการณ์มาไม่น้อย มาตอนนี้ถึงเวลาแตกกิ่งก้าน ขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
เพราะเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ยื่นไฟลิ่งเตรียมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น เตรียมใส่นามสกุลมหาชนเรียบร้อยแล้ว
แล้วรายได้ของ ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง เป็นอย่างไร
ในจำนวนรายได้นี้แบ่งเป็นสัดส่วนกลม ๆ มาจาก ธุรกิจขนมขบเคี้ยว 60% และธุรกิจเครื่องดื่ม 40%
สัดส่วนรายได้จากการขาย ( 9 เดือน สิ้นสุด ก.ย. 62)
ผลิตภัณฑ์ประเภทเยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน 30.0%
ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้น 37.2%
ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง 15.2%
ผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบ 6.3%
ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่น ๆ 11.4%
แม้จะมีสินค้าที่ฮิตติดลมบน และเป็นเจ้าตลาดอย่าง เบนโตะ มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 75.2% และเจเล่มีส่วนแบ่งตลาด 53.3% (ปี 2561) แต่หากดูรายได้และกำไรของศรีนานาพรนั้นพบว่า 3-4 ปีให้หลังมานี้ลดลง
การลดลงนี้ Marketeer มองว่ามาจากการแข่งขันของตลาดขนมที่รุนแรงและมีความท้าทายมากขึ้น
เพราะตลาดขนมขบเคี้ยวปัจจุบัน (2562) มูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาท และตลาดเยลลี่พร้อมดื่มมีมูลค่า 2,000 ล้านบาท (ปี 2560) เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
การเติบโตเรื่อย ๆ นี้มาจากการที่แบรนด์ต่างแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อมาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดซึ่งจะเห็นว่าทั้งเบนโตะและเจเล่นั้นมีส่วนแบ่งที่ลดลง
เบนโตะ มีคู่แข่งในกลุ่มขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึก ปลาเส้น ทั้งทาโร่ ฟิชโช สควิดดี้ เต่าทอง ส่วนเจเล่มียักษ์ใหญ่อย่างสยามยูโรเปี้ยนฟู้ดเจ้าของ “ปีโป้” , กาโตะ ที่เป็นของกลุ่มบีเจซี
ส่วนน้ำมะพร้าวพร้อมดื่มก็ยังมีคู่แข่งที่แข็งแรงกว่าทั้ง โคโค่แม็ก, ยูเอฟซี, มาลี
เบนโตะ: ส่วนแบ่งตลาดอันดับกลุ่มขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น
ปี 2559 : 75.8%
ปี2560 : 75.5%
ปี 2561 : 75.2%
9 เดือนแรก ปี 2562 : 73.3%
———
เจเล่: ส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งในกลุ่มเยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน
ปี 2559 : 65.7%
ปี2560 : 63.0%
ปี 2561 : 53.3%
9 เดือนแรก ปี2562 : 55.2%
ที่มา-ศรีนานาพร อ้างอิงจากรายงานของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน
การมาของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นสิ่งที่ดึงดูผู้บริโภคชั้นดี เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นพร้อมที่จะลองของใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาทั้งรสชาติใหม่ แพ็กเกจจิ้งใหม่
แถมยังเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มองว่าบริโภคได้ทุกวัน การสร้างแบรนด์เลิฟ หรือการสร้างความภักดีต่อแบรนด์จึงมีน้อยลง
แต่ข้อดีของกลุ่มศรีนานาพรที่มองเห็นคือ การมีสินค้าหลากหลายประเภท ไม่ได้พึ่งพาแค่สินค้ากลุ่มเดียว และยังเป็นการลดความเสี่ยงในการกระจุกตัวของสินค้าอีกด้วย
ในเรื่องของราคากลุ่มศรีนานาพรยังสู้ได้ เพราะสินค้าฮีโร่ของบริษัทอย่าง เบนโตะ นั้นมีราคาเริ่มต้นที่ 5 บาท เป็นราคาที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม
และยังเป็นทางเลือกที่ให้ผู้บริโภคตัดสินใจหยิบเบนโตะซอง 5 บาทนี้ติดมือกลับบ้านเพราะมีราคาไม่แพง ส่วนเจเล่มีราคาตั้งแต่ 10-15 บาท
และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในพอร์ตส่วนใหญ่ก็มีราคาไม่เกิน 30 บาท
นับจากนี้คงต้องรอดูศรีนานาพรจะมีสินค้าใหม่ ๆ อะไรออกมาสร้างสีสันให้ตลาด และการก้าวขาเข้าตลาดหุ้นจะพาอาณาจักรขนมแห่งนี้ติดปีกแค่ไหนต้องติดตาม
Date: 08/07/2020Author: NALISA
ศรีนานาพร เจ้าของ เบนโตะ และ เจเล่ จากยี่ปั๊วสู่บริษัทมหาชน (วิเคราะห์)
ใครจะรู้ว่าขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึกอย่าง “เบนโตะ” และเยลลี่พร้อมดื่มอย่าง “เจเล่” มีเจ้าของคนเดียวกัน
มีรายได้ระดับพันล้านที่ตอนนี้กำลังแต่งตัวเตรียมเข้าตลาดหุ้น ใช้นามสกุลมหาชนเต็มตัวต่อท้ายเร็ว ๆ นี้
ก่อนจะมาเป็น บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ในทุกวันนี้ จุดเริ่มต้นของครอบครัวไกรพิสิทธิ์กุลที่เริ่มธุรกิจเป็นยี่ปั๊วผลิตและจำหน่ายขนมปังบรรจุปี๊บและกลายเป็นร้านค่าส่งขนมเจ้าใหญ่ย่านตลาดมหานาคในชื่อ ตั้งกิมเฮง หรือ ศรีวิวัฒน์ ในปี 2515
ผลิตภัณฑ์แรกของบริษัทไม่ใช่ ‘เบนโตะ’ หรือ ‘เจเล่’ ที่ขายดิบขายดีอยู่ทุกวันนี้ แต่เป็นผลิตภัณฑ์อย่าง “เมล็ดแตงโม” ขยายมาตั้งโรงงานผลิตเวเฟอร์เคลือบช็อกโกแลตตรา ‘คุณหนู’ และ ‘กามเทพ’ ‘บิสกิตตราช้าง’ ที่คนอายุ 35-40 ปีขึ้นไปคงรู้จักดี
ในช่วงปี 2537 ถือเป็นปีแจ้งเกิดของ ‘เบนโตะ’ ขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึกอบที่เป็นเจ้าแรกที่ผลิตออกมาวางขายในตลาด และขายดีแบบเทน้ำเทท่ากลายเป็นผู้นำตลาด
ปี 2543 ออกผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเยลลี่พร้อมดื่มตรา ‘เจเล่’ ที่ส่ง ‘เจเล่ไลท์’ เยลลี่ผสมบุกกินแล้วอยู่ท้องในราคา 5 บาทมาวางขาย และต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ตราเจเล่อื่น ๆ จนถึงทุกวันนี้
นอกจากนี้ ยังมีขนมขาไก่ตราโลตัส น้ำมะพร้าว น้ำเฉาก๊วยบรรจุขวดพร้อมดื่มตราเมจิกฟาร์ม และน้ำผลไม้ผสมวุ้นมะพร้าวตรายูซุ อยู่ในพอร์ตโฟลิโอด้วย
นอกจากจะขายสินค้าในประเทศแล้ว กลุ่มศรีนานาพรยังทำตลาดต่างประเทศกลุ่มประเทศ CLMV จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ด้วย
กว่า 40 ปีที่ครอบครัวไกรพิสิทธิ์กุลเป็นผู้เล่นในตลาดขนมขบเคี้ยว และเยลลี่พร้อมดื่มที่สั่งสมประสบการณ์มาไม่น้อย มาตอนนี้ถึงเวลาแตกกิ่งก้าน ขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม
เพราะเมื่อปลายปีที่ผ่านมา ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ยื่นไฟลิ่งเตรียมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 260 ล้านหุ้น เตรียมใส่นามสกุลมหาชนเรียบร้อยแล้ว
แล้วรายได้ของ ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง เป็นอย่างไร
ในจำนวนรายได้นี้แบ่งเป็นสัดส่วนกลม ๆ มาจาก ธุรกิจขนมขบเคี้ยว 60% และธุรกิจเครื่องดื่ม 40%
สัดส่วนรายได้จากการขาย ( 9 เดือน สิ้นสุด ก.ย. 62)
ผลิตภัณฑ์ประเภทเยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน 30.0%
ผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และปลาเส้น 37.2%
ผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง 15.2%
ผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบ 6.3%
ผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่น ๆ 11.4%
แม้จะมีสินค้าที่ฮิตติดลมบน และเป็นเจ้าตลาดอย่าง เบนโตะ มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ที่ 75.2% และเจเล่มีส่วนแบ่งตลาด 53.3% (ปี 2561) แต่หากดูรายได้และกำไรของศรีนานาพรนั้นพบว่า 3-4 ปีให้หลังมานี้ลดลง
การลดลงนี้ Marketeer มองว่ามาจากการแข่งขันของตลาดขนมที่รุนแรงและมีความท้าทายมากขึ้น
เพราะตลาดขนมขบเคี้ยวปัจจุบัน (2562) มูลค่า 3.8 หมื่นล้านบาท และตลาดเยลลี่พร้อมดื่มมีมูลค่า 2,000 ล้านบาท (ปี 2560) เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ
การเติบโตเรื่อย ๆ นี้มาจากการที่แบรนด์ต่างแข่งขันกันออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อมาแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดซึ่งจะเห็นว่าทั้งเบนโตะและเจเล่นั้นมีส่วนแบ่งที่ลดลง
เบนโตะ มีคู่แข่งในกลุ่มขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึก ปลาเส้น ทั้งทาโร่ ฟิชโช สควิดดี้ เต่าทอง ส่วนเจเล่มียักษ์ใหญ่อย่างสยามยูโรเปี้ยนฟู้ดเจ้าของ “ปีโป้” , กาโตะ ที่เป็นของกลุ่มบีเจซี
ส่วนน้ำมะพร้าวพร้อมดื่มก็ยังมีคู่แข่งที่แข็งแรงกว่าทั้ง โคโค่แม็ก, ยูเอฟซี, มาลี
เบนโตะ: ส่วนแบ่งตลาดอันดับกลุ่มขนมขบเคี้ยวประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น
ปี 2559 : 75.8%
ปี2560 : 75.5%
ปี 2561 : 75.2%
9 เดือนแรก ปี 2562 : 73.3%
———
เจเล่: ส่วนแบ่งตลาดอันดับหนึ่งในกลุ่มเยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน
ปี 2559 : 65.7%
ปี2560 : 63.0%
ปี 2561 : 53.3%
9 เดือนแรก ปี2562 : 55.2%
ที่มา-ศรีนานาพร อ้างอิงจากรายงานของฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน
การมาของผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นสิ่งที่ดึงดูผู้บริโภคชั้นดี เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคนั้นพร้อมที่จะลองของใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาทั้งรสชาติใหม่ แพ็กเกจจิ้งใหม่
แถมยังเป็นเป็นผลิตภัณฑ์ที่มองว่าบริโภคได้ทุกวัน การสร้างแบรนด์เลิฟ หรือการสร้างความภักดีต่อแบรนด์จึงมีน้อยลง
แต่ข้อดีของกลุ่มศรีนานาพรที่มองเห็นคือ การมีสินค้าหลากหลายประเภท ไม่ได้พึ่งพาแค่สินค้ากลุ่มเดียว และยังเป็นการลดความเสี่ยงในการกระจุกตัวของสินค้าอีกด้วย
ในเรื่องของราคากลุ่มศรีนานาพรยังสู้ได้ เพราะสินค้าฮีโร่ของบริษัทอย่าง เบนโตะ นั้นมีราคาเริ่มต้นที่ 5 บาท เป็นราคาที่สามารถเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม
และยังเป็นทางเลือกที่ให้ผู้บริโภคตัดสินใจหยิบเบนโตะซอง 5 บาทนี้ติดมือกลับบ้านเพราะมีราคาไม่แพง ส่วนเจเล่มีราคาตั้งแต่ 10-15 บาท
และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ในพอร์ตส่วนใหญ่ก็มีราคาไม่เกิน 30 บาท
นับจากนี้คงต้องรอดูศรีนานาพรจะมีสินค้าใหม่ ๆ อะไรออกมาสร้างสีสันให้ตลาด และการก้าวขาเข้าตลาดหุ้นจะพาอาณาจักรขนมแห่งนี้ติดปีกแค่ไหนต้องติดตาม
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 13
“เจเล่” ผู้ท้าชิงหน้าใหม่ สู้ศึกน้ำดื่มผสมวิตามิน จับตา! ผู้เล่นแจมตลาดเพิ่ม 5 ราย
เดือดปรอทแตก!! ตลาดน้ำดื่มผสมวิตามิน 1,200 ล้าน แต่ผู้เล่นแห่เข้ามาชิงเค้กล้นตลาด ล่าสุด "เจเล่" ส่ง AQUA-VITZ by Jele ราคา 15 บาท. ระเบิดศึกสู้ผู้เล่นเดิมที่กุมตลาดเหนียวแน่น แต่สงครามยังไม่จบ เตรียมตัวรับคู่แข่งเพิ่ม
กลายเป็นทะเลแดงเดือด(Red Ocean) เรียบร้อยแล้วสำหรับตลาด “น้ำดื่มผสมวิตามิน” เพราะการแข่งขันเข้มข้นดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้น ผู้เล่น “หน้าใหม่” ตบเท้าเข้ามาท้าชิงแบ่งเค้กการตลาดที่ปัจจุบันยังเป็นก้อนเล็กๆ หลัก 1,200 ล้านบาท (ที่มา : อิชิตัน) แต่คาดการณ์มูลค่าตลาดปีหน้าจะเติบโตเป็น “เท่าตัว” แตะระดับ 3,500 ล้านบาท นั่นเป็นเหตุผลพอที่จะเย้ายวนให้ค่ายเครื่องดื่มโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้
ย้อนกลับไปปี 2557 “ยันฮี วิตามิน วอเตอร์” ถือเป็นแบรนด์แรกที่บุกเบิกตลาด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมองเห็นโอกาสจากปัญหา(Pain point)ของผู้ป่วยที่ทานยายาก จึงวิจัยและพัฒนาเครื่องดื่มผสมวิตามินที่ทำให้ผู้ป่วยดื่มแล้วสดชื่น ทว่า โอกาสตลาดมีมากขึ้น เมื่อผู้บริโภคทั่วไป ตลอดจนพ่อค้าแม่ขายซื้อไปจำหน่าย จึงผลิตตอบสนองความต้องการตลาดในเชิงพาณิชย์ นี่คือข้อมูลที่ เจษฏา อุดมถิรพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด เคยฉายภาพให้กรุงเทพธุรกิจฟัง
ภาพการทำตลาดของยันฮี วิตามิน วอเตอร์ เหมือนซุ่มเงียบ แต่จริงๆ เจษฎา บอกว่าแบรนด์ตลาดมาโดยตลอดแต่ไม่เสียงดังนัก อีกทั้งแบรนด์มาในสายโรงพยาบาลมากกว่าคอมเมอร์เชียล ทว่า ล่าสุด แบรนด์เดินเกมเชิงรุกมากขึ้น เพื่อป้องกันบัลลังก์เบอร์ 1 ไว้
ปีนี้ “ผู้นำ” ถูกท้าชิงจากแบรนด์ใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น บลู จากค่ายเซ็ปเป้, วิต อะ เดย์ จาก บริษัท เจนเนอรัล เบฟเวอร์เรจ จำกัด, อิชิตันน้ำอัลคาไลน์ พีเอช พลัส 8.5 อิชิตัน วิตามิน วอเตอร์ ซี พลัส อี, น้ำอัลคาไลน์ เอทพลัส จากบริษัท อัลก้า พลัส จำกัด และน้ำอัลคาไลน์ แมนเนเจอร์ พีเอช พลัส 8.5 เป็นต้น
แต่ยังไม่หมด เพราะคู่แข่งล่าสุดที่เพิ่งส่งสินค้าบุกตลาดคือ “AQUA-VITZ by Jele”(อควาวิทซ์ บาย เจเล่) วิตามิน มิเนอรัล วอเตอร์ ที่ผสมทั้งวิตามินบี 200% แร่ธาตุ 7 ชนิด และค่าความเป็นด่าง หรือ pH 7++ เรียกว่าเป็นการมาทีหลัง แต่นำจุดแข็งด้านผลิตภัณฑ์ของผู้เล่นทุกรายมาผสมกันอยู่ในขวดเดียวจบ!
ส่วนขนาดอยู่ที่ 400 มิลลิลิตร(มล.) ราคาขาย 15 บาท ประเดิมช่องทางจำหน่ายผ่านร้านนสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นเป็นด่านแรกสร้างแบรนด์ และหยั่งกระแสผู้บริโภค ด้านราคาอาจจะดู “ต่ำ” กว่าคู่แข่ง แต่ปริมาณก็น้อยกว่า เช่น น้ำอัลคาไลน์ แมนเนเจอร์ พีเอช พลัส 8.5 ชนาด 500 มล. ราคา 20 บาท พีเอชพลัส 8.5 ขนาด 550 มล. ราคา 20 บาท เป็นต้น
สำหรับ “AQUA-VITZ by Jele”(อควาวิทซ์ บาย เจเล่) วิตามิน มิเนอรัล วอเตอร์ แม้จะเป็นหน้าใหม่ แต่ศักดิ์ศรีไม่ด้อยกว่าใคร เพราะหากเปรียบมวยแล้ว ศักยภาพของแบรนด์ใต้ร่มเงาของ “เจเล่” ของบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด(มหาชน) ที่มีสินค้าทั้งขนมขบเคี้ยว(สแน็ค) และเครื่องดื่มแบรนด์ดังในพอร์ตโฟลิโอจำนวนมาก เช่น เจลลี่ เจเล่, ปลาหมึกอบกรอบ เบนโตะ, ขนมขาไก่ โลตัส, เครื่องดื่มเฉาก๊วยเมจิก ฟาร์ม บิสกิตสอดไส้ เบเกอรี่เฮาส์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละปีทำรายได้หลัก “พันล้านบาท” และบริษัทกำลังแต่งตัวเพื่อเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)นำเงินขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น
ทั้งนี้ AQUA-VITZ by Jele ยังไม่ใช่แบรนด์สุดท้ายที่เข้ามาคลุกวงในตลาดน้ำดื่มผสมวิตามิน เพราะยังมี “ยักษ์ใหญ่” แบรนด์อื่นเตรียมตัวกระโจนเข้ามาทำตลาดเพิ่ม ซึ่งจากการพูดคุยกับ ธนพันธุ์ คงนันทะ กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ฟันธงว่าแบรนด์เครื่องดื่มค่ายใหญ่กำลังจะส่งน้ำดื่มผสมวิตามินเข้ามาเพิ่ม ซึ่งคาดว่าจะเห็นอีก 5 แบรนด์
กูรูตลาดเครื่องดื่ม มองตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินไว้อย่างไร ฟังทรรศนะของอดีตเจ้าพ่อชาเขียวอย่าง ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ระบุว่าสินค้าดังกล่าว ยังตอบโจทย์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพมากขึ้นด้วย เห็นจากช่วงโควิด น้ำดื่มผสมวิตามิน เป็น 1 ใน 2 หมวดที่ยังเติบโตได้(อีกหมวดที่โตคือน้ำอัดลม) และแนวโน้มตลาดจะเติบโตต่อเนื่อง ตราบที่โควิดยังไม่หายไป ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพ
“คนไทยมองวิตามินซีสำคัญ ซึ่งตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินจะเป็นธุรกิจที่ทำเงินให้บริษัทอย่างมากหรือ Cash Cow เหมือนชาเขียวที่บูมมากเมื่อ 15 ปีก่อน”
160368936393
ตลาดน้ำดื่มมูลค่า "หมื่นล้านบาท" กำลังถูกตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินแบ่ง Share of Throat
อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ยังไม่ใหญ่มาก แต่ผู้เล่นกลับเข้ามาหลายราย ทำให้การต่อสู้เพื่อให้ได้ยอดขายจึงงัดอาวุธ หรือกลยุทธ์ด้าน “ราคา” มาห้ำหั่นกัน ซึ่งแต่ละรายต่างมีราคามหัศจรรย์(Magic Number) ในใจเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจหน้าชั้นวาง(Shelf)ให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า อย่างยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ตั้งราคา 17 บาท อิชิตัน จะลดขนาดสินค้า และส่งขนาด 10 บาทมาขาย เป็นต้น
สิ่งที่น่าจับตาจากนี้ไปคือ ผู้เล่นที่ออกตัวช้า จะยังมี “ที่ยืน” หรือไม่ เพราะเชื่อว่าแบรนด์ที่เข้ามาก่อนต้องหาทางป้องกันยอดขายไม่ให้ลดลง และนั่นการแข่งขันคงทวีความรุนแรง ส่วนผู้บริโภคย่อมมีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น
เดือดปรอทแตก!! ตลาดน้ำดื่มผสมวิตามิน 1,200 ล้าน แต่ผู้เล่นแห่เข้ามาชิงเค้กล้นตลาด ล่าสุด "เจเล่" ส่ง AQUA-VITZ by Jele ราคา 15 บาท. ระเบิดศึกสู้ผู้เล่นเดิมที่กุมตลาดเหนียวแน่น แต่สงครามยังไม่จบ เตรียมตัวรับคู่แข่งเพิ่ม
กลายเป็นทะเลแดงเดือด(Red Ocean) เรียบร้อยแล้วสำหรับตลาด “น้ำดื่มผสมวิตามิน” เพราะการแข่งขันเข้มข้นดุเดือดขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งกว่านั้น ผู้เล่น “หน้าใหม่” ตบเท้าเข้ามาท้าชิงแบ่งเค้กการตลาดที่ปัจจุบันยังเป็นก้อนเล็กๆ หลัก 1,200 ล้านบาท (ที่มา : อิชิตัน) แต่คาดการณ์มูลค่าตลาดปีหน้าจะเติบโตเป็น “เท่าตัว” แตะระดับ 3,500 ล้านบาท นั่นเป็นเหตุผลพอที่จะเย้ายวนให้ค่ายเครื่องดื่มโดดเข้ามาเล่นในตลาดนี้
ย้อนกลับไปปี 2557 “ยันฮี วิตามิน วอเตอร์” ถือเป็นแบรนด์แรกที่บุกเบิกตลาด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมองเห็นโอกาสจากปัญหา(Pain point)ของผู้ป่วยที่ทานยายาก จึงวิจัยและพัฒนาเครื่องดื่มผสมวิตามินที่ทำให้ผู้ป่วยดื่มแล้วสดชื่น ทว่า โอกาสตลาดมีมากขึ้น เมื่อผู้บริโภคทั่วไป ตลอดจนพ่อค้าแม่ขายซื้อไปจำหน่าย จึงผลิตตอบสนองความต้องการตลาดในเชิงพาณิชย์ นี่คือข้อมูลที่ เจษฏา อุดมถิรพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ยันฮี วิตามิน วอเตอร์ จำกัด เคยฉายภาพให้กรุงเทพธุรกิจฟัง
ภาพการทำตลาดของยันฮี วิตามิน วอเตอร์ เหมือนซุ่มเงียบ แต่จริงๆ เจษฎา บอกว่าแบรนด์ตลาดมาโดยตลอดแต่ไม่เสียงดังนัก อีกทั้งแบรนด์มาในสายโรงพยาบาลมากกว่าคอมเมอร์เชียล ทว่า ล่าสุด แบรนด์เดินเกมเชิงรุกมากขึ้น เพื่อป้องกันบัลลังก์เบอร์ 1 ไว้
ปีนี้ “ผู้นำ” ถูกท้าชิงจากแบรนด์ใหม่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น บลู จากค่ายเซ็ปเป้, วิต อะ เดย์ จาก บริษัท เจนเนอรัล เบฟเวอร์เรจ จำกัด, อิชิตันน้ำอัลคาไลน์ พีเอช พลัส 8.5 อิชิตัน วิตามิน วอเตอร์ ซี พลัส อี, น้ำอัลคาไลน์ เอทพลัส จากบริษัท อัลก้า พลัส จำกัด และน้ำอัลคาไลน์ แมนเนเจอร์ พีเอช พลัส 8.5 เป็นต้น
แต่ยังไม่หมด เพราะคู่แข่งล่าสุดที่เพิ่งส่งสินค้าบุกตลาดคือ “AQUA-VITZ by Jele”(อควาวิทซ์ บาย เจเล่) วิตามิน มิเนอรัล วอเตอร์ ที่ผสมทั้งวิตามินบี 200% แร่ธาตุ 7 ชนิด และค่าความเป็นด่าง หรือ pH 7++ เรียกว่าเป็นการมาทีหลัง แต่นำจุดแข็งด้านผลิตภัณฑ์ของผู้เล่นทุกรายมาผสมกันอยู่ในขวดเดียวจบ!
ส่วนขนาดอยู่ที่ 400 มิลลิลิตร(มล.) ราคาขาย 15 บาท ประเดิมช่องทางจำหน่ายผ่านร้านนสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่นเป็นด่านแรกสร้างแบรนด์ และหยั่งกระแสผู้บริโภค ด้านราคาอาจจะดู “ต่ำ” กว่าคู่แข่ง แต่ปริมาณก็น้อยกว่า เช่น น้ำอัลคาไลน์ แมนเนเจอร์ พีเอช พลัส 8.5 ชนาด 500 มล. ราคา 20 บาท พีเอชพลัส 8.5 ขนาด 550 มล. ราคา 20 บาท เป็นต้น
สำหรับ “AQUA-VITZ by Jele”(อควาวิทซ์ บาย เจเล่) วิตามิน มิเนอรัล วอเตอร์ แม้จะเป็นหน้าใหม่ แต่ศักดิ์ศรีไม่ด้อยกว่าใคร เพราะหากเปรียบมวยแล้ว ศักยภาพของแบรนด์ใต้ร่มเงาของ “เจเล่” ของบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด(มหาชน) ที่มีสินค้าทั้งขนมขบเคี้ยว(สแน็ค) และเครื่องดื่มแบรนด์ดังในพอร์ตโฟลิโอจำนวนมาก เช่น เจลลี่ เจเล่, ปลาหมึกอบกรอบ เบนโตะ, ขนมขาไก่ โลตัส, เครื่องดื่มเฉาก๊วยเมจิก ฟาร์ม บิสกิตสอดไส้ เบเกอรี่เฮาส์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละปีทำรายได้หลัก “พันล้านบาท” และบริษัทกำลังแต่งตัวเพื่อเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)นำเงินขยายธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกัมพูชา เวียดนาม เป็นต้น
ทั้งนี้ AQUA-VITZ by Jele ยังไม่ใช่แบรนด์สุดท้ายที่เข้ามาคลุกวงในตลาดน้ำดื่มผสมวิตามิน เพราะยังมี “ยักษ์ใหญ่” แบรนด์อื่นเตรียมตัวกระโจนเข้ามาทำตลาดเพิ่ม ซึ่งจากการพูดคุยกับ ธนพันธุ์ คงนันทะ กรรมการบริหารและรองกรรมการผู้จัดการสายงานธุรกิจเครื่องดื่ม บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ฟันธงว่าแบรนด์เครื่องดื่มค่ายใหญ่กำลังจะส่งน้ำดื่มผสมวิตามินเข้ามาเพิ่ม ซึ่งคาดว่าจะเห็นอีก 5 แบรนด์
กูรูตลาดเครื่องดื่ม มองตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินไว้อย่างไร ฟังทรรศนะของอดีตเจ้าพ่อชาเขียวอย่าง ตัน ภาสกรนที กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด(มหาชน) ระบุว่าสินค้าดังกล่าว ยังตอบโจทย์ผู้บริโภคที่รักสุขภาพมากขึ้นด้วย เห็นจากช่วงโควิด น้ำดื่มผสมวิตามิน เป็น 1 ใน 2 หมวดที่ยังเติบโตได้(อีกหมวดที่โตคือน้ำอัดลม) และแนวโน้มตลาดจะเติบโตต่อเนื่อง ตราบที่โควิดยังไม่หายไป ผู้บริโภคใส่ใจสุขภาพ
“คนไทยมองวิตามินซีสำคัญ ซึ่งตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินจะเป็นธุรกิจที่ทำเงินให้บริษัทอย่างมากหรือ Cash Cow เหมือนชาเขียวที่บูมมากเมื่อ 15 ปีก่อน”
160368936393
ตลาดน้ำดื่มมูลค่า "หมื่นล้านบาท" กำลังถูกตลาดน้ำดื่มผสมวิตามินแบ่ง Share of Throat
อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ยังไม่ใหญ่มาก แต่ผู้เล่นกลับเข้ามาหลายราย ทำให้การต่อสู้เพื่อให้ได้ยอดขายจึงงัดอาวุธ หรือกลยุทธ์ด้าน “ราคา” มาห้ำหั่นกัน ซึ่งแต่ละรายต่างมีราคามหัศจรรย์(Magic Number) ในใจเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจหน้าชั้นวาง(Shelf)ให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า อย่างยันฮี วิตามิน วอเตอร์ ตั้งราคา 17 บาท อิชิตัน จะลดขนาดสินค้า และส่งขนาด 10 บาทมาขาย เป็นต้น
สิ่งที่น่าจับตาจากนี้ไปคือ ผู้เล่นที่ออกตัวช้า จะยังมี “ที่ยืน” หรือไม่ เพราะเชื่อว่าแบรนด์ที่เข้ามาก่อนต้องหาทางป้องกันยอดขายไม่ให้ลดลง และนั่นการแข่งขันคงทวีความรุนแรง ส่วนผู้บริโภคย่อมมีทางเลือกในการซื้อสินค้ามากขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 14
บมจ.ศรีนานาพร โชว์ศักยภาพผู้นำเทรนด์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ตอบโจทย์ผู้บริโภคทุกช่วงเวลา
ก้าวสู่ผู้นำเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียน พร้อมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
‘บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย พร้อมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชูจุดแข็งประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 30 ปี และทีมวิจัยพัฒนา ในการมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำเทรนด์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนเมืองและครอบคลุมทุกช่วงเวลาในการบริโภค ก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 ไฟลิ่งเรียบร้อยแล้ว
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้สร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ผ่านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ อีกทั้งยังมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในด้านการจัดจำหน่าย โดยการจัดตั้งบริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีระบบการทำงานทันสมัย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งทั่วประเทศ ผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ กว่า 35 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวภายใต้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้แบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ และฮีโร่บอยส์
2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์มเฟรช และ Functional Drink ได้แก่ น้ำดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์อควาวิตซ์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้นและปลาเส้นภายใต้แบรนด์เบนโตะ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง ภายใต้แบรนด์ ดอกบัว โลตัส และ 3.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบภายใต้แบรนด์ ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต ภายใต้ 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1).สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำตลาดและมีศักยภาพด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มุ่งสร้างตราสินค้าให้มีความเข้มแข็งในสินค้าแบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ เบนโตะ เมจิกฟาร์ม โลตัสขาไก่ และตราสินค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อควาวิตซ์ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์รอง ดำเนินกลยุทธ์สื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Maintain Brand Awareness) เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
2).การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทฯ มุ่งศึกษาและสำรวจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุง รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อการเป็นผู้นำทางการตลาด รวมทั้งศึกษาและพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค รวมทั้งพัฒนาทางด้านรสชาติ ขนาด และราคาให้เหมาะกับกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ (Localization)
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ นำความแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์สินค้าและแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง
3). เพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าตามช่องทางหลัก ได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ช่องทางโมเดิร์นเทรด ออนไลน์ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริหารและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งส่งเสริมกลยุทธ์การขายและบริหารพื้นที่จัดจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งมีทีมผู้บริหารและทีมขายที่มีประสบการณ์และความสามารถในการกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯ โดยปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งสามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เป็นจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
4).ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ วางกลยุทธ์ต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย ไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพโดยมีการขยายตัวของตลาดเติบโตสูงในอนาคต โดยประชากรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน และการขยายตัวของกลุ่มประชากรที่เป็นคนทำงานชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาว ประกอบกับมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผลักดันให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มแบบพร้อมรับประทานขยายตัวมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยทั้งในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในภูมิภาค รวมทั้งลงทุนในการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้บริโภค และขยายประสิทธิภาพในช่องทางการจัดจำหน่าย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตให้แก่กลุ่มบริษัทฯ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
*************************************
ก้าวสู่ผู้นำเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียน พร้อมเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
‘บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย พร้อมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชูจุดแข็งประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 30 ปี และทีมวิจัยพัฒนา ในการมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำเทรนด์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนเมืองและครอบคลุมทุกช่วงเวลาในการบริโภค ก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 ไฟลิ่งเรียบร้อยแล้ว
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้สร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ผ่านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ อีกทั้งยังมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในด้านการจัดจำหน่าย โดยการจัดตั้งบริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีระบบการทำงานทันสมัย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งทั่วประเทศ ผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ กว่า 35 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวภายใต้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้แบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ และฮีโร่บอยส์
2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์มเฟรช และ Functional Drink ได้แก่ น้ำดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์อควาวิตซ์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้นและปลาเส้นภายใต้แบรนด์เบนโตะ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง ภายใต้แบรนด์ ดอกบัว โลตัส และ 3.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบภายใต้แบรนด์ ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต ภายใต้ 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1).สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำตลาดและมีศักยภาพด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มุ่งสร้างตราสินค้าให้มีความเข้มแข็งในสินค้าแบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ เบนโตะ เมจิกฟาร์ม โลตัสขาไก่ และตราสินค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อควาวิตซ์ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์รอง ดำเนินกลยุทธ์สื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Maintain Brand Awareness) เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
2).การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทฯ มุ่งศึกษาและสำรวจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุง รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อการเป็นผู้นำทางการตลาด รวมทั้งศึกษาและพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค รวมทั้งพัฒนาทางด้านรสชาติ ขนาด และราคาให้เหมาะกับกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ (Localization)
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ นำความแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์สินค้าและแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง
3). เพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าตามช่องทางหลัก ได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ช่องทางโมเดิร์นเทรด ออนไลน์ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริหารและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งส่งเสริมกลยุทธ์การขายและบริหารพื้นที่จัดจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งมีทีมผู้บริหารและทีมขายที่มีประสบการณ์และความสามารถในการกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯ โดยปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งสามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เป็นจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
4).ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ วางกลยุทธ์ต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย ไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพโดยมีการขยายตัวของตลาดเติบโตสูงในอนาคต โดยประชากรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน และการขยายตัวของกลุ่มประชากรที่เป็นคนทำงานชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาว ประกอบกับมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผลักดันให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มแบบพร้อมรับประทานขยายตัวมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยทั้งในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในภูมิภาค รวมทั้งลงทุนในการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้บริโภค และขยายประสิทธิภาพในช่องทางการจัดจำหน่าย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตให้แก่กลุ่มบริษัทฯ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
*************************************
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 15
ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง`ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP)`ไฟเขียวขายหุ้น IPO 240 ล้านหุ้น
May 10, 2021
‘บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย พร้อมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชูจุดแข็งประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 30 ปี และทีมวิจัยพัฒนา ในการมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำเทรนด์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนเมืองและครอบคลุมทุกช่วงเวลาในการบริโภค ก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 ไฟลิ่งเรียบร้อยแล้ว
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้สร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค
ผ่านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ อีกทั้งยังมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในด้านการจัดจำหน่าย โดยการจัดตั้งบริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีระบบการทำงานทันสมัย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งทั่วประเทศ ผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ กว่า 35 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวภายใต้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้แบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ และฮีโร่บอยส์ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์มเฟรช และ Functional Drink ได้แก่ น้ำดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์อควาวิตซ์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้นและปลาเส้นภายใต้ แบรนด์เบนโตะ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง ภายใต้แบรนด์ ดอกบัว โลตัส และ 3.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบภายใต้แบรนด์ ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต ภายใต้ 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1).สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำตลาดและมีศักยภาพด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มุ่งสร้างตราสินค้าให้มีความเข้มแข็งในสินค้าแบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ เบนโตะ เมจิกฟาร์ม โลตัสขาไก่ และตราสินค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อควาวิตซ์ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์รอง ดำเนินกลยุทธ์สื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Maintain Brand Awareness) เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
2).การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทฯ มุ่งศึกษาและสำรวจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุง รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อการเป็นผู้นำทางการตลาด รวมทั้งศึกษาและพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค รวมทั้งพัฒนาทางด้านรสชาติ ขนาด และราคาให้เหมาะกับกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ (Localization)
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ นำความแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์สินค้าและแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง
3). เพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าตามช่องทางหลัก ได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ช่องทางโมเดิร์นเทรด ออนไลน์ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริหารและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งส่งเสริมกลยุทธ์การขายและบริหารพื้นที่จัดจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งมีทีมผู้บริหารและทีมขายที่มีประสบการณ์และความสามารถในการกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯ โดยปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งสามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เป็นจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
4).ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ วางกลยุทธ์ต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย ไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพโดยมีการขยายตัวของตลาดเติบโตสูงในอนาคต โดยประชากรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน และการขยายตัวของกลุ่มประชากรที่เป็นคนทำงานชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาว ประกอบกับมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผลักดันให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มแบบพร้อมรับประทานขยายตัวมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยทั้งในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในภูมิภาค รวมทั้งลงทุนในการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้บริโภค และขยายประสิทธิภาพในช่องทางการจัดจำหน่าย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตให้แก่กลุ่มบริษัทฯ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
May 10, 2021
‘บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย พร้อมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชูจุดแข็งประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 30 ปี และทีมวิจัยพัฒนา ในการมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำเทรนด์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนเมืองและครอบคลุมทุกช่วงเวลาในการบริโภค ก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 ไฟลิ่งเรียบร้อยแล้ว
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้สร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค
ผ่านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ อีกทั้งยังมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในด้านการจัดจำหน่าย โดยการจัดตั้งบริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีระบบการทำงานทันสมัย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งทั่วประเทศ ผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ กว่า 35 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวภายใต้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้แบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ และฮีโร่บอยส์ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์มเฟรช และ Functional Drink ได้แก่ น้ำดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์อควาวิตซ์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้นและปลาเส้นภายใต้ แบรนด์เบนโตะ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง ภายใต้แบรนด์ ดอกบัว โลตัส และ 3.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบภายใต้แบรนด์ ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต ภายใต้ 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1).สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำตลาดและมีศักยภาพด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มุ่งสร้างตราสินค้าให้มีความเข้มแข็งในสินค้าแบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ เบนโตะ เมจิกฟาร์ม โลตัสขาไก่ และตราสินค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อควาวิตซ์ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์รอง ดำเนินกลยุทธ์สื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Maintain Brand Awareness) เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
2).การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทฯ มุ่งศึกษาและสำรวจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุง รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อการเป็นผู้นำทางการตลาด รวมทั้งศึกษาและพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค รวมทั้งพัฒนาทางด้านรสชาติ ขนาด และราคาให้เหมาะกับกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ (Localization)
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ นำความแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์สินค้าและแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง
3). เพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าตามช่องทางหลัก ได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ช่องทางโมเดิร์นเทรด ออนไลน์ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริหารและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งส่งเสริมกลยุทธ์การขายและบริหารพื้นที่จัดจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งมีทีมผู้บริหารและทีมขายที่มีประสบการณ์และความสามารถในการกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯ โดยปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งสามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เป็นจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
4).ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ วางกลยุทธ์ต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย ไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพโดยมีการขยายตัวของตลาดเติบโตสูงในอนาคต โดยประชากรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน และการขยายตัวของกลุ่มประชากรที่เป็นคนทำงานชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาว ประกอบกับมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผลักดันให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มแบบพร้อมรับประทานขยายตัวมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยทั้งในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในภูมิภาค รวมทั้งลงทุนในการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้บริโภค และขยายประสิทธิภาพในช่องทางการจัดจำหน่าย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตให้แก่กลุ่มบริษัทฯ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 16
ก.ล.ต.เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่ง ศรีนานาพร เสนอขายหุ้น IPO ไม่เกิน 240 ล้านหุ้น
ข่าวหุ้น-การเงิน Monday May 10, 2021 10:58 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้สร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ผ่านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ
อีกทั้งยังมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในด้านการจัดจำหน่าย โดยการจัดตั้งบริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีระบบการทำงานทันสมัย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งทั่วประเทศ ผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ กว่า 35 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวภายใต้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้แบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ และฮีโร่บอยส์ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์มเฟรช และ Functional Drink ได้แก่ น้ำดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์อควาวิตซ์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้นและปลาเส้นภายใต้ แบรนด์เบนโตะ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง ภายใต้แบรนด์ ดอกบัว โลตัส และ 3.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบภายใต้แบรนด์ ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต ภายใต้กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1).สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำตลาดและมีศักยภาพด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มุ่งสร้างตราสินค้าให้มีความเข้มแข็งในสินค้าแบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ เบนโตะ เมจิกฟาร์ม โลตัสขาไก่ และตราสินค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อควาวิตซ์ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์รอง ดำเนินกลยุทธ์สื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Maintain Brand Awareness) เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
2).การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทฯ มุ่งศึกษาและสำรวจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุง รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อการเป็นผู้นำทางการตลาด รวมทั้งศึกษาและพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค รวมทั้งพัฒนาทางด้านรสชาติ ขนาด และราคาให้เหมาะกับกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ (Localization)
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ นำความแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์สินค้าและแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง
3). เพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าตามช่องทางหลัก ได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ช่องทางโมเดิร์นเทรด ออนไลน์ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริหารและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งส่งเสริมกลยุทธ์การขายและบริหารพื้นที่จัดจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งมีทีมผู้บริหารและทีมขายที่มีประสบการณ์และความสามารถในการกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯ โดยปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งสามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เป็นจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
4).ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ วางกลยุทธ์ต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย ไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพโดยมีการขยายตัวของตลาดเติบโตสูงในอนาคต โดยประชากรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน และการขยายตัวของกลุ่มประชากรที่เป็นคนทำงานชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาว ประกอบกับมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผลักดันให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มแบบพร้อมรับประทานขยายตัวมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยทั้งในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในภูมิภาค รวมทั้งลงทุนในการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้บริโภค และขยายประสิทธิภาพในช่องทางการจัดจำหน่าย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตให้แก่กลุ่มบริษัทฯ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
ข่าวหุ้น-การเงิน Monday May 10, 2021 10:58 —สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง (SNNP) เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้สร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ผ่านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ
อีกทั้งยังมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในด้านการจัดจำหน่าย โดยการจัดตั้งบริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีระบบการทำงานทันสมัย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งทั่วประเทศ ผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ กว่า 35 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวภายใต้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้แบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ และฮีโร่บอยส์ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์มเฟรช และ Functional Drink ได้แก่ น้ำดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์อควาวิตซ์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้นและปลาเส้นภายใต้ แบรนด์เบนโตะ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง ภายใต้แบรนด์ ดอกบัว โลตัส และ 3.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบภายใต้แบรนด์ ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต ภายใต้กลยุทธ์หลัก ได้แก่
1).สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ โดยต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำตลาดและมีศักยภาพด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มุ่งสร้างตราสินค้าให้มีความเข้มแข็งในสินค้าแบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ เบนโตะ เมจิกฟาร์ม โลตัสขาไก่ และตราสินค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อควาวิตซ์ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์รอง ดำเนินกลยุทธ์สื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Maintain Brand Awareness) เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
2).การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทฯ มุ่งศึกษาและสำรวจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุง รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อการเป็นผู้นำทางการตลาด รวมทั้งศึกษาและพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค รวมทั้งพัฒนาทางด้านรสชาติ ขนาด และราคาให้เหมาะกับกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ (Localization)
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ นำความแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์สินค้าและแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง
3). เพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าตามช่องทางหลัก ได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ช่องทางโมเดิร์นเทรด ออนไลน์ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริหารและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งส่งเสริมกลยุทธ์การขายและบริหารพื้นที่จัดจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งมีทีมผู้บริหารและทีมขายที่มีประสบการณ์และความสามารถในการกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯ โดยปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งสามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เป็นจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
4).ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ วางกลยุทธ์ต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย ไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพโดยมีการขยายตัวของตลาดเติบโตสูงในอนาคต โดยประชากรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน และการขยายตัวของกลุ่มประชากรที่เป็นคนทำงานชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาว ประกอบกับมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผลักดันให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มแบบพร้อมรับประทานขยายตัวมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยทั้งในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในภูมิภาค รวมทั้งลงทุนในการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้บริโภค และขยายประสิทธิภาพในช่องทางการจัดจำหน่าย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตให้แก่กลุ่มบริษัทฯ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 17
ก.ล.ต.นับหนึ่งไฟลิ่ง 'SNNP' ขายไอพีโอ 240 ล้านหุ้น เข้า SET
บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย พร้อมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชูจุดแข็งประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 30 ปี และทีมวิจัยพัฒนา ในการมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำเทรนด์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนเมืองและครอบคลุมทุกช่วงเวลาในการบริโภค ก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 ไฟลิ่งเรียบร้อยแล้ว
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้สร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ผ่านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ
อีกทั้งยังมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในด้านการจัดจำหน่าย โดยการจัดตั้งบริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีระบบการทำงานทันสมัย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งทั่วประเทศ ผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ กว่า 35 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวภายใต้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้แบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ และฮีโร่บอยส์ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์มเฟรช และ Functional Drink ได้แก่ น้ำดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์อควาวิตซ์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้นและปลาเส้นภายใต้ แบรนด์เบนโตะ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง ภายใต้แบรนด์ ดอกบัว โลตัส และ 3.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบภายใต้แบรนด์ ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
**กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต
1).สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์โดยต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำตลาดและมีศักยภาพด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มุ่งสร้างตราสินค้าให้มีความเข้มแข็งในสินค้าแบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ เบนโตะ เมจิกฟาร์ม โลตัสขาไก่ และตราสินค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อควาวิตซ์ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์รอง ดำเนินกลยุทธ์สื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Maintain Brand Awareness) เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
2).การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทฯ มุ่งศึกษาและสำรวจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุง รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อการเป็นผู้นำทางการตลาด รวมทั้งศึกษาและพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค รวมทั้งพัฒนาทางด้านรสชาติ ขนาด และราคาให้เหมาะกับกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ (Localization)
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ นำความแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์สินค้าและแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง
3). เพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าตามช่องทางหลัก ได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ช่องทางโมเดิร์นเทรด ออนไลน์ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริหารและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งส่งเสริมกลยุทธ์การขายและบริหารพื้นที่จัดจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งมีทีมผู้บริหารและทีมขายที่มีประสบการณ์และความสามารถในการกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯ โดยปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งสามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เป็นจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
4).ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ วางกลยุทธ์ต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย ไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพโดยมีการขยายตัวของตลาดเติบโตสูงในอนาคต โดยประชากรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน และการขยายตัวของกลุ่มประชากรที่เป็นคนทำงานชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาว ประกอบกับมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผลักดันให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มแบบพร้อมรับประทานขยายตัวมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยทั้งในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในภูมิภาค รวมทั้งลงทุนในการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้บริโภค และขยายประสิทธิภาพในช่องทางการจัดจำหน่าย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตให้แก่กลุ่มบริษัทฯ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย พร้อมเสนอขายหุ้น IPO จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น เพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ชูจุดแข็งประสบการณ์ในธุรกิจกว่า 30 ปี และทีมวิจัยพัฒนา ในการมุ่งนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อตอกย้ำการเป็นผู้นำเทรนด์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวเพื่อตอบโจทย์วิถีชีวิตของคนเมืองและครอบคลุมทุกช่วงเวลาในการบริโภค ก้าวสู่การเป็นผู้นำตลาดเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในภูมิภาคอาเซียน ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้นับ 1 ไฟลิ่งเรียบร้อยแล้ว
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) หรือ SNNP เปิดเผยว่า บริษัทฯ เป็นหนึ่งในผู้สร้างเทรนด์ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญมายาวนานกว่า 30 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ มุ่งเน้นความเป็นเลิศทั้งในด้านคุณภาพและการบริการ และการสร้างแบรนด์ให้เป็นหนึ่งในใจของผู้บริโภคทุกเพศทุกวัย เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์มีคุณภาพเข้าถึงผู้บริโภคในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ผ่านการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีด้านการผลิตเพื่อคิดค้นผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ
อีกทั้งยังมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้แก่ธุรกิจในด้านการจัดจำหน่าย โดยการจัดตั้งบริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายที่มีระบบการทำงานทันสมัย ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการจำหน่ายสินค้าครอบคลุมร้านค้าปลีกและร้านค้าส่งทั่วประเทศ ผลักดันให้สินค้าเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและกว้างขวางยิ่งขึ้น และมีเครือข่ายการกระจายสินค้าเข้าสู่ช่องทางร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งและร้านค้าปลีกดั้งเดิม และส่งออกไปยังประเทศต่างๆ กว่า 35 ประเทศทั่วโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฮ่องกง ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง อินเดีย และ แอฟริกาใต้ เป็นต้น
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวภายใต้พอร์ตโฟลิโอของบริษัทฯ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1.กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน ภายใต้แบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ และฮีโร่บอยส์ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องดื่มอื่นๆ เช่น Asian Drink ภายใต้แบรนด์เมจิกฟาร์มเฟรช และ Functional Drink ได้แก่ น้ำดื่มผสมวิตามินภายใต้แบรนด์อควาวิตซ์
2.กลุ่มผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ประกอบด้วย 1.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้นและปลาเส้นภายใต้ แบรนด์เบนโตะ 2.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทขนมขึ้นรูป และขนมปังแท่ง ภายใต้แบรนด์ ดอกบัว โลตัส และ 3.) กลุ่มผลิตภัณฑ์ประเภทเวเฟอร์และขนมปังอบภายใต้แบรนด์ ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
**กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสร้างการเติบโต
1).สร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์โดยต่อยอดจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นผู้นำตลาดและมีศักยภาพด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้มีความหลากหลายเพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย มุ่งสร้างตราสินค้าให้มีความเข้มแข็งในสินค้าแบรนด์หลัก ได้แก่ เจเล่ เบนโตะ เมจิกฟาร์ม โลตัสขาไก่ และตราสินค้าใหม่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น อควาวิตซ์ ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์รอง ดำเนินกลยุทธ์สื่อสารการตลาดอย่างต่อเนื่อง (Maintain Brand Awareness) เพื่อทำให้สินค้าเป็นที่รับรู้ต่อกลุ่มเป้าหมายได้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงส่งเสริมประสิทธิภาพการกระจายสินค้า เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดและเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในใจของผู้บริโภค
2).การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทฯ มุ่งศึกษาและสำรวจพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาและปรับปรุง รวมทั้งเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค เพื่อการเป็นผู้นำทางการตลาด รวมทั้งศึกษาและพัฒนาสินค้าเพื่อตอบโจทย์ชีวิตคนเมือง สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค รวมทั้งพัฒนาทางด้านรสชาติ ขนาด และราคาให้เหมาะกับกำลังซื้อ และความต้องการของผู้บริโภคแต่ละประเทศ (Localization)
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ นำความแข็งแกร่งในแง่ของแบรนด์สินค้าและแบรนด์พอร์ตโฟลิโอ มุ่งสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถยกระดับผลิตภัณฑ์สู่สินค้าที่มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ขยายฐานลูกค้าสู่กลุ่มผู้บริโภคซึ่งมีกำลังซื้อสูง
3). เพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจัดจำหน่ายอย่างต่อเนื่อง บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ในการกระจายสินค้าตามช่องทางหลัก ได้แก่ ค้าส่ง ค้าปลีก ช่องทางโมเดิร์นเทรด ออนไลน์ และเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (Vending Machine) อย่างต่อเนื่อง รวมถึงบริหารและพัฒนาสินค้าให้เหมาะสมกับแต่ละช่องทางการจัดจำหน่าย พร้อมทั้งส่งเสริมกลยุทธ์การขายและบริหารพื้นที่จัดจำหน่ายในแต่ละช่องทาง
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ได้แก่ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งมีทีมผู้บริหารและทีมขายที่มีประสบการณ์และความสามารถในการกระจายสินค้าให้กับบริษัทฯ โดยปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้า 11 แห่ง ครอบคลุมทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งสามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้าทั้งค้าปลีกและค้าส่ง เป็นจำนวนรวมกันไม่ต่ำกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
4).ขับเคลื่อนธุรกิจสู่ตลาดต่างประเทศ บริษัทฯ วางกลยุทธ์ต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่เป็นผู้นำตลาดในประเทศไทย ไปสู่ภูมิภาค CLMV ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพโดยมีการขยายตัวของตลาดเติบโตสูงในอนาคต โดยประชากรมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นของครัวเรือน และการขยายตัวของกลุ่มประชากรที่เป็นคนทำงานชนชั้นกลางวัยหนุ่มสาว ประกอบกับมีวิถีชีวิตที่เร่งรีบมากขึ้น ผลักดันให้การบริโภคอาหารและเครื่องดื่มแบบพร้อมรับประทานขยายตัวมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อยทั้งในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม เพื่อเป็นฐานในการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าในภูมิภาค รวมทั้งลงทุนในการสร้างการรับรู้ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้บริโภค และขยายประสิทธิภาพในช่องทางการจัดจำหน่าย เสาะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี และเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการผลิตให้แก่กลุ่มบริษัทฯ
นอกจากนั้น บริษัทฯ ยังได้จัดตั้งบริษัทย่อยเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าในประเทศจีน รวมทั้งกลุ่มประเทศในทวีปยุโรป เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและความแข็งแกร่งในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในต่างประเทศ
นางสาววีณา เลิศนิมิตร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงาน Investment Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน กล่าวว่า หลังจาก บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) ล่าสุด สำนักงาน ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ปัจจุบัน บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้ ซึ่งเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทฯ ให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 18
เปิดเบื้องลึกบริษัท ศรีนานาพร ต้องมีดิสทริบิวเตอร์ “สิริ โปร” สร้างแต้มต่อให้ธุรกิจ
20/05/2021
Distribution หรือ ระบบการจัดจำหน่าย เป็นซัพพลายเชนกลางน้ำ ที่เป็นฟันเฟื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่ดำเนินธุรกิจในกลุ่ม FMCG ไม่เว้นกระทั่งธุรกิจเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว อย่าง ศรีนานาพร ที่กำลังเดินตามบริษัทชั้นนำหลายบริษัท โดยการสร้างระบบดิสทริบิวเตอร์ขึ้นมาเอง ภายใต้การเข้าไปถือหุ้น บริษัท สิริ โปร จำกัด
สำหรับ ศรีนานาพร ชื่ออาจจะไม่คุ้นหูผู้บริโภค แต่ถ้าบอกว่า เบนโตะ, โลตัส ขาไก่, เจเล่ บิวตี้, น้ำผสมวิตามิน อควาวิตซ์ และขนมขบเคี้ยวอีกหลายยี่ห้อจะเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ส่วนเหตุผลที่ ศรีนานาพร ต้องมีดิสบิวเตอร์ของตนเองซึ่งไม่ต่างกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม TCP ที่ต้องมี เดอเบล (Durbell) หรือกระทั่ง ไทยเบฟเวอเรจที่ต้องมีเบอร์ลี่ ยุคเกอร์และเสริมสุข และบุญรอดฯ เองก็ตามที่มีทั้ง บุญรอด ซัพพลายเชน และบริษัท ลินฟ้อกซ์ โฮลดิ้งส์ มีด้วยกัน 5 เหตุผล
1.เพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม (Reach)
ไม่แปลกที่ศรีนานาพรเข้าไปถือหุ้นในบริษัท สิริโปร ซึ่งจะเป็นหัวหอกสำคัญสำหรับการกระจายสินค้าในช่องทางเทรดิชันเทรดที่ปัจจุบันมีร่วมกว่า 3.4 แสนร้านค้า ขณะที่ความแข็งแกร่งของสิริโปร ที่มีศูนย์กระจายสินค้าทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ และยังมีหน่วยรถกระจายสินค้า 150 คัน สามารถจัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางค้าปลีกได้ประมาณ 70,000 ร้านค้า และร้านค้าส่งประมาณ 3,600 ร้านค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มความถี่ในการกระจายสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าในพื้นที่ที่บริษัทยังไม่สามารถกระจายสินค้าได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น
2. Big Data เข้าใจถึงความต้องการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
การมีศูนย์กระจายสินค้าในแต่ละพื้นที่ ทำให้ศรีนานาพร มีฐานข้อมูลผู้บริโภคมากขึ้น และทำให้เข้าใจถึงความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างดี นอกจากนี้การบริหารจัดการสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ โดยสิริโปร มีศูนย์กระจายสินค้าครอบคลุมทั้งภาคเหนือใน จ.พิษณุโลก จ.เชียงใหม่ ภาคอีสาน ใน จ.อุดรธานี และภาคใต้ ในจ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น ช่วยสร้างความได้เปรียบการนำสินค้าลงลึกในแต่ละพื้นที่ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.เครื่องมือการตลาด ณ จุดขาย
ดิสทริบิวเตอร์ไม่ได้หน้าที่เพราะแค่กระจายสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นจิ๊กซอว์กลางน้ำที่สำคัญช่วยให้การทำตลาดมีความแข็งแกร่งมากยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น การจัดเรียงสินค้า การดิสเพลย์ร้านค้า การจัดทำสื่อส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ณ จุดขายของผู้บริโภค การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับร้านค้า หรือกระทั่งการทำเทรดโปรโมชั่น หรือการผลักดันสินค้าให้กับทางร้านค้า ล้วนแล้วแต่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของดิสทริบิวเตอร์ทั้งสิ้น
4.ขานอำนาจกับโมเดิร์นเทรดสร้างความสมดุลย์ช่องทางอื่นๆ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ช่องทางโมเดิร์นเทรดหลายเป็นช่องทางหลักสินค้าไปเสียแล้ว และช่องทางเทรดดิชั่นที่หดหายไปจากตลาด แต่การที่ศรีนานาพร ให้ความสำคัญมุ่งสร้างรากฐานช่องทางร้านค้าปลีกดั้งเดิมและร้านค้าส่งให้แข็งแกร่ง ส่วนหนึ่งมาจากสินค้าส่วนใหญ่เป็นแมสโปรดักส์ จึงต้องขยายฐานสินค้าให้กว้างที่สุด และยังเป็นการลดความเสี่ยงการพึ่งพาช่องทางใดช่องทางหนึ่งจนมากเกินไป
5.รับจัดจำหน่ายสินค้านอกเครือสร้างรายได้เพิ่ม
นอกเหนือจากการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ศรีนานาพรแล้ว สิริโปร ยังมีรายได้จากการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้สินค้าแบรนด์อื่นๆ ซึ่งสิริโปร เป็นผู้ประกอบการที่โซลูชั่นโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถกระจายสินค้าให้กับลูกค้าตั้งแต่ช่องทางโมเดิร์นและช่องทางเทรดิชันนัลเทรดได้อย่างครอบคลุม และในอนาคต สิริ โปร มีโอกาสก้าวสู่ดิสทริบิวเตอร์รายใหญ่และเป็นทางหนึ่งเลือกสำหรับสินค้า FMCG ที่ต้องการขยายฐานลูกค้าลงลึกในช่องทางจำหน่ายเทรดิชันนัล ซึ่งปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนมาซื้อสินค้าใกล้บ้านมากกว่าจะเดินทางไปโมเดิร์นเทรด
สรุป
ศรีนานาพร เป็นผู้ดำเนินธุรกิจเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวกว่า 30 ปี สินค้าในพอร์ตโฟลิโอส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแมสโปรดักส์ ด้วยขนาดและมีราคาไม่สูง อาทิ เจเล่ น้ำผสมวิตามินอควาวิตซ์ เครื่องดื่มเมจิฟาร์มเฟรช เป็นต้น ดังนั้นช่องทางเทรดิชันนัลเทรดหรือร้านค้าปลีกดั้งเดิมและร้านค้าส่งถือว่าเป็นช่องทางที่สำคัญของศรีนานาพร
กลยุทธ์ของศรีนานาพรที่หันมารุกพัฒนาสินค้าสู่ Premiumization ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมากขึ้น หรือกระทั่งการพัฒนาสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับช่องทางโมเดิร์นเทรดมากกว่าผลิตภัณฑ์แมสที่มีช่องทางหลักเป็นเทรดิชันนัลเทรดเป็นหลัก
การมีดิสทริบิวเตอร์ของตัวเอง ช่วยในด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทั้งการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว แม่นยำ รวมทั้งยังสามารถบริหารต้นทุนได้ดียิ่งขึ้น
การดำเนินธุรกิจเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ถือว่าเป็นสินค้าที่ซื้อง่ายขายคล่องและหมุนเวียนได้เร็ว และจำเป็นต้องช่องทางการจำหน่ายหลากหลาย ทั้งโมเดิร์นเทรด เทรดิชั่นเทรด หรือกระทั่งในรูปแบบออนไลน์เองก็ตาม
20/05/2021
Distribution หรือ ระบบการจัดจำหน่าย เป็นซัพพลายเชนกลางน้ำ ที่เป็นฟันเฟื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่ดำเนินธุรกิจในกลุ่ม FMCG ไม่เว้นกระทั่งธุรกิจเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว อย่าง ศรีนานาพร ที่กำลังเดินตามบริษัทชั้นนำหลายบริษัท โดยการสร้างระบบดิสทริบิวเตอร์ขึ้นมาเอง ภายใต้การเข้าไปถือหุ้น บริษัท สิริ โปร จำกัด
สำหรับ ศรีนานาพร ชื่ออาจจะไม่คุ้นหูผู้บริโภค แต่ถ้าบอกว่า เบนโตะ, โลตัส ขาไก่, เจเล่ บิวตี้, น้ำผสมวิตามิน อควาวิตซ์ และขนมขบเคี้ยวอีกหลายยี่ห้อจะเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ส่วนเหตุผลที่ ศรีนานาพร ต้องมีดิสบิวเตอร์ของตนเองซึ่งไม่ต่างกับบริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศไทยอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น กลุ่ม TCP ที่ต้องมี เดอเบล (Durbell) หรือกระทั่ง ไทยเบฟเวอเรจที่ต้องมีเบอร์ลี่ ยุคเกอร์และเสริมสุข และบุญรอดฯ เองก็ตามที่มีทั้ง บุญรอด ซัพพลายเชน และบริษัท ลินฟ้อกซ์ โฮลดิ้งส์ มีด้วยกัน 5 เหตุผล
1.เพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างครอบคลุม (Reach)
ไม่แปลกที่ศรีนานาพรเข้าไปถือหุ้นในบริษัท สิริโปร ซึ่งจะเป็นหัวหอกสำคัญสำหรับการกระจายสินค้าในช่องทางเทรดิชันเทรดที่ปัจจุบันมีร่วมกว่า 3.4 แสนร้านค้า ขณะที่ความแข็งแกร่งของสิริโปร ที่มีศูนย์กระจายสินค้าทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ และยังมีหน่วยรถกระจายสินค้า 150 คัน สามารถจัดจำหน่ายสินค้าผ่านช่องทางค้าปลีกได้ประมาณ 70,000 ร้านค้า และร้านค้าส่งประมาณ 3,600 ร้านค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มความถี่ในการกระจายสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายสินค้าในพื้นที่ที่บริษัทยังไม่สามารถกระจายสินค้าได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น
2. Big Data เข้าใจถึงความต้องการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
การมีศูนย์กระจายสินค้าในแต่ละพื้นที่ ทำให้ศรีนานาพร มีฐานข้อมูลผู้บริโภคมากขึ้น และทำให้เข้าใจถึงความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างดี นอกจากนี้การบริหารจัดการสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละพื้นที่ โดยสิริโปร มีศูนย์กระจายสินค้าครอบคลุมทั้งภาคเหนือใน จ.พิษณุโลก จ.เชียงใหม่ ภาคอีสาน ใน จ.อุดรธานี และภาคใต้ ในจ.สุราษฎร์ธานี เป็นต้น ช่วยสร้างความได้เปรียบการนำสินค้าลงลึกในแต่ละพื้นที่ได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3.เครื่องมือการตลาด ณ จุดขาย
ดิสทริบิวเตอร์ไม่ได้หน้าที่เพราะแค่กระจายสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นจิ๊กซอว์กลางน้ำที่สำคัญช่วยให้การทำตลาดมีความแข็งแกร่งมากยิ่ง ไม่ว่าจะเป็น การจัดเรียงสินค้า การดิสเพลย์ร้านค้า การจัดทำสื่อส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ ณ จุดขายของผู้บริโภค การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับร้านค้า หรือกระทั่งการทำเทรดโปรโมชั่น หรือการผลักดันสินค้าให้กับทางร้านค้า ล้วนแล้วแต่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของดิสทริบิวเตอร์ทั้งสิ้น
4.ขานอำนาจกับโมเดิร์นเทรดสร้างความสมดุลย์ช่องทางอื่นๆ
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ช่องทางโมเดิร์นเทรดหลายเป็นช่องทางหลักสินค้าไปเสียแล้ว และช่องทางเทรดดิชั่นที่หดหายไปจากตลาด แต่การที่ศรีนานาพร ให้ความสำคัญมุ่งสร้างรากฐานช่องทางร้านค้าปลีกดั้งเดิมและร้านค้าส่งให้แข็งแกร่ง ส่วนหนึ่งมาจากสินค้าส่วนใหญ่เป็นแมสโปรดักส์ จึงต้องขยายฐานสินค้าให้กว้างที่สุด และยังเป็นการลดความเสี่ยงการพึ่งพาช่องทางใดช่องทางหนึ่งจนมากเกินไป
5.รับจัดจำหน่ายสินค้านอกเครือสร้างรายได้เพิ่ม
นอกเหนือจากการจัดจำหน่ายสินค้าให้แก่ศรีนานาพรแล้ว สิริโปร ยังมีรายได้จากการจัดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคให้สินค้าแบรนด์อื่นๆ ซึ่งสิริโปร เป็นผู้ประกอบการที่โซลูชั่นโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถกระจายสินค้าให้กับลูกค้าตั้งแต่ช่องทางโมเดิร์นและช่องทางเทรดิชันนัลเทรดได้อย่างครอบคลุม และในอนาคต สิริ โปร มีโอกาสก้าวสู่ดิสทริบิวเตอร์รายใหญ่และเป็นทางหนึ่งเลือกสำหรับสินค้า FMCG ที่ต้องการขยายฐานลูกค้าลงลึกในช่องทางจำหน่ายเทรดิชันนัล ซึ่งปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนมาซื้อสินค้าใกล้บ้านมากกว่าจะเดินทางไปโมเดิร์นเทรด
สรุป
ศรีนานาพร เป็นผู้ดำเนินธุรกิจเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวกว่า 30 ปี สินค้าในพอร์ตโฟลิโอส่วนใหญ่แล้วจะเป็นแมสโปรดักส์ ด้วยขนาดและมีราคาไม่สูง อาทิ เจเล่ น้ำผสมวิตามินอควาวิตซ์ เครื่องดื่มเมจิฟาร์มเฟรช เป็นต้น ดังนั้นช่องทางเทรดิชันนัลเทรดหรือร้านค้าปลีกดั้งเดิมและร้านค้าส่งถือว่าเป็นช่องทางที่สำคัญของศรีนานาพร
กลยุทธ์ของศรีนานาพรที่หันมารุกพัฒนาสินค้าสู่ Premiumization ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมากขึ้น หรือกระทั่งการพัฒนาสินค้าที่สร้างมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น ซึ่งจะเหมาะกับช่องทางโมเดิร์นเทรดมากกว่าผลิตภัณฑ์แมสที่มีช่องทางหลักเป็นเทรดิชันนัลเทรดเป็นหลัก
การมีดิสทริบิวเตอร์ของตัวเอง ช่วยในด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ทั้งการจัดส่งสินค้าที่รวดเร็ว แม่นยำ รวมทั้งยังสามารถบริหารต้นทุนได้ดียิ่งขึ้น
การดำเนินธุรกิจเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว ถือว่าเป็นสินค้าที่ซื้อง่ายขายคล่องและหมุนเวียนได้เร็ว และจำเป็นต้องช่องทางการจำหน่ายหลากหลาย ทั้งโมเดิร์นเทรด เทรดิชั่นเทรด หรือกระทั่งในรูปแบบออนไลน์เองก็ตาม
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 19
‘ศรีนานาพร’ ปรับตัวฝ่าวิกฤตโควิด
ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยคึกคัก ที่หลายบริษัทวางแผนเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนึ่งในนั้น คือ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เป็นเจ้าของแบรนด์ เยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” , ปลาหมึกอบเบนโตะ คาดเข้าจดทะเบียนได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้ โดยที่ผ่านมา บริษัทเร่งปรับตัวเพื่อปรับมือกับการระบาดของโควิด-19 มั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้เทิร์นอะราวด์แน่นอน
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลประกอบการของบริษัทในปีที่ผ่านได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่โดยรวมแล้ว ถือว่าดีกว่าตลาดและผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดยมีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 6.5 % จากปี 2562 ที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท
ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในปี 2564 มั่นใจว่าจะดีกว่าปีก่อนแน่นอน แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 แต่บริษัทก็มีประสบการณ์จากรอบที่ผ่านๆ มาแล้ว โดยเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวมาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2563 หลังบริษัทเร่งปรับตัวรับมือกับภาวะวิกฤต
ทั้งนี้ มองว่าจุดแข็งสำคัญที่ทำให้บริษัทประคองตัวฝ่าวิกฤตโควิดมาได้มีด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ 1.มีสินค้าที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มขนมคบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจ ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมามีการออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง
เช่น ปลาหมึกอบเบนโตะที่มียอดขายจากกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะคนจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย คิดป็นสัดส่วนถึง 30% แต่เมื่อมีการล็อกดาวน์เลยได้รับผลกระทบโดยตรง ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์หันมาเจาะฐานลูกค้าในประเทศมากขึ้น ผ่านแคมเปญ work from home นำเบนโตะ มาทานคู่กับอาหารอื่นๆ เช่น ข้าวต้ม, ข้าวเหนียว เอาไปทำเป็นยำ ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดี
ส่วนเยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” ซึ่งมีวิตามินสูง อร่อย อยู่ท้อง มีการออกสินค้าใหม่ เจเล่น วิตามิน ในราคา 10 บาท จับตลาดในช่วงที่คนหยุดทำงานที่บ้าน ขณะที่กลุ่มน้ำผสมวิตามินยังเติบโตดี เพราะตั้งแต่เกิดโควิดผู้บริโภคหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น
2.ช่องทางกระจายสินค้า ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมด 11 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาค สามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้า ทั้งค้าปลีกและค้าส่งมากกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
3.การบริหารจัดการต้นทุน ซึ่งตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด บริษัทให้ความสำคัญอย่างมากในการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต มาไล่ดูเลยว่าสินค้าแต่ละตัว ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ต้นทุนประกอบๆไปด้วยอะไรบ้าง เพื่อที่จะหาแนวทางในการลดต้นทุน
และ 4.ธรรมาภิบาล การดูแลพนักงาน แม้ปีที่ผ่านมายอดขายจะได้รับผลกระทบจากโควิด แต่บริษัทไม่มีการปรับลดพนักงาน ไม่มีการลดเงินเดือน พนักงานทุกคนก็มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ร่วมมือกันฟันฝ่าภาวะวิกฤต
ส่วนความคืบหน้าในการเสนอขายหุ้นไอพีโอเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดจะเข้าซื้อขายได้ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. นี้
โดยมีแผนนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ชำระคืนหนี้ และสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ มองว่าการลงทุนในหุ้นของบริษัทเหมือนได้ลงทุนใน 2 ธุรกิจ ในบริษัทเดียว
ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยคึกคัก ที่หลายบริษัทวางแผนเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนึ่งในนั้น คือ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เป็นเจ้าของแบรนด์ เยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” , ปลาหมึกอบเบนโตะ คาดเข้าจดทะเบียนได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้ โดยที่ผ่านมา บริษัทเร่งปรับตัวเพื่อปรับมือกับการระบาดของโควิด-19 มั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้เทิร์นอะราวด์แน่นอน
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลประกอบการของบริษัทในปีที่ผ่านได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่โดยรวมแล้ว ถือว่าดีกว่าตลาดและผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดยมีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 6.5 % จากปี 2562 ที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท
ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในปี 2564 มั่นใจว่าจะดีกว่าปีก่อนแน่นอน แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 แต่บริษัทก็มีประสบการณ์จากรอบที่ผ่านๆ มาแล้ว โดยเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวมาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2563 หลังบริษัทเร่งปรับตัวรับมือกับภาวะวิกฤต
ทั้งนี้ มองว่าจุดแข็งสำคัญที่ทำให้บริษัทประคองตัวฝ่าวิกฤตโควิดมาได้มีด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ 1.มีสินค้าที่หลากหลาย ทั้งกลุ่มขนมคบเคี้ยวและเครื่องดื่ม ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจ ซึ่งตลอดปีที่ผ่านมามีการออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง
เช่น ปลาหมึกอบเบนโตะที่มียอดขายจากกลุ่มลูกค้าต่างประเทศ โดยเฉพาะคนจีนที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย คิดป็นสัดส่วนถึง 30% แต่เมื่อมีการล็อกดาวน์เลยได้รับผลกระทบโดยตรง ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์หันมาเจาะฐานลูกค้าในประเทศมากขึ้น ผ่านแคมเปญ work from home นำเบนโตะ มาทานคู่กับอาหารอื่นๆ เช่น ข้าวต้ม, ข้าวเหนียว เอาไปทำเป็นยำ ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดี
ส่วนเยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” ซึ่งมีวิตามินสูง อร่อย อยู่ท้อง มีการออกสินค้าใหม่ เจเล่น วิตามิน ในราคา 10 บาท จับตลาดในช่วงที่คนหยุดทำงานที่บ้าน ขณะที่กลุ่มน้ำผสมวิตามินยังเติบโตดี เพราะตั้งแต่เกิดโควิดผู้บริโภคหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น
2.ช่องทางกระจายสินค้า ซึ่งปัจจุบันบริษัทมีศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมด 11 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาค สามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้า ทั้งค้าปลีกและค้าส่งมากกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ
3.การบริหารจัดการต้นทุน ซึ่งตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด บริษัทให้ความสำคัญอย่างมากในการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต มาไล่ดูเลยว่าสินค้าแต่ละตัว ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ต้นทุนประกอบๆไปด้วยอะไรบ้าง เพื่อที่จะหาแนวทางในการลดต้นทุน
และ 4.ธรรมาภิบาล การดูแลพนักงาน แม้ปีที่ผ่านมายอดขายจะได้รับผลกระทบจากโควิด แต่บริษัทไม่มีการปรับลดพนักงาน ไม่มีการลดเงินเดือน พนักงานทุกคนก็มีขวัญและกำลังใจในการทำงาน ร่วมมือกันฟันฝ่าภาวะวิกฤต
ส่วนความคืบหน้าในการเสนอขายหุ้นไอพีโอเพื่อเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สัปดาห์ที่ผ่านมาได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และ ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดจะเข้าซื้อขายได้ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. นี้
โดยมีแผนนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ชำระคืนหนี้ และสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ประเทศเวียดนาม ทั้งนี้ มองว่าการลงทุนในหุ้นของบริษัทเหมือนได้ลงทุนใน 2 ธุรกิจ ในบริษัทเดียว
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 20
'ศรีนานาพร' ยื่นไฟลิ่งเสนอขายหุ้น SNNP | EXCLUSIVE IN BRIEF | THAN TALK | 10 พ.ค.64
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 21
‘ศรีนานาพร’เทิร์นอะราวด์ฝ่าโควิด
21 พฤษภาคม 2564
“ศรีนานาพร” มั่นใจรายได้ปี 2564 ฟื้น หลังปรับกลยุทธ์รับมือโควิด-19 ชู 4 จุดแข็ง “สินค้าหลากหลาย-ช่องทางกระจายสินค้าทั่วประเทศ-การบริหารจัดการต้นทุน-ธรรมาภิบาล” พร้อมเดินหน้าเข้าตลาดหุ้น คาดเทรด ก.ค.-ส.ค.นี้ นำเงินสร้างโรงงานในเวียดนาม
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว เช่น เยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” ปลาหมึกอบ “เบนโตะ” กล่าวว่า แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทในปี 2564 จะฟื้นตัวดีขึ้นจากปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยมีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลง 6.5% จากปี 2562 ที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ว่ารายได้ลดลง แต่ก็เพียงเล็กน้อย โดยรวมถือว่ายังดีกว่าตลาดและผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน หลังบริษัทเร่งปรับตัวปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคระบาด ส่งผลให้ผลประกอบการเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา
“แม้จะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 แต่เรามั่นใจว่าธุรกิจปีนี้จะเทิร์นอะราวด์ รายได้จะดีขึ้นแน่นอน เพราะเรามีประสบการณ์มาแล้วจากการระบาด 2 รอบที่ผ่านมา พอมาเจอรอบนี้รู้แล้วว่าต้องทำอย่างไร การปรับตัวที่ผ่านมาทำให้องค์กรแข็งแกร่งขึ้น ขจัดไขมันส่วนเกินออกไปให้หมด ส่วนไหนที่ไม่มีประสิทธิภาพก็ไขน็อตให้ดีขึ้น”
เขา มองว่าจุดแข็งสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถประคองตัวฝ่าวิกฤตโควิดมาได้ มีด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ 1.มีสินค้าหลากหลาย ทั้งกลุ่มขนมคบเคี้ยวและเครื่องดื่ม จึงช่วยกระจายความเสี่ยงไม่ต้องพึ่งพารายได้จากส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย
อย่างเช่นช่วงที่มีการล็อกดาวน์ในเดือน เม.ย. 2563 นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มสินค้า “เบนโตะ” เพราะมีสัดส่วนยอดขายจากลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะคนจีนมากถึง 30% ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์หันมาเจาะตลาดในประเทศมากขึ้น ผ่านแคมเปญ Work From Home ให้ลูกค้านำเบนโตะมาทานคู่กับอาหารอื่นๆ เช่น ข้าวต้ม ข้าวเหนียว ทำเมนูยำต่างๆ ปรากฏว่าได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก
ส่วนเยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” ซึ่งมีวิตามินสูง อร่อย อยู่ท้อง ออกสินค้าใหม่ “เจเล่ วิตามิน” ราคา 10 บาท จับตลาดในช่วงที่คนหยุดทำงานที่บ้าน ขณะที่กลุ่มน้ำผสมวิตามินยังเติบโตดี เพราะตั้งแต่เกิดโควิด-19ผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น
“เรามีสินค้าครอบคลุมหลายเซ็กเมนท์ มีหลายแบรนด์ แต่ละแบรนด์แข็งแกร่งมาก อย่างเจเล่, เบนโตะ มีมาร์เก็ตแชร์สูงสุดในกลุ่ม ซึ่งโดยปกติแล้วสินค้าอุปโภคบริโภคจะมี Life Cycle ของตัวเอง มีช่วงที่ขายดี ขายไม่ดี ซึ่งของเราโชคดี ช่วงหน้าร้อน เครื่องดื่มขายดีมาก พอพน้าหนาว กลุ่มสแน็คจะขายดี เลยช่วยบาลานซ์พอร์ตโฟลิโอ”
2.ช่องทางกระจายสินค้า อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมด 11 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาค สามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้า ทั้งร้านค้าปลีกและค้าส่งมากกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ โดยในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด ต้องมีการกักตัว แต่การขนส่งสินค้าของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบ สามารถส่งได้ตามปกติจากคลังสินค้าทั่วประเทศไม่ต้องเข้ามาที่กรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละจุดจะมีทีมขายประจำอยู่ในพื้นที่
“การตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าแม้จะต้องลงทุนเยอะ แต่ทุกวันนี้ถือว่าคุ้มค่า เพราะนอกจากใช้กระจายสินค้าของเราแล้ว ยังรับกระจายสินค้าให้บริษัทอื่นๆ ด้วย ส่วนทีมงานขายก็มีการปรับโครงสร้างฝ่ายขายทั้งหมด แบ่งทีมรับผิดชอบดูแต่ละกลุ่มไปเลย ทั้งโมเดิร์นเทรด ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งทั่วไป หาคนที่มีประสบการณ์ที่ถนัดในแต่ละกลุ่มไปดูแล เพื่อที่จะได้ตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด”
3.การบริหารจัดการต้นทุน ซึ่งตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 บริษัทให้ความสำคัญอย่างมากในการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยมาไล่ดูเลยว่าสินค้าแต่ละตัว ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ต้นทุนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพื่อที่จะหาแนวทางในการลดต้นทุน ทั้งวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ระยะเวลาในการผลิต ฯลฯ
และ 4.ธรรมาภิบาล การดูแลพนักงาน แม้ปีที่ผ่านมายอดขายจะลดลง แต่บริษัทไม่มีการปลดพนักงาน ไม่ได้ลดเงินเดือน ทำให้พนักงานทุกคนมีขวัญและกำลังใจที่จะร่วมมือกันทำงานเพื่อฟันฝ่าภาวะวิกฤติในครั้งนี้ไปให้ได้
ส่วนความคืบหน้าในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ที่ผ่านมาบริษัทได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือ คิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
ซึ่งล่าสุด ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อย โดยเบื้องต้นคาดว่าหุ้น SNNP จะเข้าซื้อขายในตลท.ได้ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 2564 ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นไอพีโอไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ โดยมีแผนสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ประเทศเวียดนามซึ่งมีประชากรจำนวนมากและเศรษฐกิจกำลังเติบโต
“เรากำลังก้าวกระโดดจากบริษัทในประเทศออกไปยังภูมิภาค และวันหนึ่งเมื่อฐานเราใหญ่ขึ้นก็จะก้าวไปสู่ตลาดโลก ผมมองว่าเมื่อเราเข้าตลาดหุ้น เราจะเป็นบริษัทเดียวที่มีทั้งธุรกิจเครื่องดื่มและสแน็ค ดังนั้นการลงทุนในหุ้น SNNP เหมือนได้ลงทุน 2 ธุรกิจ ในบริษัทเดียว”
21 พฤษภาคม 2564
“ศรีนานาพร” มั่นใจรายได้ปี 2564 ฟื้น หลังปรับกลยุทธ์รับมือโควิด-19 ชู 4 จุดแข็ง “สินค้าหลากหลาย-ช่องทางกระจายสินค้าทั่วประเทศ-การบริหารจัดการต้นทุน-ธรรมาภิบาล” พร้อมเดินหน้าเข้าตลาดหุ้น คาดเทรด ก.ค.-ส.ค.นี้ นำเงินสร้างโรงงานในเวียดนาม
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว เช่น เยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” ปลาหมึกอบ “เบนโตะ” กล่าวว่า แนวโน้มผลประกอบการของบริษัทในปี 2564 จะฟื้นตัวดีขึ้นจากปี 2563 ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 โดยมีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลง 6.5% จากปี 2562 ที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท
ทั้งนี้ แม้ว่ารายได้ลดลง แต่ก็เพียงเล็กน้อย โดยรวมถือว่ายังดีกว่าตลาดและผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน หลังบริษัทเร่งปรับตัวปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจเพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคระบาด ส่งผลให้ผลประกอบการเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีที่ผ่านมา
“แม้จะเกิดการระบาดระลอกที่ 3 แต่เรามั่นใจว่าธุรกิจปีนี้จะเทิร์นอะราวด์ รายได้จะดีขึ้นแน่นอน เพราะเรามีประสบการณ์มาแล้วจากการระบาด 2 รอบที่ผ่านมา พอมาเจอรอบนี้รู้แล้วว่าต้องทำอย่างไร การปรับตัวที่ผ่านมาทำให้องค์กรแข็งแกร่งขึ้น ขจัดไขมันส่วนเกินออกไปให้หมด ส่วนไหนที่ไม่มีประสิทธิภาพก็ไขน็อตให้ดีขึ้น”
เขา มองว่าจุดแข็งสำคัญที่ทำให้บริษัทสามารถประคองตัวฝ่าวิกฤตโควิดมาได้ มีด้วยกัน 4 ประการ ได้แก่ 1.มีสินค้าหลากหลาย ทั้งกลุ่มขนมคบเคี้ยวและเครื่องดื่ม จึงช่วยกระจายความเสี่ยงไม่ต้องพึ่งพารายได้จากส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขาย
อย่างเช่นช่วงที่มีการล็อกดาวน์ในเดือน เม.ย. 2563 นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยได้ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มสินค้า “เบนโตะ” เพราะมีสัดส่วนยอดขายจากลูกค้าต่างชาติโดยเฉพาะคนจีนมากถึง 30% ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์หันมาเจาะตลาดในประเทศมากขึ้น ผ่านแคมเปญ Work From Home ให้ลูกค้านำเบนโตะมาทานคู่กับอาหารอื่นๆ เช่น ข้าวต้ม ข้าวเหนียว ทำเมนูยำต่างๆ ปรากฏว่าได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก
ส่วนเยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” ซึ่งมีวิตามินสูง อร่อย อยู่ท้อง ออกสินค้าใหม่ “เจเล่ วิตามิน” ราคา 10 บาท จับตลาดในช่วงที่คนหยุดทำงานที่บ้าน ขณะที่กลุ่มน้ำผสมวิตามินยังเติบโตดี เพราะตั้งแต่เกิดโควิด-19ผู้บริโภคหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพมากขึ้น
“เรามีสินค้าครอบคลุมหลายเซ็กเมนท์ มีหลายแบรนด์ แต่ละแบรนด์แข็งแกร่งมาก อย่างเจเล่, เบนโตะ มีมาร์เก็ตแชร์สูงสุดในกลุ่ม ซึ่งโดยปกติแล้วสินค้าอุปโภคบริโภคจะมี Life Cycle ของตัวเอง มีช่วงที่ขายดี ขายไม่ดี ซึ่งของเราโชคดี ช่วงหน้าร้อน เครื่องดื่มขายดีมาก พอพน้าหนาว กลุ่มสแน็คจะขายดี เลยช่วยบาลานซ์พอร์ตโฟลิโอ”
2.ช่องทางกระจายสินค้า อยู่ภายใต้การดูแลของ บริษัท สิริ โปร จำกัด ซึ่งปัจจุบันมีศูนย์กระจายสินค้าทั้งหมด 11 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาค สามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้า ทั้งร้านค้าปลีกและค้าส่งมากกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ โดยในช่วงที่มีการล็อกดาวน์ ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด ต้องมีการกักตัว แต่การขนส่งสินค้าของบริษัทไม่ได้รับผลกระทบ สามารถส่งได้ตามปกติจากคลังสินค้าทั่วประเทศไม่ต้องเข้ามาที่กรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละจุดจะมีทีมขายประจำอยู่ในพื้นที่
“การตั้งบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าแม้จะต้องลงทุนเยอะ แต่ทุกวันนี้ถือว่าคุ้มค่า เพราะนอกจากใช้กระจายสินค้าของเราแล้ว ยังรับกระจายสินค้าให้บริษัทอื่นๆ ด้วย ส่วนทีมงานขายก็มีการปรับโครงสร้างฝ่ายขายทั้งหมด แบ่งทีมรับผิดชอบดูแต่ละกลุ่มไปเลย ทั้งโมเดิร์นเทรด ไฮเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าส่งทั่วไป หาคนที่มีประสบการณ์ที่ถนัดในแต่ละกลุ่มไปดูแล เพื่อที่จะได้ตอบโจทย์ความต้องการได้ตรงจุด”
3.การบริหารจัดการต้นทุน ซึ่งตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 บริษัทให้ความสำคัญอย่างมากในการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยมาไล่ดูเลยว่าสินค้าแต่ละตัว ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ต้นทุนประกอบไปด้วยอะไรบ้าง เพื่อที่จะหาแนวทางในการลดต้นทุน ทั้งวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ การจัดหาวัตถุดิบ กระบวนการผลิต ระยะเวลาในการผลิต ฯลฯ
และ 4.ธรรมาภิบาล การดูแลพนักงาน แม้ปีที่ผ่านมายอดขายจะลดลง แต่บริษัทไม่มีการปลดพนักงาน ไม่ได้ลดเงินเดือน ทำให้พนักงานทุกคนมีขวัญและกำลังใจที่จะร่วมมือกันทำงานเพื่อฟันฝ่าภาวะวิกฤติในครั้งนี้ไปให้ได้
ส่วนความคืบหน้าในการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ที่ผ่านมาบริษัทได้ยื่นคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (แบบไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือ คิดเป็นไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท
ซึ่งล่าสุด ก.ล.ต. ได้เริ่มนับหนึ่งไฟลิ่งเป็นที่เรียบร้อย โดยเบื้องต้นคาดว่าหุ้น SNNP จะเข้าซื้อขายในตลท.ได้ในช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 2564 ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นไอพีโอไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในธุรกิจ โดยมีแผนสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ประเทศเวียดนามซึ่งมีประชากรจำนวนมากและเศรษฐกิจกำลังเติบโต
“เรากำลังก้าวกระโดดจากบริษัทในประเทศออกไปยังภูมิภาค และวันหนึ่งเมื่อฐานเราใหญ่ขึ้นก็จะก้าวไปสู่ตลาดโลก ผมมองว่าเมื่อเราเข้าตลาดหุ้น เราจะเป็นบริษัทเดียวที่มีทั้งธุรกิจเครื่องดื่มและสแน็ค ดังนั้นการลงทุนในหุ้น SNNP เหมือนได้ลงทุน 2 ธุรกิจ ในบริษัทเดียว”
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 22
‘ศรีนานาพร’ เร่งปรับตัวฝ่าวิกฤตโควิด
บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP บริษัทเร่งปรับตัวเพื่อปรับมือกับการระบาดของโควิด-19 มั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้เทิร์นอะราวด์แน่นอน
ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยคึกคัก ที่หลายบริษัทวางแผนเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนึ่งในนั้น คือ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เป็นเจ้าของแบรนด์ เยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” , ปลาหมึกอบเบนโตะ คาดเข้าจดทะเบียนได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้ โดยที่ผ่านมา บริษัทเร่งปรับตัวเพื่อปรับมือกับการระบาดของโควิด-19 มั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้เทิร์นอะราวด์แน่นอน
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลประกอบการของบริษัทในปีที่ผ่านได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่โดยรวมแล้ว ถือว่าดีกว่าตลาดและผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดยมีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 6.5 % จากปี 2562 ที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท
ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในปี 2564 มั่นใจว่าจะดีกว่าปีก่อนแน่นอน แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 แต่บริษัทก็มีประสบการณ์จากรอบที่ผ่านๆ มาแล้ว โดยเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวมาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2563 หลังบริษัทเร่งปรับตัวรับมือกับภาวะวิกฤต
บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP บริษัทเร่งปรับตัวเพื่อปรับมือกับการระบาดของโควิด-19 มั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้เทิร์นอะราวด์แน่นอน
ช่วงนี้ตลาดหุ้นไทยคึกคัก ที่หลายบริษัทวางแผนเข้ามาระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หนึ่งในนั้น คือ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เป็นเจ้าของแบรนด์ เยลลี่พร้อมดื่ม “เจเล่” , ปลาหมึกอบเบนโตะ คาดเข้าจดทะเบียนได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้ โดยที่ผ่านมา บริษัทเร่งปรับตัวเพื่อปรับมือกับการระบาดของโควิด-19 มั่นใจว่าผลประกอบการปีนี้เทิร์นอะราวด์แน่นอน
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผลประกอบการของบริษัทในปีที่ผ่านได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่โดยรวมแล้ว ถือว่าดีกว่าตลาดและผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน โดยมีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 6.5 % จากปี 2562 ที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท
ขณะที่แนวโน้มผลประกอบการในปี 2564 มั่นใจว่าจะดีกว่าปีก่อนแน่นอน แม้จะมีการระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 แต่บริษัทก็มีประสบการณ์จากรอบที่ผ่านๆ มาแล้ว โดยเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวมาตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ของปี 2563 หลังบริษัทเร่งปรับตัวรับมือกับภาวะวิกฤต
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 23
“ศรีนานาพร” เพิ่มดีกรีบุก ตปท. ปูพรมสินค้ากัญชาดันเป้าหมื่นล้าน 5 ปี
วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 - 16:25 น.
“ศรีนานาพรฯ” ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ สลัดภาพธุรกิจครอบครัว ดึงมืออาชีพเสริมทัพ เข้าตลาดหุ้นระดมทุนบุกธุรกิจในไทย-ต่างประเทศ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนยอดขายต่างประเทศเป็น 70% ทุ่มลงทุน 600 ล้าน ตั้งโรงงานลุยตลาดเวียดนาม ประกาศเดินหน้ารุกตลาดเครื่องดื่มและสแน็กเต็มสูบ เตรียมเปิดตัวสินค้ากัญชา “เครื่องดื่ม-สแน็ก-เยลลี่” รับกระแสฟีเวอร์ ตั้งเป้ายอดขายทะลุหมื่นล้าน ใน 5 ปี
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยว เช่น เยลลี่พร้อมดื่ม เครื่องดื่ม ปลาหมึก ปลาเส้น ขนมปังขาไก่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจใหม่ ด้วยการสลัดภาพธุรกิจครอบครัวและดึงมืออาชีพเข้ามาบริหารงาน จากเดิมที่ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 30 ปี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเดินหน้ารุกตลาดเครื่องดื่มและสแน็กมากขึ้น รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมในการจะนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และคาดว่าจะสามารถเข้าจดทะเบียนได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้ และเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
“ทั้งนี้ ศรีนานาพรฯแบ่งการทำงานออกเป็น 3 เฟส เพื่อก้าวสู่ตลาดอินเตอร์มากขึ้น ได้แก่ เฟสแรกเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา เป็นการเริ่มปรับโครงสร้างทางธุรกิจครั้งใหญ่ เฟส 2 คือ การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯที่กำลังจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3 นี้ และเฟส 3 คือ การกรุยทางการทำงานสู่ระบบอินเตอร์ที่จะเป็นการต่อยอดจากฐานการทำงานในต่างประเทศของบริษัท”
เพิ่มดีกรีบุกเวียดนาม
นายวิโรจน์กล่าวต่อไปว่า แผนงานดังกล่าวจะถูกดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ การสร้างความแข็งแกร่งของสินค้าและผลิตภัณฑ์, การวิจัยและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ, การเพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจำหน่าย ที่บริษัทมีศูนย์กระจายสินค้ารวม 11 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาค สามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้า ทั้งค้าปลีกและค้าส่งมากกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ รวมถึงการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งเพื่อต่อยอดขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างการเติบโตจากสถานการณ์โควิด-19 และสร้างการเติบโตในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการมีรายได้ 1 หมื่นล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะเพิ่มมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเป็น 70% จากปัจจุบันที่มีอยู่ 30%
สำหรับแนวทางการดำเนินในตลาดต่างประเทศ บริษัทมีแผนจะขยายตลาดเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีการส่งออกไปยัง 35 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน อาทิ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา ลาว รวมถึงจีน และตามแผนการดำเนินงาน หลังจากที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว บริษัทเตรียมจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ในเวียดนาม เบื้องต้นมีที่ดินเตรียมไว้แล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2565 หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย
โรงงานนี้เฟสแรกจะลงทุน 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 420 ล้านบาท) และเฟส 2 ลงทุน 6 ด้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 180 ล้านบาท) สำหรับผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์เจเล่ และเบนโตะ เพื่อรุกตลาดเวียดนาม เพื่อเป็นการลดต้นทุนขนส่ง จากปัจจุบันที่ต้องนำเข้าสินค้าจากไทย
“การแพร่ระบาดของโควิดที่เกิดขึ้น ทำให้แผนการก่อสร้างชะลอออกไปก่อน หากโรงงานในเวียดนามแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและทำให้มีความได้เปรียบในการทำตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนการดำเนินงานและต้นทุนค่าขนส่งที่ลดลง”
เตรียมบุกสินค้ากัญชา
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพรฯกล่าวต่อไปว่า ส่วนตลาดในประเทศบริษัทมีแผนเดินหน้ารุกตลาดเครื่องดื่มและสแน็กอย่างเต็มที่ โดยมีแผนจะทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่เพิ่มอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวมถึงการเตรียมเปิดตัวสินค้าใหม่จากกัญชงกัญชาใน 3 หลุ่มหลัก ทั้งเครื่องดื่ม สแน็ก และเยลลี่ เพื่อให้สอดรับกับกระแสกัญชาที่ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยจะมีทั้งการเปิดแบรนด์ใหม่และต่อยอดจากแบรนด์เดิมที่มีอยู่ เพื่อรองรับกระแสกัญชาที่ได้รับความนิยม
โดยขณะนี้บริษัทมีความพร้อมทั้งตราสินค้า บรรุจภัณฑ์ ไว้แล้วทั้งหมด รอเพียงภาครัฐประกาศและออกใบอนุญาตให้จำหน่ายได้ บริษัทก็จะมีสินค้าลงไปทำตลาดทันที คาดว่าหลังจากโควิดผ่านพ้นไป สินค้าจากกลุ่มกัญชง-กัญชา จะเป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์ที่มาแรงมากและช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทได้ในอนาคต
นอกจากนี้ยังเตรียมทุ่มงบฯการตลาดอย่างเต็มที่ สำหรับแบรนด์ที่เป็นเรือธง โดยเฉพาะเจเล่-เบนโตะ-ขาไก่โลตัส-น้ำดื่มวิตามิน อควาวิทซ์ บาย เจเล่ โดยในส่วนของเจเล่ และเบนโตะ ได้เตรียมงบประมาณการตลาดราว 5-7% ของยอดขายเพื่อสร้างการเติบโต ทั้งออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้น หลังปีที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 ทั้งการบริหารจัดการต้นทุนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อหาแนวทางในการลดต้นทุน ควบคู่กับการใช้ความแข็งแกร่งของตราสินค้าในการสร้างแคมเปญเพื่อกระตุ้นตลาด
ขณะที่น้ำดื่มวิตามิน อควาวิทซ์ บาย เจเล่ หลังมีการเปิดตัวในปีที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าดาวรุ่งของบริษัท ก็มีการเติบโตติด 1 ใน 5 ของผู้นำตลาดในช่องทางคอนวีเนี่ยนสโตร์ โดยแผนงานในปีนี้ได้เตรียมงบประมาณราว 20-30% ของยอดขายในการเดินหน้าทำตลาด
การปรับตัวหนุนสิ้นปีโต 20%
นายวิโรจน์ย้ำในตอนท้ายว่า เนื่องจากบริษัทสินค้าที่หลากหลายทั้งกลุ่มขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม อีกด้านหนึ่งก็ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง โดยตลอดปีที่ผ่านมา มีการออกแคมเปญใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง หลังจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์เบนโตะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศลดลง ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์หันมาเจาะฐานลูกค้าในประเทศมากขึ้น ผ่านแคมเปญ work from home นำเบนโตะมาทานคู่กับอาหารอื่น ๆ เช่น ข้าวต้ม, ข้าวเหนียว เอาไปทำเป็นยำ ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดี
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าขณะนี้เศรษฐกิจในประเทศยังยังไม่ดี เม็ดเงินต่าง ๆ ในระบบไม่มีมากนัก เนื่องจากประชาชนชะลอการจับจ่าย ทำให้แผนการทำตลาดส่วนใหญ่ยังคงโฟกัสไปที่แบรนด์หลัก เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดอยู่แล้ว และสามารถสร้างรายได้กลับมาให้บริษัทได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการปั้นแบรนด์ใหม่สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้
“ปีที่ผ่านมา แม้ผลประกอบการของบริษัทจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่ถือว่ายังดีกว่าภาพรวมของตลาดและผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน คือ มีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 6.5% จากปี 2562 ที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท ส่วนปีนี้แม้สถานการณ์โควิดจะยังไม่คลี่คลาย แต่จากการปรับกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ คาดว่าจะช่วยให้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 20%” นายวิโรจน์กล่าว
ปัจจุบันศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท เป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้
วันที่ 24 พฤษภาคม 2564 - 16:25 น.
“ศรีนานาพรฯ” ปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ สลัดภาพธุรกิจครอบครัว ดึงมืออาชีพเสริมทัพ เข้าตลาดหุ้นระดมทุนบุกธุรกิจในไทย-ต่างประเทศ ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนยอดขายต่างประเทศเป็น 70% ทุ่มลงทุน 600 ล้าน ตั้งโรงงานลุยตลาดเวียดนาม ประกาศเดินหน้ารุกตลาดเครื่องดื่มและสแน็กเต็มสูบ เตรียมเปิดตัวสินค้ากัญชา “เครื่องดื่ม-สแน็ก-เยลลี่” รับกระแสฟีเวอร์ ตั้งเป้ายอดขายทะลุหมื่นล้าน ใน 5 ปี
นายวิโรจน์ วชิรเดชกุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้ผลิตและจำหน่ายขนมขบเคี้ยว เช่น เยลลี่พร้อมดื่ม เครื่องดื่ม ปลาหมึก ปลาเส้น ขนมปังขาไก่ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้มีการปรับโครงสร้างการดำเนินธุรกิจใหม่ ด้วยการสลัดภาพธุรกิจครอบครัวและดึงมืออาชีพเข้ามาบริหารงาน จากเดิมที่ดำเนินธุรกิจมานานกว่า 30 ปี ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเดินหน้ารุกตลาดเครื่องดื่มและสแน็กมากขึ้น รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมในการจะนำบริษัทเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และคาดว่าจะสามารถเข้าจดทะเบียนได้ในช่วงไตรมาส 3 นี้ และเงินที่ได้จากการระดมทุนจะช่วยปรับโครงสร้างทางการเงินของบริษัทให้มีความเข้มแข็ง เพื่อสร้างความพร้อมในการรุกตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยว และขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม
“ทั้งนี้ ศรีนานาพรฯแบ่งการทำงานออกเป็น 3 เฟส เพื่อก้าวสู่ตลาดอินเตอร์มากขึ้น ได้แก่ เฟสแรกเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา เป็นการเริ่มปรับโครงสร้างทางธุรกิจครั้งใหญ่ เฟส 2 คือ การเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯที่กำลังจะเกิดขึ้นในไตรมาส 3 นี้ และเฟส 3 คือ การกรุยทางการทำงานสู่ระบบอินเตอร์ที่จะเป็นการต่อยอดจากฐานการทำงานในต่างประเทศของบริษัท”
เพิ่มดีกรีบุกเวียดนาม
นายวิโรจน์กล่าวต่อไปว่า แผนงานดังกล่าวจะถูกดำเนินการภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ การสร้างความแข็งแกร่งของสินค้าและผลิตภัณฑ์, การวิจัยและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ, การเพิ่มความแข็งแกร่งของช่องทางการจำหน่าย ที่บริษัทมีศูนย์กระจายสินค้ารวม 11 แห่ง ครอบคลุมทุกภูมิภาค สามารถกระจายสินค้าถึงกลุ่มร้านค้า ทั้งค้าปลีกและค้าส่งมากกว่า 70,000 รายทั่วประเทศ รวมถึงการสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งเพื่อต่อยอดขยายตลาดไปสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น เพื่อเป็นการสร้างการเติบโตจากสถานการณ์โควิด-19 และสร้างการเติบโตในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการมีรายได้ 1 หมื่นล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยจะเพิ่มมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศเป็น 70% จากปัจจุบันที่มีอยู่ 30%
สำหรับแนวทางการดำเนินในตลาดต่างประเทศ บริษัทมีแผนจะขยายตลาดเพิ่มอย่างต่อเนื่อง จากปัจจุบันที่มีการส่งออกไปยัง 35 ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มประเทศอาเซียน อาทิ เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา ลาว รวมถึงจีน และตามแผนการดำเนินงาน หลังจากที่นำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯแล้ว บริษัทเตรียมจะเปิดโรงงานแห่งใหม่ในเวียดนาม เบื้องต้นมีที่ดินเตรียมไว้แล้ว คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2565 หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย
โรงงานนี้เฟสแรกจะลงทุน 14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 420 ล้านบาท) และเฟส 2 ลงทุน 6 ด้านดอลลาร์สหรัฐ (กว่า 180 ล้านบาท) สำหรับผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์เจเล่ และเบนโตะ เพื่อรุกตลาดเวียดนาม เพื่อเป็นการลดต้นทุนขนส่ง จากปัจจุบันที่ต้องนำเข้าสินค้าจากไทย
“การแพร่ระบาดของโควิดที่เกิดขึ้น ทำให้แผนการก่อสร้างชะลอออกไปก่อน หากโรงงานในเวียดนามแล้วเสร็จจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและทำให้มีความได้เปรียบในการทำตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนการดำเนินงานและต้นทุนค่าขนส่งที่ลดลง”
เตรียมบุกสินค้ากัญชา
รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท ศรีนานาพรฯกล่าวต่อไปว่า ส่วนตลาดในประเทศบริษัทมีแผนเดินหน้ารุกตลาดเครื่องดื่มและสแน็กอย่างเต็มที่ โดยมีแผนจะทยอยเปิดตัวสินค้าใหม่เพิ่มอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี รวมถึงการเตรียมเปิดตัวสินค้าใหม่จากกัญชงกัญชาใน 3 หลุ่มหลัก ทั้งเครื่องดื่ม สแน็ก และเยลลี่ เพื่อให้สอดรับกับกระแสกัญชาที่ได้รับความนิยมมากขึ้น โดยจะมีทั้งการเปิดแบรนด์ใหม่และต่อยอดจากแบรนด์เดิมที่มีอยู่ เพื่อรองรับกระแสกัญชาที่ได้รับความนิยม
โดยขณะนี้บริษัทมีความพร้อมทั้งตราสินค้า บรรุจภัณฑ์ ไว้แล้วทั้งหมด รอเพียงภาครัฐประกาศและออกใบอนุญาตให้จำหน่ายได้ บริษัทก็จะมีสินค้าลงไปทำตลาดทันที คาดว่าหลังจากโควิดผ่านพ้นไป สินค้าจากกลุ่มกัญชง-กัญชา จะเป็นอีกหนึ่งเซ็กเมนต์ที่มาแรงมากและช่วยสร้างการเติบโตให้กับบริษัทได้ในอนาคต
นอกจากนี้ยังเตรียมทุ่มงบฯการตลาดอย่างเต็มที่ สำหรับแบรนด์ที่เป็นเรือธง โดยเฉพาะเจเล่-เบนโตะ-ขาไก่โลตัส-น้ำดื่มวิตามิน อควาวิทซ์ บาย เจเล่ โดยในส่วนของเจเล่ และเบนโตะ ได้เตรียมงบประมาณการตลาดราว 5-7% ของยอดขายเพื่อสร้างการเติบโต ทั้งออนไลน์และออฟไลน์มากขึ้น หลังปีที่ผ่านมาได้มีการปรับตัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 ทั้งการบริหารจัดการต้นทุนลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต เพื่อหาแนวทางในการลดต้นทุน ควบคู่กับการใช้ความแข็งแกร่งของตราสินค้าในการสร้างแคมเปญเพื่อกระตุ้นตลาด
ขณะที่น้ำดื่มวิตามิน อควาวิทซ์ บาย เจเล่ หลังมีการเปิดตัวในปีที่ผ่านมา ถือเป็นอีกหนึ่งสินค้าดาวรุ่งของบริษัท ก็มีการเติบโตติด 1 ใน 5 ของผู้นำตลาดในช่องทางคอนวีเนี่ยนสโตร์ โดยแผนงานในปีนี้ได้เตรียมงบประมาณราว 20-30% ของยอดขายในการเดินหน้าทำตลาด
การปรับตัวหนุนสิ้นปีโต 20%
นายวิโรจน์ย้ำในตอนท้ายว่า เนื่องจากบริษัทสินค้าที่หลากหลายทั้งกลุ่มขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่ม อีกด้านหนึ่งก็ช่วยกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจได้ในระดับหนึ่ง โดยตลอดปีที่ผ่านมา มีการออกแคมเปญใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นยอดขายอย่างต่อเนื่อง หลังจากกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวจีน ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์เบนโตะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศลดลง ทำให้บริษัทต้องปรับกลยุทธ์หันมาเจาะฐานลูกค้าในประเทศมากขึ้น ผ่านแคมเปญ work from home นำเบนโตะมาทานคู่กับอาหารอื่น ๆ เช่น ข้าวต้ม, ข้าวเหนียว เอาไปทำเป็นยำ ซึ่งก็ได้รับกระแสตอบรับที่ดี
อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าขณะนี้เศรษฐกิจในประเทศยังยังไม่ดี เม็ดเงินต่าง ๆ ในระบบไม่มีมากนัก เนื่องจากประชาชนชะลอการจับจ่าย ทำให้แผนการทำตลาดส่วนใหญ่ยังคงโฟกัสไปที่แบรนด์หลัก เนื่องจากเป็นแบรนด์ที่ติดตลาดอยู่แล้ว และสามารถสร้างรายได้กลับมาให้บริษัทได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการปั้นแบรนด์ใหม่สภาวการณ์ที่ไม่แน่นอนเช่นนี้
“ปีที่ผ่านมา แม้ผลประกอบการของบริษัทจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 แต่ถือว่ายังดีกว่าภาพรวมของตลาดและผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเดียวกัน คือ มีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 6.5% จากปี 2562 ที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท ส่วนปีนี้แม้สถานการณ์โควิดจะยังไม่คลี่คลาย แต่จากการปรับกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ คาดว่าจะช่วยให้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ไม่ต่ำกว่า 20%” นายวิโรจน์กล่าว
ปัจจุบันศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง มีทุนจดทะเบียน 480 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 960 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 0.50 บาท เป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 360 ล้านบาท และจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 240 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นไม่เกินร้อยละ 25 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของบริษัท ภายหลังการเสนอขายในครั้งนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 24
บมจ.ศรีนานาพร โชว์ผลงาน Q1/2564 เทิร์นอะราวด์
ทำรายได้รวมกว่า 1,239 ล้านบาท เติบโตสวนกระแส Covid-19 ตอกย้ำพื้นฐานธุรกิจสุดแกร่ง ก้าวสู่ผู้นำเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียน
‘บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ หรือ SNNP โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/64 พลิกฟื้น ทำรายได้รวม 1,239 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เติบโต 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอกย้ำแบรนด์พอร์ตโฟลิโอที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายพร้อมตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค
ขณะที่กำไรสุทธิทำได้ 172 ล้านบาท จากการสร้างความแข็งแกร่งในตราสินค้า การบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรายการพิเศษทางบัญชี มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น พร้อมก้าวสู่ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียน
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการผลักดันการเติบโตของผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2564 (มกราคม-มีนาคม) ได้อย่างแข็งแกร่ง แม้เผชิญปัจจัยลบจาก Covid-19 โดยมีรายได้รวม 1,239 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตอกย้ำศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ SNNP ที่มีความแข็งแกร่งด้านพอร์ตโฟลิโอสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่มีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการ ครอบคลุมทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ตลอดจนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มผสมวิตามิน ภายใต้แบรนด์เจเล่ ซึ่งช่วยเสริมให้ยอดขายสินค้าในกลุ่มเยลลี่ซองเติบโตได้ต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ก่อนสถานการณ์ Covid-19 จนถึงปัจจุบัน และการปรับกลยุทธ์ทำให้ยอดขายสินค้าแบรนด์เบนโตะ มียอดขายเติบโตกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์ Covid-19 ทั้งที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาซื้อสินค้าแบรนด์เบนโตะในประเทศ เคยเป็นสัดส่วนยอดขายที่สำคัญในช่วงก่อนสถานการณ์ Covid-19 ยังคงไม่กลับมา
ขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาสนี้ทำได้ 172 ล้านบาท โดยเป็นการทำกำไรเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 นับจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความแข็งแกร่งการดำเนินงาน ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ปี 2563 โดยต้นทุนขายต่อรายได้อยู่ที่ 73.7% ลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนค่าใช่จ่ายในการขายและบริการต่อรายได้อยู่ที่ 20% หรือลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้กำไรสุทธิดังกล่าวมีรายการพิเศษจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยรวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น 128 ล้านบาท
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SNNP กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ วางรากฐานระบบจัดจำหน่ายและการผลิตทั้งในประเทศและภูมิภาค CLMV เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ ฮีโร่บอยส์ เมจิกฟาร์มเฟรช อควาวิตซ์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ได้แก่ เบนโตะ ดอกบัว โลตัส ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์ ผ่านกลยุทธ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตและก้าวสู่การเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียนได้ในอนาคต
*************************************
ทำรายได้รวมกว่า 1,239 ล้านบาท เติบโตสวนกระแส Covid-19 ตอกย้ำพื้นฐานธุรกิจสุดแกร่ง ก้าวสู่ผู้นำเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียน
‘บมจ.ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง’ หรือ SNNP โชว์ผลการดำเนินงานไตรมาส 1/64 พลิกฟื้น ทำรายได้รวม 1,239 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เติบโต 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ตอกย้ำแบรนด์พอร์ตโฟลิโอที่มีผลิตภัณฑ์หลากหลายพร้อมตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ครอบคลุมในทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค
ขณะที่กำไรสุทธิทำได้ 172 ล้านบาท จากการสร้างความแข็งแกร่งในตราสินค้า การบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรายการพิเศษทางบัญชี มั่นใจผลงานปีนี้เติบโตเด่น พร้อมก้าวสู่ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียน
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการผลักดันการเติบโตของผลการดำเนินงานในไตรมาส 1/2564 (มกราคม-มีนาคม) ได้อย่างแข็งแกร่ง แม้เผชิญปัจจัยลบจาก Covid-19 โดยมีรายได้รวม 1,239 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตอกย้ำศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ SNNP ที่มีความแข็งแกร่งด้านพอร์ตโฟลิโอสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่มีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการ ครอบคลุมทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ตลอดจนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มผสมวิตามิน ภายใต้แบรนด์เจเล่ ซึ่งช่วยเสริมให้ยอดขายสินค้าในกลุ่มเยลลี่ซองเติบโตได้ต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ก่อนสถานการณ์ Covid-19 จนถึงปัจจุบัน และการปรับกลยุทธ์ทำให้ยอดขายสินค้าแบรนด์เบนโตะ มียอดขายเติบโตกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์ Covid-19 ทั้งที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาซื้อสินค้าแบรนด์เบนโตะในประเทศ เคยเป็นสัดส่วนยอดขายที่สำคัญในช่วงก่อนสถานการณ์ Covid-19 ยังคงไม่กลับมา
ขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาสนี้ทำได้ 172 ล้านบาท โดยเป็นการทำกำไรเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 นับจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความแข็งแกร่งการดำเนินงาน ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ปี 2563 โดยต้นทุนขายต่อรายได้อยู่ที่ 73.7% ลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนค่าใช่จ่ายในการขายและบริการต่อรายได้อยู่ที่ 20% หรือลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้กำไรสุทธิดังกล่าวมีรายการพิเศษจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยรวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น 128 ล้านบาท
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SNNP กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ วางรากฐานระบบจัดจำหน่ายและการผลิตทั้งในประเทศและภูมิภาค CLMV เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ ฮีโร่บอยส์ เมจิกฟาร์มเฟรช อควาวิตซ์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ได้แก่ เบนโตะ ดอกบัว โลตัส ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์ ผ่านกลยุทธ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตและก้าวสู่การเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียนได้ในอนาคต
*************************************
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 25
'ศรีนานาพร'เล็งขายหุ้นไอพีโอ 7-9 ก.ค. คาดเข้าเทรด 20 ก.ค.64
28 พฤษภาคม 2564
"ศรีนานาพร ”ไตรมาส1/64 กวาดรายได้รวม 1.23 พันล้าน กำไรสุทธิ 172 ล้าน โต 3ไตรมาสติด คาดขายหุ้นไอพีโอ ไม่เกิน240 ล้านหุ้น 7-9 ก.ค. เข้าเทรด 20 ก.ค.64
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส1ปี 2564 ของบริษัทถือว่ามีการเติบโตที่ดี แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีรายได้รวม 1,239 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้สะท้อนศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ SNNP ที่มีความแข็งแกร่งด้านพอร์ตโฟลิโอสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่มีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการ ครอบคลุมทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ตลอดจนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มผสมวิตามิน ภายใต้แบรนด์เจเล่ ซึ่งช่วยเสริมให้ยอดขายสินค้าในกลุ่มเยลลี่ซองเติบโตได้ต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 จนถึงปัจจุบัน
รวมถึงการปรับกลยุทธ์ทำให้ยอดขายสินค้าแบรนด์เบนโตะ มียอดขายเติบโตกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ทั้งที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาซื้อสินค้าแบรนด์เบนโตะในประเทศ เคยเป็นสัดส่วนยอดขายที่สำคัญในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ยังคงไม่กลับมา
ขณะที่บริษัทกำไรสุทธิ 172 ล้านบาท โดยเป็นการทำกำไรเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 นับจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทมีการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ปี 2563 โดยต้นทุนขายต่อรายได้อยู่ที่ 73.7% ลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนค่าใช่จ่ายในการขายและบริการต่อรายได้อยู่ที่ 20% หรือ ลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้กำไรสุทธิดังกล่าวมีรายการพิเศษจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยรวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น 128 ล้านบาท
นายวิวรรธน์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้วางรากฐานระบบจัดจำหน่ายและการผลิตทั้งในประเทศและภูมิภาค CLMV เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ เจเล่ ,ไดยาโมโตะ, ฮีโร่บอยส์, เมจิกฟาร์มเฟรช, อควาวิตซ์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ได้แก่ เบนโตะ ดอกบัว โลตัส ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์ ผ่านกลยุทธ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตและก้าวสู่การเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียนได้ในอนาคต
สำหรับความคืบหน้าการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ( IPO)ไม่เกิน240 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์)หุ้นละ 0.50บาท คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นชำระแล้วหลังไอพีโอ คาดว่าจะเสนอขายหุ้นไอพีโอได้ 7-9 ก.ค. และคาดเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)วันที่ 20 ก.ค.2564
28 พฤษภาคม 2564
"ศรีนานาพร ”ไตรมาส1/64 กวาดรายได้รวม 1.23 พันล้าน กำไรสุทธิ 172 ล้าน โต 3ไตรมาสติด คาดขายหุ้นไอพีโอ ไม่เกิน240 ล้านหุ้น 7-9 ก.ค. เข้าเทรด 20 ก.ค.64
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในไตรมาส1ปี 2564 ของบริษัทถือว่ามีการเติบโตที่ดี แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีรายได้รวม 1,239 ล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้สะท้อนศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ SNNP ที่มีความแข็งแกร่งด้านพอร์ตโฟลิโอสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่มีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการ ครอบคลุมทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ตลอดจนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มผสมวิตามิน ภายใต้แบรนด์เจเล่ ซึ่งช่วยเสริมให้ยอดขายสินค้าในกลุ่มเยลลี่ซองเติบโตได้ต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 จนถึงปัจจุบัน
รวมถึงการปรับกลยุทธ์ทำให้ยอดขายสินค้าแบรนด์เบนโตะ มียอดขายเติบโตกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ทั้งที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาซื้อสินค้าแบรนด์เบนโตะในประเทศ เคยเป็นสัดส่วนยอดขายที่สำคัญในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ยังคงไม่กลับมา
ขณะที่บริษัทกำไรสุทธิ 172 ล้านบาท โดยเป็นการทำกำไรเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 นับจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทมีการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ปี 2563 โดยต้นทุนขายต่อรายได้อยู่ที่ 73.7% ลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนค่าใช่จ่ายในการขายและบริการต่อรายได้อยู่ที่ 20% หรือ ลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้กำไรสุทธิดังกล่าวมีรายการพิเศษจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยรวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น 128 ล้านบาท
นายวิวรรธน์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทได้วางรากฐานระบบจัดจำหน่ายและการผลิตทั้งในประเทศและภูมิภาค CLMV เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ เจเล่ ,ไดยาโมโตะ, ฮีโร่บอยส์, เมจิกฟาร์มเฟรช, อควาวิตซ์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ได้แก่ เบนโตะ ดอกบัว โลตัส ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์ ผ่านกลยุทธ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตและก้าวสู่การเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียนได้ในอนาคต
สำหรับความคืบหน้าการเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก ( IPO)ไม่เกิน240 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์)หุ้นละ 0.50บาท คิดเป็นสัดส่วนไม่เกิน 25% ของจำนวนหุ้นชำระแล้วหลังไอพีโอ คาดว่าจะเสนอขายหุ้นไอพีโอได้ 7-9 ก.ค. และคาดเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.)วันที่ 20 ก.ค.2564
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 26
SNNP ไตรมาส 1/64 กำไร 172 ล้านบาท โตต่อเนื่อง 3 ไตรมาส
27 พฤษภาคม 2564
"ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง" โชว์ผลงานไตรมาส 1/64 พลิกฟื้น รายได้ 1,239 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เติบโต 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ 172 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3/63 ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการผลักดันการเติบโตของผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2564 ได้อย่างแข็งแกร่ง แม้เผชิญปัจจัยลบจากโควิด-19 โดยมีรายได้รวม 1,239 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตอกย้ำศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ SNNP ที่มีความแข็งแกร่งด้านพอร์ตโฟลิโอสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่มีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการ ครอบคลุมทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ตลอดจนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มผสมวิตามิน ภายใต้แบรนด์เจเล่ ซึ่งช่วยเสริมให้ยอดขายสินค้าในกลุ่มเยลลี่ซองเติบโตได้ต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 จนถึงปัจจุบัน
และการปรับกลยุทธ์ทำให้ยอดขายสินค้าแบรนด์เบนโตะ มียอดขายเติบโตกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ทั้งที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาซื้อสินค้าแบรนด์เบนโตะในประเทศ เคยเป็นสัดส่วนยอดขายที่สำคัญในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ยังคงไม่กลับมา
ขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาสนี้ทำได้ 172 ล้านบาท โดยเป็นการทำกำไรเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 นับจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความแข็งแกร่งการดำเนินงาน ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ปี 2563
โดยต้นทุนขายต่อรายได้อยู่ที่ 73.7% ลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนค่าใช่จ่ายในการขายและบริการต่อรายได้อยู่ที่ 20% หรือลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้กำไรสุทธิดังกล่าวมีรายการพิเศษจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยรวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น 128 ล้านบาท
นายวิวรรธน์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ วางรากฐานระบบจัดจำหน่ายและการผลิตทั้งในประเทศและภูมิภาค CLMV เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ ฮีโร่บอยส์ เมจิกฟาร์มเฟรช อควาวิตซ์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ได้แก่ เบนโตะ ดอกบัว โลตัส ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
ผ่านกลยุทธ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตและก้าวสู่การเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียนได้ในอนาคต
27 พฤษภาคม 2564
"ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง" โชว์ผลงานไตรมาส 1/64 พลิกฟื้น รายได้ 1,239 ล้านบาท โดยมีรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เติบโต 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิ 172 ล้านบาท เติบโตต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 3/63 ท่ามกลางวิกฤตโควิด-19
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของประเทศไทย เปิดเผยว่า บริษัทฯ ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการผลักดันการเติบโตของผลการดำเนินงานในไตรมาส 1 ปี 2564 ได้อย่างแข็งแกร่ง แม้เผชิญปัจจัยลบจากโควิด-19 โดยมีรายได้รวม 1,239 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วยรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ตอกย้ำศักยภาพการดำเนินธุรกิจของ SNNP ที่มีความแข็งแกร่งด้านพอร์ตโฟลิโอสินค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวที่มีความหลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการ ครอบคลุมทุกช่วงเวลาและโอกาสในการบริโภค ตลอดจนการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์เยลลี่พร้อมดื่มผสมวิตามิน ภายใต้แบรนด์เจเล่ ซึ่งช่วยเสริมให้ยอดขายสินค้าในกลุ่มเยลลี่ซองเติบโตได้ต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ก่อนสถานการณ์โควิด-19 จนถึงปัจจุบัน
และการปรับกลยุทธ์ทำให้ยอดขายสินค้าแบรนด์เบนโตะ มียอดขายเติบโตกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ทั้งที่กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาซื้อสินค้าแบรนด์เบนโตะในประเทศ เคยเป็นสัดส่วนยอดขายที่สำคัญในช่วงก่อนสถานการณ์โควิด-19 ยังคงไม่กลับมา
ขณะที่กำไรสุทธิในไตรมาสนี้ทำได้ 172 ล้านบาท โดยเป็นการทำกำไรเติบโตติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 3 นับจากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วงปีที่ผ่านมา สะท้อนถึงความแข็งแกร่งการดำเนินงาน ซึ่งมีปัจจัยสำคัญมาจากการพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตและการควบคุมค่าใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องตลอดตั้งแต่ปี 2563
โดยต้นทุนขายต่อรายได้อยู่ที่ 73.7% ลดลง 0.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนค่าใช่จ่ายในการขายและบริการต่อรายได้อยู่ที่ 20% หรือลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้กำไรสุทธิดังกล่าวมีรายการพิเศษจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยรวมอยู่ด้วยทั้งสิ้น 128 ล้านบาท
นายวิวรรธน์ กล่าวว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมา บริษัทฯ วางรากฐานระบบจัดจำหน่ายและการผลิตทั้งในประเทศและภูมิภาค CLMV เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม ได้แก่ เจเล่ ไดยาโมโตะ ฮีโร่บอยส์ เมจิกฟาร์มเฟรช อควาวิตซ์ และผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยว ได้แก่ เบนโตะ ดอกบัว โลตัส ช๊อคกี้และเบเกอรี่เฮาส์
ผ่านกลยุทธ์เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของแบรนด์สินค้าและผลิตภัณฑ์ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพของช่องทางการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้าให้ครอบคลุมกลุ่มลูกค้าเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง จึงมั่นใจว่าจะช่วยผลักดันผลการดำเนินงานให้เติบโตและก้าวสู่การเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวแห่งอาเซียนได้ในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 27
“ศรีนานาพร” จากยี่ปั้วขายขนมย่านมาหานาค สู่ตลาดหลักทรัพย์
Date: 04/06/2021
Author: Orawan Marketeer
ในขณะที่เจ้าของธุรกิจหลายคนต้องการโตอย่างรวดเร็วแบบ ยูนิคอร์นสตาร์ทอัป
แต่บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ใช้เวลาในการสะสมประสบการณ์นานถึง 30 ปี ก่อนที่จะเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
ขณะนี้กำลังรอก.ล.ต. อนุมัติไฟลิ่งคาดว่าน่าจะได้เทรดวันแรกในเดือน ก.ค. 2564 นี้
เอ่ยชื่อศรีนานาพร หลายคนคงไม่คุ้น แต่ถ้าบอกว่าเป็นเจ้าของขนมขบเคี้ยวสินค้ายี่ห้อ เบนโตะ, ขนมขาไก่ ตราโลตัส ขนมปังปี๊บ ช๊อคกี้เวเฟอร์ และเครื่องดื่มเจเล่ เยลลีพร้อมดื่ม ฯลฯ
เชื่อว่าหลายคนร้องอ๋อ เพราะเคยเป็นลูกค้ามาตั้งแต่เด็ก ๆ
ขนมและเครื่องดื่มกินเล่น ยอดขายไม่ได้เล่น ๆ แต่โตเป็นหลักหลายพันล้านมาหลายปี
ข้อมูลผลประกอบการของบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้งระบุว่า
ปี 2561 รายได้ 4,827 ล้านบาท กำไร 249.7 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 4,708 ล้านบาท กำไร 83.8 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 4,392 ล้านบาท กำไร 74..2 ล้านบาท
จุดเริ่มต้นของบริษัทนี้เกิดขึ้นที่ย่านมหานาคเมื่อปี 2515 เมื่อตระกูล “ไกรพิสิทธิ์กุล” ได้เริ่มทำธุรกิจเป็นยี่ปั๊วส่งขนมภายใต้ชื่อร้านศรีวิวัฒน์
สินค้าตัวแรกของบริษัทเริ่มขึ้นเมื่อปี 2520 คือ เมล็ดแตงโมใส่ซอง หลังจากนั้นก็มีสินค้าตัวอื่นเกิดขึ้นเรื่อย ๆ
จนกระทั่งปี 2534 ได้ขยายกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดและก่อตั้งบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกิมเฮง จำกัด (“KHF”) บริษัท สยามเดลี่ฟู้ดส์ จำกัด (“SDF”) และ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในเวลาต่อมา
วันนี้ศรีนานาพรมีโปรดักต์แชมเปี้ยนที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ติดต่อมาหลายปีคือ “เบนโตะ ประเภทขนมขบเคี้ยว ปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และ “เจเล่” ประเภทเยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน (จากรายงานของนีลเส็น)
แต่แค่นั้นยังไม่พอ
เพราะถ้าย้อนกลับไปดูผลประกอบการ จะเห็นว่ารายได้และกำไรของบริษัทในช่วง 3-4 ปีหลังลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเหตุผลสำคัญน่าจะมาจากในตลาดขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มเยลลี่ มีผู้เล่นรายใหม่เพิ่มขึ้น มีการแข่งขันรุนแรงขึ้น และเป็นสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ง่าย
เบนโตะ มี ทาโร่ ฟิชโช สควิดดี้ เต่าทองเป็นคู่แข่งสำคัญ ส่วนเจเล่ มี “ปีโป้”, กาโตะ ที่เป็นของกลุ่มยักษ์ใหญ่ “บีเจซี”
การตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ในครั้งนี้ จึงเป็นการ Speed หนีคู่แข่งไปอีกก้าว โดยหวังว่าเงินที่จะได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะช่วยให้โครงสร้างทางการเงินของบริษัทมีความเข้มแข็งขึ้น
รวมทั้งเดินหน้าแผนขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม เพื่อต่อยอดในการรุกตลาด ไปสู่ภูมิภาค CLMV อีกด้วย
ช้า ๆแต่มั่นคงแค่ไหน ยังต้องเจอกับความท้าทายอะไรอีกบ้าง ต้องติดตามภาคต่อไปหลังการเข้าตลาดหลักทรัพย์
สำหรับรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ทั้งก่อนและหลัง IPO คือ Concord I. Capital Limited และบริษัท บริษัท แอสเซนด์ ไอ.โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นของตระกูล ไกรพิสิทธิ์กุล ทั้ง 2 บริษัท
Date: 04/06/2021
Author: Orawan Marketeer
ในขณะที่เจ้าของธุรกิจหลายคนต้องการโตอย่างรวดเร็วแบบ ยูนิคอร์นสตาร์ทอัป
แต่บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP ใช้เวลาในการสะสมประสบการณ์นานถึง 30 ปี ก่อนที่จะเข้าไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์
ขณะนี้กำลังรอก.ล.ต. อนุมัติไฟลิ่งคาดว่าน่าจะได้เทรดวันแรกในเดือน ก.ค. 2564 นี้
เอ่ยชื่อศรีนานาพร หลายคนคงไม่คุ้น แต่ถ้าบอกว่าเป็นเจ้าของขนมขบเคี้ยวสินค้ายี่ห้อ เบนโตะ, ขนมขาไก่ ตราโลตัส ขนมปังปี๊บ ช๊อคกี้เวเฟอร์ และเครื่องดื่มเจเล่ เยลลีพร้อมดื่ม ฯลฯ
เชื่อว่าหลายคนร้องอ๋อ เพราะเคยเป็นลูกค้ามาตั้งแต่เด็ก ๆ
ขนมและเครื่องดื่มกินเล่น ยอดขายไม่ได้เล่น ๆ แต่โตเป็นหลักหลายพันล้านมาหลายปี
ข้อมูลผลประกอบการของบริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้งระบุว่า
ปี 2561 รายได้ 4,827 ล้านบาท กำไร 249.7 ล้านบาท
ปี 2562 รายได้ 4,708 ล้านบาท กำไร 83.8 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 4,392 ล้านบาท กำไร 74..2 ล้านบาท
จุดเริ่มต้นของบริษัทนี้เกิดขึ้นที่ย่านมหานาคเมื่อปี 2515 เมื่อตระกูล “ไกรพิสิทธิ์กุล” ได้เริ่มทำธุรกิจเป็นยี่ปั๊วส่งขนมภายใต้ชื่อร้านศรีวิวัฒน์
สินค้าตัวแรกของบริษัทเริ่มขึ้นเมื่อปี 2520 คือ เมล็ดแตงโมใส่ซอง หลังจากนั้นก็มีสินค้าตัวอื่นเกิดขึ้นเรื่อย ๆ
จนกระทั่งปี 2534 ได้ขยายกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดและก่อตั้งบริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกิมเฮง จำกัด (“KHF”) บริษัท สยามเดลี่ฟู้ดส์ จำกัด (“SDF”) และ บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
เป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มและขนมขบเคี้ยวของบริษัทฯ ในเวลาต่อมา
วันนี้ศรีนานาพรมีโปรดักต์แชมเปี้ยนที่มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับ 1 ติดต่อมาหลายปีคือ “เบนโตะ ประเภทขนมขบเคี้ยว ปลาหมึกอบ ปลาหมึกเส้น และ “เจเล่” ประเภทเยลลี่พร้อมดื่มและเยลลี่คาราจีแนน (จากรายงานของนีลเส็น)
แต่แค่นั้นยังไม่พอ
เพราะถ้าย้อนกลับไปดูผลประกอบการ จะเห็นว่ารายได้และกำไรของบริษัทในช่วง 3-4 ปีหลังลดลงอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งเหตุผลสำคัญน่าจะมาจากในตลาดขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มเยลลี่ มีผู้เล่นรายใหม่เพิ่มขึ้น มีการแข่งขันรุนแรงขึ้น และเป็นสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ง่าย
เบนโตะ มี ทาโร่ ฟิชโช สควิดดี้ เต่าทองเป็นคู่แข่งสำคัญ ส่วนเจเล่ มี “ปีโป้”, กาโตะ ที่เป็นของกลุ่มยักษ์ใหญ่ “บีเจซี”
การตัดสินใจเข้าตลาดหลักทรัพย์ในครั้งนี้ จึงเป็นการ Speed หนีคู่แข่งไปอีกก้าว โดยหวังว่าเงินที่จะได้จากการระดมทุนครั้งนี้จะช่วยให้โครงสร้างทางการเงินของบริษัทมีความเข้มแข็งขึ้น
รวมทั้งเดินหน้าแผนขยายการลงทุนในประเทศเวียดนาม เพื่อต่อยอดในการรุกตลาด ไปสู่ภูมิภาค CLMV อีกด้วย
ช้า ๆแต่มั่นคงแค่ไหน ยังต้องเจอกับความท้าทายอะไรอีกบ้าง ต้องติดตามภาคต่อไปหลังการเข้าตลาดหลักทรัพย์
สำหรับรายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่ ทั้งก่อนและหลัง IPO คือ Concord I. Capital Limited และบริษัท บริษัท แอสเซนด์ ไอ.โฮลดิ้ง ซึ่งเป็นของตระกูล ไกรพิสิทธิ์กุล ทั้ง 2 บริษัท
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: SNNP
โพสต์ที่ 28
ศรีนานาพร เปิดเกมรุก ส่ง ‘กัญชง’ ตีตลาดไทย-ยุโรป
ศรีนานาพรโตสวนกระแสโควิด เตรียมส่ง เจเล่กัญชงและน้ำดื่มผสมวิตามินอควา วิตซ์กัญชง เจาะตลาดไทย-ยุโรป ไตรมาส3 ชิงแชร์ตลาด 8 แสนล้านบาท
19 Jun 2021 14:12 น.
ศรีนานาพร เปิดเกมรุก ส่ง ‘กัญชง’ ตีตลาดไทย-ยุโรป
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในช่วงโควิดที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยเฉพาะส่วนของยอดขายจากนักท่องเที่ยวที่หายไป บริษัทจึงปรับตัวหันไปขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้นเพื่อให้รายได้กลับเข้ามา
โดยในปี 2563 มีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลง 6.5 % จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 1/2564 มีรายได้รวม 1,239 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นอกจากการขยายต่างประเทศบริษัทยังให้ความสำคัญในการขยายไลน์สินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นโดยพัฒนาสินค้าตามเทรนด์ตลาดคือ เจเล่กัญชงและน้ำดื่มผสมวิตามิน อควา วิตซ์กัญชง คาดว่าจะสามารถวางจำหน่ายในประเทศได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ พร้อมรุกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศในไตรมาส 4 ทันที
โดยจะโฟกัสไปที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป เนื่องจากมีหลายประเทศให้กัญชาถูกกฎหมายและยังไม่มีผลิตภัณฑ์เจลลี่ผสม CBD และน้ำดื่มวิตามินผสม CBD วางจำหน่าย ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของCBD จะสูงกว่าผลิตภัณฑ์ปกติอย่างน้อย 1 เท่าตัว เนื่องจากบริษัทจะใช้สารสกัดCBD ที่ให้ฤทธิ์ผ่อนคลายล้วนไม่มีสาร THC ที่ให้ฤทธิ์กระตุ้นประสาทผสม
ในขณะที่บริษัทผู้ผลิตและสกัด CBD คุณภาพดียังมีน้อยทำให้ต้นทุน CBD สกัดบริสุทธิ์มีราคาสูงมากราคาผลิตภัณฑ์จึงสูงตามไปด้วย ทำให้การทำการตลาดในยุโรปสามารถกระจายได้กว้างกว่าในเอเชียที่คาดว่าจะสามารถส่งออกได้เฉพาะประเทศจีนที่ กัญชง ถูกกฎหมาย
“บริษัทพัฒนาสินค้าเรียบร้อยแล้วและอยู่ในขั้นตอนการสำรวจตลาด ว่าผู้บริโภคชอบแนวไหน แต่เราจะใช้ CBD มาเป็นส่วนประกอบ แน่นอน เราจะไม่ตามกระแส เราจะทำตามความถูกต้องเพราะตอนนี้พรบ.อาหารและยายังไม่คลอด บางคนก็เร่งออกผลิตภัณฑ์ไปก่อนเลยใส่ได้แค่กลิ่นเทอปีน เพราะฉะนั้นภายในไตรมาส 3 นี้สินค้าของเราจะออกออกสู่ตลาดแน่นอน
หลังจากนั้นจะเริ่มส่งออกไปประเทศที่ CBD ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น จีน ซึ่งปัจจุบันศรีนานาพร ได้เข้าไปจดทะเบียนบริษัทในประเทศจีนแล้ว เพื่อลดข้อจำกัดต่างๆทั้งเรื่องภาษีนำเข้า และโอกาสในการขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นช่องทางการจำหน่ายที่สำคัญมากในตลาดจีนและเน้นไปที่ประเทศยุโรปเพราะมีหลายประเทศที่ CBD ถูกกฎหมาย
อีกสาเหตุหนึ่งคือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ CBD เป็นสินค้าที่ราคาแพงกว่าสินค้าพื้นฐานทั่วไป เพราะต้นทุนวัตถุดิบแพงเราจึงต้องขายแพงไม่ใช่เพราะเราอยากขายแพง การตลาดเราจะแคบมันไม่ทั่วถึงและไม่คุ้มค่าที่จะทุ่มการตลาดเข้าไป”
นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ บริษัทยังมีแผนรุกตลาดขนมขบเคี้ยวผสมกัญชง โดยใช้ขนมปังขาไก่โลตัส ที่มีความแข็งแรงของแบรนด์มาต่อยอด ซึ่งอาจจะใช้ใบกัญชงหรือเมล็ดมาบดผสมเป็นกิมมิค เจาะกลุ่มแมส เพราะต้นทุนถูกกว่าสารสกัด CBD ทำให้ราคาสินค้าไม่แตกต่างกับสินค้าพื้นฐานมากนัก
ศรีนานาพร เปิดเกมรุก ส่ง ‘กัญชง’ ตีตลาดไทย-ยุโรป
ทั้งนี้ปัจจุบันตลาดกัญชาและกัญชงทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาท มีอัตราการเติบโตกว่า 30% ต่อปีและอีก 4 ปีข้างหน้ามูลค่าตลาดจะเพิ่มเป็นกว่า 3 ล้านล้านบาท จากการที่ประเทศต่างๆทั่วโลกซึ่งขณะนี้มีไม่น้อยกว่า 68 ประเทศที่เปลี่ยนนโยบายจากพืชเสพติดเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยตลาดหลักยังคงเป็นเป็นสหภาพยุโรป มูลค่า 39,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ สหรัฐ 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเอเชีย 12,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หน้า 14-15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,688 วันที่ 17 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ศรีนานาพรโตสวนกระแสโควิด เตรียมส่ง เจเล่กัญชงและน้ำดื่มผสมวิตามินอควา วิตซ์กัญชง เจาะตลาดไทย-ยุโรป ไตรมาส3 ชิงแชร์ตลาด 8 แสนล้านบาท
19 Jun 2021 14:12 น.
ศรีนานาพร เปิดเกมรุก ส่ง ‘กัญชง’ ตีตลาดไทย-ยุโรป
นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ศรีนานาพร มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ SNNP เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในช่วงโควิดที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อธุรกิจโดยเฉพาะส่วนของยอดขายจากนักท่องเที่ยวที่หายไป บริษัทจึงปรับตัวหันไปขยายตลาดต่างประเทศมากขึ้นเพื่อให้รายได้กลับเข้ามา
โดยในปี 2563 มีรายได้รวม 4,435 ล้านบาท ลดลง 6.5 % จากปีก่อนที่มีรายได้รวม 4,748 ล้านบาท ขณะที่ไตรมาส 1/2564 มีรายได้รวม 1,239 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการขาย 1,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
นอกจากการขยายต่างประเทศบริษัทยังให้ความสำคัญในการขยายไลน์สินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้นโดยพัฒนาสินค้าตามเทรนด์ตลาดคือ เจเล่กัญชงและน้ำดื่มผสมวิตามิน อควา วิตซ์กัญชง คาดว่าจะสามารถวางจำหน่ายในประเทศได้ภายในไตรมาส 3 ของปีนี้ พร้อมรุกส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศในไตรมาส 4 ทันที
โดยจะโฟกัสไปที่ตลาดสหรัฐอเมริกาและยุโรป เนื่องจากมีหลายประเทศให้กัญชาถูกกฎหมายและยังไม่มีผลิตภัณฑ์เจลลี่ผสม CBD และน้ำดื่มวิตามินผสม CBD วางจำหน่าย ในขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของCBD จะสูงกว่าผลิตภัณฑ์ปกติอย่างน้อย 1 เท่าตัว เนื่องจากบริษัทจะใช้สารสกัดCBD ที่ให้ฤทธิ์ผ่อนคลายล้วนไม่มีสาร THC ที่ให้ฤทธิ์กระตุ้นประสาทผสม
ในขณะที่บริษัทผู้ผลิตและสกัด CBD คุณภาพดียังมีน้อยทำให้ต้นทุน CBD สกัดบริสุทธิ์มีราคาสูงมากราคาผลิตภัณฑ์จึงสูงตามไปด้วย ทำให้การทำการตลาดในยุโรปสามารถกระจายได้กว้างกว่าในเอเชียที่คาดว่าจะสามารถส่งออกได้เฉพาะประเทศจีนที่ กัญชง ถูกกฎหมาย
“บริษัทพัฒนาสินค้าเรียบร้อยแล้วและอยู่ในขั้นตอนการสำรวจตลาด ว่าผู้บริโภคชอบแนวไหน แต่เราจะใช้ CBD มาเป็นส่วนประกอบ แน่นอน เราจะไม่ตามกระแส เราจะทำตามความถูกต้องเพราะตอนนี้พรบ.อาหารและยายังไม่คลอด บางคนก็เร่งออกผลิตภัณฑ์ไปก่อนเลยใส่ได้แค่กลิ่นเทอปีน เพราะฉะนั้นภายในไตรมาส 3 นี้สินค้าของเราจะออกออกสู่ตลาดแน่นอน
หลังจากนั้นจะเริ่มส่งออกไปประเทศที่ CBD ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น จีน ซึ่งปัจจุบันศรีนานาพร ได้เข้าไปจดทะเบียนบริษัทในประเทศจีนแล้ว เพื่อลดข้อจำกัดต่างๆทั้งเรื่องภาษีนำเข้า และโอกาสในการขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ท้องถิ่น ซึ่งถือเป็นช่องทางการจำหน่ายที่สำคัญมากในตลาดจีนและเน้นไปที่ประเทศยุโรปเพราะมีหลายประเทศที่ CBD ถูกกฎหมาย
อีกสาเหตุหนึ่งคือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ CBD เป็นสินค้าที่ราคาแพงกว่าสินค้าพื้นฐานทั่วไป เพราะต้นทุนวัตถุดิบแพงเราจึงต้องขายแพงไม่ใช่เพราะเราอยากขายแพง การตลาดเราจะแคบมันไม่ทั่วถึงและไม่คุ้มค่าที่จะทุ่มการตลาดเข้าไป”
นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ บริษัทยังมีแผนรุกตลาดขนมขบเคี้ยวผสมกัญชง โดยใช้ขนมปังขาไก่โลตัส ที่มีความแข็งแรงของแบรนด์มาต่อยอด ซึ่งอาจจะใช้ใบกัญชงหรือเมล็ดมาบดผสมเป็นกิมมิค เจาะกลุ่มแมส เพราะต้นทุนถูกกว่าสารสกัด CBD ทำให้ราคาสินค้าไม่แตกต่างกับสินค้าพื้นฐานมากนัก
ศรีนานาพร เปิดเกมรุก ส่ง ‘กัญชง’ ตีตลาดไทย-ยุโรป
ทั้งนี้ปัจจุบันตลาดกัญชาและกัญชงทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาท มีอัตราการเติบโตกว่า 30% ต่อปีและอีก 4 ปีข้างหน้ามูลค่าตลาดจะเพิ่มเป็นกว่า 3 ล้านล้านบาท จากการที่ประเทศต่างๆทั่วโลกซึ่งขณะนี้มีไม่น้อยกว่า 68 ประเทศที่เปลี่ยนนโยบายจากพืชเสพติดเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยตลาดหลักยังคงเป็นเป็นสหภาพยุโรป มูลค่า 39,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รองลงมาคือ สหรัฐ 37,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเอเชีย 12,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
หน้า 14-15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,688 วันที่ 17 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 53
- ผู้ติดตาม: 4
Re: SNNP
โพสต์ที่ 29
user.basic11 Post #1
- user.basic02
- Verified User
- โพสต์: 57
- ผู้ติดตาม: 2
Re: SNNP
โพสต์ที่ 30
user.basic02 Post #1
แก้ไขล่าสุดโดย user.basic02 เมื่อ เสาร์ ก.ค. 02, 2022 4:37 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.