MoneyTalk@SET14Mar2015เจาะหุ้นเด่นDigital&กลยุทธ์วีไอหลายวัย
- i-salmon
- Verified User
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
MoneyTalk@SET14Mar2015เจาะหุ้นเด่นDigital&กลยุทธ์วีไอหลายวัย
โพสต์ที่ 1
Money talk at SET 14Mar2015
หัวข้อ 1 "เจาะหุ้นเด่น Digital Economy"
แขกรับเชิญจาก 3 บริษัท
1.คุณ ระเฑียร ศรีมงคล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) KTC
2.คุณ ปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ (ประธานกรรมการบริหาร) PLANB
3.คุณ กรัณย์พล อัศวสุวรรณ (ประธานกรรมการบริหาร) SYMC
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ. ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ
Intro
Digital economy คืออะไร?
o หมอเค เศรษฐกิจยุคแรกทำการเกษตร ใช้แรงงานคนผลิต ถัดมาปฏิวัติยุคอุตสาหกรรม เริ่มใช้เครื่องจักร
นำไปสู่อุตสาหกรรมต่างๆ จนเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น ต้นทุนเดิมที่เคยเป็นแรงงานคน
ก็จะเป็น IT มากขึ้น อย่างรัฐบาลไทยประกาศว่าประเทศต้องเข้าสู่ยุคดิจิตอลเพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น
มีนโยบาย 4 อย่าง
1. เน้น internet ความเร็วสูง broad band แห่งชาติ
2.เน้นธุรกิจกรรมต่างๆที่ผ่าน internet ที่เร็วขึ้น e commerce
3. การจัดเก็บข้อมูลให้เป็น digital มากขึ้น รัฐบาล government digital
4. พัฒนาบุคลากรให้เข้าถึงช้อมูลต่างๆให้ดีขึ้น
สัมภาษณ์ บริษัททำอะไร แนวโน้ม แผนงาน ?
KTC
o ธุรกิจเครดิตการ์ด และสินเชื่อส่วนบุคคล สัดส่วน 70 : 30 เป็น business model เดิมที่ทำอยู่
o สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นแบบที่ไม่มีหลักประกัน แต่ไม่ได้เหมือน นาโนไฟแนนซ์เป็นคนละระเบียบกัน
o ปีที่หมอระเฑียรเข้ามาบริษัทมีกำไร 200 กว่าล้าน ปีถัดมา 1,000 กว่าล้านบาท -> ปี 2014 กำไร 1750 ล้านบาท -> ปีนี้น่าจะทะลุ 2000 ล้านขึ้นไป
o มองว่าถ้าโตต่อไปแบบเดิมจะมีจุดอิ่มตัว จึงต้องหาทางเปลี่ยนลักษณะธุรกิจเพื่อยกระดับกำไรให้สูงขึ้นไป( shift s-curve) เราไม่ใช่บริษัทบัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล แต่เราเป็น membership company ใครก็ตามเกี่ยวข้องกับเราเป็น member ของเราหมด ไม่ได้จำกัดแค่ในธุรกิจต้องเป็นเรา หรือในกลุ่ม holding ของเรา แต่จะทำตัวเป็นตัวเชื่อมกับคนอื่นได้ เป็นลักษณะ win-win โดยเป็น interdependent คือ แข็งโดยตัวเราเองได้ และร่วมกับคนอื่นได้ ต่างคนต่างมีจุดแข็งของตัวเอง แล้วมาประกบกัน 1+1 ต้องเป็น 3
o Member ship ของเราคือ ผู้ถือบัตร/ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งสิ่งที่เราทำอยู่แล้วอย่าง website ของเรา เรื่องท่องเที่ยวที่เราโดดเด่น membership สามารถใช้บัตรยี่ห้อไหนก็ได้ในการใช้บริการท่องเที่ยวของเรา
o ต้องมองในลักษณะพ้นกรอบออกไปโดยอิงจากจุดแข็งที่มีโดยเอากำไรที่เป็นฐานเดิมแบ่งออกมาทำ อย่างในธุรกิจอุตสาหกรรมก็มีค่า R&D แต่ธุรกิจของเราจะเป็นค่า marketing หรืออย่างอื่นบ้าง ที่ทำเพื่อต่อยอดธุรกิจออกไป
o ยกตัวอย่างให้เจาะจง เช่น ใครที่เข้ามาใน Money talk แล้วออกไป จะได้บัตรของเราอาจจะเป็น voucher คล้าย E wallet ออกไปจับจ่ายใช้สอย
o การซื้อหุ้นไม่ได้มีข้อห้ามในการใช้บัตรเครดิต
o บัตรเครดิต KTC มีสมาชิก 1.8 ล้านใบ market share ราว 10% ไม่ได้เป็นเจ้าใหญ่สุด แต่กำไรเป็นลำดับต้นๆของอุตสาหกรรม มันขึ้นอยู่ที่การวางกลยุทธ์ว่าเราจะให้ความสำคัญกับอะไร แม้ market share จะสำคัญ แต่มองว่าในระยะยาวกำไรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นกำไรที่ยั่งยืน แล้วต้องทำให้มั่นใจว่าเติบโตทุกปี
o ขนาดสินเชื่อพอร์ต 1.5 หมื่นล้านบาท ลูกค้า 7-8 แสนคน มีลูกค้าที่ทับซ้อนกับบัตรเครดิต 3 แสนคน
o ตัวเลข Market share 10% แต่มีสินเชื่อคงค้าง 12.5% เป็นตัวบอกว่าลูกค้าใช้บัตรเราเยอะกว่าคนอื่น เป็นที่รู้กันตัวที่ทำกำไรคือผ่อนชำระ
o NPL เราค่อนข้างต่ำกว่าอุตสาหกรรม หลายคนมองว่าบริษัทบัตรเครดิตเป็น marketing company คิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะเราต้องปล่อยไปได้ เราต้องเก็บหนี้ได้ ไม่งั้นทุกคนก็เข้ามา แล้วก็ทิ้งบัตรไป
SYMC
o 10 กว่าปีที่แล้ว ก่อตั้งบริษัท มีแบรนด์ชื่อว่า ไวโอลิน วางให้สอดคล้องกับ ตำแหน่งการตลาดในฐานะเป็นรายเล็กที่เข้ามาบุกเบิกแข่งกับรายใหญ่ ต้องการทำตลาดเน้นลูกค้าที่เป็น 1st class และ ไวโอลินเป็นส่วนประกอบของดนตรีคลาสสิค ฟังชื่อแล้วก็จะรู้ว่าพรีเมียม และเป็นสายสอดคล้องกับธุรกิจเคเบิล ต่อมาพอมีกทช. เราก็ไปเปิดบริษัทอิสระ และขอใบอนุญาติตั้งบริษัทชื่อซิมโฟนี เพื่อให้สอดคล้องกับแบรนด์เดิม เป็นทีมงานดิม
o นโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติ เป็นโอกาสของเราที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นสร้างความต้องการใช้งานให้เกิดขึ้น ปัจจุบันอาจมีนโยบายภาคเอกสารไม่มากนัก ซึ่งค่อนข้าง active อยู่แล้ว มี mobile banking ทางอินเทอร์เน็ท โอนเงินมือถือ ซื้อสินค้าผ่านเวบไซต์ได้ ที่เรามองคือภาครัฐจะมีบทบาทมากขึ้น พวก e government ที่มองว่าทำได้ดีคือ e revenue ไม่ต้องไปเข้าคิวชำระ สามารถชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ท และยังสามารถขยายแนวคิดเดียวกันนี้ไปยังที่อื่นได้
o นโยบายเศรษฐกิจ digital จะช่วยทำให้เกิดการใช้งานมากขึ้น ธุรกิจของเราให้เช่าสาย cable ใยแก้วเพื่อการ online ทุกชนิด ต้องมีสื่อในการพาข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
o ของเราเป็นสายไฟเบอร์ ซึ่งดีกว่าสายทองแดง คุณสมบัติพิเศษคือจะส่งความเร็วได้สูง โดยเฉพาะโครงข่ายขนาดใหญ่ เช่นมือถือ กระดูกสันหลังต้องเป็นใยแก้วทั้งหมด ส่วนที่มาถึงมือถือเป็นช่วงต้นหรือช่วงท้าย แต่ตรงกลางจะเป็นเคเบิลใยแก้วขนาดใหญ่
o เรามีเคเบิลใยแก้วทั่วประเทศ 40 กว่าจังหวัด เดินตามถนนหลักของประเทศ เป็นระยะทาง 10,000 กว่า กม. แขวนตามเสาไฟฟ้า โดยมีประตูเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน 4 จุด อย่างที่แม่สอด เชื่อมกับพม่า ที่เมวดี ที่หนองคายเชื่อมกับลาว เวียงจันทร์ สามารถให้เช่าได้ว่าจะส่งข้อมูลจากจจุดไหนเป็นจุดไหน รายได้มาจากเก็บค่าเช่ารายเดือน เช่า 1/2/3 ปี ค่าเช่าขึ้นกับความเร็ว
o เน้นลูกค้า B2B พวกบริษัทจดทะเบียน บริษัทข้ามชาติ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ไม่ได้เน้นลูกค้าตามบ้าน จุดแข็งชองเราคือสเถียรภาพของโครงข่าย จากที่เริ่มบริษัทมาถึงตรงนี้ได้เพราะมีจุดยืนคือเรื่องคุณภาพ มี SLA 99.9% หมายความว่าแต่ละเดือนต้องที่เช่าเรา 99.9% ใช้งานได้ ถ้าหากมีรถชนเครือข่ายเราสัญญาณก็อ้อมไปอีกทางได้
o เวลาลูกค้าใช้งานจะต้องมีลากสายไปที่บริษัทลูกค้าและจะมีเส้นใหญ่จากไปรวมหน้าถนน รวมสัญญาณ
o ธุรกิจนี้มีบริษัทที่ทำอยู่ 2แบบ คือ ทำครบวงจร เช่น TOT , CAT และอีกกลุ่มคือทำเฉพาะบางส่วน อย่าง symc ทำเฉพาะโครงข่ายหลัก เคเบิ้ลใยแก้วแล้วก็จับมือกับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เนท พอได้สัญญาจากลูกค้ามาก็จะมาสั่งวงจรกับ symc เป็น wholesales หรือมีอีกแบบคือ บริษัทหลักทรัพย์ต้องการคีย์คำสั่งจากห้องค้า เป็น direct sales
o Wholesale มีสัดส่วน 30% , มี Direct sales ถ่ายทอดจากห้องผลิตรายการขึ้นไป thaicom กลุ่มนี้ก็มีพวกทีวีดาวเทียมกว่า 200 ช่อง /เคเบิ้ลทีวีกระจายจากหัวเมืองไปทั่วประเทศ/digital tv /tv ดาวเทียม ราว 10%
o private network ห้องค้าหลักทรัพย์ เหมือนอีเมล์คุยกรุงเทพ เชียงใหม่ ทำ vdo conference คุยกันได้ สัดส่วนเกือบ 20%
o ดาวรุ่งเราคือวงจรระหว่างประเทศ เพราะโตปีละเป็น 100% โตพร้อมกับการที่มี 3g นำสัญญาณอินเตอร์เนท จากต่างประเทศเข้ามาประเทศไทย พวก facebook, google ต้องเอาสื่อนำเข้ามา การใช้งานเติบโตก้าวกระโดด เพราะคนใช้งานมากขึ้นก็ต้องจ่ายมากขึ้น
o การที่มี 4g ก็ช่วยจะส่งเสริมเราด้วย เคยบอกกับนักลงทุนที่มาเยี่ยมชมว่า มี 2 อย่างที่คนไม่เคยพอใจ คือเงินในกระเป๋า กับความเร็วอินเตอร์เนท
o จำนวนลูกค้าโต จากตอนเข้าตลาดปี 53 มี 1200 วงจร ตอนนี้มี 6000 วงจร
o รายได้ตอนเข้าตลาด. 500 กว่าล้าน กำไร 200 ล้านบาท ปี 57 1275 ล้าน กำไร 181 ล้านบาท เนื่องจาก เอาเงินลงทุนไปสร้างโครงข่าย ต้องการเป็น hub asean ต้องการเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง
o 3-4 ปีที่ผ่านมากำไรไม่โต เพราะเอาเงินลงทุนไปสร้างถนน เพื่อเก็บค่าทางด่วน(เปรียบเทียบ) ต่อไปถ้าการจราจรคับคั่งก็จะรายได้ดี
o ธุรกิจของเราใช้ระบบใบอนุญาตจากกสทช. ใครเปิดก็ได้จะไปขอใบอนุญาตได้ แล้วให้บริการเก็บค่าเช่ารายเดือน
o 2 ปีที่ผ่านมาก็พยายามดูแลนักลงทุนโดยจ่ายปันผล
o ในไทยโครงข่ายที่สร้างส่วนทีเป็นถนนทำไปได้ 95% ของที่จะลงทุนแล้ว แต่ศักยภาพใช้งานในต่างจังหวัดไม่เหมือนกรุงเทพ รายได้ก่อนหน้านี้อยู่ในกรุงเทพเป็นหลัก พอออกไปต่างจังหวัดผลตอบแทนต่อไฟเบอร์เส้นเดียวกันจะต่ำกว่า เราไม่ได้รอให้หนาแน่น แต่ใช้ถนนนี้เป็นทางผ่านเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มีลูกค้าพม่าเช่าวงจรเพื่อต่อไปยังศูนย์ข้อมูลสิงคโปร์ ประเทศไทยเป็นชัยภูมิที่ดีมาก จากแม่สอด ไปกรุงเทพ ถึงหาดใหญ่ ก็เช่าผ่าน symc
o ธุรกิจมีผู้ให้บริการก็มีหลายราย ไม่ได้แตกต่างกัน ก็จะต้องแข่งที่ราคา เราต้องสร้างจุดแตกต่าง เมื่อ 2 ปีก่อนเราจึงศึกษา เคเบิ้ลใต้น้ำ เราเป็นรายแรกเอกชนที่เข้ามาทำ เพื่อเป็นต้นน้ำเสริมกับเส้นทางที่ทำบนบก ข้อดีคือความเสี่ยงต่ำ ไม่มีใครไปตัด ฝังใต้ทะเลลงไป 3 เมตร สถานีเคเบิ้ลใต้น้ำอยู่ที่ระยอง มีนักประดาน้ำลงไปซ่อมดูแลได้ ต้นทุนต่อความเร็วเคเบิ้ลใต้น้ำจะถูกกว่า 2-3 เท่า ถ้าบนบกต้องมีอุปกรณ์ทวนสัญญาณค่อนข้างเยอะ การออกแบบต้องทำเป็นวงแหวน ถ้าเป็นเส้นตรงขาดง่าย แต่ใต้น้ำสามารถเดินทีเดียวได้เลย
o การลงทุนเคเบิ้ลใต้น้ำ ปีนี้ก็จะมีลงทุนอีกคือเส้นย่อยต่อไปหาลูกค้ามาเชื่อมเส้นใหญ่ แต่เส้นหลักไม่ทำแล้ว ทำแค่เคเบิ้ลใต้น้ำที่ทำเป็นตัวหลักสุดท้าย
PLANB
o ธุรกิจหลักเป็นสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัย ไม่ได้เป็นสื่อหลักเหมือนทีวีหรือวิทยุ ที่จริงมีมานานมากแล้ว
สื่อเรามีอยู่ใน 4 กลุ่มหลัก
1 transit ระบบขนส่งมวลชน - bus, รถไฟฟ้าใต้ดิน
2 static(ป้ายนิ่ง) - street furniture, ป้ายโฆษณาชนิดต่างๆ
3 สื่อ LED จอดิจิตอลนอกบ้าน
4 in mall อยู่บริเวณห้างสรรพสินค้า
o มองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตสูง คนเราใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ด้วย urbanization rate ด้วยจำนวนประชากร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทำให้งบการตลาดโตขึ้นอยู่แล้ว
o ตัวเรามองธุรกิจเราเป็นสร้างช่องทาง เพื่อให้เจ้าของแบรนด์หรือบริษัทสื่อไปถึงผู้บริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในอนาคตแผนการเติบโตของเรามากกว่าแค่สื่อนอกบ้าน
o ในรถเมล์ส่วนใหญ่เป็นของ planb แล้วก็รถไฟฟ้าใต้ดินก็เป็นของ planb
o อุตสาหกรรมน่าสนใจ เราไม่ได้เกี่ยวกับการสร้างป้ายให้เยอะที่สุด ถ้ามีที่ดินเยอะ แต่อยู่ในบริเวณที่ไม่ได้เจริญทางผังเมือง ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องเป็น network ที่เป็นส่วนหนึ่งชีวิตประจำวันคน ถ้าดูวิธีการใช้ปัจจุบัน สามารถอยู่บ้านบริโภคทีวี มือถือ ออนไลน์ สมัยนี้มีสื่อหลักที่เป็น TV มีตัวเลือกมากขึ้น คนดู tv ก็ multi task ทำอย่างอื่นไปด้วย นักการตลาดก็สื่อสารแล้วไม่ได้ผลเหมือนสมัยก่อน สิ่งที่เราทำคือ ทำสื่อเราให้เป็น journey ของผู้บริโภค ตั้งแต่ออกจากบ้าน ใช้รถเดินทาง ทานอาหาร ไปจนถึงจุดจับจ่ายใช้สอย จะมีเราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ต่างกับการตลาดในอดีตที่ทำให้เข้าถึงเยอะที่สุด กลยุทธ์จะเปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่สร้าง awareness ข้อความหนึ่งไปถึงแล้วจบ คีย์คือเราจะ ตอบสนองนักการตลาดได้อย่างไร เมื่อเขามีความต้องการที่ใหม่ขึ้น และรวดเร็วขึ้น
o ชื่อ PLANB เพราะ Plan A ก็ไม่ได้ work ตลอดไป และตรงกับธุรกิจเราที่เป็นสื่อทางเลือก ปกติคนเราจะบริโภคผ่านทีวี หรือวิทยุอยู่แล้ว หน้าที่เราสื่อ outdoor เป็นการย้ำเตือน จนทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ
o ในตลาดผู้เล่นหลัก 3-4 ราย market share รวมกันเกือบ 50% vgi plan b maco บางกอก tsf aqua live
o Plan b มี market share 20-25% ตั้งบริษัทมาก 10 กว่าปี ที่เติบโตได้เร็วอยู่ที่วิธีมองธุรกิจของเรา มองตัวเองเป็นช่องทาง ถามตัวเองว่าจะสร้างช่องทางใหม่ๆอย่างไรให้ถึงเข้าถึงผู้บริโภค และเป็นที่น่าจดจำได้ดีที่สุด ช่วง 3-4 ปี แรกเป็นรถเมล์เพราะเข้าถึงคนได้ดีมาก เหมือน billboard เคลื่อนที่ จากนั้นเรามาถามตัวเอง ว่าต้องมีความหลากหลาย เริ่มสร้าง street furniture และ หลังๆเป็นสื่อ digital of home
o ความหลากหลายเป็นสิ่งที่ทำให้เรา work กับลูกค้า agency ได้มากขึ้น คนต้องการความสะดวกสบายในการใช้สื่อ ถ้าเดินซื้อของจบในที่เดียวก็สบายกว่าอยู่แล้ว แม้ปีก่อนสื่อ transit จะได้ผลกระทบเยอะ แต่เราก็สามารถดึงให้ลูกค้าใช้สื่ออื่นได้
o สื่อรถเมล์ที่เราจัดการ กลุ่มหลักเป็นของ ขสมก. มีการดูแลตัวรถหรือคนขับรถอยู่แล้ว ปัญหาพวกนี้เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ขึ้นกับบริหารจัดการอย่างไร
o รายได้ของสื่อขึ้นกับสัมปทานตัวใดตัวหนึ่งใสนการหารายได้ในอนาคต เป็นสิ่งที่ focus ใน 3-4 ปีที่ผ่านมา จะทำอย่างไรให้ความเสี่ยงกระจายได้เยอะสุด ทำให้ปี 57 แต่ละอันสัดส่วนใกล้เคียงกัน 1 ใน 3
o ปีนี้มองว่า digital น่าจะดีขึ้น มีการปรับราคาให้เหมาะกับสภาวะการตลาดหรือทำโปรโมชั่นใหม่ๆ จอดิจิตอลก็ตอบโจทย์ได้
o ป้ายเราจะมีสัญญากับเจ้าของพื้นที่ อย่างพารากอนมีจอตรงลานพาร์ค ต้องแยกอโศก ตรงอินเตอร์เชนจ์ มีเด่นหลายจุด เราเช่าพื้นที่และจะออกแบบทำตลาด รับดูแล commercial ทั้งหมด ป้ายนิ่งก็เป็นพวกรายงานสภาพจราจร ก็เป็นของ planB
o มีลงทุนระบบติดกล้องจับปริมาณ traffic จริงและการเคลื่อนไหวตัวรถ เพื่อบอกว่าใช้เวลากี่นาทีไปถึง
แนวโน้ม และสิ่งที่กำลังจะทำในอนาคต?
KTC
• Digital economy เราแบ่งเป็น old กับ new
o Old คือพวก pc และ fix line เดิม
o New เราพูดถึง mobile และ wireless หลังๆโตเร็วกกว่ามาก smartphone มี 45 ล้านเครื่อง pc มีไม่ถึง 10 ล้านเครื่อง ติดตามข้อมูลคนที่เข้ามาจะเป็น mobile มากขึ้น โดยผ่านโครงข่ายไร้สาย 3g หรือ wifi
o นโยบายรัฐบาลสำหรับเราสิ่งที่มีประโยชน์คือ 4G เกิด ถนนยิ่งเยอะยิ่งโล่งขับรถได้เร็วคนจะมาใช้มากขึ้น อีกอย่างคือ e commerce กฏหมายที่รองรับตัวบุคคล ถ้ามีก็ทำให้เราโตขึ้นไปได้
o E commerce เติบโตดี หลังๆเป็น M commerce ที่โต 30-40%
o ถ้ามี 4g จะช่วยเรื่องการเคลื่อนไปเคลื่อนมาสูง
o ข้อได้เปรียบ KTC เราอยู่ตรงกลางระหว่าง bank กับ non bank bank ธุรกิจมีหลายอย่าง เครเดิตการ์ดเป็นแค่ unit จะพัฒนาอะไรต้องไปจัดคิวในการพัฒนา แต่พวก non bank ก็ยังมีประเด็นอีกหลายอย่างที่อต้งทำ ของเราพนักงานตื่นมาหายใจเข้าเป็น เครดิตการ์ด หายใจออกเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล เรามีไอทีของเราเอง ทำอะไรก็ทำได้เร็ว แม้จะเริ่มช้ากว่า อย่างเช่น mobile credit card เราเริ่มช้ากว่าที่อื่น แต่มาbenchmark เทียบ speed, security,ความง่ายในการใช้ พอเทียบแล้วดีสุด เราก็ออกสินค้าเลย พอคู่แข่งเห็นก็จะปรับตาม เราก็ออกของใหม่ เพราะเราทำอย่างเดียว แต่ข้อเสียคือเป็นหมาล่าเนื้อต้องคอยออกใหม่ ต้องทำให้แตกต่างจากคนอื่น ซึ่งต้องดีกว่า การโฆษณาก็อาจช่วย แต่ระยะยาวขึ้นกับของจริงเป็นอย่างไร
o การซื้อของผ่าน online ราว 14-15% แต่โตในสัดส่วน 20-30% ต่อปี แต่ offline โตแค่ 10% แนวโน้มคนจะหันมาใช้มากขึ้น ถ้าเทคโนโลยีอำนวย ราคามือถือถูกลงมา ก็จะไปเร็วขึ้น
o คนมี 2 กลุ่มคือพวกยึดกับต้องไปจับจ่ายใช้สอย กลัวไม่ปลอดภัย e commerce แต่พวกคนรุ่นใหม่หลายคนแทบจะใช้ e commerce เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็น bigc top ให้มาส่งที่บ้านก็เยอะขึ้น
o E payment ที่รัฐบาลสนับสนุน มองว่าทุกวันนี้เราจ่ายเงินออนไลน์ได้อยู่แล้ว ทุกธนาคารมี e banking ได้อยู่แล้ว แต่เทคโนโลยีไปมากกว่านั้นคือe wallet เพราะทุกคนไปเห็น paypal วันนี้ตลาดหุ้นราคา paypal สูงมาก ตอนหลังก็มี alipay ที่ Alibaba ทำ หรือทาง master card,visa ก็ออกมา จะเป็นการแข่งขันในอุตสาหกรรม อยู่ที่ว่าใครจะโตได้ในลักษณะไหน เทคโนโลยีจะเหมือนกันหมด ต้องดูว่าเรามีจุดแข็งอะไรยังไง
o 2 อาทิตย์ก่อนได้ไปประชุมสิงคโปร์ ได้เจอ VP คนหนึ่งจาก singpost เคยเป็นcet ของ google มาก่อน เค้ามีมุมมองธุรกิจไม่ใช่แค่ในประเทศ เค้าคิดว่าเค้าเป็นประชากรโลก มองทั้งใบ มองว่าจุดแข็งเค้าคืออะไร ในโลกถ้าเอาไปแข่งเรื่อง digital สู้ไม่ได้ แต่ logistics เป็นจุดแข็งต้องมาใช้
o ในไทยเราก็มีโอกาสหลายอย่าง อย่าง e wallet จะใส่อะไรบ้าง เป็นโจทย์ที่ต้องตอบ ถ้า vision เราคือเป็น membership company ต้องมี partner ยิ่งมีพันธมิตรเก่งเท่าไรยิ่งโต กินของชิ้นเล็กๆปริมาณใหญ่จะเติบโตได้ดีกว่า
o กำไรขึ้นกับ business model ที่เราจะไปอยู่ในช่วงระหว่างทำ คิดว่าเสร็จครรึ่งปีแรก launch ครึ่งปีหลัง ถ้าทำได้ดีก็โตได้เยอะ แต่ถ้าไม่ดี ก็โตเกิน 2 พันได้น้อยมาก เราทำไม่ใช่ว่าสำเร็จทุกครั้ง ตอนแข่งกับคูปอง ทุกคนออก best buy แต่ตอนนั้นเรายังไม่ได้จัดการ infrastructure ให้ดี แล้วเราก็ล้มเหลวต้องเอามาเป็นบทเรียน เราจะทำตอนนี้ก็ต้องศึกษาให้รอบคอบ อย่าง mobile ท่เราทำก็ศึกษา 3 เดือน membership เพิ่มมา 2-3 แสน ตอนหลั้งนี้เริ่ม launch android แล้ว ถ้า it ไม่ดี ความเชื่อมั่นผู้ถือบัตรไม่ดี
o E wallet ต้องทำให้มั่นใจ ใช้ง่ายก็จริงต้องปลอดภัยกับเขา
o สิ่งที่เติบโต E commerce , Tools – e wallet เป็น tool ซึ่งทาง operator ก็พยายามจะผูกไว้กับตนเอง แต่เราก็มองไว้ตามข้อจำกัดของเรา มีอยู่ใต้กำกับของแบงค์ชาติอยู่ ข้อดีคือเรามีความมั่นคงเพราะอยุ่ใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย
o อีก 3-5 ปี มองเป็น membership company อย่างเต็มตัว เป็นที่ 1 ในใจของผู้ใช้ทำอะไรที่ make sense smart simplicity ง่ายๆไม่ซับซ้อน
o วันนี้เราเจออะไรที่ซับซ้อนเต็มไปหมด อะไรที่ทำให้ผู้ใช้ง่าย สะวดกเร็ว security เรื่องความปลอดภัยสำคัญสุด ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอะไรที่สำคัญมาก จุดที่ apple ชนะทุกคนเพราะเขายืนยันข้อมูลเขาว่าไม่แชร์ให้รัฐบาลอเมริกา
o เครดิตการ์ด ใครก็ตามที่มาทำธุรกิจให้ข้อมูลไม่ได้ แต่ในธุรกรรมอื่น e wallet ทั้งหลายยังไม่มีสิ่งนี้ ยังไม่มีกฏหมายควบคุม ควรจะมีสิ่งนี้เป็น governance สมัยก่อนใครทำเป็นคนแรกจะโดดเด่น แต่ในระยะยาวควรทำเป็น platform ที่สมบูรณ์ควรออกมา
SYMC
• ปี 57 รายได้ 1275 กำไร 181 ล้าน ปี 58 เชื่อว่ารายได้โตกว่า 20% (ราว1500) กำไรเชื่อว่าน่าจะดีขึ้น เพราะ 2 ปีที่ผ่านมาถ้าไม่นับค่าเสื่อมกำไรก็ดีขึ้นตลอด ebitda ดีมาก โตขึ้นทุกปี ปีก่อนก็ 500 กว่าล้าน จ่ายปันผล payout 70%
• ปีนี้ประชุม ผถห. วันที่ 24 จ่ายรวม 40 กว่าสตางค์
• ค่าเสื่อมราคาสัดส่วนเชื่อว่าจะดีขึ้น เคเบิ้ลใต้น้ำปีนี้จะมีไม่มาก แต่ค่าเสื่อมจะไปเข้าปีหน้าเยอะ
ดร.ไพบูลย์ มีโอกาสขาดทุนเยอะๆ มีความเสี่ยงไหม?
o ทุกอย่างมีความเสี่ยง แต่ของเราต่ำ เพราะ asset ไม่ต้องดูแลอะไรมาก อายุใช้งาน 20-30 ปี
หมอเค สมัยก่อนต้องไปเช่าโครงข่ายคนอื่นก่อน ตอนนี้เดินสายเองแล้ว หาลูกค้ามาเช่า คำถามคือลูกค้าต้องเลือกไหม ว่าจะเช่าเจ้าเก่าหรือเช่าขาดี หรือลูกค้าต่อไปจะมาเดินสายแข่งไหม?
o ไม่ได้มีปัญหาแบบนั้น สมัยก่อนผู้ให้เช่าไม่ได้ทำธุรกิจนี้เป็นหลักเป็นรายได้เสริม (เป็นรัฐวิสาหกิจทางพวกพลังงาน) เขาก็ไม่ได้ให้น้ำหนักมากนัก ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุให้เราออกมาทำเอง
หมอเค นโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติที่คนเข้าถึงอินเตอร์เนท 90% คิดว่าจะมีการให้ลดราคาไหม?
o ยังตอบไม่ได้ แต่ผู้ประกอบการเช่น tot true 3BB เขาก็ทำของเขาอยู่แล้ว แม้จะไม่มีนโยบายรัฐบาล สิ่งที่อยากให้ภาครัฐสนับสนุนน่าจะเป็นเรื่องอื่น การกำกับดูแล กสทช.จะอยู่หรือไม่อยู่อย่างไร เขามีแผนแม่บทอย่างไร จะได้เดินต่อได้ถูก นโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติจะสนับสนุนเอกชนอย่างไร
• นโยบายที่อยากให้รัฐบาลสนับสนุนในแง่เคเบิ้ลใต้น้ำ เหมือนขอ boi เพราะจะทำให้ต้นทุนอินเตอร์เนทถูกลงไปอีก ก่อนที่จะทำสถานีต้องสำรวจพื้นที่ว่าตรงไหนต้องเลี่ยง ตรงไหนเป็นประมง
o ธุรกิจใน 3-5 ปีข้างหน้า เราปรับธุรกิจจากเดิมที่เป็น wholesale มาทำของเราเองมากขึ้น มีลูกค้าที่เป็นขายตรง broadcast ลูกค้าที่ใช้ในองค์กร private network จะดตขึ้น ดาวเด่น คือวงจรระหว่างประเทศ คิดว่าจะมีสัดส่วนจาก 20%->เกือบ 50%
o อัตรากำไรตอนนี้ 14%อาจจะขึ้นไปถึง 20% ก็เป็นได้ แต่ธุรกิจก็แข่งขันเราไม่ได้ผูกขาด ก็จะพยายามหาโอกาสต่อยอดโดยไม่ไปแข่งขันกับลูกค้า
PLANB
o ธุรกิจเราค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็น fix ถ้า symc เป็นทางด่วน ของเราเป็นโรงแรม
o ปี 57 ภาพรวมไม่ได้ดีมาก media ตก 10% โฆษณานอกบ้านตก 6% แต่ของเราเป็นไม่กี่บริษัทที่รักษาการเติบโตได้ โต 6% ส่วนกำไรโตขึ้นจาก 166 ล้านในปี 2013 -> 206 ในปี 2014
o เชื่อว่าในปี 2015 ภาพรวมหรือเม็ดเงินจะดีขึ้น เราเลือกจะลงทุนในปี 2013-2014 เราเร่งในการสร้างโรงแรมของเรา ปีที่แล้วถ้าสื่อของเราขายเต็ม 2 พันล้าน ปีนี้ถ้าขายเต็มได้ 2.5 พันล้าน หวังว่าอัตราการเติบโตน่าจะอยู่ที่ 20-25%
o ป้ายปีก่อนมี occupancy 75% แต่ปีนี้เพิ่มขึ้น โอกาสหารายได้มากกว่าเดิมราว 25% ปีที่แล้ว 1846 ล้าน แต่ถ้าปีนี้ขายเต็ม 2520 ล้าน โดยมีการลงทุนผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
o ใน 3-5 ปีข้างหน้า ภาพคือเราหาช่องทางในการสื่อสาร จุดแข็งคือทำสื่อโฆษณานอกบ้าน ที่เราสร้างจำนวนสื่อจำนวน asset การทำตลาดกับลูกค้าแบบไหนได้ผล ตอนนี้ macro trend เอื้ออยู่แล้วให้สื่อโฆษณานอกบ้านโต จะทำอย่างไรให้เชื่อมกับออนไลน์หรืออินเตอร์แอคทีฟมากขึ้น อย่างเรื่องรถติด ในอนาคตจะบอกได้ว่าจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหน ข้อความที่โฆษณาจะ read time มากขึ้น optimization มากขึ้น ไม่ได้หว่านทั้งหมด เม็ดเงินโฆษณาจะใช้คุ้มค่ามากขึ้น
o สื่อหลักเราแม้จะเป็นสื่อนอกบ้าน แต่มีโครงการที่แตก ออนไลน์เยอะขึ้น จะเริ่มทำฟรีไวไฟบนรถเมล์ เราเห็นอยู่แล้วว่าออนไลน์จะโตเร็วในอนาคต สามารถดูได้ว่าเข้าไปดูอะไร ดูนานแค่ไหน สามารถเก็บข้อมูลและมี engagement กับผู้บริโภคได้มากขึ้น กลุ่มคนที่ใช้รถเมล์วันหนึ่ง 2 ล้านคน กลุ่มตรงนี้จะต้องการใช้ออนไลน์มากขึ้น ถ้าให้ฟรีไวไฟแลกกับโฆษณาจะทำให้การเข้าถึงตรงนี้ทำตลาดได้มากขึ้น ซึ่ง core business เราต้องโตมากขึ้นอยู่แล้ว
o กลุ่ม step out ใช้ asset ที่เรามีให้เป็นประโยชน์ สามารถพัมนารถเมล์สายที่ขึ้นอยู่ไกลขนาดไหน เราสามารถ subscribe app ตัวนี้ เราให้ notification มาที่มือถือ
ดร.ไพบูลย์ 2558 หรือ 59 เลือกตั้ง รายได้จะเพิ่มไหม?
o เป็นป้ายอีกชนิดหนึ่ง ไม่ค่อยมาใช้ของเรา
สัมมนาหัวข้อ2 “กลยุทธ์ลงทุนของวีไอหลากหลายวัย”
แขกรับเชิญ 3 ท่าน
1.ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
2.คุณ วิบูลย์ พึงประเสริฐ นักลงทุนเน้นคุณค่า
3.คุณ ณัฐชาต คำศิริตระกูล เลขาธิการ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
Intro
ดร.ไพบูลย์ VI ลงทุนแล้วเก็บเงินไปไหน?
o ดร.นิเวศน์ ลงทุนไปเรื่อยๆ เงินบางส่วนก็ส่งผ่านไปทายาท บางส่วนก็คงบริจาคไป มีเงินมากก็ไม่รู้จะเอาไปซื้ออะไร ทุกๆ 10 ปีชีวิตหักเหไปเองโดยไม่ได้วาง พอ 20 ก็จบปริญญามาทำงาน พอ 30 ได้เรียนปริญญาเอกก็เปลี่ยนชีวิต พอ 42 ก็เรียนชีวิตเป็นนักลงทุน เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ตกงาน ต่อไปก็อาจะเป็นจุดหักเหที่ต้องลงทุนต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เคยคิดไว้ว่าน่าจะอยู่ถึง 80 โดยเฉลี่ย ถ้าทำได้ดีเป็น 100 ก็ได้ไม่มีใครรู้
อ.เสน่ห์ ถ้าอยู่ถึง 100 ปีจะลงทุนถึงวันสุดท้ายไหม?
o ดร.นิเวศน์ ถ้ามีสติสัมปัญชัญญะก็เป็นไปได้ แต่ตอนนี้ก็ลืมๆบ่อยแล้ว
มีการแบ่งเงินลงทุนอย่างไร?
คุณวิบูลย์
o ลงทุน 100% ใน หุ้น แต่ก็มีบ้านมีทรัพย์สิน ลงทุนในชื่อของครอบครัว ตอนนี้ก็ยังทำงานอยู่เงินที่ใช้จ่ายไม่ได้เอาจากหุ้น ปันผลต่างๆก็อยู่ในหุ้น ภรรยาไม่ได้ทำงาน
o มีน้องๆหลายคนมาปรึกษาว่าอยากลาออก ที่เป็นนักลงทุน VI ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่จำเป็นหรอก VI ไม่ต้องเฝ้าหุ้น ซื้อไว้ก็ถือลงทุนยาวๆ ซื้อไว้ก็ทำอย่างอื่นก็ได้ ต้องหาอะไรทำ อยู่เฉยๆได้ระยะหนึ่งก็จะรู้สึกว่างเกินไป
o ถ้ามีอิสรภาพทางการเงินแล้วก็ทำงานเพื่อความสุข ทำงานที่รัก อย่าง buffet ก็ทำงานทุกวัน เพราะเขารักในงานที่ทำ
คุณณัฏชาติ
o ทำงานเป็นเลขาสมาคม thaivi จบวิศวกร ฝ่ายการตลาดอยู่ 7 ปี ลงทุนตั้งแต่เริ่มทำงาน จบปริญญาโท เก็บเงินเริ่มลงทุน 10 ปีพอดี
o ตอนทำงานลงทุนหุ้น 100% ไม่ซื้อบ้านไม่ซื้อรถ เช่าเอาเป็นอพาร์ทเมนท์ใกล้ที่ทำงาน ใช้รถบริษัท เดินทางในกรุงเทพก็ใช้รถไฟฟ้ารถเมล์ ลาออกก็ซื้อรถตัวเอง ตอนนี้สัดส่วนมีเงินสดส่วนหนึ่งพอใช้ 2 ปี (เก็บใน money market) ที่มองว่า 2 ปี เผื่อตลาดหุ้นเป็นอะไรขึ้นมา ซึ่งหุ้นที่ลงทุนมีปันผลให้อยู่แล้ว สัดส่วนลงทุนมีกระจายเป็นอสังหาฯ ซื้อคอนโดอยู่เองก็เป็นการลงทุนไปด้วย เลือกทำเลที่ดีและในระยะยาวน่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วย สัดส่วน 5-10% ในสัดส่วนที่มี อีกส่วนหนึ่งคือรถตั้งไว้ไม่เกิน 1-2% ของพอร์ต ใช้นิสสันมาร์ช เพราะกรุงเทพเป็น city car เหมาะสม
o ตอนทำงานก็มีเวลาว่างน้อยกว่าตอนนี้ แต่จุดหนึ่งรู้สึกหยุดได้โดยไม่ต้องทำงานประจำก็พยายาม balance มากขึ้น
o สาเหตุที่ลาออกจากงานเพราะ งานที่ทำต้องเดินทางออกต่างจังหวัดเยอะ ขับรถก็มีความเสี่ยง เกิดอุบัติเหตุได้ตลอด มี wealth ขนาดนี้แล้วก็ไม่คุ้ม จะย้ายไปที่อื่นก็มองไม่เห็นงานที่ท้าทาย ซึ่งงานเป็นนักลงทุนก็ท้าทาย จึงอยากลาออกไปดู ซึ่งตอนนั้นมีเงินพออิสรภาพทางการเงินแล้ว
o ยังไม่เคยคิดกลับไปทำงาน โชคดีที่คุณธันวาชวนไปร่วมงานสมาคม
ดร.นิเวศน์
o ไม่ได้วางสัดส่วน มันไปของมันเอง ตอนเริ่มลงทุนใหม่ๆยังทำงาน ตอนออกจากงานก็มีเพื่อนชวนไปทำเป็นที่ปรึกษา สมัยก่อนมีเซ็น confirm หุ้นถ้าสั่งซื้อขายก็จะมีใบมาให้เซ็น ตอนนั้นก็เลยให้ภรรยาเป็นคนเซ็นให้ จึงเปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา หลังจากนั้นก็โตไปเรื่อยๆ สมัยนั้นภรรยาทำงานเป็นฟรีแลนซ์ เราก็ต้องหาเงินมาให้แต่ละเดือน
o มีเงินสด 20% เผื่อไว้หุ้นตกจะได้มีเงินซื้อ หรือไปต่างประเทศน่าสนใจจะได้มีเงินซื้อ ถ้าหุ้นลงไปเยอะๆก็พร้อมจะถือหุ้น 100% ส่วนทรัพย์สินอย่างอื่นไม่ได้คิดเพราะคิดว่าหุ้นดีสุด เคยมีที่ดินแปลงหนึ่งก็ยังไม่ได้ผลตอบแทนเลย ทองก็ไม่ได้ผลตอบแทนที่ดี
เลือกหุ้นอย่างไร?
คุณวิบูลย์
o ตอนเข้าตลาดปี 40 ไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อน ยังไม่ลอยตัวค่าเงินบาทไม่กี่เดือน ตลาดเคยขึ้นไปสูงสุด 1700 ลงมาเหลือ 700 ก็คิดว่าถูกแล้ว เลือกหุ้นโดยซื้อตาม most active 5 อันดับแรก พวกธนาคารก็ซื้อพวกนั้น ช่วงแรกก็ได้กำไร แต่พอจาก set 700 ไปเหลือ 200 ก็ขาดทุน หลังจากนั้นก็ศึกษาเลือกหุ้นแบบ VI มี 3 หัวข้อ
1) คนส่วนใหญ่ซื้อหุ้นแบบกระดาษ ซื้อตัวย่อ แต่จริงๆ buffett ซื้อหุ้นเหมือนซื้อตัวธุรกิจ ไม่ว่าจะซื้อ 1 หุ้นหรือซื้อทั้งกิจการ
2) ถัดมาคือ ซื้อหุ้นที่เข้าใจ ทำอะไร รายได้มากจากไหน ถ้าเป็น google ก็ไม่ซื้อ
3) ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
คุณณัฐชาต
o ลงทุน 10 ปี เริ่มต้นปี 47 ก็มาจากอ่านหนังสือตีแตก ตอนนั้นคิดว่าทำงานจะสร้างฐานะอย่างไร จะทำธุรกิจดีไหม จะทำอะไรได้บ้าง พอเจอการลงทุนเน้นคุณค่า เชื่อมโยงเหมือนการลงทุนธุรกิจ ต้องมาดู pbv pe ดูปันผล ตัวไหนปันผลเยอะ pe ต่ำ น่าจะได้กำไรดี เวลาผ่านไปก็เริ่มเรียนรู้ก็มีผิดมีถูก บางตัวคุณภาพไม่ดี แม้จะถูกจริงมีปัญหา มีคู่แข่ง ธุรกิจ sunset ก็ต้องปรับมาดูคุณภาพกิจการมากขึ้น
o พยายามจินตนาการว่าถ้ามีเงินซื้อหุ้นได้ทั้งบริษัท ที่ราคา 5 พันล้านจะได้สินทรัพย์มา 4.5 พันล้าน มีทีมงานทีมผู้บริหาร มีแบรนด์มาด้วย เราจ่ายแพงขึ้นอีก 10% คุ้มไหม ถ้าเทียบกับเราไปทำเองเริ่มจากศูนย์ ถ้าคุ้มค่าเหมาะกว่าทำธุรกิจเองก็จะสนใจ
o อ.เสน่ห์ เคยคิดเอาเงินพ่อแม่มาบริหารไหม?
ตอนนี้ทำอยู่ คุณพ่ออายุ 68 ปี ทำขนานกันไปแยกชื่อพอร์ตกัน ตอนแรกคุณพ่อก็ลงทุนอยู่แล้ว แต่ไม่ได้เข้าใจธุรกิจเท่าไร พอเข้าใจ concept มากขึ้นก็ไปเล่าให้พ่อฟัง
หุ้นของที่บ้านจะเน้นกระจายกว่า ผลตอบแทนไม่หวังมาก ถือ 5-6 ตัวขึ้นไป พอร์ตส่วนตัวก็จะถือน้อยกว่า 5-6 ตัวลงไป เน้นโฟกัสกว่า
คุณวิบูลย์
o เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ รวยได้ไม่ง้อมรดก โดยส่วนตัวไม่มีมรดก สิ่งที่ได้คือการศึกษา ต้องสร้างเงินขึ้นมาเอง จะต่างจาก Gen Y ที่สัมผัสได้ พวกหลานๆลูกพี่ชาย ทำงาน 1-2 ปี ทำงานเบื่อแล้วลาออก นั่งเล่นอยู่บ้าน รุ่น Gen X ไม่ได้ ลาออกบ้านรถถูกยึด ลูกเมียลำบาก ดังนั้นทัศนคติไม่เหมือนกัน เงินลงทุนเก็บแต่ละเดือนเงินเดือนไม่กี่หมื่นบาท ก็เก็บเงินมาลงทุนไปเรื่อย พอมาเจอ value investing พอร์ตก็เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ
o ดร.ไพบูลย์ มีคนมาให้บริหารพอร์ตไหม?
ดร.นิเวศน์ ไม่มี และไม่รับด้วย เราไม่ได้ทำเป็นอาชีพ ถ้าบริหารพอร์ตตัวเองความคิดจะชัดเจน ตัดสินใจด้วยตัวเองอย่างอิสระ แต่ถ้ามีคนอื่นมีส่วนเกี่ยวข้องมีความกดดันก็จะเหมือนผู้บริหารกองทุนทั้งหลาย จะทำให้เราคิดอีกแบบ มีความรับผิดชอบ ขาดทุนนานๆไม่ได้ เราก็จะเพี้ยนไป
ดร.นิเวศน์ รุ่นสมัยก่อนเงินเดือนออกมาก็ต้องเลี้ยงพ่อแม่ แทบจะไม่มีเงินลงทุน แต่รุ่นนี้จบมาก็ไม่ต้องเลี้ยงพ่อแม่ เริ่มต้นได้ง่ายกว่า Gen Y สบายไม่ต้องเลี้ยงใครยังเอาเงินพ่อแม่ไปลงทุนได้ คนรุ่นใหม่ก็อาจจะลงทุนอีกแบบ เจ๊งก็ไม่เป็นไร ไม่ได้แคร์สังคมอะไรมาก ตอนสมัยนั้นจบมา 3 เดือนไม่มีงาน ไม่กล้าเข้าสังคม ต่างกันสิ้นเชิง สมัยนี้เรียนจบกลับมาก็ใช้ชีวิตก่อน ถ้าไม่มีงานก็เป็นฟรีแลนซ์
สมัยนั้นจะเอาเงินไปเสี่ยงก็ต้องขึ้น จะไปซื้อบ้านซื้อรถไม่เหมือนกัน 10 ปีแรกแทบไม่มีเงิน ได้แต่ความรู้ ถ้าไม่มีความรู้โชคก็ไม่เกิด แต่ที่บอกลงทุนในความรู้ยังไงก็คุ้ม ไม่แน่ มีเพื่อนบางคนก็ยังไม่ได้มีเงินมากมายนัก เป็นอาจารย์ ความรู้อาจจะให้ผลตอบแทนด้านอื่นแต่ไม่ใช่ด้านเงิน ความรู้บางอย่างก็ไม่ได้ทำเงิน
• ดร.ไพบูลย์ เสริมคนที่เรียนปริญญาเอก ยิ่งในยุคเก่าก็จะเป็นคนที่มีความเป็นครูบาอาจารย์ ไม่ได้เน้นเงินทอง ถ้าความร่ำรวยถ้ามาก็ช่วยไม่ได้ ดร.นิเวศน์ถ้าไม่ลงทุนตอนนี้ก็ไม่ร่ำรวยหรอก
o ดร.นิเวศน์ ก็จริง คิดว่าคงอยู่ได้ตามอัตถภาพ แต่ก็นึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอะไรแต่คงอยู่ได้แบบคนส่วนใหญ่
อ.เสน่ห์ ลูกเป็นคน Gen Y แบ่งเงินให้ลูกบริหารบ้างไหม?
o ดร.นิเวศน์ ก็ตั้งความหวังไว้ รู้สึกว่าไม่สามารถบังคับหรือทำให้เขาเป็นอย่างไร ลูกบางทีก็ไม่เหมือนพ่อแม่ ความคิดนิสัยก็เป็นของเขา ลูกบัฟเฟตต์ก็ไม่ได้มีใครสนใจลงทุน ไม่ได้มีเหตุผลที่เขาต้องเป็นนักลงทุน ชีวิตเขามีสิ่งที่ชอบกว่า อย่างน้อยก็คงต้องสอนให้รู้จักรักษาและเติบโตไปตามสมควรแบบปลอดภัย
o ดร.ไพบูลย์ ให้ลูกบริหารต่อ ตอนนี้ไปเรียนต่ออยู่
ถ้าจะขายหุ้น จะขายเพราะอะไร เมื่อไร?
คุณวิบูลย์
o หลายคนเข้าใจผิดว่า VI ซื้อหุ้นต้องถือตลอดชีวิตไม่ขาย อย่างบัฟเฟตต์ขายหุ้น ล่าสุดขายไป 2 บริษัท ขาดทุนไปหลายหมื่นล้านบาท บ.เทสโก้ ถือมา 4-5 ปี ซึ่งปีก่อนพบว่ามีการตกแต่งบัญชี ceo ถูกไล่ออก ผลประกอบการสู้คู่แข่งไม่ได้ เขาก็ออกมาบอกว่าขายช้าไป อีกตัวหนึ่งที่ขายคือ exxon mobil ซ้อมาก่อน วิกฤติ subprime ราคาน้ำมันจาก 100$ เหลือ 50$ ก็ขายทิ้ง
o ถ้าผ่านมาสักระยะวิเคราะห์ผิด หุ้นไม่ได้ดีอย่างที่คิด กับ อีกอย่างคือ ถือมาสักระยะแล้วผลดำเนินงานไม่ได้อย่างที่คิดก็ขายออกไป อย่างที่สาม ตอนที่ซื้อมูลค่ากิจการเท่าไร พอขึ้นไปถึงมูลค่าที่ตั้งใจไว้ก็ขายออกมา อย่างเช่น petro china ซื้อหุ้นตอนปี 2000 กว่า หุ้นจีนบูมขึ้นมา ซื้อ 2 แสนล้านเหรียญ ประเมินไว้ 4 แสนล้านเหรียญ ราคาขึ้นไปถึง 8 แสนล้านเหรียญ เห็นราคาขนาดนี้ก็ขายออกไป แต่สรุปแล้วก็ยังขึ้นไปต่อ
o มีอีกอย่างคือ ขายหุ้นเพื่อไปซื้อหุ้นที่ดีกว่า
คุณณัฐชาต
o ที่คุณวิบูลย์ตอบครอบคลุมแล้ว ขอเสริมว่า จะดูหุ้นที่มีในพอร์ต ถ้ามีหุ้นตัวใดสัดส่วนเยอะเกินไป ก็จะขายเพื่อลดสัดส่วน ไม่ให้ขึ้นกับตัวใดตัวหนึ่งมากไป
อ.เสน่ห์กล่าวปิดท้าย generation แต่ละรุ่นต้องมีความลงตัวด้วยกัน รุ่นต่อรุ่นมีความแตกต่าง
• คน gen B มีความอึดยึดอนุรักษ์ ทำงานหนัก สร้างฐานะ ปรับจากเห็น คน gen x สบายขึ้น ฟื้นรำเค็ญ ใช้เงินเป็นทำงานเก่งเร่งอัตรา คน Gen Y สบายดี เทคโนโลยีช่วย ลูกคนรวยได้เรียนสูง มุ่งก้าวหน้า คน gen M อิสระ อุ๊อ๊ะฮา ดิจิตอลทุกเวลา หลั่นล๊าจัง หลากหลายวัย หลายหลาย Gen เห็นประโยชน์ รวมเป็นโคตรสืบสกุล รุ่นความหวัง รุ่นต่อรุ่นหนุนต่อก่อพลัง ความมั่งคั่งยังส่งต่อขอบอกเอย
Money talk at SET ครั้งต่อไป 25 เมษายน 58
เปิดจอง 18 เมษายน 7 โมงเช้า
หัวข้อ 1 บริษัทจดทะเบียน (หมอเค, ดร.ไพบูลย์)
1.SAWAD
2.JUBILIE
3.TVD
4.SCN
หัวข้อ 2 เศรษฐกิจและหุ้นไทยจะไปไหวหรือ (ดร.ไพบูลย์, อ.เสน่ห์)
1.ดร.กอบศักดิ์
2.คุณมนตรี ศรไพศาล
3. ดร.นิเวศน์
สุดท้ายขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร, ทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่าน
ขาดตกบกพร่องรบกวนช่วยเสริมได้ครับ ขอบคุณครับ
หัวข้อ 1 "เจาะหุ้นเด่น Digital Economy"
แขกรับเชิญจาก 3 บริษัท
1.คุณ ระเฑียร ศรีมงคล (ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) KTC
2.คุณ ปรินทร์ โลจนะโกสินทร์ (ประธานกรรมการบริหาร) PLANB
3.คุณ กรัณย์พล อัศวสุวรรณ (ประธานกรรมการบริหาร) SYMC
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ นพ. ศุภศักดิ์ หล่อธนวนิช ดำเนินรายการ
Intro
Digital economy คืออะไร?
o หมอเค เศรษฐกิจยุคแรกทำการเกษตร ใช้แรงงานคนผลิต ถัดมาปฏิวัติยุคอุตสาหกรรม เริ่มใช้เครื่องจักร
นำไปสู่อุตสาหกรรมต่างๆ จนเข้าสู่ยุคเทคโนโลยี เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เช่น ต้นทุนเดิมที่เคยเป็นแรงงานคน
ก็จะเป็น IT มากขึ้น อย่างรัฐบาลไทยประกาศว่าประเทศต้องเข้าสู่ยุคดิจิตอลเพื่อสร้างรายได้ให้มากขึ้น
มีนโยบาย 4 อย่าง
1. เน้น internet ความเร็วสูง broad band แห่งชาติ
2.เน้นธุรกิจกรรมต่างๆที่ผ่าน internet ที่เร็วขึ้น e commerce
3. การจัดเก็บข้อมูลให้เป็น digital มากขึ้น รัฐบาล government digital
4. พัฒนาบุคลากรให้เข้าถึงช้อมูลต่างๆให้ดีขึ้น
สัมภาษณ์ บริษัททำอะไร แนวโน้ม แผนงาน ?
KTC
o ธุรกิจเครดิตการ์ด และสินเชื่อส่วนบุคคล สัดส่วน 70 : 30 เป็น business model เดิมที่ทำอยู่
o สินเชื่อส่วนบุคคลเป็นแบบที่ไม่มีหลักประกัน แต่ไม่ได้เหมือน นาโนไฟแนนซ์เป็นคนละระเบียบกัน
o ปีที่หมอระเฑียรเข้ามาบริษัทมีกำไร 200 กว่าล้าน ปีถัดมา 1,000 กว่าล้านบาท -> ปี 2014 กำไร 1750 ล้านบาท -> ปีนี้น่าจะทะลุ 2000 ล้านขึ้นไป
o มองว่าถ้าโตต่อไปแบบเดิมจะมีจุดอิ่มตัว จึงต้องหาทางเปลี่ยนลักษณะธุรกิจเพื่อยกระดับกำไรให้สูงขึ้นไป( shift s-curve) เราไม่ใช่บริษัทบัตรเครดิต/สินเชื่อส่วนบุคคล แต่เราเป็น membership company ใครก็ตามเกี่ยวข้องกับเราเป็น member ของเราหมด ไม่ได้จำกัดแค่ในธุรกิจต้องเป็นเรา หรือในกลุ่ม holding ของเรา แต่จะทำตัวเป็นตัวเชื่อมกับคนอื่นได้ เป็นลักษณะ win-win โดยเป็น interdependent คือ แข็งโดยตัวเราเองได้ และร่วมกับคนอื่นได้ ต่างคนต่างมีจุดแข็งของตัวเอง แล้วมาประกบกัน 1+1 ต้องเป็น 3
o Member ship ของเราคือ ผู้ถือบัตร/ลูกค้าสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งสิ่งที่เราทำอยู่แล้วอย่าง website ของเรา เรื่องท่องเที่ยวที่เราโดดเด่น membership สามารถใช้บัตรยี่ห้อไหนก็ได้ในการใช้บริการท่องเที่ยวของเรา
o ต้องมองในลักษณะพ้นกรอบออกไปโดยอิงจากจุดแข็งที่มีโดยเอากำไรที่เป็นฐานเดิมแบ่งออกมาทำ อย่างในธุรกิจอุตสาหกรรมก็มีค่า R&D แต่ธุรกิจของเราจะเป็นค่า marketing หรืออย่างอื่นบ้าง ที่ทำเพื่อต่อยอดธุรกิจออกไป
o ยกตัวอย่างให้เจาะจง เช่น ใครที่เข้ามาใน Money talk แล้วออกไป จะได้บัตรของเราอาจจะเป็น voucher คล้าย E wallet ออกไปจับจ่ายใช้สอย
o การซื้อหุ้นไม่ได้มีข้อห้ามในการใช้บัตรเครดิต
o บัตรเครดิต KTC มีสมาชิก 1.8 ล้านใบ market share ราว 10% ไม่ได้เป็นเจ้าใหญ่สุด แต่กำไรเป็นลำดับต้นๆของอุตสาหกรรม มันขึ้นอยู่ที่การวางกลยุทธ์ว่าเราจะให้ความสำคัญกับอะไร แม้ market share จะสำคัญ แต่มองว่าในระยะยาวกำไรเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องเป็นกำไรที่ยั่งยืน แล้วต้องทำให้มั่นใจว่าเติบโตทุกปี
o ขนาดสินเชื่อพอร์ต 1.5 หมื่นล้านบาท ลูกค้า 7-8 แสนคน มีลูกค้าที่ทับซ้อนกับบัตรเครดิต 3 แสนคน
o ตัวเลข Market share 10% แต่มีสินเชื่อคงค้าง 12.5% เป็นตัวบอกว่าลูกค้าใช้บัตรเราเยอะกว่าคนอื่น เป็นที่รู้กันตัวที่ทำกำไรคือผ่อนชำระ
o NPL เราค่อนข้างต่ำกว่าอุตสาหกรรม หลายคนมองว่าบริษัทบัตรเครดิตเป็น marketing company คิดว่าไม่ถูกต้อง เพราะเราต้องปล่อยไปได้ เราต้องเก็บหนี้ได้ ไม่งั้นทุกคนก็เข้ามา แล้วก็ทิ้งบัตรไป
SYMC
o 10 กว่าปีที่แล้ว ก่อตั้งบริษัท มีแบรนด์ชื่อว่า ไวโอลิน วางให้สอดคล้องกับ ตำแหน่งการตลาดในฐานะเป็นรายเล็กที่เข้ามาบุกเบิกแข่งกับรายใหญ่ ต้องการทำตลาดเน้นลูกค้าที่เป็น 1st class และ ไวโอลินเป็นส่วนประกอบของดนตรีคลาสสิค ฟังชื่อแล้วก็จะรู้ว่าพรีเมียม และเป็นสายสอดคล้องกับธุรกิจเคเบิล ต่อมาพอมีกทช. เราก็ไปเปิดบริษัทอิสระ และขอใบอนุญาติตั้งบริษัทชื่อซิมโฟนี เพื่อให้สอดคล้องกับแบรนด์เดิม เป็นทีมงานดิม
o นโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติ เป็นโอกาสของเราที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นสร้างความต้องการใช้งานให้เกิดขึ้น ปัจจุบันอาจมีนโยบายภาคเอกสารไม่มากนัก ซึ่งค่อนข้าง active อยู่แล้ว มี mobile banking ทางอินเทอร์เน็ท โอนเงินมือถือ ซื้อสินค้าผ่านเวบไซต์ได้ ที่เรามองคือภาครัฐจะมีบทบาทมากขึ้น พวก e government ที่มองว่าทำได้ดีคือ e revenue ไม่ต้องไปเข้าคิวชำระ สามารถชำระภาษีผ่านอินเทอร์เน็ท และยังสามารถขยายแนวคิดเดียวกันนี้ไปยังที่อื่นได้
o นโยบายเศรษฐกิจ digital จะช่วยทำให้เกิดการใช้งานมากขึ้น ธุรกิจของเราให้เช่าสาย cable ใยแก้วเพื่อการ online ทุกชนิด ต้องมีสื่อในการพาข้อมูลจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง
o ของเราเป็นสายไฟเบอร์ ซึ่งดีกว่าสายทองแดง คุณสมบัติพิเศษคือจะส่งความเร็วได้สูง โดยเฉพาะโครงข่ายขนาดใหญ่ เช่นมือถือ กระดูกสันหลังต้องเป็นใยแก้วทั้งหมด ส่วนที่มาถึงมือถือเป็นช่วงต้นหรือช่วงท้าย แต่ตรงกลางจะเป็นเคเบิลใยแก้วขนาดใหญ่
o เรามีเคเบิลใยแก้วทั่วประเทศ 40 กว่าจังหวัด เดินตามถนนหลักของประเทศ เป็นระยะทาง 10,000 กว่า กม. แขวนตามเสาไฟฟ้า โดยมีประตูเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน 4 จุด อย่างที่แม่สอด เชื่อมกับพม่า ที่เมวดี ที่หนองคายเชื่อมกับลาว เวียงจันทร์ สามารถให้เช่าได้ว่าจะส่งข้อมูลจากจจุดไหนเป็นจุดไหน รายได้มาจากเก็บค่าเช่ารายเดือน เช่า 1/2/3 ปี ค่าเช่าขึ้นกับความเร็ว
o เน้นลูกค้า B2B พวกบริษัทจดทะเบียน บริษัทข้ามชาติ ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ไม่ได้เน้นลูกค้าตามบ้าน จุดแข็งชองเราคือสเถียรภาพของโครงข่าย จากที่เริ่มบริษัทมาถึงตรงนี้ได้เพราะมีจุดยืนคือเรื่องคุณภาพ มี SLA 99.9% หมายความว่าแต่ละเดือนต้องที่เช่าเรา 99.9% ใช้งานได้ ถ้าหากมีรถชนเครือข่ายเราสัญญาณก็อ้อมไปอีกทางได้
o เวลาลูกค้าใช้งานจะต้องมีลากสายไปที่บริษัทลูกค้าและจะมีเส้นใหญ่จากไปรวมหน้าถนน รวมสัญญาณ
o ธุรกิจนี้มีบริษัทที่ทำอยู่ 2แบบ คือ ทำครบวงจร เช่น TOT , CAT และอีกกลุ่มคือทำเฉพาะบางส่วน อย่าง symc ทำเฉพาะโครงข่ายหลัก เคเบิ้ลใยแก้วแล้วก็จับมือกับบริษัทผู้ให้บริการอินเทอร์เนท พอได้สัญญาจากลูกค้ามาก็จะมาสั่งวงจรกับ symc เป็น wholesales หรือมีอีกแบบคือ บริษัทหลักทรัพย์ต้องการคีย์คำสั่งจากห้องค้า เป็น direct sales
o Wholesale มีสัดส่วน 30% , มี Direct sales ถ่ายทอดจากห้องผลิตรายการขึ้นไป thaicom กลุ่มนี้ก็มีพวกทีวีดาวเทียมกว่า 200 ช่อง /เคเบิ้ลทีวีกระจายจากหัวเมืองไปทั่วประเทศ/digital tv /tv ดาวเทียม ราว 10%
o private network ห้องค้าหลักทรัพย์ เหมือนอีเมล์คุยกรุงเทพ เชียงใหม่ ทำ vdo conference คุยกันได้ สัดส่วนเกือบ 20%
o ดาวรุ่งเราคือวงจรระหว่างประเทศ เพราะโตปีละเป็น 100% โตพร้อมกับการที่มี 3g นำสัญญาณอินเตอร์เนท จากต่างประเทศเข้ามาประเทศไทย พวก facebook, google ต้องเอาสื่อนำเข้ามา การใช้งานเติบโตก้าวกระโดด เพราะคนใช้งานมากขึ้นก็ต้องจ่ายมากขึ้น
o การที่มี 4g ก็ช่วยจะส่งเสริมเราด้วย เคยบอกกับนักลงทุนที่มาเยี่ยมชมว่า มี 2 อย่างที่คนไม่เคยพอใจ คือเงินในกระเป๋า กับความเร็วอินเตอร์เนท
o จำนวนลูกค้าโต จากตอนเข้าตลาดปี 53 มี 1200 วงจร ตอนนี้มี 6000 วงจร
o รายได้ตอนเข้าตลาด. 500 กว่าล้าน กำไร 200 ล้านบาท ปี 57 1275 ล้าน กำไร 181 ล้านบาท เนื่องจาก เอาเงินลงทุนไปสร้างโครงข่าย ต้องการเป็น hub asean ต้องการเชื่อมประเทศเพื่อนบ้านทั้ง 4 ประเทศ โดยใช้ไทยเป็นศูนย์กลาง
o 3-4 ปีที่ผ่านมากำไรไม่โต เพราะเอาเงินลงทุนไปสร้างถนน เพื่อเก็บค่าทางด่วน(เปรียบเทียบ) ต่อไปถ้าการจราจรคับคั่งก็จะรายได้ดี
o ธุรกิจของเราใช้ระบบใบอนุญาตจากกสทช. ใครเปิดก็ได้จะไปขอใบอนุญาตได้ แล้วให้บริการเก็บค่าเช่ารายเดือน
o 2 ปีที่ผ่านมาก็พยายามดูแลนักลงทุนโดยจ่ายปันผล
o ในไทยโครงข่ายที่สร้างส่วนทีเป็นถนนทำไปได้ 95% ของที่จะลงทุนแล้ว แต่ศักยภาพใช้งานในต่างจังหวัดไม่เหมือนกรุงเทพ รายได้ก่อนหน้านี้อยู่ในกรุงเทพเป็นหลัก พอออกไปต่างจังหวัดผลตอบแทนต่อไฟเบอร์เส้นเดียวกันจะต่ำกว่า เราไม่ได้รอให้หนาแน่น แต่ใช้ถนนนี้เป็นทางผ่านเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มีลูกค้าพม่าเช่าวงจรเพื่อต่อไปยังศูนย์ข้อมูลสิงคโปร์ ประเทศไทยเป็นชัยภูมิที่ดีมาก จากแม่สอด ไปกรุงเทพ ถึงหาดใหญ่ ก็เช่าผ่าน symc
o ธุรกิจมีผู้ให้บริการก็มีหลายราย ไม่ได้แตกต่างกัน ก็จะต้องแข่งที่ราคา เราต้องสร้างจุดแตกต่าง เมื่อ 2 ปีก่อนเราจึงศึกษา เคเบิ้ลใต้น้ำ เราเป็นรายแรกเอกชนที่เข้ามาทำ เพื่อเป็นต้นน้ำเสริมกับเส้นทางที่ทำบนบก ข้อดีคือความเสี่ยงต่ำ ไม่มีใครไปตัด ฝังใต้ทะเลลงไป 3 เมตร สถานีเคเบิ้ลใต้น้ำอยู่ที่ระยอง มีนักประดาน้ำลงไปซ่อมดูแลได้ ต้นทุนต่อความเร็วเคเบิ้ลใต้น้ำจะถูกกว่า 2-3 เท่า ถ้าบนบกต้องมีอุปกรณ์ทวนสัญญาณค่อนข้างเยอะ การออกแบบต้องทำเป็นวงแหวน ถ้าเป็นเส้นตรงขาดง่าย แต่ใต้น้ำสามารถเดินทีเดียวได้เลย
o การลงทุนเคเบิ้ลใต้น้ำ ปีนี้ก็จะมีลงทุนอีกคือเส้นย่อยต่อไปหาลูกค้ามาเชื่อมเส้นใหญ่ แต่เส้นหลักไม่ทำแล้ว ทำแค่เคเบิ้ลใต้น้ำที่ทำเป็นตัวหลักสุดท้าย
PLANB
o ธุรกิจหลักเป็นสื่อโฆษณาภายนอกที่อยู่อาศัย ไม่ได้เป็นสื่อหลักเหมือนทีวีหรือวิทยุ ที่จริงมีมานานมากแล้ว
สื่อเรามีอยู่ใน 4 กลุ่มหลัก
1 transit ระบบขนส่งมวลชน - bus, รถไฟฟ้าใต้ดิน
2 static(ป้ายนิ่ง) - street furniture, ป้ายโฆษณาชนิดต่างๆ
3 สื่อ LED จอดิจิตอลนอกบ้าน
4 in mall อยู่บริเวณห้างสรรพสินค้า
o มองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเติบโตสูง คนเราใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ด้วย urbanization rate ด้วยจำนวนประชากร การพัฒนาทางเศรษฐกิจ ทำให้งบการตลาดโตขึ้นอยู่แล้ว
o ตัวเรามองธุรกิจเราเป็นสร้างช่องทาง เพื่อให้เจ้าของแบรนด์หรือบริษัทสื่อไปถึงผู้บริโภคให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในอนาคตแผนการเติบโตของเรามากกว่าแค่สื่อนอกบ้าน
o ในรถเมล์ส่วนใหญ่เป็นของ planb แล้วก็รถไฟฟ้าใต้ดินก็เป็นของ planb
o อุตสาหกรรมน่าสนใจ เราไม่ได้เกี่ยวกับการสร้างป้ายให้เยอะที่สุด ถ้ามีที่ดินเยอะ แต่อยู่ในบริเวณที่ไม่ได้เจริญทางผังเมือง ก็ไม่มีประโยชน์ ต้องเป็น network ที่เป็นส่วนหนึ่งชีวิตประจำวันคน ถ้าดูวิธีการใช้ปัจจุบัน สามารถอยู่บ้านบริโภคทีวี มือถือ ออนไลน์ สมัยนี้มีสื่อหลักที่เป็น TV มีตัวเลือกมากขึ้น คนดู tv ก็ multi task ทำอย่างอื่นไปด้วย นักการตลาดก็สื่อสารแล้วไม่ได้ผลเหมือนสมัยก่อน สิ่งที่เราทำคือ ทำสื่อเราให้เป็น journey ของผู้บริโภค ตั้งแต่ออกจากบ้าน ใช้รถเดินทาง ทานอาหาร ไปจนถึงจุดจับจ่ายใช้สอย จะมีเราเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรา ต่างกับการตลาดในอดีตที่ทำให้เข้าถึงเยอะที่สุด กลยุทธ์จะเปลี่ยนไป ไม่ใช่แค่สร้าง awareness ข้อความหนึ่งไปถึงแล้วจบ คีย์คือเราจะ ตอบสนองนักการตลาดได้อย่างไร เมื่อเขามีความต้องการที่ใหม่ขึ้น และรวดเร็วขึ้น
o ชื่อ PLANB เพราะ Plan A ก็ไม่ได้ work ตลอดไป และตรงกับธุรกิจเราที่เป็นสื่อทางเลือก ปกติคนเราจะบริโภคผ่านทีวี หรือวิทยุอยู่แล้ว หน้าที่เราสื่อ outdoor เป็นการย้ำเตือน จนทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ
o ในตลาดผู้เล่นหลัก 3-4 ราย market share รวมกันเกือบ 50% vgi plan b maco บางกอก tsf aqua live
o Plan b มี market share 20-25% ตั้งบริษัทมาก 10 กว่าปี ที่เติบโตได้เร็วอยู่ที่วิธีมองธุรกิจของเรา มองตัวเองเป็นช่องทาง ถามตัวเองว่าจะสร้างช่องทางใหม่ๆอย่างไรให้ถึงเข้าถึงผู้บริโภค และเป็นที่น่าจดจำได้ดีที่สุด ช่วง 3-4 ปี แรกเป็นรถเมล์เพราะเข้าถึงคนได้ดีมาก เหมือน billboard เคลื่อนที่ จากนั้นเรามาถามตัวเอง ว่าต้องมีความหลากหลาย เริ่มสร้าง street furniture และ หลังๆเป็นสื่อ digital of home
o ความหลากหลายเป็นสิ่งที่ทำให้เรา work กับลูกค้า agency ได้มากขึ้น คนต้องการความสะดวกสบายในการใช้สื่อ ถ้าเดินซื้อของจบในที่เดียวก็สบายกว่าอยู่แล้ว แม้ปีก่อนสื่อ transit จะได้ผลกระทบเยอะ แต่เราก็สามารถดึงให้ลูกค้าใช้สื่ออื่นได้
o สื่อรถเมล์ที่เราจัดการ กลุ่มหลักเป็นของ ขสมก. มีการดูแลตัวรถหรือคนขับรถอยู่แล้ว ปัญหาพวกนี้เป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ขึ้นกับบริหารจัดการอย่างไร
o รายได้ของสื่อขึ้นกับสัมปทานตัวใดตัวหนึ่งใสนการหารายได้ในอนาคต เป็นสิ่งที่ focus ใน 3-4 ปีที่ผ่านมา จะทำอย่างไรให้ความเสี่ยงกระจายได้เยอะสุด ทำให้ปี 57 แต่ละอันสัดส่วนใกล้เคียงกัน 1 ใน 3
o ปีนี้มองว่า digital น่าจะดีขึ้น มีการปรับราคาให้เหมาะกับสภาวะการตลาดหรือทำโปรโมชั่นใหม่ๆ จอดิจิตอลก็ตอบโจทย์ได้
o ป้ายเราจะมีสัญญากับเจ้าของพื้นที่ อย่างพารากอนมีจอตรงลานพาร์ค ต้องแยกอโศก ตรงอินเตอร์เชนจ์ มีเด่นหลายจุด เราเช่าพื้นที่และจะออกแบบทำตลาด รับดูแล commercial ทั้งหมด ป้ายนิ่งก็เป็นพวกรายงานสภาพจราจร ก็เป็นของ planB
o มีลงทุนระบบติดกล้องจับปริมาณ traffic จริงและการเคลื่อนไหวตัวรถ เพื่อบอกว่าใช้เวลากี่นาทีไปถึง
แนวโน้ม และสิ่งที่กำลังจะทำในอนาคต?
KTC
• Digital economy เราแบ่งเป็น old กับ new
o Old คือพวก pc และ fix line เดิม
o New เราพูดถึง mobile และ wireless หลังๆโตเร็วกกว่ามาก smartphone มี 45 ล้านเครื่อง pc มีไม่ถึง 10 ล้านเครื่อง ติดตามข้อมูลคนที่เข้ามาจะเป็น mobile มากขึ้น โดยผ่านโครงข่ายไร้สาย 3g หรือ wifi
o นโยบายรัฐบาลสำหรับเราสิ่งที่มีประโยชน์คือ 4G เกิด ถนนยิ่งเยอะยิ่งโล่งขับรถได้เร็วคนจะมาใช้มากขึ้น อีกอย่างคือ e commerce กฏหมายที่รองรับตัวบุคคล ถ้ามีก็ทำให้เราโตขึ้นไปได้
o E commerce เติบโตดี หลังๆเป็น M commerce ที่โต 30-40%
o ถ้ามี 4g จะช่วยเรื่องการเคลื่อนไปเคลื่อนมาสูง
o ข้อได้เปรียบ KTC เราอยู่ตรงกลางระหว่าง bank กับ non bank bank ธุรกิจมีหลายอย่าง เครเดิตการ์ดเป็นแค่ unit จะพัฒนาอะไรต้องไปจัดคิวในการพัฒนา แต่พวก non bank ก็ยังมีประเด็นอีกหลายอย่างที่อต้งทำ ของเราพนักงานตื่นมาหายใจเข้าเป็น เครดิตการ์ด หายใจออกเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล เรามีไอทีของเราเอง ทำอะไรก็ทำได้เร็ว แม้จะเริ่มช้ากว่า อย่างเช่น mobile credit card เราเริ่มช้ากว่าที่อื่น แต่มาbenchmark เทียบ speed, security,ความง่ายในการใช้ พอเทียบแล้วดีสุด เราก็ออกสินค้าเลย พอคู่แข่งเห็นก็จะปรับตาม เราก็ออกของใหม่ เพราะเราทำอย่างเดียว แต่ข้อเสียคือเป็นหมาล่าเนื้อต้องคอยออกใหม่ ต้องทำให้แตกต่างจากคนอื่น ซึ่งต้องดีกว่า การโฆษณาก็อาจช่วย แต่ระยะยาวขึ้นกับของจริงเป็นอย่างไร
o การซื้อของผ่าน online ราว 14-15% แต่โตในสัดส่วน 20-30% ต่อปี แต่ offline โตแค่ 10% แนวโน้มคนจะหันมาใช้มากขึ้น ถ้าเทคโนโลยีอำนวย ราคามือถือถูกลงมา ก็จะไปเร็วขึ้น
o คนมี 2 กลุ่มคือพวกยึดกับต้องไปจับจ่ายใช้สอย กลัวไม่ปลอดภัย e commerce แต่พวกคนรุ่นใหม่หลายคนแทบจะใช้ e commerce เป็นเรื่องปกติ ไม่ว่าจะเป็น bigc top ให้มาส่งที่บ้านก็เยอะขึ้น
o E payment ที่รัฐบาลสนับสนุน มองว่าทุกวันนี้เราจ่ายเงินออนไลน์ได้อยู่แล้ว ทุกธนาคารมี e banking ได้อยู่แล้ว แต่เทคโนโลยีไปมากกว่านั้นคือe wallet เพราะทุกคนไปเห็น paypal วันนี้ตลาดหุ้นราคา paypal สูงมาก ตอนหลังก็มี alipay ที่ Alibaba ทำ หรือทาง master card,visa ก็ออกมา จะเป็นการแข่งขันในอุตสาหกรรม อยู่ที่ว่าใครจะโตได้ในลักษณะไหน เทคโนโลยีจะเหมือนกันหมด ต้องดูว่าเรามีจุดแข็งอะไรยังไง
o 2 อาทิตย์ก่อนได้ไปประชุมสิงคโปร์ ได้เจอ VP คนหนึ่งจาก singpost เคยเป็นcet ของ google มาก่อน เค้ามีมุมมองธุรกิจไม่ใช่แค่ในประเทศ เค้าคิดว่าเค้าเป็นประชากรโลก มองทั้งใบ มองว่าจุดแข็งเค้าคืออะไร ในโลกถ้าเอาไปแข่งเรื่อง digital สู้ไม่ได้ แต่ logistics เป็นจุดแข็งต้องมาใช้
o ในไทยเราก็มีโอกาสหลายอย่าง อย่าง e wallet จะใส่อะไรบ้าง เป็นโจทย์ที่ต้องตอบ ถ้า vision เราคือเป็น membership company ต้องมี partner ยิ่งมีพันธมิตรเก่งเท่าไรยิ่งโต กินของชิ้นเล็กๆปริมาณใหญ่จะเติบโตได้ดีกว่า
o กำไรขึ้นกับ business model ที่เราจะไปอยู่ในช่วงระหว่างทำ คิดว่าเสร็จครรึ่งปีแรก launch ครึ่งปีหลัง ถ้าทำได้ดีก็โตได้เยอะ แต่ถ้าไม่ดี ก็โตเกิน 2 พันได้น้อยมาก เราทำไม่ใช่ว่าสำเร็จทุกครั้ง ตอนแข่งกับคูปอง ทุกคนออก best buy แต่ตอนนั้นเรายังไม่ได้จัดการ infrastructure ให้ดี แล้วเราก็ล้มเหลวต้องเอามาเป็นบทเรียน เราจะทำตอนนี้ก็ต้องศึกษาให้รอบคอบ อย่าง mobile ท่เราทำก็ศึกษา 3 เดือน membership เพิ่มมา 2-3 แสน ตอนหลั้งนี้เริ่ม launch android แล้ว ถ้า it ไม่ดี ความเชื่อมั่นผู้ถือบัตรไม่ดี
o E wallet ต้องทำให้มั่นใจ ใช้ง่ายก็จริงต้องปลอดภัยกับเขา
o สิ่งที่เติบโต E commerce , Tools – e wallet เป็น tool ซึ่งทาง operator ก็พยายามจะผูกไว้กับตนเอง แต่เราก็มองไว้ตามข้อจำกัดของเรา มีอยู่ใต้กำกับของแบงค์ชาติอยู่ ข้อดีคือเรามีความมั่นคงเพราะอยุ่ใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย
o อีก 3-5 ปี มองเป็น membership company อย่างเต็มตัว เป็นที่ 1 ในใจของผู้ใช้ทำอะไรที่ make sense smart simplicity ง่ายๆไม่ซับซ้อน
o วันนี้เราเจออะไรที่ซับซ้อนเต็มไปหมด อะไรที่ทำให้ผู้ใช้ง่าย สะวดกเร็ว security เรื่องความปลอดภัยสำคัญสุด ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอะไรที่สำคัญมาก จุดที่ apple ชนะทุกคนเพราะเขายืนยันข้อมูลเขาว่าไม่แชร์ให้รัฐบาลอเมริกา
o เครดิตการ์ด ใครก็ตามที่มาทำธุรกิจให้ข้อมูลไม่ได้ แต่ในธุรกรรมอื่น e wallet ทั้งหลายยังไม่มีสิ่งนี้ ยังไม่มีกฏหมายควบคุม ควรจะมีสิ่งนี้เป็น governance สมัยก่อนใครทำเป็นคนแรกจะโดดเด่น แต่ในระยะยาวควรทำเป็น platform ที่สมบูรณ์ควรออกมา
SYMC
• ปี 57 รายได้ 1275 กำไร 181 ล้าน ปี 58 เชื่อว่ารายได้โตกว่า 20% (ราว1500) กำไรเชื่อว่าน่าจะดีขึ้น เพราะ 2 ปีที่ผ่านมาถ้าไม่นับค่าเสื่อมกำไรก็ดีขึ้นตลอด ebitda ดีมาก โตขึ้นทุกปี ปีก่อนก็ 500 กว่าล้าน จ่ายปันผล payout 70%
• ปีนี้ประชุม ผถห. วันที่ 24 จ่ายรวม 40 กว่าสตางค์
• ค่าเสื่อมราคาสัดส่วนเชื่อว่าจะดีขึ้น เคเบิ้ลใต้น้ำปีนี้จะมีไม่มาก แต่ค่าเสื่อมจะไปเข้าปีหน้าเยอะ
ดร.ไพบูลย์ มีโอกาสขาดทุนเยอะๆ มีความเสี่ยงไหม?
o ทุกอย่างมีความเสี่ยง แต่ของเราต่ำ เพราะ asset ไม่ต้องดูแลอะไรมาก อายุใช้งาน 20-30 ปี
หมอเค สมัยก่อนต้องไปเช่าโครงข่ายคนอื่นก่อน ตอนนี้เดินสายเองแล้ว หาลูกค้ามาเช่า คำถามคือลูกค้าต้องเลือกไหม ว่าจะเช่าเจ้าเก่าหรือเช่าขาดี หรือลูกค้าต่อไปจะมาเดินสายแข่งไหม?
o ไม่ได้มีปัญหาแบบนั้น สมัยก่อนผู้ให้เช่าไม่ได้ทำธุรกิจนี้เป็นหลักเป็นรายได้เสริม (เป็นรัฐวิสาหกิจทางพวกพลังงาน) เขาก็ไม่ได้ให้น้ำหนักมากนัก ซึ่งนั่นก็เป็นเหตุให้เราออกมาทำเอง
หมอเค นโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติที่คนเข้าถึงอินเตอร์เนท 90% คิดว่าจะมีการให้ลดราคาไหม?
o ยังตอบไม่ได้ แต่ผู้ประกอบการเช่น tot true 3BB เขาก็ทำของเขาอยู่แล้ว แม้จะไม่มีนโยบายรัฐบาล สิ่งที่อยากให้ภาครัฐสนับสนุนน่าจะเป็นเรื่องอื่น การกำกับดูแล กสทช.จะอยู่หรือไม่อยู่อย่างไร เขามีแผนแม่บทอย่างไร จะได้เดินต่อได้ถูก นโยบายบรอดแบรนด์แห่งชาติจะสนับสนุนเอกชนอย่างไร
• นโยบายที่อยากให้รัฐบาลสนับสนุนในแง่เคเบิ้ลใต้น้ำ เหมือนขอ boi เพราะจะทำให้ต้นทุนอินเตอร์เนทถูกลงไปอีก ก่อนที่จะทำสถานีต้องสำรวจพื้นที่ว่าตรงไหนต้องเลี่ยง ตรงไหนเป็นประมง
o ธุรกิจใน 3-5 ปีข้างหน้า เราปรับธุรกิจจากเดิมที่เป็น wholesale มาทำของเราเองมากขึ้น มีลูกค้าที่เป็นขายตรง broadcast ลูกค้าที่ใช้ในองค์กร private network จะดตขึ้น ดาวเด่น คือวงจรระหว่างประเทศ คิดว่าจะมีสัดส่วนจาก 20%->เกือบ 50%
o อัตรากำไรตอนนี้ 14%อาจจะขึ้นไปถึง 20% ก็เป็นได้ แต่ธุรกิจก็แข่งขันเราไม่ได้ผูกขาด ก็จะพยายามหาโอกาสต่อยอดโดยไม่ไปแข่งขันกับลูกค้า
PLANB
o ธุรกิจเราค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็น fix ถ้า symc เป็นทางด่วน ของเราเป็นโรงแรม
o ปี 57 ภาพรวมไม่ได้ดีมาก media ตก 10% โฆษณานอกบ้านตก 6% แต่ของเราเป็นไม่กี่บริษัทที่รักษาการเติบโตได้ โต 6% ส่วนกำไรโตขึ้นจาก 166 ล้านในปี 2013 -> 206 ในปี 2014
o เชื่อว่าในปี 2015 ภาพรวมหรือเม็ดเงินจะดีขึ้น เราเลือกจะลงทุนในปี 2013-2014 เราเร่งในการสร้างโรงแรมของเรา ปีที่แล้วถ้าสื่อของเราขายเต็ม 2 พันล้าน ปีนี้ถ้าขายเต็มได้ 2.5 พันล้าน หวังว่าอัตราการเติบโตน่าจะอยู่ที่ 20-25%
o ป้ายปีก่อนมี occupancy 75% แต่ปีนี้เพิ่มขึ้น โอกาสหารายได้มากกว่าเดิมราว 25% ปีที่แล้ว 1846 ล้าน แต่ถ้าปีนี้ขายเต็ม 2520 ล้าน โดยมีการลงทุนผ่านไปเรียบร้อยแล้ว
o ใน 3-5 ปีข้างหน้า ภาพคือเราหาช่องทางในการสื่อสาร จุดแข็งคือทำสื่อโฆษณานอกบ้าน ที่เราสร้างจำนวนสื่อจำนวน asset การทำตลาดกับลูกค้าแบบไหนได้ผล ตอนนี้ macro trend เอื้ออยู่แล้วให้สื่อโฆษณานอกบ้านโต จะทำอย่างไรให้เชื่อมกับออนไลน์หรืออินเตอร์แอคทีฟมากขึ้น อย่างเรื่องรถติด ในอนาคตจะบอกได้ว่าจะใช้ระยะเวลานานแค่ไหน ข้อความที่โฆษณาจะ read time มากขึ้น optimization มากขึ้น ไม่ได้หว่านทั้งหมด เม็ดเงินโฆษณาจะใช้คุ้มค่ามากขึ้น
o สื่อหลักเราแม้จะเป็นสื่อนอกบ้าน แต่มีโครงการที่แตก ออนไลน์เยอะขึ้น จะเริ่มทำฟรีไวไฟบนรถเมล์ เราเห็นอยู่แล้วว่าออนไลน์จะโตเร็วในอนาคต สามารถดูได้ว่าเข้าไปดูอะไร ดูนานแค่ไหน สามารถเก็บข้อมูลและมี engagement กับผู้บริโภคได้มากขึ้น กลุ่มคนที่ใช้รถเมล์วันหนึ่ง 2 ล้านคน กลุ่มตรงนี้จะต้องการใช้ออนไลน์มากขึ้น ถ้าให้ฟรีไวไฟแลกกับโฆษณาจะทำให้การเข้าถึงตรงนี้ทำตลาดได้มากขึ้น ซึ่ง core business เราต้องโตมากขึ้นอยู่แล้ว
o กลุ่ม step out ใช้ asset ที่เรามีให้เป็นประโยชน์ สามารถพัมนารถเมล์สายที่ขึ้นอยู่ไกลขนาดไหน เราสามารถ subscribe app ตัวนี้ เราให้ notification มาที่มือถือ
ดร.ไพบูลย์ 2558 หรือ 59 เลือกตั้ง รายได้จะเพิ่มไหม?
o เป็นป้ายอีกชนิดหนึ่ง ไม่ค่อยมาใช้ของเรา
สัมมนาหัวข้อ2 “กลยุทธ์ลงทุนของวีไอหลากหลายวัย”
แขกรับเชิญ 3 ท่าน
1.ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
2.คุณ วิบูลย์ พึงประเสริฐ นักลงทุนเน้นคุณค่า
3.คุณ ณัฐชาต คำศิริตระกูล เลขาธิการ สมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ประเทศไทย)
ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา และ อ.เสน่ห์ ศรีสุวรรณ ดำเนินรายการ
Intro
ดร.ไพบูลย์ VI ลงทุนแล้วเก็บเงินไปไหน?
o ดร.นิเวศน์ ลงทุนไปเรื่อยๆ เงินบางส่วนก็ส่งผ่านไปทายาท บางส่วนก็คงบริจาคไป มีเงินมากก็ไม่รู้จะเอาไปซื้ออะไร ทุกๆ 10 ปีชีวิตหักเหไปเองโดยไม่ได้วาง พอ 20 ก็จบปริญญามาทำงาน พอ 30 ได้เรียนปริญญาเอกก็เปลี่ยนชีวิต พอ 42 ก็เรียนชีวิตเป็นนักลงทุน เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ตกงาน ต่อไปก็อาจะเป็นจุดหักเหที่ต้องลงทุนต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เคยคิดไว้ว่าน่าจะอยู่ถึง 80 โดยเฉลี่ย ถ้าทำได้ดีเป็น 100 ก็ได้ไม่มีใครรู้
อ.เสน่ห์ ถ้าอยู่ถึง 100 ปีจะลงทุนถึงวันสุดท้ายไหม?
o ดร.นิเวศน์ ถ้ามีสติสัมปัญชัญญะก็เป็นไปได้ แต่ตอนนี้ก็ลืมๆบ่อยแล้ว
มีการแบ่งเงินลงทุนอย่างไร?
คุณวิบูลย์
o ลงทุน 100% ใน หุ้น แต่ก็มีบ้านมีทรัพย์สิน ลงทุนในชื่อของครอบครัว ตอนนี้ก็ยังทำงานอยู่เงินที่ใช้จ่ายไม่ได้เอาจากหุ้น ปันผลต่างๆก็อยู่ในหุ้น ภรรยาไม่ได้ทำงาน
o มีน้องๆหลายคนมาปรึกษาว่าอยากลาออก ที่เป็นนักลงทุน VI ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่จำเป็นหรอก VI ไม่ต้องเฝ้าหุ้น ซื้อไว้ก็ถือลงทุนยาวๆ ซื้อไว้ก็ทำอย่างอื่นก็ได้ ต้องหาอะไรทำ อยู่เฉยๆได้ระยะหนึ่งก็จะรู้สึกว่างเกินไป
o ถ้ามีอิสรภาพทางการเงินแล้วก็ทำงานเพื่อความสุข ทำงานที่รัก อย่าง buffet ก็ทำงานทุกวัน เพราะเขารักในงานที่ทำ
คุณณัฏชาติ
o ทำงานเป็นเลขาสมาคม thaivi จบวิศวกร ฝ่ายการตลาดอยู่ 7 ปี ลงทุนตั้งแต่เริ่มทำงาน จบปริญญาโท เก็บเงินเริ่มลงทุน 10 ปีพอดี
o ตอนทำงานลงทุนหุ้น 100% ไม่ซื้อบ้านไม่ซื้อรถ เช่าเอาเป็นอพาร์ทเมนท์ใกล้ที่ทำงาน ใช้รถบริษัท เดินทางในกรุงเทพก็ใช้รถไฟฟ้ารถเมล์ ลาออกก็ซื้อรถตัวเอง ตอนนี้สัดส่วนมีเงินสดส่วนหนึ่งพอใช้ 2 ปี (เก็บใน money market) ที่มองว่า 2 ปี เผื่อตลาดหุ้นเป็นอะไรขึ้นมา ซึ่งหุ้นที่ลงทุนมีปันผลให้อยู่แล้ว สัดส่วนลงทุนมีกระจายเป็นอสังหาฯ ซื้อคอนโดอยู่เองก็เป็นการลงทุนไปด้วย เลือกทำเลที่ดีและในระยะยาวน่าจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วย สัดส่วน 5-10% ในสัดส่วนที่มี อีกส่วนหนึ่งคือรถตั้งไว้ไม่เกิน 1-2% ของพอร์ต ใช้นิสสันมาร์ช เพราะกรุงเทพเป็น city car เหมาะสม
o ตอนทำงานก็มีเวลาว่างน้อยกว่าตอนนี้ แต่จุดหนึ่งรู้สึกหยุดได้โดยไม่ต้องทำงานประจำก็พยายาม balance มากขึ้น
o สาเหตุที่ลาออกจากงานเพราะ งานที่ทำต้องเดินทางออกต่างจังหวัดเยอะ ขับรถก็มีความเสี่ยง เกิดอุบัติเหตุได้ตลอด มี wealth ขนาดนี้แล้วก็ไม่คุ้ม จะย้ายไปที่อื่นก็มองไม่เห็นงานที่ท้าทาย ซึ่งงานเป็นนักลงทุนก็ท้าทาย จึงอยากลาออกไปดู ซึ่งตอนนั้นมีเงินพออิสรภาพทางการเงินแล้ว
o ยังไม่เคยคิดกลับไปทำงาน โชคดีที่คุณธันวาชวนไปร่วมงานสมาคม
ดร.นิเวศน์
o ไม่ได้วางสัดส่วน มันไปของมันเอง ตอนเริ่มลงทุนใหม่ๆยังทำงาน ตอนออกจากงานก็มีเพื่อนชวนไปทำเป็นที่ปรึกษา สมัยก่อนมีเซ็น confirm หุ้นถ้าสั่งซื้อขายก็จะมีใบมาให้เซ็น ตอนนั้นก็เลยให้ภรรยาเป็นคนเซ็นให้ จึงเปิดพอร์ตเป็นชื่อภรรยา หลังจากนั้นก็โตไปเรื่อยๆ สมัยนั้นภรรยาทำงานเป็นฟรีแลนซ์ เราก็ต้องหาเงินมาให้แต่ละเดือน
o มีเงินสด 20% เผื่อไว้หุ้นตกจะได้มีเงินซื้อ หรือไปต่างประเทศน่าสนใจจะได้มีเงินซื้อ ถ้าหุ้นลงไปเยอะๆก็พร้อมจะถือหุ้น 100% ส่วนทรัพย์สินอย่างอื่นไม่ได้คิดเพราะคิดว่าหุ้นดีสุด เคยมีที่ดินแปลงหนึ่งก็ยังไม่ได้ผลตอบแทนเลย ทองก็ไม่ได้ผลตอบแทนที่ดี
เลือกหุ้นอย่างไร?
คุณวิบูลย์
o ตอนเข้าตลาดปี 40 ไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อน ยังไม่ลอยตัวค่าเงินบาทไม่กี่เดือน ตลาดเคยขึ้นไปสูงสุด 1700 ลงมาเหลือ 700 ก็คิดว่าถูกแล้ว เลือกหุ้นโดยซื้อตาม most active 5 อันดับแรก พวกธนาคารก็ซื้อพวกนั้น ช่วงแรกก็ได้กำไร แต่พอจาก set 700 ไปเหลือ 200 ก็ขาดทุน หลังจากนั้นก็ศึกษาเลือกหุ้นแบบ VI มี 3 หัวข้อ
1) คนส่วนใหญ่ซื้อหุ้นแบบกระดาษ ซื้อตัวย่อ แต่จริงๆ buffett ซื้อหุ้นเหมือนซื้อตัวธุรกิจ ไม่ว่าจะซื้อ 1 หุ้นหรือซื้อทั้งกิจการ
2) ถัดมาคือ ซื้อหุ้นที่เข้าใจ ทำอะไร รายได้มากจากไหน ถ้าเป็น google ก็ไม่ซื้อ
3) ซื้อหุ้นในราคาต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริง
คุณณัฐชาต
o ลงทุน 10 ปี เริ่มต้นปี 47 ก็มาจากอ่านหนังสือตีแตก ตอนนั้นคิดว่าทำงานจะสร้างฐานะอย่างไร จะทำธุรกิจดีไหม จะทำอะไรได้บ้าง พอเจอการลงทุนเน้นคุณค่า เชื่อมโยงเหมือนการลงทุนธุรกิจ ต้องมาดู pbv pe ดูปันผล ตัวไหนปันผลเยอะ pe ต่ำ น่าจะได้กำไรดี เวลาผ่านไปก็เริ่มเรียนรู้ก็มีผิดมีถูก บางตัวคุณภาพไม่ดี แม้จะถูกจริงมีปัญหา มีคู่แข่ง ธุรกิจ sunset ก็ต้องปรับมาดูคุณภาพกิจการมากขึ้น
o พยายามจินตนาการว่าถ้ามีเงินซื้อหุ้นได้ทั้งบริษัท ที่ราคา 5 พันล้านจะได้สินทรัพย์มา 4.5 พันล้าน มีทีมงานทีมผู้บริหาร มีแบรนด์มาด้วย เราจ่ายแพงขึ้นอีก 10% คุ้มไหม ถ้าเทียบกับเราไปทำเองเริ่มจากศูนย์ ถ้าคุ้มค่าเหมาะกว่าทำธุรกิจเองก็จะสนใจ
o อ.เสน่ห์ เคยคิดเอาเงินพ่อแม่มาบริหารไหม?
ตอนนี้ทำอยู่ คุณพ่ออายุ 68 ปี ทำขนานกันไปแยกชื่อพอร์ตกัน ตอนแรกคุณพ่อก็ลงทุนอยู่แล้ว แต่ไม่ได้เข้าใจธุรกิจเท่าไร พอเข้าใจ concept มากขึ้นก็ไปเล่าให้พ่อฟัง
หุ้นของที่บ้านจะเน้นกระจายกว่า ผลตอบแทนไม่หวังมาก ถือ 5-6 ตัวขึ้นไป พอร์ตส่วนตัวก็จะถือน้อยกว่า 5-6 ตัวลงไป เน้นโฟกัสกว่า
คุณวิบูลย์
o เขียนบทความลงหนังสือพิมพ์ รวยได้ไม่ง้อมรดก โดยส่วนตัวไม่มีมรดก สิ่งที่ได้คือการศึกษา ต้องสร้างเงินขึ้นมาเอง จะต่างจาก Gen Y ที่สัมผัสได้ พวกหลานๆลูกพี่ชาย ทำงาน 1-2 ปี ทำงานเบื่อแล้วลาออก นั่งเล่นอยู่บ้าน รุ่น Gen X ไม่ได้ ลาออกบ้านรถถูกยึด ลูกเมียลำบาก ดังนั้นทัศนคติไม่เหมือนกัน เงินลงทุนเก็บแต่ละเดือนเงินเดือนไม่กี่หมื่นบาท ก็เก็บเงินมาลงทุนไปเรื่อย พอมาเจอ value investing พอร์ตก็เติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ
o ดร.ไพบูลย์ มีคนมาให้บริหารพอร์ตไหม?
ดร.นิเวศน์ ไม่มี และไม่รับด้วย เราไม่ได้ทำเป็นอาชีพ ถ้าบริหารพอร์ตตัวเองความคิดจะชัดเจน ตัดสินใจด้วยตัวเองอย่างอิสระ แต่ถ้ามีคนอื่นมีส่วนเกี่ยวข้องมีความกดดันก็จะเหมือนผู้บริหารกองทุนทั้งหลาย จะทำให้เราคิดอีกแบบ มีความรับผิดชอบ ขาดทุนนานๆไม่ได้ เราก็จะเพี้ยนไป
ดร.นิเวศน์ รุ่นสมัยก่อนเงินเดือนออกมาก็ต้องเลี้ยงพ่อแม่ แทบจะไม่มีเงินลงทุน แต่รุ่นนี้จบมาก็ไม่ต้องเลี้ยงพ่อแม่ เริ่มต้นได้ง่ายกว่า Gen Y สบายไม่ต้องเลี้ยงใครยังเอาเงินพ่อแม่ไปลงทุนได้ คนรุ่นใหม่ก็อาจจะลงทุนอีกแบบ เจ๊งก็ไม่เป็นไร ไม่ได้แคร์สังคมอะไรมาก ตอนสมัยนั้นจบมา 3 เดือนไม่มีงาน ไม่กล้าเข้าสังคม ต่างกันสิ้นเชิง สมัยนี้เรียนจบกลับมาก็ใช้ชีวิตก่อน ถ้าไม่มีงานก็เป็นฟรีแลนซ์
สมัยนั้นจะเอาเงินไปเสี่ยงก็ต้องขึ้น จะไปซื้อบ้านซื้อรถไม่เหมือนกัน 10 ปีแรกแทบไม่มีเงิน ได้แต่ความรู้ ถ้าไม่มีความรู้โชคก็ไม่เกิด แต่ที่บอกลงทุนในความรู้ยังไงก็คุ้ม ไม่แน่ มีเพื่อนบางคนก็ยังไม่ได้มีเงินมากมายนัก เป็นอาจารย์ ความรู้อาจจะให้ผลตอบแทนด้านอื่นแต่ไม่ใช่ด้านเงิน ความรู้บางอย่างก็ไม่ได้ทำเงิน
• ดร.ไพบูลย์ เสริมคนที่เรียนปริญญาเอก ยิ่งในยุคเก่าก็จะเป็นคนที่มีความเป็นครูบาอาจารย์ ไม่ได้เน้นเงินทอง ถ้าความร่ำรวยถ้ามาก็ช่วยไม่ได้ ดร.นิเวศน์ถ้าไม่ลงทุนตอนนี้ก็ไม่ร่ำรวยหรอก
o ดร.นิเวศน์ ก็จริง คิดว่าคงอยู่ได้ตามอัตถภาพ แต่ก็นึกภาพไม่ออกว่าจะเป็นอะไรแต่คงอยู่ได้แบบคนส่วนใหญ่
อ.เสน่ห์ ลูกเป็นคน Gen Y แบ่งเงินให้ลูกบริหารบ้างไหม?
o ดร.นิเวศน์ ก็ตั้งความหวังไว้ รู้สึกว่าไม่สามารถบังคับหรือทำให้เขาเป็นอย่างไร ลูกบางทีก็ไม่เหมือนพ่อแม่ ความคิดนิสัยก็เป็นของเขา ลูกบัฟเฟตต์ก็ไม่ได้มีใครสนใจลงทุน ไม่ได้มีเหตุผลที่เขาต้องเป็นนักลงทุน ชีวิตเขามีสิ่งที่ชอบกว่า อย่างน้อยก็คงต้องสอนให้รู้จักรักษาและเติบโตไปตามสมควรแบบปลอดภัย
o ดร.ไพบูลย์ ให้ลูกบริหารต่อ ตอนนี้ไปเรียนต่ออยู่
ถ้าจะขายหุ้น จะขายเพราะอะไร เมื่อไร?
คุณวิบูลย์
o หลายคนเข้าใจผิดว่า VI ซื้อหุ้นต้องถือตลอดชีวิตไม่ขาย อย่างบัฟเฟตต์ขายหุ้น ล่าสุดขายไป 2 บริษัท ขาดทุนไปหลายหมื่นล้านบาท บ.เทสโก้ ถือมา 4-5 ปี ซึ่งปีก่อนพบว่ามีการตกแต่งบัญชี ceo ถูกไล่ออก ผลประกอบการสู้คู่แข่งไม่ได้ เขาก็ออกมาบอกว่าขายช้าไป อีกตัวหนึ่งที่ขายคือ exxon mobil ซ้อมาก่อน วิกฤติ subprime ราคาน้ำมันจาก 100$ เหลือ 50$ ก็ขายทิ้ง
o ถ้าผ่านมาสักระยะวิเคราะห์ผิด หุ้นไม่ได้ดีอย่างที่คิด กับ อีกอย่างคือ ถือมาสักระยะแล้วผลดำเนินงานไม่ได้อย่างที่คิดก็ขายออกไป อย่างที่สาม ตอนที่ซื้อมูลค่ากิจการเท่าไร พอขึ้นไปถึงมูลค่าที่ตั้งใจไว้ก็ขายออกมา อย่างเช่น petro china ซื้อหุ้นตอนปี 2000 กว่า หุ้นจีนบูมขึ้นมา ซื้อ 2 แสนล้านเหรียญ ประเมินไว้ 4 แสนล้านเหรียญ ราคาขึ้นไปถึง 8 แสนล้านเหรียญ เห็นราคาขนาดนี้ก็ขายออกไป แต่สรุปแล้วก็ยังขึ้นไปต่อ
o มีอีกอย่างคือ ขายหุ้นเพื่อไปซื้อหุ้นที่ดีกว่า
คุณณัฐชาต
o ที่คุณวิบูลย์ตอบครอบคลุมแล้ว ขอเสริมว่า จะดูหุ้นที่มีในพอร์ต ถ้ามีหุ้นตัวใดสัดส่วนเยอะเกินไป ก็จะขายเพื่อลดสัดส่วน ไม่ให้ขึ้นกับตัวใดตัวหนึ่งมากไป
อ.เสน่ห์กล่าวปิดท้าย generation แต่ละรุ่นต้องมีความลงตัวด้วยกัน รุ่นต่อรุ่นมีความแตกต่าง
• คน gen B มีความอึดยึดอนุรักษ์ ทำงานหนัก สร้างฐานะ ปรับจากเห็น คน gen x สบายขึ้น ฟื้นรำเค็ญ ใช้เงินเป็นทำงานเก่งเร่งอัตรา คน Gen Y สบายดี เทคโนโลยีช่วย ลูกคนรวยได้เรียนสูง มุ่งก้าวหน้า คน gen M อิสระ อุ๊อ๊ะฮา ดิจิตอลทุกเวลา หลั่นล๊าจัง หลากหลายวัย หลายหลาย Gen เห็นประโยชน์ รวมเป็นโคตรสืบสกุล รุ่นความหวัง รุ่นต่อรุ่นหนุนต่อก่อพลัง ความมั่งคั่งยังส่งต่อขอบอกเอย
Money talk at SET ครั้งต่อไป 25 เมษายน 58
เปิดจอง 18 เมษายน 7 โมงเช้า
หัวข้อ 1 บริษัทจดทะเบียน (หมอเค, ดร.ไพบูลย์)
1.SAWAD
2.JUBILIE
3.TVD
4.SCN
หัวข้อ 2 เศรษฐกิจและหุ้นไทยจะไปไหวหรือ (ดร.ไพบูลย์, อ.เสน่ห์)
1.ดร.กอบศักดิ์
2.คุณมนตรี ศรไพศาล
3. ดร.นิเวศน์
สุดท้ายขอบพระคุณอ.ไพบูลย์,พิธีกร,วิทยากร, ทีมงาน money talk และผู้สนับสนุนทุกท่าน
ขาดตกบกพร่องรบกวนช่วยเสริมได้ครับ ขอบคุณครับ
Go against and stay alive.
-
- Verified User
- โพสต์: 17
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET14Mar2015เจาะหุ้นเด่นDigital&กลยุทธ์วีไอหลา
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณ ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 577
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET14Mar2015เจาะหุ้นเด่นDigital&กลยุทธ์วีไอหลา
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับ
"สิ่งจำเป็นอย่างแท้จริงคือ กรอบความคิดอันสมเหตุสมผล สำหรับการตัดสินใจในการลงทุน รวมถึงความสามารถในการป้องกันไม่ให้อารมณ์ มีโอกาสเข้ามากัดกร่อนความคิดดังกล่าว"
-
- Verified User
- โพสต์: 345
- ผู้ติดตาม: 0
Re: MoneyTalk@SET14Mar2015เจาะหุ้นเด่นDigital&กลยุทธ์วีไอหลา
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณครับพี่บิ๊ก
Facebook Page: VI10x:
https://www.facebook.com/vi10x
https://www.facebook.com/vi10x
- kongkiti
- Verified User
- โพสต์: 5830
- ผู้ติดตาม: 2
Re: MoneyTalk@SET14Mar2015เจาะหุ้นเด่นDigital&กลยุทธ์วีไอหลา
โพสต์ที่ 15
ละเอียดยิบเลย ขอบคุณคับ
“Its like a finger pointing away to the moon. Don't concentrate on the finger
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530
or you will miss all that heavenly glory.”- Bruce Lee
FAQs เกี่ยวกับแนวทางลงทุนแบบ VI
Blog ใหม่ >> https://www.blockdit.com/articles/5d733 ... 270d7b530