เราจะสร้างประชาธิปไตยได้อย่างไร/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

ล็อคหัวข้อ
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

เราจะสร้างประชาธิปไตยได้อย่างไร/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

   คงไม่มีห้วงเวลาใดที่ดิฉันมีความสนใจอยากทราบว่าประชาธิปไตยในประเทศอื่นๆในโลกนี้เป็นอย่างไร เท่าห้วงเวลานี้ โดยเฉพาะวันพรุ่งนี้ (10 ธันวาคม) เป็นวันรัฐธรรมนูญ หลังจากที่เราได้รับพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรกมาแล้ว 81 ปี
	ความสนใจใคร่รู้ทำให้ดิฉันเสาะหาข้อมูลและพบงานเขียนและบรรยายของศาสตราจารย์ แลรี ไดมอน (Larry Diamond) แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ท่านเป็นศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยาและรัฐศาสตร์ ซึ่งศึกษาเรื่องประชาธิปไตยเปรียบเทียบ และได้ให้คำแนะนำกับประเทศอิรักไว้มากมาย ในการสร้างประชาธิปไตยในประเทศหลังจากสิ้นสุดยุคเผด็จการที่นำโดยอดีตประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซ็นซึ่งกินเวลามายาวนานถึง 27 ปี 
	บทความในวันนี้จึงขอนำข้อเขียนและการบรรยายเรื่อง “What Is Democracy?” “What Civil Society Can Do to Develop Democracy” และบทคัดย่อของหนังสือ“Developing Democracy: Toward Consolidation” ซึ่งท่านเขียนและแนวคิดของท่านซึ่งปรากฏอยู่ในประวัติ มาเล่าสู่ท่านผู้อ่านที่อาจมีความสงสัยเช่นเดียวกับดิฉัน
	ต่อคำถามที่ว่า “ประชาธิปไตยคืออะไร” ศาสตราจารย์ ไดมอนกล่าวสรุปไว้ว่าคือ รัฐบาลที่มี 4 องค์ประกอบคือ
   1.ระบบการปกครองที่คัดเลือกและเปลี่ยนรัฐบาลผ่านการเลือกตั้งที่เสรีและยุติธรรม โดยประชาชนเลือกผู้นำและทำให้ผู้นำต้องรับผิดชอบต่อนโยบายและการดำเนินงาน ในระบอบประชาธิปไตยนี้ประชาชนคือรัฐ และเป็นผู้มีอำนาจทางการเมืองในรูปแบบที่สูงสุด
   2.การมีส่วนร่วมอย่างตื่นตัวทั้งในการเมืองและในชีวิตพลเรือนของประชาชนในฐานะพลเมือง อาจารย์กล่าวว่าบทบาทหลักของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยคือการมีส่วนร่วมในวิถีสาธารณะ พลเมืองต้องมีหน้าที่ผูกพันที่จะต้องรับทราบเรื่องเกี่ยวกับสาธารณะ ต้องจับตาดูผู้นำทางการเมืองและตัวแทนของผู้นำเหล่านั้นว่ามีการใช้อำนาจอย่างไร และต้องแสดงออกซึ่งความเห็นและความสนใจ รวมถึงมีหน้าที่ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยลักษณะการลงคะแนนที่ฉลาดจะเกิดจากการรับฟังนโยบายของพรรคต่างๆและของผู้สมัครเพื่อตัดสินใจลงคะแนนว่าจะสนับสนุนใคร
   3.การปกป้องสิทธิมนุษยชนของพลเมืองทุกคน ในระบอบประชาธิปไตย พลเมืองมีสิทธิพื้นฐานในระดับหนึ่งที่รัฐไม่สามารถลิดรอนได้ เช่น สิทธิในการเชื่อ ในการพูด การเขียน ในการคิด ในการนับถือศาสนา ในการสื่อสาร ในการเข้ารวมกลุ่ม หรือเข้าเป็นสมาชิก ในการชุมนุม และในการประท้วงการกระทำของรัฐบาล
   4.มีหลักกฎหมาย ที่ทั้งตัวกฎหมายและกระบวนการ ถูกนำมาใช้อย่างเท่าเทียมกันสำหรับพลเมืองทุกคน  ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบบที่ปกครองโดยกฎหมาย กฎหมายจะปกป้องสิทธิของพลเมือง ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยและกำหนดขอบเขตอำนาจของรัฐบาล ทั้งนี้หลักกฎหมายจะจำกัดอำนาจของรัฐบาล และไม่มีข้าราชการคนใดสามารถฝ่าฝืนข้อจำกัดนี้ได้ ทั้งนี้รัฐมนตรีหรือพรรคการเมืองไม่สามารถสั่งศาลให้ตัดสินคดีให้เป็นอย่างนี้อย่างนั้นได้
   ถ้าต้องการให้ประชาธิปไตยทำงาน พลเมืองไม่เพียงแต่จะต้องมีส่วนร่วมและใช้สิทธิ์เท่านั้น แต่ยังต้องเฝ้าดูการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และหลักการประชาธิปไตยด้วย ประชาชนต้องไม่ใช้ความรุนแรงต่อคู่ต่อสู้ทางการเมือง เพียงเพราะมีความเห็นแตกต่าง ไม่ควรจะเห็นคู่แข่งทางการเมืองเป็นปีศาจ หรือมีความไม่ถูกต้องเพียงเพราะมีความเห็นแตกต่าง
   พลเมืองทุกคนต้องเคารพสิทธิของเพื่อนร่วมชาติและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของพวกเขาด้วย 
   ต้องเข้าใจว่าในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนไม่สามารถจะได้ทุกอย่างที่ต้องการได้ ประชาธิปไตยจึงต้องการการประนีประนอม กลุ่มที่มีความเห็นแตกต่างจึงต้องนั่งประชุมและเจรจาต่อรองกัน ไม่มีกลุ่มไหนได้ทุกอย่างที่ต้องการ บางกลุ่มชนะในบางเรื่อง กลุ่มอื่นชนะอีกบางเรื่อง เมื่อเวลาผ่านไป ทุกคนจะชนะอะไรบ้างบางอย่าง
	ประชาชนควรจะมีสิทธิพูดและแสดงความเห็นว่าอยากให้นำพาประเทศไปในทิศทางไหน
	ศาสตราจารย์ไดมอนเชื่อว่าคำตอบของการพัฒนาประชาธิปไตย คือการแก้ธรรมาภิบาลของประเทศ ไม่ใช่การแก้ไขเศรษฐกิจ โดยกล่าวไว้ว่า ประสิทธิภาพของรัฐบาลเป็นปัญหาแรก ถ้ารัฐบาลไม่สามารถสร้างระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ปลอดภัยและมีความเท่าเทียมได้แล้ว การส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจใดๆก็จะไม่มีความหมาย โดยได้ยกตัวอย่างประเทศเคนยา ซึ่งอดีตประธานาธิบดี Kibaki ได้นำประเทศเคนยาให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง แต่ล้มเหลวที่จะแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นซึ่งนำไปสู่ข้อกล่าวหาโกงการเลือกตั้งในปี 2007 และนำไปสู่ความรุนแรง
	ท่านยังเชื่อว่าหากธรรมาภิบาลไม่ถูกพัฒนาในประเทศประชาธิปไตย คนจะหันไปหาทางเลือกในระบอบเผด็จการอื่นๆและนำไปสู่การเป็นรัฐที่หาประโยชน์จากกันและกัน (predatory states)และสังคมที่หาประโยชน์จากกันและกัน คือคนไม่ได้มีความมั่งคั่งขึ้นและชีวิตที่ดีขึ้นจากวิธีการที่ทำให้ทั้งประเทศดีขึ้น แต่มั่งคั่งจากการเอาเปรียบและหาประโยชน์ผ่านอำนาจและอภิสิทธิ์ โดยเบียดบังจากรัฐและทำให้อำนาจของกฎหมายลดลง ดังนั้น เพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นรัฐหาประโยชน์จากกันและกัน ต้องมีการสร้างสถาบันต่างๆเพื่อควบคุมและจัดระเบียบ
	สำหรับแนวทางการสร้างประชาธิปไตยนั้น ศาสตราจารย์ไดมอนค้นพบว่า คลื่นลูกที่สามของประชาธิปไตยของโลก(ที่ทำให้ประเทศต่างๆหันมาเป็นประชาธิปไตย) ซึ่งเริ่มในปี 1974 ได้มาถึงจุดสิ้นสุดแล้ว โดยก่อให้เกิดช่องว่างระหว่างประชาธิปไตยในรูปแบบของการเลือกตั้ง กับประชาธิปไตยในแก่นแท้ ที่กว้างขึ้น  ท่านชี้ว่าประชาธิปไตยใหม่และประชาธิปไตยที่มีปัญหาในหลายประเทศต้องมีการปรับปรุง โดยจะต้องทำให้ประชาชนมีประชาธิปไตยมากขึ้น มีเสรีขึ้น รัฐต้องรับผิดชอบเพิ่มขึ้น และต้องตอบสนองประชาชนมากขึ้น 
   จากการศึกษาประเทศคอมมิวนิสต์ที่เปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตย ศาสตราจารย์ไดมอนได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของความมีอิสรภาพ ความโปร่งใส และหลักกฎหมาย ในการรักษาประชาธิปไตยไว้ให้ยั่งยืน ซึ่งเป็นคลื่นลูกที่สี่ของประชาธิปไตยว่ากำลังเกิดขึ้น
   จากการศึกษารูปแบบของประเทศประชาธิปไตยใหม่ในเอเชียตะวันออกคือ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ ไทย และมองโกเลีย ประเทศประชาธิปไตยพัฒนา คือ ญี่ปุ่น และ ประเทศที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยคือจีนและฮ่องกง ท่านพบว่าประชาชนให้คุณค่ากับเสรีภาพมาก ในขณะที่เกลียดชังระบอบเผด็จการ ทั้งนี้ ประเทศประชาธิปไตยใหม่ยังต้องพิสูจน์ตัวเองอีกพักใหญ่ เพราะยังมีคำถามและความไม่เข้าใจในประชาธิปไตยอยู่มากในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกกลุ่มนี้
[/size]
ลูกหิน
Verified User
โพสต์: 1217
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะสร้างประชาธิปไตยได้อย่างไร/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะสร้างประชาธิปไตยได้อย่างไร/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมาก ครับ


ส่วนตัวผม มีความสนใจชุดความคิด ที่ผมพบเห็นค่อนข้างชัด 2 กรณี ที่สัมผัสได้จากสื่อ หรือจากการฟังการพูดคุย

1. ถือตนว่าเป็นปัญญาชน คนเมือง (มีความรู้มากกว่า) กับอีกฝ่ายหนึ่ง ว่ามีความรู้ด้อยกว่า(รับรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงได้น้อยกว่า)
2. ถือตนว่า ตนมีฐานะความเป็นอยู่ดีกว่า กับ อีกฝ่ายมีฐานะที่ด้อยกว่า (มีความจนอยู่มาก)

ทั้งสองกรณี ฝ่ายที่ด้อยกว่า บ่อยครั้ง มักถูกอีกฝ่าย ดูถูกหรือถูกกล่าวหา เช่น โง่กว่า ความรู้น้อย ถูกหลอกง่าย พัวพันการซื้อสิทธิการขายเสียง เป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ระบอบประชาธิปไตยเสียหายหรือขาดคุณภาพ บางคนถึงขั้นว่า สังคมไทยยังไม่พร้อมสำหรับระบอบนี้

เริ่มมีความสงสัยว่า ชุดความคิดชุดแบบนี้ ทำให้เกิดการบิดเบี้ยวในระบอบประชาธิปไตยของบ้านเราขณะนี้ หรือไม่? ที่ฝ่ายหนึ่งกำลังส่งข้อความหรือสัญญานว่า 1 คน 1 สิทธิ 1 เสียง นั้นไม่ยุติธรรมสำหรับเขา แล้วเริ่มให้ความสำคัญสิทธิของอีกฝ่ายลดลง(กล่าวหาว่าขาดคุณภาพ) จนเกิดมีคำถามสงสัยว่า ถ้าเกิดแบบนี้ ฝ่ายไหนกันแน่ ที่ทำให้มันเกิดการบิดเบี้ยว แล้วจะแก้ไขอย่างไร

ผมคิดว่า ถ้าทุกคนความเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน(ว่าทุกๆคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน) แล้วเกิดความกลัวว่า การใช้สทธิของอีกคนจะมีคุณภาพดีไม่เท่ากับของตนเอง(ทำให้ส่วนของตนเองหรือของส่วนรวมเกิดความสูญเสีย) ด้วยสาเหตุเช่น มีความรู้น้อยกว่า มีความจนมาก ก็ควรเป็นหน้าที่ของฝ่ายที่กลัว(ฝ่ายที่มีมากกว่า)ไปส่งเสริม ถ่ายทอด เปิดโอกาส หรืออื่นๆ ให้ฝ่ายที่มีด้อยกว่าได้มีโอกาสเข้าถึงในสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นขาด ได้ง่ายขึ้น ได้สะดวกขึ้น ไม่ใช่แก้ด้วยการไปลิดรอนสิทธิเสียงของอีกฝ่ายที่มีด้อยกว่า(ให้ความสำคัญลดลง) แต่ด้วยการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน 1 คน 1 สิทธิ 1 เสียง จึงน่าจะเป็นความสวยงามของระบอบประชาธิปไตยที่ช่วยส่งเสริมให้คุณภาพสังคมที่ดีขึ้นมากกว่า

เป็นความเห็นและมุมมองส่วนตัว อาจไม่ถูกใจของหลายท่านก็ได้ ก็ต้องขอออภัย ครับ
yoko
Verified User
โพสต์: 4337
ผู้ติดตาม: 0

Re: เราจะสร้างประชาธิปไตยได้อย่างไร/วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

บทความนี้เป็นเรื่องการเมือง ถ้าเราวิจารณ์กันมาก ผู้ดูแลเว็ปจะปวดหัวนะ555
ล็อคหัวข้อ