ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
Thai VI Article
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1593
ผู้ติดตาม: 2

ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

   ปี พ.ศ.2555 นี้ ถือได้ว่าเป็น “ปีทอง” อีกปีหนึ่งของตลาดหุ้นไทย จากดัชนีช่วงต้นปีที่ประมาณ 1,025 จุด ค่อยๆไต่ระดับขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปลายปีดัชนีตลาดหุ้นมาอยู่ที่ 1,300 กว่าจุด เพิ่มขึ้นกว่า 300 จุด ถ้าวัดผลตอบแทนโดยอิงดัชนีตลาดหุ้นจากต้นปีถึงปลายปี จะพบว่าการลงทุนในตลาดหุ้นไทยปีนี้ให้ผลตอบแทนสูงถึง 30 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ยังไม่รวมผลตอบแทนจากเงินปันผลอีกประมาณ 3-4 เปอร์เซ็นต์ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท
   ภาวะที่ตลาดหุ้นไทย “คึกคัก” และผลตอบแทนของตลาดหุ้นไทยโดยรวม “ดูดี” น่าจะทำให้นักลงทุนทุกคน “มีความสุข” กันทั่วหน้า แต่ในความเป็นจริงก็มีนักลงทุนส่วนหนึ่งที่ยัง “เป็นทุกข์” กับการลงทุน บางคนเป็นทุกข์ทั้งๆที่ได้กำไร แต่เนื่องจากได้กำไรไม่มากเท่าที่คาดหวังไว้ หรือไม่มากเท่าที่คนอื่นๆได้รับ บางคนเป็นทุกข์เนื่องจากผลตอบแทนเสมอตัว ไม่ขาดทุนแต่ก็ไม่ได้กำไร ทั้งๆที่ตลาดหุ้นเป็นขาขึ้น บางคนเป็นทุกข์เนื่องจากผลตอบแทนติดลบ แทนที่เงินลงทุนจะงอกเงยกลับหดหาย  
   แต่ไม่ว่าผลตอบแทนจากการลงทุนในปี 2555 จะเป็นเช่นไร ก็ต้องถือว่าเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งเราคงไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ สิ่งที่ควรจะทำก็คือ การนำสิ่งที่ผ่านมาเก็บไว้เป็นบทเรียนเพื่อที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต และเพื่อจะได้ไม่ต้อง “เป็นทุกข์” กับการลงทุนในปีต่อๆไป ผมขอนำแนวทาง “ลงทุนอย่างไรไม่ให้เป็นทุกข์” มาฝากกันครับ                    
   - เงินที่นำมาลงทุนควรเป็น “เงินเย็น” ซึ่งเป็นเงินที่กันเอาไว้สำหรับการลงทุนจริงๆ ไม่ใช่เงินที่คิดว่าจะนำไปใช้ในระยะเวลาอันใกล้ สาเหตุหนึ่งที่นักลงทุนหลายๆคน “เป็นทุกข์” ก็เพราะการนำเงินที่จะใช้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้ามาลงทุนซื้อหุ้น โดยคิดว่าจะสามารถทำกำไรได้ง่ายๆในระยะเวลาสั้นๆ แต่ไม่ได้เผื่อใจไว้ว่าตลาดหุ้นมีความผันผวนอยู่เสมอ ถ้าช่วงเวลาที่จะต้องใช้เงิน เป็นจังหวะเวลาเดียวกับที่หุ้นกำลังตก ก็หมายความว่าเราจะต้องยอมขายขาดทุนเพื่อให้ได้เงินไปใช้ตามกำหนด นอกจากนี้เงินลงทุนที่เป็น “เงินกู้ยืม” ซึ่งมีกำหนดเวลาและมีดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ก็ถือว่าเข้าข่ายเดียวกัน ทางที่ดีเราควรจะลงทุนแต่พอตัว และมีการจัดสรรสัดส่วนเงินลงทุนให้เหมาะสม เพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์กับความผันผวนของตลาดหุ้น   
   - อย่าลงทุนตามคนอื่น ไม่ว่าเขาจะเป็น “เซียนหุ้น” หรือไม่ก็ตาม เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าข้อมูลที่เขานำมาบอกเรานั้นถูกต้องหรือไม่ ถ้าข้อมูลที่เขาบอกเราเป็นข้อมูลที่ผิดแล้วเราลงทุนตามเขาไป การลงทุนของเราก็อาจเสียหายได้ หรือหากข้อมูลของเขาถูกต้อง แต่การลงทุนตามเขาก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี เพราะต้นทุนที่เขาซื้ออาจจะต่ำกว่าเรามาก เขาจึงอยู่ในฐานะที่ได้เปรียบกว่าเรา และที่สำคัญก็คือ เมื่อตอนที่เขาตัดสินใจขายหุ้นทิ้งไป เขาอาจจะไม่ได้บอกเรา เพราะฉะนั้นหนทางที่ดีที่สุดก็คือการตัดสินใจลงทุนด้วยตัวเอง
   “ปีเตอร์ ลินซ์” ให้คำแนะนำไว้ว่า “เมื่อคุณตัดสินใจที่จะลงทุนด้วยตัวเอง คุณจะต้องเลิกฟังข่าวลือ คำแนะนำจากโบรกเกอร์ และหุ้น “ห้ามพลาด” ตัวล่าสุดจากหนังสือพิมพ์เล่มโปรด คุณต้องวิเคราะห์ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องสนใจแม้จะเป็นหุ้นที่คุณได้ยินมาว่า ปีเตอร์ ลินซ์ หรือเซียนหุ้นบางคนกำลังซื้ออยู่”
   - อย่าโลภเกินความรู้ การลงทุนในหุ้นของกิจการที่เราไม่มีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ หรือลงทุนในอุตสาหกรรมที่เราไม่มีความเชี่ยวชาญ อาจนำมาซึ่งความเสียหายให้กับเราได้ “ความเสี่ยงมาจากการที่คุณไม่รู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่” นั่นคือคำพูดที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” กล่าวเตือนนักลงทุน “การลงทุนจะต้องมีเหตุมีผล หากคุณไม่สามารถเข้าใจมันได้ ก็อย่าไปลงทุนกับมัน” เพราะฉะนั้นควรเลือกลงทุนเฉพาะสิ่งที่อยู่ใน “ขอบเขตแห่งความรู้ความสามารถ” (Circle of Competence) ของตัวเอง ถ้าเรารู้จักสิ่งที่เราลงทุนเป็นอย่างดี เราก็จะลงทุนอย่างมีความสุข 
   - อย่าเปรียบเทียบผลตอบแทนของการลงทุนกับผู้อื่น เนื่องจากศักยภาพของแต่ละคนไม่เท่ากัน ถ้าหากนำมาเปรียบเทียบกันว่า คนนี้ทำได้มากกว่า คนนั้นทำได้ดีกว่า ก็อาจทำให้เรา “เป็นทุกข์” ได้ จะเป็นการดีกว่าถ้าไม่ต้องไปคิดเปรียบเทียบหรือแข่งขันกับใคร แต่ให้แข่งขันกับตัวเองว่าเราสามารถทำได้ดีขึ้นกว่าเดิมมากน้อยแค่ไหน และจะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้อย่างไร การที่เราสามารถเอาชนะตัวเองได้ก็ถือว่าเรา “ประสบความสำเร็จ” แล้ว  
   “เจสัน ซวีจ” ได้แสดงความคิดเห็นไว้อย่างน่าสนใจในบทเสริมของหนังสือ “The Intelligent Investor” (ผลงานของ “เบนจามิน เกรแฮม” แปลเป็นไทยโดย “คุณพรชัย รัตนนนทชัยสุข”) ว่า “เป้าหมายของการลงทุนไม่ใช่การได้เงินมากกว่าระดับเฉลี่ย แต่เป็นการได้เงินในจำนวนที่มากพอต่อความต้องการของคุณต่างหาก วิธีที่ดีที่สุดในการวัดความสำเร็จทางการลงทุนของคุณ ไม่ใช่การวัดว่าคุณชนะตลาดได้หรือไม่ แต่เป็นการดูว่า คุณมีแผนการลงทุนและวินัย ซึ่งจะนำคุณไปสู่จุดหมายที่คุณต้องการแล้วหรือไม่ต่างหาก จุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าคุณไปถึงเส้นชัยก่อนคนอื่นหรือเปล่า แต่อยู่ที่คุณไปถึงเส้นชัยหรือไม่”
   ท้ายที่สุดนี้ ในวาระ “ส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่” ผมขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายโปรดอำนวยอวยพรให้ท่านผู้อ่านทุกๆท่านมีความสุขกับชีวิต, การงาน และการลงทุน ตลอดปีใหม่ 2556 และตลอดไปครับ
[/size]
wyn
Verified User
โพสต์: 170
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
tigerroad197
Verified User
โพสต์: 390
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
yy
Verified User
โพสต์: 6427
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
ชอบข้อเขียนของคุณประภาคารคราวนี้มากๆเลยครับ
แต่ที่ชอบมากเป็นพิเศษ ... คือ 2 ข้อสุดท้ายครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
neuhiran
Verified User
โพสต์: 815
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
kraikria
Verified User
โพสต์: 1161
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เตือนสติได้ดีมาก ขอบคุณครับ
BEHAPPY12
Verified User
โพสต์: 2
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ขอบคุณครับ
gwirat
Verified User
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
harikung
Verified User
โพสต์: 2232
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ชอบคุณมากครับ ผมเป็นหนึ่งในคนที่ผิดหวังกับตัวเองสุดในปีที่ผ่าน ได้อ่านบทความรู้สึกมีประโยชน์มากๆครับ
chat975
Verified User
โพสต์: 7
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างไรไม่ให้ทุกข์/ประภาคาร ภราดรภิบาล

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณสำหรับบทความครับ

สูงสุดของการลงทุนคือ "ความสุขในการลงทุน" ผมเชื่อว่าเป็นเป้าหมายตั้งต้นที่เกือบทุกคนคิดแบบนี้ แต่เมื่อเข้ามาในตลาดเงินตลาดทุนแล้ว สิ่งต่างๆ ทำให้เป้าหมายตรงนี้แปรเปลี่ยนไป.. เพราะเราอยู่ในตลาดที่เต็มไปด้วยความโลภ ความคาดหวัง-ความเชื่อ ความจริง-ความเท็จ ฯลฯ สิ่งเร้าเหล่านี้ อาจทำให้หลายๆ คนรวมทั้งตัวผมลืมจุดมุ่งหมายในตอนเริ่มต้นไป ผลงานโดยรวมในปี 2555 ยอมรับครับว่าแพ้ตลาด แต่ก็ไม่ขาดจนเกินไป (ซึ่งในบางปีอื่นๆ ก็มีบ้างที่ชนะตลาด) และก็ทำให้มีความรู้สึกแบบดังที่ผู้เขียนบทความว่าเอาไว้.. หลังจากที่ได้อ่านบทความก็เหมือนได้เตือนสติตัวเองอีกครั้ง..

จะคอยกลับมาอ่านบทความนี้อีกเป็นระยะๆ ครับ
โพสต์โพสต์