- สิทธิประโยชน์และหลักเกณฑ์ของ LTF -
อย่างที่ทราบกันดีว่า สิทธิประโยชน์ที่สำคัญของกองทุนรวมหุ้นระยะยาวหรือ LTF คือ "การประหยัดภาษี" โดยให้สิทธิลดหย่อนสูงสุดถึง 15% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และถ้ามีกำไรจากการลงทุนก็ยังได้รับสิทธิประโยชน์ "ยกเว้นภาษี" อีกด้วย เพียงแต่ว่าต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ตามที่กฏหมายกำหนดไว้ คือ "ถือหน่วยลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี" และ "ห้ามนำหน่วยลงทุนไปโอน จำนำ เพื่อใช้เป็นหลักประกัน"
- ถือ LTF จนครบกำหนดแล้ว จะเอาไงต่อดี? -
ทันทีที่เราถือ LTF จนครบ 5 ปีตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว เราก็สามารถขายหน่วยลงทุนตอนไหนก็ได้ครับ (ยกเว้นวันที่บลจ. ปิดทำการ แหะๆ) ซึ่งเวลาที่เราขายหน่วยลงทุนแล้วมี "กำไร" ก็จะได้รับ "ยกเว้นภาษี" เช่นเดียวกันครับ
แต่บางคนถือมาครบกำหนด 5 ปี แล้ว แต่ยังไม่พอใจกับกำไรที่ได้รับ หรือว่ายัง "ติดดอย" อยู่ ก็สามารถที่จะถือต่อไปได้นะครับ ไม่ได้บังคับว่าเมื่อครบ 5 ปีแล้วจะต้องขายทันที จะขายปีที่ 6,7,8,9,10 (ปีไหนก็ได้) หรือถ้าหากใครคิดที่จะเก็บไว้ตลอดชีวิต ก็ยังได้เลยคร้าบบบ
นอกจากนั้น สำหรับคนที่คิดว่าจะถือ LTF เกินกว่า 5 ปีนั้น ไม่สามารถที่จะนำหน่วยลงทุนส่วนนี้มาถือเป็นยอดซื้อของปีที่ 6 หรือเริ่มต้นนับใหม่เป็นปีที่ 1 เพื่อลดหย่อนภาษีอีกรอบหนึ่งได้นะครับ เนื่องจากต้องเป็น "หน่วยลงทุน" ที่ได้ "ซื้อ" ในระหว่างปีเท่านััน จึงนำมาลดหย่อนภาษ๊ได้คร้าบ
- ขาย LTF แล้วไปไหน? -
เมื่อเราขายหน่วยลงทุน LTF ไปแล้ว จะได้รับหนังสือแสดงการขายคืนหน่วยลงทุนจากบลจ. แจ้งว่าให้นำ "กำไรจากการขาย" ไปกรอกเป็นรายได้ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด. 90 ประจำปีนั้่นๆ เนื่องจากกำไรจากการขายหน่วยลงทุนในกองทุนรวม LTF นั้น ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ซึ่งในแบบ ภ.ง.ด. 90 นั้น จะมีช่องสำหรับกรอกรายการกำไรที่ได้รับจากการขาย และถ้าหากกำไรในส่วนนี้เป็นกำไรที่ได้รับยกเว้นเนื่องจากปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย ก็อย่าลืมติ้กช่อง "ยกเว้น" ด้วยนะครับ
แต่โดยปกติของคนเรา เมื่อเห็นว่า "กำไร"จากการขายได้รับการยกเว้นแล้ว มักจะมองว่าไม่มีประโยชน์ที่จะนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เพราะว่า ยังไงๆ มันก็ "ยกเว้น" อยู่แล้วนี่ จะเอามารวมคำนวณทำไมให้เหนื่อย ขี้เกียจ ดีไม่ดี สรรพากรวิ่งเข้ามาหา ข้อหาที่มีรายได้เยอะ (ชั้นรวย แล้วมันหนักหัวใครฟระ - อันนี้มีหลายๆคนคงคิดในใจ 555)
ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์เงินเดือนบางคน ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่า ถ้ามีกำไรจากการขายส่วนนี้ จะให้ไปกรอกที่ไหนเล่า ก็ในเมื่อในแบบ ภงด.91 มันไม่มีให้กรอกนี่นา (เอิ่ม… เค้าให้กรอกรายได้ส่วนนี้ในแบบ ภ.ง.ด. 90 คร้าบบบบเจ้านายยยย)
ดังนั้น ในกรณีที่คุณเป็นมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้เพียงประเภทเดียว แต่ได้ซื้อกองทุน LTF เพื่อลดหย่อนภาษีมาโดยตลอด และได้ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ครบถ้วนแล้ว ในปีที่คุณขาย LTF แล้วมีกำไรนั้น จะต้อง "เปลี่ยน" จากแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด. 91 ที่เคยยื่นตามปกติ มาเป็นแบบแสดงรายการภ.ง.ด.90 แทน โดยต้องนำรายได้ (กำไร) ในส่วนนี้ไปกรอกในแบบแสดงรายการด้วย
- ยกเว้น แล้ว "ทำไม" ต้องเอามากรอกด้วยล่ะ -
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ผมคิดว่ามีหลายๆคนที่สงสัยว่า แล้วทำไมตรูจะต้องไปกรอกให้วุ่นวายทำไมด้วย แล้วถ้าไม่รวมจะผิดไหม ใครจะมาจับชั้นเล่า…
สำหรับคำถามนี้ ผมตอบได้ทันทีเลยครับว่า "ผิด" เนื่องจากกฎหมายได้ระบุให้แสดงรายการ "กำไร" แถมยังมีช่องให้กรอกเพื่อแสดงรายการไว้แล้วด้วย ดังนั้นถ้าใครเลือกที่จะไม่กรอกแบบแสดงรายการย่อมถือว่า "ผิดกฎหมาย" อยู่แล้ว
แต่ว่าความผิดนี้ จะโดนพี่สรร(พากร)ไล่บี้หรือไม่ อันนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ พี่ๆเค้าอาจจะไม่มาหาเพราะว่ารายได้ส่วนนี้ถือเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้น ซึ่งแปลว่าไม่ต้องเสียภาษีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นการเสียเวลาที่พี่สรร(พากร) จะเดินมาหาเรา เพื่อบอกว่่าเรายื่นรายได้ขาดเฉยๆโดยที่ไม่ได้รับภาษีติดมือกลับบ้านไป… แฮร่
ทั้งนี้่ทั้งนั้น พี่สรร(พากร) เค้าไม่ได้พลาดที่ไม่ได้มาหาคุณหรอกครับ แต่ตัวคุณเองนั่นแหละที่ กำลังพลาด "สิ่งสำคัญ" ซึ่งก็คือ "ประโยชน์ส่วนเพิ่มในการประหยัดภาษี" นั่นเองครับ
- สิทธิ์ลดหย่อนภาษีที่เพิ่มขึ้น สำหรับผู้ที่ขาย LTF ตามหลักเกณฑ์-
สิทธิ์ประโยชน์ที่ผมว่าไว้ เป็นผลมาจาก "กำไรจากขาย LTF ที่ทำให้สามารถ "ประหยัด" ภาษีได้เพิ่มขึ้น" (เอ๊ะ… ยังไงกัน!!!)
เนื่องจากประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 169) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข เพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้เท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้น ระยะยาว ข้อ 1 (1) ได้ระบุไว้ว่า
ถ้าเราตีความข้อกฎหมายนี้ดู จะเห็นว่า "เงินได้พึงประเมินที่ได้รับ" ควรจะหมายความรวมถึง "เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้น" ด้วยเช่นกัน เพราะตัวประกาศฉบับนี้ไม่ได้มีข้อความที่บอกว่า ห้ามนำเงินได้พึงประเมิน "ที่ได้รับยกเว้น" มารวมคำนวณ ถูกต้องไหมครับ?"ผู้มีเงินได้ต้องซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาวมีจำนวนรวมกันไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 500,000 บาท"
ดังนั้น ถ้าหากคุณมีรายได้ตามปกติ และดันมีกำไรจากการขาย LTF ด้วย เมื่อคุณนำ "กำไร" มากรอกแบบแสดงรายการ ย่อมแปลว่าสิทธิในการซื้อ LTF ของคุณย่อมเพิ่มขึ้นอีก 15% ตามไปด้วย
เพื่อไม่ให้งงกันไปกว่านี้ ลองมาดูตัวอย่างกันดีกว่าครับ ^^
สมมุติว่า ในปีนี้คุณมีเงินได้ (เงินเดือน) จำนวน 1,000,000 บาท และมีกำไรจากการขาย LTF อีก 200,000 บาท
เมื่อคุณนำกำไรจากการขาย LTF มาแสดงในแบบ ภ.ง.ด. 90 จะทำให้สิทธิในการซื้อ LTF เพิ่มขึ้น ดังนี้
เมื่อรวมกำไรจากการขาย LTF แล้ว ก็แปลว่า คุณจะได้รับสิทธิในการซื้อ LTF สำหรับปีนี้ เพิ่มขึ้นอีก 30,000 บาทฟรีๆ ลองนึกดูสิครับว่า ถ้าหากปัจจุบันคุณเสียภาษีในอัตรา 20% แปลว่า คุณก็จะสามารถประหยัดภาษีเพิ่มขึ้นได้อีก 6,000 บาท!!!กรณี "ไม่นำ" กำไรมารวม
- คำนวณจาก : 1,000,000 x 15% = 150,000 บาท
กรณี "นำ" กำไรมารวม
- คำนวณจาก : (1,000,000 + 200,000) x 15% = 180,000 บาท
อะแฮ่มมๆๆๆ ขอย้ำอีกทีนะครับว่า กำไรส่วนนี้ ต้องเป็น "กำไรจากการขาย" ที่ปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และเป็นกำไรที่เกิดขึ้นจากการขายจริง (ได้รับเงินสดจากการขาย) เท่านั้นนะครับ
เอาล่ะครับ ทีนี้ เริ่มมองเห็นประโยชน์ของยื่นแบบ ภ.ง.ด. 90 เพื่อแสดงรายการ "กำไรจากการขาย LTF" หรือยังล่ะครับ
- ท้าพิสูจน์โดยการกรอกแบบแสดงรายการ -
เมื่อมีสมมุติฐานว่าน่าจะเป็นไปได้ ผมเลยขอท้าพิสูจน์โดยทดลองกรอกรายการผ่านโปรแกรมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.90) สำหรับรอบบัญชีปี 2554 เลือกกรอกเฉพาะในส่วนของกำไรจากการขาย LTF ที่ได้รับยกเว้นเพียงอย่างเดียว จำนวน 400,000 บาท (กำหนดให้ราคาขาย 500,000 บาท ต้นทุนที่ซื้อมา 100,000 บาท)
1.กรอกแบบแสดงรายการ "กำไรจากการขาย" LTF ที่ได้รับยกเว้นจำนวน 400,000 บาท
2. สามารถกรอกค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวม LTF ได้เพิ่มขึ้นอีก 15% ของ "กำไรจากการขาย"
เมื่อลองกรอกดูจะเห็นโปรแกรมให้สิทธิในการกรอกค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF ในปีเดียวกัน เพิ่มขึ้นเป็น 60,000 บาท (400,000 x 15%) ดังนั้นย่อมแปลว่าสมมุติฐานที่ว่านี้เป็นความจริง และสามารถใช้ประหยัดภาษีได้จริงอย่างแน่นอนครับ
- แล้ว RMF ใช้ได้ไหม? -
แหะๆ เนื่องจากบทความนี้เป็นบทความที่ผมเขียนแบบสดๆ เมื่อเขียนใกล้ๆจบเลยนึกขึ้่นมาได้ว่า ในกรณีของ "กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ" หรือ "RMF" นั้นก็สามารถใช้หลักการเดียวกันครับ แต่ว่าอาจจะต้องดูในเรื่องของหลักเกณฑ์ที่แตกต่างกันกับ LTF บางเรื่อง แต่ถ้าหากทำถูกต้องแล้ว ผมขอ "ฟันเฟริม์ (ฟันธง + คอนเฟริม์)" ว่าสามารถใช้ได้แน่นอน โดยไม่ต้องใช้จิตสัมผัส เนื่องจากทดสอบด้วยตัวเองจริงๆ แบบไม่ใช้สลิงและไม่ได้ใช้คนแสดงแทน มาเรียบร้อยแล้ว (ฮา)
.
.
.
สุดท้ายนี้ ถ้าหากมีคนมากระซิบถามคุณว่า "LTF ขายแล้วไปไหน"
หันกลับไปตอบให้ไวเลยนะครับว่า "ขายไปแล้วก็เอามาลดหย่อนภาษีอีกรอบน่ะสิเธอว์"
ที่มา บล็อกภาษีข้างถนน