งานเข้ากรมสรรพากรอีกแล้ว เรื่องภาษีบุคคลธรรมดา
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
งานเข้ากรมสรรพากรอีกแล้ว เรื่องภาษีบุคคลธรรมดา
โพสต์ที่ 1
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... &subcatid=
ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15:28:30 น.
มติชนออนไลน์ได้เปิดประเด็นและเกาะติด ปัญหาภาษีสรรพากรที่ล้าหลังและไม่เสมอภาคระหว่างหญิงชาย จากกรณีที่ผู้หญิงมีสามีในการยื่นเสียภาษีประจำปี ไม่สามารถยื่นได้เอง ต้องนำไปรวมกับสามี ทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้น เมื่อเทียบกับหญิงไม่มีสามี หลายกรณีทำให้ผู้หญิงหลายคนแก้ปัญหาด้วยการหย่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ขณะที่กรมสรรพากรก็ทราบปัญหาแต่ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ 4 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัย เรื่อง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ(8) ประกอบมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 43 ประกอบมาตรา 29 และมาตรา 30 หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 36/2553)
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลรัษฎากรมาตรา 57 ตรี และ มาตรา 57 เบญจ ที่กำหนดให้การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี และกำหนดให้เฉพาะภริยาที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นด้วยหรือไม่ สามารถแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี ตามาตรา 57 ตรี นั้น เป็นบทบัญญัติที่ทำให้สามีภริยาในกรณีที่ภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่ากรณีของสามีภริยาที่ภริยามีรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และยังทำให้หญิงที่มีสามีซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่าหญิงโสดที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ทั้งยังไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว ชายหญิงจึงไม่นิยมสมรสกัน เพราะต้องรับภาระภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ที่สมรสกันอยู่แล้วก็ต้องวางแผนภาษีโดยการจดทะเบียนหย่าเพื่อที่จะไม่ต้องนำเอาเงินได้พึงประเมินของทั้งสองฝ่ายมารวมกันให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงขัดต่อหลักความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะบุคคล และมิได้เป็นมาตราการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30
ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 6
ผู้หญิงมีสามีเฮ! ศาลรธน.ตัดสินกม.สรรพากรขัดรัฐธรรมนูญ แยกยื่นภาษีได้-จ่ายน้อยลง-ไม่ต้องหย่าแล้ว
วันที่ 04 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เวลา 15:28:30 น.
มติชนออนไลน์ได้เปิดประเด็นและเกาะติด ปัญหาภาษีสรรพากรที่ล้าหลังและไม่เสมอภาคระหว่างหญิงชาย จากกรณีที่ผู้หญิงมีสามีในการยื่นเสียภาษีประจำปี ไม่สามารถยื่นได้เอง ต้องนำไปรวมกับสามี ทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้น เมื่อเทียบกับหญิงไม่มีสามี หลายกรณีทำให้ผู้หญิงหลายคนแก้ปัญหาด้วยการหย่า เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ขณะที่กรมสรรพากรก็ทราบปัญหาแต่ไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้ ต่อมาผู้ตรวจการแผ่นดินได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ
รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ 4 กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัย เรื่อง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7) และ(8) ประกอบมาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 43 ประกอบมาตรา 29 และมาตรา 30 หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ 36/2553)
ผลการพิจารณา ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประมวลรัษฎากรมาตรา 57 ตรี และ มาตรา 57 เบญจ ที่กำหนดให้การเก็บภาษีเงินได้จากสามีและภริยาที่อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ให้ถือเอาเงินได้พึงประเมินของภริยาเป็นเงินได้ของสามี และให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการยื่นรายการและเสียภาษี และกำหนดให้เฉพาะภริยาที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) ไม่ว่าจะมีเงินได้พึงประเมินประเภทอื่นด้วยหรือไม่ สามารถแยกยื่นรายการและเสียภาษีต่างหากจากสามีเฉพาะส่วนที่เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) โดยมิให้ถือว่าเป็นเงินได้ของสามี ตามาตรา 57 ตรี นั้น เป็นบทบัญญัติที่ทำให้สามีภริยาในกรณีที่ภริยามีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่ากรณีของสามีภริยาที่ภริยามีรายได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และยังทำให้หญิงที่มีสามีซึ่งมีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ต้องเสียภาษีสูงกว่าหญิงโสดที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) (3) (4) (5) (6) (7)และ (8) ทั้งยังไม่เป็นการมุ่งสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว ชายหญิงจึงไม่นิยมสมรสกัน เพราะต้องรับภาระภาษีในอัตราที่สูงขึ้น ที่สมรสกันอยู่แล้วก็ต้องวางแผนภาษีโดยการจดทะเบียนหย่าเพื่อที่จะไม่ต้องนำเอาเงินได้พึงประเมินของทั้งสองฝ่ายมารวมกันให้ต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้น
บทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวจึงขัดต่อหลักความเสมอภาคและเป็นการเลือกปฎิบัติโดยไม่เป็นธรรมเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องสถานะบุคคล และมิได้เป็นมาตราการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 30
ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่า ประมวลรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 30 เป็นอันใช้บังคับมิได้ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 6
- เบื๊อก
- Verified User
- โพสต์: 172
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานเข้ากรมสรรพากรอีกแล้ว เรื่องภาษีบุคคลธรรมดา
โพสต์ที่ 3
นั่นซิ ไปขอคืนได้รึเปล่า
แต่ที่แน่่ๆคือ จะต้องมีการโอนหุ้นระหว่างสามีภรรยากันอุตลุตแน่นอน
แต่ที่แน่่ๆคือ จะต้องมีการโอนหุ้นระหว่างสามีภรรยากันอุตลุตแน่นอน
The size of your dreams must always exceed your current capacity to achieve them.
Ellen Johnson Sirleaf
Ellen Johnson Sirleaf
-
- Verified User
- โพสต์: 2712
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานเข้ากรมสรรพากรอีกแล้ว เรื่องภาษีบุคคลธรรมดา
โพสต์ที่ 9
ดีจังครับ ขอบคุณนะครับผม
อย่าลืมให้เวลากับครอบครัว และสังคมรอบๆข้างของคุณนะครับ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
มีสติ และมีความสุขกับการลงทุนนะครับผม
นักลงทุนที่เก่งที่สุดมิใช่คนที่ซื้อขายไวที่สุด
แต่คือคนที่นำสติกลับมาได้เร็วที่สุด
หลายครั้งส่งคำสั่งซื้อทางไปรษณีย์ได้ผลตอบแทนมากกว่าซื้อผ่านnetหากเราขาดสติ
-
- Verified User
- โพสต์: 272
- ผู้ติดตาม: 0
Re: งานเข้ากรมสรรพากรอีกแล้ว เรื่องภาษีบุคคลธรรมดา
โพสต์ที่ 11
เพิ่งเห็นคำตัดสินของศาล รธน. เข้าท่าก็ครั้งนี้แหละ
อันที่จริงกฏหมายนี้ริดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนมากว่า 20 ปี แล้ว แต่ไม่มีใครทำอะไรเลย
นอกจากนี้ ค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น บุตรที่กำลังศึกษา ให้หักได้คนละ 17,000 บาท หรือเดือนละ 1,416 บาท
ค่ารถเมล์ ค่ารถไฟฟ้ายังไม่พอเลยครับ ไม่ต้องพูดถึงค่าเล่าเรียน ค่าเรียนพิเศษ ค่ากิน
อันที่จริงกฏหมายนี้ริดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชนมากว่า 20 ปี แล้ว แต่ไม่มีใครทำอะไรเลย
นอกจากนี้ ค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น บุตรที่กำลังศึกษา ให้หักได้คนละ 17,000 บาท หรือเดือนละ 1,416 บาท
ค่ารถเมล์ ค่ารถไฟฟ้ายังไม่พอเลยครับ ไม่ต้องพูดถึงค่าเล่าเรียน ค่าเรียนพิเศษ ค่ากิน