เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒนา'
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒนา'
โพสต์ที่ 1
เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒนา'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, May 21, 2012 07:24
19588 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT
ทายาทตระกูลดัง 'พีรนาถ โชควัฒนา' หลานชายคนโตนายห้าง 'เทียม โชควัฒนา' ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ ทิ้งธุรกิจครอบครัวเลือกเดินชีวิตบนเส้นทางตลาดหุ้น เจ้าตัวขอไม่เปิดเผยใบหน้า แต่เล่า 'วิถีแห่งเซียน' อย่างหมดเปลือก
ถ้าเอ่ยชื่อ พีรนาถ โชควัฒนา ในวงการ "วีไอ" น้อยคนนักที่ไม่รู้จักเขา ในฐานะ "เซียนหุ้นรายใหญ่" ที่เชี่ยวชาญการลงทุนในตลาดหุ้นในระดับแถวหน้า แต่ในอาณาจักรแสนล้านเครือสหพัฒน์ ไม่ปรากฏชื่อเขาในฐานะนักธุรกิจใหญ่ "หลานชายคนโต" จากทั้งหมด 17 คน ของ ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒนพิบูล
ชายกลางคนวัย 49 ปีรายนี้ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของ บุญเอก โชควัฒนา ลูกชายคนโตของนายห้างเทียม กับ สายพิณ โชควัฒนา ปัจจุบันพีรนาถแต่งงานแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร ประวัติการศึกษาของพีรนาถ เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านวิศวะเคมี ที่ California Institute of Technology สหรัฐอเมริกา
หลังจากเรียนจบกลับมาเมืองไทยได้ไม่นาน พีรนาถตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ MBA ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงที่เรียนปริญญาโทใบที่สองอยู่นั้น เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปศึกษางานในบริษัท บริหารสากล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของ โชติ โสภณพนิช
ขณะเดียวกัน ก็ยังแบ่งเวลาไปช่วยงานคุณพ่อ (บุญเอก) ใน บริษัท ซันคัลเลอร์ จำกัด และบริษัท บุญรวี จำกัด จากนั้น 2-3 ปี ก็เข้าไปทำงานในตำแหน่งเล็กๆ ใน บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติคส์ ในเครือสหพัฒน์ ซึ่งปัจจุบันคือ บมจ.ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล (ICC) ทำงานได้ 8 ปี ก็ขอลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัวที่เจ้าตัวไม่อยากเปิดเผย
พีรนาถ นับเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Thaivi รุ่นแรก เขาเลือกจบบทบาท "ลูกจ้างเครือสหพัฒน์" หลังมีความคิดที่ว่า “ลำพังเงินเดือนวุฒิปริญญาตรีหมื่นกว่าบาท เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน จะทำให้มีเงินเก็บสักเท่าไร” จากนั้นก็มุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้นอย่างเต็มตัว
ทุกวันนี้ หลานชายคนโตของ ดร.เทียม โชควัฒนา ไม่ได้บริหารธุรกิจในเครือสหพัฒน์ แต่จากการสำรวจของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า พีรนาถยังคงทำหน้าที่ดูแลพอร์ตลงทุนให้กับตระกูลโชควัฒนา ในนาม บริษัท หลานปู่ จำกัด, คณะบุคคลหลานปู่ โดยนายพีรนาถ โชควัฒนา และยังจัดตั้ง บริษัท พีรธร จำกัด เพื่อลงทุนในตลาดหุ้น นอกเหนือไปจากการลงทุนโดยใช้ชื่อส่วนตัว
นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าพีรนาถ ถือหุ้นขนาดกลางและเล็กหลายบริษัท เช่น หุ้น บีจีที คอร์ปอเรชั่น (BGT) ของ นพดล ธรรมวัฒนะ หุ้น เจ มาร์ท (JMART) ของ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ซึ่งหุ้น JMART ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา สองปรมาจารย์หุ้นวีไอก็ถือหุ้นอยู่ด้วย รวมทั้งถือหุ้น ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ (JUBILE) ของ วิโรจน์ พรประกฤต และหุ้น มาสเตอร์ แอด (MACO) เป็นต้น
ขณะที่ บริษัท หลานปู่ จำกัด ถือหุ้นบริษัทในเครือสหพัฒน์จำนวนมาก อาทิเช่น บมจ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ (S & J) บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (SPI) บมจ.สหพัฒนพิบูล (SPC) บมจ.ธนูลักษณ์ (TNL) และ บมจ.ฟาร์อีสท์ ดีดีบี (FE) เป็นต้น
ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดพูดคุยกับพีรนาถ ที่เต็นท์รถยนต์มือสองย่านถนนพระราม 9 ภายใต้ชื่อ V-CAR ซึ่งเขาร่วมหุ้นกับกลุ่มเพื่อน ภายในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีนักลงทุน "วีไอรายใหญ่" นั่งอยู่ด้วย 2 คน หนึ่งในนั้น คือ เจ้าของนามแฝง “กะละมัง” ในเว็บไซต์ Thaivi.Com จากการตรวจสอบพบว่า "เฮียกะละมัง" ชายวัย 50 กว่ารายนี้ถือหุ้นอยู่หลายบริษัท แต่เจ้าตัวขอไม่ให้เปิดเผย "ชื่อ" และ "นามสกุล" ต่อสาธารณะ
เฮียกะละมัง เป็นบุคคลที่ “มี่” ทิวา ชินธาดาพงศ์ เซียนหุ้นรายใหญ่ ยกให้เป็น (อาจารย์) ผู้มีพระคุณ เป็นคนช่วยแนะนำการลงทุนในช่วงหัดเล่นหุ้นใหม่ๆ ดูจากนิสัยเป็นคนชอบสอน และพูดเก่งมากๆ
"ผมเล่นหุ้นไม่เก่ง" ชายวัยกลางคนรูปร่างขาว ไม่อ้วน ไม่ผอม พยายามพูดถ่อมตัว!!! พีรนาถหลานชายคนโตตระกูลโชควัฒนา บอกกับนักข่าวต่อว่า "ผมไม่ชอบให้สัมภาษณ์...อยากลงทุนอย่างเงียบๆ ฉะนั้นผมไม่ขอเปิดเผยหน้าตา เพื่อความสบายใจ" นี่คือ ข้อแลกเปลี่ยนที่ยอมเปิดเผยในครั้งนี้
พีรนาถ เริ่มเล่าจุดเริ่มต้นของการลงทุนในตลาดหุ้นให้ฟังว่า ทันทีที่เรียนจบปริญญาตรี (วิศวะจุฬาฯ) ก็คิดจะลงทุนในตลาดหุ้นทันที ตอนนั้นยอมรับว่าเล่นหุ้นไม่เป็น ออกแนว “เสี่ยงดวง” ด้วยซ้ำ! เล่นหุ้นสมัยก่อนไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้ เพราะสมัยนั้นไม่มีอินเทอร์เน็ต การซื้อขายยังใช้วิธีเคาะกระดานหุ้นอยู่เลย ที่สำคัญ ไม่มีหุ้นให้เลือกเล่นมากมายเหมือนปัจจุบัน
"เมื่อตัดสินใจดีแล้ว ผมก็เดินเข้าไปที่ บล.พัฒนสิน (ปัจจุบัน คือ บล.โนมูระ พัฒนสิน) เพื่อขอเปิดพอร์ตลงทุน ช่วงนั้นโบรกเกอร์กำลังหาลูกค้า ทำให้ไม่ต้องหอบเงินสดไปเปิดพอร์ต เขาจะตัดผ่านบัญชี ผมก็เอาเงิน “แต๊ะเอีย” (ตรุษจีน) รวมกับเงินเดือนที่เก็บสะสมไว้มาลงทุน นานมาแล้วผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าเป็นเงินเท่าไร จำได้ว่าช่วงนั้นเล่นหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ไม่กี่ตัว เพราะดังสุดแล้วในตลาด อีกอย่างคือไม่ค่อยมีหุ้นให้เล่นมากเท่าไร"
เขาเล่าต่อว่า เชื่อหรือไม่! ลงทุนช่วงแรกๆ เล่นเก็งกำไรแต่ "ได้กำไร" ช่วงนั้นดัชนีขึ้นจาก 200 จุด ขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 1,700 จุด ในช่วง 1,700 จุด ตอนนั้นมองว่าหุ้นจะ "ไปต่อ" จึงตัดสินใจซื้ออีก สุดท้ายดัชนีลงมาที่ระดับ 900 จุด ทำให้ขาดทุนจำนวนมาก
การเดินทางในตลาดหุ้นของทายาทคนโตตระกูลโชควัฒนาไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เขาเคยถูกเหตุการณ์ Black Monday (ปี 2530) เล่นงาน ทำให้ตอนนั้นขาดทุนเรียกได้ว่า “หมดตัว” ต้องทำงานเก็บเงินมาลงทุนใหม่ พอลงใหม่ก็ขาดทุนอีก เป็นแบบนี้อยู่หลายรอบ ทำงานมาแทบไม่เหลือเงินเลย..เครียดมาก!!! แต่ที่เจ็บตัว "หนักสุด" คือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ช่วงนั้นโบรกเกอร์เชียร์ให้เล่น Net Settlement และใช้มาร์จินเล่นหุ้น
"ผมก็เชื่อเขานะ สุดท้ายก็ “เจ๊ง” มีหนี้เยอะมาก แต่โชคดีเหลือวงเงิน O/D บวกกับเงินเดือน ผมก็เอามาทยอยใช้หนี้ หลังจากเจอวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน ผมก็กลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้นเรียกได้ว่าอยู่แบบเงียบๆ เพื่อนๆ ที่เคยซื้อขายหุ้นด้วยกันช่วงนั้น (เจ๊ง) หายกันไป จนถึงทุกวันนี้ยังไม่กลับมาเลยสักคน ช่วงนั้นทำให้ผมมานั่งคิดทบทวนว่าเราคงต้องเปลี่ยนวิธีการลงทุนใหม่ จะเล่นเก็งกำไรแบบเดิมคงไม่ได้แล้ว เพราะลงทุนกี่ครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จ"
คนทุกคนย่อมมี "จุดหักเห" พีรนาถก็เช่นกัน วันหนึ่งเขาเปิดหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันเสาร์ ในนั้นจะเอาตารางงบการเงินของหุ้นดีๆ แต่ละตัวมาลง ในตารางจะบอกค่า P/E และค่า P/BV เล่นหุ้นมาตั้งนานก็ไม่เคยสนใจดู ติดเล่นเก็งกำไรจนไม่เคยดูด้วยซ้ำว่าลึกๆ แล้วหุ้นที่ซื้อขายอยู่เขาทำธุรกิจอะไรบ้าง ตัวเลขทางการเงินเป็นอย่างไร ลงทุนเป็นล้านๆ แต่รู้ข้อมูลบริษัทเพียงผิวเผิน
หลังจากเริ่มลงลึกในรายละเอียด สิ่งที่เขาพบ ก็คือ หลายๆ บริษัทในตลาดหุ้น "ไม่มีหนี้สิน (ระยะยาว) เลย" จากนั้นก็นั่งสแกนตารางหุ้นทุกวันจันทร์ ระหว่างนั้นก็ไปค้นหนังสือสารสนเทศ (ข้อมูลหุ้น) ของตลาดหลักทรัพย์มาอ่านด้วย พีรนาถพูดถึงเสี้ยวชีวิตช่วงนั้นว่า "ชีวิตดูไร้ค่ามาก" ดูตารางหุ้นในหนังสือพิมพ์อยู่สักระยะก็ตัดสินใจลงทุนในแนวทางใหม่ ให้น้ำหนักที่งบการเงิน และเนื้อธุรกิจอย่างละเอียดก่อนลงทุน
"ช่วงนั้นผมลงทุนหุ้นหลายตัวมาก จำได้แม่นๆ หุ้น อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (APRINT) ตอนนั้นราคาหุ้นต่ำกว่าบุ๊ค แถมไม่มีหนี้สินอีกต่างหาก ซึ่งหุ้นลักษณะนี้ในช่วงนั้นมีเยอะแยะเต็มไปหมด เช่น หุ้นมาบุญครอง (MBK) และหุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) ราคาหุ้นหลายๆ ตัวสวนทางดัชนีขึ้นมาค่อนข้างมาก ผมได้กำไรกลับมาเยอะจนมีเงินไปใช้หนี้ ผมลงทุนกลยุทธ์นี้ไม่นานก็คืนหนี้ได้หมด"
พีรนาถ ย้อนมองความล้มเหลวในอดีตก่อนปี 2540 เพื่อยกเป็นอุทาหรณ์ว่า สมัยก่อนไม่เคยศึกษาโมเดลธุรกิจ ไม่เคยดูงบการเงิน เล่นหุ้นเก็งกำไรอย่างเดียว ชอบที่สุดคือลงทุนตามกระแสข่าว จนนำตัวเองมา "สู่วิกฤติ" ซึ่งประสบการณ์เจ็บๆ ในอดีตสอนบทเรียนให้ต้องรู้จักดูพื้นฐาน ศึกษางบการเงิน
"การลงทุนแบบวีไอ ทำให้ผมประสบความสำเร็จ เรียกได้ว่า "มีกำไรดีมาก" ลงทุนตัวไหนได้กำไรหมดทุกตัว ถ้าจำไม่ผิดได้กำไรประมาณ 10 เท่า สมมติว่าลงทุน 100,000 บาท ก็ได้กำไรกลับมา 1 ล้านบาท"
เซียนหุ้นตระกูลโชควัฒนารายนี้ ปฏิเสธที่จะพูดถึงมูลค่าพอร์ตลงทุนของตนเอง ปฏิเสธที่จะพูดถึงผลตอบแทนการลงทุนในแต่ละปี กล่าวเพียงว่า ต้องลงทุนในแต่ละวันให้ดีที่สุด เพียงเท่านี้ก็มีความสุขแล้ว
"อย่าถามเลยครับว่าวันนี้พอร์ตลงทุนของผมเท่าไร...ไม่อยากบอก! เพราะผมก็ไม่อยากรู้ของคนอื่น (แต่มักรู้ตลอดเพราะมีคนมาบอก) ผมคิดว่าการถามถึงมูลค่าการลงทุนของคนอื่นมันไม่ค่อยสุภาพเท่าไร มันก็เหมือนถามว่า คุณเงินเดือนเท่าไรนั่นแหละ"
ระหว่างนั้นเพื่อนที่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ ร้องตะโกนแซวว่า “พอร์ตเท่าไร (น้อง) อย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้ (พีรนาถ) ใช้ไม่หมดก็พอ” ทำเอาพีรนาถถึงกับหัวเราะออกมา ซึ่งเจ้าตัวกล่าวขึ้นว่า "เอาเป็นว่าพอร์ตของผมเติบโตขึ้นทุกปี มีเงินใช้ไม่ขาดมือ"
เจ้าตัวยังบอกด้วยว่า ตัวเองไม่เคยตั้งเป้าหมายว่าต้องมีมูลค่าพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าไร การตั้งเป้าหมายกับตัวเองจะทำให้การลงทุนเครียดมากเกินไป พร้อมทั้งยืนยันว่าทุกวันนี้มีอาชีพเป็น "นักลงทุนอย่างเดียว" ไม่มีกิจการส่วนตัว มีแต่ลงทุนบริษัทเล็กๆ กับกลุ่มเพื่อนๆ เขาขอให้มาช่วยมากกว่า ยอมรับว่ากิจการหลายๆ แห่งที่ร่วมลงทุนก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร การที่เพื่อนมาชวนมันเป็นสังคมก็เลยลงทุน แต่ก็ให้ความรู้เยอะแยะ อย่างทำธุรกิจขายรถยนต์มือสอง เชื่อหรือไม่! ขายดีมาก ทำให้เห็นเลยว่าเวลาการใช้งานต่อคันเดี๋ยวนี้น้อยลง
นอกจากลงทุนในตลาดหุ้นแล้วยังซื้อที่ดินเก็บไว้บ้างเล็กน้อย จริงๆ เล่นหุ้นแล้วไม่ควรไปลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่ก็มีไม่เยอะแค่อยากมีบ้านริมทะเลก็เลยซื้อที่ดินเก็บไว้ แต่เมื่อซื้อมาแล้วไม่มีเงินไปปลูก เพราะเอาเงินมาซื้อหุ้นหมด ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ดินเปล่าๆ
"ตอนนี้ผมไม่มีตำแหน่งอะไรในเครือสหพัฒน์...ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน" พีรนาถกล่าว ระหว่างนั้นเพื่อนตะโกนแซวว่า อาศัยนามสกุล "โชควัฒนา" ใช้อย่างเดียวว่างั้น!!! พีรนาถสวนกลับเพื่อนทันทีว่า นั่นสิ! เปลี่ยนนามสกุลได้มั้ยละ! (หัวเราะ)
สัปดาห์หน้าคอยพบกับเคล็ดลับการลงทุนของ พีรนาถ โชควัฒนา รับรอง! เขาไม่เคยให้สัมภาษณ์สื่อฉบับใดมาก่อน เอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะที่กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ที่แรกและที่เดียวเท่านั้น
"อย่าถามเลยครับว่าวันนี้พอร์ตลงทุนของผมเท่าไร..ไม่อยากบอก! ระหว่างนั้นเพื่อนที่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ ร้องตะโกนแซวว่า...พอร์ตเท่าไร(น้อง)อย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้(พีรนาถ)ใช้ไม่หมดก็พอ"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, May 21, 2012 07:24
19588 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT
ทายาทตระกูลดัง 'พีรนาถ โชควัฒนา' หลานชายคนโตนายห้าง 'เทียม โชควัฒนา' ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ ทิ้งธุรกิจครอบครัวเลือกเดินชีวิตบนเส้นทางตลาดหุ้น เจ้าตัวขอไม่เปิดเผยใบหน้า แต่เล่า 'วิถีแห่งเซียน' อย่างหมดเปลือก
ถ้าเอ่ยชื่อ พีรนาถ โชควัฒนา ในวงการ "วีไอ" น้อยคนนักที่ไม่รู้จักเขา ในฐานะ "เซียนหุ้นรายใหญ่" ที่เชี่ยวชาญการลงทุนในตลาดหุ้นในระดับแถวหน้า แต่ในอาณาจักรแสนล้านเครือสหพัฒน์ ไม่ปรากฏชื่อเขาในฐานะนักธุรกิจใหญ่ "หลานชายคนโต" จากทั้งหมด 17 คน ของ ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒนพิบูล
ชายกลางคนวัย 49 ปีรายนี้ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของ บุญเอก โชควัฒนา ลูกชายคนโตของนายห้างเทียม กับ สายพิณ โชควัฒนา ปัจจุบันพีรนาถแต่งงานแล้ว แต่ยังไม่มีบุตร ประวัติการศึกษาของพีรนาถ เรียนจบคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้นไปศึกษาต่อระดับปริญญาโททางด้านวิศวะเคมี ที่ California Institute of Technology สหรัฐอเมริกา
หลังจากเรียนจบกลับมาเมืองไทยได้ไม่นาน พีรนาถตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ MBA ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงที่เรียนปริญญาโทใบที่สองอยู่นั้น เขาได้ใช้เวลาส่วนหนึ่งไปศึกษางานในบริษัท บริหารสากล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทของ โชติ โสภณพนิช
ขณะเดียวกัน ก็ยังแบ่งเวลาไปช่วยงานคุณพ่อ (บุญเอก) ใน บริษัท ซันคัลเลอร์ จำกัด และบริษัท บุญรวี จำกัด จากนั้น 2-3 ปี ก็เข้าไปทำงานในตำแหน่งเล็กๆ ใน บมจ.อินเตอร์เนชั่นแนลคอสเมติคส์ ในเครือสหพัฒน์ ซึ่งปัจจุบันคือ บมจ.ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล (ICC) ทำงานได้ 8 ปี ก็ขอลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัวที่เจ้าตัวไม่อยากเปิดเผย
พีรนาถ นับเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Thaivi รุ่นแรก เขาเลือกจบบทบาท "ลูกจ้างเครือสหพัฒน์" หลังมีความคิดที่ว่า “ลำพังเงินเดือนวุฒิปริญญาตรีหมื่นกว่าบาท เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน จะทำให้มีเงินเก็บสักเท่าไร” จากนั้นก็มุ่งหน้าสู่ตลาดหุ้นอย่างเต็มตัว
ทุกวันนี้ หลานชายคนโตของ ดร.เทียม โชควัฒนา ไม่ได้บริหารธุรกิจในเครือสหพัฒน์ แต่จากการสำรวจของกรุงเทพธุรกิจ BizWeek พบว่า พีรนาถยังคงทำหน้าที่ดูแลพอร์ตลงทุนให้กับตระกูลโชควัฒนา ในนาม บริษัท หลานปู่ จำกัด, คณะบุคคลหลานปู่ โดยนายพีรนาถ โชควัฒนา และยังจัดตั้ง บริษัท พีรธร จำกัด เพื่อลงทุนในตลาดหุ้น นอกเหนือไปจากการลงทุนโดยใช้ชื่อส่วนตัว
นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าพีรนาถ ถือหุ้นขนาดกลางและเล็กหลายบริษัท เช่น หุ้น บีจีที คอร์ปอเรชั่น (BGT) ของ นพดล ธรรมวัฒนะ หุ้น เจ มาร์ท (JMART) ของ อดิศักดิ์ สุขุมวิทยา ซึ่งหุ้น JMART ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร และ ดร.ไพบูลย์ เสรีวิวัฒนา สองปรมาจารย์หุ้นวีไอก็ถือหุ้นอยู่ด้วย รวมทั้งถือหุ้น ยูบิลลี่ เอ็นเตอร์ไพรส์ (JUBILE) ของ วิโรจน์ พรประกฤต และหุ้น มาสเตอร์ แอด (MACO) เป็นต้น
ขณะที่ บริษัท หลานปู่ จำกัด ถือหุ้นบริษัทในเครือสหพัฒน์จำนวนมาก อาทิเช่น บมจ.เอส แอนด์ เจ อินเตอร์เนชั่นแนล เอนเตอร์ไพรส์ (S & J) บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง (SPI) บมจ.สหพัฒนพิบูล (SPC) บมจ.ธนูลักษณ์ (TNL) และ บมจ.ฟาร์อีสท์ ดีดีบี (FE) เป็นต้น
ทีมข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek มีนัดพูดคุยกับพีรนาถ ที่เต็นท์รถยนต์มือสองย่านถนนพระราม 9 ภายใต้ชื่อ V-CAR ซึ่งเขาร่วมหุ้นกับกลุ่มเพื่อน ภายในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ มีนักลงทุน "วีไอรายใหญ่" นั่งอยู่ด้วย 2 คน หนึ่งในนั้น คือ เจ้าของนามแฝง “กะละมัง” ในเว็บไซต์ Thaivi.Com จากการตรวจสอบพบว่า "เฮียกะละมัง" ชายวัย 50 กว่ารายนี้ถือหุ้นอยู่หลายบริษัท แต่เจ้าตัวขอไม่ให้เปิดเผย "ชื่อ" และ "นามสกุล" ต่อสาธารณะ
เฮียกะละมัง เป็นบุคคลที่ “มี่” ทิวา ชินธาดาพงศ์ เซียนหุ้นรายใหญ่ ยกให้เป็น (อาจารย์) ผู้มีพระคุณ เป็นคนช่วยแนะนำการลงทุนในช่วงหัดเล่นหุ้นใหม่ๆ ดูจากนิสัยเป็นคนชอบสอน และพูดเก่งมากๆ
"ผมเล่นหุ้นไม่เก่ง" ชายวัยกลางคนรูปร่างขาว ไม่อ้วน ไม่ผอม พยายามพูดถ่อมตัว!!! พีรนาถหลานชายคนโตตระกูลโชควัฒนา บอกกับนักข่าวต่อว่า "ผมไม่ชอบให้สัมภาษณ์...อยากลงทุนอย่างเงียบๆ ฉะนั้นผมไม่ขอเปิดเผยหน้าตา เพื่อความสบายใจ" นี่คือ ข้อแลกเปลี่ยนที่ยอมเปิดเผยในครั้งนี้
พีรนาถ เริ่มเล่าจุดเริ่มต้นของการลงทุนในตลาดหุ้นให้ฟังว่า ทันทีที่เรียนจบปริญญาตรี (วิศวะจุฬาฯ) ก็คิดจะลงทุนในตลาดหุ้นทันที ตอนนั้นยอมรับว่าเล่นหุ้นไม่เป็น ออกแนว “เสี่ยงดวง” ด้วยซ้ำ! เล่นหุ้นสมัยก่อนไม่ง่ายเหมือนสมัยนี้ เพราะสมัยนั้นไม่มีอินเทอร์เน็ต การซื้อขายยังใช้วิธีเคาะกระดานหุ้นอยู่เลย ที่สำคัญ ไม่มีหุ้นให้เลือกเล่นมากมายเหมือนปัจจุบัน
"เมื่อตัดสินใจดีแล้ว ผมก็เดินเข้าไปที่ บล.พัฒนสิน (ปัจจุบัน คือ บล.โนมูระ พัฒนสิน) เพื่อขอเปิดพอร์ตลงทุน ช่วงนั้นโบรกเกอร์กำลังหาลูกค้า ทำให้ไม่ต้องหอบเงินสดไปเปิดพอร์ต เขาจะตัดผ่านบัญชี ผมก็เอาเงิน “แต๊ะเอีย” (ตรุษจีน) รวมกับเงินเดือนที่เก็บสะสมไว้มาลงทุน นานมาแล้วผมจำไม่ได้จริงๆ ว่าเป็นเงินเท่าไร จำได้ว่าช่วงนั้นเล่นหุ้นกลุ่มไฟแนนซ์ไม่กี่ตัว เพราะดังสุดแล้วในตลาด อีกอย่างคือไม่ค่อยมีหุ้นให้เล่นมากเท่าไร"
เขาเล่าต่อว่า เชื่อหรือไม่! ลงทุนช่วงแรกๆ เล่นเก็งกำไรแต่ "ได้กำไร" ช่วงนั้นดัชนีขึ้นจาก 200 จุด ขึ้นไปสูงสุดที่ระดับ 1,700 จุด ในช่วง 1,700 จุด ตอนนั้นมองว่าหุ้นจะ "ไปต่อ" จึงตัดสินใจซื้ออีก สุดท้ายดัชนีลงมาที่ระดับ 900 จุด ทำให้ขาดทุนจำนวนมาก
การเดินทางในตลาดหุ้นของทายาทคนโตตระกูลโชควัฒนาไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เขาเคยถูกเหตุการณ์ Black Monday (ปี 2530) เล่นงาน ทำให้ตอนนั้นขาดทุนเรียกได้ว่า “หมดตัว” ต้องทำงานเก็บเงินมาลงทุนใหม่ พอลงใหม่ก็ขาดทุนอีก เป็นแบบนี้อยู่หลายรอบ ทำงานมาแทบไม่เหลือเงินเลย..เครียดมาก!!! แต่ที่เจ็บตัว "หนักสุด" คือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 ช่วงนั้นโบรกเกอร์เชียร์ให้เล่น Net Settlement และใช้มาร์จินเล่นหุ้น
"ผมก็เชื่อเขานะ สุดท้ายก็ “เจ๊ง” มีหนี้เยอะมาก แต่โชคดีเหลือวงเงิน O/D บวกกับเงินเดือน ผมก็เอามาทยอยใช้หนี้ หลังจากเจอวิกฤติต้มยำกุ้งไม่นาน ผมก็กลับมาอยู่กับตัวเองมากขึ้นเรียกได้ว่าอยู่แบบเงียบๆ เพื่อนๆ ที่เคยซื้อขายหุ้นด้วยกันช่วงนั้น (เจ๊ง) หายกันไป จนถึงทุกวันนี้ยังไม่กลับมาเลยสักคน ช่วงนั้นทำให้ผมมานั่งคิดทบทวนว่าเราคงต้องเปลี่ยนวิธีการลงทุนใหม่ จะเล่นเก็งกำไรแบบเดิมคงไม่ได้แล้ว เพราะลงทุนกี่ครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จ"
คนทุกคนย่อมมี "จุดหักเห" พีรนาถก็เช่นกัน วันหนึ่งเขาเปิดหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันเสาร์ ในนั้นจะเอาตารางงบการเงินของหุ้นดีๆ แต่ละตัวมาลง ในตารางจะบอกค่า P/E และค่า P/BV เล่นหุ้นมาตั้งนานก็ไม่เคยสนใจดู ติดเล่นเก็งกำไรจนไม่เคยดูด้วยซ้ำว่าลึกๆ แล้วหุ้นที่ซื้อขายอยู่เขาทำธุรกิจอะไรบ้าง ตัวเลขทางการเงินเป็นอย่างไร ลงทุนเป็นล้านๆ แต่รู้ข้อมูลบริษัทเพียงผิวเผิน
หลังจากเริ่มลงลึกในรายละเอียด สิ่งที่เขาพบ ก็คือ หลายๆ บริษัทในตลาดหุ้น "ไม่มีหนี้สิน (ระยะยาว) เลย" จากนั้นก็นั่งสแกนตารางหุ้นทุกวันจันทร์ ระหว่างนั้นก็ไปค้นหนังสือสารสนเทศ (ข้อมูลหุ้น) ของตลาดหลักทรัพย์มาอ่านด้วย พีรนาถพูดถึงเสี้ยวชีวิตช่วงนั้นว่า "ชีวิตดูไร้ค่ามาก" ดูตารางหุ้นในหนังสือพิมพ์อยู่สักระยะก็ตัดสินใจลงทุนในแนวทางใหม่ ให้น้ำหนักที่งบการเงิน และเนื้อธุรกิจอย่างละเอียดก่อนลงทุน
"ช่วงนั้นผมลงทุนหุ้นหลายตัวมาก จำได้แม่นๆ หุ้น อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง (APRINT) ตอนนั้นราคาหุ้นต่ำกว่าบุ๊ค แถมไม่มีหนี้สินอีกต่างหาก ซึ่งหุ้นลักษณะนี้ในช่วงนั้นมีเยอะแยะเต็มไปหมด เช่น หุ้นมาบุญครอง (MBK) และหุ้นไว้ท์กรุ๊ป (WG) ราคาหุ้นหลายๆ ตัวสวนทางดัชนีขึ้นมาค่อนข้างมาก ผมได้กำไรกลับมาเยอะจนมีเงินไปใช้หนี้ ผมลงทุนกลยุทธ์นี้ไม่นานก็คืนหนี้ได้หมด"
พีรนาถ ย้อนมองความล้มเหลวในอดีตก่อนปี 2540 เพื่อยกเป็นอุทาหรณ์ว่า สมัยก่อนไม่เคยศึกษาโมเดลธุรกิจ ไม่เคยดูงบการเงิน เล่นหุ้นเก็งกำไรอย่างเดียว ชอบที่สุดคือลงทุนตามกระแสข่าว จนนำตัวเองมา "สู่วิกฤติ" ซึ่งประสบการณ์เจ็บๆ ในอดีตสอนบทเรียนให้ต้องรู้จักดูพื้นฐาน ศึกษางบการเงิน
"การลงทุนแบบวีไอ ทำให้ผมประสบความสำเร็จ เรียกได้ว่า "มีกำไรดีมาก" ลงทุนตัวไหนได้กำไรหมดทุกตัว ถ้าจำไม่ผิดได้กำไรประมาณ 10 เท่า สมมติว่าลงทุน 100,000 บาท ก็ได้กำไรกลับมา 1 ล้านบาท"
เซียนหุ้นตระกูลโชควัฒนารายนี้ ปฏิเสธที่จะพูดถึงมูลค่าพอร์ตลงทุนของตนเอง ปฏิเสธที่จะพูดถึงผลตอบแทนการลงทุนในแต่ละปี กล่าวเพียงว่า ต้องลงทุนในแต่ละวันให้ดีที่สุด เพียงเท่านี้ก็มีความสุขแล้ว
"อย่าถามเลยครับว่าวันนี้พอร์ตลงทุนของผมเท่าไร...ไม่อยากบอก! เพราะผมก็ไม่อยากรู้ของคนอื่น (แต่มักรู้ตลอดเพราะมีคนมาบอก) ผมคิดว่าการถามถึงมูลค่าการลงทุนของคนอื่นมันไม่ค่อยสุภาพเท่าไร มันก็เหมือนถามว่า คุณเงินเดือนเท่าไรนั่นแหละ"
ระหว่างนั้นเพื่อนที่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ ร้องตะโกนแซวว่า “พอร์ตเท่าไร (น้อง) อย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้ (พีรนาถ) ใช้ไม่หมดก็พอ” ทำเอาพีรนาถถึงกับหัวเราะออกมา ซึ่งเจ้าตัวกล่าวขึ้นว่า "เอาเป็นว่าพอร์ตของผมเติบโตขึ้นทุกปี มีเงินใช้ไม่ขาดมือ"
เจ้าตัวยังบอกด้วยว่า ตัวเองไม่เคยตั้งเป้าหมายว่าต้องมีมูลค่าพอร์ตลงทุนเพิ่มขึ้นเท่าไร การตั้งเป้าหมายกับตัวเองจะทำให้การลงทุนเครียดมากเกินไป พร้อมทั้งยืนยันว่าทุกวันนี้มีอาชีพเป็น "นักลงทุนอย่างเดียว" ไม่มีกิจการส่วนตัว มีแต่ลงทุนบริษัทเล็กๆ กับกลุ่มเพื่อนๆ เขาขอให้มาช่วยมากกว่า ยอมรับว่ากิจการหลายๆ แห่งที่ร่วมลงทุนก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไร การที่เพื่อนมาชวนมันเป็นสังคมก็เลยลงทุน แต่ก็ให้ความรู้เยอะแยะ อย่างทำธุรกิจขายรถยนต์มือสอง เชื่อหรือไม่! ขายดีมาก ทำให้เห็นเลยว่าเวลาการใช้งานต่อคันเดี๋ยวนี้น้อยลง
นอกจากลงทุนในตลาดหุ้นแล้วยังซื้อที่ดินเก็บไว้บ้างเล็กน้อย จริงๆ เล่นหุ้นแล้วไม่ควรไปลงทุนสินทรัพย์ประเภทอื่น แต่ก็มีไม่เยอะแค่อยากมีบ้านริมทะเลก็เลยซื้อที่ดินเก็บไว้ แต่เมื่อซื้อมาแล้วไม่มีเงินไปปลูก เพราะเอาเงินมาซื้อหุ้นหมด ปัจจุบันก็ยังเป็นที่ดินเปล่าๆ
"ตอนนี้ผมไม่มีตำแหน่งอะไรในเครือสหพัฒน์...ไม่ยุ่งเกี่ยวกัน" พีรนาถกล่าว ระหว่างนั้นเพื่อนตะโกนแซวว่า อาศัยนามสกุล "โชควัฒนา" ใช้อย่างเดียวว่างั้น!!! พีรนาถสวนกลับเพื่อนทันทีว่า นั่นสิ! เปลี่ยนนามสกุลได้มั้ยละ! (หัวเราะ)
สัปดาห์หน้าคอยพบกับเคล็ดลับการลงทุนของ พีรนาถ โชควัฒนา รับรอง! เขาไม่เคยให้สัมภาษณ์สื่อฉบับใดมาก่อน เอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะที่กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ที่แรกและที่เดียวเท่านั้น
"อย่าถามเลยครับว่าวันนี้พอร์ตลงทุนของผมเท่าไร..ไม่อยากบอก! ระหว่างนั้นเพื่อนที่นั่งฟังอยู่ใกล้ๆ ร้องตะโกนแซวว่า...พอร์ตเท่าไร(น้อง)อย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้(พีรนาถ)ใช้ไม่หมดก็พอ"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
- MO101
- Verified User
- โพสต์: 3226
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 3
แสดงว่าวันที่สัมภาสน์ มี 3 ท่าน
พี่พี
พี่กะละมัง
แล้วอีกคนคือใคร?
พี่พี
พี่กะละมัง
แล้วอีกคนคือใคร?
- picatos
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 3227
- ผู้ติดตาม: 4
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 6
แซวพี่พีได้แรงขนาดนี้ น่าจะมีคนเดียวจริงๆลูกอิสาน เขียน:เดาว่าเป็นพี่วัฒน์MO101 เขียน:แสดงว่าวันที่สัมภาสน์ มี 3 ท่าน
พี่พี
พี่กะละมัง
แล้วอีกคนคือใคร?
แต่พี่พีนี่สุดยอดจริงๆ ครับ... เป็นนักลงทุนที่น่าเอาเป็นแบบอย่างสุดๆ ครับ
วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่?
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 1139
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 7
อ่านถ้อยคำที่แซว ยังได้ยินแว่วเสียงสำเนียงติดมาด้วยเลย อิ อิ
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 10
คุณะีรนาทอยู่ในThaiviด้วยเหรอครับ พี่เค้าใช้นามเเฝงว่าอะไรครับ?
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4549
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 11
เซียนจริง มักถ่อมตัว
เจอคนมามากมาย พี่พี เป็น ต้นแบบของนักลงทุนที่ควรเอาเป็นแบบอย่างครับ
เจอคนมามากมาย พี่พี เป็น ต้นแบบของนักลงทุนที่ควรเอาเป็นแบบอย่างครับ
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
- crazyrisk
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 4549
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 12
Piratorn kubtorpongpak เขียน:คุณะีรนาทอยู่ในThaiviด้วยเหรอครับ พี่เค้าใช้นามเเฝงว่าอะไรครับ?
"Champions aren't made in gyms. Champions are made from something they have deep inside them: A desire, a dream, a vision.
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 13
ขอบคุณครับ
เจ๋งมากไทยวีไอมีคนเก่งๆเยอะเลย...เเละดีใจที่ได้เป็นสมาชิกอยู่ในนี้(เพราะลูกพี่ลูกน้องผมจะสมัครสมาชิกตอนนี้ก็ไม่ได้เเล้ว...ผมเพิ่งทราบเหมือนกันเลยรู้สึกว่าโชคดีมากๆที่ได้เป็นสมาชิก)
เจ๋งมากไทยวีไอมีคนเก่งๆเยอะเลย...เเละดีใจที่ได้เป็นสมาชิกอยู่ในนี้(เพราะลูกพี่ลูกน้องผมจะสมัครสมาชิกตอนนี้ก็ไม่ได้เเล้ว...ผมเพิ่งทราบเหมือนกันเลยรู้สึกว่าโชคดีมากๆที่ได้เป็นสมาชิก)
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
- Paul VI
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 10538
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 14
พี่พีรนาถ ตัวจริงยิ่ง Nice มากเลยนะครับ ขอบอกtorpongpak เขียน:ขอบคุณครับ
เจ๋งมากไทยวีไอมีคนเก่งๆเยอะเลย...เเละดีใจที่ได้เป็นสมาชิกอยู่ในนี้(เพราะลูกพี่ลูกน้องผมจะสมัครสมาชิกตอนนี้ก็ไม่ได้เเล้ว...ผมเพิ่งทราบเหมือนกันเลยรู้สึกว่าโชคดีมากๆที่ได้เป็นสมาชิก)
-
- Verified User
- โพสต์: 69
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 16
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 17
นับถือพี่พี and the gang เซียนทุกคนครับ ประสบการณ์มากมาย
ช่วงนี้ออกงานด้วยกันบ่อย สงสัยคิดการใหญ่ น่าจะแบ่งน้องๆด้วย
ช่วงนี้ออกงานด้วยกันบ่อย สงสัยคิดการใหญ่ น่าจะแบ่งน้องๆด้วย
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 19
ส่วนตัวไม่เคยตามอ่านความเห็นของคุณพีรนาทเกี่ยวกับการลงทุน ถ้าใครมีlinkให้ไปอ่านTopicดังกล่าว รบกวนด้วยครับ...ส่วนการให้สัมภาษณ์สื่อสไตล์คุณพีรนาท...ผมชอบมากครับที่พี่เค้า"ไม่พูด"ถึงหุ้นในportปัจจุบัน หรือไม่ชี้หุ้นว่าชอบตัวไหน...นับถือครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 21
เท่าที่เคยพบนักลงทุนเก่งๆทุกคนรู้จักและเป็นสมาชิก ThaiVI ครับ บางท่านยังคงเข้ามาอ่านเป็นประจำ หรือเป็นครั้งคราว แต่เกือบทุกท่านไม่อยากเปิดเผยตัวtorpongpak เขียน:ขอบคุณครับ
เจ๋งมากไทยวีไอมีคนเก่งๆเยอะเลย...เเละดีใจที่ได้เป็นสมาชิกอยู่ในนี้(เพราะลูกพี่ลูกน้องผมจะสมัครสมาชิกตอนนี้ก็ไม่ได้เเล้ว...ผมเพิ่งทราบเหมือนกันเลยรู้สึกว่าโชคดีมากๆที่ได้เป็นสมาชิก)
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 40089
- ผู้ติดตาม: 1
Re: เปิดตัว 'เซียนหุ้นรายใหญ่' 'พีรนาท' ทายาทตระกูล 'โชควัฒน
โพสต์ที่ 22
เคล็ดลับรวยหุ้น'พีรนาถ โชควัฒนา' ปลีกวิเวกธุรกิจ สู่เส้นทาง 'ตลาดหุ้น'
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, May 28, 2012 06:57
18233 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT
เปิดเคล็ดลับรวยหุ้น 'พีรนาถ โชควัฒนา' ทายาทอาณาจักรแสนล้าน 'เครือสหพัฒน์' ปลีกวิเวกจากธุรกิจของตระกูล ก้าวสู่เส้นทาง 'เซียนหุ้นรายใหญ่' ผสมผสานเส้นกราฟเทคนิคและพื้นฐาน โกยกำไรหุ้นอื้อซ่า!!!
สัปดาห์ที่แล้วเกริ่นไปแล้วสำหรับประวัติส่วนตัว พีรนาถ โชควัฒนา เซียนหุ้นรายใหญ่วัย 49 ปี ที่ไม่ขอเปิดเผยใบหน้า เขาเป็น "หลานชายคนโต" จากจำนวนทั้งหมด 17 คน ของ ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของ บุญเอก โชควัฒนา ลูกชายคนโตของนายห้างเทียม กับ สายพิณ โชควัฒนา จึงนับเป็น "ทายาทรุ่นที่สาม" ของตระกูลโชควัฒนา
ปัจจุบันพีรนาถไม่มีตำแหน่งและไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับเครือสหพัฒน์ จนเพื่อนนักลงทุนรายใหญ่ที่นั่งฟังบทสนทนาอยู่ใกล้ๆ แซวว่า อาศัยนามสกุลโชควัฒนา ใช้อย่างเดียวว่างั้น!!! ขณะเดียวกันเจ้าตัวก็ไม่ยอมเปิดเผยมูลค่าพอร์ตลงทุน บอกเพียงว่ามูลค่าพอร์ตเติบโตขึ้นทุกปีและมีเงินใช้ไม่ขาดมือ ขณะที่เพื่อนนักลงทุนบอกกับนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า พอร์ตเท่าไรอย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้ (พีรนาถ) ใช้ไม่หมดก็พอ!!!
“ลำพังเงินเดือนวุฒิปริญญาตรีหมื่นกว่าบาท เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน จะทำให้มีเงินเก็บสักเท่าไร” ทันทีที่สิ้นสุดความคิด พีรนาถ ก็เดินเข้าโบรกเกอร์ บล.พัฒนสิน เพื่อเปิดพอร์ตลงทุนทันทีแบบไม่ลังเล
เขาเคยขาดทุนหนักตอนวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ชนิด "หมดเนื้อหมดตัว" เพราะเชื่อมาร์เก็ตติ้งที่เชียร์ให้เล่น "มาร์จิน" แต่เมื่อตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนจากเล่นเก็งกำไรไปวันๆ ตามกระแสข่าว มาเป็นลงทุนตามปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะหุ้นที่ "ไม่มีหนี้" และราคา "ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน" ก็สามารถกลับ
มามีกำไรเป็นกอบเป็นกำ แถมใช้หนี้หมดเกลี้ยงภายในระยะเวลาไม่นาน
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนที่เซียนหุ้นรายนี้ใช้แล้วประสบความสำเร็จสร้างผลตอบแทนได้อย่างงดงามในตลาดหุ้น พีรนาถ เล่าว่าคือการ ผสมผสานระหว่างการดู "กราฟทางเทคนิค" ซึ่งจะบอก "จังหวะ" การลงทุน กับการเลือกหุ้นโดยใช้ "ปัจจัยพื้นฐาน" ตอนนี้เรียกได้ว่า "ไม่มีเส้นกราฟ ผมซื้อหุ้นไม่ได้ (หัวเราะ)"
เขาอธิบายกลยุทธ์ของตัวเองให้ฟังว่า เมื่อสัญญาณทางเทคนิคของหุ้นตัวไหน "กำลังมา" (เทรนด์เป็นขาขึ้น) ก็จะเจาะเข้าไปดู "เนื้อธุรกิจ" (ปัจจัยพื้นฐาน) ของหุ้นตัวนั้น ถ้าดูแล้วเห็นว่าบริษัทนั้นโมเดลธุรกิจไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป ไม่เหนื่อย!! ที่จะทำความรู้จัก ก็จะเข้าไปซื้อไว้ในจำนวนที่น้อยๆ ก่อน
"ผมจะเข้าไปซื้อมาส่วนหนึ่งราวๆ ไม่กี่หมื่นบาท อย่างน้อยเพื่อให้เรามีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นก็ไปศึกษาธุรกิจอย่างละเอียด ถ้าหุ้นดีจริงจะทยอยซื้อเพิ่มเติมในจำนวนที่มากขึ้น โดยไม่มีกำหนดว่าต้องซื้อทั้งหมดเท่าไร (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) ตรงกันข้ามหากสัญญาณเทคนิคมา แต่เนื้อธุรกิจยุ่งยากเกินไป ผมจะไม่ซื้อ ปล่อยผ่านไปเลย"
พีรนาถ บอกว่า ที่ผ่านๆ มา ปล่อยหุ้นสัญญาณเทคนิคดี (กราฟสวย) ไปหลายตัวแล้ว โดยให้เหตุผลว่า "ผมแก่เกินไปที่จะให้ไปนั่งศึกษาโมเดลหุ้นที่ยากๆ มันเหนื่อย!" ทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องทุ่มเทแบบนั้นแล้ว ที่ผ่านมาลงทุนด้วยกลยุทธ์ที่เล่าให้ฟังนี้ ก็สามารถทำกำไรได้ค่อนข้างมาก
เซียนหุ้นนามสกุลโชควัฒนาบอกจุดหักเหที่นำเอากราฟเทคนิคมาประยุกต์ใช้ร่วมกับปัจจัยพื้นฐานว่า ช่วงที่ตัดสินใจศึกษาเส้นเทคนิคเป็นเพราะมีความรู้สึกว่า ถ้าเรายังมีความคิดว่าเราเป็น "เจ้าของบริษัท" ในหุ้นที่ถืออยู่ อาจทำให้เรามีปัญหาการ "ยึดติด" และ "เข้าข้างบริษัท" จนลืมมองหรือมองข้ามหลายๆ จุดที่เป็น "จุดอ่อน" ของบริษัท พอมีคนรู้จักมาชวนให้ไปเรียนจึงตัดสินใจไปแบบไม่ลังเล
"ตอนเรียนเทคนิคผมเข้าใจหลักการหมดเลยแต่ พูดง่าย..ทำยาก ทุกวันนี้ก็ยังศึกษาอยู่พยายามนำสิ่งที่ถนัดมาดัดแปลงให้เป็นตัวเรามากที่สุด ยอมรับว่าในช่วงที่มั่วๆ กับเส้นเทคนิค ผมเสียเงินไปเยอะโดยเฉพาะค่าคอมมิชชั่น เพราะเลือกใช้กลยุทธ์ “ขึ้นซื้อ..ลงขาย” ต่างจากช่วงที่เล่นแนวแวลู อินเวสเตอร์ ไม่ค่อยเปลืองค่าคอมมิชชั่นท่าไร เมื่อมันเปลืองเงิน ผมจึงนำมันมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ซึ่งมันก็ใช้ได้ผลดีมาก (พูดด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ)"
ถามว่าวันนี้มีหุ้นในพอร์ตกี่ตัว พีรนาถ ตอบว่า มีเป็น "ร้อยตัว" (ทำท่าคิด) แต่ตัวหลักๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดมีประมาณ 10 ตัว ส่วนที่ไม่ใช่ตัวหลักๆ ใช่ว่าหุ้นเขาไม่ดี แต่เป็นเพราะว่าเราเข้าใจธุรกิจเขาน้อยเกินไป และไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด
"ในพอร์ตผมจะมีหุ้นที่เป็น Laggard (ขึ้นช้ากว่าเพื่อน) ประมาณ 3 ตัว ในตัวหลัก 10 ตัว ผมขอไม่เปิดเผยรายชื่อหุ้น บางตัวถือมานาน 3-4 ปี บางตัวถือ 8 ปี ซึ่งปีก่อน (2554) 3 ตัวนี้ให้ผลตอบแทนประมาณ 17% ผมคาดว่าจะซื้อเพิ่มเติมในปี 2555 เพราะอาจให้ผลตอบแทนดีกว่าเดิม"
ทำไม! ถึงสนใจหุ้น Laggard ที่ชาวบ้านเขาขึ้นกันแต่ตัวนี้ยังไม่ขึ้น เขาบอกข้อดีของหุ้น 3 ตัวที่ถืออยู่ว่า ข้อหนึ่ง..ราคาหุ้นยังต่ำ และยังมีอัพไซด์อีกมาก ข้อสอง..ผู้บริหารเก่ง แต่มีความผิดพลาดเล็กน้อยในอดีต ซึ่งคนยังไม่ยอมลืม คิดดูสิ! เขาสามารถนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นได้ ผมยังทำไม่ได้เลย เขาเก่งมั้ยละ! ส่วนตัวเชื่อว่าผู้บริหารจะสามารถนำพาธุรกิจดีขึ้น เพราะได้ผ่านช่วงเลวร้ายมาแล้ว ข้อสุดท้าย..ในระยะ 5 ปีข้างหน้า บริษัทจะเติบโตทุกปี ด้วยตัวของเขาเอง
"หุ้น Laggard ที่ผมถืออยู่ 2 ใน 3 บริษัทจ่ายปันผลทุกปี ส่วนอีกหนึ่งบริษัทจ่ายปันผลเกือบทุกปี ถามว่าวันนี้หุ้น 3 ตัวนี้ สร้างผลตอบแทนให้ผมคุ้มค่าหรือยัง ณ ราคาวันนี้บวกกับเงินปันผลอาจไม่ค่อยคุ้มเท่าไร แต่อีกไม่นานจะคุ้มค่า..ผมเชื่อแบบนั้น"
สำหรับการหาข้อมูล พีรนาถจะคลุกวงในด้วยตัวเอง เขาจะไม่เชื่อโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อต่างๆ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ บทความดังๆ ก็ไม่อ่าน ไม่ฟังเพื่อน (แต่มักมีข้อมูลจากเพื่อนผ่านเข้าหูตลอด) และไม่ฟังมาร์เก็ตติ้ง คนที่จะเป็นมาร์เก็ตติ้งของพีรนาถจะต้องอยู่เฉยๆ รอรับคำสั่งอย่างเดียว อย่าชี้แนะ! ไม่ต้องออกความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น
สาเหตุที่ทำให้เซียนหุ้นรายนี้ต้อง "ปิดตัวเอง" จากการรับฟังโฆษณาชวนเชื่อจากภายนอก เป็นเพราะ "เข็ด" มาจากวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 มาร์เก็ตติ้งชวนให้เล่น Net Settlement และใช้มาร์จินเล่นหุ้น แถมมาทักไม่ให้ซื้อหุ้นตัวที่อยากได้ แต่กลับไปเชียร์ให้ซื้อตัวอื่น ทำให้ “ขาดทุนย่อยยับ”
เจ้าตัวเลยถือคติ "จะไม่ลอกการบ้านใคร" แต่ก็ยอมรับว่า "นี่คือ ข้อเสียอย่างหนึ่งของผม"
"ที่ผ่านมาผมก็มักวิเคราะห์ "ข้อเสีย" ตัวเองเสมอ เพราะการไม่ฟังอะไรเลย ก็ทำให้ "ขาดทุน" ได้เหมือนกัน ที่ผ่านมาก็พยายามแก้ความคิดของตัวเองว่าเป็นเพราะอะไรจึงขาดทุน ช่วงนี้ก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับเทคนิคมากขึ้นมีอะไรต้องเรียนรู้อีกมาก"
การฝึกฝนตัวเองของพีรนาถ ยังคงฝึกฝนอยู่อย่างต่อเนื่องเหมือนความรู้ที่ศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด ทุกวันนี้เขาใช้เวลากับการอ่านกราฟเทคนิควันละหลายชั่วโมง พยายามคิดหาเหตุผลจากกราฟว่า ทำไม! หุ้นตัวนี้ถึงโดนขาย ขายเพราะอะไร ใครเป็นคนขาย อย่างช่วงที่หุ้นโออิชิ กรุ๊ป (OISHI) ลงเยอะๆ ก็เข้าไปดูรายละเอียดก็เห็นว่าเป็นเพราะ ตัน ภาสกรนที ขายออกมา ทุกอย่างย่อมมีเหตุและผล
"จริงๆ ผมเล่นหุ้นคนเดียว แต่จะมีเพื่อนๆ คอยมาแลกเปลี่ยนทัศนะคติกัน แต่ไม่เคยเชื่อกันเลย (หัวเราะ) เล่นหุ้นกันคนละสไตล์ เพราะชอบไม่เหมือนกัน นานๆ ทีจะใจตรงกันแบบไม่ได้นัดหมาย" พีรนาถบอก ขณะที่เซียนหุ้นรายใหญ่เจ้าของนามแฝง “กาละมัง” พูดแทรกขึ้นระหว่างการสนทนาว่า "จริงๆ เขา (พีรนาถ) พอร์ตใหญ่กว่าผม ใจกล้ากว่าผม"
พีรนาถไม่ยอมวิเคราะห์ว่าหุ้นกลุ่มไหนกำลังจะมาแรง บอกแต่เพียงว่าหุ้น 3 ตัวที่ถืออยู่ "น่าจะมา" ระหว่างนั้นเพื่อนตะโกนบอกนักข่าวบิซวีคว่า เดี๋ยวแอบบอกชื่อหุ้นให้หลังไมค์ พีรนาถรีบห้ามไว้ "ผมคิดว่าไม่ควรลงชื่อหุ้น ผมอยากให้หุ้นของผมไปช้าๆ เมื่อมีเงินก็จะได้มาเก็บเพิ่ม ราคาไปเร็วมันไม่ดีเท่าไร"
ทายาทรุ่นที่สามตระกูลโชควัฒนาพูดด้วยความภาคภูมิใจว่า "การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตผม ที่ผ่านมาผมลงทุนหุ้นเกิน 100% มาตลอด ไม่มีตลาดหุ้นก็ไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร โดนแม่บ่นประจำ ไม่รู้จะบอกเพื่อนว่าลูกทำอาชีพอะไร"
"ผมคิดว่าลงทุนในตลาดหุ้นดีกว่าไปทำงานอย่างอื่น (สมัครงานที่ไหนใครจะรับคนนามสกุลนี้) เพราะเราไม่ต้องไปทำอย่างอื่นให้มันมีความเสี่ยง ผมจะลงทุนในตลาดหุ้นตลอดไป ไม่มีอะไรมาทำให้ผมเลิกเล่น"
ทุกวันนี้ พีรนาถจะซื้อขายหุ้นผ่านอินเทอร์เน็ต เล่นอยู่หลายโบรก เช่น บล.เอเซีย พลัส, บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนั่งประจำอยู่ที่ออฟฟิศที่ร่วมหุ้นกับเพื่อนๆ วิถีชีวิตประจำวันตื่นเช้ามาอ่านข่าว กดดูกราฟ ถ้าชอบตัวไหนก็ซื้อเลย..หากมีเงินนะ!!! เขาบอก
ในฐานะเซียนหุ้นรุ่นพี่ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤติ เหวอะหวะมาแล้วจากแบล็คมันเดย์ วิกฤติต้มยำกุ้ง มาถึงแฮมเบอร์เกอร์ไครซีส อยากฝากถึงนักลงทุนมือใหม่ว่า ก่อนลงทุนต้องหาตัวเองให้เจอ อย่าลงทุนตาม “เซเลบ” (คนดัง) ถ้าเป็นแบบนั้นน่าเป็นห่วงจะขาดทุนไม่รู้ตัว
"นักลงทุนต้องรู้จักวิเคราะห์พื้นฐานให้เป็น เมื่อถือหุ้นแล้วต้องหัดไปประชุมผู้ถือหุ้น อย่างตัวผมเองมักจะยกมือถามคำถามต่างๆ เป็นคนสุดท้าย หากมีเรื่องที่ต้องการคำตอบแล้วยังไม่มีใครถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่สำคัญผมไม่คิดอยากถือหุ้นใหญ่กว่าเจ้าของ ปล่อยให้เขาดูแลผลประโยชน์ให้เราดีกว่า"
ปิดท้าย!!! เซียนหุ้นรายใหญ่นามสกุลโชควัฒนา ถ่อมตัวว่า "ผมเล่นหุ้นไม่เก่ง" ยังยืนยันคำเดิม แม้ในอดีตจะเคยได้รับรางวัลผู้ถือหุ้นคุณภาพจาก TSD ในปี 2550 "ผมยังไม่รู้เลยว่าได้ด้วยเหตุผลอะไร ใครเสนอชื่อผมขึ้นไป แล้วใครมาสัมภาษณ์ผม" เจ้าตัวยังงงๆ
"การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตผมไม่มีตลาดหุ้นก็ไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร โดนแม่บ่นประจำไม่รู้จะบอกเพื่อนว่าลูกชายคนนี้ทำอาชีพอะไร..???"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ (Th)
Monday, May 28, 2012 06:57
18233 XTHAI XGEN IKEY V%NETNEWS P%WKT
เปิดเคล็ดลับรวยหุ้น 'พีรนาถ โชควัฒนา' ทายาทอาณาจักรแสนล้าน 'เครือสหพัฒน์' ปลีกวิเวกจากธุรกิจของตระกูล ก้าวสู่เส้นทาง 'เซียนหุ้นรายใหญ่' ผสมผสานเส้นกราฟเทคนิคและพื้นฐาน โกยกำไรหุ้นอื้อซ่า!!!
สัปดาห์ที่แล้วเกริ่นไปแล้วสำหรับประวัติส่วนตัว พีรนาถ โชควัฒนา เซียนหุ้นรายใหญ่วัย 49 ปี ที่ไม่ขอเปิดเผยใบหน้า เขาเป็น "หลานชายคนโต" จากจำนวนทั้งหมด 17 คน ของ ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้งเครือสหพัฒน์ เป็นบุตรชายคนโตในจำนวนพี่น้อง 4 คน ของ บุญเอก โชควัฒนา ลูกชายคนโตของนายห้างเทียม กับ สายพิณ โชควัฒนา จึงนับเป็น "ทายาทรุ่นที่สาม" ของตระกูลโชควัฒนา
ปัจจุบันพีรนาถไม่มีตำแหน่งและไม่ได้ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับเครือสหพัฒน์ จนเพื่อนนักลงทุนรายใหญ่ที่นั่งฟังบทสนทนาอยู่ใกล้ๆ แซวว่า อาศัยนามสกุลโชควัฒนา ใช้อย่างเดียวว่างั้น!!! ขณะเดียวกันเจ้าตัวก็ไม่ยอมเปิดเผยมูลค่าพอร์ตลงทุน บอกเพียงว่ามูลค่าพอร์ตเติบโตขึ้นทุกปีและมีเงินใช้ไม่ขาดมือ ขณะที่เพื่อนนักลงทุนบอกกับนักข่าวกรุงเทพธุรกิจ BizWeek ว่า พอร์ตเท่าไรอย่าสนใจ รู้แค่ว่าชาตินี้ (พีรนาถ) ใช้ไม่หมดก็พอ!!!
“ลำพังเงินเดือนวุฒิปริญญาตรีหมื่นกว่าบาท เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน จะทำให้มีเงินเก็บสักเท่าไร” ทันทีที่สิ้นสุดความคิด พีรนาถ ก็เดินเข้าโบรกเกอร์ บล.พัฒนสิน เพื่อเปิดพอร์ตลงทุนทันทีแบบไม่ลังเล
เขาเคยขาดทุนหนักตอนวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ชนิด "หมดเนื้อหมดตัว" เพราะเชื่อมาร์เก็ตติ้งที่เชียร์ให้เล่น "มาร์จิน" แต่เมื่อตัดสินใจเปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนจากเล่นเก็งกำไรไปวันๆ ตามกระแสข่าว มาเป็นลงทุนตามปัจจัยพื้นฐาน โดยเฉพาะหุ้นที่ "ไม่มีหนี้" และราคา "ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน" ก็สามารถกลับ
มามีกำไรเป็นกอบเป็นกำ แถมใช้หนี้หมดเกลี้ยงภายในระยะเวลาไม่นาน
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนที่เซียนหุ้นรายนี้ใช้แล้วประสบความสำเร็จสร้างผลตอบแทนได้อย่างงดงามในตลาดหุ้น พีรนาถ เล่าว่าคือการ ผสมผสานระหว่างการดู "กราฟทางเทคนิค" ซึ่งจะบอก "จังหวะ" การลงทุน กับการเลือกหุ้นโดยใช้ "ปัจจัยพื้นฐาน" ตอนนี้เรียกได้ว่า "ไม่มีเส้นกราฟ ผมซื้อหุ้นไม่ได้ (หัวเราะ)"
เขาอธิบายกลยุทธ์ของตัวเองให้ฟังว่า เมื่อสัญญาณทางเทคนิคของหุ้นตัวไหน "กำลังมา" (เทรนด์เป็นขาขึ้น) ก็จะเจาะเข้าไปดู "เนื้อธุรกิจ" (ปัจจัยพื้นฐาน) ของหุ้นตัวนั้น ถ้าดูแล้วเห็นว่าบริษัทนั้นโมเดลธุรกิจไม่ยุ่งยากซับซ้อนจนเกินไป ไม่เหนื่อย!! ที่จะทำความรู้จัก ก็จะเข้าไปซื้อไว้ในจำนวนที่น้อยๆ ก่อน
"ผมจะเข้าไปซื้อมาส่วนหนึ่งราวๆ ไม่กี่หมื่นบาท อย่างน้อยเพื่อให้เรามีสิทธิเข้าประชุมผู้ถือหุ้น จากนั้นก็ไปศึกษาธุรกิจอย่างละเอียด ถ้าหุ้นดีจริงจะทยอยซื้อเพิ่มเติมในจำนวนที่มากขึ้น โดยไม่มีกำหนดว่าต้องซื้อทั้งหมดเท่าไร (ขึ้นอยู่กับสถานการณ์) ตรงกันข้ามหากสัญญาณเทคนิคมา แต่เนื้อธุรกิจยุ่งยากเกินไป ผมจะไม่ซื้อ ปล่อยผ่านไปเลย"
พีรนาถ บอกว่า ที่ผ่านๆ มา ปล่อยหุ้นสัญญาณเทคนิคดี (กราฟสวย) ไปหลายตัวแล้ว โดยให้เหตุผลว่า "ผมแก่เกินไปที่จะให้ไปนั่งศึกษาโมเดลหุ้นที่ยากๆ มันเหนื่อย!" ทุกวันนี้ไม่จำเป็นต้องทุ่มเทแบบนั้นแล้ว ที่ผ่านมาลงทุนด้วยกลยุทธ์ที่เล่าให้ฟังนี้ ก็สามารถทำกำไรได้ค่อนข้างมาก
เซียนหุ้นนามสกุลโชควัฒนาบอกจุดหักเหที่นำเอากราฟเทคนิคมาประยุกต์ใช้ร่วมกับปัจจัยพื้นฐานว่า ช่วงที่ตัดสินใจศึกษาเส้นเทคนิคเป็นเพราะมีความรู้สึกว่า ถ้าเรายังมีความคิดว่าเราเป็น "เจ้าของบริษัท" ในหุ้นที่ถืออยู่ อาจทำให้เรามีปัญหาการ "ยึดติด" และ "เข้าข้างบริษัท" จนลืมมองหรือมองข้ามหลายๆ จุดที่เป็น "จุดอ่อน" ของบริษัท พอมีคนรู้จักมาชวนให้ไปเรียนจึงตัดสินใจไปแบบไม่ลังเล
"ตอนเรียนเทคนิคผมเข้าใจหลักการหมดเลยแต่ พูดง่าย..ทำยาก ทุกวันนี้ก็ยังศึกษาอยู่พยายามนำสิ่งที่ถนัดมาดัดแปลงให้เป็นตัวเรามากที่สุด ยอมรับว่าในช่วงที่มั่วๆ กับเส้นเทคนิค ผมเสียเงินไปเยอะโดยเฉพาะค่าคอมมิชชั่น เพราะเลือกใช้กลยุทธ์ “ขึ้นซื้อ..ลงขาย” ต่างจากช่วงที่เล่นแนวแวลู อินเวสเตอร์ ไม่ค่อยเปลืองค่าคอมมิชชั่นท่าไร เมื่อมันเปลืองเงิน ผมจึงนำมันมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน ซึ่งมันก็ใช้ได้ผลดีมาก (พูดด้วยน้ำเสียงภาคภูมิใจ)"
ถามว่าวันนี้มีหุ้นในพอร์ตกี่ตัว พีรนาถ ตอบว่า มีเป็น "ร้อยตัว" (ทำท่าคิด) แต่ตัวหลักๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีที่สุดมีประมาณ 10 ตัว ส่วนที่ไม่ใช่ตัวหลักๆ ใช่ว่าหุ้นเขาไม่ดี แต่เป็นเพราะว่าเราเข้าใจธุรกิจเขาน้อยเกินไป และไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิด
"ในพอร์ตผมจะมีหุ้นที่เป็น Laggard (ขึ้นช้ากว่าเพื่อน) ประมาณ 3 ตัว ในตัวหลัก 10 ตัว ผมขอไม่เปิดเผยรายชื่อหุ้น บางตัวถือมานาน 3-4 ปี บางตัวถือ 8 ปี ซึ่งปีก่อน (2554) 3 ตัวนี้ให้ผลตอบแทนประมาณ 17% ผมคาดว่าจะซื้อเพิ่มเติมในปี 2555 เพราะอาจให้ผลตอบแทนดีกว่าเดิม"
ทำไม! ถึงสนใจหุ้น Laggard ที่ชาวบ้านเขาขึ้นกันแต่ตัวนี้ยังไม่ขึ้น เขาบอกข้อดีของหุ้น 3 ตัวที่ถืออยู่ว่า ข้อหนึ่ง..ราคาหุ้นยังต่ำ และยังมีอัพไซด์อีกมาก ข้อสอง..ผู้บริหารเก่ง แต่มีความผิดพลาดเล็กน้อยในอดีต ซึ่งคนยังไม่ยอมลืม คิดดูสิ! เขาสามารถนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นได้ ผมยังทำไม่ได้เลย เขาเก่งมั้ยละ! ส่วนตัวเชื่อว่าผู้บริหารจะสามารถนำพาธุรกิจดีขึ้น เพราะได้ผ่านช่วงเลวร้ายมาแล้ว ข้อสุดท้าย..ในระยะ 5 ปีข้างหน้า บริษัทจะเติบโตทุกปี ด้วยตัวของเขาเอง
"หุ้น Laggard ที่ผมถืออยู่ 2 ใน 3 บริษัทจ่ายปันผลทุกปี ส่วนอีกหนึ่งบริษัทจ่ายปันผลเกือบทุกปี ถามว่าวันนี้หุ้น 3 ตัวนี้ สร้างผลตอบแทนให้ผมคุ้มค่าหรือยัง ณ ราคาวันนี้บวกกับเงินปันผลอาจไม่ค่อยคุ้มเท่าไร แต่อีกไม่นานจะคุ้มค่า..ผมเชื่อแบบนั้น"
สำหรับการหาข้อมูล พีรนาถจะคลุกวงในด้วยตัวเอง เขาจะไม่เชื่อโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อต่างๆ ไม่อ่านหนังสือพิมพ์ บทความดังๆ ก็ไม่อ่าน ไม่ฟังเพื่อน (แต่มักมีข้อมูลจากเพื่อนผ่านเข้าหูตลอด) และไม่ฟังมาร์เก็ตติ้ง คนที่จะเป็นมาร์เก็ตติ้งของพีรนาถจะต้องอยู่เฉยๆ รอรับคำสั่งอย่างเดียว อย่าชี้แนะ! ไม่ต้องออกความคิดเห็นใดๆ ทั้งสิ้น
สาเหตุที่ทำให้เซียนหุ้นรายนี้ต้อง "ปิดตัวเอง" จากการรับฟังโฆษณาชวนเชื่อจากภายนอก เป็นเพราะ "เข็ด" มาจากวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 มาร์เก็ตติ้งชวนให้เล่น Net Settlement และใช้มาร์จินเล่นหุ้น แถมมาทักไม่ให้ซื้อหุ้นตัวที่อยากได้ แต่กลับไปเชียร์ให้ซื้อตัวอื่น ทำให้ “ขาดทุนย่อยยับ”
เจ้าตัวเลยถือคติ "จะไม่ลอกการบ้านใคร" แต่ก็ยอมรับว่า "นี่คือ ข้อเสียอย่างหนึ่งของผม"
"ที่ผ่านมาผมก็มักวิเคราะห์ "ข้อเสีย" ตัวเองเสมอ เพราะการไม่ฟังอะไรเลย ก็ทำให้ "ขาดทุน" ได้เหมือนกัน ที่ผ่านมาก็พยายามแก้ความคิดของตัวเองว่าเป็นเพราะอะไรจึงขาดทุน ช่วงนี้ก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับเทคนิคมากขึ้นมีอะไรต้องเรียนรู้อีกมาก"
การฝึกฝนตัวเองของพีรนาถ ยังคงฝึกฝนอยู่อย่างต่อเนื่องเหมือนความรู้ที่ศึกษาไม่มีที่สิ้นสุด ทุกวันนี้เขาใช้เวลากับการอ่านกราฟเทคนิควันละหลายชั่วโมง พยายามคิดหาเหตุผลจากกราฟว่า ทำไม! หุ้นตัวนี้ถึงโดนขาย ขายเพราะอะไร ใครเป็นคนขาย อย่างช่วงที่หุ้นโออิชิ กรุ๊ป (OISHI) ลงเยอะๆ ก็เข้าไปดูรายละเอียดก็เห็นว่าเป็นเพราะ ตัน ภาสกรนที ขายออกมา ทุกอย่างย่อมมีเหตุและผล
"จริงๆ ผมเล่นหุ้นคนเดียว แต่จะมีเพื่อนๆ คอยมาแลกเปลี่ยนทัศนะคติกัน แต่ไม่เคยเชื่อกันเลย (หัวเราะ) เล่นหุ้นกันคนละสไตล์ เพราะชอบไม่เหมือนกัน นานๆ ทีจะใจตรงกันแบบไม่ได้นัดหมาย" พีรนาถบอก ขณะที่เซียนหุ้นรายใหญ่เจ้าของนามแฝง “กาละมัง” พูดแทรกขึ้นระหว่างการสนทนาว่า "จริงๆ เขา (พีรนาถ) พอร์ตใหญ่กว่าผม ใจกล้ากว่าผม"
พีรนาถไม่ยอมวิเคราะห์ว่าหุ้นกลุ่มไหนกำลังจะมาแรง บอกแต่เพียงว่าหุ้น 3 ตัวที่ถืออยู่ "น่าจะมา" ระหว่างนั้นเพื่อนตะโกนบอกนักข่าวบิซวีคว่า เดี๋ยวแอบบอกชื่อหุ้นให้หลังไมค์ พีรนาถรีบห้ามไว้ "ผมคิดว่าไม่ควรลงชื่อหุ้น ผมอยากให้หุ้นของผมไปช้าๆ เมื่อมีเงินก็จะได้มาเก็บเพิ่ม ราคาไปเร็วมันไม่ดีเท่าไร"
ทายาทรุ่นที่สามตระกูลโชควัฒนาพูดด้วยความภาคภูมิใจว่า "การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตผม ที่ผ่านมาผมลงทุนหุ้นเกิน 100% มาตลอด ไม่มีตลาดหุ้นก็ไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร โดนแม่บ่นประจำ ไม่รู้จะบอกเพื่อนว่าลูกทำอาชีพอะไร"
"ผมคิดว่าลงทุนในตลาดหุ้นดีกว่าไปทำงานอย่างอื่น (สมัครงานที่ไหนใครจะรับคนนามสกุลนี้) เพราะเราไม่ต้องไปทำอย่างอื่นให้มันมีความเสี่ยง ผมจะลงทุนในตลาดหุ้นตลอดไป ไม่มีอะไรมาทำให้ผมเลิกเล่น"
ทุกวันนี้ พีรนาถจะซื้อขายหุ้นผ่านอินเทอร์เน็ต เล่นอยู่หลายโบรก เช่น บล.เอเซีย พลัส, บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง เป็นต้น ส่วนใหญ่จะนั่งประจำอยู่ที่ออฟฟิศที่ร่วมหุ้นกับเพื่อนๆ วิถีชีวิตประจำวันตื่นเช้ามาอ่านข่าว กดดูกราฟ ถ้าชอบตัวไหนก็ซื้อเลย..หากมีเงินนะ!!! เขาบอก
ในฐานะเซียนหุ้นรุ่นพี่ที่ผ่านมาแล้วทุกวิกฤติ เหวอะหวะมาแล้วจากแบล็คมันเดย์ วิกฤติต้มยำกุ้ง มาถึงแฮมเบอร์เกอร์ไครซีส อยากฝากถึงนักลงทุนมือใหม่ว่า ก่อนลงทุนต้องหาตัวเองให้เจอ อย่าลงทุนตาม “เซเลบ” (คนดัง) ถ้าเป็นแบบนั้นน่าเป็นห่วงจะขาดทุนไม่รู้ตัว
"นักลงทุนต้องรู้จักวิเคราะห์พื้นฐานให้เป็น เมื่อถือหุ้นแล้วต้องหัดไปประชุมผู้ถือหุ้น อย่างตัวผมเองมักจะยกมือถามคำถามต่างๆ เป็นคนสุดท้าย หากมีเรื่องที่ต้องการคำตอบแล้วยังไม่มีใครถามในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ที่สำคัญผมไม่คิดอยากถือหุ้นใหญ่กว่าเจ้าของ ปล่อยให้เขาดูแลผลประโยชน์ให้เราดีกว่า"
ปิดท้าย!!! เซียนหุ้นรายใหญ่นามสกุลโชควัฒนา ถ่อมตัวว่า "ผมเล่นหุ้นไม่เก่ง" ยังยืนยันคำเดิม แม้ในอดีตจะเคยได้รับรางวัลผู้ถือหุ้นคุณภาพจาก TSD ในปี 2550 "ผมยังไม่รู้เลยว่าได้ด้วยเหตุผลอะไร ใครเสนอชื่อผมขึ้นไป แล้วใครมาสัมภาษณ์ผม" เจ้าตัวยังงงๆ
"การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตผมไม่มีตลาดหุ้นก็ไม่รู้จะไปทำอาชีพอะไร โดนแม่บ่นประจำไม่รู้จะบอกเพื่อนว่าลูกชายคนนี้ทำอาชีพอะไร..???"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ