เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 1
เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด (Cash and Cash Equivalents)
เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด (Cash and Cash Equivalents) เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องที่สุดในบรรดาสินทรัพย์ของบริษัท รายการนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในงบแสดงฐานะการเงิน ที่ทั้งนักลงทุน เจ้าหนี้ รวมไปถึงผู้บริหารของบริษัทให้ความสนใจ เพราะเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคือ ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในงบกระแสเงินสด (ซึ่งเป็นงบการเงินที่แสดงถึงแหล่งที่มาและจ่ายไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด) ดังนั้น นักลงทุนทุกคนควรทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า “เงินสด” และ “รายการเทียบเท่าเงินสด” ให้ดีเสียก่อน
เงินสด เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและจำเป็นที่สุดของธุรกิจ เงินสดหมายถึง ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ (ทั้งสกุลไทยและต่างประเทศ) ทั้งที่อยู่ในบริษัทหรือที่ฝากอยู่ในธนาคาร เช่น เงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากออมทรัพย์ที่บริษัทสามารถเบิกถอนได้โดยไม่มีข้อแม้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเช็คเงินสดที่ถึงกำหนดแล้วแต่ยังไม่ได้นำฝาก เช็คเดินทาง ดราฟต์ธนาคาร ธนาณัติ และตั๋วแลกเงินไปรษณีย์
ส่วนคำว่ารายการเทียบเท่าเงินสดนั้น หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงและพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้แน่นอน หรือมีความเสี่ยงต่ำต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่า เงินลงทุนระยะสั้นที่จะจัดเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดได้ต้องมีระยะเวลาถึงกำหนดสั้น เช่น ไม่เกิน 3 เดือน
ตัวอย่างรายการเทียบเท่าเงินสดที่พบเห็นได้บ่อย คือ ตั๋วเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออกให้ โดยบริษัทมีวัตถุประสงค์ในการถือไว้เพื่อชำระภาระผูกพันระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินที่ออกเพื่อชําระหนี้แทนเงินสด เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในทางการค้า ทั้งนี้ตั๋วเงินนั้นต้องครบกำหนดภายใน 3 เดือนหรือน้อยกว่า นอกจากนี้รายการเทียบเท่าเงินสดยังรวมถึงเงินลงทุนระยะสั้น เช่น ตราสารหนี้ (หุ้นกู้) ที่จะครบกำหนดภายในเวลา 3 เดือน เว้นแต่ว่า บริษัทมีความตั้งใจที่จะถือ เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก หรือตั๋วเงินที่มีวันครบกำหนดภายใน 3 เดือนนั้นต่อไป โดยการต่อตั๋วหรือฝากต่อ รายการเหล่านั้นจะไม่ถือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด แต่ถือเป็นเงินฝากระยะยาวในสถาบันการเงินหรือเงินลงทุน
แม้ว่าเงินสดจะเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุดตามที่ได้กล่าวไว้ แต่เงินสดก็เป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่ธุรกิจ ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการบริหารเงินสดที่ดี ซึ่งนั่นหมายถึงการไม่ถือเงินสดไว้ในจำนวนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป บริษัทต้องพยายามลดเงินสดที่ถือไว้โดยเปล่าประโยชน์ให้เหลือน้อยที่สุด และนำเงินจำนวนนั้นไปหาผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ในระหว่างที่ยังคงสามารถรักษาสภาพคล่องทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของธุรกิจเอาไว้ให้ได้ ซึ่งหมายถึงการเหลือไว้ซึ่งเงินสดสำหรับการดำเนินธุรกิจประจำวัน และสำหรับกรณีฉุกเฉินในจำนวนที่เหมาะสม
ดังนั้น การที่บริษัทมีการแสดงจำนวนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวนมาก อาจไม่ได้หมายความว่าบริษัทนั้นมีการดำเนินการที่ดีหรือมีประสิทธิภาพเสมอไป แต่อาจเป็นสัญญาณแสดงถึงความบกพร่องในการบริหารการจัดการสินทรัพย์ของบริษัทก็เป็นได้
มีข้อสงสัยโพสถามได้เลยนะคะ
เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด (Cash and Cash Equivalents) เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องที่สุดในบรรดาสินทรัพย์ของบริษัท รายการนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในงบแสดงฐานะการเงิน ที่ทั้งนักลงทุน เจ้าหนี้ รวมไปถึงผู้บริหารของบริษัทให้ความสนใจ เพราะเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคือ ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในงบกระแสเงินสด (ซึ่งเป็นงบการเงินที่แสดงถึงแหล่งที่มาและจ่ายไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด) ดังนั้น นักลงทุนทุกคนควรทำความเข้าใจกับความหมายของคำว่า “เงินสด” และ “รายการเทียบเท่าเงินสด” ให้ดีเสียก่อน
เงินสด เป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและจำเป็นที่สุดของธุรกิจ เงินสดหมายถึง ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ (ทั้งสกุลไทยและต่างประเทศ) ทั้งที่อยู่ในบริษัทหรือที่ฝากอยู่ในธนาคาร เช่น เงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากออมทรัพย์ที่บริษัทสามารถเบิกถอนได้โดยไม่มีข้อแม้ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเช็คเงินสดที่ถึงกำหนดแล้วแต่ยังไม่ได้นำฝาก เช็คเดินทาง ดราฟต์ธนาคาร ธนาณัติ และตั๋วแลกเงินไปรษณีย์
ส่วนคำว่ารายการเทียบเท่าเงินสดนั้น หมายถึง เงินลงทุนระยะสั้นที่มีสภาพคล่องสูงและพร้อมที่จะเปลี่ยนเป็นเงินสดในจำนวนที่ทราบได้แน่นอน หรือมีความเสี่ยงต่ำต่อการเปลี่ยนแปลงมูลค่า เงินลงทุนระยะสั้นที่จะจัดเป็นรายการเทียบเท่าเงินสดได้ต้องมีระยะเวลาถึงกำหนดสั้น เช่น ไม่เกิน 3 เดือน
ตัวอย่างรายการเทียบเท่าเงินสดที่พบเห็นได้บ่อย คือ ตั๋วเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงินเป็นผู้ออกให้ โดยบริษัทมีวัตถุประสงค์ในการถือไว้เพื่อชำระภาระผูกพันระยะสั้น เช่น ตั๋วเงินที่ออกเพื่อชําระหนี้แทนเงินสด เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในทางการค้า ทั้งนี้ตั๋วเงินนั้นต้องครบกำหนดภายใน 3 เดือนหรือน้อยกว่า นอกจากนี้รายการเทียบเท่าเงินสดยังรวมถึงเงินลงทุนระยะสั้น เช่น ตราสารหนี้ (หุ้นกู้) ที่จะครบกำหนดภายในเวลา 3 เดือน เว้นแต่ว่า บริษัทมีความตั้งใจที่จะถือ เงินฝากประจำ บัตรเงินฝาก หรือตั๋วเงินที่มีวันครบกำหนดภายใน 3 เดือนนั้นต่อไป โดยการต่อตั๋วหรือฝากต่อ รายการเหล่านั้นจะไม่ถือเป็นรายการเทียบเท่าเงินสด แต่ถือเป็นเงินฝากระยะยาวในสถาบันการเงินหรือเงินลงทุน
แม้ว่าเงินสดจะเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงสุดตามที่ได้กล่าวไว้ แต่เงินสดก็เป็นสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้แก่ธุรกิจ ดังนั้น ธุรกิจจึงจำเป็นต้องมีการบริหารเงินสดที่ดี ซึ่งนั่นหมายถึงการไม่ถือเงินสดไว้ในจำนวนที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป บริษัทต้องพยายามลดเงินสดที่ถือไว้โดยเปล่าประโยชน์ให้เหลือน้อยที่สุด และนำเงินจำนวนนั้นไปหาผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ในระหว่างที่ยังคงสามารถรักษาสภาพคล่องทั้งในปัจจุบันและในอนาคตของธุรกิจเอาไว้ให้ได้ ซึ่งหมายถึงการเหลือไว้ซึ่งเงินสดสำหรับการดำเนินธุรกิจประจำวัน และสำหรับกรณีฉุกเฉินในจำนวนที่เหมาะสม
ดังนั้น การที่บริษัทมีการแสดงจำนวนเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดจำนวนมาก อาจไม่ได้หมายความว่าบริษัทนั้นมีการดำเนินการที่ดีหรือมีประสิทธิภาพเสมอไป แต่อาจเป็นสัญญาณแสดงถึงความบกพร่องในการบริหารการจัดการสินทรัพย์ของบริษัทก็เป็นได้
มีข้อสงสัยโพสถามได้เลยนะคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 3
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดเป็นรายการที่ปรากฏอยู่ทั้งในงบดุล และงบกระแสเงินสดค่ะnearly เขียน:"เพราะเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดคือ ส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดในงบกระแสเงินสด"
เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปรากฎในงบดุลไม่ใช่เหรอครับ ?
แล้วใช้วิธีอะไรเทียบครับ ว่าบริษัทมีเงินสดมากไปหรือน้อยไป
ในงบดุลนั้น จะอยู่ภายใต้หัวข้องของสินทรัพยหมุนเวียน (Current Asset)
ส่วนงบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flows) คือ งบที่แสดงการเปลี่ยนแปลงของ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ดังนั้น งบกระแสเงินสดจะแสดงยอดเท่ากับ เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดปลายงวด ลบ ต้นงวดค่ะ
ลองอ่านใน หัวข้อ "งบกระแสเงินสด" เพิ่มเติมนะคะ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=46&t=51646
ส่วนการจะดูว่าเงินสดหรือรายการเทียบเท่าเงินสดมีมากไปหรือน้อยไปอาจเทียบกับบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกันว่าจำเป็นต้องถือครองเงินสดในระดับใด หรือเปรียบเทียบกับข้อมูลในอดีตของบริษัทเองว่าเคยถือเงินสดในระดับไหนคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 5
เงินสดต้นงวด +กระแสเงินสดจากการดำเนินการสุุทธิ+กระแสเงินสดจากการลงทุน+กระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุน
= เงินสดปลายเงิน
เงินสดปลายเงิน ไปปรากฏที่บรรทัดแรกของงบดุล
กระแสเงินสดจากการดำเนินการการสุทธิ คือ ความแตกต่างในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน และ ความแตกต่างของหนี้สินหมุนเวียน
กระแสเงินสดจากการลงทุน คือ ความแตกต่างในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
กระแสเงินสดจากการจัดหา คือ ความแตกต่างในส่วนของหนี้สินไม่หมุนเวียน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ดังนั้นถ้าดูเงินสดและรายการเทียบเท่า ถ้าเจาะลึกลงไปควรไปดูที่งบกระแสเงินสด
ถ้าให้ดีควรย้อนกลับไปดูงบดุลของปีก่อนหน้าด้วย เพื่อตั้งใน Excel เปรียบเทียบด้วย
ทั้งหมดถูกต้องไหมครับ
;0
= เงินสดปลายเงิน
เงินสดปลายเงิน ไปปรากฏที่บรรทัดแรกของงบดุล
กระแสเงินสดจากการดำเนินการการสุทธิ คือ ความแตกต่างในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน และ ความแตกต่างของหนี้สินหมุนเวียน
กระแสเงินสดจากการลงทุน คือ ความแตกต่างในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
กระแสเงินสดจากการจัดหา คือ ความแตกต่างในส่วนของหนี้สินไม่หมุนเวียน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ดังนั้นถ้าดูเงินสดและรายการเทียบเท่า ถ้าเจาะลึกลงไปควรไปดูที่งบกระแสเงินสด
ถ้าให้ดีควรย้อนกลับไปดูงบดุลของปีก่อนหน้าด้วย เพื่อตั้งใน Excel เปรียบเทียบด้วย
ทั้งหมดถูกต้องไหมครับ
;0
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 6
เงินสดต้นงวด +กระแสเงินสดจากการดำเนินการสุุทธิ+กระแสเงินสดจากการลงทุน+กระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุนmiracle เขียน:เงินสดต้นงวด +กระแสเงินสดจากการดำเนินการสุุทธิ+กระแสเงินสดจากการลงทุน+กระแสเงินสดจากการจัดหาเงินทุน
= เงินสดปลายเงิน
เงินสดปลายเงิน ไปปรากฏที่บรรทัดแรกของงบดุล
กระแสเงินสดจากการดำเนินการการสุทธิ คือ ความแตกต่างในส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียน และ ความแตกต่างของหนี้สินหมุนเวียน
กระแสเงินสดจากการลงทุน คือ ความแตกต่างในส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
กระแสเงินสดจากการจัดหา คือ ความแตกต่างในส่วนของหนี้สินไม่หมุนเวียน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ดังนั้นถ้าดูเงินสดและรายการเทียบเท่า ถ้าเจาะลึกลงไปควรไปดูที่งบกระแสเงินสด
ถ้าให้ดีควรย้อนกลับไปดูงบดุลของปีก่อนหน้าด้วย เพื่อตั้งใน Excel เปรียบเทียบด้วย
ทั้งหมดถูกต้องไหมครับ
;0
= เงินสดปลายงวด ซึ่งจะไปปรากฏที่บรรทัดแรกของงบดุลตามมาตรฐานงบการเงินของไทย ถูกต้องค่ะ แต่ถ้าเป็นงบการเงินของต่างประเทศ อาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างไปนะคะ
การที่ศึกษารายละเอียดในงบกระแสเงินสดนั้น จะช่วยทำให้เราสามารถวิเคราะห์งบการเงินต่างๆ ได้ดีขึ้นค่ะ เพราะงบกระแสเงินสดจะช่วยบอกที่มาของเงินสด และเหตุผลที่บริษัทจ่ายเงินสดออกไป ซึ่งจะสามารถบอกให้ทราบถึงสภาพคล่องของบริษัทได้ค่ะ
ส่วยรายละเอียดของกระแสเงินสดประเภทต่างๆ นั้น รบกวนลองศึกษา ในกระทู้เรื่อง "งบกระแสเงินสด" โดยตรงดูนะคะ (http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=46&t=51646) หากมีข้อสงสับเพิ่มเติม โพสถามในกระทู้นั้นได้เลยนะคะ
ขอบคุณค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 7
ถามต่อในรายการเทียบเท่าเงินสด
ถ้าไปเปิดดูในหมายเหตุประกอบงบการเงินส่วนใหญ่เป็น
1. รายการฝากบัญชีออมทรัพย์
2. รายการฝากบัญชีกระแสเงินสด
3. รายการฝากบัญชีประจำที่อายุน้อยกว่า 1 ปี
ซึ่งเป็นรายการที่ใกล้เคียงกับเงินสดอย่างมากๆ
ในความหมายของทางบัญชี มันคล้ายๆนิยมความหมายของเงินในวิชาเศรษฐศาสตร์หรือเปล่าครับ
ในส่วนของความหมายของเงินที่เป็นความหมายในส่วนของ M2 ในความหมายของรายการเทียบเท่าเงินสดดังกล่าว
ถ้าไปเปิดดูในหมายเหตุประกอบงบการเงินส่วนใหญ่เป็น
1. รายการฝากบัญชีออมทรัพย์
2. รายการฝากบัญชีกระแสเงินสด
3. รายการฝากบัญชีประจำที่อายุน้อยกว่า 1 ปี
ซึ่งเป็นรายการที่ใกล้เคียงกับเงินสดอย่างมากๆ
ในความหมายของทางบัญชี มันคล้ายๆนิยมความหมายของเงินในวิชาเศรษฐศาสตร์หรือเปล่าครับ
ในส่วนของความหมายของเงินที่เป็นความหมายในส่วนของ M2 ในความหมายของรายการเทียบเท่าเงินสดดังกล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 9
เมื่อก่อนรายการนี้ไม่มีความเสี่ยง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ของรัฐก็ดี ของเอกชนก็ดี
รับประกันเงินฝาก 100% แต่ปัจจุบันในปีนี้ เดือนสิงหาคม 2555 มีการรับประกันเงินฝากที่ลดลงเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าใครที่สังเกตเห็นว่า บริษัทไหนที่มีอัตราส่วนพวก Current ratio และ Quick Ratio ที่มีค่าสูงๆนั้น ควรที่ลงไปตรวจสอบเรื่องเงินสดด้วยว่า เป็นเช่นไร เพราะความเสี่ยงในเรื่องการรับประกันเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาทนั้นมีผลต่อบริษัทที่่มีสภาพคล่องดังกล่าวมากเกินไป หรือ อุตสาหกรรมการที่มีลักษณะที่ถือเงินสดไว้มากๆ
รับประกันเงินฝาก 100% แต่ปัจจุบันในปีนี้ เดือนสิงหาคม 2555 มีการรับประกันเงินฝากที่ลดลงเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าใครที่สังเกตเห็นว่า บริษัทไหนที่มีอัตราส่วนพวก Current ratio และ Quick Ratio ที่มีค่าสูงๆนั้น ควรที่ลงไปตรวจสอบเรื่องเงินสดด้วยว่า เป็นเช่นไร เพราะความเสี่ยงในเรื่องการรับประกันเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาทนั้นมีผลต่อบริษัทที่่มีสภาพคล่องดังกล่าวมากเกินไป หรือ อุตสาหกรรมการที่มีลักษณะที่ถือเงินสดไว้มากๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 10
อันนี้พวกเราไม่ทราบจริงๆค่ะ M2 คืออะไรหรอคะmiracle เขียน:ถามต่อในรายการเทียบเท่าเงินสด
ถ้าไปเปิดดูในหมายเหตุประกอบงบการเงินส่วนใหญ่เป็น
1. รายการฝากบัญชีออมทรัพย์
2. รายการฝากบัญชีกระแสเงินสด
3. รายการฝากบัญชีประจำที่อายุน้อยกว่า 1 ปี
ซึ่งเป็นรายการที่ใกล้เคียงกับเงินสดอย่างมากๆ
ในความหมายของทางบัญชี มันคล้ายๆนิยมความหมายของเงินในวิชาเศรษฐศาสตร์หรือเปล่าครับ
ในส่วนของความหมายของเงินที่เป็นความหมายในส่วนของ M2 ในความหมายของรายการเทียบเท่าเงินสดดังกล่าว
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 12
เพิ่มเติมความรู้ทางเศรษศาสตร์ให้อีกนิด....
ปริมาณเงิน M2a หมายถึง ปริมาณเงินที่อยู่ในมือประชาชน(Broad Money M2a)
M2a = M2 + ตั๋วสัญญาใช้เงิน/ เงินที่บริษัทเงินทุนฯ รับฝากจากประชาชน
ปริมาณเงิน M3 หรือ ปริมาณเงินตามความหมายที่กว้างที่สุด (Broad Money M3)
M3 = เงินสด + เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่รับฝากจากประชาชน + เงินฝากในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุน
ปริมาณเงิน M2a หมายถึง ปริมาณเงินที่อยู่ในมือประชาชน(Broad Money M2a)
M2a = M2 + ตั๋วสัญญาใช้เงิน/ เงินที่บริษัทเงินทุนฯ รับฝากจากประชาชน
ปริมาณเงิน M3 หรือ ปริมาณเงินตามความหมายที่กว้างที่สุด (Broad Money M3)
M3 = เงินสด + เงินฝากทุกประเภทของสถาบันการเงินที่รับฝากจากประชาชน + เงินฝากในรูปของตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 13
M1 M1 คือการวัดปริมาณเงินในระบบ
M1 = ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ที่อยู่ในระบบ + เงินฝากกระแสรายวันที่อยู่กบสถานบันรับฝากเงิน
M2 = M1 + เงินฝากออมทรัพย์ ประจำ และอื่น + ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพานิชย์ บ.เงินทุนและธ.เฉพาะกิจ
m1 ปริมาณเงินในความหมายแคบ
m2 ปริมาณเงินในความหมายกว้าง
ปกติ m1 จะมีความผันผวนมากกว่าเมื่อเทียบกับ m2
ปล ไม่มีอะไร ผมเขียนไว้ตัวเองจะได้จำได้ด้วย
M1 = ธนบัตร เหรียญกษาปณ์ ที่อยู่ในระบบ + เงินฝากกระแสรายวันที่อยู่กบสถานบันรับฝากเงิน
M2 = M1 + เงินฝากออมทรัพย์ ประจำ และอื่น + ตราสารหนี้ที่ออกโดยธนาคารพานิชย์ บ.เงินทุนและธ.เฉพาะกิจ
m1 ปริมาณเงินในความหมายแคบ
m2 ปริมาณเงินในความหมายกว้าง
ปกติ m1 จะมีความผันผวนมากกว่าเมื่อเทียบกับ m2
ปล ไม่มีอะไร ผมเขียนไว้ตัวเองจะได้จำได้ด้วย
show me money.
- T50
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 14
ขอถามครับ อย่าหาว่าผมโง่เลย แต่ไม่รู้จริง ๆ
มีข้อสงสัย กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อครับ
1. ในงบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท (ตัวเลขสมมุติ) ยอดลูกหนี้ที่ว่านี้จะมีผลให้กิจการได้รับเงินสด 1,000 บาท ในงบกระแสเงินสดด้วยหรือป่าวครับ
มีข้อสงสัย กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อครับ
1. ในงบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท (ตัวเลขสมมุติ) ยอดลูกหนี้ที่ว่านี้จะมีผลให้กิจการได้รับเงินสด 1,000 บาท ในงบกระแสเงินสดด้วยหรือป่าวครับ
อย่าไปพนันกับการฟื้นตัวในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกำลังเสื่อมลง
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 15
ความคาดหวังในการบันทึกคนที่ติดเงินบริษัทเป็น "ลูกหนี้" ก็เพราะคิดว่าจะช้าเร็วลูกหนี้ก็นำเงินสดมาจ่ายบริษัท แต่ตราบใดที่บัญชีลูกหนี้เป็นลูกหนี้อยู่ (ไม่ลดลง) ก็แสดงว่าเงินสดยังไม่เข้ามาในบริษัท เพราะถ้าเงินสดเพิ่ม ลูกหนี้จะลด อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้อาจลดลงเนื่องจากลูกหนี้นั้นเบี้ยวหนี้จนกลายเป็นหนี้สูญ ในกรณีนี้ เงินสดไม่เข้าบริษัท แถมมีค่าใช้จ่่ยเพิ่มขึ้นจนทำให้กำไรลดลงT50 เขียน:ขอถามครับ อย่าหาว่าผมโง่เลย แต่ไม่รู้จริง ๆ
มีข้อสงสัย กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อครับ
1. ในงบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท (ตัวเลขสมมุติ) ยอดลูกหนี้ที่ว่านี้จะมีผลให้กิจการได้รับเงินสด 1,000 บาท ในงบกระแสเงินสดด้วยหรือป่าวครับ
สรุปคือ ลูกหนี้อาจทำให้เกิดเงินสดหรือค่าใช้จ่ายขึ้นิยู่กับว่าลูกหนี้ใช้เงินบริษัทหรือเปล่าค่ะ
- T50
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 16
กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อคงยากที่จะดูจากงบแสดงฐานะทางการเงินเพราะยอดลูกหนี้มีแต่เพิ่ม หากผมต้องการทราบยอดการชำระหนี้สามารถดูได้ในงบกระแสเงินสดได้เลยใช่หรือไม่parporn เขียน:ความคาดหวังในการบันทึกคนที่ติดเงินบริษัทเป็น "ลูกหนี้" ก็เพราะคิดว่าจะช้าเร็วลูกหนี้ก็นำเงินสดมาจ่ายบริษัท แต่ตราบใดที่บัญชีลูกหนี้เป็นลูกหนี้อยู่ (ไม่ลดลง) ก็แสดงว่าเงินสดยังไม่เข้ามาในบริษัท เพราะถ้าเงินสดเพิ่ม ลูกหนี้จะลด อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้อาจลดลงเนื่องจากลูกหนี้นั้นเบี้ยวหนี้จนกลายเป็นหนี้สูญ ในกรณีนี้ เงินสดไม่เข้าบริษัท แถมมีค่าใช้จ่่ยเพิ่มขึ้นจนทำให้กำไรลดลงT50 เขียน:ขอถามครับ อย่าหาว่าผมโง่เลย แต่ไม่รู้จริง ๆ
มีข้อสงสัย กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อครับ
1. ในงบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท (ตัวเลขสมมุติ) ยอดลูกหนี้ที่ว่านี้จะมีผลให้กิจการได้รับเงินสด 1,000 บาท ในงบกระแสเงินสดด้วยหรือป่าวครับ
สรุปคือ ลูกหนี้อาจทำให้เกิดเงินสดหรือค่าใช้จ่ายขึ้นิยู่กับว่าลูกหนี้ใช้เงินบริษัทหรือเปล่าค่ะ
อย่างเช่น งบกระแสเงินสด แสดงลูกหนี้ผ่อนชำระเป็น (200) แสดงว่ากิจการได้รับเงินจากลูกหนี้มา 200 บาท แล้วอีก 800 บาท คือเป็นหนี้สูญหรือ เพราะจากที่สมมุติข้างต้นได้ให้งบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท ผมเข้าใจถูกหรือป่าวครับ
อย่าไปพนันกับการฟื้นตัวในขณะที่ปัจจัยพื้นฐานของบริษัทกำลังเสื่อมลง
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เงินสด และรายการเทียบเท่าเงินสด
โพสต์ที่ 17
คำตอบคือ อาจจะใช่หรืออาจไม่ใช่ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของรายการT50 เขียน:กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อคงยากที่จะดูจากงบแสดงฐานะทางการเงินเพราะยอดลูกหนี้มีแต่เพิ่ม หากผมต้องการทราบยอดการชำระหนี้สามารถดูได้ในงบกระแสเงินสดได้เลยใช่หรือไม่parporn เขียน:ความคาดหวังในการบันทึกคนที่ติดเงินบริษัทเป็น "ลูกหนี้" ก็เพราะคิดว่าจะช้าเร็วลูกหนี้ก็นำเงินสดมาจ่ายบริษัท แต่ตราบใดที่บัญชีลูกหนี้เป็นลูกหนี้อยู่ (ไม่ลดลง) ก็แสดงว่าเงินสดยังไม่เข้ามาในบริษัท เพราะถ้าเงินสดเพิ่ม ลูกหนี้จะลด อย่างไรก็ตาม ลูกหนี้อาจลดลงเนื่องจากลูกหนี้นั้นเบี้ยวหนี้จนกลายเป็นหนี้สูญ ในกรณีนี้ เงินสดไม่เข้าบริษัท แถมมีค่าใช้จ่่ยเพิ่มขึ้นจนทำให้กำไรลดลงT50 เขียน:ขอถามครับ อย่าหาว่าผมโง่เลย แต่ไม่รู้จริง ๆ
มีข้อสงสัย กิจการที่ทำธุรกิจขายเชื่อครับ
1. ในงบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท (ตัวเลขสมมุติ) ยอดลูกหนี้ที่ว่านี้จะมีผลให้กิจการได้รับเงินสด 1,000 บาท ในงบกระแสเงินสดด้วยหรือป่าวครับ
สรุปคือ ลูกหนี้อาจทำให้เกิดเงินสดหรือค่าใช้จ่ายขึ้นิยู่กับว่าลูกหนี้ใช้เงินบริษัทหรือเปล่าค่ะ
อย่างเช่น งบกระแสเงินสด แสดงลูกหนี้ผ่อนชำระเป็น (200) แสดงว่ากิจการได้รับเงินจากลูกหนี้มา 200 บาท แล้วอีก 800 บาท คือเป็นหนี้สูญหรือ เพราะจากที่สมมุติข้างต้นได้ให้งบแสดงฐานะทางการเงิน แสดงยอดลูกหนี้ผ่อนชำระที่ครบกำหนดชำระผ่านใน 1 ปี = 1,000 บาท ผมเข้าใจถูกหรือป่าวครับ
ในงบกระแสเงินสด ลูกหนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปคือยอดลูกหนี้สุทธิ (ลูกหนี้ - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ลูกหนี้สุทธิที่เปลี่ยนแปลงไปคำนวณจาก ลูกหนี้สุทธิปลายงวด - ลูกหนี้สุทธิต้นงวด
งบกระแสเงินสดไม่ได้คำนวณให้เราเห็นเป๊ะๆ ว่าบริษัทได้รับชำระเงินจากลูกหนี้เท่าไร แม้จะทำให้เราพอเห็นภาพคร่าวๆ ได้ ถ้าต้องการรู้แน่ๆ ว่าบริษัทรับชำระเงินจากลูกหนี้เท่าไร เราต้องหาข้อมูลจากงบการเงินและหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อเข้าสูตร ต่อไปนี้
ลูกหนี้ที่ชำระเงิน = ลูกหนี้ต้นงวด + ขาย - ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เพิ่มขึ้นในระหว่างงวด + ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่ลดลงในระหว่างงวด - หนี้สูญตัดบัญชีในระหว่างวด + หนี้สูญกลับบัญชีในระหว่างงวด - ลูกหนี้ปลายงวด
บริษัทอาจเปิดเผย ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ รวมถึงหนี้สูญกลับบัญชีในกระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (รายการปรับปรุงกำไร ถ้าบริษัทเปิดเผยรายละเอียดไว้) หรือดูในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ยอดขายสุทธิและลูกหนี้ปลายงวดจะแสดงในงบกำไรขาดทุน งบดุล และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
ถ้าหาข้อมูลที่เข้าสูตรได้ทุกตัวจากงบการเงิน เราก็สามารถกระทบยอดการชำระเงินจากลูกหนี้ได้ ถ้าหาไม่ได้ทุกตัวก็ได้ภาพคร่าวๆ แต่ไม่เป๊ะ การดูเฉพาะยอดลูกหนี้สุทธิที่เปลี่ยนแปลงไปในงบกระแสเงินสดให้ภาพคร่าวๆ เกี่ยวกับกระแสเงินสดเท่านั้น