ว่าด้วย Technical Analysis
-
- Verified User
- โพสต์: 78
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 1
หลังจากคุณครรชิตได้เสนอวิธีการโพสต์รูปฟรี ตอนนี้ก็เริ่มมีความเป็นไปได้ที่เราจะเสนอทางเลือกในการตัดสินใจลงทุนแบบวิเคราะห์เชิง Technical Analysis
เนื่องจากมีสมาชิกหลายท่านอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ TA ของหุ้นบางตัว ผมจึงอยากเสนอให้สามารถโพสต์ถามและตอบได้ในกระทู้นี้ครับ เพื่อจะได้ไม่รบกวนท่านที่ไม่สนใจ
หากสมาชิกท่านใดเห็นว่า Technical Analysis ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ต้องอ่านกระทู้นี้ครับ
หวังว่าวิธีนี้จะเป็นประโยชน์กับสมาชิกทุกท่าน
Administrator
เนื่องจากมีสมาชิกหลายท่านอยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับ TA ของหุ้นบางตัว ผมจึงอยากเสนอให้สามารถโพสต์ถามและตอบได้ในกระทู้นี้ครับ เพื่อจะได้ไม่รบกวนท่านที่ไม่สนใจ
หากสมาชิกท่านใดเห็นว่า Technical Analysis ไม่เป็นประโยชน์ ก็ไม่ต้องอ่านกระทู้นี้ครับ
หวังว่าวิธีนี้จะเป็นประโยชน์กับสมาชิกทุกท่าน
Administrator
- Young-VI
- Verified User
- โพสต์: 132
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 2
พี่ admin ครับ
จะเป็นไปได้มั้ยครับที่จะแยก
เป็นห้อง TA อีกต่างหากเลย
เพื่อความเป็นสัดส่วนและ
ไม่ให้เกิดความสับสน
ในการให้ข้อมูลการลงทุนครับ
-Various Question
-ร้อยคนร้อยหุ้น
-Value Account
-Technique Analysis
ปล.
ไม่ได้มีเจตนาที่จะแยกเป็น VI กับ VS
นะครับ แต่เพื่อความเป็นระเบียบจริงๆ
จะเป็นไปได้มั้ยครับที่จะแยก
เป็นห้อง TA อีกต่างหากเลย
เพื่อความเป็นสัดส่วนและ
ไม่ให้เกิดความสับสน
ในการให้ข้อมูลการลงทุนครับ
-Various Question
-ร้อยคนร้อยหุ้น
-Value Account
-Technique Analysis
ปล.
ไม่ได้มีเจตนาที่จะแยกเป็น VI กับ VS
นะครับ แต่เพื่อความเป็นระเบียบจริงๆ
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 3
ตอบคุณ eva
ยังไม่เห็น การเกิด Divergence ครับ
ง่า...รบกวนอย่าถามหุ้นรายตัวเลยครับ
ขี้เกียจโดนด่า
เผอิญที่ผ่านมา สนุกมากไปหน่อยที่ได้โพสน์ภาพ
แต่ถ้า แลกเปลี่ยนความเห็นกันในเรื่องหลักการ ก็ ยินดีครับ
ยินดีตอบเท่าที่ได้รู้มา
ยังไม่เห็น การเกิด Divergence ครับ
ง่า...รบกวนอย่าถามหุ้นรายตัวเลยครับ
ขี้เกียจโดนด่า
เผอิญที่ผ่านมา สนุกมากไปหน่อยที่ได้โพสน์ภาพ
แต่ถ้า แลกเปลี่ยนความเห็นกันในเรื่องหลักการ ก็ ยินดีครับ
ยินดีตอบเท่าที่ได้รู้มา
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 5
post ณุปทำไงครับ ทำไม่เป็น
-
- ผู้ติดตาม: 0
ห้ามทานเนื้อ
โพสต์ที่ 6
...........จะทานเนื้อในโรงเจเนี่ยอ่ะนะ...................
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 8
พอได้มั้ยท่านนักดูดาว 8)ไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมาหุ้น
สุดจะวุ่นว้าจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
TAไซร้เมาประจำทุกค่ำคืน
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 9795
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 9
ผมเริ่มศึกษา TA อย่างจริงๆจังๆเมื่อเดือนที่แล้ว ตอนนี้จบ อ. 3 กำลัง...........จะทานเนื้อในโรงเจเนี่ยอ่ะนะ...................
จะขึ้น ป. 1
ตอนนี้เริ่มเข้าใจว่า ทำไม VS บางคนถึงได้หงุดหงิดนักเวลามาอ่าน
กระทู้ที่เขียนโดยชาว TVI
ผมเดาเอาว่า ชาว VS ส่วนใหญ่คงมองว่า พวก VI คิดว่า Buffett คือ
พระเจ้า พูดอะไรถูกหมด พอ Buffett พูดว่า TA ไร้สาระ ก็เฮตามกันไป
เหมือนไม่มีความคิดเป็นของตัวเอง
ถ้าคุณกำลังอยู่ในสงคราม คุณไม่อยากรู้หรือครับว่า strategy ของ
คู่ต่อสู้เป็นอย่างไร เขาคิดอย่างไร และจะทำอะไร
ถึงแม้คุณจะไม่ได้ใช้ยุทธวิธีเดียวกับเขาก็ตาม
การศึกษา "วิธีคิด" ของ Mr. Market เป็นเรื่องต้องห้ามหรือครับ
เราไม่ได้ซื้อหุ้นจากตลาดนะครับ อย่าลืมว่ามีอีกคนที่คิดตรงกันข้ามกับ
เรา ที่ซื้อหุ้นเราเมื่อเราขาย และขายหุ้นให้เราเมื่อเราซื้อ
-
- Verified User
- โพสต์: 2513
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 10
ท่าน ayethebing นี่คารมคมคายยิ่งนัก หุๆๆๆ นับถือๆๆๆ ขอคารวะหนึ่งเหยือกayethebing เขียน: พอได้มั้ยท่านนักดูดาว 8)
นี่ไปว่าเค้าเมา เด่วก็งอแงกันอีกหรอก ฮ่าๆๆๆๆ
เสริมท่าน CK ... บัฟเฟตไม่นับเป็นนักลงทุนรายย่อย เค้าลงทุนผ่านเบิร์กไชร์
นับเป็นนักลงทุนสถาบันนะครับ ปริมาณซื้อหุ้นแต่ละทีก็นับเป็นหลาย % ของ
หุ้นทั้งหมด นักลงทุนระดับนี้คงไม่ได้ประโยชน์จากการดักซื้อถูกๆ ด้วย
Technical Analysis เพราะกว่าจะได้หุ้นขนาดนั้น แม้จะมีสภาพคล่องเพียงใด ก็คงต้องซื้อหุ้นแพงพอควรอยู่แล้ว การที่บัฟเฟตจะไม่ใช่ Technical Analysis ก็ไม่แปลก
ถ้าคนปอดเล็กๆอย่างผม ไม่ใช้ Tecnical Analysis เลย..ผมก็ยังคงซื้อหุ้นถูกได้ แต่ก็คงพลาดโอกาสซื้อหุ้นถูกกว่า ไปเยอะเลยครับ
เสรีภาพก็เหมือนอากาศที่เราไม่อาจมองเห็นด้วยตา แต่จะรู้สึกได้ในทันทีหากมีมันอยู่เบาบางหรือขาดหายไป
-จีรนุช เปรมชัยพร
-จีรนุช เปรมชัยพร
- HI.ผมเอง
- Verified User
- โพสต์: 811
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 11
ก่อนอื่นเลย
ต้องขอโทษ นะ ถ้าบังเอิญ โพสน์หรือเขียนอะไรที่อาจอ่านแล้วไม่ค่อยถูกใจชาว TVI ในบางเรื่องซักเท่าไหร่
ไม่ได้มีเจตนา จริงๆครับ
ผมเข้าตลาดหุ้นมาปีนี้เกือบจะห้าปีแล้ว
ปีสองปีแรก เล่นสนุกๆ เฉพาะ หุ้นของบริษัทตัวเอง
ปีที่3 ลองไปเข้าหลักสูตรอบรม เรื่องเทคนิค เพราะคิดว่าน่าจะเข้าใจง่ายกว่าปัจจัยพื้นฐานและ เข้าใจว่าการอ่านงบการเงินเนี่ยต้องใช้ประสบการณ์และความรู้มาก เลยเลือกศึกษาทางเทคนิคก่อน
รู้อะไรมั๊ยครับ
ผมเห็นว่า แม้กระทั่งอ.ที่สอน เค้ายังให้เครดิตกับปัจจัยพื้นฐานมากแม้ไม่ใช่ทางของเค้า
ผมก็ลองผิดถูกเรื่อยๆมา
จนกระทั่ง2ปีที่ผ่านมา
ผมมาอ่านที่TVI เนี่ย ก็เลยเริ่มสนใจปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น
ชอบอ่านมากเลยก็คือ คุณฉัตรชัย คุณวิบูลย์ ลูงขวด และท่านอื่นๆรวมถึงความเอื้ออาทรข้อมูลของคุณครรชิต
ก็เลยหาคอร์ตอบรมเรื่องปัจจัยพื้นฐานและ อบรมกับทางสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ประมาณ2คอร์ตรวมถึงหากหนังสือในแนวนี้มาอ่านเพิ่มเติม(แต่ยังหาหนังสือ ดร.วรศักดิ์ ทุมมานนท์ มาอ่านไม่ได้เลยครับคุณฉัตรชัย ฮิฮิ)
หนังสือแนวนี้ที่ชาว TVI อ่าน ผมตามมาอ่านเกือบหมด
ไม่ได้มุ่งหวังว่าจะได้ เก่งเทคนิค
ไม่ได้มุ่งหวังว่าจะเก่งปัจจัยพื้นฐาน
ขอแค่เอาตัวรอดจากตลาดที่ผันผวนและมีความเสี่ยงสูง
ผมว่าผมก็ลองไปเรื่อย
เชื่อมั๊ยครับ
ผมเห็นมุมมองของนักลงทุนทั้ง2กลุ่ม(เท่าที่ได้พูดคุย)
ผมไม่เคยเห็นชาว TA เห้นว่าปัจจัยพื้นฐานเป็นเรื่องงี่เง่า
แต่ตรงกันข้ามครับ
นักลงทุนทางปัจจัยพื้นฐานบางคนหรือไม่ก็รู้แบบงูๆปลาๆแต่ยึดมั่นถือมั่นกับอติ มักมอง ว่าTA เป้นเรื่องที่ดูงี่เง่า
แปลกดีเหมือนกันนะ
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อในสัณชาติญานของตัวเอง โดยผสมผสานทั้งสองเรื่อง
บัฟเฟต เมื่อเริ่มต้นก็ยังเริ่มด้วย เทคนิค
มีใครตอบได้มั๊ยว่าทุกวันนี้เค้ายังใช้มันอยู่หรือไม่ตอนที่จะทำอาบริทราท
แต่มีเรื่องเล่าอีก
ตอนผมอบรมเรื่องปัจจัยพื้นฐาน มีอ.ท่านหนึ่ง ชื่อดังในแนวVI เค้าค่อนข้างขะเหยียดๆกับTA ว่าดูกร๊าฟแบบนั่งเทียน 555.....
น่าตลกดี ผมเข้าใจแล้วว่าทำไมบางคนที่ศึกษามาด้านปัจจัยพื้นฐานเพียงด้านเดียวถึงได้ค่อนข้างมีอติกับTA
เขียนมายาวเหยียดเลย นะเนี่ย
แต่ก่อนนิยมอ่านมาก เดี๋ยวนี้กลับมาเขียนมาก....
สงสัยต้องกลับไปอ่านอย่างเดียว น่าจะดีกว่า....555...
กลายเป็นคนแก่ขี้บ่นไปแล้วเรา ฮิฮิ
ระวังกลอนบทนี้จะไปจุดไฟคนใจร้อนนะครับ
อีกอย่างนะครับ
ผมว่าปิดกระทู้นี้ก่อนจะมีคนLINK ไปที่อื่นดีกว่า เดี๋ยวมาเถียงกันแบบก่อนอีก
แล้วก็อย่าพูดถึงเรื่อง OVERBOUGHT หรือ ขาลงของราคาหุ้น อะไรอีกเลย
ถ้าจะพูดก็พูดถึงเรื่องผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอย่างเดียว อย่าไปสนใจสภาพตลาดรวม
ให้เป็นเหมือนเมื่อก่อนดีกว่า ผมชอบนะ มันเป็นตัวของตัวเองดี
ต้องขอโทษ นะ ถ้าบังเอิญ โพสน์หรือเขียนอะไรที่อาจอ่านแล้วไม่ค่อยถูกใจชาว TVI ในบางเรื่องซักเท่าไหร่
ไม่ได้มีเจตนา จริงๆครับ
ผมเข้าตลาดหุ้นมาปีนี้เกือบจะห้าปีแล้ว
ปีสองปีแรก เล่นสนุกๆ เฉพาะ หุ้นของบริษัทตัวเอง
ปีที่3 ลองไปเข้าหลักสูตรอบรม เรื่องเทคนิค เพราะคิดว่าน่าจะเข้าใจง่ายกว่าปัจจัยพื้นฐานและ เข้าใจว่าการอ่านงบการเงินเนี่ยต้องใช้ประสบการณ์และความรู้มาก เลยเลือกศึกษาทางเทคนิคก่อน
รู้อะไรมั๊ยครับ
ผมเห็นว่า แม้กระทั่งอ.ที่สอน เค้ายังให้เครดิตกับปัจจัยพื้นฐานมากแม้ไม่ใช่ทางของเค้า
ผมก็ลองผิดถูกเรื่อยๆมา
จนกระทั่ง2ปีที่ผ่านมา
ผมมาอ่านที่TVI เนี่ย ก็เลยเริ่มสนใจปัจจัยพื้นฐานมากขึ้น
ชอบอ่านมากเลยก็คือ คุณฉัตรชัย คุณวิบูลย์ ลูงขวด และท่านอื่นๆรวมถึงความเอื้ออาทรข้อมูลของคุณครรชิต
ก็เลยหาคอร์ตอบรมเรื่องปัจจัยพื้นฐานและ อบรมกับทางสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ประมาณ2คอร์ตรวมถึงหากหนังสือในแนวนี้มาอ่านเพิ่มเติม(แต่ยังหาหนังสือ ดร.วรศักดิ์ ทุมมานนท์ มาอ่านไม่ได้เลยครับคุณฉัตรชัย ฮิฮิ)
หนังสือแนวนี้ที่ชาว TVI อ่าน ผมตามมาอ่านเกือบหมด
ไม่ได้มุ่งหวังว่าจะได้ เก่งเทคนิค
ไม่ได้มุ่งหวังว่าจะเก่งปัจจัยพื้นฐาน
ขอแค่เอาตัวรอดจากตลาดที่ผันผวนและมีความเสี่ยงสูง
ผมว่าผมก็ลองไปเรื่อย
เชื่อมั๊ยครับ
ผมเห็นมุมมองของนักลงทุนทั้ง2กลุ่ม(เท่าที่ได้พูดคุย)
ผมไม่เคยเห็นชาว TA เห้นว่าปัจจัยพื้นฐานเป็นเรื่องงี่เง่า
แต่ตรงกันข้ามครับ
นักลงทุนทางปัจจัยพื้นฐานบางคนหรือไม่ก็รู้แบบงูๆปลาๆแต่ยึดมั่นถือมั่นกับอติ มักมอง ว่าTA เป้นเรื่องที่ดูงี่เง่า
แปลกดีเหมือนกันนะ
โดยส่วนตัวแล้ว ผมเชื่อในสัณชาติญานของตัวเอง โดยผสมผสานทั้งสองเรื่อง
บัฟเฟต เมื่อเริ่มต้นก็ยังเริ่มด้วย เทคนิค
มีใครตอบได้มั๊ยว่าทุกวันนี้เค้ายังใช้มันอยู่หรือไม่ตอนที่จะทำอาบริทราท
แต่มีเรื่องเล่าอีก
ตอนผมอบรมเรื่องปัจจัยพื้นฐาน มีอ.ท่านหนึ่ง ชื่อดังในแนวVI เค้าค่อนข้างขะเหยียดๆกับTA ว่าดูกร๊าฟแบบนั่งเทียน 555.....
น่าตลกดี ผมเข้าใจแล้วว่าทำไมบางคนที่ศึกษามาด้านปัจจัยพื้นฐานเพียงด้านเดียวถึงได้ค่อนข้างมีอติกับTA
เขียนมายาวเหยียดเลย นะเนี่ย
แต่ก่อนนิยมอ่านมาก เดี๋ยวนี้กลับมาเขียนมาก....
สงสัยต้องกลับไปอ่านอย่างเดียว น่าจะดีกว่า....555...
กลายเป็นคนแก่ขี้บ่นไปแล้วเรา ฮิฮิ
ก็ว่ากันไป 555...นะไม่เมาเหล้าแล้วเรายังเมาหุ้น
สุดจะวุ่นว้าจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป
TAไซร้เมาประจำทุกค่ำคืน
ระวังกลอนบทนี้จะไปจุดไฟคนใจร้อนนะครับ
อีกอย่างนะครับ
ผมว่าปิดกระทู้นี้ก่อนจะมีคนLINK ไปที่อื่นดีกว่า เดี๋ยวมาเถียงกันแบบก่อนอีก
แล้วก็อย่าพูดถึงเรื่อง OVERBOUGHT หรือ ขาลงของราคาหุ้น อะไรอีกเลย
ถ้าจะพูดก็พูดถึงเรื่องผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนอย่างเดียว อย่าไปสนใจสภาพตลาดรวม
ให้เป็นเหมือนเมื่อก่อนดีกว่า ผมชอบนะ มันเป็นตัวของตัวเองดี
-
- Verified User
- โพสต์: 403
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 13
ผมเชื่อครับว่าคนดู TA เก่งๆมีจริง และได้ประโยชน์จากตรงนี้ แต่เท่าที่เจอมา ข้อมูลเรื่องการวิเคราะห์ไม่ค่อยได้เปิดเผยกัน และเมื่อวิเคราะห็ไม่ตรง เลยเหมือนคนวิเคราะห์คิดไปเองเลยถูกแซวว่านั่งเทียน
แนวความคิด ในการอ่านกราฟถ้ามาจากสถิติในอดีต ก็ถือเป็นหลักวิชาการได้เลยกับ (ถือว่าไม่ได้มั่ววิเคราะห์)
ถ้าใครเก่งๆ ช่วยมาสอนบ้างก็ดีนะครับ จะได้เป็น TA กับเขาบ้าง ฮิฮิ
แนวความคิด ในการอ่านกราฟถ้ามาจากสถิติในอดีต ก็ถือเป็นหลักวิชาการได้เลยกับ (ถือว่าไม่ได้มั่ววิเคราะห์)
ถ้าใครเก่งๆ ช่วยมาสอนบ้างก็ดีนะครับ จะได้เป็น TA กับเขาบ้าง ฮิฮิ
ท้าชนความคิด vi ทุกสถาบัน
-
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 14
ปกติเข้ามาอ่านที่นี่เรื่อยๆครับ แนะนำคนอื่นๆให้มาอ่านที่นี่เสมอ ถ้าต้องการข้อมูลด้าน Fundemental Analysis แต่ไม่เคยโพสต์สักที
วันนี้เห็นหัวข้อแล้วรู้สึกว่า อยากจะโพสต์สิ่งที่เคยโพสต์ในห้องสินธรซ้ำอีกครั้ง เหมือนฉายหนังรอบสองน่ะครับ เพราะเคยเกิดวิกฤตกาณ์ทางความคิดระหว่าง Fundemental Analysis และ Technical Analysis มาครั้งหนึ่งที่ห้องสินธร
------------------------------------------------------------------------------------------------
อยากเริ่มต้นด้วยข้อคิดที่เคยอ่านผ่านมาจากที่ไหนก็จำไม่ได้แล้ว
ความคิดที่เหมือนกัน......................เป็นสิ่งที่ต้องระวัง
ความคิดที่เหมือนกัน.......................ไม่จำเป็นจะต้องถูก
ความเห็นที่แตกต่างกัน....................เป็นสิ่งที่ดี
คนที่มีความเห็นเหมือนกับเรา..........ไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี
คนที่มีเพียงความเห็นต่างจากเรา......เขายังไม่ใช่คนเลว
เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า
ทำไมทุกโบรกเกอร์ จึงต้องมีทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิคให้กับลูกค้า
คำตอบ....ก็เพื่อประโยชน์ของตัวโบรกเกอร์เองครับ
เพราะเขารู้ดีว่า นักลงทุนแบ่งตัวเองเป็นประเภทใหญ่ๆได้สองประเภท แล้วถ้าต้องการจะดึงเม็ดเงินจากคนมีเงินมาในตลาดทุน
จะต้องมีของเล่นทั้งสองแบบ เพื่อให้เป็นของเล่นสำหรับนักลงทุน ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อให้นักลงทุนแต่ละประเภท ทำการตัดสินใจซื้อ-ขาย (ซะที)
เพราะทุกครั้งที่ นักลงทุนตัดสินใจ ไม่ว่าซื้อ หรือ ขาย เขาจะได้เงินครับ (ยกเว้นตัดสินใจเลิกเล่นหุ้น)
หุ้นเริ่มขึ้นก็บอกราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานให้ทยอยซื้อ หรือสะสมหุ้นได้แล้ว(Collect)
พอขึ้นต่อเนื่องก็บอกให้คนมีหุ้นราคาต่ำขายทำกำไรออกไปบางส่วน(Take Profit) เพื่อลดความเสี่ยง
ถ้าใครยังไม่มีหุ้นเลย หรือพอร์ตว่างอยู่ก็ให้ ซื้อตาม (Follow Buy) ซะ เดี๋ยวเสียโอกาส
พอหุ้นตกเบาๆ แต่โวลุ่มซื้อขายหนาๆ ก็บอกให้ซื้อเฉลี่ย ( Average)
พอหุ้นตกเบาๆ และโวลุ่มเหลือบางๆ ก็ให้ขายตัดขาดทุน( Cut Loss)หรือ เปลี่ยนตัวเล่น (Switch)
พอหุ้นตกต่อเนื่องสม่ำเสมอ ก็บอกว่าแนวโน้มเป็นขาลง ให้ขายออกไปก่อนแล้วรับกลับใหม่ในราคาที่ต่ำกว่า (Short against port)
หุ้นตกหนักๆ ก็มาบอกใหม่ว่าราคานี้ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานอีกครั้งแล้ว ให้ทยอยซื้อ หรือสะสมหุ้นได้แล้ว (เตือนเหมือนเครื่องบินจะออก ยังไง ยังงั้น)
วนเป็นวัฎจักรอยู่อย่างนี้แหละครับ
เห็นไม๊ครับ ทุกๆคำแนะนำจะทำให้นักลงทุนทั้งสองประเภท มีกิจกรรมการลงทุน ซื้อ หรือ ขาย ร่ำไป พวกแนว FA ก็ซื้อขายกันไปอาจจะน้อยรอบหน่อย
แต่ที่โบรกชอบมากคือ แนว TA เพราะซื้อขายมากรอบหน่อย ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อค่าคอมมิชชั่นอันเป็นที่รักยิ่งนั่นเอง
ที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นการเสิร็ฟน้ำจิ้มก่อนนะครับ ต่อไปเป็นน้ำแกง ( รสกระดูกหมู ...เหมือนหุ้น ที่เห็นหมูๆ เคี้ยวเข้าไปดัน เจอกระดูก)
Fundemental Analysis V.S. Technical Analysis
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ปะทะ การวิเคราะห์ทางเทคนิค
เริ่มจาก Fundemental Analysis
ปรัชญาหรือแนวคิด ของการลงทุนของสำนักนี้ คือ
...การครอบครองหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีในราคาที่เหมาะสม..
ดังนั้น ศิษย์สำนักนี้ จะสนใจเน้นหนักในแง่การวิเคราะห์ว่า
1.บริษัทใดเป็นกิจการที่มีกิจกรรมทางธุรกิจที่ดีและซื่อสัตย์ต่อผู้ถือหุ้น
2. ราคาหุ้นที่แท้จริง (Intrinsic Value) ควรจะเป็นราคาเท่าไหร่
และสองข้อนี้แหละ ก็เป็นโจทย์ข้อใหญ่ให้ ศิษย์สำนักนี้ มีอะไรทำทุกวัน
ส่วนด้าน การวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis)
ปรัชญาหรือแนวคิดของการลงทุนของสำนักนี้คือ
.....ราคาหุ้นได้สะท้อนทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในตัวมันแล้ว มีแนวโน้มที่มองเห็นได้ และเกิดซ้ำๆเสมอๆ ....
ดังนั้น นักลงทุนประเภทนี้ จะสนใจเน้นหนักในแง่การวิเคราะห์ว่า
1.หุ้นอะไรที่ราคาของมันกำลังเคลื่อนไหวอยู่
2.แนวโน้มของราคาหุ้นนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป
และสองข้อนี้อีกเหมือนกัน ที่เป็นโจทย์ข้อใหญ่ให้ ศิษย์สำนักนี้ มีอะไรทำทุกวัน เหมือนกัน
จากแนวคิดที่อยู่คนละฐาน ทำให้การปฏิบัติตนเพื่อให้บรรลุถึงมรรคา หรือการหาหนทางสู่ความสำเร็จในการลงทุน ออกมาเป็นมาคนละแบบ
มีวิถีปฏิบัติ และ กิจวัตรที่แตกต่างกัน
จุดแข็งของทั้งสองแบบ คือ ...ปรัชญาหรือแนวคิด....ของมันนั่นแหละ ที่เป็นเสาหลัก ค้ำจุนแนวทาง....ปฏิบัติ...ของตัวมันเอง
คำถาม: แล้วจุดอ่อน หรืออุปสรรคแห่งมรรคาหรือปัญหาของแต่ละวิถีทางล่ะอยู่ที่ตรงไหน
คำตอบ: ก็อยู่ตรงการหาวิธีปฏิบัติให้ได้ตาม แนวคิดที่เป็นเสาหลักนั้น ....นั่นเองแหละครับ
เพราะอะไร
เพราะ ในแนวทาง Fundemental Analysis ที่ชาว VI (Value Investor) ศิษย์ของสำนักนี้ยึดถือเป็นสรณะนั้น เขาต้องบรรลุ 2 ข้อนี้ให้ได้ คือ
1. ต้องนิยามหรือกำหนด คุณลักษณะของบริษัทที่ดี แล้วใช้เป็นเกณฑ์ในการกลั่นกรอง หาบริษัทที่ตัวเองต้องการลงทุน
2. ต้องคำนวณออกมาให้ได้ว่า ราคาหุ้นของบริษัทที่เลือกมา มีราคาที่แท้จริง (Intrinsic Value) อยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อตัดสินใจว่าจะเข้าครอบครองหุ้นนั้นหรือไม่
ข้อแรกก็ว่ายากแล้วเพราะเป็นนามธรรม
แต่ข้อสองนี่สิ ยากยิ่งกว่า เพราะต้องคำนวณออกมาให้ได้เป็นตัวเลขเลย ซึ่งที่ว่ายากก็เพราะว่า หลายๆปัจจัยที่นำมาคำนวณ ต้องตั้งสมมติฐานเอาครับ เช่น
ดอกเบี้ยคิดลด ( Discount Rate) ตัวนี้ตัวเดียว ถ้าตั้งตัวเลขไม่เท่ากันจะทำให้คำนวณราคาหุ้นออกมาคนละเรื่องเลยนะครับ ยังไม่ต้องไปพูดถึง ศักยภาพในการทำกำไรในอนาคต ที่จะสะท้อนออกมาในรูปของเงินปันผล ที่เอามาคิดค่า กำไรต่อหุ้น (Earning Per Share: EPS) แล้วต้องมากำหนดค่า P/E Ratio ว่าควรจะเป็นกี่เท่าจึงจะเหมาะสม ซึ่งก็ต้องไปอ้างอิงกับภาคอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งก็ต้องมาตั้งสมมติฐานต่างๆอีก แล้วค่อยคำนวณย้อนกลับ มาเป็น ราคาหุ้นอีกครั้งหนึ่ง
จะเห็นได้ว่าปัจจัยพื้นฐาน ที่เป็นตัวเลขที่ไม่หยุดนิ่ง แล้วมาเกี่ยวข้องมีมากมาย ขอยกตัวอย่าง สักตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ
อัตราดอกเบี้ย ซึ่งไม่เคยและไม่มีทาง ที่จะหยุดนิ่งได้
เพราะอะไร
เพราะ มันจะ แปรเปลี่ยนไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายเช่นกัน ( ปัจจัยอื่นๆ กระทบและทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนเปลง แล้วพอดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง ก็เป็นปัจจัยไปกระทบและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยอื่นๆ แล้วปัจจัยอื่นๆเหล่านั้น ก็ย้อนกลับมากระทบอัตราดอกเบี้ยอีก เป็นวัฏจักรอันซับซ้อนกลับไปกลับมาเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่)
ขอแทรกนิดนึง
ถึงตรงนี้ อยากบอกว่า การกำหนด อัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคำนวณหาราคาหุ้น ในแนวทางของ Fundemental Analysis จำเป็นต้องดูแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในอดีตเพื่อเอามากำหนดให้กับปัจจุบันและอนาคตว่าควรจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งก็ต้องดูกราฟและศึกษาข้อมูลในอดีตมาประกอบ เนื่องจากมันมีแนวโน้มที่ติดตามได้แล้วก็เกิดขึ้นซ้ำๆเป็นวัฏจักร
.....ซึ่งตรงนี้มันก็เหมือนกับการมองแนวโน้มทางเทคนิคของราคาหุ้น (Technical Analysis เรื่อง Trend) นั่นเอง
มาต่อกันอีกที
นอกจากอัตราดอกเบี้ยที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่เป็นตัวเลขแล้ว ปัจจัยพื้นฐานอื่นที่เป็นและไม่เป็นตัวเลขอีกล่ะ เอาแค่ นโยบายของรัฐบาล ด้านตลาดทุนข้อเดียว คือ
เปิดเสรีค่าคอมหรือเปล่า(ปัจจัยที่ยังไม่เป็นตัวเลข) ถ้าเปิดแล้ว จะเหลืออัตราเท่าไหร่(เป็นตัวเลขแล้วแต่ยังไม่คงที่) แค่นโยบายข้อเดียวนี้ ก็ทำให้ปัจจัยพิ้นฐานในการคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของราคาหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์เปลี่ยนเลยนะครับ และเกิดคำถามที่ต้องหาคำตอบอีกมากมาย เช่น จะกระทบกับมูลค่าการซื้อขายหุ้นแต่ละวันยังไง กำไรจากค่าคอมมิชชั่นจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคในการคำนวณหามูลค่าหุ้นที่แท้จริงของบริษัทหลักทรัพย์หนึ่งๆ (ว่าจริงๆแล้วราคาหุ้นที่คำนวณออกมาได้น่ะ มันจะถูกต้อง หรือเชื่อถือได้แค่ไหน แล้วเชื่อถือไปได้นานเท่าไหร่ในราคาที่คำนวณได้ขณะนี้)
พอจะเริ่มเห็นภาพของอุปสรรคแห่งมรรคาหรือปัญหาบนเส้นทางเดินของนักลงทุนทางฝั่ง Fundemental Analysis บ้างแล้วนะครับ
ขอตัดกลับไปทางฝั่ง Technical Analysis บ้าง
อุปสรรคแห่งมรรคาหรือปัญหาของวิถีแห่ง Technical Analysis ที่ศิษย์สำนักนี้ต้องเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คือ
1. ต้องหาออกมาให้ได้ว่า ราคาหุ้นตัวไหนกำลังเคลื่อนไหวอยู่
2. แนวโน้มของราคาจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต
ข้อแรกไม่ยากเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวนี้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ประมวลผลหา Most active, Max-Min. ( Profit, Loss, Fluctuation )เป็น Real Time ให้เสร็จ แล้วยังสรุปตอนปิดตลาดในลักษณะต่างๆ อีกมากมาย (แต่ถ้านึกถึงตอนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์แล้วต้องมานั่งพล็อตกราฟลงกระดาษ ลองคิดดูว่า มันจะยากลำบากขนาดไหนกว่าที่ศาสตร์ด้านนี้จะพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ )
มาถึงข้อที่สองนี่สิ จะใช้เครื่องมือตัวไหน
แล้วที่สำคัญ จะใช้อย่างไร เอาแค่ Moving Average ตัวเดียว จะกำหนดค่าจำนวนวัน เท่าไหร่
ตั้งค่าน้อยๆ กราฟก็ไว ตัดขึ้นเร็ว ตัดลงเร็ว ทำให้ซื้อไวขายไว ความเสี่ยงอาจจะต่ำ แต่ค่าคอมมิชชั่นต้องเสียเยอะ ขายหมูก็บ่อย ซื้อหมาก็มาก
พอตั้งค่าไว้มากๆ กราฟก็ช้า ตัดขึ้นช้า ตัดลงช้า เสียค่าคอมมิชชั่นอาจจะน้อย เวลาซื้ออาจจะได้ราคาที่ไม่ต่ำ แล้วถ้าเวลาพลาดต้องตัดขาดทุน มันจะลงลึก ขาดทุนเยอะ แต่ถ้า ตลาดเป็นขาขึ้นยาวๆ กำไรก็เป็นกอบเป็นกำ
นี่ ยังไม่พูดถึงเครื่องมือตัวอื่นๆเช่น
กราฟแท่งเทียน มีไม่รู้กี่แบบ ดาวประกายพฤกษ์ แท่งร่ม อีกาสามตัว ไส้เทียนยาว ไส้เทียนสั้น (จุดติดมั่ง ลมพัดดับมั่ง ก็ว่ากันไป) ฯลฯ
คลื่นเอลเลียตอีก นับกันเข้าไป นับสิบคน ก็บอกสิบแบบ ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิด (เพราะมันไม่มีเฉลยเหมือนข้อสอบ เอ็นทรานซ์)
แล้ว Stochastic, RSI, ทฤษฎีดาว (Dow Theory), ตัวเลข Fibonacci ฯลฯ อีกล่ะ มากมายครับ แต่ละเทคนิคมีที่มา ที่ไป ที่น่าสนใจ
บางเทคนิคมีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นร้อยๆปี หรือ หลายร้อยปี
จะว่าตื้นก็ตื้น จะว่าลึกซึ้งก็ลึกซึ้ง ซึ่งสุดแล้วแต่สติและปัญญาของแต่ละคน (เหมือนๆกับดูหนังเรื่องเดียวกัน แต่สิ่งที่แต่ละคนได้จากการดูหนัง ไม่เหมือนกัน)
แล้วจะใช้เครื่องมือเดียวโดด ๆ หรือใช้ผสมผสานกัน แล้วจะผสมอะไรกับอะไร ให้น้ำหนักตัวไหนมากตัวไหนน้อย ใช้ตัวไหนนำ ตัวไหนตาม
ร้อยแปดที่ผุดเข้ามาในสมองและจิตใจ
จนถึงขั้นที่ว่า ถ้าวิธีที่ใช้อยู่ได้ผล มันมีวิธีที่ดีกว่านี้อีกหรือไม่ อย่างไร ในการสร้างโอกาส และจำกัดความเสี่ยงในการลงทุน
(เหมือนเล่นโกะ แล้วปรารถนาที่จะเป็น...หัตถ์เทวะ ยังไงยังงั้น)
พอจะเริ่มเข้าใจวิถีทางของนักลงทุนของทางฝั่ง Technical Analysis เพิ่มขึ้นบ้างนะครับ
และทั้งหมด เป็น การแสดงความเห็นกับทั้งสองแนวทางด้วยมุมมองของผมเองอย่างกว้างๆ
เนื่องจากผมให้ความสนใจกับทั้งสองแนวทาง
โดยส่วนตัวแล้วให้ความสำคัญประดุจดั่ง.......รูจมูก.....ซ้ายและขวา
หมายถึง.....ขาดไปรูผมก็อยู่ได้....... แต่มันจะหายใจไม่สะดวก
สุดท้าย
การลงทุน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
สำหรับคนที่เก่งอยู่แล้วผมก็ขอคารวะ
แต่สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มต้น ก็ขอให้
...............เรียนรู้ด้วยสมองและทุ่มเทด้วยหัวใจ.........
และขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จและโชคดีในวิถีทางของการลงทุน....ไม่ว่าจะในแนวทางใดๆ
สวัสดีครับ
วันนี้เห็นหัวข้อแล้วรู้สึกว่า อยากจะโพสต์สิ่งที่เคยโพสต์ในห้องสินธรซ้ำอีกครั้ง เหมือนฉายหนังรอบสองน่ะครับ เพราะเคยเกิดวิกฤตกาณ์ทางความคิดระหว่าง Fundemental Analysis และ Technical Analysis มาครั้งหนึ่งที่ห้องสินธร
------------------------------------------------------------------------------------------------
อยากเริ่มต้นด้วยข้อคิดที่เคยอ่านผ่านมาจากที่ไหนก็จำไม่ได้แล้ว
ความคิดที่เหมือนกัน......................เป็นสิ่งที่ต้องระวัง
ความคิดที่เหมือนกัน.......................ไม่จำเป็นจะต้องถูก
ความเห็นที่แตกต่างกัน....................เป็นสิ่งที่ดี
คนที่มีความเห็นเหมือนกับเรา..........ไม่จำเป็นต้องเป็นคนดี
คนที่มีเพียงความเห็นต่างจากเรา......เขายังไม่ใช่คนเลว
เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า
ทำไมทุกโบรกเกอร์ จึงต้องมีทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและการวิเคราะห์ทางเทคนิคให้กับลูกค้า
คำตอบ....ก็เพื่อประโยชน์ของตัวโบรกเกอร์เองครับ
เพราะเขารู้ดีว่า นักลงทุนแบ่งตัวเองเป็นประเภทใหญ่ๆได้สองประเภท แล้วถ้าต้องการจะดึงเม็ดเงินจากคนมีเงินมาในตลาดทุน
จะต้องมีของเล่นทั้งสองแบบ เพื่อให้เป็นของเล่นสำหรับนักลงทุน ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เพื่อให้นักลงทุนแต่ละประเภท ทำการตัดสินใจซื้อ-ขาย (ซะที)
เพราะทุกครั้งที่ นักลงทุนตัดสินใจ ไม่ว่าซื้อ หรือ ขาย เขาจะได้เงินครับ (ยกเว้นตัดสินใจเลิกเล่นหุ้น)
หุ้นเริ่มขึ้นก็บอกราคาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานให้ทยอยซื้อ หรือสะสมหุ้นได้แล้ว(Collect)
พอขึ้นต่อเนื่องก็บอกให้คนมีหุ้นราคาต่ำขายทำกำไรออกไปบางส่วน(Take Profit) เพื่อลดความเสี่ยง
ถ้าใครยังไม่มีหุ้นเลย หรือพอร์ตว่างอยู่ก็ให้ ซื้อตาม (Follow Buy) ซะ เดี๋ยวเสียโอกาส
พอหุ้นตกเบาๆ แต่โวลุ่มซื้อขายหนาๆ ก็บอกให้ซื้อเฉลี่ย ( Average)
พอหุ้นตกเบาๆ และโวลุ่มเหลือบางๆ ก็ให้ขายตัดขาดทุน( Cut Loss)หรือ เปลี่ยนตัวเล่น (Switch)
พอหุ้นตกต่อเนื่องสม่ำเสมอ ก็บอกว่าแนวโน้มเป็นขาลง ให้ขายออกไปก่อนแล้วรับกลับใหม่ในราคาที่ต่ำกว่า (Short against port)
หุ้นตกหนักๆ ก็มาบอกใหม่ว่าราคานี้ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานอีกครั้งแล้ว ให้ทยอยซื้อ หรือสะสมหุ้นได้แล้ว (เตือนเหมือนเครื่องบินจะออก ยังไง ยังงั้น)
วนเป็นวัฎจักรอยู่อย่างนี้แหละครับ
เห็นไม๊ครับ ทุกๆคำแนะนำจะทำให้นักลงทุนทั้งสองประเภท มีกิจกรรมการลงทุน ซื้อ หรือ ขาย ร่ำไป พวกแนว FA ก็ซื้อขายกันไปอาจจะน้อยรอบหน่อย
แต่ที่โบรกชอบมากคือ แนว TA เพราะซื้อขายมากรอบหน่อย ซึ่งทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อค่าคอมมิชชั่นอันเป็นที่รักยิ่งนั่นเอง
ที่กล่าวมาทั้งหมดก็เป็นการเสิร็ฟน้ำจิ้มก่อนนะครับ ต่อไปเป็นน้ำแกง ( รสกระดูกหมู ...เหมือนหุ้น ที่เห็นหมูๆ เคี้ยวเข้าไปดัน เจอกระดูก)
Fundemental Analysis V.S. Technical Analysis
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ปะทะ การวิเคราะห์ทางเทคนิค
เริ่มจาก Fundemental Analysis
ปรัชญาหรือแนวคิด ของการลงทุนของสำนักนี้ คือ
...การครอบครองหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีในราคาที่เหมาะสม..
ดังนั้น ศิษย์สำนักนี้ จะสนใจเน้นหนักในแง่การวิเคราะห์ว่า
1.บริษัทใดเป็นกิจการที่มีกิจกรรมทางธุรกิจที่ดีและซื่อสัตย์ต่อผู้ถือหุ้น
2. ราคาหุ้นที่แท้จริง (Intrinsic Value) ควรจะเป็นราคาเท่าไหร่
และสองข้อนี้แหละ ก็เป็นโจทย์ข้อใหญ่ให้ ศิษย์สำนักนี้ มีอะไรทำทุกวัน
ส่วนด้าน การวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis)
ปรัชญาหรือแนวคิดของการลงทุนของสำนักนี้คือ
.....ราคาหุ้นได้สะท้อนทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในตัวมันแล้ว มีแนวโน้มที่มองเห็นได้ และเกิดซ้ำๆเสมอๆ ....
ดังนั้น นักลงทุนประเภทนี้ จะสนใจเน้นหนักในแง่การวิเคราะห์ว่า
1.หุ้นอะไรที่ราคาของมันกำลังเคลื่อนไหวอยู่
2.แนวโน้มของราคาหุ้นนั้นจะเป็นอย่างไรต่อไป
และสองข้อนี้อีกเหมือนกัน ที่เป็นโจทย์ข้อใหญ่ให้ ศิษย์สำนักนี้ มีอะไรทำทุกวัน เหมือนกัน
จากแนวคิดที่อยู่คนละฐาน ทำให้การปฏิบัติตนเพื่อให้บรรลุถึงมรรคา หรือการหาหนทางสู่ความสำเร็จในการลงทุน ออกมาเป็นมาคนละแบบ
มีวิถีปฏิบัติ และ กิจวัตรที่แตกต่างกัน
จุดแข็งของทั้งสองแบบ คือ ...ปรัชญาหรือแนวคิด....ของมันนั่นแหละ ที่เป็นเสาหลัก ค้ำจุนแนวทาง....ปฏิบัติ...ของตัวมันเอง
คำถาม: แล้วจุดอ่อน หรืออุปสรรคแห่งมรรคาหรือปัญหาของแต่ละวิถีทางล่ะอยู่ที่ตรงไหน
คำตอบ: ก็อยู่ตรงการหาวิธีปฏิบัติให้ได้ตาม แนวคิดที่เป็นเสาหลักนั้น ....นั่นเองแหละครับ
เพราะอะไร
เพราะ ในแนวทาง Fundemental Analysis ที่ชาว VI (Value Investor) ศิษย์ของสำนักนี้ยึดถือเป็นสรณะนั้น เขาต้องบรรลุ 2 ข้อนี้ให้ได้ คือ
1. ต้องนิยามหรือกำหนด คุณลักษณะของบริษัทที่ดี แล้วใช้เป็นเกณฑ์ในการกลั่นกรอง หาบริษัทที่ตัวเองต้องการลงทุน
2. ต้องคำนวณออกมาให้ได้ว่า ราคาหุ้นของบริษัทที่เลือกมา มีราคาที่แท้จริง (Intrinsic Value) อยู่ที่เท่าไหร่ เพื่อตัดสินใจว่าจะเข้าครอบครองหุ้นนั้นหรือไม่
ข้อแรกก็ว่ายากแล้วเพราะเป็นนามธรรม
แต่ข้อสองนี่สิ ยากยิ่งกว่า เพราะต้องคำนวณออกมาให้ได้เป็นตัวเลขเลย ซึ่งที่ว่ายากก็เพราะว่า หลายๆปัจจัยที่นำมาคำนวณ ต้องตั้งสมมติฐานเอาครับ เช่น
ดอกเบี้ยคิดลด ( Discount Rate) ตัวนี้ตัวเดียว ถ้าตั้งตัวเลขไม่เท่ากันจะทำให้คำนวณราคาหุ้นออกมาคนละเรื่องเลยนะครับ ยังไม่ต้องไปพูดถึง ศักยภาพในการทำกำไรในอนาคต ที่จะสะท้อนออกมาในรูปของเงินปันผล ที่เอามาคิดค่า กำไรต่อหุ้น (Earning Per Share: EPS) แล้วต้องมากำหนดค่า P/E Ratio ว่าควรจะเป็นกี่เท่าจึงจะเหมาะสม ซึ่งก็ต้องไปอ้างอิงกับภาคอุตสาหกรรมเดียวกัน ซึ่งก็ต้องมาตั้งสมมติฐานต่างๆอีก แล้วค่อยคำนวณย้อนกลับ มาเป็น ราคาหุ้นอีกครั้งหนึ่ง
จะเห็นได้ว่าปัจจัยพื้นฐาน ที่เป็นตัวเลขที่ไม่หยุดนิ่ง แล้วมาเกี่ยวข้องมีมากมาย ขอยกตัวอย่าง สักตัวอย่างให้เห็นภาพนะครับ
อัตราดอกเบี้ย ซึ่งไม่เคยและไม่มีทาง ที่จะหยุดนิ่งได้
เพราะอะไร
เพราะ มันจะ แปรเปลี่ยนไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายเช่นกัน ( ปัจจัยอื่นๆ กระทบและทำให้อัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนเปลง แล้วพอดอกเบี้ยเปลี่ยนแปลง ก็เป็นปัจจัยไปกระทบและก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงปัจจัยอื่นๆ แล้วปัจจัยอื่นๆเหล่านั้น ก็ย้อนกลับมากระทบอัตราดอกเบี้ยอีก เป็นวัฏจักรอันซับซ้อนกลับไปกลับมาเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่)
ขอแทรกนิดนึง
ถึงตรงนี้ อยากบอกว่า การกำหนด อัตราดอกเบี้ยเพื่อใช้ในการคำนวณหาราคาหุ้น ในแนวทางของ Fundemental Analysis จำเป็นต้องดูแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยในอดีตเพื่อเอามากำหนดให้กับปัจจุบันและอนาคตว่าควรจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งก็ต้องดูกราฟและศึกษาข้อมูลในอดีตมาประกอบ เนื่องจากมันมีแนวโน้มที่ติดตามได้แล้วก็เกิดขึ้นซ้ำๆเป็นวัฏจักร
.....ซึ่งตรงนี้มันก็เหมือนกับการมองแนวโน้มทางเทคนิคของราคาหุ้น (Technical Analysis เรื่อง Trend) นั่นเอง
มาต่อกันอีกที
นอกจากอัตราดอกเบี้ยที่เป็นปัจจัยพื้นฐานที่เป็นตัวเลขแล้ว ปัจจัยพื้นฐานอื่นที่เป็นและไม่เป็นตัวเลขอีกล่ะ เอาแค่ นโยบายของรัฐบาล ด้านตลาดทุนข้อเดียว คือ
เปิดเสรีค่าคอมหรือเปล่า(ปัจจัยที่ยังไม่เป็นตัวเลข) ถ้าเปิดแล้ว จะเหลืออัตราเท่าไหร่(เป็นตัวเลขแล้วแต่ยังไม่คงที่) แค่นโยบายข้อเดียวนี้ ก็ทำให้ปัจจัยพิ้นฐานในการคำนวณหามูลค่าที่แท้จริงของราคาหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์เปลี่ยนเลยนะครับ และเกิดคำถามที่ต้องหาคำตอบอีกมากมาย เช่น จะกระทบกับมูลค่าการซื้อขายหุ้นแต่ละวันยังไง กำไรจากค่าคอมมิชชั่นจะเป็นเท่าไหร่ ซึ่งล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคในการคำนวณหามูลค่าหุ้นที่แท้จริงของบริษัทหลักทรัพย์หนึ่งๆ (ว่าจริงๆแล้วราคาหุ้นที่คำนวณออกมาได้น่ะ มันจะถูกต้อง หรือเชื่อถือได้แค่ไหน แล้วเชื่อถือไปได้นานเท่าไหร่ในราคาที่คำนวณได้ขณะนี้)
พอจะเริ่มเห็นภาพของอุปสรรคแห่งมรรคาหรือปัญหาบนเส้นทางเดินของนักลงทุนทางฝั่ง Fundemental Analysis บ้างแล้วนะครับ
ขอตัดกลับไปทางฝั่ง Technical Analysis บ้าง
อุปสรรคแห่งมรรคาหรือปัญหาของวิถีแห่ง Technical Analysis ที่ศิษย์สำนักนี้ต้องเผชิญอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คือ
1. ต้องหาออกมาให้ได้ว่า ราคาหุ้นตัวไหนกำลังเคลื่อนไหวอยู่
2. แนวโน้มของราคาจะเป็นอย่างไรต่อไปในอนาคต
ข้อแรกไม่ยากเท่าไหร่ เพราะเดี๋ยวนี้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ ประมวลผลหา Most active, Max-Min. ( Profit, Loss, Fluctuation )เป็น Real Time ให้เสร็จ แล้วยังสรุปตอนปิดตลาดในลักษณะต่างๆ อีกมากมาย (แต่ถ้านึกถึงตอนที่ไม่มีคอมพิวเตอร์แล้วต้องมานั่งพล็อตกราฟลงกระดาษ ลองคิดดูว่า มันจะยากลำบากขนาดไหนกว่าที่ศาสตร์ด้านนี้จะพัฒนามาจนถึงทุกวันนี้ )
มาถึงข้อที่สองนี่สิ จะใช้เครื่องมือตัวไหน
แล้วที่สำคัญ จะใช้อย่างไร เอาแค่ Moving Average ตัวเดียว จะกำหนดค่าจำนวนวัน เท่าไหร่
ตั้งค่าน้อยๆ กราฟก็ไว ตัดขึ้นเร็ว ตัดลงเร็ว ทำให้ซื้อไวขายไว ความเสี่ยงอาจจะต่ำ แต่ค่าคอมมิชชั่นต้องเสียเยอะ ขายหมูก็บ่อย ซื้อหมาก็มาก
พอตั้งค่าไว้มากๆ กราฟก็ช้า ตัดขึ้นช้า ตัดลงช้า เสียค่าคอมมิชชั่นอาจจะน้อย เวลาซื้ออาจจะได้ราคาที่ไม่ต่ำ แล้วถ้าเวลาพลาดต้องตัดขาดทุน มันจะลงลึก ขาดทุนเยอะ แต่ถ้า ตลาดเป็นขาขึ้นยาวๆ กำไรก็เป็นกอบเป็นกำ
นี่ ยังไม่พูดถึงเครื่องมือตัวอื่นๆเช่น
กราฟแท่งเทียน มีไม่รู้กี่แบบ ดาวประกายพฤกษ์ แท่งร่ม อีกาสามตัว ไส้เทียนยาว ไส้เทียนสั้น (จุดติดมั่ง ลมพัดดับมั่ง ก็ว่ากันไป) ฯลฯ
คลื่นเอลเลียตอีก นับกันเข้าไป นับสิบคน ก็บอกสิบแบบ ไม่มีใครถูกไม่มีใครผิด (เพราะมันไม่มีเฉลยเหมือนข้อสอบ เอ็นทรานซ์)
แล้ว Stochastic, RSI, ทฤษฎีดาว (Dow Theory), ตัวเลข Fibonacci ฯลฯ อีกล่ะ มากมายครับ แต่ละเทคนิคมีที่มา ที่ไป ที่น่าสนใจ
บางเทคนิคมีประวัติศาสตร์ยาวนานเป็นร้อยๆปี หรือ หลายร้อยปี
จะว่าตื้นก็ตื้น จะว่าลึกซึ้งก็ลึกซึ้ง ซึ่งสุดแล้วแต่สติและปัญญาของแต่ละคน (เหมือนๆกับดูหนังเรื่องเดียวกัน แต่สิ่งที่แต่ละคนได้จากการดูหนัง ไม่เหมือนกัน)
แล้วจะใช้เครื่องมือเดียวโดด ๆ หรือใช้ผสมผสานกัน แล้วจะผสมอะไรกับอะไร ให้น้ำหนักตัวไหนมากตัวไหนน้อย ใช้ตัวไหนนำ ตัวไหนตาม
ร้อยแปดที่ผุดเข้ามาในสมองและจิตใจ
จนถึงขั้นที่ว่า ถ้าวิธีที่ใช้อยู่ได้ผล มันมีวิธีที่ดีกว่านี้อีกหรือไม่ อย่างไร ในการสร้างโอกาส และจำกัดความเสี่ยงในการลงทุน
(เหมือนเล่นโกะ แล้วปรารถนาที่จะเป็น...หัตถ์เทวะ ยังไงยังงั้น)
พอจะเริ่มเข้าใจวิถีทางของนักลงทุนของทางฝั่ง Technical Analysis เพิ่มขึ้นบ้างนะครับ
และทั้งหมด เป็น การแสดงความเห็นกับทั้งสองแนวทางด้วยมุมมองของผมเองอย่างกว้างๆ
เนื่องจากผมให้ความสนใจกับทั้งสองแนวทาง
โดยส่วนตัวแล้วให้ความสำคัญประดุจดั่ง.......รูจมูก.....ซ้ายและขวา
หมายถึง.....ขาดไปรูผมก็อยู่ได้....... แต่มันจะหายใจไม่สะดวก
สุดท้าย
การลงทุน เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
สำหรับคนที่เก่งอยู่แล้วผมก็ขอคารวะ
แต่สำหรับทุกท่านที่เพิ่งเริ่มต้น ก็ขอให้
...............เรียนรู้ด้วยสมองและทุ่มเทด้วยหัวใจ.........
และขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จและโชคดีในวิถีทางของการลงทุน....ไม่ว่าจะในแนวทางใดๆ
สวัสดีครับ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 15
หุ้นบางกลุ่ม บางตัว วิเคราะห์เทคนิคแทบจะไม่ได้เลยนะครับ
อย่างประกันภัย โรงแรม หรือหุ้นที่รายย่อยไม่ค่อยถือ
หุ้นขนาดเล็ก หุ้นสภาพคล่องต่ำ ซื้อขายเดือนละไม่กี่ครั้งอะไรงี้
สำหรับหุ้นพวกนี้
ดูกราฟเป็นประวัติศาสตร์ราคาหุ้น กับวอลุ่มก็คงพอแล้ว
ถ้าดูกราฟแท่งเทียนจะน่าเกลียดมาก จริงๆ นะครับ
ไม่ค่อยปะติดปะต่อกัน อย่างเช่นราชดำริ
อย่างประกันภัย โรงแรม หรือหุ้นที่รายย่อยไม่ค่อยถือ
หุ้นขนาดเล็ก หุ้นสภาพคล่องต่ำ ซื้อขายเดือนละไม่กี่ครั้งอะไรงี้
สำหรับหุ้นพวกนี้
ดูกราฟเป็นประวัติศาสตร์ราคาหุ้น กับวอลุ่มก็คงพอแล้ว
ถ้าดูกราฟแท่งเทียนจะน่าเกลียดมาก จริงๆ นะครับ
ไม่ค่อยปะติดปะต่อกัน อย่างเช่นราชดำริ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 16
ถ้าคนบนโลกพอใจในสิ่งที่เป็นอยู่ โลกคงไม่ได้ค้นพบอะไรใหม่ๆตลอดเวลาครับ การศึกษาและเรียนรู้สิ่งที่แปลกไปไม่ใช่สิ่งผิด ถ้าไม่ทำให้ใครเดือดร้อนก็ทำได้
ผมไม่คิดว่าการลงทุนแบบ VIจะเป็นการกินเจครับ Warren Buffettก็มีการเก็งกำไรเป็นครั้งคราวเพื่อให้เกิดความสนุกบ้าง ผมเองก็ทำบ่อยๆ
อย่างที่พี่CKว่า การทำความเข้าใจความคิดของนายตลาดก็ดีนะครับ
เราลงทุนด้วยความเข้าใจ และมีเหตุผล ป้องกันความเสี่ยงด้วยความรู้และความเข้าใจ รู้ได้ดูได้แต่ผสมสติ และเหตุผลด้วยนะครับ
ผมไม่คิดว่าการลงทุนแบบ VIจะเป็นการกินเจครับ Warren Buffettก็มีการเก็งกำไรเป็นครั้งคราวเพื่อให้เกิดความสนุกบ้าง ผมเองก็ทำบ่อยๆ
อย่างที่พี่CKว่า การทำความเข้าใจความคิดของนายตลาดก็ดีนะครับ
เราลงทุนด้วยความเข้าใจ และมีเหตุผล ป้องกันความเสี่ยงด้วยความรู้และความเข้าใจ รู้ได้ดูได้แต่ผสมสติ และเหตุผลด้วยนะครับ
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 17
คนกินข้าว 2 คนหันหน้าชนกัน
คนหนึ่งกินเนื้อ คนหนึ่งกินเจ
คนกินเนื้อคงไม่ว่าอะไร
แต่คนกินเจคงกินข้าวไม่ค่อยลงเท่าไหรนัก
หากคนส่วนใหญ่ในโตะกินเนื้อหมด
คนกินเจคงต้องลุกจากโตะ
คนหนึ่งกินเนื้อ คนหนึ่งกินเจ
คนกินเนื้อคงไม่ว่าอะไร
แต่คนกินเจคงกินข้าวไม่ค่อยลงเท่าไหรนัก
หากคนส่วนใหญ่ในโตะกินเนื้อหมด
คนกินเจคงต้องลุกจากโตะ
- ayethebing
- Verified User
- โพสต์: 2125
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 18
แสดงว่าเพิ่งเริ่มกินเจ เลยยังทำใจบ่ได้คนกินข้าว 2 คนหันหน้าชนกัน
คนหนึ่งกินเนื้อ คนหนึ่งกินเจ
คนกินเนื้อคงไม่ว่าอะไร
แต่คนกินเจคงกินข้าวไม่ค่อยลงเท่าไหรนัก
หากคนส่วนใหญ่ในโตะกินเนื้อหมด
คนกินเจคงต้องลุกจากโตะ
อิอิ ล้อเล่นนะครับ
อ้อที่เขียนกลอนนะ เมาหุ้นนะครับ ไม่ใช่เมาหมัดหรือเมามัว ไม่ได้เขียนหมายความในแง่ไม่ดีเด็ดๆ ขอบอก
ผมเองก็เมาหุ้น (บ้าหุ้น) เหมือนกัน
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 19
โค้ด: เลือกทั้งหมด
คนกินข้าว 2 คนหันหน้าชนกัน
คนหนึ่งกินเนื้อ คนหนึ่งกินเจ
คนกินเนื้อคงไม่ว่าอะไร
แต่คนกินเจคงกินข้าวไม่ค่อยลงเท่าไหรนัก
หากคนส่วนใหญ่ในโตะกินเนื้อหมด
คนกินเจคงต้องลุกจากโตะ
VI มีดีทีใจครับ เป็นการฝึกความมั่นคงของจิตใจประการหนึ่ง
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
-
- ผู้ติดตาม: 0
ว่าด้วย Technical Analysis
โพสต์ที่ 20
ผมมาเซิร์ชหาข้อมูลบริษัท tvi เพิ่มเติม แต่มาเจอกระทู้นี้เข้า
อ่านแล้วขำดีครับ
ขำในคำวิจารณ์และคำกลอนอันลึกล้ำของหลาย ๆ ท่าน
ผมเป็นมือใหม่ที่ยังอ่านงบแบบลึกล้ำไม่เป็น ว่าจะหาหนังสือมาอ่านหรืออบรมอยู่เหมือนกัน แต่ด้วยความใจร้อนก็อยากลงทุน เลยตัดสินใจด้วยข้อมูลคร่าว ๆ อย่าง pe pbv dy ลักษณะธุรกิจ ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี แล้วเห็นว่า tvi น่าสนใจฮะ
อย่างไรก็ตามเงินอีกส่วนหนึ่งของผมก็ลงทุนแบบ TA แต่ก็ต้องเลือกหุ้นเหมือนกันนะครับโดยดูข้อมูลพื้นฐานเหมือนกัน ถ้าเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องมาก ๆ การดูกราฟและอินดิเกเตอร์มีประโยชน์สำหรับผมมากในการหาจังหวะซื้อขาย
ถ้าเป็นหุ้นไม่มีสภาพคล่องกราฟก็ไม่มีความหมายอะไรมากนอกจากดูประวัติการซื้อขายในอดีตเท่านั้น
ผมรักทั้ง TVI และสินธรครับ
(ชื่อหุ้น tvi มันไปพ้องกับชื่อย่อ TVI แฮะ)
อ่านแล้วขำดีครับ
ขำในคำวิจารณ์และคำกลอนอันลึกล้ำของหลาย ๆ ท่าน
ผมเป็นมือใหม่ที่ยังอ่านงบแบบลึกล้ำไม่เป็น ว่าจะหาหนังสือมาอ่านหรืออบรมอยู่เหมือนกัน แต่ด้วยความใจร้อนก็อยากลงทุน เลยตัดสินใจด้วยข้อมูลคร่าว ๆ อย่าง pe pbv dy ลักษณะธุรกิจ ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี แล้วเห็นว่า tvi น่าสนใจฮะ
อย่างไรก็ตามเงินอีกส่วนหนึ่งของผมก็ลงทุนแบบ TA แต่ก็ต้องเลือกหุ้นเหมือนกันนะครับโดยดูข้อมูลพื้นฐานเหมือนกัน ถ้าเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่องมาก ๆ การดูกราฟและอินดิเกเตอร์มีประโยชน์สำหรับผมมากในการหาจังหวะซื้อขาย
ถ้าเป็นหุ้นไม่มีสภาพคล่องกราฟก็ไม่มีความหมายอะไรมากนอกจากดูประวัติการซื้อขายในอดีตเท่านั้น
ผมรักทั้ง TVI และสินธรครับ
(ชื่อหุ้น tvi มันไปพ้องกับชื่อย่อ TVI แฮะ)