สวัสดีครับ
เนื่องจากเคยได้ยินมาว่าอัตราส่วนทางการเงินและการใช้งบมาวิเคราะห์นั้นต้องใช้ให้เหมาะกับแต่ละธุรกิจ
เช่น หุ้นวัฏจักร ต้องระวังเรื่องP/Eต่ำเพราะอาจแสดงถึงวัฏจักรขาลง P/Eเริ่มสูงอาจดีกว่า, P/BVต่ำๆบริษัทอาจใกล้เจ๊ง, การคิดค่าDCFอาจจะเหมาะกับเฉพาะหุ้นที่พื้นฐานไม่ค่อยเปลี่ยนหรือธุรกิจสัมปทานเช่นโรงไฟฟ้า แต่ไม่เหมาะกับนำมาคำนวณในธุรกิจอสังหาฯ, การใช้ ROE,ROAอาจเหมาะกับบางธุรกิจแต่ไม่เหมาะกับบางธุรกิจ และตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขในอดีตทั้งนั้น
พอฟังๆมาแล้วเริ่มกังวลกับการนำตัวเลขเหล่านี้มาใช้ เลยอยากให้พี่ๆสรุปให้ฟังว่าตัวไหนเหมาะกับธุรกิจอะไรใช้ช่วงเวลาไหน มีข้อควรระวังอะไรบ้างครับในแต่ละตัว(P/E, P/BV, ROE, ROA, DIY, DCFฯลฯ) เพื่อจะได้นำมาใช้วิเคราะห์ธุรกิจอย่างถูกต้องและไม่หลงทางครับ
ขอบคุณครับ
อยากถามพี่ๆเกี่ยวกับการใช้อัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสมในแต่
-
- Verified User
- โพสต์: 4241
- ผู้ติดตาม: 0
Re: อยากถามพี่ๆเกี่ยวกับการใช้อัตราส่วนทางการเงินที่เหมาะสมใ
โพสต์ที่ 3
PE Ratio (P/E, PER) เป็นอัตราส่วนที่บอกว่าจะคืนทุนในกี่ปีด้วยกำไรที่ทำได้
ถ้า PE = 10, สมมุตว่า P = 10.-, E ==> 1.- ดังนั้นถ้าเราซื้อที่ 10.- ถ้า
บ.ทำได้ 1.- ทุกปี ก็ใช้เวลา 10 ปี เป็นอัตราส่วนที่บอกความถูกแพงของหุ้น
เมื่อเทียบกับตัวอื่นๆ อย่างคราวๆ แต่เราต้องตอบคำถามได้ว่า ในปีต่อๆ ไป
บ. จะทำ E ได้เท่าไร เหมือนเดิม ดีขึ้น เลวลง มีความเสี่ยงอะไรบ้าง ที่ทำให้
ไม่ได้แบบนั้น ฯลฯ
ROE : Return on Equity ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน หรือ "ความสามารถ
ในการผลิตเงินขึ้นมาจากเงินลงทุนเดิม"
"Equity" หมายถึงอะไร ส่วนทุน ที่ได้มาจากผู้ก่อตั้งบริษัทและกำไรสะสมที่
ยังไม่จ่ายเป็นเงินปันผล
แต่ต้องอย่าลืมว่า เงินที่เราจ่ายค่าหุ้นไป ส่วนมากแล้ว มันมากกว่า Equity
เดิมของผู้ก่อตั้งบริษัท (ดูได้จาก P/B หรือ PBV หรือ Price/Book)
P/B หรือ PBV คือ อัตราส่วนของราคาหุ้น ต่อ มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ของบริษัทฯ
ตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง PEG Ratio ซึ่งจะนำเอา Growth Rate มาเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการพิจารณาความถูกแพงของหุ้น แทนที่จะใช้ P/E เทียบกัน บริษัทที่
สามารถเติบโตได้ 10% ต่อปี มี P/E = 20 กับ อีกบริษัทที่เติบโตเท่ากัน
มี P/E = 5 ... PEG1 = 20/10 = 2 ส่วน PEG2 = 5/10 = 0.5
ถ้าปัจจัยอื่นๆ พอๆ กัน บริษัทที่สองย่อมน่าลงทุนกว่ามาก มีความเข้าใจกัน
แบบง่ายๆ ว่า ถ้า PEG < 1 น่าลงทุน
มีอีกแนวขึ้นที่นำ Dividend Yield เข้ามาคำนวณด้วย เป็น Modified PEG
Ratio แต่ดูเหมือนไม่ค่อยนิยมกันในทางปฏิบัติ
ทั้งนี้และทั้งนัน พวกตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงตัวกรอง ในการเลือกหุ้นเท่านั้น
ต้องดู "คุณภาพ" อื่นๆ ของหุ้นที่ไม่ใช่ตัวเลขด้วย อาทิ ธรรมาภิบาลผู้บริหาร,
อุตสาหกรรมไหน, ขนาดของตลาด, ส่วนแบ่งตลาด ฯลฯ
หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง
ถ้า PE = 10, สมมุตว่า P = 10.-, E ==> 1.- ดังนั้นถ้าเราซื้อที่ 10.- ถ้า
บ.ทำได้ 1.- ทุกปี ก็ใช้เวลา 10 ปี เป็นอัตราส่วนที่บอกความถูกแพงของหุ้น
เมื่อเทียบกับตัวอื่นๆ อย่างคราวๆ แต่เราต้องตอบคำถามได้ว่า ในปีต่อๆ ไป
บ. จะทำ E ได้เท่าไร เหมือนเดิม ดีขึ้น เลวลง มีความเสี่ยงอะไรบ้าง ที่ทำให้
ไม่ได้แบบนั้น ฯลฯ
ROE : Return on Equity ผลตอบแทนต่อเงินลงทุน หรือ "ความสามารถ
ในการผลิตเงินขึ้นมาจากเงินลงทุนเดิม"
"Equity" หมายถึงอะไร ส่วนทุน ที่ได้มาจากผู้ก่อตั้งบริษัทและกำไรสะสมที่
ยังไม่จ่ายเป็นเงินปันผล
แต่ต้องอย่าลืมว่า เงินที่เราจ่ายค่าหุ้นไป ส่วนมากแล้ว มันมากกว่า Equity
เดิมของผู้ก่อตั้งบริษัท (ดูได้จาก P/B หรือ PBV หรือ Price/Book)
P/B หรือ PBV คือ อัตราส่วนของราคาหุ้น ต่อ มูลค่าทางบัญชีต่อหุ้น ของบริษัทฯ
ตัวสำคัญอีกตัวหนึ่ง PEG Ratio ซึ่งจะนำเอา Growth Rate มาเป็นปัจจัยสำคัญ
ในการพิจารณาความถูกแพงของหุ้น แทนที่จะใช้ P/E เทียบกัน บริษัทที่
สามารถเติบโตได้ 10% ต่อปี มี P/E = 20 กับ อีกบริษัทที่เติบโตเท่ากัน
มี P/E = 5 ... PEG1 = 20/10 = 2 ส่วน PEG2 = 5/10 = 0.5
ถ้าปัจจัยอื่นๆ พอๆ กัน บริษัทที่สองย่อมน่าลงทุนกว่ามาก มีความเข้าใจกัน
แบบง่ายๆ ว่า ถ้า PEG < 1 น่าลงทุน
มีอีกแนวขึ้นที่นำ Dividend Yield เข้ามาคำนวณด้วย เป็น Modified PEG
Ratio แต่ดูเหมือนไม่ค่อยนิยมกันในทางปฏิบัติ
ทั้งนี้และทั้งนัน พวกตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงตัวกรอง ในการเลือกหุ้นเท่านั้น
ต้องดู "คุณภาพ" อื่นๆ ของหุ้นที่ไม่ใช่ตัวเลขด้วย อาทิ ธรรมาภิบาลผู้บริหาร,
อุตสาหกรรมไหน, ขนาดของตลาด, ส่วนแบ่งตลาด ฯลฯ
หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง
// Stay Hungry, Stay Foolish.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.
// Stay Calm, Stay Invest.
// Price is what you pay, Value is what you get.