เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

ขอตั้งกระทู้นี้ เพื่อรวบรวมข้อมูลและเผยแผ่กิจกรรมเกี่ยวกับการทำบุญครับ

หากใครมีธรรมะดีๆ ต้องการเผยแพร่ก็โพลส์ได้้ไม่ต้องยั้งครับ


สาธุๆๆ


:pray: :pray: :pray:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

รูปภาพ

แสดงธรรมโดย อาจารย์พระมหาบัว ญาณสัมปันโน

เทศน์อบรมฆราวาส ณ วัดป่าบ้านตาด

เมื่อวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๔๒

นิพพานคือนิพพาน

สติเป็นสำคัญนะ เรื่องธรรมที่จะแก้กิเลสทุกประเภท สติกับปัญญาจึงเป็นเครื่องมือชั้นเอกเลยขาดไม่ได้ ที่เป็นพื้นฐานของธรรมทุกขั้นก็คือสติ เป็นพื้นฐาน จากนั้นปัญญาก็รอบ สติธรรม คนมีสติก็เป็นคนธรรมดาเรา คนไม่มีสติก็พลั้ง ๆ เผลอ ๆ คนไม่มีสติจริง ๆ ก็คือคนบ้า ไม่มีผิดมีถูกคนบ้า เช่นอย่างไฟเขียวไฟแดงที่รถวิ่งสวนกันไปสวนกันมานี้ คนบ้าเขาจะไปจัดของเขาอะไรอยู่นั้นแหละ เครื่องบริขารแตก ๆ เติก ๆ ใส่ถุงใส่ย่ามเขา เขาจะจัดนั้นจัดนี้ใส่ เราไปเห็นที่อุดรฯ นี้ โห อย่างนี้เอง เอามาพิจารณาเป็นธรรมนะ คือพวกรถวิ่ง วิ่งมานี่ คนบ้าเขาจัดของอยู่ท่ามกลางของไฟเขียวไฟแดงเลยนะ ทีนี้รถไม่ทราบจะไปยังไงมายังไง ตอนนั้นยุ่ง ตำรวจยังไม่มีนี่นะ ไม่มีตำรวจ รถยุ่ง เขาเฉยไม่สนใจกับอะไร เราก็ดู

อ้อ คนเมื่อขาดสติเสียจริง ๆ แล้วก็เป็นได้อย่างนี้ เอามาเทียบนะ คือสตินี้เป็นคุณภาพอันสูงสุดเทียวนะ ทุกขั้นของธรรมสติเป็นพื้นฐานตั้งแต่ต้นจนสุดยอดเลย พอสุดยอดแล้วตอนที่จะสุดยอดจริง ๆ ท่านเรียกว่ามหาสติมหาปัญญา กลมกลืนกันเป็นอันเดียว ทีแรกต้องวางรากฐานสติไว้ให้ดี นี่เอามาพิจารณาตอนไปเห็นคนบ้าจัดอะไรต่ออะไร ของอะไรมีแต่ของทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ นั้นแหละ เขาเอาจัดใส่ถุงใส่อะไรเขา หยิบอันนั้นใส่ หยิบอันนี้ใส่ของเขาอยู่อย่างนั้นแหละ แล้วรถวิ่งไปวิ่งมา จะตายละรถติด สี่แยกไฟแดงอุดรฯ

นี่ไปเห็นด้วยตานะ เราเอามาพิจารณา อ๋อ คนเราเมื่อขาดสติจริง ๆ แล้วก็เป็นอย่างนี้ นี่หมายถึงว่ามีแต่ความรู้คือจิต ไม่มีสติควบคุม ปัญญาควบคุม เป็นเจ้าของ มีแต่ความรู้มันก็อย่างนี้ อย่างพวกบุ้งกือไส้เดือนนี้เขาก็คืบคลานของเขาไปตามเรื่อง นั่นละมีแต่ความรู้อย่างเดียวเป็นอย่างนั้น ไม่รู้ผิดรู้ถูก เพ่น ๆ พ่าน ๆ ไป รู้ยังไงไปยังงั้น แต่ความรู้นั้นก็มีอันหนึ่งของมันอยู่นั้นละคือฝ่ายชั่ว คือฝ่ายกิเลส มีแต่ความรู้กับกิเลสล้วน ๆ ก็เป็นอย่างนั้น ถ้าความรู้มีธรรมเข้าไปแทรกก็มีความรับผิดชอบ ต่างกันอย่างนั้นนะ

ความรู้นี่รู้อย่างนั้นแหละ ไม่เคยสูญเคยหายเคยตายเคยฉิบหายเลยความรู้นี้ ท่านจึงบอกว่าเป็นอจินไตยพระพุทธเจ้า ว่าอย่าไปถามถึงเรื่องว่าอดีตกาลเป็นมายังไง กำเนิดของความรู้เป็นมายังไง ความดับของจิตจะดับที่ไหนหรือไม่ดับที่ไหน พระพุทธเจ้าบอกว่าสิ่งนี้เป็นอจินไตย ไม่เกิดประโยชน์ ท่านจึงเทียบเข้าไปเหมือน ข้อเปรียบเทียบเทียบเข้าไปปุ๊บ เหมือนหนามยอกเท้าเรา เมื่อหนามยอกเท้าให้รีบถอนหนามออก อย่าไปถามหาสกุลหนามว่าหนามนี้มาจากสกุลไหน เกิดมาแต่เมื่อไร ๆ เท้าจะเน่าเฟะเสียไปหมด ไม่เกิดประโยชน์ ท่านว่าอย่างนั้น

ข้อเปรียบเทียบฟังซิเข้ากันได้ปุ๊บเลย ให้รีบถอนหัวหนามแล้วเอายาใส่ นี่เป็นประโยชน์ อย่าไปถามหาสกุลหนามว่าหนามนี้เป็นมายังไง มาจากสกุลใด มาเมื่อไรเรื่อยไปอย่างนั้น เหมือนถามหาเรื่องจิตว่างั้นเถอะ สุดท้ายเท้าก็เน่าเฟะทิ้งเปล่า ๆ ไม่เกิดประโยชน์ ท่านจึงห้าม เป็นอจินไตย ไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ อันใดที่จะเป็นประโยชน์ให้รีบจัดการตรงนั้น คือรีบถอนหัวหนาม แล้วอะไรมันขัดข้องภายในตัวของเราเวลานี้ ตัวของเราทั้งหมดมันก็เหมือนเท้า กิเลสทั้งมวลความเชื่อทั้งมวลมันก็เหมือนหนามยอกเท้า ให้รีบถอดรีบถอนออก

นี่ละพระพุทธเจ้ารับสั่งคำไหนตรัสคำไหนหาที่ ค้านไม่ได้ ให้รีบถอนหัวหนาม อย่าไปถามหาสกุลหนาม ให้รีบถอนออกทันทีแล้วเอายาใส่แล้วหาย ถ้าไปถามหาหนามถามหาสกุลหนามแล้วเท้าเน่าเฟะตายทั้งคนไม่เกิดประโยชน์ การถามอย่างนั้นไม่ใช่เป็นประโยชน์

นี่จิตที่มีแต่จิตล้วน ๆ ไม่มีผู้อารักขา ไม่มีสติไม่มีปัญญารักษา มันก็รู้ของมันไปตามภาษีภาษาไป แต่ความสุขความทุกข์มี แต่ความรู้ดีรู้ชั่วผิดถูกไม่มี เพราะไม่มีสติควบคุม ท่านจึงต้องให้ตั้งสติเริ่มต้น เช่นอย่างพวกภาวนาสติขึ้นเป็นพื้นฐานเลย เวลาตั้งเข้าไป ๆ มันหากมีเครื่องหนุนกันนั่นแหละ ตั้งสติเพื่อทำความดี ผลประโยชน์ที่จะเกิดจากสติที่กระจายออกไปนี้เราพรรณนาไม่ได้นะ พอมีสติตั้งเข้าไปในตัว เฉพาะอย่างยิ่งตั้งเข้ามาในตัวนี้เราจะรู้สึกตัวของเราทันที อย่างไม่มีสติตั้งกับจุดใดอย่างธรรมก็ตาม เพียงมีสติดูตัวเองพิจารณาตัวเอง ปัญญาดูตัวเอง จะมีอะไรทื่อท่าเข้ามาให้เกิดความรู้สึกตัวเรื่อย ๆ ผิดถูกชั่วดีก็จะเริ่มรู้ แล้วความแก้ไขตัวเองก็จะมาพร้อม ๆ กัน คิดหาไตร่ตรองหาความแก้ความไขของตัวเอง ก็จะค่อยเป็นไป เพราะฉะนั้นสติจึงต้องหยั่งเรื่อย ๆ

เช่นอย่างเราภาวนามีสติควบคุมอยู่ตลอด เรียกว่าเป็นความเพียรตลอด พอสติพรากไปเมื่อไรความเพียรขาดทันที ๆ เวลาสติตั้งเรื่อย ๆ ก็มีกำลังขึ้น ๆ ปัญญาก็ค่อยติดตามกันมา ๆ จนกลายเป็นสติปัญญาอัตโนมัติ คือไม่ต้องตั้ง ธรรมขั้นนี้ไม่ต้องตั้งสติมีตลอด ปัญญาก็เหมือนกันเมื่อเวลาเข้าถึงขั้นธรรมอันละเอียดแล้ว สติปัญญาจะกลมกลืนเป็นอันเดียวกันเลย เคลื่อนพร้อมกันเลย ๆ เพราะติดแนบด้วยกัน สติปัญญาอัตโนมัติ นี่ละท่านว่าสติปัญญาฆ่ากิเลส ถ้าลงสติปัญญาขั้นนี้เกิดขึ้นแล้วกิเลสมีเท่าไร ๆ เป็นพังทั้งนั้น ๆ วัฏวนความหมุนของจิตเพื่อวัฏวนความเกิดแก่เจ็บตายนี้ จะประมวลเข้ามาหาเชื้อของมันคืออวิชชา นี่ตัวฝังลึก ฝังให้สัตว์เกิดสัตว์ตายตลอดเวลา

คำว่าเกิดตายหมายถึงร่างนะ เข้าไปสู่ร่างนั้นร่างนี้เรียกว่าเกิด ร่างนั้นสลายเรียกว่าตาย แต่จิตนั้นไม่ได้ตาย คือจิตมีอวิชชาเป็นเชื้อพาให้เกิดให้ตายอยู่ในจิตนี้ เข้าตรงนั้นออกตรงนี้เรื่อย ๆ ตามจิตอันนี้ต้องตามด้วยแบบพระพุทธเจ้าอย่างเดียว ใครจะเอาแบบไหนมาใช้สามแดนโลกธาตุนี้ไม่มีความหมาย แบบพุทธศาสนาแล้วจะตรงเป๋งเลยเทียว เข้าถึงจุด เหมือนอย่างเราตามรอยโค เราเอาโคไปปล่อยที่ไหน ถ้าเราไปดักตรงโน้นดักตรงนี้ ไม่แน่ใจว่าจะเจอตัวโคเมื่อไร ให้ติดตามรอยมันไปเช่นอย่างพวกชาวนาเขา เขาปล่อยโคไว้ที่ไหนเขาติดตามรอยไป ตามไปแล้วก็ไปถึงตัวโค

อันนี้ตามรอยวัฏจักรวัฏจิตด้วยจิตตภาวนา คือด้วยความพากเพียรทุกด้านทุกทางเหมือนตามรอยโค ตามเข้าไป ๆ ขั้นหยาบขั้นละเอียดจะทราบไปเป็นระยะ ๆ นี่ทางของพระพุทธเจ้าทางพ้นทุกข์ ตามไป ๆ ทีนี้จิต คำว่าจิตนั้นละเอียด ๆ หมายถึงสิ่งเกี่ยวข้องกับจิต จิตจะละเอียดเข้าไป ๆ คือสิ่งเกี่ยวข้องกับจิตจะละเอียดเข้าไป ๆ ส่วนคำว่าจิตจริง ๆ มีรู้เท่านั้น ความสว่างนี้เป็นอาการอันหนึ่ง ๆ ในเวลาบำเพ็ญ จิตจะค่อยหนาแน่นเข้าไปมีสมาธิ หนาแน่นมั่นคงเข้าไป สติค่อยดีขึ้น ๆ ปัญญาค่อยกระจายออก ๆ มันจะเห็นเหตุการณ์ต่าง ๆ ภายนอกภายในไปพร้อม ๆ กัน

เหมือนกับเราปลูกต้นไม้ พอปลูกต้นไม้แล้วกิ่งก้านสาขาดอกใบจะแตกออกไปจากต้นของมัน ออกจากลำต้นของมัน กิ่งนั้นแตกไปนั้น กิ่งนี้แตกไปนี้กว้างแคบจะเกิดขึ้นจากลำต้นนี้ อันนี้ก็จะเกิดขึ้นจากจิต ความรู้ความเห็นต่าง ๆ นี้จะแตกออก ๆ คือไม่ต้องไปศึกษากับใครแหละเบื้องต้นที่ปรากฏขึ้นมา ทีนี้พอมันเกิดขึ้นมาแล้วได้ศึกษาละที่นี่นะ ศึกษาครูบาอาจารย์ผู้ท่านเชี่ยวชาญกว่าเรา อันไหนผิดอันไหนถูกท่านจะแนะ ๆ เราก็ค่อยเดินตามท่านแล้วค่อยขยายออก ๆ สุดท้ายก็ค่อยเป็นตัวของตัวเอง

นี่เราหมายถึงเรื่องติดตามวัฏจิตวัฏจักร ติดตามด้วยจิตตภาวนา ตามเข้าไป มันจะมีวงแคบเข้าไป สิ่งเกี่ยวข้องของมันจะถูกตัดออก ๆ มันยั้วเยี้ยไปหมดนะ จิตดวงเดียวนี้มันรู้รอบโลกธาตุ มันติดไปหมดเลย เวลาเข้าไปตรงนี้แล้วค่อยตัดทางโน้นทางนี้ ทางเหล่านั้นก็ค่อยหดเข้ามาย่นเข้ามา เพราะออกจากจิตอันเดียว เมื่อจิตหดเข้ามาสิ่งเหล่านั้นก็หดเข้ามาลงไปรวมอยู่ที่จิต ตัดออกไปเรื่อย ๆ ตัดเข้าไป สุดท้ายร่างกายที่เป็นอุปาทานยึดมั่นที่สุด ร่างกายนี่ยึดมั่นส่วนหยาบ ยึดมั่นส่วนละเอียดก็นามธรรม พวกเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่เป็นกิ่งของอวิชชาทั้งนั้นนะ คือเป็นทางหากินของอวิชชา เหล่านี้เป็นทางเดินหากินของมันทั้งนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างออกกว้านหากินสร้างวัฏจักรเข้ามาหาวัฏจิต สร้างเข้ามา

ทีนี้เวลามันรู้แล้วก็ค่อยตัดเข้ามา ๆ ตัดเข้ามาจนกระทั่งร่างกายตัดออก ๆ เวลารู้ชัดตรงไหน ๆ มันจะถอนอุปาทานพร้อมกันไป ๆ นี่เรียกว่าตามรอยของจิตคือตามอันนี้ ตามเข้าไป สุดท้ายเมื่อกายก็ขาดไปแล้ว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ตามเข้าไปอีก ๆ จนกระทั่งถึงจิต ถึงจิตก็ถึงอวิชชา อวิชชาที่ฝังอยู่ในจิต ที่นี่วัฏจักรวัฏจิตจะสิ้นสุดกันลงจุดนั้น เกิดแก่เจ็บตายมากี่กัปกี่กัลป์มีแต่อันนี้ทั้งนั้นแหละพาให้เป็น เวลาตามเข้าไปไปถึงจุดมันแล้ว ทำลายจุดนั้นปั๊บ อวิชชาที่ฝังอยู่ในจิตเหมือนกับหนามยอกเท้ามันฝังอยู่ในจิต หนามอวิชชายอกจิต ถอนปัวะออกมาแล้ว ทีนี้ขาดสะบั้นไปหมด กระจายไปหมดเลย ตัวเดียวเท่านี้ที่ทำให้โลกมืดมิดปิดตา รู้หมดทันทีไม่ต้องไปถามใคร พอตัวนี้ถอนปึ๋งมานี้ขาดสะบั้นออกหมดไม่มีอะไรเหลือเลย โลกธาตุนี้เหมือนไม่มีเพราะจิตไม่ไปหมาย จิตบริสุทธิ์เต็มที่แล้วไปหมายอะไร คิดกับอะไร

คำว่าจิตบริสุทธิ์เต็มที่นี้เป็นธรรมทั้งดวง ไปแล้วนะ หมายถึงว่าธรรมทั้งดวงกับจิตทั้งดวงเป็นอันเดียวกันแล้ว นั่นเรียกว่าจิตกับธรรมเป็นอันเดียวกัน ถึงจุดนี้แล้วขาดสะบั้นหมด เรื่องสมมุติทั้งมวลนี้ไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้อง เป็นอฐานะ คือให้เป็นไปอย่างไรอีกไม่ได้แล้ว จะบังคับให้ติดก็ไม่ติดเมื่อถึงขั้นของมันแล้ว เมื่อยังไม่ถึงขั้นบังคับให้ถอนมันก็ไม่ยอมถอน มันยึดมั่นถือมั่นของมัน พอถึงขั้นของมันแล้วมันถอนของมันเอง เมื่อถอนเต็มส่วนแล้วทีนี้จะบังคับให้ติดก็ไม่ติด เป็นหลักธรรมชาติแล้ว เรียกว่าเป็นอฐานะ ให้เป็นอย่างอื่นไปไม่ได้แล้ว

ทีนี้เวลาถึงขั้นนั้นแล้ว นั่นละท่านเรียกว่าขั้นอัศจรรย์ อัศจรรย์โลกสมมุติเรานี้เป็นอันหนึ่งนะ ที่ว่าอัศจรรย์ของธรรมแท้จิตแท้ เรียกว่าจิตเป็นธรรม ธรรมเป็นจิต เรียกว่าธรรมธาตุก็ไม่ผิด ท่านให้ชื่อว่านิพพาน ธรรมธาตุ จิตกับธรรมเป็นอันเดียวกันแล้วพระพุทธเจ้าทรงให้ชื่อว่านิพพาน จะแยกเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ คำว่านิพพานเป็นคำเดียวเท่านั้น อันไหนไม่เหมือน อันไหนไม่ถูก

อย่างที่ว่าไว้ มีผู้มาอ้างในพระไตรปิฎกก็มีนี่นะ ว่าพระไตรปิฎกท่านแสดงไว้ว่านิพพานเป็นอนัตตา หึย ว่าอย่างนี้เลยเรานะ อ้าวจริง ๆ มันยันกันเลยทันที มันเดินให้เห็นอยู่ชัด ๆ นี่นะ นิพพานเป็นอนัตตาได้ยังไง นิพพานคือนิพพานเป็นอนัตตาได้ยังไง อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา นี้เรียกว่าไตรลักษณ์เข้าใจไหม เราพิจารณาเพื่อพระนิพพาน ต้องเดินไปตาม อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เมื่อพิจารณาอันนี้รอบแล้วปล่อย ๆ พอถึงขั้น อนัตตา เต็มส่วนแล้วปล่อย อนัตตา ปุ๊บถึงนิพพาน แล้ว อนัตตา ทำไมจะไปเป็นนิพพาน ถ้า อนัตตาเป็นนิพพาน นิพพานก็เป็นไตรลักษณ์ล่ะซีเข้าใจไหม นี่ละว่าเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ อัตตา ก็เป็นส่วนสมมุติ อัตตา คือความยึดถือ อัตตา ตนจะไปเป็นนิพพานได้ยังไง อัตตา ความถือตนถือตัว อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ

พระองค์แสดงไว้แล้วว่า สุญฺญโต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทา สโต แล้วก็ อตฺตานุทิฏฺฐึ อูหจฺจ เอวํ มจฺจุตฺตโร สิยา เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ คือ ดูก่อนโมฆราช เธอจงเป็นผู้มีสติ ดูโลกให้เห็นเป็นของว่างเปล่า ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียได้ อัตตาฟังซิ ถอนอัตตานุทิฏฐิ อัตตานุทิฏฐิก็เป็นทางเดิน ถอนอัตตานุทิฏฐิเสียแล้ว พญามัจจุราชจะติดตามเธอไม่ทันอีกแล้ว นั่นท่านให้ถอนอัตตานุทิฏฐิ แล้วยังทำไม อัตตา จะมาเป็นนิพพานเสียเอง เอาพิจารณาซิ ยันกันอย่างนั้นซิ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ก็เป็นทางเดินเพื่อก้าวสู่พระนิพพาน อัตตาความยึดมั่นถือมั่น ก็ต้องพิจารณาอัตตานี้เพื่อให้ผ่านอัตตานี้ไปได้แล้วจึงไปเป็นพระนิพพานได้ เหตุใดพระนิพพานจึงจะมาเป็นอัตตาเป็นอนัตตาเสียเอง เอาพิจารณาซิ

อย่าเอาหนอนแทะกระดาษมาอวดนะ ให้เอาภาคปฏิบัติจับกันทันทีไม่ต้องทูลถามพระพุทธเจ้า นี้จริง ๆ นะ เราพูดอย่างนี้มันคึกคัก มันหากเป็นของมันนี่นะ ก็มันจัง ๆ อยู่นั่นเห็นประจักษ์ ทูลถามพระพุทธเจ้าทำไมว่างั้นเลย ของอันเดียวกัน รู้อย่างเดียวกัน เห็นอย่างเดียวกัน ถามกันหาอะไร นี่ละคำว่านิพพานต้องเป็นนิพพานเท่านั้นเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ จะเอาอัตตา อนัตตา เข้าไปใส่ อย่าเอามูตรเอาคูถไปโปะพระนิพพานว่างั้นเลย นิพพานคือนิพพานเลิศเลอสุดยอดแล้ว พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติเอง มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ แสดงไว้แล้ว นี่มีในพระไตรปิฎก แล้วพระไตรปิฎกไหนจะมาว่านิพพานเป็นอนัตตาได้อีก เอาอย่างนี้ซิ

มี พระเจ้าฟ้าเจ้าคุณท่านมาพูดถึงเรื่องว่า ในพระไตรปิฎกท่านว่านิพพานเป็นอนัตตา ชึ่ย ว่างี้เลยเรา ดีไม่ดีมันส่อให้เห็นผู้ไปจดจารึกพระไตรปิฎกมาเป็นคนประเภทใดอีกด้วยนะ ถ้าเป็นคนประเภทพระพุทธเจ้าพระอรหันต์แล้วจะว่านิพพานเป็นอนัตตาไม่ได้เป็น อันขาด นอกจากพวกคลังกิเลสมันเข้าไปจดจารึก ได้คำบอกเล่าอะไรมาก็มาว่าผิด ๆ ถูก ๆ ไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้นจึงส่อให้เห็นว่าผู้ไปจดพระไตรปิฎกมานี้เป็นคนประเภทใด มันบอกด้วยนะ อ่านไปในพระไตรปิฎกบอกไปในตัวเสร็จ ว่าผู้จดจารึกพระไตรปิฎกเป็นคนประเภทใด ถ้าเป็นคนประเภทเป็นพระอรหันต์จดจารึกมาแล้ว จะมีเน้นมีหนัก นี่เรียบ ๆ ไป พูดไปที่ไหนส่งเสริมแต่กิเลสเรื่อยไป ตีกิเลสไม่มีนี่บอกแล้ว ความจริงมีนี่

เหมือนเราถากไม้นี่สมมุติว่าต้นเสานี่นะ ต้นเสาตรงนี้มันเรียบ ๆ ตรงไป เขาก็ถากเสมอ ๆ พอไปถึงจุดคดจุดงอเขาจะถากหนักมือ คดงอที่ไหนจะต้องถากอย่างหนักมือเพื่อให้ราบเสมอกัน อันนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเป็นพระอรหันต์ท่านจดจารึกตามหลักความจริง หลักความจริงมีชื่อนี่นะ พอไปเจอหลักความจริงก็เน้นหนักลงไปจุดนั้น ๆ พอเรียบ ๆ ถึงจุดไหนที่เป็นบทหนักที่ควรจะเน้นหนัก ก็ต้องเน้นหนัก ๆ นั่นเรียกว่าหลักความจริง อันนี้มีแต่เรียบ ๆ ไปพูดที่ไหนยกมือไหว้กิเลสไปเรื่อย ๆ จดจารึกไปที่ไหนไหว้กิเลสไปเรื่อย ๆ มันอดคิดไม่ได้นะ เรายกให้หลักใหญ่ที่นำมาเป็นแบบเป็นฉบับของพวกเราชาวพุทธนี้นะ เราไม่ได้ปฏิเสธไปหมดนะ ไอ้กิ่งก้านสาขาไปนั่นซิ ไปเอากิ่งไหนมาทับกับกิ่งไหนผสมกับกิ่งไหนก็ไม่รู้ สุดท้ายก็ยกยอกิเลส

ยกยอมันเท่าไร โคตรพ่อโคตรแม่ของกิเลสมันไม่เคยทำประโยชน์ให้แก่ใคร มีแต่เอาไฟมาเผาโลก จะไปยกยอมันหาอะไร ธรรมต่างหากเป็นเครื่องเชิดชูสัตวโลก ควรจะยกยอธรรม เหยียบกิเลสลงไปมันถึงจะถูกว่างั้น พูดต้องขออภัยนะ นี่ละเรียกว่าพูดตามหลักความจริงต้องพูดอย่างนั้น ให้ตรงไปตรงมา เรื่องกิเลส โอ๋ย ไม่ได้นะ ปลิ้นปล้อนหลอกลวง ไพเราะเพราะพริ้งนิ่มนวลอ่อนหวาน แต่ความโกหกอยู่ในนั้นหมดเลย ธรรมะนี้ไม่ ตรงไปตรงมา ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ดีว่าดี ชั่วว่าชั่วไปเลย จึงเรียกว่าภาษาของธรรมเป็นภาษาที่สะอาดมากที่สุด ไม่มีเล่ห์มีเหลี่ยม ตรงไปตรงมา ภาษาของกิเลสเป็นภาษาที่สกปรกมากที่สุดเลย ต่างกันอย่างนี้นะ

นี่เราพูดถึงเรื่อง อัตตา อนัตตา ก่อนจะถึงพระนิพพาน ถึงธรรมชาติที่ให้ชื่อว่านิพพานนั้นต้องผ่านไตรลักษณ์ไปเสียก่อน ไม่ผ่านไตรลักษณ์ไปจะถึงความบริสุทธิ์ไม่ได้ จะถึงนิพพานไม่ได้ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา เรียกว่าไตรลักษณ์ พิจารณา ทุกฺขํ อนิจฺจํ อนตฺตา อะไรก็ตาม ๓ ประเภทนี้จนพอแล้วมันปล่อยของมัน ถ้าไม่พออันนี้ยังไม่ปล่อย ยังต้องพิจารณา อัตตา อนัตตา เหล่านี้อยู่ในวงเดียวกันของการดำเนินเพื่อก้าว ๆ ผ่านไป อัตตาก็เป็นตัวกิเลสอันสำคัญจึงถอนด้วย อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา ถอนอันนี้อีกทีหนึ่ง อัตตานุทิฏฐิ ความถือว่าเป็นตนเป็นตัว เป็นสัตว์ เป็นบุคคล เหล่านี้ ถอนอันนี้ออก แล้วจากนั้นก็ ทั้งหมดนี้เป็น อนัตตา นะ ปล่อย เมื่อถึงขั้นสุดยอดแล้วทั้งหมดเหล่านี้เป็นสมมุติทั้งนั้นนะ เป็น อนัตตา ทั้งนั้น จิตถอนปึ๋งออกจากนี้ ถอนจากนี้แล้วเรียกว่าอะไรตรงนั้น

นั่นละพระพุทธเจ้าเลิศเลิศจากการถอนทั้งสาม นี้แล้วนะ อยู่ใน อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อัตตาเหล่านี้ถอนไม่ได้ตายอยู่นั่น ถอนจากนี้แล้วจึงจะเป็นนิพพาน แล้วนิพพานอะไรถึงจะมาแอบซ่อนอยู่ในไตรลักษณ์ อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา และ อัตตา นิพพานก็ไม่มีที่พึ่งเที่ยวไปเกาะไตรลักษณ์อยู่นั้น เป็นอิสระได้ยังไง พูดแล้วเราคันฟันนะ โอ๋ย เถียงกันตาดำตาแดงจนกลายเป็นหมากัดกัน เถียงว่านิพพานเป็นอัตตาเป็นอนัตตา เถียงยุ่งกันไปหมดเลย คนหนึ่งยันว่านิพพานเป็นอัตตา คนหนึ่งยันว่านิพพานเป็นอนัตตา เอ้า กัดกันไปเราว่างั้น เฉย เอ้ากัดกันไป

ถาม : ได้ยินว่าพวกนักปราชญ์ทางศาสนาเขาบอกว่าจะทำการสังคายนาพุทธศาสนา จะได้เขียนว่าอะไรเป็นอะไร แล้วเขาไม่ได้ปฏิบัติอันนี้น่าเป็นห่วงค่ะ คือทุกคนที่สังคายนาก็ไม่มีใครปฏิบัติเจ้าค่ะ

ตอบ : อันนี้เป็นเรื่องของเขานะ เราก็เตรียมสังคายนาเรานะ ไปสังคายนากับเขาใช้ไม่ได้ เราต้องเตรียมสังคายนาเรา พระพุทธเจ้าสังคายนาพระองค์แล้วจึงตรัสสอนโลก พระอรหันต์ทั้งหลายท่านสังคายนาท่านเรียบร้อยแล้วจึงสั่งสอนโลก ทีนี้เขาจะเอาไปกัดกันที่ไหนมันแล้วแต่เขา

ถาม : ถ้าพยายามรักษาสติ สมาธิมันจะตามมาใช่ไหมเจ้าคะ

ตอบ : ทำสมาธิก็สงบง่ายถ้าสติดี สติเป็นของสำคัญมาก แม้เราจะไม่เข้าบทภาวนาก็ตาม เราทำอะไร ๆ อยู่นี้ให้มีสติประจำตัว เรียกว่ามีธรรมประจำตัว ท่านให้ชื่อว่าผู้มีสติอยู่ตลอดทุกอิริยาบถนี้เรียกว่าสัมปชัญญะ ความรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา สติจดจ่อตรงนี้ สัมปชัญญะซ่านไปหมด เรียกว่ารู้ตัวไปหมด สติรู้อยู่จำเพาะ เช่นอย่างเรากำหนดพุทโธ รู้อยู่กับพุทโธ พอย้ายจากพุทโธมาแล้ว เราจะเคลื่อนไหวไปมาทำหน้าที่การงานอะไร ความรู้คือสตินี้จะซ่านไปตามความเคลื่อนไหวของเรานี้ เรียกว่า สัมปชัญญะ แยกมาจากสติ เข้าใจไหม เอาไปสังคายนานะ

เข้าใจเหรอที่พูดอัตตา อนัตตา เป็นอย่างนี้ละ นั่นละให้ฟังเอาซิ นี้ยันเลยไม่ได้มีสะทกสะท้านนะสามแดนโลกธาตุนี้ ที่เราพูดออกมานี้เราไม่ได้สะทกสะท้าน เรารู้แล้วเห็นแล้วทุกอย่างว่างั้นเลย จะว่าอวดหรือไม่อวดก็ตาม พูดไม่พูดก็ธรรมอันเดียวกันนั่นแหละที่รู้อยู่นั้นแหละ เราจะพูดออกไปไม่พูดออกไปก็ธรรมที่เรารู้อยู่นี้แหละว่างั้นเถอะ ส่วนพูดออกไปมีส่วนได้ส่วนเสียเท่านั้นเอง เช่นว่าเรารู้อย่างนี้ คนที่เขาไม่เชื่อก็เป็นอกุศลแก่เขา คนที่เชื่อก็เป็นมงคลแก่คนนั้นเท่านั้นเอง ถ้าพูดออกไปแล้วมีส่วนได้ส่วนเสีย ถ้าไม่พูดก็ไม่มีได้มีเสีย สำหรับธรรมชาติผู้นั้นเองแล้วนะ จะพูดหรือไม่พูดท่านก็ไม่มีได้มีเสีย แต่มันมีได้มีเสียสำหรับเวลาพูดออกไป ผู้ฟังถ้าเชื่อตามหลักความจริงแล้วก็เป็นมงคลแก่ผู้ฟัง ถ้าไม่เชื่อไม่ยอมรับนี้ก็เป็นอัปมงคลแก่ผู้นั้น และกิเลสครอบหัวเอาเลยว่างั้นเถอะนะ กิเลสครอบเอาเลย หามขึ้นเขียงเลย

นี่เราพูดถึงเรื่องธรรมชาติแท้เป็นอย่างนั้น ท่านให้ชื่อว่านิพพาน คือให้ชื่อธรรมชาตินั้น ธรรมชาติที่จิตกับธรรมเป็นอันเดียวกันแล้ว เรียกว่าธรรมทั้งแท่งเลย หรือเรียกว่าธรรมธาตุก็ได้ ธรรมธาตุกับนิพพานไม่ขัดกัน แต่อัตตากับอนัตตานี้ โห ไม่ได้เลยนะ อัตตากับอนัตตานี้เข้าไม่ได้เลย เหมือนกับว่าเอามูตรเอาคูถไปโปะทองคำทั้งแท่ง ใครจะยันขนาดไหนก็ยัน ยันขนาดไหนก็เหมือนกับขนมูตรขนคูถเข้าไปโปะทองคำทั้งแท่ง กลบหมดเลยให้มีแต่มูตรแต่คูถเต็มตัว ทองคำไม่ให้เห็นเลย นี่จะไม่ให้เห็นนิพพาน เอาอัตตาเอาอนัตตาเข้าไปเป็นมูตรเป็นคูถเข้าไปโปะเอา ๆ หมดเลย

ก็มันไม่ได้ปฏิบัติ เรียนตามคัมภีร์ใบลานเฉย ๆ เราก็เรียนมาแล้วเราถึงกล้าพูดได้ ใครจะเรียนสูงเรียนต่ำเรียนมากเรียนน้อยก็ตาม ถ้าไม่ได้ปฏิบัติแล้วก็ไม่มีความหมายอะไรเลย เรียนบาปสงสัยบาป เรียนบุญสงสัยบุญ เรียนนรกสงสัยนรก เรียนสวรรค์สงสัยสวรรค์ เรียนนิพพานสงสัยนิพพาน สุดท้ายเรียนมาเต็มหัวอกความสงสัยเต็มหัวใจ ไม่มีอะไรยึดเป็นของตัวเองได้ เพราะฉะนั้นการเรียนมากเรียนน้อยจึงถือประมาณไม่ได้นะถ้าไม่นำออกปฏิบัติ ถ้านำออกปฏิบัติก็เหมือนตามรอยโค โคไปไหนตามเลยก็จะถึงตัวโค นี่ก็เหมือนกันภาคปฏิบัติเป็นภาคตัดสินได้เลย ภาคอื่นตัดไม่ได้ ความจำเป็นแนวทาง

เหมือนแบบแปลนของเรา แปลนนี้จะสร้างจะทำสักเท่าไรก็ได้เต็มศาลาก็ได้ก็เป็นแปลนทั้งหมด ไม่ได้เป็นบ้านเป็นเรือนให้ เมื่อดึงแปลนนี้ออกมา แปลนนี้ชี้แจงว่ายังไงจะทำยังไง ตึกรามบ้านช่องหรืออะไรก็ตาม กี่ชั้นกี่ห้องกี่หับ ความกว้างความแคบแปลนเขาบอกไว้เรียบร้อยแล้ว เอานี้ออกไปกางปุ๊บใส่ลงไป แล้วก็จะเริ่มปรากฏตัวขึ้นมาตั้งแต่เริ่มวางรากฐานของตึกรามบ้านช่องขึ้นไป เรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงคานถึงตัวตึกสำเร็จ นี่เป็นภาคปฏิบัติ ปฏิเวธก็คือเห็นชัด ๆ อยู่นี้ เวลานี้กำลังวางรากฐานก็เห็นอยู่นี้ ขึ้นถึงไหนแล้ว ปฏิเวธคือความรู้ ความรู้ไปตามลำดับ ความรู้ผลของมันไปตามลำดับ ก็เห็นไปเรื่อย ๆ เห็นจนกระทั่งถึงตึกนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

การศึกษาเล่าเรียนถ้าเทียบก็เหมือนกับว่าแปลน บ้าน ปฏิบัติทีนี้ดำเนินงานปลูกบ้าน ปฏิเวธก็คือว่าคอยดูผลของมันเป็นยังไง เวลานี้ได้ถึงไหน ๆ แล้ว ปฏิเวธก็รู้ไปตามลำดับ เวลานี้เทคานแล้ว เวลานี้กำลังวางนั้น ๆ ขึ้นไป ปฏิเวธก็รู้ไปตามลำดับจนกระทั่งถึงบ้านสำเร็จเต็มภูมิแล้วปฏิเวธก็รู้ อ๋อ บ้านนี้เรียบร้อยแล้ว เข้าใจเหรอ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ สืบเนื่องกันอยู่นี้

ศาสนาเราทุกวันนี้มีแต่ศาสนาขาดบาทขาดตาเต็ง ไม่ว่าท่านว่าเรานะ ศาสนาไม่ได้เต็มบทเต็มบาท ศาสนาขาดบาทขาดตาเต็งเวลานี้ มีแต่ภาคปริยัติ เรียนจำได้มากน้อยเพียงไรก็เอาน้ำลายมาโปะกัน ๆ ว่าข้าเรียนได้มากเท่านั้นเท่านี้ ได้แต่ความจำกิเลสไม่ได้ถลอกปอกเปิก ถ้าความจริงจับเข้าไปตรงไหนกิเลสเริ่มไหวตัวนะ จับเข้าไปมากเท่าไร ๆ กิเลสก็เริ่มร้อนละที่นี่ ร้อน ๆ แล้วไล่ขับออกได้หมดด้วยภาคปฏิบัติ ปฏิเวธธรรม ปฏิเวธคือความรู้ ฆ่ากิเลสได้มากน้อยเพียงไรก็รู้ไปโดยลำดับ จนกระทั่งกิเลสมุดมอดหมดไม่มีเหลือทำไมจะไม่รู้ ก็ปฏิบัติเพื่อรู้แท้ ๆ

ภาคปฏิบัติเท่านั้นจะตัดสินศาสนาพุทธได้นะ เพียงภาคปริยัติตัดไม่ได้ว่างี้เลย ยันได้เลย เพราะเรียนเราก็เรียนมาแล้ว โอ๋ย แบกความสงสัยไปหาพ่อแม่ครูจารย์มั่นเราไม่ลืมนะ เพราะความมุ่งมั่นที่จะหวังมรรคผลนิพพาน มุ่งมั่นเต็มหัวใจอยู่แล้ว แต่ยังสงสัย ฟังซิน่ะ ทั้ง ๆ ที่เรียนไปถึงนิพพานนะ แต่ยังสงสัยว่า เอ๊ สมัยนี้มรรคผลนิพพานจะยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์เหมือนครั้งพุทธกาลหรือไม่นา นั่นเห็นไหม ขอให้ท่านผู้ใดมาชี้แจงให้เราทราบว่ามรรคผลนิพพานมีอยู่อย่างสมบูรณ์นี้แล้ว เราจะกราบมอบชีวิตจิตใจกับครูบาอาจารย์องค์นั้น แล้วเราจะปฏิบัติให้ถึงขีดถึงแดนให้ถึงมรรคผลนิพพานนั้น แบบเอาตายสู้เลย

พอไปถึงหลวงปู่มั่น ท่านก็ใส่เปรี้ยงเลยเทียว หือ ท่านเอาเลยนะ เพราะท่านเอาเรดาร์จับไว้แล้วนี่นะ หือ ท่านมาหาอะไร ท่านมาหามรรคผลนิพพานเหรอ อะไรเป็นมรรคผลนิพพาน ดินเป็นดิน น้ำเป็นน้ำ ลมเป็นลม ไฟเป็นไฟ ดินฟ้าอากาศแร่ธาตุต่าง ๆ ทั่วสามแดนโลกธาตุนี้ไม่ใช่มรรคผลนิพพาน ไม่ใช่กิเลส ตัวกิเลสจริง ๆ ตัวมรรคผลนิพพานจริง ๆ อยู่ที่ใจ ให้ปฏิบัติใจ เอาละที่นี่ชี้เข้ามาหาใจ อยู่ที่นี่นะ มรรคผลนิพพานอยู่ที่นี่ ธรรมอยู่ที่นี่ ไม่อยู่ที่เหล่านั้น ให้ปฏิบัติใจให้เกิดความสงบร่มเย็นเข้าไปโดยลำดับนะ เอาใจเท่านั้นนะ

แต่นั้นก็มีข้อแม้อันหนึ่งว่า เออ นี่ท่านมหาก็เรียนมามากพอสมควรจนถึงขั้นเป็นมหา อย่าว่าผมตำหนิติเตียนธรรมพระพุทธเจ้านะ ธรรมที่ท่านเรียนมามากน้อยเวลานี้ยังไม่เกิดประโยชน์ ขอให้ท่านยกบูชาไว้ก่อน ให้ท่านเน้นหนักทางภาคปฏิบัติให้มาก เมื่อเวลาถึงขั้นปริยัติที่ท่านเรียนมากับปฏิบัติจะวิ่งเข้าหากันแล้วเอาไว้ ไม่อยู่ จะวิ่งประสานกัน เอาไว้ไม่อยู่ โอ๋ย มันเป็นจริง ๆ นะ พอถึงขั้นสติปัญญาเกรียงไกรแล้ว ปริยัติกับปฏิบัตินี้วิ่งใส่กันเลย เอาไว้ไม่อยู่เหมือนกันนะ มันหากเป็นของมันเอง ดีดใส่กันพับ เอาปริยัติมาอ้างมาอิง ทางภาคปฏิบัติเป็นอย่างนี้ ภาคปริยัติเป็นยังไง มันจะวิ่ง สงสัยตรงจุดไหน ๆ ปริยัติท่านว่ายังไง มันวิ่งเข้ามาใส่กันผึง ๆ เลย นี่พ่อแม่ครูจารย์ชี้ให้เห็น

จึงว่าเรียนมากเรียนน้อยไม่พ้นความสงสัยนะ ใครอย่าเข้าใจว่าใครเรียนมากเรียนน้อยนั้นจะเป็นหลักเป็นเกณฑ์นะ ไม่ได้เป็น ว่างี้เลย เราก็เรียนมาแล้วนี่ ไม่มีอะไรเป็นหลักเป็นเกณฑ์ ถ้าธรรมดาเรื่องที่ยึดที่เกาะนี้ผู้เรียนมากเรียนน้อยมันพอ ๆ กัน ดีไม่ดีผู้เรียนมากนี่ทิฐิมานะยิ่งสูงจรดฟ้า หนายิ่งกว่าคนไม่ได้เรียนเสียอีกถ้าไม่ได้ปฏิบัติ แต่ถ้าปฏิบัตินี้จะถอนตัวออกเรื่อย ๆ กระจายออก ๆ เรื่อย จนกระทั่งถึงว่าเด็ดเลยว่างั้นเถอะนะ ไม่ต้องไปทูลถามพระพุทธเจ้า ธรรมอันใดที่ทรงสอนไว้แล้วสอนไว้แล้วโดยถูกต้อง พอเราเจอเข้าไปพับยอมรับทันที ๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นสำเร็จรูปเรียบร้อยแล้ว กราบพระพุทธเจ้านะ แต่เรายังไม่เห็นก็เป็นปัญหาอยู่

พอเราเจอเข้าจุดไหน ๆ เท่านั้น อ๋อ ๆ เรื่อย ๆ นั่นภาคปฏิบัติเป็นที่แน่ใจ ปริยัตินี่ไม่ได้ นอกจากเป็นหนอนแทะกระดาษ เขาก็เรียนเราก็เรียน เรียนไปเรียนมาเลยเอาความจำนั้นมาเป็นมรรคผลนิพพานเสีย ไม่ได้เอาความจริงเป็นมรรคผลนิพพานล่ะซี ศาสนาจึงขาดบาทขาดตาเต็งเวลานี้ ศาสนาไม่ได้เต็มบาทเต็มเต็งนะ ได้แต่ปริยัติมาโม้กันภาคปฏิบัติไม่เคยสนใจ ไม่ว่าฆราวาสไม่ว่าพระ ปฏิบัติให้มันรู้ตามนั้นซี นี่เรียกว่าเริ่มจะเต็มละนะ พอปฏิบัติเข้าไปปฏิเวธก็จะมาตาม ๆ กัน ก็เป็นศาสนาเต็มเม็ดเต็มหน่วย ถ้าศาสนามีทั้งปริยัติมีทั้งปฏิบัติแล้วปฏิเวธไม่ต้องถาม มาด้วยกัน แล้วก็เต็มบาท อันนี้มีแต่ภาคปริยัติ เรียนจำได้เฉย ๆ กิเลสไม่ได้ถลอกปอกเปิกจากความเรียนนะ ต้องถลอกปอกเปิกหรือขาดสะบั้นไปจากการปฏิบัติต่างหาก

เอาละนะที่นี่นะ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ถวายเทียนพรรษาดีอย่างไร

1. มีเรื่องเล่าว่าในครั้งพุทธกาลมีหญิงยากจนนำผ้าที่ปกปิดกายขายซื้อเทียนได้ 1 เล่มจุดถวายบูชาพระมหาเจดีย์เทียนเล่มนั้นติดอยู่ตลอดรุ่งโดยไม่กินเนื้อ เทียนและไส้เทียนยังคงเดิม องค์สมเด็จพระประทีปแก้วทรงตรัสว่า"เทียนที่จุดโดยศรัทธาเล่มนี้ ไม่มีเทพเจ้าผู้มีฤทธิ์องค์ไดสามารถดับได้ด้วย ฤทธิ์เพราะจุดด้วยศรัทธา"

2. เสด็จปู่พระอินทร์และท่านย่าแปลงเป็นชายชราและหญิงชรามาไส่บาตร พระโมคคัลลานะออกนิโรธสมาบัติเพราะรัศมีสว่างไม่สู้เทวบุตร 2องค์ที่พึ่งจุดติไปสวรรค์ดาวดึงส์เพราะอานิสงค์ถวายเทียนพรรษา

หลวง พ่อพระราชพรหมยานเล่าอานิสงส์การถวายเทียนหรือหลอดไฟในวันเข้าพรรษา การถวายเทียนเข้าพรรษา หรือว่า ถวายกระแสไฟในพระพุทธ-ศาสนา เหมือนกัน อย่างนี้ถ้าเกิดเป็นเทวดาจะมีรัศมีกายสว่างมาก ต่อไป


ถ้า บรรลุมรรคผล จะเป็นบุคคลผู้เลิศใน ทิพจักขุญาณ อย่าง พระอนุรุทธ ท่านได้ถวายเทียนเข้าพรรษาตลอดมา ถวายพระประทีปโคมไฟวัดไหนมืดชอบถวายตะเกียงบ้างน้ำมันบ้างให้มีแสงสว่างต่อ มาในชาติสุดท้าย เมื่อเป็น พระอรหันต์วิชชาสาม ท่านสามารถมี ทิพจักขุญาณสว่างกว่าพระอรหันต์ทั้งหมด แม้แต่ พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาญาณก็ยังสู้ไม่ได้ นี่ประการหนึ่งถ้าท่านทั้งหลายไปเกิดเป็นเทวดา เป็นนางฟ้า เป็นพรหม ก็จะมีรัศมีกายสว่างมาก เพราะเทวดา นางฟ้า และพรหมเขาถือรัศมีกายเป็นสำคัญเขาไม่ถือเครื่องแต่งกายเป็นสำคัญ องค์ไหนถ้ารัศมีกายสว่างมากองค์นั้นมีบุญมาก เมื่อมีจิตใจเลื่อมใส ได้ทำการบูชาเช่นนี้ พระชินศรีตรัสว่าเป็นมงคลอันสูงสุด ดังพระบาลีว่า ปูชา จ ปูชะนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง การบูชาบุคคลผู้ควรบูชาเป็นมงคลอันสูงสุด อนึ่งชื่อว่าได้ขวนขวายในกิจ อันปราศจากโทษความเดือนร้อนในภายหลังมิได้ ย่อมได้รับผลพิเศษทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

อานิสงส์ถวายเทียนพรรษา

การ ถวายเทียนพรรษานี้เป็นโบราณประเพณีที่ทำสืบๆ มาเป็นเวลาช้านาน เมื่อถึงฤดูเข้าพรรษา ภิกษุทั้งปวงต้องจำพรรษาในอาวาสของตน 3 เดือน พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย จึงได้จัดทำให้เป็นกุศลพิธีขึ้น เมื่อได้นำเทียนไปถวายพระสงฆ์แล้ว ท่านก็จะได้จุดบูชาต่อหน้าพระประธานในพระอุโบสถ ผู้ถวายย่อมได้รับอานิสงค์ คือ

1. ทำให้เกิดปัญญา ทั้งชาตินี้และชาติหน้า เปรียบเหมือนแสงสว่างแห่งเทียน
2. ทำให้สว่างไสวรุ่งเรือง ผู้ถวายย่อมทำให้มีความรุ่งเรืองด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ
3. ทำให้คลี่คลายเรื่องราวต่างๆ ที่มีปัญหาให้ร้ายกลายเป็นดี
4. เจริญไปด้วยมิตรบริวาร
5. ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย
6. เมื่อจากโลกนี้ไปย่อมมีกายทิพย์อันสว่างไสว
7. เมื่อลาลับโลกนี้ไปย่อมไปสู่สุคติสวรรค์
8. หากบารมีมากพอ ย่อมทำให้เกิดดวงตาจักษุ คือปัญญารู้แจ้งเข้าสู่พระนิพพาน



คำถวายเทียนพรรษา
ยัค เฆ ภันเต สังโฆ ปะฏิชานาตุ มะยัง ภันเต เอตัง ปะทีปะยุคัง สะปะริวารัง เตมาสัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ อิมัสมิง อุโปสะถาคาเร นิยยาเทมะ สาธุ โน ภันเต อะยัง เตมาสัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ ปะทีปะยุคัสสะ ทานัสสะ อานิสังโส อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ ปิยะชะนานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ ฯ

คำแปล
ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับทราบ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอมอบถวาย เทียนคู่นี้ พร้อมกับของบริวารไว้ ณ พระอุโบสถนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษา ขออานิสงส์แห่งการถวายคู่เทียน เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดพรรษานี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายด้วย แก่ปิยชนทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนานเทอญ ฯ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

อานิสงส์ถวายผ้าจำนำพรรษา

....เมื่อสมัยครั้งพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี มีอุบาสกคนหนึ่ง
เป็นผู้มีศรัทธาต่อพระรัตนตรัย ชื่อว่าติสสะ ได้พร้อมใจกับภรรยาของตนเย็บและย้อม ซึ่งจีวรสบง
สังฆาฏิ ได้ถวายเสร็จแล้วก็ทูลลากลับไปสู่เคหาของตน

... ในกาลครั้งนั้นพระโมคคัลลานะ ผู้ประกอบ ด้วยฤทธานุภาพ
สามารถนำข่าวสารสวรรค์มาบอกมนุษย์นำข่าวมนุษย์ไปบอกสวรรค์ และนรกเป็นต้น
ครั้งแล้วพระโมคคัลลานะก็ขึ้นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้เห็นปราสาทมีความงามรุ่งเรืองกว่าปราสาทหลัง
อื่น ๆ และมีนางเทพกัญญา พันหนึ่งแวดล้อมปราสาทนั้น แต่ไม่มีเทพบุตรอยู่ในปราสาทหลังนั้น พระ
เถระเจ้าได้ไต่ถามกับนางเทพอัปสรนั้น ได้ทราบโดยตลอด จึงลงจากเทวโลกเข้าไปสู่สำนักพระบรม
ศาสดากำลังมีพุทธบริษัททั้ง ๔ แวดล้อมอยู่ พระเถระเข้าไปถวายอภิวาท แล้วก็ทูลถามถึงอานิสงส์
ถวายผ้าจำนำพรรษายังมีชีวิตอยู่ในเมืองมนุษย์ ว่าปราสาททิพย์ได้รอคอยอยู่ในเทวโลก เพราะเกิดจาก
ผลทานของการถวายผ้าจำนำพรรษา จะมีบ้างไหมพระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงตรัสว่า
ดูกรโมคคัลลานะ ผ้าจำนำพรรษาที่ติสสะอุบาสกได้กระทำไว้นั้น ก็ได้ปรากฏแก่เธอเองแล้วมิใช่หรือ
พระโมคคัลลานะ ทูลตอบว่าจริงแล้วพระเจ้าข้า
สมเด็จภวันต์ตรัสต่อไปว่า โมคคัลลานะบุคคลผู้ใดมี ศรัทธา ได้ถวายผ้าจำนำพรรษาแก่ภิกษุสงฆ์
มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น บุคคลผู้นั้นเบื้องหน้าแต่แตกกายทำลายขันธ์ ไป
ย่อมมีสุคติเป็นที่ไป “ทานสคฺคโสปาณํ” ผลทานเป็นบันไดนำไปสู่สวรรค์
ปิดกันเสีย ซึ่งอบายภูมิ บุคคลผู้มีมืออันชุ่มไปด้วยการให้ทาน หมู่ทวยเทพทั้งหลายย่อมมีความยินดี
สรรเสริญรอคอยบุคคลผู้ให้ทานนั้นอยู่เสมอ ดุจนางอัปสรเทพกัญญารอคอยติสสะอุบาสกฉะนั้น เมื่อ
จบพระสัทธรรมเทศนาลง บริษัททั้ง ๔ มีความรื่นเริง ยินดีในพุทธพจน์นัก กลับเป็นผู้ตั้งอยู่ในกุศล
สัมมาปฏิบัติเป็นจำนวนมาก ฝ่ายติสสะอุบาสกครั้นทำลายขันธ์ลงก็นำตนไปอุบัติขึ้นใน
สัตตรัตนปราสาท เสวยสมบัติอันเป็นทิพย์ มีนางอัปสรแวดล้อมเป็นยศบริวา


...ความจริงการทอดกฐิน ไม่ใช่ประเพณีนิยม เป็นพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ว่าผ้ากฐินทานจะรับได้ก็ต่อเมื่อ ถึง วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ หลังจากนั้นจะทอดขนาดไหนก็ตามจะไม่เป็นกฐินฉะนั้นกฐินมีเวลากาลจำกัด

ทีนี้ว่าถึงอานิสงส์กฐิน อานิสงส์กฐินนี้ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยาท่านเคยเทศน์ และก็เทศน์ตามบาลี ท่านพูดถึงอานิสงส์ให้ทราบ ฉะนั้นการถวายวันนี้ทั้งหมด เมื่อวานก็ดี วันนี้ก็ดีจะเป็นเงินก็ตาม จะเป็นของก็ตาม ถือว่าทุกอย่างเป็น อานิสงส์กฐิน ต่อไปนี้ก็โปรดทราบ จะนำพระสูตรตามที่ท่านกล่าวไว้ในบาลีให้ทราบ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ในสมัยที่พระองค์เกิด เป็นมหาทุคคตะ ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระปทุมมุตระ เวลานั้นพระพุทธเจ้าของเราเกิดเป็นคนจนอย่างยิ่ง เป็นทาสของคหบดี เวลานั้นถอยหลังจากนี้ไป ๙๑ กัป ก็ปรากฏว่ามีพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระปทุมมุตระ วันหนึ่งมหาทุคคตะไปดูงานทอดกฐินเขา เมื่อเขาทอดกฐินเสร็จ พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า บุคคลใดเคยทอดกฐินแล้วในชีวิตหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพกฐินก็ดี และเป็นบริวารกฐินก็ดี (แต่ว่ากฐินวันนี้ไม่มีบริวาร มีแต่เจ้าภาพ เพราะเป็นกฐินสามัคคี) จะทำบุญน้อยจะทำบุญมาก มีอานิสงส์เสมอกัน แต่ทว่าปริมาณอาจจะแตกต่างกัน และอานิสงส์กฐินนี่ เวลานั้นพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า...

"โภ ปุริสะ ดูกรท่านผู้เจริญ บุคคลใดเคยทอดกฐินไว้ในพระพุทธศาสนา แม้ครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าตายจากความเป็นคน ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ท่านผู้นั้นจะไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้า ๕๐๐ ชาติ" นั่นหมายความว่า ถ้าหมดอายุเทวดา หรือนางฟ้าจุติแล้วก็เกิดทันที ๕๐๐ ครั้ง เมื่อบุญหย่อนลงมานิดหน่อย เกิดเป็นเทวดาเกิดเป็นนางฟ้าไม่ได้ ลงมาเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก ๕๐๐ ชาติ เมื่อเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๕๐๐ ชาติแล้ว บุญก็หย่อนลงมา ก็จะเป็นพระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ หลังจากนั้น จะเป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ

คำว่ามหาเศรษฐีนี่ มีเงินตั้งแต่ ๘๐ โกฏิ ขึ้นไปเขาเรียกว่า มหาเศรษฐี แต่ว่าตั้งแต่ ๔๐ โกฏิ ขึ้นไปเขาเรียก อนุเศรษฐี

เมื่อเป็นมหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติแล้ว ก็เป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ หลังจากเป็นอนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติแล้ว ก็เป็นคหบดี ๕๐๐ ชาติ
ก็ รวมความว่า การทอดกฐินครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านบอกว่านอกจากจะเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีแล้วบุคคลที่ทอดกฐินครั้งหนึ่งในชีวิต จะปรารถนาพระโพธิญานก็ย่อมได้ นั่นหมายความว่า จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนา เป็นอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นมหาสาวกก็ได้ จะปรารถนานิพพาน เป็นพระอรหันต์ปกติก็ได้ ฉะนั้นการทอดกฐินแต่ละคราว ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทโปรดทราบถึงอานิสงส์คนที่เคยทอดกฐินแล้วแต่ละครั้ง รวมความว่า ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด คำว่า ยากจนเข็ญใจจะไม่มีแก่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททุกชาติ

สำหรับวันนี้ การทอดกฐินมันมี ๓ อย่าง ความจริงอานิสงส์กฐินก็ย่อมเป็นอานิสงส์กฐิน แต่ในปัจจุบันจัดกฐินเป็น ๓ อย่างคือ ๑. จุลกฐิน ๒. ปกติกฐิน ๓. มหากฐิน กฐิน ๓ อย่างย่อมเป็นเทวดานางฟ้าเหมือนกัน แต่ทว่าจะมีทรัพย์สมบัติมากกว่ากัน คำว่า จุลกฐิน เวลานี้แปลงไปคงจำของพระพุทธเจ้าไม่ได้ คำว่า "จุลกฐิน" ก็หมายความว่า เขาถวายผ้าโดยเฉพาะชิ้นเดียว คือ ผ้ากฐินจะเป็นผ้าสังฆาฏิตัวหนึ่งก็ได้ จะเป็นผ้าจีวรตัวหนึ่งก็ได้ สบงตัวหนึ่งก็ได้ ถ้าเราไม่มีทั้งไตร ถวายผ้าชิ้นใดชิ้นหนึ่งก็เป็นกฐิน

ทีนี้ถ้า "ปกติกฐิน" ก็มีผ้าไตรครบไตร ถวายผ้าไตรเดียวหรืออย่างน้อย ก็มีผ้าไตร ๓ ไตร คือองค์ครอง ๑ ไตร คู่สวด ๒ ไตร

ทีนี้ถ้ามีผ้าไตรครบทุกองค์ อย่างที่วัดทำเป็น "มหากฐิน" อย่างนี้ถ้าบังเอิญจะไปเกิดในชาติใดก็ตาม จะเป็นมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์สมบัติมากที่สุดเป็นพิเศษ อย่างตระกูล นางวิสาขามหาอุบาสิกา มีทรัพย์มากเป็นพิเศษ อย่างมหาเศรษฐีเขาบอกว่า ต้องมีเงิน ๘๐ โกฏิ หรือว่า ๑๖๐ โกฏิ แต่ว่าตระกูลของนางวิสาขาจะนับเป็นโกฏิไม่ได้ ต้องนับเป็นโกฏิของเล่มเกวียน ไม่ใช่นับเป็นโกฏิของเหรียญ ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าตระกูลนี้ร่ำรวยมาก

ตระกูลนางวิสาขาจริงๆ เริ่มต้นมาจากคนที่ยากจนเข็ญใจ ต้นตระกูลนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านเมณฑกเศรษฐี นี้ ท่านเมณฑกเศรษฐีเป็นปู่ของนางวิสาขา ในชาติก่อนโน้นท่านเป็นคนยากจนเข็ญใจมาก เรียกว่าเป็นคนแก่ ๒ คน ไม่มีลูก ลูกหญิงไม่มี ลูกชายไม่มี แล้วก็หาเช้ากินค่ำ หรือว่าหาค่ำกินเช้าไม่ได้เกิดพร้อมท่าน ไม่รู้ ใช่ไหม…เป็นอันว่า หากันไม่ค่อยจะพอกิน บ้านอยู่ใกล้วัด ไม่มีโอกาสจะทำบุญ ถึงแม้วันพระที่เขาตั้งใจทำบุญกัน เวลาจะทำบุญก็ไม่มี ถ้าขืนมาทำบุญไม่ได้ทำงานก็ไม่มีกิน มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ศรัทธาน่ะ มีอยู่ แต่ทรัพย์ไม่มีมาคราวหนึ่งปรากฏว่า ที่วัดเขาสร้างส้วม เมื่อเขาสร้างส้วมเสร็จ แล้วเขาก็ขุดหลุมส้วมเสร็จ ตอนกลางคืนสองคนตายายก็คิดในใจว่าชาตินี้ทั้งชาติเรา มันจนแสนจน ไม่มีเงินจะทำบุญ ไม่มีข้าวจะใส่บาตร เวลานี้เขาสร้างส้วมเสร็จ เรามีทองคำอยู่ชิ้นหนึ่งเท่าปีกริ้น นั่นก็คือ "ทองคำเปลว" เราเอาไปบูชาพระรัตนตรัยดีกว่า ฉะนั้นเวลากลางคืนมันว่างงาน สองคนตายายย่องเอาทองคำมาปูตรงที่ก้นหลุมส้วม ตั้งใจบูชาพระรัตนตรัย ฟังแล้วก็จำไว้ให้ดีนะ นี่สำคัญมากหลังจากนั้นสองคนตายายก็นั่งคิดนอนคิดถึง บุญที่ทำแล้ว ก่อนจะหลับก็ดีใจว่าชาตินี้เราได้ทำบุญด้วยทองคำ ตื่นขึ้นมาก็ดีใจว่าเราได้ทำบุญด้วยทองคำ ปลื้มใจทุกวัน จนกว่าจะถึงวันตาย

เมื่อตายจากความเป็นคนอาศัยอานิสงส์ที่ถวายทองคำเท่า ปีกริ้นหรือทองคำเปลว ไปบูชาพระรัตนตรัยไว้ที่ก้นหลุม ทั้งสองก็ไปเกิดเป็นเทวดาและนางฟ้าด้วยอานิสงส์อย่างยิ่ง ที่บูชาพระรัตนตรัยด้วยทองคำ ก็เป็นเหตุให้มาเกิดเป็นลูกของมหาเศรษฐี จากคนแสนจนนะ มาเป็นลูกมหาเศรษฐี ทีนี้ชาติเดิมท่านเป็นคนมีศรัทธาเป็นปกติ แต่ไม่มีทรัพย์ เมื่อไปเกิดเป็นเทวดาเป็นนางฟ้าก็มีศรัทธาเป็นปกติ มาเกิดเป็นลูกของมหาเศรษฐีก็เป็นคนมีศรัทธาเป็นปกติ มีความเมตตาปราณีในบุคคลทั้งหลาย ฉะนั้นท่านมหาเศรษฐีคนนี้จึงมีสภาพไม่เหมือนเศรษฐีคนอื่น เมื่อเป็นเศรษฐีแล้วก็ไม่หวังผลกำไรในดอกเบี้ย ปีหนึ่งได้ข้าวเท่าไร เศรษฐีมีนาเป็นแสนไร่ ได้ข้าวมาก ก็กันไว้ส่วนหนึ่ง แกล้งขายเอาเงินเข้าในกองทรัพย์สินของตนเอง อีกส่วนหนึ่งเอาไว้แจกกับคนจนแต่ว่าต่อมาท่านจะเก็บข้าวเอาไว้จริงๆ ข้าวที่เก็บไว้กินเอง เก็บไว้ประมาณเผื่อคนจนด้วย เผื่อท่านด้วย ที่เก็บไว้นะ ๓ ปี ปีหนึ่งได้ข้าวมาแล้ว เก็บไว้เผื่อกินเองบ้าง เผื่อคนจนบ้าง นี่ ๓ ปี เหลือจากนั้นก็ขาย เหลือจากนั้นก็แจก และมาในตอนหนึ่งปรากฏว่าในประเทศนั้นเกิดข้าวยากหมาก แพง ฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฝนมันแล้งชาวบ้านทำนาไม่ได้ ท่านมหาเศรษฐีก็แจกข้าวกับบรรดาประชาชนที่มาขอ ไม่มีคำว่าขาย แจกมาแจกไป แจกไปแจกมา ในปีแรกข้าวก็ยังเหลือ ปีที่สองข้าวก็ยังเหลือ มันแล้วตั้ง ๓ ปีพอถึงปีที่ ๓ ข้าวหมด ข้าวที่แจกเขาก็หมด มีไว้เพื่อแจก ข้าวที่มีไว้เพื่อกินก็หมด ทีนี้ข้าวมันเหลือทะนานเดียว เวลานั้นปรากฏว่าข้าทาสหญิงชายมีมาก ปล่อยหมด ไปตามเวรตามกรรม ไปหากินเองที่บ้านนี้ไม่มีกินแล้ว ถ้าขืนอยู่ก็อดตาย มีทาสคนหนึ่งชื่อว่านายบุญ ไม่ยอมไปจากนาย บอกถ้านายอดขออดด้วย ถ้านายตายขอตายด้วย ก็เป็นอันว่าตามธรรมดามหาเศรษฐีต้องไปเฝ้าพระราชาเช่นเดียวกับอำมาตย์ทั้ง หลาย เวลาประชุมขุนนาง เวลาประชุมขุนนาง มีวันหนึ่งข้าวเหลือทะนานเดียวท่านมหาเศรษฐีก็กลับมา จากเฝ้าพระราชา ก็ถามแม่บ้านว่าข้าวของเรามีเท่าไร แม่บ้านก็บอกว่า ข้าวของเรามีหนึ่งทะนาน ที่บ้านเรามี ๕ คน...(เรื่องราวต่อจากนี้ท่านผู้อ่านคงทราบกันดีแล้วนะครับ จึงไม่ขอโพสต่อ)

ที่มา ธรรมเทศนาของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ จากหนังสือธรรมวิโมกข์
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

สวรรค์ในพระพุทธศาสนา

สวรรค์ในความเชื่อทางพระพุทธศาสนา แปลว่า ภูมิหรือดินแดนที่มีอารมณ์เลิศด้วยดี จำแนกออกได้เป็น 6 ชั้น คือ จตุมหาราชิกา, ดาวดึงส์, ยามา, ดุสิต, นิมมานรดีและ ปรนิมมิตวสวัตดี

สวรรค์ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา เป็นโลกที่อยู่อาศัยของกายละเอียดอันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีสว่างไสวรอบกายตลอดเวลา เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดาเพราะได้ สร้างบุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์ วิมานปราสาท คือที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มี ความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิด ขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่ 37 เรื่อง ทานสูตร สรุปย่อได้ดังนี้

สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีจาก หลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ทำบุญไม่ค่อยเป็น ไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสม บุญ นานๆ ทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือ ทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3 พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร(พิทยาธร) กุมภัณฑ์ ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือเมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำ กระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริ โอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาพระสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33 องค์ โดยมี สมเด็จอมรินทราธิราช หรือพระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมีพระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ

สวรรค์ชั้นยามา เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอดและรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็น ปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอา ไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป

สวรรค์ชั้นดุสิต คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพ-สัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป

สวรรค์ชั้นนิมมานรดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วได้รับ การยกย่อง ส่งเสริม จึงอยากจะทำบุญนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้ว จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป

สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไป
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

มัชฌิมสงสารเป็นการท่องเที่ยวในภูมิกลาง มี 7 ภูมิ

1.มนุสสภูมิ คือ โลกมนุษย์
เหล่าสัตว์ที่ไปอุบัติเกิดขึ้นในโลกมนุษย์นี้ มีปรากฏให้เห็นได้ แต่จะมีรูปร่างเป็นอย่างไรนั้น ไม่ต้องบอกก็เห็นจะได้
กระมัง เพราะว่าท่านผู้มีปัญญาทั้งหลายก็คงเคยเห็นมนุษย์มากมายจนนับไม่ถ้วนแล้ว ชีวิตมนุษย์นับว่าเป็นชีวิตที่ประเสริฐ
เพราะว่าสามารถที่ประกอบกรรมอันสูงสุดได้ ไม่ว่าจะเป็นกุศลกรรมหรืออกุศลกรรม

2.จาตุมหาราชิกาภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่1
ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมมีความสุขสบายบริบูรณ์ไปด้วยกามคุณอารมณ์มากกว่ามนุษย์ เพราะเป็นเทวดา
ได้เสวยทิพยสมบัติ ด้วยอำนาจแห่งบุญกุศลแห่งตนที่ได้สร้างสมไว้ โดยมีเทวาธิบดีผู้ยิ่งใหญ่ 4 องค์ทรงเป็นผู้ปกครอง

3.ตาวติงสาภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่2
ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีตกว่าทวยเทพชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นทวยเทพ
ที่อยู่ภายใต้ความปกครองของเทพยดา 33 องค์ซึ่งมีสมเด็จพระอมรินทราธิราชเป็นประธาน

4.ยามาภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่3
ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีต และมีอายุยืนยาวกว่าทวยเทพในสรวงสวรรค์
ชั้นดาวดึงส์ เป็นเทพยดาที่อยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระสุยามเทวาทิราช

5.ดุสิตาภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่4
ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีตยิ่งขึ้น ถึงภาวะที่มีความสุขที่น่ายินดีชอบใจ
อยู่ภายใต้การปกครองของสมเด็จพระสันดุสิตเทวาธิราช

6.นิมมานรตีภูมิ คือ เทวโลกชั้นที่5
ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีตยิ่งขึ้น มีความเพลิดเพลินเจริญใจในอารมณ์
ต่างๆ อันตนเนรมิต หรือบันดาลได้ตามความยินดีพอใจของตน โดยมีสมเด็จพระนิมมิตเทวาธิราชเป็นผู้ปกครอง

7.ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ คือ คือ เทวโลกชั้นที่6
ผู้มาอุบัติเกิดในเทวโลกชั้นนี้ ย่อมเสวยทิพยสมบัติอันเป็นสุขประณีตเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นเทวโลกชั้นสูงสุด มีความ
เพลิดเพลินเจริญใจในกามคุณอารมณ์ต่างๆที่ผู้อื่นเนรมิตมาให้ตามความปรารถนาแห่งตน โดยมีสมเด็จพระปรนิมมิตเทวาธิราชเป็นผู้ปกครอง


อุปริมสงสาร เป็นการท่องเที่ยวในภูมิสูง มี 20 ภูมิคือ

1.พรหมปาริสัชชาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่1
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมผู้ได้ฌานผู้ดำรงฐานะเป็นบริษัทบริวารของท่านท้าวมหาพรหม

2.พรหมปุโรหิตาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่2
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ จะทรงไว้ซึ่งภาวะที่ตนเป็นผู้ประเสริฐ คือ ประเสริฐกว่าพระพรหม
ปาริสัชชาที่กล่าวมาแล้ว เพราะเป็นปุโรหิตของท้าวมหาพรหม

3.มหาพรหมาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่3
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมผู้ยิ่งใหญ่ คือยิ่งใหญ่กว่าพระพรหมชั้นพรหมบริษัท
และพรหมปุโรหิตที่กล่าวมาแล้ว

4.ปริตตาภาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่4
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมที่มีแสงสว่างแห่งรัศมีเป็นส่วนน้อย

5.อัปปมาณาภาภูมิ พรหมโลกชั้นที่5
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมที่มีแสงสว่างแห่งรัศมีมากที่สุด

6.อาภัสสราภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่6
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมที่มีประกายรุ่งโรจน์ ดุจแสงฟ้าแลบออกอยู่ตลอดกาล

7.ปริตตสุภาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่7
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมที่สง่าสวยงามแห่งรัศมีเป็นแต่เพียงส่วนน้อย

8.อัปปมาณสุภาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่8
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมที่สง่าสวยงามแห่งรัศมีโดยไม่มีประมาณ

9.สุภกิณหาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่9
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมที่สง่าสวยงามแห่งรัศมีที่ออกสลับปะปนกันเสมอ

10.อสัญญสัตตาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่10
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมที่ไม่มีสัญญา มีแต่รูปไม่มีนาม คือมีจิตและเจตสิก
พระพรหมชั้นนี้มีโวหารเรียกให้รู้กันว่า พรหมลูกฟัก

11.เวหัปผลาภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่11
ท่านผู้ได้ฌานที่มาอุบัติขึ้น ณ พรหมภูมิชั้นนี้ เป็นพระพรหมที่มีผลอย่างไพบูลย์ คือมีผลแห่งฌานที่จะได้รับ
อย่างเต็มที่ ยิ่งกว่าพระพรหมชั้นอื่นใดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น เพราะภูมิเหล่านั้น ยังต้องถูกทำลายล้างด้วยไฟบ้าง ด้วยน้ำบ้างด้วยลมบ้าง เมื่อถึงคราวถึงโอกาส แต่พรหมชั้นเวหัปผลาภูมินี้ พ้นจากการถูกทำลายทุกๆอย่าง ท่านที่ได้เกิดในภูมินี้ จึงได้เสวยผลแห่งกุศลภาวนาที่ตนทำไว้อย่างไพบูลย์เต็มที่

12.อวิหาสุทธาวาสภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่12
ท่านผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีบุคคล ได้มาอุบัติเกิด ณ พรหมภูมิชั้นนี้ ย่อมเป็นพระ
พรหมผู้ประเสริฐ ทรงอยู่ด้วยความไม่เสื่อมคลายในสมบัติของตน

13.อตัปปาสุทธาวาสภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่13
ท่านผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีบุคคล ได้มาอุบัติเกิด ณ พรหมภูมิชั้นนี้ ย่อมเป็นพระ
พรหมอานาคีผู้ประเสริฐมีชีวิตอยู่โดยไม่มีความเดือดร้อนทั้ง กาย วาจา และใจเลย

14.สุทัสสาสุทธาวาสภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่14
ท่านผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีบุคคล ได้มาอุบัติเกิด ณ พรหมภูมิชั้นนี้ ย่อมเป็นพระ
พรหมผู้ประเสริฐทรงไว้ซึ่งความเห็นอย่างแจ่มใส หมายความว่า มีความสามารถเห็นสภาวธรรมได้โดยปัญญาจักษุ

15.สุทัสสีสุทธาวาสภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่15
ท่านผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีบุคคล ได้มาอุบัติเกิด ณ พรหมภูมิชั้นนี้ ย่อมเป็นพระ
พรหมผู้ประเสริฐทรงไว้ซึ่งความเห็นอย่างแจ่มใสมากกว่า คือเห็นได้อย่างแจ่มใสกว่าพระพรหมชั้นสุทัสสาสุทธาวาสที่กล่าวมาแล้ว

16.อกนิฏฐาสุทธาวาสภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่16
ท่านผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้สำเร็จเป็นพระอนาคามีบุคคล ได้มาอุบัติเกิด ณ พรหมภูมิชั้นนี้ ย่อมเป็นพระ
พรหมผู้ประเสริฐทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติโดยไม่เป็นรองใคร คือไม่ได้เป็นผู้ต่ำกว่าใครในด้านความสุขและความรู้ เพราะจะเป็นพระพรหมอริยบุคคลชั้นสูง ซึ่งต่างก็จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด
พระพรหมทั้ง 16 ชั้น ที่กล่าวมานี้ เรียกว่ารูปพรหม คือพรหมที่มีรูป แต่ว่าเป็นรูปทิพย์คนธรรมดาสามัญไม่สามารถ
ที่จะเห็นได้ จะเห็นได้ก็แต่ท่านผู้มีทิพยจักษุเท่านั้น

17.อากาสานัญจายตนภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่17
ท่านผู้บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้สำเร็จอรูปฌาน ซึ่งได้มาอุบัติเกิด ณ พรหมภูมิชั้นนี้ย่อมเป็นพระพรหมผู้วิเศษ เหตุ
ว่าไม่มีรูปร่าง แต่มีนามคือมีจิตและเจตสิกเท่านั้น เป็นอรูปพรหมที่ปฏิสนธิด้วยอากาสานัญจายตนวิปากจิต

18.วิญญาณัญจายตนภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่18
ท่านผู้บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้สำเร็จอรูปฌาน ซึ่งได้มาอุบัติเกิด ณ พรหมภูมิชั้นนี้ย่อมเป็นพระพรหมผู้วิเศษ เหตุ
ว่าไม่มีรูปร่าง แต่มีนามคือมีจิตและเจตสิกเท่านั้น เป็นอรูปพรหมที่ปฏิสนธิด้วยวิญญาณัญจายตนวิปากจิต

19.อากิญจัญญายตนภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่19
ท่านผู้บำเพ็ญสมถภาวนาจนได้สำเร็จอรูปฌาน ซึ่งได้มาอุบัติเกิด ณ พรหมภูมิชั้นนี้ย่อมเป็นพระพรหมผู้วิเศษ เหตุ
ว่าไม่มีรูปร่าง แต่มีนามคือมีจิตและเจตสิกเท่านั้น เป็นอรูปพรหมที่ปฏิสนธิด้วยอากิญจัญญายตนวิปากจิต

20.เนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ คือ พรหมโลกชั้นที่20
ท่านผู้บำเพ็ญสมถภาวนาขั้นอุกฤษฏ์ จนได้สำเร็จอรูปฌานชั้นสูงคือเนวสัญญานาสัญญายตนฌานแล้ว ได้มา
อุบัติเกิด ณ พรหมชั้นนี้ ย่อมเป็นพระพรหมผู้วิเศษ เหตุว่าไม่มีรูปร่าง และไม่มีสัญญาหยาบ มีแต่สัญญาที่งะเอียดจนปรากฎว่าเป็นผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ เป็นผู้ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ เพราะเป็นอรูปพรหมที่ปฏิสนธิด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนวิปากจิตพระพรหมทั้ง 4 ชั้นที่กล่าวมานี้เรียกว่า อรูปพรหม คือพรหมไม่มีรูป สถิตอยู่ ณ พรหมโลกแดนไกล มนุษย์ธรรมดาสามัญไม่อาจจะมองเห็นได้


นรก ทั้ง 8 ขุม

มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่กรรมชั่วที่เคยทำเอาไว้ในสมัยที่เป็นมนุษย์

ตั้งแต่ขุมที่ 1 สัญชีวมหานรก คือนรกที่ไม่มีวันตาย สัตว์นรกจะถูกนายนิรยบาลเอาดาบนรกฟาดฟันกายให้
ขาดเป็นท่อนๆ บางทีก็เอา มีด เอาขวานมาถาก เฉือนเนื้อทีละน้อยๆ จนสิ้นใจตาย ทันใดนั้นเองก็มีลมกรรม พัดโชย
มาถูกต้องกาย ให้กลับฟื้นขึ้นมาเป็นสัตว์นรก เหมือนเดิมอีก นายนิรยบาลเห็นดังนั้น ก็ลงโทษให้ได้รับความเจ็บปวด
จนกระทั่งถึงตายอีก รับกรรมอยู่อย่างนี้นานถึง ๕๐๐ ปี นรกทีเดียว

ขุมที่ 2 ชื่อกาฬสุตตนรก เป็นนรกด้ายดำ นายนิรยบาลจะเอาเส้นด้ายดำ มาตีเป็นเส้นตามร่างกายของสัตว์นรก ที่จับ
ให้นอน บนแผ่นเหล็กแดงที่ร้อนระอุ แล้วเอาเลื่อยมา เลื่อย เอาขวานมาผ่า หรือเอามีดมาตัดตามเส้นที่ตีเอาไว้ แม้จะ
ดิ้นทุรนทุรายอย่างไรก็ไม่หลุด ยิ่งดิ้นยิ่งรัดแน่นเข้าไปอีก สัตว์นรกจะถูกเลื่อยตัดร่างกายจนตาย แล้วกลับฟื้นขึ้นมา
ใหม่ ทรมานอยู่อย่างนี้ จนกว่าสัตว์นรกจะหมดกรรม ซึ่งต้องใช้เวลานานถึงพันปีนรก

มหานรกขุมที่ 3 ชื่อสังฆาฏนรก หมายถึงนรกที่ ถูกภูเขาเหล็กบดขยี้ร่างกาย ให้ได้รับทุกขเวทนาอยู่ตลอดเวลา สัตว์
นรกขุมนี้มีรูปร่างหน้าตาประหลาด บางตนมี หน้าเป็นวัว แต่ตัวเป็นมนุษย์ หรือหน้าเป็นมนุษย์ แต่ตัวเป็น ช้าง เป็นเสือ
ก็จะถูกนายนิรยบาลเอาโซ่เหล็กร้อนระอุ มัดคอเอาไว้ ฉุดกระชากลากมาลากไป แล้วเอาฆ้อนเหล็ก ทุบกระหน่ำลง
บนศีรษะ ร่างกายก็ป่นปี้จนกระดูกแหลกละเอียด พอตายแล้วก็มีลมกรรมพัดมาให้ฟื้นคืนชีพอีก ต้องมาใช้กรรมนาน
สองพันปีนรก ที่เป็นเช่นนี้ เพราะเมื่อเป็นมนุษย์ ไร้ความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ชอบทำการทารุณ เบียดเบียนผู้อื่น

นรกขุมที่ 4 คือโรรุวนรก ที่ได้ชื่ออย่างนี้ก็เพราะว่าเต็มไปด้วยเสียงร้องระงม ครวญครางอย่างน่าเวทนา ศีรษะ มือ
เท้าของสัตว์นรก จมลงไปในดอกบัวเหล็ก นอนคว่ำหน้าเปลวไฟก็เผาไหม้ดอกบัวเหล็กพร้อมกับสัตว์นรก จะตายก็ไม่
ตาย ต้องทนทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้นจนหมด ๔,๐๐๐ ปีนรก เพราะในอดีต ชอบนำสัตว์มาทรมาน หรือเคยเป็นตุลา
การผู้พิพากษาที่ตัดสินคดีความโดยขาดความยุติธรรม หรือเป็นเพราะไปลักขโมยสมบัติของพระศาสนา

ขุมที่ 5 คือมหาโรรุวนรก ก็คล้ายๆ กับนรกขุมที่ ๔ นั่นแหละ แต่มีเสียงร้องครวญครางมากกว่า ได้รับทุกข์ทรมาน
มากกว่า สัตว์ในขุมนี้ต้องเข้าไปยืนในดอกบัวเหล็กที่คมกริบ มิหนำซ้ำยังร้อนแรงด้วยไฟนรกอีกด้วย เผาไหม้สัตว์ตั้ง
แต่เท้าจนถึงศีรษะ เปลวไฟเข้าไปในทวารทั้ง ๙ จะตายก็ไม่ตาย ได้รับทุกข์ทรมานอยู่อย่างนั้นนานถึง ๘,๐๐๐ ปีนรก
เพราะกรรมในอดีตได้ตัดศีรษะสัตว์และมนุษย์เอาไว้มาก ทำโจรกรรมด้วยความอาฆาต พยาบาท ปล้นสมบัติในพระ
ศาสนา ปล้นทรัพย์สินของผู้มีพระคุณ พ่อแม่ครูบาอาจารย์และผู้ทรงศีลทั้งหลาย

ขุมที่ 6 ตาปนรก สัตว์นรกจะได้รับความเร่าร้อน อย่างน่าเวทนา เพราะถูกหลาวเหล็กที่ร้อนโชติช่วงด้วยเปลวไฟ
เสียบแทงสัตว์ทั้งหลายไว้ แล้วยังมีสุนัขนรกตัวใหญ่ เท่าช้างสารรุมทึ้งจนเหลือแต่กระดูก ชดใช้กรรมอยู่อย่างนี้ถึง
๑๖,๐๐๐ ปีนรก

ขุมที่ 7 คือมหาตาปนรก เป็นขุมที่สัตว์นรกได้รับความเร่าร้อนเหลือประมาณด้วยการถูกบังคับ ให้ขึ้นไปบนภูเขาเหล็ก
ที่ร้อนลุกเป็นไฟ แล้วจะถูกลมกรดที่ร้อนแรงพัดกระหน่ำสัตว์ให้ตกลงมาข้างล่าง ซึ่งมีขวากหนามเหล็กที่ร้อนแดงด้วย
ไฟนรก ปักเรียงรายอยู่ เสียบทะลุร่างกาย ดูแล้วน่าหวาดเสียว สยดสยอง ต้องทน ทรมานอย่างนี้ถึงครึ่งอันตรกัป ก็
คือการนับอายุจากที่มนุษย์อายุยืนเป็นอสงไขยถอยลงมาถึงอายุ ๑๐ ปี แล้วขึ้นไป ถึงอสงไขย เป็น ๑ อันตรกัป
ฉะนั้นครึ่งอันตรกัป ก็ถือว่ายาวนานมาก

ขุมสุดท้าย คืออเวจีมหานรก เป็นนรกที่สัตว์ถูกทรมานโดยไม่มีการหยุดพักเลย อยู่ลึกที่สุดและเสวยวิบากกรรมยาว
นานที่สุดถึง ๑ อันตรกัป กรรมที่ทำให้เกิด ในขุมนี้ เพราะทำอนันตริยกรรมเอาไว้ ตั้งแต่ฆ่าบิดามารดา ฆ่าพระ
อรหันต์ ทำร้ายพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต และก็ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน
นอกจากนี้ยังมีโลกันตนรก ซึ่งเป็นอีกภพหนึ่งที่พิเศษสำหรับผู้ที่ทำกรรมชั่วมากเป็นพิเศษ เช่นเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ จะ
ไปอยู่สุดขอบปากจักรวาลโน่น ตรงนั้นจะมีความมืดมนอนธการ ไม่มีแสงเดือนแสงดาวให้เห็น มืดสนิท และเย็นยะ
เยือก โลกันตนรก ก็คือนรกที่อยู่สุดโลกสุดจักรวาล จะเห็นแสงสว่างทีก็ต่อเมื่อมีพระพุทธเจ้ามาเสด็จ อุบัติขึ้นใน
โลก แสงสว่างแห่งพุทธธรรมจะโชติช่วงไปทั่วหมื่นโลกธาตุ ส่องสว่างไปถึงโลกันตนรก
ถ้าร้อนที่สุด ไม่มีที่ไหนเกินอเวจีมหานรก แต่ถ้าเย็นที่สุดก็คือโลกันตนรกนี่แหละ แล้วสัตว์นรกในขุมนี้มีรูปร่างใหญ่
โตมาก เล็บมือเล็บเท้ายาวเฟื้อย ต้องใช้เล็บมือเท้าเกาะอยู่ที่ขอบจักรวาล ห้อยโหนตัวไปมาเหมือนค้างคาวห้อยหัว
อยู่ตามกิ่งไม้ ห้อยโหนไปก็บ่นเพ้อรำพึงรำพันกับตัวเองว่า "ทำไมเราถึงมาทนทุกข์ทรมานอยู่ที่นี่คนเดียวหนอ" เพราะ
มืดสนิทจนไม่เห็นสัตว์นรกที่อยู่ใกล้ๆ พอมือคว้าไปถูกเพื่อนซึ่งเป็นสัตว์นรกด้วยกัน ก็สำคัญว่าเป็นอาหาร ต่างคนต่าง
กัดกินเลือดกินเนื้อกัน จนพลัดตกลงไปข้างล่างที่เป็นทะเลน้ำกรด
ร่างกายจะถูกน้ำกรดกัดจนเปื่อยแหลกเหลวไปทันที พอสิ้นใจตายก็กลับมาเกิดเป็นสัตว์นรกอีก แล้วรีบ
ตะเกียกตะกายปีนป่ายขึ้นไปเกาะขอบจักรวาลตามเดิม ทนทรมานอยู่อย่างนี้ จนกว่าจะครบชั่วหนึ่งพุทธันดร ที่เป็น
เช่นนี้เพราะว่าทำกรรมบาปหยาบช้า มีความเห็นผิด อกตัญญูต่อบิดามารดา เป็นผู้มีดวงใจมืดบอด ใครทำคุณด้วยก็
มองไม่เห็น แถมยังทำร้ายผู้ทรงศีล ด้วยอำนาจกรรมนี้ ทำให้มาอยู่ในสถานที่อันมืดมิดอย่างนี้
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

กัป กัลป์ และอสงไขย


การนับกาลเวลามี ๒ แบบ คือ แบบที่นับเป็นตัวเลข ๑ ๒ ๓ .... เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เรียกว่านับเป็นตัวเลขสังขยา คือ ตัวเลขที่นับได้
ถ้ามากเกินจะนับไหวแล้ว ก็จะเปลี่ยนมานับโดยการอุปมา คือการเปรียบเทียบเอา

แล้วตัวเลขแค่ไหนล่ะที่นับไม่ได้ เราจะนับกันสูงสุดแค่ไหน
ตัวเลขที่กำหนดว่าไม่นับแล้ว เลิกนับแบบสังขยากันดีกว่า คือ ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดที่นับกัน ถ้าเกินไปกว่านี้ พระพรหมก็เบือนหน้าหนีแล้ว
จำนวนที่เกินจาก ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว จึงเรียกว่าเป็นจำนวน อสังขยา หรือ อสงไขยนั่นเอง

กาลเวลาทางพุทธศาสนาที่พบเจอกันบ่อยๆ ก็คือ
๑. กัป
๒. อสงไขยปี
๓. รอบอสงไขย
๔. อันตรกัป
๕. อสงไขยกัป
๖. มหากัป
๗. อสงไขย
๘. พุทธันดร

กัป
ในความหมายแรก หมายถึงอายุกัป คือระยะเวลาที่เท่ากับอายุเฉลี่ยของมนุษย์ยุคนั้น ซึ่งผันแปรตั้งแต่ ๑๐ - อสงไขยปี
สมัยพุทธกาล อายุกัปเท่ากับ ๑๐๐ ปี ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท ๔ สามารถมีอายุอยู่ได้ตลอดกัป ก็หมายถึงมีอายุอยู่ได้ ๑๐๐ ปี นั่นเอง
และเนื่องจากตอนนี้อยู่ในช่วงอายุขาลง ทุก ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะลดลง ๑ ปี ปัจจุปัน อายุกัปของเราจึงเหลืออยู่เพียง ๗๕ ปีเท่านั้น
คำว่ากัป หรือกัปป์ หรือกัปปะ เป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤติใช้คำว่า กัลป์ สรุปแล้ว กัป กับ กัลป์ ก็คือตัวเดียวกันนั่นเอง

อสงไขยปี
ก็คือ จำนวนปีที่ขึ้นต้นด้วย ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ปีนั่นเอง ตัวเลขนี้เป็นอายุของมนุษย์ยุคสร้างโลก เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ พระพรหมที่หมดอายุก็จุติมาอุบัติเป็นสัตว์โลกผู้มีจิตประภัสสร ลอยไปลอยมาในอากาศได้ มีอาหารเป็นทิพย์ มีศีลธรรมดีดุจพระพรหม อายุจึงยืนยาวถึงอสงไขยหนึ่ง

รอบอสงไขย
ต่อมามนุษย์เริ่มไปกินง้วนดินเข้า จิตก็เริ่มหยาบ กายก็เริ่มหยาบ กิเลสก็พอกหนา เหาะไม่ได้ กลายเป็นมนุษย์เดินดิน อายุก็ค่อยๆ ลดลง ทุก ๑๐๐ ปี ลดลง ๑ ปี จนเหลือแค่ ๑๐ ปี ยุคนั้นก็เป็นยุคมิคสัญญี มนุษย์ฆ่าฟันกันเหมือนผักปลา ศีลธรรมก็ไม่มี พอฆ่ากันตายเกือบหมดโลก พวกที่เหลือสังเวชใจ เริ่มรักษาศีลกันอีกครั้ง อายุก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทุก ๑๐๐ ปี ก็เพิ่มขึ้น ๑ ปี จนกลับไปยืนยาวถึงอสงไขยปีอีกครั้ง
เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่ารอบอสงไขย

อันตรกัป
ก็คือ ๑ รอบอสงไขยนั่นเอง

อสงไขยกัป
โลกนี้มีเกิดดับเป็นวัฏจักร รอบหนึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น ๒๕๖ อันตรกัป คือ
๑ โลกกำลังถูกทำลาย อาจโดนไฟประลัยกัปเผา หรือน้ำประลัยกัปตกกระหน่ำ หรือลมประลัยกัปพัดทำลาย ทุกสรรพสิ่งจะถูกทำลายย่อยยับไม่มีเหลือเลย ทำลายตั้งแต่มหานรกขึ้นไปถึงพรหมอีกหลายชั้น ใช้เวลาทำลายทั้งสิ้น ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเฉพาะว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
๒ จากนั้นทุกอย่างก็ว่างเปล่า มืดมิด ไม่มีอะไรเลย เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
๓ จากนั้นโลกก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่ มีผืนน้ำ มีแผ่นดิน รวมเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป
๔ จากนั้นโลกจึงมนุษย์และสัตว์อาศัยอยู่ได้ เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

มหากัป
คือเวลา 1 รอบวัฏจักรการแตกดับของโลก หรือเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป
๑ มหากัป อุปมาว่ามีพื้นที่ขนาดกว้าง ๑ โยชน์ ยาว ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักกาดไว้เต็ม ทุก ๑๐๐ ปีก็มาหยิบเมล็ดผักกาดออกเมล็ดหนึ่ง แม้จะหยิบเมล็ดผักกาดออกหมดแล้วก็ยังไม่นานเท่า ๑ มหากัป
คำว่ามหากัป มักเรียกสั้นๆ ว่า กัป

อสงไขย
คงเคยได้ยินคำว่า ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป คำว่าอสงไขยในที่นี้หมายถึงระยะยาวนานมาก นับเป็นจำนวนกัปแล้วยังนับไม่ได้ คือจำนวนกัปมากกว่า ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัวเสียอีก
๔ อสงไขยกำไรแสนกัป ก็คือระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีในช่วงปรมัตถ์ ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

พุทธันดร
คือระยะเวลาตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตรัสรู้ จนกระทั่งถึงพระพุทธเจ้าองค์ต่อปมาตรัสรู้ เรียกว่า ๑ พุทธันดร
พุทธันดรของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ยาวไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราอยู่ในอันตรกัปที่ ๑๒ และพระศรีอาริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ในอันตรกัปที่ ๑๓ จากนั้นไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เลยนานถึงอสงไขยหนึ่ง
ดังนั้น ๑ พุทธันดรของพระสมณโคดมพุทธเจ้าจึงยาวนานแค่ ๑ อันตรกัป ส่วน ๑ พุทธันดรของพระศรีอาริยเมตไตรยยาวนานถึงอสงไขยหนึ่ง
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ความแตกต่างของพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ในภัทรกัปนี้

1. พระกกุสันธพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัย เป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสังไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 40,000 พรรษา
พระสรีระสูง 40 ศอก หรือ 20 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 10 เดือน
พุทธรังสีสร้านไปไกล 10 โยชน์ (160 กิโลเมตร)




2. พระโกนาคมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 30,000 พรรษา
พระสรีระสูง 30 ศอก หรือ 15 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 1 เดือน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์



3. พระกัสสปพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 8 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 37,024 พระองค์
เป็นศรัทธาพุทธเจ้า อายุไขย 20,000 พรรษา
พระสรีระสูง 20 ศอก หรือ 10 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ตามแต่พระประสงค์



4. พระศากยมุนีโคดมพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 4 องไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีก 24 พระองค์ ซึ่งน้อยมาก
เป็นปัญญาพุทธเจ้า อายุไขย 80 พรรษา
พระสรีระสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 6 ปี
พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ



5. พระอริยเมตตรัยพุทธเจ้า หลังจากได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกจากพระพุทธเจ้า
เมื่อสมัยเป็นพระโพธิสัตว์หลังจากนั้น 16 อสงไขยแสนกัป
ได้สร้างบารมีกับพระพุทธเจ้าอีกประมาณ 477,029 พระองค์
เป็นวิริยะพุทธเจ้า อายุไขย 80,000 พรรษา
พระสรีระสูง 80 ศอก หรือ 40 เมตร
บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน
พุทธรังสีสร้านไปไกล ยังกำหนดไม่ได้
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

ประวัติย่อพระพุทธเจ้า 28 พระองค์


๑.. พระพุทธเจ้าตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ

๒. พระพุทธเจ้าเมธังกร - ยศใหญ่

๓. พระพุทธเจ้าสรณังกร - ผู้เกื้อกูลแก่โลก

๔. พระพุทธเจ้าทีปังกร - ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง

๕. พระพุทธเจ้าโกณฑัญญะ - ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน

๖. พระพุทธเจ้าสุมังคละ - ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ

๗. พระพุทธเจ้าสมุนะ - ผู้เป็นธรีบุรุษมีพระหทัยงาม

๘. พระพุทธเจ้าเรวัต - ผู้เพิ่มพูนความยินดี

๙. พระพุทธเจ้าโสภิตะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ

๑๐. พระพุทธเจ้าอโนมัทสส - ผู้อุดมอยู่ในหมู่ชน

๑๑. พระพุทธเจ้าปทุมะ - ผู้ทำให้โลกสว่าง

๑๒. พระพุทธเจ้านารทะ - ผู้เป็นสารถีประเสริฐ

๑๓. พระพุทธเจ้าปทุมุตตระ - ผู้เป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์

๑๔. พระพุทธเจ้าสุเมธะ - ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้

๑๕. พระพุทธเจ้าสุชาติ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง

๑๖. พระพุทธเจ้าปิยทัสสี - ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน

๑๗. พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี - ผู้มีพระกรุณา

๑๘. พระพุทธเจ้าธัมมทัสสี - ผู้บรรเท่ามืด

๑๙. พระพุทธเจ้าสิทธัตถะ - ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก

๒๐. พระพุทธเจ้าติสสะ - ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

๒๑. พระพุทธเจ้าปุสสะ - ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ

๒๒. พระพุทธเจ้าวิปัสสี - ผู้หาที่เปรียบมิได้

๒๓. พระพุทธเจ้าสิขี - ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์

๒๔. พระพุทธเจ้าเวสสภู - ผู้ประทานความสุข

๒๕. พระพุทธเจ้ากกุสันธะ - ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส

๒๖. พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ - ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส

๒๗. พระพุทธเจ้ากัสสปะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ

๒๘. พระพุทธเจ้าโคตมะ (พระสมณะโคดม) - ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากย




1. องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ

ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี


2. องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร – ผู้มียศใหญ่

ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า เทโว
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยะสุนทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี


3. องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร – ผู้เกื้อกูลแก่โลก

ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุมาเลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยสะเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี


4. องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร – ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง

สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า นรเทวราช(พระเจ้าสุเทพ)
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สุเมธา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ปทุมาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี


5. องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ – ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน

สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุนันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง รุจิราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
พระวรกายสูง 18 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 (แก้ว่าน่าจะเป็น100,000) ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี


6. องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ – ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ

สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อุตตรมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ยสาวดี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,00 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี


7. องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ – ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
สถานที่ประสูติ เมขละนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัตตมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สิริมา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ฏังสกี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 90 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 90,000 ปี



8. องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ – ผู้เพิ่มพูนความยินดี

สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุทัสนา
พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี



9. องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ

สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุธรรมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง มจิลาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

10. องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า – ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน
สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า ยศวราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สิริมา
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี



11.องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ – ผู้ทำให้โลกสว่าง
สถานที่ประสูติ จัมปานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อสมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง อุตตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

12. องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ – ผู้เป็นสารถีประเสริฐ

สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุเมธราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ว ิชิตเสนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 1 อสงไขย

13. องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ – ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์

สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อานันทมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุละทัคคเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 30,000 กัลป์

14. องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ – ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้

สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุมนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

15. องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง

สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 50 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี


16. องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี – ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน

สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

17. องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี – ผู้มีพระกรุณา

สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี


18. องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี – ผู้บรรเทามืด

สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี


19. องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ – ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก

สถานที่ประสูติ เวภารนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี


20. องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ – ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย

สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี


21. องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ – ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ

สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 91 กัลป์

22. องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี – ผู้หาที่เปรียบมิได้

สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
อายุพระศาสนา 49 กัลป์


23. องค์สมเด็จพระพุทธสิขี – ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์

สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
พระวรกายสูง 70 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี


24. องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู – ผู้ประทานความสุข

สถานที่ประสูติ อโนมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
อายุพระศาสนา 70,000 ปี



25. องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส

สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป

25. องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส

สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 40 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี

26. องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส

สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
พระวรกายสูง 30 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี


27. องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ

สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
พระวรกายสูง 20 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี


28. องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 16 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
อายุพระศาสนา 5,000 ปี
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

มหาอานิสงส์ของการพิมพ์หนังสือธรรมะ


“ ดูก่อนสารีบุตร นรชนใดมีใจเปี่ยมด้วยศรัทธาได้สร้างหนังสือพระธรรมไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์แก่ชนทั้งหลายได้อ่านได้สดับฟัง จะได้รับอานิสงส์ใหญ่อันประมาณมิได้...
ดูก่อนสารีบุตร อย่าว่าแต่พระพุทธวจนะตลอดทั้งไตรปิฎกนั้นเลย “แม้อักขระธรรมหนึ่งตัว” เป็นเครื่องหมายเพื่อน้อมนำจิตระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย นำมาซึ่งความเลื่อมใสแก่ผู้ได้พบเห็น เป็นบ่อเกิดให้ประพฤติคุณงามความดีได้...
ฉะนั้นแล้วจะยังผลให้ผู้สร้างได้เสวยสุขเกษมสิ้นกาลช้านาน จักได้เสวยราชสมบัติเป็นบรมจักรพรรดิถึง 84,000 กัป ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นจักรพรรดิมาแล้วจะได้เสวยราชสมบัติเป็นพระราชาทรง มหิธานุภาพอีก 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นมาก็จะได้เสวยสมบัติในตระกูลต่างๆ เป็นลำดับไปอันมีตระกูล พราหมณมหาศาล ตระกูลเศรษฐี คฤหบดี และภูมิเทวดาอย่างละ 9 อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้ไปเสวยสมบัติในฉกามาพจรสวรรค์ 6 ชั้นประณีีตเป็นลำดับขึ้นไปชั้นละ 9 อสงไขย เมื่อจุติจากเทวโลกแล้วก็จะถือเอากำเนิดในมนุษย์มีกายผุดผ่องโสภาเป็นที่ ปฏิพัทธ์รักใคร่ของผู้ได้พบเห็น ทั้งน้ำใจก็สุจริตปราศจากมลทิน อานิสงส์ดังกล่าวมานี้เพราะอำนาจการสร้างอักขระธรรมหนึ่งตัว ฯ”.


อานิสงส์จากการพิมพ์หนังสือธรรมะแจก
อานิสงส์จากการพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นวิทยาทาน ได้กุศล 10 ประการคือ

1. ทำบาปไว้ชาติก่อน จะผ่อนผัน
ได้ช่วยกันพิมพ์หนังสือ สื่อความหมาย

2. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ไม่หมองกาย
ทั้งโรคร้ายอุบัติภัย ไม่พบพาน

3.แม้ศัตรูคู่แค้น แต่ปางบรรพ์
มาร่วมกันรับกุศล ไม่ล้างผลาญ

4.ทั้งปีศาจภูติผ และหมู่มาร
ไม่ระรานสิงเร้น ให้ห่างไกล

5.ปราศจากสิ่งร้าย สบายจิต
ชั่วชีวิตฝันดี ดวงแจ่มใส
ทั้งราศีมีมงคล ผลถูกใจ
สิ่งเลวไซร้ไม่เข้าฝัน นิรันดร์กาล

6. ตั้งปณิธานแน่วแน่ แผ่ความดี
ครอบครัวมีความสุข สนุกสนาน
มีอายุยั่งยืน ทุกคืนวัน
ไม่โลภโมโทสัน สุขสมบูรณ์

7.การพูดการกระทำ แต่กรรมดี
จะเป็นที่ลือไกล ไม่สิ้นสูญ
ผู้คนเคารพทั่ง และเทิดทูน
บริบูรณ์โชคลาภ รุ่งเรืองแรง

8.มีบริบูรณ์เลิศล้ำ ในทางโลก
ไม่ทุกข์โศกป่วยหาย กายเข้มแข็ง
ยามอำลาโลกไซร้ ได้เปลี่ยนแปลง
เป็นบุรุษกล้าแกร่ง เก่งการงาน

9.เกิดมาดีมีปัญญา สง่างาม
รูปไม่ทรามสมทรง สมคำขาน
บุญกุศลมากมาย เพราะให้ทาน
ไม่พบพานสิ่งชั่ว กลัวบาปกรรม

10.ให้ทุกชีวิตคิดวาง รากฐานไว้
ด้วยดวงใจใฝ่ธรรม นำลูกหลาน
ได้ไปเกิดเป็นคน มีผลงาน
กุศลทานได้พบปะ เทวะเอย

1. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ 1 เรื่อง แจกจ่ายทั่วไปกุศลผลบุญนั้นจักสามารถแก้บาปกรรมของชาติก่อนทั้งหมด
2. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือธรรมะตั้งแต่ 2 เรื่องขึ้นไป แจกจ่ายอย่างกว้างขวาง กุศลผลบุญนั้นจักส่งผลให้ผู้นั้นเจริญด้วย ลาภ ยศ อายุ สุขะ พละ ได้บุตรหลานที่ดี เมื่อละสังขารจักได้จุติเป็นเจ้า (เจ้าพ่อหรือเทวดาชั้นต่ำ) ในโลกมนุษย์
3. ผู้ใดจัดพิมพ์หนังสือธรรมะอย่างต่อเนื่องตลอดไปและแจกจ่ายอย่างกว้างขวาง กุศลผลบุญนั้นจักส่งผลให้ผู้นั้นเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม เพียบพร้อมด้วยลาภ ยศ อายุ สุขะ พละ มีจิตผ่องใส และยังส่งผลถึงบุตรหลานอีก 3 รุ่น ให้เจริญรุ่งเรือง เมื่อละสังขารจักได้จุติเป็นเทพบุตร เทพธิดา ณ แดนสวรรค์
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

รูปภาพ


ใครว่างก็ไปทำบุญนะครับ ผมว่าจะเอาหนังสือธรรมะไปแจกเหมือนกัน
:pray: :pray:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

กรรมฐานใหญ่ พระอาจารย์บุญจันทร์ กมโล สมถวิปัสสนาภาวนา (1 )

31 กรกฎาคม 2554 เวลา 08:59 น. |


วันนี้เป็นวันธรรมสวนะ เป็นวันอันพุทธบริษัททั้งหลายมุ่งหน้าเข้ามาเพื่อจะประพฤติปฏิบัติคุณงามความดี

คือ มีทาน ท่านเราก็ได้ให้ไปแล้ว ศีลเราก็ได้วิรัติ เจตนาวิรัติเอาแล้ว ทั้งสองอย่างนี้ ก็พากันกระทำมาแล้ว เพราะเหตุอะไร พวกเราจึงได้ทำทาน จึงอยากจะทำทาน จึงอยากรักษาศีล อันนี้เป็นเบื้องต้นของเรา ที่เรามีความปรารถนาอยากจะฝึกหัดดัดกาย วาจา และใจของตน เพื่อให้เป็นแนวทางที่จะไปสู่สุคติ เมื่อเป็นเช่นนี้ ต่างคนต่างละบ้านช่องของตนออกมา แม้จะมีกิจการมากเท่าไรก็ตาม ก็อุตส่าห์พยายามปลีกตัวออกมา เพื่อจะบำเพ็ญทาน บำเพ็ญศีล บำเพ็ญภาวนา ว่าอย่างนั้น

ทานคือสิ่งที่เป็นวัตถุภายนอก ได้แก่ ข้าว น้ำ โภชนา อาหาร หรือเครื่องใช้สอยต่างๆ มีผ้านุ่งผ้าห่ม เป็นต้น นี่เรียกว่าเป็นการให้ทาน ส่วนการรักษาศีล ก็มีรักษากาย วาจา ใจ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าท่านกล่าวไว้ มีหลายประเภทสำหรับศีล เบญศีล นี่อย่างหนึ่ง

เบญจศีลก็คือ ศีลห้า ที่เราเคยสมาทานกันมาแล้ว หรือผู้ที่ไม่สมาทาน จะเจตนาวิรัติเอาก็ได้ เจตนาวิรัตินั้นว่าอย่างไร เจตนาหัง ภิกขะเว สีลัง วันทามี วันนี้ข้าพเจ้าจะรักษาศีล แล้วแต่ความประสงค์ของเรา จะวิรัติเอาศีล เบญจศีลก็ได้ คือ ศีลห้า หรือจะวิรัติเอาศีลอุโบสถคือศีลแปดก็ได้

นี้ไม่ยาก ถ้าหากว่าเรามีความประสงค์ที่จะฝึกหัดดัดตน หรือชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส

ส่วนสำคัญก็มีใจนั่นน่ะ พระพุทธเจ้าท่านว่า ศีล 227 นี้ เป็นศีลของพระปาฏิโมกข์ ศีลของพระ ศีล 10 เป็นศีลของสามเณร ศีล 8 เป็นศีลของฆราวาส หรือเป็นของแม่ชีก็ได้ เป็นของอุบาสก อุบาสิกา นี่เป็นหน้าที่ของพวกเรา ที่ไม่มีความสามารถที่จะรักษาศีล 227 ได้ เราได้แค่นี้ก็ยังเป็นการดี นี่แหละพวกเราได้พากันกระทำมาเป็นนิตย์ หรือทุกวันพระ ที่เราพากันกระทำมาอย่างที่ว่า ก็ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ชำระจิตใจของพวกเราทั้งสิ้น

การให้ทานก็ชำระมัจฉริยะความตระหนี่ความเหนียวแน่น ไม่อยากจะบริจาคทาน คือ มันหวงแหน ไม่อยากให้ทาน เรียกว่า มัจฉริยะ ความตระหนี่ที่มีอยู่ภายในจิตใจของพวกเรา ทุกคนย่อมมี หรือบางคนก็ให้ง่าย บางคนก็ให้ยาก นี่เป็นอย่างนี้ เวลามันเป็นเช่นนี้แล้ว เราก็อยากจะชำระความตระหนี่นั้นออกจากใจของเรา ไม่ให้มี เพื่อให้ใจของเรานั้นผ่องใส ไม่ให้ถืออยู่ในมัจฉริยะความตระหนี่นั้น

ส่วนศีลก็เหมือนกัน ศีลนี่ก็เป็นการชำระจิตใจของพวกเราเหมือนกัน คือเว้นจากบาป บาปปาปะธรรม เว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น จนตลอดถึงที่สุดที่เรียกว่า อุจจาสะยะนะ นั้น ไม่นั่งนอนเตียงตั่ง หรือฟูกเบาะที่ยัดด้วยนุ่นหรือสำลี นี่เว้นจากสิ่งเหล่านี้ อันนี้ก็เรื่องการชำระจิตใจของพวกเราเหมือนกัน เวลามันติดอยู่ในสัมผัส สัมผัสที่อ่อนแข็งนี่เราติด เมื่อเวลานิ่มก็รู้สึกว่าสบายใจ นี่มันติดอยู่ในที่นี่ ก็พยายามชำระไม่ให้มี เพื่อจะรักษาศีล ชำระจิตใจของตน

และทีนี้ส่วนการภาวนานั้นก็เหมือนกัน เป็นเรื่องที่ชำระจิตใจเหมือนกัน ให้เกิดให้มีเรียกว่า การภาวนา สิ่งที่ไม่เกิดก็ให้เกิดขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ก็รักษาเอาไว้ เหมือนอย่างภาษิตที่ท่านกล่าวไว้ว่า สักกายะ อัตตาโน สาธุ ละวะนัง โลนะ ตังยะถา ท่านว่า พึงรักษาคุณความดีของตนไว้เหมือนดั่งเกลือรักษาความเค็ม ความดีนั้นคืออะไร? อธิบายว่า ความดีนั้นก็คือ สิ่งที่ปราศจากโทษ สิ่งที่ไม่มีโทษ นั่นแหละเป็นความดี เป็นความบริสุทธิ์ สิ่งใดที่เป็นโทษที่เราลงมือทำหรือผู้ใดที่มีโทษเกิดจากทางกายก็มี เกิดขึ้นทางใจก็มี

สำหรับโทษเกิดขึ้นทางกาย คือ การกระทำทางกายของพวกเรา มีการทำลายชีวิตของเขาอย่างนี้ เป็นต้น นี่เรียกว่า บาปเกิดขึ้นทางกาย ความชั่วเกิดขึ้นทางใจ ส่วนที่เกิดขึ้นทางใจของพวกนั้นก็คือ อิจฉา พยาบาทหรือเบียดเบียนคนอื่น เหล่านี้เรียกว่าเกิดขึ้นทางใจ

นี่บาปมันเกิดขึ้นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้รักษาคุณงามความดีของตน รักษาจิตของตน ไม่ส่งไปในอารมณ์ต่างๆ นี่เป็นส่วนหนึ่ง จะเรียกว่าภายในก็ได้ หรือจะเรียกว่าภายนอกก็ได้ ส่วนอันเป็นภายในอันแท้จริงนั้นก็คือใจนั่นแหละ รักษาใจอย่างเดียว นี่มีสติรักษาอยู่เสมอ มันจะคิดนึกในสัญญาอารมณ์อะไร คิดถึงบ้านถึงช่อง ถึงลูกถึงหลาน เราก็ห้ามไว้ไม่ให้มันคิดไป เราจะรักษาให้อยู่กับคำบริกรรมที่เรียกนึกอยู่ในใจนั้นว่า พุทโธๆ นั่นเอง อันนี้เป็นเบื้องต้น ต่อแต่นี้ไปจะไม่พูดมาก เราจะต้องทำหน้าที่ของเราต่อไป คือ นั่งสมาธิให้มีสติประคับประคองใจของเรา

อย่าให้มันฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ

ใครสบายอย่างไรก็นั่ง มันต้องพลิกหาดู มันจะสบายอย่างไร ถ้าหากว่ามันสบายแล้วก็ตั้งใจ ตั้งกายให้ตรง อย่าให้เอียงไปข้างซ้าย ข้างขวา หรือข้างหน้า ข้างหลัง อย่าก้มนัก เงยนัก ก้มนักเหมือนหอยนาหน้าต่ำ เงยนักเหมือนนกกระแต้นอนหงาย ท่านว่า ให้ดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง ทำให้อกผายไหล่ผึ่งแล้วก็ตั้งสติของตนไว้ให้ดี ให้สำรวมจิตของตนอยู่ แล้วก็นึก พุทโธ ธัมโม สังโฆ 3 จบ แล้วนึกบริกรรมเอาคำเดียว นึก พุทโธๆ อยู่อย่างนั้น แล้วคำบริกรรมกับใจของเรานั้นให้เป็นอันเดียวกัน ให้อยู่ด้วยกัน ไม่ให้เขวออกจากใจของเรา

สำหรับพุทโธ กับใจของเรานั้น อย่าให้แยกออกจากกัน

ต่อแต่นี้ไปก็ให้สงบตั้งใจทุกคน จึงจะสมกับเราที่ตั้งใจมาชำระความชั่วออกจากใจของเรา ในระยะชั่วเวลา ก่อนที่เราจะได้กระทำอย่างนี้เป็นของยากที่สุด แล้วก็มีกิจการงานมายุ่ง กิจการงานทางราชการก็มี กิจการงานทางทำงานส่วนอื่น มีการทำไร่ ทำนา เป็นต้น เราต้องทำกิจการงานนี้ จนเราไม่สามารถออกมาบำเพ็ญตนได้ เพราะอุปสรรคเหล่านี้ขัดข้องอยู่เสมอ จะหาเวลาที่จะปลีกตัวออกมานั้นยากที่สุด เพราะฉะนั้น ในวันนี้เรามีเวลาหรือมีโอกาสดีแล้ว อุตส่าห์พยายามทำ ตั้งอกตั้งใจทำ จะเป็นตายอย่างไรขอบูชาพระรัตนตรัย เอากายบูชา เอาใจของเราบูชา นึกพุทโธๆ บูชาพระพุทธเจ้า บูชาพระธรรม บูชาพระอริยสงฆ์

ทั้ง 3 อย่างนี้ เรียกว่า ไตรสรณคมน์ หรือพระรัตนตรัย นี่ให้เราเข้าใจอย่างนั้น

เอ้า ต่อแต่นี้ไปก็เมื่อหากว่าจิตของเราสงบ ขาดจากสัญญาอารมณ์แล้ว มันจะรวม บางคนก็จะมีอาการเย็นสบายลงไปเลยก็มี นี่ให้สังเกตให้ดี ให้สังเกตจิตของตนให้ดี บางคนก็มีอาการวูบวาบลงไปก็มี นี่ลักษณะของจิตเราที่ขาดจากสัญญาอารมณ์ มันจะรวมในเบื้องต้น บางทีก็มีอาการวับแวบเข้าไปก็มี บางทีปรากฏว่ากายของเราลอยไปในอากาศก็มี นี่อาการหนึ่ง

บางทีเมื่อหากว่า ใจของเรามันจมลงไปเหมือนลงในที่ลึก จนเราตกประหม่า เป็นอย่างนั้น

เมื่อหากว่าเป็นเช่นนั้น เราอย่าเพิ่งไปตกใจ ไม่ต้องตกใจ ทำความรู้เท่าว่า อาการเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นอาการของสิ่งที่มาหลอกลวงให้จิตของเราถอนจากสมาธินั้น

ให้พึงทำความเข้าใจ รู้เท่าอย่างนั้น

บางทีเมื่อเวลาจิตของเรามันรวมลงไป มันเกิดแสงสว่างขึ้นมา เหมือนอย่างแสงไฟนีออนนั่น แจ้งสว่างอยู่อย่างนั้น อันนี้อย่าเพิ่งไปลืมตาดู ให้พึงทำความรู้เท่าว่า เอ้า ในขณะนี้ใจของเราจะรวมแล้ว จิตของเรามันรวมลงไปแล้ว มันเกิดแสงประภัสสรขึ้นมาแล้ว ให้รู้เท่า อย่าไปส่งใจไปตามแสงนั้น ให้รู้จักรู้เท่า เอ้า ใครเป็นคนรู้ ใครเป็นคนเห็นอยู่ในที่นี้ เราหลับตาอยู่ทำไมรู้ ทำไมเห็น ทีนี้เราพึงตั้งสติน้อมเข้าไปหาผู้ที่รู้ก็คือ ใจเรานั้นน่ะ

รู้จากใจ เห็นอยู่ที่ใจนั้นน่ะ นั่นปรากฏว่าอยู่ในที่นั้น ให้น้อมเข้าไปในที่นั้น อย่าส่งไปตาม บางทีเกิดแสงจ้าลอยเข้ามา บางทีอาจจะลืมตัวไปก็ได้ เพราะความอยากคือตัณหา เห็นว่าเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ นึกว่าเป็นแก้วไปจริงๆ เป็นของวิเศษ เดี๋ยวก็จะตะครุบเอา เอื้อมมือ หรือแบมือไปเอาอย่างนั้น

อย่าเพิ่งไปทำอย่างนั้น

เมื่อเวลามันเกิดขึ้นมาแล้วก็ให้ดูอยู่เฉยๆ เมื่อเวลาดูแล้ว เราก็น้อมเข้ามาสู่ใจของเรา มันแจ้งอยู่ที่ไหน อะไร มันเป็นให้น้อมเข้ามาสู่ใจของเรานั้นน่ะ รู้อยู่ที่ใจของเรา อย่าเพิ่งเอื้อมมือไป อย่าเพิ่งลืมตาดู ถ้าหากว่าเราไปนึกขึ้น จะลืมตาดู หรือนึกว่าจะหยิบเอาอย่างนี้ หรือจะกำเอาอย่างนี้ จิตของเรามันถอนจากสมาธิ ก็เลยไม่สงบได้
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เรื่องเล่า อาจารย์เทสก์ : เรื่องของ สติ สมาธิ และปัญญา ในความยาก มีความง่าย

วันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เวลา 14:44:45 น.

Share16


ดังได้สดับมา
วิเวกา นาคร


ในความจัดเจนของ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี

วิชาในพุทธศาสนานี้มันแปลก เรียนรู้มาก เวลาจะเอามาใช้เลย ใช้ไม่ได้ จะเอาบทธรรมนั้นมาพิจารณาให้เห็นแจ้งแทงตลอดจนหมดสงสัยไม่ได้

"ต้องเห็นแจ้งด้วยปัจจัตตัง"

นั่นก็คือ "จิตสงบแล้วรู้ขึ้นมาเองจึงชัด แต่ความชัดแจ้งนั้นก็ไม่ได้หนีไปจากปริยัติ ความรู้ในปริยัตินั้นแหละ แต่มันรู้ภายใน"

"รู้ภายใน" อย่างไรหรือ

"ความรู้ภายในนี้ถึงแม้จะอธิบายให้คนอื่นฟังสักเท่าไรก็ไม่เหมือนความรู้ด้วยตนเอง" พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี สรุป

"เหมือนกับบุคคลไปเห็นสัตว์ประหลาดในป่ามาชนิดหนึ่ง จะว่าเสือก็ไม่ใช่ จะว่าสิงห์ก็ไม่เชิง แต่มันคล้ายๆ กันกับสัตว์ทั้ง 2 ชนิดนั้น แต่มิใช่สัตว์ทั้ง 2 ชนิดนั้น เป็นแต่เอามาเปรียบให้คนฟังเข้าใจเฉยๆ"

จะรู้ได้ก็ต้องรู้โดยตน จึงจะเป็นความรู้อันลึกซึ้ง

เพราะว่าเมื่อลงมือปฏิบัติ แม้ปัญญาจะถือว่าเป็นที่สุด แต่ภายในปัญญาก็เช่นเดียวกับสมาธิ ก็มีเงื่อนปมซ่อนแฝงอยู่ ทำให้มิอาจไว้ใจได้อย่างหมดจด

เป็นอย่างไร โปรดอ่าน



ปัญญากล้าทำให้จิตฟุ้งซ่าน คุมสติไม่อยู่ รวมเป็นสมาธิไม่ได้ รู้เห็นสิ่งใดมีแต่จะคิด คิดจนสิ่งนั้นให้แตกกระจาย

เห็นตามจริงแล้วจึงจะยอมปฏิบัติตาม

ผู้มีความคิดย่อมเห็นอย่างนี้เป็นส่วนมาก ผู้คิดเห็นอย่างนี้ย่อมคุมสติของตนให้อยู่ในจุดเดียวไม่ได้ มีแต่ฟุ้งด้วยความคิดจนนอนไม่หลับ

นักปฏิบัติทั้งหลายกล่าวว่า นั่นมิใช่ปัญญา เป็นสัญญาปรุงแต่งตามอาการต่างหาก

ถ้าเป็นปัญญาแท้จะต้องคิดนึกหาเหตุผล มีสติรู้ตัวอยู่ว่าเราคิดอะไรดี ชั่ว หยาบ ละเอียด สิ่งที่ควรและไม่ควร

คิดนึกจบเรื่องแล้วรวมลงนิ่งอยู่ได้เหมือนกับของใช้ในลิ้นชัก เมื่อต้องการใช้ก็ชักออกมาใช้ ใช้แล้วก็เก็บปิดไว้ตามเดิม

ปัญญาอันนั้นมิใช่ปัญญาที่จะทำให้พ้นจากทุกข์ได้ เป็นปัญญาทั่วไปแก่สาธารณชน ต่างกันก็แต่จะมีมากหรือน้อยเท่านั้น



ธรรม 3 ประการนี้คือ สติ สมาธิ ปัญญา เมื่อใช้ให้สมดุลกันแล้วจะรวมเข้าเป็นอันเดียวกัน

เมื่อรวมเป็นอันเดียวกันแล้วจะไม่มี สติ สมาธิ ปัญญา ในที่นั้น จะมีแต่ความสว่าง เบิกบาน โล่งไปหมด

ไม่ว่าจะคิดนึกและมองไปข้างไหน รู้แจ้ง ทะลุปรุโปร่งไปทั้งนั้น

หมดความสงสัยในคุณพระรัตนตรัยว่าอะไรหนอ อะไรหนอ ไม่มีในที่นั้น

การที่จะทำ สติ สมาธิ ปัญญา รวมลงเป็น 1 นี้มิใช่เป็นของทำง่ายๆ จะแต่งให้เป็นอย่างนั้นเอาไม่ได้

ต้องหัดสติให้แน่วแน่อยู่ในอารมณ์เดียวจริงๆ

แล้วก็ต้องหัดสมาธิจนมั่นในอารมณ์กรรมฐานนั้นๆ ให้เป็น 1

ปัญญาก็ต้องตรวจตราว่า สิ่งที่เราละแล้วนั้น มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ลงสภาพแน่นอนไม่มีสงสัยแล้ว

ทั้ง 3 อย่างนี้มีสภาพเสมอกัน ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน แล้วจึงจะรวมลงเป็น 1 ได้

แต่มิใช่แต่งเอา แต่มันแต่งของมันเอง และไม่มีใครรู้ได้ด้วยว่ามันสม่ำเสมอกันแล้วหรือยัง

ต่อเมื่อจิตถอนออกมาจากอัปปนาสมาธิแล้วจึงมาตรวจสอบดู

จึงจะรู้ว่า อ๋อ จิตตอนนั้นมันมี สติ สมาธิ ปัญญา สม่ำเสมอกันอย่างนั้น อย่างนั้น



ทุกอย่างจึงดำเนินไปเหมือนกับที่ พระอาจารย์เทสก์ เทสรังสี ค้นพบจากการปฏิบัติโดยตน

เรื่องการทำสมาธินั้น เวลาจะทำจริงๆ มันทำไม่ได้ ความรู้วิชาเรียนมามากสักเท่าไร อุบายปัญญารวบรวมเอามาลงทุนจนหมดเกลี้ยงมันก็ไม่เป็น

แต่เวลาทอดธุระปล่อยทิ้งเสียไม่เอาอะไรทั้งหมด มันเลยกลับเป็นสมาธิมาได้

ที่ว่าง่ายมันง่ายตรงนี้ ง่ายเพราะไม่ได้เตรียมเนื้อเตรียมตัว และไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิด แต่มันเป็นของมันเองต่างหาก

ตรงนี้เองที่เรียกว่า "ปัจจัตตัง"



:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ธรรมะ-จิตใจ
กรรม และวิบากของกรรม พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ

16 ตุลาคม 2554 เวลา 08:38 น. |
เปิดอ่าน 442 |
comment ความคิดเห็น 1

พระพุทธเจ้า พระองค์สอนพุทธบริษัททั้งหลายให้เชื่อต่อกรรม เชื่อต่อผลของกรรม เชื่อต่อวิบากของกรรม

โดย..ภัทระ คำพิทักษ์

ให้เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ถ้าใครเชื่อต่อกรรม เชื่อต่อผลของกรรม เชื่อต่อวิบากของกรรม เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ผู้นั้นไม่ทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง

ที่แจ้ง หมายถึง ไม่ทำบาปด้วยกาย กายไม่ทำบาป ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดมิจฉากาม วาจาไม่ทำบาปที่แจ้ง ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำสำราก เพ้อเจ้อ ที่ลับ คือ ใจ ใจไม่โลภ ใจไม่โกรธ ใจไม่หลง ไม่มีความอิจฉาพยาบาทใครๆ มีใจประกอบไปด้วยเมตตา เจริญเมตตาพรหมวิหารทั้งสี่

เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาให้ผู้อื่นและสัตว์อื่นอยู่เป็นสุข ไม่มีความคิดเบียดเบียนอยู่ภายในใจของตน ไม่มีความอิจฉาพยาบาทใคร กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์

มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี

อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงคราววิบัติ วางใจให้เป็นมัธย กลางๆ นี้ ไม่ทำบาปทั้งในที่ลับ คือ ใจ ไม่คิดในสิ่งที่เป็นบาป ไม่คิดในสิ่งที่ทุจริต สิ่งที่ไม่ดี คิดขึ้นในใจ ไม่คิดอารมณ์ที่ไม่ดีมาหล่อเลี้ยงใจของตนให้เศร้าหมอง

ผู้เชื่อกรรม ผู้เชื่อผลของกรรม ผู้เชื่อต่อวิบากของกรรม ผู้เชื่อต่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอย่างนี้ ท่านไม่ทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้งโดยเด็ดขาด

คำว่า กรรม คือการเชื่อว่า การทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อผลของกรรม

เมื่อเหตุ คือ การกระทำมี ผลก็ต้องมี เป็นสิ่งที่เราผู้ทำต้องรับเอาผล ส่วนวิบากต้องติดตามไปเป็นสิ่งที่เราผู้ทำกรรมดี หรือกรรมชั่วต้องเสวย เป็นหน้าที่ของเรา พระพุทธเจ้าตรัสสอนอย่างนี้ เหตุที่พระองค์ตรัสสอนอย่างนี้ เนื่องจากพระองค์ตรัสรู้ตามกฎของกรรมอันแท้จริง ฉะนั้นผู้เชื่อต่อกรรมและผลของกรรม จึงไม่กล้าทำบาปทั้งในที่ลับและที่แจ้ง ท่านทำแต่คุณงามความดี ประพฤติกายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริต

กายสุจริต ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดมิจฉากาม วาจาสุจริต คือ ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดคำสำราก เพ้อเจ้อเหลวไหล ใจสุจริต คือ ใจไม่โลภ ใจไม่โกรธ ใจไม่หลง เมื่อมีใจไม่โลภ ก็เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อต่อกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อว่าทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป



เมื่อมีศรัทธาเชื่อต่อกรรมเช่นนี้ ก็ยินดีในการบำเพ็ญบุญกุศล ผู้ไม่มีความโลภ ยินดีในการบำเพ็ญทาน เพราะกำจัดมัจฉริยะ ความตระหนี่เหนียวแน่นออกจากใจของตนเสียได้ เห็นว่าการบำเพ็ญทานทำบุญกุศลเป็นบุญเป็นกุศลจริงๆ เป็นผลที่ตนจะต้องได้รับ เป็นวิบากที่ตนจะต้องเสวยไปตามคติต่างๆ ถ้าตนยังไม่สิ้นกรรม บุญกุศลที่ตนได้บำเพ็ญไว้ในทาน ก็จะเป็นอุปนิสัยปัจจัยให้เราไปเกิดในคติที่ดี ผู้ไม่มีความโลภย่อมเป็นผู้มีศรัทธา ความเชื่อมั่นว่า ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป แล้วเป็นผู้ยินดีในการบำเพ็ญทานให้เกิดให้มีขึ้น บำเพ็ญให้มากขึ้น

ผู้ไม่มีความโกรธในที่ลับ คือ ใจ ไม่มีความโกรธ ความอิจฉาอาฆาตมาดร้ายใคร ย่อมยินดีในการรักษาศีลให้เกิด ให้มีขึ้น เพราะศีลเป็นเครื่องชำระความโกรธออกจากใจของตน ให้บริสุทธิ์หมดจด ไม่มีมลทินเครื่องเศร้าหมอง เมื่อใจไม่มีความโกรธแล้ว ใจของเราก็บริสุทธิ์เท่านั้น เมื่อใจของเราบริสุทธิ์ คติของเราก็เป็นอันหวังได้ นี้ผู้เชื่อต่อกรรม เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ท่านจึงยินดีในการบำเพ็ญทาน ยินดีในการรักษาศีล ยินดีในการเจริญภาวนา ผู้มีใจไม่มืด ไม่หลง เชื่อต่อผลของการภาวนา เพราะการภาวนาชำระความหลงออกจากใจของตนที่มันมืดมนอนธการให้รู้แจ้งตามเป็นจริงที่มันเป็นจริงอยู่

นี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านสอนให้เชื่อกรรม เชื่อผลของกรรม เชื่อวิบากของกรรม เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าสอนไปตามกฎของกรรมที่เป็นจริง ท่านสอนให้พวกเราบำเพ็ญทานให้เกิดให้มีขึ้น สอนให้พวกเรารักษาศีล คือ รักษากายและวาจาของเราให้บริสุทธิ์ รักษาใจของเราให้บริสุทธิ์ สอนพวกเราให้บำเพ็ญภาวนา เจริญภาวนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริง ให้รู้จักบาปบุญ คุณโทษ ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ท่านสอนพวกเราให้ภาวนาเจริญอยู่ทุกวัน

การภาวนานี้ เป็นเครื่องชำระความหลงความมืดออกจากใจของเรา ไม่ให้ใจของเราเพลิดเพลินเตร็ดเตร่ลุ่มหลงไปตามอารมณ์ต่างๆ ไม่ให้ลุ่มหลงอยู่ในโลกอันนี้ ไม่ให้ลุ่มหลงอยู่ในอัตภาพร่างกายอันนี้ รูปอันนี้

ท่านสอนพวกเราให้ภาวนาง่ายๆ ไม่ต้องไปศึกษาเล่าเรียนให้มาก ให้ลำบากอะไร ท่านสอนง่ายๆ

วิธีของท่านก็คือ ท่านสอนให้พวกเราภาวนาง่ายๆ ให้ภาวนาว่า

“ชราธมฺโมมหิ ชรํ อนตีโต” ให้พิจารณาดูตัวของเรานี้ว่า เรามีความแก่อยู่เป็นธรรมดา เราจะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้

“พฺยาธิธมฺโมมหิ พฺยาธึ อนตีโต” เรามีความเจ็บไข้อยู่เป็นธรรมดา เราจะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้

“มรณธมฺโมมหิ มรณํ อนตีโต” ให้พิจารณาให้เห็นว่า เรามีความตายอยู่เป็นธรรมดา เราจะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้ และพิจารณาให้เห็นว่า เราจะได้พลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งสิ้นไป พิจารณาเข้าไปอีกให้เห็นว่า เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งที่อาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่ว บุญหรือบาป คุณหรือโทษ ประโยชน์หรือมิใช่ประโยชน์ ในเมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ เราได้ทำกรรมอะไรไว้ทางกาย ทางวาจา ทางใจ ดีหรือชั่ว กรรมนั้นแลจะเป็นที่พึ่งของเรา และกรรมนั้นแลจะได้เป็นทายาท คือ ติดตัวของเราไปทุกภพทุกชาติ ทุกคติ ทุกกำเนิด

สิ่งอื่นหาได้ติดตัวเราไปได้ไม่ ทรัพย์สมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญ ความสุขอันเกิดแต่ลาภ แต่ยศ แต่สรรเสริญก็ดี วัตถุภายนอก มีข้าวของเงินทองทุกสิ่งทุกอย่างนั้นแหละ ตายแล้วเอาติดตัวของเราไปไม่ได้ แม้แต่ตัวของเราทุกชิ้นทุกอัน ตายแล้วเขาก็เผาไฟทิ้ง ติดตัวของเราไปไม่ได้

นี่ท่านจึงสอนว่า เราจะได้พลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจทั้งสิ้นไป

เมื่อเราพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่ชอบใจไปแล้ว เรามีสมบัติอะไรที่ติดตัวของเราไป ก็มีกรรมนั่นแหละ ท่านจึงว่า มีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท คือ กรรมนั้นจะเป็นทายาท คือ เราจะได้รับผลของกรรมนั้นสืบต่อๆ ไป

เพราะฉะนั้น ท่านจึงให้บำเพ็ญแต่กรรมที่ดี กรรมที่เป็นบุญเป็นกุศล มีบำเพ็ญทานให้เกิดให้มีขึ้น รักษาศีลให้เกิดให้มีขึ้น ภาวนาให้เกิดให้มีขึ้น ถ้าเราเป็นผู้เชื่อต่อกรรมและผลของกรรมอย่างนี้ ย่อมปฏิเสธกรรมอันชั่ว เลิกละกรรมอันชั่ว ย่อมยินดีบำเพ็ญแต่กรรมที่ดีให้เกิดให้มีขึ้น บำเพ็ญทานให้มี บำเพ็ญศีลให้มี บำเพ็ญภาวนาให้เกิดให้มีขึ้น

ต่อแต่นี้ไป ผลของกรรมดีที่เราได้บำเพ็ญไว้ ถ้าเราตายไป เราก็มีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป ถ้าเราขยันขันแข็งหมั่นเพียรไม่ท้อถอย ก็อาจจะได้สำเร็จนิพพานสมบัติ โดยไม่มีทางสงสัย

โอวาทครั้งสุดท้าย

หมายเหตุ พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ แห่งวัดเจติยาคีรีวิหาร ได้เทศนาแก่คณะนิตยสาร คนพ้นโลก เมื่อวันเสาร์ที่ 5 เม.ย. 2523 แก่ก่อนที่ท่านจะละสังขารเนื่องจากเครื่องบินตก เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2523 มีความดังนี้

กำหนดใจให้สงบก่อน หักความร้อน ความวุ่นวายของจิต...

...คำว่าพ้นโลกนี้ คือหมายถึงว่า พ้นไปจากโลกอันนี้

โลกนี้มีอยู่ 3 โลก ที่ธรรมะเรียกว่าโลก คือ กามโลก 1 รูปโลก 1 อรูปโลก 1 มีเท่านี้เรียกว่าโลก

ทีนี้คณะคนพ้นโลก คือ พ้นจากโลกทั้ง 3 นี้ คือ พ้นจากกามโลก รูปโลก อรูปโลก

และทางที่จะพ้นจากกามโลก รูปโลก อรูปโลก นั้นเป็นอย่างไร ท่านก็แสดงในมัชฌิมาปฏิปทาทางสายกลาง ย่อลงมาก็คือ ทาน ศีล ภาวนา นี้เอง

ทาน ศีล ภาวนานี้ เป็นทางพ้นโลกทั้ง 3 เหตุไฉนจึงเป็นทางพ้นโลกทั้ง 3 เราจะบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนาประเภทใดนี้ พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ ในศิริมานันทสูตรโดยย่อๆ ว่า ดูก่อนอานนท์ ท่านที่จะพ้นโลกทั้ง 3 คือ กามโลก รูปโลก อรูปโลก นี้

เมื่อบุคคลผู้มีศรัทธา ความเชื่อก็เลื่อมใส บำเพ็ญในทาน ศีล ภาวนา ไม่ต้องพูดถึง ศีล สมาธิ ปัญญา อันบุคคลผู้ที่บำเพ็ญ ทาน ศีล ภาวนาเป็นผู้แสวงบุญนั้นเพื่อลาภสักการะ หรือเพื่อยศ เพื่อความสรรเสริญ เพื่อความสุขในกามโลก รูปโลก อรูปโลกนี้ ยังไม่ได้จัดเข้าเป็นข้อปฏิบัติที่ให้ถึงธรรมปฏิบัติโดยแท้ ยังไม่อาจพ้นไปจากโลกได้ เพราะธรรมเหล่านี้มีอยู่ในโลก ความมีลาภก็มีอยู่ในโลก ความมียศก็มีอยู่ในโลก ความเสื่อมลาภก็มีอยู่ในโลก ความเสื่อมยศก็มีอยู่ในโลก ความเสื่อมสรรเสริญก็มีอยู่ในโลก ความนินทาก็มีอยู่ในโลก ความสุขก็มีอยู่ในโลก ความทุกข์ก็มีอยู่ในโลก

ทีนี้ผู้บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนานี้ หวังลาภสักการะหรือหวังลาภหวังยศ หวังความสรรเสริญ หวังความสุขนั้น ยังไม่จัดเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์ ยังไม่พ้นโลก ผู้บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา

เมื่อเป็นผู้ที่มุ่งหวังที่จะทำลายกิเลสตัณหา อันเป็นตัวเหตุตัวปัจจัยให้เกิดทุกข์อยู่ร่ำไป ให้เกิดอยู่ในกามโลก รูปโลก อรูปโลก นี้จึงเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์

ถ้าผู้บำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา คือ ผู้แสวงบุญ มุ่งหวังที่จะต้องทำลายแต่กิเลส ตัณหา อันเป็นตัวเหตุตัวปัจจัย เป็นตัวกรรมวัตร กิเลสวัตร คือ เป็นตัวสมุทัย เป็นตัวให้เกิดทุกข์

นี้จึงจะพ้นไปเสียจากโลกทั้ง 3 ได้

การที่จะพ้นไปเสียจากโลกทั้ง 3 คือ ทาน ‌ศีล ภาวนานี้เท่านั้น ฉะนั้นการบำเพ็ญท่าน ศีล ‌ภาวนา ถ้าไม่มุ่งหวังที่จะทำลายกิเลสตัณหา‌แล้ว มันก็ไม่พ้นไปเสียจากโลกได้ เมื่อไม่พ้นไป‌เสียจากโลกได้ ส่วนบุญที่เกิดจากการบำเพ็ญ‌ทาน ศีล ภาวนา นั้นมีอยู่หรือไม่ มีอยู่ ได้รับผล‌อยู่ ไม่ปฏิเสธว่าไม่ได้รับ ได้รับผลอยู่ แต่ได้ผล‌เพียงมนุษย์สุข สวรรค์สุขเท่านั้น ไม่พ้นไปจาก‌ทุกข์ เพราะเหตุไม่ได้เจตนาที่จะทำลายกิเลส‌ตัณหานั้นให้สิ้นไปหมดไป จึงไม่พ้นทุกข์ สุขที่ได้‌รับจากการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนามีอยู่ มี‌มนุษย์สุข สวรรค์สุขเท่านั้น แต่ไม่พ้นไปจาก‌ทุกข์ ส่วนการบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา เพื่อมุ่ง‌หวังที่จะทำลายกิเลสตัณหาอย่างเดียวให้หมด‌ไป ให้สิ้นไป ให้ดับไป ไม่มุ่งหวังอะไร สุขก็ได้ ‌ทุกข์ก็พ้น

ให้พากันมุ่งหน้ามุ่งตาที่จะทำลายกิเลส‌ตัณหาให้ออกไปจากจิตใจของเราเท่านั้นให้‌หมดไปสิ้นไป จึงจะพ้นไปเสียจากโลก

ธรรมที่จะพ้นไปเสียจากโลก องค์สมเด็จ‌พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเบื้องต้นประวัติของ‌ท่าน ท่านแสดงในอริยมรรคปฏิปทา ประกอบ‌ไปด้วยองค์ 8 ประการนี่เอง ดังจะนำมาแสดง‌โดยย่อๆ เพียงข้อต้น คือ สัมมาทิฏฐิ ความเห็น‌ชอบ สัมมาสังกับโปความดำริชอบ เพียงแค่นี้

ความเห็นชอบ เห็นสิ่งที่เป็นเหตุให้พ้นไป‌เสียจากโลกนี้ ท่านเห็นอย่างไร

ความเห็นชอบนั้น คือ เห็นว่า นี้ทุกข์ นี้‌เป็นเหตุเกิดทุกข์ นี่ธรรมเป็นที่ดับทุกข์ นี่เป็นข้อ‌ปฏิบัติให้ถึงธรรมเป็นที่ดับทุกข์นี้ทุกข์ คือ เห็นว่า ‌ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็น‌ทุกข์ เห็นเหตุให้เกิดทุกข์ คือ เห็นตัณหา ความ‌อยาก อันทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์ในกามโลก รูปโลก ‌อรูปโลก ที่จะปรากฏขึ้น ก็เพราะเหตุแห่งตัณหา ‌คือ ความอยาก ฉะนั้นธรรมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ‌ท่านจึงเจาะจงบ่งชื่อตัณหาว่า ยายงฺตณฺหา ‌ตัณหาคือความอยากนี้ เป็นเหตุให้เกิดกามภพ ‌รูปภพ อรูปภพ ไม่มี มีแต่ตัณหาเท่านี้ ความ‌ยินดี ความกำหนัด ความเพลิดเพลินลุ่มหลง |ฮึกเหิมตามความกำหนัด ความยินดี คือ ความ‌ใคร่ ความรัก ความปรารถนาในกามารมณ์ ‌ความทะเยอทะยานอยากเป็นโน่นเป็นนี่ให้ยิ่งๆ ‌ขึ้นไป ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็นในสิ่งที่|ตนไม่ชอบ ไม่พอใจ

ตัณหา คือ ความอยากเหล่านี้

เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่พ้นไปจากโลกได้ ‌หรือไม่พ้นไปจากกามโลก รูปโลก อรูปโลกได้ ‌เพราะเหตุแห่งตัณหา

มีปัญญา สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ รู้ชอบ ‌ในธรรมเป็นที่ดับทุกข์ ความทุกข์ทั้งหลายมี่จะ‌ดับไป ความเห็นว่า ต้องทำตัณหานี่แหละให้สิ้นไป ดังที่ท่านตรัสว่า ธรรมอันที่ดับทุกข์นั้น ‌คือ ทำตัณหาความอยากนี่แหละให้สิ้นไป ดับตัณหาความอยากนี่แหละ โดยไม่เหลือนั้นๆ ‌เสียให้สิ้นไปจากใจของตน

พึงละ พึงสาง พึงสร้าง พึงปลดปล่อย ตัดขาดจากตัณหา คือ ความอยากนี้นี่แหละให้‌สิ้นไป ทุกข์จึงจะดับ เพราะเหตุแห่งตัณหา ‌เป็นเหตุให้เกิดทุกข์

ถ้าผู้ต้องการจะพ้นไปจากทุกข์ พ้นไปจากโลก กามทุกข์ รูปทุกข์ อรูปทุกข์ ก็ต้องดับ‌เสียซึ่งตัณหาให้หมดให้สิ้นไป เราจึงจะพ้นไป‌จากโลกได้ นี้ปัญญาสัมมาทิฏฐิ ปัญญา สังกับโป ท่านรู้ธรรมอันที่ดับทุกข์ ด้วยประการ‌อย่างนี้

ปัญญาสัมมาทิฏฐิ ความรู้ชอบ เห็นชอบใน‌ข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์ ย่นลงก็คือ ‌ทาน ศีล ภาวนา หรือ ศีล สมาธิ ปัญญานี้

การบำเพ็ญทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ‌ถ้าไม่มุ่งหวังที่จะทำลายกิเลสตัณหาให้หมดไป ‌ให้สิ้นไปแล้ว ก็ไม่มีทางพ้นไปจากทุกข์ พ้นไป‌จากโลกนี้ได้ ถ้าเราบำเพ็ญทาน ศีล ภาวนา ‌มุ่งหวังที่จะทำลายกิเลสตัณหาอย่างเดียวให้‌หมดให้สิ้นไป คือที่ว่าพ้นไปจากโลก

เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงธรรมอันที่ดับทุกข์โดย‌แท้ ไม่ต้องมีความสงสัยเลยดังนี้



:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

การทรงอารมณ์เพื่อเข้าถึงพระโสดาบัน
จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

สำหรับโอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัทได้สมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ขอท่านทั้งหลายจงตั้งใจสงบอารมณ์ให้เป็นสมาธิคือ ในอันดับแรก ขณะที่รับฟังเสียง ตั้งใจฟังเสียงให้รู้เรื่องทุกถ้อยคำ

การตั้งใจฟังเสียงทุกถ้อยคำแสดงว่าจิตทรงสมาธิ เพราะว่า สมาธิแปลว่าตั้งใจไว้ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะ เวลาที่เราตั้งใจฟังเสียง ถ้าหูได้ยินเสียง จิตรู้เรื่องตาม ก็ชื่อว่าอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้าหากว่าท่านใช้ปัญญาพิจารณาไปตามกระแสเสียงด้วยหรือตามถ้อยคำ และเนื้อความที่กล่าว ก็ชื่อว่าเป็นการใช้ปัญญาในด้านวิปัสสนาญาณ นี่มีความสำคัญ

หลังจากพูดจบแล้วขอบรรดาท่านพุทธบริษัทพยายามทรงอารมณ์ให้เป็นสมาธิ โดยการกำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก เวลาหายใจเข้ารู้อยู่ว่าหายใจเข้า เวลาหายใจออกรู้อยู่ว่าหายใจออก หายใจยาวหรือสั้น หายใจเข้ายาวหรือสั้น หายในออกยาวหรือสั้นก็รู้อยู่ อย่างนี้ จัดว่ามีอารมณ์เป็นสมาธิ ถ้าจะใช้คำภาวนาก็ให้ใช้ว่า พุทโธ เวลาหายใจเข้านึก พุท เวลาหายใจออกนึกว่า โธ อย่างนี้เป็นอารมณ์สมาธิ ขณะใดการรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก รู้คำภาวนา นั่นเป็นสมาธิ

สมาธิจัดไว้หลายระดับคือ ขณิกสมาธิ เรียกว่า สมาธิเล็กน้อย อุปจารสมาธิ สมาธิใกล้เข้าถึงปฐมฌาน แล้วขึ้นไปเป็น ฌาน คือ ฌานที่ 1 ฌานที่ 2 ฌานที่ 3 และฌานที่ 4 และอารมณ์ที่เป็นสมาธิจะอยู่ในระดับใดก็ตามก็ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของความดี เพราะจิตเราตั้งอยู่ในกุศล

อีกประการหนึ่ง ขอบรรดาท่านพุทธศาสนิกชนพยายามทรงอารมณ์จิตให้อยู่ใน พรหมวิหาร 4 เป็นปกติ คือว่าเราจะมีความรักในคนอื่นและสัตว์อื่นนอกจากตัวเรา เสมอด้วยตัวเรา เราจะมีความสงสารเกื้อกูลเขาให้เป็นสุขตามกำลังที่เราพึงจะทำได้ เราไม่มีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เห็นใครได้ดีพลอยยินดีตาม ถ้าสิ่งใดเป็นเหตุเกินวิสัยด้วยอำนาจกฎของกรรมหรือกฎของธรรมดาเกิดขึ้น เราจะไม่มีความหวั่นไหวในจิต นี่อารมณ์อย่างนี้ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททรงไว้ได้ ก็จัดว่าเป็นศูนย์กำลังใจที่มีความสำคัญที่สุดอันจะพึงก้าวเข้าไปสู่ความดี

ถ้าหากว่าบรรดาจิตใจของบรรดาท่าพุทธบริษัทมีคติตรงกันข้าม คิดเห็นว่าคนอื่นเป็นศัตรูสำหรับเรา มีอารมณ์ปรารถนาในการกลั่นแกล้งบุคคลอื่น ด้วยการเสียดสีด้วยวาจาบ้าง แสดงอาการทางกายบ้างอย่างนี้เป็นต้น และมีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นเมื่อเห็นเขาได้ดี อดทนอยู่ไม่ไหว เห็นคนอื่นได้ดี หาทางกลั่นแกล้ง กล่าววาจาเสียดสีกระทบกระแทกให้เกิดความช้ำใจ อาการตรงกันข้ามกับพรหมวิหาร 4 แบบนี้เป็นปัจจัยให้ท่านทั้งหลายลงอเวจีมหานรกเป็นอารมณ์ชั่ว ถ้าอารมณ์ชั่วที่มันจับอยู่ในใจตลอดเวลามันก็เป็นอาจิณกรรม กรรมนั้นบันดาลให้เราลงอเวจีมหานรก

ฉะนั้นขอบรรดาท่านพุทธบริษัทจงเว้นเสีย ถ้าจิตเราทรงพรหมวิหาร 4 ได้ตลอดกาลก็ชื่อว่าเราสามารถ คุมศีล ของเราให้ปกติอยู่ได้ตลอด สามารถ คุมสมาธิ ให้ทรงตัว คือ จิตน้อมอยู่ในเกณฑ์ของกุศลตลอดเวลา และ คุมวิปัสสนา และเมื่อจิตเราเยือกเย็นมีแต่ความรัก ความสงสาร ปรารถนาในการเกื้อกูล มีจิตอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาใคร มีการวางเฉยไม่หวั่นไหวในเมื่อกฎของกรรมเกิดขึ้น อารมณ์จิตของเราก็มีความเย็น อารมณ์จิตมีความสุข เมื่อจิตมีความเยือกเย็น จิตมีความสุข อารมณ์สบายก็เกิดขึ้น เมื่ออารมณ์สบายเกิดขึ้นศีลมันก็ไม่ขาด สมาธิก็ทรงตัว ปัญญาก็แจ่มใส สามารถพิจารณาได้ตามเหตุตามผลที่สมควร คนที่ทรงอารมณ์อย่างนี้ได้เป็นปกติ บุคคลประเภทนั้นจะเป็นผู้ทรงฌาน ก็ไม่ยาก เพราะ จิตมีความดีอยู่ในด้านกุศลทรงอยู่ มันเป็นฌานอยู่แล้ว จะบังคับจิตให้ทรงฌานขนาดไหนก็ได้ ตามอัธยาศัย แล้วก็ใช้เวลาไม่นานยิ่งไปกว่านั้นถ้าเรามีความปรารถนาจะเป็นพระอริยเจ้าก็เป็นไม่ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระโสดาบัน เป็นอันดับต้น

นี่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนมาตั้งใจทำความดี ก็จงอย่าคิดว่าเราจะสร้างความดีกันแค่ความดีสามัญ หรือที่เรียกกันว่าทำเป็นแค่อุปนิสัย อันนี้ไม่สมควร มันจะเป็นการขาดทุนเกินไปในการที่บำเพ็ญความดี อารมณ์ของเราก็ควรจะคิดว่า อย่างเลวที่สุดเราจะต้องตั้งอยู่ใน พระโสดาบัน เป็นอย่างต่ำ เพราะว่าพระโสดาบันแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ

1. เอกพีชี มีอารมณ์เคร่งเครียด เป็นพระโสดาบันละเอียด

2. โกลังโกละ เป็นพระโสดาบันอย่างกลาง

3. สัตตักขัตตุง เป็นพระโสดาบันอย่างหยาบ

อย่างเลวที่สุด เราควรจะคิดว่าภายใน 3 เดือน ใน 6 เดือน หรือว่า 1 ปี เราจะทรงอารมณ์ความเป็นพระโสดาบันไว้ให้ได้ นี่ควรจะตั้งใจอย่างนี้ เพราะการเจริญพระกรรมฐานเราทำเพื่อความดี อย่าคบกิเลส อย่าทำใจให้เป็นทาสของกิเลส นี่การปฏิบัติเข้าถึงพระโสดาบันเบื้องต่ำที่เรียกกันว่า สัตตักขัตตุง อันนี้พระพุทธเจ้ากล่าวว่า มีสมาธิพอสมควร คือ มีสมาธิเล็กน้อย แล้วก็มีปัญญาพิจารณาวิปัสสนาญาณเล็กน้อย ก็สามารถเป็นพระโสดาบันได้

ความจริงพระโสดาบันไม่ใช่ของสูง เป็นของธรรมดาที่เรียกกันว่า ชาวบ้านชั้นดี ถ้าพระอริยะเบื้องสูงซึ่งกล่าวว่าพระโสดาบัน คือ ธรรมะที่จะทำให้คนเป็นพระโสดาบันเหมือนกับของเด็กเล่น คือ เป็นของทำง่าย ๆ มีพรหมวิหาร 4 ประจำใจ เราก็เป็นพระโสดาบันได้แบบสบาย ถ้าเรามีความฉลาด แต่ถ้าหากว่าเราโง่ ปล่อยให้จิตเป็นทาสของกิเลส ยังมีอารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่น อยากจะพิฆาตเข่นฆ่าทำลายบุคคลอื่น ให้มีความทุกข์ ขาดความเมตตาปรานี มีอารมณ์อิจฉามีอารมณ์หวั่นไหวในกฎของกรรมอันเป็นสิ่งธรรมดา อันไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างนี้จะป่วยการกล่าวไปใยถึงพระโสดาบัน แม้แต่เราจะเป็นคนก็ยังเป็นไม่ได้เพราะวิสัยเป็นจิตของอบายภูมิ คือ เป็นนิสัยของสัตว์นรก เป็นวิสัยของเปรต เป็นวิสัยของอสุรกาย เป็นวิสัยของสัตว์เดรัจฉาน ฉะนั้นอารมณ์ประเภทนี้ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จงเว้นเสีย ทรงพรหมวิหาร 4 ให้เป็นปกติ

นี่เรามาพูดกันถึงการเป็นพระโสดาบัน ต่อนี้ไปเราก็จะใช้วิธีอธิบายให้ละเอียดสักหน่อย เพราะการเป็นพระโสดาบันที่บอกว่าไม่ยาก ในอันดับแรก ขอบรรดาท่านพุทธบริษัทมีอารมณ์จิตคิดไว้เสมอว่า เราจะไม่สนใจกับจริยาของบุคคลอื่น โดยจะไม่ไปก้าวก่ายกับจริยาของใคร ไม่เข้าไปอิจฉาริษยาบุคคลอื่น ว่าบุคคลนี้กินมากเกินไป นอนมากเกินไป หลงในลาภสักการะเกินไป บำเพ็ญเพียรดีเกินไป อย่างนี้เป็นต้น ถือว่าเรื่องนั้นมันเป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา ถ้าจิตเราไปยุ่งกับเขาแสดงว่าเรานิยมอบายภูมิ อย่างนี้ไม่ต้องมีใครแช่ง ไปเองแบบสบาย จะบวชพระสักกี่โกฎิปีมันก็ไม่มีประโยชน์ เพราะว่าจิตมันเลว สภาวะของเพศเป็นพระ แต่จิตเป็นจิตของอบายภูมิ จะสร้างความดีแบบไหน มันก็ดีไม่ได้ คนที่มีจิตเลว นี่เป็นอันว่าเราจะพยายามควบคุมจิตของเราไม่ให้ไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น แค่ความจริงเรื่องนี้ เราได้ยินกันอยู่ทุกวัน แต่ความเลวของพวกเราน่ะเปลื้องกันได้หรือเปล่า

ในประการต่อไปเราตั้งใจไว้เสมอว่า จะทรงศีลให้บริสุทธิ์ โดยไม่ทำลายศีลเอง ไม่ยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นทำลายศีล ไม่ยินดีเมื่อบุคคลอื่นทำลายศีลแล้ว และเราจะมีจิตยอมรับนับถือความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความดีของพระธรรม ความดีของพระสงฆ์ และมีจิตตรงเฉพาะพระนิพพาน คือ การกระทำกิจทุกอย่างไม่ว่าอะไรทั้งหมด จะให้ทานแก่สัตว์ ชี้ทางให้แก่บุคคลผู้หลงทาง แนะนำบุคคลผู้มีความโง่ ถวายทานแก่พระสงฆ์ บูชาพระรัตนตรัย นึกถึงความดีของบิดามารดา ครูบาอาจารย์เป็นต้น เราทำอย่างนี้ทุกอย่างเราไม่หวังผลในการตอบแทนในปัจจุบัน เรามีความต้องการอย่างเดียวคือ สร้างความดีเพื่อสู่พระนิพพาน อารมณ์ที่กล่าวมานี้เป็นอารมณ์ของ โสดาบันสัตตักขัตตุง คำว่า สัตตักขัตตุง ก็หมายความว่า เราเกิดเป็นมนุษย์อีก 7 ชาติ ก็จบกิจเป็นพระอรหันต์ได้ ถ้าหากท่านทั้งหลายจะถามว่า เอาสมาธิจิตมาจากไหน ก็จะต้องตอบว่า ถ้าหากท่านทั้งหลายคิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงพระธรรม คิดถึงพระอริยสงฆ์ ว่าท่านทั้งหลายทั้ง 3 ประการนี้มีความดีหาประมาณมิได้ เราขอยอมรับนับถือความดีของพระพุทธเจ้า โดยจะปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าทุกอย่าง และจะเว้นถ้อยคำห้ามปรามที่พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ปฏิบัติ แล้วเราก็ยอมรับนับถือพระอริยสงฆ์สาวกว่าท่านมีควาดีตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน แล้วท่านปฏิบัติตาม เป็นความดีที่ท่านทรงความบริสุทธิ์ มีจิตเป็นสุข มีอารมณ์เป็นสุขอย่างนี้เพราะอะไร เพราะว่าท่านเชื่อพระพุทธเจ้า ไม่ฝ่าฝืนข้อห้าม และก็พยายามปฏิบัติความดีที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ ถ้าหากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถึงแม้ว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายคิดอย่างนี้ไว้เป็นปกติ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ท่านจะไม่ภาวนาว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้มีสมาธิใน พุทธานุสสติกรรมฐาน ธัมมานุสสติกรรมฐาน สังฆานุสสติกรรมฐาน เพราะจิตเราทรงตรงอยู่ในความดี ยอมรับนับถือความดีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่เป็นองค์สมาธิที่มีความสำคัญ

แค่ที่เรานั่งภาวนาเพื่อให้จิตสงบเฉพาะเวลา แต่พอลืมตาขึ้นมาก็ปล่อยอารมณ์ลอยไปในสถานที่ต่าง ๆ เป็นปัจจัยของความชั่ว คือ ไม่ยอมเคารพในศีล ไม่ยอมเคารพในธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะนำ การหลับตาสักแสนปีหรือโกฎิชาติก็ไม่มีประโยชน์ใด ๆ มันมีอยู่อย่างเดียวคือ อารมณ์ทรงความดี

ทีนี้ในเมื่อยอมรับนับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นปกติ เมื่อเรายอมรับนับถือท่านเราก็ต้องทรงศีล 5 ในศีลของตนเองบริสุทธิ์ พระมีศีล 227 บริสุทธิ์ เณร มีศีล 10 บริสุทธิ์ ฆราวาสมีศีล 5 บริสุทธิ์ นี่เราว่ากันขั้นพระโสดาบัน สำหรับศีล 8 นั้นเป็นขั้นของพระอนาคามี ในเมื่อเรามีศีลบริสุทธิ์ ศีลน่ะมันบริสุทธิ์ยากถ้าอารมณ์ใจเราต่ำ ถ้ามีอารมณ์เลว ศีลจะบริสุทธิ์ได้ต้องมีอารมณ์เยือกเย็น คือ มีอารมณ์เป็นน้ำ ไม่ใช่มีอารมณ์เป็นไฟ ทั้งนี้เพราะว่าต้องมีใจประกอบไปด้วยความรัก เห็นคนและสัตว์เป็นที่รักของเราทั้งหมด จิตต้องประกอบไปด้วยความกรุณา ความสงสาร เห็นคนและสัตว์เราเห็นว่าเป็นคนที่เห็นว่าเราควรจะสงเคราะห์ทั้งหมด ตามกำลังที่เราจะพึงทำได้ อารมณ์จิตเราจะอ่อนโยน ไม่หวั่นไหวไปในความชั่ว พลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดี ไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่น อารมณ์อิจฉาริษยาน่ะ มันเป็นอารมณ์ของสัตว์นรก มันมีแต่ความเร่าร้อน อารมณ์ที่ไม่มีจิตอิจฉาริษยาใครเป็นอารมณ์เยือกเย็น เป็นอารมณ์ของสวรรค์ เป็นอารมณ์ของพรหม เป็นอารมณ์ของนิพพาน แล้วเราก็มีอุเบกขา หมายความว่ารู้ว่าสิ่งใดที่มันเป็นธรรมดา เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้

ทีนี้ถ้าพรหมวิหาร 4 มีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นหาความเลวไม่ได้ มีแต่ความดี การที่จะคิดฆ่าสัตว์ตัดชีวิตก็ไม่มีในใจ เพราะเรามีความรัก ความสงสาร การจะลักจะขโมยเขามันก็ไม่มี วาจาหยาบคายก็ไม่มี วาจาส่อเสียดยุยงส่งเสริม อารมณ์อิจฉาริษยาบุคคลอื่นก็ไม่มี แล้วก็วาจาเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ก็ไม่มี นี่เป็นอันว่าการทรงพรหมวิหาร 4 ทำตนให้เป็นพระโสดาบันได้ง่าย และก็แถมใจอีกนิดหนึ่งว่าเราต้องการพระนิพพาน ทีนี้การที่เราคิดอยู่ว่าเราจะทรงศีล 5 ให้บริสุทธิ์ คือ ทรงศีลประจำเพศให้บริสุทธิ์ อันนี้เป็น สีลานุสสติกรรมฐาน ถ้าเราทรงอารมณ์ไว้ได้ ชื่อว่าเรามีฌานในสีลานุสสติกรรมฐาน ถ้านึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อยู่เป็นประจำ ก็ชื่อว่าเรามีฌานอยู่ในอนุสติ 3 ทีนี้ถ้าหากว่าเราตั้งใจอยู่ในพรหมวิหาร 4 ประการเป็นปกติ ก็ชื่อว่าเรามีฌานในพรหมวิหาร 4 จิตน้อมไปถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ชื่อว่าเรามีฌานใน อุปสมานุสสติกรรมฐาน

เป็นอันว่าอารมณ์แห่งการถึงพระโสดาบันขั้นต้นมีเพียงเท่านี้ ขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านจงเข้าใจว่าการเป็นพระโสดาบันเป็นของไม่ยาก คนดีเป็นง่าย คนเลวเป็นยาก เพราะหากว่าคนเลวมีสันดานอบายภูมิติดมา ก็ย่อมไม่เห็นคุณค่าของความเป็นพระโสดาบัน โดยการปฏิบัติความดีเพียงแค่เล็กน้อย

ต่อจากนี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา



:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

สังโยชน์ของพระโสดาบัน
จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

สำหรับโอกาสนี้ บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อนี้ไปตั้งใจสดับคำแนะนำในการปฏิบัติพระกรรมฐาน

สำหรับคำแนะนำวันนี้จะขอตัดตอนต้นไป เพราะเป็นการซ้ำกันบ่อย ๆ ก็ถือว่าเป็นการเริ่มต้น เป็นการเดินทางเข้าสู่สายพระนิพพานโดยตรง การปฏิบัติตนให้สู่พระนิพพานนี่อาจจะต้องพูดกันหลายวันหน่อย เพราะว่าเพื่อความเข้าใจของนักปฏิบัติ วันนี้จะยกเรื่องสมาธิทิ้งไป และก็จะไม่ปรารภจริตใด ๆ ทั้งหมด เพราะการเดินทางสายเข้าสู่พระนิพพานต้องเป็นคนมีอารมณ์จิตเข้มแข็ง จะไม่ยอมก้มศีรษะให้แก่กรรมทุกอย่าง มิฉะนั้นแล้วท่านทั้งหลายก็จะเป็นเหยื่อของนรก เรื่องที่พูดกันถึงพระนิพพานก็ไม่ต้องพูดกัน เราจงรู้ตัวของเรา

ทีนี้ตามพระบาลีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงความเป็นพระอริยเจ้าขั้นพระโสดาบัน สกิทาคามี อนาคา อรหันต์ ตรัสเป็นเขตไว้ ขอบรรดาท่านทั้งหลายจำไว้แล้วก็นำไปประพฤติปฏิบัติ เพราะเป็นจุดหมายปลายทางและเป็นหนทางที่ตรงอย่างยิ่ง จะได้ไม่เอนไม่เอียง ไม่มีความสงสัย การที่อวดตัวว่ารู้มากตำราไม่มีความหมาย ความสำคัญมีอยู่อย่างเดียว คือ ทำจิตให้หมดจากกิเลสเป็นสมุจเฉทปหานนี้เป็นความต้องการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นความต้องการของผมด้วย ขอได้โปรดจำกันไว้ให้ดีว่า ผมต้องการคนที่มีความปรารถนาในการตัดกิเลสและก็พยายามตัดกิเลส ไม่ใช่เพาะกิเลส

มีเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงกฎแห่งการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงการเป็นพระอริยเจ้าที่เคยปรากฏอยู่เสมอว่า บรรดาพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาที่บวชเข้ามาแล้วต้องมีสิกขา 3 ประการ คือ

1. อธิศีลสิกขา ปฏิบัติศีลอย่างยิ่ง คำว่า อย่างยิ่ง ก็หมายความว่า เคร่งครัด ยอมตัวตายดีกว่าศีลขาด มีศีลจับใจเป็นอารมณ์ สิ่งใดที่ขัดต่อศีลเราไม่ทำ และสิ่งใดที่ขัดต่อความดีที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัส เราไม่ทำ

2. อธิจิตสิกขา พยายามเร่งรัดอารมณ์สมาธิให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์สูงสุดจริง ๆ คือ ฌาน 4

3. อธิปัญญาสิกขา มีปัญญารู้แจ้งเห็นจริง มีปัญญาสามารถจะรู้กำหนดการตัดกิเลสให้เป็นสมุจเฉทปหานเบื้องสูง

สิกขา 3 ประการนี่ที่ว่าเราจะต้องปฏิบัติกัน เพราะว่า ภิกขุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในสงสาร สมณะ แปลว่า สงบ หรือผู้มีบาปอันลอยแล้ว นึกดูน้ำใจของเรา ว่า น้ำใจของเราน่ะมันเลวหรือว่ามันดี อัตตนา โจทยัตตานัง พระพุทธเจ้ากล่าวว่า จงเตือนตนไว้เสมอ ไม่ใช่ไปนั่งเตือนคนอื่น คือ ไปนั่งค่อนขอด ค่อนแคะประณามบุคคลอื่น ถ้าเราไปนั่งค่อนขอด ค่อนแคะประณามบุคคลอื่น นั่นแสดงว่าเราเลวเกินไปที่จะเป็นมนุษย์ได้ เป็นวิสัยของสัตว์ในอบายภูมิ นี่เป็นเรื่องสำคัญ เตือนตนไว้เสมอ

สำหรับอธิศีลสิกขา พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นวิสัยของพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี จำให้ดีนะ

อธิจิตสิกขา เป็นวิสัยของพระอนาคามี

อธิปัญญาสิกขา เป็นวิสัยของพระอรหัตผล

เป็นอันว่าถ้าเราพิจารณาตามพระพุทธฎีกาข้อนี้ จะเห็นว่าการปฏิบัติตนตรงต่อความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของไม่ยาก ไม่ยากเพราะอะไร เพราะว่าเรารู้อยู่ว่าสำหรับพระโสดาบันกับพระสกิทาคามีไม่มีอะไรมาก คือ เป็นผู้ปฏิบัติศีลอย่างเคร่งครัดนั่นเอง

ทีนี้เราก็หันไปดูองค์ของพระโสดาบัน หรือว่าไปดูสังโยชน์ของพระโสดาบัน เอาสังโยชน์ก่อน สังโยชน์ที่เราจะละเข้าถึงพระโสดาบัน นั่นก็คือ

1. สักกายทิฏฐิ พิจารณาว่า อัตตภาพร่างกายนี้ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในร่างกาย ร่างกายไม่มีในเรา สำหรับสักกายทิฏฐิข้อนี้เราตัดกันแต่เพียงเบา ๆ เท่านั้น คำว่าตัดเพียงเบา ๆ ก็หมายความว่ามีความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าเราจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิต คิดไว้เสมอว่าความตายอาจจะมีแก่เราได้ทุกขณะ ไม่ใช่ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ มะรืนนี้ คิดถึงความตายไว้เป็นปกติว่า เราอาจจะต้องตายเดี๋ยวนี้ เมื่อเราคิดว่าเราจะตายเดี๋ยวนี้ เราก็ต้องรวบรวมกำลังใจสร้างความดี เพื่อว่าเมื่อตายแล้วจะได้ไม่ไปตกอยู่ในอบายภูมิ นี่สำหรับสักกายทิฏฐิข้อต้น

พระโสดาบันถ้าจะว่าตัดก็ยังไม่ถึง เรียกว่า ขัดสีฉวีวรรณสักกายทิฏฐิให้มันผ่องใสขึ้นเท่านั้น เพราะว่าอารมณ์เดิมของเรามันเต็มไปด้วยความโง่ เห็นชาวบ้านเขาตาย รู้ แต่ว่าไม่เคยคิดเลยว่าตัวจะตาย หาความรู้สึกว่าตัวจะตายไม่ได้ มีความประมาทสร้างความชั่วเป็นปกติ นี่อารมณ์เดิมของเรามันเลวแบบนี้ ทีนี้พอมาถึงมีจิตหวังตั้งใจจะปฏิบัติให้เป็นพระอริยเจ้า ก็ต้องนึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ถ้าไม่นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ความประมาทมันก็มีอยู่ เมื่อความประมาทมีอยู่ ตายแล้วก็ต้องไปตกอบายภูมิแน่

เมื่อเรานึกถึงความตายแล้ว เราก็คิดว่าถ้าเราตายแล้วคราวนี้เราจะไปไหน ถ้าเราคิดว่าเราจะเกิดเป็นคนใหม่มันก็เลวเต็มที ถ้าเป็นพ่อค้าก็ถือว่าขาดทุน ทั้งนี้เพราะอะไร เราลงทุน 100 บาท ค้าขายอยู่ 9 ปี 10 ปี ก็มีทุนอยู่แค่ 100 บาท ถ้าอย่างนั้นเราไม่ทำเลยดีกว่า เป็นอันว่าเราก็ตั้งใจว่าอย่างเลวที่สุด เราจะเป็นผู้เข้าถึงกระแสของพระนิพพาน คือ เป็นพระโสดาบันเป็นอันดับน้อยที่สุด เลวที่สุด อย่าลืมนะ เราต้องถือว่าการทำจิตให้เข้าถึงพระโสดาบันนี่เป็นความเลวที่สุด คือ ได้ดีน้อยที่สุดที่เราต้องการจะพึงถึง

แต่ทว่าการเข้าถึงพระโสดาบันนี่ถือว่าเข้าถึงกระแสพระนิพพานเป็นระยะการที่เราจะก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานโดยไม่ถอยหลัง คือ ไม่กลับถอยหลังกลับมา เพราะ พระนิพพานเบื้องต้นเราจะเกิดระหว่างเทวดากับมนุษย์ หรือ ระหว่างเทวดากับพรหม มาเกิดอย่างละ 7 ชาติ พอเป็นมนุษย์ชาติที่ 7 เราก็เป็นอรหันต์ ถ้าเป็น โกลังโกละ มีความเคร่งเครียด คือ ว่ารวบรัดอารมณ์จิต ดึงอารมณ์จิตไว้มั่นคงกว่า สัตตักขัตตุง อันนี้เราก็มีจังหวะเกิดมาเป็นมนุษย์กับเทวดาสลับกันอีก 3 ชาติ เราก็เป็นอรหันต์ ถ้ามีอารมณ์เคร่งครัด เรียกว่ามีอารมณ์จิตมั่นคงอย่างยิ่งในองค์พระโสดาบัน เราตายจากคนไปเป็นเทวดาหรือพรหม พ้นจากนั้นมาเป็นมนุษย์อีกหนึ่งชาติ เราก็เป็นพระอรหันต์ นี่เป็นอันว่าอาการของพระโสดาบันมี 3 อย่าง มี 3 ระดับ

ทีนี้ คนที่เป็นพระโสดาบันจริง ๆ เราเอาอะไรเป็นเครื่องกำหนด

อันดับแรก เราก็ต้องรู้องค์ของพระโสดาบัน ทีนี้พูดถึงสังโยชน์ยังไม่จบ อันดับแรกเรานึกถึงสังโยชน์ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อารมณ์ที่เกาะขันธ์ 5 คือ เกาะกาย คราวนี้เราไม่เกาะละ ปล่อยน้อย ๆ คิดว่าร่างกายนี้จะต้องตายแน่ เราควบคุมมันไม่ได้แน่นอน แม้แต่องค์สมเด็จพระชินวรเป็นพระพุทธเจ้าก็ยังไม่สามารถจะควบคุมร่างกายไม่ให้ตายได้ มันตายแน่ เราไม่ยอมเกาะมันเกินไป แต่มันยังเกาะอยู่นะพระโสดาบันเกาะกายเหมือนกันแต่ไม่หลงคิดว่ามันจะไม่ตาย คิดว่ามันจะตายไว้เสมอ

ทีนี้สังโยชน์ที่สอง ท่านบอกว่า วิจิกิจฉา เราใช้ปัญญาพิจารณาพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะในเรื่องของ ศีล ว่าเราพอจะเชื่อได้ไหมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า

สีเลนะ สุคติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้มีความสุข

สีเลนะ โภคะสัมปะทา ศีลเป็นปัจจัยให้ทรัพย์สินเยือกเย็น

สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ศีลเป็นปัจจัยให้เข้าถึงพระนิพพาน

ใช้ปัญญาพิจารณาศีล 5 ประการ ว่าเราต้องการให้บุคคลทั้งหลายมีศีลเพื่อเรา แล้วเราล่ะ เป็นผู้มีศีลเพื่อบุคคลอื่นไหม คำว่าเราต้องการให้คนอื่นมีศีลเพื่อเรา ก็ หมายความว่า เราไม่ต้องการให้ใครมาฆ่าเรา มาทำร้ายเรา มาลักทรัพย์สินของเรา แย่งคนรักของเรา มาโกหกมดเท็จ พูดเสียดสี พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้ประโยชน์ และเป็นคนไร้สติสัมปชัญญะ อันนี้เราไม่ต้องการ

ในเมื่อเราไม่ต้องการเราก็ใช้ปัญญาสิ อย่าทำเป็นควาย ๆ คิดว่าเราไม่ต้องการอย่างนี้ แล้วคนอื่นเขาต้องการอย่างนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสำคัญที่สุด ถ้าพูดคำหยาบ โกหกมดเท็จ เสียดสี ทำลายกำลังใจของบุคคลอื่น พูดเพ้อเจอเหลวไหล เป็นอาการเสียดแทงใจของบุคคลอื่น ทำลายความดีของบุคคลอื่นที่มีอารมณ์จิตยังไม่มั่นคงนัก อาการอย่างนี้เกิดขึ้น ใครเลว เราผู้พูดนั่นละเลวที่สุด เพราะอะไรจึงเลว เพราะไม่ควบคุมวาจาไว้ให้ดี

ทีนี้ทางกายล่ะ ถ้าหากว่าวาจามันไม่ดี กายไม่ดี ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตลักขโมยของเขา ยื้อแย่งความรัก ถ้าเราเลวอย่างนี้ คนอื่นเขาไม่ต้องการ เราไปทำเข้า ก็จัดว่าเราเลวเกินกว่าที่เขาจะคิดว่าเราเป็นคน นี่มันเลวเกินไป

สำหรับการไร้สติสัมปชัญญะเป็นของดีไหมการดื่มสุราเมรัยเป็นปัจจัยให้ไร้สติสัมปชัญญะ มันก็ไม่ดี คนไม่มีสติสัมปชัญญะนี่สัตว์เลี้ยงมีค่ามากกว่า เพราะยังไง ๆ มันก็เป็นสัตว์

รวมความว่า คนที่มีกายชั่ว มีวาจาชั่ว มีสติชั่ว อย่างนี้มีค่าไม่เท่าสัตว์เลี้ยง เพราะอะไร เพราะสัตว์เลี้ยงมันเป็นสัตว์ มันอยู่ในอบายภูมิ มันไม่มีอารมณ์พิเศษ มันยังต้องโทษอยู่ แต่เราเป็นคนรู้ดีรู้ชั่ว รู้ตัวว่าถ้าใครทำความดีความชอบ ใครพูดดีเราชอบ แต่ว่าเรากลับทำชั่วเพื่อเขา เราพูดชั่วเพื่อเขา อย่างนี้มีค่าไม่เท่าสัตว์เลี้ยง หรือจะกล่าวไปอีกทีก็มีค่าตัวไม่เท่ากับสัตว์ทั่วไปในโลกเลวกว่าสัตว์ เพราะอะไร เพราะว่าสัตว์ตายแล้วเกิดเป็นสัตว์ใหม่หรือมิฉะนั้นก็เกิดเป็นคน มิฉะนั้นก็เกิดเป็นเทวดา แต่คนที่มีกายชั่ว วาจาชั่ว มีอคติชั่ว ตายแล้วลงนรก ถ้าชั่วมากลงอเวจีมหานรก

นี่เราลองเทียบกันว่าคนประเภทนั้นกับสัตว์เดรัจฉานน่ะใครจะดีกว่ากัน เป็นอันว่าคนประเภทนั้นมีความดีไม่เท่าสัตว์เดรัจฉาน ใครต้องการบ้าง ถ้าต้องการก็อยู่ที่นี่ไม่ได้ เพราะที่นี่ไม่ต้องการคนที่เกิดเป็นคนแล้ว แต่ว่าทำตนเพื่อความเป็นสัตว์และเลวยิ่งกว่าสัตว์ เป็นอันว่า เราต้องประณามตัวแบบนี้ อัตตนา โจทยัตตานัง พระพุทธเจ้าทรงเตือน

และสำนักนี้พูดเสมอว่าจงเตือนตนรู้ตนอยู่เสมอ ระเบียบมี วินัยมี สำนักนี้ถ้าเลวแล้วละก็ไม่ควรจะไปอยู่ที่ไหนเลย ถ้าฟังภาษาคนไม่รู้เรื่องละก็จงอย่าไปอยู่ที่ไหนเลย ถ้าที่ดีไม่มีใครเขาคบ เขาฟังธรรมะกันวันละ 4 เวลา แต่ว่าถ้ายังเลวอยู่ แสดงว่าสัตว์เดรัจฉานดีกว่าเราเยอะ นี่เราต้องประณามตัวแบบนี้ เราอย่าไปนั่งมองคนอื่นเขา มองตัวเรา นี่เตือนกันทุกเย็น ใครมีความรู้สึกตัวบ้างไหมว่าเราเลว ถ้าเลวแล้วไม่เห็นว่าเลว ก็แสดงว่าเรารวมอยู่กับ พระเทวทัต ได้แน่นอน นี่เราต้องประนามตัวเราแบบนี้

คนดีน่ะเขาไม่ยกย่องตัวเอง คนดีเขาจะประณามตัวเอง เพราะว่า พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า อัตตนา โจทยัตตานัง จงพยายามประณามตนไว้เสมอ โจทก็กล่าวโทษ มองหาความผิดของตัวไว้เป็นปกติ อย่าไปหาความดี ในเมื่อมันหาความผิดไม่ได้ละมันก็ดีเอง ถ้าไม่มีชั่วละมันดี

สังโยชน์ที่เราจะพึงตัด

1. ไม่อาลัยในชีวิตมากเกินไป รู้ว่าเราจะต้องตาย

2. ไม่สงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า

3. รักษาศีลบริสุทธิ์

นี่เราจะเห็นว่าพระโสดาบันนี่มีเท่านี้

อันนี้เราก็หันไปอีกทีถึงองค์ เมื่อกี้เป็นสังโยชน์ บุคคลผู้เป็นพระโสดาบันมีอารมณ์อย่างนี้

1. เคารพในพระพุทธเจ้า

2. เคารพในพระธรรม

3. เคารพในพระสงฆ์ แล้วก็

4. มีศีลห้าบริสุทธิ์สำหรับฆราวาส สำหรับพระมีศีล 227 บริสุทธิ์ สำหรับเณรมีศีล 10 บริสุทธิ์ ถึงพระสกิทาคามีก็เหมือนกันมีเท่านี้

ตอนนี้สมมุติว่าคนที่เขาไม่เคยเจริญพระกรรมฐาน แต่ชอบสวดมนต์เป็นปกติ มีศีล 5 บริสุทธิ์ จะถามว่าคนประเภทนี้เป็นพระโสดาบันได้ไหม ก็ต้องตอบว่าได้ คนที่เขานั่งสวดมนต์เป็นปกติ เขาสวดด้วยความเคารพพระพุทธเจ้า เคารพพระธรรมในพระอริยสงฆ์ เพราะบทสวดมนต์ทุกบทมีค่าเท่ากัน คือ สรรเสริญความดีของพระพุทธเจ้า สรรเสริญความดีของพระธรรม สรรเสริญความดีของพระอริยสงฆ์ แล้วเขาก็มีศีลบริสุทธิ์ แต่ตอนนี้ต้องระวังนิดหนึ่ง ถ้าเรามีจิตเบาเพียงเท่านี้อาจจะยังไม่ได้พระโสดาบัน อาจจะเรียกว่า กัลยาณชน

ทีนี้ ถ้าบุคคลผู้นั้นเขามีกำลังใจเพิ่มไปอีกนิดหนึ่งว่า ที่เรายอมเคารพในพระพุทธเจ้า ยอมเคารพในพระธรรม ยอมเคารพในพระสงฆ์ มีศีล 5 บริสุทธิ์อย่างนี้ เรามีความประสงค์อย่างเดียว คือ พระนิพพาน ถ้าอารมณ์ใจเขาหยั่งถึงพระนิพพานอย่างนี้เป็นพระโสดาบันแน่ นี่อารมณ์พระโสดาบันมีเท่านี้ พระสกิทาคามีก็เหมือนกัน

แล้วก็อย่าลืมอีกนิดหนึ่งว่า ทำไมพระโสดาบันยังรักเขาอยู่ล่ะ ยังอยากแต่งงาน ยังอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลง นี่ก็ต้องย้ำลงไปอีกนิดว่า ดูองค์ของพระโสดาบันว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พระพุทธเจ้ากล่าวว่า อธิศีลสิกขา คือ มีศีลยิ่งเท่านั้นเอง พระโสดาบันกับสกิทาคามีความสำคัญอยู่ที่ศีล เขาอยากรวยเขาก็ไม่โกงใคร เขารักเขาก็อยู่ในขอบเขตของศีล เขาโกรธเขาไม่ฆ่าใคร เขาหลงรัก หลงสวย หลงงาม เขาก็ไม่ลืมความตาย นี่จะไว้ว่านี่เป็นองค์พระโสดาบัน แล้วการปฏิบัติเข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อารมณ์เบื้องต้น องค์สมเด็จพระทศพลกล่าวว่าเต็มไปด้วย อธิศีลสิกขา

สำหรับในการพูดในวันนี้ก็ขอยุติไว้เพราะหมดเวลา

ต่อจากนี้ไปขอท่านทั้งหลายตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา


:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

อารมณ์ของพระโสดาบัน
จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

โอกาสนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ได้พากันสมาทานพระรัตนตรัยแล้ว ต่อไปนี้ ขอให้รวบรวมกำลังใจให้อยู่ในเขตของกุศล คือ อันดับแรกตั้งใจฟังเสียง ขณะที่ได้ยินเสียงชัดรู้เรื่องทุกอย่างทุกถ้อยคำ อย่างนี้ชื่อว่า จิตเป็น สมาธิ เพราะคำว่าสมาธิแปลว่า ตั้งใจไว้เฉพาะเหตุใดเหตุหนึ่ง นี่เราตั้งใจฟังเสียง เมื่อฟังแล้วก็คิดตามเป็นตัว ปัญญา

วันนี้พูดต่อถึงทางสายเข้าสู่พระนิพพาน เมื่อวานนี้ได้กล่าวไว้แล้วตามพระพุทธพจน์ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า อธิศีลสิกขา เป็นกำลังของพระโสดาบันกับพระสกิทาคามี อธิจิตสิกขา เป็นกำลังของพระอนาคามี อธิปัญญาสิกขา เป็นกำลังของพระอรหัตผล นี่ถ้าเราเข้าใจรวบรัดในการปฏิบัติพระกรรมฐาน เราก็จะมีกำลังใจเข้าถึงมรรคผลได้โดยง่าย แต่ทั้งนี้ก็ต้องเว้นไว้แต่ว่าเว้นจาก ปลิโพธิ และ ติรัจฉานกถา

จงจำไว้ว่าอารมณ์ใดที่ประกอบไปด้วยความรัก ประกอบไปด้วยความโลภ ประกอบไปด้วยความโกรธ ประกอบไปด้วยความหลง อันนั้นพระพุทธเจ้ากล่าวว่าเป็น อารมณ์ของ ติรัจฉาน คำว่า ติรัจฉาน ก็หมายความว่า ไปขวาง เดรัจฉานนี่เขาแปลว่าไปขวาง ๆ คือ มันขวางจากทางดี มันไม่ตรงดี เพราะว่าอาการอย่างนั้นเป็นอาการของเดรัจฉาน ใจคิดเป็นใจเดรัจฉาน วาจากล่าวติรัจฉานกถาเป็นวาจาของเดรัจฉาน อาการทำเป็นอาการของเดรัจฉาน ใช้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าไม่มีความประสงค์

ฉะนั้นอาการของเดรัจฉานทั้งหมด อันพึงจะเกิดทางจิตก็ดี ทางวาจาก็ดี ทางใจก็ดี จงอย่ามีในสำนักของเรา จงระมัดระวัง กำลังใจเป็นสำคัญ อย่าเอาอารมณ์ของเดรัจฉานเข้ามาใช้ในจิตและจงอย่าไปเพ่งเล็งบุคคลอื่น จงอย่าสนใจกับอารมณ์ของคนอื่น จงอย่าสนใจกับจริยาของบุคคลอื่น ให้พยายามปรับปรุงใจตนเองเป็นสำคัญ และให้ทรงพรหมวิหาร 4 มีอิทธิบาท 4 ฟังแล้วก็ต้องจำ จำแล้วก็ต้องประพฤติปฏิบัติ จงจำไว้ ถ้าจำไม่ได้ก็จงรู้ตัวว่าเลวเกินไป คนเลวเขาไม่เรียกว่า คน เขาเรียกว่า สัตว์ในอบายภูมิ

ต่อไปนี้ให้ทุกคนควบคุมตัวเองเป็นสำคัญ อย่าเข้าไปยุ่งกับบุคคลอื่น ทุกคนที่เข้ามาในสำนักควรจะปฏิบัติอยู่ในความดี และ ควบคุมตัวเองเป็นสำคัญ อย่าทำจิตเสีย อย่าทำวาจาเสีย อย่าทำใจเสีย ถ้าอยากจะเสียไปเสียที่อื่น อย่ามาเสียที่นี่ เพราะอะไร

เพราะว่าเราสอนเพื่อความอยู่เป็นสุข เราปฏิบัติกันเพื่อความอยู่เป็นสุข ความเป็นสุขเกิดจากอะไร

หนึ่ง อธิศีลสิกขา มีศีลเป็นปกติ คนที่เขามีศีลน่ะ เขาไม่สร้างความยุ่งให้เกิดกับบุคคลอื่น เพราะว่าเขามองหาความเลวของตัวเป็นสำคัญ ถ้าจิตของเราดีละก็มันก็ไม่ยุ่ง กายก็ดี วาจาก็ดี ถ้าจิตของเราเลว วาจาก็เลว กายก็เลว ทุกคนจงสำนึกตัวไว้ อย่าให้มีอะไรเกิดขึ้น เป็นการผิดระเบียบตามพระพุทธศาสนาและตามระเบียบวินัยแล้วเราก้ควบคุมศีล

ศีลของเรามีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ ทำไว้ให้มันครบ ธรรมะมีเท่าไรที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสอน มีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ อารมณ์สมถะมี 40 ปฏิบัติให้มันครบองค์ วิปัสสนาญาณมีเท่าไรปฏิบัติให้ครบ ถ้าพยายามคิดประพฤติปฏิบัติอยู่อย่างนี้ มันก็ไม่มีเวลาที่จะไปยุ่งกับบุคคลอื่น ถ้าเราดีเสียแล้วก็ไม่สร้างความยุ่งยากความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่น

อาการที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่บุคคลอื่นก็ชื่อว่าไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเอง คนอื่นเขามีอารมณ์เป็นสุขเราก็มีอารมณ์เป็นสุข ถ้าเราทำคนอื่นเขาให้มีความเร่าร้อน เราก็ได้รับอารมณ์เร่าร้อนเช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้ากล่าวว่า "ปูชโก ละภะเต ปูชัง วันทโก ปฏิวันทะนัง" ผู้บูชาย่อมได้รับการบูชาตอบ ผู้ไหว้ย่อมได้ไหว้ตอบ ถ้าเรามีพรหมวิหาร 4 เสียอย่างเดียว มันจะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้นความเร่าร้อนมันก็ไม่เกิดขึ้น

ขอทุกท่านพยายามควบคุมกำลังใจ ประพฤติปฏิบัติให้ถูกแบบ เพราะสถานที่นี้เป็นพุทธเขต คือ เป็นเขตของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าย่อมไม่เลี้ยงคนชั่ว พระพุทธเจ้าทรงยกย่องแต่คนดี นิคคหะ ปัคคหะ เป็นจริยาของพระพุทธเจ้า ใครดีก็ยกย่องสรรเสริญ ความดีเป็นส่วนของความดี ใครผิดพระพุทธเจ้าลงโทษ อย่าเอาความดีเข้ามาบวก ถือว่าทำความดีแล้วทำความชั่วไม่มีโทษอันนี้ไม่ได้ มันคนละเรื่อง นี่เป็นการควบคุมกำลังใจของเราให้เข้าถึงพระโสดาปัตติผล

อารมณ์แห่งพระโสดาปัตติผลนี่ความจริงมันเป็นหญ้าปากคอกแล้วพูดกันง่าย ๆ ก็เป็นของเด็กเล่นสำหรับผู้ใหญ่ เราบวชกันเข้ามาแล้ว เวลานานพอสมควรทำไมไม่รักษาอารมณ์นี้ให้ได้ นี่พูดสำหรับคนชั่ว สำหรับที่ท่านมีอารมณ์ดีก็มีมาก ที่รู้ว่าอารมณ์ชั่วก็เพราะว่า ปากชั่ว จริยาเกิดทางกายชั่ว มันมาจากใจชั่ว ให้รู้ตัวความชั่วของตัวไว้ ทีนี้เราจะปราบความชั่วของเราได้ยังไง ก็ทรงพรหมวิหาร 4 ไว้เป็นสำคัญ ถ้ามีพรหมวิหาร 4 แล้วหาชั่วไม่ได้ศีลก็บริสุทธิ์

พระโสดาบัน ท่านบอกว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ คำที่จะเคารพจริง ๆ หรือการที่จะเคารพจริง ๆ ก็คือ คุมศีลให้บริสุทธิ์ ไม่ทำกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตให้เกิดขึ้น ทรงกายสุจริต ทรงวจีสุจริต ทรงมโนสุจริต นี่เป็นจริยาของฆราวาส หรือของพระ สำหรับพระเณร มีศีลห้ามากอยู่แล้วก็ไม่ควรจะเลว ถ้าเลวละก็ไปเปรียบเทียบกับสัตว์เดรัจฉาน สู้สัตว์เดรัจฉานไม่ได้ ตามที่พูดแล้วเมื่อคืนนี้

เมื่อคืนเราอธิบายกันมาแล้วว่า อาการพระโสดาบันก็มีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และมีศีลห้าบริสุทธิ์ เพราะมีอธิศีลสิกขาเป็นสำคัญ เป็นปัจจัยของพระโสดาบันกับสกิทาคา ในเมื่อพูดกันตอนนั้น และก็ปรารภกันบอกว่าการปฏิบัติอย่างนี้ไม่ต้องสนใจเรื่องจริต จริตมันจะเป็นยังไงก็ช่าง เราสนใจอยู่อย่างเดียวว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์ มีศีลบริสุทธิ์ มีนิพพานเป็นอารมณ์ แล้วก็มีมรณานุสสติกรรมฐานเป็นอารมณ์ นึกถึงความตายไว้เป็นปกติ ว่าตายแล้วเราจะไม่ยอมไปในที่ชั่ว

ทีนี้ถ้าเราจะตายให้มันดี มันก็ต้องมีกายดี วาจาดี มีใจดี ถ้าหากว่าเรามีกายชั่ว วาจาชั่ว ตายแล้วมันก็ชั่ว คือ พระโสดาบัน คุมกำลังใจให้ทรงอยู่อยู่ในความดีเท่านั้น ยังไม่สามารถจะตัดความโลภได้ ยังไม่สามารถจะตัดความรักได้ ยังไม่สามารถจะตัดความหลงได้ แต่สิ่งทั้ง 4 ประการนี้ยับยั้งอยู่ในขอบเขตของศีล มีวงแคบเข้ามา

เมื่อคืนนี้เราพูดกันถึงอาการที่จะทรงพระโสดาบัน ถ้าใครเขาจะถามหรือไม่ถาม เราก็สร้างความเข้าใจของเราเอง เพราะคำว่า พระโสดาบันนี่ไม่ต้องการสมาธิหรือยังไง ทำไมจึงไม่พูดถึงสมาธิกันบ้าง เป็นอันว่าโสดาบันไม่ต้องหาสมาธิจิต หรือคนอื่นเขาถามหรือท่านจะถามก็ตามใจ หรือเขาไม่ถามก็ได้ ก็เตรียมแก้ความเข้าใจตัวเองเช้าไว้ ก็จงตอบเขา บอกว่า

คนที่นึกถึงพระพุทธเจ้า คุณความดีของพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ไม่ขาดในอารมณ์ของจิต อันนี้เป็นการเจริญพระกรรมฐานเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน

ปรารภคุณความดีของพระธรรม ปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นปกติ ไม่ลืมความดีในพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้แล้ว อันนี้เป็น ธัมมานุสสติกรรมฐาน

เรานึกถึงคุณความดีของพระอริยสงฆ์ที่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าทรงสั่งสอน จนได้บรรลุมรรคผลเราก็แสวงหาความดีตามนั้นตามท่าน ปฏิบัติตามท่านนึกถึงท่านเข้าไว้ อย่างนี้เป็น สังฆานุสสติกรรมฐาน

เรานึกถึงศีลที่องค์สมเด็จพระพิชิตมารทรงมอบให้ แนะนำสั่งสอนเรา ระมัดระวังศีลทุกข้อทุกสิกขาบทให้ปรากฏอยู่ครบถ้วนอยู่ด้วยดี อย่างนี้เป็น สีลานุสสติกรรมฐาน

เรามีความรู้สึกอยู่เสมอว่าเราจะต้องตายแน่ จะตายเช้า ตายสาย ตายบ่าย ตายเที่ยง ตายด้วยอาการปกติ หรือด้วยอุบัติเหตุก็ตาม ก็ขึ้นชื่อว่าจะต้องตาย เราไม่ประมาทในชีวิตก่อนที่เราจะตาย จะกอบโกยความดีใส่กำลังใจไว้ให้มันครบ พระพุทธเจ้าทรงสอนแบบไหน ปฏิบัติให้จบ ให้ครบทุกประการ ให้บริบูรณ์ทั้งหมด ในฐานะที่เป็นสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคต อย่างนี้เป็น มรณานุสสติกรรมฐาน

เป็นอันว่าด้านสมาธิจิตของพระโสดาบันนับไปให้ดีว่ามีอะไรบ้าง

1. พุทธานุสติ 2. ธัมมานุสติ

3. สังฆานุสติ 4. สีลานุสติ

5. อุปสมานุสติ 6. มรณานุสติ

ทีนี้การเจริญพระกรรมฐานพร้อม ๆ กันเขาทำกันยังไง การที่จะเป็นพระโสดาบันมีกฎบังคับว่า อารมณ์จิตต่ำกว่าปฐมฌานจะเป็นพระโสดาบันไม่ได้ หรือว่าจะเป็นพระอริยเจ้าไม่ได้ อย่างเลวที่สุดจิตต้องทรงอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ และอย่างดีที่สุดจิตก็จะทรงอยู่ในฌาน 4 เป็นปกติ แต่ฌาน 4 นี่ปกติไม่ได้ ปกตินี่หมายความว่า ถึงเวลาที่เราจะใช้ ในยามปกติธรรมดาเราพูด เราคุย เราทำงาน จิตต้องอยู่ในปฐมฌานเป็นปกติ แล้วอารมณ์ปฐมฌานเป็นอย่างไร

อารมณ์ปฐมฌานก็คือว่า เมื่อกิจการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นกับเรา อารมณ์นี้จะคุมอยู่ในอนุสติทั้งหกตลอดเวลา เราจะไม่ลืมพระพุทธเจ้า เราจะไม่ลืมพระธรรม เราจะไม่ลืมพระสงฆ์ เราจะลืมศีล เราจะไม่ลืมพระนิพพาน เราจะไม่ลืมนึกถึงความตาย

นี่ถ้าทุกคนทำได้อารมณ์อย่างนี้ มันจะมีบ้างไหมที่จะสร้างเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น จะไปยุ่งกับจริยาของบุคคลอื่น จะไปยุ่งกับอาการของบุคคลอื่น จะไปติโน่นติงนี่ ว่าคนนั้น ด่าคนนี้ เสียดสีคนโน้นเสียดสีคนนี้ มันจะมีไหม แล้วมีการทนงตน มันจะมีไหม ไม่มี สำหรับคนดีประเภทนี้

ความจริงพระโสดาบันไม่มีอารมณ์สูงพิเศษอะไรเลย ถ้าเราเป็นชาวบ้านก็เป็นชาวบ้านชั้นดีเท่านั้น ถ้าเป็นพระก็เป็นพระชั้นเลว ไม่ใช่พระชั้นดี พระโสดาบันนี่เป็นพระเริ่มต้น เป็นพระเด็ก ๆ ถ้าเป็นพระก็เรียกว่าพระชั้นเลว ถ้าเป็นฆราวาสก็เป็นฆราวาสชั้นดี แต่ถ้าอารมณ์ของเราทรามลงกว่าพระโสดาบันล่ะ ถ้าเป็นพระ ก็เลยเป็นพระเดรัจฉานไป ถ้าฆราวาสก็จัดว่าเป็นปุถุชนคนหนาแน่นไปด้วยกิเลส เป็นพาลชน คนโง่ โง่เพราะอะไร โง่เพราะไม่คุมความดี ไม่หาความสุขให้เกิดแก่ตน ทั้งนี้ก็เพราะว่า คนที่เข้าถึงพระโสดาบันน่ะมีอารมณ์เป็นสุขปกติ ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คำว่าไม่ถือมงคลตื่นข่าว ก็คือเขาเฮที่ไหนไปที่นั่น เขาลือที่โน่นดีไปที่โน่น เขาลือที่นี่ดีมาที่นี่ ผลที่สุดหาดีอะไรไม่ได้ จับไม่ถูก มีอารมณ์ไม่แน่นอน มีสติไม่ตรง อย่างนี้ไม่ใช่พระโสดาบัน

สำหรับพระโสดาบันน่ะอยู่ที่ไหนก็อยู่ที่นั่น ที่ไหนไม่สำคัญ คำสอนของอาจารย์องค์ไหน พระองค์ไหน องค์ไหน ๆ ก็ไม่สำคัญ ถ้าตรงต่อคำสอนขององค์สมเด็จพระบรมสุคต พระโสดาบันยอมรับ ย่อมไม่ถือว่าอาจารย์เป็นสำคัญ ถือพระพุทธเจ้าเป็นสำคัญ ไม่ใช่ไปนั่งถือตัวบุคคลว่า พระองค์นั้นสอนดี อาจารย์องค์นี้สอนไม่ดี เขาไม่ถืออาจารย์เป็นสำคัญ เพราะท่านถือว่าเป็น ศากยบุตรพุทธชิโนรส

ฉะนั้น ท่านที่ถึงพระโสดาบันแล้วจึงยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นพระพุทธบิดา

อย่าง พระนางสามาวดี เมื่อพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอทรงขอขมา เพราะการหลงผิด ลงโทษพระนางสามาวดีโดยไม่มีโทษ แต่โทษไม่เกิด เพราะลูกศรไม่ทำอันตรายพระนาง พระเจ้าอุเทนก้มลงจะกราบขอขมา พระนางบอกว่าขอขมาหม่อมฉันไม่ได้ ต้องไปขอขมาต่อบิดาของหม่อมฉัน นี่การผิดในพระอริยเจ้า ต้องขอขมาตรงต่อพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า ขอขมาต่อบิดาเพราะถือพระพุทธเจ้าเป็นพ่อ

ฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย การปฏิบัติพระกรรมฐาน จงอย่านำความเลวเข้ามาไว้ในจิต ขอได้โปรดทราบว่าสำนักของเราตั้งมานานพอสมควร องค์เก่าอยู่นานพอสมควร ถ้ายังมีอารมณ์เลวอยู่ เราก็จะคัดออกไป จะไม่เห็นหน้ากับบุคคลผู้ใด ทำความดีเพียงใด นั่นเป็นเรื่องของความดี แต่ความชั่วต้องเป็นเรื่องของความชั่ว อย่าเอาความดีเข้ามากู้ความชั่ว อันนี้อภัยให้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าก็ปฏิบัติอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ขอท่านทั้งหลาย ถ้าปรารถนาจะทรงความเป็นพระโสดาบันไว้ แต่ความจริงพระโสดาบันนี่ใครปฏิบัติเต็ม 3 เดือน ไม่ได้พระโสดาบันนี่รู้สึกว่าจะเลวเกินไป เพราะมันเป็นของไม่ยาก จะเลวเกินกว่าที่คิดว่ามีความดีอยู่บ้าง เพราะว่าอะไร เพราะว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า เคารพในพระธรรม เคารพในพระสงฆ์ นึกถึงความดีของท่านเป็นปกติ อันนี้มันน่าจะมีกับพวกเราอยู่แล้วเป็นธรรมดา และการมีศีลบริสุทธิ์มันก็ควรจะมีอยู่แล้ว นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ มันก็ควรจะมีได้เป็นของไม่ยาก นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ มันก็ควรจะมีอยู่แล้ว และการตัดกิเลสก็ไม่มีความสำคัญตรงไหน ยังมีความรักในเพศ ยังมีความอยากรวย ยังมีความโกรธ ยังมีความหลงแต่ไม่ละเมิดศีล รักแต่ไม่รักนอกขอบเขตของศีล อยากรวยก็รวยด้วยความบริสุทธิ์ คือ ไม่คดโกงใคร ทำมาหากินตามปกติ โกรธแต่เราไม่ประหัตประหารบุคคลอื่น หลง ยังรักสวยรักงาม แต่ไม่ลืมความตาย นี่เป็นของง่าย ๆ หญ้าปากคอก เป็นของที่ไม่เกินวิสัย พอจะทำได้ หวังว่าต่อไปนี้ท่านทั้งหลายคงจะไม่มีใครเลว มีแต่ความดีและก็ทรงความดีทั้งหลายอย่างนี้ไว้ ถ้าเป็นพระทรงความดีแค่นี้ผมถือว่าเลวเกินไปในฐานะที่ครองผ้ากาสาวพัสตร์ สำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัทที่เป็นฆราวาสก็ขอยกย่องว่า ถ้าทรงไว้ได้จัดว่าเป็นความดี

และต่อจากนี้ไปขอท่านทั้งหลายโปรดตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะได้ยินเสียงสัญญาณบอกหมดเวลา



:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

อารมณ์ของพระโสดาบันและพระสกิทาคามี
จาก หนังสือ ทางสายเข้าสู่พระนิพพาน

การทรงจิตในด้านหิริและโอตตัปปะ

ต่อไปนี้ก็ขอให้ตั้งใจศึกษาข้อวัตรปฏิบัติ ในตอนก่อนได้พูดถึงจริยาของการปฏิบัติให้เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน แต่ในตอนนั้นรู้สึกว่าจะเป็นพระโสดาบันขั้นสัตตักขัตตุงมากกว่า ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะว่าเราใช้การพิจารณา

อันดับแรก พิจารณาถึงความตายเป็นอารมณ์ การนึกถึงความตายนี่บรรดาท่านพุทธบริษัท ต้องถือว่าเป็นจุดสำคัญที่เราจะต้องคิดเป็นปกติ ถ้าลงได้คิดถึงความตายแล้วคนมันก็เลวได้ยาก ที่เลว ๆ นั่นน่ะ โดยมากไม่ได้นึกถึงความตาย จึงได้ทำความชั่วกันทุกอย่าง

ขาด หิริ และ โอตตัปปะ

หิริ ได้แก่ ความละอายแก่ความชั่ว

โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลของความชั่ว จะทำความเร่าร้อนให้เกิด

ที่เลวกันมาได้ก็เพราะอาศัยคุณธรรมทั้งสองประการนี้ไม่มีในจิต คนเราถ้าขาดหิริและโอตตัปปะ ก็เป็นอันว่าไม่ใช่มนุษย์เพราะว่า มนุษย์ แปลว่า มีใจสูง ยิ่งเป็นพระภิกษุสามเณรด้วยแล้วก็เลวมากเต็มที

ฉะนั้นคำสอนแต่ละคราว ทั้งตอนเย็น ตอนเช้า ตอนกลางคืน ตอนดึกก็ตาม มันจะเตือนกันอยู่เสมอว่า ให้นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ จะได้ประกอบความดี องค์สมเด็จพระชินสีห์เองก็ได้ทรงตรัสแก้พระอานนท์ว่า

"อานันทะ ดูด่อนอานนท์ เราเองนึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก"

นี่คนดีอย่างพระพุทธเจ้าเป็นจอมอัจฉริยะ หรือว่าเป็นจอมของสมณะทั้งหมด พระองค์ก็ยังกำหนดจิตจับความตายเป็นอารมณ์ ไม่มีความประมาทในชีวิต เพราะอะไร

ก็เพราะว่า คนถ้านึกถึงความตาย ก็ต้องมีความรู้สึกว่า ถ้าเราจะอยู่ ก็อยู่อย่างคนดี ถ้าตายเป็นผีเราก็จะเป็นผีดี ถ้าไม่นึกถึงความตาย มันก็ขาดหิริโอตตัปปะ ถ้าอยู่อย่างคนก็เป็นคนเลว ถ้าตายเป็นผีมันก็เป็นผีเลว คือ เป็นผีในนรก เป็นผีประเภทเปรต เป็นผีประเภทอสุรกาย เป็นผีประเภทสัตว์เดรัจฉาน นี่ผลร้ายสำหรับคนที่ไม่นึกถึงความตายและขาดหิริโอตตัปปะ ฉะนั้นขอท่านทั้งหลายเมื่อสร้างความดี ก็ทรงจิตไว้ในด้านหิริและโอตตัปปะ ควบกับความรู้สึกตัวว่าเราจะต้องตาย

ความจริง ความตายนี่มี 2 อย่าง ตายประเภทสิ้นลมปราณ นั่นอย่างหนึ่ง ตายประเภทที่มีลมปราณ นั่นอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น พระนางสามาวดีกับหญิง 500 ถูกนางมาคันธิยาอิจฉาริษยา ในที่สุดถึงกับจ้างให้น้าชาย หรืออา เข้าไปเผาปราสาทนางกับหญิง 500 ให้ตายพร้อมกัน แต่หญิงทั้ง 500 นั้นมีความไม่ประมาทในชีวิต เพราะอารมณ์จิตเป็นพระโสดาบันอยู่แล้ว จึงได้แนะนำกันว่าพวกเราทั้งหลายจงอย่าโกรธในพระนางมาคันธิยา จงอย่าโกรธในมาคันธิยาพราหมณ์ผู้เผาปราสาท จงมีจิตคิดให้อภัยแก่คนทั้งสอง เร่งรัดรวบรวมกำลังใจสร้างความดีให้สูงยิ่งขึ้นไป ในขณะที่ไฟใกล้เข้ามาจวนจะเผาเข้ามาถึงกาย ก็ปรากฏว่าบางคนได้เป็นพระสกิทาคามี บางคนบรรลุอนาคามี

ทั้งนี้เพราะอะไร เพราะรู้ว่าความตายจะเข้ามาถึงในเดี๋ยวนี้ ท่านทั้งหมดทั้ง 500 คนไม่มีความประมาทในชีวิต รวบรวมกำลังจิตปลงขันธ์ 5 ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ในที่สุดมันจะต้องตายแล้ว ตายดีตายชั่วมันก็ตาย

การตายแบบนี้องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบ เพราะพระสงฆ์ไปรายงานให้ฟังว่า หญิง 500 มีพระนางสามาวดีเป็นประธานต้องถูกไฟเผาตาย องค์สมเด็จพระจอมไตรก็ทรงตรัสว่า

ภิกขเว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หญิง 500 ที่ถึงว่าจะตายแล้วก็เหมือนกับคนที่ไม่ตาย"

เพราะอะไร เพราะว่าเมื่อมีชีวิตอยู่เขาก็สร้างแต่ความดี เมื่อตายไปแล้วก็ไปเป็นผีดี คือ เป็นพระอริยะเจ้าเบื้องสูง เป็นพระสกิทาคามีบ้าง เป็นพระอนาคามีบ้าง

เป็นอันว่าท่านที่เป็นสกิทาคามีเรื่องอบายภูมิไม่ต้องพูดกัน ถ้ากลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกชาติเดียวก็ไปนิพพาน ท่านที่เป็นอนาคามีตายไปเป็นเทวดาแล้วนิพพานบนนั้น องค์สมเด็จพระภควันต์กล่าวว่าเขาผู้นั้นยังไม่ตาย คือ ไม่ตายจากความดี มีความดีก้าวขึ้นสูงกว่าเมื่อมีชีวิตอยู่ปกติ

สำหรับพระนางมาคันธิยา ก็ถูกพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์สั่งประหารชีวิตพร้อมด้วยพวกและญาติ ในฐานะที่เป็นจอมอิจฉาริษยาคนอื่น คือ อิจฉาริษยาพระนางสามาวดีพร้อมด้วยหญิง 500 ที่เป็นบริวาร จนกระทั่งถึงความตาย ในที่สุดพระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์ พระบาทท้าวเธอก็สั่งให้จับพระนางมาคันธิยากับบรรดาญาติทั้งหลาย โดยเฉพาะญาติทั้งหลายเหล่านั้นให้หลุมฝังลงไปครึ่งตัวแล้วให้เอาฟางสุมให้เลยหัว สั่งเอาไฟจุดแล้วก็ใช้ช้างเทียมไถเหล็กเดินไถพวกนั้นขาดกลางตัว

สำหรับนางมาคันธิยา จอมอิจฉาริษยาเป็นหัวหน้าคนในด้านทำลายความดีของบุคคลอื่น พระเจ้าอุเทนบรมกษัตริย์พระบาทท้าวเธอให้จับผูกมือสองมือ แขวนเท้าหวิด ๆ กับพื้นให้เอาผ้าม้วน ๆ ยัดใส่ปาก แล้วเชือดเนื้อทีละชิ้น เอามาทอดน้ำมัน ทอดสุกก็บังคับให้นางมาคันธิยากินจนกว่าจะตาย

การตายแบบนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์กล่าวว่า นางมาคันธิยาในสมัยที่ยังไม่ตายก็เหมือนกับบุคคลที่ตายแล้ว คือ มีแต่ความชั่วไม่มีความดี ตายจากความเป็นสุข มีแต่ความเร่าร้อน

นี่การที่จะบำเพ็ญตนให้เป็นพระโสดาบัน เราก็ต้องนึกถึงความตายเป็นปกติ ถ้าพวกเราเป็นพระโสดาบันไม่ได้ ก็รู้สึกว่าเป็นที่น่าเสียดาย อยู่ในสถานที่เช่นนี้ รับฟังธรรมะกันทุกวัน วันละหลายเวลา ยังจะคบกับความชั่ว คือ ขาดหิริและโอตตัปปะ เข้ามาเป็นประจำ ตามที่เคยปฏิบัติกันมาในกาลก่อน ก็รู้สึกว่าจะเลวเกินไปสำหรับการเกิดเป็นคน ไม่สมควรจะเอาภาคของมนุษย์เข้ามาสวมกาย เอาใจเข้ามาสิงในภาคของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นพระภิกษุสามเณรก็จะเลวมากที่สุด เพราะว่าภิกษุสามเณรจะต้องมี อธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา

ฉะนั้น จงพยายามรวบรวมกำลังใจให้ทรงไว้เฉพาะความดี อย่าปล่อยให้ความเลวมันหลั่งไหลเข้ามาสู่ใจอีก เพราะความเลวไม่ให้ผลความสุขแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติ มีอย่างเดียวคือ ความทุกข์ ความเร่าร้อน เช่นเดียวกับนางมาคันธิยา จงอย่านึกว่าจะมีใครเขาปรานีในฐานะที่เราเป็นคนเลว มันหาไม่ได้ โลกนี้ทั้งโลกไม่มีใครเขาเมตตาปรานีคนเลว

ทีนี้การลงโทษ เราก็จงอย่าคิดว่าคนอื่นจะต้องมาลงโทษเรา ก่อนที่คนอื่นจะลงโทษ กรรมที่เราทำความชั่วมันก็ทำความเร่าร้อนให้เกิดขึ้นแก่เรา ใครเขาพูดความชั่วคราวใดเราก็สะดุ้งเพราะเรามันเลว พระพุทธเจ้าตรัสว่า "อัตตนา โจทยัตตานัง" จงเตือนตนไว้เสมอ และจงโจทก์ตน กล่าวโทษตนไว้เป็นปกติ หาความชั่วของตัว อย่าไปหาความชั่วของบุคคลอื่น ถ้าเลวมากเท่าไหร่ เราก็เพ่งเล็งความเลวของบุคคลอื่นมากเท่านั้น ถ้าเราดีมากเท่าไหร่เราก็ไม่มองเห็นความเลวของบุคคลอื่น เพราะยอมรับนับถือกฎของกรรม ที่เรายังไปแส่หาความเลวของบุคคลอื่น เสียดสีเขาบ้าง พูดจากระทบกระเทียบเขาบ้าง ทำลายความสุขใจเขาบ้าง นั่นแสดงว่า เรามันเลวที่สุดของความเลว คือ ความเลว มันไม่ได้ขังอยู่เฉพาะในใจ มันไหลออกมาทางกาย ไหลออกมาทางวาจา เพราะมันล้น นี่ขอทุกท่านจงจำไว้ อย่าไปมองดูความเลวของคนอื่น มองดูความเลวของตน ไม่ต้องไปปรับปรุงบุคคลอื่นเขา ปรับปรุงเราเองให้มันดีที่สุด

ทีนี้ จิตที่มันจะดีมันดีตรงไหน ก็ดีตรงว่านึกถึงความตาย มีหิริและโอตตัปปะ อายความชั่ว เกรงกลัวความชั่ว ความชั่วมันมีอะไรบ้าง เราก็รู้กันอยู่แล้ว เราต้องเป็นผู้มีศีล ถ้าทำลายความสุขของบุคคลอื่นจะชื่อว่าเราเป็นผู้มีศีลได้ยังไง ทำลายความดีของบุคคลอื่น เราจะเป็นผู้มีศีลได้ยังไง

จิตของเรานอกจากจะทำอธิศีลสิกขาแล้ว ก็ต้องเป็นอธิจิตสิกขา อธิจิตสิกขา คือ ทรงจิตให้อยู่ในความดีตลอดเวลา มีพรหมวิหาร 4 เป็นเครื่องประจำใจ ถ้าเราอายความชั่ว เกรงกลัวผลของความชั่ว ก็ต้องใช้พรหมวิหาร 4 เข้ามาประคับประคองอารมณ์ของจิตเมื่อพรหมวิหาร 4 คือ

เมตตา ในคนทั้งหลายและสัตว์ทั้งหมด

กรุณา มีความสงสารปรารถนาเกื้อกูลจะให้มีความสุข

มุทิตา มีจิตใจอ่อนโยน ไม่อิจฉาริษยาบุคคลอื่น เมื่อเห็นบุคคลอื่นได้ดีก็พลอยยินดีด้วย

อุเบกขา วางเฉยในเมื่อกฎของกรรมหรือกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งมันเกิดขึ้น มันสุดวิสัยที่จะพึงระงับได้ เราก็วางเฉยไม่ดิ้นรน คือ ไม่ซ้ำเติมเมื่อบุคคลอื่นได้รับความทุกข์

นี่ถ้าอาการทั้ง 4 อย่างนี้มีอยู่ในใจของเรา ความชั่วมันจะเกิดขึ้นไม่ได้ ที่เราต้องชั่วกันเพราะว่าขาดหิริและโอตตัปปะ ขาดนึกถึงความตาย ขาดพรหมวิหาร 4 ถ้าขาดสิ่งทั้ง 3 ประการนี้ ศีลเรามันก็ไม่มี จะทรงเพศเป็นพระ จะทรงเพศเป็นเณร จะทรงเพศเป็นอุบาสกอุบาสิกา ก็สักแต่ว่าพึงมีเพียงเพศเท่านั้น อย่างนี้พระพุทธเจ้าถือว่าเถน เถนแปลว่าหัวขโมย คือขโมยเพศของสมณะมาใช้ แต่น้ำใจจริง ๆ นั้นเลวยิ่งกว่าสัตว์เดรัจฉาน เพราะสัตว์เขาถือว่าเป็นสัตว์อยู่แล้วมันจะรบกวนกันเขาก็เป็นสัตว์อยู่ในอบายภูมิ แต่คนเรามีน้ำใจคล้ายสัตว์ไม่ยอมรับนับถือความดีซึ่งกันและกัน มันก็เลวกว่าสัตว์ นี่ต้องประณามตนอย่างนี้ การประณามตนต้องประณามให้หนัก อย่าประณามเบา อย่ามองในด้านของความดี

ถ้าจิตของเราทรงอยู่ในพรหมวิหาร 4 แล้วมีอะไรบ้างที่มันจะเกิดขึ้น นั่นก็คือ ศีลบริสุทธิ์ ไม่ต้องระมัดระวังศีล ความเป็นผู้มีเหตุมีผล มีความเคารพในองค์สมเด็จพระทศพลก็มีพร้อมบริบูรณ์ เพราะอะไร เพราะคนที่ทรงศีลบริสุทธิ์ ก็แสดงว่ามีความเคารพในพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระธรรม มีความเคารพในพระสงฆ์ เพราะว่า พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ทรงแนะนำให้จิตอยู่ในขอบเขตนี้ เรามีความเคารพในองค์สมเด็จพระชินสีห์เป็นต้น เราจึงมีศีลบริสุทธิ์ เราจึงรู้จักอายความชั่วเกรงกลัวความชั่ว จึงได้มีการประกอบความดี คือ จิตทรงพรหมวิหาร 4 มีหิริโอตตัปปะ นึกถึงความตายเป็นอารมณ์ อยู่ที่ไหนก็มีแต่ความเยือกเย็น มีแต่ความเป็นสุข เราก็เป็นสุข บุคคลอื่นก็เป็นสุข เพราะกายไม่เสีย ปากไม่เสีย ทั้งนี้เพราะว่าใจไม่ไม่เสีย ถ้ากายเสีย ปากเสีย ก็แสดงว่าใจมันเสีย ๆ มากจนล้นมาถึงกาย ถึงวาจา นี่เป็นอันว่าถ้าทรงคุณธรรมอย่างนี้ได้ ความเป็นพระโสดาบันก็ย่อมปรากฏ

ทีนี้สำหรับวันนี้ขอดูเวลาก่อน พอจะมีเวลาพูดไหม ขอพูดต่อไปว่า เราพูดกันมาถึงด้านพระโสดาบันว่า ประกอบไปด้วยองค์ 4 ประการ คือ

1. มีความเคารพในพระพุทธเจ้า

2. มีความเคารพในพระธรรม

3. มีความเคารพในพระสงฆ์

4. มีศีลบริสุทธิ์

นี่เป็นองค์ของพระโสดาบัน แต่องค์ทั้งหลายอย่างนี้จะเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะอาศัยมรณานุสสติกรรมฐานเป็นเบื้องต้นที่เราคิดว่าเราจะต้องตาย จงอย่าคิดว่าอีกสองวันตาย สามวันตาย จงคิดไว้เสมอว่าเราอาจจะต้องตายเดี๋ยวนี้ และตายก็จงตายดี ตายอย่างพระนางสามาวดีพร้อมด้วยหญิง 500 อย่าเป็นมีลมปราณแต่ว่ายืนตายจากความดีอย่างเหล่าของนางมาคันธิยา

ทีนี้สำหรับอนุสติที่จะพึงปฏิบัติในความเป็นพระโสดาบันก็คือ

1. มรณานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความตายเป็นอารมณ์

2. พุทธานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์

3. ธัมมานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระธรรมเป็นอารมณ์

4. สังฆานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของพระสงฆ์เป็นอารมณ์

5. สีลานุสสติกรรมฐาน นึกถึงความดีของศีลเป็นอารมณ์

6. พรหมวิหาร 4 อย่างนี้ไม่เรียกว่าอนุสติ ใคร่ครวญในพรหมวิหาร 4 จัดเป็นกรรมฐานกองหนึ่งเป็นอารมณ์

7. อุปสมานุสสติ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์

ทั้งหมดนี้ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนา ให้ใช้จิตควบคุมอยู่ตลอดทั้งเวลาลืมตาและหลับตา นี่นักปฏิบัติที่ดีเขาใช้แบบนี้ ไม่ใช่ว่าเวลาหลับตาทำท่าจะเป็นคนดีแต่พอลืมตาขึ้นมาแล้วความอัปรีย์มันก็เกิดแก่จิต อิจฉาริษยาบุคคลอื่น กลั่นแกล้งบุคคลอื่น คิดประทุษร้ายบุคคลอื่น อย่างนี้มันใช้อะไรไม่ได้ ตายแล้วไปสู่อบายภูมิ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย กลับมาเป็นคนมันยังเป็นไม่ได้ เข้าใจจิตตามนี้

ทีนี้พูดกันไปแล้วในด้านของพระโสดาบัน ขอต่อไปอีกนิดถึงอารมณ์ของ พระสกิทาคามี สำหรับพระสกิทาคามีน่ะ ทำให้จิตละเอียดลงไปกว่านั้น คือ ระงับโลภะ ความโลภ ระงับโทสะ ความโกรธ ระงับโมหะ ความหลง ให้เบาบางลง ยังไม่หมด คือ ความโลภยังมีอยู่ แต่ว่าเพลาลงไป ความโกรธยังมีอยู่ ยับยั้งไว้ได้เร็ว ความหลงยังมีอยู่ มีอาการเพลาตัว เป็นอันว่าทั้งความโลภ ความโกรธ ความหลงมันบาง บางกว่าพระโสดาบัน ท่านก็ เรียกว่า สกิทาคามี สำหรับสังโยชน์ก็มีความประพฤติเหมือนกัน แต่จิตละเอียดกว่า

ทีนี้ถ้าหากว่าเราระงับความโลภ ความโกรธ ความหลง ได้ทีละตัวมันก็ลำบาก เราก็มายืนจุดศูนย์กลาง ก็คือ ทรงพรหมวิหาร 4 เคร่งครัด มีความมั่นคงในพรหมวิหาร 4 มากขึ้น มีหิริและโอตตัปปะมากขึ้น นึกถึงความตายเห็นชัด มีอารมณ์ทรงตัวมากขึ้น ทีนี้เมื่อเรามีพรหมวิหาร 4 มีหิริและโอตตัปปะ นึกถึงความตาย ใจมันก็เลิกโลภ เลิกโลภตรงไหน เพราะมันจะตาย รู้ ทำตะเกียกตะกายเหมือนกับว่าเกินพอดี ถ้าหากว่าหาอาหารหรือหาทรัพย์สินมาด้วยสัมมาอาชีวะ ไม่จัดว่าเป็นความโลภ ต้องเอาอาการเกินพอดี ที่สำคัญคือ อยากจะได้ของบุคคลอื่น แม้ไม่ทำแต่ใจมันก็อยาก อยากจะโกงเขา อยากจะข่มเหงเขา อยากจะอิจฉาริษยาเขา อยากทุกอย่างซึ่งเป็นด้านของความเลว อันนี้ไอ้ตัวอยากตัวนี้เราตัด งดมันเสียได้ด้วยอำนาจของ พรหมวิหาร 4 หิริ และ โอตตัปปะ และ มรณานุสสติกรรมฐาน เอาอารมณ์ 3 ประการเข้าควบคุม คิดว่าจะอยากได้ของเขาไปทำไม ได้มาแล้วมันก็ตาย ไม่ได้มันก็ตาย มีเท่านี้ก็พอกิน หากินแบบนี้ไม่ได้มีได้เท่าไหร่พอใช้พอกิน หากินให้มันรวยกว่านี้ หากินด้วยความสุจริตใจ ไม่มีโทษ เพราะยังเป็นสกิทาคามี

และอารมณ์อีกอันหนึ่งสำหรับพระอนาคามี ที่มีความสำคัญก็คืออภัยทาน ให้อภัยแก่ผู้ผิด เราเองก็พยายามไม่ทำผิดอยู่เสมอ ทรงอารมณ์ปกติในมรณานุสสติกรรมฐานเคร่งครัด เคารพในคุณพระรัตนตรัยเคร่งครัด มีหิริและโอตตัปปะเคร่งครัด ศีลเคร่งครัด และมีพรหมวิหาร 4 แข็งกร้าวในจิต ไม่ยอมให้จิตตกอยู่ในอำนาจของความเลว นึกถึงการให้ทาน การบริจาคอยู่ตลอดเวลา ตั้งหน้าปรารถนาจะสงเคราะห์คนอื่นให้มีความสุข เป็นอุปสมานุสติ การนึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ มีจิตใจรักพระนิพพานอย่างยิ่ง

เพียงเท่านี้จิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทชายหญิง ภิกษุและสามเณร ถ้าทรงอารมณ์จิตได้อย่างนี้จริง ๆ ท่านก็เป็นสกิทาคามี ซึ่งมันเป็นของไม่ยาก ที่ยากก็เพราะเราอยากเลว ถ้าคนอยากดี พระโสดาบันกับพระสกิทาคามีไม่มีอะไรยาก สวัสดี



:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ธรรมะหลวงปู่ชา" อยู่เพื่ออะไร?"


ขอให้ตั้งอยู่ในความสงบ รับโอวาทพอสมควร วันนี้มีทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตมาถวายดอกไม้ตามกาลเวลา เรื่องสักการะ เรื่องคารวะ การเคารพต่อผู้ใหญ่เป็นมงคลอันเลิศ พรรษานี้อาตมาไม่ค่อยมีเรี่ยวแรง ไม่สบาย สุขภาพไม่แข็งแรง จึงหลบมาอยู่บนภูเขานี้ ก็ได้รับอากาศบริสุทธิ์สักพรรษาหนึ่ง ญาติโยมสานุศิษย์ทั้งหลายไปเยี่ยมก็ไม่ได้สนองศรัทธาอย่างเต็มที่ เพราะว่าเสียงมันจะหมดแล้ว ลมมันก็จะหมดแล้ว นับว่าเป็นบุญที่เป็นตัวเป็นตนมานั่งให้ญาติโยมเห็นอยู่ นี่นับว่าดีแล้ว ต่อไปก็จะไม่ได้เห็น ลมมันก็จะหมด เสียงมันก็จะหมดเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของสังขาร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสอนไว้ขะยะวัยยัง คือ ความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขาร

ความเสื่อมไปแห่งสังขาร

เสื่อมไปอย่างไร เปรียบเหมือนก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนมันเป็นน้ำเขาเอามาทำให้เป็นก้อน แต่มันก็อยู่ไม่นานหรอกมันก็เสื่อมไป เอาก้อนน้ำแข็งใหญ่ๆเท่าเทปนี้ไปวางไว้กลางแจ้ง จะดูความเสื่อมของก้อนน้ำแข็งก็เหมือนสังขารนี้ มันจะเสื่อมทีละน้อยทีละน้อย ไม่กี่นาทีไม่กี่ชั่วโมงก้อนน้ำแข็งก็จะหมด ละลายเป็นน้ำไป นี่เรียกว่าเป็นขะยะวัยยัง ความสิ้นไป ความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เป็นมานานแล้ว ตั้งแต่มีโลกขึ้นมา เราเกิดมา เราเก็บเอาสิ่งเหล่านี้มาด้วยไม่ใช่ว่าเราทิ้งไปไหน พอเกิดเราเก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตายมาพร้อมกัน

ดังนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงตรัสไว้ว่า ขะยะ-วัยยัง ความสิ้นไปเสื่อมไปของสังขารทั้งหลาย เรานั่งอยู่บนศาลานี้ทั้งอุบาสก อุบาสิกา ทั้งพระ ทั้งเณร ทั้งหมดนี้ มีแต่ก้อนเสื่อมทั้งนั้นนี่ที่ก้อนมันแข็ง เปรียบเช่นก้อนน้ำแข็ง แต่ก่อนเป็นน้ำ มันเป็นก้อนน้ำแข็งแล้วก็เสื่อมไป เห็นความเสื่อมมันไหม ดูอาการที่มันเสื่อมซี ร่างกายของเรานี่ทุกส่วนมันเสื่อม ผมมันก็เสื่อมไป ขนมันก็เสื่อมไปเล็บมันก็เสื่อมไป หน้ามันก็เสื่อมไป อะไรทุกอย่างมันเสื่อมไปทั้งนั้น

ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ

ญาติโยมทุกคนเมื่อครั้งแรกคงจะไม่เป็นอย่างนี้นะ คงจะมีตัวเล็กกว่านี้ นี่มันโตขึ้นมา เจริญขึ้นมา ต่อไปนี้มันก็จะเสื่อม เสื่อมไปตามธรรมชาติของมัน เสื่อมไปเหมือนก้อนน้ำแข็ง เดี๋ยวก็หมด ก้อนน้ำแข็งมันก็กลายเป็นน้ำ เรานี่ก็เหมือนกันทุกคน มีดิน มีน้ำ มีไฟ มีลม เมื่อมีตัวตนประกอบกันอยู่ ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ตั้งขึ้นเรียกว่า คน แต่เดิมไม่รู้ว่าเป็นอะไรหรอก เรียกว่าคน เราก็ดีอกดีใจเป็นคนผู้ชาย เป็นคนผู้หญิง สมมติชื่อให้นายนั่นนางนี่ตามเรื่อง เพื่อเรียกตามภาษาให้จำง่าย ใช้การงานง่าย แต่ความเป็นจริงก็ไม่มีอะไรมีน้ำหนึ่ง ดินหนึ่ง ลมหนึ่ง ไฟหนึ่ง มาปรุงกันเข้ากลายเป็นรูป เรียกว่า คน โยมอย่าเพิ่งดีใจนะ ดูไปดูมาก็ไม่มีคนหรอก ที่มันเข้มแข็งพวกเนื้อพวกหนัง พวกกระดูกทั้งหลายเหล่านี้เป็นดิน อาการที่มันเหลวๆตามสภาพร่างกายนั้น เราเรียกว่า น้ำ อาการที่มันอบอุ่นอยู่ในร่างกายเรา เรียกว่า ไฟ อาการที่มันพัดไปมาอยู่ในร่างกายของเรานี้ลมพัดขึ้นเบื้องบน พัดลงเบื้องต่ำนี้ เรียกว่า ลม ทั้งสี่ประการนี้มาปรุงกันเข้าเรียกว่าคน ก็ยังเป็นผู้หญิงผู้ชายอีก จึงมีเครื่องหมายตามสมมติของเรา

ทุกคนนอนอยู่กับโครงกระดูก

แต่อยู่ที่วัดป่าพง ที่ไม่เป็นผู้หญิงไม่เป็นผู้ชายก็มี เป็นนะปุง-สักลิงค์ ไม่ใช่อิตถีลิงค์ ไม่ใช่ปุงลิงค์ คือ ซากศพที่เขาเอาเนื้อเอาหนังออกหมดแล้ว เหลือแต่โครงกระดูกเท่านั้น เป็นซากโครงกระดูกเขาแขวนไว้ ไปดูก็ไม่เห็นว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ใครไปถามว่านี่เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ก็ได้แต่มองหน้ากัน เพราะมันมีแต่โครงกระดูกเท่านั้น เนื้อหนังออกหมดแล้ว พวกเราทั้งหลายก็ไม่รู้ ทุกคนไปวัดป่าพง เข้าไปในศาลาก็ไปดูโครงกระดูก บางคนดูไม่ได้ วิ่งออกจากศาลาเลย กลัว... กลัวเจ้าของ อย่างนั้นเข้าใจว่าไม่เคยเห็นตัวเราเองสักที ไปกลัวกระดูก ไม่นึกถึงคุณค่าของกระดูก เราเดินมาจากบ้านนั่งรถมาจากบ้าน ถ้าไม่มีกระดูก จะเป็นอย่างไร จะเดินไปมาได้ไหม เกิดมาพร้อมกันไม่เคยเห็นกัน นอนเบาะอันเดียวกันไม่เคยเห็นกัน นี่แสดงว่าเราบุญมากที่มาเห็น แก่แล้ว ๕๐ ปี ๖๐ ปี ๗๐ ปี ไปวัดป่าพงเห็นโครงกระดูกกลัว นี่อะไรไม่รู้ แสดงว่าเราไม่คุ้นเคยเลยไม่รู้จักตัวเรา กลับไปบ้านก็ยังนอนไม่หลับอยู่สามสี่วัน แต่ก็นอนกับโครงกระดูกนั่นแหละ ไม่ใช่นอนที่อื่นหรอก ห่มผ้าผืนเดียวกัน อะไรๆด้วยกัน นั่งบริโภคข้าวด้วยกัน แต่เราก็กลัว นี่แสดงว่าเราห่างเหินจากตัวเรามากที่สุด น่าสงสาร ไปดูแต่อย่างอื่น ไปดูต้นไม้ ไปดูวัตถุอื่นๆ ว่าอันนั้นโต อันนี้เล็ก อันนั้นสั้น อันนั้นยาว นี่ไปดูแต่วัตถุของอื่นนอกจากตัวเรา ไม่เคยมองดูตัวเราเลย ถ้าพูดตรงๆแล้วก็น่าสงสารมนุษย์เหมือนกัน ดังนั้นคนเราจึงขาดที่พึ่ง

เห็นร่างกายตามความเป็นจริง

อาตมาเคยบวชนาคมาหลายองค์ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ นาคที่เคยเป็นนักศึกษาคงนึกหัวเราะว่า ท่านอาจารย์เอาอะไรมาสอน นี่ เอาผมที่มันมีอยู่นานแล้วมาสอน ไม่ต้องสอนแล้ว รู้จักแล้วเอาของที่รู้จักแล้วมาสอนทำไม นี่คนที่มันมืดมากมันก็เป็นอย่างนี้ คิดว่าเราเห็นผม อาตมาบอกว่าคำที่ว่าเห็นผมนั้น คือ เห็นตามความเป็นจริง เห็นขนก็เห็นตามความเป็นจริง เห็นเล็บ เห็นหนัง เห็นฟัน ก็เห็นตามความเป็นจริง จึงเรียกว่าเห็น ไม่ใช่ว่าเห็นอย่างผิวเผิน เห็นตามความเป็นจริง อย่างไรๆ เราคงจะไม่หมกมุ่นอยู่ในโลกอย่างนี้ถ้าเห็นตามความจริง ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เป็นอย่างไร ตามความเป็นจริงเป็นของสวยไหม เป็นของสะอาดไหม เป็นของมีแก่นสารไหมเป็นของเที่ยงไหม เปล่า...มันไม่มีอะไรหรอก ของไม่สวยแต่เราไปสำคัญว่ามันสวย ของไม่จริงไปสำคัญว่ามันจริง

ร่างกายเป็นที่รวมของสิ่งโสโครก

อย่าง เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง คนเราไปติดอยู่นี่ พระพุทธองค์ท่านยกมาทั้งห้าประการนี้เป็นมูลกรรมฐาน สอนให้รู้จักกรรมฐานทั้งห้านี้ เป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา เราเกิดขึ้นมาก็หลงมันซึ่งเป็นของโสโครก ดูซิ... คนเราไม่อาบน้ำสักสองวันสิ เข้าใกล้กันได้ไหม มันเหม็นเหงื่อออกมากๆ ไปนั่งทำงานรวมกันอย่างนี้ เหม็นทั้งนั้นแหละ กลับไปบ้านอาบน้ำ ถูสบู่ออกหายเหม็นไปนิดหนึ่งก็หอมสบู่ขึ้นมา ได้ถูสบู่มันก็หอม ไอ้ตัวเหม็นก็อยู่อย่างเดิมนั่นแหละมันยังไม่ปรากฏเท่านั้น กลิ่นสบู่มันข่มไว้ เมื่อหมดสบู่มันก็เหม็นตามเคย

จงรู้จักพึ่งตัวเอง

เรามักจะเห็นรูปที่นั่งอยู่นี่นึกว่ามันสวย มันงาม มันแน่น มันหนา มันตรึงตรา มันไม่แก่ มันไม่เจ็บ มันไม่ตาย หลงเพลิดเพลินอยู่ในสากลโลกนี้ จึงไม่รู้จักพึ่งตนเอง ตัวที่พึ่งของเรา คือใจ ใจของเราเป็นที่พึ่งจริงๆ ศาลาหลังนี้มันใหญ่ก็ไม่ใช่ที่พึ่ง มันเป็นที่อาศัยชั่วคราวนกพิราบมันก็มาอาศัยอยู่ ตุ๊กแกมันก็มาอาศัยอยู่ จิ้งเหลนนี้มันก็มาอาศัยอยู่ ทุกสิ่งทุกอย่างมาอาศัยอยู่ได้ เราก็นึกว่าของเรา มันไม่ใช่ของเราหรอก มันอยู่ด้วยกัน หนูมันก็มาอยู่ สารพัดอย่าง นี่เรียกว่าที่อาศัยชั่วคราว เดี๋ยวก็หนีไปจากไป เราก็นึกว่าอันนี้เป็นที่พึ่งของเรา คนมีบ้านหลังเล็กๆ ก็เป็นทุกข์เพราะบ้านมันเล็ก มีบ้านหลังใหญ่ๆ ก็เป็นทุกข์เพราะกวาดไม่ไหว ตอนเช้าก็บ่น ตอนเย็นก็บ่น จับอะไรวางตรงไหนก็ไม่ค่อยได้เก็บ คุณหญิงคุณนายนี่จึงเป็นโรคประสาทกันเป็นทุกข์กัน

อย่าแต่งกาย จงแต่งใจกันเถิด

ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงให้หาที่พึ่ง คือ หาใจของเรา ใจของเราเป็นสิ่งที่สำคัญ โดยมากคนเราไม่ค่อยมองดูในสิ่งที่สำคัญ ไปมองดูที่อื่นที่ไม่สำคัญ เป็นต้นว่า กวาดบ้าน ล้างจาน ก็มุ่งความสะอาด ล้างถ้วยล้างจานให้มันสะอาด ทุกสิ่งทุกอย่างมุ่งความสะอาด แต่ใจเจ้าของไม่เคยมุ่งมองเลย ใจของเรามันเน่า บางทีก็โกรธหน้าบูดหน้าเบี้ยวเท่านั้นแหละ ก็ไปมุ่งแต่จานให้จานมันสะอาด ใจของเราไม่สะอาดเท่าไรก็ไม่มองดู นี่เราขาดที่พึ่ง เอาแต่ที่อาศัย แต่งบ้านแต่งช่อง แต่งอะไรสารพัดอย่าง แต่ใจของเราไม่ค่อยจะแต่งกัน ทุกข์ไม่ค่อยจะมองดู ใจนี่แหละเป็นสิ่งสำคัญ พระพุทธองค์ท่านจึงพูดว่าให้หาที่พึ่งทางใจอัตตาหิ อัตตโนนาโถ ใครจะเป็นที่พึ่งได้ ที่เป็นที่พึ่งที่แน่นอนก็คือใจของเรานี่เอง ไม่ใช่สิ่งอื่น พึ่งสิ่งอื่นก็พึ่งได้ แต่ไม่ใช่ของที่แน่นอนเราจะพึ่งสิ่งอื่นได้ก็เพราะเราพึ่งตัวของเรา เราต้องมีที่พึ่งก่อน จะพึ่งอาจารย์ พึ่งญาติมิตรสหายทั้งหลาย จะพึ่งได้ดีนั้นเราต้องทำตัวของเราเป็นที่พึ่งให้ได้เสียก่อน

ให้ถามตัวเองว่าเราเกิดมาทำไม

วันนี้ที่มากราบนมัสการทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต ขอให้รับโอวาทนี้ไปพินิจพิจารณา เราทุกคนให้นึกเสมอว่า เราคืออะไร เราเกิดมาทำไม นี่ถามปัญหาเจ้าของอยู่เสมอว่า เราเกิดมาทำไม ให้ถามเสมอบางคนไม่รู้นะ แต่อยากได้ความสุขใจ มันทุกข์ไม่หาย รวยก็ทุกข์ จนก็ทุกข์ เป็นเด็กเป็นคนโตก็ทุกข์ ทุกข์หมดทุกอย่าง เพราะอะไร เพราะว่ามันขาดปัญญา เป็นคนจนก็ทุกข์เพราะมันจน เป็นคนรวยก็ทุกข์เพราะมันรวยมาก ของมากๆรักษาคนเดียว

ในสมัยก่อนอาตมาเคยเป็นสามเณร เคยเทศน์ให้โยมฟัง ครูบาอาจารย์ท่านให้เทศน์ พูดถึงความร่ำรวยในการมีทาส ให้มีทาสสักร้อย ผู้หญิงก็ให้ได้สักร้อยหนึ่ง ผู้ชายก็ร้อยหนึ่ง มีช้างก็ร้อยหนึ่งมีวัวก็ร้อยหนึ่ง มีควายก็ร้อยหนึ่ง มีแต่สิ่งละร้อยทั้งนั้น ญาติโยมได้ฟังแล้วก็สบายใจ ให้โยมไปเลี้ยงควายสักร้อยหนึ่งเอาไหม เอาควายร้อยหนึ่ง เอาวัวร้อยหนึ่ง มีทาสผู้หญิงผู้ชายอย่างละร้อยให้โยมรักษาคนเดียว มันจะดีไหม นี่ไม่คิดดู แต่ความอยากมีวัว มีควาย มีช้างมีม้า มีทาสสิ่งละร้อยละร้อย น่าฟัง อุ๊ย! อิ่มใจเหลือเกิน มันสบายนะแต่อาตมาเห็นว่าได้สักห้าสักสิบตัวก็พอแล้ว แค่ฟั่นเชือกเท่านั้นก็เต็มทีแล้ว อันนี้โยมไม่คิด คิดแต่ได้ ไม่คิดถึงว่ามันจะยากจะลำบาก

ไม่มีปัญญา จักพาให้เป็นทุกข์

สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในตัวเรานี้ ถ้าเราไม่มีปัญญา จะทำให้เราทุกข์นะ ถ้าเรามีปัญญา นำออกจากทุกข์ได้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาไม่ใช่ของดีนะ ถ้าเราใจไม่ดี ไปมองคนบางคน ไปเกลียดเขาอีกแล้ว มานอนเป็นทุกข์อีกแล้ว ไปมองดูคนบางคน รักเขาอีกแล้ว รักเป็นทุกข์อีกแล้ว มันไม่ได้ก็เป็นทุกข์ เกลียดก็เป็นทุกข์ รักก็เป็นทุกข์เพราะมันอยากได้ อยากได้ก็เป็นทุกข์ ไม่อยากได้ก็เป็นทุกข์ ของที่ไม่ชอบใจอยากทิ้งมันไป อยากได้ของที่ชอบใจ ของที่ไม่ชอบใจได้มามันก็ทุกข์ ของที่ชอบใจได้มาแล้วกลัวมันจะหายอีกแล้ว มันเป็นทุกข์ทั้งนั้น ไม่รู้ว่าจะอยู่อย่างไร บ้านหลังใหญ่ๆขนาดนี้ ก็นึกว่าจะให้มันสบายขึ้น เก็บความสบาย เก็บความดีไว้ในนี้ ถ้าคิดไม่ดีมันก็ไปไม่ได้ทั้งนั้นแหละ

ญาติโยมทั้งหลายจงมองดูตัวของเรา ว่าเราเกิดมาทำไม เราเคยได้อะไรไว้ไหม อาตมาเคยรวมคนแก่ เอาคนแก่อายุเลย ๘๐ ปีขึ้นไปมาอยู่รวมกัน อาชีพทำนา ตามบ้านนอกของเรา ทำนามาตั้งแต่โน้น เกิดมาได้ ๑๗-๑๘ ปี ก็รีบแต่งงาน กลัวจะไม่รวย ทำงานตั้งแต่เล็กๆให้มันรวย ทำนาจน ๗๐ ปีก็มี ๘๐ ปีก็มี ๙๐ ปีก็มี ที่มานั่งรวมกันฟังธรรม "โยม" อาตมาถาม "โยมจะเอาอะไรไปไหมนี่เกิดมาก็ทำอยู่จนเดี๋ยวนี้แหละ ผลที่สุดจะไป...จะได้อะไรไปไหม"

ไม่รู้จัก ตอบได้แต่ว่า "จังว่า จังว่า จังว่า"* นี่ตามภาษาเขาว่ากินลูกหว้า เพลินกับลูกหว้า มันจะเสียเวลา เพราะจังว่านี่แหละ จะไปก็ไม่ไป จะอยู่ก็ไม่อยู่ มันอยู่ที่จังว่า นั่งอยู่ก้างๆอยู่ง่า นั่งอยู่คาคบนั่นแล้ว มีแต่จังว่าๆ

อย่าทิ้งไม้เล็กแบกไม้ใหญ่

ตอนยังหนุ่มๆ ครั้งแรกอยู่คนเดียวเข้าใจว่าเป็นโสดไม่สบาย หาคู่ครองเรือนมันจะสบาย เลยหาคู่ครองมาครองเรือนให้ เอาของสองอย่างมารวมกันมันก็กระทบกันอยู่แล้ว อยู่คนเดียวมันเงียบเกินไป ไม่สบายแล้ว เอาคนสองคนมาอยู่ด้วยกัน มันก็กระทบกัน ก๊อกๆแก๊กๆ นั่นแหละลูกเกิดมาครั้งแรกตัวเล็กๆ พ่อแม่ก็ตั้งใจว่า ลูกเราเมื่อมันโตขึ้นมาขนาดหนึ่งเราก็สบายหรอก ก็เลี้ยงมันไปสามคนสี่คนห้าคน นึกว่ามันโตเราจะสบาย เมื่อมันโตมาแล้วมันยิ่งหนัก เหมือนกับแบกท่อนไม้อันหนึ่งเล็กอันหนึ่งใหญ่ ทิ้งท่อนเล็กแล้วแบกเอาท่อนใหญ่ นึกว่ามันจะเบาก็ยิ่งหนัก ลูกเราตอนเด็กๆมันไม่กวนเท่าไรหรอกโยม มันกวนถามกินข้าวกับกล้วย เมื่อมันโตขึ้นมานี่มันถามเอารถมอเตอร์ไซด์ มันถามเอารถเก๋ง เอาล่ะความรักลูกจะปฏิเสธไม่ได้ ก็พยายามหา มันก็เป็นทุกข์ ถ้าไม่ให้มันก็เป็นลูก บางทีพ่อแม่ทะเลาะกัน "อย่าพึ่งไปซื้อให้มันเลย รถนี่ มันยังไม่มีเงิน" แต่ความรักลูกก็ต้องไปกู้คนอื่นมา เห็นอะไรก็อยากซื้อมากิน แต่ก็อด กลัวมันจะหมดเปลืองหลายอย่าง ต่อมาก็มีการศึกษาเล่าเรียน ถ้ามันเรียนจบเราก็จะสบายหรอก เรียนมันจบไม่เป็นหรอก มันจะจบอะไร เรียนไม่มีจบหรอก ทางพุทธศาสนานี่เรียนจบ ศาสตร์อื่นนอกนั้นมันเรียนต่อไปเรื่อยๆ เรียนไม่จบ เอาไปเอามาก็เลยวุ่นเท่านั้นแหละ บ้านหนึ่งเรียน ๔ คน ๕ คน ตาย! พ่อแม่ทะเลาะกันไม่มีวันเว้นละอย่างนั้น

เราถูกระดูกอยู่ทุกวัน

ความทุกข์มันเกิดมาภายหลังเราไม่เห็น นึกว่ามันจะไม่เป็นอย่างนี้ เมื่อมันมาถึงเข้าแล้วจึงรู้ว่า โอ! มันเป็นทุกข์ ทุกข์อย่างนั้นจึงมองเห็นยาก ทุกข์ในตัวของเรานะโยม พูดตามประสาบ้านนอกเราเรื่องฟันของเรานะโยม ตอนไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย ขี้ถ่านไฟก็ยังเอามาถูฟันให้มันขาว ไปถึงบ้านก็ไปยิงฟันใส่กระจก นึกว่ามันขาวถูฟันแล้วนี่ ไปชอบกระดูก ของเจ้าของไม่รู้เรื่อง พออายุถึง ๕๐-๖๐ ปี ฟันมันโยก เออ! เอาซิฟันโยก มันจะร้องไห้ กินข้าวน้ำตามันก็ไหล เหมือนกับถูกศอก ถูกเข่าเขาอยู่ทุกเวลา ฟันมันเจ็บมันปวด มันทุกข์มันยากมันลำบากนี่ อาตมาผ่านมาแล้วเรื่องนี้ ถอนออกหมดเลย ในปากนี้เป็นฟันปลอมทั้งนั้น มันโยกไม่สลายอยู่ ๑๖ ซี่ ถอนทีเดียวหมดเลย เจ็บใจมัน หมอไม่กล้าถอนแน่ะตั้ง ๑๖ ซี่ "หมอ ถอนมันเถอะ เป็นตาย อาตมาจะรับเอาหรอก" ถอนมันออกทีเดียวพร้อมกัน๑๖ ซี่ ที่มันยังแน่นๆ ตั้งหลายซี่ ตั้ง ๕ ซี่ ถอนออกเลย แต่ว่าเต็มทีนะ ถอนออกหมดแล้วไม่ได้ฉันข้าวอยู่ ๒-๓ วัน นี่เป็นเรื่องทุกข์

จะเก็บจะตายสังขารไหลเรื่อยไป

อาตมาคิดแต่ก่อนนะ ตอนไปเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย เอาถ่านไฟมาถูให้มันขาว รักมันมากเหลือเกิน นึกว่ามันเป็นของดี ผลที่สุดมันจะหนีจากเรา จึงเกือบตาย เจ็บฟันนี้มันตั้งหลายเดือน ตั้งหลายปี บางทีมันบวมทั้งข้างล่างข้างบน หมดท่าเลยโยม อันนี้คงจะเจอกันทุกคนหรอก พวกที่ฟันไม่โยก เอาแปรงไปแปรงให้มันสะอาดสวยงามอยู่นั่นแหละ ระวังนะ ระวังมันจะเล่นงานเราเมื่อสุดท้าย ซี่ยาวซี่สั้นมันสลับกันอยู่อย่างนี้ ทุกข์มากโยม อันนี้ทุกข์มากจริงๆ

อันนี้บอกไว้หรอก บางทีจะไปเจอเอาทุกข์ เพราะความทุกข์ในตัวของเรานี้ จะหาที่พึ่งอะไรมันไม่มี มันค่อยยังชั่วเมื่อเรายังหนุ่ม พอแก่เข้าก็เริ่มพัง มันช่วยกันพัง สังขารมันเป็นไปตามเรื่องของมัน เราจะร้องไห้มันก็อยู่อย่างนี้ จะดีใจมันก็อยู่อย่างนี้ เราจะเป็นอะไรมันก็อยู่ของมันอย่างนี้ เราจะเจ็บจะปวดจะเป็นจะตายมันก็อยู่อย่างนั้นเพราะมันเป็นอย่างนั้น นี่มันหมดความรู้ หมดวิชา เอาหมอฟันมาดูฟัน ถึงแก้ไขแล้วยังไงก็ยังเป็นอยู่อย่างนั้น ต่อไปหมอฟันเองก็เป็นเหมือนเราอีก ไปไม่ไหวอีกแล้ว ทุกอย่างมันก็พังไปด้วยกันทั้งหมด นี้เป็นความจำเป็นที่เราจะต้องรีบพิจารณา เมื่อมีกำลังเรี่ยวแรงก็รีบทำจะทำบุญสุนทานจะทำอะไรก็รีบจัดทำกัน แต่ว่าคนเราก็มักจะไปมอบให้แต่คนแก่ จะเข้าวัดศึกษาธรรมะรอให้แก่เสียก่อน โยมผู้หญิงก็เหมือนกัน โยมผู้ชายก็เหมือนกัน ให้แก่เสียก่อนเถอะ ไม่รู้ว่าอะไรกันคนแก่นี่มันกำลังดีไหม ลองไปวิ่งแข่งกับคนหนุ่มดูซิ ทำไมจะต้องไปมอบให้คนแก่เหมือนไม่รู้จักตาย พอแก่มาสัก ๕๐ ปี ๖๐ ปี จวนเข้าวัดอยู่แล้ว หูตึงเสียแล้ว ความจำก็ไม่ดีเสียแล้ว นั่งก็ไม่ทน "ยายไปวัดเถอะ"

"โอย หูฉันไม่ดีแล้ว"

นั่นเห็นไหม ตอนหูดีเอาไปฟังอะไรอยู่ จังว่า... จังว่า มันคาแต่ลูกหว้าอยู่นั่นแหละ จนหูมันหนวกเสียแล้วจึงไปวัด มันก็ไปได้นั่งฟังท่านเทศน์ เทศน์อะไรไม่รู้เรื่อง มันหมดแล้วจึงมาทำกัน

ยามหนุ่มสังขารแบกเรา ยามแก่เราแบกสังขาร
วันนี้คงจะได้ประโยชน์กับบุคคลที่สนใจเป็นบางสิ่งบางอย่าง ที่ควรเก็บไว้ในใจของเรา สิ่งทั้งหลายนี่เป็นมรดกของเราทั้งนั้น มันจะรวมมา รวมมาให้เราแบกทั้งนั้นแหละ ขานี่เป็นสิ่งที่วิ่งได้มาแต่ก่อนอย่างขาอาตมานี่จะเดินมันก็หนัก สกลร่างกายจะต้องแบกมัน แต่ก่อนนั้นมันแบกเรา บัดนี้เราแบกมัน สมัยเป็นเด็กเห็นคนแก่ๆลุกขึ้นก็"โอ๊ย" นั่งลงก็ "โอ๊ย" มันทุกข์ถึงขนาดนั้น เรายังไม่เห็นโทษมัน เมื่อจะหนีจากมันเราไม่รู้จัก ที่ทำเจ็บทำปวดขึ้นมานี่ เรียกว่าสังขารมันเป็นไปตามเรื่องของมัน มันเป็นประดง ประดงไฟ ประดงข้อ ประดงงอประดงจิปาถะ หมอเอายามาใส่ก็ไม่ถูก ผลที่สุดก็พังไปทั้งหมดอีก คือสังขารมันเสื่อม มันเป็นไปตามสภาพของมัน มันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นเรื่องธรรมชาติ ฉะนั้นให้ญาติพี่น้องให้พากันเห็นถ้าเห็นแล้วก็จะไม่เป็นอะไร อย่างงูอสรพิษตัวร้ายๆมันเลื้อยมา เราเห็น เราเห็นมันก่อนก็หนี มันไม่ได้กัดเราหรอก เพราะเราได้ระวังมัน ถ้าเราไม่เห็นมัน เดินๆไปไม่เห็นก็ไปเหยียบมัน เดี๋ยวมันก็กัดเลย

ไม่อยากทุกข์ต้องรู้จักทางแก้ไข

ถ้ามันทุกข์แล้วไม่รู้จะไปฟ้องใคร ถ้าทุกข์เกิดขึ้นจะไปแก้ตรงไหน คืออยากแต่ว่าไม่ให้มันทุกข์เฉยๆเท่านั้น อยากไม่ให้มันทุกข์แต่ไม่รู้จักทางแก้ไขมัน แล้วก็อยู่ไป อยู่ไปจนถึงวันแก่ วันเจ็บ แล้วก็วันตาย คนโบราณบางคนเขาว่า เมื่อมันเจ็บมันไข้จวบลมหายใจจะขาดให้ค่อยๆเข้าไปกระซิบใกล้หูคนไข้ว่า พุทโธ พุทโธ พุทโธ มันจะเอาอะไร พุทโธนั่นนะ คนที่ใกล้จะนอนในกองไฟจะรู้จักพุทโธอะไร ตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มเป็นสาวอายุรุ่นๆ ทำไมไม่เรียนพุทโธให้มันรู้ หายใจติดบ้างไม่ติดบ้าง "แม่ๆ พุทโธ พุทโธ" ว่าให้มันเหนื่อยทำไม อย่าไปว่าเลย มันหลายเรื่อง เอาได้แค่นั้นก็สบายแล้ว

โยมชอบเอาแต่ต้นกับปลายมัน ตรงกลางไม่เอาหรอก ชอบอย่างนั้น บริวารพวกเราทั้งหลายก็ชอบอย่างนั้น ทั้งญาติโยมทั้งพระ ทั้งเณร ชอบแต่ทำอย่างนั้น ไม่รู้จักแก้ไขภายในจิตของเจ้าของ ไม่รู้จักที่พึ่ง แล้วก็โกรธง่าย และก็อยากหลายด้วย ทำไม คือคนที่ไม่มีที่พึ่งทางใจ อยู่เป็นฆราวาส มีอายุ ๒๐-๓๐-๔๐ ปี กำลังแรงดีอยู่ พ่อบ้านแม่บ้านทั้งหลายก็พอพูดกันรู้เรื่องกันหน่อย นี่ ๕๐ ปีขึ้นไปแล้ว พูดกันไม่รู้เรื่องกันแล้ว เดี๋ยวก็นั่งหันหลังให้กันหรอก แม่บ้านพูดไปพ่อบ้านทนไม่ได้ พ่อบ้านพูดไปแม่บ้านฟังไม่ได้ เลยแยกกันหันหลังให้กัน เลยแตกกันเลย

ความหมายของคำว่า "ครอบครัว"

เรื่องนี้อาตมาเล่าไปหรอก ตัวเองไม่เคยมีครอบครัว ทำไมไม่มีครอบครัว คืออ่านคำว่าครอบครัว มันก็รู้แล้ว ครอบครัว คืออะไร ครอบมันก็คืออย่างนี้ ถ้าเรานั่งอยู่เฉยๆ ก็เอาอะไรมาครอบลงนี้จะเป็นอย่างไร เรานั่งอยู่ไม่มีอะไรมาครอบมันก็พอทนได้ ถ้าเอาอะไรมาครอบลงก็เรียกว่าครอบแล้ว มันเป็นอย่างไรครอบก็เป็นอย่างนั้น มันมีวงจำกัดแล้ว ผู้ชายก็อยู่ในวงจำกัด ผู้หญิงก็อยู่ในวงจำกัด อาตมาไปอ่านแล้ว ครอบครัวโอยหนัก ศัพท์ตายนี่ คำนี้ไม่ใช่ศัพท์เล่นๆ ศัพท์ที่ว่า ครอบ นี้ศัพท์ทุกข์ ไปไม่ได้มันมีจำกัดแล้ว ต่อไปอีก ครัว ก็หมายถึงการก่อกวนแล้ว ทิ่มแทงแล้ว โยมผู้หญิงเคยเข้าครัว เคยโขลกพริกคั่ว พริกแห้งไหม ไอ จาม ทั้งบ้านเลยศัพท์ครอบครัวมันวุ่น ไม่น่าอยู่หรอก อาตมาอาศัยสองศัพท์นี่แหละจึงบวชไม่สึก

ครอบครัวนี่น่ากลัว ขังไว้จะไปไหนก็ไม่ได้ ลำบากเรื่องลูกบ้าง เรื่องเงินเรื่องทองบ้าง สารพัดอย่างอยู่ในนั้น ไม่รู้จะไปที่ไหน มันผูกไว้แล้ว ลูกผู้หญิงก็มี ลูกผู้ชายก็มี มันวุ่นวายเถียงกันอยู่นั่นแหละจนตายไม่ต้องไปไหนกันละ เจ็บใจขนาดไหนก็ไม่ว่า น้ำตามันไหลออกก็ไหลอยู่นั่นแหละ เออ น้ำตามันไม่หมดนะโยมครอบครัวนี่นะ ถ้าไม่มีครอบครัวน้ำตามันหมดเป็น ถ้ามีครอบครัวน้ำตามันหมดยาก หมดไม่ได้ โยมเห็นไหม มันบีบออกเหมือนบีบอ้อย ตาแห้งๆก็บีบออกให้เป็นน้ำไหลออกมา ไม่รู้มันมาจากไหน มันเจ็บใจแค้นใจสารพัดอย่าง มันทุกข์ เลยรวมทุกข์บีบออกมาเป็นน้ำทุกข์

อันนี้ให้โยมทั้งหลายเข้าใจ ถ้ายังไม่ผ่านมันจะผ่านอยู่ข้างหน้าบางคนอาจจะผ่านมาบ้างแล้วเล็กๆน้อยๆ บางคนก็เต็มที่แล้ว จะอยู่หรือจะไปหนอ โยมผู้หญิงเคยมาหาหลวงพ่อ

"หลวงพ่อ แหม ถ้าดิฉันไม่มีบุตร ดิฉันจะไปแล้ว"

"เออ อยู่นั่นแหละ เรียนให้จบเสียก่อน เรียนตรงนั้น อยากจะไปก็อยากจะไป ไม่อยากจะอยู่ ถึงขนาดนั้นก็ยังหนีไม่ได้"

วัดป่าพงสร้างกุฏิเล็กๆไว้ตั้ง ๗๐-๘๐ หลัง บางทีจะมีพระเณรมาอยู่บรรจุเต็ม บางทีก็มีเหลือ ๒-๓ หลัง อาตมาถามว่า

"กุฏิยังเหลือว่างไหม"

พวกชีบอก "มีบ้าง ๒-๓ หลัง"

"เออ เก็บเอาไปเถอะ บางทีพ่อบ้านแม่บ้านเขาทะเลาะกัน เอาไว้ให้เขามานอนสักหน่อย"

แน่ะ มาแล้ว โยมผู้หญิงสะพายของมาแล้ว ถามว่า "โยมมาจากไหน"

"มากราบหลวงพ่อ ดิฉันเบื่อโลก"

"โอย! อย่าว่าเลย อาตมากลัวเหลือเกิน"

พอผู้ชายมาบ้าง ก็เบื่ออีกแล้ว นั่นมาอยู่ ๒-๓ วัน ก็หายเบื่อไปแล้ว โยมผู้หญิงมาก็เบื่อ โกหกเจ้าของ โยมผู้ชายมาก็เบื่อ โกหกเจ้าของ ไปนั่งอยู่กุฏิเล็กๆ เงียบๆ คิดแล้ว "เมื่อไหร่หนอแม่บ้านจะมาเรียกเรากลับ" "เมื่อไหร่หนอพ่อบ้านจะมาเรียกเรากลับ"

แน่ะ ไม่รู้อะไร มันเบื่ออะไรกัน มันโกรธแล้ว มันก็เบื่อแล้วก็กลับอีก เมื่ออยู่ในบ้านผิดทั้งนั้นล่ะ พ่อบ้านผิดทั้งนั้น แม่บ้านผิดทั้งนั้น มานั่งภาวนาได้ ๓ วัน "เออ! แม่บ้านเขาถูกเว้ย เรามันผิด" "พ่อบ้านเขาถูก เราซิผิด" มันจะกลับ มันเปลี่ยนเอาเองของมันอย่างนั้น ก็กลับไปเลยทั้งนั้นแหละ นี้ความจริงมันเป็นอย่างนั้นนะโลกนี้ อาตมาจึงไม่วุ่นวายอะไรกันมาก รู้ต้นรู้ปลายมันแล้ว ฉะนั้น จึงมาบวชอยู่อย่างนี้

คิดและพิจารณาบ่อยๆ พลอยให้เกิดปัญญา
วันนี้ขอฝากให้เป็นการบ้าน เอาไปทำการบ้าน จะทำไร่ทำนาทำสวน ให้เอาคำหลวงพ่อมาพิจารณาว่า เราเกิดมาทำไม เอาย่อๆว่าเกิดมาทำไม มีอะไรเอาไปได้ไหม ถามเรื่อยๆนะ ถ้าใครถามอย่างนี้บ่อยๆมีปัญญานะ ถ้าใครไม่ถามเจ้าของอย่างนี้ โง่ทั้งนั้นแหละ เข้าใจไหม บางทีฟังธรรมวันนี้แล้วกลับไปถึงบ้านจะพบเย็นนี้ก็ได้ ไม่นานนะมันเกิดขึ้นทุกวัน เราฟังธรรมอยู่มันเงียบ บางทีมันรออยู่ที่รถ เมื่อเราขึ้นรถมันก็ขึ้นรถไปด้วย ถึงบ้านมันก็แสดงอาการออกมา อ้อ หลวงพ่อท่านสอนไว้จริงของท่านละมังนี่ ตาไม่ดี ไม่เห็นนะ

เอาละ วันนี้เทศน์มากก็เหนื่อย นั่งมามากก็เหนื่อยสังขารร่างกายนี้
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ตัวรู้-รู้ตัว...ธรรมะจากหลวงพ่อลี


ตัวรู้-รู้ตัว

พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์

(พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)


ในการนั่งภาวนานี้ ถึงแม้เราจะไม่มีความรู้อะไรเลย ก็ให้รู้เพียงว่า ลมเข้าเราก็รู้ ลมออกเราก็รู้ ลมยาวเราก็รู้ ลมสั้นเราก็รู้ ลมสบายเราก็รู้ หรือลมไม่สบายเราก็รู้ เท่านี้ก็เป็นอันใช้ได้ ส่วน "สัญญา" ในเรื่องต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในใจของเรานั้น ก็ให้ปัดทิ้งเสีย ทั้งดีและชั่ว ทั้งอดีตอนาคต ไม่ให้นำมายุ่งเกี่ยวและก็ไม่ต้องต้องไปแก้ไข

เมื่อสัญญาผ่านเข้ามา ก็ปล่อยให้ผ่านไปตามเรื่องของมัน ความรู้ของเราก็ให้เฉยอยู่กับปัจจุบันอย่างเดียว

ข้อที่ว่าใจเราไปอย่างนั้นไปอย่างนี้มันก็ไม่ใช่ตัวจริง เป็นเพียงแต่สัญญามันพาไป เท่านั้น สัญญา นี้เปรียบเหมือนกับ "เงา" ส่วนตัวจริงของมันนั้นก็คือ "จิต" ต่างหาก ถ้ากายของเราเฉยไม่มีอาการเคลื่อนไหวไปมาแล้ว เงาของเราจะเคลื่อนไหวไปได้อย่างไร ?

เพราะกายของเรามันไหวไม่อยู่นิ่ง เงาของเราจึงไหวไปด้วย และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราจะไปจับเอาเงามาอย่างไร? เงานี้จะจับมันก็ยาก จะละมันก็ยาก จะตั้งให้เที่ยงก็ยาก ความรู้ที่เป็นตัวปัจจุบัน นั่นแหละคือ "ตัวจริง" ส่วนความรู้ที่เป็นไปตามสัญญานั้น ก็คือ .."เงา"

ความรู้ตัวจริงนั้น ย่อมเป็นตัวที่อยู่คงที่ ไม่มีอาการยืน เดิน ไปมา ส่วนจิต ก็คือ "ตัวรู้" ซึ่งไม่มีอาการไปอาการมา ไม่มีไปข้างหน้า ไม่มีมาข้างหลัง มันก็สงบเฉยอยู่ และเมื่อตัวจิตราบเรียบอยู่ในปกติไม่มีความคิดนึกวอกแวกไปอย่างนี้ ตัวเราก็ย่อมสบาย คือ จิตไม่มีเงา

ถ้าจิตของเราไม่เที่ยง ไม่แน่นอน ไหวตัวไปมาอยู่ก็ย่อมจะเกิดสัญญาขึ้นมา และเมื่อสัญญาเกิดขึ้น มันก็ฉายแสงออกมา และเราก็จะไหลไปตามมัน จะไปเหนี่ยวดึงเข้ามา การที่เราไปตามเข้ามานั่นแหละมันเสีย ใช้ไม่ได้ จึงให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า "ตัวรู้" นั้น ไม่เป็นไรดอก แต่ "เงา" สัญญานั้นแหละสำคัญ

เราจะมุ่งไปทำให้ "เงา" มันดีขึ้นก็ไม่ได้ เช่น "เงา" มันดำเราจะเอาสบู่ไปขัดฟอกจนตายมันก็ไม่หายดำเพราะเงามันไม่มีตัว ฉะนั้น สัญญาความคิดนึกต่าง ๆ เราจะทำให้ดีเลว ย่อมได้ เพราะมันเป็นเพียง "หุ่น" หลอกเราเท่านั้น

พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า ใครไม่รู้จัก ตัว ไม่รู้จัก กาย ไม่รู้จัก ใจ ไม่รู้จัก เงา ของตัวเอง นั่นคือ อวิชชา คนที่สำคัญว่าจิต เป็นตน ตนเป็นจิต จิตเป็นสัญญา ปนเปกันไปหมดเช่นนี้ เขาเรียกว่า.. "คนหลง" ... คือเหมือนกับคนที่หลงป่า

การหลงป่านั้นย่อมจะต้องลำบากทุก ๆ อย่าง ทั้งอันตรายในสัตว์ป่า ทั้งลำบากในเรื่องอาหารการกิน และการหลับการนอนจะมองไปทางไหนก็หาทางออกไม่พบ

แต่ที่เรา "หลงโลก" นี้ก็ยิ่งจะร้ายไปกว่า "หลงป่า" ตั้งหลายเท่า เพราะจะไม่รู้จักทั้งกลางวันกลางคืน และไม่ได้พบกับความสว่างไสวเลย เพราะดวงจิตมันมืดไปด้วย "อวิชชา"

ฉะนั้น การที่เรามาทำความสงบอย่างนี้ ก็เพื่อจะให้เรื่องราวต่าง ๆ ลดน้อยลง เมื่อเรื่องราวต่าง ๆ น้อยไปแล้ว จิตก็จะมีความสงบ เมื่อจิตได้รับความสงบก็จะค่อย ๆ สว่างขึ้นในตัว เกิด "วิชชา" เป็นความรู้ขึ้น ถ้าความยุ่งยากมากขึ้น ความรู้ก็จะไม่เกิดขึ้นได้ นั่นเป็นความมืด

ดวงจิตที่เจือปนอยู่ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ นั่นก็เหมือนกับเรือที่ถูกลมพายุอันพัดมาจากข้างหลัง ข้างหน้า ข้างซ้าย ข้างขวา ทั้ง ๘ ด้าน ๘ ทิศ มันก็จะไม่ทำให้เรือนั้นตั้งลำตรงอยู่ได้ มีแต่จะทำให้เรือจมลง ๆ ไฟที่จะใช้สอยก็ดับหมดด้วยอำนาจความแรงของกระแสลมที่พัดมานั้น

สัญญานี้เหมือนกับระลอกคลื่น ที่วิ่งไปมาในมหาสมุทร ใจนั้นก็เปรียบเหมือนกับปลาที่ดำผุดดำว่ายอยู่ในน้ำ ธรรมดาของปลาย่อมเห็นน้ำเป็นของสนุกเพลิดเพลินฉันใด บุคคลผู้หนาแน่นไปด้วยอวิชชา ก็ย่อมเห็นเรื่องยุ่ง ๆ เป็นของเพลิดเพลินเป็นของสนุก เหมือนกับปลาที่เห็นคลื่นในน้ำเค็มเป็นของสนุกสนานสำหรับตัวมันฉันนั้น

ตามใดที่เราทำความสงบให้เรื่องต่าง ๆ บรรเทาเบาบางไปจากใจได้ ก็ย่อมทำอารมณ์ของเราให้เป็นไปใน "กรรมฐาน" คือฝังแต่ "พุทธานุสติ" เป็นเบื้องต้นจนถึง "สังฆานุสสติ" เป็นปริโยสานไว้ในจิตใจ

เมื่อเป็นไปดังนี้ ก็จะถ่ายอารมณ์ที่ชั่วให้หมดไปจากใจได้ เหมือนกับเราถ่ายของที่ไม่มีประโยชน์ออกจากเรือ และนำของที่มีประโยชน์เข้ามาใส่แทน ถึงเรือนั้นจะหนักก็ตาม แต่ใจของเราก็เบา เพราะเรื่องของบุญกุศลเป็นของเบา เมื่อใจของเราเบาอย่างนี้ภาระทั้งหลายก็น้อยลง

สัญญาต่าง ๆ ก็ไม่มี นิวรณ์ก็ไม่ปรากฏ ดวงจิตก็จะเข้าไปสู่ "กรรมฐาน" ได้ทันที

เราก็ต้องมี สติสัมปชัญญะ คอยสำรวจว่าลมที่หายใจเข้าออกนี้ มันเกิดผลแก่ร่างกายอย่างไร จิตของเราได้ผลอย่างไรบ้าง ถ้าลมอ่อนก็ให้ถอนลมเสียใหม่ อย่าให้เผลอตัว ปรับปรุงลมหายใจจนรู้สึกว่า กายและจิตได้รับความสะดวกสบาย (การถอนลม คือการสร้างความรู้สึก) เมื่อเกิดความสะดวกสบายอย่างนี้ จิตก็สงบ เมื่อจิตสงบแล้วก็ย่อมเกิดผล ๆ ได้หลายอย่าง

๑. ผลเกิดขึ้นในทางร่างกาย

๒. ผลที่เกิดในทางใจ

ผลทางกาย คือ กายโปร่งเบาคล่องแคล่ว ไม่อึดอัดเดือดร้อน นั่งอยู่ก็ไม่แน่น ไม่จุก ไม่เสียด ส่วนจิตก็ไม่มีความยุ่งยากอะไร โล่งโถงว่างเปล่า ปราศจากสัญญาอารมณ์ภายนอก ผลอันนี้แหละรักษาไว้ให้ดี รักษาไว้ให้นาน

ส่วนผลอื่น ๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมาอีก กล่าวตามความรู้ก็คือ "วิชชา" ส่วนรูปได้แก่ "อุคคหนิมิต" นี่เป็นผลเกิดในส่วนร่างกาย นิมิตชนิดไหนก็ตามซึ่งปรากฏเป็นรูปในใจ ย่อมเป็นผลซึ่งเกิดซ้อนขึ้นมาอีก
ถ้าพื้นของร่างกายสบาย พื้นใจก็ย่อมสบาย และผลก็จะเกิดขึ้นในทางจิตใจ เรียกว่า "วิชชา" เป็นต้นว่า เราไม่เคยศึกษาเล่าเรียนอะไรเลย แต่มันผุดขึ้นมาได้ อีกอย่างหนึ่งเวลาที่จิตสงบดี ถ้าเราประสงค์จะทราบเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขยับจิตเพียงนิดเดียว ก็สามารถจะรู้เรื่องราวนั้น ๆ ได้ทันที

เหมือนเข็มที่จ่อลงในแผ่นจานเสียง พอจ่อลงไปเสียงก็จะปรากฏบอกเรื่องราวในจานนั้น ๆ ให้รู้ได้โดยแจ่มชัด

ความรู้ตอนนี้แหละจะเป็น "วิปัสสนาญาณ" ถ้าเป็นความรู้เบื้องต่ำเกี่ยวกับสัญญาอดีต อนาคต เราสาวไปยาวนักก็เป็น "โลกิยวิชชา" คือ เล่นในส่วนกายมากไปก็ทำให้จิตต่ำ เพราะไม่แก่ใน "นาม" ตัวอย่างเช่น นิมิตเกิดขึ้น ก็ไปติดอยู่ในนิมิต เช่น "ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ"

เห็นชาติภพที่ล่วงมาแล้วของตัวเองก็เกิดความดีอกดีใจ ว่าเราไม่เคยรู้ เคยเห็น ไม่เคยมีเคยเป็น ก็มามีขึ้นอย่างนี้ก็มี อันเป็นเหตุให้ดีใจเกินไปหรือเสียใจเกินไปก็ได้ ในระหว่างที่เรากำลังสาวไปในเรื่องนิมิต ทำไมจึงเกิดดีใจหรือเสียใจได้?

นั่นก็เพราะจิตเข้าไปยึดถือในเรื่องนั้น ๆ เป็นจริงเป็นจัง คือบางทีไปเห็นภาพตัวเองในฝ่ายที่เจริญ เช่นเป็นเจ้าเป็นนาย เป็นพระราชามหากษัตริย์ อันอุดมไปด้วยศฤงคารบริวารใหญ่โต ก็เป็นเหตุให้พอใจยินดี เพลิดเพลินไปในอารมณ์นั้น ๆ

อย่างนี้ก็เป็น "กามสุขัลลิกานุโยค" พลาดไปจากมัชฌิมาปฏิปทา ก็เป็นการผิด บางทีเห็นตัวเองไปปรากฏในรูปภพที่ไม่พึงปรารถนา เช่น เป็นหมู เป็นหมา เป็นนก เป็นหนู กระจอกงอกง่อยก็เกิดใจเหี่ยวแห้ง สลดหดหู่ นี่ก็เป็น "อัตตกิลมถานุโยค" พลาดไปจากมรรคอีก ไม่ตรงกับคำสอนของพระองค์


บางคนก็สำคัญผิด พอได้ไปพบสิ่งที่ตัวไม่เคย ได้รู้ได้เห็นเข้าก็นึกว่าตัวเป็น "ผู้วิเศษ" เกิดความเหลิงขึ้นในใจ ใจมี "อัสมิมานะ" เกิดขึ้น มรรคที่ถูกอันเป็น "สัมมามรรค" ก็หายไปโดยไม่รู้ตัว นี่ "วิชชาโลกีย์" ย่อมเป็นอย่างนี้

ถ้าเรามีหลักวิจารณ์แล้วเราก็จะเดินไปถูกต้องตามมรรคโดยไม่พลาด คือความรู้ต่าง ๆ มันจะจริงในฝ่ายดีก็ตาม ในรูปนิมิตที่ปรากฏดีหรือไม่ดีก็ตาม จริงก็ตามไม่จริงก็ตาม เราไม่ต้องดีใจ หรือเสียใจ ทำจิตใจให้เป็นกลาง มัธยัสถ์ลงในธรรม เราก็จะเกิดปัญญาให้เห็นว่า นิมิตนั้น ก็เป็นทุกขสัจ ความเกิดก็เป็นชาติ ที่เสื่อมไปก็เป็นชรา ที่ดับไปก็เป็นมรณะ

เมื่อรู้อย่างนี้ เราก็จะวางเฉยเป็นกลาง จิตก็จะปล่อยนิมิต ทิ้งออกจากใจได้ นิมิตนั้นก็จะดับ แต่ไม่ใช่ดับสูญ นิมิตนั้นก็มีความจริงอยู่อย่างนั้น เหมือนไฟที่มีอยู่ในโลก แสงไฟแดงก็มี แต่มือของเราไม่จับไม่เกี่ยว ไม่แตะต้อง รูปทั้งหลายมันก็ดับจริง ๆ แต่ไม่สูญ


ถึงเราจะไปอยู่ที่ไหน มันก็มีอยู่ แต่เราไม่ยึดเท่านั้น มันจะเกิดก็เกิดไป จะดับก็ดับไป ตามสภาพของมันแต่ "ตัวรู้" ของเราก็ยืนอยู่อย่างธรรมดา

นี่เป็นตัว "มรรค" เมื่อมรรคตั้งขึ้นอย่างนี้ "สมุทัย" ก็ดับ แต่นิมิตก็ยังอยู่ คือ "ความรู้ธรรม" เช่น เราอยากรู้เรื่องนรกสวรรค์เป็นอย่างไร จะมีจริงหรือไม่จริง นิมิตก็จะปรากฏขึ้นมาทันที

บางทีก็รู้ในเรื่องของคนอื่น เช่น คนนั้นเป็นอย่างนั้น คนนี้เป็นอย่างนี้ แล้วต่อไปก็ตายไป เป็นอย่างนั้น ๆ ตลอดจนที่เกิดที่อยู่เป็นอย่างไร ๆ เมื่อรู้อย่างนี้ ก็เพลินไปในเรื่องของเขา เพลินไปในความรู้ของตัว บางทีก็ไปเห็นหน้าศัตรูที่มันเคยเบียดเบียนข่มเหงเราอย่างนั้นอย่างนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา จิตก็ตกไปใน "อัตตกิลมถานุโยค"

ทางที่ถูกเราจะต้องไม่แสดงความดีใจ หรือเสียใจ ทั้งในสิ่งที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา ต้องคิดว่าคนเรานั้น ก็ย่อมมีดีบ้าง เลวบ้างเป็นธรรมดา เรื่องของความเกิดมันก็วนไปเวียนมาอย่างนี้ ไม่มีอะไรแน่ ไม่มีอะไรจริง ดีก็ดีไม่จริง ชั่วก็ชั่วไม่จริง แล้วมันก็กลับกลอกไปอีกตัวเราก็อย่างนี้ คนอื่นก็อย่างนี้

เมื่อเห็นความจริงเป็นดังนี้แล้ว จิตก็จะเกิดความเบื่อหน่าย เพราะเห็นชัดว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้นแล้วก็แปรไป แปรไปแล้วก็ดับ จิตก็จะว่างเฉยเป็นมรรคขึ้น ดวงใจก็ยืนตัวคงที่อยู่เฉย ๆ ไม่มีอะไรไปเกาะเกี่ยวกังวล จิตก็จะพ้นไปจากรูปนิมิตอันเรื่องของตัวเอง และคนอื่น

พ้นไปจากความรู้ไม่ยึดความรู้ในเรื่องของตน คือ "ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ" ในเรื่องของคนอื่น คือ "จุตูปปาตญาณ" เมื่อเราไม่เกี่ยวข้องในเรื่องของตน อันมีความจริงหรือไม่จริงก็ตาม ดีหรือไม่ดีก็ตาม รู้หรือไม่รู้ก็ตาม

จิตก็จะพ้น "โลกิยะ" กลายเป็น "อาสวักขยญาณ" แต่บางคนที่ไปยึดก็หลงไปเลย ส่วนผู้ที่มีวาสนาบารมีแก่กล้าก็จะรู้จัก ยับยั้งความรู้ของตน จิตก็เข้าไปสู่กระแสธรรม ขั้นต่ำที่สุดคือ "โสดา"

บางคนไปได้ "วิชชา" เกิดขึ้นในส่วนนามคือ บางทีก็มีญาณรู้ขึ้นมาในเรื่องจิต นิมิตของนามเป็นความรู้ซึ่งผุดขึ้นมาจากความสงบ โดยที่เรามิได้นึกคิด แต่มันก็ผุดขึ้นมาได้ พอเรานึกถึงอะไร สิ่งนั้นก็ผุดขึ้นมาได้อย่างเรานึกทันที เหมือนกับเราเปิดวิทยุรับฟังเสียง และเรื่องราวต่าง ๆ นั้น

บางทีก็รู้อย่างโน้น บางทีก็รู้อย่างนี้ บางทีก็ไม่รู้ บางทีก็ผุดขึ้นมาเองเลยเป็น "วิปัสสนูปกิเลส" ไปก็มี
เพราะฉะนั้น ถึงเรื่องที่เรารู้จริง ก็อย่าไปยึดถือเอา เรื่องไม่จริงเราก็ไม่ยึดไม่ถือเอา ยึดในความเห็นก็มีโทษ ยึดในความรู้ที่ไม่จริงก็มีโทษ ยึดในความรู้ที่จริงก็มีโทษ ฒความรู้จริงน่ะแหละมีโทษมาก

ตัวอย่างเช่น ตัวรู้จริงแล้ว กล่าวไปก็เป็น "อุตตริมนุสสธรรม" รู้ไม่จริง กล่าวไปก็มีโทษ เพราะฉะนั้น นักปราชญ์ท่านจึงเห็นว่า ความรู้ความเห็นก็เป็นตัวทุกข์ ทุกข์เพราะอะไร? เพราะมันมีโทษ "รู้" ตัวนี้เป็น "ทิฏฐิโอฆะ" ถ้าเข้าไปยึดก็ผิด รู้ก็ต้องสักแต่ว่ารู้ เห็นก็สักแต่ว่าเห็นเท่านั้น ไม่ต้องไปตื่นเต้น ชื่นชม ยินดี หรือโอ้อวดใคร

คนที่เขาไปเรียนสำเร็จวิชาชั้นสูงสุดมาจากเมืองนอกนั้น เมื่อเขาไปเที่ยวตามชนบท ตามท้องไร่ท้องนา เขาก็ไม่เคยเล่าให้พวกบ้านนอกฟังถึงเรื่องราวที่เขาได้ไปรู้ไปเห็นมา เขาจะพูดคุยไปตามภาษาของชาวบ้านเท่านั้น การที่เขาไม่เล่าก็เพราะ

๑. คนที่จะรับวิชาจากเขาไม่มี

๒. การเล่าให้เขาฟังนั้นไม่ได้รับประโยชน์

ใช่แต่เท่านั้น แม้กับคนที่สามารถจะรู้ได้ เขาก็ยังไม่เล่า ในทางธรรมก็เหมือนกัน ถึงรู้ก็ต้องทำเป็นไม่รู้ ทำเหมือนกับคนโง่ ๆ

ที่ไม่รู้อะไร เพราะธรรมดาคนดีจริงแล้วเขาก็ต้องทำอย่างนั้น คนที่รู้อะไรแล้ว ก็ไปเที่ยวพูดคุยโม้ โอ้อวดใครต่อใครเขานั้น ถ้าเขาว่า "ไม่จริง" หรือ "ขี้ปด" ก็ยิ่งร้ายไปอีก ถึงเราจะรู้ก็รู้ไป ต้องปล่อยวางตามสภาพ ความสำคัญว่า ตนรู้ก็ไม่มี

เมื่อเป็นไปอย่างนี้ จิตนั้นก็จะเป็นโลกุตตระ พ้นจากความยึดสิ่งทั้งหลายในโลก ย่อมมีความจริงในตัวของมันเองทุกอย่าง ถึงจะไม่จริงมันก็จริงคือ จริงที่มันไม่จริงนั่นแหละ ฉะนั้น เราจะต้องละทั้งความจริง ทั้งความไม่จริง แต่ถึงกระนั้น ก็เป็น "ทุกขสัจ"

เมื่อเรามีความจริงและละความจริงของเราได้ เราก็จะสบาย ไม่ยากจน เพราะเรามีจริง ไม่ใช่เหลว ๆ ใหล ๆ เหมือนเรามีเงินทองมาก ๆ เราก็กองไว้ในบ้านของเรา เราก็ยังมีอยู่ ไม่ยากจน ผู้ที่ความรู้ก็เช่นเดียวกัน ถึงเขาจะทิ้งก็มีไม่ทิ้งก็มี

ดังนั้น จิตของพระอริยเจ้าทั้งหลายจึงไม่ขาดลอย เพราะท่านไม่ได้ทิ้งอย่างฉิบหาย ท่านทิ้งอย่างคนมั่งคนมี ถึงแม้ท่านจะทิ้งแต่สมบัติของท่านก็ยังกองมากมายอยู่อย่างนั้น

คนที่ทิ้งอย่างอนาถายากจนก็คือ ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นของดี และของไม่ดี เมื่อทิ้งของดีเสียแล้วก็ต้องเกิดความฉิบหายเท่านั้น เช่น อะไร ๆ ก็เห็นเป็นของไม่จริงไปทั้งหมด ขันธ์ ๕ ก็ไม่จริง รูปก็ไม่จริง ทุกข์ก็ไม่จริง สมุทัย ก็ไม่จริง มรรคก็ไม่จริง นิโรธก็ไม่จริง นิพพานก็ไม่จริง

ไม่ใช้ความพินิจพิจารณาไตร่ตรองอะไร ๆ ก็ขี้เกียจขี้คร้าน ไม่อยากทำ ปล่อยวางทิ้งหมด ทิ้งอย่างนี้เขาเรียกว่า ทิ้งอย่างอนาถายากจน เช่นอย่างนักปราชญ์สมัยใหม่นั้น ตายไปแล้วเกิดมาก็ยังจนอีก ส่วนพระพุทธเจ้าท่านทิ้งแต่ของจริง ไม่จริง ที่ปรากฏในส่วนรูปนาม

ท่านไม่ให้ทิ้งรูปทิ้งนาม ท่านจึงร่ำรวยไม่อดไม่อยาก แล้วท่านก็ยังมีสมบัติแจกจ่ายให้ลูกหลานของท่านอีก เพราะฉะนั้น ลูกหลานของท่านจึงไม่ยากไม่จน ไปถึงไหน ๆ ก็มีข้าวเต็มบาตรอยู่เสมอ ไม่ต้องกลัวอดกลัวอยาก สมบัติอย่างนี้ย่อมประเสริฐยิ่งเสียกว่าที่จะขี่วอช่อฟ้า หรือเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้นก็ยังสู้ไม่ได้

ฉะนั้น เราทั้งหลายจึงควรดูแบบอย่างที่พระองค์ทรงกระทำ ถ้าใครเห็นว่า ขันธ์ ๕ ไม่ดี มีแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาแล้ว ก็พากันทิ้งขันธ์ ๕ เสียหมด ดังนี้ เขาก็จะต้องเป็นผู้ยากจนอย่างแน่ ๆ

เหมือนคนโง่ที่รังเกียจบาดแผลเปื่อยเน่าที่เกิดขึ้นในร่างกาย ไม่กล้าเอามือไปแตะต้องเลยทิ้งไว้ไม่รักษา ปล่อยให้เน่าเหม็นอยู่กับตัวอย่างนั้น แผลมันก็ไม่มีโอกาสจะหายได้ ส่วนคนฉลาด ก็จะรู้จักรักษาบาดแผลของตนโดยการชำระล้างและหายามาใส่ แล้วก็หาผ้ามาปกปิดพันไว้ไม่ให้เป็นที่น่ารังเกียจ ในที่สุดแผลนั้นก็จะหายเป็นปกติได้

ฉันใดคนที่รังเกียจในขันธ์ ๕ ของตัวเอง มองเห็นแต่ส่วนที่เป็นโทษฝ่ายเดียว ไม่มองเห็นฝ่ายดี ทิ้งขันธ์ ๕ ของตนเสีย ไม่ทำให้เป็นบุญเป็นกุศลขึ้น เช่นนี้ก็ย่อมไม่เกิดประโยชน์อันใดได้เลย คนมีปัญญาย่อมเห็นว่า ขันธ์ ๕ มีทั้งคุณทั้งโทษ จึงควรบำเพ็ญบุญกุศล ให้ปัญญาเกิดขึ้นในรูปนาม

เมื่อปัญญานี้เกิดขึ้นแล้ว เราก็ต้องร่ำรวยเป็นสุข นั่งกินนอนกินสบาย จะอยู่หลายคนก็เป็นสุข อยู่คนเดียวก็เป็นสุข คนจนนั้นถึงมีเพื่อน ก็เป็นทุกข์ ไม่มีก็เป็นทุกข์ ถ้าเรามี "ความจริง" คือ "ธรรมะ" เป็นทรัพย์ของเราแล้ว ถึงจะมีเงิน ก็ไม่ทุกข์ ไม่มีก็ไม่ทุกข์ เพราะจิตของเราเป็นโลกุตตระแล้ว

ส่วนขี้ต่าง ๆ เช่น "โลภะ" ความขี้โมโห อยากได้ของของเขา "โทสะ" ความขี้โกรธ ขี้ชัง "โมหะ" ความขี้หลงซึ่งเป็นขี้สนิมต่าง ๆ ที่เคยเปรอะเปื้อนปกปิดอายตนะของเราไว้ดังนี้ ก็จะหลุดออกไป

คราวนี้ ตา หู จมูก ปาก คอ ของเราก็จะสะอาดและสว่างไสวไปหมด พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ธมฺโม ปทีโป" ธรรมเป็นแสงสว่าง (คือ ดวง "ปัญญา") จิตของเราก็จะไกลจากโทษจากทุกข์ทั้งปวง ไหลไปสู่กระแสนิพพานทุกเวลา
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ธรรมะของท่านพุทธทาส
หาสุขได้..จากทุกข์

โดย พุทธทาสภิกขุ
(พระธรรมเทศนา ประจำคืนในพรรษา ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๑๔)
หาความสุขได้.. จากสิ่งที่เป็นทุกข์

สำหรับในวันนี้ จะได้แสดงด้วยข้อธรรมะข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นพระพุทธภาษิตว่า ผู้มีปัญญาย่อมแสวงหาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นทุกข์ ขอให้ท่านทั้งหลายทุกคนจงตั้งจิตอธิษฐาน ในการที่ว่าจะประพฤติปฏิบัติ ให้ตลอดพรรษานี้โดยหัวข้อที่ว่า จะแสวงหาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นทุกข์
ท่านทั้งหลายจงฟังดูให้ดี ถ้าฟังดูไม่ดี ก็จะไม่เห็นด้วย ในข้อที่ว่า เราจะแสวงหาความสุข จากสิ่งที่เป็นทุกข์ คนโง่ก็เห็นว่า เมื่อเป็นทุกข์เสียแล้ว ก็ไม่มีทางแก้ไข หรือความสุขกับความทุกข์นี้ จะเอามาใช้แทนกันไม่ได้ แต่ผู้มีปัญญาหาเป็นอย่างนั้นไม่ สามารถแสวงหาความสุขได้จากสิ่งที่เป็นทุกข์
นี้มันก็เป็นหนทางที่ดี หรือดีมากทีเดียว เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มีความทุกข์น้อยเข้า หรือถึงกับไม่มีความทุกข์เลย แต่ถ้าฟังไม่ถูก มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร และคงจะคิดเสียว่า มันเป็นสิ่งที่ปฏิบัติไม่ได้ เพราะว่าคนโง่ทั้งหลาย ย่อมหวังในสิ่งที่หวังไม่ได้ หรือ ไม่ควรหวัง
ยกตัวอย่างเช่นว่า คราวหนึ่งได้พูด ได้เทศน์ ได้พิมพ์โฆษณา เรื่องซึ่งมีหัวข้อว่า ความเจ็บไข้มาสอนให้เราเป็นคนฉลาด ความเจ็บ ความไข้ เกิดขึ้นแก่เราเพื่อมาสอนเราให้เป็นคนฉลาด คนที่ไม่เข้าใจก็ล้อว่า เขาไม่ต้องการความเจ็บไข้เขาต้องการลาภอย่างยิ่ง ที่เกิดมาจากความไม่เจ็บไม่ไข้ อ้างพระพุทธภาษิตขึ้นมาว่า อโรคยา ปรมาลาภา ความไม่มีโรคเป็นยอดแห่งลาภ นี้คือคนโง่ใครบ้างที่ว่า อยู่ในโลกนี้แล้วจะไม่เจ็บไม่ไข้
นี้ปัญหามันก็มีว่า เมื่อความเจ็บไข้เกิดขึ้นแล้ว จะต้องทำอย่างไรจะต้องมาเสียใจ มานั่งบ่น นั่งเพ้อว่าเป็นกรรม เป็นเวร เป็นบาป มาถึงเข้าแล้วบางคนก็ร้องไห้กระสับกระส่าย อย่างนี้เรียกว่า คนโง่ เพราะไม่รู้จักต้อนรับ
ฉะนั้นเมื่อ เจ็บไข้ทีไร ต้องรู้จักถือเอาความฉลาดรู้จักพิจารณา และรู้จักสลัดออกไป ด้วยสติปัญญา เหมือนกับว่าเป็นการ ฝึกหัดจิตใจให้เข้มแข็งให้ความทุกข์เพียงเท่านี้ครอบงำไม่ได้ เรื่อยๆ ไป จนกระทั่งความทุกข์ชนิดไหน ก็ครอบงำไม่ได้ เมื่อเราคิดเสียอย่างนี้ ความเจ็บไข้มันก็พ่ายแพ้ไป แม้ว่าความเจ็บไข้นั้นมันจะหนักมาก ถึงกับจะต้องตาย ก็ยังมีทางที่จะคิดได้ว่าสังขารมันเป็นอย่างนี้เอง ความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสังขารทั้งหลายมันเป็นอย่างนี้เอง ถ้าฉลาดถึงขนาดนี้แล้ว ความทุกข์หรือเจ็บไข้หรือความตายชนิดไหนก็ไม่มาทำให้เดือดร้อนได้หรือถึงกับหัวเราะเยาะได้ นี้เป็นหลักสำหรับพุทธบริษัทจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการที่จะเอาชนะความทุกข์

ความเป็นทุกข์ของสังขาร

ทีนี้ก็ย้อนกลับไปหาหัวข้อข้างต้นที่ว่า รู้จักแสวงหาความสุขจากสิ่งที่เป็นทุกข์ หัวข้อนี้มีทางที่จะอธิบายได้มากมายหลายระดับ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ เรื่องความเป็นทุกข์ของสังขาร ในบทที่ว่า สัพเพ สังขารา ทุกขา-สังขาร คือสิ่งที่มีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งทั้งปวงทุกชนิด เป็นทุกข์ หรือว่า เบญจขันธ์อันเป็นที่ตั้งของอุปทานนี้ เป็นความทุกข์ แปลว่า ตัวชีวิตนั้นมันเป็นความทุกข์อยู่ตามธรรมชาติ
ทีนี้เรา จะแสวงหาความสุข จากสิ่งที่เป็นทุกข์นี้ได้อย่างไร? สติปัญญาของคนธรรมดาคงจะทำไม่ได้จึงต้อง อาศัยสติปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า สติปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากพอ ที่จะทำให้สามารถแสวง หาความสุขจากสิ่งที่เป็นทุกข์ เพราะสติปัญญาอันสูงสุดอย่างนี้เองพระองค์จึงได้นามว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้น ขอให้เราทุกคนลองพยายามคิดนึกศึกษาตามที่พระองค์ทรงสอนไว้
ก็ร่างกายจิตใจชีวิตนี้ เมื่อปล่อยไปตามเรื่องตามราวของคนที่ไม่มีความรู้มันก็เป็นทุกข์ แต่ถ้ามีปัญญาก็สามารถที่จะพิจารณา เสาะหาเอาแต่แง่มุมที่จะไม่ต้องเป็นทุกข์ ลองว่ามา ดูว่ามันมีอะไรบ้าง?
ความเกิดเป็นทุกข์ เราจะทำอย่างไร? เราก็ต้อง ศึกษาเรื่องความเกิด ถ้าไม่มีความเกิด เราก็ไม่มีอะไรจะศึกษา ฉะนั้นต้องมีความเกิดมาให้เรา สำหรับเป็นวัตถุแห่งการศึกษา เมื่อเรามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเกิดนี้อย่างถูกต้องแล้ว ก็สามารถจะทำให้ความเกิดนั้นหยุดเป็นทุกข์ หรือถึงกับไม่มีความเกิดเอาเสียทีเดียว
ศึกษาจนรู้ว่า ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา อย่างนั้นอย่างนี้มีแต่สักว่าธรรมชาติล้วนๆ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไป เราได้ความรู้ความเข้าใจถึงขนาดนี้แล้ว ความเกิดก็หมดความเป็นทุกข์แล้วก็ให้สิ่งที่ตรงกันข้ามคือ ความไม่เป็นทุกข์หรือความสุข
มาถึงความแก่ชรา จะเป็นความแก่ชราอย่างไหนก็ตามใจ ถ้ามีปัญญาพอตัว ก็ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับศึกษาเป็นบทเรียนสำหรับศึกษา ให้รู้ว่า ควมแก่มันเป็นอย่างนี้เอง มันก็มาสอนให้เราฉลาดด้วยเหมือนกันอย่างน้อยก็ให้รู้ว่า สังขารทั้งหลายมันเป็นอย่างนี้ ก็หัวเราะเยาะได้ ฯลฯ
ความเจ็บไข้ก็อย่างเดียวกันอีก คืออย่างที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เป็นตัวอย่างนั้น เจ็บไข้ทุกทีก็ย่อมจะฉลาดขึ้นทุกที แต่ถ้าไม่ใช้วิธีนี้ เจ็บไข้ทุกทีก็ยิ่งโง่เข้าทุกที ยิ่งทุกข์ง่าย มีความทุกข์ง่ายขึ้นทุกที จนหมดกำลังใจที่จะต่อสู้กับความเปลี่ยนแปลงของสังขารทั้งหลาย
ทีนี้ก็มาถึง ความตาย ความตายนี้ เป็นความทุกข์ขึ้นมา ก็เพราะว่าทุกคนยึดมั่นถือมั่น ว่าความตายนี้ของเรา ความตายยังไม่ทันมาถึง ก็มีทุกข์เหลือประมาณ
โดยมากคนเรามีความทุกข์ เพราะสิ่งที่ยังไม่มาถึง แทบจะทั้งนั้นหมายความว่าคิดเอาเอง หวั่นวิตกเอาเอง ยึดมั่นถือมั่นเอาเอง เป็นทุกข์มากมายมหาศาล จากสิ่งที่ยังไม่ได้เกิดขึ้น พอถึงคราวที่ตายเข้าจริงๆ หามีเวลาที่จะไปคิดนึกมากอย่างนั้นไม่ มีปัญหาเรื่องความแก่ ความเจ็บ ความตายเป็นปีๆ ล่วงหน้าถึงเวลาจะตายเข้าจริง ไม่กี่นาทีก็ตายได้ ฯลฯ
นี้คือวิธีที่จะทำให้โลกนี้ ไม่มีอะไรที่จะเป็นทุกข์แก่บุคคล ผู้มีสติปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเป็นเครื่องคุ้มครอง
ทั้งหมดนี้ ตามที่กล่าวมานี้ เป็นหลักใหญ่ๆ ในพระพุทธศาสนา เมื่อพูดถึง ความทุกข์ ก็หมายถึง ความทุกข์ ที่เกิดมาจากเบญจขันธ์ ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน เราเป็นผู้รู้จักเข็ด รู้จักหลาบ รู้จักสังเกต เป็นทุกข์ทุกที ก็ฉลาดขึ้นทุกที ไม่ใช่เป็นทุกข์ทุกที ยิ่งโง่เข้าทุกที ยิ่งท้อถอย ยิ่งหมดกำลังใจเข้าทุกทีมีความทุกข์ทีไร ก็จะต้องถือเอากำไรให้ได้จากความทุกข์นั้น ถ้ามันทุกข์มากก็จะถือเอาความรู้ให้ได้มาก คือ ให้มีกำไรมาก แล้วแต่ว่าความทุกข์นั้นมันจะมีมาในลักษณะไหน หรือขนาดไหน ยิ่งทุกข์มาก ยิ่งดี จะได้รู้ความจริงเกี่ยวกับข้อนี้มาก
เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ไม่เท่าไรก็จะไม่มีอะไรที่จะเป็นความทุกข์ ความทุกข์เข้ามา แปลงให้เป็นความสุขไปเสียได้เป็นคาถาอาคมอะไรชนิดหนึ่ง ซึ่งประเสริฐที่สุดสำหรับมนุษย์ คือสามารถที่จะเอาชนะความทุกข์ทุกอย่างได้ ให้กลายเป็นความรู้บ้าง ให้กลายเป็นความสามารถบ้าง


ความดับไม่เหลือ
(บรรยายพิเศษให้แก่คุณหญิงเพื่อน สินธุโสภณ พ.ศ. ๒๕๐๔)

เรื่อง ดับไม่เหลือนั้นมีวิธีปฏิบัติเป็น ๒ ชนิด คือ ตามปกติ ขอให้มีความดับไม่เหลือแห่งความรู้สึกยึดถือว่า “ตัวกู” และ “ของกู” อยู่เป็นประจำ นี้อย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งหมายถึง เมื่อร่างกายจะต้องแตกดับไปจริงๆ ขอให้ปล่อยทั้งหมด รวมทั้งร่างกายชีวิตจิตใจ ให้ดับเป็นครั้งสุดท้าย ไม่มีเชื้ออะไรเหลืออยู่หวังอยู่ สำหรับการเกิดมีตัวเราขึ้นมาอีก ฉะนั้น ตามปกติประจำวันก็ใช้อย่างแรก เมื่อถึงคราวจะแตกดับทางร่างกายก็ใช้อย่างหลัง
ในกรณีที่ประสบอุบัติเหตุ ไม่ตายทันที มีความรู้สึกเหลืออยู่บ้างชั่วขณะก็ใช้อย่างหลัง ถ้าสิ้นชีวิตไปอย่างกะทันหัน ก็หมายความว่าดับไปด้วยความรู้สึกในอย่างแรก อยู่ในตัว และเป็นอันว่ามีผลคล้ายกัน คือความไม่อยากเกิดอีก นั่นเอง
วิธีปฏิบัติอย่างที่ ๑ คือทำเป็นประจำวันนั้นหมายความว่า มีเวลาว่างสำหรับทำจิตใจเมื่อไร ก่อนนอนก็ดี ตื่นนอนใหม่ก็ดี ให้สำรวมจิตเป็นสมาธิด้วยการกำหนดลมหายใจหรืออะไรก็แล้วแต่ถนัด พอสมควรก่อน แล้วจึงพิจารณาให้เห็นความที่สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทุกสิ่งไม่ควรยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นเราหรือเป็นของเรา แม้แต่สักอย่างเดียว เป็นเรื่องอาศัยกันไปในการเวียนว่ายตายเกิดเท่านั้นเอง ยึดมั่นในสิ่งใดเข้า ก็เป็นทุกข์ทันทีและทุกสิ่ง
การเวียนว่ายตายเกิดนั้นเล่า ก็คือการทนทุกข์ทรมานโดยตรง เกิดทุกทีเป็นทุกข์ทุกที เกิดทุกชนิด เป็นทุกข์ทุกชนิด ไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไร ก็เป็นทุกข์ไปตามแบบของการเกิดเป็นอย่างนั้น เกิดเป็นแม่ก็ทุกข์อย่างแม่ เกิดเป็นลูก ก็ทุกข์อย่างลูก เกิดเป็นคนรวยก็ทุกข์อย่างคนรวย เกิดเป็นคนจนก็ทุกข์อย่างคนจน เกิดเป็นคนดี ก็ทุกข์อย่างคนดี เกิดเป็นคนชั่วก็ทุกอย่างคนชั่วเกิดเป็นคนมีบุญก็ทุกข์ไปตามประสาคนมีบุญ เกิดเป็นคนมีบาปก็ทุกข์ไปตามประสาคนมีบาป ฉะนั้น สู้ไม่เกิดเป็นอะไรเลย คือ “ดับไม่เหลือ” ไม่ได้ ฯลฯ
นี่แหละ คือข้อที่บอกให้ทราบว่า การเกิดนั้น ไม่ใช่หมายถึง เกิดจากท้องแม่ทางเนื้อหนังโดยตรง แต่มันหมายถึงการเกิดทางหายใจของ “ตัวกู”ที่เกิดจากท้องแม่ของมัน คือ อวิชชา
การ “ดับไม่เหลือ” ในที่นี้ก็คือ อย่าให้ตัวกูชนิดดังกล่าวนั้น เกิดขึ้นมาได้นั่นเอง เมื่อแม่ของมัน คือ อวิชชา ก็ให้ฆ่าแม่ของมันเสีย ด้วยวิชชา หรือปัญญา ที่รู้ว่า “ไม่มีอะไรควรยึดมั่นถือมั่น” นั่นเอง หรืออีกอย่างหนึ่งกล่าวว่ามันเกิดได้เพราะเราเผลอสติ ฉะนั้น เราอย่าเผลอสติ เป็นอันขาด
ถ้าเป็นคนขี้มักเผลอสติ ก็จงแก้ด้วยความเป็นผู้รู้จักอาย รู้จักกลัวเสียบ้าง โดยอายว่า การที่ปล่อยให้เป็นอย่างนั้นๆ มันเป็นคนสาระเลว ยิ่งกว่าไพร่หรือขี้ข้าสถุลเสียอีก ไม่สมควรแก่เราเลย ที่ว่ารู้จักกลัวเสียบ้างนั้น หมายความว่า มันไม่มีอะไรที่น่ากลัว ยิ่งไปกว่าความเกิดชนิดนี้แล้ว มันยิ่งกว่าตกนรกหรืออะไรทั้งหมด เกิดขึ้นมาทีไร เป็นสูญคนเสียคน ไม่มีอะไรเหลือ
เมื่อมีความอายและความกลัว อย่างนี้บ่อยๆ แล้วสติมันจะไม่กล้าเผลอของมันเอง การปฏิบัติก็จะดีขึ้นตามลำดับ จะเป็นผู้ที่มีการ “ดับไม่เหลือ” อยู่เป็นประจำ ทุกค่ำเช้าเข้านอน ต้องมีการคิดบัญชีเรื่องเกี่ยวกับการดับไม่เหลือนี้ให้รู้รายรับรายจ่ายไว้เสมอไป ข้อนี้มีอานิสงส์สูงไปกว่าไหว้พระสวดมนต์ หรือทำสมาธิเฉยๆ
เรื่องเกี่ยวกับดับไม่เหลือทำนองนี้ ไม่เกี่ยวกับการเพ่ง หรือหลับตาเห็นสีเห็นดวงหรืออะไรที่แปลกๆ เป็นทำนองปาฏิหาริย์หรือศักดิ์สิทธิ์ แต่เกี่ยวกับสติปัญญา หรือสติสัมปชัญญะโดยตรงเท่านั้น อย่างมากที่สุดที่มันจะสำแดงออกก็เพียงถ้ามีสติสมบูรณ์จริงๆ ได้ที่เต็มที่แล้วก็จะสำแดงออกมาเป็นความเบากายเบาใจ สบายกายสบายใจอย่างที่บอกไม่ถูกเท่านั้นเอง ถึงกระนั้นก็อย่านึกถึงเรื่องนี้จะดีกว่า เพราะจะกลายเป็นที่ตั้งอุปาทานอันใหม่ขึ้นมาแล้วมันก็จะดับไม่ลง และมันจะ “เหลือ” อยู่เรื่อย คือ เกิดเรื่อยทีเดียว เดี๋ยวจะได้กลุ้มกันใหญ่และยิ่งไปกว่าเดิม
พวกที่ทำวิปัสสนาไม่สำเร็จ ก็เป็นเพราะคอยจับจ้องเอาความสุขอยู่เรื่อยไป มุ่งนิพพานตามความยึดถือของตนอยู่เรื่อยไป มันก็ดับไม่ลง หรือนิพพานจริงๆ ไม่ได้ มีตัวกูเกิดในนิพพานแห่งความยึดมั่นถือมั่นของตนเองเสียเรื่อย
ฉะนั้น ถ้าจะภาวนาบ้าง ก็ต้องภาวนาว่า ไม่มีอะไรที่ควรยึดมั่นถือมั่นแม้แต่สิ่งที่เรียกว่า นิพพานนั่นเอง “สัพเพ ธัมมา นาลังอภินิเวสาย สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น”
สรุปความว่า ทุกค่ำเช้าเข้านอน ต้องทำความแจ่มแจ้ง เรื่องความไม่ยึดมั่นถือมั่น ให้แจ่มกระจ่างอยู่เสมอ จนเคยชินเป็นนิสัย จนหากบังเอิญตายไปในเวลาหลับ ก็ยังมีหวังที่จะไม่เกิดอีกต่อไปอยู่นั่นเอง มีสติปัญญาอยู่เรื่อยอย่าให้อุปาทาน “ตัวกู” หรือ “ของกู” เกิดขึ้นมาได้เลยในทุกๆ กรณีทั้งกลางวันกลางคืน ทั้งตื่นและหลับ
นี้เรียกว่า เป็นอยู่ด้วยความดับไม่เหลือ หรือ ความไม่มีตัวตน มีแต่ธรรมะอยู่ในจิตที่ว่างจากตัวตนอยู่เสมอไป เรียกว่า ตัวตนไม่ได้เกิด และมีแต่การดับไม่เหลืออยู่เพียงนั้น ถ้าเผลอไป ก็ตั้งใจทำใหม่เรื่อย ไม่มีการท้อถอยหรือเบื่อหน่าย ในการบริหารใจเช่นนี้ก็เช่นเดียวกับเราบริหารกายอยู่ตลอดเวลานั้นเหมือนกัน ให้ทั้งกายและใจ ได้รับการบริหารที่ถูกต้อง คู่กันไปดังนี้ ในทุกกรณีที่ทำอยู่ทุกลมหายใจเข้า-ออก เป็นอยู่ด้วยปัญญา ไม่มีความผิดพลาดเลย
ทีนี้ก็มาถึง วิธีปฏิบัติอย่างที่ ๒ คือ ในเวลาจวนเจียนจะดับจิตนั้นอยากจะกล่าวว่า มันง่ายเหมือนตกกระไดแล้วพลอยกระโจน มันยากอยู่ตรงที่ไม่กล้าพลอยกระโจน ในเมื่อพลัดตกกระไดมันจึงเจ็บมาก เพราะตกลงมาอย่างไม่เป็นท่าเป็นทาง ไหนๆ เมื่อร่างกายนี้มันอยู่ต่อไปอีกไม่ได้แล้ว จิตหรือเจ้าของบ้านก็พลอยกระโจนตามไปเสียด้วยก็แล้วกัน
ให้ปัญญากระจ่างแจ้งขึ้นมาว่าไม่มีอะไรที่น่าจะกลับมาเกิดใหม่เพื่อเอาเพื่อเป็น เพื่อหวังอะไรอย่างใดต่อไปอีก หยุด สิ้นสุด ปิดฉากสุดท้ายกันเสียทีเพราะไปแตะเข้าที่ไหนมีแต่ทุกข์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะไปเกิดเป็นอะไรเข้าที่ไหน หรือได้อะไรที่ไหนมา จิตหมดที่หวังหรือความหวังละลายไม่มีที่จอด มันจึงดับไปพร้อมกับกายอย่างไม่มีเชื้อเหลือมาเกิดอีก
สิ่งที่เรียกว่าเชื้อ ก็คือความหวัง หรือความอยาก หรือความยึดมั่นถือมั่น อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั่นเอง
สมมติว่า ถูกควายขวิดจากข้างหลัง หรือรถยนต์ทับหรือตึกพังทับ ถูกลอบยิง หรือถูกระเบิดชนิดไหนก็ตาม ถ้ามีความรู้สึกเหลืออยู่ แม้สักครึ่งวินาทีก็ตาม จงน้อมจิตไปสู่ความดับไม่เหลือ หรือทำความดับไม่เหลือเช่นว่านี้ให้แจ่มแจ้งขึ้นในใจ เหมือนที่เราเคยฝึกอยู่ทุกค่ำเช้าเข้านอนตื่นขึ้นมา ในขณะนั้นทำให้จิตดับไป ก็เป็นการเพียงพอแล้วสำหรับการ “ตกกระไดพลอยโจน”ไปสู่ความดับไม่มีเชื้อเหลือ
ถ้าหากจิตดับไปเสีย โดยไม่มีเวลาเหลืออยู่สำหรับให้รู้สึกได้ ดังนั้นก็แปลว่า ถือเอาความดับไม่เหลือที่เราพิจารณาและมุ่งหมายอยู่เป็นประจำใจทุกค่ำเช้าเข้านอนนั่นเองเป็นพื้นฐานสำหรับการดับไป มันจะเป็นการดับไม่เหลืออยู่ดี ไม่เสียท่าเสียทีแต่ประการใด อย่าได้เป็นห่วงเลย
ถ้าป่วยด้วยโรคที่เจ็บปวด หรือทนทรมานมาก ก็ต้องทำจิตเบ่งรับว่าที่ยิ่งเจ็บปวดมากนี่แหละ มันจะได้ดับไม่เหลือเร็วเข้าอีก เราขอบใจความเจ็บปวดเสียอีก เมื่อเป็นดังนี้ ปีติในธรรม ก็จะข่มความรู้สึกปวดนั้นไม่ให้ปรากฏหรือปรากฏแต่น้อยที่สุด จนเรามีสติสมบูรณ์อยู่ดังเดิม และเยาะเย้ยความเจ็บปวดได้ ฯลฯ
สรุปความในที่สุด วิธีปฏิบัติทั้ง ๒ ชนิดก็คือ จงมีจิตที่มีปัญญาแท้จริงมองเห็นอยู่ว่า ไม่มีอะไรที่ควรยึดมั่นถือมั่น แม้แต่สักสิ่งเดียว ในจิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิง อย่างนี้แหละ “ไม่มีตัวกู” หรือ “ของกู” มีแต่ธรรมะที่เป็นความหลุดพ้นอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเราจะสมมติเรียกว่า พระรัตนตรัยหรือ มรรค ผล นิพพาน หรืออะไรที่เป็นยอดปรารถนาของคนยึดมั่นถือมั่นนั้นได้ทุกอย่างแต่เราไม่ยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานในสิ่งเหล่านั้นเลย จึงดับไม่เหลือหรือนิพพานได้จริงสมชื่อ นิ แปลว่า ไม่เหลือ, พาน แปลว่า ไป หรือ ดับนิพพาน จึงแปลว่า ดับไม่เหลือ เป็นสิ่งที่มีลักษณะความหมาย การปฏิบัติและอานิสงส์อย่างที่กล่าวมานี้แล
ข้อความทั้งหมดนี้ยังย่ออยู่มาก แต่ถ้าขยันอ่านและพิจารณาอย่างละเอียดไปทุกอักษร ทุกคำ ทุกประโยคแล้ว ก็คงจะพิสดารได้ในตัวมันเองและเพียงพอแก่การเข้าใจและปฏิบัติ ฉะนั้น หวังว่าคงจะอ่านจะฟังกันอยู่เป็นประจำโดยไม่ต้องคำนึงว่า กี่เที่ยว กี่จบ จนกว่าจะเป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้งโดยปัญญา และมั่นคงโดยสมาธิ นำมาใช้ได้ทันท่วงที ด้วยสติ สมตามความประสงค์ทุกประการ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

การปล่อยวาง(หลวงปู่ชา)



การที่เราอยู่ร่วมกันรี้จะต้องมีระเบียบ ระเบียบเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับคนหมู่มาก ไม่ใช่จำเป็นเฉพาะบุคคลเท่านั้น อยู่คนเดียวก็ต้องมีระเบียบอย่างพระวินัย พระวินัยสมัยก่อนนี้มีนิดเดียวพระสงฆ์ที่มาบวชในพระพุทธศาสนามีมากขึ้นต่างคนต่างจะทำอำร ก็มีหลายเรื่อง บางคนอยากจะทำอย่างนั้น บางคนอยากจะทำอย่างนี้ ก็มีกันมาเรื่อยๆ เป็นเหตุให้พระพุทธเจ้าของเราตั้งข้อกติกา คือพระวินัยขึ้นมา เพื่อเป็นข้อปฏิบัติอยู่ไปนานๆ ก็มีตนบางคนก็ทำเรื่องมาอีกหลายอย่าง ดังนั้นพระวินัยจึงไม่มีทางจบสิ้น หลายล้านสิกขาบท แต่ก็ไม่จบ พระวินัยไม่มีทางจบสิ้น แต่ถ้าพูดถึงเรื่องธรรม เรื่องธรรมะนี่มีทางจบ ก็คือ “การปล่อยวาง” เรื่องพระวินัยก็คือเอาเหตุผลกัน ถ้าเอาเหตุผลกันแล้วไม่จบหรอก
สมัยหนึ่งอาตมาไปบริหารพระ 3-4 องค์ไปอยู่ในป่า ไฟไม่ค่อยจะมี เพราะอยู่บ้านป่า องค์หนึ่งก็ได้หนังสือธรรมะมาอ่าน อ่านอยู่ที่หน้าพระประธานที่ทำวัตรกัน อ่านอยู่ก็ทิ้งตรงนั้นแล้วก็หนีไป ไฟไม่มี มันก็มืด พระองค์ที่มาทีหลังก็มาเหยียบหนังสือ จับหนังสือขึ้นมาก็โวยวายขึ้นว่า “พระองค์ไหนนี่ไม่มีสติ ทำไมไม่รู้จักที่เก็บหนังสือ” สอบสวนถามไปถึงพระองค์นั้น พระองค์นั้นก็รับปากว่า “ผมเอาหนังสือเล่มนี้ไว้ที่นี่” “ทำไมท่านไม่รู้จักเก็บหนังสือ ผมเดินมา ผมเหยียบหนังสือเล่นนี้” “โอ...อันนั้นเป็นเพราะท่านไม่สำรวมต่างหากเล่า” เห็นไหมมันมีเหตุผลอย่างนั้น จึงเถียงกัน องค์นั้นบอกว่า “เพราะท่านไม่เอาไปไว้ในที่เก็บ ท่านไม่รู้จักเก็บหนังสือ ท่านจึงไว้อย่างนี้” องค์นี้บอกว่า “เป็นเพราะท่านไม่สำรวม ถ้าท่านสำรวมแล้ว คงไม่เดินเหยียบหนังสือเล่มนี้” มีเหตุผลว่าอย่างนั้น มันก็เกิดเรื่องทะเลาะกัน ทะเลาะกันไม่จบด้วยเรื่องเหตุผล
เรื่องธรรมะที่แท้จริงนั้น ต้องทิ้งเหตุทิ้งผล คือ ธรรมะมันสูงกว่านั้น ธรรมะที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ระงับกิเลสทั้งหลายได้นั้น มันอยู่นอกเหตุเหนือผลไม่อยู่ในเหตุอยู่เหนือผล ทุกข์มันจึงไม่มีสุขมันจึงไม่มี ธรรมนั้นท่านเรียกว่าระงับ ระงับเหตุระงับผล ถ้าพวกใช้เหตุผลอยู่อย่างนี้ เถียงกันตลอดจนตาย เหมือนพระสององค์นั้น
ธรรมที่พระพุทธองค์ท่านตรัสรู้ ต้องอยู่นอกเหตุเหนือผล นอกสุขเหนือทุกข์ นอกเกิดเหนือตาย ธรรมนี้เป็นธรรมที่ระงับ คนเราก็มาสงสัยอยู่นี่แหละ ผู้ชายยิ่งสงสัยมาก ความสงสัยนี่ตัวสำคัญ มีเหตุผลอย่างนั้นอย่างนี้ มันจะตายอยู่แล้ว มันไม่ใช่ธรรมของพระพุทธองค์ ธรรมนั้นเป็นข้อปฏิบัติ เป็นทางเดิน เดินไปเท่านั้น ถ้ามัวคิดว่าเมื่อไปถึงนี้ ฉันนี้สุขเหลือเกิน ไม่ได้ ฉันนี้ทุกข์เหลือเกิน ไม่ได้ แต่ถ้าฉันไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ นี่คือมันระงับแล้วสงสัยไม่มี
ตรงโน้นมันจะมีอยู่ที่ตรงไหน มันก็อยู่ตรงที่ปฏิบัติไปเรื่อยๆ สุขเกิดขึ้นมา ทุกข์เกิดขึ้นมา เรารู้มันทั้งสองอย่างนี้ สุขนี้ก็สักว่าสุข ทุกข์เกิดขึ้นมาเรารู้มันทั้งสองอย่างนี้ สุขนี้ก็สักว่าสุข ทุกข์นี้ก็สักว่าทุกข์เท่านั้น ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา ธรรมนี้เกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นมาดับไปเท่านั้นจะเอาอะไรกับมัน สงสัยทำไมมันเกิดอย่างนั้นเมื่อเกิดอีกทำไมมันไปอย่างนั้นล่ะ สงสัยอย่างนี้มันเป็นทุกข์ ปฏิบัติไปจนตายก็ไม่รู้เรื่อง มันทำให้เกิดเหตุ ไม่ระงับเหตุของมัน


ความเป็นจริง ธรรมที่พวกเราปฏิบัติอยู่ทุกวันนี้ ธรรมนี้นำเราไปสู่ความสงบ สงบจากอะไร จากสิ่งที่ชอบใจ จากสิ่งที่ไม่ขอบใจ ถ้าเราชอบสิ่งที่เราชอบใจ ไม่ชอบสิ่งที่เราไม่ชอบใจ มันไม่หมด ธรรมนี้ไม่ใช่ธรรมระงับ ธรรมนี้เป็นธรรมก่อทุกข์ขึ้นมา ให้เข้าใจอย่างนั้น
ฉะนั้น เราจึงสงสัยตลอดเวลา แหม วันนี้ฉันได้มาแล้ว พรุ่งนี้ทำไมหายไปแล้ว มันหายไปไหน ฉันนั่งเมื่อวานนี้ มันสงบดีเหลือเกิน วันนี้ทำไมมันวุ่นวาย มันไม่สงล เพราะอะไร อย่างนี้ก็เพราะเราไม่รู้เหตุของมัน ครั้นปล่อยวางว่า มันเป็นของมันอยู่อย่างนี้ เห็นไหม มันเป็นอยู่ของมันอย่างนี้ วันนี้มันสงบแล้ว เออไม่แน่นอนหนอ เราต้องเห็นโทษมันอย่างนี้ สงบแล้วมันก็ไม่แน่นอน ฉันไม่ยึดมั่นไว้ สงบก็สงบเถอะ ความไม่สงบก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน ฉันไม่ว่า ฉันเป็นผู้ดูเท่านั้น ที่สงบฉันก็รู้ว่าเรื่องมันสงบที่ไม่สงบฉันก็รู้ว่าเรื่องไม่สงบ เห็นไหมเรื่องมันเป็นอยู่ของมันอย่างนั้น อย่างนี้มันก็ระงับ มันก็ไม่วุ่นวาย มันจะสงบ ฉันก็รู้ว่ามันเรื่องของมัน ฉันจะดูอยู่แค่นี้แหละ ดูเรื่องที่มันสงบ มันก็ไม่แน่นอน ดูเรื่องที่มันวุ่นวาย มันก็ไม่แน่นอน มันแน่นอนอยู่แต่ว่ามันจะเป็นของมันอยู่อย่างนั้นเราอย่าไปเป็นกับมันเลย
ถ้าอย่างนี้ มันก็สบายและสงบ เพราะเรารู้เรื่องมัน ไม่ใช่ว่าเราอยากจะให้เรื่องนั้นเป็นอย่างนั้น อยากให้เรื่องนี้เป็นอย่างนี้ มันสงบ เพราะเรารู้เรื่องว่าเป็นอย่างนั้น แล้ก็มีการปล่อยวาง เราคิดดูซิว่า ถ้าคนทุกคนต้องพูดให้ถูกใจฉัน คนทุกคนต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ฉันจึงจะสบาย คนทั้งโลกจะให้เขามาพูดถูกใจเรามีไหม จะทำถูกใจเราทุกคนมีไหม ไม่มีเมื่อไม่มี เราก็เป็นทุกข์อยู่ตลอดเวลา ถ้าเราไม่มีการปล่อยวาง เราเกิดมาในชีวิตหนึ่ง เราจะหาความสงบว่า คุณต้องพูดให้ถูกใจฉัน คุณต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสบาย ในชีวิตหนึ่งจะได้สบายไหมคนเรา คุณต้องพูดให้ถูกใจฉัน คุณต้องทำให้ถูกใจฉัน ฉันจึงจะสงบ ถ้าไม่อย่างนั้นฉันก็ไม่สงบ คนคนนี้เกิดมาไม่รู้กี่ชีวิตก็ไม่มีความสงบเพราะคนหลายคน ใครจะมาพูดให้ถูกใจเราทุกคนใครจะมาทำให้ดีทุกหน มันไม่มีหรอกอย่างนี้ นี่มันเป็นธรรมะ เราจะต้องศึกษาอย่างนี้
ฉะนั้น เราจะต้องอดทน อดทนต่ออารมณ์ที่มันเกิดขึ้นมา อย่าไปหมายมั่น อย่าไปยึดมั่นจับมาดูแล้วรู้เรื่อง เราก็ปล่อยมันไปเสีย อย่างนางเตยนี้ เห็นไหม มันทำอย่างนั้น มันถูกใจเราไหม บางทีก็ไปในวัดและก็เข้าห้องน้ำเสีย ฉันจะปลงสังขารเดี๋ยวนี้ ฉันไม่หนีหรอก จะไปรื้อส้วมเอามันออกมา ต่อมามันก็ทำอีก เพราะคนมันเป็นบ้าเสียแล้ว จำเป็นมันก็ต้องปล่อยไป นางเตยมันเป็นบ้าเสียแล้ว เราต้องรู้เรื่องกันว่ามันเป็นบ้ามันสติไม่ดี มันเสียสติ อย่าไปถือมันเลย เขาจะพูดอย่างไรก็รับฟังมันไปเถอะ มันจะทำอย่างไรก็ระวังไว้ มันเป็นอย่างนั้นของมัน เราต้องถอยกลับมาอยู่ตรงนี้ เราก็มีความสบาย
อารมณ์ก็เหมือนกันฉันนั้น ที่มันมากระทบเราอยู่ทุกวันนี้ บางทีก็ร้าย บางทีก็ดี บางทีก็ชอบใจ บางทีก็ไม่ชอบใจ คนทุกๆคนนั่งอยู่ในนี้ก็เหมือนกันจะทำให้ถูกใจเราทุกคนมีไหม มันไม่ได้ นอกจากเราปฏิบัติธรรมะให้รู้ว่าคนคนนี้มันเป็นอย่างนี้นานาจิตตังไม่เหมือนกัน


เราจำเป็นต้องอบรมใจของเราทุกๆคนเมื่อมันโกรธขึ้นก็ดูความโกรธ ความโกรธนี้มันมาจากไหน เราให้มันโกรธหรือเปล่า ดูว่ามันดีไหม ทำไมเราถึงชอบมัน ทำไมเราถึงไม่ทิ้งมัน เมื่อโกรธขึ้นมาแล้วไม่ดี ไม่ดีเราเก็บมันไว้ทำไม ก็เป็นบ้าเท่านั้น ทิ้งมันเสียถ้าเห็นว่ามันไม่ดี มันก็จะไปในทำนองนี้
เมื่ออยู่ด้วยกันกับคนมากๆ มันก็ยิ่งให้การศึกษาเรามากที่สุด ให้มันวุ่นวายเสียก่อน ให้รู้เรื่องของความวุ่นวายเสียก่อน มันจึงจะถึงความสงบ อย่าหนีไปที่ไหน พระอานนท์กับพระพุทธเจ้าของเราในสมัยก่อน ไปบิณฑบาตบ้านมิจฉาทิฏฐิ พอไปถึงหน้าบ้าน พระพุทธองค์ก็สะพายบาตรยืนเฉย ท่านก็สบายเพราะว่าท่านเข้าใจว่าเรายืนอยู่เฉยๆ มันไม่บาปหรอก เขาจะให้ก็ไม่เป็นไร เขาจะไม่ให้ก็ไม่เป็นไร ท่านยืนอยู่เฉยๆ พระอานนท์เดินย่ำเท้าไปมา อายเขา คิดว่าพระพุทธองค์นี้อยู่ทำไม ถ้าเขาไล่ก็น่าจะหนีไป เขาไม่ให้ก็ยังทนอยู่ ไม่ก่อประโยชน์อะไรเลย พระพุทธองค์ก็เฉย จนกว่าสุดวิสัยแล้วก็ไป บางทีเขาก็ให้ให้ในฐานที่ไม่เคารพ พระพุทธเจ้าก็เอา เขาให้พระพุทธเจ้าก็เอา ท่านไม่หนีไปไหน ไม่เหมือนพระอานนท์
พอกลับมาถึงอาราม พระอานนท์ก็กราบพระพุทธองค์ ถามว่า
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงไหนที่เขาไม่ใส่บาตรให้เรา เราจะไปยืนอยู่ทำไม มันเป็นทุกข์อายเขา เขาไม่ให้ก็รีบไปที่อื่นเสียดีกว่า”
พระพุทธองค์ตรัส “อานนท์ ตรงนี้ถ้าเรายังไม่ชนะมัน ไปที่อื่นก็ไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่ ไปที่อื่นเราก็ชนะ”
พระอานนท์ว่า “ชนะไม่ชนะไม่รู้เรื่องแหละ อายเขา”
“อายทำไมอานนท์ อย่างนี้มันผิดหรือเปล่า เป็นบาปไหม เรายืนอยู่ เขาไม่ให้ก็ไม่เป็นไร”
พระอานนท์บอกว่า “อาย”
“อายทำไม เรายืนอยู่เฉยๆ มันเป็นบาปที่ไหน อานนท์เราจะต้องทำอยู่อย่างนี้ ถ้าเราชนะมันตรงนี้ ไปที่ไหนมันก็ชนะ แต่ถ้าเขาไม่ให้ เราก็ไปที่โน้น ถ้าไปที่โน้นแล้ว เขาไม่ให้ เราจะไปไหน อานนท์”
“ไปอีก ไปบ้านโน้นอีก”
“ถ้าหากบ้านโน้นเขาก็ไม่ให้ เราจะไปตรงไหน”
“ไปตรงโน้นอีก”
“เลยไม่มีที่หยุดเลย อานนท์ ถ้าเราไม่ชนะตรงนี้ ไปข้างหน้ามันไม่ชนะ ถ้าเราชนะอยู่ที่นี่แห่งเดียว ไปที่อื่นมันก็ชนะทั้งนั้น อานนท์เข้าใจผิดแล้วไม่ต้องอายซิ”


พระองค์ตรัสว่า อะไรเป็นบาป อันนั้นท่านให้อาย อะไรที่ไม่เป็นบาปจะอายทำไม ใครอายก็โง่เท่านั้น ภาวนายังไม่เป็นเลย ถ้าอายอย่างนั้น เราจะไปอยู่ตรงไหนถึงจะมีปัญญา ถ้าไปอยู่คนเดียว ไม่มีใครพูดดีพูดชั่วให้ มันก็สบายแต่เราจะไม่รู้เรื่อง สบายอย่างนี้ มันไม่มีปัญญา ถ้าถูกอารมณ์แล้ว ปัญญามันไม่มี ก็เป็นทุกข์อย่างนั้น
ฉะนั้น เราอยู่ในโลก ก็ต้องมีความสัมพันธ์กับมนุษย์เรื่อยไปเป็นธรรมดา ไม่อยากเป็นมันก็เป็นไม่อยากจะอยู่มันก็อยู่ เป็นไปอยู่อย่างนั้น ให้เรามาพิจารณาอย่างนั้น เราต้องกลับมาย้อนพิจารณาอารมณ์ที่ท่านตรัสว่า นินทาสรรเสริญมันเป็นคู่กันมา เรื่องนินทาเรื่องสรรเสริญเป็นธรรมดาของโลก ถ้าไม่ดีเขาก็นินทา ถ้าดีเขาก็สรรเสริญพระพุทธองค์ท่านไม่เห็นแก่นินทา ไม่เห็นแก่สรรเสริญ จงเรียนสรรเสริญให้มันรู้จัก จงมาเรียนนินทาให้มันรู้จัก ให้รู้จักสรรเสริญกับนินทา สรรเสริญนินทามันก็มีผลมีเหตุเท่ากัน นินทาเราก็ไม่ชอบ นี่เป็นเรื่องธรรมดาของโลก ถ้าสรรเสริญเราชอบ
สิ่งที่เราชอบมันพาให้เราทุกข์มีไหม เช่นว่าเรามีเพชรสักก้อนหนึ่ง เราชอบมาก ชอบกว่าก้อนหินธรรมดา เอาวางไว้ ถ้ามีขโมยมา หยิบเอาก้อนเพชรไป เราจะเป็นอย่างไร นั่นของดีมันหาย ทำให้เราเป็นทุกข์ได้เหมือนกัน
ดังนั้น เราต้องอดทนต่อสู้ ให้เรามีสติคุ้มครองจิตของเรา สติคือความระลึกได้ สัมปชัญญะ คือ ความรู้ตัว อันนี้ช่วยประคับประคองดวงใจของเราให้อยู่กับธรรมะ สติระลึกได้ว่า บัดนี้เราจะจับไม้เท้า เมื่อเราจับไม้เท้าอยู่ก็รู้ว่าเราจับไม้เท้านี่เป็นสัมปชัญญะ ถ้าเรารู้อยู่ในขณะนี้ ขณะเมื่อเราจะทำ หรือเมื่อเราทำอยู่ ก็รู้ตามความจริงของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้แหละที่จะช่วยประคับประคอบใจของเราให้รู้ธรรมะที่แท้จริง
ทีนี้ถ้าหากว่า เราเผลอไปนาทีหนึ่ง ก็เป็นบ้านาทีหนึ่ง เราไม่มีสติสองนาที เราก็เป็นบ้าสองนาที ถ้าไม่มีสติครึ่งวัน เราก็เป็นบ้าอยู่ครึ่งวันเป็นอย่างนี้
สตินี้คือความระลึกได้ เมื่อเราจะพูดอะไร ทำอะไร ต้องรู้ตัว เราทำอยู่ เราก็รู้ตัวอยู่ ระลึกได้อยู่อย่างนี้ คล้ายๆกับเราขายของอยู่ในบ้านเรา เราก็ดูของของเราอยู่ คนจะเข้ามาซื้อของหรือขโมยของของเรา ถ้าเราสะกดรอยมันอยู่เสมอ เราก็รู้เรื่องว่า คนคนนี้มันมาทำไม เราจับอาวุธของเราไว้อยู่อย่างนี้ คือเรามองเห็น พอขโมยมันเห็นเรา มันก็ไม่กล้าจะทำเรา
อารมณ์ก็เหมือนกัน ถ้ามีสติรู้อยู่ มันจะทำอะไรเราไม่ได้ อารมณ์มันจะทำให้เราดีใจอยู่อย่างนี้ตลอดไปไม่ได้ มันไม่แน่นอนหรอก เดี๋ยวมันก็หายไป จะไปยึดมั่นถือมั่นทำไม อันนี้ฉันไม่ชอบ อันนี้ก็ไม่แน่นอนหรอก ถ้าอย่างนี้ อารมณ์นั้นก็เป็นโมฆะเท่านั้น เราสอนตัวของเราอยู่ เรามีสติอย่างนี้ เราก็รักษาอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ตอนกลางวัน ตอนกลางคืน ตอนไหนๆ ก็ตาม

เมื่อเรายังมีสติอยู่ เมื่อนั้นแหละเราได้ภาวนาอยู่ การภาวนาไม่ใช่ว่าเราจะนั่งสมาธิอย่างเดียว ยืนเดินนั่งอยู่เราก็รู้จัก นอนอยู่เราก็รู้จัก เรารู้จักตัวของเราอยู่เสมอ จิตเรามีความประมาทเราก็รู้จัก ไม่มีความประมาท เราก็รู้จักของเราอยู่ ความรู้อันนี้แหละที่เรียกว่า “พุทโธ” เรารู้เห็นนานๆ พิจารณาดีๆ มันก็รู้จักเหตุผลของมัน มันก็รู้เรื่อง
ยกตัวอย่างเช่น ชาวตะวันตกมาอยู่ในประเทศไทย อยู่ไปเฉยๆอย่างนั้น ความที่อยู่ติดต่อใกล้ชิดกันไป ถึงแม้พูดภาษาไม่รู้เรื่องก็ตาม แต่มันรู้เรื่องเข้าใจได้ เห็นไหม มองดูหน้ากันรู้เรื่องกัน ถึงพูดภาษาไม่รู้เรื่อง แต่ก็อยู่กันไปได้ มันรู้กันด้วยวิธีนี้ ไม่ต้องพูดกัน ทำงานก็ต่างคนต่างทำ ทำอยู่ใกล้ๆกันนั่นแหละ ไม่รู้จักพูดกัน มันก็ยังรู้เรื่องกัน อยู่ด้วยกันได้ รู้ได้โดยอากัปกิริยาที่ว่ารักกันหรือชอบกัน อะไรมันก็รู้ของมันอยู่อย่างนี้ เป็นอย่างนั้น เหมือนกันกับแมวกับสุนัข มันไม่รู้ภาษา แต่ว่ามันก็รู้จักรักเจ้าของเหมือนกัน แมวหรือสุนัขอยู่บ้านเรา ถ้าเรามาถึงบ้าน สุนัขมันก็วิ่งไปทำความขอบคุณด้วย เห็นไหม ถ้าเรามาจากตลาดหรือมาจากที่อื่นมาถึงบ้านแมวอยู่ที่บ้านเรา มันก็มาทำความขอบคุณ มันจะร้องว่า เหมียวๆ มันมาเสียดมาสีเรา แต่ภาษามันไม่รู้ แต่จิตมันรู้อย่างนั้น
อันนี้เราก็อยู่ไปได้อย่างนั้น เราต้องให้เข้าใจกันอย่างนั้น เราปฏิบัติธรรมะบ่อยๆ จิตมันก็คุ้นเคยกับธรรมะ เช่นว่า ความโกรธเกิดขึ้นมามันเป็นทุกข์ พระท่านว่ามันเป็นทุกข์มาแล้วชอบทุกข์ไหม ไม่ชอบ แล้วเอาไว้ทำไมถ้าไม่ชอบจะยึดเอาไว้ทำไม ทิ้งมันไปสิ ถ้าทุกข์มันเกิดล่ะ คุณชอบทุกข์หรือเปล่า ไม่ชอบ เมื่อไม่ชอบทุกข์แล้วยึดไว้ทำไม ก็ทิ้งมันเสียซิ ท่านก็สอนทุกวันๆ ก็รู้เข้าไปๆ ทุกข์มันเกิดขึ้นมาครั้งหนึ่ง เราก็รู้คำสอนครั้งหนึ่ง ทุกข์เราก็ไม่ชอบ ไม่ชอบทุกข์แต่เราไปยึดไว้ทำไม สอนอยู่เรื่อยๆ บางทีก็เห็นชัด เห็นชัดก็ค่อยๆวาง วางไปก็เป็นเรื่องธรรมดา อย่างเก่า ทีหนึ่งก็ดี สองทีก็ดี สามทีก็ดี มันก็เกิดประโยชน์แล้ว เกิดรู้เรื่องขึ้นแล้ว
เมื่อมันเกิดมาความรู้เฉพาะตัวของเรา เราจะนั่งอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พูดภาษาไม่เป็นแต่จิตเรารู้ภาษาธรรมะ เราปิดปากตรงนี้ไว้ ปิดปากกาย แต่เปิดปากใจนี้ไว้ ใจมันพูด นั่งอยู่เงียบๆ ยิ่งพูดี พูดกับอารมณ์ รู้อารมณ์เสมอ นี่เรียกว่า “ปากใน” นั่งอยู่เฉยๆ เราก็รู้จัก พูดอยู่ข้างในรู้อยู่ข้างใน ไม่ใช่คนโง่ คนรู้อยู่ข้างใน รู้จักอารมณ์สั่งสอนตัวเองก็เพราะอันนี้...
ชีวิตของเรานี้ มันแก่ทุกวัน เกิดมามีการยกเว้น ไม่แก่บ้างไหม วันคืนของเรานี้ ตอนเช้า ตอนเที่ยง ตอนเย็น ตอนค่ำ มันยกเว้นอายุเราไหม วันนี้มันก็ให้แก่ พรุ่งนี้มันก็ให้แก่ นอนหลับอยู่มันก็ให้แก่ นอนหลับอยู่มันก็ให้แก่ ตื่นอยู่ก็ให้โตขึ้นตามเรื่องของมัน เรียกว่า ปฏิปทาของมันสม่ำเสมอเหลือเกิน เราจะนอนอยู่ มันก็ทำงานของมันอยู่ เราจะเดิน มันก็ทำงานคือ ความโตของเรานี่แหละ กลางวันมันก็โต กลางคืนมันก็โต จะนั่งจะนอนมันมีความโตของมันอยู่ เพราะชีวิตประจำวันมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ร่างกายของเรามันได้อาหาร มันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ นี่เรียกว่าปฏิปทาของมัน มันจึงทำให้เราโต จนไม่รู้สึก ดูเหมือนกับไม่ได้ทำอะไรเลย มันก็โตของมันเอง แต่สิ่งที่เราทำคือ เรากินอาหาร กินข้าว ดื่มน้ำ นั่นเป็นเรื่องของเรา เรื่องร่างกายมันจะโตจะอ้วน มันก็เป็นของมัน เราก็ทำงานของเรา สังขารก็ทำงานของสังขาร มันไม่พลิกแพลงอะไร นี่ปฏิปทามันติดต่อกันอยู่เสมอ


การทำความเพียรของเราก็เหมือนกัน ต้องพยายามอยู่อย่างนั้น เราจะต้องมีสติติดต่อกันอยู่อย่างนั้นเสมอ มีความรู้ติดต่อกันอยู่เสมอเป็นวงกลม จะไปถอนหญ้าก็ได้ จะนั่งอยู่ก็ได้ จะทานอาหารก็ได้ จะกวาดบ้านอยู่ก็ได้ ต้องไม่ลืมมีความรู้ติดต่ออยู่เสมอตัวนี้มันรู้ธรรมะมันจะพูดอยู่เรื่อยๆ ใจข้างในมันจะพูดอยู่เรื่อยๆ เป็นอยู่อย่างนั้น มีความรู้อยู่ มีความตื่นอยู่ มีความเบิกบานอยู่สม่ำเสมออย่างนั้น นั้นเรียกว่า เป็นประโยชน์มาก ไม่ต้องสงสัยอะไรเลย อะไรมันเกิดขึ้นมา เราก็เห็นว่าอันนี้มันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยงอันนั้นก็ดี แต่ว่ามันไม่แน่นอน มันไม่เที่ยง เท่านี้ละเราก็รู้ของเราไปเรื่อยๆ เท่านั้นแหละการปฏิบัติของเรา
มีคนถามว่า การทำภาวนานี้ต้องอธิษฐานหรือไม่ว่า จะทำเวลานานเท่าไร่ ห้า หรือ สิบนาที อาตมาเลยบอกว่า ไม่แน่นอน บางทีอธิษฐานว่า ฉันจะนั่งสามชั่วโมง นั่งไปได้สิบนาทีก็เดือดร้อนแล้ว ไม่ถึงชั่วโมงก็หนีไปแล้ว เมื่อหนีไปแล้วก็มานั่งคิดว่า แหม เรานี้พูดโกหกตัวเราเองเอาแต่โทษตัวเองอยู่ ไม่สบายใจ บางทีก็เอาธูปสักดอกหนึ่งมาจุด อธิษฐานจิตใจว่า ไฟจุดธูปดอกนี้ไม่หมด ฉันจะไม่ลุกหนี ฉันจะพยายามอยู่อย่างนี้ พอท่านพูดอย่างนี้ พญามารก็มาแล้วนั่งเข้าไปสักนิด นั่นทุกข์หลายเหลือเกิน เดี๋ยวมดกัด เดี๋ยวยุงกัด มันวุ่นไปหมด จะลุกหนีไปก็อธิษฐานแล้ว นี่มันตกนรก นึกว่านานเต็มทีแล้ว ลืมตามองดูธูปก็ยังไม่ถึงครึ่งเลย หลับตาอธิษฐานใหม่ต่อไปอีก สามทีสี่ทีธูปก็ยังไม่หมดเลยก็มาคิดเรานี่มันไม่ดีเหลือเกิน โกหกตัวของตัวอยู่ เลยวุ่นยิ่งกว่าเก่าอีก เรานี้เป็นคนไม่ดี เป็นคนอัปรีย์จัญไร เป็นคนโกหกพระพุทธเจ้า โกหกตัวเราเอง เกิดบาปขึ้นมาอีก อาตมาเห็นว่า ต้องพยายามทำไปเรื่อยๆ พอสมควรที่จะเลิกก็เลิก เหมือนกันกับเราทานข้าว เราอธิษฐานมันเมื่อไร ทานไ มันจวนจะอิ่มจะพอ เราก็เลิกเมื่อนั้น กินมากไปก็อาเจียนออกเท่านั้นแหละ ให้มันพอดีอย่างนั้นเราเหมือนพ่อค้าเกวียน ต้องรู้จักกำลังโคของเรา ต้องรู้จักกำลังเกวียนของเรา โคของเรามีกำลังเท่าไร เกวียนของเรารับน้ำหนักได้เท่าไร ต้องรู้จัก ต้องเอากำลังเกวียนของเรา อย่าเอาตามความอยากของเราสิ เรามีเกวียนเล่นเดียว อยากจะบรรทุกหนักให้ขนาดรถสิบล้อ มันก็พังเท่านั้น ก็ตายน่ะสิ มันต้องค่อยๆไป ค่อยๆทำ อย่างนี้ให้รู้จักของเราปฏิปทาเราทำไปเรื่อยๆก็สบาย มันวุ่นวายก็ตั้งใหม่ ถ้ามันวุ่นวายนักก็ลุกเดินจงกรมเสียซิ เดินมันจนเหนื่อย พอเหนื่อยก็มานั่ง นั่งกำหนด มันเหนื่อยมันจะสงบ ระงับ ถ้าเดินก็พอแรง นั่งก็สมควรแล้ว อยากจะพักผ่อนก็พักผ่อนเสีย แต่ว่าจิตใจอย่าลืม มีสติอยู่ ทั้งเดินทั้งนั่ง ทั้งนอน อยู่ให้สม่ำเสมออย่างนั้น ให้เราเข้าใจอย่างนั้น
การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องไม่ย่อหย่อนจะต้องทำความพยายามอย่างนั้น ความอยากจะเร็วของเรา อันนี้ไม่ใช่ธรรมะ มันเป็นความอยากของเรา ใจอยากจะเร็วที่สุด แต่มันทำไม่ได้ธรรมชาติเป็นอยู่อย่างนั้น เราก็กำหนดจิตปฏิบัติตามธรรมชาติของมันอย่างนั้น อยากจะให้มันเร็วที่สุดนั้น ไม่ใช่ธรรม มันคือความอยากของเรา เราจะทำตามความอยากของเรานั้นไม่จบ


ให้รู้จักดูประวัติของพระอานนท์ พระอานนท์นั้นมีศรัทธามากที่สุด พรุ่งนี้เขากำหนดให้พระอรหันต์ทำปฐมสังคายนาแล้ว คณะสงฆ์ก็กำหนดพระอานนท์องค์หนึ่งว่าจะเอาไปร่วมทำสังคายนา แต่จะเอาเฉพาะพระอรหันต์ทั้งนั้น พระอานนท์เหลือเพียงองค์เดียวเท่านั้นที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ไม่รู้จะทำอย่างไร พระอานนท์ก็อาศัยความอยาก นึกว่าเราจะต้องทำอะไรหนอ จึงจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ พรุ่งนี้เขาจะนับเข้าอันดับแล้ว จะประชุมสงฆ์ทำสังคายนา ตอนกลางคืนก็ตั้งใจนั่ง ไม่ได้นอนทั้งคืน นั่งทำอยู่งอย่างนั้น อยากจะเป็นพระอรหันต์ กลัวจะไม่ทันเพื่อนเขาทำไปทุกอย่าง คิดไปทางนี้ก็มีแต่ปัญญาหยาบคิดไปทางโน้นก็มีแต่ปัญญาหยาบ คิดไปทางไหนก็มีแต่ปัญญาหยาบทั้งนั้น วุ่นวายไปหมด คิดไปก็จวนจะสว่าง เรานี่แย่ เราจะทำอย่างไรหนอเพื่อนสหธรรมิกทั้งหลายจะทำสังคายนาแล้ว เรายังเป็นปุถุชนจะทำอย่างไรหนอ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทางแสดงไว้ เราพิจารณาทุกอย่างไม่ขัดข้องแต่เรายังตัดกิเลสไม่ได้ ยังไม่เป็นพระอริยเจ้า ทำอย่างไรหนอ เลยคิดว่าเราก็ทำความเพียรมาตั้งแต่ย่ำค่ำจนถึงบัดนี้ หรือมันจะเหนื่อยไปมากกระมัง คิดว่าควรจะพักผ่อน ก็ปล่อยวางทอดธุระหมดเท่านั้น ศีรษะยังไม่ทันถึงหมอนเลย พอเท้าพ้นพื้นเท่านั้น ตอนนั้นขณะจิตเดียว พอดีจิตรวมได้ ที่ตั้งใจว่าจะพักผ่อน มันปล่อยวางทอดธุระตอนนั้นเองพระอานนท์ได้ตรัสรู้ธรรม ตอนที่ว่าอยากจะให้มันเป็นอย่างนั้น อยากจะให้มันเป็นอย่างนี้ ไม่มีเวลาจะพักผ่อน ไม่ปล่อยวาง ก็เลยไม่มีโอกาสที่จะตรัสรู้ธรรม
ให้เข้าใจว่า การที่ตรัสรู้ธรรมนั้น มันพร้อมกับการปล่อยว่างด้วยสติปัญญา ไม่ใช่ว่าเราจะเร่งให้มันเป็นอย่างนั้น แต่ด้วยเห็นว่ามันไม่ใช่อย่างนั้น พอพักผ่อน พอวางเข้าปุ๊บ ตรงนั้นไม่มีอะไรเข้ามายุ่ง ไม่มีความอยากเข้ามายุ่ง เลยสงบตรงนั้นเลย พอจิตตอนนั้นรวมดีเป็นโอกาสพบตรงนั้น พระอานนท์เกือบจะไม่รู้ตัว รู้ตัวว่ามันเป็นอย่างนั้นเท่านั้น ที่พระอานนท์อยากจะตรัสรู้ให้มันเป็นอย่างนี้ไม่ได้ นี่คือความอยากแต่พอรู้จักวาง ตรงนั้นแหละคือการตรัสรู้ธรรมะ
คนไม่รู้จักมันก็ทำยาก เช่นว่า ตรงนั้นไม่ใช่ที่อยู่ของคน ความวิตกของปุถุชนจะไปวิตกตรงนั้นก็ไม่ได้เช่น นี่พื้น นั่นหลังคา ตรงนี้(ระหว่างหลังคากับพื้น) ไม่มีอะไร เห็นไหม ตางนี้ไม่มีภพ ภพคือหลังคากับพื้น ระยะกลางนี้เรียกว่าไม่มีภพ ถ้าคนจะอยู่ก็ต้องอยู่ข้างล่างหรือข้างบน ตรงนี้ไม่มีคนที่จะอยู่ เพราะว่ามันไม่มีภพ ตรงนี้คนไม่สนใจ การปล่อยวางอย่างนี้ คนไม่สนใจว่าการปล่อยวางมันเกิดอะไรไหม เมื่อขึ้นไปถึงโน้นเป็นภพเคยอยู่ ลงมาทางนี้ก็เป็นภพเคยอยู่ ขึ้นไปข้างบนหน่อยก็สุขสบายหล่นลงมาก็เจ็บ แล้วเป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์กับสุขแต่ที่มันจะวางให้เป็นปกติไม่มี เพราะว่าที่ไม่มีภพนั้นคนไม่สนใจ แม้จิตจะวิตกก็ให้วิตกไปในปกติไม่มีภพ
ที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ไม่มีภพ ไม่มีชาติ คือ ไม่มีอุปทานนั่นเอง อุปาทานเป็นเหตุให้ทุกข์เกิด ถ้าอุปาทานนั้นเราปล่อยไม่ได้ เราอยากจะสงบมันก็ไม่สงบ คนเราอยู่กับภพ ถ้าไม่มีภพ คิดไม่ได้ เพราะนิสัยของคนมันเป็นอย่างนั้น กิเลสของคนเป็นอย่างนั้น พระนิพพานที่พระพุทธองค์ท่านว่าพ้นจากภพชาติ ฟังไม่ได้ ไม่เข้าใจ มันเข้าใจแต่ว่าต้องมีภพชาติ ถ้าไม่มีภพชาติ ถ้าไม่มีที่อยู่ ฉันจะอยู่อย่างไร ยิ่งคนธรรมดาๆ อย่างเราแล้ว ฉันจะอยู่อย่างนี้ไม่ดีกว่าหรือ อยากจะเกิดอีก แต่ก็ไม่อยากตาย มันขัดกันเสียอย่างนี้ ฉันอยากเกิด แต่ฉันไม่อยากตาย มันพูดเอาคนเดียวตามภาษาคนแต่การเกิดแล้วไม่ตายนั้นมีไหมในโลก เมื่อคนอยากเกิดก็คือคนนั้นอยากตายนั่นเอง แต่เขาพูดว่าฉันอยากเกิด แต่ฉันไม่อยากตาย มันคิดสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เขาก็ไปคิดให้มันทุกข์


ทำไมเขาจึงคิดอย่างนั้น เพราะเขาไม่รู้จักทุกข์ เขาจึงคิดอย่างนั้น พระพุทธองค์ท่านว่า ตายนี้มาจากความเกิด ถ้าไม่อยากตาย อย่าเกิดซิ แต่นี่อยากเกิดอีก แต่ว่าไม่อยากตาย พูดกับกิเลสตัณหานี้มันก็ยาก มันก็ลำบาก มันถึงมีการปล่อยวางได้ยาก มีการปล่อยวางไม่ได้อย่างนี้ กิเลสตัณหามันเป็นอย่างนั้น
ฉะนั้น ที่พระพุทธองค์ท่านตรัสว่า ไม่มียางต้นเสาอันนี้ อะไรไปเกาะ ไม่มีที่เกาะ ก็จึงไม่มีภพ ไม่มีชาติ ถ้าพูดถึงว่าเราไม่มีภพมีชาติ เราฟังไม่ได้ จนกระทั่งท่านย้ำเข้าไปถึงตัวตนนี้ว่า ไม่มีตัวมีตน ตัวตนนั้นเป็นเรื่องสมมุติทั้งนั้น มันจริงอยู่ มันก็จริงโดยสมมุติ ถ้าพูดถึงวิมุตติ ตัวตนก็ไม่มี เป็นธรรมธาตุอันหนึ่งเกิดขึ้นมาเพราะเหตุเพราะปัจจัยเกิดขึ้นมาเท่านั้น เราก็ไปสมมุติว่ามันเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เมื่อเป็นสมมุติเป็นตัวเป็นตนก็ยึดตัวยึดตนนั้นอีก เลยเป็นคนมีตน ถ้ามี “ตน” ก็มี “ของตน” ถ้าไม่มี “ตน” “ของตน” ก็ไม่มี ถ้ามี“ตน”มันก็มีสุขมีทุกข์ ถ้ามี“ตน” มันก็มี “ของตน” พร้อมกันขึ้นมาเลย เราไม่รู้เรื่องอย่างนั้น ฉะนั้นคนเราจึงไปคิดว่า อยากเกิดแต่ไม่อยากตาย
พูดถึงเรื่องกระแสพระนิพพานแล้ว ถ้าไม่รู้ปัจจัตตังแล้ว ก็ไม่มีใครที่จะปรารถนาอะไรถึงพระนิพพานนี้ก็ไม่ใช่เป็นเรื่องปรารถนาอีกด้วย พระนิพพานปรารถนาไม่ได้เหมือนกัน อย่างนี้มันเป็นลักษณะที่เข้าใจยาก ถึงเราจะเข้าใจในเรื่องพระนิพพาน แต่จะพูดให้คนอื่นฟัง ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน มันไม่เข้าใจ เพราะธรรมอันนี้ ถ้าแบ่งให้กันได้มันก็สบายละซิ แต่ธรรมนี้มันเป็นปัจจัตตัง มันรู้เฉพาะตัวของเราเอง บอกคนอื่นได้ แต่มีปัญหาอยู่ว่าคนอื่นจะรู้ไหม
ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “อักขาตาโรตถาคตา” แปลว่าพระตถาคตเป็นแต่ผู้บอก นั่นก็เหมือนกับเราทุกวันนี้แหละ เป็นผู้บอก ไม่ใช่ผู้ทำให้ บอกแล้วให้เอาไปทำ จึงจะเกิดความมหัศจรรย์ขึ้น เกิดความเป็นจริงขึ้นเฉพาะตน เป็น “ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ” วิญญูชนรู้เฉพาะตัวเองทั้งนั้น อย่างพูดวันนี้ จะมาเชื่ออาตมานั้นก็ยังไม่ใช่ของดี มันยังไม่ใช่ของแท้ คนที่เชื่อคนอื่นอยู่ พระพุทธองค์ท่านว่ายังโง่อยู่ พระพุทธองค์ท่านให้รับรู้ไว้ แล้วไปพิจารณาให้มันเกิดขึ้นมาโดยเฉพาะตัวเราเอง ธรรมนี้มันจึงเป็นปัจจัตตังอย่างนั้น
ทีนี้ในเรื่องการฟังธรรม ก็ให้ทำความเข้าใจว่าต้องไม่ปฏิเสธ รับฟัง ไม่เชื่อก็พิจารณาดู ไม่เชื่อก็ว่าไม่ว่า เชื่อก็ไม่ว่า วางไว้ก่อน เราจะรู้โดยให้เกิดปัญญา อะไรทุกอย่างถ้าไม่มีเหตุผลเพียงพอในใจของเราเอง ก็ยังไม่ปล่อยวาง คือว่า มีสองข้าง นี่ข้างหนึ่ง นี่ก็ข้างหนึ่ง คนเรานั้นจะแอบเดินมาข้างนี้ หรือแอบเดินไปข้างนั้น ที่เดินไปกลางๆ ไม่ค่อยเดินหรอก มันเป็นทางเปลี่ยวเดี๋ยวรักก็ไปทางรัก พอชังก็ไปทางชัง จะปล่อยการรักการชังนี้ไป มันเป็นทางเปลี่ยว มันไม่ยอมไป


เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ธรรมะ ทรงเทศน์เป็นปฐมเทศนาเลย ตรงนี้ ทางหนึ่งเป็นสุขทางกาม ทางหนึ่งเป็นทางทุกข์ทรมานตนเอง สองทางนี้ไม่ใช่ทางสงบ ท่านพูดว่าไม่ใช่ทางของสมณะ สมณะนี้คือ ความสงบ สงบจากสุขทุกข์ ไม่ใช่มีความสุขแล้วมันสงบ ไม่ใช่มีความทุกข์แล้วมันสงบ ต้องปราศจากสุขหรือทุกข์ มันจึงเป็นเรื่องความสงบ ถ้าเราทำอย่างนั้นแล้วมีความสุขใจเหลือเกิน อันนี้ก็ไม่ใช่ธรรมะที่ดีนะ แต่เราต้องวางสุขหรือทุกข์ไว้สองข้าง ความรู้สึกต้องไปกลางๆ เดินผ่านมันไปกลางๆ เราก็มองดู สุขก็เห็น ทุกข์ก็เห็น แต่เราไม่ปรารถนาอะไร เดินมันเรื่อยไป เราไม่ต้องการสุข เราไม่ต้องการทุกข์ เราต้องการ ความสงบ จิตใจของเราไม่ต้องแวะไปหาความสุข ไม่ต้องแวะไปหาความทุกข์ ก็เกินมันไปเรื่อยเป็นสัมมาปฏิปทา เป็นมรรคมีองค์แปด มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบเกิดขึ้นแล้ว สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริวิตกวิจาร มันก็ชอบทั้งนั้น อันนี้เป็นสัมมามรรคเป็นมรรคปฏิปทา ถ้าจะทำอย่างนี้ให้เกิดอย่างนั้น
ทีนี้เราได้ฟังเราก็ไปคิดดู ธรรมะทั้งหมดนี้ ท่านต้องการให้ปล่อยวาง ปล่อยวางจะเกิดขึ้นมานั้น ต้องรู้ความเป็นจริง ถึงจะปล่อยวางได้ ถ้าความรู้ไม่เกิด ก็ต้องมีการอดทน มีการพยายาม มีการปฏิบัติธรรมอยู่ มันต้องใช้ทุนอยู่เสมอทีเดียว เรียกว่าต้องปฏิบัติธรรม
แต่เมื่อมันรู้เห็นหมดแล้ว ธรรมะก็ไม่ได้แบกเอาไปด้วย อย่างเลื่อยคันนี้ เขาจะเอาไปตัดไม้ เมื่อเขาตัดไม้หมดแล้ว อะไรก็หมด เลื่อยก็เอาวางไว้เลย ไม่ต้องไปใช้อีก เลื่อยคือธรรมะ ธรรมะต้องเอาไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุมรรคผล ถ้าหากว่ามันเสร็จแล้ว ธรรมะที่อยู่ก็วางไว้ เหมือนเลื่อยที่เขาตัดไม้ ท่อนนี้ก็ตัด ท่อนนี้ก็ตัด ตัดเสร็จแล้วก็วางไว้ที่นี่ อย่างนั้นเลื่อยก็ต้องเป็นเลื่อยไม้ก็ต้องเป็นไม้ นี่เรียกว่าถึงหยุดแล้ว ถึงจุดของมันที่สำคัญแล้ว สิ้นการตัดไม้ ไม่ต้องตัดไม้ ตัดพอแล้ว เอาเลื่อยวางไว้
การประพฤติปฏิบัติต้องอาศัยธรรมะ ถ้าหากว่าพอแล้ว ไม่ต้องเพิ่มมัน ไม่ต้องถอนมัน ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยวางอยู่อย่างนั้น เป็นไปตามธรรมชาติอันนั้น ถ้าไปยึดมั่นหมายมั่น สงสัยอันนี้เป็นอย่างนั้น มันอยู่ไกลเหลือเกิน อยู่ไกลมากทีเดียว ยังเป็นเด็กอยู่ ยังเป็นเด็กอมมืออยู่นั่นแหละ ทำอะไรไม่ถูกอยู่นั่น ไม่เอาแล้วอย่างนั้น มันเป็นทุกข์ต้องดู ต้องดูออกจากจิตใจของเรา ดูมันปล่อยมัน ดูว่าอะไรมันเกิดขึ้น ก็รู้ว่าอันนี้ไม่แน่ อันนี้เกิดไม่จริง อันนี้มันปลอม ความจริงมันก็อยู่อย่างนั้น ที่เราอยากให้อันนั้นเป็นอันนี้ อันนี้เป็นอันนั้น นั่นไม่ใช่ทาง มันเป็นอยู่อย่างนั้น ก็วางมันเสีย ความสงบเกิดขึ้นได้ เราข้ามไปข้ามมา มันไม่รู้เรื่อง ก็เป็นทุกข์ตลอดเวลา หายสงสัยเสีย อย่าไปสงสัยมัน เลิกมันเถอะ อย่างไปเป็นทุกข์หลายพอแล้ว ปล่อยวางมันเสีย (หัวเราะ)
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ตามดูจิต(หลวงปู่ชา)


บัดนี้ เป็นโอกาสที่พวกเราทั้งหลายจะได้มีการอบรมธรรมปฏิบัติกัน พระบรมศาสดาท่านกล่าวถึงการปฏิบัติไว้ว่า บุคคลที่ยังไม่ได้รับการอบรมปฏิบัติก็จะไม่เข้าใจในธรรมไม่เข้าใจในธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ หรือในสัญชาตญาณที่คู่กับเราแต่เกิด ธรรมชาติอันนี้หรือสัญชาติญาณอันนี้มันเกี่ยวข้องกันกับชัวิตของเราตลอดเวลา เราจะเรียกว่าของที่มันเป็นอยู่ก็ได้ เรียกว่าสัญชาติญาณก็ได้ มันมีความเฉลียวฉลาดอยู่ในนั้น ซึ่งช่วยป้องกันรักษาตัวมันเองมาตลอด สัตว์ทุกจำพวกเมื่อเกิดมันต้องรักษามันแหละ การรักษาตัว ปกป้องชีวิต ป้องกันอันตรายทั้งหลาย แสวงหาเครื่องเลี้ยงชีวิต นี้เหมือนกันหมด เช่น สัตว์เดรัจฉาน มันก็กลัวอันตราย แสวงหาความสุข เหมือนกันกับสัญชาตญาณมนุษย์เรา อันนี้ท่านเรียกว่าเป็นธรรมชาติหรือสัญชาตญาณ จะมารักษาตัวมันตลอดเวลา ธรรมชาตินั่นเอง ธรรมชาติเรื่องกายหรือเรื่องจิตใจ
เราจะต้องมารับการอบรมใหม่ เปลี่ยนใหม่
ถ้าหากว่าเรายังไม่ได้รับการอบรมบ่มนิสัย ก็คือยังเป็นของที่ไม่สะอาด ยังเป็นของที่สกปรก เป็นจิตใจที่เศร้าหมองเหมือนกันกับต้นไม้ในป่า ซึ่งมันเกิดมามันก็เป็นธรรมชาติ ถ้าหากว่ามนุษย์เราต้องการจะเอามาทำประโยชน์ดีกว่านั้น ก็ต้องมาดัดแปลง สะสาง ธรรมชาติอันนี้ให้เป็นของที่ใช้ได้ เช่นโต๊ะนี้ หรือบ้านเรือนของเรานั้น เกิดจากเราสามารถเอาธรรมชาติมาทำเป็นที่อยู่อาศัย เปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติอันนั้นมา มนุษยชาตินี้ก็เหมือนกัน ต้องมาปรับเปลี่ยนใหม่ ในทางพุทธศาสนานี้เรียกว่า พุทธศาสตร์
พุทธศาสตร์ คือความรู้ทางพุทธศาสนา สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงความรู้สึกของพวกเราทั้งหลาย ซึ่งมันติดแน่นอยู่ในอันใดอันหนึ่ง เช่น เราเกิดมามีชื่อเสียงเรียงนามมาตั้งแต่วันเกิด เช่นว่า เรียกว่าตน ตัวเรา ของเรา นี้สมมุติกันขึ้นมาว่าร่างกายของเรา จิตใจของเรา ซึ่งสมมุติชื่อขึ้นมาจากธรรมชาตินั่นเอง พวกเราทั้งหลายก็ติดแน่นอยู่ในตัวเรา หรือในของของเรา เป็นอุปาทานโดยที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัว เป็นอย่างนี้ในทางพุทธศาสนานั้นท่านสอนให้รู้ยิ่งเข้าไปกว่านั้นอีก ทำจิตใจให้สงบให้รู้ยิ่งเข้าไป ยิ่งกว่าธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ จนเป็นเหตุให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในอัตตาตัวตนอันนี้ พูดตามชาวโลกเราว่าตัวว่าตน ว่าเราว่าเขา ทางพุทธศาสนานั้นท่านเรียกว่า ตัวตนเราเขาไม่มี นี่คือมันแย้งกัน มันแย้งกันอยู่อย่างนี้ ตัวเราหรือของเราซึ่งพวกเราเข้าใจกันตั้งแต่เราเกิดมาจนรู้เดียงสา จนเกิดเป็นอุปาทานมาตลอดจนทุกวันนี้ อันนี้ก็เป็นเครื่องปกปิดธรรมอันแท้จริง อันพวกเราทั้งหลายไม่รู้เนื้อรู้ตัว ฉะนั้นในทางพุทธศาสนาท่านจึงให้มาอบรม
การอบรมในทางพุทธศาสนานั้น เบื้องแรกท่านว่าให้เป็นคนซื่อสัตย์สุจริต ตามบัญญัติท่านเรียกว่าให้พากันรักษา ศีล เป็นเบื้องแรกเสียก่อน นี่ข้อประพฤติปฏิบัติจนเป็นเหตุไม่ให้เกิดโทษ ไม่ให้เกิดทุกข์ทางกายและทางวาจาของเรา อย่างที่เราทั้งหลายอบรมกันอยู่ ให้อายและกลัว ทั้งอายทั้งกลัว อายต่อความชั่วทั้งหลาย อายต่อความผิดทั้งหลาย อายต่อการกระทำบาปทั้งหลาย รักษาตัวกลัวบาป เมื่อจิตใจของเราพ้นจากความชั่วทั้งหลาย พ้นจากความผิดทั้งหลาย ใจเราก็เยือกเย็น ใจเราก็สบาย ความสบายหรือความสงบอันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติซึ่งไม่มีโทษนั่นก็เป็น สมาธิ ขั้นหนึ่ง


ที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านตรัสว่า สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทธานสาสนํ ท่านว่าเป็นหัวใจของพุทธศาสนา
สพฺพปาปสฺส อกรณํ การไม่ทำบาปทางกาย ทางวาจา คือ การไม่ทำผิดทำชั่ว ทางกายทางวาจา อันนี้เป็นตัวศาสนา เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือ เอตํ พุทธานสาสนํ
กุสลสฺสูปสมฺปทา เมื่อมาทำจิตของตนให้สงบ ระงับจากบาปแล้ว ก็เป็นจิตที่มีกุศลเกิดขึ้นมา เอตํ พุทธานสาสนํ อันนี้เป็นคำสอนของท่านหรือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาเหมือนกัน
สจิตฺตปริโยทปนํ การมาทำจิตใจของตนให้ผ่องใสขาวสะอาด เอตํ พุทธานสาสนํ อันนี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาอีกประการหนึ่ง
ทั้งสามประการนี้เป็นหัวใจของพุทธศาสนา ก็ประพฤติปฏิบัติอันนี้ ซึ่งมันมีอยู่ในตัวเราแล้ว กายก็มีอยู่ วาจาก็มีอยู่ จิตใจก็มีอยู่ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านจึงให้ปฏิบัติ ให้พิจารณาตัวในตัว ในของตัว ซึ่งมันมีอยู่ ของทั้งหมดที่เราศึกษาเราเรียนกันนั้น มันจะมารู้ความเป็นจริงที่ตัวของเรา ไม่ไปรู้อยู่ที่อื่น
เบื้องแรกก็รู้จากการได้ฟังที่เรียกว่า สุตมยปัญญา การได้ฟัง การได้ยินอันนี้ก็เป็นเหตุให้รู้ เป็นเหตุให้เกิดปัญญาเช่นว่า สมมติว่าวันนี้เราเพิ่งได้ยินว่าสีขาว แต่ก่อนนี้เราไม่เคยได้ยิน ที่นี้เมื่อเรารู้ว่าสีขาวมันเป็นเช่นนี้ เราก็คิดไปอีก สีอื่นจะไม่มีหรือ หรือสีขาวจะแปรเป็นสีอื่นจะได้หรือไม่ เป็นต้นนี่เรียกว่า จินตามยปัญญา หรือว่าเราคิดไป ก็ไปคิดลองดูเอาสีดำมาปนในสีขาว มันก็เกิดเป็นสีอื่นขึ้นมาอีก เป็นสีเทาอย่างนี้เป็นต้น การที่เราจะได้รู้จักสีเทาต่อไปนั้น ก็เพราะว่าเรา คิด ปัญญาเกิดจากการคิด การวิพากษ์วิจารณ์ เราเลยรู้สูงขึ้นไปกว่าสีขาว รู้สีเทาเพิ่มขึ้นไปอีก ปัญญาเกิดจากสิ่งทั้งสองนี้
นี้เป็นปัญญาที่เป็นโลกียวิสัย ซึ่งชาวโลกพากันเรียนอยู่ทั้งเมืองไทย จะไปเรียนนอกมาก็ตาม มันก็คงอยู่ในสุตมยปัญญา จินตามยปัญญาเท่านั้น อันนี้เป็นโลกียวิสัย พ้นทุกข์ไม่ได้ พ้นทุกข์ได้ยาก หรือพ้นไม่ได้เลยทีเดียว เพราะเมื่อรู้สีขาว สีเทาแล้ว ก็ไปยึดมั่น(อุปาทาน) ในสีขาว สีเทาอันนั้น แล้วจะปล่อยวางไม่ได้ เช่นว่า เราเกิดอารมณ์ขึ้นมา ได้ยินเขาว่าเราไม่ดี เรียกว่านินทา อดเสียใจไม่ได้ อดน้อยใจไม่ได้ เข้าไปยึดมั่นถือมั่น(อุปาทาน) ในอารมณ์อันนั้น เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมาเพราะ อุปาทาน นี้เรียกว่าการรู้หรือการเห็นจากการได้ฟัง มันจะพ้นทุกข์ไม่ได้ หรือว่าเขาสรรเสริญเรา มันอดดีใจไม่ได้ แล้วก็เข้าไปยึดมั่นถือมั่นในความดีนั้นอีก ไม่ได้ตามปรารถนาแล้วก็ทุกข์อีก สุขแล้วก็ทุกข์ ทุกข์แล้วก็สุข ดีแล้วก็ชั่ว ชั่วแล้วก็ดี เป็นตัววัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนแปรไปไม่จบ อันนี้เป็นโลกียวิสัย เช่นที่ปรากฏอยู่ในโลกทุกวันนี้เราเคยรู้เคยเห็น จะเรียนไปถึงที่สุดอะไรที่ไหนก็ตาม มันก็ยังทุกข์ เอาทุกข์ออกจากตัวไม่ได้นั่นเป็นปัญญาโลกีย์ ละทุกข์ไม่ได้ ไม่พ้นจากทุกข์ ความร่ำรวยเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีที่อยู่ในโลกนี้มันก็ไม่พ้นจากความทุกข์ เพราะมันเป็นโลกียวิสัย ปัญญาทั้งสองประการนี้ท่านยกให้โลก ปกครองกันอยู่ในโลก วุ่ยวายกันอยู่ในโลก ไม่มีทางจบ ถึงแม้จะจนมันก็ทุกข์ ถึงแม้จะรวยแล้วมันก็ยังทุกข์อยู่อีก ไม่พ้นไปจากทุกข์


ปัญญาโลกุตตระที่จะเกิดขึ้นมาต่อไป เป็นความรู้ของพุทธศาสนา ซึ่งเป็นโลกุตตระ พ้นจากทุกข์ พ้นจากวัฏฏสงสาร อันนี้ท่านพูดถึงการอบรมจิตใจ (ภาวนา) ไม่ต้องอาศัยการฟัง ไม่ต้องอาศัยการคิด ถึงฟังมาแล้วก็ดี ถึงคิดมาแล้วก็ดี เมื่อภาวนาทิ้งมัน ทิ้งการฟังไว้ ทิ้งการคิดเสียเก็บไว้ในตู้ แต่มาทำจิต (ภาวนา) อย่างที่พวกเรามาฝึกกันอยู่ทุกวันนี้ หรือเรียกว่าทำกรรมฐาน ที่โบราณาจารย์ทั้งหลายท่านแยกประเภทส่วนแห่งการกระทำ แยกข้อประพฤติ ปฏิบัติ เรียกว่า สมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน
สมถวิปัสสนาเป็นแนวทางที่ให้พวกเราทั้งหลายปฏิบัติให้เป็นโลกุตตรจิต ให้พ้นจากวัฏฏสงสาร เช่นว่าเรานั่ง ไม่ต้องฟัง และไม่ต้องคิด ตัดการฟัง ตัดการคิดออกและยกส่วนใดส่วนหนึ่งขึ้นพิจารณา เช่น เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ หรือเรายกอานาปานสติ คือ หายใจเข้านึกว่า พุท หายใจออกนึกว่า โธ ในเวลาที่เราทำกรรมฐานอยู่นั้นในเวลาที่เรากำหนดลมอยู่นั้น ท่านไม่ให้ส่งจิตไปทางอื่น ให้กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ออกไปแล้วเข้ามา เข้ามาแล้วก็ออกไป ไม่ต้องอยากรู้อะไรมาก ไม่ต้องอยากเห็นอะไรต่อไป ให้จิตของเรารู้เฉพาะลมที่มันเข้าหรือมันออก เรียกว่าการกำหนดลม เป็น อานาปานสติ
การกำหนดลมนี้บางคนกำหนดไม่ได้ การกำหนดลมเราจะต้องเอาสภาวะที่มันเป็นอยู่ หายใจเข้า ยาว หายใจออก สั้น เท่าไร อันนั้นไม่เป็นประมาณ เป็นประมาณที่ว่ามันสบายอย่างไร หายใจแรงหรือมันค่อย หรือมันยาว หรือมันสั้น เราจะต้องทดลองหายใจดู มันถูกจริตที่ตรงไหน มันสบายอย่างไร ลมไม่ขัดข้อง จะกำหนดตามลมก็สบายสะดวก ตัวอย่างเช่น เราฝึกเย็บผ้าด้วยจักร เราก็ควรเอาจักรมาลองเอาเท้าเราถีบจักรเข้า ถีบจักรเปล่ายังไม่ต้องเย็บผ้า ให้มันชำนาญเสียก่อน เมื่อเท้าเราชำนาญพอสมควรแล้วค่อยเอาผ้ามาใส่ เย็บไปพิจารณาไป
การกำหนดลมหายใจนี้ก็เหมือนกัน ก็หายใจเบาๆ เสียก่อน ไม่ต้องกำหนดอะไร มันยาว มันสั้น มันหยาบ มันละเอียด มันสบายอย่างไร อันนั้นเป็นจริตของเรา ความพอดีของมันนั้น ไม่ยาว ไม่สั้น พอดี เรากำหนดเอาอันนั้นเป็นประมาณ นี้เรียกว่าให้กรรมฐานถูกจริต แล้วค่อยๆ ปล่อยลมออกไป แล้วก็สูดลมเข้ามา เราจะกำหนดว่า เมื่อลมเข้าต้นลมอยู่ปลายจมูก กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่สะดือ เมื่อเราหายใจออก ต้นลมอยู่สะดือ กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่จมูก ให้เรากำหนดอย่างนี้เสียก่อน แล้วก็สูดลมเข้าผ่านปลายจมูก หทัย สะดือ เมื่อออกตั้งต้น สะดือ หทัย ปลายจมูก เป็นต้น ทำอยู่แต่อย่างนี้แหละ ไม่ต้องสนใจอื่น
เมื่อเวลาเราทำ (สมถ) กรรมฐาน คือกำหนดลมไม่ต้องพิจารณาอะไร เอาสติประคองจิตของเรา ให้รู้ตามลมเข้าออกเท่านั้น ไม่ต้องสนใจอย่างอื่น ไม่ต้องพิจารณาอย่างอื่นลมก็สบายไม่ขัดข้อง ลมเข้าก็สบาย ลมออกก็สบาย เอาความรู้สึกที่เรียกว่า สติ สติตามลม ส่วนสัมปชัญญะก็รู้อยู่ว่าสติเราตามลม ขณะที่เรากำลังทำอยู่นั้น มีสติ แล้วก็มีลมมีสติตามลม เราจะมองดูในที่อันนั้น เราจะรู้ลม เห็นลม ว่ามันยาวสั้นประการใด เห็นลมและมีสติอยู่ว่าเรารู้ลม แล้วก็เห็นจิตของเราตามลม เห็นทั้งลม เห็นทั้งสติ เห็นทั้งจิต 3 ประการรวมกัน หายใจเข้าก็รวม หายใจออกก็รวม รู้สึกอยู่อย่างนี้ มันจะเป็นอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป มันจะมีอะไรบ้างต่อไป อย่าคิดไป ทำอย่างนี้มันจะดี จะเป็นอย่างไรต่อไปไม่ต้องคิด เรียกว่ากำหนดลมเข้าออกสบาย


เมื่อหากว่าจิตของเรากำหนดอารมณ์กับลมหายใจถูกแล้ว มันจะไม่ขัดข้อง ลมก้ไม่ขัดข้อง ผู้รู้ก็ไม่ขัดข้อง ทุกอย่างทุกส่วนก็ไม่ขัดข้อง เราเพียงแต่รู้อันเดียวเท่านั้นแหละคือรู้แต่เพียงลมหายใจเข้าออก คือกำหนดรู้ว่า ต้นลม่คือจมูกกลางลมคือหทัย ปลายลมคือสะดือ เมื่อลมมันถอนออกมาต้นลมอยู่สะดือ กลางลมอยู่หทัย ปลายลมอยู่จมูก 3 ประการนี้เรานั่งพิจารณากำหนดรู้อยู่เช่นนั้น ให้มันรู้ทั้ง 3 นี้เสมอเรียกว่าเรามีสติเต็มที่ของเรา มีผู้รู้ควบคุมสติอันนั้นอยู่เต็มที่เช่นนี้เรียกว่าเราทำ(สมถ) กรรมฐาน จนกว่าจิตเรามันสงบ
เมื่อจิตเราสงบ กายมันก็เบา ใจมันก็เบา ลมมันก็ละเอียด เมื่อเรามีลมอันละเอียดแล้ว ก็ไม่ต้องตามลม เพราะการตามลมเข้าไป มันเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อไม่อยากจะตามเสียแล้ว เอาสติกำหนดที่ปลายจมูกของเรานี้ พอแต่รู้ว่ามันเข้า พอแต่รู้ว่ามันออก เท่านี้ก็พอแล้ว จิตสบาย กายก็เบาใจสงบ ลมก็ละเอียด อันนี้จิตเป็นสมาธิ รู้ตามลมอย่างเดียวเมื่อมันละเอียดเต็มที่เข้าไปนั้น มันจะเกิดความละเอียดขึ้นมาใจใจของเราอีก ลมที่เรากำหนดอยู่นี้มันจะหายไป มันจะไม่มีลม ที่จริงมันมีอยู่หรอกแต่มันละเอียดที่สุดจนกำหนดไม่ได้ ก็เลยเกิดเป็นคนไม่มีลม นั่งเฉยๆ อยู่ นึกว่าไม่มีลม
ตอนนี้พระโยคาวจรเจ้ามักจะตกใจ กลัวว่าเราไม่มีลมกลัวว่าเราจะเป็นอะไรไป ถ้าลมไม่มีแล้วจะเอาอะไรเป็นอารณ์ต่อไปอีก เราจะต้องเอาความรู้สึกว่าลมไม่มีนั่นแหละเป็นอารมณ์ต่อไป ไม่เป็นโทษ ไม่เป็นอันตราย เราทำจิตของเราให้รู้ว่าไม่มีลมเข้าไป ถึงกาลถึงเวลาแล้วเป็นเอง อันนี้ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องสะดุ้ง จะเป็นไปอย่างไรก็ตาม ก็รู้ รู้ใจของเราที่มันเป็นอย่างไร กำหนดจิตเข้าไปว่ารู้อย่างไร จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด อันนี้เป็นอารมณ์ของการกระทำจิตให้สงบ(สมถ)เบื้องแรก
พูดถึงความสงบ(สมถ) พอมันสงบแล้วก็มีส่วนที่มันไม่สงบมาปะปนเข้า เช่นว่า เราเพิ่งมาฝึกจิตของเราเดือนหนึ่ง 10 วัน 5 วัน โดยมากมันก็ยังไม่สงบ ถ้ามันไม่สงบนั้น ไม่ต้องน้อยใจ มันเป็นเรื่องธรรมดาของมัน เรื่องจิตอันนี้มันจะอยู่นิ่งๆ ในที่ของมันไม่ได้หรอก บางทีมันมีอาการคิดอย่างโน้นคิดอย่างนี้ ในขณะอยู่ในที่สงบอันนั้นแหละบางคนก็จิตไม่สงบ จิตฟุ้งซ่าน ใจก็ไม่สบาย ใจเขาก็ไม่ดี เพราะว่าจิตไม่สงบ อันนี้เราต้องพิจารณาด้วยปัญญาของเรา เรื่องไม่สงบอันนั้นเพราะเราไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันเท่านั้นเองถ้าเรารู้ตามความเป็นจริงของมันแล้ว อันนั้นสักแต่ว่าอาการของจิต จริงๆ แล้วจิตมันไม่ฟุ้งไปอย่างนั้น เช่นว่า เรารู้ความคิดแล้วว่า บัดนี้เราคิดอิจฉาคน นี้เป็นอาการของจิตแต่เป็นของไม่จริง มันไม่เป็นความจริง เรียกว่าอาการของจิตมันมีตลอดเวลา ถ้าหากคนไม่รู้ตามความเป็นจริงของมันแล้วก็น้อยใจว่าจิตเราไม่อยู่นิ่ง จิตเราไม่สงบ อันนี้เราต้องใช้การพิจารณาอีกทีหนึ่งให้มันเข้าใจ เรื่องของจิตนั้นนะ มันเป็นเรื่องของอาการของมัน แต่ที่สำคัญคือ มันรู้ รู้ดีมันก็รู้ รู้ชั่วมันก็รู้ รู้สงบมันก็รู้ รู้ไม่สงบมันก็รู้ อันนี้คือตัวรู้พระพุทธเจ้าของเราท่านให้ตามรู้ ตามดูจิตของเรา
จิตนั้นคืออะไร จิตนั้นอยูที่ไหน ทุกคนที่นั่งอยู่ที่นี่เราก็คงรู้ตัวของเรา ความรู้ที่มันรู้นี่มันรู้อยู่ที่ไหน จิตก็เหมือนกัน จิตนี้คืออะไร มันเป็นธรรมชาติ หรือเป็นสัญชาตญาณอันหนึ่งที่มันมีอยู่ อย่างที่เราได้ยินอยู่เดี๋ยวนี้แหละ มันมีความรู้อยู่ ความรู้นี้มันอยู่ที่ไหน ในจิตนั้นมันเป็นอย่างไร ทั้งความรู้ก็ดี ทั้งจิตก็ดี เป็นแต่ความรู้สึก ผู้ที่รู้สึกดีชั่ว เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก รู้สึกดีหรือชั่ว หรือรู้สึกผิดหรือถูก คนที่รู้สึกนั้นแหละเป็นคนรู้สึกตัว รู้สึกตัวมันคืออะไร มันก็ไม่คืออะไร ถ้าพูดตามส่วนแล้วมันเป็นอยู่อย่างนี้ ถ้ารู้สึกผิดไปก็ไปทำผิดมัน รู้สึกถูกก็ไปทำถูก ฉะนั้นท่านจึงให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาเรื่องจิตของเรานั้นมันเป็นอาการของจิต เรื่องมันคิดมันคิดไปทั่ว แต่ผู้รู้คือปัญญาของเราตามรู้ ตามรู้อันนั้นตามเป็นจริง


ถ้าเราเห็นอารณ์ตามเป็นจริงของเราแล้ว มันก็เปลี่ยนไปอีกประเภทหนึ่ง (วิปัสสนากรรมฐาน) เช่นว่า เราได้ยินว่ารถทับคนตายเป็นต้น เราก็เฉยๆ ความรู้ชนิดนี้มันก็มี แต่มันรู้ไม่เห็น รู้ไม่จริง รู้ด้วยสัญญา (ความจำ) ขนาดนี้มันรู้อย่างนี้ ทีนี้ถ้าหากว่าเดินไปดูซิรถมันทับคนตายที่ไหนไปเห็นร่างกายคนนั้นมันเละหมดแล้ว อันความรู้ครั้งที่สองนี้มันดีขึ้นเพราะมันไปเห็น เห็นอวัยวะที่ถูกรถทับ มันเกิดสลดเกิดสังเวช ความรู้ที่เห็นด้วยตามันมีราคายิ่งกว่าเขาว่า
เมื่อเราไปเห็นทุกสิ่งอันนี้ มันเป็นอนิจจัง ทุกขังอนัตตา ไม่แน่ไม่นอน ในร่างกายนี้ไม่เป็นแก่นเป็นสาร ไม่สดไม่สวย ความรู้สึกนึกคิดมันค้นในเวลานั้นมันก็เกิดปัญญา (วิปัสสนา) เป็นเหตุให้ถอนอุปาทาน (ความยึดมั่นถือมั่น) ออกได้ เรียกว่าความรู้สึกอันนี้มันสูงขึ้น สูงขึ้น ๆต้องพิจารณา เช่นนี้
การทำกรรมฐาน ถ้าไม่รู้จักแล้วก็จะลำบาก บางคนก็ไม่เคยทำ เมื่อมาทำวันสองวันสามวัน มันก็ไม่สงบ มันก็เลยนึกว่า เราทำไม่ได้ เราต้องคิดว่า เมื่อเราเกิดมาเคยถูกสอนหรือยัง เราเคยทำความสงบหรือเปล่า เราปล่อยมานานแล้ว ไม่เคยฝึกเคยหัดมัน มาฝึกมันชั่วระยะหนึ่งอยากให้มันสงบอย่างนั้นเหตุมันไม่พอ ผลมันก็ไม่มี เป็นเรื่องของธรรมดาเป็นเรื่องอันตัวเราท่านทั้งหลายจะหลุดพ้น ต้องอดทน การอดทนเป็นแม่บทของการประพฤติปฏิบัติ
ให้เห็นกาย ให้เห็นใจ เมื่อรู้จักธรรมตามความเป็นจริงแล้วนั่น ความที่เรายึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) แต่ก่อนๆ มันจึงจะผ่อนออก เห็นตามความเป็นจริงของมันอุปาทานมั่นหมายในความดี ความชั่วทั้งหลายมันจะคลายออก คลายออก เห็นว่ามันเป็นอนิจจัง เป็นทุกขัง เป็นอนัตตา เป็นของไม่แน่ไม่นอน
ที่มันเกิดมีในจิตของเรานี้นั้น ลองดูซิ ความรักมันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ ความเกลียดมันแน่ไหม ความสุขมันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ ความทุกข์มันแน่ไหม มันก็ไม่แน่ อันไม่แน่นั้นเรียกว่าของไม่จริง เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เมื่ออันนี้มันไม่จริง ของจริงมันอยู่ที่ไหน ของจริงอยู่ที่มันเป็นอยู่อย่างนั้น มันไม่เที่ยงอยู่อย่างนั้น เป็นทุกข์อยู่อย่างนั้น มันจริงแต่สักว่า มันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น อันนี้คือความจริง ความจริงอยู่ตรงที่มันไม่จริง อันความเที่ยงอยู่ตรงที่มันไม่เที่ยง เหมือนกันกับของสกปรกมันเกิดมีขึ้นความสะอาดอยู่ตรงไหน มันอยู่ตรงที่สกปรกนั่นแหละ เอาสกปรกออกก็เห็นความสะอาดฉันใด จิตใจของเรานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น
การประพฤติปฏิบัตินี้ บางคนปัญญามันน้อยบางคนปัญญามันมาก ไม่ทันกัน ไม่เห็นเหมือนกัน อย่างเราไปพบวัตถุอันหนึ่ง 2 คนหรือ 3 คนไปพบแก้วใบหนึ่งบางคนก็เห็นว่ามันสวย บางคนจะเห็นว่ามันไม่สวย บางคนจะเห็นว่ามันโตไป บางคนจะเห็นว่ามันเล็กไป นี่ ทั้งๆ ที่แก้วใบเดียวกันนั่นเอง ทำไมไม่เหมือนกัน แก้วใบนั้นมันเหมือนของมันอยู่ แต่ความเห็นของเรามันไม่เหมือนกัน มันเป็นเช่นนี้ฉะนั้นมันจึงไม่เหมือนกันอยู่ที่ตรงนี้ การประพฤติปฏิบัติทางพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกัน พระพุทธเจ้าท่านสอน อย่าให้มันช้า อย่าให้มันเร็ว ทำจิตใจให้พอดี การประพฤติปฏิบัตินี่ไม่ต้องเดือนร้อน ถ้ามันเดือดร้อนเราก็ต้องพิจารณา เช่นว่าเราจะปลูกต้นไม้ต้นหนึ่งขึ้นมา ต้นไม้ที่จะปลูกนั้นก็มีอยู่ ก็ขุดหลุม ก็ปลูก เอาต้นไม้มาวางลงหลุมนั้นก็เป็นหน้าที่ของเราจะมูนดิน จะให้ปุ๋ย จะให้น้ำ จะรักษาแมลงต่างๆ ก็เป็นเรื่องของเรา เป็นหน้าที่ของเรา คนจะทำสวนต้องทำอย่างนี้ ทีนี้เรื่องต้นไม้มันจะโตเร็วโตช้าของมันนั้นน่ะ มันไม่ใช่เรื่องของเรามันเป็นเรื่องของต้นไม้ ถ้าเราไม่รู้จักหน้าที่การงานของตัวแล้วมันก็ไปทำงานหน้าที่ของต้นไม้ มันก็ทุกข์ ไม่ทำงานหน้าที่ของเรา หน้าที่ของเราก็ให้ปุ๋ยมันไป ให้น้ำมันไป รักษาแมลงไม้ไป เท่านี้ ส่วนต้นไม้จะโตเร็วโตช้าเป็นเรื่องของต้นไม้ ถ้าเรารู้จักหน้าที่การงานของเราเช่นนี้ ภาวนา(ฝึกจิต) ก็สบายถ้าเราคิดเช่นนี้การปฏิบัติของเราก็สบาย ง่าย สะดวก ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย


นั่งมันสงบก็ดูความสงบไป ที่มันไม่สงบก็ดูความไม่สงบไป ที่มันสงบนั้น มันก็เป็นเรื่องของจิต มันเป็น อย่างนั้น ที่มันไม่สงบ มันก็เป็นเรื่องของมันอย่างนั้น ไม่ได้เป็นอย่างอื่น มันสงบแล้ว มันก็สงบไป ถ้าไม่สงบก็ไม่สงบไป เราจะไปทุกข์เพราะมันไม่สงบไม่ได้ เราจะไปดีใจเพราะจิตสงบมันก็ไม่ถูก เราจะไปเสียใจเพราะจิตมันไม่สงบก็ไม่ถูกเหมือนกัน เราจะไปทุกข์กับต้นไม้ได้หรือไปทุกข์กับแดดได้หรือ ไปทุกข์กับฝนได้หรือ ไปทุกข์กับอย่างอื่นได้หรือ มันเป็นเรื่องของมันอยู่อย่างนั้น
ถ้าเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว การภาวนาของพระโยคาวจรนั้นก็สบายแล้ว เดินทางเรื่อยๆ ไป ปฏิบัติไป ทำธุระหน้าที่ของเราไป เวลาพอสมควรเราก็ทำของเราไป ส่วนมันจะได้จะถึงหรือมันสงบนั้น ก็เป็นวาสนาบารมีของเรา เหมือนกับชาวสวนปลูกต้นไม้ หน้าที่ของเราใส่ปุ๋ยก็ใส่มันไป รดน้ำก็รดมันไป รักษาแมลงก็รักษามันไป เรื่องต้นไม้จะโตเร็วโตช้าไม่ใช่เรื่องของเราเป็นเรื่องของต้นไม้ ละปล่อยทั้งสองอย่างนี้ รู้จักหน้าที่ของเรารู้จักหน้าที่ของต้นไม้ มันถึงเป็นชาวสวนที่มีความสดชื่นดี ฉันใดผู้มีปัญญา ผู้ที่ภาวนาในพุทธศาสนานี้ก็เหมือนกันฉันนั้น พอจิตคิดเช่นนี้ ความพอดีมันตั้งขึ้นมาเอง พอความพอดีมันตั้งขึ้นมาก็เลยเป็นปฏิปทา ปฏิปทาที่พอดีเกิดขึ้นมา ความเหมาะสมมันก็เกิดขึ้นมา อารมณ์เหมาะสมมันก็เกิดขึ้นมา ความรู้สึกนึกคิดเกิดขึ้นมาแล้ว มันเป็นสิ่งที่เหมาะสมแล้ว เป็นสัมมาปฏิปทา ปฏิบัติไม่หย่อน ปฏิบัติไม่ตึง ปฏิบัติไม่เร็ว ปฏิบัติไม่ช้า จิตใจปล่อยไปตามสภาวะของมัน อันนั้นคือภาวนาสงบแล้ว สบายแล้ว
ความรู้สึกนึกคิดของเราไปมีอุปาทานมั่นหมายมันขึ้นเมื่อไร มันก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น ฉะนั้น ในการประพฤติปฏิบัติ ท่านจึงให้ปล่อยวาง เช่นว่า เราอยู่ด้วยกันหลายๆ คนนี้นะ ต่างบ้าน ต่างตระกูล ต่างตำบล ต่างจังหวัด ที่มารวมๆ กันนี้ ถ้าเรารู้คนในนี้ ในศาลานี้ก็สงบแล้ว ภาวนาเราก็สบาย เรื่องคนนี้ก็ให้คนนี้ เรื่องคนนั้นก็ให้คนนั้น ให้คนละคนละคนไปเรื่อย ๆ ไป เราก็สบาย เรื่องทุกสิ่งทุกอย่างก็ปล่อยไป ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจัยเรื่องคนอื่น ไม่ต้องไปวิพากษ์วิจัยเรื่องนอกกายนอกใจเราแล้ว มันก็เกิดความสงบความสบายขึ้นมา เพราะความรู้ตามเป็นจริงเกิดขึ้นมา
เราต้องการธรรมไปทำไม ต้องการธรรมไปเพื่อรู้ตามความเป็นจริงเท่านั้นเอง ถึงแม้มันจะจน ถึงแม้มันจะรวย ถึงแม้มันจะเป็นโรค ถึงแม้มันจะปราศจากโรค จิตก็อยู่อย่างนั้นเอง เช่นว่า วันหนึ่งตัวเรามันไม่สบายขึ้นมาจะเห็นชัดในจิตของเราว่า มันก็นึกกลัวตาย กลัวมันจะไม่หายใจก็ไม่สบายเกิดขึ้นมาแล้ว ความไม่สบายเกิดขึ้นมาแล้ว คือไม่อยากจะตาย อยากให้มันหาย อันนี้เห็นแง่เดียว ตามธรรมชาติของมันแล้ว ถ้ามันเกิดป่วยขึ้นมา เกิดอาพาธขึ้นมาเราก็รู้ว่า เป็นก็เป็น ตายก็ตาย หายก็หาย ไม่หายก็ไม่หาย ถ้าเราคิดได้เช่นนี้มันเป็นธรรม เอาทั้งสองอย่างนั่นแหละ หายก็เอามัน ไม่หายก็เอามัน เป็นก็เอามัน ตายก็เอามัน


อันนี้ถูก แต่ว่ามันจะมีสักกี่คน นั่งฟังธรรมอยู่นี่มันมีกี่คนป่วยมาแล้ว ตายก็ตาย หายก็หาย มีกี่คนก็ไม่รู้ ที่มันอยากจะหาย ไม่อยากจะตาย อันนี้มันคิดผิด เพราะมันกลัวเพราะมันไม่เห็นธรรม มันจึงทุกข์ ถ้าเห็นสังขารร่างกายแล้วไม่ว่ามันล่ะ หายก็หาย ตายก็ตาย เอาทั้งสองอย่าง ไม่เอามันก็ต้องได้อะไรสักอย่างจนได้
เมื่อเรารู้จักธรรมเช่นนี้ รู้จักสังขารเช่นนี้ เราก็พิจารณาตามสังขารว่ามันเป็นอย่างนั้น นี่กรรมฐานมันตั้งขึ้นมาแล้ว มันพ้นทุกข์อย่างนี้เอง ไม่ใช่ว่ามันไม่ตาย ไม่ใช่ว่ามันไม่เจ็บ ไม่ใช่ว่ามันไม่ไข้ อันเรื่องเจ็บเรื่องไข้มันเป็นเรื่องของสังขาร เป็นไปตามเรื่องของมัน ถึงคราวมันจะตาย ไม่อยากตายเท่าไหร่ มันก็ตาย ถึงคราวมันจะหาย ไม่อยากจะให้หาย มันก็หาย อันนี้มันไม่ใช่ธุระหน้าที่ของเราแล้ว มันเป็นธุระหน้าที่ของสังขาร ถ้าเราภาวนาเห็นเช่นนี้ จิตมีอารมณ์เห็นเช่นนี้ทุกขณะ จิตก็ปล่อยวางสบาย
การภาวนานั้นไม่ใช่ว่านั่งหลับตาภาวนาอย่างเดียวการภาวนานั้นตลอดเวลา การยืน การเดิน การนั่ง การนอน ให้มีสติ ประคับประคองอยู่เสมอเลยทีเดียว
บัดนี้มีความทุกข์เกิดขึ้นมาแล้ว ก็ทวนดูซิ อันนี้มันก็ไม่แน่นอนหรอก เรื่องมันไม่จริงทั้งนั้นน่ะ เราต้องเตือนอยู่เช่นนี้เมื่อมันมีสุขเกิดขึ้นมาแล้ว สุขนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนั่นแหละเคยสุขมาแล้วมันก็เป็นอย่างนั้นแหละ เดี๋ยวมันก็ทุกข์ เดี๋ยวมันก็สุข เป็นของไม่แน่นอนทั้งนั้น ถ้าเราเห็นอารมณ์เมื่อใดถูกอารมณ์ขึ้นมาเมื่อใด มันจะดีใจ เราก็ต้องบอกมัน เตือนมัน ว่าความดีใจมันก็ไม่แน่นอนหรอก เป็นแต่ความไม่จริงทั้งนั้นแหละ มันหลอกลวงทั้งนั้น เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็ว่ามันไม่แน่นอน เป็นสิ่งที่หลอกลวงทั้งนั้นแหละ เป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละ
ความเป็นจริงแล้ว ความสุขหรือความทุกข์นั้นไม่มี มันมีแต่ความรู้สึก รู้สึกว่าสุข รู้สึกว่าทุกข์ ถ้ามีความชอบใจก็รู้สึกว่าสุข ไม่ชอบใจก็รู้สึกว่าทุกข์ ตัวสุขตัวทุกข์จริงๆ มันไม่มี มันเป็นแต่เพียงความรู้สึก ถ้าเราคิดได้เช่นนี้ เราก็เห็นของปลอมตลอดเวลา รู้จักอารมณ์ อารมณ์อันนี้ก็ไม่ต้องว่าไปสอบอารมณ์ การภาวนาไม่ต้องไปสอบอารมณ์ เมื่อเรามีสติตลอดเวลา ทุกวันทุกนาที มันจะรู้จักอารมณ์เมื่อเราทำผู้รู้ให้ตื่นอยู่เสมอแล้ว มันจะเห็นความสุขหรือทุกข์ ชอบไม่ชอบ จะเห็นอยู่ตลอดเวลา มันจะทวนลงไปทีเดียว ว่ามันไม่แน่
สุขเกิดขึ้นมาอันนี้ก็ไม่แน่นอนเหมือนกัน อย่าไปหมายมั่นมันเลย ทุกข์เกิดขึ้นมาเราก็ว่าเลยว่า อันนี้มันก็ไม่แน่เหมือนกันนะ มันแน่อยู่ตรงไหนเล่า มันแน่อยู่ตรงที่มันไม่แน่ มันเป็นอยู่อย่างนั้นเอง อันนี้เป็นเหตุให้สุขทุกข์และอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีกำลัง เสื่อม เมื่อสิ่งทั้งหลายนี้มันเสื่อมไป อุปาทาน(ความยึดมั่น) ของเราก็น้อย ก็ปล่อยวาง นี่เป็นเรื่องของธรรมชาติ เรื่องของธรรมดาเช่นนี้


ฉะนั้นจิตใจของเรา มันจะได้มาก็เป็นเรื่องธรรมดาของมัน มันจะเสียหายไปก็เป็นเรื่องของมัน มันจะสุขก็เป็นเรื่องของมัน มันจะทุกข์ก็เป็นเรื่องของมัน เรื่องของสังขารมันเป็นอยู่อย่างนั้น อันนี้เป็นสักแต่ว่าเรารู้สึกเท่านั้น อื่นนั้นก็ไม่มี ฉะนั้นท่านจึงสอนให้โอปนยิโก คือให้น้อมเข้ามาใส่ตัวอย่าน้อมออกไป น้อมเข้ามาให้เห็นด้วยตัวของเรานี้
ทางที่ดีสำหรับคนที่อ่านที่ศึกษามามากแล้ว จะมาอยู่มาภาวนาเพียงสองสัปดาห์เท่านี้น่ะ อาตมาเห็นว่าไม่ต้องดูไม่ต้องอ่าน หนังสือเอาเข้าตู้เสีย ถึงเวลาเราทำกรรมฐาน นั่งสมาธิของเรา เราก็ทำไป อานปานสติทำไปเรื่อยๆ ขณะที่เราเดินจงกรม เราก็เดิน ให้รู้จิตของเราเท่านั้นแหละ รักษาจิตของเรา บางทีความหวาด ความสะดุ้งมันเกิดขึ้นมา เราก็ทวนมันอีก อันนี้เป็นของไม่แน่นอนเรื่องความกล้าหาญเกิดขึ้นมา อันนี้มันก็ไม่แน่นอนเหมือนกันไม่แน่ทั้งหมดนั่นแหละ ไม่รู้จะจับอะไร นี่ทำปัญญาให้เกิดเลยทีเดียว ทำปัญญาให้เกิด ไม่ใช่รู้ตามสัญญา(ความจำ) รู้จิตของเราที่มันคิดมันนึกอยู่นี้ มันคิดนึกทั้งหมดเกิดขึ้นมาในใจของเรานี้แหละ จะดีหรือชั่ว จะถูกหรือผิด รับรู้มันไว้ อย่าไปหมายมั่นมัน เออ...ทุกข์มันก็เท่านั้นแหละ สุขมันก็เท่านั้นแหละ มันเป็นของหลอกลวงทั้งนั้นแหละ เรายืนตัวอยู่เช่นนี้เลยยืนตัวอยู่เสมอเช่นนี้ ไม่วิ่งไปกับมัน ไม่วิ่งไปกับสุข ไม่วิ่งไปกับทุกข์ รู้อยู่ รู้แล้วก็วาง อันนี้ปัญญาจะเกิด ทวนจิตเข้าไปเรื่อยๆ
เวลาเรามีไม่มาก เรามาฝึกจิตก็ต้องดูจิต ดูอาการของจิต ลองดูจิต ให้เห็นจิตเรา อย่าไปยึดมั่นถือมั่นถือมั่นก็เห็นสุขเป็นของจริง สุขเป็นเรา สุขเป็นของเราทุกข์เป็นเรา ทุกข์เป็นของเรา มันคิดเช่นนี้ แต่ความเป็นจริงนี้สุขสักแต่ว่าสุข ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตนเราเขา ทุกข์นี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ตัวคนที่รู้ทุกข์หรือสุขนี้ก็ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา ถ้าเราเห็นเช่นนี้ก็ไม่มีอะไรจะเกาะ เกิดสุขขึ้นมา สุขก็เกาะเราไม่ได้ เกิดทุกข์ขึ้นมา ทุกข์ก็เกาะเราไม่ได้ ทำไมไม่ได้ เพราะว่ามันไม่แน่ เป็นของปลอมทั้งนั้น เป็นของไม่แน่นอน ถ้าเราคิดเช่นนี้ จะภาวนาได้เร็ว จะยืนจะเดินจะนั่งจะนอนจะไปจะมา ทุกอย่างจิตกำหนดอยู่เสมอ ให้รู้ มีอารมณ์มันเข้ามา ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรสอะไรต่างๆ นี้ มันจะเกิดความชอบไม่ชอบขึ้นมาทันที มันจะเกิดสุขเกิดทุกข์ขึ้นมาทันทีอันนี้เราเรียกว่าอ่านดูจิต มันจะเห็นจิต เพราะมันเกิดจากจิตดวงเดียวเท่านี้ มันจะให้สุข มันให้ทุกข์ทุกอย่างเกิดจากจิต ถ้าเราตามดูจิตของเราอยู่เช่นนี้ มันจะเห็นกิเลส มันจะเห็นจิตของเราสม่ำเสมอเลยทีเดียว อันนี้แหละคืออาการภาวนา
บางคนเมื่อมาภาวนา ตอนเย็นก็นั่งสมาธิ เดินจงกรม ก็นึกว่าเขาได้ภาวนาแล้ว ยังไม่ใช่เท่านี้ ความเป็นจริงการภาวนาคือสติติดต่อกัน ให้เป็นวงกลม ตลอดเวลาให้มีสติอยู่สม่ำเสมอ ให้รู้ให้เห็น ให้เห็นอาการที่มันเกิดขึ้นมาในจิตของเรา เห็นเกิดขึ้นมา อย่าไปยึดมั่น อยาไปหมายมั่น ปล่อยมัน วางมันไว้เช่นนี้ ปฏิบัติเช่นนี้ เร็วเร็วมาก มีแต่เห็นอารมณ์เท่านั้นแหละ อารมณ์ที่ชอบ อารมณ์ที่ไม่ชอบ
ทุกวันนี้เราทุกคนน่ะไม่รู้จักกิเลสตัณหา มีคนๆเดียวนั่นละที่มันหลอกตัวอยู่วันยังค่ำ ดูซิ เราเกิดมามีอะไรไหม ก็คนๆ เดียวนั่นแหละมันพาให้เราหัวเราะอยู่ที่นี่ ร้องไห้อยู่ที่นี่ โศกเศร้าอยู่ที่นี่ วุ่นวายอยู่นี่แหละ มันก็่คือคนๆเดียวกันถ้าเราไม่พิจารณา ไม่ตามดูแล้ว ยิ่งไม่รู้จักมัน มันก็เกิดทุกข์อยู่ตลอดเวลา ได้มาก็เคยเสียอยู่ เสียแล้วก็เคยได้มาอยู่ ก็พลอยสุขกับมันทุกข์กับมัน ยึดมั่นหมายมั่นกับมันตลอดเวลาอยู่เช่นนี้ เพราะไม่ดูมัน ไม่พิจารณา ของทั้งหลายนี้ไม่ได้อยู่ที่อื่น มันอยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราพิจารณาที่ตัวเราอยู่เช่นนี้ เราจะได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าของเรา


ต้นไม้ทุกต้นเปรียบเหมือนมนุษย์ ก้อนหินทุกก้อนเปรียบเหมือนมนุษย์ สัตว์ทุกสัตว์ในป่าในทุ่งก็ดี มันก็เหมือนกับเรา ไม่แปลกกับเรา มีสภาวะอันนี้อันเดียวกัน มีความเกิดขึ้นเป็นเบื้องต้น แล้วก็มีความแปรในท่ามกลาง แล้วก็มีความดับไปในที่สุด เหมือนกันทั้งนั้น ฉะนั้นเราไม่ควรยึดมั่นหรือถือมั่นอะไรทั้งหลาย แต่ว่าเราต้องใช้มันอยู่ เช่น กระติกน้ำใบนี้ เขาเรียกว่ากระติก เราก็เรียกว่ากระติกกับเขา เพราะว่าเราจะมีความเกี่ยวข้องกับกระติกน้ำอยู่ตลอดเวลา เขาเรียกกระติกก็เรียกกับเขา เขาเรียกกระโถนก็เรียกกับเขา เขาเรียกจานก็เรียกกับเขา เขาเรียกถ้วยก็เรียกกับเขา แต่เราไม่ติดอยู่กับถ้วย ไม่ติดอยู่กับจาน ไม่ติดอยู่กับกระโถน ไม่ยึดมั่นถือมั่นอยู่ในนั้น นี่เรียกว่าเราภาวนา รู้จักตัวเราและรู้จักของของเรา
รู้จักตัวเราแล้วก็ไม่ทุกข์เพราะตัวเรา รู้จักของของเราแล้วก็ไม่ทุกข์กับของของเรา อันนี้เพราะเราทำกรรมฐาน ปัญญามันจะเกิดขึ้นอย่างนี้ มันจะเห็นไปตามสภาวะมันเองทุกๆ อย่าง อันนี้เป็น โลกุตตรปัญญา ปัญญาเกิดจากการภาวนา (ภาวนามยปัญญา) มันพ้นจากโลกียวิสัย เมื่อจิตสงบรวมกำลังจิตตรงที่นั้น เกิดรู้ เกิดเป็นญาณขึ้นมา เป็นความรู้โลกุตตระอันนั้น
ความรู้โลกุตตระอันนี้ พูดให้ก็ไม่รู้เรื่อง อกฺขาตาโรตถาคตา ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก คือพระพุทธเจ้าบอกให้ได้ แต่ว่าทำให้ไม่ได้ เรื่องการประพฤติปฏิบัติมันเป็นเช่นนั้นฉะนั้น อดทนแล้วก็เพียร สอบอารมณ์เรื่อยๆ ไป ถึงคราวเราทำความเพียร เราก็ทำไป ทำสมาธิเราก็ทำไป ออกจากสมาธิก็พิจารณา เห็นมดก็พิจารณา เห็นสัตว์อะไรก็พิจารณาเห็นต้นไม้ก็พิจารณา ทุกอย่างเหมือนเรา ทุกอย่างน้อมเข้ามาหาตัวเรา เหมือนเราทั้งนั้น อย่างใบไม้มันจะหล่นเองไป ใบไม้มันจะขึ้นมาใหม่ ต้นไม้มันจะใหญ่ ต้นไม้มันจะเล็กอะไรทั้งหลายเหล่านี้มันล้วนแต่เกิดปัญญาทั้งนั้น ไม่ควรยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งนั้น เมื่อจิตเรารู้จักการปล่อยวางเช่นนี้แล้วก็จะเกิดความสงบ ความงบไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ มันสงบ เรียกว่า ได้ความพอดี เหมาะสม ด้วยความรู้สึกนึกคิดของเรานั้น เรียกว่า เป็นธรรม
ผู้ที่ฝึกแล้วก็จะพอมองเห็น ผู้ที่ยังไม่เคยฝึกนี้ มันก็เป็นของที่ลำบากสักนิดหนึ่งเราอย่าไปน้อยใจมัน อย่าไปตกใจมัน มันก็เหมือนนักเรียนนั่นแหละ เพิ่งเข้าโรงเรียนจะให้เขียนหนังสือได้อ่านหนังสือได้ เขียนหนังสือให้มันสวยงามมันก็ไม่ได้ อาศัยการฝึก อาศัยการกระทำ อาศัยการประพฤติอาศัยการปฏิบัติ แล้วมันก็เป็นไป


การตั้งไว้ในใจของผู้ประพฤติปฏิบัตินี้ ให้เอาชนะตัวเอง ไม่ต้องเอาชนะคนอื่น ให้สอนตัวเอง ไม่ต้องพยายามสอนคนอื่นให้มากที่สุด เดินไปก็ให้สอนตัวเองทั้งนั้น นั่งก็ให้สอนตัวเองได้ ทุกอย่างให้มีในตัวของเราอยู่เสมอเรียกว่า สติ สตินั่นแหละเป็นแม่บทของผู้เจริญกรรมฐานสติอันนั้นเมื่อมันมีความรู้สึกขึ้นปัญญาก็จะวิ่งมา ถ้าสติไม่มีปัญญาก็เลิก ไม่มี ฉะนั้นจงพากันตั้งใจ ถึงแม้ว่าเราจะมีเวลาน้อยก็ช่างมัน เวลาน้อยก็ยังเป็นอุปนิสัย ยังเป็นปัจจัยอย่างอื่นจะหาเป็นที่พึ่งอย่างพุทธศาสนานี่ไม่มี มันจบอยู่ตรงนี้ไปไหนก็ไม่จบ แต่พุทธศาสนาทำให้มันจบอยู่ตรงนี้
ถ้าเราไม่เห็นเดี๋ยวนี้ ต่อไปก็ต้องเห็น ถ้าเราพิจารณาเช่นนี้ต่อๆไป ยังเป็นคนใหม่ ประพฤติใหม่ปฏิบัติใหม่ก็ยังไม่เห็น ก็เหมือนกับเราเป็นเด็ก เรายังไม่เห็นสภาพของคนแก่ทำไมไม่เห็นล่ะ ฟันเราก็ยังดีอยู่ ตาเราก็ยังดีอยู่ หูเราก็ยังดีอยู่ร่างกายเราก็ยังดีอยู่ ไม่รู้จักคนแก่ แต่ต่อไปเมื่อเราเป็นคนแก่เราจะรู้จัก ใครจะบอก สังขารมันจะบอก ฟันมันจะโยก นี่แก่แล้ว ตามันจะไม่สว่าง หูมันจะตึง สภาวะร่างกายมันจะเจ็บปวดไปหมด นี้คนแก่มันเป็นอย่างนี้ ใครมาบอก สังขารนี้บอกเอง ถ้าเราพิจารณาอยู่ คือสัญชาตญาณมันมีอยู่ เช่นพวกปลวกหรือแม้ผึ้ง ผึ้งใครไปสอนมัน เมื่อมันทำรัง มันมีลูก มันทำรังกันสวยๆ ถ้ามันแก่มันก็ออกไปเป็นรังใหม่ ลูกๆ ผึ้งมันก็ไปทำรังกันใหม่ ใครไปสอนมัน มันทำรังกันสวยๆ
นกก็เหมือนกัน ตามป่านะ โดยเฉพาะนกกระจาบนกกระจอก มันทำรังกันสวยๆ ใครไปบอกมัน เมื่อมันโตมันก็บินจากพ่อแม่มันไป มันก็ไปทำรังเหมือนพ่อแม่กัน ใครจะไปบอกมัน ปลวกก็เหมือนกัน ใครจะไปบอกมัน สัญชาตญาณมันมี มันทำของมันเอง สัญชาตญาณอันนี้ที่มีอยู่ในใจของเรานี้ เราก็ไม่รู้ตัวเรา ถ้าเราไม่มาเรียนรู้ธรรมก็ไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ความเป็นจริง คนทุกๆ คนมันอยากจะมีความสุข และมันอยากจะดีทุกๆ คนนั่นแหละ แต่มันทำดีไม่เหมือนกัน มันตามหาความสุขไม่เหมือนกัน มันต่างกันเพราะปัญญา
สัญชาตญาณที่มันมีอยู่ในใจเรานั้น เราไม่รู้จักมันมันปกปิดอย่างสนิท อย่างชนิดไม่รู้ไม่เห็น เมื่อธรรมชี้ไปมันจึงจะเห็น เช่นว่า เรานั่งอยู่นี่ ร่างกายของเราทุกส่วนนี่โดยสภาพแล้ว พระพุทธเจ้าท่านว่า ไม่มีชิ้นไม่มีอะไรมันจะสวยมันจะสะอาดเลย ท่านตรัสอย่างนี้ ไม่สวยไม่สะอาด และไม่เป็นแก่นเป็นสารด้วย เราก็ยังไม่เห็น เรานึกว่าอันนี้มันสวยอยู่อันนี้มันสะอาดอยู่ อันนี้มันดีอยู่ ทำไมมันเป็นอย่างนั้นเล่า ของไม่สวยแต่ในเห็นว่าสวย ของไม่สะอาดทำไมมันเห็นว่าสะอาดของไม่เป็นแก่นสาร ของนี้ไม่ใช่ตัวของเรา ทำไมจึงเข้าใจว่าเป็นตัวของเรา อันนี้มันก็มืดอยู่พอแล้ว มันน่าจะเห็นนี่


ธรรมชาติอันนี้มันก็ไม่ใช่ตัวใช่ตนเราจริงๆ มันจะเจ็บจะไข้เมื่อไหร่ก็เจ็บก็ไข้ มันจะตายเมื่อไหร่มันก็ตาย มันไม่ห่วงเราทั้งนั้นแหละ อันนี้เราก็ยังไม่เห็นมัน มันน่าจะเห็น ทำไมไม่เห็นล่ะ นี้มันก็มืดพออยู่แล้ว ที่มันไม่เห็นนี่น่ะ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ได้แยกสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ออกมาจนจิตของท่านเห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เห็นจริง ๆ ชัดๆ ไม่ใช่สัญญา(ความจำ) สังขารร่างกายมันจะเป็นอย่างไร ก็ให้มันเป็นไปตามเรื่องของมัน ท่านเห็นเช่นนั้น
การกำหนดพิจารณา เรียกว่า ภาวนากรรมฐาน เพื่อให้มันเห็น ขนาดนั้นมันยังไม่ค่อยจะเห็น อันใดมันไม่สวยก็เห็นว่าสวย อันใดมันไม่เป็นแก่นเป็นสาร มันก็เห็นว่าเป็นแก่นเป็นสาร นี่จิตมันไม่ยอม มันจึงไม่เห็น ท่านก็ว่าเยาว์คือจิตมันเป็นเด็กอยู่ จิตมันยังเยาว์อยู่ จิตมันยังไม่เติบ จิตมันยังไม่โต เช่นนั้น พระพุทธศาสนานี้ท่านสอนส่วนจิต ให้จิตเป็นคนเห็น ถ้าจิตมันเห็นแล้วจิตมันรู้ของมันแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วง เรียกว่า การภาวนาเป็น
ฉะนั้นจึงค่อยๆ ทำ ค่อยๆ ประพฤติปฏิบัติ ไม่ใช่ว่าจะเอาวันสองวันสามวันให้ได้ให้เห็น เมื่อวานซืนนี่มีนักศึกษาได้มาปรึกษา จะไปนั่งภาวนากรรมฐาน นั่งสมาธิ มันไม่สบาย มันไม่สงบ มาหาหลวงพ่อ ชาร์จแบตเตอรี่ให้ไม่ได้ หรือ นี่อันนี้มันต้องพากันพยายาม พยายามทำกันไปเรื่อยๆ คนอื่นบอกมันไม่รู้จัก มันจะต้องไปพบด้วยตนเอง ไม่ต้องเอาทีละมากหรอก เอาน้อยๆ แต่เอาทุกวัน นั่งสมาธิทุกวัน แล้วก็เดินจงกรมทุกวัน มันจะมากหรือน้อยเราก็ทำทุกๆ วัน แล้วก็เป็นคนที่พูดน้อย แล้วก็ดูจิตของตัวเองตลอดเวลา เมื่อดูจิตของตัวเอง อะไรมันจะเกิดขึ้นมา แล้วมันจะสุขหรือมันจะทุกข์อะไรเหล่านี้ ก็บอกปัดปฏิเสธมันเสีย ว่าเป็นของไม่แน่นอน เป็นของหลอกลวงทั้งนั้น
ผู้ที่เรียน ศึกษามากๆ นั้นนะ มันเป็นด้วยสัญญาไม่ใช่ปัญญา สัญญาเป็นความจำ ปัญญาเป็นความรู้เท่าทันมันไม่เหมือนกัน มันต่างกันบางคนจำสัญญาเป็นปัญญา ถ้าปัญญาแล้วไม่สุขกับใคร ไม่ทุกข์กับใคร ไม่เดือดร้อนกับใคร ไม่เป็นทุกข์เป็นร้อนกับจิตที่มันสงบหรือไม่สงบ ถ้าสัญญาไม่ใช่อย่างนั้นนะ มันเกิดความยึดมั่นถือมั่น เป็นทุกข์เป็นร้อนไปตามอารมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น

สมถวิปัสสนา

ในการทำกรรมฐานนั้น มีอารมณ์อยู่สองอย่างอารมณ์อย่างที่หนึ่งที่เรียกว่า ให้เรามีความสงบ อย่างที่สองเรียกว่า ให้เราเกิดปัญญา แล้วก็สงบทีหลัง อารมณ์ที่ให้เรามีความมสงบนั้น ไม่ยากอะไรหรอก เหมือนเด็กๆ มันไม่นอนน่ะเราก็ไปจับกระเช้า(เปล) แกว่งไปมาเรื่อยๆ เดี๋ยวมันก็หลับอารมณ์อันนี้เรียกว่า สมถกรรมฐานมีหลายอย่าง บางคนไปจับเอาอานาปานสติบ้าง พุทโธบ้าง ธัมโมบ้าง สังโฆบ้าง สารพัดอย่าง ต้องหาความสงบนี้เป็นเบื้องแรก
แต่ว่าความสงบอันนี้มันยังมีอะไรไปเจือปนมันอยู่สงบเพราะว่าของมันมีอยู่ เราไม่รู้จักมัน มันก็สงบ เช่นว่าผ้าเช็ดเท้าที่ผมเหยียบอยู่เดี๋ยวนี้ มันมีงูตัวหนึ่งอาศัยอยู่ตรงนี้ผมก็เอาเท้าเหยียบลงไป ผมไม่รู้สึกกลัวอะไรเลย เพราะผมไม่เห็นงู แต่ความจริงนี้งูอสรพิษนี้อยู่ตรงนี้แต่ผมไม่คิด ผมก็สบายใจ ไม่คิดกลัวอะไรต่อะไร ที่ผมไม่กลัว ก็เพราะไม่รู้ว่างูอสรพิษนี้อยู่ตรงนี้ นี่คือ สมถะ ทำจิตให้สงบ กิเลสมีอยู่ก็ช่างมัน เวลานี้ฉันสงบ นี่เรียกว่าสงบจิต ไม่ใช่สงบกิเลส พูดตามภาษาอันนี้ เรียกว่า สมถะ การฝึกทำจิตให้สงบ แต่มันเป็นไวพจน์ซึ่งกันและกันหรอก เพื่อจะทำให้กิเลสสงบต่อไป
เรื่องทำให้กิเลสสงบต่อไปนั้น เป็นเรื่องของปัญญา เรื่องของปัญญานี้ก็มีเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะให้ปัญญาเกิดขึ้น ต้องเจริญอันนี้มากๆ ไม่เกิดเดี๋ยวนั้น ต่อไปมันก็จะเกิด ถ้าเจริญไม่หยุด ปัญญามันจะเกิดไม่หยุดต่อไป ผมก็พูดบ่อย แต่ว่าคนก็ไม่ค่อยเอาใจใส่หรืออย่างไรก็ไม่รู้สังเกตดู มันถึงได้เป็นทุกข์กันอยู่เสมอ
เรื่องทำจิตให้สงบ เพื่อให้กิเลสสงบนั้นน่ะ ที่ผมว่าอารมณ์ของ วิปัสสนา คือ เรื่องอะไรบ้าง? คือ เรื่องอนิจจัง เรื่องทุกขัง เรื่องอนัตตา 3 อย่างเท่านี้แหละ มันเป็นเหตุให้ปัญญาเราเกิด เราจะถูกอารมณ์ดีใจที่สุดก็ตาม เสียใจที่สุดก็ตาม รักที่สุดก็ช่างเถอะ เกลียดที่สุดก็ช่างเถอะ อย่าลืม ขบปัญหานี้ให้แตก อย่าลืม มันจะเกลียดขนาดไหน จะรักขนาดไหน จะเสียใจขนาดไหน จะดีใจขนาดไหนก็ตามเถอะ ซึ่งมันเกิดขึ้นมาแล้ว เราควรบอกมันให้เข้าใจว่า “อันนี้มันไม่แน่” ทุกครั้งไม่ใช่พูดออกทางปาก แต่พูดทางใจเสมอ “อันนี้มันไม่แน่” อันนี้ที่จะพาเราพ้น ตอนนี้ปัญญามันจะเกิด ถึงแม้ตอนนี้เราไม่เห็นต่อไปมันก็เห็น
ถ้าเราไม่ทิ้งจุดนี้ จุดนี้เป็นจุดที่สำคัญที่ให้ปัญญาเราเกิดทั่วถึง ให้รู้จักทั่วถึง นี่เรียกว่า ปล่อยวางอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวงที่มันเกิดขึ้น เห็นแต่ว่า มันเกิดแล้วดับไปจะเห็นอันนี้ชัดเจน จิตเราจะสงบ เมื่อจิตสงบ กิเลสก็สงบด้วย
ตรงนี้ ที่ว่าสมถะนั้น จิตมันสงบ กิเลสไม่สงบตอนนี้จิตสงบด้วย กิเลสสงบด้วย เพราะมันเป็นปัญญาตรงนี้ให้เข้าใจ มันจะอยู่ไปเฉยๆ ก็ได้ การยืน เดิน นั่ง นอน ก็ได้ ถ้ามีอารมณ์วูบหนึ่งเกิดขึ้นมา มันดีใจเหลือเกินอย่างนี้ ให้ค่อยๆ พิจารณา ว่าอันนี้มันไม่แน่ มันก็แตกกัน มันไม่รวมกลุ่มกันเสียแล้ว แต่ถ้าไปคิดว่ามันแน่นะมันก็จะรวมกลุ่มกัน แต่ความมจริงแล้วอันนี้มันไม่แน่ ถ้ารู้ความจริงอย่างนี้ ความเห็นผิดมันค่อยวางจางคลายออกไปไม่รวมกลุ่มกันละ

บัว 4 เหล่า

ภายในโคลนนั่นน่ะ มีความเหม็นสาบเหม็นเน่าสารพัดอย่าง แต่ดอกอุบลทั้งหลายที่เกิดในที่นั้น ยิ่งสวย ยิ่งงาม ยิ่งต้นใหญ่ ลำใหญ่ ดอกใหญ่ โคลนทั้งหลายนั้นเป็นปุ๋ยของมัน บัวทั้งหลายมันชอบปุ๋ย ติณชาติทั้งหลายชอบปุ๋ย ได้ปุ๋ยแล้วมันงาม ปุ๋ยนั้นเป็นของโสโครก เป็นของสกปรกเป็นของเหม็น กลิ่นสารพัดอย่าง มันจะเหม็นเท่าไรๆ สกปรกเท่าใดๆ บัวมันยิ่งชอบ ดอกมันยิ่งโต ลำมันใหญ่ ยิ่งยาวดอกบัวนั้นก็เปรียบกับจิตของเรา มันจมอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ราคะ โทสะ โมหะ สารพัดอย่าง อันมันเป็นโคลน ที่เป็นโคลนนี้ ท่านจึงจัดว่า ดอกบัวมันอยู่ในตม ที่มันอยู่ในโคลนนั้นน่ะ ท่านบอกว่า มันเป็นดอกบัวที่เสี่ยงเสี่ยงเพราะอะไร มันอยู่ในโคลนยังไม่มีหวังที่จะพ้นตมมาเลย มันจึงเป็นดอกบัวที่เสี่ยงมากทีเดียว มันเป็นเหตุที่ว่าเต่ามันก็จะกิน ปลามันก็จะกินได้ เพราะมันอยู่ในโคลน
จิตใจของเราก็เหมือนกันฉันนั้น ถ้ามันหมกอยู่ใน ราคะ โทสะ โมหะ มันเหมือนอยู่ในโคลน มัจจุราชตามเอาเป็นอาหารหมดละ มันอยู่ในโคลน มันหนาแน่น มันไม่ได้ยิน มันไม่ได้ฟัง มันไม่ได้อบรม มันหนา มันแน่น มันก็ยังมีที่หวังของมันจะเป็นได้หลายอย่าง จะเป็นปุถุชน หรืออันธภาพชนทั้งหลาย เป็นได้หลายอย่าง แล้วแต่จิตของตน
อีกคนหนึ่งนั้น อีกจิตหนึ่งนั้น มันจะพ้นตมขึ้นมาแล้ว แต่มันอยู่ในกลางน้ำ ดอกบัวดอกนี้ก็ยังจะเสี่ยงอยู่เหมือนกัน นี่เพราะว่ามันจะเป็นอาหารเต่าหรือปลาอยู่เสมอ ยังไม่พ้น
เหล่าที่ 3 เสมอน้ำ พ้นตมแต่ยังเสมอน้ำ อันนี้ก็ยังเสี่ยงอยู่เหมือนกัน ยังจะเป็นอาหารของปลา และเต่าอยู่ทั้งนั้นอันนี้มันเกิดความรู้สึกขึ้นมา มีญาณของพระพุทธเจ้าของเราที่ท่านหยั่งซึ้งลงไปว่า สัตว์โลกเป็นอย่างไร
เหล่าที่ 4 นี้ เรียกว่า พ้นโคน พ้นตม พ้นน้ำมาจะบานแล้ว บัว 4 เหล่านี้คือ อุคฆฏิตัญญู วิปจิตัญญูเนยยะ ปทปรมะ นั่นแหละ
พระพุทธเจ้าของเราจึงมาตรัสเสียว่า เออ มันเป็นอย่างนี้อยู่ โลกมันก็ต้องเป็นอย่างนี้อยู่ ไม่ให้มันเป็นอย่างนี้มันก็ไม่เป็นโลก จะต้องทำอย่างไร พระพุทธเจ้าท่านรู้แจ้งโลกนี้ดี จึงทรงชื่อว่า โลกวิทู ในจิตของท่าน รู้แจ้งโลกว่า มันเป็นอย่างนี้ โลกมันเป็นอย่างนี้ เหมือนบัวในตมในโคลนมันเหม็นสาบ ดอกบัวไปเกิดที่ตรงน้ำ มันโผล่น้ำขึ้นมา มันมีกลิ่นหอมน่าทัศนาดูทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เพราะดอกบัวดอกนี้มันเกิดมาจากโคลนสกปรก จิตใจของเราทั้งหลายก็เหมือนกันสัตว์โลกทั้งหลายก็เหมือนกัน มันปกปิดอยู่ด้วยอาสวธรรมทั้งหลายทั้งนั้นแหละ
ถึงพระพุทธเจ้าก็ดี พระอรหันตสาวกก็ดี ก็ต้องเกิดมาจากโคลนอย่างนั้น มีราคะ โทสะ โมหะปกคลุมอยู่ทั้งนั้นแหละ หุ้มห่ออยู่ทั้งนั้นแหละ แต่พระพุทธองค์ก็พ้นมาได้ สาวกทั้งหลายก็พ้นมาได้ ท่านแยกกันอยู่อย่างนั้น ถ้าไม่มีอันนั้นเป็นเหตุ ผลมันก็เกิดขึ้นไม่ได้

ธาตุ 4

จิตนี้มันคล้ายกับแผ่นดินหรือน้ำหรือลมหรือไฟ สมมติตัวเรานี้ ก็เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม เท่านั้นไม่มีอะไร มันเป็นอนัตตาไปเลย ไม่ใช่ก้อนอัตตานี้แล้ว นี่ท่านจึงว่า ทำจิตเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม ร่างกายที่เรียกกันว่า เราๆ เขา ๆ อันนี้มันก็ไม่ใช่ เราๆ เขาๆ
ตามธรรมดา ตามธรรมชาติ ความเป็นจริงมันก็สักว่า ธาตุนั่นแหละ คือเป็น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม เท่านั้นแหละ ดังนั้น ท่านจึงว่าอย่างนี้ เราจะต้องเป็นธาตุเสีย ยอมให้มันเป็นดินเสีย เป็นน้ำเสีย เป็นไฟเสีย เป็นลมเสีย
ดิน ปกติเราจะเอาจอบไปขุดมันก็ไม่มีอะไร จะเอาของเหม็นไปถ่ายเทใส่ ดินก็อยู่อย่างนั้น
ลม ก็เหมือนกัน ลมพัดไปมา เบื้องล่าง เบื้องบน ของสกปรกรกรากทั้งหลายก็พัดไป เออ มันเป็นเรื่องธรรมดามันก็เป็นลม
ไฟ ก็เหมือนกัน ความอบอุ่นที่อยู่ในร่างกายของเรานี้เป็นไฟ ไฟธรรมดานี้ไปเผาอะไรได้ไหม ไฟเผาของเหม็นก็ได้ของหอมก็ได้ สกปรกรกรากสารพัดอย่าง ไฟไม่มีอะไร ไฟก็่คงเป็นไฟอยู่อย่างนั้น
น้ำ ก็เหมือนกัน น้ำธรรมดาทุกวันนี้ นี่ก็พูดถึงน้ำใจของท่านที่จะอุตส่าห์โปรดสัตว์โลก ก็เหมือนน้ำธรรมดาๆ จะทำเป็นน้ำหอมก็ได้ น้ำเหม็นก็ได้ ล้างของสกปรกก็ได้ จะไปทำอะไรก็ได้ จะไปทำให้มันเย็นเป็นก้อนก็ได้ จะไปทำให้มันร้อนเหมือนกับไฟอีกก็ได้ แต่มันก็เป็นน้ำของมันอยู่
ตกลงตัวท่านก็เป็นดิน เป็นน้ำ เป็นไฟ เป็นลม มันจะถูกอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ชอบใจ ไม่ชอบใจ มันสักแต่ว่ารู้ ไม่มียึด เหมือนกับดิน กับน้ำ กับไฟ กับลม มันจึงไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้น ตัวท่านก็คงเป็นเพียงธาตุ 4

มรรค 8

พวกเราทั้งหลายครอบครองทรัพย์สมบัติภายนอกตัวมามากแล้ว จงเข้ามาเปลี่ยนเป็น ทรัพย์ภายใน อันนี้จะพ้นจากอุทกภัย วาตภัย โจรภัย อะไรต่างๆ ทรัพย์อันนี้จะพ้นจากข้าศึกแล้ว น้ำท่วม ลมพัด ไฟไหม้ อันตรายต่างๆ ทั้งหลายเหล่านี้ เข้าไม่ถึงแล้ว เพราะว่าเข้าถึงจุดมัน คือที่ความสบายใจหรือความดีใจที่ฝั่งไว้ในวิญญาณอันนี้ ดังนั้นพระพุทธเจ้าของเราท่านจึงได้ว่า บุญไม่อยู่ภายนอก แต่เข้ามาข้างในเสียแล้ว ท่านจึงจัดเป็น อริยทรัพย์ หรือทรัพย์ภายในซึ่งน้ำท่วมไม่ได้ ไฟไหม้ไม่ได้ โจรลักไปไม่ได้ ส่วนนี้โยมจะสบาย ส่วนที่บริจาคไปวันนี้เก็บบัญชีไว้ดีๆ แล้วพ้นอันตรายสบายใจๆ อันนี้ไม่มีโทษอะไร ฉะนั้นการบริจาคนี้เป็นการปราบกิเลสส่วนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าตัว โลภะ ทำใจเราให้มัวหมอง เมื่อจิตมัวหมองแล้วท่านจะได้ทุกข์ไปตามอันนั้น การกระทำวันนี้ของญาติโยมทั้งหลายเป็นไปในทำนองอันนี้
แต่อย่างไรก็ตาม ธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านสอนว่าการ ให้ทาน การักษา ศีล การเจริญเมตตา ภาวนา นั้น รวมเข้าไปหาจุดอันเดียว ๆ คืออันใดอยู่ที่ ไหน จุดอันเดียวเพื่อจะให้ถึงความสงบ เมื่อสงบแล้วเรียกว่ามันจบ ก่อนจะสงบนั้นนะเราจะรู้เรื่องว่า เราจะทำอย่างไรใจเราจึงสงบ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อจิตเราไม่สงบเราจะทำอย่างไรมันถึงจะสงบ ถ้าเมื่อจิตสงบแล้วก็ถึงจุดของพระผู้มีพระภาคของเรานั้นนะที่ท่านต้องการที่สุด
เรื่องที่จิตของเราที่ไม่สงบนั้น เพราะว่าจิตของเรานั้นน่ะไม่เข้าถึงธรรมะอันแท้จริง ไม่ถึงจุดธรรมะอันแท้จริง จิตเรายังโง่อยู่ ยังไม่ฉลาด ไม่มีปัญญารู้เท่าตามความเป็นจริงในสภาวธรรมทั้งหลาย นั้นเรียกว่าปฏิบัติธรรม อะไรมันเป็นธรรมะทุกอย่าง สิ่งที่ไม่เป็นธรรมะไม่มี คือของทุกสิ่งทุกอย่างนั้นแหละ ท่านเรียกว่าธรรมะ จะเป็นรูปที่เรามองเห็นด้วยตาก็ตามจะเป็นนามสิ่งที่เรามองเห็นด้วยตาไม่ได้ก็ตาม เป็นธรรมกันทั้งหมดเลยทีเดียว นี่เรียกว่า ธรรมะ เรียกว่าสภาวะ คือความเป็นอยู่อย่างนั้น มันเป็นเองของมันอยู่อย่างนั้น แม้พระพุทธเจ้าจะบังเกิดขึ้นก็ตาม ไม่บังเกิดขึ้นก็ตาม สภาวธรรมเป็นอยู่อย่างนั้นเอง ไม่แปรเป็นไปอย่างอื่น
ทีนี้ความไม่สงบของเราทั้งหลายนั้น คือยังไม่ได้ประพฤติธรรม ยังไม่ได้ปฏิบัติธรรม เช่นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านว่าให้เห็นอย่างถูกต้องเรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ตลอดไปจนถึง สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ องค์ของมรรคมี 8 อย่าง แต่มรรคมีอันเดียว คือ เอกายนมรรคเป็นมรรคอันเดียว และเป็นของบุคคลที่จะสัญจรไปคนเดียว ไปแต่ผู้เดียว แต่ว่ามีองค์ 8 ประการ
เมื่อเรามาเห็นชอบ ดำริมันก็ชอบ วาจามันก็ชอบ การงานก็ชอบ เลี้ยงชีวิตมันก็ชอบ พยายามก็ชอบ ตั้งสติมันก็ชอบ ตั้งใจก็ชอบ มันชอบที่ตรงไหน มันชอบอยู่ที่ใจของเรานี้แหละ จะไปตรงไหนก็ช่างมัน มันออกจากจิตดวงนี้ เห็นชอบออกจากจิต ดำริชอบมันออกจากจิต เมื่อจิตมันตั้งไว้ชอบแล้ว มันจะชอบกันไปหมดนั้น และไม่มีอะไรที่จะไม่ชอบมรรคทั้งหลายเหล่านี้มันสามัคคีกันขึ้นที่จิตใจของเราเป็นอันเดียว คือ ความสงบ จุดนี้เป็นทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราท่านตรัสว่าให้เดินมรรคอันนี้เป็น สัมมามรรค
ถ้าเราคิดให้จิตใจสงบ เช่นว่าเราถูกอารมณ์อันใดเกิดขึ้นมา ถ้าเราเป็นสัมมาทิฏฐิ มีความเห็นชอบแล้ว ทุกอย่างมันชอบทั้งนั้นแหละ ไม่มีผิด เพราะธรรมะสั่งสอนในการปล่อยวาง ไม่มีอะไร เมื่อมีควมสุขเกิดขึ้นมา อันความสุขนี้ท่านก็สอนว่าสักแต่ว่าเป็นสุข ทุกข์เกิดขึ้นมานี้ พระพุทธเจ้าก็สอนว่า อันนี้ก็สักแต่ว่าเป็นทุกข์ ไม่มีใครสุข และไม่มีใครทุกข์ เป็นแต่ความรู้สึกเกิดขึ้นมาเฉยๆ ท่านจึงว่า สักแต่ว่าเป็นสุข สักแต่ว่าเป็นทุกข์ ความสุขทุกข์อันนี้มันก็เกิดขึ้นมามีอยู่ แต่ว่าเราทั้งหลายมาประพฤติปฏิบัติธรรมแล้ว อาการของสุขนี้มันก็เกิดขึ้นมา แต่ว่าหาเจ้าของสุขนั้นไม่มี ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บางทีทุกข์ก็เกิดขึ้นมามีอยู่ แต่ว่าทุกข์นั้นมันเป็นมาตามเรื่องของมัน เกิดมาตามกิริยาของมัน มันก็เป็นอยู่อย่างนั้น ท่านจึงบอกว่า ถ้ามีความสุขแล้ว ก็ให้รู้ตามความเป็นจริงมันเสียว่า สุขนี้ก็สักแต่ว่าสุข ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา ถ้าทุกข์เกิดขึ้นมาแล้วท่านก็ให้รับรู้ พิจารณามันว่า ทุกข์นี้ก็สักว่าแต่ทุกข์ ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
การที่เราคิดเช่นนี้แหละเป็นสัมมาทิฏฐิ เราก็ไม่ได้เป็นเจ้าของสุขนั้นและทุกข์นั้น สุขทุกข์อันนั้นเป็นของที่ไม่มีเจ้าของ ถ้าใครเข้าไปยึดมั่นถือมั่นมัน ก็เข้าไปเป็นเจ้าของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เมื่อเข้าไปเป็นเจ้าของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็ไม่เพียงแต่เป็นทุกข์ มันไหลไปเรื่อยๆ ไป บางทีมันก็หายไป บางทีมันก็ไม่ได้มา แล้วก็ดีอกดีใจ แล้วก็เสียใจ ตามสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เพราะว่าตัวมิจฉาทิฏฐิมันเข้ามาแทรกให้มีความเห็นผิดเช่นนั้น เห็นผิดอะไร เราเข้าไปเป็นเจ้าของความสุข เราเข้าไปเป็นเจ้าของความทุกข์ เข้าไปแบกสุขทุกข์อันนั้นอยู่ มันก็หนัก อันนี้มันเป็นมิจฉาทิฏฐิ ในทำนองอย่างนี้
ถ้าเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว เวทนานี้ก็สักแต่เวทนา ลงสักว่าอย่างนี้ เวทนานั้นเป็นความเสวยสุขหรือทุกข์ 2 ประการนั้นแหละ เวทนานี้ถ้ามันเกิดขึ้นมา สุขก็จัดเป็นสุขเวทนา ทุกข์ก็จัดเป็นทุกข์เวทนา ดังนั้นเกิดแล้วมันดับไป เจ้าของสุขทุกข์นั้นไม่มี พระพุทธเจ้าท่านให้พิจารณาอย่างนี้
เมื่อเราพิจารณาเข้าไปเช่นนี้บ่อยๆ เรียกจิตว่าเข้ามาดูซิว่า อันนี้คืออะไร สุขนี้คืออะไร ทุกข์นี้มันคืออะไร มันเป็นของแน่นอนไหม มันเที่ยงไหม หรือมันเป็นอย่างไร พิจารณาตามมันเถอะ เราพอมองเห็นไหมว่าสภาวะที่เป็นอยู่นั้นนะ เราเคยเป็นสุขมาไหม “เคย” แล้วมันหายไปมีไหม หายไปมันก็มีแล้วทุกข์เคยมีไหม เคยมีทุกข์ทุกคน แต่ว่ามันทุกข์ไปตลอดไหมบางทีมันก็หายไป เราจะไปเอาเรื่องเอาราวอะไรกับสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ นี้แหละเป็นอารมณ์อย่างนี้ พระพุทธเจ้าท่านสอนอย่างนี้
เมื่อเรารู้สิ่งทั้ง 2 ประการนี้ จิตเราก็สงบ ทำไมถึงสงบ เพราะเราไม่เข้าไปเป็นเจ้าของอะไรทั้งนั้นแต่ว่าเราใช้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้สบาย ถ้วยโถโอชาม จะมีในบ้านของเราโต๊ะเก้าอี้อะไรที่มันมีอยู่นั้นก็ไม่ใช่ของเราๆ ใช้ไปเพื่อไม่ใช่ของเรา แต่เราใช้มันตามสบายใจ โดยที่ไม่ต้องทุกข์ ใช้โดยผู้มีปัญญารอบคอบ ให้อยู่เหนือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ให้รู้เหนือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ถ้าไม่อยู่เหนือสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น เราก็แบกมันโดยอุปาทานว่า อันนี้ของเรา อันนั้นของเรา เรื่อยไปอันนี้แหละที่มันเป็น มิจฉาทิฏฐิ เป็นความเห็นที่ผิดขึ้นมาเพราะทำให้เราเป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะอะไร ผิดหวัง อันนั้นเธอจงเป็นอย่างนั้น อันนี้แกจงเป็นอย่างนี้ ไม่ได้ตามปรารถนาของเรา
พระพุทธเจ้าท่านสอน พุทธบริษัทเราทั้งหลายเพื่อให้พ้นจากวัฏฏสงสารทุกๆ คน แต่ว่าเราสัตว์ผู้ที่กิเลสหนาปัญญาหยาบนั้นก็คิดไปอย่างหนึ่ง ที่ฟังธรรมะแล้ว อะไรก็ไม่ใช่ของตนทั้งนั้น กลัวจะไม่ได้ก็ไม่สบายใจ ความเป็นจริงนั้น ที่ว่าตน ที่เป็นของตนนั้น เป็นได้ แต่ว่านั้น เป็นของสมมติ มันไม่เป็นวิมุติ เราต้องเรียนรู้มันลืมทุกอย่างนั้นแหละ มันเป็นของสมมติ เช่นตัวของเรานี้ ชื่อเรานี้ มันมีชื่อมาแต่วันเราเกิดนะ เกิดมาแล้วมาตั้งชื่อใหม่ ชื่อเก่านั้นไม่มีเพราะมันไม่มี ทำไมมันถึงไม่มี มันว่างอยู่ตรงนั้นแหละ ตรงที่ไหนมันว่าง ก็เอาอะไรไปวางตรงที่นั้นก็ได้ เอาไปวางตรงที่มันว่างๆ เพราะว่าสัตว์เกิดมามันว่างไม่มีชื่อ เราก็ตั้งชื่อให้มันเสีย ชื่อใหม่นี้เอาไปใส่ใหม่ เป็นสมมติขึ้นมา เป็นนาย ก. นาย ข. นาย ค. ชื่อใหม่สมมติที่ตรงนั้น ทำไมต้องสมมติมัน เพราะตรงนั้นมันไม่มีอะไร จึงสมมติว่าให้มันเป็นนาย ก. นาย ข. เสีย นาย ก. นาย ข. จึงถูกสมมติขึ้นมา ไม่ใช่นาย ก จริง นาย ข จริง แต่เป็นนาย ก นาย ข สมมติ มันไม่ใช่วิมุต ถ้าไปถามถึงแล้ว จริงๆ มันจะไม่มีอะไร เป็นสภาวธรรมเท่านั้น เกิดมาแล้วต้องดับไป ดับไปแล้วเกิดขึ้นมา เกิดๆ ดับๆ อยู่เช่นนั้นสภาวะทั้งหลายเหล่านี้ เมื่อเรานำเอาอันนี้ไปพิจารณาแล้วจะได้รู้แจ้งเห็นจริงแก่ตัวเอง
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

หลวงปู่เทพโลกอุดร




" หลวงปู่เทพโลกอุดร กับ หลวงปู่บุดดา ถาวโร "
เล่าเรื่องหลวงปู่เทพโลกอุดร......


คืนหนึ่งในเดือนพฤษภาคม 2527 หลวงปู่(บุดดา ถาวโร)นอนให้ลูกศิษย์นวดอยู่ หลวงปู่ก็จะเล่านิทานธรรมะ ให้ลูกศิษย์ฟังไปด้วย พวกเรานั่งฟังธรรมะหลวงปู่ ราว 6-7 คน

ข้าพเจ้ามีความสงสัยเรื่องของหลวงปู่เทพโลกอุดร ซึ่งลงในหนังสือ"คนพ้นโลก" ของอาจารย์ปถัมภ์ ในหนังสือเล่าว่า หลวงปู่โลกอุดร มีอายุเป็นพันปี และท่านเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง ที่มีญาณวิเศษ ท่านสามารถเปลี่ยนร่างเป็นคนแก่ คนหนุ่ม หรือ ฆราวาส แล้วแต่ท่านจะสงเคราะห์บุคคลนั้นๆ เพราะเหตุใด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค้างคาใจข้าพเจ้าตลอดมา เมื่อมีโอกาส ข้าพเจ้าจึงถามหลวงปู่ว่า.....

ข้าพเจ้า-หลวงปู่เจ้าคะ หลวงปู่เทพโลกอุดรมีจริงไหมคะ?

หลวงปู่- มีจริงซิ โอ!!!! รูปร่างท่านสูงใหญ่ สูงแปดศอกโน่น !!! เวลานอน ท่านนอนหนุนขอนไม้ เราไม่เคยเจอท่านหรอก

ข้าพเจ้า-หลวงปู่เจ้าคะ อายุเป็นพันปี ท่านอยู่ได้อย่างไร?

หลวงปู่- อยู่ได้ด้วยญาณวิชา อยู่ในจอมปลวก ในถ้ำ ในภูเขา อยู่ได้เป็นพันๆปี อยากรู้เรื่องของท่าน ไปถามหลวงปู่วัยซี โน่น!! ท่านอยู่หินกองโน่น หลวงปู่ใหญ่ ท่านมาหาหลวงปู่วัยบ่อยๆ

ข้าพเจ้า-หลวงปู่เจ้าคะ หลวงปู่วัย ที่เอาจีวรหลวงปู่โลกอุดร มาถวายหลวงปู่ใช่ไหมเจ้าคะ?

หลวงปู่- อือ.....





หลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง กับ หลวงปู่โลกอุดร


ฉันฟังมาตั้งนาน โลกอุดร โลกอุดรใครหนอ มีวันหนึ่งก็เลยนั่งอยู่ ใครกันหนอ...? อ้อ...พอเจอหน้าก็ร้องอ้อเลย แต่ว่าท่านพวกนี้ทั้งหมด เดิมทีต้องมาจากพุทธภูมิก่อน พอใกล้จะเต็มก็ลา ลาจากพุทธภูมิเป็นสาวก ก็เลยต้องทำงานพุทธภูมิ

ถ้าสาวกจริง เขาไม่เอาด้วยหรอก เขาทำงานเฉพาะเรื่องของเขา ที่เห็นว่ามีเยอะๆ ทำได้ก็เงียบฉี่ คืองานของเขาไม่มี พวกนี้ถ้าถึงจุดเขาเว้นงาน คือต้องทำงานตามหน้าที่

มันมีเรื่องหนึ่งที่เราพูดกันแล้วเหมือนคนบ้า...

ไอ้ก่อนที่จะลงมานี่มันมีสัญญาใจ ว่าจะมาทำงานอะไร เวลาลงมาเกิดใหม่ๆ ไม่รู้เรื่องหรอก จิตไม่ถึงที่สุด ถ้าจิตถึงที่สุดกระเทาะเปลือกสัญญา อีตอนนี้แหละงานอื่นที่เคยทำมาแล้วก็โยนทิ้งหมด เอาเฉพาะงานของตน

ไปๆ มาๆ ก็ไปเจอะท่าน ไปเจอะกับท่าน ฉันอยากนึกจะเจอก็ชนปั้งเลย เมื่อชนปั๊บ ถามว่า

"เป็นพุทธภูมิมาก่อนใช่ไหม"

คือว่าพวกนี้ถ้าไม่สงสัยแกก็ไม่รู้เรื่องฉัน ถ้าสงสัยก็ชนกันเมื่อนั้นแหละ ต่างคนต่างขี้เกียจด้วยกัน มันไม่เก่งแล้ว มันต้องเก่งมาตอนต้นๆ ตอนต้นก็อยากเก่ง

ไอ้นักมวยตอนที่หัดใหม่ๆ ไปไหนกำหมัดยิกๆๆ ฉันเป็นนักมวย เอาเข้าเป็นแชมป์แล้ว เขาก็เลิก พระก็เหมือนกัน แก่แล้วก็เลิก แก่ก็มีเรื่องเด็ก ขี้เกียจ จะรู้อะไรไปทางไหนก็ตายแหงๆๆ อย่างพวกนี้ ตายแล้วจะไปไหน หาทางให้มันให้ไปแล้วไม่มาใช่ไหม

อะไรบ้างที่เราจะเปลื้องความทุกข์ไอ้การเวียนว่ายตายเกิด ก็ภาวะจิตมุ่งตรงสู่นิพพาน คือไอ้การอยากรู้ อยากเห็นก็เลิกกัน แต่ว่าเหตุใหญ่มันชนกันเข้าก็ต้องรู้ สงสัยเขาก็พูดกันเรื่อยเลย โลกอุดรๆๆ คือใคร

ก็มีคนหนึ่งบังเอิญเข้าไปพบ และก็ขอถ่ายภาพ ภาพแรกเป็นพระ กล้องเดียวกันถ่ายทีเดียว ขอถ่ายอีกทีกันเสีย มีภาพนุ่งโสร่ง ผ้าขาวม้าคาดพุงมีดเหน็บข้างหลัง

ถามมึงถ่ายอะไร

ฟิลม์เดียวกันครับ

ขอถ่ายครั้งที่ ๒ แกร็ก...กันเสีย ก็ไม่เสีย ได้อีกภาพหนึ่ง ถ้าได้ซ้ำก็เสียฟิลม์เปล่าใช่ไหม

พวกตกใจใหญ่ เป็นไปได้รึ เขาเป็นจะถามทำเกลืออะไร ก็เพราะมันเอง มันเห็นเอง ถามเป็นไปได้หรือ เป็นไปได้แล้ว ไม่น่าจะมาถามเลย

โลกอุดร ชื่อจริงๆ ก็ อุตตระ พระที่นำพระไตรปิฎกเข้ามาสุวรรณภูมิ อุตตระกับโสณะ หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว...ถ้าถามว่าอยู่ได้ยังไง อย่าลืมคำหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสว่า

"ผู้ใดถ้าคล่องอิทธิบาท ๔ สามารถจะอธิษฐานร่างกายอยู่ถึงกัปหนึ่ง"

อย่าลืมนะผู้ที่คล่องอิทธิบาท ๔ คือ พระอรหันต์ พระอนาคามีนี่ถือว่ายังไม่คล่อง เพราะอะไร ยังตัดสังโยชน์อีก ๕ ไม่ได้ ถ้าพระอรหันต็ก็ถือว่าคล่อง ไอ้คล่องไม่ใช่ว่าเฉยๆ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อั๊วะก็ว่าได้นี่ นี่ไม่ได้นะ"

จากหนังสือ ธัมมวิโมกข์ ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๕๖ หน้า ๔๗-๔๘





หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ เป็นพระอริยสงฆ์อีกรูปหนึ่งที่เคยพบ
"หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร"



เหตุการณ์ครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในช่วงที่ข้าพเจ้า เริ่มตระเวนหาครูบาอาจารย์ตามวัดต่างๆ ตามคำแนะนำของผู้ปฏิบัติธรรม
วันหนึ่งข้าพเจ้าได้เดินทางไปกราบ หลวงปู่ดู่ ที่วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อไปถึงนั้นเป็นเวลา 4 โมงเย็น ข้าพเจ้าได้ไปถามเด็กวัดว่า กุฏิหลวงปู่ดู่ อยู่ทางไหน
เด็กคนนั้นก็พาข้าพเจ้าไปจนพบตัวท่าน ขณะท่านกำลังอยู่ที่ศาลาริมน้ำ
ข้าพเจ้าเข้าไปกราบเท้าท่าน
ท่านก็เมตตาและถามว่า มาจากที่ไหน
ข้าพเจ้าก็กราบเรียนท่านว่า มาจากกรุงเทพฯ ครับ

แล้วท่านก็นั่งหลับตาอยู่นานสองนาน จนข้าพเจ้าคิดไปต่างๆนานาว่า ท่านคงไม่สบาย
เวลาผ่านไปนานพอสมควร พอท่านลืมตาขึ้น
ข้าพเจ้าก็รีบถามท่านทันทีว่า
"หลวงปู่ไม่สบายหรือเปล่า หลานจะไปซื้อยามาถวาย"
ท่านก็ตอบข้าพเจ้าว่า
"ฉันกำลังคุยกับ หลวงพ่อเกษมที่ลำปางอยู่ จึงไม่ได้พูดคุยกับเธอ"

เหตุการณ์ครั้งนั้น ข้าพเจ้าแทบไม่อยากเชื่อเลยว่า
หลวงปู่ดู่ ท่านอยู่ถึงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะสามารถส่งกระแสจิตติดต่อกับ "หลวงพ่อเกษม" ที่จังหวัดลำปางได้
มันเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ จิตใจก็เกิดปรามาสท่าน
เพราะขณะนั้น ข้าพเจ้ายังไม่แตกฉานในเรื่องธรรมะ

ภายหลังต่อมา ข้าพเจ้าได้เริ่มปฏิบัติพระกรรมฐาน
เริ่มศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จึงได้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า
ท่านคือ พระสุปฏิปันโนรูปหนึ่ง
ข้าพเจ้าจึงได้กลับไปที่วัดสะแกอีกครั้งหนึ่ง พร้อมด้วย ดอกไม้ ธูป เทียน และเครื่องสักการะ
เพื่อขอขมาลาโทษ ที่ได้เคยล่วงเกินด้วย กาย วาจา หรือใจก็ตาม
ท่านก็เมตตาให้โอวาท และ อบรมสั่งสอนธรรมะแก่ข้าพเจ้า...นับแต่นั้นมา

จากนั้น ข้าพเจ้าก็ฝากตัวเป็นลูกศิษย์ของท่าน
ท่านได้สอนวิปัสสนากรรมฐานจนข้าพเจ้าพอได้รู้ ได้เห็นบ้างตามสมควร ทำให้ข้าพเจ้าทราบว่า
พระสุปฎิปันโนนั้น...สภาวะจิต สภาวะธรรม ของท่านละเอียดอ่อน
สามารถติดต่อถึงกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลแค่ไหนก็ตาม

หลังจากนั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้คอยรับใช้ท่านอยู่หลายปี
ท่านมีเมตตาเล่าเรื่อง "หลวงปู่ใหญ่" ให้ข้าพเจ้าฟังว่า...

สมัยที่ท่านออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรนั้น
วันหนึ่งในฤดูหนาว ท่านเดินทางไปถึงดงพญาเย็น
แล้วเกิดเป็นไข้มาลาเรียอยู่ท่านกลางป่าดงดิบ ท่านคิดว่า คงจะไม่รอดชีวิตแน่แล้ว
แต่จู่ๆ ก็มี "พระรูปร่างสูงใหญ่"องค์หนึ่ง เอายาเม็ดกลมๆ ปั้นเหมือนลูกกลอนมาให้ท่านฉัน 2 เม็ด
เมื่อท่านฉันเสร็จแล้ว ปรากฎว่าอาการไข้กลับทุเลาลง...อย่างน่าอัศจรรย์
พอท่านหาย พระรูปร่างสูงใหญ่องค์นั้นก็จากไป
โดยที่ท่านไม่ทราบว่า พระองค์นั้นชื่ออะไร

ภายหลังที่ท่านกลับมาอยุธยา ได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ หลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ อาจารย์ของท่านฟัง
หลวงพ่อกลั่นหัวเราะแล้วบอกว่า พระรูปร่างสูงใหญ่องค์นี้ ท่านเป็นพระหลายยุค หลายสมัย
ท่านเข้ามาเผยแผ่ พระไตรปิฎกในสุวรรณภูมิ คอยค้ำชูบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง ไม่ให้ตกต่ำ
จนกว่าจะถึง..."ยุคพระศรีอาริย์"
พระภิกษุ สามเณร สมณชีพราหมณ์ อุบาสก อุบาสิกา ท่านใดได้พบเห็น
ไม่ว่าจะเป็น กายทิพย์ หรือ กายเนื้อ ถือเป็นมงคลอันสูงสุด






หลวงพ่อจรัญ


เมื่อประมาณปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๑ หลังจากเสร็จสิ้นการรับกฐินแล้ว
อาตมามีความตั้งใจมุ่งมั่นที่จะลาสิกขากลับไปใช้ชีวิตเป็นเพศฆราวาส
ตั้งใจที่จะไปลาพระอุปัชฌาย์ขอให้ท่านสึกให้
แต่เมื่อถึงเวลาเข้าจริง ๆ แล้ว อาตมาก็เข้าไปกราบหลวงพ่อช่อ
ไปถึงก็บอกความประสงค์กับท่านตรง ๆ เลยว่า

“หลวงพ่อครับ กระผมมาขอลาสึก ขาดจากสภาพการเป็นพระภิกษุ”

แต่ในวันนั้นพอดีท่านมีกิจนิมนต์ต้องรีบไปฉันเพล
ท่านจึงถามอาตมาว่า “สึกแน่หรือพระจรัญ ไม่เปลี่ยนใจอยู่ต่อนะ”
อาตมาก็เรียนท่านว่าต้องการสึกแน่นอน

จากนั้นอาตมาก็กราบลาท่านมาที่กุฏิ เมื่อเข้าไปข้างในกุฏิ
อาตมาก็เกิดง่วงเหงาหาวนอนขึ้นมาเฉย ๆ
มันคล้าย ๆ ครึ่งหลับครึ่งตื่น ลืม ๆ หลง ๆ ไปหมด นอนอยู่ตรงนั้นเอง
พลันหูก็ได้ยินเสียงประหลาดแว่วมาที่หูเหมือนมาพูดที่ริมหูว่า
“สึกไปหาอะไรกันเล่า นะโมยังไม่ได้เลย นะโมได้แล้วสึกก็ไม่น่าเสียดาย”
อาตมาก็นึกค้านขึ้นมาในใจว่า
“นะโมสวดได้จนคล่องตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ๆ แล้ว สวดมาตั้งแต่อยู่โรงเรียนแล้ว”
ก็คิดไปอย่างนี้ แต่ก็ยังตอบไม่ถูกว่า นะโมคืออะไร อาตมาก็จิตใจพะว้าพะวัง
เกิดใจคอไม่ค่อยดีแล้ว เสียงประหลาดนี้เป็นเสียงอะไรกัน เจ้าของเสียงคือใครอยู่ที่ไหน
(ในภายหลังหลวงพ่อบอกกับศิษยานุศิษย์ของท่านว่า มาทราบทีหลังว่า
เสียงนั้น คือเสียงของหลวงพ่อดำ พระอาจารย์ในป่าผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ต่าง ๆ
ให้กับท่านในเวลาต่อมา)

สักพักเสียงประหลาดนั้นก็ดังขึ้นมาอีกว่า
“นี่ คุณสึกก็ไม่เป็นไร ง่ายนิดเดียวไม่ยากอะไรนักหนา แต่ขอถามว่าพุทธคุณได้หรือยัง ธรรมคุณได้หรือยัง สังฆคุณได้หรือยัง”
ในตอนนั้นอาตมาจำได้ว่า นึกโมโหในใจว่า เอ๊ะ! เสียงบ้า ๆ บอ ๆ นี้อยู่ที่ไหน
พุทธคุณเราก็ท่องได้หมดแล้ว อิติปิโสเราก็คล่องปาก แต่ก็อาจจะไม่คล่องใจก็เป็นได้
แต่เมื่อเสียงประหลาดนี้ดังเตือนมา ทำให้อาตมานึกถึงคำโบราณที่ว่า ถ้าจิตใจไม่ดีแล้วอย่าสึก
ถ้าสึกออกไปแล้วจะเป็นคนสุก ๆ ดิบ ๆ เอาดีไม่ได้แล้วจะเป็นคนบ้าบอคอแตกไป อาตมาจึงเลื่อนการสึกออกไป

หลังจากที่คิดจะสึกแล้วไม่ได้สึก จนได้ของดีจากหลวงพ่อเดิมติดตัวมา
อยู่ต่อมาทราบว่า มีพระเก่งสามารถยืดเหรียญได้ ก็ดั้นต้นไปหาถึงขอนแก่น
ให้ผู้ใหญ่บ้านแถวนั้นพาไปพบพระธุดงค์รูปหนึ่ง ซึ่งแขวนกลดอยู่ใต้ต้นไทร
ไม่ทราบอายุอานามท่าน เพียงแต่คุณลุงผู้ใหญ่บ้านเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า
ท่านเห็นหลวงพ่อในป่ามาปักกลดที่นี่ทุกปี ๆ ละครั้ง ครั้งละประมาณหนึ่งเดือนแล้วก็ไป
ตั้งแต่คุณลุงผู้ใหญ่ยังเป็นเด็กแก้ผ้า จนถึงวันนี้ (วันที่เล่า) คุณลุงผู้ใหญ่ อายุแปดสิบกว่า
หน้าตา ผิวพรรณของหลวงพ่อดำก็ยังเหมือนเดิม

เมื่อหลวงพ่อจรัญได้ตอบคำถามหลวงพ่อในป่าแล้ว
หลวงพ่อดำก็พูดต่อว่า
“อย่าลืมนะเรียนหมดเลย เรียนเลยไปหมด รู้มากไป คุณรู้มากคงใช้ไม่ได้เลย!”

“เธออย่าลืมนะว่าพระพุทธเจ้าสอนอะไร สอนทุกข์และวิธีดับทุกข์”

“ท่านสอนอะไรอีกรู้ไหมคุณ” ----/
“ไม่ทราบครับ”

“เอาละจะบอกให้ สอนไม่ให้เบียดเบียนตน สอนไม่ให้เบียดเบียนคนอื่น พร้อมกับไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อนด้วย . . .
หาที่มาของทุกข์ให้ได้ ศึกษาข้อนี้ ในตัวเรามีอะไร มีทุกข์ หาที่มาของทุกข์แล้ว
ปฏิบัติ วิธีปฏิบัติอย่างไรหรือ ศีล สมาธิ ปัญญา”---/


ขณะที่ฟังหลวงพ่อดำสอน หลวงพ่อจรัญก็นึกไปด้วย
และคิดว่าเพียงแค่นี้เองหรือ นึกว่าจะมีอภินิหารมากกว่านี้
ก็เลยโดนหลวงพ่อในป่าชี้หน้า แล้วกล่าวต่อว่า

“คุณมันอย่างนี้ เรียนเลยไปหมด ไอ้ที่จะทำไม่ทำ เสือกผ่าไปเอาที่ไม่ได้ความ
ไอ้ที่ได้ไม่เอา ไปเอาที่ไม่ได้ ไอ้ที่จริงไม่ชอบ ไปชอบเอาที่ไม่จริง” ---/


หลวงพ่อจรัญบอกว่าอยากฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อดำก็ลืมตา ชี้หน้าว่า

“ความขลังของพระอาจารย์ แต่ย้อนกลับเป็นความคลั่งของศิษย์ คือ เธอ”

แล้วหลวงพ่อจรัญก็ขอฝากตัวเป็นศิษย์ติดตามหลวงพ่อดำไป
หลวงพ่อดำท่านนั่งนิ่งสักครู่ แล้วลืมตาพูดว่า

“คุณ . . . รอให้ คุณอายุ ๔๕ ก่อนนะ แล้วค่อยมาพบเราอีกครั้ง (ขณะนั้นราวปี พ.ศ.๒๔๙๒-๓ อายุ ๒๒ พรรษา)
อายุเธอยังน้อยนัก ยังไม่แน่นอน ยังหละหลวมอยู่อย่างนี้ จะรับได้อย่างไร
รับได้ต้องเป็นคนประเภท หนึ่งไม่ใช่สอง มีสัจจะ มีเมตตาสามัคคีแล้วหรือยัง
สัจจะก็ไม่มี จะเกิดเมตตาได้อย่างไร แล้วเมตตาไม่มี จะเกิดความสามัคคีได้ทั้งใจทั้งจิตหรือ จะเกิดรูปนามได้หรือ”


หลวงพ่อดำ บอกว่า ถ้าเธอคิดได้ ให้ไปเจอเราที่เขาภูคา จังหวัดน่าน อยู่บนเขา---/

ในการไปพบหลวงพ่อดำอีกครั้งต้องปฏิบัติได้ และแก้ปริศนาธรรมได้
ส่วนการไปพบนั้น เป็นสัจจะและความลับ ที่ไม่สามารถเปิดเผยได้
เมื่อครบกำหนดจึงได้ไปพบหลวงพ่อดำที่เขาภูคา จังหวัดน่าน

ปริศนาธรรม ของหลวงพ่อในป่า
อยาก เรียนรู้ ถาม หญิงคันหูก
อยาก ทำถูก ถาม เด็กเลี้ยงควาย
คนสามบ้าน กินน้ำบ่อเดียว
เดินทางเดียว ไม่เหยียบรอยกัน
“นะ” อยู่หัว สามตัว อย่าละ
“นะ” อยู่ที่ไหน ตามเอามาเป็นของเรา
ให้เข้ามาอยู่ที่ตัวเรา ฯ

อาตมาก็คิดได้เป็นเวลา ๑๐ ปี พอดี ยืนหนอ ๕ ครั้ง เราคิดได้ออกหมด
เดินทางเดียวอย่าเหยียบรอยกันก็คือ ยืน….หนอ (หมุนเท้าขวา ๔๕ องศา)
มันจะเหยียบรอยกันหรือ มาคนละครึ่งทาง ยืนนี่ หมุน ขวาก่อน แล้ว ซ้ายค่อยมา
แล้วให้พร้อมๆ กัน อย่าเหยียบรอยกัน หมายความว่า เดินอย่าไปเหยียบรอยกัน
ขึ้น-ลง คนละทาง ขวา-ซ้าย, ขวา-ซ้าย เท่านี้เอง


ยืนหนอนี้ อาตมาได้มาจากขอนแก่น หลวงพ่อดำ ชื่ออะไรก็ไม่ทราบ เจอท่านที่น้ำพอง อยู่ที่ป่าไทรย้อย
เดี๋ยวนี้น้ำท่วมหมดแล้ว อาตมาไปเจอจึงได้เดินธุดงค์ไปกับท่าน
ท่านให้ปริศนาธรรมไว้ว่า อยากเรียนรู้ถามหญิงคันหูก อยากทำถูกถามเด็กเลี้ยงควาย คนสามบ้านเดินทางเดียวอย่าเหยียบรอยกัน ฯ
เอามาให้ได้ แล้วท่านบอกว่า เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ ตะโจ ทันตา นะขา โลมา เกสา
อาตมา มานึกดูว่าตัวเองไม่ได้ทำมา ๑๐ ปี พอไปเจริญสติปัฏฐาน
จึงร้อง อ๋อ จะเอาวิชานี้ให้ได้ ยืน ๕ ครั้ง ทบทวนชีวิตให้ได้ ๕ มีตั้งแต่กำเนิด เกิดมาจากมารดาแล้ว
คือ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ เกสา คือ ผม โลมา คือ ขน นะขา คือ เล็บ ทันตา
คือ ฟัน ตะโจ คือ หนัง ของทั้ง ๕ อย่าง นี้มีมาตั้งแต่กำเนิด เกิดมาจากท้องมารดา แล้วเอามาพิจารณา


พออายุ ๔๕ อาตมาก็เดินธุดงค์ไปเจอท่านที่เขาภูคา
ท่านพาอาตมาเดินลัดเขา ตัดลำเนาไพร ๒ เดือน
แล้วอาตมาก็ได้ไปไหว้พระมัณฑะเล แล้วอธิษฐานว่า
"ถ้าข้าพเจ้ามีบุญวาสนา ขอนิมนต์พระจากมัณฑะเล มาสู่ประเทศไทยให้จงได้"
ตอนนี้พระจากมัณฑะเลมาแล้ว หลังวันนั้นมาเป็นเวลา ๔๐ ปี พอดี
ถ้าคนไม่มีบุญวาสนา ไม่มีทุนอยู่ในใจ จะไปอธิษฐานอะไรก็ไม่ได้ผล
จำไว้มีแต่บุญ ทุนไม่มี ได้ทุนกำไรไม่ได้ จะไม่ได้อะไรเลย


“อาตมาเคยมาได้ของดีที่จังหวัดขอนแก่นนี่ ท่านทั้งหลายทราบดี
จึงพยายามตั้งใจอยู่ตลอด จนชีวิตจะหาไม่ เราต้องตายไปหนึ่งครั้งแล้ว เรารอดตายมาได้
ถ้าไม่มาที่นี่แล้ว เราต้องตายที่เมืองพม่า มันดาเลย์ เมืองหงสาวดี ที่หลวงพ่อดำพาเราไปเดินธุดงค์ ต้องตายแน่
อันนี้ทำให้เรามั่นใจ ซึ้งใจ คือหลวงพ่อดำ องค์ที่ให้กรรมฐานพระเจ้ากรุงธนบุรี
พี่น้องทุกคนอาจยังไม่ทราบ ว่าเราต้องสร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมสวนเวฬุวัน

เรื่องเชื่อมโยงมาจากหลวงพ่อเดิมพูดมาหลายครั้ง แต่ต้องย้ำอีกหนให้ท่านทราบ
พี่น้องทุกคนอย่าคิดว่ารู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม อย่าเข้าใจผิดไม่ได้ผล คนไม่ได้คิดจะไม่มีสติปัญญา จะไร้เหตุผล
เมื่อเรากลับมาจากมัณฑะเล เมืองหงสาวดี แล้วก็มาเจอเครื่องบินจะตกที่ยุโรปเราก็รอดตายมาได้เพราะเหตุใด
รอดจากคอหักตาย รถชนตายเพราะเหตุใด เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้ว
ก็คิดได้ว่า หลวงพ่อดำเนี่ย บางคนก็บอกว่าเป็นหลวงพ่อโลกอุดร หลวงพ่อถ้ำวัวแดง เนี่ยไม่ใช่ทั้งนั้น


ท่านทั้งหลายอย่าลืม ที่น้ำพอง ท่านพาอาตมาไปได้รับของดีมาจากขอนแก่นหลากหลาย
เชื่อมโยงมาจากหลวงพ่อเดิมอีกที หลังจากที่เราคอหักแล้ว เราก็คิดว่าเราตายไปแล้ว
เรายังไม่เคยสนองพระเดชพระคุณหลวงพ่อดำ ให้เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นหลักเป็นฐานแต่ประการใด
จากที่ท่านให้คติธรรมเตือนใจว่า โปรดทำตามพระพุทธเจ้า
ว่าสร้างคนดีกว่าสร้างวัตถุ สร้างคนให้มีความรู้ สร้างคนให้มีความดี มีสติปัญญา
เราก็คิดอยู่ตลอดเวลาว่า ทำอย่างไรเราถึงจะสนองพระเดชพระคุณหลวงพ่อดำได้


อยู่มาวันหนึ่ง ท่านก็บอกว่าไม่เป็นไร สัญลักษณ์ของคนดีมีปัญญา
คือกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณสูงสุดหามิได้ ก็ขอรวบรัดตัดใจความ
ก็ปรากฏว่ามาได้สถานที่นี้ ทำให้ของพ่อดำท่านดลบันดาล
สถานที่นี้เป็นมหาขุมทรัพย์ เป็นถ้ำพญานาค ใครไม่มีบุญเข้ามาไม่ได้
ร้อนอกร้อนใจเหมือนยักษ์ถูกไฟลวก ไม่ได้ เลยก็พอดีนะ
จะหาที่ตรงน้ำพองก็ไม่ได้ ก็พอดีจากการดลบันดาลของหลวงพ่อดำ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 26

โพสต์

พระมหากัสสปะเถระ 'ยอดธุดงค์'ของแท้

โดย...ภัทระ คำพิทักษ์

ในวันที่ธุดงค์กลางเมืองกลายเป็นเรื่อง ทำให้‌หวนนึกถึงพระมหากัสสปะเถระผู้ได้ชื่อว่า‌เป็นเอตทัคคะหรือเป็นยอดของพระภิกษุใน‌เรื่องธุดงควัตร

พระมหากัสสปะเถระ อัครสาวกรูปที่ 3 ‌ของพระพุทธเจ้าในพุทธกัลป์นี้ เป็นเอตทัคคะ‌ด้านธุดงควัตร เพราะท่านถือวัตรปฏิบัติ 13 ‌ประการ ซึ่งเป็น“ปฏิบัติที่เข้มงวดเป็นพิเศษเพื่อความขัดเกลากิเลสอย่างยิ่ง”อย่างเคร่งครัด

ธุดงควัตรมี 13 ข้อ คือ

1.ถือผ้าบังสุกุลใช้แต่ผ้าเก่าที่คนเขาทิ้งเป็น‌วัตร

2.ใช้ผ้า 3 ผืน คือ ไตรจีวรเป็นวัตร

3.บิณฑบาต บริโภคอาหารเฉพาะที่ได้มา‌จากการรับบิณฑบาตเท่านั้นเป็นวัตร

4.บิณฑบาตตามลำดับเป็นวัตร

5.ฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร นั่งฉันเพียง‌ครั้งเดียว บริโภคอาหารเพียงวันละครั้งเดียว

6.ฉันในบาตร นำอาหารทุกชนิดมารวมกัน‌ในบาตรเป็นวัตร

7.ห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร คือ รับ‌บาตรมาแล้ว ไม่รับอะไรอีกแล้ว แม้หลังจากนั้น‌จะมีผู้ถวายอะไรอีก ก็จะไม่รับแล้วแม้จะถูกใจก็ตาม

8.อยู่ป่าเป็นวัตร

9.อยู่โคนไม้เป็นวัตร

10.อยู่กลางแจ้ง ไม่เข้าสู่ที่มุงบังใดๆ เลย ‌เป็นวัตร

11.อยู่ในป่าช้าเป็นวัตร

12.ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็น‌วัตร ใครขอให้สละที่พักนั้น ก็พร้อมสละได้ทันที

13.ถือการนั่งเป็นวัตร จะอยู่ใน 3 อิริยาบถ ‌คือ ยืน เดิน นั่ง ไม่เอนตัวลงให้หลังสัมผัสพื้นเลย

พระมหากัสสปะจะมาเกิดและได้อุปสมบท‌จนได้เป็นเอตทัคคะในด้านธุดงค์ในพุทธกัลป์นี้ ‌เพราะท่านมีเจตจำนงด้วยความปรารถนาอัน‌แน่วแน่ว่า ขอให้ได้เป็นเอตทัคคะในด้านธุดงค์‌ของพระพุทธเจ้าพระองค์ใดพระองค์หนึ่ง

ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นมหาเศรษฐีชื่อว่าเวเทหะ ‌ในยุคพระพุทธเจ้าซึ่งมีพระนามว่าพระปทุมุต‌ตระมีทรัพย์สมบัติ 80 โกฏิ

ในวันที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นสถาปนา‌สาวกองค์ที่ 3 นามว่ามหานิสภเถระไว้ใน‌ตำแหน่งเอตทัคคะผู้เป็นยอดของภิกษุผู้สอน‌ธุดงค์นั้น ท่านได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าพระปทุมุต‌ตระอยู่ด้วย เมื่อได้ยินเรื่องราวดังกล่าวก็เกิด‌ความเลื่อมใสเกิดขึ้นเป็นกำลัง จึงได้ขออาราธนา ‌ภิกษุสงฆ์ที่มีอยู่ทั้งหมดให้มาฉันภัตตาหารที่จะ‌ถวายในวันรุ่งขึ้น

พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุมีมากถึงหกล้าน‌แปดแสนองค์ แต่เวเทหะเศรษฐีก็ยืนยันพระศาสดาจึงรับนิมนต์

วันรุ่งขึ้น เวเทหะเศรษฐีได้ถวายทานสม‌อยาก เพราะไม่มีภิกษุใดเหลืออยู่ในอารามเลย ‌เว้นแต่มหานิสภเถระที่ยังออกบิณฑบาตอยู่ ‌เมื่อเวเทหะเศรษฐีนิมนต์ให้เข้ามาฉันที่บ้าน ‌ท่านก็ปฏิเสธว่าไม่ควร

เวเทหะเศรษฐีจึงข้องใจนักว่า พระภิกษุรูปนี้มีคุณวิเศษอย่างไรหนอ จึงได้ทูลถาม‌พระพุทธองค์ พระพุทธองค์ทรงตรัสอธิบายว่า ‌“ดูก่อนอุบาสก เรานั่งคอยภัตตาหารอยู่ในเรือน ‌แต่พระมหานิสภเถระนั้นไม่นั่งคอยภิกษาใน‌เรือนอย่างนี้ เราอยู่ในเมือง พระมหานิสภเถระ‌นั้นอยู่ในป่าเท่านั้น เราอยู่ในที่มุมบัง พระมหา‌นิสภเถระนั้นอยู่กลางแจ้งเท่านั้น ดังนั้น ‌พระมหานิสภเถระนั้นมีคุณอย่างนี้”

เมื่อเวเทหะเศรษฐีได้ฟังเช่นนั้นยิ่งเกิดศรัทธาปสาทะ และปักใจแน่วแน่ว่า อยากจะ‌เป็นเอตทัคคะในด้านธุดงค์ของพระพุทธเจ้า‌พระองค์ใดพระองค์หนึ่งในกาลข้างหน้า ท่าน‌จึงทูลถามพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นว่า หากทำมหาทาน 7 วัน จะสมปรารถนาหรือไม่ ‌พระพุทธองค์จึงทรงพิจารณาแล้วทรงมีพุทธ‌พยากรณ์ว่า ท่านจะสมปรารถนา“อีกแสนกัป‌นับจากนี้ ท่านจะเป็นพระสาวกที่ 3 ของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามหากัสสปะเถระ”

หลังจากนั้น เวเทหะเศรษฐีก็เวียนว่ายตาย‌เกิดจนถึงพุทธกัปปัจจุบัน ท่านจึงเกิดมาเป็น ‌ปิบผลิมาณพในสกุลขอกบิลพราหมณ์ แห่ง‌นครมคธ ส่วนนางภัททากาปิลานีคู่บารมี‌หลายชาติมาแล้วนั้นก็มาถือกำเนิดในสกุลของ‌โกลิยพราหมณ์ ในนครเดียวกัน

พราหมณ์ทั้งสองสกุลนี้ร่ำรวยมาก แต่คู่‌บารมีทั้งสองก็ปรารถนาจะครองตนเป็นโสด‌เพราะต่างคิดจะถือพรหมจรรย์ แต่เมื่อต่างถูก‌จับให้คู่กันเพราะมีชาติ โคตร และทรัพย์สมบัติ‌เสมอกัน หนุ่มสาวทั้งสองก็แต่งงานกันโดย‌ครองเรือนด้วยการประพฤติพรหมจรรย์โดยมิเสื่อมคลาย ต่างตกลงกันว่าเวลานอนจะเอา‌พวงดอกไม้วางไว้กลางที่นอน ปิบผลิมาณพ จะ‌นอนทางด้านขวา นางภัททากาปิลานีจะนอน‌ด้านซ้าย

ถ้าดอกไม้ด้านใดเหี่ยวก็เป็นอันรู้กันว่าผู้ใด‌เกิดราคะจริตขึ้นแล้ว

ทั้งคู่อยู่กันมาเช่นนั้นจนบิดามารดาสิ้นไป‌โดยทิ้งทรัพย์สมบัติไว้ถึง 87 โกฏิ

ทั้งสองสละทรัพย์สมบัติออกแสวงหาทาง‌ดับทุกข์ หลังจากวันหนึ่ง ปิบผลิมาณพ เห็นพวกนกกาคุ้ยเขี่ยสัตว์ มีไส้เดือน จากรอยไถใน‌ที่นาซึ่งบริวารลงแรงอยู่แล้ว ถามว่าสัตว์เหล่านี้‌กินอะไร?แล้วบริวารตอบว่ามันกินไส้เดือน ‌มาณพเมื่อถามว่า บาปที่สัตว์เหล่านี้ทำตกอยู่‌แก่ใคร?เหล่าบริวารตอบว่านายท่าน บาปเป็นของท่าน

เช่นเดียวกัน ข้างนางภัททากาปิลานีนั้นวันเดียวกันนั้นเองเธอได้หว่านเมล็ดงา 3 หม้อ‌ลงในไร่ แล้วเห็นนกกาลงมากิน เมื่อเธอถามว่า ‌สัตว์เหล่านี้กินอะไร แล้วได้รับคำตอบว่า พวก‌มันกินสัตว์ นางถามว่า อกุศลจะเป็นของใคร?‌แล้วได้รับคำตอบว่าเป็นของนายหญิง

ตกค่ำทั้งสองได้เล่าเรื่องนี้สู่กันฟังแล้วเห็น‌ตรงกันว่า หากมีชีวิตอย่างนี้ มีอกุศลเยี่ยงนี้ถึงจะมีทรัพย์มากอักโขก็ไร้ประโยชน์ใดๆ ต่าง‌จึงพากันทานทรัพย์สมบัติ ปลดเปลื้องข้าทาส‌บริวารออกแล้วหาชีวิตอันประเสริฐ

เมื่อออกบวชนั้น ท่านทั้งสองได้เดินตามกัน‌มาระยะหนึ่งแล้วระลึกขึ้นได้ว่า ใครเห็นเข้าคง‌ไม่ควร ต่างจึงแยกกันไปคนละทาง

ตามตำนานระบุว่า เมื่อทั้งสองท่านแยก‌ทางกันนั้น มหาปฐพีถึงกับสะเทือนเลื่อนลั่นแม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งทรงประทับนั่ง‌ในพระคันธกุฎี ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ยังได้‌สดับเสียงแผ่นดินไหว

เมื่อทรงพิจารณาสาเหตุแล้วจึงพบว่าปิบผลิมาณพ และนางภัททากาปิลานี สละ‌สมบัติแล้วบวชอุทิศเรา แผ่นดินไหวจึงไหวด้วย‌กำลังแห่งคุณของคนทั้งสอง พระพุทธองค์จึง‌เสด็จฯ ไปสงเคราะห์แก่ท่านทั้งสอง โดยไปนั่ง‌ดักประทับนั่งขัดสมาธิที่โคนต้นพหุปุตตนิโครธ ‌ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา เปล่ง‌พระรัศมีออกจากพระวรกายราว 80 ศอก

เมื่อพระมหากัสสปะเถระเห็นพระพุทธองค์ ‌ก็เกิดความเลื่อมใสอย่างสูงสุด จึงเข้าไป‌สักการะพร้อมทั้งกราบทูลปวารณาตนเป็น‌สาวก

มีจารึกไว้ในพระอรรถกถาว่า การถวาย‌สักการะโดยเลื่อมใสอย่างหมดจิตหมดใจแล้วปวารณาเป็นพุทธสาวก โดยกล่าวว่า“ข้าพระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง‌เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็น‌สาวก”ขึ้น 3 ครั้ง ของพระมหากัสสปะนั้นมีการเปรียบไว้ว่า ถ้าพระมหากัสสปะเถระกระทำการเคารพเช่นนี้ต่อผู้อื่นที่มิใช่พระสัมมา‌สัมพุทธเจ้าแล้ว“ศีรษะของผู้นั้น พึงหลุดจาก‌คอ ดุจตาลสุกหล่นฉะนั้น”และว่า“หาก‌พระมหากัสสปะเถระพึงความเคารพ ด้วยจิต‌เลื่อมใสอย่างยิ่งนี้ต่อมหาสมุทร มหาสมุทรจะต้องถึงความเหือดแห้ง ดุจหยาดน้ำที่ใส่ในกระเบื้องร้อน หากพึงทำความเคารพต่อ‌จักรวาล จักรวาลต้องกระจัดกระจายดุจกำแกลบ หากพึงทำความเคารพต่อเขาสิเนรุ ‌เขาสิเนรุต้องย่อยยับดุจก้อนแป้งที่ถูกกาจิก ‌หากพึงทำความเคารพต่อแผ่นดิน แผ่นดินต้อง‌กระจัดกระจายดุจผุยผงที่ถูกลมหอบมา”

หลังพระมหากัสสปะกล่าวถวายตัว ‌พระพุทธองค์ทรงประทานการอุปสมบทด้วยวิธี ‌โอวาทปฏิคคหณอุปสัมปทา หรือการอุปสมบท‌ด้วยการให้โอวาทแก่พระมหากัสสปะเถระด้วย‌โอวาท 3 ประการ ว่า

เพราะเหตุนั้นแล กัสสปะ เธอพึงศึกษา‌อย่างนี้ว่า เราจักเข้าไปตั้งความละอาย และ‌ความเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า ทั้งที่เป็นผู้ใหม่ ทั้งที่เป็นผู้ปานกลาง อย่างแรงกล้า,เธอ‌พึงศึกษาอย่างนี้แหละ กัสสปะ

เพราะเหตุนั้นแล กัสสปะ เธอพึงศึกษา‌อย่างนี้ว่า เราจักฟังธรรมอันใดอันหนึ่ง ซึ่ง‌ประกอบด้วยกุศล,เราเงี่ยหูลงฟังธรรมนั้นทั้งหมด ทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ รวบรวม‌ไว้ทั้งหมดด้วยใจ,เธอพึงศึกษาอย่างนี้แลกัสสปะ

เพราะเหตุนั้นแล กัสสปะ เธอพึงศึกษา‌อย่างนี้ว่า ก็สติที่เป็นไปในกายของเรา ซึ่ง‌ประกอบด้วยความสำราญ จักไม่ละเราเสีย,‌เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล กัสสปะ

พระมหากัสสปะเถระเองได้สมาทานธุดงค์‌คุณ 13 ประการ

หลังท่านบำเพ็ญเพียรเพียง 7 วันก็บรรลุ‌เป็นพระอรหันต์ในเช้าของวันที่ 8 นั่นเอง

พระมหากัสสปะเถระได้รับการสถาปนา‌เป็นเอตทัคคะด้านธุดงค์ และได้รับการยกย่อง‌ให้เป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ในลำดับที่สาม รอง‌จากพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ตามที่‌ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระปทุมุตตระพุทธเจ้า‌ในอดีตชาติ

นอกจากนี้ ท่านยังเป็นพระภิกษุรูปเดียวที่‌พระพุทธองค์ทรงประทานจีวรเก่าของพระพุทธ‌องค์

ความนี้มีบันทึกไว้ว่า ครั้งหนึ่งพระศาสดา‌เสด็จเดินทางมีพระเถระเป็นปัจฉาสมณะ เมื่อ‌จะประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พระมหากัสสปะจึงพับผ้าสังฆาฏิของตัวซึ่งเป็นผ้าเก่าทบกันเป็น 4 ชั้น แล้วปูลาดถวาย เมื่อทรง‌ประทับนั่งแล้วเอาพระหัตถ์ลูบคลำ ก่อนตรัสว่า ‌“สังฆาฏิอันทำด้วยผ้าเก่าผืนนี้ของเธอนุ่มดี”

ท่านจึงกราบทูลว่า“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ‌ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มสังฆาฏิเถิด”

เมื่อพระศาสดาทรงตรัสถามว่า“แล้วเธอ‌จะห่มอะไร?”

ท่านก็กราบทูลว่า“ข้าพระองค์ได้ผ้านุ่งของ‌พระองค์จึงจักห่ม”

พระศาสดาตรัสว่า“จีวรนี้ที่เราห่ม ทาสีชื่อ‌ปุณณะทิ้งไว้ในป่าช้าผีดิบ เราเข้าไปสู่ป่าช้า‌นั้นอันมีตัวสัตว์กระจายอยู่ ประมาณทะนาน‌หนึ่ง กำจัดตัวสัตว์เหล่านั้นแล้ว ตั้งอยู่ในมหาอริยวงศ์ ถือเอา ในวันที่เราถือเอาจีวรนี้ ‌มหาปฐพีในหมื่นจักรวาลส่งเสียงสั่นสะเทือน ‌อากาศนั้นส่งเสียง ตฏะ ตฏะ เทวดาใน‌จักรวาลได้ให้สาธุการว่า ภิกษุผู้ถือเอาจีวรนี้ ‌ควรเป็นผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตามธรรมชาติ ‌นั่งอาสนะเดียวเป็นวัตรตามธรรมชาติ เที่ยว‌ไปตามลำดับตรอกเป็นวัตรตามธรรมชาติ ‌ท่านจักอาจทำให้สมควรแก่จีวรนี้ได้ ดังนี้”

ว่าแล้วก็ทรงเปลี่ยนจีวรกับพระเถระ มี‌บันทึกว่า ในเวลานั้นปฐพีก็ไหวขึ้นเพราะไม่เคย‌มีการประทานจีวรที่ทรงห่มแล้วแก่พระสาวก‌องค์ใดเลย

อรรถกถาระบุไว้ว่า ผู้จะได้รับการแต่งตั้ง‌เป็นเอตทัคคะทางด้านใดด้านหนึ่งนั้น ต้องได้‌มาด้วยเหตุ 4 ประการ คือ

1.โดยเหตุเกิดเรื่อง 2.โดยการมาก่อน3.โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ และ 4.โดยเป็นผู้ยิ่ง‌ด้วยคุณ

พระเถระบางรูปย่อมได้ตำแหน่งเอตทัคคะ ‌โดยเหตุบางอย่างหรือหลายอย่าง แต่พระมหา‌กัสสปะเถระนั้นได้ตำแหน่งนี้มาโดยเหตุครบทั้ง ‌4 อย่าง กล่าวคือ

1.โดยเหตุเกิดเรื่อง คือ ทรงเปลี่ยนจีวรกับพระมหาเถระ ดังกล่าวซึ่งนับว่าเป็นผู้อาจ‌สามารถในการบำเพ็ญข้อปฏิบัติ ผู้ถือผ้าบังสุกุล‌มาแต่เดิม

2.โดยการมาก่อน คือ ท่านมิใช่เป็นผู้ทรง‌ธุดงคคุณมากในปัจจุบันเท่านั้น แต่ได้บำเพ็ญ‌บารมีในทางทรงธุดงคคุณมามากถึง 500ชาติแล้ว

3.เป็นผู้ช่ำชองชำนาญในการแสดงธรรม ‌ชักนำให้พุทธบริษัทมีความปรารถนาน้อย มี ‌ความสันโดษ มีความสงัดกาย สงัดใจ ชักนำให้‌ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ฯลฯ ซึ่งเป็นวิถีแห่งการธุดงควัตร

4.โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ คือ เว้นพระสัมมา‌สัมพุทธเจ้าแล้ว สาวกอื่นผู้เสมอเหมือน‌พระมหากัสสปะ ในเรื่องธุดงคคุณ 13 ไม่มี

นอกจากจะได้รับการสถาปนาเป็นเอตทัคคะ‌ด้านธุดงควัตรแล้ว ท่านยังได้รับการสรรเสริญ‌จากพระพุทธองค์ในหลายประการ อาทิ ได้รับ‌การสถาปนาไว้เสมอกับพระองค์ในธรรมอันยิ่ง‌ของมนุษย์ โดยอนุปุพพวิหาร 9 และอภิญญา ‌6 และได้รับสรรเสริญว่าเป็นผู้มีจิตไม่ติดอยู่ใน‌ตระกูล ว่า“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปะ‌เปรียบเหมือนดวงจันทร์ เข้าไปหาตระกูล ไม่‌คะนองกายไม่คะนองจิต เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ‌ไม่ทะนงตัวในตระกูล”(พระสุตตันตปิฎกขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม 2 ภาค 3 ตอน 4)

พระมหากัสสปะหลีกเน้นไปอยู่ป่าเป็นปกติ ‌เมื่อพระพุทธองค์ทรงละขันธ์ปรินิพพานแล้วถึง ‌7 วันจึงรู้ข่าว ท่านจึงนำภิกษุบริวารรีบมา ข้าง‌คณะสงฆ์และเจ้ามัลลกษัตริย์ผู้ครองเมือง‌กุสินารา ได้เตรียมงานถวายเพลิงพระศพมา 6 ‌วันแล้ว ในวันที่ 7 จึงได้อัญเชิญพระศพไปยังมกุฏพันธนเจดีย์ ที่อยู่ทางด้านทิศตะวันออก‌ของเมือง เพื่อถวายพระเพลิง

เมื่อถึงวันแรม 8 คํ่า เดือน 6 ซึ่งเรียกว่า ‌“วันอัฐมีบูชา”มัลลปาโมกข์ หรือมัลลกษัตริย์‌ชั้นหัวหน้า 4 องค์ จุดไฟอย่างไรไฟก็มิลุกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราทั้งปวงจึงถามพระอนุรุทธะว่าอะไรเป็นเหตุเช่นนี้พระอนุรุทธ‌เถระจึงตอบว่า เป็นความประสงค์ของพวก‌เทวดา เพราะเทวดารู้ว่า พระมหากัสสปะเถระ‌พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ราว 500 รูป กำลังเดินทาง‌จากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา

“จิตกาธารของพระผู้มีพระภาคยังไม่‌สามารถติดไฟ จนกว่าท่านพระมหากัสสปะ ‌จะถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มี‌พระภาคด้วยมือของท่าน”พระอนุรุทธะ กล่าว

เมื่อท่านพระมหากัสสปะพร้อมหมู่ภิกษุมา‌ถึง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณจิตกาธาร ‌3 รอบ แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสองของ‌พระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้าแล้ว จิตกาธาร‌ของพระผู้มีพระภาคก็มีเพลิงลุกโพลงขึ้นเอง ‌เมื่อพระสรีระไหม้ไฟแล้ว น้ำก็ไหลหลั่งมาจาก‌อากาศ ดับจิตกาธารของพระองค์

หลังจากนั้นพระมหากัสสปะยังได้เป็น‌ประธานในการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้นเป็น‌ครั้งแรกจนมีพระไตรปิฎกตกทอดมาจนถึงทุก‌วันนี้

พระมหากัสสปะดำรงขันธ์มากระทั่ง 120 ปี ‌ท่านจึงปรินิพพาน

ในพระคำภีร์ว่า ถึงเหตุการณ์ในคราวนั้นไว้ว่า ท่านเข้าไปสู่ระหว่างภูเขาทั้งสามลูก แล้ว‌อธิษฐานว่า ถ้าท่านดับสูญสิ้นอายุสังขาร เข้าสู่‌นิพพานแล้วเมื่อใด ขอภูเขาทั้งสามลูกนี้จงมา‌ประชุมกันเป็นลูกเดียว ให้ปรากฏเป็นห้องหับ‌อยู่ภายในภูผา อุปมาดังห้องที่ไสยาสน์ ในกาล‌ต่อไปเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไป ทรง‌พระนามว่าพระเมตไตรยจะมาตรัสรู้ในโลกนี้ ‌พระองค์จะเสด็จมา ณ ที่นี้ แล้วตรัสบอกแก่‌พระสงฆ์ว่าผู้นี้เป็นสาวกผู้ใหญ่ในศาสนาพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า มีนามปรากฏว่า ‌อริยกัสสปะเถระ ถือธุดงค์ได้สิ้นทั้ง 13 ประการ ‌ตราบเท่าสิ้นชีวิต คือ ถือบังสุกุลิกธุดงค์ เตจีวริก‌ธุดงค์ บิณฑบาติกาธุดงค์ สัปปทานจาริกธุดงค์ ‌เอกาสนิกธุดงค์ ปัตตบินฑิกธุดงค์ ขลุปัจฉาภัต‌ติกธุดงค์ อารัญญิกธุดงค์ รุกขมลิกธุดงค์ อัพโภ‌กาสิกธุดงค์ โสสานิกธุดงค์ ยถาลันตติกธุดงค์ ‌เนสัชชิกธุดงค์ ตั้งแต่วันอุปสมบทมา ตราบเท่า‌ถึงวันเข้าพระนิพพาน

แล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นจะ‌เป็นผู้ถวายเพลิงศพท่านเอง

จากนั้น ท่านก็เข้าสู่อนุปาทิเสสปรินิพพาน ‌แล้วภูเขาสามลูกก็รวมกันปิดสังขารท่านไว้ดัง‌อธิษฐาน

ในวันที่ธุดงควัตร 13 พลิกผันเป็นธุดงค์‌ธรรมชัย สรีระสังขารของอัครสาวกผู้ได้ชื่อว่า‌เป็นยอดแห่งธุดงค์ก็ยังคงไม่ปรากฏ แต่วัตรปฏิบัติของจริง ซึ่งมีท่านเป็นสุดยอดเป็นอย่างไร ‌2,500 ปีล่วงแล้วก็ยังชัดเจนถึงทุกวันนี้

:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ศิษย์เซียน007
Verified User
โพสต์: 1254
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 27

โพสต์

ผมเขื่อว่าที่พระมหากัสสปะเถระเจ้าทรงอธิษฐานจิตขึ้นอย่างนั้นต้องมีเหตุผลแน่ๆคับเพราะปกติแล้วพระเถระเจ้าทุกพระองค์ท่านจะทรงชอบความเรียบง่ายและท่านจะไม่ทรงแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ใดๆเลยถ้าไม่มีความจำเป็นจิงๆเพราะเหตุว่าอนุสาสนีปาฏิหาริย์คือยอดแห่งปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนาคับ อย่างที่พระพุทธทาสท่านเคยเทศน์ไว้ว่ากินอยู่อย่างต่ำทำอย่างสูง ผมจึงคิดว่าทำไมพระเถระเจ้าจึงทรงทำเช่นนั้นก็ได้คำตอบมาว่า(เป็นความเชื่อส่วนตัวนะคับ) ธุดงควัตรน่าจะเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวงในแง่ของข้อวัตรปฏิบัติเพราะฉะนั้นผู้ที่จะถวายพระเพลิงพระมหากัสสปะเถระเจ้าได้นั้นก็จะมีเพียงพระองค์เดียวนั้นก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงปรินิพพานไปก่อนที่พระเถระเจ้าท่านจะทรงล่ะขันธ์เข้าสู่แดนพระนิพพานจึงต้องรอให้พระพุทธเจ้าพระองค์ถัดไปทรงมาถวายพระเพลิงให้ก็เป็นไปได้นะคับ :D
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง

http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html



http://goo.gl/VjQ4cG
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ศิษย์เซียน007 เขียน:เพราะฉะนั้นผู้ที่จะถวายพระเพลิงพระมหากัสสปะเถระเจ้าได้นั้นก็จะมีเพียงพระองค์เดียวนั้นก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
" อดีตชาติของ พระกัสสปะ "
อดีตชาติของ พระกัสสปะ เป็นช้างจงรักภักดีเจ้าของ

พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว ๗ วัน ถวายพระเพลิง ทรงพิจารณาด้วยเหตุผลกลไกอะไรสมศาสดาเอก พิจารณาซิ นั่นละ ๗ วันเท่านั้น พระพุทธเจ้าไว้เพียง ๗ วัน นี่ละแบบฉบับ พระสาวกองค์ไหนตาย องค์ไหนนิพพานก็เข้าป่าเงียบๆ ไม่มีในประวัติให้เห็น

มีแต่ พระกัสสปะ ที่ประวัติยืดยาวหน่อย พระกัสสปะนี้เป็นกรรมเกี่ยวข้องกันกับ พระอริยเมตไตรย มีกรรมเกี่ยวข้องกัน ท่านจึงแสดงไว้ในปฐมสมโพธิ อันนี้อัฐของท่านอยู่ในเขา ๓ ลูกชนกัน ไม่มีใครเห็น เพราะกรรมจำเพาะกัน

พระอริยเมตไตรย เป็นนายควาญช้าง พระกัสสปะนี้เป็นช้าง ช้างตัวนี้เป็นช้างที่ดีมาก บอกให้เป็น – เป็น บอกให้ตาย – ตาย รักเจ้าของ เจ้าของชี้ให้ตาย – ตาย ชี้ให้เป็น – เป็น

พระเทวทัตนี่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ถ้าจำไม่ผิด ท่านประมวลชาดกมา
เพราะชื่อเสียงของช้างที่มีความจงรักภักดีต่อเจ้าของนี้ดังลั่นไปทั่วประเทศ
พระราชารับสั่งให้นายควาญช้างนั้นเข้าเฝ้า “ไหนว่าช้างเธอนั้นดีทุกสิ่งทุกอย่าง บอกให้เป็นก็ได้ บอกให้ตายก็ได้ ใช้ยังไงได้หมดใช่ไหม” “ใช่” ว่างั้นเลย

“ถ้าอย่างนั้นวันนั้นเราจะให้เขาเผาเหล็กแดงให้ช้างมาจับได้ไหม” “ได้” เรื่องนี้ได้
แต่การเป็นการตายเป็นเรื่องของช้างไม่รับรอง แต่เรื่องจับนี้จับแน่ ก็รับสั่งเลยพระราชาอำมหิต จิตเป็นยักษ์เป็นผี ถึงวันก็เผาเหล็กแดงเป็นท่อนเลยเทียว

นายควาญช้างกลับไปก็ไปพูดกับช้างว่า “คราวนี้เป็นกรรมอะไรก็ไม่รู้แหละ พระราชารับสั่งให้เราเข้าไปเฝ้า ถามถึงเรื่องช้างเป็นยังไง ช้างของเธอว่าเป็นช้างดิบช้างดี ใช้ให้เป็นก็เป็น ใช้ให้ตายก็ตาย ใช้ยังไงได้หมด ว่ายังนั้นใช่ไหม ก็ตอบไปแล้วว่าใช่

แล้วท่านก็รับสั่งให้ช้างจับเหล็กแดง ก็มีอยู่สอง เหล็กแดงให้ช้างจับ จับได้ไหม จับได้
เราก็ทูลแล้วว่าจับ ช้างจับแน่ๆ สั่งอย่างไรเป็นอย่างนั้นเลย ถ้าหากช้างไม่จับเราก็ต้องตาย คอเราขาด มีสองอย่างเท่านั้น ขอให้ช้างพิจารณาดู”

ช้างรับปุ๊บจับเหล็กแดง นายควาญช้างก็รอดตาย นั่นละพระอริยเมตไตรยเป็นนายควาญช้าง ช้างคือ พระกัสสปะ เพราะฉะนั้นกรรมจึงเกี่ยวกัน

เวลาพระกัสสปะตายแล้วก็ไปตายอยู่ในเขาสามยอดจรดกัน พระอริยเมตไตรยจะมาเอาอัฐของพระกัสสปะนี้ขึ้นบนฝ่าพระหัตถ์ แล้วเผาบนฝ่าพระหัตถ์เลยเพื่อแก้กรรมอันนั้น
มีพระอริยเมตไตรยเท่านั้นท่านบอกไว้จะเห็นอัฐของพระกัสสปะ นอกนั้นไม่มีใครเห็น

พระอริเมตไตรยก็เป็นพระพุทธเจ้าแล้วนี่ จะไม่เห็นได้ยังไงถึงวาระนั้นแล้ว ก็มีเท่านั้นในประวัติ

: เทศเรื่อง งานศพ ที่วัดป่าบ้านตาด อุดรธานี
: หลวงตาฯ พระธรรมวิสุทธิมงคล


:D
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ภาพประจำตัวสมาชิก
tum_H
Verified User
โพสต์: 1857
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 29

โพสต์

เรื่องราวฉบับเต็ม ครับ

ส่วนสาเหตุที่ทำให้ พระศรีอริยเมตไตรย ต้องมาสลายร่างพระมหากัสสปะด้วยพระองค์เอง ทั้งนี้เป็นเพราะพระพุทธองค์และพระมหากัสสปเถระ ได้มีบุพกรรมที่เคยกระทำร่วมกันมาก่อนในอดีต เรื่องก็มีอยู่ว่า ในสมัยที่พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า เสวยพระชาติเป็น พระเจ้าสัตตุตาปราชา พระองค์ทรงเป็นพระราชาที่โปรดปรานช้างเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังทรงชอบสะสมช้างที่มีลักษณะดีเอาไว้อีกด้วย จนกระทั่งอยู่มาวันหนึ่ง พระเจ้าสัตตุตาปราชาได้ทรงทราบข่าวว่า มีคนพบเจอช้างเผือกที่มีลักษณะดีอยู่ในป่า เมื่อพระเจ้าสัตตุตาปะได้ทรงสดับเรื่องราวและลักษณะของช้างเผือกตัวประเสริฐนั้นแล้ว พระเจ้าสัตตุตาปะทรงรู้สึกดีพระทัยเป็นยิ่งนัก ดังนั้น พระองค์จึงไม่รอช้ารีบเสด็จออกจากปราสาทเพื่อไปจับช้างตัวนั้นมาทันที ครั้นพระเจ้าสัตตุตาปะทรงจับช้างเผือกตัวนั้นมาได้แล้ว พระองค์ก็ทรงรับสั่งให้นายหัตถาจารย์เป็นผู้ดูแลและฝึกช้างเผือกตัวนั้น เพื่อที่พระองค์จะได้ทรงนำช้างเผือกตัวนี้มาเป็นช้างมงคลพระที่นั่งในงานมหรสพที่จะมีขึ้นในอีกเจ็ดวันข้างหน้า
เมื่อถึงกำหนดวันงานมหรสพ พระเจ้าสัตตุตาปะก็ทรงประทับช้างมงคลพระที่นั่ง ซึ่งก็คือช้างเผือกที่พระองค์ทรงจับมาออกว่าราชการ และเสด็จเที่ยวรอบเมืองเป็นที่สำราญพระราชหฤทัยยิ่งนัก จากนั้น พระองค์ก็ทรงเสด็จเลียบเลาะไปตามหนทาง เพื่อเข้าสู่เขตพระราชอุทยานอันงดงามและร่มรื่นไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด ด้วยความที่ค่ำคืนที่ผ่านมานั้น ได้มีช้างป่าโขลงใหญ่พากันบุกตะลุยเข้ามาหาอาหารภายในเขตพระราชอุทยาน จนส่งผลทำให้ต้นไม้ภายในเขตพระราชอุทยานจำนวนหลายต้นเกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก ซ้ำช้างป่าบางตัวยังถ่ายมูลทิ้งไว้เกลื่อนกลาดเปรอะเปื้อนเต็มไปหมด ครั้นพระเจ้าสัตตุตาปะทรงช้างมงคลพระที่นั่ง ผ่านเข้ามาภายในเขตพระราชอุทยานแล้ว ทันใดนั้นเอง ช้างมงคลพระที่นั่งก็พลันได้กลิ่นมูตรและคูถของนางช้างพังตัวเมียซึ่งยังสดใหม่ ซึ่งกลิ่นสาบสางอ่อนๆของนางช้างตัวเมียนั้น ถือว่า มีอำนาจเหลือคณาราวกับพายุที่โหมกระพือให้ไฟแห่งกามราคะ เผาผลาญดวงใจของช้างมงคลพระที่นั่ง ให้เกิดความกระสันซ่านทรวงและบีบเค้นบังคับให้ช้างมงคลพระที่นั่งถึงกับต้องหยุดเยื้องย่าง แล้วหันมาสูดหาแต่กลิ่นของนางช้างพังตัวนั้น
เมื่ออำนาจแห่งกามราคะท่วมท้นจนสุดที่จะระงับไว้ได้ จึงทำให้ช้างมงคลพระที่นั่งเกิดอาการคลุ้มคลั่งหรือพูดภาษาบ้านๆว่า ตกมัน หรืออาการที่ช้างกำลังมีความต้องการทางเพศอย่างเต็มที่ ถ้าเป็นมนุษย์ก็คือ อาการปวดกามนั่นเอง จากนั้น ช้างมงคลพระที่นั่งก็ได้สะบัดกายจนทำให้นายหัตถาจารย์พลัดตกลงมาจากหลังช้าง เหลือก็แต่เพียงพระเจ้าสัตตุตาปะเท่านั้นที่ยังทรงประทับค้างอยู่บนหลังของมัน แม้ในขณะนั้น พระเจ้าสัตตุตาปะจะทรงตกพระทัยเพียงใด แต่ถึงกระนั้น พระองค์ก็ยังทรงครองพระสติเอาไว้ได้ โดยพระองค์ทรงใช้ขอเกี่ยวเหนี่ยวรั้งมิให้พระองค์ตกจากหลังของช้างมงคลนั้น ฝ่ายช้างมงคลพระที่นั่งที่กำลังตกมันอย่างสุดขีด ก็พลันส่งเสียงร้องกึกก้องไปทั่วพระราชอุทยาน พร้อมกันนั้นก็ได้วิ่งถลาทำลายกำแพงของพระราชอุทยาน แล้ววิ่งเตลิดตามกลิ่นของนางช้างตัวเมียเข้าไปในป่าอย่างไม่ลดละ
แม้ในขณะนั้น พระเจ้าสัตตุตาปะจะทรงตกพระทัยเพียงใด แต่ถึงกระนั้น พระองค์ก็ยังทรงครองพระสติเอาไว้ได้ โดยพระองค์ทรงใช้ขอเกี่ยวเหนี่ยวรั้งมิให้พระองค์ตกจากหลังของช้างมงคลนั้น ฝ่ายช้างมงคลพระที่นั่งที่กำลังตกมันอย่างสุดขีด ก็พลันส่งเสียงร้องกึกก้องไปทั่วพระราชอุทยาน พร้อมกันนั้นก็ได้วิ่งถลาทำลายกำแพงของพระราชอุทยาน แล้ววิ่งเตลิดตามกลิ่นของนางช้างตัวเมียเข้าไปในป่าอย่างไม่ลดละ แม้พระเจ้าสัตตุตาปะจะทรงใช้พระแสงขออันคมกริบ สับลงไปที่หลังของช้างมงคลพระที่นั่งอยู่หลายครั้ง เพื่อหวังบังคับให้ช้างมงคลหยุดวิ่งด้วยพละกำลังของพระองค์ แต่ถึงกระนั้น ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นจากพระแสงขอ ก็ไม่อาจเอาชนะพลังอำนาจแห่งกามราคะที่กำลังห่อหุ้มดวงจิตของช้างมงคลพระที่นั่งได้เลย เพราะมันยังคงวิ่งตะบึงตามกลิ่นของนางช้างตัวเมียต่อไปโดยไม่สนกับสิ่งใดทั้งสิ้น เมื่อพระเจ้าสัตตุตาปะทรงเห็นว่า หมดหนทางที่จะบังคับช้างมงคลพระที่นั่งของพระองค์ได้แล้ว พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยโหนกิ่งมะเดื่อที่ห้อยลงมา แล้วปล่อยให้ช้างนั้นวิ่งเตลิดหายเข้าไปในป่าตามลำพัง ฝ่ายพวกทหารราชองค์รักษ์ ครั้นตามรอยช้างมาจนพบพระเจ้าสัตตุตาปราชาแล้ว ก็ได้ทูลเชิญพระองค์เสด็จกลับสู่พระนครในทันที แต่นายหัตถาจารย์กลับกราบทูลว่า ที่ช้างมงคลพระที่นั่งเป็นเช่นนั้น ก็เป็นเพราะอำนาจแห่งกามราคะที่กำลังคุกรุ่นอยู่ภายในใจของมัน เมื่อไหร่ที่กามราคะของมันสงบลงหรือมันเสร็จสมความต้องการของมันแล้ว ช้างมงคลพระที่นั่งก็จะกลับมาหาพระองค์ภายในเจ็ดวันอย่างแน่นอนพระเจ้าข้า ส่วนช้างมงคลพระที่นั่งนั้น เมื่อได้อยู่ร่วมกับนางช้างพังจนสมความปรารถนาแล้ว มันก็กลับมาสู่โรงช้างตามเดิมในวันที่เจ็ดนั้นเอง ครั้นนายหัตถาจารย์ทราบว่าช้างมงคลพระที่นั่งกลับมาแล้ว จึงรีบไปเข้าเฝ้ากราบทูลถวายรายงานพระเจ้าสัตตุตาปะในทันที เมื่อพระเจ้าสัตตุตาปะได้ทรงทราบเรื่องแล้ว พระองค์ก็ทรงดีพระทัยเป็นยิ่งนัก จากนั้นก็รีบเสด็จสู่โรงช้างเพื่อทอดพระเนตรช้างมงคลพระที่นั่งด้วยพระองค์เอง ครั้นพระเจ้าสัตตุตาปะทรงทอดพระเนตรเห็นช้างมีอาการสงบนิ่ง จึงได้ตรัสถามนายหัตถาจารย์ว่า เจ้าฝึกช้างได้ถึงเพียงนี้ แต่ทำไมในวันก่อนนั้น แม้เราจะเอาขอที่คมกล้าสับลงที่ตัวช้างสักเท่าไร ก็มิอาจบังคับควบคุมมันได้เล่า นายหัตถาจารย์จึงทูลตอบว่า ขึ้นชื่อว่ากามราคะซึ่งก็คือความกำหนัดยินดีในกามแล้ว ไม่ว่าจะเกิดขึ้นกับคนหรือสัตว์ที่ถูกฝึกมาดี ย่อมมีกำลังอันแรงกล้าเกินกว่าคมของพระแสงขอร้อยเท่าพันทวี อีกทั้งกามราคะนั้น ยังร้อนรุ่มสุมทรวงยิ่งกว่าไฟใดๆ และมีพิษที่ซึมซาบเร็วแรง ร้ายกาจยิ่งกว่าพิษของพญานาคทั้งสี่ตระกูลเป็นไหนๆ เพราะเหตุนี้เอง พระองค์จึงมิอาจหยุดยั้งช้างเชือกนี้ด้วยพระแสงขอของพระองค์พระเจ้าข้า
เมื่อพระเจ้าสัตตุตาปะได้ฟังนายหัตถาจารย์กล่าวเช่นนั้น พระองค์จึงได้ตรัสถามต่อไปอีกว่า แล้วทำไมช้างเชือกนี้จึงกลับมาหาเจ้าตามเดิมได้เล่านายหัตถาจารย์ก็ทูลว่า ที่ช้างกลับมา ใช่ว่าจะมาโดยความตั้งใจของมันเอง แต่มาเพราะอำนาจมนตรามหาโอสถของข้าพระองค์พระเจ้าข้า ครั้นนายหัตถาจารย์กล่าวประโยคนี้จบลง พระเจ้าสัตตุตาปะจึงตรัสสั่งให้นายหัตถาจารย์แสดงมนต์ดังกล่าวให้พระองค์ได้ทรงทอดพระเนตร ในทันทีที่สิ้นเสียงรับสั่ง นายหัตถาจารย์ก็ได้สั่งให้คนนำก้อนเหล็กไปเผาจนร้อนแดง แล้วใช้คีมคีบออกจากเตามาให้ จากนั้น จึงเรียกช้างมงคลพระที่นั่งมายืนอยู่ต่อหน้า พร้อมกับร่ายมนต์บังคับให้ช้างเอางวงจับก้อนเหล็กแดงร้อนว่า ช้างเอ๋ยเจ้าจงเอางวงหยิบก้อนเหล็กร้อนแดงเดี๋ยวนี้ หากเรายังไม่ได้บอกให้วาง เจ้าจงอย่าวางเด็ดขาด เมื่อนายหัตถาจารย์ได้ร่ายมนต์บังคับให้ช้างมงคลพระที่นั่ง เอางวงจับก้อนเหล็กแดงร้อนแล้ว ด้วยอำนาจแห่งมนต์ของนายหัตถาจารย์ ช้างก็ได้ยื่นงวงออกมาจับก้อนเหล็กแดงร้อนที่กำลังลุกโชน แม้ว่าความร้อนจากก้อนเหล็กจะทำให้งวงของช้างมงคลพระที่นั่งไหม้เกรียมเพียงใดก็ตาม แต่ช้างก็ไม่อาจจะทิ้งก้อนเหล็กร้อนลงได้
ครั้นพระเจ้าสัตตุตาปะได้ทอดพระเนตรเห็นช้างมงคลพระที่นั่ง กำลังถูกทรมานด้วยอำนาจมนตราของนายหัตถาจารย์เช่นนั้นแล้ว พระองค์ก็ทรงรู้สึกสงสาร เพราะเกรงว่าช้างจะตาย
โอ แม้มนต์ของนายหัตถาจารย์จะมีกำลังสามารถบังคับและควบคุมช้างได้ถึงขนาดนี้ แต่ถึงกระนั้นก็มิอาจจะสู้กำลังแห่งความกำหนัดยินดีในกามได้เลย เพราะความกำหนัดยินดีในกามสามารถฉุดให้ช้างหลุดอำนาจมนต์ของนายหัตถาจารย์นี้ได้ ถ้าจะว่าไปแล้ว สรรพสัตว์ทั้งหลายล้วนตกเป็นทาสแห่งอำนาจของกามราคะแทบทั้งสิ้น เพราะถูกกามราคะย่ำยีให้จมอยู่ในห้วงแห่งวัฏสงสารไม่มีที่สิ้นสุด แม้แต่บุตร ธิดา บิดา มารดา หรือสามี ภรรยา ที่รักกันนักหนา ก็ยังต้องมาเบียดเบียนฆ่าฟันกันมากมาย ก็เพราะด้วยอำนาจแห่งกามราคะ หลังจากนั้น พระเจ้าสัตตุตาปะทรงได้มอบรางวัลให้แก่นายหัตถาจารย์ แล้วทรงดำริขึ้นมาว่า สัตว์ทั้งหลาย จะพ้นจากอำนาจแห่งกามราคะได้ด้วยประการใดหนอ ในกาลเดียวกันนั้นเอง พระองค์ก็ทรงเห็นแจ้งในพระราชหฤทัยขึ้นมาว่า การได้บังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่จะพาตนเองและสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากห้วงแห่งวัฏสงสารนี้ได้ เมื่อพระเจ้าสัตตุตาปราชาทรงมีดำริเช่นนั้น พระองค์จึงทรงตั้งปณิธานปรารถนาพุทธภูมิว่า หากวันใดที่เราได้ตรัสรู้ธรรม เราก็จักสั่งสอนสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้รู้ในธรรมเหล่านั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เราพ้นจากห้วงแห่งทุกข์ได้ เมื่อนั้นเราก็จักพาสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นจากห้วงแห่งทุกข์ตามเราไปด้วย ครั้นพระเจ้าสัตตุตาปะทรงตั้งปณิธานเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัยสละราชสมบัติทั้งหมดของพระองค์ แล้วทรงออกบวช โดยพระองค์ทรงถือเพศเป็นดาบส บำเพ็ญพรตอย่างยิ่งยวดตราบจนสิ้นอายุขัย เมื่อพระเจ้าสัตตุตาปะทรงละจากโลกในภพชาตินั้นไปแล้ว ด้วยกำลังแห่งการบำเพ็ญพรตอย่างยิ่งยวด ก็ส่งผลทำให้พระองค์ได้ทรงไปบังเกิดอยู่บนสุคติโลกสวรรค์ พระเจ้าสัตตุตาปราชา ในครั้งนั้น ก็คือ พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเรา ช้างมงคลพระที่นั่ง ในครั้งนั้น ก็คือ พระมหากัสสปเถระ นายหัตถาจารย์ ในครั้งนั้น ก็คือ พระศรีอริยเมตไตรย สัมมาสัมพุทธเจ้า มื่อถึงกาลสมัยที่พระศรีอริยเมตไตรย จะลงมาบังเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์สุดท้ายของภัทรกัปนี้ ด้วยอำนาจแห่งอกุศลกรรมหรือวิบากกรรมในพระชาติที่พระองค์ทรงเกิดเป็นนายหัตถาจารย์ และทรงเคยเบียดเบียนช้างมงคลพระที่นั่ง ด้วยการร่ายมนต์ให้ช้างมงคลพระที่นั่งเอางวงจับก้อนเหล็กแดงร้อน จึงส่งผลทำให้พระองค์จำต้องเสด็จเดินทางมาที่กุกกุฎสัมปาตบรรพต เพื่อสลายร่างพระมหากัสสปเถระ ด้วยเปลวไฟลุกไหม้บนฝ่าพระหัตถ์เบื้องขวาของพระองค์

:idea:
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
ศิษย์เซียน007
Verified User
โพสต์: 1254
ผู้ติดตาม: 0

Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ

โพสต์ที่ 30

โพสต์

ขอบคุณมากคับ ผมก็พึ่งทราบที่มาที่ไปเป็นแบบนี้นี่เอง เรื่องกฎแห่งกรรมช่างสลับซับซ้อนมากจิงๆคับ :oops:
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง

http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html



http://goo.gl/VjQ4cG
โพสต์โพสต์