พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
- picklife
- Verified User
- โพสต์: 2565
- ผู้ติดตาม: 0
พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
โพสต์ที่ 3
Friday, 17 February 2006
WALL STREET สังคมเก็งกำไร Greed is Good โลภแหละดี
"เท่าไหร่จึงจะพอ" เป็นคำถามที่ไม่น่าถามคนเล่นหุ้น นักเลงหุ้น โดยเฉพาะเจ้าพ่อตลาดหุ้นอย่าง "เก็กโก้" (Gekko) ในหนังเรื่อง Wall Street เพราะสิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการไม่ใช่การลงทุนระยะกลางระยะยาว พวกเขาเล่น "การพนัน" ที่ได้เสียกันเป็นนาที ชั่วโมง อย่างมากเป็นวันเท่านั้น คนเหล่านี้ไม่ใช่ "นักลงทุน" ในความหมายอันสวยหรูของธุรกิจการเงินยุคใหม่
คนประเภทนี้ไม่ได้มีแต่นายเก็กโก้คนเดียว มีกันเต็มตลาดหุ้น ไม่ว่าที่นิวยอร์ค ลอนดอน โตเกียว ฮ่องกง หรือบางกอก จนหลายคนเรียกทุนนิยมวันนี้ว่า casino capitalism ทุนนิยมกาสิโน ซึ่งมีเงินไหลเวียนอยู่กว่าร้อยละ 90 ของเงินทั้งหมดในระบบการเงิน เพราะมันไหลเวียนด้วยความเร็วเท่าแสงและตลอด 24 ชั่วโมง ปิดที่หนึ่งก็เปิดอีกที่หนึ่งเรื่อยไป แบบตะวันไม่เคยตกดิน
"เท่าไหร่จึงจะพอ" เป็นคำถามที่ไม่น่าถามเพราะปรัชญาของคนเหล่านี้ คือ "Greed is good" โลภแหละดี เหมือนที่เก็กโก้ (ไมเกิล ดักลาส) บรรยายให้ "ศิษย์" ของเขาฟัง
หนังเรื่อง Wall Street ออกมาเมื่อปี 1987 ขณะที่ตลาดหุ้นไทยกำลังตั้งตัว และร้อนแรงเป็นกระทิงดุ พื้นฐานไม่เท่าไรแต่วิ่งไปถึง 1,700 กว่า ก่อนจะหัวทิ่ม คืนสู่ความเป็นจริงหลังฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 (1997) ไหลกลับไปหา "พื้นฐาน" ที่ 200 กว่าจุด
ปีนี้ที่ตลาดหุ้นเริ่มร้อนแรง เศรษฐกิจไทยเริ่มส่อแววรุ่งโรจน์อีกครั้ง ดูหนัง Wall Street กันอีกรอบก็น่าจะดี เผื่อจะมีอะไรเป็นบทเรียนบ้าง
หนังเรื่องนี้มีเค้าโครงไม่ซับซ้อน เป็นเรื่องของคนหนุ่มชื่อ Bud หรือบัดดี้ (ชาร์ลี ชีน) ทำงานในบริษัทโบรคเกอร์ เป็นคนกลางนำเงินของคนอื่นไปลงทุนในตลาดหุ้น เป็นคนหนุ่มไฟแรงที่ร้อนรุ่มอยากรวยเร็วและประสบความสำเร็จในชีวิต
นั่งทำงานเป็นโบรคเกอร์ธรรมดาคงรวยเร็วไม่ได้ เขาพยายามไขว้คว้าหาโอกาสต่างๆ จนได้คนที่สามารถช่วยเขาให้รวยเร็วและรวยลัดได้ คนที่ว่านี้ชื่อ Gekko นักเลงหุ้นตัวยง นักเทคโอเวอร์กิจการด้วยการเล่นหุ้น เป็น "ฉลามร้ายแห่งวอลล์สตรีท" (Wall Street shark) ที่มีเงินเป็นพันเป็นหมื่นล้าน
ชื่อ Gekko คงตั้งใจตั้งให้เหมาะสมกับเจ้าตัว Gekko แปลว่าตุ๊กแก มันกินแมลงเม่าและแมลงเล็กๆ และหากโดนหนีบหางมันก็พร้อมที่จะสลัดหางทิ้ง
โอลิเวอร์ สโตน ผู้กำกับและเขียนบทหนังเรื่องนี้สร้าง Wall Street เพื่อวิจารณ์แนวคิดธุรกิจทุนนิยมแบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก ตุ๊กแกกินแมลงเม่า ระบบที่เอื้อให้เกิดวิธีที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม คนเหล่านี้ต้องการเพียงผลลัพธ์หรือขอให้บรรลุเป้าหมาย (end) ไม่สนใจเครื่องมือ (means) ว่าถูกหรือผิด ขอให้ชนะและได้เงินเป็นพอ
ในตลาดหุ้นเช่นนี้คนที่ได้เปรียบคือคนที่มี "ข้อมูล" รู้ว่าใครเป็นใคร บริษัทไหนมีการประกอบการเช่นไร ใครจะทำอะไร มีแผนอะไร ใครมี "ข้อมูลลึกๆ" ก็ย่อมตัดสินใจได้เร็วกว่าว่าจะซื้อจะขายเมื่อไร เท่าไร และอย่างไร
หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นในต้น "ยุคข้อมูลข่าวสาร" ยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งที่นักเล่นหุ้นต้องการมากที่สุดคือข้อมูล และนักเลงหุ้นอย่างเก็กโก้ก็ไม่ได้รีรอที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูล และใช้หนุ่มบัดดี้ที่กำลังกระหายความสำเร็จเป็นเครื่องมือ แม้ว่าวิธีการหาข้อมูลบางอย่างจะผิดกฎหมายและไร้จริยธรรมก็ตาม
หนุ่มบัดดี้มีพ่อเป็นวิศวกรของสายการบินหนึ่ง และเป็นประธานสหภาพที่นั่น บัดดี้ทำให้เก็กโก้พอใจเพราะเขาได้ข้อมูลจากพ่อเรื่องสายการบินดังกล่าวทำให้เก็กโก้สามารถกว้านซื้อหุ้นและเป็นเจ้าของสายการบินได้และพร้อมที่จะขายทิ้งเพื่อทำกำไร นั่นคือความเลวร้ายและไร้จริยธรรมของการเล่นหุ้นแบบที่ต้องการเพียงกำไร ไม่สนใจความเป็นความตาย ชีวิตของคนงานเป็นหมื่นเป็นแสน
พ่อของบัดดี้ (มาร์ติน ชีน) เป็นตัวแทนของความถูกต้องและคุณธรรม มีประสบการณ์มากพอที่จะเห็นเล่ห์เหลี่ยมและความเลวร้ายของเก็กโก้ เขาขัดแย้งกับลูกชายอย่างรุนแรง เพราะลูกอ่อนหัดอ่อนประสบการณ์และเต็มไปด้วยความร้อนรุ่มที่จะประสบความสำเร็จ ต้องการขยับตัวเองไปสู่การเป็นเจ้าของกิจการสายการบินในเร็ววัน
วิธีคิดของหนุ่มบัดดี้ถอดมาจากปรมาจารย์เก็กโก้ของเขา คือ จุดหมายสำคัญกว่าวิธีการ ขอให้ถึงจุดหมายก่อน วิธีการยังไงก็ได้ ถึงแล้วค่อยว่ากัน ค่อยทำอะไรดีๆ ทีหลัง (เพื่อชดเชยก็ได้)
และที่สุด นักเล่นหุ้นหรือล่าหุ้นอย่างเก็กโก้ก็ออกลายที่แท้จริง เอาวิธีคิดดังกล่าวมาใช้หักหลังแม้กระทั่งลูกน้องมือขวาคนสนิทอย่างบัดดี้ที่เพิ่งจะเรียนรู้อย่างเจ็บปวดว่า คุณธรรมไม่มีในหมู่โจร และยิ่งไต่ขึ้นไปสูงเพียงใด ตกลงมายิ่งเจ็บเพียงนั้น
บัดดี้เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่เรียนจบจากสถาบันการศึกษาธรรมดาๆ ไม่ใช่ฮาร์วาร์ด หรือท็อบเท็นที่ไหน อยากประสบความสำเร็จ เขาบอกพ่อว่า "เป็นคนจนไม่มีเกียรติเลย" แต่หนังก็ค่อยๆ แสดงให้เห็นว่า เป็นคนรวยแบบเอาเปรียบคนอื่น รวยด้วยวิธีที่ผิดก็ไม่มีเกียรติเหมือนกัน
จริงอยู่ คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น Wall Street คงไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมและวิธีการที่ผิดกฎหมายไร้จริยธรรมของเก็กโก้ แต่คงไม่มีใครปฏิเสธระบบค่านิยม (value system) วิธีคิดวิธีปฏิบัติโดยพื้นฐานของทุนนิยมกาสิโน ซึ่งที่ไหนในโลกก็ไม่ต่างกัน
ใครๆ ก็อยากรวย อยากรวยเร็วรวยลัด และก็ดูเหมือนว่า สำหรับนักเลงหุ้นและนักเล่นหุ้นทั้งหลาย เงินไม่สำคัญเท่ากับชัยชนะ เพราะมันเป็นเกม เป็นการพนัน เกมของการได้เสีย
ที่น่าสนใจในหนัง Wall Street คงไม่ใช่กลเม็ดเด็ดพรายของเก็กโก้ที่ทำผิดกฎหมายเพื่อเอาชนะในตลาดหุ้น สิ่งที่โอลิเวอร์ สโตนอยากเน้น ตีแผ่ และวิพากษ์วิจารณ์ คือการเอาเรื่องกำไรสูงสุด ความร่ำรวยและการพนันมาเป็นเป้าหมายของตลาดหุ้น เกิดการแข่งขันเอาเป็นเอาตาย (บรรยากาศในหนังกับภาพจริงคงไม่ต่างกันนัก ภาพความโกลาหล วุ่นวาย เร่งร้อน รีบเร่งแบบประสาทกิน)
ในบรรยากาศแบบนี้จะมีที่สำหรับศีลธรรม จริยธรรมได้อย่างไร ระบบแบบนี้มีที่สำหรับกฎหมาย สำหรับความถูกผิดด้วยหรือ หรือกฎก็เหมือนกรรมการมวยปล้ำอาชีพที่เราเห็นกันทางทีวี ที่กรรมการเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดงเท่านั้น
เพราะถ้าหากมันมีกฎหมายจริง มีคุณธรรมจริง ดีและถูกต้อง ก็ไม่น่าจะเกิดอะไรแบบ "จันทร์ทมิฬ" (Black Monday) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1987 ไล่เลี่ยกับที่หนังเรื่องนี้ออกมาพอดี เมื่อตลาดหุ้นนิวยอร์คตกลงมาแบบหัวทิ่ม เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างประมาณมิได้ ใครหลายคนบอกว่า นั่นคือสัญญาณเตือนภัยครั้งสำคัญว่า ทุนนิยมใกล้จะถึงจุดจบแล้ว อาจจะช้ากว่ากำแพงเบอร์ลินที่พังทลายเมื่อเดือนตุลาคม 1989 แต่วันหนึ่งทุนนิยมมันก็จะต้องกินตัวเองและล่มสลาย
บิช็อบชาวศรีลังกาผู้หนึ่งที่ต่อสู้เคียงข้างคนจน กล่าวไว้หลายปีก่อนว่า "ทุนนิยมเลวร้ายในสายเลือด" (capitalism is intrinsically evil) พูดจาภาษาที่คนเล่นหุ้นวันนี้คงไม่อยากฟัง เพราะกำไรที่เห็นๆ แต่ละวันมันหอมหวานและทำให้สายตาพร่ามัว มองไม่เห็นทางอื่นนอกจากทางนี้
Wall Street น่าดูกันวันนี้อีกครั้ง ไม่ใช่ดูที่บุคคลแต่ดูระบบที่เอื้อให้คนทำผิดง่ายและทำถูกยาก ระบบที่ยั่วยวนกิเลสของมนุษย์ที่ต้องการอยู่อย่าง "มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี" สังคมทำให้คนเชื่อว่า เงินช่วยให้คนเป็นอย่างที่ว่านั้นได้
ประมาณ 50 ปีก่อนเห็นจะได้ มีวิวาทะระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่อง "สันโดษ" คนหนึ่งสอนว่า สันโดษเป็นหลักธรรมสำคัญของการมีชีวิตทั้งส่วนบุคคลและสังคมโดยรวม อีกคนหนึ่งเห็นว่าคำสอนเรื่องสันโดษเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
นั่นเป็นยุคเริ่มต้นการพัฒนา ยุค 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมให้คนปลูกมากๆ เลี้ยงมากๆ จะได้มีเงินมากๆ ยุคที่อยากให้ "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ" เพราะ "งานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุข" และเป็นยุคที่เริ่มเปลี่ยนจากพึ่งพาอาศัยกันเองและพึ่งตนเองมาพึ่งพาอาศัยรัฐ จากการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาพึ่งพาอาศัยเงินเกือบจะเพียงอย่างเดียว
เงินกลายเป็นพระเจ้าในลัทธิบูชาเงิน ปรัชญาแห่งสังคมบ้าบริโภค
ดูหนังเรื่องนี้แล้วคิดไม่ออกเหมือนกันว่า สังคมวันนี้ที่มีทุนนิยมเป็นกระแสหลักจะมีช่องว่างเล็กๆ ให้คนได้คิดเรื่อง Small is Beautiful เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ รวมทั้ง "เศรษฐกิจพอเพียง" อย่างจริงจังได้อย่างไร
(ตีพิมพ์ครั้งแรกในผู้จัดการรายวัน 2547 รวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ อ่านชีวิตบนแผ่นฟิล์ม กับหนังอีก 35 เรื่องในปี 2548)
WALL STREET สังคมเก็งกำไร Greed is Good โลภแหละดี
"เท่าไหร่จึงจะพอ" เป็นคำถามที่ไม่น่าถามคนเล่นหุ้น นักเลงหุ้น โดยเฉพาะเจ้าพ่อตลาดหุ้นอย่าง "เก็กโก้" (Gekko) ในหนังเรื่อง Wall Street เพราะสิ่งที่คนเหล่านี้ต้องการไม่ใช่การลงทุนระยะกลางระยะยาว พวกเขาเล่น "การพนัน" ที่ได้เสียกันเป็นนาที ชั่วโมง อย่างมากเป็นวันเท่านั้น คนเหล่านี้ไม่ใช่ "นักลงทุน" ในความหมายอันสวยหรูของธุรกิจการเงินยุคใหม่
คนประเภทนี้ไม่ได้มีแต่นายเก็กโก้คนเดียว มีกันเต็มตลาดหุ้น ไม่ว่าที่นิวยอร์ค ลอนดอน โตเกียว ฮ่องกง หรือบางกอก จนหลายคนเรียกทุนนิยมวันนี้ว่า casino capitalism ทุนนิยมกาสิโน ซึ่งมีเงินไหลเวียนอยู่กว่าร้อยละ 90 ของเงินทั้งหมดในระบบการเงิน เพราะมันไหลเวียนด้วยความเร็วเท่าแสงและตลอด 24 ชั่วโมง ปิดที่หนึ่งก็เปิดอีกที่หนึ่งเรื่อยไป แบบตะวันไม่เคยตกดิน
"เท่าไหร่จึงจะพอ" เป็นคำถามที่ไม่น่าถามเพราะปรัชญาของคนเหล่านี้ คือ "Greed is good" โลภแหละดี เหมือนที่เก็กโก้ (ไมเกิล ดักลาส) บรรยายให้ "ศิษย์" ของเขาฟัง
หนังเรื่อง Wall Street ออกมาเมื่อปี 1987 ขณะที่ตลาดหุ้นไทยกำลังตั้งตัว และร้อนแรงเป็นกระทิงดุ พื้นฐานไม่เท่าไรแต่วิ่งไปถึง 1,700 กว่า ก่อนจะหัวทิ่ม คืนสู่ความเป็นจริงหลังฟองสบู่แตกเมื่อปี 2540 (1997) ไหลกลับไปหา "พื้นฐาน" ที่ 200 กว่าจุด
ปีนี้ที่ตลาดหุ้นเริ่มร้อนแรง เศรษฐกิจไทยเริ่มส่อแววรุ่งโรจน์อีกครั้ง ดูหนัง Wall Street กันอีกรอบก็น่าจะดี เผื่อจะมีอะไรเป็นบทเรียนบ้าง
หนังเรื่องนี้มีเค้าโครงไม่ซับซ้อน เป็นเรื่องของคนหนุ่มชื่อ Bud หรือบัดดี้ (ชาร์ลี ชีน) ทำงานในบริษัทโบรคเกอร์ เป็นคนกลางนำเงินของคนอื่นไปลงทุนในตลาดหุ้น เป็นคนหนุ่มไฟแรงที่ร้อนรุ่มอยากรวยเร็วและประสบความสำเร็จในชีวิต
นั่งทำงานเป็นโบรคเกอร์ธรรมดาคงรวยเร็วไม่ได้ เขาพยายามไขว้คว้าหาโอกาสต่างๆ จนได้คนที่สามารถช่วยเขาให้รวยเร็วและรวยลัดได้ คนที่ว่านี้ชื่อ Gekko นักเลงหุ้นตัวยง นักเทคโอเวอร์กิจการด้วยการเล่นหุ้น เป็น "ฉลามร้ายแห่งวอลล์สตรีท" (Wall Street shark) ที่มีเงินเป็นพันเป็นหมื่นล้าน
ชื่อ Gekko คงตั้งใจตั้งให้เหมาะสมกับเจ้าตัว Gekko แปลว่าตุ๊กแก มันกินแมลงเม่าและแมลงเล็กๆ และหากโดนหนีบหางมันก็พร้อมที่จะสลัดหางทิ้ง
โอลิเวอร์ สโตน ผู้กำกับและเขียนบทหนังเรื่องนี้สร้าง Wall Street เพื่อวิจารณ์แนวคิดธุรกิจทุนนิยมแบบปลาใหญ่กินปลาเล็ก ตุ๊กแกกินแมลงเม่า ระบบที่เอื้อให้เกิดวิธีที่ผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม คนเหล่านี้ต้องการเพียงผลลัพธ์หรือขอให้บรรลุเป้าหมาย (end) ไม่สนใจเครื่องมือ (means) ว่าถูกหรือผิด ขอให้ชนะและได้เงินเป็นพอ
ในตลาดหุ้นเช่นนี้คนที่ได้เปรียบคือคนที่มี "ข้อมูล" รู้ว่าใครเป็นใคร บริษัทไหนมีการประกอบการเช่นไร ใครจะทำอะไร มีแผนอะไร ใครมี "ข้อมูลลึกๆ" ก็ย่อมตัดสินใจได้เร็วกว่าว่าจะซื้อจะขายเมื่อไร เท่าไร และอย่างไร
หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นในต้น "ยุคข้อมูลข่าวสาร" ยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารพัฒนาอย่างรวดเร็ว สิ่งที่นักเล่นหุ้นต้องการมากที่สุดคือข้อมูล และนักเลงหุ้นอย่างเก็กโก้ก็ไม่ได้รีรอที่จะทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ข้อมูล และใช้หนุ่มบัดดี้ที่กำลังกระหายความสำเร็จเป็นเครื่องมือ แม้ว่าวิธีการหาข้อมูลบางอย่างจะผิดกฎหมายและไร้จริยธรรมก็ตาม
หนุ่มบัดดี้มีพ่อเป็นวิศวกรของสายการบินหนึ่ง และเป็นประธานสหภาพที่นั่น บัดดี้ทำให้เก็กโก้พอใจเพราะเขาได้ข้อมูลจากพ่อเรื่องสายการบินดังกล่าวทำให้เก็กโก้สามารถกว้านซื้อหุ้นและเป็นเจ้าของสายการบินได้และพร้อมที่จะขายทิ้งเพื่อทำกำไร นั่นคือความเลวร้ายและไร้จริยธรรมของการเล่นหุ้นแบบที่ต้องการเพียงกำไร ไม่สนใจความเป็นความตาย ชีวิตของคนงานเป็นหมื่นเป็นแสน
พ่อของบัดดี้ (มาร์ติน ชีน) เป็นตัวแทนของความถูกต้องและคุณธรรม มีประสบการณ์มากพอที่จะเห็นเล่ห์เหลี่ยมและความเลวร้ายของเก็กโก้ เขาขัดแย้งกับลูกชายอย่างรุนแรง เพราะลูกอ่อนหัดอ่อนประสบการณ์และเต็มไปด้วยความร้อนรุ่มที่จะประสบความสำเร็จ ต้องการขยับตัวเองไปสู่การเป็นเจ้าของกิจการสายการบินในเร็ววัน
วิธีคิดของหนุ่มบัดดี้ถอดมาจากปรมาจารย์เก็กโก้ของเขา คือ จุดหมายสำคัญกว่าวิธีการ ขอให้ถึงจุดหมายก่อน วิธีการยังไงก็ได้ ถึงแล้วค่อยว่ากัน ค่อยทำอะไรดีๆ ทีหลัง (เพื่อชดเชยก็ได้)
และที่สุด นักเล่นหุ้นหรือล่าหุ้นอย่างเก็กโก้ก็ออกลายที่แท้จริง เอาวิธีคิดดังกล่าวมาใช้หักหลังแม้กระทั่งลูกน้องมือขวาคนสนิทอย่างบัดดี้ที่เพิ่งจะเรียนรู้อย่างเจ็บปวดว่า คุณธรรมไม่มีในหมู่โจร และยิ่งไต่ขึ้นไปสูงเพียงใด ตกลงมายิ่งเจ็บเพียงนั้น
บัดดี้เป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่เรียนจบจากสถาบันการศึกษาธรรมดาๆ ไม่ใช่ฮาร์วาร์ด หรือท็อบเท็นที่ไหน อยากประสบความสำเร็จ เขาบอกพ่อว่า "เป็นคนจนไม่มีเกียรติเลย" แต่หนังก็ค่อยๆ แสดงให้เห็นว่า เป็นคนรวยแบบเอาเปรียบคนอื่น รวยด้วยวิธีที่ผิดก็ไม่มีเกียรติเหมือนกัน
จริงอยู่ คนส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น Wall Street คงไม่เห็นด้วยกับพฤติกรรมและวิธีการที่ผิดกฎหมายไร้จริยธรรมของเก็กโก้ แต่คงไม่มีใครปฏิเสธระบบค่านิยม (value system) วิธีคิดวิธีปฏิบัติโดยพื้นฐานของทุนนิยมกาสิโน ซึ่งที่ไหนในโลกก็ไม่ต่างกัน
ใครๆ ก็อยากรวย อยากรวยเร็วรวยลัด และก็ดูเหมือนว่า สำหรับนักเลงหุ้นและนักเล่นหุ้นทั้งหลาย เงินไม่สำคัญเท่ากับชัยชนะ เพราะมันเป็นเกม เป็นการพนัน เกมของการได้เสีย
ที่น่าสนใจในหนัง Wall Street คงไม่ใช่กลเม็ดเด็ดพรายของเก็กโก้ที่ทำผิดกฎหมายเพื่อเอาชนะในตลาดหุ้น สิ่งที่โอลิเวอร์ สโตนอยากเน้น ตีแผ่ และวิพากษ์วิจารณ์ คือการเอาเรื่องกำไรสูงสุด ความร่ำรวยและการพนันมาเป็นเป้าหมายของตลาดหุ้น เกิดการแข่งขันเอาเป็นเอาตาย (บรรยากาศในหนังกับภาพจริงคงไม่ต่างกันนัก ภาพความโกลาหล วุ่นวาย เร่งร้อน รีบเร่งแบบประสาทกิน)
ในบรรยากาศแบบนี้จะมีที่สำหรับศีลธรรม จริยธรรมได้อย่างไร ระบบแบบนี้มีที่สำหรับกฎหมาย สำหรับความถูกผิดด้วยหรือ หรือกฎก็เหมือนกรรมการมวยปล้ำอาชีพที่เราเห็นกันทางทีวี ที่กรรมการเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการแสดงเท่านั้น
เพราะถ้าหากมันมีกฎหมายจริง มีคุณธรรมจริง ดีและถูกต้อง ก็ไม่น่าจะเกิดอะไรแบบ "จันทร์ทมิฬ" (Black Monday) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 1987 ไล่เลี่ยกับที่หนังเรื่องนี้ออกมาพอดี เมื่อตลาดหุ้นนิวยอร์คตกลงมาแบบหัวทิ่ม เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างประมาณมิได้ ใครหลายคนบอกว่า นั่นคือสัญญาณเตือนภัยครั้งสำคัญว่า ทุนนิยมใกล้จะถึงจุดจบแล้ว อาจจะช้ากว่ากำแพงเบอร์ลินที่พังทลายเมื่อเดือนตุลาคม 1989 แต่วันหนึ่งทุนนิยมมันก็จะต้องกินตัวเองและล่มสลาย
บิช็อบชาวศรีลังกาผู้หนึ่งที่ต่อสู้เคียงข้างคนจน กล่าวไว้หลายปีก่อนว่า "ทุนนิยมเลวร้ายในสายเลือด" (capitalism is intrinsically evil) พูดจาภาษาที่คนเล่นหุ้นวันนี้คงไม่อยากฟัง เพราะกำไรที่เห็นๆ แต่ละวันมันหอมหวานและทำให้สายตาพร่ามัว มองไม่เห็นทางอื่นนอกจากทางนี้
Wall Street น่าดูกันวันนี้อีกครั้ง ไม่ใช่ดูที่บุคคลแต่ดูระบบที่เอื้อให้คนทำผิดง่ายและทำถูกยาก ระบบที่ยั่วยวนกิเลสของมนุษย์ที่ต้องการอยู่อย่าง "มีเกียรติและมีศักดิ์ศรี" สังคมทำให้คนเชื่อว่า เงินช่วยให้คนเป็นอย่างที่ว่านั้นได้
ประมาณ 50 ปีก่อนเห็นจะได้ มีวิวาทะระหว่างท่านพุทธทาสภิกขุกับ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เรื่อง "สันโดษ" คนหนึ่งสอนว่า สันโดษเป็นหลักธรรมสำคัญของการมีชีวิตทั้งส่วนบุคคลและสังคมโดยรวม อีกคนหนึ่งเห็นว่าคำสอนเรื่องสันโดษเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
นั่นเป็นยุคเริ่มต้นการพัฒนา ยุค 2504 ผู้ใหญ่ลีตีกลองประชุมให้คนปลูกมากๆ เลี้ยงมากๆ จะได้มีเงินมากๆ ยุคที่อยากให้ "น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีงานทำ" เพราะ "งานคือเงิน เงินคืองานบันดาลสุข" และเป็นยุคที่เริ่มเปลี่ยนจากพึ่งพาอาศัยกันเองและพึ่งตนเองมาพึ่งพาอาศัยรัฐ จากการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาพึ่งพาอาศัยเงินเกือบจะเพียงอย่างเดียว
เงินกลายเป็นพระเจ้าในลัทธิบูชาเงิน ปรัชญาแห่งสังคมบ้าบริโภค
ดูหนังเรื่องนี้แล้วคิดไม่ออกเหมือนกันว่า สังคมวันนี้ที่มีทุนนิยมเป็นกระแสหลักจะมีช่องว่างเล็กๆ ให้คนได้คิดเรื่อง Small is Beautiful เศรษฐศาสตร์ชาวพุทธ รวมทั้ง "เศรษฐกิจพอเพียง" อย่างจริงจังได้อย่างไร
(ตีพิมพ์ครั้งแรกในผู้จัดการรายวัน 2547 รวมเล่มเป็นหนังสือชื่อ อ่านชีวิตบนแผ่นฟิล์ม กับหนังอีก 35 เรื่องในปี 2548)
เม่าน้อยคลำทางหาแสงไฟ
-
- Verified User
- โพสต์: 1734
- ผู้ติดตาม: 0
พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
โพสต์ที่ 8
ดูหนังตัวอย่างได้จากลิงค่นี้ครับ
http://www.majorcineplex.com/movie_detail.php?mid=443
ภาคสอง น่าจะเป็นว่าที่ลูกเขย ร่วมแก๊งค์ปั่นหุ้นกับว่าที่พ่อตา
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
http://www.majorcineplex.com/movie_detail.php?mid=443
ภาคสอง น่าจะเป็นว่าที่ลูกเขย ร่วมแก๊งค์ปั่นหุ้นกับว่าที่พ่อตา
:lol: :lol: :lol: :lol: :lol:
- SupachaiZ594
- Verified User
- โพสต์: 834
- ผู้ติดตาม: 0
พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
โพสต์ที่ 9
ภาค 1 นี่ 23 ปีแล้วเหรอ โห :shock: :shock:
- reiter
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2308
- ผู้ติดตาม: 0
พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
โพสต์ที่ 14
ชอบชื่อไทยมากๆ
"เงินอำมหิต"
"เงินอำมหิต"
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
โพสต์ที่ 17
ผมมีแผ่นของภาคแรกอยู่ครับ
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
- thaloengsak
- Verified User
- โพสต์: 2716
- ผู้ติดตาม: 0
พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
โพสต์ที่ 18
ยังไม่ได้ดูภาคแรกเลยง่า
พรุ่งก็เข้าแล้วสิ
ติดงานๆ ๆ ๆ
พรุ่งก็เข้าแล้วสิ
ติดงานๆ ๆ ๆ
ลงทุนเพื่อชีวิต
- << New >>
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1145
- ผู้ติดตาม: 0
พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
โพสต์ที่ 21
'โดนัล ทรัมป์' สุดเซ็งหลัง 'โอลิเวอร์ สโตน' ตัดฉากใน Wall Street
>> แม้ในโลกแห่งความจริง "โดนัลด์ ทรัมป์" คือสุดยอดนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งที่มีตึก และอสังหาริมทรัพย์อยู่ทุกหัวมุมถนนในนิวยอร์ก
แต่สำหรับโลกฮอลลีวูด โดนัล ทรัมป์ ก็ไม่สามารถยิ่งใหญ่ไปกว่า ผู้กำกับ โอลิเวอร์ สโตน ไปได้ โดยตามสคริปต์ที่ถ่ายทำไปนั้นมีฉากที่ โดนัล ทรัมป์ ร่วมปรากฏตัวในภาพยนต์ Wall Street ในฉากที่ถ่ายทำกันในร้านทำผมชื่อดัง ทอมมี่ กันส์ ร่วมกับดารานำของเรื่อง ไมเคิล ดักลาส แต่ในที่สุดสโตนก็จำต้องหั่นฉากนี้ทิ้งไป
ซึ่งในการตัดต่อครั้งนี้ก็ทำเอา มหาเศรษฐีแห่งอาณาจักรทรัมป์น้อยอกน้อยใจ จนสโตนต้องออกมาปลอบใจว่า แม้ทรัมป์จะไม่ได้ปรากฎบนจอภาพยนตร์ แต่ฉากของเขาจะมีอยู่ในรูปแบบดีวีดีอย่างแน่นอน :: Report by FLASH
http://www.manager.co.th/Celebonline/Vi ... 0000133954
>> แม้ในโลกแห่งความจริง "โดนัลด์ ทรัมป์" คือสุดยอดนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งที่มีตึก และอสังหาริมทรัพย์อยู่ทุกหัวมุมถนนในนิวยอร์ก
แต่สำหรับโลกฮอลลีวูด โดนัล ทรัมป์ ก็ไม่สามารถยิ่งใหญ่ไปกว่า ผู้กำกับ โอลิเวอร์ สโตน ไปได้ โดยตามสคริปต์ที่ถ่ายทำไปนั้นมีฉากที่ โดนัล ทรัมป์ ร่วมปรากฏตัวในภาพยนต์ Wall Street ในฉากที่ถ่ายทำกันในร้านทำผมชื่อดัง ทอมมี่ กันส์ ร่วมกับดารานำของเรื่อง ไมเคิล ดักลาส แต่ในที่สุดสโตนก็จำต้องหั่นฉากนี้ทิ้งไป
ซึ่งในการตัดต่อครั้งนี้ก็ทำเอา มหาเศรษฐีแห่งอาณาจักรทรัมป์น้อยอกน้อยใจ จนสโตนต้องออกมาปลอบใจว่า แม้ทรัมป์จะไม่ได้ปรากฎบนจอภาพยนตร์ แต่ฉากของเขาจะมีอยู่ในรูปแบบดีวีดีอย่างแน่นอน :: Report by FLASH
http://www.manager.co.th/Celebonline/Vi ... 0000133954
อยากสูงต้องเขย่ง อยากเก่งต้องขยัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1980
- ผู้ติดตาม: 0
พฤ.ที่23Sep2010 อย่าลืมดูWallstreet2กันนะคร๊าบบบ
โพสต์ที่ 24
สนุกมาก
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.