กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ???
- toro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 93
- ผู้ติดตาม: 0
กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ???
โพสต์ที่ 1
ผมดูงบกระแสเงินสดแล้วไม่ค่อยเข้าใจตรงส่วนของ กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ถ้าดูจากรูปคือปีก่อนตั้งค่าไว้แล้วเพิ่งมาหักออกไปจริงๆ ปีนี้เหรอครับ หรือว่ายังไง รบกวนแปลไทย เป็นไทย พร้อมยกตัวอย่างให้ทีครับ ของคุณมากๆ
สมมุติว่าถ้าค่านี้เป็นบวกในปีนี้ แสดงว่าที่ตั้งหักไว้งวดที่แล้ว มันไม่ด้อยค่าลงไป เลยบวกเงินสดกลับ ??? รึเปล่าครับ ยิ่งอ่านยิ่งงง :idea: :?:
- Mon money
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 3134
- ผู้ติดตาม: 0
กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ???
โพสต์ที่ 2
มีการตั้งสำรองการเผื่อด้อยค่าของมูลค่าสินค้าคงเหลือเอาไว้ในปีก่อนๆ และทะยอยกลับค่ามันกลับมา(อยู่ที่เคยบอกว่ามีค่าน้อยลง ปีที่แล้ว และปีนี้มันมีค่ากลับมาที่เดิมครับ)
บริษัทไหนครับ จะได้ไปเก็บเอามาเป็นกรณีศึกษา
กลับด้อยค่ามามากกว่ากำไรเท่าตัว บริษัทนี้หากไม่มีค่านี้ขาดทุน 300กว่าล้านมาสองงวดแล้วครับ
กำไรที่เห็นเกิดจากการกลับค่าตัวเลขที่ตั้งสำรองเอาไว้
บริษัทไหนครับ จะได้ไปเก็บเอามาเป็นกรณีศึกษา
กลับด้อยค่ามามากกว่ากำไรเท่าตัว บริษัทนี้หากไม่มีค่านี้ขาดทุน 300กว่าล้านมาสองงวดแล้วครับ
กำไรที่เห็นเกิดจากการกลับค่าตัวเลขที่ตั้งสำรองเอาไว้
เป็นบุญหนักหนาเหลือเกินที่ได้เกิดมาเป็นคนไทย เป็นคนไทยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ
- krisy
- Verified User
- โพสต์: 736
- ผู้ติดตาม: 0
กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ???
โพสต์ที่ 3
กลับรายการแปลว่า ปีที่แล้วตั้งค่าเผื่อสินค้ามากเกินไป เพราะคิดว่าจะขายสินค้าไม่ได้ แต่พอปีนี้ ปรากฎว่า จัดการสินค้าได้ดีขึ้น หรือขายได้นั่นเอง ทำให้ค่าเผื่อที่เคยตั้ง ก็ต้องลดลงถูกไหมค่ะ
รายการที่ลดลงเนี่ย มันจะกลายเป็นยอดกลับรายการของค่าใช้จ่าย หรือเป็นรายได้ของเราค่ะ สรุปง่ายๆ ปีที่แล้วตั้งค่าเผื่อมากไป ค่าใช้จ่ายเยอะ ปีนี้ค่าเผื่อลดลง ที่เคยตั้งค่าใช้จ่ายเยอะๆปีที่แล้ว ต้องมาลดยอดค่าใช้จ่ายออก แต่เรากลับไปแก้งบปีที่แล้วไม่ได้ ก็เลยลงเป็นเสมือนรายได้ปีนี้ค่ะ (แต่ที่ถูกเค้าเรียกว่า ลดค่าใช้จ่ายปีนี้ลง)
รายได้ตัวนี้ไม่ใช่รายไ้ด้ที่เป็นตัวเงิน ดังนั้นในงบกระแสเงินสด ก็เลยต้องเอามาหักออกจากกำไรสุทธิ (เพราะในกำไรก้อนนี้มันรวมรายได้ตัวนี้อยู่)
ถ้าค่าเป็นบวกในปีนี่ แสดงว่าเราตั้งค่าเผื่อปีที่แล้วน้อยไป อาจจะเกิดจากสินค้ามากขึ้น หรือสินค้าปีที่แล้วยังขายไม่ออก ก็ต้องตั้งเพิ่ม กำไรสุทธิของเราหักรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดตัวนี้ไปแล้ว ก็เลยต้องเอามาบวกกลับเข้าไป
รายการที่ลดลงเนี่ย มันจะกลายเป็นยอดกลับรายการของค่าใช้จ่าย หรือเป็นรายได้ของเราค่ะ สรุปง่ายๆ ปีที่แล้วตั้งค่าเผื่อมากไป ค่าใช้จ่ายเยอะ ปีนี้ค่าเผื่อลดลง ที่เคยตั้งค่าใช้จ่ายเยอะๆปีที่แล้ว ต้องมาลดยอดค่าใช้จ่ายออก แต่เรากลับไปแก้งบปีที่แล้วไม่ได้ ก็เลยลงเป็นเสมือนรายได้ปีนี้ค่ะ (แต่ที่ถูกเค้าเรียกว่า ลดค่าใช้จ่ายปีนี้ลง)
รายได้ตัวนี้ไม่ใช่รายไ้ด้ที่เป็นตัวเงิน ดังนั้นในงบกระแสเงินสด ก็เลยต้องเอามาหักออกจากกำไรสุทธิ (เพราะในกำไรก้อนนี้มันรวมรายได้ตัวนี้อยู่)
ถ้าค่าเป็นบวกในปีนี่ แสดงว่าเราตั้งค่าเผื่อปีที่แล้วน้อยไป อาจจะเกิดจากสินค้ามากขึ้น หรือสินค้าปีที่แล้วยังขายไม่ออก ก็ต้องตั้งเพิ่ม กำไรสุทธิของเราหักรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่เงินสดตัวนี้ไปแล้ว ก็เลยต้องเอามาบวกกลับเข้าไป
.....Give Everything but not Give Up.....
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ???
โพสต์ที่ 5
แปลกใจอ่ะ
ตั้งคำถามว่า ผู้บริหาร กับ ผู้ตรวจสอบบัญชี ทำไมถึงตั้งค่าเผื่อการลดลงของสินค้ามูลค่าสูงแบบนั้น
CASE นี้ พุ่งประเด็นถามในที่ประชุมได้
เพราะว่า ค่าเผื่อการลดลงของสินค้า อันนี้เป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร
เหล่าผู้บริหารใช้ประสบการณ์ในการประกอบกิจการนั้นๆมา แล้วดูว่า ภาวะการณ์ตอนนั้น จำเป็นต้องตั้งค่าเผื่อดังกล่าวหรือไม่
สงสัยต่อว่า สินค้าที่บริษัทนี้ขายเป็นสินค้าจำพวกโภคภัณฑ์ หรือเปล่า
ถ้าใช้แล้วทำไมไม่ mark to market แทนล่ะ
ส่วนอื่นๆไม่มีข้อเพิ่มเติมของพี่มนและพี่ krisy
ตั้งคำถามว่า ผู้บริหาร กับ ผู้ตรวจสอบบัญชี ทำไมถึงตั้งค่าเผื่อการลดลงของสินค้ามูลค่าสูงแบบนั้น
CASE นี้ พุ่งประเด็นถามในที่ประชุมได้
เพราะว่า ค่าเผื่อการลดลงของสินค้า อันนี้เป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร
เหล่าผู้บริหารใช้ประสบการณ์ในการประกอบกิจการนั้นๆมา แล้วดูว่า ภาวะการณ์ตอนนั้น จำเป็นต้องตั้งค่าเผื่อดังกล่าวหรือไม่
สงสัยต่อว่า สินค้าที่บริษัทนี้ขายเป็นสินค้าจำพวกโภคภัณฑ์ หรือเปล่า
ถ้าใช้แล้วทำไมไม่ mark to market แทนล่ะ
ส่วนอื่นๆไม่มีข้อเพิ่มเติมของพี่มนและพี่ krisy
- toro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 93
- ผู้ติดตาม: 0
กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ???
โพสต์ที่ 6
โอ้ ต้องขอบคุณทุกคนมากๆ เลยนะครับ ได้ความรู้มากมายเลย หุ้นตัวนี้คือ TVO ครับ ไปโหลดมาดูได้เลย Q1-2009 ขอบคุณครับ
ถ้าเป็นแบบพี่มนว่าจริงๆ ผู้บริหารก็คิดไม่ซื้อแล้วสิครับ หรือว่ายังไง เอ...น่าคิดนะครับ
ถ้าเป็นแบบพี่มนว่าจริงๆ ผู้บริหารก็คิดไม่ซื้อแล้วสิครับ หรือว่ายังไง เอ...น่าคิดนะครับ
- toro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 93
- ผู้ติดตาม: 0
กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ???
โพสต์ที่ 7
miracle เขียน:แปลกใจอ่ะ
ตั้งคำถามว่า ผู้บริหาร กับ ผู้ตรวจสอบบัญชี ทำไมถึงตั้งค่าเผื่อการลดลงของสินค้ามูลค่าสูงแบบนั้น
CASE นี้ พุ่งประเด็นถามในที่ประชุมได้
เพราะว่า ค่าเผื่อการลดลงของสินค้า อันนี้เป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร
เหล่าผู้บริหารใช้ประสบการณ์ในการประกอบกิจการนั้นๆมา แล้วดูว่า ภาวะการณ์ตอนนั้น จำเป็นต้องตั้งค่าเผื่อดังกล่าวหรือไม่
สงสัยต่อว่า สินค้าที่บริษัทนี้ขายเป็นสินค้าจำพวกโภคภัณฑ์ หรือเปล่า
ถ้าใช้แล้วทำไมไม่ mark to market แทนล่ะ
ส่วนอื่นๆไม่มีข้อเพิ่มเติมของพี่มนและพี่ krisy
เป็นไปได้ไหมครับว่าตอนนั้นราคาสินค้าในสต๊อคลดลงมากๆ ตามแนวโน้มที่ดูจากรูปนะครับ สินค้าของเค้าเป็นถั่วเหลือง หลังจากนั้นราคาก็ดีดกลับมาเหมือนเดิม เค้าเลยตั้งไว้สูงๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
กลับรายการค่าเผื่อการลดลงของมูลค่าสินค้าคงเหลือ ???
โพสต์ที่ 11
เมื่อ q4/51 ที่ราคาน้ำมันดิบลดลงจาก 140 เหรียญ เหลือ 40 เหรียญ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคก็ลดลงมาตามอย่างมากและอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมันสุก น้ำมันพืช เหล็ก เม็ดพลาสติก
ปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาตลาดของสินค้าคงคลัง ต่ำกว่าราคาทุนที่บันทึกไว้ (market price is lower than cost price อย่างมีนัยสำคัญ) ทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องจึงต้องปรับมูลค่าสินค้าคงคลังลงตามราคาตลาด จึงทำให้เกิด inventory (stock) loss ทั้งสิ้น ซึงทางบัญชี ลงรายการเป็น....ตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าลงของราคาสินค้า (ตั้ง reserve ไว้)
พอ Q1 ราคาตลาดสินค้าเมื่อมีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า ที่เคย mark down ไว้ตอนสิ้นปี จึงมีการกลับรายการดังกล่าว ครับกล่าวคือ กลับรายการการตั้งสำรองการด้อยค่าลงของสินค้าที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ ( อีกนัย คือ reverse รายการที่ reserve ก่อนหน้านี้)
ปรากฎการณ์ดังกล่าวทำให้ราคาตลาดของสินค้าคงคลัง ต่ำกว่าราคาทุนที่บันทึกไว้ (market price is lower than cost price อย่างมีนัยสำคัญ) ทุกบริษัทที่เกี่ยวข้องจึงต้องปรับมูลค่าสินค้าคงคลังลงตามราคาตลาด จึงทำให้เกิด inventory (stock) loss ทั้งสิ้น ซึงทางบัญชี ลงรายการเป็น....ตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าลงของราคาสินค้า (ตั้ง reserve ไว้)
พอ Q1 ราคาตลาดสินค้าเมื่อมีการปรับตัวสูงขึ้นกว่า ที่เคย mark down ไว้ตอนสิ้นปี จึงมีการกลับรายการดังกล่าว ครับกล่าวคือ กลับรายการการตั้งสำรองการด้อยค่าลงของสินค้าที่ทำไว้ก่อนหน้านี้ ( อีกนัย คือ reverse รายการที่ reserve ก่อนหน้านี้)