เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor 14 กุมภาพันธ์ 2552
Value Investor หนุ่มสาวผู้มุ่งมั่นจำนวนไม่น้อยมักคิดถึงเรื่องการ “เกษียณก่อนกำหนด” บางคนบอกว่าอยากเลิกทำงานประจำตั้งแต่อายุ 40-50 ปี โดยที่พวกเขามักวางแผนและกำหนดเป้าหมายว่าจะมีเงินเพียงพอที่จะใช้ไปได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องทำงานหรือเรียกว่ามี “อิสรภาพทางการเงิน” ได้ในวันที่เกษียณ หลังจากนั้น เขาก็จะลงทุนเพียงอย่างเดียวและใช้ชีวิตและเวลาที่เหลือทำในสิ่งที่เขาชอบและเป็นประโยชน์ นั่นคือเป้าหมายสูงสุดและเป็นสิ่งที่ดี แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนตั้งนั้นได้กำหนดเป้าอย่างสมจริงและมีเหตุผลดีพอหรือไม่ บางทีเขาอาจจะไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายที่เขาต้องใช้ในอนาคตนั้นอาจจะมากกว่าปัจจุบันที่เขายังเป็นหนุ่มโสดที่ไม่มีภาระต้องรับผิดชอบคนอื่นนอกจากตนเอง บางทีเขาอาจจะตั้งเป้าผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวต่อปีโดยเฉลี่ยสูงกว่าที่เขาจะทำได้จริง ๆ เช่นตั้งไว้ถึงปีละ 15% ซึ่งเป็นสถิติระดับโลก เป็นต้น
ในฐานะของคนที่ผ่านชีวิตการ “เกษียณก่อนกำหนด” มาแล้ว ผมคิดว่าการตั้งเป้าหมาย “เกษียณก่อนกำหนด” อาจจะไม่มีความจำเป็นเลย ว่าที่จริงผมเองไม่เคยตั้งเป้าเกษียณก่อนกำหนดด้วยซ้ำ ผมคิดว่าชีวิตคนนั้นไม่มีวันเกษียณ วันที่เกษียณก็คือวันที่เราตาย ดังนั้น ผมจึงคิดแต่ว่าเราจะทำงานไปเรื่อย ๆ ถ้างานนั้นให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับแรงงานและเวลาที่เราเสียไปรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานนั้นด้วย การที่คิดว่าตนเองมีเงิน “พอ” นั้น เราอาจจะลืมเผื่อความปลอดภัย หรือ Margin Of Safety ไว้ ลองนึกดูว่า ถ้าเรามีเงินที่อยู่ในหุ้น 20 ล้านบาทแล้วเราคิดว่าเราสามารถเลิกทำงานประจำได้ เราลาออกจากงาน แต่แล้วตลาดเกิดวิกฤติราคาหุ้นของเราตกลงมาเหลือเพียง 10 ล้าน อิสรภาพทางการเงินของเราอาจจะหายไป ดังนั้น การทำงานประจำต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะเป็นการเพิ่ม Margin Of Safety และทำให้เรามีเงินมากขึ้น รวยขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้น
การที่จะ “เกษียณ” เมื่อไร ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เราจะต้องพิจารณากันในช่วงเวลานั้น การตั้งเป้าล่วงหน้าไปไกล ๆ นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะถ้ามันจะทำให้เรากำหนดเป้าหมายหรือกลยุทธ์ที่บีบรัดตัวเองมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เราต้อง “เสียสละ” ความสุขมากเกินไป เพื่อที่จะไปถึง “เป้าหมาย” ที่เราคิดว่ามีความหมายมากในวันนี้แต่อาจจะไม่มีความหมายเมื่อเราไปถึง ผมคิดว่า “ชีวิตคือการเดินทาง” เราต้องพยายามมีความสุขกับมันตลอดเส้นทาง เป้าหมายของชีวิตที่เราพูดถึงนั้น แท้ที่จริงมันคือหลักไมล์ต่าง ๆ ที่เราวางแผนจะเดินผ่าน การมี “อิสรภาพทางการเงิน” นั้นเป็นหลักไมล์ที่สำคัญเพราะมันเป็นจุดที่ทำให้เราสามารถเลือกที่จะทำสิ่งที่เราชอบและมีความสุขได้ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราจะต้องเกษียณจากงานประจำถ้างานประจำนั้นยังให้ผลตอบแทนต่าง ๆ คุ้มค่าและเรา “เลือก” ที่จะทำต่อไป
ในความเห็นของผมนั้น แผนของชีวิตที่เราควรมีและกำหนดให้ชัดเจนก็คือ แน่นอน เราควรมีเงินเท่าไรในแต่ละช่วงชีวิต เช่น เมื่ออายุ 40 ปี 50 ปี 60 ปี และในวันที่เราตายที่ 80 ปี เป็นต้น สิ่งที่ต้องนำมาคิดคำนวณก็คือ รายได้จากการทำงานที่ควรจะต้องเพิ่มขึ้น ผมคิดว่าควรตั้งไว้ว่าเงินรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 5-7% รายจ่ายนั้น สิ่งสำคัญก็คือ เรื่องของครอบครัว จะต้องคำนึงถึงเรื่องการเลี้ยงดูและให้การศึกษากับลูก ๆ และการดูแลพ่อแม่ถ้ามี ในกรณีนี้คนที่ยังเป็นโสดอาจจะคาดการณ์ได้ยากกว่าเพราะยังไม่มีสถิติและข้อมูลในอดีตและปัจจุบันที่จะบอกว่าต้องใช้เงินเท่าไร รายจ่ายอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะต้องตั้งไว้ก็คือ รายจ่ายสำหรับรายการใหญ่ ๆ เช่น การซื้อบ้านเป็นของตนเองถ้ายังไม่มี การเดินทางท่องเที่ยวไกล ๆ หรือต่างประเทศ เช่น บางคนอาจตั้งว่าจะเดินทางเฉลี่ยปีละครั้งหรือสองปีครั้ง เป็นต้น
แผนการเงินที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การออมและการลงทุน นี่อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการที่เราจะสามารถมีอิสรภาพทางการเงินก่อนอายุ 60 ปี ควรจะกำหนดเป็นเป้าหมายว่า เราจะออมโดยเฉลี่ยเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ผมคิดว่าอย่างน้อย 10 % นี่คงต้องคำนึงถึงรายจ่ายของแต่ละคนที่มีภาระไม่เท่ากัน คนที่มีบ้านอยู่แล้วส่วนใหญ่น่าจะสามารถเก็บออมได้ดีกว่าคนที่ไม่มีบ้านและต้องผ่อนส่งอยู่ จะเก็บออมกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ควรคำนึงถึงว่าเงินที่เหลืออยู่นั้นไม่ทำให้ชีวิตของเราขัดสนจนหาความสุขไม่ได้
การลงทุนเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการออม ไม่ควรตั้งเป้าผลตอบแทนเกิน 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยยกเว้นว่าคุณจะเป็นนักลงทุนที่มีฝีมือสูง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าในระยะยาวหุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีความสะดวกในการทยอยลงทุนได้ดีกว่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอย่างอื่น ดังนั้น ควรตั้งเป้าว่าเงินออมของเรา อย่างน้อยจะต้องลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 50% โดยเฉลี่ย นั่นจะเป็นเครื่องมือในการคุมให้ตนเองอยู่กับหุ้นได้ในยามที่ตลาดหุ้น “ไม่ดี” ซึ่งมักจะเป็นโอกาสดีของการลงทุนในหุ้น
จากแผนทั้งหมดที่กล่าวถึง เราก็อาจจะสามารถกำหนดหลักไมล์คร่าว ๆ ได้ว่าเราจะมี “อิสรภาพทางการเงิน” เมื่อเรามีอายุเท่าไร แผนที่ดีนั้น เราควรคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณปีละ 3% ไว้ด้วย ซึ่งจะทำให้เงิน 20 ล้านบาทในวันนี้อาจจะไม่พอในวันที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินในอีก 20 ปีข้างหน้า เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่มีอิสรภาพทางการเงินได้จริง ๆ ก่อนอายุ 60 ปี ซึ่งทำให้เราไม่สามารถเกษียณก่อนกำหนดได้ตามที่หวังไว้ อย่าเสียใจหรือท้อถอย ชีวิตคือ “การเดินทาง” เงินคือปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้การเดินทางง่าย สะดวก และน่ารื่นรมย์ แต่มันไม่จำเป็นต้องมากจนเหลือเฟือ คนรวยจำนวนมากกลับทุกข์มากกว่าคนชั้นกลาง เช่นเดียวกัน คนเกษียณก่อนกำหนดก็ไม่ได้มีความสุขกันทุกคน หลายคนที่ผมรู้จักบ่นว่า เขาไม่รู้จะทำอะไรหลังจากกลับจากการท่องเที่ยวหลายแห่งทั่วโลกหลังจากการเกษียณก่อนกำหนด
ข้อแนะนำสุดท้ายของผมสำหรับคนที่มองถึงการเกษียณก่อนกำหนดก็คือ เราต้องมั่นใจว่ามีสิ่งที่เราอยากทำจริง ๆ ทำแล้วมีความสุขจริงในระยะยาว ผมเตือนเรื่องนี้เพราะมักได้ยินคนบางคนพูดถึงเรื่องการสอนหนังสือหลังจากการเกษียณก่อนกำหนด เหตุผลก็คือ การบรรยายหรือการสอนหนังสือเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น ส่วนใหญ่เราจะรู้สึกดีมีความสุข แต่การสอนนักเรียนที่ต้องมาฟังเราทุกสัปดาห์เพื่อให้สอบได้นั้น บางทีเราอาจจะไม่รู้สึกสนุกหรืออยากทำก็ได้
Value Investor หนุ่มสาวผู้มุ่งมั่นจำนวนไม่น้อยมักคิดถึงเรื่องการ “เกษียณก่อนกำหนด” บางคนบอกว่าอยากเลิกทำงานประจำตั้งแต่อายุ 40-50 ปี โดยที่พวกเขามักวางแผนและกำหนดเป้าหมายว่าจะมีเงินเพียงพอที่จะใช้ไปได้ตลอดชีวิตโดยไม่ต้องทำงานหรือเรียกว่ามี “อิสรภาพทางการเงิน” ได้ในวันที่เกษียณ หลังจากนั้น เขาก็จะลงทุนเพียงอย่างเดียวและใช้ชีวิตและเวลาที่เหลือทำในสิ่งที่เขาชอบและเป็นประโยชน์ นั่นคือเป้าหมายสูงสุดและเป็นสิ่งที่ดี แต่ผมไม่แน่ใจว่าคนตั้งนั้นได้กำหนดเป้าอย่างสมจริงและมีเหตุผลดีพอหรือไม่ บางทีเขาอาจจะไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายที่เขาต้องใช้ในอนาคตนั้นอาจจะมากกว่าปัจจุบันที่เขายังเป็นหนุ่มโสดที่ไม่มีภาระต้องรับผิดชอบคนอื่นนอกจากตนเอง บางทีเขาอาจจะตั้งเป้าผลตอบแทนการลงทุนระยะยาวต่อปีโดยเฉลี่ยสูงกว่าที่เขาจะทำได้จริง ๆ เช่นตั้งไว้ถึงปีละ 15% ซึ่งเป็นสถิติระดับโลก เป็นต้น
ในฐานะของคนที่ผ่านชีวิตการ “เกษียณก่อนกำหนด” มาแล้ว ผมคิดว่าการตั้งเป้าหมาย “เกษียณก่อนกำหนด” อาจจะไม่มีความจำเป็นเลย ว่าที่จริงผมเองไม่เคยตั้งเป้าเกษียณก่อนกำหนดด้วยซ้ำ ผมคิดว่าชีวิตคนนั้นไม่มีวันเกษียณ วันที่เกษียณก็คือวันที่เราตาย ดังนั้น ผมจึงคิดแต่ว่าเราจะทำงานไปเรื่อย ๆ ถ้างานนั้นให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับแรงงานและเวลาที่เราเสียไปรวมถึงความเสี่ยงที่เกิดจากการทำงานนั้นด้วย การที่คิดว่าตนเองมีเงิน “พอ” นั้น เราอาจจะลืมเผื่อความปลอดภัย หรือ Margin Of Safety ไว้ ลองนึกดูว่า ถ้าเรามีเงินที่อยู่ในหุ้น 20 ล้านบาทแล้วเราคิดว่าเราสามารถเลิกทำงานประจำได้ เราลาออกจากงาน แต่แล้วตลาดเกิดวิกฤติราคาหุ้นของเราตกลงมาเหลือเพียง 10 ล้าน อิสรภาพทางการเงินของเราอาจจะหายไป ดังนั้น การทำงานประจำต่อไปเรื่อย ๆ อาจจะเป็นการเพิ่ม Margin Of Safety และทำให้เรามีเงินมากขึ้น รวยขึ้น และมีความสุขเพิ่มขึ้น
การที่จะ “เกษียณ” เมื่อไร ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เราจะต้องพิจารณากันในช่วงเวลานั้น การตั้งเป้าล่วงหน้าไปไกล ๆ นั้นอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมโดยเฉพาะถ้ามันจะทำให้เรากำหนดเป้าหมายหรือกลยุทธ์ที่บีบรัดตัวเองมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้เราต้อง “เสียสละ” ความสุขมากเกินไป เพื่อที่จะไปถึง “เป้าหมาย” ที่เราคิดว่ามีความหมายมากในวันนี้แต่อาจจะไม่มีความหมายเมื่อเราไปถึง ผมคิดว่า “ชีวิตคือการเดินทาง” เราต้องพยายามมีความสุขกับมันตลอดเส้นทาง เป้าหมายของชีวิตที่เราพูดถึงนั้น แท้ที่จริงมันคือหลักไมล์ต่าง ๆ ที่เราวางแผนจะเดินผ่าน การมี “อิสรภาพทางการเงิน” นั้นเป็นหลักไมล์ที่สำคัญเพราะมันเป็นจุดที่ทำให้เราสามารถเลือกที่จะทำสิ่งที่เราชอบและมีความสุขได้ แต่ไม่ใช่หมายความว่าเราจะต้องเกษียณจากงานประจำถ้างานประจำนั้นยังให้ผลตอบแทนต่าง ๆ คุ้มค่าและเรา “เลือก” ที่จะทำต่อไป
ในความเห็นของผมนั้น แผนของชีวิตที่เราควรมีและกำหนดให้ชัดเจนก็คือ แน่นอน เราควรมีเงินเท่าไรในแต่ละช่วงชีวิต เช่น เมื่ออายุ 40 ปี 50 ปี 60 ปี และในวันที่เราตายที่ 80 ปี เป็นต้น สิ่งที่ต้องนำมาคิดคำนวณก็คือ รายได้จากการทำงานที่ควรจะต้องเพิ่มขึ้น ผมคิดว่าควรตั้งไว้ว่าเงินรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละประมาณ 5-7% รายจ่ายนั้น สิ่งสำคัญก็คือ เรื่องของครอบครัว จะต้องคำนึงถึงเรื่องการเลี้ยงดูและให้การศึกษากับลูก ๆ และการดูแลพ่อแม่ถ้ามี ในกรณีนี้คนที่ยังเป็นโสดอาจจะคาดการณ์ได้ยากกว่าเพราะยังไม่มีสถิติและข้อมูลในอดีตและปัจจุบันที่จะบอกว่าต้องใช้เงินเท่าไร รายจ่ายอีกอย่างหนึ่งที่อาจจะต้องตั้งไว้ก็คือ รายจ่ายสำหรับรายการใหญ่ ๆ เช่น การซื้อบ้านเป็นของตนเองถ้ายังไม่มี การเดินทางท่องเที่ยวไกล ๆ หรือต่างประเทศ เช่น บางคนอาจตั้งว่าจะเดินทางเฉลี่ยปีละครั้งหรือสองปีครั้ง เป็นต้น
แผนการเงินที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ การออมและการลงทุน นี่อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับการที่เราจะสามารถมีอิสรภาพทางการเงินก่อนอายุ 60 ปี ควรจะกำหนดเป็นเป้าหมายว่า เราจะออมโดยเฉลี่ยเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของรายได้ ผมคิดว่าอย่างน้อย 10 % นี่คงต้องคำนึงถึงรายจ่ายของแต่ละคนที่มีภาระไม่เท่ากัน คนที่มีบ้านอยู่แล้วส่วนใหญ่น่าจะสามารถเก็บออมได้ดีกว่าคนที่ไม่มีบ้านและต้องผ่อนส่งอยู่ จะเก็บออมกี่เปอร์เซ็นต์ก็ตาม ควรคำนึงถึงว่าเงินที่เหลืออยู่นั้นไม่ทำให้ชีวิตของเราขัดสนจนหาความสุขไม่ได้
การลงทุนเป็นเรื่องสำคัญไม่น้อยไปกว่าการออม ไม่ควรตั้งเป้าผลตอบแทนเกิน 10% ต่อปีโดยเฉลี่ยยกเว้นว่าคุณจะเป็นนักลงทุนที่มีฝีมือสูง ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ผมคิดว่าในระยะยาวหุ้นเป็นหลักทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนสูงและมีความสะดวกในการทยอยลงทุนได้ดีกว่าหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินอย่างอื่น ดังนั้น ควรตั้งเป้าว่าเงินออมของเรา อย่างน้อยจะต้องลงทุนในหุ้นไม่น้อยกว่า 50% โดยเฉลี่ย นั่นจะเป็นเครื่องมือในการคุมให้ตนเองอยู่กับหุ้นได้ในยามที่ตลาดหุ้น “ไม่ดี” ซึ่งมักจะเป็นโอกาสดีของการลงทุนในหุ้น
จากแผนทั้งหมดที่กล่าวถึง เราก็อาจจะสามารถกำหนดหลักไมล์คร่าว ๆ ได้ว่าเราจะมี “อิสรภาพทางการเงิน” เมื่อเรามีอายุเท่าไร แผนที่ดีนั้น เราควรคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อที่ประมาณปีละ 3% ไว้ด้วย ซึ่งจะทำให้เงิน 20 ล้านบาทในวันนี้อาจจะไม่พอในวันที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงินในอีก 20 ปีข้างหน้า เป็นไปได้ว่าเราอาจจะไม่มีอิสรภาพทางการเงินได้จริง ๆ ก่อนอายุ 60 ปี ซึ่งทำให้เราไม่สามารถเกษียณก่อนกำหนดได้ตามที่หวังไว้ อย่าเสียใจหรือท้อถอย ชีวิตคือ “การเดินทาง” เงินคือปัจจัยอย่างหนึ่งที่ทำให้การเดินทางง่าย สะดวก และน่ารื่นรมย์ แต่มันไม่จำเป็นต้องมากจนเหลือเฟือ คนรวยจำนวนมากกลับทุกข์มากกว่าคนชั้นกลาง เช่นเดียวกัน คนเกษียณก่อนกำหนดก็ไม่ได้มีความสุขกันทุกคน หลายคนที่ผมรู้จักบ่นว่า เขาไม่รู้จะทำอะไรหลังจากกลับจากการท่องเที่ยวหลายแห่งทั่วโลกหลังจากการเกษียณก่อนกำหนด
ข้อแนะนำสุดท้ายของผมสำหรับคนที่มองถึงการเกษียณก่อนกำหนดก็คือ เราต้องมั่นใจว่ามีสิ่งที่เราอยากทำจริง ๆ ทำแล้วมีความสุขจริงในระยะยาว ผมเตือนเรื่องนี้เพราะมักได้ยินคนบางคนพูดถึงเรื่องการสอนหนังสือหลังจากการเกษียณก่อนกำหนด เหตุผลก็คือ การบรรยายหรือการสอนหนังสือเล็ก ๆ น้อย ๆ นั้น ส่วนใหญ่เราจะรู้สึกดีมีความสุข แต่การสอนนักเรียนที่ต้องมาฟังเราทุกสัปดาห์เพื่อให้สอบได้นั้น บางทีเราอาจจะไม่รู้สึกสนุกหรืออยากทำก็ได้
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
- Juninho
- Verified User
- โพสต์: 1050
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 3
เหมือน ดร. ได้อ่านกระทู้ ในไทยวีไอ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=36838
แล้วได้หัวข้อไปเขียน บทความเลย :D
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=36838
แล้วได้หัวข้อไปเขียน บทความเลย :D
You Can Get It If You Really Want
But you must try, try and try
But you must try, try and try
-
- Verified User
- โพสต์: 124
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 6
แม้แต่อาจารย์ยังหวังผลตอบแทนเฉลี่ยระยะยาวเพียง 10% ต่อปีเองครับ
- dome@perth
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 4740
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 7
ผมรู้สึกเป็นเกียรติมาก จนขนลุกเลยครับ..จริงๆครับcharnengi เขียน:บทความนี้ตอบกระทู้ของคุณdome และสอนพวกเราโดยเฉพาะเลยครับ
แค่ได้เห็น หัวข้อบทความ ของอาจารย์ที่คุณ โอ๊ตโพสต์มา
กระผม อยากเข้าไปกราบงามๆ เมื่อได้เจอตัวอาจารย์จริงๆ
....ขอบพระคุณอย่างสูงครับที่อาจารย์ ได้เข้ามาเตือนพวกเราๆ โดยเฉพาะกระผมผู้ชงกระทู้การเกษียรอายุนี้
ซึ่งตอนแรกผมก็ไม่ได้คิดว่าเพื่อนๆจะเข้ามาแชร์กันขนาดนี้
ผมก็แค่อยากจะให้ การตั้งเป้าหมาย หรือ ความหวัง เป็นกำลังใจ ไม่ท้อถอย
ในสภาวะถดถอยของตลาด และ ยังคงมุ่งมั่นที่จะ
ค้นคว้าหาความรู้และทักษะการลงทุน
กระผมน้อมรับคำแนะของอาจารย์ อย่างจริงใจและจะนำไป
ปรับเป้าหมายและใช้ในการทำงานต่อไปครับ
ขอบพระคุณครับอาจารย์
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง"
- Flashy
- Verified User
- โพสต์: 295
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 8
[quote="happiness"]เหมือน ดร. ได้อ่านกระทู้ ในไทยวีไอ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=36838
แล้วได้หัวข้อไปเขียน บทความเลย
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=36838
แล้วได้หัวข้อไปเขียน บทความเลย
- kornjackrit
- Verified User
- โพสต์: 1524
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 11
ขอบคุณ คุณ oatty และคำแนะนำของท่านอาจารย์นิเวศน์มากครับ
When you become famous, the first thing you should have to remember is not your success story but those who help you along the way.
-
- Verified User
- โพสต์: 1120
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 12
รอมานานแล้วครับสำหรับบทความที่เน้นไปในเรื่อง "การวางแผนทางการเงิน" ของ ดร.
ในการคิดถึงเรื่องเป้าหมายที่จะเกษียนอายุก่อนกำหนดนั้น ส่วนตัวนั้นผมให้ความสำคัญกับเรื่อง การวางแผนทางการเงิน และ ความสุขในการดำเนินชีวิตมากพอๆกับ การลงทุนครับ
เพราะผมเชื่อว่าถ้าขาดสิ่งแรก เป้าหมายก็จะไม่เกิดครับ เพราะถ้าเราขาดการวางแผนทางการเงิน (ซึ่งในที่นี้รวมถึงแผนการออม การลงทุน การประกันต่างๆไว้ทั้งหมด)ที่ดีนั้น มันก็จะมีรายจ่ายต่างๆ ทั้งที่สามารถคาดคิดได้ล่วงหน้า(ซื้อบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก) และไม่สามารถคาดคิดไว้ (สุขภาพ ไฟไหม้) เกิดขึ้นโดยที่ ถ้าเราปราศจากการวางแผนทางการเงินที่ดีนั้น สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเกษียนอายุมากกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนก็เป็นได้ครับ
ส่วนความสุขในการดำเนินชีวิตนั้น ถ้าไม่มี ผลก็ไม่ทราบครับว่า เราจะตั้งเป้าเพื่อเกษียนอายุก่อนกำหนดเพื่ออะไร มันก็ไม่ต่างกับใช้ชีวิตอย่างทนทุกข์ จำกัดจำเขี่ย ร่วม40 ปี เพื่อให้ใช้ชีวิตสบาย แค่10 หรือ 20 ปี หรืออาจจะไม่มีโอกาสนั้นเลยก็เป็นได้
คนไทยยังขาดความรู้ตรงนี้อีกมากครับ ประเทศจะขับเคลื่อนไปได้ก็ด้วยการออม และการลงทุนของประชาชนนี่แหละครับ ซึ่งคนไทยนั้นการออมพอไปวัดไปวา ส่วนการลงทุนนั้นแทบไม่มีเลยครับ ปัญหานี้เองที่ทำให้นอกจากประเทศเรายังต้องพึ่งพาเงินทุนต่างชาติแล้ว การที่คนไทยขาดความรู้ในการวางแผนการเงินยังทำให้เป็นภาระกับรัฐในระยะยาวอีกด้วย
อยากให้ตลท. และภาครัฐสนับสนุนอาชีพนักวางแผนทางการเงินให้จริงจังมากกว่านี้ครับ ผมเชื่อว่าคนไทยต้องการคนอาชีพนี้ครับ ประเทศก็ต้องการเช่นกัน เพียงแต่คทั่วๆไปไม่มีใครพูดออกมา เพราะเค้าไม่รู้ครับว่ามีอาชีพนี้มีอยู่ด้วย...
ในการคิดถึงเรื่องเป้าหมายที่จะเกษียนอายุก่อนกำหนดนั้น ส่วนตัวนั้นผมให้ความสำคัญกับเรื่อง การวางแผนทางการเงิน และ ความสุขในการดำเนินชีวิตมากพอๆกับ การลงทุนครับ
เพราะผมเชื่อว่าถ้าขาดสิ่งแรก เป้าหมายก็จะไม่เกิดครับ เพราะถ้าเราขาดการวางแผนทางการเงิน (ซึ่งในที่นี้รวมถึงแผนการออม การลงทุน การประกันต่างๆไว้ทั้งหมด)ที่ดีนั้น มันก็จะมีรายจ่ายต่างๆ ทั้งที่สามารถคาดคิดได้ล่วงหน้า(ซื้อบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก) และไม่สามารถคาดคิดไว้ (สุขภาพ ไฟไหม้) เกิดขึ้นโดยที่ ถ้าเราปราศจากการวางแผนทางการเงินที่ดีนั้น สิ่งเหล่านี้ อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเกษียนอายุมากกว่าผลตอบแทนจากการลงทุนก็เป็นได้ครับ
ส่วนความสุขในการดำเนินชีวิตนั้น ถ้าไม่มี ผลก็ไม่ทราบครับว่า เราจะตั้งเป้าเพื่อเกษียนอายุก่อนกำหนดเพื่ออะไร มันก็ไม่ต่างกับใช้ชีวิตอย่างทนทุกข์ จำกัดจำเขี่ย ร่วม40 ปี เพื่อให้ใช้ชีวิตสบาย แค่10 หรือ 20 ปี หรืออาจจะไม่มีโอกาสนั้นเลยก็เป็นได้
คนไทยยังขาดความรู้ตรงนี้อีกมากครับ ประเทศจะขับเคลื่อนไปได้ก็ด้วยการออม และการลงทุนของประชาชนนี่แหละครับ ซึ่งคนไทยนั้นการออมพอไปวัดไปวา ส่วนการลงทุนนั้นแทบไม่มีเลยครับ ปัญหานี้เองที่ทำให้นอกจากประเทศเรายังต้องพึ่งพาเงินทุนต่างชาติแล้ว การที่คนไทยขาดความรู้ในการวางแผนการเงินยังทำให้เป็นภาระกับรัฐในระยะยาวอีกด้วย
อยากให้ตลท. และภาครัฐสนับสนุนอาชีพนักวางแผนทางการเงินให้จริงจังมากกว่านี้ครับ ผมเชื่อว่าคนไทยต้องการคนอาชีพนี้ครับ ประเทศก็ต้องการเช่นกัน เพียงแต่คทั่วๆไปไม่มีใครพูดออกมา เพราะเค้าไม่รู้ครับว่ามีอาชีพนี้มีอยู่ด้วย...
Financial Discipline + Value Investment + Time = Financial Independence
- Alastor
- Verified User
- โพสต์: 2590
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 13
ผมว่าดร.เขียนบทความนี้ได้ timing ดีมากเลย เพราะถ้าเขียนปีที่แล้วจะไม่มีใครสนใจเพราะตลาดหุ้นดีเงินหาง่าย ผมก็จะไม่สนใจเหมือนกันเพราะตอนนั้นยังโสด :lol:
พอแต่งงานแล้วจะรู้เลยว่าภาระในอนาคตมัน "เยอะ" จากตอนแรกที่คิดว่าถ้าได้ปันผลปีละ 4-5 แสน ก็พอแล้วเนี่ย มันไม่พอหรอก :lol: ทำงานต่อไปดีกว่าเพราะถึงแม้งานประจำจะไม่ทำให้รวยแต่ก็มี stable income จะกู้เงินมาทำอะไรก็ง่ายกว่า
ลองคิดง่ายๆว่าถ้างานประจำให้เงินเราปีละ 500,000 บาท ก็เหมือนกับว่าเรามีสินทรัพย์ที่ให้เงินเราแน่ๆปีละ 500,000 บาท (จริงๆต่ำกว่านี้เพราะภาษีเงินได้ ) ซึ่ง current income ขนาดนี้คนส่วนใหญ่ไม่มีสินทรัพย์ขนาดนี้หรอกครับ เก็บงานประจำไว้ดีกว่า
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
พอแต่งงานแล้วจะรู้เลยว่าภาระในอนาคตมัน "เยอะ" จากตอนแรกที่คิดว่าถ้าได้ปันผลปีละ 4-5 แสน ก็พอแล้วเนี่ย มันไม่พอหรอก :lol: ทำงานต่อไปดีกว่าเพราะถึงแม้งานประจำจะไม่ทำให้รวยแต่ก็มี stable income จะกู้เงินมาทำอะไรก็ง่ายกว่า
ลองคิดง่ายๆว่าถ้างานประจำให้เงินเราปีละ 500,000 บาท ก็เหมือนกับว่าเรามีสินทรัพย์ที่ให้เงินเราแน่ๆปีละ 500,000 บาท (จริงๆต่ำกว่านี้เพราะภาษีเงินได้ ) ซึ่ง current income ขนาดนี้คนส่วนใหญ่ไม่มีสินทรัพย์ขนาดนี้หรอกครับ เก็บงานประจำไว้ดีกว่า
ขอบคุณสำหรับบทความครับ
Wir sind das Rar, der Stolz und der Wert
-
- Verified User
- โพสต์: 1296
- ผู้ติดตาม: 1
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 14
เมื่อจบใหม่ๆ ได้เงินนเดือน 4-5 พันบาท ก็มีความคิดว่าถ้าได้สัก
8 พันบาทก้จะอยู่อย่างสุขสบายแล้ว
เมื่อแต่งงานมีลูก ค่าเล่าเรียนปีละหลายหมื่น ก็คิดว่าเดือนละ 5 หมื่น
ก็พอ เพราะคิดว่าเมื่อลูกโตก็จะให้สอบเข้าโรงเรียนรัฐ ค่าใช้จ่ายต้องลดลง
เมื่อลูกเข้าโรงเรียนรัฐได้ค่าใช้จ่ายกลับมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าตอนเรียน
ประถมอีก ก็คิดว่าเดือนละ 7-8 หมื่นก็พอ
ปัจจุบันลูกเรียนมหาลัยค่าใช้จ่ายทะลุแสนแล้ว และจากเดิมคิดว่าจะส่ง
แค่ป ตรี ปัจจุบันกลับต้องส่งถึง ป โท บางทีต้องเป็น ป โทต่างประเทศ
ปัจจุบันเลยต้องทำงานไปเรื่อยๆ เป็นการเผื่อ Safety margin จะได้
ไม่ต้องควักทุนกิน (ซึ่งผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการกินทุนของตนเอง)
อย่างคุณ Alaster ว่าไว้ เก็บงานประจำไว้ทำดีกว่า ของตายได้เงินแน่ๆ
8 พันบาทก้จะอยู่อย่างสุขสบายแล้ว
เมื่อแต่งงานมีลูก ค่าเล่าเรียนปีละหลายหมื่น ก็คิดว่าเดือนละ 5 หมื่น
ก็พอ เพราะคิดว่าเมื่อลูกโตก็จะให้สอบเข้าโรงเรียนรัฐ ค่าใช้จ่ายต้องลดลง
เมื่อลูกเข้าโรงเรียนรัฐได้ค่าใช้จ่ายกลับมากขึ้นเรื่อยๆ มากกว่าตอนเรียน
ประถมอีก ก็คิดว่าเดือนละ 7-8 หมื่นก็พอ
ปัจจุบันลูกเรียนมหาลัยค่าใช้จ่ายทะลุแสนแล้ว และจากเดิมคิดว่าจะส่ง
แค่ป ตรี ปัจจุบันกลับต้องส่งถึง ป โท บางทีต้องเป็น ป โทต่างประเทศ
ปัจจุบันเลยต้องทำงานไปเรื่อยๆ เป็นการเผื่อ Safety margin จะได้
ไม่ต้องควักทุนกิน (ซึ่งผมคิดว่าคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการกินทุนของตนเอง)
อย่างคุณ Alaster ว่าไว้ เก็บงานประจำไว้ทำดีกว่า ของตายได้เงินแน่ๆ
- K o S o L
- Verified User
- โพสต์: 451
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 15
เห็นภาพชัดเจนดีครับ ชอบๆ :DAlastor เขียน: ลองคิดง่ายๆว่าถ้างานประจำให้เงินเราปีละ 500,000 บาท ก็เหมือนกับว่าเรามีสินทรัพย์ที่ให้เงินเราแน่ๆปีละ 500,000 บาท (จริงๆต่ำกว่านี้เพราะภาษีเงินได้ ) ซึ่ง current income ขนาดนี้คนส่วนใหญ่ไม่มีสินทรัพย์ขนาดนี้หรอกครับ เก็บงานประจำไว้ดีกว่า
ผมมือใหม่ครับ
- SunShine@Night
- Verified User
- โพสต์: 2196
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 16
[quote]ทำงานต่อไปดีกว่าเพราะถึงแม้งานประจำจะไม่ทำให้รวยแต่ก็มี stable income จะกู้เงินมาทำอะไรก็ง่ายกว่า
ลองคิดง่ายๆว่าถ้างานประจำให้เงินเราปีละ 500,000 บาท ก็เหมือนกับว่าเรามีสินทรัพย์ที่ให้เงินเราแน่ๆปีละ 500,000 บาท (จริงๆต่ำกว่านี้เพราะภาษีเงินได้ ) ซึ่ง current income ขนาดนี้คนส่วนใหญ่ไม่มีสินทรัพย์ขนาดนี้หรอกครับ เก็บงานประจำไว้ดีกว่า
ขอบคุณสำหรับบทความครับ[/quote]
ชอบด้วยคนครับ
ลองคิดง่ายๆว่าถ้างานประจำให้เงินเราปีละ 500,000 บาท ก็เหมือนกับว่าเรามีสินทรัพย์ที่ให้เงินเราแน่ๆปีละ 500,000 บาท (จริงๆต่ำกว่านี้เพราะภาษีเงินได้ ) ซึ่ง current income ขนาดนี้คนส่วนใหญ่ไม่มีสินทรัพย์ขนาดนี้หรอกครับ เก็บงานประจำไว้ดีกว่า
ขอบคุณสำหรับบทความครับ[/quote]
ชอบด้วยคนครับ
VI ฝึกหัด สำนักปีเตอร์ ลินช์
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
หวังผลต่อแทนทบต้นมากกว่า 15% ต่อปี
-
- Verified User
- โพสต์: 47
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 17
เกษียณเร็วก็ดีครับถ้ามีทุกอย่างพร้อมแล้วและรู้ว่ามีสิ่งที่อยากทำกว่ารออยู่ แต่ไม่ควรตั้งเป้าเกษียณเร็วเพราะขี้เกียจ ทำงาน ... คนมีคุณค่าที่การทำงานหรือทำสิ่งที่มีประโยชน์
เพิ่งหัดลอง
-
- Verified User
- โพสต์: 67
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 18
วัยหนุ่มสาว ก็ อยากให้ ทำงาน เพราะ การทำงาน เป็นการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ทำให้ มีสังคม กว้างขึ้น
ถ้า อายุมากขึ้น ฐานะ ทางการเงินพร้อม มีทุกอย่าง พร้อม ไม่มี ภาระใดๆ และ วัย พอ สมควร ก็ เกษียณได้ มีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่เรา ไม่ได้ทำในขณะ ทำงาน เนื่อง จาก หน้าที่การงาน ยิ่งสูง ยิ่งไม่มีเวลา ทำงาน เกือบทุกวัน ยิ่งเป็นผู้บริหาร เวลาก็ หาย ไป กับ เจ้านาย ลูกน้อง เพื่อนร่วม งาน และ ลูกค้า ถ้า เกษียณ จะมีหลายอย่างให้ ทำ เช่น
- มีเวลาดูแลพ่อ แม่ มากขึ้น ได้ พา ท่านไป เที่ยว พักผ่อน บางที่ ที่ ท่านอยากไป ก็ไป ไม่ไหว เพราะ แก่เกินไป
- มีเวลา ให้ ครอบครัวมาก ขึ้น
- มีเวลา ในการดูแลบ้าน มากขึ้น จัดบ้านให้ น่าอยู่ ไม่ใช่ ให้ บ้าน เป็น บ้าน ของ สาวพม่า ตลอด
- มีเวลาดูแลสุขภาพ ตัวเอง มาก ขึ้น จะทำให้ มีสุขภาพ ดี ขึ้น
- มีเวลาท่องเที่ยว ไป ในที่ ต่างๆ ได้ อย่างมีความสุข ไม่ใช่ ไป กับลูกค้า เช่น เมื่อก่อน เครียด
- ทำงาน เล็กๆ น้อยๆ บ้าง ตาม สมควรการไปสอนหนังสือ ก็ ต้อง ใช้ เวลา เตรียมตัว
- มีเวลา ได้ หาความรู้ หลายๆ อย่าง ที่ ไม่เคยหา เลย ตอนทำงาน
- มีเวลา ทำ งาน ที่ เป็นประโยชน์ ให้ผู้อื่น ให้ความรู้ หรือ อื่นใด ที่ไม่เกี่ยว กับ เงิน
ถ้า อายุมากขึ้น ฐานะ ทางการเงินพร้อม มีทุกอย่าง พร้อม ไม่มี ภาระใดๆ และ วัย พอ สมควร ก็ เกษียณได้ มีหลายสิ่งหลายอย่าง ที่เรา ไม่ได้ทำในขณะ ทำงาน เนื่อง จาก หน้าที่การงาน ยิ่งสูง ยิ่งไม่มีเวลา ทำงาน เกือบทุกวัน ยิ่งเป็นผู้บริหาร เวลาก็ หาย ไป กับ เจ้านาย ลูกน้อง เพื่อนร่วม งาน และ ลูกค้า ถ้า เกษียณ จะมีหลายอย่างให้ ทำ เช่น
- มีเวลาดูแลพ่อ แม่ มากขึ้น ได้ พา ท่านไป เที่ยว พักผ่อน บางที่ ที่ ท่านอยากไป ก็ไป ไม่ไหว เพราะ แก่เกินไป
- มีเวลา ให้ ครอบครัวมาก ขึ้น
- มีเวลา ในการดูแลบ้าน มากขึ้น จัดบ้านให้ น่าอยู่ ไม่ใช่ ให้ บ้าน เป็น บ้าน ของ สาวพม่า ตลอด
- มีเวลาดูแลสุขภาพ ตัวเอง มาก ขึ้น จะทำให้ มีสุขภาพ ดี ขึ้น
- มีเวลาท่องเที่ยว ไป ในที่ ต่างๆ ได้ อย่างมีความสุข ไม่ใช่ ไป กับลูกค้า เช่น เมื่อก่อน เครียด
- ทำงาน เล็กๆ น้อยๆ บ้าง ตาม สมควรการไปสอนหนังสือ ก็ ต้อง ใช้ เวลา เตรียมตัว
- มีเวลา ได้ หาความรู้ หลายๆ อย่าง ที่ ไม่เคยหา เลย ตอนทำงาน
- มีเวลา ทำ งาน ที่ เป็นประโยชน์ ให้ผู้อื่น ให้ความรู้ หรือ อื่นใด ที่ไม่เกี่ยว กับ เงิน
-
- Verified User
- โพสต์: 1254
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณท่านอ.มากขอรับข้าน้อยจะจำใส่ใจ
ข้าน้อยเข้าใจที่ท่านอ.สอนสั่งว่า
มีอิสระภาพทางการเงินโดยไม่เกษียณจะทำให้ชีวิตมีความสุขมากกว่าการเกษียณ
ข้าน้อยเข้าใจที่ท่านอ.สอนสั่งว่า
มีอิสระภาพทางการเงินโดยไม่เกษียณจะทำให้ชีวิตมีความสุขมากกว่าการเกษียณ
-
- Verified User
- โพสต์: 1254
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 20
เมื่อท่านนักลงทุนพบอิสระภาพทางการเงินการเกษียณอย่างมีความสุขจะเป็นไปได้อย่างแน่นอนถ้าเพียงแต่ความสนใจในทางศาสนาของท่านจะแปลงเปลี่ยนเป็นสู่การปฏิบัติ เช่น เหมือนท่านอ.ถาวรสหายของท่านอ.นั่นเอง หรือ เหมือนคุณเหมียวเจาะใจ :)
- holidaytours
- Verified User
- โพสต์: 349
- ผู้ติดตาม: 0
เกษียณก่อนกำหนด/ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โพสต์ที่ 21
หนุ่มสาวผู้มุ่งมั่นจำนวนไม่น้อยมักคิดถึงเรื่องการ เกษียณก่อนกำหนด
- ดีใจจังนึกว่ามีมีคนบ้าอย่างผมอยู่ไม่กี่คน :lol: :lol: :lol:
- ดีใจจังนึกว่ามีมีคนบ้าอย่างผมอยู่ไม่กี่คน :lol: :lol: :lol: