จดหมายจากวอร์เรน บัฟเฟตต์
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากวอร์เรน บัฟเฟตต์
โพสต์ที่ 1
จดหมายจากวอร์เรน บัฟเฟตต์
:วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนเอกของโลกเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมาเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนของเขาในสถานการณ์ปัจจุบัน
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : เนื้อหาของบทความมีดังนี้
โลกการเงินการธนาคารทั้งในอเมริกาและต่างประเทศกำลังประสบหายนะ มันเป็นปัญหาที่กำลังกระจายไปถึงเศรษฐกิจโดยรวม รูรั่วเล็กๆ ที่ตอนนี้กำลังจะกลายเป็นหลุมพรางขนาดใหญ่ ในระยะสั้นอัตราการว่างงานคงเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางธุรกิจคงชะลอตัว พาดหัวข่าวจะยังมีเรื่องน่ากลัวต่อไปเรื่อยๆ
ดังนั้น.....ตอนนี้ผมถึงได้ซื้อหุ้นในตลาดอเมริกา ที่ผมกำลังพูดถึงเป็นบัญชีซื้อขายหุ้นส่วนตัวของผม ที่ก่อนหน้านี้ผมไม่ได้ลงทุนในอะไรเลยนอกจากพันธบัตรรัฐบาล (คำอธิบายนี้ไม่ได้รวมถึงหุ้นของ เบิร์กไชน์ที่ผมถืออยู่ที่ตอนนี้ได้มอบให้เพื่อการกุศลไปแล้ว) ถ้าตราบใดที่ราคาหุ้นยังน่าสนใจ ทรัพย์สินทั้งหมดของผมจะเป็นหุ้นในตลาดอเมริกา 100 เปอร์เซ็นต์ในเร็วๆ นี้
ทำไมนะหรือ? กฎง่ายๆ ของผม :จงกลัวเมื่อคนกำลังโลภ และจงโลภเมื่อคนอื่นกำลังกลัว และที่แน่นอนที่สุดตอนนี้ความกลัวกำลังแผ่กระจายออกไป ไปจนถึงแม้กระทั่งนักลงทุนที่มีประสบการณ์ นักลงทุนมีสิทธิที่จะระแวงเมื่อเจอกับกิจการหรือธุรกิจที่มีหนี้สูง หรืออยู่ในตำแหน่งทางการแข่งขันที่อ่อนแอ แต่การที่จะระแวงถึงความรุ่งเรืองในระยะยาวของบริษัทที่แข็งแกร่งไม่เห็นจะเข้าท่าเลย แน่นอนว่ารายได้ของบริษัทต่างๆ ย่อมจะต้องเจอกับความไม่ราบรื่นบ้างเป็นธรรมดาของการทำธุรกิจ แต่บริษัทใหญ่ๆ ส่วนมากจะมีสถิติกำไรสูงสุดใหม่ในอีก 5 ปี 10 ปี และ 20 ปีนับจากนี้ไป
ขอผมชี้แจงเรื่องหนึ่งก่อนคือ ผมไม่สามารถทำนายการขึ้นลงของตลาดหุ้นในระยะสั้นๆ ได้ ผมไม่รู้แม้แต่นิดเดียวว่าหุ้นจะขึ้นหรือลงในระยะ 1 เดือนหรืออีก 1 ปีข้างหน้า แต่ที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือตลาดหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นพอสมควรทีเดียวก่อนที่ความรู้สึกว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น ถ้าคุณมัวแต่รอฟังเสียงของนกโรบิน นั่นหมายความว่าฤดูใบไม้ผลิได้ผ่านไปแล้ว
พูดถึงประวัติศาสตร์กันสักนิดหน่อย ในระหว่างช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (The Great Depression 1930) ดัชนีดาวน์โจนส์ ตกต่ำเหลือเพียง 41 จุดในวันที่ 8 กรกฎาคม 1932 สภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนกระทั่ง แฟรงคลิน ดี รูสเวลล์ (Franklin D. Roosevelt) เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมีนาคม 1933 และก่อนหน้านั้นตลาดปรับตัวขึ้นไปแล้ว 30 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดย้อนไปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนที่อะไรก็ไม่ดีไปเสียหมดสำหรับอเมริกา, ยุโรปและแปซิฟิก ตลาดหุ้นตกลงมาต่ำสุดในเดือนเมษายน 1942 นั่นคือก่อนที่ฝ่ายพันธมิตรจะชนะสงคราม อีกครั้งในตอนปี 1980 เวลาช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่จะซื้อหุ้น ตอนที่เงินเฟ้อกำลังทะยานและเศรษฐกิจกำลังทรุด กล่าวสั้นๆ ก็คือข่าวร้ายคือเพื่อนที่ดีที่สุดของนักลงทุน มันให้โอกาสคุณได้ซื้ออนาคตของอเมริกาในราคาที่มีส่วนลด
ในระยะยาวแล้วตลาดหุ้นจะมีแต่ข่าวดี ประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านสงครามโลกมา 2 ครั้ง และปัญหาความขัดแย้งทางทหารที่อื่นๆ อีกหลายที่ เศรษฐกิจล่มสลายครั้งใหญ่ เศรษฐกิจถดถอยอีกหลายครั้ง เศรษฐกิจตกต่ำเพราะราคาน้ำมัน โรคไข้หวัดนก การลาออกที่น่าอดสูของประธานาธิบดีบางคน ถึงอย่างนั้นดัชนีดาวน์โจนส์ ยังปรับตัวไปจาก 66 ไปถึง 11,497 จุด คุณอาจจะคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่นักลงทุนจะขาดทุนในช่วงทศวรรษที่ตลาดปรับตัวขึ้นอย่างเหลือเชื่อ แต่นักลงทุนบางคนก็ยังขาดทุนในช่วงนั้นเพราะพวกเขาซื้อหุ้นตอนที่รู้สึกดีแล้วก็ขายขาดทุนเมื่อพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ทำให้พวกเขากลัว
วันนี้คนที่ถือเงินสดคงรู้สึกสบายใจ ทั้งที่จริงแล้วเขาไม่ควรคิดอย่างนั้นเลย เงินสดเป็นสินทรัพย์ที่แย่มากในระยะยาว มันแทบจะไม่ให้ผลตอบแทนอะไรเลยและมูลค่าก็มีแต่จะลดลงด้วย อันที่จริงนโยบายที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาตอนนี้จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและบั่นทอนมูลค่าที่แท้จริงของเงินสด หุ้นยังไงก็ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินสดในช่วงทศวรรษข้างหน้า อาจจะมากกว่าเยอะด้วย นักลงทุนที่กอดเงินสดไว้กำลังพนันว่าเขาสามารถคาดเวลาเหมาะๆ ที่จะเปลี่ยนเงินสดเป็นทรัพย์สินอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ในระหว่างที่รอความสบายใจจากข่าวดี พวกเขาได้ละทิ้งคำแนะนำของนักฮอคกี้เวิร์น เกสกี้ (Wayne Gretzky) ที่ว่าผมไถลสเกตไปในที่ๆ ลูกฮอกกี้กำลังจะไป ไม่ใช่ขยับตัวไปที่ที่มันเคยไปมาแล้ว
ผมไม่ชอบให้ความเห็นเกี่ยวกับตลาดหุ้น และขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่รู้ว่าตลาดจะเป็นอย่างไรในระยะสั้น ถึงอย่างไรก็ตามผมเองชอบคำแนะนำของร้านอาหารที่เปิดในตึกของธนาคารที่เงียบเหงาที่โฆษณาว่า พูดอะไรไป ก็กล้าใช้เงินทำอย่างนั้นด้วย วันนี้ทั้งเงินผมและคำพูดผม ทั้งสองอย่างบอกว่า หุ้น
วิบูลย์ พึงประเสริฐ
:วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนเอกของโลกเขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ ฉบับวันที่ 17 ตุลาคม 2551 ที่ผ่านมาเกี่ยวกับกลยุทธ์การลงทุนของเขาในสถานการณ์ปัจจุบัน
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : เนื้อหาของบทความมีดังนี้
โลกการเงินการธนาคารทั้งในอเมริกาและต่างประเทศกำลังประสบหายนะ มันเป็นปัญหาที่กำลังกระจายไปถึงเศรษฐกิจโดยรวม รูรั่วเล็กๆ ที่ตอนนี้กำลังจะกลายเป็นหลุมพรางขนาดใหญ่ ในระยะสั้นอัตราการว่างงานคงเพิ่มขึ้น และกิจกรรมทางธุรกิจคงชะลอตัว พาดหัวข่าวจะยังมีเรื่องน่ากลัวต่อไปเรื่อยๆ
ดังนั้น.....ตอนนี้ผมถึงได้ซื้อหุ้นในตลาดอเมริกา ที่ผมกำลังพูดถึงเป็นบัญชีซื้อขายหุ้นส่วนตัวของผม ที่ก่อนหน้านี้ผมไม่ได้ลงทุนในอะไรเลยนอกจากพันธบัตรรัฐบาล (คำอธิบายนี้ไม่ได้รวมถึงหุ้นของ เบิร์กไชน์ที่ผมถืออยู่ที่ตอนนี้ได้มอบให้เพื่อการกุศลไปแล้ว) ถ้าตราบใดที่ราคาหุ้นยังน่าสนใจ ทรัพย์สินทั้งหมดของผมจะเป็นหุ้นในตลาดอเมริกา 100 เปอร์เซ็นต์ในเร็วๆ นี้
ทำไมนะหรือ? กฎง่ายๆ ของผม :จงกลัวเมื่อคนกำลังโลภ และจงโลภเมื่อคนอื่นกำลังกลัว และที่แน่นอนที่สุดตอนนี้ความกลัวกำลังแผ่กระจายออกไป ไปจนถึงแม้กระทั่งนักลงทุนที่มีประสบการณ์ นักลงทุนมีสิทธิที่จะระแวงเมื่อเจอกับกิจการหรือธุรกิจที่มีหนี้สูง หรืออยู่ในตำแหน่งทางการแข่งขันที่อ่อนแอ แต่การที่จะระแวงถึงความรุ่งเรืองในระยะยาวของบริษัทที่แข็งแกร่งไม่เห็นจะเข้าท่าเลย แน่นอนว่ารายได้ของบริษัทต่างๆ ย่อมจะต้องเจอกับความไม่ราบรื่นบ้างเป็นธรรมดาของการทำธุรกิจ แต่บริษัทใหญ่ๆ ส่วนมากจะมีสถิติกำไรสูงสุดใหม่ในอีก 5 ปี 10 ปี และ 20 ปีนับจากนี้ไป
ขอผมชี้แจงเรื่องหนึ่งก่อนคือ ผมไม่สามารถทำนายการขึ้นลงของตลาดหุ้นในระยะสั้นๆ ได้ ผมไม่รู้แม้แต่นิดเดียวว่าหุ้นจะขึ้นหรือลงในระยะ 1 เดือนหรืออีก 1 ปีข้างหน้า แต่ที่น่าจะเป็นไปได้ก็คือตลาดหุ้นจะปรับตัวสูงขึ้นพอสมควรทีเดียวก่อนที่ความรู้สึกว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น ถ้าคุณมัวแต่รอฟังเสียงของนกโรบิน นั่นหมายความว่าฤดูใบไม้ผลิได้ผ่านไปแล้ว
พูดถึงประวัติศาสตร์กันสักนิดหน่อย ในระหว่างช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (The Great Depression 1930) ดัชนีดาวน์โจนส์ ตกต่ำเหลือเพียง 41 จุดในวันที่ 8 กรกฎาคม 1932 สภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ลงเรื่อยๆ จนกระทั่ง แฟรงคลิน ดี รูสเวลล์ (Franklin D. Roosevelt) เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อเดือนมีนาคม 1933 และก่อนหน้านั้นตลาดปรับตัวขึ้นไปแล้ว 30 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดย้อนไปสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตอนที่อะไรก็ไม่ดีไปเสียหมดสำหรับอเมริกา, ยุโรปและแปซิฟิก ตลาดหุ้นตกลงมาต่ำสุดในเดือนเมษายน 1942 นั่นคือก่อนที่ฝ่ายพันธมิตรจะชนะสงคราม อีกครั้งในตอนปี 1980 เวลาช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่จะซื้อหุ้น ตอนที่เงินเฟ้อกำลังทะยานและเศรษฐกิจกำลังทรุด กล่าวสั้นๆ ก็คือข่าวร้ายคือเพื่อนที่ดีที่สุดของนักลงทุน มันให้โอกาสคุณได้ซื้ออนาคตของอเมริกาในราคาที่มีส่วนลด
ในระยะยาวแล้วตลาดหุ้นจะมีแต่ข่าวดี ประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านสงครามโลกมา 2 ครั้ง และปัญหาความขัดแย้งทางทหารที่อื่นๆ อีกหลายที่ เศรษฐกิจล่มสลายครั้งใหญ่ เศรษฐกิจถดถอยอีกหลายครั้ง เศรษฐกิจตกต่ำเพราะราคาน้ำมัน โรคไข้หวัดนก การลาออกที่น่าอดสูของประธานาธิบดีบางคน ถึงอย่างนั้นดัชนีดาวน์โจนส์ ยังปรับตัวไปจาก 66 ไปถึง 11,497 จุด คุณอาจจะคิดว่ามันไม่น่าจะเป็นไปได้ที่นักลงทุนจะขาดทุนในช่วงทศวรรษที่ตลาดปรับตัวขึ้นอย่างเหลือเชื่อ แต่นักลงทุนบางคนก็ยังขาดทุนในช่วงนั้นเพราะพวกเขาซื้อหุ้นตอนที่รู้สึกดีแล้วก็ขายขาดทุนเมื่อพาดหัวข่าวในหนังสือพิมพ์ทำให้พวกเขากลัว
วันนี้คนที่ถือเงินสดคงรู้สึกสบายใจ ทั้งที่จริงแล้วเขาไม่ควรคิดอย่างนั้นเลย เงินสดเป็นสินทรัพย์ที่แย่มากในระยะยาว มันแทบจะไม่ให้ผลตอบแทนอะไรเลยและมูลค่าก็มีแต่จะลดลงด้วย อันที่จริงนโยบายที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาตอนนี้จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นและบั่นทอนมูลค่าที่แท้จริงของเงินสด หุ้นยังไงก็ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าเงินสดในช่วงทศวรรษข้างหน้า อาจจะมากกว่าเยอะด้วย นักลงทุนที่กอดเงินสดไว้กำลังพนันว่าเขาสามารถคาดเวลาเหมาะๆ ที่จะเปลี่ยนเงินสดเป็นทรัพย์สินอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ในระหว่างที่รอความสบายใจจากข่าวดี พวกเขาได้ละทิ้งคำแนะนำของนักฮอคกี้เวิร์น เกสกี้ (Wayne Gretzky) ที่ว่าผมไถลสเกตไปในที่ๆ ลูกฮอกกี้กำลังจะไป ไม่ใช่ขยับตัวไปที่ที่มันเคยไปมาแล้ว
ผมไม่ชอบให้ความเห็นเกี่ยวกับตลาดหุ้น และขอย้ำอีกครั้งว่าผมไม่รู้ว่าตลาดจะเป็นอย่างไรในระยะสั้น ถึงอย่างไรก็ตามผมเองชอบคำแนะนำของร้านอาหารที่เปิดในตึกของธนาคารที่เงียบเหงาที่โฆษณาว่า พูดอะไรไป ก็กล้าใช้เงินทำอย่างนั้นด้วย วันนี้ทั้งเงินผมและคำพูดผม ทั้งสองอย่างบอกว่า หุ้น
วิบูลย์ พึงประเสริฐ
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จดหมายจากวอร์เรน บัฟเฟตต์
โพสต์ที่ 2
รู้สึกว่าประโยคนี้จะใช้ได้ดีในสถานการณ์ปัจจุบันtum_H เขียน: นักลงทุนที่กอดเงินสดไว้กำลังพนันว่าเขาสามารถคาดเวลาเหมาะๆ ที่จะเปลี่ยนเงินสดเป็นทรัพย์สินอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ในระหว่างที่รอความสบายใจจากข่าวดี พวกเขาได้ละทิ้งคำแนะนำของนักฮอคกี้เวิร์น เกสกี้ (Wayne Gretzky) ที่ว่าผมไถลสเกตไปในที่ๆ ลูกฮอกกี้กำลังจะไป ไม่ใช่ขยับตัวไปที่ที่มันเคยไปมาแล้ว
ความกลัวและโอกาส มาพร้อมๆกัน ขึ้นกับว่าเราจะเลือกสิ่งไหนก่อน
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- SEHJU
- Verified User
- โพสต์: 1238
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากวอร์เรน บัฟเฟตต์
โพสต์ที่ 3
ขอบคุณมากครับสำหรับบทความดีๆ
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
จดหมายจากวอร์เรน บัฟเฟตต์
โพสต์ที่ 5
จาก 'วอร์เรน บัฟเฟตต์' ถึง 'ดร.นิเวศน์'
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ได้ชื่อว่ามี “ปรัชญา” การลงทุนที่เน้นปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์เช่นเดียวกัน และน่าจะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตลาดหุ้นมากที่สุด ซึ่งบุคคลทั้งสอง (วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ ดร.นิเวศน์) กำลังมองหาโอกาสที่จะเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มเติมในช่วงนี้
ก่อนหน้านี้ มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกได้เริ่มเข้ามา “ซื้อหุ้น” บ้างแล้ว (เช่น จีอี-โกลด์แมน แซคส์) รวมถึงชี้แนะแนวทางการลงทุนในช่วงนี้ว่า หนึ่ง..ต้องลงทุนในบริษัทที่มี “หนี้น้อย” สอง..ต้องมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจได้ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า
ทางฝั่ง แวลูอินเวสเตอร์ ของเมืองไทย “เห็นด้วย” กับแนวคิดของบัฟเฟตต์ โดยเฉพาะบริษัทที่มีศักยภาพจะเป็นผู้นำในธุรกิจได้ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งเสริมว่า อย่าดูอัตราส่วน D/E Ratio แล้วมาตัดสินใจเพียงอย่างเดียว เพราะบางบริษัทก็จำเป็นต้องมีหนี้เพื่อที่จะเติบโต
“หนี้เยอะได้ ขออย่าให้ถึงกับล้มละลายพอ ต้องวิเคราะห์ว่ามีหนี้แล้วต้องทำรายได้ที่สม่ำเสมอด้วย แต่ถ้ามีหนี้แล้วรายได้ลดลงฮวบฮาบตามภาวะเศรษฐกิจ อันนี้ไม่ควร”
ส่วนประเด็นที่หุ้น “เบียร์ช้าง” จะเข้ามาเทรดในตลาดหุ้นไทย อาจารย์นิเวศน์ ให้ความเห็นว่า ไม่น่าจะกระตุ้นตลาดได้ เพราะจำนวนหุ้นที่ปล่อยออกมาเพียง 80 ล้านหุ้น นั้นยังน้อยเกินไป (น่าจะต้องการชี้นำราคาที่สิงคโปร์ซะมากกว่า)
“สภาพตลาดหุ้นแบบนี้ ผมเชื่อว่าไม่มีหุ้นตัวไหนจะเป็นผู้นำตลาดได้...แต่ถ้าเขาเข้ามาจริงๆ ก็เชื่อว่าน่าจะพออยู่ได้ ด้วยความเป็นผู้นำในตลาด และธุรกิจเบียร์ในประเทศไทยยังมีดีมานด์ที่รออยู่อีกมาก”
กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ได้ชื่อว่ามี “ปรัชญา” การลงทุนที่เน้นปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์เช่นเดียวกัน และน่าจะเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตลาดหุ้นมากที่สุด ซึ่งบุคคลทั้งสอง (วอร์เรน บัฟเฟตต์ และ ดร.นิเวศน์) กำลังมองหาโอกาสที่จะเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเพิ่มเติมในช่วงนี้
ก่อนหน้านี้ มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกได้เริ่มเข้ามา “ซื้อหุ้น” บ้างแล้ว (เช่น จีอี-โกลด์แมน แซคส์) รวมถึงชี้แนะแนวทางการลงทุนในช่วงนี้ว่า หนึ่ง..ต้องลงทุนในบริษัทที่มี “หนี้น้อย” สอง..ต้องมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในธุรกิจได้ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า
ทางฝั่ง แวลูอินเวสเตอร์ ของเมืองไทย “เห็นด้วย” กับแนวคิดของบัฟเฟตต์ โดยเฉพาะบริษัทที่มีศักยภาพจะเป็นผู้นำในธุรกิจได้ในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า พร้อมทั้งเสริมว่า อย่าดูอัตราส่วน D/E Ratio แล้วมาตัดสินใจเพียงอย่างเดียว เพราะบางบริษัทก็จำเป็นต้องมีหนี้เพื่อที่จะเติบโต
“หนี้เยอะได้ ขออย่าให้ถึงกับล้มละลายพอ ต้องวิเคราะห์ว่ามีหนี้แล้วต้องทำรายได้ที่สม่ำเสมอด้วย แต่ถ้ามีหนี้แล้วรายได้ลดลงฮวบฮาบตามภาวะเศรษฐกิจ อันนี้ไม่ควร”
ส่วนประเด็นที่หุ้น “เบียร์ช้าง” จะเข้ามาเทรดในตลาดหุ้นไทย อาจารย์นิเวศน์ ให้ความเห็นว่า ไม่น่าจะกระตุ้นตลาดได้ เพราะจำนวนหุ้นที่ปล่อยออกมาเพียง 80 ล้านหุ้น นั้นยังน้อยเกินไป (น่าจะต้องการชี้นำราคาที่สิงคโปร์ซะมากกว่า)
“สภาพตลาดหุ้นแบบนี้ ผมเชื่อว่าไม่มีหุ้นตัวไหนจะเป็นผู้นำตลาดได้...แต่ถ้าเขาเข้ามาจริงๆ ก็เชื่อว่าน่าจะพออยู่ได้ ด้วยความเป็นผู้นำในตลาด และธุรกิจเบียร์ในประเทศไทยยังมีดีมานด์ที่รออยู่อีกมาก”
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก