หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
- oatty
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2444
- ผู้ติดตาม: 0
หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 1
โลกในมุมมองของ Value Investor
สิ่งที่นักลงทุนในตลาดหุ้นจะต้องเจอถ้าลงทุนมานานพอสมควรก็คือภาวะ “ตลาดหมี” ที่ราคาหรือดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาอย่างหนักอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงโดยทั่วไปนั้นมักจะไม่ใช่ตลาดหมีแต่เป็นภาวะที่ตลาดเกิดความผันผวนตามปกติ นิยามหรือคำเรียกภาวะที่ตลาดตกต่ำลงนั้นน่าจะแบ่งได้เป็นสามระดับดังนี้คือ ถ้าระดับการตกลงของตลาดหุ้นเท่ากับหรือต่ำกว่า 10% เรียกว่าหุ้นตกธรรมดา ถ้าหุ้นตกเกิน 10% แต่ไม่ถึง 20% เรียกว่าหุ้นปรับตัวหรือ Correction และถ้าตลาดหุ้นตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไปก็เรียกว่าตลาดหมีหรือ Bear Market
ตามสถิติในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น ตลาดหมีเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณหกปีต่อครั้ง ในตลาดหุ้นไทยนั้น เท่าที่ผมมองคร่าว ๆ เราน่าจะเจอกับตลาดหมีไม่ต่ำกว่า 6 ครั้งในช่วง 33 ปี หรือก็คือ ประมาณทุก ๆ 5-6 ปี เราก็จะเจอหมีสักปีหนึ่งหรือพูดง่าย ๆ หมีบ้านเรามาถี่พอ ๆ กับหมีที่ตลาดหุ้นอเมริกาเหมือนกัน
สาเหตุของการเกิดตลาดหมีนั้น ในอดีตที่พบมากมีอยู่หลายเรื่อง ในช่วงต้น ๆ ในยุคที่เรายังอิงอยู่กับมาตรฐานทองคำดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องของเงินฝืด เพราะในยุคนั้นการพิมพ์แบงค์หรือสร้างเงินขึ้นมาใช้ค่อนข้างจะถูกจำกัดด้วยปริมาณทองคำที่มีอยู่ และนั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจขาดความสมดุลได้เป็นช่วง ๆ และก่อให้เกิดภาวะตลาดหมีขึ้น สาเหตุอันดับต่อมาที่ก่อให้เกิดภาวะตลาดหุ้นหมีค่อนข้างมากก็คือเรื่องของอัตราดอกเบี้ยซึ่งน่าจะอิงไปถึงเรื่องเงินเฟ้อด้วยนั่นก็คือ ตลาดหมีนั้นมักจะมากับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นสูงลิ่วและอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว เช่นเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อก็มักจะสูงมากกว่าปกติมาก สาเหตุอันดับต่อมาก็คือเรื่องของความถูกความแพงของหุ้นโดยทั่วไป นั่นก็คือ ตลาดหมีนั้นมักจะมาในตอนที่ค่า PE ของตลาดสูงลิ่วเช่นสูงถึง 25-30 เท่า
นอกจากเรื่องของภาวะทางการเงินที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว สิ่งที่ก่อให้เกิดภาวะตลาดหมีบ่อยพอสมควรก็คือ เรื่องของภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในประเทศหรือในโลกซึ่งมักจะลามไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วย ภาวะวิกฤติที่สำคัญอันดับแรกก็คือ ภาวะสงคราม นี่คือสงครามที่คนกลัวว่าจะลุกลามใหญ่โตและกระทบกับสังคมทั่วโลก ถ้าจะพูดถึงรายชื่อสงครามที่เราพอจะจำกันได้ก็น่าจะรวมถึง สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี สงครามเวียตนาม สงครามอ่าวหรือสงครามซัดดัมบุกคูเวต เป็นต้น
ถัดจากเรื่องสงคราม วิกฤติที่มักก่อให้เกิดตลาดหมีที่รุนแรงในระยะหลังมักจะเกิดจากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งแล้วลามไปยังประเทศอื่น ๆ เป็นลูกโซ่อันเป็นผลจากการที่ระบบการเงินของโลกมีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ตัวอย่างน่าจะเริ่มจากวิกฤติการณ์ค่าเงินเม็กซิโกตกต่ำในช่วงปี 2538 ตามด้วยวิกฤติต้มยำกุ้งที่เริ่มจากประเทศไทยของเราในปี 2540 และล่าสุดก็คือ วิกฤติการณ์ซับไพร์มและการล้มของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงนี้
วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเมืองไทยครั้งแล้วครั้งเล่าซึ่งคนคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้หุ้นตกและเป็นตลาดหมีนั้น ผมเองกลับไม่ใคร่แน่ใจว่ามันเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน แน่นอน มันอาจจะทำให้หุ้นตกบ้าง แต่หลาย ๆ ครั้งมันก็ไม่ได้ตกมากและหลายครั้งมันก็ไม่ได้ทำให้หุ้นตกแม้ว่าจะมีการรัฐประหารซึ่งถือว่าเป็นวิกฤติการเมืองสำคัญ ตัวอย่างเช่นในช่วง รสช. ในช่วงปี 2535 หุ้นก็ไม่ได้ตกมากมายอะไร เช่นเดียวกับช่วงของ คมช. เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตลาดหุ้นก็ไม่ได้ถูกกระทบเลย และแม้แต่ในช่วงนี้เองที่เราดูเหมือนจะมีวิกฤติการเมืองของกลุ่มพันธมิตรที่ยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่และคนพูดกันว่าหุ้นบ้านเราตกเพราะมีวิกฤติการเมือง แต่ถ้าดูกันจริง ๆ แล้ว หุ้นที่ตกนั้นก็ยังไม่ชัดว่าเกิดจากการเมืองในประเทศอย่างเดียว เพราะปัจจัยที่อาจจะมีผลมากกว่าก็คือ วิกฤติการเงินที่เกิดจากสหรัฐอเมริกาในขณะนี้ ว่าที่จริงการตกของหุ้นในบ้านเราในขณะนี้ก็ยังน้อยกว่าตลาดหุ้นในย่านเอเชียอื่นที่กำลังเจอกับตลาดหมีที่รุนแรงยิ่งกว่าตลาดหุ้นไทยเสียอีก
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเรื่องของสาเหตุของการเกิดตลาดหมีที่มีการพูดถึงและเชื่อกันในหมู่นักวิชาการและนักลงทุนทั้งหลาย แต่ผมเองนั้น หลังจากที่นั่งมองกราฟดัชนีหุ้นที่ผ่านมายาวนานผมกลับมีความคิดหรือความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งซึ่งอาจจะดูไม่ใคร่จะมีเหตุผล แต่ผมก็คิดว่าเราควรที่จะตระหนักไว้บ้าง นั่นก็คือ ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นนั้น ในระยะยาวเป็นสิบ ๆ ปีขึ้นไปจะให้ผลตอบแทนในระดับหนึ่งเช่นเฉลี่ยปีละ 10% แต่ในความเป็นจริง ผลตอบแทนในแต่ละปีหรือแต่ละช่วงผลตอบแทนของตลาดกลับไม่แน่นอนเลย อาจจะมีช่วง 4-5 ปี ที่คนลงทุนไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลยหรือขาดทุนด้วยซ้ำ เช่นเดียวกันในบางช่วงซึ่งอาจจะยาวเป็น 7-8 ปีที่คนลงทุนได้ผลตอบแทนดีมากเช่นเป็น 15% ต่อปีโดยเฉลี่ย ประเด็นก็คือ ทุกช่วงที่เราได้ผลตอบแทนดีผิดปกติคือเกินกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวมาก ก็มักจะมีวันหนึ่งที่ตลาดหุ้นจะต้องปรับตัวลงอย่างแรงเพื่อที่จะ “ดึง” ผลตอบแทนการลงทุนให้กลับลงมาอยู่ในระดับปกติ จะเป็นวันไหนนั้นบอกยากแต่สุดท้ายก็มักจะเกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่เป็นเหมือนชนวนที่จุดระเบิดให้หุ้นตกลงมาและกลายเป็นตลาดหมีอย่างที่เราเห็นอยู่ ดังนั้น เมื่อเกิดภาวะตลาดหมีขึ้น ผมจึงรู้สึกเฉย ๆ ผมไม่โทษอะไรทั้งนั้น เพราะผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องเกิดหลังจากที่ตลาดหุ้นไทยและหุ้นในเอเชียและในโลกให้ผลตอบแทนที่ดีมากเกินกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวมายาวนานหลายปี
มองอีกมุมหนึ่ง ถ้าหุ้นตกลงมามากและทำให้ผลตอบแทนระยะยาวลดลงต่ำกว่าปกติ การเข้าลงทุนซื้อหุ้นก็อาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ดี เพราะในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้า ตลาดก็อาจจะให้ผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวเพื่อที่จะชดเชยกับผลตอบแทนที่ต่ำกว่าปกติในช่วงที่ผ่านมา ด้วยความเชื่อแบบนี้ ผมจึงคิดว่า ถ้าเรามีเงินสดอยู่ในยามที่หุ้นตกลงมามาก กลยุทธ์ที่ดีก็คือ เราควรซื้อหุ้นและเก็บไว้จนตลาดปรับตัวขึ้นไปมากกว่าปกติ สิ่งนี้อาจจะ “พูดง่ายทำยาก” แต่ถ้าเราจะประสบความสำเร็จในการลงทุน เราต้องทำได้
สิ่งที่นักลงทุนในตลาดหุ้นจะต้องเจอถ้าลงทุนมานานพอสมควรก็คือภาวะ “ตลาดหมี” ที่ราคาหรือดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาอย่างหนักอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ การที่ดัชนีตลาดปรับตัวลดลงโดยทั่วไปนั้นมักจะไม่ใช่ตลาดหมีแต่เป็นภาวะที่ตลาดเกิดความผันผวนตามปกติ นิยามหรือคำเรียกภาวะที่ตลาดตกต่ำลงนั้นน่าจะแบ่งได้เป็นสามระดับดังนี้คือ ถ้าระดับการตกลงของตลาดหุ้นเท่ากับหรือต่ำกว่า 10% เรียกว่าหุ้นตกธรรมดา ถ้าหุ้นตกเกิน 10% แต่ไม่ถึง 20% เรียกว่าหุ้นปรับตัวหรือ Correction และถ้าตลาดหุ้นตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไปก็เรียกว่าตลาดหมีหรือ Bear Market
ตามสถิติในตลาดหุ้นสหรัฐนั้น ตลาดหมีเกิดขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณหกปีต่อครั้ง ในตลาดหุ้นไทยนั้น เท่าที่ผมมองคร่าว ๆ เราน่าจะเจอกับตลาดหมีไม่ต่ำกว่า 6 ครั้งในช่วง 33 ปี หรือก็คือ ประมาณทุก ๆ 5-6 ปี เราก็จะเจอหมีสักปีหนึ่งหรือพูดง่าย ๆ หมีบ้านเรามาถี่พอ ๆ กับหมีที่ตลาดหุ้นอเมริกาเหมือนกัน
สาเหตุของการเกิดตลาดหมีนั้น ในอดีตที่พบมากมีอยู่หลายเรื่อง ในช่วงต้น ๆ ในยุคที่เรายังอิงอยู่กับมาตรฐานทองคำดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องของเงินฝืด เพราะในยุคนั้นการพิมพ์แบงค์หรือสร้างเงินขึ้นมาใช้ค่อนข้างจะถูกจำกัดด้วยปริมาณทองคำที่มีอยู่ และนั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เศรษฐกิจขาดความสมดุลได้เป็นช่วง ๆ และก่อให้เกิดภาวะตลาดหมีขึ้น สาเหตุอันดับต่อมาที่ก่อให้เกิดภาวะตลาดหุ้นหมีค่อนข้างมากก็คือเรื่องของอัตราดอกเบี้ยซึ่งน่าจะอิงไปถึงเรื่องเงินเฟ้อด้วยนั่นก็คือ ตลาดหมีนั้นมักจะมากับภาวะอัตราดอกเบี้ยที่พุ่งขึ้นสูงลิ่วและอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยระยะยาว เช่นเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อก็มักจะสูงมากกว่าปกติมาก สาเหตุอันดับต่อมาก็คือเรื่องของความถูกความแพงของหุ้นโดยทั่วไป นั่นก็คือ ตลาดหมีนั้นมักจะมาในตอนที่ค่า PE ของตลาดสูงลิ่วเช่นสูงถึง 25-30 เท่า
นอกจากเรื่องของภาวะทางการเงินที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว สิ่งที่ก่อให้เกิดภาวะตลาดหมีบ่อยพอสมควรก็คือ เรื่องของภาวะวิกฤติที่เกิดขึ้นในประเทศหรือในโลกซึ่งมักจะลามไปยังประเทศอื่น ๆ ด้วย ภาวะวิกฤติที่สำคัญอันดับแรกก็คือ ภาวะสงคราม นี่คือสงครามที่คนกลัวว่าจะลุกลามใหญ่โตและกระทบกับสังคมทั่วโลก ถ้าจะพูดถึงรายชื่อสงครามที่เราพอจะจำกันได้ก็น่าจะรวมถึง สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเกาหลี สงครามเวียตนาม สงครามอ่าวหรือสงครามซัดดัมบุกคูเวต เป็นต้น
ถัดจากเรื่องสงคราม วิกฤติที่มักก่อให้เกิดตลาดหมีที่รุนแรงในระยะหลังมักจะเกิดจากวิกฤติการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศหนึ่งแล้วลามไปยังประเทศอื่น ๆ เป็นลูกโซ่อันเป็นผลจากการที่ระบบการเงินของโลกมีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิด ตัวอย่างน่าจะเริ่มจากวิกฤติการณ์ค่าเงินเม็กซิโกตกต่ำในช่วงปี 2538 ตามด้วยวิกฤติต้มยำกุ้งที่เริ่มจากประเทศไทยของเราในปี 2540 และล่าสุดก็คือ วิกฤติการณ์ซับไพร์มและการล้มของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในสหรัฐที่กำลังเกิดขึ้นในช่วงนี้
วิกฤติการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นในเมืองไทยครั้งแล้วครั้งเล่าซึ่งคนคิดว่าเป็นสิ่งที่ทำให้หุ้นตกและเป็นตลาดหมีนั้น ผมเองกลับไม่ใคร่แน่ใจว่ามันเป็นจริงมากน้อยแค่ไหน แน่นอน มันอาจจะทำให้หุ้นตกบ้าง แต่หลาย ๆ ครั้งมันก็ไม่ได้ตกมากและหลายครั้งมันก็ไม่ได้ทำให้หุ้นตกแม้ว่าจะมีการรัฐประหารซึ่งถือว่าเป็นวิกฤติการเมืองสำคัญ ตัวอย่างเช่นในช่วง รสช. ในช่วงปี 2535 หุ้นก็ไม่ได้ตกมากมายอะไร เช่นเดียวกับช่วงของ คมช. เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ตลาดหุ้นก็ไม่ได้ถูกกระทบเลย และแม้แต่ในช่วงนี้เองที่เราดูเหมือนจะมีวิกฤติการเมืองของกลุ่มพันธมิตรที่ยึดทำเนียบรัฐบาลอยู่และคนพูดกันว่าหุ้นบ้านเราตกเพราะมีวิกฤติการเมือง แต่ถ้าดูกันจริง ๆ แล้ว หุ้นที่ตกนั้นก็ยังไม่ชัดว่าเกิดจากการเมืองในประเทศอย่างเดียว เพราะปัจจัยที่อาจจะมีผลมากกว่าก็คือ วิกฤติการเงินที่เกิดจากสหรัฐอเมริกาในขณะนี้ ว่าที่จริงการตกของหุ้นในบ้านเราในขณะนี้ก็ยังน้อยกว่าตลาดหุ้นในย่านเอเชียอื่นที่กำลังเจอกับตลาดหมีที่รุนแรงยิ่งกว่าตลาดหุ้นไทยเสียอีก
ทั้งหมดนั้นก็เป็นเรื่องของสาเหตุของการเกิดตลาดหมีที่มีการพูดถึงและเชื่อกันในหมู่นักวิชาการและนักลงทุนทั้งหลาย แต่ผมเองนั้น หลังจากที่นั่งมองกราฟดัชนีหุ้นที่ผ่านมายาวนานผมกลับมีความคิดหรือความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งซึ่งอาจจะดูไม่ใคร่จะมีเหตุผล แต่ผมก็คิดว่าเราควรที่จะตระหนักไว้บ้าง นั่นก็คือ ผมเชื่อว่าตลาดหุ้นนั้น ในระยะยาวเป็นสิบ ๆ ปีขึ้นไปจะให้ผลตอบแทนในระดับหนึ่งเช่นเฉลี่ยปีละ 10% แต่ในความเป็นจริง ผลตอบแทนในแต่ละปีหรือแต่ละช่วงผลตอบแทนของตลาดกลับไม่แน่นอนเลย อาจจะมีช่วง 4-5 ปี ที่คนลงทุนไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลยหรือขาดทุนด้วยซ้ำ เช่นเดียวกันในบางช่วงซึ่งอาจจะยาวเป็น 7-8 ปีที่คนลงทุนได้ผลตอบแทนดีมากเช่นเป็น 15% ต่อปีโดยเฉลี่ย ประเด็นก็คือ ทุกช่วงที่เราได้ผลตอบแทนดีผิดปกติคือเกินกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวมาก ก็มักจะมีวันหนึ่งที่ตลาดหุ้นจะต้องปรับตัวลงอย่างแรงเพื่อที่จะ “ดึง” ผลตอบแทนการลงทุนให้กลับลงมาอยู่ในระดับปกติ จะเป็นวันไหนนั้นบอกยากแต่สุดท้ายก็มักจะเกิดเหตุการณ์อะไรบางอย่างที่เป็นเหมือนชนวนที่จุดระเบิดให้หุ้นตกลงมาและกลายเป็นตลาดหมีอย่างที่เราเห็นอยู่ ดังนั้น เมื่อเกิดภาวะตลาดหมีขึ้น ผมจึงรู้สึกเฉย ๆ ผมไม่โทษอะไรทั้งนั้น เพราะผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องเกิดหลังจากที่ตลาดหุ้นไทยและหุ้นในเอเชียและในโลกให้ผลตอบแทนที่ดีมากเกินกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวมายาวนานหลายปี
มองอีกมุมหนึ่ง ถ้าหุ้นตกลงมามากและทำให้ผลตอบแทนระยะยาวลดลงต่ำกว่าปกติ การเข้าลงทุนซื้อหุ้นก็อาจจะเป็นกลยุทธ์ที่ดี เพราะในอนาคตอีกหลายปีข้างหน้า ตลาดก็อาจจะให้ผลตอบแทนดีกว่าค่าเฉลี่ยระยะยาวเพื่อที่จะชดเชยกับผลตอบแทนที่ต่ำกว่าปกติในช่วงที่ผ่านมา ด้วยความเชื่อแบบนี้ ผมจึงคิดว่า ถ้าเรามีเงินสดอยู่ในยามที่หุ้นตกลงมามาก กลยุทธ์ที่ดีก็คือ เราควรซื้อหุ้นและเก็บไว้จนตลาดปรับตัวขึ้นไปมากกว่าปกติ สิ่งนี้อาจจะ “พูดง่ายทำยาก” แต่ถ้าเราจะประสบความสำเร็จในการลงทุน เราต้องทำได้
"ผู้ทรงธรรมนั่นแหละคือผู้ทรงเกียรติ ผู้มีความดีนั่นแหละคือผู้มีทรัพย์ ผู้รู้จักพอนั่นแหละคือมหาเศรษฐี" ว.วชิรเมธี
-
- Verified User
- โพสต์: 1254
- ผู้ติดตาม: 0
หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 6
ประกาศๆขณะนี้กองทัพหมีรัดทะประหารตลาดหุ้นได้สำเร็จแล้วขอให้ทุกท่านโปรดอยู่ในความสงบ แต่ยังคงทำอะไรหุ้นเซเว่นของท่านอ.ไม่ได้เลยนับถือๆ
- hardchi
- Verified User
- โพสต์: 346
- ผู้ติดตาม: 0
หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับทั้ง ดร. และ คุณoatty
.....โลกนี้ยังมีอันใดเร้าใจกว่าชีวิตผู้คน และความหมายของชีวิตเกิดจากประสบการณ์และช่วงเวลาอันเร้าใจ ......
.....สำเร็จล้มเหลวไม่สำคัญ ขั้นตอนของการต่อสู้ดิ้นรนจึงเร้าใจที่สุด ......
.....สำเร็จล้มเหลวไม่สำคัญ ขั้นตอนของการต่อสู้ดิ้นรนจึงเร้าใจที่สุด ......
- halfofw
- Verified User
- โพสต์: 93
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 9
งง ครับที่ ดร เขียวว่า "ถ้าเรามีเงินสดอยู่ในยามที่หุ้นตกลงมามาก กลยุทธ์ที่ดีก็คือ เราควรซื้อหุ้นและเก็บไว้จนตลาดปรับตัวขึ้นไปมากกว่าปกติ "
ในเมื่อเราเป็นนักลงทุน แล้วเราจะมีเงินสดได้งัย
เวลาหุ้นลงมันก้อลงทั้งตลาด ก้อหุ้นที่มีอยู่ในมือก้อขาดทุนไปมหาศาล
จะ cut loss แล้วไปซื้อตัวอื่นอย่างนั้นเหรอ
ในเมื่อเราเป็นนักลงทุน แล้วเราจะมีเงินสดได้งัย
เวลาหุ้นลงมันก้อลงทั้งตลาด ก้อหุ้นที่มีอยู่ในมือก้อขาดทุนไปมหาศาล
จะ cut loss แล้วไปซื้อตัวอื่นอย่างนั้นเหรอ
- songwit
- Verified User
- โพสต์: 279
- ผู้ติดตาม: 0
หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 10
คือว่าท่านหมายถึงว่าเวลา 800 จุด เมื่อต้นปี51 ชาวVI น่าจะดูออกว่ามันOVERเกินไปควรขายซะตั้งแต่ตอนนั้นงง ครับที่ ดร เขียวว่า "ถ้าเรามีเงินสดอยู่ในยามที่หุ้นตกลงมามาก กลยุทธ์ที่ดีก็คือ เราควรซื้อหุ้นและเก็บไว้จนตลาดปรับตัวขึ้นไปมากกว่าปกติ "
ในเมื่อเราเป็นนักลงทุน แล้วเราจะมีเงินสดได้งัย
เวลาหุ้นลงมันก้อลงทั้งตลาด ก้อหุ้นที่มีอยู่ในมือก้อขาดทุนไปมหาศาล
จะ cut loss แล้วไปซื้อตัวอื่นอย่างนั้นเหรอ
หรือ ก็ตอนที่ราคาตกต่ำกว่า20% ก็ควรนึกได้แล้วว่าเข้าสู่ตลาดหมี
ควรขายcut loss ซะ ตามหนังสือที่ ดร.เคยเขียนไว้ว่า..
ควรมีราคาขายในใจก่อนซื้อหุ้นนั้น ถ้าราคาหุ้นฟุ้งเกินราคานั้นแสดงว่าตลาดอยู่ในสภาวะ บ้าคลั่ง(crazy maket)ควรปล่อยของ
เวลานี้ผมอ่านงบหนักมาก กว่าปกติเพราะกำลังหาธุรกิจดีๆที่วางแบกะดิน
คาดว่าอีก1-2ปี ผมจะได้ผลตอบแทน100% สมกับความพยายาม สู้โว้ย
วิกฤติของคนส่วนใหญ คือโอกาสของคนส่วนน้อย(คนรวยมีน้อยกว่าคนจนเสมอ ไม่รู้ทำไม)
.....
มีความสุขวันนี้ ดีกว่ารอวันพรุ่งนี้
- mario
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 720
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 11
[quote="halfofw"]งง ครับที่ ดร เขียวว่า "ถ้าเรามีเงินสดอยู่ในยามที่หุ้นตกลงมามาก
The basic ideas of investing are to look at stocks as business,
use the market's fluctuations to your advantage,
and seek a margin of safety.
Investing is not about big returns ,it's about safety of principal and satisfactory returns.
use the market's fluctuations to your advantage,
and seek a margin of safety.
Investing is not about big returns ,it's about safety of principal and satisfactory returns.
-
- Verified User
- โพสต์: 332
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 12
เข้ามาอ่านกระทู้เก่าๆ เพื่อเตือนสติในการลงทุนครับ
ขอบคุณ ท่านอาจารย์นิเวศน์ครับสำหรับบทความดีๆที่ให้อ่านเสมอๆ
และขอบคุณพี่ oatty ที่นำมาเผยแพร่ด้วยครับ
ขอบคุณ ท่านอาจารย์นิเวศน์ครับสำหรับบทความดีๆที่ให้อ่านเสมอๆ
และขอบคุณพี่ oatty ที่นำมาเผยแพร่ด้วยครับ
Life is beautiful + Financial freedom within 2015 by investment stock & real estate
- Pathfinder
- Verified User
- โพสต์: 89
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 13
อ่านผ่านๆ 1 รอบผมคิดว่าเป็นบทความใหม่เพิ่งออกมาล่าสุด (ไม่ทันดูวันที่ในหัวข้อ)earthcu เขียน:เข้ามาอ่านกระทู้เก่าๆ เพื่อเตือนสติในการลงทุนครับ
ขอบคุณ ท่านอาจารย์นิเวศน์ครับสำหรับบทความดีๆที่ให้อ่านเสมอๆ
และขอบคุณพี่ oatty ที่นำมาเผยแพร่ด้วยครับ
Focusing on quality and cheapness simultaneously helps investors beat the market!
- marcus147
- Verified User
- โพสต์: 615
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 14
อาจารตย์เป็นคนที่มองภาพรวมได้ขาดจริงๆ
การลงทุนในตลาดหุ้น ไม่มีทางลัด อยากเก่ง ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
My Blog : http://marcus147.wordpress.com/
My Blog : http://marcus147.wordpress.com/
-
- Verified User
- โพสต์: 271
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 15
ถ้าเป็นนักลงทุนอย่างเดียวก็น่าจะเอาเงินปันผลมาซื้อ ส่วนการเปลี่ยนตัวถือน่าจะดูว่า หุ้นพื้นฐานดีตัวไหนลงไปต่ำกว่ามูลค่ามากกว่า แต่ถ้าเป็นนักลงทุนที่ทำงานประจำอยู่ก็น่าจะเอาเงินการการทำงานมาทยอยซื้อครับ ซึ่งมุมมองของ ดร. จะมองไปที่ระยะ 5-10 ปีขึ้นไป ไม่ใช่หุ้นตกปุ๊บ รีบหาเงินมาซื้อทันที อาจจะมีการซื้อและปรับพอร์ตจริงๆ ไม่บ่อยอย่างนักเก็งกำไรครับhalfofw เขียน:งง ครับที่ ดร เขียวว่า "ถ้าเรามีเงินสดอยู่ในยามที่หุ้นตกลงมามาก กลยุทธ์ที่ดีก็คือ เราควรซื้อหุ้นและเก็บไว้จนตลาดปรับตัวขึ้นไปมากกว่าปกติ "
ในเมื่อเราเป็นนักลงทุน แล้วเราจะมีเงินสดได้งัย
เวลาหุ้นลงมันก้อลงทั้งตลาด ก้อหุ้นที่มีอยู่ในมือก้อขาดทุนไปมหาศาล
จะ cut loss แล้วไปซื้อตัวอื่นอย่างนั้นเหรอ
-
- Verified User
- โพสต์: 2606
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 16
เราควรจะมีเงินสดเก็บเอาไว้ซักส่วนหนึ่งครับ. จะได้มีเงินเอามาซื้อตอนตลาดหมี อิอิ
-
- Verified User
- โพสต์: 1254
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 17
ขอบคุณคับ หมีมาปัญญาเกิด
เงินสดที่ท่านอ.ว่าไว้น่าจะหมายถึงเงินปันผลจากหุ้นที่ได้ลงทุนไว้กับรายได้จากงานประจำแต่ถ้าราคาหุ้นถูกมากๆจิงๆก็สามารถใช้ท่าไม้ตายได้โดยเอาหุ้นไปค้ำแล้วเอามารืจิ้นมาซ็อปปิ้งหุ้น
เงินสดที่ท่านอ.ว่าไว้น่าจะหมายถึงเงินปันผลจากหุ้นที่ได้ลงทุนไว้กับรายได้จากงานประจำแต่ถ้าราคาหุ้นถูกมากๆจิงๆก็สามารถใช้ท่าไม้ตายได้โดยเอาหุ้นไปค้ำแล้วเอามารืจิ้นมาซ็อปปิ้งหุ้น
สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบนโลกใบนี้คือความว่างเปล่า สูงจากว่างเปล่าคือก่อเกิดเปลี่ยนแปลง
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
http://www.fungdham.com/sound/popup-sou ... up-75.html
http://goo.gl/VjQ4cG
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณอ.และพี่oattyที่มาเเชร์ข้อมูลครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
-
- Verified User
- โพสต์: 2595
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หมี /ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 23 กันยายน 2551
โพสต์ที่ 20
555 Postผิดนึกว่าอยู่ในห้องร้อยคนร้อยหุ้น ขอบคุณพี่Oattyที่นำบทความมาPosttorpongpak เขียน:ขอบคุณอ.และพี่oattyที่มาเเชร์ข้อมูลครับ
คนเราจะมีความสุข มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่ามีเท่าไร เเต่ขึ้นกับว่า เราพอเมื่อไร
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o
~หลวงพ่อชา สุภัทโท~
o