คิดอย่างไรต่อระดับการเตือนภัยวินาศกรรมที่อเมริกาครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรต่อระดับการเตือนภัยวินาศกรรมที่อเมริกาครับ
โพสต์ที่ 1
อย่างที่ทราบกันครับว่า อเมริกาเพิ่มระดับการเตือนภัยวินาศกรรมจากสีเหลืองเป็นสีส้ม ถ้าหากเกิดการก่อการร้ายแรงๆที่นั่นจริง ผลกระทบต่อตลาดหุ้นบ้านเราน่าจะเป็นอย่างไรครับ
1. หุ้นตกระเนระนาด
2. หุ้นขึ้นเพราะกองทุนฝรั่งย้ายเข้ามาในตลาดที่ปลอดภัยกว่า
ขอสารภาพว่าตอนนี้ผมกำลังเล็งๆอยู่ว่าจะซื้อหุ้นให้เต็มพอร์ตดีไหม เพราะหุ้นน่าจะขึ้นจากjanuary effect หรือจะรอหลังปีใหม่ดี เพราะกลัวการก่อการร้ายครับ ขอคำแนะนำด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
1. หุ้นตกระเนระนาด
2. หุ้นขึ้นเพราะกองทุนฝรั่งย้ายเข้ามาในตลาดที่ปลอดภัยกว่า
ขอสารภาพว่าตอนนี้ผมกำลังเล็งๆอยู่ว่าจะซื้อหุ้นให้เต็มพอร์ตดีไหม เพราะหุ้นน่าจะขึ้นจากjanuary effect หรือจะรอหลังปีใหม่ดี เพราะกลัวการก่อการร้ายครับ ขอคำแนะนำด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 14783
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรต่อระดับการเตือนภัยวินาศกรรมที่อเมริกาครับ
โพสต์ที่ 2
ถ้าเป็นผม เวลาจะซื้อ ก็เลือกซื้อหุ้นที่พื้นฐานดี หมายถึง มียอดขาย มีกำไร ที่ดี หนี้สินน้อย มีประวัติของผู้บริหารที่ดี
เวลาจะซื้อ ถ้าคิดว่าจะมีเหตุการณ์ที่จะทำให้หุ้นลง เช่นการก่อการร้าย
ผมก็จะรอ ให้ราคาลงแล้วก็จะได้ซื้อเยอะๆ
ถ้าคิดว่า มกราคม จะขึ้น กลัวมันขึ้นไปมาก
ผมไม่อยากให้กลัว
เพราะความกลัว จะขึ้น ไปมาก เหมือนกลัวตกรถ ซึ่ง หลายๆคน ติดดอย เพราะกลัวตกรถ
เอาเป็นว่า กะราคาให้ดี ว่าราคาไหนถูกใจ
และแล้ว ก็ต้องรอ ร้อ รอ อย่าง ใจ เย้น เย็น
เวลาจะซื้อ ถ้าคิดว่าจะมีเหตุการณ์ที่จะทำให้หุ้นลง เช่นการก่อการร้าย
ผมก็จะรอ ให้ราคาลงแล้วก็จะได้ซื้อเยอะๆ
ถ้าคิดว่า มกราคม จะขึ้น กลัวมันขึ้นไปมาก
ผมไม่อยากให้กลัว
เพราะความกลัว จะขึ้น ไปมาก เหมือนกลัวตกรถ ซึ่ง หลายๆคน ติดดอย เพราะกลัวตกรถ
เอาเป็นว่า กะราคาให้ดี ว่าราคาไหนถูกใจ
และแล้ว ก็ต้องรอ ร้อ รอ อย่าง ใจ เย้น เย็น
- harry
- Verified User
- โพสต์: 4200
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรต่อระดับการเตือนภัยวินาศกรรมที่อเมริกาครับ
โพสต์ที่ 3
คล้ายๆกับพี่เจ๋งครับ ถ้าเราหาหุ้นดีเจอแล้วเนี่ย การเกิดเหตุการณ์แบบนี้ทำให้ราคาหุ้นลดลงอาจจะมากทีเดียว แต่ปัจจัยพื้นฐานไม่กระทบ ทำให้เราได้ของดีราคาถูก แล้วถ้ามีเงินสดเหลือก็ซื้อเก็บเข้าพอร์ตเลยครับ แล้วพอกลับเข้าภาวะปกติราคาก็ดีดขึ้นมาเหมือนเดิม
Expecto Patronum!!!!!!
-
- Verified User
- โพสต์: 627
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรต่อระดับการเตือนภัยวินาศกรรมที่อเมริกาครับ
โพสต์ที่ 4
ถ้าเป็น หุ้น เก็งกำไร ที่ราคาสูงสูง ก็ น่ากลัว ครับ
บทลง ก็ ไม่มีแนวรับ ใกล้ใกล้ เลย
แต่ถ้าเป็น หุ้นที่งบรองรับ ดีดี หาก มีการไหลลงมามากมาก ก็ เป็นโอกาส เก็บของเพิ่มครับ
ใช้ วิกฤตให้เป็นโอกาส ครับ
บทลง ก็ ไม่มีแนวรับ ใกล้ใกล้ เลย
แต่ถ้าเป็น หุ้นที่งบรองรับ ดีดี หาก มีการไหลลงมามากมาก ก็ เป็นโอกาส เก็บของเพิ่มครับ
ใช้ วิกฤตให้เป็นโอกาส ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 27
- ผู้ติดตาม: 0
Merry Christmas and Happy New Year
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ คืนนี้ก็ x-mas eve แล้วนะครับ คงจะเห็นผลอีกไม่นาน หวังว่าจะไม่มีอะไรเกิดขึ้นครับ
ขอให้ปีใหม่ปีนี้ เป็นปีที่ดีที่สุดปีหนึ่งสำหรับเมืองไทยนะครับ ให้ตลาดหุ้นไทยขึ้นมากๆ ให้ประชาชนคนไทยมีความสุข ให้โลกหมดสงคราม และให้ประชากรทั่วโลกมีความสุขและความเข้าใจอันดีต่อกันครับ
Merry Christmas and Happy New Year แด่ทุกท่านครับ
ขอให้ปีใหม่ปีนี้ เป็นปีที่ดีที่สุดปีหนึ่งสำหรับเมืองไทยนะครับ ให้ตลาดหุ้นไทยขึ้นมากๆ ให้ประชาชนคนไทยมีความสุข ให้โลกหมดสงคราม และให้ประชากรทั่วโลกมีความสุขและความเข้าใจอันดีต่อกันครับ
Merry Christmas and Happy New Year แด่ทุกท่านครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
คิดอย่างไรต่อระดับการเตือนภัยวินาศกรรมที่อเมริกาครับ
โพสต์ที่ 6
ไหนๆก็คุยเรื่องสัญญาณเตือนภัยในอเมริกา ถ้าไม่พูดถึง สงครามสหรัฐ-อิรัก ก็คงเหมือนสุกี้ที่ไม่มีน้ำจิ้ม เลยเอาบทวิจารณ์จากนสพ.กรุงเทพธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้อ่านกัน อ่านแล้วอย่างกับดูหนังของ Tom Clancy เลย
สหรัฐ - อิรัก : สงครามหน้าฉาก
วิษณุ บุญมารัตน์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
การอ้างเหตุเพื่อการทำสงคราม ของประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ เพื่อขยายจักรวรรดิเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในโลกมีมาแล้วตั้งแต่อดีต
ในสมัยกรีก นครรัฐเอเธนส์ที่อ้างตัวว่า เป็นประชาธิปไตย แต่อีกด้านหนึ่งกลับใช้การทำสงครามล่าอาณานิคมต่อนครรัฐใกล้เคียง เพื่อนำทรัพยากรจากประเทศเหล่านั้นมาหล่อเลี้ยงความมั่งคั่งให้กับตนเอง ในสมัยกลาง อ้างความเป็นศาสนาคริสต์โจมตีผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ในสมัยสงครามเย็น ใช้แนวคิดการต่อต้านคอมมิวนิสต์มาเป็นตรรกะในการทำสงคราม และจนถึงปัจจุบันอ้างกลุ่มก่อร้ายมาเป็นเป้าหมายเพื่ออ้างความชอบธรรมในการทำสงคราม
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นในสงครามแต่ละครั้งมีเหมือนกันคือ ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะของประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายนั่นเอง
ภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ ทำให้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ และอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยแผ่ขยายไปทั่วโลก สงครามยังไม่จบสิ้น แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการทำสงครามโดยกองทหารมาเป็นการทำสงครามโดยกองทุน ผ่านบรรษัทข้ามชาติ การให้เงินช่วยเหลือจากสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น World Bank ,IMF และกองทุนต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขการครอบงำเชิงนโยบายภายในประเทศกำลังพัฒนา
การเข้าไปครอบครองโดยทุนของประเทศตะวันตก เป็นเสมือนกับการสถาปนาลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องอาศัยกองทหารเข้าไปควบคุม แต่ใช้กลไกและเงื่อนไขของลัทธิเศรษฐกิจแบบทุนนิยมดูดซับมูลค่าส่วนเกินจากประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ทำให้เกิดการต่อต้านและเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 เนื่องจากตึกเวิร์ลเทรด ถือเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยม อันเป็นผลให้สหรัฐส่งกองกำลังไปโจมตีอัฟกานิสถาน และอิรัก
โดยอ้างว่า ประเทศเหล่านี้เกี่ยวข้องหรือให้การขบวนการโจรก่อการร้าย ความจริงนั้นการทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย และการส่งกองทหารไปโจมตีอัฟกานิสถานกับอิรักของสหรัฐสาเหตุมีมาจากเหตุการณ์ 11 กันยายน จริงหรือ?
การที่สหรัฐ ก่อสงครามกับประเทศอย่างอัฟกานิสถานและอิรัก โดยใช้ตรรกะว่า เป็นการทำสงครามเพื่อตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คงจะไม่เพียงพอที่จะอธิบายให้เหตุผลได้อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะเหตุการณ์นี้และอาจเป็นเหตุผลที่ง่ายเกินไป ซึ่งการสร้างวาทกรรมเพื่อหลุดจากการครอบงำของตะวันตกของกลุ่มนักวิชาการสายเศรษฐศาสตร์การเมือง นักทฤษฎีแบบพึ่งพา รวมทั้งนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก ถึงแม้การทำสงครามครั้งนี้อยู่บนฐานของความต้องการยึดครองดินแดน เพื่อหวังครอบครองน้ำมันของประเทศตะวันออกกลางอย่างอิรัก และอัฟกานิสถานก็ตาม แต่ควรมองตรรกะการทำสงครามของสหรัฐให้ลึกลงไปกว่านี้
ในที่นี้ผู้เขียนเสนอว่า การทำสงครามสหรัฐ - อิรัก เป็นการทำสงครามหน้าฉากปิดบังการดิ้นรน เพื่อรักษาสถานะความเป็นประเทศมหาอำนาจหนึ่งเดียวของสหรัฐ จากภัยคุกคามที่แท้จริงคือ การเติบโตและการขยายอิทธิพลของประเทศจีน
เป็นที่ทราบกันดีว่า นับตั้งแต่จีนได้เปิดประเทศ ระบบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของจีนเติบโตขึ้นมาก มีผลต่อความมั่นคงและมั่งคั่งของสหรัฐอย่างยิ่ง การทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่สหรัฐกระทำต่ออัฟกานิสถานและอิรัก จึงเป็นข้ออ้างในการทำสงครามลวงของสหรัฐเพื่อปิดล้อมจีน เพื่อสกัดกั้นการเจริญเติบโตทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับโลก เพราะจีนกำลังขยายบทบาทตัวเอง โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียขึ้นเป็นผู้นำแทนที่ญี่ปุ่น
โดยเฉพาะบทบาทภายหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเอเชียปี 2540 จีนได้แสดงบทบาทผู้นำ โดยเฉพาะการไม่ลดค่าเงินหยวน ในขณะที่ญี่ปุ่นกำลังอ่อนเปลี้ยเพราะเศรษฐกิจภายในของตัวเอง ไม่มีหวังที่ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการกอบกู้เศรษฐกิจเอเชียได้
สหรัฐตระหนักถึงอานุภาพการขยายตัวทางอำนาจของจีนเป็นอย่างดี ในกรณีสงครามเวียดนาม ถ้าเวียดนามไม่มีจีนให้การสนับสนุนไม่มีทางที่จะชนะสหรัฐได้ สหรัฐจึงจับตาดูการเจริญเติบโตของจีนอย่างระมัดระวัง ดังนั้นการที่สหรัฐ อ้างเหตุปราบการก่อการร้ายไปโจมตีอัฟกานิสถานและอิรัก จึงมิใช่เป็นความบังเอิญ แต่เป็นการวางแผนมาเนิ่นนานมาแล้ว
นี่เองจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในยุคหลังสงครามเย็น ที่เชื่อกันว่าระบบเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์จะใช้การทำสงครามทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยบรรษัทข้ามชาติไปยึดดินแดนแทนการใช้กองทหารนั้น แต่ทำไมสหรัฐ กลับขวนขวายกระตือรือร้นทำสงคราม โดยใช้กองทหารเข้ายึดดินแดน ซึ่งเป็นรูปแบบการล่าอาณานิคมแบบเก่าๆ เนื่องจากการทำสงครามในครั้งนี้เป็นการเริ่มสงครามยุคหลังการล่าอาณานิคมใหม่นั่นเอง
เหตุผลที่สนับสนุนสมมติฐานดังกล่าวมี 2 ประการคือ
ประการแรก ระบบเศรษฐกิจแบบการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจโดยการใช้ตลาดเสรี และการส่งออกทุนข้ามชาติใช้ไม่ได้กับประเทศที่รู้ทันเจตจำนงค์ที่แท้จริงในการเข้ามาครอบงำของสหรัฐ และประเทศที่มีประเทศยักษ์ใหญ่หนุนหลังอยู่ เช่น อัฟกานิสถานและอิรัก ซึ่งมีรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตในอดีตคอยช่วยเหลือ โดยเฉพาะการค้าอาวุธซึ่งมีต่อกันมาเนิ่นนานแล้ว ดังนั้นการแผ่อิทธิพลของสหรัฐ จึงไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งโลก เพราะถูกประเทศเหล่านี้ขัดขวางนโยบายโลกหนึ่งเดียว ของสหรัฐอยู่
หลังจากปี 2534 ที่สหภาพโซเวียตได้แตกแยกออกเป็นประเทศเล็กๆ ได้ ส่งผลทำให้ทั้งอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศและทางเศรษฐกิจของรัสเซียลดน้อยลง จนกลายเป็นประเทศขนาดกลางไม่มีอำนาจมากพอที่จะยับยั้งการทำสงครามของสหรัฐได้ สถานะของรัสเซียจึงอยู่ในขั้นที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐเหมือนดังในสมัยสงครามเย็นอีกต่อไป
ตรงกันข้ามกับ จีน ที่กำลังโตวันโตคืน จนสหรัฐถือว่าเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เองนี้ก็คงจะพอมองออกว่า ทำไมสหรัฐจึงยังไม่ทำสงครามกับเกาหลีเหนือ ทั้งนี้เนื่องจากเกาหลีเหนือยังคงได้รับการหนุนหลังจากประเทศจีนอยู่
ประการที่สอง การทำการค้าของสหรัฐสู้ประเทศจีนไม่ได้ เพราะจีนมีศักยภาพในการผลิตสูงกว่าสหรัฐมาก ดังนั้นสินค้าของจีนซึ่งเป็นสินค้ามวลชน ที่ตีตลาดไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่สหรัฐเอง ระบบเศรษฐกิจสหรัฐจึงถูกกัดกร่อนด้วยเหตุนี้ ดังนั้นระบบการค้าการลงทุน ซึ่งนำโดยอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ จึงไม่สามารถเจาะทะลุตลาดจีนได้ ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐนับวันถดถอยลงเรื่อยๆ ขณะที่เศรษฐกิจจีนโตวันโตคืนเป็นปฏิภาคผกผันกัน
ดังนั้นการอ้างการทำสงครามก่อการร้าย และการยกกองกำลังเข้าบุกอัฟกานิสถานและอิรักของสหรัฐ ที่จริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกันคือความพยายามจัดระเบียบโลกใหม่ เพื่อสกัดกั้นการแผ่อิทธิพลของจีน การอ้างการทำสงครามกับผู้ก่อการร้ายในประเทศต่างๆ จึงเป็นหน้าฉาก ที่สหรัฐต้องการปิดบังวาระซ่อนเร้น คือ ศัตรูของสหรัฐไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่เป็นจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด แต่จีนเป็นประเทศที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับสหรัฐ โชคร้ายจึงตกไปอยู่กับประเทศที่เป็นทางผ่านแทน
การจัดระเบียบโลกใหม่มักเกิดขึ้นภายหลังสงครามแต่ละครั้งสิ้นสุดลง โดยจะมีประเทศมหาอำนาจเกิดขึ้นใหม่เพื่อชี้นำชาวโลก ขณะที่มหาอำนาจเก่าเสื่อมสลายลง ในยุคโลกาภิวัตน์หากการทำสงครามทางเศรษฐกิจสิ้นสุดลง ใครจะเป็นมหาอำนาจระหว่างสหรัฐเจ้าของตำแหน่งเดิมกับจีน ที่กำลังก้าวออกจากม่านไม้ไผ่เผยโฉมสู่เวทีระหว่างประเทศอย่างเงียบๆ และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของสหรัฐในเวลานี้
สหรัฐ - อิรัก : สงครามหน้าฉาก
วิษณุ บุญมารัตน์ สถาบันราชภัฏสวนดุสิต
การอ้างเหตุเพื่อการทำสงคราม ของประเทศมหาอำนาจยักษ์ใหญ่ เพื่อขยายจักรวรรดิเพื่อความเป็นหนึ่งเดียวในโลกมีมาแล้วตั้งแต่อดีต
ในสมัยกรีก นครรัฐเอเธนส์ที่อ้างตัวว่า เป็นประชาธิปไตย แต่อีกด้านหนึ่งกลับใช้การทำสงครามล่าอาณานิคมต่อนครรัฐใกล้เคียง เพื่อนำทรัพยากรจากประเทศเหล่านั้นมาหล่อเลี้ยงความมั่งคั่งให้กับตนเอง ในสมัยกลาง อ้างความเป็นศาสนาคริสต์โจมตีผู้ที่นับถือศาสนาอื่น ในสมัยสงครามเย็น ใช้แนวคิดการต่อต้านคอมมิวนิสต์มาเป็นตรรกะในการทำสงคราม และจนถึงปัจจุบันอ้างกลุ่มก่อร้ายมาเป็นเป้าหมายเพื่ออ้างความชอบธรรมในการทำสงคราม
ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ผลที่เกิดขึ้นในสงครามแต่ละครั้งมีเหมือนกันคือ ความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน โดยเฉพาะของประเทศที่ไม่ใช่ประเทศมหาอำนาจทั้งหลายนั่นเอง
ภายหลังสิ้นสุดสงครามเย็น ภายใต้กระบวนการโลกาภิวัตน์ ทำให้ลัทธิเสรีนิยมใหม่ และอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตยแผ่ขยายไปทั่วโลก สงครามยังไม่จบสิ้น แต่ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการทำสงครามโดยกองทหารมาเป็นการทำสงครามโดยกองทุน ผ่านบรรษัทข้ามชาติ การให้เงินช่วยเหลือจากสถาบันการเงินต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น World Bank ,IMF และกองทุนต่างๆ ภายใต้เงื่อนไขการครอบงำเชิงนโยบายภายในประเทศกำลังพัฒนา
การเข้าไปครอบครองโดยทุนของประเทศตะวันตก เป็นเสมือนกับการสถาปนาลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องอาศัยกองทหารเข้าไปควบคุม แต่ใช้กลไกและเงื่อนไขของลัทธิเศรษฐกิจแบบทุนนิยมดูดซับมูลค่าส่วนเกินจากประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ทำให้เกิดการต่อต้านและเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน 2544 เนื่องจากตึกเวิร์ลเทรด ถือเป็นสัญลักษณ์ของระบบทุนนิยม อันเป็นผลให้สหรัฐส่งกองกำลังไปโจมตีอัฟกานิสถาน และอิรัก
โดยอ้างว่า ประเทศเหล่านี้เกี่ยวข้องหรือให้การขบวนการโจรก่อการร้าย ความจริงนั้นการทำสงครามกับกลุ่มก่อการร้าย และการส่งกองทหารไปโจมตีอัฟกานิสถานกับอิรักของสหรัฐสาเหตุมีมาจากเหตุการณ์ 11 กันยายน จริงหรือ?
การที่สหรัฐ ก่อสงครามกับประเทศอย่างอัฟกานิสถานและอิรัก โดยใช้ตรรกะว่า เป็นการทำสงครามเพื่อตอบสนองต่อระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม คงจะไม่เพียงพอที่จะอธิบายให้เหตุผลได้อย่างครอบคลุม โดยเฉพาะเหตุการณ์นี้และอาจเป็นเหตุผลที่ง่ายเกินไป ซึ่งการสร้างวาทกรรมเพื่อหลุดจากการครอบงำของตะวันตกของกลุ่มนักวิชาการสายเศรษฐศาสตร์การเมือง นักทฤษฎีแบบพึ่งพา รวมทั้งนักวิชาการด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกระแสหลัก ถึงแม้การทำสงครามครั้งนี้อยู่บนฐานของความต้องการยึดครองดินแดน เพื่อหวังครอบครองน้ำมันของประเทศตะวันออกกลางอย่างอิรัก และอัฟกานิสถานก็ตาม แต่ควรมองตรรกะการทำสงครามของสหรัฐให้ลึกลงไปกว่านี้
ในที่นี้ผู้เขียนเสนอว่า การทำสงครามสหรัฐ - อิรัก เป็นการทำสงครามหน้าฉากปิดบังการดิ้นรน เพื่อรักษาสถานะความเป็นประเทศมหาอำนาจหนึ่งเดียวของสหรัฐ จากภัยคุกคามที่แท้จริงคือ การเติบโตและการขยายอิทธิพลของประเทศจีน
เป็นที่ทราบกันดีว่า นับตั้งแต่จีนได้เปิดประเทศ ระบบเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของจีนเติบโตขึ้นมาก มีผลต่อความมั่นคงและมั่งคั่งของสหรัฐอย่างยิ่ง การทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายที่สหรัฐกระทำต่ออัฟกานิสถานและอิรัก จึงเป็นข้ออ้างในการทำสงครามลวงของสหรัฐเพื่อปิดล้อมจีน เพื่อสกัดกั้นการเจริญเติบโตทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจในระดับโลก เพราะจีนกำลังขยายบทบาทตัวเอง โดยเฉพาะภูมิภาคเอเชียขึ้นเป็นผู้นำแทนที่ญี่ปุ่น
โดยเฉพาะบทบาทภายหลังวิกฤตการณ์เศรษฐกิจในเอเชียปี 2540 จีนได้แสดงบทบาทผู้นำ โดยเฉพาะการไม่ลดค่าเงินหยวน ในขณะที่ญี่ปุ่นกำลังอ่อนเปลี้ยเพราะเศรษฐกิจภายในของตัวเอง ไม่มีหวังที่ลุกขึ้นมาเป็นผู้นำในการกอบกู้เศรษฐกิจเอเชียได้
สหรัฐตระหนักถึงอานุภาพการขยายตัวทางอำนาจของจีนเป็นอย่างดี ในกรณีสงครามเวียดนาม ถ้าเวียดนามไม่มีจีนให้การสนับสนุนไม่มีทางที่จะชนะสหรัฐได้ สหรัฐจึงจับตาดูการเจริญเติบโตของจีนอย่างระมัดระวัง ดังนั้นการที่สหรัฐ อ้างเหตุปราบการก่อการร้ายไปโจมตีอัฟกานิสถานและอิรัก จึงมิใช่เป็นความบังเอิญ แต่เป็นการวางแผนมาเนิ่นนานมาแล้ว
นี่เองจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมในยุคหลังสงครามเย็น ที่เชื่อกันว่าระบบเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์จะใช้การทำสงครามทางเศรษฐกิจ โดยอาศัยบรรษัทข้ามชาติไปยึดดินแดนแทนการใช้กองทหารนั้น แต่ทำไมสหรัฐ กลับขวนขวายกระตือรือร้นทำสงคราม โดยใช้กองทหารเข้ายึดดินแดน ซึ่งเป็นรูปแบบการล่าอาณานิคมแบบเก่าๆ เนื่องจากการทำสงครามในครั้งนี้เป็นการเริ่มสงครามยุคหลังการล่าอาณานิคมใหม่นั่นเอง
เหตุผลที่สนับสนุนสมมติฐานดังกล่าวมี 2 ประการคือ
ประการแรก ระบบเศรษฐกิจแบบการล่าอาณานิคมทางเศรษฐกิจโดยการใช้ตลาดเสรี และการส่งออกทุนข้ามชาติใช้ไม่ได้กับประเทศที่รู้ทันเจตจำนงค์ที่แท้จริงในการเข้ามาครอบงำของสหรัฐ และประเทศที่มีประเทศยักษ์ใหญ่หนุนหลังอยู่ เช่น อัฟกานิสถานและอิรัก ซึ่งมีรัสเซียหรือสหภาพโซเวียตในอดีตคอยช่วยเหลือ โดยเฉพาะการค้าอาวุธซึ่งมีต่อกันมาเนิ่นนานแล้ว ดังนั้นการแผ่อิทธิพลของสหรัฐ จึงไม่สามารถครอบคลุมได้ทั้งโลก เพราะถูกประเทศเหล่านี้ขัดขวางนโยบายโลกหนึ่งเดียว ของสหรัฐอยู่
หลังจากปี 2534 ที่สหภาพโซเวียตได้แตกแยกออกเป็นประเทศเล็กๆ ได้ ส่งผลทำให้ทั้งอำนาจทางการเมืองระหว่างประเทศและทางเศรษฐกิจของรัสเซียลดน้อยลง จนกลายเป็นประเทศขนาดกลางไม่มีอำนาจมากพอที่จะยับยั้งการทำสงครามของสหรัฐได้ สถานะของรัสเซียจึงอยู่ในขั้นที่ไม่เป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐเหมือนดังในสมัยสงครามเย็นอีกต่อไป
ตรงกันข้ามกับ จีน ที่กำลังโตวันโตคืน จนสหรัฐถือว่าเป็นคู่แข่งอันดับหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เองนี้ก็คงจะพอมองออกว่า ทำไมสหรัฐจึงยังไม่ทำสงครามกับเกาหลีเหนือ ทั้งนี้เนื่องจากเกาหลีเหนือยังคงได้รับการหนุนหลังจากประเทศจีนอยู่
ประการที่สอง การทำการค้าของสหรัฐสู้ประเทศจีนไม่ได้ เพราะจีนมีศักยภาพในการผลิตสูงกว่าสหรัฐมาก ดังนั้นสินค้าของจีนซึ่งเป็นสินค้ามวลชน ที่ตีตลาดไปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่สหรัฐเอง ระบบเศรษฐกิจสหรัฐจึงถูกกัดกร่อนด้วยเหตุนี้ ดังนั้นระบบการค้าการลงทุน ซึ่งนำโดยอุดมการณ์เสรีนิยมใหม่ จึงไม่สามารถเจาะทะลุตลาดจีนได้ ทำให้เศรษฐกิจของสหรัฐนับวันถดถอยลงเรื่อยๆ ขณะที่เศรษฐกิจจีนโตวันโตคืนเป็นปฏิภาคผกผันกัน
ดังนั้นการอ้างการทำสงครามก่อการร้าย และการยกกองกำลังเข้าบุกอัฟกานิสถานและอิรักของสหรัฐ ที่จริงแล้วเป็นเรื่องเดียวกันคือความพยายามจัดระเบียบโลกใหม่ เพื่อสกัดกั้นการแผ่อิทธิพลของจีน การอ้างการทำสงครามกับผู้ก่อการร้ายในประเทศต่างๆ จึงเป็นหน้าฉาก ที่สหรัฐต้องการปิดบังวาระซ่อนเร้น คือ ศัตรูของสหรัฐไม่ใช่ผู้ก่อการร้าย แต่เป็นจีน ซึ่งเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุด แต่จีนเป็นประเทศที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับสหรัฐ โชคร้ายจึงตกไปอยู่กับประเทศที่เป็นทางผ่านแทน
การจัดระเบียบโลกใหม่มักเกิดขึ้นภายหลังสงครามแต่ละครั้งสิ้นสุดลง โดยจะมีประเทศมหาอำนาจเกิดขึ้นใหม่เพื่อชี้นำชาวโลก ขณะที่มหาอำนาจเก่าเสื่อมสลายลง ในยุคโลกาภิวัตน์หากการทำสงครามทางเศรษฐกิจสิ้นสุดลง ใครจะเป็นมหาอำนาจระหว่างสหรัฐเจ้าของตำแหน่งเดิมกับจีน ที่กำลังก้าวออกจากม่านไม้ไผ่เผยโฉมสู่เวทีระหว่างประเทศอย่างเงียบๆ และเป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของสหรัฐในเวลานี้