ข้อสงสัยกับธุรกิจการประกันัย

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
Image&Word
Verified User
โพสต์: 82
ผู้ติดตาม: 0

ข้อสงสัยกับธุรกิจการประกันัย

โพสต์ที่ 1

โพสต์

สวัสดีครับ
ผมถามผู้รู้เกี่ยวกับประกันภัยหน่อยครับ

ผมสงสัยเรื่อง เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้และสำรองค่าสินไหมทดแทนที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ :?:

ทำไมแต่ละบ. มีตัวเลขที่ต่างกันมาก ไม่ทราบว่า มีกฎเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ :?:

หากบริษัทใดกำหนดค่าดังกล่าวมาก จะทำให้ หนี้สินเกิดชึ้นมากและดูเหมือนผลประกอบการไม่ดีเลยทั้งที่ตามความเข้าใจของผม หากไม่มีการสูญเสียหรือความเสียหายต่อผู้เอาประกัน ทั้งหมดนี้หรือบางส่วนก็จะกลับมาเป็นรายได้ ใช่หรือไม่ ทังหมดยังส่งผลถึงค่า Book Value ด้วย :shock:


จะสังเกตง่าย ๆ จาก TIP และ PHA ที่มีสัดส่วนทั้งสองนี้แตกต่างกันสิ้นเชิง BV จึงแตกต่างกันด้วย
ช่วยแนะนำหน่อยครับ
ผมเข้าใจอาไรผิดหรือเปล่า :oops:
ขอบคุณครับ
Nothing Impossible
Just Image and Do it.
Image&Words
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

ข้อสงสัยกับธุรกิจการประกันัย

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ผมสงสัยเรื่อง เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้และสำรองค่าสินไหมทดแทนที่ยังไม่ถือเป็นรายได้  

ทำไมแต่ละบ. มีตัวเลขที่ต่างกันมาก ไม่ทราบว่า มีกฎเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่  
เงินสำรองเบี้ยประกันที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ คือเบี้ยประกันที่รับไปแล้วแต่ความคุ้มครองเลยงวดบัญชีออกไป เช่น เบี้ยประกันรับในปีนี้ 1000 บาท คุ้มครองในปี ก.ค. 2548 ถึง มิ.ย. 2549 บริษัท บริษัทได้เบี้ยประกันและรับรู้เป็นรายได้เต็มในปี 2548 แต่อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงในการคุ้มครองกับกรมธรรม์ยังมีอยู่ดังนั้นต้องมีการสำรองความเสี่ยงนั้นไว้ 500 บาท ซึ่งจะอยู่ในบัญชีนี้แหละครับ ถ้าเป็นรายการทางบัญชีก็จะประมาณงี้ครับ

Dr.  เงินสด  1000
  Cr.  เบี้ยประกันรับ  1000
Dr.  เงินสำรองเบี้ยประกันที่ยังไม่ถือเป็นรายได้เพิ่ม (บัญชีในงบกำไรขาดทุน)   500
  Cr.  เงินสำรองเบี้ยประกันที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ (บัญชีงบดุลส่วนของหนี้สิน) 500

ลองไปดูในงบกำไรขาดทุนจะเห็นบัญชีนี้ครับ

ส่วนสำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมค้างจ่าย (ไม่น่ามีคำว่าที่ยังไม่ถือเป็นรายได้นะ) ก็แปลว่าบริษัทโดน claim อะดิแต่ยังไม่ได้จ่ายเงินออกไป ถ้าบริษัทไหนมีมากกว่าก็จะมี claim ratio สูงกว่าทำให้กำไรน้อยลงครับ

แต่ขอบอกว่าเวลาดูหุ้นประกัน ดูที่ หนี้สินกับ BV ตามหลักบัญชีมันจะเพี้ยนๆ ครับ แนะให้เวลาเทียบกันให้บวกเจ้าเงินสำรองเบี้ยประกันที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ กลับไปใน BOOK ก่อนเพราะจริงๆ มันไม่ใช่หนี้สินหรอก มันควรเป็น equity มากกว่า เพียงแต่บังเอิญว่าลักษณะการเก็บเบี้ยประกันบางทีมันเก็บเป็นงวดๆ มากกว่า

งงมั้ยเนี่ยะ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
Image&Word
Verified User
โพสต์: 82
ผู้ติดตาม: 0

ข้อสงสัยกับธุรกิจการประกันัย

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ได้ความกระจ่างแล้วครับ  :idea:
แล้วสัดส่วนในการกำหนดเงินสำรองทั้งสองส่วนนั้นจะต้องกำหนดไว้อย่างไร มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่นอนหรือไม่
หากเป็นเช่นนี้แล้ว บ. ใดสำรองเงินไว้มากก้อจะแสดงให้เห็นถึงหนี้สิน(ซึ่งจริง ๆ แล้วเงินสำรองไม่ใช่หนี้สิน) สูงผิดปกติ อาจส่งผลให้ภาพลักษณ์ของ บ. ไม่ดี ทั้งที่การสำรองมากย่อมเป็นเรื่องดี

แล้วตัวแปร ROE และ ROTC ก้อคงจะใช้ในการดูความสามารถของ บ. ไม่ได้นะสิ เพราะมันตรงข้ามหรือขัดกัน เพราะมันสูงมากและต่ำมาก ตามลำดับ เเน่องจากคอนเซปต์ของ ลุงวอเรนท์ แนะนำให้มองหุ้นที่มีค่า ROE ROTC มีค่าสูงและสอดคล้องกัน

ผู้ใดเคยอ่านวิธีการมองหุ้นธุรกิจประกัน ของวอเรนท์ ช่วยชี้แนะเป็นวิทยาการหน่อยละกันนะครับ

ขอบคุณครับ
Nothing Impossible
Just Image and Do it.
Image&Words
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

ข้อสงสัยกับธุรกิจการประกันัย

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ได้ความกระจ่างแล้วครับ  
แล้วสัดส่วนในการกำหนดเงินสำรองทั้งสองส่วนนั้นจะต้องกำหนดไว้อย่างไร มีกำหนดกฎเกณฑ์ที่แน่นอนหรือไม่
น่าจะตามอายุของกรมธรรม์นะครับ แต่หลักเกณฑ์รายละเอียดอาจต้องไปหาในกฎของกรมประกันภัยเค้าดูนะ
หากเป็นเช่นนี้แล้ว บ. ใดสำรองเงินไว้มากก้อจะแสดงให้เห็นถึงหนี้สิน(ซึ่งจริง ๆ แล้วเงินสำรองไม่ใช่หนี้สิน) สูงผิดปกติ อาจส่งผลให้ภาพลักษณ์ของ บ. ไม่ดี ทั้งที่การสำรองมากย่อมเป็นเรื่องดี
ไม่มีใครสำรองเกินกฎหมายกำหนดหรอกมั้ง แต่จริงๆ เค้าก็เอาเงินไปลงทุนต่อนั่นแหละครับ ไม่ได้ดองเอาไว้หรอก
แล้วตัวแปร ROE และ ROTC ก้อคงจะใช้ในการดูความสามารถของ บ. ไม่ได้นะสิ เพราะมันตรงข้ามหรือขัดกัน เพราะมันสูงมากและต่ำมาก ตามลำดับ เเน่องจากคอนเซปต์ของ ลุงวอเรนท์ แนะนำให้มองหุ้นที่มีค่า ROE ROTC มีค่าสูงและสอดคล้องกัน
ROTC และ ROE ยังเป็น concept ที่ใช้ได้อยู่ครับ เพียงแต่แนะนำให้เอาส่วนที่ผิดเพี้ยนบางส่วน (ในกรณีนี้คือเงินสำรองเบี้ยประกันที่ว่านั้นเอง) บวกกลับไปในเจ้าตัว E เท่านั้นเอง ถ้า ROTC และ ROE สูงต่อเนื่องกันก็น่าสนใจ แต่พวกนี้มันต้องเปรียบเทียบกับพวกเดียวกันนะครับ ถ้าเอาประกันไปเทียบกับโรงผลิตไฟฟ้าก็คงไม่ได้ ถ้าเราเข้าใจว่าทำไมถึงมีเจ้าเงินสำรองที่ว่าเนี่ยะ และใช้สูตรเดียวกันในการเปรียบเทียบก็ทำให้สามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้นครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

ข้อสงสัยกับธุรกิจการประกันัย

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ข้อมูลเพิ่มเติมครับ

จากพระราชบัญญัติประกันวินาศภัยปี 2535
มาตรา 23 ให้บริษัทจัดสรรเงินสำรองดังนี้
1. เงินสำรองสำหรับเบี้ยประกันที่ยังไม่ตกเป็นรายได้ของบริษัท
2. เงินสำรองสินไหมทดแทน และ
3. เงินสำรองเพื่อการอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

การจัดสรรทรัพย์สินไว้เป็นเงินสำรองตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด

ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เป็นเงินสำรองตามวรรคหนึ่ง จะเป็น เงินสด หรือพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือ ทรัพย์สินอื่นตามที่รัฐบาลประกาศกำหนดก็ได้
มาตรา 27 บริษัทต้องดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของเบี้ยประกันภัยสุทธิที่ได้รับทั้งหมดสำหรับปีปฎิทินที่ล่วงแล้ว แต่ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

ข้อสงสัยกับธุรกิจการประกันัย

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เพิ่มเติมข้อที่หนึ่ง
มีเครดิตให้คนเก็บประมาณหนึ่งเดือนหลังจากหลังการประกันภัย
ว่าจะต่อก่อนหรือเปล่า
ตัวนี้สำหรับนายหน้า ตัวแทน และบริษัทนายหน้าประกันภัย
ในการส่งเงิน เลยทำให้เป็นเงินที่ยังไม่ถือเป็นรายได้
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
ayethebing
Verified User
โพสต์: 2125
ผู้ติดตาม: 0

ข้อสงสัยกับธุรกิจการประกันัย

โพสต์ที่ 7

โพสต์

ถ้าเป็นงั้นน่าจะลงเป็นเบี้ยประกันรับล่วงหน้ามากกว่า เป็นบัญชีในงบดุลฝั่งสินทรัพย์ครับ
ขอนไม้อันนิ่งสงบ
โพสต์โพสต์