อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เห็นพี่ ๆ เพื่อน ๆในห้องนี้ได้ Post ธุรกิจโรงแรมไว้ ซึ่งผมอ่านแล้วทำให้ได้ความรู้อย่างมาก ผมอยากทราบว่าช่วงนี้ธุรกิจโรงแรมยังเป็นธุรกิจที่น่าสนใจมากน้อยเพียงใดครับ เห็นมีการปรับปรุง ต่อเติม และสร้างโรงแรมใหม่ในแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมาก และมีการเปิดโรงแรมใหม่ ๆ 5 ดาวจำนวนมาก และที่ผมสังเกตคือ มีการทะยอยเปิดโรงแรมที่เชียงใหม่ ภูเก็ต เกาะสมุย เพิ่มมากขึ้น รวมถึง มีกลุ่มทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากสิงคโปร์ได้แก่กลุ่ม แคปปิตอลแลนด์ ที่เข้ามาร่วมกับกลุ่มเบียร์ช้าง เข้ามาสร้างสีสรรในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ซึ่งรวมถึงธุรกิจสำนักงาน และธุรกิจโรงแรมเพิ่มเติม โดยเฉพาะโรงแรมระดับ 5-6 ดาว ไม่ทราบว่าเพื่อน ๆ คาดการณ์ผลประกอบการของธุรกิจโรงแรมเป็นเช่นไรบ้างครับ ขอความเห็นหน่อยนะครับ เพราะอยากจะลงทุนในกลุ่มนี้เพิ่มเติมครับ
teetotal
Verified User
โพสต์: 1667
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

เสริมด้วยมุมมองเล็กๆนะครับ

ผมคิดว่า กิจการที่เป็นโรงแรมเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะสู้กับ
กิจการที่เป็นโรงแรมด้วย+อาหารด้วยไม่ได้นะครับ

ไม่รู้คนอื่นคิดอย่างไร
คงไม่มีใคร หาเงินมากมาย ไว้ยัดใส่โลงศพตัวเอง
.........
เชิญรับแจก เมล็ดพันธุ์พืชนานาชนิดได้ที่
http://www.kasetporpeang.com/forums/ind ... board=22.0
เชิญฟังธรรมฟรี ที่ http://www.fungdham.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
Rocker
Verified User
โพสต์: 4526
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

teetotal เขียน:เสริมด้วยมุมมองเล็กๆนะครับ

ผมคิดว่า กิจการที่เป็นโรงแรมเพียงอย่างเดียวไม่น่าจะสู้กับ
กิจการที่เป็นโรงแรมด้วย+อาหารด้วยไม่ได้นะครับ

ไม่รู้คนอื่นคิดอย่างไร
คิดเช่นกันครับ ก็ไม่น่าสู้ centel & mint ได้นะครับ


______________
กระบี่อยุ่ที่ใจ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ม้าเฉียว
Verified User
โพสต์: 350
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

โรงแรมถ้าไม่ใช่ Chain อยู่ยากครับ เหนื่อยหน่อย และดูเหมือนตอนนี้กำลังจะ Over Supply ชอบกลนะ แต่ยังไม่ออกอาการมากเท่าไหร่ เพราะหลายแห่งทีเปิดใหม่เป็นพวก Chain และคุณภาพดี ซึ่งยังพอมีพื้นที่ให้เล่น แต่กลุ่มที่มีคุณภาพด้อยลงมาก็จะลำบากมากขึ้น จนอาจตายได้ในไม่ช้าครับ อย่างที่เชียงใหม่โรงแรมดีๆเกิดขึ้นเยอะครับ ธุรกิจก็ไปได้ดีเลยทีเดียว เพราะไปแย่งตลาดจากโรงแรมดังเดิมที่อ่อนแรงไปทุกที่ แต่อย่างไรก็ตามหาก Supply ยังไม่มีที่ท่าว่าจะไม่หยุดอย่างนี้ ก็ต้องมีคนบาดเจ็บล้มตายแน่ สำหรับพวกที่อยู่ในตลาดหุ้นก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะส่วนใหญ่แบรนด์ติดตลาดแล้ว เครือข่ายกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็น
OHTL ดีไม่เสื่อม ชื่อเอาไปขายอะไรก็ดีไปหมด แม้แต่ซักรีด
MINT ทรัพย์สินดี เติบโตดี know howเกิดแล้ว เอาไปขายต่อได้
DTC  เริ่มมั่นใจแล้วว่า ขาย Know how ได้
Centel โรงแรมยังไม่โดนใจเท่าไหร่ ยกเว้น โซฟิเทล เซ็นทรัล หัวหิน (เสียดาย คุณบิล ไฮเน็กกี้ พลาดไปได้ไง) แต่ก็พอไปได้เรื่อยๆ
GRAND ทะแม่งๆ ขายคอนโด ควบโรงแรม รอดู The Sail หน่อยซิ
Erawan พยายามดิ้นเติบโตจริงๆ
LRH เมื่อไหร่ภูเก็ตจะกลับมาเหมือนเดิมหนอ ฉันรออยู่นะ (ที่ดินก็รอพัฒนาอยู่เพียบเลยจ๊ะ)
Mr. Big
Verified User
โพสต์: 1913
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

คงหาใครเทียบ MINT CENTEL ยากนะครับ แต่ ERAWAN หวังจะ turnaround ได้เหมือนกัน
CK
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 9795
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

ขอเสนอความเห็นแบบสเนกสเนกฟิชฟิชนะครับ

โรงแรม "ทุก" โรงแรม กำไรหลักมาจาก F&D และสปา
ส่วนค่าห้องรายได้เยอะ แต่ไม่ค่อยได้กำไรหรอกครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

อยากถามความเห็นในประเด็นนี้หน่อยนะครับ

1.  ตอนนี้กลุ่มแคปปิตอลแลนด์ก็หันมาลงทุนอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยเพิ่มขึ้น เขามั่นใจอะไรตรงไหนที่คิดว่าอสังหาริมทรัพย์โดยเฉพาะโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยวน่าจะยังไปได้ดีอยู่ครับ
2.  โรงแรมที่นอกจาก chain เก่าที่มีอยู่แล้ว ช่วงนี้ก็มีบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทยหันไปร่วมมือกับ Chain ต่างประเทศมากขึ้น เช่น กลุ่มของ N-PARK ที่กำลังจะสร้างโรงแรมระดับ 5-6 ดาวในกรุงเทพคือ โรงแรมร้อยชักสาม และโรงแรมในสยามพารากอน การสร้างโรงแรมระดับ 5-6 ดาวมากขึ้นนั้นจะยั่งยืนหรือไม่ครับ กำลังซื้อจะรองรับได้ขนาดไหน อยากทราบมุมมองด้วยครับ
3.  ไม่ทราบว่าหากจะลงทุนซื้อหุ้นกลุ่มโรงแรมในขณะนี้เป็นช่วงที่เหมาะสมหรือไม่ หรือควรรอไปก่อนครับ อยากทราบเหตุผลครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

ผมไปเจอข่าวเล็ก ๆ ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันที่ 27 มกราคม 2549 มีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับอุตสาหกรรมโรงแรมดังนี้

1.  จากการเสวนาแนวโน้มธุรกิจโรงแรมในเรื่อง "เทคนิคการลงทุนและการประเมินมูลค่าโรงแรม" น.ส.พรศริน เมธาวัชรานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการลงทุนกลุ่มโรงแรมดุสิตธานี ได้กล่าวถึงแนวโน้มธุรกิจโรงแรมว่า ปัจจุบันกลุ่มผู้ประกอบการและนักลงทุนต่างชาติได้ให้ความสนใจลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์รวมถึงธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยเพิ่มขึ้น โดยมีลักษณะการลงทุนในรูปแบบของกองทุนและกลุ่มบริษัท โดยกลุ่มทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมากคือ กลุ่มทุนจากประเทศ สิงคโปร์ ฮ่องกง และมาเลเซีย

2.  ธุรกิจที่กลุ่มทุนเหล่านี้มาลงทุนจะเป็นเซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ อาคารชุด อาคารสำนักงานให้เช่า สำหรับธุรกิจโรงแรมนั้นจะเน้นไปยังเมืองท่องเที่ยว และเมืองหลวงแหล่งธุรกิจของประเทศ

3. รูปแบบการลงทุนจะเน้นการลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการใหม่ การเข้าไปร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการรายเดิม และการซื้อทรัพย์สินต่อจากบริษัทเดิมแล้วนำไปปรับปรุงใหม่ เนื่องจากต้องการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่บริษัทกำหนดได้ชัดเจน สามารถประกอบการได้อย่างรวดเร็วกว่าจะไปพัฒนาเองซึ่งต้องใช้เวลามากกว่า แถมสามารถลดต้นทุนในการลงทุนอีกด้วย  แต่สำหรับการร่วมลงทุนในลักษณะของการ Takeover บริษัทเดิมยังมีอยู่ไม่มาก

4.  แนวโน้มการลงทุนในธุรกิจโรงแรมในแหล่งท่องเที่ยวนั้นจะเน้นไปยังจังหวัดที่คาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวที่สูง โดยเฉพาะ เกาะสมุย หัวหิน เชียงใหม่ พัทยา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตที่สูงนับจากเหตุการณ์สึนามิเป็นต้นมา

5.  การขยายตัวของธุรกิจโรงแรมนิยมใช้เชนบริหารโรงแรมเพิ่มมากขึ้นกว่าการบริหารโรงแรมด้วยตนเอง โดยมีแนวโน้มที่กลุ่มเชนจากประเทศแถบเอเชียจะได้รับความนิยมสูงขึ้น เนื่องจากเชนจากสหรัฐและยุโรป ได้รับการปฏิเสธจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางเนื่องจากสงครามในอิรัก ทำให้ แบรนด์ของกลุ่มประเทศเอเชียได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ

จากแนวโน้มธุรกิจโรงแรมดังกล่าว ก็ลองไปสำรวจดูนะครับว่าธุรกิจโรงแรมที่เราลงทุนนั้น สอดคล้องไปกับสถานการณ์ล่าสุดหรือไม่ เช่น มีโรงแรมในจังหวัดท่องเที่ยวที่มีอัตราการเติบโตสูง ไม่ว่าจะเป็น เกาะสมุย หัวหิน เชียงใหม่ หรือพัทยา นะครับ นอกจากนี้ถ้ากลุ่มโรงแรมใดเช่น ดุสิตธานี มี Brand เป็นของตนเอง ก็มีแนวโน้มที่จะขยายไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางมากขึ้น (กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นมากครับ) นอกจากนี้ เนื่องจากกลุ่มต่างชาตินิยมซื้อโรงแรมที่พัฒนาแล้วเสร็จแล้วนำมาปรับปรุงเพิ่มขึ้น ดังนั้นอาจจะมีการซื้อขายโรงแรมเก่าแล้วนำมาปรับปรุงใหม่เพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งแนวโน้มนี้ก็เกิดมาตั้งแต่ปีที่แล้วแล้ว โดยจะเห็นว่ามีกลุ่มเลห์แมนมาไล่ซื้อทรัพย์สินเก่าของ PA และ N-PARK กว่า 5000 ล้านบาทไปแล้ว ซึ่งประกอบด้วย โรงแรม อาคารสำนักงาน และ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ ต่าง ๆ เป็นต้น คงต้องดูกันการเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนจากต่างชาติจะทำอะไรกันต่อไป และจะมีสีสรรอะไรเพิ่มเติมนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BerZerK
Verified User
โพสต์: 128
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

มีผู้เชี่ยวชาญในเว๊ปนี้เคยให้คำนวณหามูลค่าห้องพักนะครับ

ลองค้นดู :wink:
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ผมสนใจหุ้นในกลุ่มโรงแรม เนื่องจากจำได้ว่าสมัยก่อน มีเกมอยู่เกมหนึ่งคือเกมเศรษฐี วิธีการเล่นเกมคือในแต่ละรอบ ผู้เล่นเกมจะพยายามซื้อที่ดินให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ผู้เล่นคนอื่น ๆ ที่บังเอิญมาตกช่องที่เราซื้อที่ดินไว้ ต้องจ่ายค่าเช่าให้กับเรา การซื้อเพื่อเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินของเรานั้น จะทะยอยเพิ่มมูลค่าในแต่ละรอบ โดยการเพิ่มมูลค่าเพิ่มจากการเพิ่มบ้านเข้าไปในที่ดินดังกล่าว จนกระทั่งสามารถสร้างโรงแรมเป็นของเราเองในทีดินของเรา ทำให้เราได้ค่าเช่าที่สูงมาก เป็นต้น

ดังนั้น ในความเข้าใจของผมก็คือ หากเราคิดลงทุนตามแนวทางแบบ Rich Dad เขาจะพยายามหารายได้ที่แน่นอนจากค่าเช่าโดยเฉพาะค่าเช่าจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ โดยค่าเช่าที่ในอนาคตจะมีมูลค่าเพิ่มที่ดีธุรกิจหนึ่งคือธุรกิจโรงแรม เพราะเป็นธุรกิจที่ลง Fixed Cost ในตอนแรกที่สูง แต่จะสามารถเก็บเกี่ยวผลตอบแทนในรูปค่าเช่าเป็นเงินสดต่อวันจำนวนเงินที่สูง ทำให้เป็นธุรกิจที่มีกระแสเงินสดที่ต่อเนื่องถ้าหากสามารถบริหารให้มีผู้มาพักต่อวันให้สูง  ยิ่งถ้าแนวโน้มของดอกเบี้ยเงินฝากยิ่งสูง ธุรกิจนี้ก็อาจจะได้รับประโยชน์เพิ่มเติมจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงเป็นรายได้เสริมอีกด้วย แต่ต้องเป็นโรงแรมที่ไม่มีหนี้นะครับ

แต่การลงทุนในธุรกิจโรงแรม ประเด็นสำคัญที่เป็น Key Success ผมคิดว่าเรื่อง Chain ที่แข็งแกร่งเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะโรงแรมที่อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว ประเด็นที่ผมมองคือ ลูกค้าของธุรกิจโรงแรมนั้น นอกจากจะมาจากนักท่องเที่ยวในประเทศแล้ว เรายังได้นักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่มาจากทั่วโลก ตรงนี้ Chain ที่มี New Working ที่เป็นระดับโลกจะได้เปรียบ เพราะมี Agent จากทั่วโลกช่วยทำการตลาดให้

และจุดที่สำคัญของธุรกิจโรงแรมนั้นเป็นธุรกิจที่ประเทศไทยน่าจะให้การสนับสนุนเป็นอย่างยิ่งเพราะสามารถจะต่อธุรกิจบริการออกไปจำนวนมาก และรองรับกับตลาดแรงงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะ Chain ต่างประเทศนั้น เขาจะนิยมจ้างพนักงานจำนวนมากเพื่อให้บริการ Service กับลูกค้าอย่างเต็มที่ ทำให้คนในท้องถิ่นมีงานทำกันอย่างมาก นอกจากนี้ยังไปผลักดันให้เกิดธุรกิจอื่น ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเช่ารถเพื่อการท่องเที่ยว ธุรกิจสปา ร้านอาหาร ของที่ระลึก เครื่องประดับ OTOP หรือธุรกิจแฟชั่น อีกด้วย ประกอบกับวัฒนธรรมของคนไทยคือสยามเมืองยิ้ม เป็นจุดแข็งที่สำคัญของประเทศไทย และเราเป็นประเทศที่มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านของเรา ดังนั้น ถ้าเราพัฒนาในเรื่องการท่องเที่ยวทั้งในรูปแหล่งท่องเที่ยวที่ดี แหล่งที่พักโรงแรมที่มีคุณภาพ และบริการสนับสนุนอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องอาหาร เรื่องของที่ระลึกที่มีคุณภาพดี  ๆ เป็นต้น ก็น่าจะเป็นธุรกิจในอนาคตของคนไทยที่สามารถแข่งขันกับต่างชาติ โดยเราไม่เสียเปรียบในด้านเทคโนโลยีมากนัก และด้วยวัฒนธรรมของชาติไทยที่แข็งแกร่งในเรื่องการให้บริการที่ประทับใจกับคนต่างชาติ เราก็จะสามารถแข่งขันกับระดับโลก และทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยแข็งแกร่งขึ้นอีกด้วย
ลูกไม่ท้อ
Verified User
โพสต์: 421
ผู้ติดตาม: 0

แนะนำ

โพสต์ที่ 11

โพสต์

อยากให้ไปอ่านในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหน้าสาม รู้สึกคุ้นๆว่าจะเป็นของวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 49 แหละ สรุปก็คือว่า เมื่อ FTA มาเยือนสินค้าที่เป็นในกลุ่มที่มาจากภาคการผลิตของไทยจะสู้ใครไม่ได้ โดยเฉพาะจากจีนและอินเดีย ดังนั้นสิ่งที่จะเป็นเรื่องเด่นที่อยู่ได้ของไทยจะเป็นในเรื่องภาคบริการ และ ภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโรงแรมก็อยู่ในส่วนของงานบริการ (และมีความเป็นกึ่งๆอสังหาริมทรัพย์นิดๆ ในแง่ของการครอบครองที่ดินอยู่ )
รู้สึกดีๆ
sert
Verified User
โพสต์: 52
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 12

โพสต์

กำลังสนใจอยู่พอดี  ขอทราบข้อมูลด้วยคน
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 13

โพสต์

ความน่าสนใจในเรื่อง ธุรกิจโรงแรมนั้น ต้องยอมรับว่าเรื่องการออกแบบ Design ตีโจทย์ให้แตกนั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ตัวอย่างของโจทย์การ Design โรงแรมและอาคารสำนักงานเพื่อทำให้เกิดความแตกต่างและคุ้มค่าในการดำเนินงานนั้น ผมไปอ่านเจอในบทความของ Corporate Thailand ที่พูดถึงแนวความคิดของกลุ่ม N-PARK แล้วเห็นว่าน่าสนใจเราเอาฝากเฉพาะประเด็นสำคัญที่น่าสนใจนำมาให้อ่านกันสนุก ๆ
คุณถวัลย์ ให้สัมภาษณ์ไว้ดังนี้
N-PARK ซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้ไม่ใช่เกิดขึ้นทันในวันนี้ แล้วพรุ่งนี้เสร็จ สิ่งที่เราซื้อได้ในวันนี้ มันเกิดมาตั้ง 7 ปีมาแล้ว มันเกิดขึ้นมาแล้ว ดูมาแล้ว ฟังมาแล้ว แอบดูมาแล้ว ว่ามันซื้อได้ ถามว่าอยู่ดีๆ คุณเดินมาแล้วขอซื้อตึกนี้ คุณจะซื้อได้หรือ ถ้าไม่มีการทาบทามจีบมาก่อน เราต้องคิดว่า เราอยากได้อะไร แล้วจะซื้อตรงไหน ถามว่าคิดเร็วไหม เราคิดเร็ว ประสบการณ์สอนเราว่า ที่ prime ไม่เคยเจ็บ ถ้าไม่เช่าก็ขายได้
คุณถวัลย์เล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะทำ Project โรงแรม ทุกคนในทีมต้องไปดูสถานที่จริงและคิด Concept กันก่อนให้ชัดเจน เพราะตลาดที่เราทำ คนที่เคยเห็นจึงจะรู้ว่ามันมีจริง เหมือนกับที่เขาเคยจับผมไม่อยู่ที่อมันบุรี ผมไม่เคยเห็น คุณลองนึก imagination ที่เสริมสินเขาวาดให้ ไปถึงที่นั่น ไม่มีใครเลย ทั้งบ้านมีแต่กบร้อง ทีวีก็ไม่มี มันเงียบมากๆ ผมไปกับลูกน้องที่ทำไฟแนนซ์อีกคน ไปถึงก็บ่นกันว่าเงียบฉิบก็บอกกันเองว่า ใจเย็นๆ นั่งเงียบๆ เออสักพักทำให้คุณรีแล็กซ์ โปรเจ็คโรงแรมหรูที่เชียงใหม่ (จุดกำเนิดของโรงแรมเชดี เชียงใหม่ปัจจุบัน N-PARK ขายให้กับ PA ไปแล้ว ) เขาอยากทำแบบนี้ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ เขาคิดกันมาก่อนแล้ว เขาอยากลงทุน อยากทำ และให้ผม ซึ่งเป็นด้านการเงิน proof ดู พอผมไปเห็น ก็เออ มันใช่เว้ย คือ ธรรมชาติของพวกไฟแนนซ์ต้องเห็นก่อนถึงจะเชื่อ เพราะไฟแนนซ์ถ้ามั่วก็เสร็จ
Blending Difference
ผสานความต่างให้ลงตัว
คุณค่าของงานสถาปัตยกรรมอยู่ที่การออกแบบ นโยบายหลักของ natural park คือการอิงกับธรรมชาติ และส่วนที่เราเน้นเพิ่มขึ้นมาในระยะหลังก็คือมรดกทางวัฒนธรรม (heritage) ที่กำลังมาผสมผสานกับการออกแบบยุคใหม่ พิศิษฐ์เป็นตัวแทนบอกเล่าทิศทางการออกแบบของแนเชอรัล พาร์ค
ถ้ามองอย่างสหวิทยาการแล้ว การพัฒนาอสังหาฯ นั้นไม่ใช่แค่ ที่ดิน ทุน หรือ อิฐ หิน ปูน ทราย เรื่อง ศิลป และ รสนิยม ก็เป็นเรื่องสำคัญ
งบการเงิน และเป้าตัวเลขที่เถาถวัลย์ดูแลอยู่ จะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร ถ้าการทำตลาด และการขายไม่เดินหน้า ซึ่งการจะทำได้อย่างนั้น ก็ต้องเข้าถึงจิตใจผู้บริโภค
ฟังคำอธิบายของไพศาลและพิศิษฐ์ถึงแนวทางการออกแบบของแนเชอรัล พาร์ค แล้ว ก็คือการตอบโจทย์เรื่อง new consumption pattern ของคนในกลุ่ม dollar zone และ top management การมีมรดกทางวัฒนธรรมหรือ heritage และการอิงพื้นที่ธรรมชาติที่มีผลต่อสุขภาพมนุษย์ คือเทรนด์การบริโภคของผู้มีกำลังซื้อในยุคหน้า
การทำงานของฝ่ายออกแบบจึงเป็นมากกว่าแผนก ๆ หนึ่ง แต่เป็นภารกิจขององค์กร (Corporate Mission) เลยทีเดียว
หัวใจหลักของงานสถาปัตยกรรม คือ การออกแบบ กระบวนการดำเนินงานของ แนเชอรัล พาร์ค จึงประสานงานแบบประกบใกล้ชิดกับสถาปนิกจนกว่าแบบงานจะเสร็จสมบูรณ์ นอกจากนั้นยังต้องมีการทำในส่วนที่เรียกว่า knowledge management ของการออกแบบด้วย
เวลาเราออกแบบเราต้องนำความรู้มาผสมผสานกันทำให้เกิดการลงตัวในงาน เราเองก็พยายามเพราะงานสถาปัตยกรรมจะว่าไป ก็เป็นงานโฆษณาอย่างหนึ่งเหมือนกัน และเป็นงานโฆษณาที่บอกอะไรลึกกว่า เป็นของจริงกว่าด้วย เพราะฉะนั้นงานสถาปัตยกรรมมันต้องแบกคุณค่า ความหมาย และวิธีคิดเราไว้ด้วย ซึ่งก็อาจสะท้อนได้ในหลายมิติ อาจจะเป็นในแง่ของรูปทรง การใช้วัสดุ หรือในแง่ที่ตัวอาคารวางไปแล้วเหมาะเจาะกับธรรมชาติ
เอ่ยอารัมภบทมาสักพัก ทีมงานทั้งคู่ กลัวว่าชาว Corporate Thailand ฟังเพียงเท่านี้แล้วอาจจะไม่เห็นภาพ จึงพาชมอาคาร แนเชอรัล วิลล์ เอ็กเซ็กคิวทีฟ ฯ ซึ่งเป็นสถานที่สัมภาษณ์และอธิบายอย่างภาคภูมิใจ
เดินบนถนนหลังสวน คุณจะรู้สึกว่าตึกของเราใหญ่ที่สุด เราเป็นตึกเดียวที่เปิดด้านหน้า แม้จะเป็นมีหน้าอาคารเล็ก แคบ แต่เราต้อง convert ให้มี value ขึ้นมา เราเปิดพื้นที่เป็นล็อบบี้ด้านหน้า 2 ตอน ตอนหน้าไม่ติดแอร์ให้ได้สัมผัสกับธรรมชาติ และด้านในติดแอร์เป็นประโยชน์ใช้สอย
เมื่อชี้ชมด้านหน้าอาคารแล้วยังไม่หนำใจ ชาว Corporate Thailand จึงได้มีโอกาสชมส่วนต่างๆของอาคาร อาทิ ฟิตเนส ซึ่งตกแต่งในแนวโมเดิร์น ผนังห้องสีขาว มีลูกเล่นอยู่ที่การโชว์เส้นสายลายท่อต่างๆของตัวอาคาร ซึ่งความโมเดิร์นนี้เกิดจากข้อจำกัดของพื้นที่ห้องที่เล็กแคบ ถ้าปิดสายท่อต่างๆก็จะยิ่งเพิ่มความอับทึบของอาคารขึ้นไปอีก พวกเขาบอกกับเราว่า สิ่งที่ทำเป็นการนำเอาอุปสรรค ข้อจำกัด มา convert เป็นงานชิ้นใหม่ เพิ่มคุณค่าให้กับชิ้นงานนั้น
เมื่อถามถึงโจทย์การออกแบบที่ยากที่สุด คำตอบ ก็คือ โรงแรมเชดีที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งดัดแปลงมาจากอาคารกงศุลเก่าอังกฤษ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่และโรงแรมด้านหลังสยามพารากอน ใจกลางกรุงเทพฯ ที่กำลังอยู่ในกระบวนการออกแบบ
โจทย์ของโรงแรมที่สยามพารากอนเรียกว่ายากมาก เพราะฝั่งหนึ่งติดกับวัง ฝั่งหนึ่งติดกับช็อปปิ้งมอล์ ทำอย่างไรให้คนเข้ามาแล้วรู้สึกมีโรงแรมอยู่ เราจะทำอย่างไรละที่จะเป็น central of attraction ทุกคนอยากไปดูเรา เราอยากทำให้เดินเข้าไปแล้วมีฟีลลิ่งว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัง แต่ไม่ถูกความทันสมัยของศูนย์การค้าข้างๆเข้ามาข่ม
ส่วนโรงแรมเชดี เชียงใหม่ ตั้งอยู่ริมน้ำปิง ซึ่งตามกฎหมายเมืองเชียงใหม่ระบุห้ามสร้างสูงเกิน 12 เมตร ดังนั้นจำนวนห้องที่สร้างได้คือ 90 ห้อง จากที่ปกติขนาดพื้นที่ควรจะสร้างได้อย่างน้อย 300 ห้อง ไพศาลบอกในเรื่องนี้ว่า
บางทีคนที่อยู่ทางฝั่งออกแบบเป็นผู้ที่ตอบโจทย์ของทางการเงิน..ถ้าเราไปออกแบบให้เหมือนพวก 300 ห้อง เราก็เจ๊ง เราจึงต้องทำให้แตกต่าง ซึ่งสิ่งที่ทำให้แตกต่างได้ก็คือการออกแบบ
เรื่องนี้เราต้องขยับกรอบคิดกันทั้งสองฝ่าย ทั้งทางด้านการเงินและการออกแบบ จริงๆแล้วต้องคิดไปพร้อมๆกัน อย่างสามฝ่ายนี้ เราแคร์ต่างกัน การเงินเขาแคร์เรื่อง cost ของฝั่งผมแคร์เรื่อง quality ส่วนทางคุณเสริมสินแคร์เรื่องเวลา มันต่างโดยบทบาทอยู่แล้วทำอย่างไรให้มันมา synchronize ได้
อย่างเชียงใหม่นี้เป็นโจทย์ที่ยากมาก ดังนั้นเราจึงได้เอากลุ่มอมันบุรีมาช่วย เพราะเขาสร้าง value ตรงนี้ได้ อย่างอมันบุรี วิลล่า 3 ห้องนอน charge คืนละกว่า 5 พันเหรียญยูเอส ถ้าเป็นห้องคืนละ 1 พันกว่ายูเอส การเงินมองตรงนี้ก็ต้องมองให้เห็นว่ามันมีคุณภาพอยู่นะ เหมือนรถโรลสลอยส์ ถ้าคุณอยากได้ คุณก็ต้องรอ ใครๆก็อยากได้ ตรงนี้เป็นประเด็นที่สำคัญมาก และเราลงไปถึงเรื่อง operation ด้วย เราลากลงมาร่วมในกระบวนการ แล้วมาบูรณาการด้วยกัน  
ทั้งคู่ยอมรับว่ากระบวนการทำงานนี้เป็นของใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นหลังจากที่เสริมสินเข้ามาเป็นซีอีโอ จากที่เมื่อก่อนลำดับชั้นการติดต่องานพวกเขาไม่เคยประสานกับซีอีโอของบริษัทโดยตรง ตอนนี้กระบวนการdynamicมากขึ้น ทุกคนมาผนึกกำลังตั้งแต่แรก แทนที่จะรอให้ทำไปแล้วเจอปัญหาตอนท้ายๆไม่ได้แล้ว มันต้องไว การที่คุณมาแก้ปัญหาตั้งแต่แรกมัน save cost ในอนาคต เข้าไปทุกอย่างมัน intergrate รวมกัน ยุคก่อนของการทำงานเรามี planning แต่ไม่มี strategy แต่ยุคเรามันไม่ได้แล้ว เราต้องการให้มันเสร็จแล้ว ไม่มีศัตรู ทุกคนมาจับมือกัน ชื่นชมกัน
เราคิดเยอะ เล็กๆน้อย ๆเราก็คิด เพื่อสร้างความแตกต่าง อย่างผมทำงานวันละ 16 ชั่วโมง แต่เรารู้ว่าเหนื่อยอย่างนี้เพื่อวันหน้า สมัยก่อนวันนี้เหนื่อย วันพรุ่งนี้ก็เหนื่อยอีก เราต้องการให้คน appreciate เรา อยากให้คนชื่นชมไม่ใช่สาปแช่ง ตึกแต่ละตึกอยู่เป็นร้อยปี เราสองคนต้องการการทำอะไรที่ดีๆ เมื่อก่อนเราเห็นสภาพบางอย่างเราก็ไม่ค่อยชอบเท่าไร ตึกบางตึก เราจะทำให้เป็น landmark ให้ได้ ดังนั้นถ้าเราทำอะไรให้ดีขึ้นได้ ทำเพื่อประเทศชาติได้ก็จะทำ ประเด็นที่เราคุยกันตอนประชุมพลก็คือ ทำอะไรให้ดีที่สุด ซึ่งไม่ใช่เพื่อบริษัท แต่ทั้งประเทศ เรา commit กับงานนี้ก็เพื่อตรงนี้
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 14

โพสต์

ใครมีโอกาสไปเชียงใหม่ ได้ทดลองแวะพักผ่อนที่โรงแรมเชดี เชียงใหม่ โรงแรมระดับ 5 - 6 ดาว ที่เป็นประดิษฐกรรมที่สร้างสรรค์ของกลุ่ม N-PARK :ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อปี 2548 นั้น ลองมาเล่าสู่กันฟังหน่อยนะครับว่าดีเลิศหรูเพียงใด แต่ถ้าใครยังไม่เคยทดลองและอยากทราบว่าหน้าตาโรงแรม และบริการมีอะไรบ้าง ก็ทดลองไปชมใน Web-site หรือจะ Booking ก็ผ่าน Web-site ของเขาได้คือ
http://www.ghmhotels.com/hotels/hotel_a ... hotelid=15
แต่ต้องบอกว่าสนนราคานั้น เจาะกลุ่มต่างชาติโดยเฉพาะเลยครับ
ห้อง Deluxn คืนละ 10,400 บาทมีจำนวน 52 ห้อง และห้อง Club suite คืนละ 15,600 บาทครับมีจำนวน 32 ห้องครับ ส่วนผมประชาชนธรรมดาคงต้องเก็บเงินเก็บทองก่อนหละครับ แหะ แหะ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ข่าว Update ข้อมูลกลุ่มเซ้นทรัลกรุ๊ป ซึ่งรวมถึงธุรกิจโรงแรมด้วย

ผู้จัดการรายวัน - เซ็นทรัลกรุ๊ป เปิดแผนลงทุนปี2548 ทุ่มเม็ดเงินกว่า13,500 ล้านบาท ลุยทุกกลุ่มธุรกิจ เผยกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีซีพีเอ็นเป็นหัวเรือใหญ่ ได้สัดส่วนเงินลงทุนมากที่สุด 57% มั่นใจปีนี้เติบโต13% รายได้เฉียด 90,000 ล้านบาท แย้มโครงการลงทุนต่างประเทศสนใจด้านค้าปลีกกับโรงแรม เล็งหลายประเทศแถบเอเซีย
     
      นายสุทธิชัย จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด เปิดเผยถึงแผนการลงทุนของกลุ่มเซ็นทรัลในปี 2548 ว่า ทางกลุ่มประเมินว่าเศรษฐกิจของไทยจะขยายตัว6% ใกล้กับปีที่แล้ว โดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักคือ การกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภาครัฐ โดยการจัดงบประมาณกลางปีประมาณ 50,000 ล้านบาท การลงทุนของภาครัฐในโครงการขนาดใหญ่ช่วง 4 ปีข้างหน้าด้วยงบกว่า 880,000 ล้านบาท การส่งออกและการบริโภคของภาคเอกชนขยายตัวได้ดี
     
      ทางกลุ่มเซ็นทรัลจึงวางแผนการลงทุนปีนี้ด้วยงบลงทุน 13,500 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นสัดส่วนการลงทุนในแต่ละกลุ่มธุรกิจดังนี้ กลุ่มค้าปลีก (ซีอาร์ซี/CRC ) 29%, กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (ซีพีเอ็น/CPN) 57%, กลุ่มธุรกิจค้าส่ง (ซีเอ็มจี/CMG) 2%, กลุ่มธุรกิจโรงแรม (ซีเฮชอาร์/CHR) 10%,กลุ่มเซ็นทรัลเรสตอรองส์ (ซีอาร์จี/CRG) 2% นอกจากนั้นเป็นงบลงทุนต่อเนื่องอีก 27,000 ล้านบาท
     
      อย่างไรก็ตามยังมีแผนการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา ในหลายประเทศเช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม โดยธุรกิจที่มองไว้คือ โรงแรม ค้าปลีก เป็นต้น แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป จึงยังไม่สามารถชี้ชัดว่าจะลงทุนที่ใด งบประมาณเท่าใด โดยตั้งเป้าหมายการเติบโตทางด้านยอดขายไว้ที่13% หรือรวมเป็นยอดขายกว่า 87,000 ล้านบาท เติบโตจากปี2547 ที่มีรายได้ 76,800 ล้านบาท
     
      "ผมมั่นใจว่าทุกธุรกิจของเซ็นทรัลในปีนี้ จะมีการเติบโตที่สม่ำเสมอเกิน10% แต่ละกลุ่มแน่นอน" นายสุทธิชัยกล่าว
     
      สำหรับงบประมาณที่ตั้งไว้จะนำมาลงทุนในโครงการต่างๆ เช่น การขยายตลาดธุรกิจหลักๆ การลงทุนโครงการเซ็นทรัลเวิลด์พลาซ่า ลงทุนโครงการเซ็นทรัลทาวน์เซ็นเตอร์ การขยายตัวของบิสซิเนสยูนิตต่างๆ โครงการโรงแรมกระบี่เบย์รีสอร์ต โครงการเซ็นทรัลวงศ์อมาตย์พัทยา โครงการบ้านสีลม เป็นต้น
     
      เขากล่าวด้วยว่า ผลการดำเนินงานในปี 2547 ที่ผ่านมา มีอัตราการเติบโตทางด้านยอดขาย 14% เมื่อเทียบกับโครงสร้างกิจการเดียวกันในปี 2546 ที่กลุ่มเซ็นทรัลเติบโต13.1% และเมื่อกลุ่มธุรกิจค้าปลีกได้ซื้อกิจการท็อปส์ซูเปอร์มาร์เกตและฟู้ดไลอ้อนในปีที่แล้ว ทำให้มีอัตรากรเติบโตสูงถึง 44% ยอดขายโดยรวม 76,800 ล้านบาท
     
      โดยแต่ละกลุ่มธุรกิจนั้นมีการเติบโตที่แตกต่างกันไปกล่าวคือ กลุ่มค้าปลีกเติบโ ต 14% โดยเมื่อรวมยอดขายของเซ็นทรัลฟู้ดรีเทลด้วยแล้วจะเติบโตถึง55% กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เติบโต13% กลุ่มค้าส่ง เติบโต 13% กลุ่มโรงแรม เติบโต 18% กลุ่มเซ็นทรัลเรสตอรองส์ เติบโต 20%
     
      ทั้งนี้ปี 2547 กลุ่มเซ็นทรัลได้ลงทุนกิจการอย่างต่อเนื่อง ด้วยงบลงทุนกว่า6,200 ล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในธุรกิจ กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 54% ซึ่งมากที่สุด กลุ่มค้าปลีกรองลงมาประมาณ 34% กลุ่มโรงแรม 7% กลุ่มเซ็นทรัลเรสตอรองส์ 3% กลุ่มค้าส่ง 2%
     
      โครงการขนาดใหญ่ที่ได้ดำเนินงานเมื่อปีที่แล้วเช่น เปิดศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัลภูเก็ต เทคโอเวอร์จัสโก้รัตนาธิเบศร์ ซื้อกิจการท็อปส์คืนจากลุ่มรอยัลเอโฮลด์ ซื้อทรัพย์สินและสาขาของฟู้ดไลอ้อน เปิดอาคารสำนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ทาวเวอร์ เปิดศูนย์หัตถกรรมพื้นบ้านภาคเหนือที่เชียงใหม่ เปิดศูนย์จำหน่ายสินค้าโอทอปที่สีลมแกลลอเรีย
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 16

โพสต์

ข่าวการเคลื่อนไหวของกลุ่มโรงแรม มีกลุ่มโรงแรมดุสิตธานีด้วยครับ
โพสต์ทูเดย์ เชนโรงแรมเปิดศึก กลุ่มดุสิต เผยนักลงทุนธุรกิจโรงแรม เมินใช้เชนสัญชาติอเมริกาเข้าบริหาร หวั่นถูกบึ้ม เชื่อเชนโรงแรมในภูมิภาคเอเชียมาแรง ด้าน เบสท์เวสเทิร์น เชนมะกัน ลั่นปีนี้จะบุกเข้าบริหารโรงแรมแถบเอเชีย


น.ส.พรศริน เมธีวัชรานนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และการลงทุน กลุ่มโรงแรมดุสิตธานี กล่าวในการสัมมนาเทคนิคการลงทุนและการประเมินมูลค่าโรงแรม ว่า ปัจจุบันนักลงทุนทั้งชาวไทยและต่างชาติมีความสนใจลงทุนในธุรกิจโรงแรมแถบภูมิภาคเอเชียมากขึ้น เนื่องจากโซนดังกล่าวได้รับความนิยมเดินทางจากนักท่องเที่ยวทั่วโลก เห็นได้ว่า ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา การลงทุนในภาค ธุรกิจโรงแรมมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชีย



ทั้งนี้ นักลงทุนที่เข้ามาในธุรกิจมีแนวโน้มการเข้ามาซื้อโรงแรมที่สร้างเสร็จแล้วทั้งเก่าและใหม่ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเข้าบริหารจัดการและการสร้างแบรนด์ นอกจากนี้นักลงทุนยังนิยมว่าจ้างเชนโรงแรมที่เป็นมืออาชีพ แทนการเข้าบริหารงานเอง ซึ่งปัจจุบันเจ้าของโรงแรมที่ลงทุนใหม่ หรือต่อสัญญาส่วนใหญ่ นิยมเลือกใช้ชื่อเชนโรงแรมที่มาจากภูมิภาคเอเชีย แทนการเลือกใช้เชนโรงแรมจากประเทศสหรัฐอเมริกา เพราะหวั่นเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ การลอบวางระเบิดบ่อยครั้งกับเชนโรงแรมจากอเมริกา เช่น เจ ดับบลิว แมริออท ประกอบกับการบริหารจัดการของภูมิภาคเอเชีย มีวัฒนธรรมการบริหารและบริการที่ดีให้กับลูกค้า โดยแบรนด์ที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ ได้แก่ บันยันทรี จากประเทศสิงคโปร์ แชงกรี-ลา จากประเทศจีน และโรงแรมดุสิตธานี เป็นต้น



ใน 1-2 ปีนี้ นักลงทุนจะหันมาใช้เชนโรงแรมในภูมิภาคเอเชียกันมากขึ้น เพราะมั่นใจในศักยภาพการบริหาร ที่มีการพัฒนา แต่ไม่ใช่ว่าเชนอเมริกาไม่ดี ซึ่งการบริหารจัดการของเขาดีมาก เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เช่น การตลาดมีเครือข่ายด้านเอเย่นต์ทัวร์จำนวนมาก แต่โชคร้ายที่เชนดังกล่าวมักถูกจ้องก่อการร้ายบ่อยครั้ง อย่างประเทศจอร์เดน โรงแรมสัญชาติอเมริกันถูกลอบวางระเบิด 2 แห่งในวันเดียวกัน ทำให้นักลงทุนเกิดความไม่มั่นใจ และจากการสำรวจพบว่า ที่ดูไบนักลงทุนจะไม่ทำสัญญากับเชนอเมริกาเด็ดขาด น.ส.พรศริน กล่าว



ด้าน นายเดวิด คอง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เบสท์เวสเทิร์น อินเตอร์เนชันแนล อิงค์ เผยว่า แบรนด์เบสท์เวสเทิร์น เป็นแบรนด์โรงแรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วยจำนวนโรงแรมในเครือทั่วโลกกว่า 4,200 แห่ง ใน 80 ประเทศ ตั้งเป้าอีก 5 ปี หรือปี พ.ศ. 2553 จะเป็นแชมป์ในภูมิภาคเอเชียด้วย โดยเบสท์เวสเทิร์นจะมีโรงแรมในเครือทั่วเอเชียกว่า 200 แห่ง ขณะนี้เบสท์เวสเทิร์นมีโรงแรมในเอเชีย 75 แห่ง ใน 15 ประเทศ ในการขยายจะรุกเข้าไปในหลายประเทศ อาทิ จีน อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย



ปัจจุบันกลุ่มเบสท์เวสเทิร์นดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมาเป็นปีที่ 60 มีโรงแรมในเครือทั่วประเทศไทยจำนวน 14 แห่ง มีแผนจะขยายเพิ่มในประเทศไทยอีก 4 แห่ง เป็น 17 แห่งภายในสิ้นปีนี้ โดยอยู่ในพื้นที่ จ.กาญจนบุรี เชียงใหม่ เกาะกูด และกรุงเทพฯ ตั้งเป้าปี 2553 จะมีโรงแรมที่เป็นเชนของเบสท์เวสเทิร์นในประเทศไทยกว่า 30 แห่ง ส่วนจีนคาดว่าจะเพิ่มจากเดิม 20 แห่ง เป็น 42 แห่ง
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 17

โพสต์

Movementของกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะ กลุ่ม n-park ซึ่งปัจจุบันหันมาประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องรายได้จากการเช่ามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Service Apartment โรงแรม ภัตตาคารทั้งในและนอก

โดยความคืบหน้าล่าสุด นอกจากจะขายโรงแรม เชดี ให้กับ PA ได้เงินมาเกือบ 1000 ล้านบาทแล้ว ได้ขายสำนักงานเมอรคิวรี่ ได้เงินมาอีก 1000 ล้านบาท ล่าสุดอ่านข่าวว่าอาจจะขายหุ้น BMCL อีกเกือบ 600 ล้านหุ้น เพื่อลดสัดส่วนหุ้นจากเดิม 16.67% เหลือ 6.86% โดยมีราคาต้นทุนประมาณ 1.50 บาท ซึ่งน่าจะได้เงินมาอีกประมาณ 1000 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ก็ขายไปก่อนแล้วให้กับ CK ได้เงินมาเกือบ 800 ล้านบาท ถ้าขายรายการนี้ได้เกินกว่าต้นทุน ก็จะได้ทั้งเงินและกำไร ทำให้ตัวแม่แข็งแรงขึ้นอีกมาก

ที่ผมสนใจก็คือ PA ที่เมื่อขายทรัพย์สินโรงแรมในจังหวัดภูเก็ตออกไปทั้งหมดแล้ว แต่ทำไมถึงมีการจัดตั้งบริษัท แปซิฟิค ภูเก็ตขึ้นมาใหม่ ไม่รู้ว่า กลุ่ม N-PARK กำลังคิดอะไรอยู่

แต่ที่แน่ ๆ คือ ตอนนี้ทั้งกลุ่มมีการตุนกระแสเงินสดไว้ค่อนข้างมาก แถมได้นำไปลดหนี้ ทำให้ DE ลดลงไปจำนวนมาก โดยเฉพาะ PA ตอนนี้คาดว่าจะมีหนี้เหลืออีกไม่มาก เพราะขายทรัพย์สินออกไปและมีการคืนหนี้ก่อนกำหนดไปเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ตัวแม่เองคือ N-PARKถ้าสามารถขาย BMCL ในเดือน ก.พ. ได้ก็จะได้เงินรวมกับทรัพย์สินเดิมที่ขายออกไปแล้วเป็นเงินเกือบ 4,000 ล้านบาท บริษัทลูก PA ก็ขายทรัพย์สินไป 2 ปี ประมาณ 4,000 เกือบ 5000 ล้าน แถม บริษัทในเครือคือ Siri ก็มีการขายทรัพย์สินโรงแรมออกไปเช่นกัน ไม่รู้ว่าตอนนี้กลุ่มนี้คิดอะไรอยู่ถึงได้ขายทรัพย์สินออกไปจำนวนมากคิดเป็นเงินเกือบ 10,000 ล้านบาทในช่วง 2 ปีนี้ น่าคิด
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 18

โพสต์

มีโอกาสไปค้นข้อมูลข่าว ไปพบข่าวของกลุ่มนี้หละครับในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ โดยกลุ่มนี้ก็สนใจธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และเป็นเจ้าพ่อธุรกิจโรงแรมคนหนึ่งที่นอกเหนือจากธุรกิจน้ำเมาที่โด่งดัง ตอนนี้ก็กำลังสยายปีกเชื่อมต่อกับกลุ่มทุนจากสิงคโปร์ ในการรุกต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และรวมถึงโรงแรมด้วย  ก็ขอ Update เพิ่มเติมด้วยครับว่าเขามีมุมมองอย่างไร กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคย Takeover โรงแรม อิมพีเรียล ของคุณอากร แล้วแปลงโฉมใหม่เป็นโรงแรม เอทินี่ ครับ ตอนเอาโรงแรมอิมพีเรียลออกไป บอกว่าจะไปปรับปรุงการบริหารงานจนถ้าดีขึ้นมาใหม่ ก็จะเตรียมเข้าตลาดครับ คงต้องติดตามดูกันต่อไปว่าจะเข้าตลาดมาเมื่อไหร่ครับ และจะเข้ามาอย่างไร


เจ้าสัวเจริญ ระบุอสังหาฯ ไทยปี 49 โต 10% แนะรัฐ-ผู้ประกอบการหันพัฒนาสินค้าสร้างมูลค่าเทียบชั้นฮ่องกง สิงคโปร์ ซึ่งปัจจุบันมีมูลค่าแค่ 6% ของฮ่องกงเท่านั้น พร้อมยืดเวลาปล่อยเช่าอสังหาจาก 30 ปี เป็น 99 ปี เพื่อเพิ่มมูลค่า ด้านแคปปิตอล แลนด์ สิงคโปร์ เล็งเปิดธุรกิจปล่อยกู้ซื้อบ้าน หลังประสบความสำเร็จในหลายประเทศ

นายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการ บริษัท ที.ซี.ซี. แคปปิตอล แลนด์ จำกัด เปิดเผยภายหลังเปิดตัวโครงการ เดอะ เอ็มไพร์ เพลส สาทร อย่างเป็นทางการว่า ภาพรวมของตลาดอสังหาริมทรัพย์ในปี 2549 จะมีอัตราการเติบโตประมาณ 10% แม้ว่าจะมีปัจจัยลบอยู่บ้างแต่ก็ไม่น่าเป็นห่วง เพราะไทยยังมีปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดี มีความแข็งเกร็ง ซึ่งไม่น่าห่วงว่าเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไร แต่ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาและปรับปรุงอสังหาฯ ของเราให้มีมูลค่าสูงเช่นประเทศอื่นๆ อาทิ ฮ่องกงหรือสิงคโปร์ ที่มีมูลค่าของสินทรัพย์สูง ราคาแพนเฮ้าส์เฉลี่ยที่ 2 ล้านบาท ต่อตร.ม. ในขณะที่ของไทยเพียง 1.2 แสนบาทต่อตร.ม. หรือคิดเป็น 6% ของฮ่องกงเท่านั้น นอกจากนี้รัฐบาลไทยควรให้ความสำคัญกับการปล่อยเช่าสินทรัพย์ ซึ่งในฮ่องกง สิงค์โปร์ปล่อยเช่านานถึง 99 ปี ในขณะที่ไทยเพียง 30 ปี หากมีระยะเวลาเช่าที่ยาวมากขึ้นอาจทำให้สินค้าไทยเพิ่มมูลค่าสูงขึ้นก็เป็นได้

ด้านนายหลิว มัน เหลียง ประธานและกรรมการบริหาร บริษัท แคปปิตอล แลนด์ จำกัด กล่าวว่า มองว่าตลาดอสังหาฯ ในประเทศไทยยังดีอยู่ ซึ่งนอกเหนือจากการลงทุนในคอนโดมิเนียม และเซอร์วิสอพาร์ทเมนต์ ในแบรนด์ แอทคอท ซัมเมอร์เซ็ทและซิทาดินส์ แล้วกลุ่มบริษัทยังสนใจตลาดแนวราบ ขณะนี้อยู่ระหว่างหาที่ดินที่เหมาะสมและมีศักยภาพ โดยให้ความสนใจตลาดเชียงใหม่และพัทยา ซึ่งปัจจุบันมีที่ดินแล้วส่วนที่ภูเก็ตและสมุยก็เป็นอีกตลาดที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีที่ดิน อย่างไรก็ตามการลงทุนอสังหาฯ ในไทย แคปปิตอล แลนด์ จะร่วมลงทุนไปกับ ที.ซี.ซี. แลนด์ ต่อไป

อย่างไรก็ตาม กลุ่มแคปปิตอล แลนด์ ยังมีความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนให้บริการสินเชื่อผู้ซื้อบ้าน แต่จะดำเนินการในลักษณะ Non Bank โดยขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนในไทย และทางกฎหมาย ซึ่งที่ผ่านมาทางกลุ่มบริษัทได้ดำเนินธุรกิจนี้ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านอสังหาฯ ในหลายประเทศและประสบผลสำเร็จ

ทั้งนี้แคปปิตอลแลนด์ กรุ๊ป เป็นหนึ่งในบริษัทธุรกิจพัฒนาที่ดินรายใหญ่จดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์ในเอเซีย มีรูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่หลากหลาย อาทิ ที่พักให้เช่า โรงแรม คอนโดมิเนียม ฯลฯ โดยแบ่งกลุ่มธุรกิจในเครือออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ CapitaLand Residential And AUSTRALAND , CapitaLand Retail And Capitamall Trust , CapitaLand Commercial And CapitaCommercial Trust, Raffles Holdings, THE ASCOTT group และ CapitaLand Financial

นายเฉิน เหลียนปัง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทีซีซี แคปปิตอลแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ในปีหน้าบริษัทมีแผนที่จะพัฒนาประมาณ 6 โครงการ มูลค่าการลงทุน 6,000 ล้านบาท มูลค่าขาย 10,000 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการ รอยัล เรสซิเดนท์ เฟส 1 เป็นโครงการบ้านหรูระดับไฮ-เอนด์ ราคาเริ่มต้น 30-100 ล้านบาท บนถนนเกษตร - นวมินทร์ ตั้งอยู่บนที่ดิน 77 ไร่ ซึ่งเป็นที่ดินส่วนหนึ่งของบริษัทแม่คือ ทีซีซีแลนด์ ที่มีที่ดินในบริเวณดังกล่าวกว่า 300 ไร่ ประกอบด้วยบ้านขนาด 160 ตร.ม. ขึ้นไปถึง 1 ไร่ จำนวน 79 ยูนิต เปิดขายในเดือนมกราคม

2.โครงการต่อเนื่องจาก รอยัล เรสซิเดนท์ แต่จะพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวระดับกลาง ราคา 9-10 ล้านบาท เปิดขายในไตรมาส 3 นอกจากนี้ภายในโครงการดังกล่าว บริษัทมีแผนที่จะพัฒนาเป็นมิกโปรดักส์ ที่รวบรวมทั้งศูนย์การค้า อาคารสำนักงาน วิลเลจเซ็นเตอร์ ดิสเคาส์มอลล์ ชอปปิ้งเซ็นเตอร์ ออโต้มอลล์ โดยจะเป็นการดึงนักลงทุนเข้ามาพัฒนา คาดว่าจะใช้เวลาในการพัฒนาไม่ต่ำกว่า 5 ปี

3.โครงการคอนโดมิเนียม มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท ต่อในเดือนมีนาคม ซึ่งโครงการดังกล่าวจะอยู่บนพื้นที่ 5 ไร่ ในซอยสุขุมวิท 24 เดิมเป็นที่ดินของ "ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล" ที่ใช้สร้าง "บ้านหนังไทย" ของเสกสรร ชัยเจริญ หรือหนุ่มเสก โดยซื้อมาในราคา 2.5 แสนบาทต่อตร.ม. ซึ่งโครงการนี้มีจำนวนห้องพัก 300-350 ยูนิต ระดับราคาอยู่ที่ 8.5 หมื่นบาทต่อตร.ม.

4.ในช่วงปลายไตรมาส 2 บริษัทจะเปิดตัวเฟสแรกของโครงการคอนโดมิเนียม ระดับกลาง เฟสแรก ที่พัฒนาบนพื้นที่ 4 ไร่ จากทั้งหมด 200 ไร่ ในสนามกอล์ฟนอร์ทปาร์ค มูลค่าโครงการในเฟสแรกประมาณ 1.5-2 พันล้านบาท ระดับราคาประมาณ 6-7 หมื่นบาทต่อตร.ม. หลังจากนั้นวางแผนที่จะพัฒนาโครงการอาคารสำนักงาน เพื่อรองรับกับศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะขณะนี้อยู่ระหว่างวางแผน

5. โครงการบ้านเดี่ยวในกรุงเทพฯ อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อที่ดินหากเจรจาสำเร็จ จะพัฒนาเป็นบ้านเดี่ยวระดับกลางราคา 9-10 ล้านบาท

6.โครงการบ้านเดี่ยวระดับราคา 3-5 ล้านบาท ที่จ.เชียงใหม่ บนเนื้อ 70 ไร่ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่ พัทยา ขณะนี้อยู่ระหว่างวางแผน

นายเฉิน กล่าวว่า บริษัทมีแผนที่จะพัฒนาโครงการปีละไม่ต่ำกว่า 4 โครงการ มูลค่า 10,000-15,000 ล้านบาท เพื่อสร้างรายได้ให้แก่บริษัทปีละ 10,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นรายได้ที่เหมาะสมและจะสร้างความแข็งแกร่งให้แก่บริษัท อย่างไรก็ตามบริษัทยังให้ความสนใจตลาดที่พัทยาและเชียงใหม่มากกว่าภูเก็ต เนื่องจากภูเก็ตได้มีการพัฒนาไปล่วงหน้าแล้ว หากเข้าไปตอนนี้จะเป็นการเรียนรู้ตลาดมากกว่า นอกจากนี้กลุ่มบริษัทแม้ว่าจะมีที่ดินสะสมอยู่ที่ภูเก็ต แต่ไม่ได้อยู่ในทำเลที่เหมาะสมในการพัฒนา ดังนั้นจึงเชื่อว่าภายใน 3-5 ยังไม่เข้าไปทำตลาดในภูเก็ต นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะเพิ่มทุนจาก 3,800 ล้านบาท เป็น 6,000-8,000 ล้านบาท ในต้นปีหน้า

อย่างไรก็ตาม ที.ซี.ซี. แคปปิตอล แลนด์ ยังเชื่อว่า แม้ว่าตลาดจะมีปัจจัยลบเข้ามากระทบ แต่จากภาพรวมของเศรษฐกิจที่ดี กำลังการผลิตอยู่ในอัตราที่สูง จะส่งผลให้อสังหาฯ มีอัตราการเติบโตที่ระดับ 10% ได้ แต่ปัจจัยที่น่าเป็นห่วงคือ ความไม่มั่นคงของการเมือง สำหรับทิศทางของตลาดอสังหาฯ ในปัจจุบันตลาดระดับกลาง หรือบ้านราคา 3-5 ล้านบาทจะมีอัตราการเติบโตที่สูง ซึ่งในส่วนของบริษัทเองก็มีความสนใจในตลาดนี้ แต่ต้องการให้แบรนด์สินค้า และการพัฒนาสินค้าของบริษัทมีความแข็งแกร่งจึงจะลงไปพัฒนา ซึ่งคาดว่าในปี 2550-2551 จะสามารถพัฒนาสินค้าในตลาดระดับดังกล่าวได้

นอกจากนี้ ที.ซี.ซี. แคปปิตอล แลนด์ ยังดำเนินการบริหารโครงการ และรีโนเวสสินทรัพย์ของกลุ่มที.ซี.ซี. แลนด์ โดยปัจจุบันมีโครงการที่บริหารอยู่ 14 โครงการ มูลค่า 35,000 ล้านบาท อาทิ อาคาร แอทธินี พลาซ่า, อาคารรัชดา ทาวน์เวอร์, สำนักงานใหญ่ บริษัทไทย เบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน), โรงแรมเมอร์เดียน กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ และโรงแรมบันยันทรี สมุย เป็นต้น
ภาพประจำตัวสมาชิก
Hero_man
Verified User
โพสต์: 270
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ยังไม่มีเวลาอ่านครับ ขอปริ้นท์มาอ่านก่อน น่าสนใจดีครับ :D
กระแสน้ำเปลี่ยนใจปลา..
กาลเวลาเปลี่ยนใจคน...
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ไปค้นข้อมูลของธุรกิจโรงแรม แล้วไปเจอข้อมูลของ N-PARK ยอมรับว่า อ่านแล้วทึ่งในความคิดจริง ๆ ครับ ตอนนี้สิ่งที่เขาทำเมือ 2 -3 ปี ที่แล้ว กำลังก่อดอกออกผลตามจินตการของคุณเสริมสิน มีเพียงอย่างเดียวที่คุณเสริมสินยังไม่สามารถตอบสนองให้กับผู้ถือหุ้นของ N-PARK ได้ก็คือ ราคาของหุ้นยังไม่สามารถสะท้อนตามผลงาน เพราะราคาตกต่ำลงทุกวัน ทั้งที่แผนการดำเนินงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนงานเกือบทั้งหมด (ลองอ่านสิ่งที่เขาให้สัมภาษณ์ไว้เมือหลายปีที่ผ่านมา และเขายังบอกด้วยว่าที่ต้องลงทุนในตอนนั้นค่อนข้างมาก เพราะเขาเชื่อว่าดอกเบี้ยคงตกต่ำได้สักระยะหนึ่ง ต้องฉวยโอกาสให้ดี เพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างรายได้ให้มาก เพราะเมื่อถึงคราวดอกเบี้ยเริ่มสูงขึ้น ผลผลิตที่เขาลงทุนไว้จะเริ่มสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำแบบน้ำทะลักเขื่อนทีเดียว เขาคาดว่าตั้งแต่ปี 48 เป็นต้นไปครับ เราจะรอดูว่าสิ่งที่คุณเสริมสินได้ขอให้ผู้ลงทุนต้องอดทนกับ N-PARK 2-3 ปีขึ้นไป โดยต้องลงทุนระยะยาวเท่านั้น สิ่งที่บอกจะเป็นจริงตามที่บอกหรือไม่ต้องติดตามกันต่อไป) นอกจากนี้เขายังเชื่อว่า ธุรกิจที่เขาดำเนินการอยู่เป็น Model สากลที่เขานำมาปรับใช้ ซึ่งต่อไป N-PARK จะเน้นรายได้ที่แน่นอนมากขึ้นจากรายได้ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ในสัดส่วนที่สูงขึ้นให้มากที่สุด เพื่อต้องการรายได้ที่แน่นอนไว้ลองรับกับภาวะเศรษฐกิจที่อาจตกต่ำ โดยต้องการกินยาวเพื่อต่อยอดธุรกิจของ N-PARK ต่อไป ซึ่งตอนนี้ N-PARK กำลังต่อยอดความคิดของคุณเสิรมสินคือ ช่วงนี้จะเป็นช่วงชำระหนี้ก่อนกำหนดจำนวนมาก การขายทรัพย์สินเพื่อสร้างกระแสเงินสดเพื่อต่อยอดการขยายงาน การจัดตั้งกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อเป็นแหล่งเงินลงทุนในการขยายงาน ตลอดจนการหา Strategic Partner เพื่อลงทุนในประเทศ และเตรียมขยายงานไปต่างประเทศครับ เพื่อน ๆ ลองอ่านดูและวิจารณ์กันหน่อยนะครับ
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ปลาหมึกยักษ์ แนเชอรัล พาร์ค


สุพิน ธนวัฒน์เสรี

หลังจากศึกษาขอบข่ายการขยายงานที่แนเชอรัล พาร์คจะก้าวไป ภายใต้การบริหารงานของเอ็มดีหนุ่ม-เสริมสิน สมะลาภา แล้ว Corporate Thailand ได้ภาพของปลาหมึกยักษ์ (Octopus) ที่อีกความหมายหนึ่งคือการแผ่ขยายอำนาจอย่างกว้างขวาง
เป็นการใช้อำนาจของ เงินทุน และ ความรู้ รัด และ กระตุก สิ่งที่น่าสนใจเบื้องหน้าให้มาอยู่ในพอร์ตการลงทุน จนทำให้หุ้นของแนเชอรัล พาร์ค ร้อนแรงจนเป็นที่จับตามองทั้งจากตลาดหลักทรัพย์ คนในวงการอสังหาฯ และนักลงทุน กระทั่งหลายคนโยนข้อหาการปั่นราคาหุ้นให้เอ็มดีคนใหม่ต้องพิสูจน์ความคิดและฝีมืออย่างหนัก วันที่หุ้นลับเข้าเทรดในตลาดวันแรกคือ 23 กรกฎาคม 2546 ในราคา 5.55 บาท
เพียงสองเดือน ราคาหุ้นค่อยๆขยับขึ้นไปอยู่ที่ 12.10 บาทเมื่อวันที่ 24 กันยายน ซึ่งช่วงนักวิเคราะห์บางสำนักแนะนำให้เทขาย เพราะมองว่าเป็นการขึ้นเพื่อรับข่าวดี มิใช่โดยปัจจัยพื้นฐานหรืออิงจากผลประกอบการของบริษัทเพราะก่อนหน้านั้น แนเชอรัลฯ ได้ลงนามกับบริษัท สยามพารากอน ดีเวลลอปเมนท์ เพื่อพัฒนาโครงการ โรงละคร ระดับมาตรฐานโลก พร้อมกับเปิดตัวโครงการใหญ่อีกหลายโครงการ เช่น โรงแรมที่เชียงใหม่ และภูเก็ต อาคารสำนักงานแพลตินั่ม (เมอร์คิวรี่เดิม) ถัดจากนั้นมา ก็มีข่าวดีอีกเป็นระยะๆ เช่น การเข้าซื้อหุ้นของ บริษัท แปซิฟิค แอสเซ็ทส์ จำกัด (มหาชน) ราคาหุ้นก็ขึ้นลงอยู่ในระดับ 7-12 บาท
Corporate Thailand จำได้ว่า ช่วงที่ราคาหุ้นขึ้นสูง เวลาไปร่วมงานของบริษัทอสังหาฯ รายอื่นๆ บรรดาสื่อมวลชนต่างขอทัศนะจากผู้บริหารเกี่ยวกับทิศทางการลงทุนของแนเชอรัล พาร์ค แทบทุกครั้งไป
เสริมสินไม่ปฏิเสธว่า แนเชอรัล พาร์ค กำลังทำตัวประหนึ่งปลาหมึกยักษ์ที่แผ่ขยายการลงทุนไปรอบทิศทาง แต่ไม่ได้ไปอย่างสะเปะสะปะ หากแต่ยึดมั่นอยู่บนความชำนาญหลัก (Core Competency) ของตน
บ้าน คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนท์ โรงพยาบาล โรงละคร โรงแรม รถไฟฟ้าใต้ดิน อาคารสำนักงาน ก่อสร้าง ทั้งหมดนี้ตั้งอยู่บนแกนเดียวกัน นั่นคือ ความรู้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่างครบวงจร
ประเด็นนี้เองที่เขาใช้เป็นตัวชูโรงในการเซลล์ไอเดียให้กับผู้ถือหุ้น นักลงทุน โบรกเกอร์ ตลอดจนสื่อมวลชน
โดยยืนยันว่า สิ่งนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในต่างประเทศ
คิดใหม่ ทำใหม่
หลังเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้รับวิบากกรรมถ้วนหน้า ในครั้งนั้น แนเชอรัล พาร์ค เองมีมูลหนี้สูงถึง 15,,696 ล้านบาท หลังจากที่ทำการปรับโครงสร้างหนี้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ทางการเงิน (บบส.) แล้วหนี้ลดลงเหลือ 7,697 ล้านบาท
ไม่มีเจ้าหนี้รายไหนใจดีแบบให้เปล่า การปรับโครงสร้างหนี้ครั้งนั้นแลกด้วยสินทรัพย์ที่แนเชอรัล พาร์ค สะสมไว้ในยุคอสังหาฯ บูม เหลือเพียงรายการเดียวที่สร้างรายได้ให้บริษัทนั่นคือ ธุรกิจอพาร์เมนท์ให้เช่า บริเวณซอยสุขุมวิท 49 ที่ทำรายได้เพียงปีละ 100 ล้านบาทเศษ
การมองหาแหล่งรายได้ใหม่จึงเป็นสิ่งที่ต้องเร่งมือทำ แต่จะทำอย่างนั้นได้ก็ต้องหาเม็ดเงินเข้าไปลงทุน บริษัทได้ยื่นขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางตั้งแต่ 2 พฤษภาคม 2543 แต่ถูกเจ้าหนี้อุทธรณ์คัดค้านแผน เมื่อผู้บริหารแผนกลับไปแก้โจทย์การบ้านและกลับมาเสนอใหม่ ศาลล้มละลายกลางจึงมีคำสั่งเห็นชอบตามมติเจ้าหนี้เมื่อ มิถุนายน 2545 แม้จะมีเจ้าหนี้อีกกลุ่มคัดค้านก็ตาม และทำการฟื้นฟูกิจการสำเร็จเมื่อกุมภาพันธ์ 2546
ในช่วงฟื้นฟูกิจการนี่เองที่สร้างความฮือฮาให้กับวงการอย่างมาก เพราะเม็ดเงินทุนที่ระดมได้มหาศาล 3 ครั้ง คือ มกราคม 2546 จำนวน 1,908 ล้านบาท กุมภาพันธ์ 2546 จำนวน 1,950 ล้านบาท และ พฤศจิกายน 4,028 ล้านบาท ถูกนำไปลงทุนซื้อหุ้นในกิจการที่แนเชอรัล พาร์ค ไม่เคยทำมาก่อน
อันที่จริงการขยายโดยการ ซื้อ เพื่อ แตกแขนงกิจการ (diversification) ไม่ใช่สิ่งที่กลุ่มแนเชอรัล พาร์ค ไม่เคยทำ
ทศพงศ์ จารุทวี อดีตกรรมการผู้จัดการ แนเชอรัล พาร์ค ก็เคยซื้อ สนามกอล์ฟ จาก ปัญญา ควรตระกูล เคยเข้าสู่ธุรกิจโรงพยาบาลฟันในซอยสุขุมวิท 49 เคยมีโรงแรมโมนาร์ก ลี การ์เด้น บนถนนสีลม และอีกนานากิจการ ที่ปัจจุบันกลายเป็นแค่ประวัติศาสตร์เสี้ยวหนึ่งขององค์กร
ฉะนั้นในสิ่งที่เสริมสิน สมะลาภา ทำก็ไม่ต่างจากรุ่นพี่ที่เคยร่วมรั้วสถาบันการศึกษาเดียวกัน เพียงแต่ว่าการได้ฝึกฝนในเวทีธุรกิจมาเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่สมัยเป็นนิสิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยทำทั้งบริษัทตัวเอง เคยเป็นทั้งผู้บริหารมืออาชีพ เคยเป็นทั้งนักลงทุน เคยเป็นฝ่ายวิชาการของสมาคมอสังหาริมทรัพย์ เคยผ่านการศึกษาเมืองนอกเมืองนา สนทนากับผู้รู้มามากมาย การเป็นนักอ่านชนิดที่ติดอันดับหนึ่งผู้สั่งซื้อหนังสือจาก amazon.com สูงที่สุดในประเทศไทย (อ่าน เสริมสิน สมะลาภา The Mastermind) ทั้งหมดเป็น information input ที่ทำให้เขามี จินตนาการ กว้างไกล และขมวดจินตนาการนั้นมาเป็น story ที่สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวมาเสนอผู้ถือหุ้น และนักลงทุน
คำที่นักบริหารการจัดการใช้กันเป็นประจำอย่าง sustainable growth ,new consumption pattern , core competency , diversification ถูกหยิบออกมาใช้เป็นตัวอธิบายสิ่งที่แนเชอรัล พาร์ค กำลังดำเนินการอย่างเป็นเหตุเป็นผล
หลังวิกฤต ทำให้เรามีประสบการณ์ว่าต้องหา business model ที่เป็น sustainable growth โดยแบ่งรายได้เป็นสองช่องทางคือ รายได้จากการเช่า ที่เราจัดเป็น sustainable income 60% และรายได้จากการขาย หรือ sales income 40%
การจัดแบ่งรายได้เช่นนี้ สอดคล้องกับหลักการลงทุนรในแง่ของการ Hedge Risk ที่อาจเกิดจากความผันผวนของรายได้ เมื่อต้องยึดติดกับ Revenue Model แบบใดแบบหนึ่งแต่เพียงแบบเดียว เพราะประสบการณ์สอนให้มองทางหนีทีไล่ หากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เศรษฐกิจลดฮวบฮาบ อย่างน้อยแนเชอรัลฯ ก็ยังมีรายได้เป็นประจำทุกเดือนจากผู้เช่ามาเป็น cash flow ของบริษัท การตั้งตัวเลขรายได้จากการเช่า 60% ยังไม่ถือว่า aggressive เพราะเสริมสินอ้างข้อมูลถึงอเมริกาว่า บริษัทอสังหาฯ ชั้นนำหลายบริษัทเป็นรายได้จากการเช่าถึง 100%
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 22

โพสต์

โครงการเพื่อขาย ใช้เงินลงทุนไม่มาก สร้างเสร็จสามารถขายทำเงินได้เลย รับรู้ผลบัญชีกันไม่เกิน 2-3 ปี
ส่วนโครงการให้เช่านั้น ใช้เงินลงทุนสูงและมีต้นทุนการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง รายได้ที่กลับมาในแต่ละเดือนไม่สูง แต่ถือเป็นแหล่งรายได้ระยะยาว
กลยุทธ์แบบนี้เป็น Dual Track นั่นเอง
ทว่า รายได้ทั้งจากการเช่าและขายอสังหาริมทรัพย์ของแนเชอรัล พาร์ค จะไม่เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นอะไรเลย ถ้าไม่ได้รับการขยายความต่อถึง ทิศทาง ที่อธิบายด้วยแบบแผนการบริโภคสมัยใหม่ (New Consumption Pattern) และ ทำเลที่ตั้ง ที่ล้วนอยู่บน Prime Area ที่นอกจากทำมาหากินกับคนในประเทศแล้ว ยังจัดเป็น dollar zone ที่ช่วยลดความเสี่ยง ด้วยการสร้างรายได้จากตลาดต่างประเทศอีกขาหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับโครงการอนาคตของรัฐบาลหลายๆโครงการ เช่น ศูนย์กลางแฟชั่นแห่งเอเชีย ศูนย์กลางการบินแห่งเอเชีย การตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวสูงถึง 1 ล้านล้านภายใน 5 ปี หรือการเปิดให้ชาวต่างประเทศที่ถือบัตร Thailand Elite Card ลงทุนทางด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ หรือ การโปรโมทภาพการเป็นผู้ให้บริการทางด้านสุขภาพ เป็นต้น
Natural Park แทรกซึมทุกอิริยาบถ
แบบแผนการบริโภคสมัยใหม่ หรือ New Consumption Pattern ที่แนเชอรัลฯ ทำการวิจัยอัตราชั่วโมงในการใช้ชีวิตของคนกรุง สรุปออกมาเป็นไดอะแกรมดังนี้
พักอาศัย 84 ชั่วโมง / สัปดาห์ = 50%
ทำงาน 40 ชั่วโมง / สัปดาห์ = 24%
พักผ่อน 30 ชั่วโมง/ สัปดาห์= 18%
เดินทาง 14 ชั่วโมง/ สัปดาห์ =8%)
และจากไดอะแกรมนี้นำไปสู่ทิศทางการลงทุนแบบครบวงจรที่มีทั้ง
ที่พักอาศัย ได้แก่ บ้าน คอนโดมิเนียม อพาร์ตเมนท์ เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์
อาคารสำนักงาน
โรงแรม โรงละคร รีสอร์ท
รถไฟฟ้าใต้ดิน
ตอนผมเรียนด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ MIT ที่นั่นเขามีแนวคิดเรื่อง real estate ครบวงจร ไม่ใช่แค่บ้านหรือแค่ตึก แล้วช่วงนั้น อาจารย์ผมคนหนึ่งชื่อ Sam Zell เป็นเจ้าพ่อแห่งการซื้อหนี้เสียมาทำ เป็นคนเก่ง เขาเป็นประธานของกองทุนอสังหาฯ ที่ใหญ่ที่สุดในอเมริกา โดยไปซื้อหนี้เสียมาทำเป็น 2 บริษัท คือ Equity Residential Properties (ERP) และ Equity Office Properties (EOP)
ประเด็นก็คือ การพัฒนาอสังหาฯ ที่นั่นเขามองแบบครบวงจร และมองอสังหาฯ เป็น instrument ทางการ
เงินมากกว่าคนไทย คนไทยมองอิฐ หิน ปูน ทราย เหมือนกองทุนรวม เหมือน Mortgage Security ก็ยังเป็นอิฐหินปูนทราย แต่ไปทางไฟแนนซ์เยอะขึ้น (อ่าน 2 แบบฉบับ Land Lords)
โจทย์สองข้อ คือ การมีรายได้ต่อเนื่องระยะยาว และการตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภค
ได้กลายเป็นคำอธิบายความชอบธรรมในการเข้าซื้อหุ้นในบริษัทต่างๆ ที่เสริมสินเรียกว่าเป็น พันธมิตรทางยุทธศาสตร์ กล่าวคือ ปัจจุบัน แนเชอรัล พาร์ค ถือหุ้นใน
บมจ. แสนสิริ 24.3% ซึ่งชำนาญการสร้างบ้านเพื่อพักอาศัย
บมจ. แปซิฟิค แอสเซ็ทส์ 63.4% ชำนาญโครงการให้เช่า และโรงแรม
บมจ. สยามซินเท็ค คอนสตรัคชั่น 28.5% และ ชำนาญการก่อสร้าง
บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด 24.7% ให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดินซึ่งจะเปิดบริการจริงเดือนสิงหาคม 2547 นี้ (อ่านล้อมกรอบ เบญจภาคี อสังหาฯ )
ค้นหา Core Competency
ด้วยการขยายเข้าซื้อหุ้นในบริษัทต่างๆ รวมถึงโปรเจ็กต์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้เอง ที่ทำให้แนเชอรัล พาร์ค ถูกจับตามองว่าเป็นการแตกแขนง หรือ diversify ออกนอกสิ่งที่ตนชำนาญ
ยิ่งมีคำยืนยันทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติว่าการขยายตัวไปยังธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้อง (Unrelated Business) ว่า ให้อัตราผลตอบแทนทุนต่ำ ก็ทำให้ยิ่งต้องระวัง
ในบทวิเคราะห์เรื่อง Note on Diversification as a Strategy ของ Harvard Business School ปรากฏชัดว่า การขยายตัวไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง (Related Business) เป็นลู่ทางที่สดใสที่สุด เพราะสามารถปันการใช้ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน และเป็นการผนึกกำลังร่วม (synergy) ที่จะส่งผลดีในระยะยาว แต่ถึงแม้การ diversifty นั้น จะเป็นการข้ามไปลงทุนในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน แต่สามารถใช้ทรัพยากรหรือความรู้หลักร่วมกันได้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ Michael Porter เรียกสิ่งนั้นว่า Strategic Fit หรือ ความสอดคล้องเชิงกลยุทธ์
ความเห็นผม จะไดเวอร์ซิฟายด์หรือไม่นั้น ต้องดูที่ demand size ถ้าเป็นอเมริกา เลือกทำออฟฟิศอย่างเดียวก็เหลือเฟือแล้ว อย่างกองทุนหนึ่งมีอาคารสำนักงานอย่างเดียวในกองทุนนี้ 1,200 ตึก แต่เมืองไทยจะมีอาคารสำนักงานได้สักกี่ตึก ก็ต้องรวมๆ ถ้าอยากจะเติบโตต้องทำอย่างอื่นด้วย ถ้าอยู่จีน ขายจักรยานอย่างเดียวก็ได้ หรือขายบ้านอย่างเดียวก็ได้ แต่อยู่ประเทศเล็กอย่างไทย ฮ่องกง สิงคโปร์ ต้องทำหลายอย่าง เหมือน บริษัท ฮ่องกงแลนด์ หรือ บริษัท แคปิตา แลนด์ ของสิงคโปร์ ก็ต้องขยายแบบเดียวกันนี้
แต่ทฤษฎีหนึ่งก็สามารถูกหักล้างด้วยอีกทฤษฎีหนึ่ง หรือ อาจถูกต้องเพียงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือ ในบริบทใดบริบทหนึ่งเท่านั้น ตัวอย่างเช่น โค้ก เคยยิ่งใหญ่เพราะการ มุ่งเน้น (Focus) สิ่งที่ตนชำนาญ แต่วันหนึ่ง เมื่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม รายได้ทางเดียวจากน้ำดำก็สั่นคลอน
เจนเนอรัล อีเลคทริค ยิ่งใหญ่ด้วยการ diversify ไปสู่หลากหลายอุตสาหกรรม ก็เคยได้รับรางวัลตอบแทนการมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ด้วยการขึ้นเป็นอันดับหนึ่งบริษัทที่มีมาร์เก็ตแคปสูงสุดในตลาดหุ้น แต่ก็ต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก
แต่ทั้ง โค้ก และ เจนเนอรัล อิเลคทริค ถึงแม้จะยึดปรัชญาเชิงยุทธ์ต่างกันแต่ต่างก็มีความสอดคล้องเชิงกลยุทธ์ในระดับเครือข่ายธุรกิจอย่างเด่นชัด อีกทั้ง ความสามาถหลัก (Core Competency) ของแต่ละองค์กรก็เป็นเรื่องที่คู่แข่งขันเลียนแบบได้ยากยิ่ง
อีกตัวอย่าง เช่น ในกรณี ศูนย์การค้า ปกติจัดอยู่ในกลุ่ม ธุรกิจค้าปลีก แต่ถ้าตีความให้ทันสมัย และดูทิศทางลมให้ดีก็สามารถพลิกให้เป็นกลุ่มธุรกิจ เอนเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนมากกว่า เป็นต้น
บางครั้งกลยุทธ์จึงเป็นเรื่องที่แล้วแต่ความสามารถในการตีความ และการจินตนาการของ ผู้นำ ว่าจะนำพาธุรกิจไปในทางใด
เรื่องการโฟกัส หรือ การไดเวอร์ซิฟายด์นี่เป็นทั้งศาสตร์ และทั้งศิลป์มาก คือ การไดเวอร์ซิฟายมีหลายแบบ มีทั้งไดเวอร์ซิฟายผลิตภัณฑ์ ไดเวอร์ซิฟายด์กลุ่มลูกค้า ของเราเป็นการไดเวอร์ซิฟายผลิตภัณฑ์ คือ มีทั้ง บ้าน โรงแรม โรงละคร แต่ทั้งหมดยังโฟกัสอยู่บนความรู้ในการพัฒนาอสังหาฯ
การขยายตัวของแนเชอรัล พาร์ค นักวิเคราะห์บางกลุ่มมองว่าเป็นการออกนอกเส้นทางหลัก เช่น การริเริ่มเข้าทำธุรกิจโรงละคร หรือ การเข้าถือหุ้นในบริษัทก่อสร้างสยาม ซินเทค ตลอดจนการเข้าถือหุ้นในรถไฟฟ้ากรุงเทพ
แต่เสริมสินหาคำตอบสุดท้ายมาครอบการลงทุนทั้งหมดด้วยหลัก Core Competency ของแนเชอรัลฯ ว่าคือ ความรู้ ความสามารถในการบริหารอสังหาริมทรัพย์แบบครบวงจร
โดยการขยายการลงทุนเข้าสู่บริษัทร่วมต่างๆนั้น สอดรับ (fit among) กับธุรกิจอื่นๆที่มีอยู่ อาทิ โรงละครก็เป็นการพัฒนาอสังหาฯ เพื่อความบันเทิง สิ่งใดที่นอกเหนนือความชำนาญก็ทำสัญญารับช่วงให้โอเปอเรเตอร์รายอื่นไปทำแทน เช่น โรงละครระดับบรอดเวย์ สยาม โอเปร่า ก็ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาโรงละครระดับโลกคือ Cameron Mac-kintosh Consultants หรือ ในการบริหารเซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ในซอยหลังสวนก็ให้ Accor เชนโรงแรมระดับโลกมารับช่วงไป การเตรียมเปิดสปาชั้นบนก็หาผู้ชำนาญเช่นเดียวกัน การทำโรงแรมสยาม โฮเต็ล ก็มีพันธมิตรคือ กลุ่มเคมปินสกี้ มาดูแลให้
แนเชอรัล จึงไม่ได้ออกนอกลู่ Core Competency ไปทำเอนเตอร์เทนเมนท์ประเภทเขียนบท กำกับการแสดง จัด costume เข้าสู่ธุรกิจสุขภาพประเภทที่ต้องเทรนนิ่งการนวดด้วยตัวเอง หรือ ชำนาญเรื่องอาหารและเครื่องดื่มแบบที่โรงแรมต้องมี แต่ปักหลักอยู่กับ สร้างมูลค่าในธุรกิจที่ดิน
โครงสร้างเราก็เหมือน ชิน คอร์ป มีมือถือ ไอทีวี เอไอเอส ชิน แซทเทลไลท์ มีอินเทอร์เน็ต เขาก็ดูการบริโภคของคน แต่ของเขาเป็นวงทางด้านการสื่อสาร เราเป็นวงด้านเรียลเอสเตท การ diversify นี้เป็นมาตรฐาน คนทำเยอะ เหมือนเป็นครอบครัวเดียวกันที่มีคนหนึ่งเป็นหมอ อีกคนเป็นทนายความ เก่งคนละอย่างแล้วมารวมกัน เป็นจุดแข็ง แล้วแบ่งให้ทำเรื่องที่แต่ละคนชำนาญ
Corporate Thailand มองว่า ที่จริง การ diversify บน core competency ได้สะท้อนถึงการมี นวตกรรม ภายในองค์กรและตัวผู้นำ เพราะองค์กรคงมืดมนแน่ ถ้าทำซ้ำในสิ่งเดิมตลอด 10 ปี 20 ปี และสุดท้ายต้องพบกับภาวะอิ่มตัว
แม้แต่ การเงินอสังหา ที่เป็นเรื่องเก่าในต่างประเทศแล้ว ก็ยังถือเป็น ของใหม่ สำหรับประเทศไทย ตึกแนเชอรัล วิลล์ เอ็กเซ็กคิวทีฟ เรสซิเดนส์ ในซอยหลังสวนนั้น ก็เป็นตัวอย่างของการเปิดรับนวัตกรรมการลงทุน เนื่องจาก โครงการดังกล่าวได้ขายให้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบีโอเอ จำกัด ซึ่งเป็นกองทุนอสังหาริมทรัพย์ประเภท กอง1 กองทุนแรกที่ได้เข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ในงานวิจัยของ C.K Prahalad และ Gary Hamel เรื่อง The Core Competency of the Corporation ของตักศิลาด้านการจัดการชื่อดัง Harvard Business School ระบุว่า การที่องค์กรจะอยู่ยั้งยืนยงนั้นต้อง ตระหนักรู้ ใน คุณค่าแท้ ของตนเองเสียก่อน (อ่านล้อมกรอบ กรณีศึกษา Core Competenncy)
กูรูการจัดการทั้งสองยกตัวอย่างบริษัทปรากฏการณ์ในช่วงทศวรรษ 1980 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่องค์กรธุรกิจในระดับโลกมีการขยายตัวขนานใหญ่
บริษัท GTE ได้วางโพซิชั่นตัวเองให้อยู่ในอุตสาหกรรมไอที และโทรคมนาคม ขยายไปทำทั้งให้บริการโทศัพท์ แผงสัญญาณ ตู้พีเอบีเอ็กซ์ เซมิคอนดัคเตอร์ส ระบบป้องกันไฟรั่ว และหลอดไฟ และยังแตกแขนงการผลิตออกไปยังอุตสาหกรรมเอนเตอร์เทนเมนท์ ผลิตทีวีสีซิลวาเนีย ในปี 1980 ยอดขายของ GTE สูงถึง 9.98 พันล้าน มีกระแสเงินหมุนเวียน 1.73 พันล้าน แต่บริษัท NEC ของญี่ปุ่นแตกต่างสิ้นเชิง มียอดขายแค่ 3.8 พันล้านเท่านั้น เน้นพัฒนาในเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ แต่ไม่มีประสบการณ์ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม
ล่วงเข้าปี 1988 GTE มียอดขาย 16.46 พันล้าน ในขณะที่ NEC แซงหน้าเป็น 21.89 ล้านเหรียญ การลงทุนมากมายหลายอย่าง ทำให้ในบางธุรกิจ เช่น เซมิคอนดัคเตอร์ อุปกรณ์ตัดไฟของ GTE เป็นแค่รายจิ๊บจ้อยในตลาด
ส่วนการที่ NEC มุ่งมั่นอยู่กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ระบบเมนเฟรม และภายหลังรุกคืบเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์แบบใหม่ เช่น โทรศัพท์มือถือ แฟกซ์ จนพาให้บริษัทติด 5 อันดับแรก ในกลุ่มสื่อสารโทรคมนาคม
หรือ กรณีของ 3M จากผู้ผลิตเทปกาว มาผลิตเทปแม่เหล็ก กระดาษโพสต์-อิท ฟิล์มติดรถ ก็ล้วนเติบโตจากแกนกลางเดียวกัน
Prahalad และ Hamel ฟันธงว่าเป็นเพราะ NEC และ 3M รู้จัก Core Competency ของตนเอง คือ Computer & Communication อันเป็นเข็มทิศสำคัญว่าจะลงทุน หรือไม่ลงทุนสิ่งใด
เสริมสินได้รับอิทธิพลจากงานชิ้นนี้ ดังนั้นแทนที่จะอธิบายแต่ รูปธรรม ว่ามีที่ดินอยู่ย่านใด มีแลนด์แบงก์อยู่กี่แปลง มีอาคารสำนักงานอยู่กี่หลัง เสริมสินกลับอธิบายเรื่อง นามธรรม ว่า Core Competency ของแนเชอรัล พาร์ค คือ ความสามารถในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่ขับเคลื่อนด้วย ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ที่อยู่ในตัว ทรัพยากรบุคคล ซึ่งหมายรวมถึงผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร และพนักงาน
ชั้นเชิงความรู้ในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของกลุ่มแนเชอรัล พาร์ค นั้น เสริมสินอธิบายออกมาเป็นสูตร 3 I
คือ
Information
Intellectual
Instinct
เริ่มต้นจากระดับการสะสมข้อมูล มาสู่การใช้ปัญญาวิเคราะห์ และเมื่อสั่งสมประสบการณ์มากเข้าก็กลั่นมา
สู่การตัดสินใจโดยใช้ sense ที่กว่าจะเท่าทันกันนั้นต้องใช้เวลาในการเรียนรู้
ต่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ ทรัพย์สิน ที่เป็น ที่ดิน อาคาร ถูกตีทรัพย์ชำระหนี้ไปหมด แต่สิ่งที่ยังอยู่คือ ทักษะและความรู้
แต่นักลงทุน และนักวิเคราะห์ไทย จะเห็นด้วยหรือเปล่านั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง !? !
knowledge worker
เสริมสินให้คุณค่ากับทีมงานอย่างมาก เพราะเขามองว่า ทีมงานจะเป็นผู้ที่สานฝันให้เป็นจริงได้ และทีมงานนี่แหละที่เป็น ทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ขององค์กร ที่ต้องได้รับการจัดการอย่างดีและมีประสิทธิภาพ
ธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ asset คือ ที่ดิน แต่ asset จริงๆ คือ human capital เหมือนหนังสือพิมพ์ หรือ สำนักพิมพ์ asset จริงๆ คือ แท่นพิมพ์ คอมพิวเตอร์จัดหน้า หรือ นักเขียน?
บริษัท พร็อพเพอร์ตี้เหมือนกัน อันหนึ่งเป็น hard asset อีกอันเป็น soft asset อันที่เป็น hard ตอนวิกฤต ก็เป็นหนี้เสีย เป็นเอ็นพีแอลกระจุยกันไปหมด แต่ soft ซึ่งก็คือ knowledge เกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เกี่ยวกับการซื้อที่ดิน เกี่ยวกับการระดมทุน แต่ละคนมี knowledge ไม่เหมือนกัน
พาร์ทเนอร์แต่ละคนก็มีแตกต่างกันไป อย่างคุณทศพงศ์ (จารุทวี) ซึ่งเป็นเจ้าของบริษัทเก่า ก็มี knowledge เกี่ยวกับการซื้อกิจการ และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และการดีลกับเชนโรงแรมต่างประเทศ ผมถือว่าเป็นคนที่ได้ดีลดีมากๆ ส่วนคุณสว่าง (มั่นคงเจริญ ผู้บริหาร สยามซินเท็ค) ก็ชำนาญการซื้อเอ็นพีแอล บางคนคิดเรื่องนโยบาย ส่วนผมเป็นความรู้ด้านอสังหาฯ แบบอินเตอร์ เสริมสินอธิบายคุณสมบัติ
นอกเหนือจาก แม่ทัพ ทั้งหลายแล้ว เสริมสินยังมี ขุนพล อีกทางด้านอสังหาริมทรัพย์มากมายที่ทำให้เขามั่นใจในการก้าวไปข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็น เถาถวัลย์ ศุภวานิช กรรมการบริหารฝ่ายการเงิน ที่มากประสบการณ์จากแบงก์ไทยพาณิชย์ ไพศาล ตั้งยืนยง กรรมการบริหารฝ่ายบริหารการก่อสร้างที่คุมโปรเจ็กต์สำคัญๆ ของแนเชอรัล พาร์ค มาแต่อดีต อาทิ โครงการปรับปรุงโรงแรมโมนาร์ก ลี ให้เป็นโรงแรมโซฟิเทล ดูแลการบริการในสนามกอล์ฟของแนเชอรัล พาร์ค เป็นต้น หรือ พิศิษฐ์ โรจนวานิช ที่มากด้วยประสบการณ์การออกแบบ (อ่านล้อมกรอบ ขุนพล แนเชอรัล พาร์ค) เป็นต้น
นอกจากนั้น ยังมีหนุ่มสาวรุ่นใหม่จำนวนมากที่เข้ามาเป็นเฟืองสำคัญในการพาองค์กรสู่เป้าหมาย ภายใต้การนำทัพของ แม่ทัพ คนใหม่ที่เน้นบูรณาการ (integrate) ทักษะเข้าหากัน ผู้อาวุโสมือหนึ่งทางการเงินถูกจัดบรรยากาศให้เสพอรรถรสของโรงแรมหรู เงียบสงบในเชียงใหม่ก่อนเคาะผ่านการทำโปรเจ็กต์โรงแรมในลักษณะเดียวกัน ฝ่ายสถาปนิกต้องเข้าอกเข้าใจการเงิน ภายใต้พื้นที่ และความสูงที่จำกัดตามกฎหมาย ต้องออกแบบใช้สอยและจำนวนห้องให้มากที่สุด เป็นต้น
รักเอ็น-พาร์ค ต้องอดทน
การแตกแขนงธุรกิจแบบหนวดปลาหมึกนั้น ข้อดีคือ เป็นการกระจายความเสี่ยง กรณีที่ขาหนึ่งขาใด เช่น การประมูลก่อสร้างงานภาครัฐเบาบาง ก็ยังมีรายได้จากค่าเช่าสำนักงานมาเสริม วันดีคืนดีเกิดเหตุวินาศกรรม รายได้จากโรงแรม และเซอร์วิสอพาร์ตเมนท์ลดฮวบฮาบ ก็ยังมีการให้บริการสื่อสารมวลชนภายในประเทศ
แต่เชื่อว่า เสริมสินและคณะผู้ถือหุ้นย่อมดีดลูกคิดรางแล้วเห็นว่า ทุกโครงการที่เข้าลงทุนในขณะนี้ เป็นขุมทรัพย์สำคัญ ที่จะทำให้ผลประกอบการรวม และราคาหุ้นพุ่งทะยาน ทั้งบริษัทย่อยและบริษัทแม่พุ่งทะยาน แต่ก่อนหน้านั้น ต้องเทเงินลงทุนมามหาศาล เฉพาะที่ใช้ในการเข้าถือหุ้น 4 บริษัทนี้ คิดเป็นเงิน 5,900 ล้านบาท ยังไม่นับในส่วนการลงทุนของแนเชอรัล พาร์คเองอีก
ผู้ถือหุ้นต้องอดทนเป็น long - term commitment ใช้เวลา 2-3 ปี จุดเด่นของมันคือ sustainable growth เสริมสินส่งผ่านความคิดไปถึงผู้ถือหุ้นและนักลงทุน ต้นปีหน้า (2548) โรงแรมจะเริ่มเสร็จที่เชียงใหม่ ก็พยายามสร้างแหล่งรายได้ให้เกิดขึ้นเร็วที่สุด แต่นักลงทุนก็ happy นะ เพราะมี liquidity ในตลาดทุน ซื้อขายง่าย ไม่เครียดมาก
คนเคยเป็นนักลงทุนย่อมเข้าใจหัวอกนักลงทุนเหมือนกัน ดังนั้นจึงเห็นโครงการในระดับสร้างจากพื้นฐาน (ground up) ไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเน้นโครงการที่ดำเนินการแล้ว และทิ้งไว้เป็นเอ็นพีแอลในยุควิกฤต ซึ่งได้เปรียบที่ซื้อของในราคาถูก อันเป็นวิสัยของนักลงทุนที่พึงกระทำ การเติบโตของบริษัทอสังหาฯ ชั้นนำของโลก เช่น ฮ่องกงแลนด์ ของมหาเศรษฐีลีกาชิง หรือ แคปิตา แลนด์ ของสิงคโปร์ ก็ใช้การก้าวกระโดดจากซากเอ็นพีแอล แม้บางคนจะมองว่า กระโดดจากคราบน้ำตาของใครบางคน แต่ย่อมดีกว่าทิ้งไว้ให้เป็นภาระของประเทศ
แนเชอรัล พาร์ค โชคดีที่ระดมทุนได้ในช่วงที่ยังพอมีของเล ราคาถูกอยู่ในตลาด จึงเป็นหนทาง shortcut ที่ไม่ต้องเริ่มสร้างเองจากศูนย์ การอดทนที่เสริมสินอธิบายกับผู้ถือหุ้น จึงเป็นการอดทนอย่างมีความหวัง
thawattt
Verified User
โพสต์: 1141
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 23

โพสต์

แม้ว่าโครงการของ N-PARK ได้สร้างฝันให้กับผู้ลงทุน อย่างไรก็ตาม มีผู้วิจารณ์จุดอ่อนของ N-PARK ซึ่งผมคิดว่านักลงทุน VI ที่ดี ควรที่จะมีมุมมองของข้อมุลทั้งด้านบวกและลบ เพื่อเป็นปัจจัยในการพิจารณาการลงทุนอย่างรอบคอบ เนื่องจากนักลงทุนแบบ VI จะเน้นหุ้นที่ Focus และไม่มีความเสี่ยงในเรื่องของระยะเวลาเนื่องจากจะเน้นการลงทุนระยะยาวจริง ๆ ดังนั้น บัฟเฟทได้พูดถึงเรื่องนี้ว่าการลงทุนระยะยาวและเลื่อกหุ้นที่ดีนั้น ราคาในระยะสั้นจะไม่ได้สะท้อนความเสี่ยงของผู้ลงทุนแบบ VI เพราะในระยะสั้นนั้นเป็นเรื่องของการ Vote ของตลาดเนื่องจากความเข้าใจในผลการดำเนินงานนั้นแตกต่างกัน แต่ในระยะยาวแล้ว ราคาหุ้นและผลการดำเนินงานมีแนวโน้มที่จะไปด้วยกันครับ ลองอ่านมุมมองด้านลบบ้างนะครับ
จุดอ่อน N-PARK โตแบบ มีเงื่อนไข


โดย business thai [23-5-2005]


เสริมสิน สมะลาภา นักบริหารหนุ่มไฟแรง ด้วยวัยเพียง 37 ปี นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เอ็นพาร์ค และปัจจุบันถือหุ้นเอ็นพาร์คอยู่ 5.71% ของทุนจดทะเบียน เอ็นพาร์คก่อตั้งในปี 2536 โดยนายทศพงศ์ จารุทวี ซึ่งก่อนหน้าที่เสริมสินจะเข้ารับตำแหน่งที่เอ็นพาร์คนั้น ได้ผ่านสังเวียนธุรกิจมามากพอสมควร
โดยเฉพาะปี 2542 ได้เป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัทไทย พอร์ทัล จำกัด เจ้าของเว็บท่า thailand.com โดยขณะนี้กลุ่มเนชั่นได้ตัดสินใจร่วมลงทุนกับเสริมสิน เนื่องจากมองว่า เสริมสินมีประสบการณ์เป็นเจ้าของธุรกิจเว็บไซต์mr.home.com (เว็บให้ข้อมูลด้านอสังหาผ่านอินเตอร์เน็ต) ซึ่งตอนนั้นมีการวาดฝันว่าจะเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในสื่อใหม่ในโลกอินเทอร์เน็ต แต่ไม่ทันไรก็เกิดฟองสบู่ดอตคอมแตกลง ส่งผลให้บริษัทนี้ไปไม่ถึงฝั่งฝัน และสูญเงินลงทุนไปไม่น้อยกว่า 400-500 ล้านบาท
จากนั้นในปี 2546 เสริมสิน ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัทแนเชอรัล พาร์ค จำกัด(มหาชน) หรือเอ็นพาร์ค การเข้ามาบริหารองค์กรใหม่นี้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะเป็นองค์กรที่เพิ่งผ่านกระบวนการฟื้นฟู ต้องเร่งสร้างผลงานให้เกิดอย่างรวดเร็ว
ซึ่งแนวทางหรือกลยุทธ์ในการวางกรอบธุรกิจของเอ็นพาร์คที่เสริมสินบริหารนั้น ได้นำหลักการมาจากปรมาจารย์ด้านกลยุทธ์ของโลก นั่นคือ ไมเคิล อี พอร์เตอร์ ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านกลยุทธ์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด (Harvard University) ผู้คิดค้นโมเดล Value Chain ในการวิเคราะห์สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับบริษัท
ด้วยการแยกกระบวนการทางธุรกิจออกเป็นขั้นตอนเพื่อให้เข้าใจถึงกิจกรรมที่ก่อให้เกิดต้นทุน รวมถึงการหาความเป็นไปได้ในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันให้กับบริษัทฯ
รูปแบบหลักที่เสริมสินนำมาใช้เป็นโมเดลในการทำธุรกิจทุกวันนี้คือ กลยุทธ์การเติบโต ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ รูปแบบแรกเป็นการเติบโต โดยขยายตัวในแนวราบ (Horizontal Integration) ซึ่งเป็นการขยายสินค้าและบริการเดิมของบริษัทฯ ไปสู่ตลาดใหม่ หรือการขยายธุรกิจไปยังภูมิภาคอื่น อย่างเช่น การเข้าไปลงทุนใน บริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย คอนโดมิเนียม และบ้านเดี่ยว การเข้าไปลงทุนในบริษัท แปซิฟิค แอสเซ็ทส์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านบริการโรงแรม และการเข้าลงทุนในบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (BMCL) ซึ่งดำเนินธุรกิจในการให้บริการรถไฟฟ้าใต้ดิน
ส่วนรูปแบบที่ 2 คือ การเติบโตโดยขยายตัวในแนวดิ่ง (Vertical Integration) ซึ่งจะเป็นการขยายกิจการของบริษัทฯ ไปยังธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่มูลค่า (Value Chain) โดยรูปแบบห่วงโซ่ฯ นั้นจะเริ่มตั้งแต่ซัพพลายเออร์ต่างๆ ที่จัดส่งวัตถุดิบเพื่อการผลิต ผู้สนับสนุนแหล่งเงินกู้เพื่อการลงทุน จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการจัดการภายในเพื่อสร้างมูลค่าในลำดับถัดไปและส่งต่อไปยังลูกค้าในลำดับท้ายที่สุด โดยแต่ละกิจกรรมบนห่วงโซ่นั้นๆ จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อสินค้าและบริการเพื่อส่งมอบสินค้าและบริการให้แก่ลูกค้า
สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ห่วงโซ่มูลค่าของกิจการจะเริ่มจาก การจัดสรรเงินทุน การพัฒนาอสังหาฯ การก่อสร้าง จนถึงการบริการ เอ็นพาร์ค ได้ขยายตัวในแนวตั้งด้วยการเข้าลงทุนในบริษัท ซินเท็คฯ ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านก่อสร้างครบวงจร และได้เข้าลงุทนในธุรกิจการบริการ เช่น ร้านอาหารจากฝรั่งเศส เลอโนท สำหรับการลงทุนในฟินันซ่า ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำธุรกรรมทางการเงินครบวงจรนั้นถือเป็นการขยายกิจการไปในแนวตั้งที่ทำให้ห่วงโซ่มูลค่าของเอ็นพาร์ค สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แต่ในวันนี้ห่วงโซ่มูลค่าของเอ็นพาร์ค กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลง หากมีการเทขายหุ้นของฟินันซ่า และ หุ้น BMCL ออกไป นั่นจะหมายถึงความไม่สมบูรณ์ของห่วงโซ่มูลค่า ซึ่งขัดกับโมเดลธุรกิจของไมเคิล อี พอร์เตอร์ ที่ต้องมุ่งสร้างValue Chain ให้ได้ซึ่งคำตอบสุดท้ายของเอ็นพาร์คคงจะต้องพอได้คำตอบในระดับหนึ่งว่า ที่ผ่านมาหมากธุรกิจที่วางไว้ผิดพลาด และกำลังกลายเป็นปัญหาติดตามในลักษณะของโดมิโน และคงต้องติดตามกันต่อไปว่า
เอ็นพาร์คจะนำนาวาลำนี้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้หรือไม่
คนเก่งแต่เดินแบบเซียนหุ้น
ด้าน รศ.มานพ พงศทัต อาจารย์ประจำภาควิชาเคหการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวให้ความเห็นว่า ในส่วนตัวรู้จักกับนายเสริมสิน สมะลาภามาตั้งแต่สมัยเรียนปริญญาตรีที่จุฬาฯ เป็นคนที่มีความขยันและมีทักษะมาก มีความสนใจในเรื่องการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มาตั้งแต่ต้น เป็นคนเก่งคนหนึ่งที่มีอนาคต แต่ด้วยประสบการณ์ที่มีโอกาสได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศอาจจะทำให้เสริมสินได้ไปเรียนรู้แนวทางในการพัฒนาอสังหาฯในรูปแบบตะวันตก คือการซื้อกิจการที่ตนสนใจแล้วนำมาผนวกกับธุรกิจหลัก เพื่อสร้างกำไร ซึ่งในต่างประเทศประเทศนิยมทำกัน แต่สำหรับในไทยเองนั้น แนวทางนี้ยังไม่ค่อยมีใครนิยมทำกัน ส่วนใหญ่จะพัฒนาอสังหาฯ ในรูปแบบที่เห็นๆ กันคือสร้างโครงการขึ้นมาแล้วขาย หรือให้เช่าด้วยตนเอง มากกว่าที่จะไปยืมมือคนอื่นทำ
จุดอ่อน N-Park โตแบบ มีเงื่อนไข
ดร.เอกชัย พวงกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ธนาคารกรุงไทยได้วิเคราะห์โมเดลธุรกิจของ N-Park ไว้อย่างน่าสนใจ จึงขอนำมาถ่ายทอดไว้ดังนี้
เมื่อย้อนดูประวัติของบริษัทแนเชอรัล พาร์คฯ อาจกล่าวได้ว่าบริษัทนี้ถูกก่อตั้งขึ้น เฉพาะกิจ ด้วยทุนจดทะเบียนชำระแล้วเพียง 100,000 บาทเท่านั้น เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 มีการปิดสถาบันการเงิน 56 แห่ง ส่งผลให้ แนเชอรัล พาร์ค ต้องเผชิญกับภาระหนี้สินสูงกว่าหมื่นห้าพันล้านบาท N-park ได้สัมผัสระบบการปรับโครงสร้างหนี้เป็นครั้งแรกกับบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) จากการมีมูลหนี้สูงถึง 15,696 ล้านบาท หลังจากที่ทำการปรับโครงสร้างหนี้กับ บบส. แล้วหนี้ลดลงเหลือ 7,697 ล้านบาท ด้วยการแลกสินทรัพย์ที่เอ็นพาร์คสะสมไว้ในยุคฟองสบู่ที่โป่งพอง เหลือไว้เพียงขุมทรัพย์หลักที่สร้างรายได้ให้บริษัทนั่นคือ ธุรกิจอพาร์เมนท์ให้เช่า บริเวณซอยสุขุมวิท 49 ที่ทำรายได้เพียงปีละ 100 ล้านบาทเศษเท่านั้น
เดือนเมษายน 2543 เอ็นพาร์คยื่นขอฟื้นฟูกิจการจากศาลล้มละลายกลาง กระบวนการฟื้นฟูกิจการสำเร็จเมื่อกุมภาพันธ์ 2546 ในเดือนกรกฎาคมปี 2546 เอ็นพาร์คก็ได้รับข่าวดีเมื่อศาลมีคำสั่งให้ยกเลิกการฟื้นฟู ทีมผู้บริหารชุดใหม่เข้ามาดำเนินการทันที เป็นทีมผู้บริหารมืออาชีพชุดใหม่ที่มีมุมมองระดับ อินเตอร์ เช่น ม.ร.ว.เกษมสโมสร เกษมศรี, ศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์, และเสริมสิน สมะลาภา นักบริหารหนุ่มไฟแรง ผู้มีประสบการณ์ในแวดวงอสังหาริมทรัพย์มานานกว่าทศวรรษ พร้อมดีกรีปริญญาโทจาก MIT นั่งแท่นกรรมการผู้จัดการบริษัทคนใหม่ ด้วยนโยบายการดำเนินธุรกิจ แบบยั่งยืน ทำให้ แนเชอรัล พาร์ค ปรับสูตรโครงสร้างรายได้ใหม่ ไม่หวังผลรายได้จากจากการขายเพียงด้านเดียว แต่รายได้ยังมุ่งหวังจากการให้เช่า ในเวลาเพียงปีเศษ บริษัทนี้ภายใต้การนำของเสริมสิน ทุ่มเงินร่วม 10,000 ล้านบาท ไล่เทกโอเวอร์ โครงการต่างๆ ทั้งในประเทศไปจนถึงประเทศญี่ปุ่น ด้วยแผนการที่จะสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาว ที่เมืองเกียวโต ซึ่งต้องใช้งบลงทุนทั้งสิ้นถึง 2,500 ล้านบาท
เสริมสินใช้กลยุทธ์เข้าไปซื้อหนี้เสียที่มีอนาคตมาทำต่อ โดยดำเนินการตามคำสอนของ Sam Zale และ ตามหลักทฤษฎีของ Warren Buffett รวมทั้งเชื่อว่าการลงทุนเพียงคนเดียวไปไม่รอด ต้องหาทางนำหุ้นของบริษัทต่างๆ ที่อยู่ในเครือเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯให้ได้ เพระทุนต้องใช้ตลอด และต้องพยายามสร้างพันธมิตรทางธุรกิจกับมืออาชีพระดับโลกให้ได้
การไล่เทกโอเวอร์และการทุ่มการลงทุนระยะยาวมากเกินไปส่งผลให้ปลายปี 47 แนเชอรัล พาร์ค ทุ่มเม็ดเงินเพื่อการลงทุนไปแล้ว 4,063 ล้านบาท เม็ดเงินส่วนใหญ่มาจากเงินกู้ยืมระยะสั้น ส่งผลให้หนี้สินหมุนเวียน (ต้องชำระภายใน 1 ปี) ของบริษัทฯพุ่งสูงถึง 4,380 ล้านบาท ขณะที่สินทรัพย์หมุนเวียนมีเพียง 639 ล้านบาท ข้อมูลทางการเงินบ่งชัดว่าบริษัทฯ กำลังประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินอย่างรุนแรง จนไม่สามารถออกหุ้นกู้แปลงสภาพ (35 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อนำเงิน มาชำระหนี้คืนให้แก่ ธนาคารกรุงไทย ได้ไม่ทันภายในกำหนดเวลา ราคาหุ้นเอ็นพาร์คเริ่มปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง เหลือเพียง 0.81 บาทเท่านั้น รวมทั้งธนาคารกรุงไทยถูกเพ่งเล็งจากธนาคารแห่งประเทศไทยว่าปล่อยสินเชื่ออย่างหละหลวมให้กับบริษัทที่ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้
เมื่อเดินตามเส้นทางการก้าวกระโดดบนแนวคิด กลยุทธ์ที่เสริมสินที่วางไว้ จึงพบว่า แหล่งเงินทุน ของ Model ธุรกิจแบบใหม่นี้มาจากการสร้างมูลค่า หุ้นของบริษัทที่ไปไล่เทกโอเวอร์ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ให้เพิ่มสูงขึ้น แล้วเอาเงินที่ได้รับจากการระดมทุนเหล่านั้นมาหมุน และสร้างมูลค่าธุรกิจ รวมทั้งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีเพื่อง่ายต่อการหาพันธมิตรร่วมลงทุนกับต่างประเทศ ต่อจากนั้นก็เอาหุ้นเหล่านั้นไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินอีกต่อหนึ่งแล้วนำเงินที่ได้จากสถาบันการเงินมาลงทุนต่อไป ซึ่งวิธีการนี้ ปิ่น จักกะพาก เคยใช้สร้างอาณาจักรฟินวัน เพียงปีเศษ แนเชอรัล พาร์ค ภายใต้การนำของเสริมสิน ทุ่มเงินกว่า 13,500 ล้านบาท ไล่เทกโอเวอร์โครงการต่างๆ เป็นว่าเล่น
แต่จุดอ่อนของวิธีการนี้คือจะทำให้เอ็นพาร์ค โตแบบไม่มีฐานรายได้สนับสนุน และโตอย่างมี เงื่อนไข เพราะภายในมีขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือ Conflict of Interest เด่นชัดมากยิ่งขึ้น เพราะหุ้นที่เอ็นพาร์คไปลงทุนล้วน ขาดทุน อย่างหนัก เพราะซื้อมาในราคา พรีเมียม จากผู้ถือหุ้นเดิม แทนที่จะซื้อหุ้นเพิ่มทุนล็อตใหม่ในราคา ส่วนลด อย่างบริษัทอื่นๆ ขณะที่กิจการที่บริษัทไปลงทุนส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินจำนวนมาก และมีผลการดำเนินงาน ขาดทุน ส่วนโครงการใหม่ที่ลงทุนก็มี ต้นทุน งานก่อสร้างที่สูงเกินไป ในขณะที่โครงการที่ลงทุนเกือบทั้งหมดใช้ระยะเวลาคืนทุนนาน ธรรมชาติของธุรกิจที่มีรายได้จากค่าเช่า โรงแรม และร้านอาหาร ไม่ทำให้บริษัทเติบโตแบบก้าวกระโดดได้จริง ส่งผลให้ E-Street Properties Limited ของมหาเศรษฐี Michale Sofaer บนเกาะฮ่องกงได้ทยอยลดพอร์ตหุ้นเอ็นพาร์คนี่คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าภายในเอ็นพาร์คเริ่มก่อปัญหารุนแรงขึ้นมาแล้ว เกมต่อยอดธุรกิจของเอ็นพาร์ค มาสู่เส้นทางที่ ตีบตัน มากขึ้นทุกขณะ โดยเฉพาะแหล่งเงินทุนจากสถาบันการเงินเรียกว่าแทบจะ ปิดสนิท ผู้บริหารหลักๆของเอ็นพาร์คมีมลทิน ถูกกล่าวหาจากธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีผ่องถ่ายเงิน และเอ็นพาร์คยังอยู่ระหว่างใช้เงินอีกหลายพันล้านบาทในการลงทุน ในขณะที่เงินทุนส่วนหนึ่งถูกโยกออกไปลงทุนในต่างประเทศแล้ว
สำหรับโครงการใหม่ๆ ที่เอ็นพาร์คกำลังจะลงมือ ก่อสร้างเอ็นพาร์คต้องเสริมสภาพคล่องของตนเอง ด้วยการทยอยขายหุ้นของบางบริษัทที่ตนเองถืออยู่ออกมา เช่น การเทขายหุ้นฟินันซ่า เพื่อรองรับโครงการโรงแรม อามันรีสอร์ท กรุงเทพ ที่ร่วมมือ กับบริษัทอามันรีสอร์ท เซอร์วิสเซส ลิมิเต็ด และบริษัทซิลเวอร์ลิงค์ โฮลดิ้ง จำกัด สร้างโรงแรมหรูระดับ 6 ดาว ติดแม่น้ำเจ้าพระยา วงเงินลงทุน 1,120 ล้านบาท เป็นต้น ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงจากดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้น การหาเงินทุนเพิ่มเพื่อรองรับ การขยายการลงทุนที่เพิ่มขึ้น ความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคลดลงวัสดุก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในขาขึ้นรวมทั้งภาวะการณ์แข่งขันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงเป็นสิ่งท้าทายและเป็นโจทย์ข้อใหญ่รอให้ เสริมสิน เข้ามาแก้ปัญหา
Boring Stock Lover
Verified User
โพสต์: 1301
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 24

โพสต์

[quote="thawattt"]อยากถามความเห็นในประเด็นนี้หน่อยนะครับ


2.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ม้าเฉียว
Verified User
โพสต์: 350
ผู้ติดตาม: 0

อยากขอทราบมุมมอง Update ธุรกิจโรงแรมหน่อยครับ

โพสต์ที่ 25

โพสต์

Boring Stock Lover เขียน: ช่วงนี้เห็นข่าวเรื่องโรงแรมระดับ 6 ดาว ถึ่ขึ้น ก็เลยสงสัยว่า จริงๆแล้วเมืองไทยมีตลาดสำหรับคนกลุ่มนี้หรือเปล่า

ผมเห็นราคาโรงแรมในเมืองไทยที่แพงๆ ก็อยู่ประมาณ US$500 ยกเว้นบางห้องในบางโรงแรมก็อยู่ US$1,000 ซึ่งโรงแรมพวกนี้ ก็ยังเป็นแค่ 5 ดาว โรงแรม 7 ดาวที่ดูไบ ค่าห้องขั้นต่ำ US$5,000 ที่ได้ยินมา ไม่กล้าเข้าพัก ลำพังถ้าเข้าไปดูก็เก็บค่าเข้า US$200 ซะแล้ว  :oops:

สงสัยจริงๆถ้ามีนักท่องเที่ยวหรือนักธุรกิจระดับนี้จริงๆ เรามีที่ให้เขาเที่ยวหรือเปล่า นอกจากวัดพระแก้ว
มีีเยอะแยะเลยครับ อภิมหาเศรษฐีที่จะเข้าพักโรงแรมระดับ 6 ดาวไปในประเทศไทย เพราะมหาเศรษฐีพวกนี้ จริงๆไม่ได้มาเที่ยวเมืองไทยหรอกครับ แค่แวะพัก เพื่อไปต่อยังพุกาม อังกอวัด ภูฏาน เนปาล
ล็อคหัวข้อ