Re: Believe it or not
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 24, 2012 9:18 am
อ้าว เฉลยแล้วนิ
อืม.....คล้ายๆครับแต่ยังไม่เหมือน ซะที่เดียว ที่ไม่เหมือนอย่างแรกเลยคือ เค้าแยกกันเลยครับว่าเช่า ก็เช่า ถ้าซื้อ ก็ซื้อ และกลุ่มที่เช่า เค้าเน้นที่ วอลุ่ม ต้อง อย่างน้อย 300 ภาพขึ้นไป และเค้าก็ยังเปลี่ยนภาพให้ใหม่ทุก ๆ 3. เดือน หรือตามฤดูกาล โดยมีการจัดภาพเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศในแต่ละฤดู เพราะฉะนั้นเค้าจึงเน้น ธุรกิจที่เน้นการสร้างบรรยากาศที่ไม่จำเจ แต่ใช้เงินน้อยกว่ามาก ซึ่งลูกค้าก็น่าจะแฮปปี้. เพราะประหยัดงบด้วยและก็ยังสร้างบรรยากาศที่ไม่จำเจได้ความรู้สึกใหม่ๆ ทุก สามเดือนจึงน่าจะเป็นจุดขายได้อีกทางนะครับ ส่วนอีกอย่างที่ไม่เหมือนคือต้นทุนของสินค้า จากที่เอามาโพสผมว่าเค้าน่าจะมีต้นทุนต่อภาพสูงกว่าเพราะเห็นว่าช่วยศิลปินหน้าใหม่ซึ่งแสดงว่าเค้าต้องซื้อต่อมาจากศิลปิน ซึ่ง เค้าได้พูดให้ผมฟังว่าสินค้าของเค้าหากมองด้วยสายตาของศิลปินหรือผู้ที่ชอบงานศิลปต้นทุนของเค้าก็คงจะสูงมากจนไม่คุ้มที่จะทำ แต่ถ้ามองด้วยสายตาของผู้ที่ไม่ใช้ศิลปินหรือคนที่ชอบ สินค้าของเค้าก็จะมีต้นทุนเพียงแค่วัสดุที่นำมาผลิต เพราะสำหรับเค้าเค้ามองว่ามันเป็นแค่สินค้าอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช้งานศิลปะที่มีไว้สะสม. ไม่ทราบว่างงมั้ยครับเพราะตอนแรกผมก็งง ๆ เหมือนกันครับsovlfly เขียน:เปิดเว็บไซต์เช่างานศิลปะก่อนซื้อ
การซื้องานศิลปะเพื่อสะสมอาจไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปสำหรับชาวอเมริกัน เพราะมีเว็บไซต์ที่เปิดโอกาสให้นักสะสมเช่างานศิลปะไปแขวนไว้ในบ้าน ก่อนจะตัดสินใจซื้อ
อเล็กซ์ซิส ไทรอน หญิงชาวนิวยอร์กวัย 24 ปี และเพื่อนอีกคนหนึ่งร่วมกันก่อตั้งเว็บไซต์เช่างานศิลปะ โดยก่อนหน้านี้ เธอเคยเผชิญกับปัญหาการซื้องานศิลปะ ที่ยุ่งยากและเสียเวลา เพราะนักสะสมต้องเดินทางไปแกลอรี่หลายต่อหลายแหล่ง เพื่อดูงานจริงก่อนตัดสินใจซื้อ
ปัญหาดังกล่าวทำให้เธอเปิดเว็บไซต์ ที่ชื่อว่าอาร์ตซิเคอร์ (Artsical) http://www.artsicle.com ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ชื่นชอบงานศิลปะ เลือกเช่าภาพวาด งานปั้นหรือภาพพิมพ์ ที่พวกเขาชอบ จากคอลเล็กชั่นศิลปินหน้าใหม่และศิลปินชื่อดัง ซึ่งผู้เช่าสามารถนำภาพวาดไปแขวนในบ้าน นั่งมองแล้วมองอีก ก่อนตัดสินใจว่าชอบภาพนั้นหรือไม่ และซื้อผลงาน
อัตราค่าเช่างาน ศิลปะนี้อยู่ที่ 50 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 1,700 บาท และหากผู้เช่าติดใจ ก็สั่งซื้อได้ในราคาตั้งแต่ 500-5,000 ดอล่าห์สหรัฐ หรือประมาณ17,000-170,000 บาท และหากไม่ถูกใจก็สามารถส่งคืน หรือเช่าภาพอื่นๆต่อไปได้
จุดประสงค์อีกอย่างของการเปิดเวบไซต์นี้ คือ เป็นการช่วยศิลปินหน้าใหม่ ที่ยังไม่ดัง ได้มีโอกาสแสดงผลงานของพวกเขา โดยไม่ต้องกังวลว่า แกลลอรี่ต่าง ๆ จะเปิดพื้นที่ให้แสดงงานหรือไม่
http://news.voicetv.co.th/technology/7697.html
คล้ายๆลักษณะนี้รึเปล่าครับ
คงไม่เหมือนหรอกครับ เพราะขณะนี้เค้ามีภาพที่สามารถจำหน่ายได้เลยถึง 8000 กว่าภาพและมี 1800 แบบซึ่งจำนวนขนาดนี้ผมว่าณ.ขณะนี้ ในตลาดไม่มีใครมีภาพมากขนาดนี้ และจากจำนวนขนาดนี้ เค้าถึงสามารถให้ตามโรงแรมใหญ่ ๆ เช่าได้เพราะโรงแรมแต่ละที่ใช่ภาพ ตามห้องพัก ล๊อบบี้ โถงทางเดินต่าง ๆ และตามห้องอาหารอีก น่าจะไม่ต่ำกว่า 3-4 ร้อยภาพ แถมยังเปลี่ยนภาพให้ทุกๆ สามเดือนครับ ลองคิดดูเล่น ๆ ว่าถ้าจำนวนภาพที่เค้ามีอยู่นี้ เค้าไม่ผลิตหรือสั่งเพิ่ม และเค้ามีลูกค้าที่เช่าอยู่แล้ว และเค้าก็ให้เช่าไปอีก 10 ปี เพราะฉะนั้น เค้าก็จะมีรายได้สม่ำเสมอ แต่ไม่มีต้นทุนของสินค้าอีกเลย มีแต่ค่าใช้จ่ายดำเนินงานsovlfly เขียน:คล้ายๆร้านรับก๊อปภาพแถวมาบุญครองหรือแถบพัทยาไหมน้า
แต่เพิ่มมาเป็นมีให้เช่าภาพได้ด้วย
เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ แต่ถ้าลองคิดดูนะครับ สินค้าแบบนี้เนี้ยมันไม่มีอะไรเป็นมาตรฐานของการตั้งราคาขายเลย ถ้าจะลองตั้งราคาขายเหมือนอย่างสินค้าอย่างอื่น ซึ่งเค้าก็คงตั้งจากการเอาต้นทุนวัตถุดิบ บวกค่าใช่จ่ายในการดำเนินงานต่างๆ และบวกกำไรที่ต้องการ สินค้าทั่วไปก็คงต้องการสัก 10- 15%. ก็คงดีแล้ว. ลองคิดดูว่าถ้าใช่วิธี เดียวกัน ราคาขายคงจะประมาณรูป ละ 5000-6000 บาทก็คงจะดูว่าถูกเกินไป.simpleBE เขียน:จริงๆ แล้วศิลปินเองก็มองต้นทุนของงานศิลปะของเค้าเองทั้งสองแบบนะครับ
แบบแรกคือ ต้นทุนเชิงรูปธรรม ก็พวกเฟรม ผ้าใบ สี พู่กัน กรอบรูป ฯลฯ
ซึ่งต้นทุนตรงนี้อาจจะเพียงแค่ไม่ถึง 1-10% ของราคาขายผลงานศิลปะจริงๆ
แบบสองคือ ต้นทุนเชิงนามธรรม คือต้นทุนที่มองไม่เห็นด้วยตา
เป็นต้นทุนที่เกิดจากการสั่งสมทักษะ ประสบการณ์ แนวคิด มุมมองต่อโลก แล้วเอาทุกอย่างมาประมวลกัน
สร้างเป็นผลงานศิลปะมีที่มีเอกลักษณ์ของตัวเอง ไม่เหมือนใครในโลก
พอมาบวกกับความมีชื่อเสียงของศิลปินแต่ละคน จึงทำให้ราคาของงานศิลปะมันเพิ่มค่าเป็นเท่าทวีคูณ
ยิ่งศิลปินมีชื่อเสียงมากเท่าไหร่ ราคาและความต้องการก็มากขึ้นตามไปด้วย
พอพูดถึงศิลปะคนส่วนใหญ่มักจะมองแค่ภาพเขียนอย่างเดียว ซึ่งการเขียนภาพแต่ละภาพตั้งใช้เวลาพอสมควร
ตั้งแต่ 2-5 ชั่วโมง 1 วัน หรืออาจจะเป็นอาทิตย์เป็นเดือนเป็นปี พอเขียนออกมาแล้วมันจะกลายเป็น original เป็นงานชิ้นเดียวในโลก
ซึ่งการผลิตผลงานในส่วนนี้จริงๆ ก็ใช่ว่าจะควบคุมไม่ได้ แต่มันอาจจะมีการคาดเคลื่อนบ้าง แต่ถึงยังไงก็ยังต้องใช้เวลา
แต่นอกเหนือจากภาพเขียน แล้วงานที่นิยมตกแต่งสถานที่ต่างๆ ก็ยังมีงานภาพพิมพ์ และงานภาพถ่าย (fine art photo) ด้วย
ซึ่งงานทั้งสองประเภทเป็นงานที่ซ้ำได้ในจำนวนเยอะๆ เช่น ภาพพิมพ์หนึ่งภาพสามารถพิมพ์แบบเดียวกันได้อีกเป็นสิบเป็นร้อยภาพแล้วแต่แม่พิมพ์
แต่ถ้าเป็นงานภาพถ่ายสามารถทำซ้ำได้ไม่จำกัด ซึ่งงานทั้งสองประเภทก็คงทนไม่แพ้ภาพเขียน อยู่ได้เป็นสิบเป็นร้อยปีเช่นกัน (อยู่แต่กระดาษและขั้นตอนการผลิต)
ผมว่าโมเดลนี้น่าสนใจมากๆ คนคิดโมเดลนี้เก่งมากที่มองเป็นค่าของสิ่งที่ชินตาเราๆ ทั่วไป
ขอบคุณที่เอามาแบ่งปันนะครับ