หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
โพสต์ที่ 1
ผู้ถือหุ้นกู้คือเจ้าหนี้ของบริษัท และเมื่อบริษัทล้มละลาย ผู้ถือหุ้นกู้จะได้เงินคืนก่อน
หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
หุ้นกู้แปลงสภาพคือ หุ้นกู้ที่ให้สิทธิผู้ลงทุนในการแปลงสภาพหุ้นกู้ที่ถืออยู่เป็นหุ้นสามัญ หุ้นกู้แปลงสภาพนี้มีลักษณะที่เหนือว่าหุ้นกู้ทั่วไปคือ ในยามที่เศรษฐกิจซบเซาและบริษัทที่ออกหุ้นกู้ไม่มีผลประกอบการโดดเด่น ผู้ถือหุ้นกู้สามารถเลือกที่จะถือหุ้นกู้ต่อไปเพื่อรับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยและรับเงินต้นคืนเมื่อหุ้นกู้หมดอายุ แต่ในยามที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูและบริษัทที่ออกหุ้นกู้มีผลประกอบการดี ผู้ถือหุ้นกู้ก็สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญเมื่อการถือหุ้นสามัญให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลหรือราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น
เรามาดูในส่วนของบริษัทที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพกันนะคะ
เมื่อบริษัทออกหุ้นกู้ บริษัทต้องบันทึกหุ้นกู้เป็นหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน เมื่อผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิแปลงสภาพ จำนวนหนี้สินของบริษัทจะลงลด ในขณะที่หุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนหุ้นกู้ที่ถูกแปลงสภาพ หุ้นสามัญที่เพิ่มขึ้นจากการแปลงสภาพนั้น ไม่ทำให้เงินสดของบริษัทเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการที่ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิแปลงสภาพคือ บริษัทจะเลิกจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง (ส่งผลให้กำไรเพิ่มขึ้น) อย่างไรก็ตาม บริษัทจะหันมาจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนในรูปของเงินปันผลแทนดอกเบี้ย ซึ่งในการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีอำนาจตัดสินใจในระดับหนึ่งที่จะจ่ายเงินปันผลหรือไม่หรือจะจ่ายเท่าไรในแต่ละปี (ไม่เหมือนกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายด้วยจำนวนคงที่ทุกเดือน)
แต่ข้อเสียของหุ้นกู้แปลงสภาพคือ มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหุ้นกู้ชนิดอื่นๆ
แล้วหุ้นกู้ชนิดใดที่ให้ดอกเบี้ยสูง?
คำตอบก็คือ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinate Debenture) หุ้นกู้ด้อยสิทธิคือ หุ้นกู้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือเรียกร้องความเสียหายจากบริษัทเป็นลำดับท้ายๆ ในกรณีที่บริษัทปิดกิจการลง ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิจะสามารถเรียกร้องเงินต้นและดอกเบี้ยคืนจากบริษัทหลังจากที่ผู้ถือหุ้นกู้ชนิดอื่นได้รับการชดใช้เรียบร้อยแล้ว (แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ยังถือว่าสูงกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ) ในทางปฏิบัติ เราจะพบว่าหุ้นกู้ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักออกโดยธนาคาร เนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิถือเป็นกองทุนขั้นที่ 2 ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ธนาคารสามารถนำมาใช้รับรองสินทรัพย์เสี่ยงรองจากหุ้นสามัญ
เมื่อเปรียบเทียบหุ้นกู้ทั้งสองชนิด เราจะเห็นว่า หุ้นแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ลองเปรียบเทียบดูนะค่ะ ว่าหุ้นชนิดไหนเหมาะกับแผนการลงทุนของคุณ
ถ้ามีคำถามอะไรเพิ่มเติม ก็ถามมาได้นะค่ะ
หุ้นกู้แปลงสภาพ (Convertible Debenture)
หุ้นกู้แปลงสภาพคือ หุ้นกู้ที่ให้สิทธิผู้ลงทุนในการแปลงสภาพหุ้นกู้ที่ถืออยู่เป็นหุ้นสามัญ หุ้นกู้แปลงสภาพนี้มีลักษณะที่เหนือว่าหุ้นกู้ทั่วไปคือ ในยามที่เศรษฐกิจซบเซาและบริษัทที่ออกหุ้นกู้ไม่มีผลประกอบการโดดเด่น ผู้ถือหุ้นกู้สามารถเลือกที่จะถือหุ้นกู้ต่อไปเพื่อรับผลประโยชน์จากดอกเบี้ยและรับเงินต้นคืนเมื่อหุ้นกู้หมดอายุ แต่ในยามที่เศรษฐกิจเฟื่องฟูและบริษัทที่ออกหุ้นกู้มีผลประกอบการดี ผู้ถือหุ้นกู้ก็สามารถใช้สิทธิแปลงสภาพหุ้นกู้เป็นหุ้นสามัญเมื่อการถือหุ้นสามัญให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนจากเงินปันผลหรือราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้น
เรามาดูในส่วนของบริษัทที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพกันนะคะ
เมื่อบริษัทออกหุ้นกู้ บริษัทต้องบันทึกหุ้นกู้เป็นหนี้สินในงบแสดงฐานะการเงิน เมื่อผู้ถือหุ้นกู้ใช้สิทธิแปลงสภาพ จำนวนหนี้สินของบริษัทจะลงลด ในขณะที่หุ้นสามัญจะเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนหุ้นกู้ที่ถูกแปลงสภาพ หุ้นสามัญที่เพิ่มขึ้นจากการแปลงสภาพนั้น ไม่ทำให้เงินสดของบริษัทเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด แต่ประโยชน์ที่บริษัทได้รับจากการที่ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิแปลงสภาพคือ บริษัทจะเลิกจ่ายดอกเบี้ย ซึ่งทำให้ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยน้อยลง (ส่งผลให้กำไรเพิ่มขึ้น) อย่างไรก็ตาม บริษัทจะหันมาจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุนในรูปของเงินปันผลแทนดอกเบี้ย ซึ่งในการจ่ายเงินปันผลนั้น บริษัทมีอำนาจตัดสินใจในระดับหนึ่งที่จะจ่ายเงินปันผลหรือไม่หรือจะจ่ายเท่าไรในแต่ละปี (ไม่เหมือนกับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายด้วยจำนวนคงที่ทุกเดือน)
แต่ข้อเสียของหุ้นกู้แปลงสภาพคือ มีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าหุ้นกู้ชนิดอื่นๆ
แล้วหุ้นกู้ชนิดใดที่ให้ดอกเบี้ยสูง?
คำตอบก็คือ หุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ (Subordinate Debenture) หุ้นกู้ด้อยสิทธิคือ หุ้นกู้ที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือเรียกร้องความเสียหายจากบริษัทเป็นลำดับท้ายๆ ในกรณีที่บริษัทปิดกิจการลง ผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิจะสามารถเรียกร้องเงินต้นและดอกเบี้ยคืนจากบริษัทหลังจากที่ผู้ถือหุ้นกู้ชนิดอื่นได้รับการชดใช้เรียบร้อยแล้ว (แต่สิทธิเรียกร้องดังกล่าวก็ยังถือว่าสูงกว่าผู้ถือหุ้นสามัญ) ในทางปฏิบัติ เราจะพบว่าหุ้นกู้ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักออกโดยธนาคาร เนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิถือเป็นกองทุนขั้นที่ 2 ตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ธนาคารสามารถนำมาใช้รับรองสินทรัพย์เสี่ยงรองจากหุ้นสามัญ
เมื่อเปรียบเทียบหุ้นกู้ทั้งสองชนิด เราจะเห็นว่า หุ้นแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียในตัวเอง ลองเปรียบเทียบดูนะค่ะ ว่าหุ้นชนิดไหนเหมาะกับแผนการลงทุนของคุณ
ถ้ามีคำถามอะไรเพิ่มเติม ก็ถามมาได้นะค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 1
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
โพสต์ที่ 4
การบันทึกบัญชีไม่ต่างกันคะ เพราะตามมาตรฐานการบัญชี (ฉบับที่ 107) กำหนดว่า การรายงานเครื่องมือทางการเงินที่เป็นแบบผสม ในที่นี้คือ หุ้นกู้แปลงสภาพ และ หุ้นกู้ควบ Warrant ตามที่ถามนะคะ ณ วันที่รับรู้เริ่มแรก “ต้องแยกองค์ประกอบออกจากกัน” เป็นเครื่องมือทางการเงินที่เป็นหนี้สินและส่วนของเจ้าของchatchai เขียน:หุ้นกู้แปลงสภาพ กับ หุ้นกู้ควบ Warrant มีการบันทึกบัญชีต่างกันหรือไม่อย่างไรครับ
ในการลงบัญชี หุ้นกู้แปลงสภาพ จะถูกแยกองค์ประกอบออกเป็น2 ส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งมูลค่าของหุ้นกู้ (ลงบัญชีเป็นหนี้สินระยะยาว) และส่วนที่สองคือมูลค่าของสิทธิในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ (ลงบัญชีในส่วนของผู้ถือหุ้น)
หุ้นกู้แปลงสภาพ = หนี้สิน(หุ้นกู้) + ส่วนของเจ้าของ (สิทธิเลือกซื้อหุ้นสามัญ)
ส่วนหุ้นกู้ควบใบสำคัญแสดงสิทธิให้ดูว่า warrant มีตลาดรองรับหรือไม่ ถ้ามีก็เท่ากับแยก warrant ออกจากหุ้นกู้ได้ ต้องบันทึกแยกหนี้สินส่วนหนึ่ง และ warrant ในส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนหนึ่ง แต่ถ้า warrant ไม่มีตลาดรองรับ ไม่มีราคาขาย ก็ให้บันทึกเป็นหนี้สินทั้งจำนวนคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
โพสต์ที่ 5
บริษัทที่ออกหุ้นกู้จะเป็นบริษัทมหาชน ก่อนที่จะมีการออกหุ้นกู้ก็จะมีองค์กรที่เชื่อถือได้มาวิเคราะห์และทำ Rating ให้ ถ้าคุณเป็นคนลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยงและอยากซื้อหุ้นกู้ที่มีความเสี่ยงน้อย ควรจะซื้อหุ้นกู้ที่มี Credit Rating ในระดับ A ขึ้นไปคะLikhit เขียน:อยากทราบว่า หุ้นกู้โดยทั่วๆไปที่ออกขายกันส่วนมากจะเป็นหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์ ควรมี credit
rating สักเท่าใหร่ ที่เรียกว่าซื้อได้ความเสี่ยงน้อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
โพสต์ที่ 6
คำถามคือ
หากบริษัทถือครองหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วมีการจัดอันดับของหุ้นกู้แปลงสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากวันที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพชุดดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกไว้รายการไหน และต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบเงินการหรือไม่
ส่วนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์เช่นกัน หากมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกแล้วไซร้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบันทึกที่รายการไหน และ เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเิงินหรือไม่
หากบริษัทถือครองหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วมีการจัดอันดับของหุ้นกู้แปลงสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากวันที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพชุดดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกไว้รายการไหน และต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบเงินการหรือไม่
ส่วนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์เช่นกัน หากมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกแล้วไซร้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบันทึกที่รายการไหน และ เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเิงินหรือไม่
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
โพสต์ที่ 7
ข้อมูลเรื่องอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้แต่ละตัวในที่ถือครองในบริษัท ไม่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินและการเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับตามปกติ จะไม่มีผลกระทบทางการบัญชีค่ะmiracle เขียน:คำถามคือ
หากบริษัทถือครองหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วมีการจัดอันดับของหุ้นกู้แปลงสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากวันที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพชุดดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกไว้รายการไหน และต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบเงินการหรือไม่
ส่วนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์เช่นกัน หากมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกแล้วไซร้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบันทึกที่รายการไหน และ เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเิงินหรือไม่
แต่ถ้าหุ้นกู้ default เมื่อไร (เช่น งดชำระดอกเบี้ย หรือไม่สามารถชำระเงินต้นได้ตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้) มีผลกระทบกับงบการเงินทันทีในเรื่องของการด้อยค่าของเงินลงทุน และการเปลี่ยนแปลงใน rating ที่มีผลกระทบกับสถานะบริษัทอย่างมาก บริษัทอาจเปิดเผยในหมายเหตุ หรือผู้สอบบัญชีอาจออกวรรคเตือนในรายงานผู้สอบค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
โพสต์ที่ 8
ถามต่อครับ ถ้ากรณีของหุ้นกู้ โดยทั่วไปการเพิ่มลด Rating ของหุ้นกู้ชุดนั้น มีการพิจารณาอยู่เป็นระยะๆอยู่แล้วminnimic เขียน:ข้อมูลเรื่องอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้แต่ละตัวในที่ถือครองในบริษัท ไม่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินและการเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับตามปกติ จะไม่มีผลกระทบทางการบัญชีค่ะmiracle เขียน:คำถามคือ
หากบริษัทถือครองหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วมีการจัดอันดับของหุ้นกู้แปลงสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากวันที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพชุดดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกไว้รายการไหน และต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบเงินการหรือไม่
ส่วนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์เช่นกัน หากมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกแล้วไซร้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบันทึกที่รายการไหน และ เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเิงินหรือไม่
แต่ถ้าหุ้นกู้ default เมื่อไร (เช่น งดชำระดอกเบี้ย หรือไม่สามารถชำระเงินต้นได้ตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้) มีผลกระทบกับงบการเงินทันทีในเรื่องของการด้อยค่าของเงินลงทุน และการเปลี่ยนแปลงใน rating ที่มีผลกระทบกับสถานะบริษัทอย่างมาก บริษัทอาจเปิดเผยในหมายเหตุ หรือผู้สอบบัญชีอาจออกวรรคเตือนในรายงานผู้สอบค่ะ
ถ้าหากเป็นกรณีที่พิจารณาตามปกติคือไม่ต้องเปิดเผย แต่หากเจอปัญหาว่า อยู่ก็ประกาศลด Rating โดยที่ไม่อยู่ในช่วงระยะเวลาปกติ แบบนี้ต้องแสดงในหมายเหตุประกอบงบการเิงินหรือไม่
ขอบคุณครับ (ขอถามต่อให้เคลียร์ประเด็นครับ)
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หุ้นกู้แปลงสภาพ และหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์
โพสต์ที่ 9
miracle เขียน:ถามต่อครับ ถ้ากรณีของหุ้นกู้ โดยทั่วไปการเพิ่มลด Rating ของหุ้นกู้ชุดนั้น มีการพิจารณาอยู่เป็นระยะๆอยู่แล้วminnimic เขียน:ข้อมูลเรื่องอันดับความน่าเชื่อถือของหุ้นกู้แต่ละตัวในที่ถือครองในบริษัท ไม่ต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเงินและการเปลี่ยนแปลงในการจัดอันดับตามปกติ จะไม่มีผลกระทบทางการบัญชีค่ะmiracle เขียน:คำถามคือ
หากบริษัทถือครองหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วมีการจัดอันดับของหุ้นกู้แปลงสภาพเปลี่ยนแปลงไปจากวันที่ออกหุ้นกู้แปลงสภาพชุดดังกล่าว ทางบัญชีบันทึกไว้รายการไหน และต้องเปิดเผยในหมายเหตุประกอบเงินการหรือไม่
ส่วนหุ้นกู้ด้อยสิทธิ์เช่นกัน หากมีการปรับอันดับความน่าเชื่อถือของบริษัทที่ออกแล้วไซร้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวบันทึกที่รายการไหน และ เปิดเผยในหมายเหตุประกอบงบการเิงินหรือไม่
แต่ถ้าหุ้นกู้ default เมื่อไร (เช่น งดชำระดอกเบี้ย หรือไม่สามารถชำระเงินต้นได้ตามจำนวนเงินที่กำหนดไว้) มีผลกระทบกับงบการเงินทันทีในเรื่องของการด้อยค่าของเงินลงทุน และการเปลี่ยนแปลงใน rating ที่มีผลกระทบกับสถานะบริษัทอย่างมาก บริษัทอาจเปิดเผยในหมายเหตุ หรือผู้สอบบัญชีอาจออกวรรคเตือนในรายงานผู้สอบค่ะ
ถ้าหากเป็นกรณีที่พิจารณาตามปกติคือไม่ต้องเปิดเผย แต่หากเจอปัญหาว่า อยู่ก็ประกาศลด Rating โดยที่ไม่อยู่ในช่วงระยะเวลาปกติ แบบนี้ต้องแสดงในหมายเหตุประกอบงบการเิงินหรือไม่
ขอบคุณครับ (ขอถามต่อให้เคลียร์ประเด็นครับ)
ขอโทษที่มาตอบช้านะค่ะ คำตอบมาแล้วค่ะ
จุดหลักในการดูว่าต้องเปิดเผย หรือ แสดงในหมายเหตุประกอบ ขึ้นอยู่กับว่า การเปลี่ยนแปลงของ Rating นั้น จะมีผลกระทบต่อกระแสเงินสดของบริษัทหรือไม่ เช่นตามคำถามของคุณนะคะ การประกาศลด Rating โดยที่ไม่อยู่ในระยะเวลาปกติ ถ้าการเปลี่ยนแปลง Ratingนี้ มีผลทำให้บริษัทจะไม่ได้รับดอกเบี้ยหรือเงินต้นคืนในอนาคต ก็ต้องแสดงในหมายเหตุประกอบการเงิน แต่ถ้าการเปลี่ยนแปลงนี้ไม่มีผลต่อกระแสเงินสดในบริษัท ก็ยังไม่ต้องเปิดเผยค่ะ
หวังว่าคงจะช่วยให้เคลียร์มากขึ้นนะค่ะ