หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 1
หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
ผลประโยชน์พนักงาน หมายถึง ผลประโยชน์ทุกชนิดที่พนักงานได้รับจากนายจ้างเพื่อแลกเปลี่ยนกับการทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าประกันชีวิต วันลาหยุดพักร้อน และผลประโยชน์อื่นๆ ซึ่งรวมถึงผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับหลังการเลิกจ้างหรือเกษียณอายุ ผลประโยชน์พนักงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท นั่นคือ ผลประโยชนที่ลูกจ้างจะได้รับทันทีที่ออกจากงาน เช่น เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ และผลประโยชน์ที่ลูกจ้างยังคงได้รับจากบริษัทหลังออกจากงาน เช่น ผลประโยชน์เกี่ยวกับการประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ที่นายจ้างต้องมอบให้ลูกจ้างตามข้อตกลงการจ้างงาน
ก่อนปี พ.ศ. 2554 บริษัทจดทะเบียนบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานเมื่อมีการเลิกจ้างหรือเกษียณอายุ ตัวอย่างเช่น พนักงานคนหนึ่งของบริษัท A กำลังจะเกษียณอายุ บริษัทมีนโยบายว่าพนักงานที่เกษียณอายุทุกคนจะได้รับเงินรางวัลตอบแทนความดีจำนวน 500,000 บาท ณ วันที่พนักงานเกษียณอายุ บริษัทจะบันทึกค่าใช้จ่ายจำนวน 500,000 บาท และบันทึกเพิ่มหนี้สิน 500,000 บาท (กรณีที่บริษัทไม่ได้จ่ายเงินสดในทันที) หรือลดเงินสด 500,000 บาท (กรณีที่บริษัทจ่ายเงินสดทันที) ในการบันทึกบัญชีตามวิธีนี้ บริษัทไม่เคยบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงานผู้นี้มาก่อนเลยในระหว่างที่พนักงานยังทำงานอยู่ ทั้งที่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานเกิดขึ้นตลอดเวลาในขณะที่พนักงานทำงานให้กับบริษัท ผลจากการไม่บันทึกบัญชีทำให้ในอดีต บริษัทบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินต่ำไปตลอดระยะเวลาที่พนักงานยังทำงานอยู่ แต่ในงวดที่พนักงานเกษียณอายุ บริษัทกลับบันทึกค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานสูงกว่าความเป็นจริงมาก (แม้ว่าสถานะของหนี้สินและเงินสดจะไม่ต่างไปจากความเป็นจริง) เริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2554 บริษัทจะต้องบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานเมื่อค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น นั่นหมายความว่า บริษัทต้องทำการประมาณว่าพนักงานทุกคนของบริษัทจะทำให้บริษัทเกิดค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานเป็นจำนวนเงินเท่าไรในแต่ละงวด (โดยอาศัยการคำนวณของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย) จากนั้นบริษัทต้องบันทึกค่าใช้จ่ายที่ประมาณขึ้นในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด พร้อมกับบันทึกหนี้สินผลประโยชน์พนักงานด้วยจำนวนเดียวกัน หนี้สินผลประโยชน์พนักงานนี้จะสะสมเพิ่มขึ้นในงบดุลของบริษัทตลอดระยะเวลาที่พนักงานยังทำงานอยู่ จนกระทั่งถึงวันที่พนักงานเกษียณอายุ ซึ่งตามตัวอย่างข้างต้น หนี้สินผลประโยชน์พนักงานที่แสดงในงบดุลของบริษัทควรมีจำนวนใกล้เคียงกับเงินรางวัลที่พนักงานจะได้รับเมื่อเกษียณอายุคือ 500,000 บาท และเมื่อถึงวันที่บริษัทจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงาน บริษัทจะตัดบัญชีหนี้สินผลประโยชน์พนักงานที่เคยบันทึกไว้ ออกจากงบดุล
ในปี พ.ศ. 2554 เมื่อบริษัทถูกกำหนดให้ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานเมื่อได้รับบริการจากพนักงาน (คือเมื่อพนักงานทำงานให้กับบริษัท) บริษัทที่ไม่เคยบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานมาเลยในอดีต จำเป็นที่จะต้องหาวิธีบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินทั้งจำนวนให้ปรากฎในงบการเงิน ดังนั้น สภาวิชาชีพบัญชีจึงได้ออกประกาศฉบับที่ 17/2554 เรื่อง การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงสำหรับผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน สรุปได้ใจความว่า
ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ บริษัทสามารถเลือกบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานได้ 4 วิธี ดังนี้
บริษัทสามารถรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานทั้งจำนวน (ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน) ในงบกำไรขาดทุนทันที ในขณะที่บันทึกหนี้สินผลประโยชน์พนักงานในงบดุลทั้งจำนวนไปพร้อมกัน วิธีปฎิบัตินี้ทำให้ค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีผลกระทบทันทีต่องบกำไรขาดทุนและงบดุลของปี พ.ศ. 2554 วิธีนี้ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อค่าใช้จ่ายที่บันทึกมีจำนวนมากจนทำให้กำไรสุทธิบิดเบือนไปจากที่ควรเป็น
บริษัทสามารถทะยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน (ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน) เป็นเวลา 5 ปี ด้วยวิธีเส้นตรง วิธีปฏิบัตินี้ทำให้ค่าใช้จ่ายค่อยๆ ทะยอยรับรู้ในงบกำไรขาดทุนและหนี้สินค่อยๆ ทะยอยรับรู้ในงบดุลด้วยจำนวน 1/5 ของค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่แท้จริง วิธีนี้ช่วยในการเกลี่ยกำไรสุทธิ (Smooth income) สำหรับระยะเวลา 5 ปี แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
บริษัทสามารถนำส่วนเพิ่มไปปรับกับกำไรสะสมต้นงวด เข้าใจว่าวิธีนี้ กล่าวถึงบริษัทที่เคยบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานมาแล้วในอดีต แต่จำนวนที่บันทึกเป็นหนี้สินไม่ถูกต้องตามที่ควรเป็น บริษัทจึงได้รับอนุญาตให้ปรับหนี้สินผลประโยชน์พนักงานให้เท่ากับจำนวนที่ประมาณใหม่ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสามารถนำไปบันทึกลดกำไรสะสมต้นงวด อ่านแล้วไม่ทราบว่าวิธีนี้มีการปฏิบัติที่แท้จริงอย่างไร เนื่องจากไม่มีตัวอย่างให้ศึกษาและไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป การปฏิบัติตามวิธีนี้น่าจะให้ผลเช่นเดียวกับวิธีที่ 1 คือ กำไรสุทธิจะบิดเบือนไปจากที่ควรเป็น
บริษัทสามารถใช้ "วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป" ในการบันทึกบัญชี โดยนำค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานทั้งสิ้นที่เกิดในอดีตไปปรับกับกำไรสะสมต้นงวด ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดจริง (ตามที่ประมาณไว้ในแต่ละปี) จะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนของปีนั้นๆ การบันทึกค่าใช้จ่ายในลักษณะนี้ทำให้หนี้สินผลประโยชน์พนักงานแสดงในงบดุลด้วยจำนวนที่ถูกต้องในแต่ละปีที่นำมาแสดงเปรียบเทียบกันในงบการเงิน
ตัวอย่างเช่น จากอดีตถึงต้นปี พ.ศ. 2553 บริษัทมีค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานจำนวน 700 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2553 และ 2554 บริษัทประมาณว่าค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 10 และ 15 ล้านบาท ตามลำดับ ตามวิธีปฏิบัตินี้ บริษัทจะแสดงหนี้สินผลประโยชน์พนักงานในงบดุลปี 2553 ด้วยจำนวน 710 ล้านบาท (สมมุติบริษัทไม่ได้จ่ายชำระหนี้สินออกไปเลย) แสดงกำไรสะสมต้นงวดลดลง 700 ล้านบาท และรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานในงบกำไรขาดทุนจำนวน 10 ล้านบาท ส่วนในปี พ.ศ. 2554 บริษัทจะแสดงหนี้สินผลประโยชน์พนักงานจำนวน 725 ล้านบาท แสดงกำไรสะสมต้นงวดลดลง 710 ล้านบาท และรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานในงบกำไรขาดทุน 15 ล้านบาท
การปฏิบัติตามวิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปนี้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและทำให้งบการเงินที่แสดงไว้ทั้ง 2 ปี สามารถเปรียบเทียบกันได้ (แต่ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับงบการเงินที่ออกในปี พ.ศ. 2553 หรือก่อนหน้านั้นได้) นอกจากนั้น หนี้สินผลประโยชน์พนักงานที่แสดงในงบดุลและกำไรสุทธิที่แสดงในงบกำไรขาดทุนก็ไม่ถูกบิดเบือนไปจากที่ควรเป็น
ผลประโยชน์พนักงาน หมายถึง ผลประโยชน์ทุกชนิดที่พนักงานได้รับจากนายจ้างเพื่อแลกเปลี่ยนกับการทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าประกันชีวิต วันลาหยุดพักร้อน และผลประโยชน์อื่นๆ ซึ่งรวมถึงผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับหลังการเลิกจ้างหรือเกษียณอายุ ผลประโยชน์พนักงานสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท นั่นคือ ผลประโยชนที่ลูกจ้างจะได้รับทันทีที่ออกจากงาน เช่น เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ และผลประโยชน์ที่ลูกจ้างยังคงได้รับจากบริษัทหลังออกจากงาน เช่น ผลประโยชน์เกี่ยวกับการประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพ ที่นายจ้างต้องมอบให้ลูกจ้างตามข้อตกลงการจ้างงาน
ก่อนปี พ.ศ. 2554 บริษัทจดทะเบียนบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานเมื่อมีการเลิกจ้างหรือเกษียณอายุ ตัวอย่างเช่น พนักงานคนหนึ่งของบริษัท A กำลังจะเกษียณอายุ บริษัทมีนโยบายว่าพนักงานที่เกษียณอายุทุกคนจะได้รับเงินรางวัลตอบแทนความดีจำนวน 500,000 บาท ณ วันที่พนักงานเกษียณอายุ บริษัทจะบันทึกค่าใช้จ่ายจำนวน 500,000 บาท และบันทึกเพิ่มหนี้สิน 500,000 บาท (กรณีที่บริษัทไม่ได้จ่ายเงินสดในทันที) หรือลดเงินสด 500,000 บาท (กรณีที่บริษัทจ่ายเงินสดทันที) ในการบันทึกบัญชีตามวิธีนี้ บริษัทไม่เคยบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์ของพนักงานผู้นี้มาก่อนเลยในระหว่างที่พนักงานยังทำงานอยู่ ทั้งที่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานเกิดขึ้นตลอดเวลาในขณะที่พนักงานทำงานให้กับบริษัท ผลจากการไม่บันทึกบัญชีทำให้ในอดีต บริษัทบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินต่ำไปตลอดระยะเวลาที่พนักงานยังทำงานอยู่ แต่ในงวดที่พนักงานเกษียณอายุ บริษัทกลับบันทึกค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานสูงกว่าความเป็นจริงมาก (แม้ว่าสถานะของหนี้สินและเงินสดจะไม่ต่างไปจากความเป็นจริง) เริ่มต้นจากปี พ.ศ. 2554 บริษัทจะต้องบันทึกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานเมื่อค่าใช้จ่ายนั้นเกิดขึ้น นั่นหมายความว่า บริษัทต้องทำการประมาณว่าพนักงานทุกคนของบริษัทจะทำให้บริษัทเกิดค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานเป็นจำนวนเงินเท่าไรในแต่ละงวด (โดยอาศัยการคำนวณของนักคณิตศาสตร์ประกันภัย) จากนั้นบริษัทต้องบันทึกค่าใช้จ่ายที่ประมาณขึ้นในงบกำไรขาดทุนสำหรับงวด พร้อมกับบันทึกหนี้สินผลประโยชน์พนักงานด้วยจำนวนเดียวกัน หนี้สินผลประโยชน์พนักงานนี้จะสะสมเพิ่มขึ้นในงบดุลของบริษัทตลอดระยะเวลาที่พนักงานยังทำงานอยู่ จนกระทั่งถึงวันที่พนักงานเกษียณอายุ ซึ่งตามตัวอย่างข้างต้น หนี้สินผลประโยชน์พนักงานที่แสดงในงบดุลของบริษัทควรมีจำนวนใกล้เคียงกับเงินรางวัลที่พนักงานจะได้รับเมื่อเกษียณอายุคือ 500,000 บาท และเมื่อถึงวันที่บริษัทจ่ายเงินรางวัลให้แก่พนักงาน บริษัทจะตัดบัญชีหนี้สินผลประโยชน์พนักงานที่เคยบันทึกไว้ ออกจากงบดุล
ในปี พ.ศ. 2554 เมื่อบริษัทถูกกำหนดให้ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินเกี่ยวกับผลประโยชน์พนักงานเมื่อได้รับบริการจากพนักงาน (คือเมื่อพนักงานทำงานให้กับบริษัท) บริษัทที่ไม่เคยบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานมาเลยในอดีต จำเป็นที่จะต้องหาวิธีบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินทั้งจำนวนให้ปรากฎในงบการเงิน ดังนั้น สภาวิชาชีพบัญชีจึงได้ออกประกาศฉบับที่ 17/2554 เรื่อง การปฏิบัติในช่วงเปลี่ยนแปลงสำหรับผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน สรุปได้ใจความว่า
ในช่วงเปลี่ยนผ่านของการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับใหม่ บริษัทสามารถเลือกบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานได้ 4 วิธี ดังนี้
บริษัทสามารถรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานทั้งจำนวน (ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน) ในงบกำไรขาดทุนทันที ในขณะที่บันทึกหนี้สินผลประโยชน์พนักงานในงบดุลทั้งจำนวนไปพร้อมกัน วิธีปฎิบัตินี้ทำให้ค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมีผลกระทบทันทีต่องบกำไรขาดทุนและงบดุลของปี พ.ศ. 2554 วิธีนี้ไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเฉพาะเมื่อค่าใช้จ่ายที่บันทึกมีจำนวนมากจนทำให้กำไรสุทธิบิดเบือนไปจากที่ควรเป็น
บริษัทสามารถทะยอยรับรู้ค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน (ที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน) เป็นเวลา 5 ปี ด้วยวิธีเส้นตรง วิธีปฏิบัตินี้ทำให้ค่าใช้จ่ายค่อยๆ ทะยอยรับรู้ในงบกำไรขาดทุนและหนี้สินค่อยๆ ทะยอยรับรู้ในงบดุลด้วยจำนวน 1/5 ของค่าใช้จ่ายและหนี้สินที่แท้จริง วิธีนี้ช่วยในการเกลี่ยกำไรสุทธิ (Smooth income) สำหรับระยะเวลา 5 ปี แม้ว่าจะไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
บริษัทสามารถนำส่วนเพิ่มไปปรับกับกำไรสะสมต้นงวด เข้าใจว่าวิธีนี้ กล่าวถึงบริษัทที่เคยบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานมาแล้วในอดีต แต่จำนวนที่บันทึกเป็นหนี้สินไม่ถูกต้องตามที่ควรเป็น บริษัทจึงได้รับอนุญาตให้ปรับหนี้สินผลประโยชน์พนักงานให้เท่ากับจำนวนที่ประมาณใหม่ ส่วนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นสามารถนำไปบันทึกลดกำไรสะสมต้นงวด อ่านแล้วไม่ทราบว่าวิธีนี้มีการปฏิบัติที่แท้จริงอย่างไร เนื่องจากไม่มีตัวอย่างให้ศึกษาและไม่เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป การปฏิบัติตามวิธีนี้น่าจะให้ผลเช่นเดียวกับวิธีที่ 1 คือ กำไรสุทธิจะบิดเบือนไปจากที่ควรเป็น
บริษัทสามารถใช้ "วิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไป" ในการบันทึกบัญชี โดยนำค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานทั้งสิ้นที่เกิดในอดีตไปปรับกับกำไรสะสมต้นงวด ส่วนค่าใช้จ่ายที่เกิดจริง (ตามที่ประมาณไว้ในแต่ละปี) จะรับรู้ในงบกำไรขาดทุนของปีนั้นๆ การบันทึกค่าใช้จ่ายในลักษณะนี้ทำให้หนี้สินผลประโยชน์พนักงานแสดงในงบดุลด้วยจำนวนที่ถูกต้องในแต่ละปีที่นำมาแสดงเปรียบเทียบกันในงบการเงิน
ตัวอย่างเช่น จากอดีตถึงต้นปี พ.ศ. 2553 บริษัทมีค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานจำนวน 700 ล้านบาท ในปี พ.ศ. 2553 และ 2554 บริษัทประมาณว่าค่าใช้จ่ายและหนี้สินผลประโยชน์พนักงานจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 10 และ 15 ล้านบาท ตามลำดับ ตามวิธีปฏิบัตินี้ บริษัทจะแสดงหนี้สินผลประโยชน์พนักงานในงบดุลปี 2553 ด้วยจำนวน 710 ล้านบาท (สมมุติบริษัทไม่ได้จ่ายชำระหนี้สินออกไปเลย) แสดงกำไรสะสมต้นงวดลดลง 700 ล้านบาท และรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานในงบกำไรขาดทุนจำนวน 10 ล้านบาท ส่วนในปี พ.ศ. 2554 บริษัทจะแสดงหนี้สินผลประโยชน์พนักงานจำนวน 725 ล้านบาท แสดงกำไรสะสมต้นงวดลดลง 710 ล้านบาท และรับรู้ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานในงบกำไรขาดทุน 15 ล้านบาท
การปฏิบัติตามวิธีเปลี่ยนทันทีเป็นต้นไปนี้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและทำให้งบการเงินที่แสดงไว้ทั้ง 2 ปี สามารถเปรียบเทียบกันได้ (แต่ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับงบการเงินที่ออกในปี พ.ศ. 2553 หรือก่อนหน้านั้นได้) นอกจากนั้น หนี้สินผลประโยชน์พนักงานที่แสดงในงบดุลและกำไรสุทธิที่แสดงในงบกำไรขาดทุนก็ไม่ถูกบิดเบือนไปจากที่ควรเป็น
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 50
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 3
ถูกแล้วครับผม จนกว่าจะมีพนักงานออกและจ่ายเงินจริงๆครับ เงินสดของบริษัทถึงจะลด ส่วนตอนที่พนักงานยังไม่ออก เราก็ เดบิต ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน เครดิต หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ไปเรื่อยๆทุกปีครับ เมื่อพนักงานออกจริงจึง เดบิทหนี้สินผลประโยชน์พนักงานออก แล้ว เครดิต เงินสดครับผมเท่ากับว่าเป็นรายงานทางบัญชียังไม่ส่งผลต่อกระแสเงินสด จนกว่าจะจะมีพนักงานลาออกหรือเกษียณให้จ่ายจริง ถึงจะมาเครดิต เงินสด เดบิต หนี้สินผลประโยชน์ ออกไป
เข้าใจถูกมั้ยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1959
- ผู้ติดตาม: 1
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 4
เหมือนกับตัดค่าเสื่อมของเครื่องจักรหรือเปล่าครับถูกแล้วครับผม จนกว่าจะมีพนักงานออกและจ่ายเงินจริงๆครับ เงินสดของบริษัทถึงจะลด ส่วนตอนที่พนักงานยังไม่ออก เราก็ เดบิต ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงาน เครดิต หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน ไปเรื่อยๆทุกปีครับ เมื่อพนักงานออกจริงจึง เดบิทหนี้สินผลประโยชน์พนักงานออก แล้ว เครดิต เงินสดครับผม
มีคำถามเพิ่มเติมครับ
1.ในกรณีที่พนักงานลาออกก่อนกำหนด บริษัทจะคิดค่านี้ยังไง
2. เอากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาคำนวนด้วยหรือเปล่าครับ
3.มีความเป็นไปได้ไหมครับที่ผู้บริหาร จะสามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายนี้ระหว่างงวด หรือ ระหว่างปีได้ จนมีผลทำใ้ห้งบกำไรขาดทุนเบี่ยงเบนไป
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
" สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย "
" Whatever your mind can conceive and believe it can achieve "
" Whatever your mind can conceive and believe it can achieve "
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 5
สอบถามประเด็นนี้ว่า
หนี้สินประโยชน์ของพนักงานนั้น มันคำนวณด้วยวิธีการคิดลด (หลักของ Present value)
รวมกับการใช้หลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ว่าบุคคลที่ทำงานมีอัตราส่วนการลาออกในแต่ละช่วงอายุเท่าไร
ใช่หรือเปล่าครับ
แล้วประเด็นต่อไปคือ หนี้สินประโยชน์พนักงานขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัทในเรื่องการชดเชยวันลาด้วยหรือเปล่า
เพราะบ้างบริษัท ผู้ที่ไม่ใช้วันลาพักร้อนสามารถได้ค่าจ้างในวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ลาในปีนั้นๆ โดยไม่มีการทบไปยังปีถัดไป
มารวมอยู่ในข้อนี้ด้วยหรือไม่ครับ
แล้วเรื่อง lay off หรือ รีไทส์ก่อนกำหนดให้ตั้งอยู่ในรายการนี้หรือไม่ครับ
หนี้สินประโยชน์ของพนักงานนั้น มันคำนวณด้วยวิธีการคิดลด (หลักของ Present value)
รวมกับการใช้หลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ว่าบุคคลที่ทำงานมีอัตราส่วนการลาออกในแต่ละช่วงอายุเท่าไร
ใช่หรือเปล่าครับ
แล้วประเด็นต่อไปคือ หนี้สินประโยชน์พนักงานขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัทในเรื่องการชดเชยวันลาด้วยหรือเปล่า
เพราะบ้างบริษัท ผู้ที่ไม่ใช้วันลาพักร้อนสามารถได้ค่าจ้างในวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ลาในปีนั้นๆ โดยไม่มีการทบไปยังปีถัดไป
มารวมอยู่ในข้อนี้ด้วยหรือไม่ครับ
แล้วเรื่อง lay off หรือ รีไทส์ก่อนกำหนดให้ตั้งอยู่ในรายการนี้หรือไม่ครับ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 50
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 6
ผมว่าจะมองอย่างงั้นมันก็คล้ายๆกันอ่ะครับ เพราะมีการบันทึกค่าใช้จ่ายขึ้นในทุกๆปี และลดรายการหนี้สินออกไปเมื่อพนักงานลาออก หรือเมื่อขายเครื่องจักรอ่ะครับเหมือนกับตัดค่าเสื่อมของเครื่องจักรหรือเปล่าครับ
มีคำถามเพิ่มเติมครับ
เวลาพนักงานลาออก เราก็จ่ายผลประโยชน์ให้เขาตามจริง ผลประโยชน์ที่จ่ายก็ตัดบัญชีหนี้สินที่เคยบันทึกไว้ ส่วนการประมาณหนี้สินตอนปลายปี คนประมาณเขาจะเอาคนที่ลาออกก่อนกำหนดร่วมในการประมาณด้วย ส่วนจะปรับปรุงจำนวนประมาณการอย่างไร ขึ้นกับหลักการตามคณิตศาสตร์ประกันภัยครับ1.ในกรณีที่พนักงานลาออกก่อนกำหนด บริษัทจะคิดค่านี้ยังไง
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นการให้ผลประโยชน์พนักง่นชนิดหนึ่ง แต่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและหนี้สินเท่าที่บริษัทต้องจ่ายให้กองทุน ไม่มีการประมาณ เมื่อจ่ายเงินเสร็จ หนี้สินก็หายไป ผลประโยชน์พนักงานชนิดนี้ ไม่มีผลระยะยาวเหมือนการให้บำเหน็จบำนาญ2. เอากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาคำนวนด้วยหรือเปล่าครับ
เป็นไปได้บ้างถ้านักคณิตศาสตร์ประกันภัย หรือผู้สอบบัญชีร่วมมือด้วย เพราะค่าใช้จ่ายตรงนี้จะถูกคำนวณโดยนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนะครับ แต่สิ่งสำคัญตอนนี้คือวิธีที่สภาอนุญาตให้ปฏิบัติซึ่งส่งผลให้การบันทึกค่าใช้จ่าย หนี้สิน และกำไรสะสมต่างกันในแต่ละวิธี ซึ่งทำให้บริษัทอาจพยายามบันทึกค่าใช้จ่ายน้อย หนี้สินน้อยในภายหลังก็เป็นได้ครับ3.มีความเป็นไปได้ไหมครับที่ผู้บริหาร จะสามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายนี้ระหว่างงวด หรือ ระหว่างปีได้ จนมีผลทำใ้ห้งบกำไรขาดทุนเบี่ยงเบนไป
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 7
ใช่ครับ ประมาณตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยแล้วจึงนำมาคิดหา present valuemiracle เขียน:สอบถามประเด็นนี้ว่า
หนี้สินประโยชน์ของพนักงานนั้น มันคำนวณด้วยวิธีการคิดลด (หลักของ Present value)
รวมกับการใช้หลักคณิตศาสตร์ประกันภัย ว่าบุคคลที่ทำงานมีอัตราส่วนการลาออกในแต่ละช่วงอายุเท่าไร
ใช่หรือเปล่าครับ
เรื่องนี้ขึ้นกับนโยบายของบริษัทครับ ถ้าวันลาไม่ทบต้น บริษัทก็ไม่มีหนี้สินต้องบันทึกmiracle เขียน: แล้วประเด็นต่อไปคือ หนี้สินประโยชน์พนักงานขึ้นกับนโยบายของแต่ละบริษัทในเรื่องการชดเชยวันลาด้วยหรือเปล่า
เพราะบ้างบริษัท ผู้ที่ไม่ใช้วันลาพักร้อนสามารถได้ค่าจ้างในวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ลาในปีนั้นๆ โดยไม่มีการทบไปยังปีถัดไป
มารวมอยู่ในข้อนี้ด้วยหรือไม่ครับ
แน่นอนครับ ต้องรวมอยู่ในการประมาณการด้วยmiracle เขียน:
แล้วเรื่อง lay off หรือ รีไทส์ก่อนกำหนดให้ตั้งอยู่ในรายการนี้หรือไม่ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 8
ขอบคุณครับ
งบการเงินของปี 2554 เป็นปีแรกที่เห็นรายการตัวนี้ปรากฏขึ้นมา
โดยเฉพาะงบประจำปีเห็นชัดเจน และอธิบายในหมายเหตุประกอบเงินการเงินด้วยว่า
คิดจากอะไร เท่าที่อ่านเองก็พอเข้าใจว่าคิดอย่างไง แต่ตัวแบบในการคิดนั้นไม่ได้เปิดเผยว่าคิดอย่างไง
ในหมายเหตุประกอบงบก็ไม่ได้บอก แต่บอกว่าคิดจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
คำถามต่อเนื่องจากข้างบน
ในเมื่อตัวแบบที่คิดคำนวณจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้น ตัวแบบดังกล่าวอาจจะมีข้อสมมติฐานต่างๆในตัวแบบจำลอง ดังนั้นทุกกี่ปี นักบัญชีและนักคณิตศาสตร์ประกันภัยถึงดำเนินการ review สิ่งที่ได้คำนวณไปนั้น เหมาะสมในการตั้งสำรองหรือไม่ มีปัญหาที่ตัวแบบจำลองที่ใช้หรือไม่ และข้อสมมติฐานต่างๆยังคงเป็นจริงอยู่หรือไม่
คำถามต่อมา ในเมื่อคิด Present Value ดังนั้น ตัว Discount rate ที่นำมาใช้ ตัวนี้หาอะไรมาเป็นตัวเทียบครับ (อาจจะถามลึกไปละครับ) เพราะผมเห็นบ้างบริษัทตั้งไว้ที่ 6.5% ต่อปี ผมเลยสงสัยว่าตัว Discount rate นี้ใครเป็นตัวกำหนดออกมาละครับ
ขอบคุณครับ
งบการเงินของปี 2554 เป็นปีแรกที่เห็นรายการตัวนี้ปรากฏขึ้นมา
โดยเฉพาะงบประจำปีเห็นชัดเจน และอธิบายในหมายเหตุประกอบเงินการเงินด้วยว่า
คิดจากอะไร เท่าที่อ่านเองก็พอเข้าใจว่าคิดอย่างไง แต่ตัวแบบในการคิดนั้นไม่ได้เปิดเผยว่าคิดอย่างไง
ในหมายเหตุประกอบงบก็ไม่ได้บอก แต่บอกว่าคิดจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัย
คำถามต่อเนื่องจากข้างบน
ในเมื่อตัวแบบที่คิดคำนวณจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้น ตัวแบบดังกล่าวอาจจะมีข้อสมมติฐานต่างๆในตัวแบบจำลอง ดังนั้นทุกกี่ปี นักบัญชีและนักคณิตศาสตร์ประกันภัยถึงดำเนินการ review สิ่งที่ได้คำนวณไปนั้น เหมาะสมในการตั้งสำรองหรือไม่ มีปัญหาที่ตัวแบบจำลองที่ใช้หรือไม่ และข้อสมมติฐานต่างๆยังคงเป็นจริงอยู่หรือไม่
คำถามต่อมา ในเมื่อคิด Present Value ดังนั้น ตัว Discount rate ที่นำมาใช้ ตัวนี้หาอะไรมาเป็นตัวเทียบครับ (อาจจะถามลึกไปละครับ) เพราะผมเห็นบ้างบริษัทตั้งไว้ที่ 6.5% ต่อปี ผมเลยสงสัยว่าตัว Discount rate นี้ใครเป็นตัวกำหนดออกมาละครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 9
จำนวนปีไม่มีกำหนดไว้ แต่ในทางปฏิบัติจะแก้ไขเมื่อข้อสมมติฐานเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญครับmiracle เขียน:ขอบคุณครับ
ในเมื่อตัวแบบที่คิดคำนวณจากนักคณิตศาสตร์ประกันภัยนั้น ตัวแบบดังกล่าวอาจจะมีข้อสมมติฐานต่างๆในตัวแบบจำลอง ดังนั้นทุกกี่ปี นักบัญชีและนักคณิตศาสตร์ประกันภัยถึงดำเนินการ review สิ่งที่ได้คำนวณไปนั้น เหมาะสมในการตั้งสำรองหรือไม่ มีปัญหาที่ตัวแบบจำลองที่ใช้หรือไม่ และข้อสมมติฐานต่างๆยังคงเป็นจริงอยู่หรือไม่
โดยสังเขปนะครับmiracle เขียน: คำถามต่อมา ในเมื่อคิด Present Value ดังนั้น ตัว Discount rate ที่นำมาใช้ ตัวนี้หาอะไรมาเป็นตัวเทียบครับ (อาจจะถามลึกไปละครับ) เพราะผมเห็นบ้างบริษัทตั้งไว้ที่ 6.5% ต่อปี ผมเลยสงสัยว่าตัว Discount rate นี้ใครเป็นตัวกำหนดออกมาละครับ
แต่ละบริษัทจะประมาณการเองครับที่เห็นก็มีใช้อัตราความเสี่ยงของบริษัทเองโดยดูจากอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ของบริษัท ครับ
ซึ่งที่มาของเลขนั้นบริษัทประมาณเองจาก ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ร่วมกับความเสี่ยงของบริษัทและอัตราเงินเฟ้อครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 12
[quote][/miracle wrote:
คำถามต่อมา ในเมื่อคิด Present Value ดังนั้น ตัว Discount rate ที่นำมาใช้ ตัวนี้หาอะไรมาเป็นตัวเทียบครับ (อาจจะถามลึกไปละครับ) เพราะผมเห็นบ้างบริษัทตั้งไว้ที่ 6.5% ต่อปี ผมเลยสงสัยว่าตัว Discount rate นี้ใครเป็นตัวกำหนดออกมาละครับ
โดยสังเขปนะครับ
แต่ละบริษัทจะประมาณการเองครับที่เห็นก็มีใช้อัตราความเสี่ยงของบริษัทเองโดยดูจากอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ของบริษัท ครับ
ซึ่งที่มาของเลขนั้นบริษัทประมาณเองจาก ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ร่วมกับความเสี่ยงของบริษัทและอัตราเงินเฟ้อครับquote]
อัตราส่วนลดที่ใช้สำหรับผลประโยชน์พนักงานระยะยาว คือ อัตราดอกเบี้ยตลาดของหุ้นกู้เอกชนที่จัดอยู่ระดับดี AAA ยกเว้นในกรณีที่ตลาดตราสารหนี้เป็นตลาดที่ไม่ค่อยมีรายการซื้อขาย กรณีนี้อาจใช้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลแทนครับ
คำถามต่อมา ในเมื่อคิด Present Value ดังนั้น ตัว Discount rate ที่นำมาใช้ ตัวนี้หาอะไรมาเป็นตัวเทียบครับ (อาจจะถามลึกไปละครับ) เพราะผมเห็นบ้างบริษัทตั้งไว้ที่ 6.5% ต่อปี ผมเลยสงสัยว่าตัว Discount rate นี้ใครเป็นตัวกำหนดออกมาละครับ
โดยสังเขปนะครับ
แต่ละบริษัทจะประมาณการเองครับที่เห็นก็มีใช้อัตราความเสี่ยงของบริษัทเองโดยดูจากอัตราดอกเบี้ยหุ้นกู้ของบริษัท ครับ
ซึ่งที่มาของเลขนั้นบริษัทประมาณเองจาก ดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาล ร่วมกับความเสี่ยงของบริษัทและอัตราเงินเฟ้อครับquote]
อัตราส่วนลดที่ใช้สำหรับผลประโยชน์พนักงานระยะยาว คือ อัตราดอกเบี้ยตลาดของหุ้นกู้เอกชนที่จัดอยู่ระดับดี AAA ยกเว้นในกรณีที่ตลาดตราสารหนี้เป็นตลาดที่ไม่ค่อยมีรายการซื้อขาย กรณีนี้อาจใช้อัตราดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลแทนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 13
คำถามผมต่อเนื่องนิดหน่อย
การตัิดหนี้สินผลประโยชน์พนักงานออกจากงบในส่วนหนี้สินนั้น
มีวิธีการตัดอย่างไงละครับ
ตัวเมื่อพนักงานลาออก เกษียณอายุ ตายเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ตามกฏหมายแรงงานหรือตามกฏบริษัท ใช่หรือไม่ครับ
การตัิดหนี้สินผลประโยชน์พนักงานออกจากงบในส่วนหนี้สินนั้น
มีวิธีการตัดอย่างไงละครับ
ตัวเมื่อพนักงานลาออก เกษียณอายุ ตายเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ตามกฏหมายแรงงานหรือตามกฏบริษัท ใช่หรือไม่ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 38
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หนี้สินผลประโยชน์พนักงาน
โพสต์ที่ 14
ประมาณการหนี้สินผลประโยชน์พนักงาน จะถูกตัดออกจากงบการเงิน เมื่อมีการจ่ายผลประโยชน์ให้พนักงาน แล้วครับ หรือเมื่อหนี้สินดังกล่าวระงับไปด้วยเหตุอื่น เช่น พนักงานทำผิดระเบียบร้ายแรง จึงถูกไล่ออก โดยไม่ได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน ฯลฯคำถามผมต่อเนื่องนิดหน่อย
การตัิดหนี้สินผลประโยชน์พนักงานออกจากงบในส่วนหนี้สินนั้น
มีวิธีการตัดอย่างไงละครับ
ตัวเมื่อพนักงานลาออก เกษียณอายุ ตายเนื่องจากสาเหตุต่างๆ ตามกฏหมายแรงงานหรือตามกฏบริษัท ใช่หรือไม่ครับ