รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่ง!
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่ง!
โพสต์ที่ 1
คนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามสินทรัพย์หมุนเวียนโดยรวมแล้วไปสนใจกับจำนวนเงินสดและรายละเอียดปลีกย่อยของรายการต่างๆ ในงบดุล แต่!! คุณรู้หรือไม่ว่าสินทรัพย์หมุนเวียนทั้งหมดรวมกันนั้น สามารถบอกอะไรเราได้มากมายก่อนที่เราจะตัดสินใจลงทุนในบริษัทๆหนึ่ง สิ้นทรัพย์หมุนเวียนไม่ได้มีความสำคัญต่อนักลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีความสำคัญต่อ เจ้าหนี้และผู้บริหารบริษัทอีกด้วย เพราะการบริหารสินทรัพย์หมุนเวียนที่ดีและมีประสิทธิภาพหมายถึงการที่บริษัทสามารถอยู่ในธุรกิจได้อย่างยาวนาน
สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือที่จะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ของอายุสินทรัพย์นั้นๆ สินทรัพย์หมุนเวียนที่เราพบเห็นบ่อยๆ ได้แก่ เงินสด, ลูกหนี้การค้า, ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน, เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรองแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน , สินค้าคงเหลือ และ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้เร็ว เราจะถือว่าสินทรัพย์นั้นมีความคล่องตัวสูงกว่าสินทรัพย์ที่ใช้เวลานานในการเปลี่ยนมาเป็นเงินสด เช่น ลูกหนี้การค้าถือว่ามีความใกล้เป็นเงินสดมาก เพราะเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน ก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นตัวเงินทันที เป็นธรรมดาที่บริษัทจะเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ครบทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่ขายเป็นเงินสดไม่มีการให้เครดิตเลย ลูกหนี้การค้าที่ปรากฏในงบดุลจะแสดงด้วยยอดลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บได้จริงๆ ฉะนั้นจึงต้องมีการประมาณการว่าจะเก็บไม่ได้สักเท่าไร หรือจะเป็นหนี้สูญเท่าไร ด้วยการตั้งสำรองไว้ หรือเรียกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งเป็นการประมาณการล่วงหน้าโดยอาจจะดูจากสถิติ
ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นลูกหนี้อันเกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติ แต่ตัวลูกหนี้มีความสัมพันธ์กับธุรกิจ ซึ่งความสัมพันธ์นี้อาจมีได้หลายระดับ และหลายลักษณะ เช่นอาจเกิดจากการมีผู้บริหารระดับสูงร่วมกัน หรือมีการถือหุ้นในระหว่างกันจนทำให้มีส่วนในการบริหารข้ามกิจการกันได้
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดลองแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เช่นเดียวกับลูกหนี้การค้า หากเป็นรายการที่เกิดขึ้นระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน จำเป็นต้องแยกออกมาจากรายการที่ทำร่วมกับบุคคลอื่น เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน
ส่วนสินค้าคงเหลือนั้น จะใช้ราคาสุทธิหลังจากหักสำรองสินค้าล้าสมัยและค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้า ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรู้ผลเสียหายที่เกิดจากสินค้าล้าสมัย หรือแนวโน้มสินค้าที่มีราคาลดลงทันทีใน วันที่ระบุในงบดุล โดยไม่รอให้ถึงวันขายจริง ส่วนมากเราจะยอมรับรู้ผลเสียหายง่ายและเร็วกว่าการรับรู้ผลกำไรซึ่งมักจะรอไปรับรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สินค้าคงเหลือ จะต้องขายให้ได้เสียก่อน แล้วกลายสภาพมาเป็นลูกหนี้ ก่อนจะมาเป็นเงินสดอีกต่อหนึ่ง การเรียงรายการสินทรัพย์ในงบดุลจะเรียงลำดับสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวขึ้นก่อน เงินสด จึงมาก่อนลูกหนี้ และลูกหนี้มาก่อนสินค้าคงเหลือ
สำหรับค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าที่แสดงในสิ้นทรัพย์หมุนเวียนมักเป็นการจ่ายล่วงหน้าสำหรับระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้าเป็นการจ่ายล่วงหน้าที่นานเกินกว่า 1 ปี ส่วนที่เกินกว่า 1 ปี ก็จะต้องถือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่หมุนเวียน ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าปกติจะไม่สามารถกลับมาเป็นเงินสดอีก แต่จะช่วยลดจำนวนเงินสดที่ต้องจ่ายให้น้อยลง เป็นรายการที่มีความคล่องตัวน้อยกว่าสินค้าคงเหลือ บางครั้งอาจเรียกรวมๆ ว่าสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
เราจึงสามารถนำยอดรวมของสินทรัพย์หมุนเวียนมาใช้ในการคำนวนว่าบริษัทที่เราอยากจะลงทุนนั้น มีเงินทุนหมุนเวียน (working capital) มากน้อยแค่ไหน ปกติในการทำการค้า บริษัทมักจะจำเป็นที่จะต้องให้ credit กับลูกค้า บริษัทจึงควรจะต้องมีเงินสดจำนวนหนึ่งไว้หมุนเวียนก่อน ระหว่างที่ยังเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้
สินทรัพย์หมุนเวียนยังเป็นเครื่องมือในการดูความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทนั้นๆอีกด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้บริษัทจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนสูงมากกว่าหนีสิ้นหมุนเวียนก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินบริษัทจะมีเงินสดเพียงพอเพราะเรายังจะต้องดูสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนในบริษัทนั้นๆด้วย เช่นถ้าหากสินทรัพย์หมุนเวียนไปอยู่ที่สินค้าคงเหลือเป็นจำนวนมหาศาล และยอดขายสินค้าตกต่ำลงเป็นลำดับ ลูกหนี้ก็เก็บเงินไม่ได้ อย่างนี้องค์กรนั้นก็คงจะต้องประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างแน่นอน
ดั้งนั้นสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจลงทุนบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เราจึงควรจะทำความเข้าใจสินทรัพย์หมุนเวียนที่ปรากฎในงบดุลของบริษัทนั้น
Authors: tira และ chawaan
หากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดถามได้เลยนะคะ
สินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ที่เป็นเงินสดหรือที่จะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้ภายในระยะเวลา 1 ปี ของอายุสินทรัพย์นั้นๆ สินทรัพย์หมุนเวียนที่เราพบเห็นบ่อยๆ ได้แก่ เงินสด, ลูกหนี้การค้า, ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน, เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดรองแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน , สินค้าคงเหลือ และ ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
สินทรัพย์ที่สามารถเปลี่ยนมาเป็นเงินสดได้เร็ว เราจะถือว่าสินทรัพย์นั้นมีความคล่องตัวสูงกว่าสินทรัพย์ที่ใช้เวลานานในการเปลี่ยนมาเป็นเงินสด เช่น ลูกหนี้การค้าถือว่ามีความใกล้เป็นเงินสดมาก เพราะเมื่อถึงกำหนดชำระเงิน ก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นตัวเงินทันที เป็นธรรมดาที่บริษัทจะเก็บเงินจากลูกหนี้ไม่ได้ครบทั้งหมด ยกเว้นกรณีที่ขายเป็นเงินสดไม่มีการให้เครดิตเลย ลูกหนี้การค้าที่ปรากฏในงบดุลจะแสดงด้วยยอดลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บได้จริงๆ ฉะนั้นจึงต้องมีการประมาณการว่าจะเก็บไม่ได้สักเท่าไร หรือจะเป็นหนี้สูญเท่าไร ด้วยการตั้งสำรองไว้ หรือเรียกว่าค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญซึ่งเป็นการประมาณการล่วงหน้าโดยอาจจะดูจากสถิติ
ลูกหนี้การค้ากิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นลูกหนี้อันเกิดจากการดำเนินการค้าตามปกติ แต่ตัวลูกหนี้มีความสัมพันธ์กับธุรกิจ ซึ่งความสัมพันธ์นี้อาจมีได้หลายระดับ และหลายลักษณะ เช่นอาจเกิดจากการมีผู้บริหารระดับสูงร่วมกัน หรือมีการถือหุ้นในระหว่างกันจนทำให้มีส่วนในการบริหารข้ามกิจการกันได้
เงินให้กู้ยืมระยะสั้นและเงินทดลองแก่กิจการที่เกี่ยวข้องกัน เช่นเดียวกับลูกหนี้การค้า หากเป็นรายการที่เกิดขึ้นระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน จำเป็นต้องแยกออกมาจากรายการที่ทำร่วมกับบุคคลอื่น เพื่อให้เห็นได้ชัดเจน
ส่วนสินค้าคงเหลือนั้น จะใช้ราคาสุทธิหลังจากหักสำรองสินค้าล้าสมัยและค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้า ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรู้ผลเสียหายที่เกิดจากสินค้าล้าสมัย หรือแนวโน้มสินค้าที่มีราคาลดลงทันทีใน วันที่ระบุในงบดุล โดยไม่รอให้ถึงวันขายจริง ส่วนมากเราจะยอมรับรู้ผลเสียหายง่ายและเร็วกว่าการรับรู้ผลกำไรซึ่งมักจะรอไปรับรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้ว สินค้าคงเหลือ จะต้องขายให้ได้เสียก่อน แล้วกลายสภาพมาเป็นลูกหนี้ ก่อนจะมาเป็นเงินสดอีกต่อหนึ่ง การเรียงรายการสินทรัพย์ในงบดุลจะเรียงลำดับสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวขึ้นก่อน เงินสด จึงมาก่อนลูกหนี้ และลูกหนี้มาก่อนสินค้าคงเหลือ
สำหรับค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าที่แสดงในสิ้นทรัพย์หมุนเวียนมักเป็นการจ่ายล่วงหน้าสำหรับระยะเวลาสั้นๆ แต่ถ้าเป็นการจ่ายล่วงหน้าที่นานเกินกว่า 1 ปี ส่วนที่เกินกว่า 1 ปี ก็จะต้องถือเป็นสินทรัพย์ที่ไม่หมุนเวียน ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้าปกติจะไม่สามารถกลับมาเป็นเงินสดอีก แต่จะช่วยลดจำนวนเงินสดที่ต้องจ่ายให้น้อยลง เป็นรายการที่มีความคล่องตัวน้อยกว่าสินค้าคงเหลือ บางครั้งอาจเรียกรวมๆ ว่าสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
เราจึงสามารถนำยอดรวมของสินทรัพย์หมุนเวียนมาใช้ในการคำนวนว่าบริษัทที่เราอยากจะลงทุนนั้น มีเงินทุนหมุนเวียน (working capital) มากน้อยแค่ไหน ปกติในการทำการค้า บริษัทมักจะจำเป็นที่จะต้องให้ credit กับลูกค้า บริษัทจึงควรจะต้องมีเงินสดจำนวนหนึ่งไว้หมุนเวียนก่อน ระหว่างที่ยังเก็บเงินจากลูกค้าไม่ได้
สินทรัพย์หมุนเวียนยังเป็นเครื่องมือในการดูความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทนั้นๆอีกด้วย อย่างไรก็ตามถึงแม้บริษัทจะมีสินทรัพย์หมุนเวียนสูงมากกว่าหนีสิ้นหมุนเวียนก็ไม่ได้หมายความว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินบริษัทจะมีเงินสดเพียงพอเพราะเรายังจะต้องดูสัดส่วนของสินทรัพย์หมุนเวียนในบริษัทนั้นๆด้วย เช่นถ้าหากสินทรัพย์หมุนเวียนไปอยู่ที่สินค้าคงเหลือเป็นจำนวนมหาศาล และยอดขายสินค้าตกต่ำลงเป็นลำดับ ลูกหนี้ก็เก็บเงินไม่ได้ อย่างนี้องค์กรนั้นก็คงจะต้องประสบปัญหาสภาพคล่องอย่างแน่นอน
ดั้งนั้นสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นส่วนสำคัญในการตัดสินใจลงทุนบริษัทใดบริษัทหนึ่ง เราจึงควรจะทำความเข้าใจสินทรัพย์หมุนเวียนที่ปรากฎในงบดุลของบริษัทนั้น
Authors: tira และ chawaan
หากมีคำถามหรือข้อสงสัยประการใดถามได้เลยนะคะ
- Outliers
- Verified User
- โพสต์: 527
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 2
ส่วนสินค้าคงเหลือนั้น จะใช้ราคาสุทธิหลังจากหักสำรองสินค้าล้าสมัยและค่าเผื่อการลดมูลค่าของสินค้า ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรู้ผลเสียหายที่เกิดจากสินค้าล้าสมัย หรือแนวโน้มสินค้าที่มีราคาลดลงทันทีใน วันที่ระบุในงบดุล
ถามเรื่องด้อยค่าของสินค้าคงเหลือหน่อยครับ
อยากทราบว่าในทางบัญชีมีกำหนดไว้ไหมครับว่าต้องด้อยค่ามากกว่ากี่ % ถึงจะมาทำการปรับ
หรือว่าต้องทำ mark to market ทุกครั้งเลย
เช่นซื้อ HDPE ที่ราคา 40000 บาทต่อตัน 1 ตัน
แต่วันปิดงวด ถ้าราคาเป็น
30000 บาทต่อตัน
39950 บาทต่อตัน
40050 บาทต่อตัน
50000 บาทต่อตัน
จะต้องปรับเป็นราคาตลาดทุกกรณีเลยหรือเปล่าครับ
ถามเรื่องด้อยค่าของสินค้าคงเหลือหน่อยครับ
อยากทราบว่าในทางบัญชีมีกำหนดไว้ไหมครับว่าต้องด้อยค่ามากกว่ากี่ % ถึงจะมาทำการปรับ
หรือว่าต้องทำ mark to market ทุกครั้งเลย
เช่นซื้อ HDPE ที่ราคา 40000 บาทต่อตัน 1 ตัน
แต่วันปิดงวด ถ้าราคาเป็น
30000 บาทต่อตัน
39950 บาทต่อตัน
40050 บาทต่อตัน
50000 บาทต่อตัน
จะต้องปรับเป็นราคาตลาดทุกกรณีเลยหรือเปล่าครับ
The Miracle of 10,000 hrs
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 3
ในประเด็นของสินค้าคงเหลือนั้น
ในประเทศไทยไม่ให้ใช้ LIFO (Last in First Out) ใช่ไหมครับ
ใช้ได้แต่ FIFO (First In First Out) และ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ใช่ไหมครับ
แล้วในงบการเงินที่แสดงกับงบการเงินที่ส่งสรรพากรมันแตกต่างกันในส่วนสินค้าคงเหลือหรือไม่ครับ
ประเด็นนี้กระทบต่อภาษีที่บริษัทจ่ายใช่ไหมครับ ถ้าหากเกณฑ์ที่สรรพากรและบัญชีไม่เหมือนกัน
ในประเทศไทยไม่ให้ใช้ LIFO (Last in First Out) ใช่ไหมครับ
ใช้ได้แต่ FIFO (First In First Out) และ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ใช่ไหมครับ
แล้วในงบการเงินที่แสดงกับงบการเงินที่ส่งสรรพากรมันแตกต่างกันในส่วนสินค้าคงเหลือหรือไม่ครับ
ประเด็นนี้กระทบต่อภาษีที่บริษัทจ่ายใช่ไหมครับ ถ้าหากเกณฑ์ที่สรรพากรและบัญชีไม่เหมือนกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 4
ในทางบัญชีจะไม่มีการกำหนดค่ะว่าเป็นกี่ %
แต่ในทางปฏิบัติถ้าราคาไม่ลดมากจนเป็นสาระสำคัญ ผู้สอบอาจไม่สนใจ การปรับสินค้าคงเหลือสามารถปรับเป็นกลุ่ม ไม่ต้องทำแต่ละรายการก็ได้ค่ะ
เมื่อสินค้าล้าสมัยและราคาที่จะขายได้หักค่าใช้จ่ายในการขายสินค้าต่ำเห็นได้ชัด บริษัทต้องปรับราคาสินค้าคงเหลือลงในงวดนั้น ไม่มีข้อแม้
การปรับราคาสินค้าคงเหลือ เราใช้วิธี lower of cost or net realizable value คือ mark down อย่างเดียวค่ะ และ market price ต้อง net ด้วยค่าใช้จ่ายในการขาย
สำหรับราคา 40,050 และ 50,000 นั้นบริษัทไม่สามารถปรับราคาของสินค้าคงเหลือขึ้นได้
สำหรับราคา 39,950 ถ้าบริษัทคิดว่าส่วนต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญ บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องปรับราคาก็ได้
สำหรับราคา 30,000 บริษัทส่วนใหญ่จะถือว่าส่วนต่างนั้นมีนัยสำคัญ และถ้าเป็นเช่นนั้นบริษัทก็จำเป็นที่จะต้องปรับราคาลงมาที่ ราคาขายหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการขาย
ขอโทษด้วยนะค่ะที่มาตอบช้า
แต่ในทางปฏิบัติถ้าราคาไม่ลดมากจนเป็นสาระสำคัญ ผู้สอบอาจไม่สนใจ การปรับสินค้าคงเหลือสามารถปรับเป็นกลุ่ม ไม่ต้องทำแต่ละรายการก็ได้ค่ะ
เมื่อสินค้าล้าสมัยและราคาที่จะขายได้หักค่าใช้จ่ายในการขายสินค้าต่ำเห็นได้ชัด บริษัทต้องปรับราคาสินค้าคงเหลือลงในงวดนั้น ไม่มีข้อแม้
การปรับราคาสินค้าคงเหลือ เราใช้วิธี lower of cost or net realizable value คือ mark down อย่างเดียวค่ะ และ market price ต้อง net ด้วยค่าใช้จ่ายในการขาย
สำหรับราคา 40,050 และ 50,000 นั้นบริษัทไม่สามารถปรับราคาของสินค้าคงเหลือขึ้นได้
สำหรับราคา 39,950 ถ้าบริษัทคิดว่าส่วนต่างนี้ไม่มีนัยสำคัญ บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องปรับราคาก็ได้
สำหรับราคา 30,000 บริษัทส่วนใหญ่จะถือว่าส่วนต่างนั้นมีนัยสำคัญ และถ้าเป็นเช่นนั้นบริษัทก็จำเป็นที่จะต้องปรับราคาลงมาที่ ราคาขายหักค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการขาย
ขอโทษด้วยนะค่ะที่มาตอบช้า
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 5
LIFO เลิกไปแล้วค่ะ ตอนนี้อนุญาตให้ใช้ได้ 3 ประเภท คือ FIFO, เฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก และ วิธีเฉพาะเจาะจง ค่ะ
ส่วนงบการเงินที่ส่งสรรพากร ให้ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีคำนวณตามราคาทุน หรือราคาตลาดและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบบัญชีใหม่ค่ะ
สรรพากรยอมรับวิธีปฏิบัติที่ตรงกันกับกฏของบัญชีค่ะ เมื่อมีการตรวจนับสินค้าปลายงวด จะต้องให้ผู้ตีราคาอิสระมาทำการแยกแยะและตีราคาสิ้นค้าคงเหลือปลายงวดออกมา
แต่ต้องระวัง ปัญหาที่เกิดกับสรรพากรมักเป็นเรืองการตัดสินค้าคงเหลือที่ล้าสมัย ชำรุด และสูญหาย เป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งสรรพากรจะตรวจเข้ม อย่างเช่นการทำลายสินค้าคงเหลือ ปกติบริษัทต้องแจ้งให้สรรพากรทราบ และสรรพากรจะส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมเป็นพยาน ถ้าสรรพากรไม้ยอมให้ตัดสินค้าคงเหลือเป็นค่าใช้จ่าย บริษัทต้องบวกกลับค่าใช้จ่ายนั้นเพื่อนำไปจ่ายภาษีค่ะ
ส่วนงบการเงินที่ส่งสรรพากร ให้ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีคำนวณตามราคาทุน หรือราคาตลาดและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบบัญชีใหม่ค่ะ
สรรพากรยอมรับวิธีปฏิบัติที่ตรงกันกับกฏของบัญชีค่ะ เมื่อมีการตรวจนับสินค้าปลายงวด จะต้องให้ผู้ตีราคาอิสระมาทำการแยกแยะและตีราคาสิ้นค้าคงเหลือปลายงวดออกมา
แต่ต้องระวัง ปัญหาที่เกิดกับสรรพากรมักเป็นเรืองการตัดสินค้าคงเหลือที่ล้าสมัย ชำรุด และสูญหาย เป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งสรรพากรจะตรวจเข้ม อย่างเช่นการทำลายสินค้าคงเหลือ ปกติบริษัทต้องแจ้งให้สรรพากรทราบ และสรรพากรจะส่งเจ้าหน้าที่มาร่วมเป็นพยาน ถ้าสรรพากรไม้ยอมให้ตัดสินค้าคงเหลือเป็นค่าใช้จ่าย บริษัทต้องบวกกลับค่าใช้จ่ายนั้นเพื่อนำไปจ่ายภาษีค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 270
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 7
รบกวนสอบถามเรื่องสินค้าคงเหลือครับ
1 สินค้าที่ expire หรือเสื่อมแล้วแต่บริษัทฯยังไม่ยอมตัดออกมา ยังคงเก็บไว้เป็นสินค้าคง
เหลือ แบบนี้เรามีทางใดที่จะรู้ได้บ้างใหมครับ
2 ถ้าตัดออกมาแล้ว จะเอาไปบันทึกไว้ในส่วนใด ของงบการเงินครับ
1 สินค้าที่ expire หรือเสื่อมแล้วแต่บริษัทฯยังไม่ยอมตัดออกมา ยังคงเก็บไว้เป็นสินค้าคง
เหลือ แบบนี้เรามีทางใดที่จะรู้ได้บ้างใหมครับ
2 ถ้าตัดออกมาแล้ว จะเอาไปบันทึกไว้ในส่วนใด ของงบการเงินครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 8
สำหรับคำถามคุณLikhitนะคะ
1.) สินค้าที่ expire หรือเสื่อมแล้วแต่บริษัทฯยังไม่ยอมตัดออกมา ยังคงเก็บไว้เป็นสินค้าคงเหลือ เราไม่สามารถรู้ได้คะ นอกจากผู้ตรวจสอบบัญชีจะเข้าไปตรวจสอบเอง แต่สามารถวิเคราะห์ได้จากการดูอัตราส่วนของ Inventory Turnover (COGS/Avg.Inventory) ถ้าหมุนช้าผิดสังเกตเป็นไปได้ว่าขายไม่ออกและสินค้ามีโอกาสเสื่อมสภาพ
2.) ถ้าตัดออกมาแล้ว สินค้าเสื่อมสภาพก็จะไม่อยู่ในส่วนใดของงบการเงินเลยคะ จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารคะ เป็นการทยอยตัดสินทรัพย์ระยะยาวในงบดุลไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
1.) สินค้าที่ expire หรือเสื่อมแล้วแต่บริษัทฯยังไม่ยอมตัดออกมา ยังคงเก็บไว้เป็นสินค้าคงเหลือ เราไม่สามารถรู้ได้คะ นอกจากผู้ตรวจสอบบัญชีจะเข้าไปตรวจสอบเอง แต่สามารถวิเคราะห์ได้จากการดูอัตราส่วนของ Inventory Turnover (COGS/Avg.Inventory) ถ้าหมุนช้าผิดสังเกตเป็นไปได้ว่าขายไม่ออกและสินค้ามีโอกาสเสื่อมสภาพ
2.) ถ้าตัดออกมาแล้ว สินค้าเสื่อมสภาพก็จะไม่อยู่ในส่วนใดของงบการเงินเลยคะ จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารคะ เป็นการทยอยตัดสินทรัพย์ระยะยาวในงบดุลไปเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 1230
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 17
อย่าว่าแต่ท่านอาจารย์อยู่เมืองนอก ผมอยู่เมืองไทยมานาน จู่ ๆ ก็รู้สึกว่ามีการพัฒนาของการตั้งชื่ออย่างรวดเร็วมาก ไม่รู้เริ่มต้นแต่เมื่อไร ต้องบอกว่า เดี๋ยวนี้ถามชื่อใคร ต้องถามซ้ำ แล้วตามต่อด้วยว่าสะกดอย่างไร ไม่งั๊นเชื่อขนมกินได้สะกดไม่ถูกหรอกครับparporn เขียน:แปลว่าอะไร? ตัวอาจารย์เอง อยู่เมืองนอกนาน ภาษาไทยไม่ค่อยแข็งแรงเหมือนกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 18
แล้วหากบริษัทบันทึกการด้อยค่าสินค้าระหว่างทาง ที่นำมาผลิตละครับ
จุดนี้มีผลต่อการทำบัญชีต้นทุนหรือเปล่าครับ
และถามต่อ ในส่วนของสินค้าสำเร็จรูปนั้น ถ้าหากสินค้ามีความล้าสมัยได้อย่างรวดเร็จ เช่นสินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์แต่ไม่ได้ทำลายทิ้ง นำมาขายลดราคา แบบนี้ บริษัทบันทึกเป็นขาดทุนจากการขายสินค้าหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
จุดนี้มีผลต่อการทำบัญชีต้นทุนหรือเปล่าครับ
และถามต่อ ในส่วนของสินค้าสำเร็จรูปนั้น ถ้าหากสินค้ามีความล้าสมัยได้อย่างรวดเร็จ เช่นสินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์แต่ไม่ได้ทำลายทิ้ง นำมาขายลดราคา แบบนี้ บริษัทบันทึกเป็นขาดทุนจากการขายสินค้าหรือเปล่าครับ
ขอบคุณครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 5
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 19
สำหรับคำถามของคุณmiracleนะคะ
1.) หากบริษัทบันทึกการด้อยค่าสินค้าระหว่างทางที่นำมาผลิต มูลค่าของสินค้านั้นจะลดลง หากเหตุการณ์นั้นเป็นไปตามปกติธุรกิจ บริษัทต้องตัดการขาดทุนเป็นต้นทุนขายในงวดนั้น แต่ถ้าเหตุที่เกิดการด้อยค่ามาจากบริษัท การขาดทุนที่เกิดจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร
สำหรับสินค้าระหว่างผลิต (หมายถึงสินค้าที่บริษัทกำลังผลิตอยู่แต่ยังไม่เสร็จสิ้น) การขาดทุนจะเกิดขึ้นได้เมื่อต้นทุนที่จะต้องใส่เพิ่มเพื่อผลิตสินค้าให้เสร็จ รวมกับต้นทุนที่ใส่ไปแล้ว มีจำนวนสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่จะขายได้ (ขาย - ค่าใช้จ่ายในการขาย) บริษัทต้องรับรู้ขาดทุนเป็นต้นทุนขายสำหรับขาดทุนที่เป็นปกติธุรกิจ ถ้าการขาดทุนนั้นมีจำนวนมากเกินปกติธุรกิจหรือเกิดเนื่องจากการบริหาร บริษัทต้องบันทึกการขาดทุนเป็นค่าใชจ่ายบริหาร
2.) ในส่วนของสินค้าสำเร็จรูปนั้น ถ้าหากสินค้ามีความล้าสมัยได้อย่างรวดเร็จ เช่นสินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อถึงวันสิ้นงวดก็ปรับมูลค่าลงเท่ากับมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะขายได้ การขาดทุนจะรับรู้ทันทีในค่าใช้จ่ายบริหาร แต่ถ้าการล้าสมัยนั้นเป็นไปตามวงจรปกติคือ ผลิตแล้วขายเต็มราคาครึ่งหนึ่ง ขายลดราคาครึ่งหนึ่ง ตามแผนการขายของบริษัท ก็อาจถือเป็นรายได้และต้นทุนขายตามปกติ ทั้งนี้ขึ้นกับข้อเท็จจริง
แต่ถ้าสินค้านั้นล้าสมัยในระหว่างงวด เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเกิดจากความผิดพลาดในการบริการ ก็บันทึกเข้าค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่ถ้าเป็นวงจรขายปกติ ก็บันทึกเข้าต้นทุนขาย รายได้จากสินค้าที่ขายได้ก็ถือเป็นรายได้จากการขาย
เวลาบันทึกบัญชีใช้หลักการเดียวกันตลอด ถ้าขาดทุนปกติธุรกิจหรือจากการผลิตปกติ ให้บันทึกเข้าต้นทุนขาย ถ้าขาดทุนเกินปกติหรือเกิดจากการบริหาร เช่น ขายไม่หมดเพราะผลิตมากไป สั่งซื้อมากไป การคาดการณ์ผิด ก็ให้บันทึกเข้าเป็นค่าใช้จ่ายบริหาร
1.) หากบริษัทบันทึกการด้อยค่าสินค้าระหว่างทางที่นำมาผลิต มูลค่าของสินค้านั้นจะลดลง หากเหตุการณ์นั้นเป็นไปตามปกติธุรกิจ บริษัทต้องตัดการขาดทุนเป็นต้นทุนขายในงวดนั้น แต่ถ้าเหตุที่เกิดการด้อยค่ามาจากบริษัท การขาดทุนที่เกิดจะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร
สำหรับสินค้าระหว่างผลิต (หมายถึงสินค้าที่บริษัทกำลังผลิตอยู่แต่ยังไม่เสร็จสิ้น) การขาดทุนจะเกิดขึ้นได้เมื่อต้นทุนที่จะต้องใส่เพิ่มเพื่อผลิตสินค้าให้เสร็จ รวมกับต้นทุนที่ใส่ไปแล้ว มีจำนวนสูงกว่ามูลค่าสุทธิที่จะขายได้ (ขาย - ค่าใช้จ่ายในการขาย) บริษัทต้องรับรู้ขาดทุนเป็นต้นทุนขายสำหรับขาดทุนที่เป็นปกติธุรกิจ ถ้าการขาดทุนนั้นมีจำนวนมากเกินปกติธุรกิจหรือเกิดเนื่องจากการบริหาร บริษัทต้องบันทึกการขาดทุนเป็นค่าใชจ่ายบริหาร
2.) ในส่วนของสินค้าสำเร็จรูปนั้น ถ้าหากสินค้ามีความล้าสมัยได้อย่างรวดเร็จ เช่นสินค้าจำพวกอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อถึงวันสิ้นงวดก็ปรับมูลค่าลงเท่ากับมูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะขายได้ การขาดทุนจะรับรู้ทันทีในค่าใช้จ่ายบริหาร แต่ถ้าการล้าสมัยนั้นเป็นไปตามวงจรปกติคือ ผลิตแล้วขายเต็มราคาครึ่งหนึ่ง ขายลดราคาครึ่งหนึ่ง ตามแผนการขายของบริษัท ก็อาจถือเป็นรายได้และต้นทุนขายตามปกติ ทั้งนี้ขึ้นกับข้อเท็จจริง
แต่ถ้าสินค้านั้นล้าสมัยในระหว่างงวด เมื่อพิจารณาแล้วเห็นว่าเกิดจากความผิดพลาดในการบริการ ก็บันทึกเข้าค่าใช้จ่ายในการบริหาร แต่ถ้าเป็นวงจรขายปกติ ก็บันทึกเข้าต้นทุนขาย รายได้จากสินค้าที่ขายได้ก็ถือเป็นรายได้จากการขาย
เวลาบันทึกบัญชีใช้หลักการเดียวกันตลอด ถ้าขาดทุนปกติธุรกิจหรือจากการผลิตปกติ ให้บันทึกเข้าต้นทุนขาย ถ้าขาดทุนเกินปกติหรือเกิดจากการบริหาร เช่น ขายไม่หมดเพราะผลิตมากไป สั่งซื้อมากไป การคาดการณ์ผิด ก็ให้บันทึกเข้าเป็นค่าใช้จ่ายบริหาร
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 20
ขอบคุณมากครับ หายสงสัยไปได้มากเลยครับ
มิน่า บ้างทีเห็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโตผิดปกติ บ้างที่ก็เห็นต้นทุนการขายบวม
หาที่มาที่ไปไม่ได้ มันมีแบบนี้ที่เป็นเบื้องหลังอยู่นั้นเอง
มิน่า บ้างทีเห็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโตผิดปกติ บ้างที่ก็เห็นต้นทุนการขายบวม
หาที่มาที่ไปไม่ได้ มันมีแบบนี้ที่เป็นเบื้องหลังอยู่นั้นเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 121
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 21
บางครั้งเป้นการยากที่เราจะสkมารถหาที่มาที่ไปได้อย่างแท้จริง มักจะเป็นการคาดว่าน่าจะเกิดขึ้นได้ในทางบัญชี ซึ่งในการวิเคราะห์เพื่อการลงทุนนั้นไม่มีปัญหา เพราะถ้าหากค่าใช้จ่ายโตผิดปกติ โดยเราก็สงสัย หนทางแรกคือวิเคราะห์ไปตามหลักการ เหตุการณ์แบบนี้สรุปไปก่อนว่าเสี่ยงยังไม่น่าลงทุน อย่าคิดแทนทางบวกว่า อาจจะเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดชั่วคราวหรือเป็นค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดประโยชน์ต่อบริษัท ถ้าเป็นเรื่องดี บริษัทจะรีบบอกเสมอ ซึ่งอาจจะดีไม่จริงด้วยก็ได้ ประเภทลับลวงพราง อย่ากลัวว่าจะเสียโอกาสลงทุนทำกำไร บริษัทที่เข้าใจตลาดทุนจริง จะไม่ทำให้เกิดความสงสัย ความสงสัยคือความเสี่ยง จำไว้เสมอว่า วิเคราะห์ตามตัวเลขที่เห็นตามหลักการ ค่าใช้จ่ายอะไรที่บวมผิดปกติ อุตสาหกรรมไม่เป็นกัน ก็คืองวดนั้นบริหารงานขาดประสิทธิภาพ ย่อมไม่ใช่เรื่องดีmiracle เขียน:ขอบคุณมากครับ หายสงสัยไปได้มากเลยครับ
มิน่า บ้างทีเห็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโตผิดปกติ บ้างที่ก็เห็นต้นทุนการขายบวม
หาที่มาที่ไปไม่ได้ มันมีแบบนี้ที่เป็นเบื้องหลังอยู่นั้นเอง
- arwut
- Verified User
- โพสต์: 682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 22
อยากเรียนถามสัก 2 ประเดน นะครับ
1.) ค่าเสื่อมและสินค้าล้าสมัย เกณฑ์ทางบัญชีของ บริษัทกำหนดให้ ให้คิดค่าเสื่อม 50% ของมูลค่าซื้อ เมื่อวันเวาผ่านไป 6 เดือนหลังจากวันที่ซื้อ อยากทราบว่า เมื่อผ่านไปเข้าเดือนที่ 8 ขายได้ในราคา มากกว่า 50% เช่นซื้อมา 100 ขายไป 80 เราจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่ได้เกินมา 30 บาทครับ
2.) หากบริษัทบันทึกการด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อยไปแล้วแบบเต็มจำนวน หากบริษัทนั้นเจ๊งไปเราก็ไม่ต้องบันทึกอีกใช่หรือไม่ แต่ในทางกลับกัน บ.นั้นไม่เจ๊งยังดำเนินกิจการอยู่เรื่อยๆ ณ วันหนึ่งมาเกิดกำไร เราจะบันทึกการด้อยค่ากลับคืนหรือป่าว ว่าไม่ต้องทำอย่างใดเลยกับการบันทึกด้อยค่าดังกล่าวครับ
1.) ค่าเสื่อมและสินค้าล้าสมัย เกณฑ์ทางบัญชีของ บริษัทกำหนดให้ ให้คิดค่าเสื่อม 50% ของมูลค่าซื้อ เมื่อวันเวาผ่านไป 6 เดือนหลังจากวันที่ซื้อ อยากทราบว่า เมื่อผ่านไปเข้าเดือนที่ 8 ขายได้ในราคา มากกว่า 50% เช่นซื้อมา 100 ขายไป 80 เราจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่ได้เกินมา 30 บาทครับ
2.) หากบริษัทบันทึกการด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อยไปแล้วแบบเต็มจำนวน หากบริษัทนั้นเจ๊งไปเราก็ไม่ต้องบันทึกอีกใช่หรือไม่ แต่ในทางกลับกัน บ.นั้นไม่เจ๊งยังดำเนินกิจการอยู่เรื่อยๆ ณ วันหนึ่งมาเกิดกำไร เราจะบันทึกการด้อยค่ากลับคืนหรือป่าว ว่าไม่ต้องทำอย่างใดเลยกับการบันทึกด้อยค่าดังกล่าวครับ
ว่าง ไม่ใช่ ไม่มี
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รู้จักสินทรัพย์หมุนเวียน (Current Asset) มีชัยไปกว่าครึ่
โพสต์ที่ 23
ตอบคำถามข้อ 1arwut เขียน:อยากเรียนถามสัก 2 ประเดน นะครับ
1.) ค่าเสื่อมและสินค้าล้าสมัย เกณฑ์ทางบัญชีของ บริษัทกำหนดให้ ให้คิดค่าเสื่อม 50% ของมูลค่าซื้อ เมื่อวันเวาผ่านไป 6 เดือนหลังจากวันที่ซื้อ อยากทราบว่า เมื่อผ่านไปเข้าเดือนที่ 8 ขายได้ในราคา มากกว่า 50% เช่นซื้อมา 100 ขายไป 80 เราจะต้องทำอย่างไรกับเงินที่ได้เกินมา 30 บาทครับ
2.) หากบริษัทบันทึกการด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัทย่อยไปแล้วแบบเต็มจำนวน หากบริษัทนั้นเจ๊งไปเราก็ไม่ต้องบันทึกอีกใช่หรือไม่ แต่ในทางกลับกัน บ.นั้นไม่เจ๊งยังดำเนินกิจการอยู่เรื่อยๆ ณ วันหนึ่งมาเกิดกำไร เราจะบันทึกการด้อยค่ากลับคืนหรือป่าว ว่าไม่ต้องทำอย่างใดเลยกับการบันทึกด้อยค่าดังกล่าวครับ
เมื่อบริษัททำการลดมูลค่าสินค้าล้าสมัยในบัญชี บริษัทบันทึกขาดทุนเข้างบกำไรขาดทุนทันทีทั้งที่ยังไม่ขายสินค้าออกไป (กำไรที่ยังไม่เกิดจริงในงวดนั้น) ดังนั้น เมื่อบริษัทขายสินค้าแล้วเกิดกำไร กำไรจะเข้างบกำไรขาดทุนทันที (กำไรที่เกิดจริงในงวดถัดไป) ถ้างบการเงินเป็นงบปี ขาดทุนในงวดหนึ่งจะถูกหักกลบโดยกำไรอีกงวดหนึ่ง กำไรขาดทุนจะสะท้อนผลการดำเนินงานที่เกิดจริง แต่ถ้าเกิดเหลื่อมปี ขาดทุนปีหนึ่งจะมาก แต่จะกลายมาเป็นกำไรอีกปีหนึ่ง
ตอบคำถามข้อ 2
การด้อยค่่ของเงินลงทุนสามารถกลับบัญชีได้ค่ะ ถ้าด้อยค่าน้อยลงก็กลับเป็นกำไรเข้างบกำไรขาดทุนทันที (เฉพาะในส่วนที่เคยตัดขาดทุนไปแล้วในงบกำไรขาดทุนงวดก่อน)