รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 1
รายจ่ายฝ่ายทุน (Capital Expenditure)
ในทางบัญชีรายจ่ายของบริษัทแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ “รายจ่ายในการดำเนินกิจการ” (Operating Expenditure) และ “รายจ่ายฝ่ายทุน” (Capital Expenditure)
รายจ่ายในการดำเนินกิจการคือ “รายจ่ายเพื่อการดำเนินธุรกิจ” (Operating Expenditure) หรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างรายได้ภายในรอบระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี รายจ่ายประเภทนี้จะแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ตัวอย่างเช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโฆษณาสินค้า ค่านายหน้าพนักงานขาย เป็นต้น ส่วน “รายจ่ายฝ่ายทุน” (Capital Expenditure) คือ รายจ่ายที่สามารถให้ประโยชน์กับบริษัทนานกว่า 1 ปี บริษัทจึงบันทึกรายจ่ายฝ่ายทุนเป็นสินทรัพย์พักไว้ในงบแสดงฐานะการเงินก่อน แล้วค่อยๆ ทะยอยตัดสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อรายจ่ายฝ่ายทุนนั้นหมดประโยชน์ (แทนที่จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที ดังเช่นรายจ่ายเพื่อการดำเนินธุรกิจ) ยกตัวอย่างเช่น รายจ่ายเพื่อซื้ออาคาร ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร รถบรรทุก หรือ รายจ่ายเพื่อซื้อสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สิทธิการเช่า ค่าสัมปทาน เป็นต้น
เวลามองหารายจ่ายฝ่ายทุนในงบการเงิน เรามีวิธีดูดังนี้
ในงบดุลหรืองบแสดงฐานะทางการเงิน สินทรัพย์ที่ได้มาจากรายจ่ายฝ่ายทุนจะแสดงอยู่ภายใต้หัวข้อ “สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน” ตามชื่อของสินทรัพย์ที่ได้มา เช่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดังนั้น ในปีแรกที่เกิดรายจ่ายฝ่ายทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นด้วยราคาทุนที่จ่ายไปเพื่อให้ได้สินทรัพย์มา ส่วนในปีถัดๆ ไปสินทรัพย์เหล่านี้จะลดมูลค่าลงด้วย “ค่าเสื่อมราคาสะสม” หรือ “ค่าตัดจำหน่ายสะสม” เพราะบริษัทต้องตัดค่าเสื่อมราคา (สำหรับสินทรัพย์มีตัวตน) หรือค่าตัดจำหน่าย (สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน) เมื่อบริษัทนำรายจ่ายฝ่ายทุนนั้นมาใช้ในการทำธุรกิจ รายละเอียดของสินทรัพย์แต่ละรายการจะเปิดเผยอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งนักลงทุนที่สนใจจะสามารถอ่านเพิ่มเติมได้
ในงบกำไรขาดทุน รายจ่ายฝ่ายทุนที่บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะถูกทะยอยตัดเป็นค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่าย และแสดงในงบกำไรขาดทุนภายใต้ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเสื่อมราคาอาคารสำนักงานจะรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร หรือค่าเสื่อมราคารถยนต์ของพนักงานขายจะรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขาย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะถูกบันทึกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปหรือที่รู้จักกันในนาม "สินค้าคงเหลือ" ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่เมื่อบริษัททำการขายสินค้า สินค้าคงเหลือที่ขายไปจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ต้นทุนขาย" ดังนั้น รายจ่ายฝ่ายทุนบางส่วนจะติดไปกับสินค้าคงเหลือและกลายเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน แต่รายจ่ายฝ่ายทุนที่ติดอยู่กับสินค้าคงเหลือที่ยังไม่ได้ขาย ก็จะยังคงแสดงรวมอยู่ในสินค้าคงเหลือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน
ในงบกระแสเงินสด นักลงทุนสามารถดูรายจ่ายฝ่ายทุนต่างๆ ภายใต้หัวข้อ “กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน” โดยรายจ่ายฝ่ายทุนจะแสดงกระแสเงินสดที่เป็นลบ ภายใต้รายการที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และรายการอื่นที่ให้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัทในระยะยาว (เงินลงทุนระยะยาวไม่ถือเป็นการจ่ายรายจ่ายฝ่ายทุน)
ในทางบัญชีรายจ่ายของบริษัทแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ “รายจ่ายในการดำเนินกิจการ” (Operating Expenditure) และ “รายจ่ายฝ่ายทุน” (Capital Expenditure)
รายจ่ายในการดำเนินกิจการคือ “รายจ่ายเพื่อการดำเนินธุรกิจ” (Operating Expenditure) หรือรายจ่ายที่เกิดขึ้นเพื่อสร้างรายได้ภายในรอบระยะเวลาไม่เกินหนึ่งปี รายจ่ายประเภทนี้จะแสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน ตัวอย่างเช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าโฆษณาสินค้า ค่านายหน้าพนักงานขาย เป็นต้น ส่วน “รายจ่ายฝ่ายทุน” (Capital Expenditure) คือ รายจ่ายที่สามารถให้ประโยชน์กับบริษัทนานกว่า 1 ปี บริษัทจึงบันทึกรายจ่ายฝ่ายทุนเป็นสินทรัพย์พักไว้ในงบแสดงฐานะการเงินก่อน แล้วค่อยๆ ทะยอยตัดสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายเมื่อรายจ่ายฝ่ายทุนนั้นหมดประโยชน์ (แทนที่จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที ดังเช่นรายจ่ายเพื่อการดำเนินธุรกิจ) ยกตัวอย่างเช่น รายจ่ายเพื่อซื้ออาคาร ที่ดิน โรงงาน เครื่องจักร รถบรรทุก หรือ รายจ่ายเพื่อซื้อสิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ สิทธิการเช่า ค่าสัมปทาน เป็นต้น
เวลามองหารายจ่ายฝ่ายทุนในงบการเงิน เรามีวิธีดูดังนี้
ในงบดุลหรืองบแสดงฐานะทางการเงิน สินทรัพย์ที่ได้มาจากรายจ่ายฝ่ายทุนจะแสดงอยู่ภายใต้หัวข้อ “สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน” ตามชื่อของสินทรัพย์ที่ได้มา เช่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ดังนั้น ในปีแรกที่เกิดรายจ่ายฝ่ายทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะเพิ่มขึ้นด้วยราคาทุนที่จ่ายไปเพื่อให้ได้สินทรัพย์มา ส่วนในปีถัดๆ ไปสินทรัพย์เหล่านี้จะลดมูลค่าลงด้วย “ค่าเสื่อมราคาสะสม” หรือ “ค่าตัดจำหน่ายสะสม” เพราะบริษัทต้องตัดค่าเสื่อมราคา (สำหรับสินทรัพย์มีตัวตน) หรือค่าตัดจำหน่าย (สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตน) เมื่อบริษัทนำรายจ่ายฝ่ายทุนนั้นมาใช้ในการทำธุรกิจ รายละเอียดของสินทรัพย์แต่ละรายการจะเปิดเผยอยู่ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน ซึ่งนักลงทุนที่สนใจจะสามารถอ่านเพิ่มเติมได้
ในงบกำไรขาดทุน รายจ่ายฝ่ายทุนที่บันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนจะถูกทะยอยตัดเป็นค่าเสื่อมราคาหรือค่าตัดจำหน่าย และแสดงในงบกำไรขาดทุนภายใต้ค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเสื่อมราคาอาคารสำนักงานจะรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการบริหาร หรือค่าเสื่อมราคารถยนต์ของพนักงานขายจะรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการขาย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะถูกบันทึกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปหรือที่รู้จักกันในนาม "สินค้าคงเหลือ" ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่เมื่อบริษัททำการขายสินค้า สินค้าคงเหลือที่ขายไปจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ต้นทุนขาย" ดังนั้น รายจ่ายฝ่ายทุนบางส่วนจะติดไปกับสินค้าคงเหลือและกลายเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน แต่รายจ่ายฝ่ายทุนที่ติดอยู่กับสินค้าคงเหลือที่ยังไม่ได้ขาย ก็จะยังคงแสดงรวมอยู่ในสินค้าคงเหลือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสินทรัพย์หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน
ในงบกระแสเงินสด นักลงทุนสามารถดูรายจ่ายฝ่ายทุนต่างๆ ภายใต้หัวข้อ “กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน” โดยรายจ่ายฝ่ายทุนจะแสดงกระแสเงินสดที่เป็นลบ ภายใต้รายการที่เกี่ยวข้องกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ และรายการอื่นที่ให้ประโยชน์ต่อการดำเนินงานของบริษัทในระยะยาว (เงินลงทุนระยะยาวไม่ถือเป็นการจ่ายรายจ่ายฝ่ายทุน)
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 2
ขอบคุณครับ
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 3
สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะถูกบันทึกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปหรือที่รู้จักกันในนาม "สินค้าคงเหลือ" ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่เมื่อบริษัททำการขายสินค้า สินค้าคงเหลือที่ขายไปจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ต้นทุนขาย" ดังนั้น รายจ่ายฝ่ายทุนบางส่วนจะติดไปกับสินค้าคงเหลือและกลายเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน
อย่างงี้ มันก็ทำให้แต่งงบการเงินกันง่ายรึเปล่าครับ เพราะเอาค่าเสื่อมราคาไปรวมกับต้นทุนขาย
อย่างงี้ มันก็ทำให้แต่งงบการเงินกันง่ายรึเปล่าครับ เพราะเอาค่าเสื่อมราคาไปรวมกับต้นทุนขาย
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณสำหรับคำถามคะcyber-shot เขียน:สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะถูกบันทึกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปหรือที่รู้จักกันในนาม "สินค้าคงเหลือ" ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่เมื่อบริษัททำการขายสินค้า สินค้าคงเหลือที่ขายไปจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ต้นทุนขาย" ดังนั้น รายจ่ายฝ่ายทุนบางส่วนจะติดไปกับสินค้าคงเหลือและกลายเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน
อย่างงี้ มันก็ทำให้แต่งงบการเงินกันง่ายรึเปล่าครับ เพราะเอาค่าเสื่อมราคาไปรวมกับต้นทุนขาย
การนำค่าเสื่อมราคาไปรวมกับต้นทุนการขาย จะไม่เป็นปัญหาเลยถ้าสินค้าเหล่านั้นผลิตมาแล้วขายออกไปหมด ถ้าเป็นแบบนี้ก็จะเหมือนกับว่าแทนที่ค่าเสื่อมราคาจะแสดงแยกออกมาอยู่เป็นรายจ่ายเดี่ยวๆ อยู่บนงบกำไรขาดทุน ก็มารวมอยู่กับต้นทุนการขายแทน
แต่ถ้าหากบริษัทมี "สินค้าคงเหลือ" ก็อาจเป็นปัญหาได้ ถ้ามีไม่มากก็คงจะไม่เป็นไร แต่ถ้าหากมีเหลือจำนวนมากๆ ก็จะหมายความว่า ค่าเสื่อมราคา มารวมอยู่ด้วยมาก ค่าใช้จ่ายจะถูกชะลอการแสดงบนงบกำไรขาดทุนมีเยอะขึ้น
เพราะฉะนั้น การตกแต่งงบการเงินจะเกินขึ้นได้เมื่อบริษัทพยายามที่จะผลิตสินค้ามากๆ เพื่อให้ของเหลือ
-
- Verified User
- โพสต์: 270
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 6
ผมอ่านๆดู ยังไม่เห็นพูดถึงเรื่องภาษีเลยครับ ผมขอถามเป็นข้อๆดังนี้ครับ
1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม7%ที่บริษัทจ่ายทุกเดือน เอาไปบันทึกไว้ส่วนใหน และในงบใดบ้าง
2 ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย 10% เช่นค่าจ้างให้บริษัทอื่นมาทำโน่นทำนี่ เอาไปบันทึกไว้ส่วนใหน
และในงบใดบ้าง
ผมเข้าใจว่าจะบันทึกเฉพาะยอดขายสินค้าและยอดซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างก็บันทึกเฉพาะค่าจ้าง
ส่วนของภาษีไม่มีการบันทึก เรียกว่าหักลบกันแล้วนำส่งสรรพากรไปเลย อันนี้ผมเข้าใจถูก
ใหมครับ
1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม7%ที่บริษัทจ่ายทุกเดือน เอาไปบันทึกไว้ส่วนใหน และในงบใดบ้าง
2 ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย 10% เช่นค่าจ้างให้บริษัทอื่นมาทำโน่นทำนี่ เอาไปบันทึกไว้ส่วนใหน
และในงบใดบ้าง
ผมเข้าใจว่าจะบันทึกเฉพาะยอดขายสินค้าและยอดซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างก็บันทึกเฉพาะค่าจ้าง
ส่วนของภาษีไม่มีการบันทึก เรียกว่าหักลบกันแล้วนำส่งสรรพากรไปเลย อันนี้ผมเข้าใจถูก
ใหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 7
รบกวนถามต่อหน่อยคับcyber-shot เขียน:สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะถูกบันทึกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปหรือที่รู้จักกันในนาม "สินค้าคงเหลือ" ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่เมื่อบริษัททำการขายสินค้า สินค้าคงเหลือที่ขายไปจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ต้นทุนขาย" ดังนั้น รายจ่ายฝ่ายทุนบางส่วนจะติดไปกับสินค้าคงเหลือและกลายเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน
อย่างนี้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในรายการที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงาน ุครื่องจักร อุปกรณ์
จะไม่แสดงมูลค่าลดลงใช่ไหมคับ
ถ้าไม่ได้มีการขายออกไปในกิจกรรมลงทุน
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 567
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 8
ผมเข้าใจเสมอมาว่ามันต้องต้ดค่าเสื่อม PPE (Property, Plant and Equipment เห็นอาจารย์มีเขียนตัวย่อไว้ในกระทู้อื่นโดยไม่ได้บอกคำเต็ม) เสมอ ไม่ว่าจะขายของได้หรือไม่ได้ เพราะเครื่องจักรเมื่อถึงเวลาก็ต้องเปลียนไม่ใช่รอให้สินค้าขายหมดถึงเปลี่ยน จึงคิดว่าไม่น่าเอามารวมในสินค้าคงเหลือครับnut776 เขียน:รบกวนถามต่อหน่อยคับcyber-shot เขียน:สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะถูกบันทึกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปหรือที่รู้จักกันในนาม "สินค้าคงเหลือ" ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่เมื่อบริษัททำการขายสินค้า สินค้าคงเหลือที่ขายไปจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ต้นทุนขาย" ดังนั้น รายจ่ายฝ่ายทุนบางส่วนจะติดไปกับสินค้าคงเหลือและกลายเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน
อย่างนี้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในรายการที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงาน ุครื่องจักร อุปกรณ์
จะไม่แสดงมูลค่าลดลงใช่ไหมคับ
ถ้าไม่ได้มีการขายออกไปในกิจกรรมลงทุน
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 9
เรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มนั้นซับซ้อนหน่อยๆLikhit เขียน:ผมอ่านๆดู ยังไม่เห็นพูดถึงเรื่องภาษีเลยครับ ผมขอถามเป็นข้อๆดังนี้ครับ
1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม7%ที่บริษัทจ่ายทุกเดือน เอาไปบันทึกไว้ส่วนใหน และในงบใดบ้าง
2 ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย 10% เช่นค่าจ้างให้บริษัทอื่นมาทำโน่นทำนี่ เอาไปบันทึกไว้ส่วนใหน
และในงบใดบ้าง
ผมเข้าใจว่าจะบันทึกเฉพาะยอดขายสินค้าและยอดซื้อวัตถุดิบ ค่าจ้างก็บันทึกเฉพาะค่าจ้าง
ส่วนของภาษีไม่มีการบันทึก เรียกว่าหักลบกันแล้วนำส่งสรรพากรไปเลย อันนี้ผมเข้าใจถูก
ใหมครับ
ภาษีซื้อที่เกิดกับบริษัทมักไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน เพราะภาษีซื้อสามารถนำมาหักกับภาษีขาย (ที่เราเก็บแทนสรรพากร) ภาษีขายที่เกินภาษีซื้อต้องนำส่งสรรพากร ถ้าภาษีซื้อเกินภาษีขาย บริษัทอาจเก็บภาษีซื้อไว้รอปีต่อไป เกิดภาษีขายเมื่อไรก็นำมาหักจากภาษีขายได้ (ก่อนนำส่งภาษีขาย)
ภาษีซื้อที่สูงกว่าภาษีขายสามารถเรียกคืนจากกรมสรรพากรได้ (ถ้ากล้าหรือพร้อมจะเรียกแขก) หรือถ้าไม่เรียกคืนก็อาจถือจนหมดอายุไป ค่าใช้จ่ายนี้น่าจะต้องบันทึกเป็น "ค่าใช้จ่ายในการบริหาร" (เนื่องจากการปล่อยให้หมดอายุถือเป็นเรื่องของการบริหารงาน)
ภาษีซื้อบางรายการอาจเรียกคืนไม่ได้ ในกรณีนี้บริษัทน่าที่จะนำภาษีซื้อไปบันทึกรวมกับรายการที่ทำให้เกิดภาษีขึ้น เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้า ก็ต้องบันทึกรวมเป็นต้นทุนสินค้า หรือภาษีซื้อที่เกิดจาการบริการก็บันทึกรวมกับค่าบริการ (ตามหลักการจริงๆ ภาษีที่เรียกคืนไม่ได้เนื่องจากข้อบกพร่องของบริษัท เช่น ไม่ตรวจเอกสารให้ดีทำให้เรียกคืนไม่ได้ น่าที่จะต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารหมด จะยกเว้นก็แต่รายการที่ไม่เกิดจากข้อบกพร่อง จึงบันทึกรวมในรายการที่ทำให้ภาษีเกิดขึ้น)
ส่วนภาษีหัก ณ ที่จ่ายก็เป็นเรื่องการเก็บภาษีแทนกรมสรรพากรเช่นกัน ผู้มีรายได้หรือผู้ถูกหักภาษีสามารถนำใบหัก ณ ที่จ่ายไปลดภาษีเงินได้ประจำปี ผู้จ่ายเงินหรือผู้ที่หักภาษีไว้ ต้องนำเงินภาษีนั้นส่งให้กรมสรรพากร
ดังนั้น การบันทึกบัญชีขึ้นอยู่กับว่า บริษัทเป็นผู้หักหรือถูกหัก
ถ้าเป็นผู้หัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะบันทึกเป็นหนี้สินเพื่อรอจ่าย เมื่อจ่ายสรรพากรเสร็จก็ล้างหนี้สินออก
ถ้าเป็นผู้ถูกหัก ก็ถือเป็นสินทรัพย์รอนำมาหักลดภาษี (เหมือนสินทรัพย์ทั่วไปคือจ่ายเงินไปก่อน ได้ประโยชน์ทีหลัง) เมื่อหักลดแล้ว ก็ล้างสินทรัพย์ออก หรือถือเป็นค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ถ้าการหัก ณ ที่จ่ายบังเอิญเป็นภาษีของงวดนั้นพอดี
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 10
ถ้าเข้าใจคำถามไม่ผิด...???....nut776 เขียน:รบกวนถามต่อหน่อยคับcyber-shot เขียน:สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะถูกบันทึกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปหรือที่รู้จักกันในนาม "สินค้าคงเหลือ" ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่เมื่อบริษัททำการขายสินค้า สินค้าคงเหลือที่ขายไปจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ต้นทุนขาย" ดังนั้น รายจ่ายฝ่ายทุนบางส่วนจะติดไปกับสินค้าคงเหลือและกลายเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน
อย่างนี้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในรายการที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงาน ุครื่องจักร อุปกรณ์
จะไม่แสดงมูลค่าลดลงใช่ไหมคับ
ถ้าไม่ได้มีการขายออกไปในกิจกรรมลงทุน
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น โรงงาน จะต้องแสดงมูลค่าลดลงโดยการตัดค่าเสื่อมราคา
ที่ Koranit พูดหมายความอย่างนั้นว่า ค่าเสื่อมราคาโรงงานผลิตจะถูกบันทึกเป็นสินค้าคงเหลือ แทนที่จะตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงวดนั้น ส่วนสินค้าคงเหลือจะถือเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อไร ขึ้นอยู่กับว่าขายเมื่อไร ขายเมื่อไรก็กลายเป็นต้นทุนขายเมื่อนั้น ถ้าไม่ขายก็ยังคงอยู่เป็นสินทรัพย์ ดังนั้น ค่าเสื่อมราคาโรงงานส่วนที่บันทึกอยู่ในสินค้าคงเหลือที่ยังไม่ขายจึงยังไม่ถูกตัดเป็นค่าใช้จ่าย
แต่เรื่องกิจกรรมลงทุน นั่นเป็นงบกระแสเงินสดที่ไม่เกี่ยวกับการตัดค่าเสื่อมราคา เมื่อขายสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน กระแสเงินสดจากการลงทุนจะเป็นบวก
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 11
ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรการผลิตจะบันทึกเป็นต้นทุนสินค้าคงเหลือค่ะguhungry เขียน:ผมเข้าใจเสมอมาว่ามันต้องต้ดค่าเสื่อม PPE (Property, Plant and Equipment เห็นอาจารย์มีเขียนตัวย่อไว้ในกระทู้อื่นโดยไม่ได้บอกคำเต็ม) เสมอ ไม่ว่าจะขายของได้หรือไม่ได้ เพราะเครื่องจักรเมื่อถึงเวลาก็ต้องเปลียนไม่ใช่รอให้สินค้าขายหมดถึงเปลี่ยน จึงคิดว่าไม่น่าเอามารวมในสินค้าคงเหลือครับnut776 เขียน:รบกวนถามต่อหน่อยคับcyber-shot เขียน:สำหรับอุตสาหกรรมการผลิต ค่าเสื่อมราคาของโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะถูกบันทึกรวมเป็นต้นทุนของสินค้าสำเร็จรูปหรือที่รู้จักกันในนาม "สินค้าคงเหลือ" ในงบแสดงฐานะการเงิน แต่เมื่อบริษัททำการขายสินค้า สินค้าคงเหลือที่ขายไปจะถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า "ต้นทุนขาย" ดังนั้น รายจ่ายฝ่ายทุนบางส่วนจะติดไปกับสินค้าคงเหลือและกลายเป็นต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน
อย่างนี้สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในรายการที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงงาน ุครื่องจักร อุปกรณ์
จะไม่แสดงมูลค่าลดลงใช่ไหมคับ
ถ้าไม่ได้มีการขายออกไปในกิจกรรมลงทุน
ลองอ่านบทความเรื่อง "ต้นทุนขาย" ดูสิคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 13
ถามเพิ่มนะคับ สมติ
ถ้าไม่มีการขาย สินค้า เกิดขึ้น
รายการ PPE ยังต้องตัดค่าเสื่อมตามปกติ ในงบดุล หรือไม่
ถ้าตัดค่าเสื่อมเป็นเส้นตรง แล้วค่าเสื่อมไปฝังในต้นทุนขาย
แสดงว่า gpm จะต้องการแกว่งตัวตามยอดขาย
เช่นยอดขายมากขึ้นมากๆ ค่าเสื่อมที่จะต้องตัด เท่าเดิม
แต่ตัวหารจะมากขึ้นตามจำนวนสินค้าที่ขายได้มากขึ้น
ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยดูลดลง ถูกไหมคับ
อย่างนี้เวลาดู gpm นี่ต้องสิเคราะห์ใหม่หมดเลยว่าค่าเสื่อมฝังอยู่ส่วนไหน
ถ้าไม่มีการขาย สินค้า เกิดขึ้น
รายการ PPE ยังต้องตัดค่าเสื่อมตามปกติ ในงบดุล หรือไม่
ถ้าตัดค่าเสื่อมเป็นเส้นตรง แล้วค่าเสื่อมไปฝังในต้นทุนขาย
แสดงว่า gpm จะต้องการแกว่งตัวตามยอดขาย
เช่นยอดขายมากขึ้นมากๆ ค่าเสื่อมที่จะต้องตัด เท่าเดิม
แต่ตัวหารจะมากขึ้นตามจำนวนสินค้าที่ขายได้มากขึ้น
ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยดูลดลง ถูกไหมคับ
อย่างนี้เวลาดู gpm นี่ต้องสิเคราะห์ใหม่หมดเลยว่าค่าเสื่อมฝังอยู่ส่วนไหน
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 14
ขอบคุณสำหรับคำถามค่ะchatchai เขียน:ค่าใช้จ่ายโฆษณาสินค้าหรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีการขายยาวนานกว่า 1 ปี
เราสามารถพิจารณาค่าโฆษณานี้เป็นรายจ่ายฝ่ายทุนได้หรือไม่ครับ
ถ้าดิฉันเข้าใจคำถามคุณไม่ผิด ในกรณีนี้โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่คุณกล่าวถึงหมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขาย ในกรณีนี้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะถือว่าเป็นสิ้นค้าชิ้นหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงสินค้าในบัญชีต้นทุนขาย ค่าโฆษณาจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย ไม่สามารถนำมาคิดเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนได้ค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 15
การตัดค่าเสื่อม PPE ไม่ขึ้นกับว่าสินค้าจะขายได้หรือเปล่า ค่าเสื่อมก็ตัดไปปกติเป็นประจำทุกงวด เพียงแต่ตัดไปไว้ไหน ถ้าเป็น PPE ที่เกี่ยวกับการผลิตก็บันทึกที่สินค้าคงเหลือ ถ้าไม่เกี่ยวกับการผลิตก็บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารnut776 เขียน:ถามเพิ่มนะคับ สมติ
ถ้าไม่มีการขาย สินค้า เกิดขึ้น
รายการ PPE ยังต้องตัดค่าเสื่อมตามปกติ ในงบดุล หรือไม่
ถ้าตัดค่าเสื่อมเป็นเส้นตรง แล้วค่าเสื่อมไปฝังในต้นทุนขาย
แสดงว่า gpm จะต้องการแกว่งตัวตามยอดขาย
เช่นยอดขายมากขึ้นมากๆ ค่าเสื่อมที่จะต้องตัด เท่าเดิม
แต่ตัวหารจะมากขึ้นตามจำนวนสินค้าที่ขายได้มากขึ้น
ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยดูลดลง ถูกไหมคับ
อย่างนี้เวลาดู gpm นี่ต้องสิเคราะห์ใหม่หมดเลยว่าค่าเสื่อมฝังอยู่ส่วนไหน
คุณอาจจะงงว่าค่าเสื่อมไปอยู่ในสินค้าคงเหลือได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น บริษัทมีค่าเสื่อมราคาโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 10,000 บาท ผลิตสินค้า 5,000 ชิ้น ต้นทุนของสินค้าจะเท่ากับวัตถุดิบ + ค่าแรง + ค่าใช้จ่ายการผลิตที่รวมค่าเสื่อมราคาอยู่ ดังนั้น ต้นทุนสินค้าแต่ละชิ้นมีค่าเสื่อมราคาฝังอยู่ชิ้นละ 2 บาท สมมุติบริษัทขายสินค้าไป 3,000 ชิ้น ค่าเสื่อมราคาที่ฝังอยู่ในสินค้าที่ขายจะถูกตัดเป็นต้นทุนขาย 6,000 บาท ส่วนค่าเสื่อมอีก 4,000 บาท (2x2,000 ชิ้น) จะถูดดองอยู่ในสินค้าคงเหลือที่แสดงอยู่ในงบดุล
ค่าเสื่ิมราคาจะฝังอยู่ในสินค้าแต่ละชิ้นมากน้อยเท่าไรขึ้นกับจำนวนที่ผลิต (ซึ่งอ่านจากงบการเงินไม่เห็น จะเห็นก็ต่อเมื่อเราเป็นคนทำบัญชีต้นทุนเอง) สมมุติค่าเสื่อมราคาคงเดิม 10,000 บาท แต่ผลิต 10,000 ชิ้น แทน 5,000 ชิ้น ค่าเสื่อมที่ฝังอยู่ในสินค้าคงเหลือจะเท่ากับ 1 บาทต่อชิ้น ดังนั้น การผลิตมากขายมากจึงดีกับบริษัท เพราะต้นทุนขายจะต่ำ และ gpm จะสูง เวลาวิเคราะห์งบการเงิน เราไม่ลง detail หรอกค่ะว่าบริษัทเอาค่าเสื่อมไปบันทึกในสินค้าคงเหลือเท่าไร แต่เราจะดู gpm และดู inventory t/o ควบคู่กันไป
-
- Verified User
- โพสต์: 448
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 16
อย่างงี้นี้เอง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายในงบกระแสเงินสด มันก็เป็นผลรวมของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ ที่อยู่ในกำไรขั้นGross profit หรือ อยู่ในค่าใช้จ่ายในการขาย การบริการ และการบริหาร SG&A นั้นเอง
ชอบศึกษาหุ้นเชิงวิชาการมาก
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 17
ขอบพระคุณอาจารย์มากคับparporn เขียน:การตัดค่าเสื่อม PPE ไม่ขึ้นกับว่าสินค้าจะขายได้หรือเปล่า ค่าเสื่อมก็ตัดไปปกติเป็นประจำทุกงวด เพียงแต่ตัดไปไว้ไหน ถ้าเป็น PPE ที่เกี่ยวกับการผลิตก็บันทึกที่สินค้าคงเหลือ ถ้าไม่เกี่ยวกับการผลิตก็บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารnut776 เขียน:ถามเพิ่มนะคับ สมติ
ถ้าไม่มีการขาย สินค้า เกิดขึ้น
รายการ PPE ยังต้องตัดค่าเสื่อมตามปกติ ในงบดุล หรือไม่
ถ้าตัดค่าเสื่อมเป็นเส้นตรง แล้วค่าเสื่อมไปฝังในต้นทุนขาย
แสดงว่า gpm จะต้องการแกว่งตัวตามยอดขาย
เช่นยอดขายมากขึ้นมากๆ ค่าเสื่อมที่จะต้องตัด เท่าเดิม
แต่ตัวหารจะมากขึ้นตามจำนวนสินค้าที่ขายได้มากขึ้น
ทำให้ต้นทุนต่อหน่วยดูลดลง ถูกไหมคับ
อย่างนี้เวลาดู gpm นี่ต้องสิเคราะห์ใหม่หมดเลยว่าค่าเสื่อมฝังอยู่ส่วนไหน
คุณอาจจะงงว่าค่าเสื่อมไปอยู่ในสินค้าคงเหลือได้อย่างไร ตัวอย่างเช่น บริษัทมีค่าเสื่อมราคาโรงงานและเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต 10,000 บาท ผลิตสินค้า 5,000 ชิ้น ต้นทุนของสินค้าจะเท่ากับวัตถุดิบ + ค่าแรง + ค่าใช้จ่ายการผลิตที่รวมค่าเสื่อมราคาอยู่ ดังนั้น ต้นทุนสินค้าแต่ละชิ้นมีค่าเสื่อมราคาฝังอยู่ชิ้นละ 2 บาท สมมุติบริษัทขายสินค้าไป 3,000 ชิ้น ค่าเสื่อมราคาที่ฝังอยู่ในสินค้าที่ขายจะถูกตัดเป็นต้นทุนขาย 6,000 บาท ส่วนค่าเสื่อมอีก 4,000 บาท (2x2,000 ชิ้น) จะถูดดองอยู่ในสินค้าคงเหลือที่แสดงอยู่ในงบดุล
ค่าเสื่ิมราคาจะฝังอยู่ในสินค้าแต่ละชิ้นมากน้อยเท่าไรขึ้นกับจำนวนที่ผลิต (ซึ่งอ่านจากงบการเงินไม่เห็น จะเห็นก็ต่อเมื่อเราเป็นคนทำบัญชีต้นทุนเอง) สมมุติค่าเสื่อมราคาคงเดิม 10,000 บาท แต่ผลิต 10,000 ชิ้น แทน 5,000 ชิ้น ค่าเสื่อมที่ฝังอยู่ในสินค้าคงเหลือจะเท่ากับ 1 บาทต่อชิ้น ดังนั้น การผลิตมากขายมากจึงดีกับบริษัท เพราะต้นทุนขายจะต่ำ และ gpm จะสูง เวลาวิเคราะห์งบการเงิน เราไม่ลง detail หรอกค่ะว่าบริษัทเอาค่าเสื่อมไปบันทึกในสินค้าคงเหลือเท่าไร แต่เราจะดู gpm และดู inventory t/o ควบคู่กันไป
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 18
cyber-shot เขียน:อย่างงี้นี้เอง ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายในงบกระแสเงินสด มันก็เป็นผลรวมของค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่างๆ ที่อยู่ในกำไรขั้นGross profit หรือ อยู่ในค่าใช้จ่ายในการขาย การบริการ และการบริหาร SG&A นั้นเอง
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 19
ขอบคุณครับalisa.c เขียน:ขอบคุณสำหรับคำถามค่ะchatchai เขียน:ค่าใช้จ่ายโฆษณาสินค้าหรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีการขายยาวนานกว่า 1 ปี
เราสามารถพิจารณาค่าโฆษณานี้เป็นรายจ่ายฝ่ายทุนได้หรือไม่ครับ
ถ้าดิฉันเข้าใจคำถามคุณไม่ผิด ในกรณีนี้โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่คุณกล่าวถึงหมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขาย ในกรณีนี้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะถือว่าเป็นสิ้นค้าชิ้นหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงสินค้าในบัญชีต้นทุนขาย ค่าโฆษณาจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย ไม่สามารถนำมาคิดเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนได้ค่ะ
แล้วถ้าเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์บริษัท โดยไม่ได้เอยถึงตัวสินค้าละครับ เช่น ในโฆษณามีแต่ชื่อของบริษัท ไม่ได้พูดถึงชื่อยี่ห้อสินค้าเลย เราก็ยังคงต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีนั้นๆ ถูกต้องไหมครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 2
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 20
ถูกต้องแล้วค่ะchatchai เขียน:ขอบคุณครับalisa.c เขียน:ขอบคุณสำหรับคำถามค่ะchatchai เขียน:ค่าใช้จ่ายโฆษณาสินค้าหรือโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่มีการขายยาวนานกว่า 1 ปี
เราสามารถพิจารณาค่าโฆษณานี้เป็นรายจ่ายฝ่ายทุนได้หรือไม่ครับ
ถ้าดิฉันเข้าใจคำถามคุณไม่ผิด ในกรณีนี้โครงการอสังหาริมทรัพย์ที่คุณกล่าวถึงหมายถึงอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้เพื่อขาย ในกรณีนี้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะถือว่าเป็นสิ้นค้าชิ้นหนึ่ง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงสินค้าในบัญชีต้นทุนขาย ค่าโฆษณาจะถือเป็นค่าใช้จ่ายในการขาย ไม่สามารถนำมาคิดเป็นรายจ่ายฝ่ายทุนได้ค่ะ
แล้วถ้าเป็นการโฆษณาประชาสัมพันธ์บริษัท โดยไม่ได้เอยถึงตัวสินค้าละครับ เช่น ในโฆษณามีแต่ชื่อของบริษัท ไม่ได้พูดถึงชื่อยี่ห้อสินค้าเลย เราก็ยังคงต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในปีนั้นๆ ถูกต้องไหมครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 28
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รายจ่ายฝ่ายทุน - Capital Expenditure
โพสต์ที่ 21
ขอบคุณมากคะ