การเพิ่มทุนและการลดทุน


โพสต์ โพสต์
pfor
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

การเพิ่มทุนและการลดทุน
หลังจากที่บริษัทจัดตั้งเรียบร้อยแล้วและดำเนินงานได้ในระยะเวลาหนึ่ง บริษัทอาจจะพบกับปัญหาเกี่ยวกับเงินทุนของบริษัท เนื่องจากบริษัทอาจขยายกิจการเกินกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้หรือบริษัทอาจเกิดการขาดทุนเกินทุน ด้วยเหตุผลที่บริษัทจำเป็นต้องบริหารเงินทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายของบริษัท บริษัทจึงอาจจำเป็นต้องทำการเพิ่มทุนหรือลดทุน

:arrow: การเพิ่มทุน คือ การระดมเงินทุนเข้ามาเพิ่มในบริษัทโดยการออกหุ้นทุนหลังจากที่บริษัทได้ขายหุ้นทุนที่จดทะเบียนไว้เดิมจนหมดแล้ว ดังนั้นในการเพิ่มทุน บริษัทจำเป็นต้องจดทะเบียนเพิ่มทุน ซึ่งมูลค่าหุ้นมักจะเท่ากับราคาพาร์ที่เคยจดทะเบียนไว้แต่เดิม

หลักเกณฑ์ในการเพิ่มทุน
ในการเพิ่มทุน บริษัทมหาชนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด มาตรา 136-138 ซึ่งสรุปได้ดังนี้
1. การจดทะเบียนเพิ่มทุนจะกระทำได้เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ทั้งนี้บริษัทต้องนำมตินั้นไปขอจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมลงมติ
2. การเพิ่มทุนจะทำได้ต่อเมื่อบริษัทได้จำหน่ายหุ้นทั้งหมดและได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบถ้วนแล้ว หรือในกรณีที่หุ้นยังจำหน่ายไม่ครบ หุ้นที่เหลือต้องเป็นหุ้นจัดสรรไว้เพื่อรองรับหุ้นกู้แปลงสภาพหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นตามมาตรา 136
3. การเพิ่มทุนของบริษัทมหาชนไม่ต้องใช้มติพิเศษ
4. จำนวนหุ้นที่ออกใหม่จะเสนอขายทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้โดยจะเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมทั้งหมดหรือจะเสนอขายต่อประขาขนหรือบุคคลอื่นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามมาตรา 137
5. เมื่อบริษัทดำเนินการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงทุนชำระแล้วบริษัทจะต้องแจ้งแก่ผู้ถือหุ้นเป็นหนังสือและประกาศในหนังสือพิมพ์อย่างน้อยหนึ่งฉบับภายใน 14 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียนเพิ่มหรือลดทุนตามมาตรา 143

จากหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น บริษัทจะต้องออกหุ้นใหม่และจะต้องจำหน่ายไปยังผู้ถือหุ้นเดิมหรือบุคคลอื่น หลักการทางการบัญชีในการออกหุ้นใหม่มี 2 วิธีคือ
1. ออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย
การออกหุ้นใหม่โดยการนำออกจำหน่าย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดให้บริษัทจำกัดเสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนของหุ้นที่ถืออยู่ ถ้าผู้ถือหุ้นเดิมไม่รับซื้อบริษัทสามารถนำหุ้นที่เหลือไปเสนอขายให้กับบุคคลภายนอกหรือคณะกรรมการต่อไป
ในทางบัญชีเมื่อเกิดการเพิ่มทุน ส่วนของทุนจดทะเบียนจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และส่งผลให้เงินสดที่เป็นรายการสินทรัพย์ของบริษัทเพิ่มขึ้นเท่ากัน เมื่อบริษัทมีเงินสดเพิ่มขึ้น บริษัทก็สามารถนำเงินไปขยายกิจการหรือใช้ซื้อและสร้างสินทรัพย์รายการอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดรายได้เข้าบริษัทต่อไป
2. ออกหุ้นใหม่โดยการจ่ายเป็นหุ้นปันผล
การเพิ่มทุนโดยการออกหุ้นใหม่และนำไปจ่ายเป็นหุ้นปันผลนั้นทำให้บริษัทมีเงินทุนหมุนเวียนมาใช้ในการบริหารงานมากขึ้นวิธีหนึ่งเนื่องจากการจ่ายเงินปันผลเป็นหุ้น บริษัทไม่ต้องนำเงินสดออกจากกิจการเพื่อจ่ายเป็นเงินปันผล เพียงแต่เปลี่ยนส่วนของผู้ถือหุ้นที่เป็นกำไรสะสมมาเป็นส่วนของทุนเรือนหุ้น โดยมียอดรวมในส่วนของผู้ถือหุ้นคงเดิม


:arrow: การลดทุน คือ การลดมูลค่าส่วนทุนของเจ้าของเดิม การลดทุนส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อบริษัทเกิดการขาดทุนเป็นเวลานาน และไม่สามารถลบล้างผลขาดทุนออกได้ ทำให้บริษัทมียอดขาดทุนสะสมติดอยู่ในส่วนทุน และทำให้บริษัทไม่อาจประกาศจ่ายเงินปันผลได้ ด้วยเหตุผลนี้ บริษัทจึงมักต้องการลดทุนจดทะเบียนของบริษัทลงเพื่อล้างหรือลดผลขาดทุนสะสม และเริ่มต้นใหม่เมื่อผลขาดทุนสะสมเป็นศูนย์

หลักเกณฑ์การลดทุน
บริษัทมหาชนที่ต้องการลดทุนจดทะเบียนต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัดมาตรา 119 ซึ่งกำหนดว่า บริษัทอาจพิจารณาโอนทุนสำรองต่างๆ มาลดหรือล้างผลขาดทุนสะสม โดยผู้ถือหุ้นต้องมีมติอนุมัติให้ทำการโอนทุนสำรองอื่น ทุนสำรองตามกฎหมาย ส่วนเกินมูลค่าหุ้นทุน และทุนเรือนหุ้น เพื่อมาให้ตัดกับผลขาดทุนสะสมและส่วนต่ำมูลค่าหุ้น ตามลำดับ จากที่กล่าวข้าวต้น การลดทุนสามารถปฏิบัติได้ 2 วิธีดังนี้
1. ลดมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้น (Par Value)
บริษัทอาจพิจารณาลดราคาพาร์ของหุ้นลง เช่น จากเดิมราคาหุ้นละ 10 บาท ลดเหลือหุ้นละ 8 บาท ส่วนจำนวนหุ้นยังคงเท่าเดิม ในการลดมูลค่าหุ้นนั้น หุ้นทุกหุ้นต้องถูกลดเสมอเหมือนกันหมดทั้งหุ้นสามัญและหุ้นบุริมสิทธิ เพราะหุ้นทุกหุ้นในบริษัทต้องมีมูลค่าเท่ากันหมดตามมาตรา 1096 โดยถือตามราคาที่ตราไว้ (Par Value)
2. ลดจำนวนหุ้น
บริษัทอาจลดจำนวนหุ้นลงแทนการลดราคาพาร์ เช่น จากเดิมมี 1,000,000 หุ้น ลดเหลือ 500,000 หุ้น มูลค่าหุ้นยังคงเดิมแต่จำนวนหุ้นลดน้อยลงไป

นอกจากการลดทุนเพื่อล้างขาดทุนสะสมแล้ว บริษัทอาจลดทุนเนื่องจากเหตุการณ์อื่น เช่น บริษัทอาจจะมีเงินทุนในการดำเนินงานมากเกินไปและไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ทุนนั้น จึงทำการลดจำนวนทุนจดทะเบียนลงเพื่อคืนทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นหรือไถ่ถอนคืนหุ้นบุริมสิทธิซึ่งทำได้ในกรณีที่บริษัทออกหุ้นบุริมสิทธิโดยกำหนดเงื่อนไขการเรียกไถ่คืนไว้ล่วงหน้า หรือบริษัทได้ซื้อหุ้นคืนและมิได้ขายออกไปภายใน 3 ปีบริษัทจะต้องทำการลดทุนจดทะเบียนนั้นลง เป็นต้น

หากมีข้อสงสัย สามารถโพสเข้ามาได้เลยค่ะ :B :B
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

การจ่ายปันผลเป็นหุ้นเพิ่มทุน มีข้อดี ข้อเสีย ต่อผู้ถือหุ้นอย่างไรบ้างครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
pfor
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

รบกวนคุณchatchai รออ่านเรื่องการปันผล หุ้นปันผล หุ้นแตกพาร์ หุ้นซื้อคืนนะคะ จะมีเนื้อหาในส่วนนี้ค่ะ :D
guhungry
Verified User
โพสต์: 567
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เพิ่มเติมเรื่องการลดทุน นอกจากล้างขาดทุนสะสมแล้ว ยังลดทุนเพื่อตัดหุ้นซื้อคืนก็ได้
กรณี JAS http://www.set.or.th/dat/news/201106/11024976.pdf
อยากถามว่ากรณีลดทุนแบบนี้บริษัทจะทำอย่างไรกับเงินสดทุนนี้ครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ด้านบัญชีดี๋ยวให้น้องเขาตอบว่าลดทุน ซื้อหุ้นคืน จ่ายหุ้นปันผล จะแสดงรายการอย่างไรในงบแสดงฐานะการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงของส่วนผู้ถือหุ้น งบกระแสเงินสด หรือ อาจพบได้ในหมายเหตุบางส่วนได้

ในด้านการวิเคราะห์
การลดทุนโดยการตัดขาดทุนสะสมกับหุ้นทุน ส่วนผู้ถือหุ้นรวมไม่กระทบ เพราะขาดทุนสะสมก็นำมาหักลดส่วนผู้ถือหุ้นอยู่แล้ว ข้อเสียคือ หุ้นเราหายไปแน่นอน ข้อดีคือ ถ้าปีหน้ามีกำไรจะจ่ายปันผลได้ เพราะถ้ามีขาดทุนสะสมอยู่ต้องเอากำไรไปล้างให้หมดก่อน จึงจ่ายปันผลได้ หลายบริษัทที่ลดทุนเพราะเมื่อปรับโครงสร้างหนี้ นักลงทุนใหม่จะมาเขาไม่มาแบกขาดทุนสะสมหลายๆปีหรอก เขาเข้ามาแล้วถ้ามีกำไร เขาต้องได้ผลอบแทนคืน

การเพิ่มทุน บริษัทได้เม็ดเงินเข้าบริษัท แต่ก็จะเกิด dilution effect คือ กำไรต่อหุ้นจะปรับลดลงเพราะจำนวนหุ้นเพิ่มขึ้น (อ่านกำไรต่อหุ้นพื้นฐานและกำไรต่อหุ้นปรับลดประกอบด้วยก็จะดีครับ) ถ้าบริษัททำกำไรเพิ่มได้มากพอกับหุ้นที่เพิ่มก็จะไม่เกิด dilute มาก ดังนั้นถ้ารักษา ROE ได้ก็ไม่กระทบ ดังนั้นถ้าบริษัทประกาศเพิ่มทุน ไม่ว่า PO (public offering ขายให้คนทั่วไป แต่ไม่ใช่การขายครั้งแรก-IPO) PP (private placement-ขายนักลงทุนอื่นแบบเฉพาะเจาะจง) หรือ ขึ้น XR ขายกับผูถือหุ้นเดิม หลักวิเคราะห์ ได้เงินรวมไปเท่าไร กี่พันล้านบาท เอาไปใช้ทำอะไร ลงทุนขยายงานอะไร กำไรที่ได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าไรกับเงินที่เอาไป ใช้หลักคล้ายๆกับเรื่องตัดสินใจ capital expenditure ถ้า return on investment > ROE อันนี้ดี

การซื้อหุ้นคืนเป็นการสร้างผลตอบแทนให้กิจการแบบหนึ่งแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็เอามาซื้อหุ้นออกมาจากตลาดเข้าบริษัท วิธีนี้ไม่ใช่การลดทุน เพราะผู้ถือหุ้นไม่เสียหาย เพียงแต่บริษัทเอาหุ้นบางส่วนคืนจากนักลงทุนที่ไม่อยากลงทันในบริษัทต่อไป แทนที่จะขายทิ้ง (กดราคา) บริษัทรับซื้อกลับ ทำให้จำนวนหุ้นลดลง EPS จะสูงขึ้น (ถ้ากำไรไม่ลดลง) ถ้าระดับ P/E คงเดิม ราคาหุ้นจะเพิ่มขึ้น นักลงทุนก็เปลี่ยนจากหุ้นบางส่วนเป็นเงินได้ (วิธีนี้ช่วยบริหารภาษีให้ผู้ถือหุ้นด้วย) การซื้อหุ้นคืน ส่วนเจ้าของจะลดลงจากหุ้นซื้อคืน ROE จะเพิ่มขึ้น

การจ่ายหุ้นปันผล คล้ายๆกับ การซื้อหุ้นคืนคือแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ส่วนใหญ่บริษัทมีกำไรมากและอยากเก็บเงินสสดไว้ใช้ดำเนินงาน ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ให้ผู้ถือหุ้นไปเอาเงินสดจากตลาดแทน หรือใครจะถือต่อก็ได้ การจ่ายหุ้นปันผลไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ เพราะย้ายกำไรสะสมขึ้นไปเป็นเป็นหุ้นทุน แต่ผลกระทบคือ เม็ดหุ้นมากขึ้น อาจเกิด dilution effect ได้ แม้จะทำกำไรเท่าเดิม ROE เท่าเดิม แต่โดยรวมๆ wealth ของนักลงทุนคงที่ที่ระดับ P/E นั้น เพราะ EPS ลดลง Price ลดลง แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นชดเชยแทน

จะเห็นว่าแค่ทุน ยังมีวิธีการมากมายในการบริหาร ทุกการกระทำล้วนต้องมีหลักการและเหตุผลที่ดี หลายบริษัท เดี๋ยวซื้อหุ้นคืนกลับ นัยหนึ่งที่ควรพิจารณาคือ การซื้อคืน แสดงว่า เหลือเงิน ไม่มี project ใหม่ขยายออกไปแล้ว หรือโคงการใหม่ๆ มีผลตอบแทนน้อยกว่า existing project เพราะถ้ามีทำไมไม่ลงทุนให้เราเพื่อเพิ่มกำไร ทางทฤษฎ๊การเงิน แสดงว่ากิจการเข้าสู่วงจรชะลอตัวถึงถดถอย คล้ายๆ กับบรฺทที่จ่ายอัตราปันผลมากๆ 60-70% หรือ อาจเกือบ 100% แสดงว่ากาเอาเงินไป reinvest หรือไม่ม๊โครงการที่สร้างผลกำไรเพิ่มได้ การซื้อหุ้นคืนกลับย่อมไม่ช่เรื่องดีนัก เพราะดานหนึ่ง กิจการแต่ง ROE ด้วย

ส่วนการจ่ายหุ้นปันผล มี 2 นัย คือ กิจการไม่มีเงินสดมกพอ ก่อหนี้ก็ไม่ไหว ในมุมหนึ่งคือมีเงินแต่กิจการเห็นโอกาสลงทุนในโครงการใหม่ว่าให้ประโยชน์มากกว่า (ROCI) หากเป็นเช่นนั้นไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้ เพราะการจ่ายหุ้นปันผลทำให้ EPS เกิด dilute ถ้ากำไรไม่มากพอกับหุ้นที่เพิ่มจะทำให้ราคาหุ้นลดลง
nearly
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

การออก warrant ถือเป็นการเพิ่มทุนด้วยหรือเปล่าครับ
pfor
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

guhungry เขียน:เพิ่มเติมเรื่องการลดทุน นอกจากล้างขาดทุนสะสมแล้ว ยังลดทุนเพื่อตัดหุ้นซื้อคืนก็ได้
กรณี JAS http://www.set.or.th/dat/news/201106/11024976.pdf
อยากถามว่ากรณีลดทุนแบบนี้บริษัทจะทำอย่างไรกับเงินสดทุนนี้ครับ
เมื่อบริษัทไม่จำหน่ายหรือจำหน่ายหุ้นที่ซื้อคืน(Treasury stock)ไม่หมดภายในเวลาสามปีนับตั้งแต่เกิดการซื้อหุ้นคืน กฏกระทรวงกำหนดให้บริษัทลดทุนที่ชำระแล้วโดยวิธีตัดหุ้นจดทะเบียนที่ซื้อคืนและยังไม่ได้จำหน่ายจำนวนนั้น
การตัดหุ้นที่ซื้อคืนของบริษัทที่เกิดขึ้นจะไม่ส่งผลกระทบใดๆต่อรายการเงินสดค่ะ รายการเงินสดจะเกี่ยวข้องในตอนที่บริษัทจ่ายเงินเพื่อซื้อหุ้นคืนมาค่ะ
pfor
Verified User
โพสต์: 4
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

nearly เขียน:การออก warrant ถือเป็นการเพิ่มทุนด้วยหรือเปล่าครับ
การออก warrant จะถือเป็นการเพิ่มทุนหรือไม่ขึ้นนั้น อยู่กับคำจำกัดความของคำว่า "เพิ่มทุน" คืออะไร

ถ้าการเพิ่มทุนหมายความว่า การระดมเงินสดเข้าบริษัท การออก warrant จะถือเป็นการเพิ่มทุนหรือไม่ ขึ้นกับว่าบริษัทได้รับเงินจาก warrant หรือไม่
->ถ้าได้ (เช่นขายwarrant พร้อมหุ้นกู้ แล้วต้องแยกบันทึก warrant) การเพิ่มทุนจะเกิดขึ้น (สำคัญว่าเกิดขึ้นมากน้อยเท่าไร)
->ถ้าบริษัทออก warrant ให้พนักงานฟรีๆ การเพิ่มทุนก็ไม่เกิด เพราะเงินสดไม่เข้ามา มีแต่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นขั้นต่อไปต้องดูว่า warrant นั้นให้สิทธิอะไรกับผู้ทรง warrant ถ้าผู้ทรงสามารถนำ warrant มาแลกหุ้นโดยไม่ต้องจ่ายเงินสด การเพิ่มทุนยิ่งไม่เกิด (Dr. Warrants Cr.หุ้นสามัญ) เกิดแต่ Dilutive effect

แต่ถ้าผู้ทรงต้องนำเงินสดจำนวนหนึ่งพร้อม warrant มาแลกกับหุ้นทุนของบริษัท เมื่อบริษัทออกหุ้นเพื่อขายให้ warrant เมื่อนั้น เงินสดจะเข้ามาในบริษัท และการเพิ่มทุนในความหมายนี้จะเกิดขึ้น (Dr. เงินสด Dr. Warrant Cr. หุ้นสามัญ)

ถ้าการเพิ่มทุนหมายความว่า การทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น (ไม่ว่าจะมีเงินสดเข้ามาในบริษัทหรือไม่) การออก warrant จะทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่ม (เอาไว้เพิ่ม DE ratio) ก็เท่ากับเป็นการเพิ่มทุนตามความหมายนี้

ขั้นต่อไปตอนที่ผู้ทรงนำ warrant มาแลกหุ้น การเพิ่มทุนจะเกิดมากขึ้นตามความหมายนี้หรือไม่ขึ้นกับมูลค่าของ warrant เทียบกับมูลค่าของหุ้นทุนที่จะบันทึก
->ถ้าเท่ากัน การเพิ่มทุนในความหมายนี้จะไม่เกิดเพราะ บริษัทจะล้างบัญชี warrant ให้กลายเป็นหุ้นสามัญ ส่วนของผู้ถือหุ้นคงเดิม
->แต่ถ้าผู้ทรงต้องนำเงินสดพร้อมกับ warrant มาแลกซื้อหุ้น หุ้นสามัญที่จะบันทึกจะสูงกว่า warrant ที่โดนตัดบัญชี การเพิ่มทุนช่วงที่ 2 จะเกิดขึ้นพร้อมกับที่บริษัทได้เงินเพิ่ม (ตอนนี้ก็ต้องไปดูว่าได้เงินสดเพิ่มมาเท่าไร การเพิ่มทุนหรือ dilution ที่เกิดขึ้นคุ้มกับเงินสดที่บริษัทได้รับหรือไม่)

สังเกตว่าการจ่ายโบนัสให้พนักงานหรือผู้บริหารฟรีๆนั้น มีแต่ทำให้ผู้ถือหุ้นเสียประโยชน์ เพราะนอกจากเงินไม่เพิ่ม กำไรยังน้อยลง แถมผู้ถือหุ้นโดน diluted อีก

ขอขอบคุณอาจารย์ภาพรสำหรับข้อมูลด้วยค่ะ :D
nut776
Verified User
โพสต์: 3350
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

chatchai เขียน:การจ่ายปันผลเป็นหุ้นเพิ่มทุน มีข้อดี ข้อเสีย ต่อผู้ถือหุ้นอย่างไรบ้างครับ
ุไม่ได้ตอบอะไรพี่ฉัตรนะคับ แค่ขอแสดงความเห็น
ข้อเสีย คือ ผถห จริงๆไม่ได้อะไร เพราะ เหมือนเอาเค้กก้อนเดิม ที่เรามีส่วนแบ่งอยู่แล้ว มาซอยในอัตราส่วนใหม่ แล้วก็บอกว่าปันผลให้แล้ว โดยที่ความเป็นจริง เค้กที่เราเป็นเจ้าของทั้งหมด ก็หนักเท่าเดิมทั้งก่อนปันผลและหลังปันผลเป็นหุ้น

ข้อดี จากที่สังเกตุ ถ้าบ. ที่พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเติบโตดี หรืออยู่ใน growth stage
ถ้าไม่มีการขายหุ้นออกไป มักจะสร้าง wealth ให้เจ้าของค่อนข้างสูงมาก
(เฉพาะส่วนที่ได้ปันผลนะคับ เวลาหุ้นขึ้น จะเหมือนมี gearing)
show me money.
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

การจ่ายปันผลเป็นหุ้นเพิ่มทุน มีข้อดี ข้อเสีย ต่อผู้ถือหุ้นอย่างไรบ้างครับ

การจ่ายหุ้นปันผล คือแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผล ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ส่วนใหญ่บริษัทมีกำไรมากและอยากเก็บเงินสดไว้ใช้ดำเนินงาน ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ให้ผู้ถือหุ้นไปเอาเงินสดจากตลาดแทน หรือใครจะถือต่อก็ได้ การจ่ายหุ้นปันผลไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ เพราะย้ายกำไรสะสมขึ้นไปเป็นเป็นหุ้นทุน แต่ผลกระทบคือ เม็ดหุ้นมากขึ้น อาจเกิด dilution effect ได้ แม้จะทำกำไรเท่าเดิม ROE เท่าเดิม แต่โดยรวมๆ wealth ของนักลงทุนคงที่ที่ระดับ P/E นั้น เพราะ EPS ลดลง Price ลดลง แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นชดเชยแทน

การจ่ายหุ้นปันผล มี 2 นัย คือ กิจการไม่มีเงินสดมากพอ จะกู้เงินมาจ่ายหรือก่อหนี้ก็ไม่ไหว ในมุมหนึ่งคือมีเงินแต่กิจการเห็นโอกาสลงทุนในโครงการใหม่ว่าให้ประโยชน์มากกว่า (ROCI) หากเป็นเช่นนั้นไม่จ่ายปันผลเลยก็ได้ เพราะการจ่ายหุ้นปันผลทำให้ EPS เกิด dilute ถ้ากำไรไม่มากพอกับหุ้นที่เพิ่มจะทำให้ราคาหุ้นลดลง
nearly
Verified User
โพสต์: 63
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ :D
tatar_2522
Verified User
โพสต์: 75
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

เรียนสอบถามครับ ถ้ามีทุนจดทะเบียน 100 บาท แต่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 50 บาท ต่อมาบริษัทประกาศลดทุนทะเบียนเหลือ 50 บาทเท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้จำหน่ายออก ไม่ทราบว่ามีผลต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร ทำให้จำนวนหุ้นลดลงหรือไม่ครับ แล้วมีผลในงบต่างๆอย่างไรครับ งงมานาน ขอบคุณมากครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

tatar_2522 เขียน:เรียนสอบถามครับ ถ้ามีทุนจดทะเบียน 100 บาท แต่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 50 บาท ต่อมาบริษัทประกาศลดทุนทะเบียนเหลือ 50 บาทเท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้จำหน่ายออก ไม่ทราบว่ามีผลต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร ทำให้จำนวนหุ้นลดลงหรือไม่ครับ แล้วมีผลในงบต่างๆอย่างไรครับ งงมานาน ขอบคุณมากครับ
การลดทุนทำได้ 2 แบบค่ะ ไม่ลดจำนวนหุ้น ก็ลดจำนวนเงิน คุณต้องหาข้อมูลมาให้ชัดเจนว่า บริษัททำการลดราคาพาร์ หรือลดจำนวนหุ้น และในกระบวนการลดทุนนั้น บริษัทได้ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสมด้วยหรือไม่

ข้อมูลที่คุณให้ไม่ชัดเจนและฟังขัดแย้งกัน ตกลงบริษัทลด "ทุนจดทะเบียน" หรือ "ทุนเรือนหุ้น (ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว) ถ้าบริษัทลดทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว บริษัทต้องซื้อคืนหุ้นที่ออกไปแล้ว เพื่อนำมาลดทุน ส่วนผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ได้ขายหุ้นคืนต้องจ่ายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวน ทุนเรือนหุ้นจึงจะมีจำนวนกับ 50 บาทตามที่ต้องการ แต่ถ้าบริษัทลดราคาพาร์ บริษัทก็คงไม่ได้ลดจำนวนหุ้น ทุนเรือนหุ้นในงบการเงินจะเท่าเดิมคือ 50 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าบริษัทลดราคาพาร์โดยไม่ทำอย่างอื่น เช่น ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสม งบการเงินจะไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นราคาพาร์ที่ระบุไว้จะลดเหลือเพียงครึ่งเดียวเทียบกับที่เคยแสดงไว้เดิม

อย่าลืมนะคะ.... คำตอบขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ให้มา ถ้าข้อมูลเป็นอย่างอื่น คำตอบอาจเปลี่ยนไปได้ค่ะ
tatar_2522
Verified User
โพสต์: 75
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

เป็นหุ้น gsteel ครับ มีเนื้อหา ที่ประชมุมีมติอนุมัตการลดทุนจดทะเบียนจำนวน 12770032300 หุ้น มูลค่าที่ตรา ไว้ 1 บาท จากเดิมทุนจดทะเบียน 29798589773 เป็น 17028557473 โดยการตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกจำหน่ายของบริษัท แล้วบริษัทก็ประกาศเพิ่มทุนต่อครับ แต่งง ตรงที่ลดทุนเนี่ยครับไม่ทราบว่า ลดพาร์หรือลดหุ้น หรือว่าเป็นเพียงลดทุนจดทะเบียนให้เท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้วซึ่งไม่มีผลต่องบครับ
sun_cisa2
Verified User
โพสต์: 121
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

nut776 เขียน:
chatchai เขียน:การจ่ายปันผลเป็นหุ้นเพิ่มทุน มีข้อดี ข้อเสีย ต่อผู้ถือหุ้นอย่างไรบ้างครับ
ุไม่ได้ตอบอะไรพี่ฉัตรนะคับ แค่ขอแสดงความเห็น
ข้อเสีย คือ ผถห จริงๆไม่ได้อะไร เพราะ เหมือนเอาเค้กก้อนเดิม ที่เรามีส่วนแบ่งอยู่แล้ว มาซอยในอัตราส่วนใหม่ แล้วก็บอกว่าปันผลให้แล้ว โดยที่ความเป็นจริง เค้กที่เราเป็นเจ้าของทั้งหมด ก็หนักเท่าเดิมทั้งก่อนปันผลและหลังปันผลเป็นหุ้น

ข้อดี จากที่สังเกตุ ถ้าบ. ที่พิสูจน์ตัวเองแล้วว่าเติบโตดี หรืออยู่ใน growth stage
ถ้าไม่มีการขายหุ้นออกไป มักจะสร้าง wealth ให้เจ้าของค่อนข้างสูงมาก
(เฉพาะส่วนที่ได้ปันผลนะคับ เวลาหุ้นขึ้น จะเหมือนมี gearing)
การจ่ายหุ้นปันผล คือแทนที่จะเอาเงินจ่ายปันผลจากกำไรสะสม ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ส่วนใหญ่บริษัทที่มีกำไรและอยากเก็บเงินสดไว้ใช้ดำเนินงาน ก็จ่ายเป็นหุ้นแทน ให้ผู้ถือหุ้นไปเอาเงินสดจากตลาดแทน หรือใครจะถือต่อก็ได้ การจ่ายหุ้นปันผลไม่กระทบกับส่วนเจ้าของ เพราะย้ายกำไรสะสมขึ้นไปเป็นเป็นหุ้นทุน แต่ผลกระทบคือ เม็ดหุ้นมากขึ้น อาจเกิด dilution effect ได้ แม้จะทำกำไรเท่าเดิม ROE เท่าเดิม แต่โดยรวมๆ wealth ของนักลงทุนคงที่ที่ระดับ P/E นั้น เพราะ EPS ลดลง Price ลดลง แต่จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นชดเชยแทน
ความเห็นเพิ่มเติม ในกรณีที่บริษัทเติบโตได้ดีการจ่ายหรือไม่จ่ายหุ้นปันผลค่าเท่าเดิมไม่ผลเปลี่ยนแปลงใดๆทางทฤษฎีทางการเงิน ยกเว้นทาง จิตวิทยาตลาดที่ส่งผลต่อการเคลื่อนไหวราคาหุ้น
g = ROE x (1-payout ratio) เมื่อ payout ratio คือ อัตราการจ่ายปันผล (เช่น 40% 60% ของกำไรสุทธิ)
อัตราดังกล่าวต้องหมายถึงการจ่ายเงินออกจากบริษัทคืนกลับผู้ถือหุ้นจริงๆ (สินทรัพย์ลดลง)
การจ่ายหุ้นปันผล payout = 0% ดังนั้น การเติบโตจึงเท่ากับ ROE
การวิเคราะห์การจ่ายปันผล การเติบโต การเพิ่มทุน การก่อหนี้ระยะยาว shreholder value creation ล้วนสัมพันธ์กัน จ่ายมากไม่ใช่ว่าดีเสมอ จ่ายน้อยไม่ใช่ไม่ดีเสมอไป จ่ายหรือไม่จ่ายยังตอบไม่ได้ทันทีว่าดีหรือไม่ดี ต้องดูไปถึง industrial growth and induetrisl cycle ด้วย ครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

tatar_2522 เขียน:เป็นหุ้น gsteel ครับ มีเนื้อหา ที่ประชมุมีมติอนุมัตการลดทุนจดทะเบียนจำนวน 12770032300 หุ้น มูลค่าที่ตรา ไว้ 1 บาท จากเดิมทุนจดทะเบียน 29798589773 เป็น 17028557473 โดยการตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกจำหน่ายของบริษัท แล้วบริษัทก็ประกาศเพิ่มทุนต่อครับ แต่งง ตรงที่ลดทุนเนี่ยครับไม่ทราบว่า ลดพาร์หรือลดหุ้น หรือว่าเป็นเพียงลดทุนจดทะเบียนให้เท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้วซึ่งไม่มีผลต่องบครับ
สำหรับกรณีของ gsteel เป็นอย่างไรไม่ทราบ เดี๋ยวผู้รู้อื่น เช่น อาจารย์สรรพงศ์หรืออาจารย์วิเชษฐ์อาจเข้ามาช่วยตอบ แต่ตอนนี้เอาพื้นๆ ก่อน

ทุนจดทะเบียนคือจ ทุนที่บริษัทดทะเบียนไว้แต่เริ่มแรก ทุนจดทะเบียนบางส่วนอาจนำมาออกหุ้นแล้ว บางส่วนอาจยังไม่ได้นำมาออกหุ้น ถ้าบริษัททุนจดทะเบียนมาก บริษัทอาจลดทุนจดทะเบียนได้ ตามปกติ ทุนจดทะเบียนไม่มีผลกับตัวเลขในงบการเงินอยู่แล้ว เพราะยังไม่ถือเป็นรายการบัญชีที่ต้องบันทึก

ทีนี้มาถึงการเพิ่มทุน บริษัทอาจลดทุนจดทะเบียนลงในส่วนที่คิดว่าจะไม่ออกหุ้น แต่ทุนจดทะเบียนบางส่วนยังเหลืออยู่ (คือไม่ได้ลดทุนทั้งหมด) บริษัทอาจตัดสิจใจเพิ่มทุนโดยการนำทุนจดทะเบียนที่เหลืออยู่ออกขายเพื่อให้ได้เงินสดเข้าบริษัท นั่นคือการเพิ่มทุน

ดังนั้น ในกรณีนี้เป็นไปได้ที่บริษัทลดทุนจดทะเบียนลง แต่เพิ่มทุนที่ออกจำหน่าย

สรุปอีกที การลดทุนจดทะเบียนไม่มีผลกระทบกับตัวเลขในงบการเงิน แต่การเพิ่มทุนที่ออกจำหน่ายจะทำให้เงินสดเพิ่มขึ้นและส่วนทุนเพิ่มขึ้น

ตามปกติ การลดทุนอาจทำได้หลายแบบ การลดทุนในแบบที่ลดจำนวนหุ้นหรือลดราคาพาร์นั้น มักเป็นการลดทุนเมื่อบริษัทมีขาดทุนสะสมมาก จนทำให้บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผลไม่ได้แม้จะมีกำไรในระหว่างงวด (เพราะขาดทุนสะสมเป็นชนักติดหลังอยู้) บริษัทจึงขอให้ผู้ถือหุ้นเดิมยอมรับขาดทุนสะสมนั้นไปโดยนำส่วนเกินมูลค่าหุ้นและทุนเรือนหุ้นมาโป๊ะ (ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและทุนเรือนหุ้น ในขณะเดียวกับที่ล้างขาดทุนสะสมออก) ในกรณีนี้ ผู้ถือหุ้นอาจลงมติลดจำนวนหุ้นลงหรือลดราคาพาร์ แล้วแต่ตกลง แต่ผลที่ได้เท่ากันคือ ผู้ถือหุ้นเดิมรับขาดทุนไป เมื่อล้างขาดทุนสะสมเสร็จ จากนั้น บริษัทจะสามารถจ่ายเงินปันผลเมื่อมีกำไรสะสม
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

tatar_2522 wrote:
เป็นหุ้น gsteel ครับ มีเนื้อหา ที่ประชมุมีมติอนุมัตการลดทุนจดทะเบียนจำนวน 12770032300 หุ้น มูลค่าที่ตรา ไว้ 1 บาท จากเดิมทุนจดทะเบียน 29798589773 เป็น 17028557473 โดยการตัดหุ้นที่ยังไม่ได้ออกจำหน่ายของบริษัท แล้วบริษัทก็ประกาศเพิ่มทุนต่อครับ แต่งง ตรงที่ลดทุนเนี่ยครับไม่ทราบว่า ลดพาร์หรือลดหุ้น หรือว่าเป็นเพียงลดทุนจดทะเบียนให้เท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้วซึ่งไม่มีผลต่องบครับ
กรณีของ บมจ.จี สตีล ขอมติลดทุนจดทะเบียนครับบมจ.จีสตีล (GSTEEL) คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้ลดทุนจดทะเบียนบริษัท จำนวน 12,770,032,300 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท จากเดิมทุนจดทะเบียน 29,798,589,773 บาท เป็น 17,028,557,473 บาทโดยการตัดหุ้นที่ยังมิได้ออกจำหน่ายของบริษัทและให้เพิ่มทุนจดทะเบียนจากจำนวน 17,028,557,473 บาท เป็นไม่เกิน 48,004,743,297 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท จำนวนไม่เกิน 30,976,185,824 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท จัดสรรให้แก่เจ้าหนี้ของบริษัทตามโครงการแปลงหนี้เป็นทุน จำนวนไม่เกิน 9,000 ล้านหุ้น ในราคาจองซื้อ 0.50-0.60 บาท /หุ้น, จัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัท จีเอส โน๊ตส์ โฮลดิ้งส์ จำกัด และ/หรือบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นอยู่ร้อยละ 99 จำนวนไม่เกิน 4,800 ล้านหุ้น ราคาจองซื้อหุ้นละ 0.50-0.60 บาท
ดังนั้น การลดทุนนี้เป็นการลดทุนจดทะเบียนเท่านั้นครับ ไม่กระทบต่อทุนที่ชำระแล้ว หลังจากนั้นมีการเพิ่มทุนจดทะเบียน เพื่อเพิ่มจำนวนหุ้นสามัญเพื่อรองรับการแปลงหนี้เป็นทุน ซึ่งจะกระทบกับทุนที่ชำระแล้ว เมื่อการแปลงหนี้เป็นทุนเสร็จสมบูรณ์ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4740
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

parporn เขียน:
tatar_2522 เขียน:เรียนสอบถามครับ ถ้ามีทุนจดทะเบียน 100 บาท แต่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 50 บาท ต่อมาบริษัทประกาศลดทุนทะเบียนเหลือ 50 บาทเท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้จำหน่ายออก ไม่ทราบว่ามีผลต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร ทำให้จำนวนหุ้นลดลงหรือไม่ครับ แล้วมีผลในงบต่างๆอย่างไรครับ งงมานาน ขอบคุณมากครับ
การลดทุนทำได้ 2 แบบค่ะ ไม่ลดจำนวนหุ้น ก็ลดจำนวนเงิน คุณต้องหาข้อมูลมาให้ชัดเจนว่า บริษัททำการลดราคาพาร์ หรือลดจำนวนหุ้น และในกระบวนการลดทุนนั้น บริษัทได้ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสมด้วยหรือไม่

ข้อมูลที่คุณให้ไม่ชัดเจนและฟังขัดแย้งกัน ตกลงบริษัทลด "ทุนจดทะเบียน" หรือ "ทุนเรือนหุ้น (ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว) ถ้าบริษัทลดทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว บริษัทต้องซื้อคืนหุ้นที่ออกไปแล้ว เพื่อนำมาลดทุน ส่วนผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ได้ขายหุ้นคืนต้องจ่ายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวน ทุนเรือนหุ้นจึงจะมีจำนวนกับ 50 บาทตามที่ต้องการ แต่ถ้าบริษัทลดราคาพาร์ บริษัทก็คงไม่ได้ลดจำนวนหุ้น ทุนเรือนหุ้นในงบการเงินจะเท่าเดิมคือ 50 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าบริษัทลดราคาพาร์โดยไม่ทำอย่างอื่น เช่น ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสม งบการเงินจะไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นราคาพาร์ที่ระบุไว้จะลดเหลือเพียงครึ่งเดียวเทียบกับที่เคยแสดงไว้เดิม

อย่าลืมนะคะ.... คำตอบขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ให้มา ถ้าข้อมูลเป็นอย่างอื่น คำตอบอาจเปลี่ยนไปได้ค่ะ
อาจารย์ครับในกรณีที่บริษัทจะลดทุนโดยวิธีการลดราคาพาร์
นอกจากบริษัทต้องได้รับอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 แล้ว
ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยหรือเปล่าครับ
และต้องมีเงื่อนไขอื่นใดไหมครับ
ที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้การลดพาร์ได้สำเร็จครับ

ขอบพระคุณครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

dome@perth เขียน:
parporn เขียน:
tatar_2522 เขียน:เรียนสอบถามครับ ถ้ามีทุนจดทะเบียน 100 บาท แต่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 50 บาท ต่อมาบริษัทประกาศลดทุนทะเบียนเหลือ 50 บาทเท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้จำหน่ายออก ไม่ทราบว่ามีผลต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร ทำให้จำนวนหุ้นลดลงหรือไม่ครับ แล้วมีผลในงบต่างๆอย่างไรครับ งงมานาน ขอบคุณมากครับ
การลดทุนทำได้ 2 แบบค่ะ ไม่ลดจำนวนหุ้น ก็ลดจำนวนเงิน คุณต้องหาข้อมูลมาให้ชัดเจนว่า บริษัททำการลดราคาพาร์ หรือลดจำนวนหุ้น และในกระบวนการลดทุนนั้น บริษัทได้ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสมด้วยหรือไม่

ข้อมูลที่คุณให้ไม่ชัดเจนและฟังขัดแย้งกัน ตกลงบริษัทลด "ทุนจดทะเบียน" หรือ "ทุนเรือนหุ้น (ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว) ถ้าบริษัทลดทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว บริษัทต้องซื้อคืนหุ้นที่ออกไปแล้ว เพื่อนำมาลดทุน ส่วนผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ได้ขายหุ้นคืนต้องจ่ายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวน ทุนเรือนหุ้นจึงจะมีจำนวนกับ 50 บาทตามที่ต้องการ แต่ถ้าบริษัทลดราคาพาร์ บริษัทก็คงไม่ได้ลดจำนวนหุ้น ทุนเรือนหุ้นในงบการเงินจะเท่าเดิมคือ 50 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าบริษัทลดราคาพาร์โดยไม่ทำอย่างอื่น เช่น ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสม งบการเงินจะไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นราคาพาร์ที่ระบุไว้จะลดเหลือเพียงครึ่งเดียวเทียบกับที่เคยแสดงไว้เดิม

อย่าลืมนะคะ.... คำตอบขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ให้มา ถ้าข้อมูลเป็นอย่างอื่น คำตอบอาจเปลี่ยนไปได้ค่ะ
อาจารย์ครับในกรณีที่บริษัทจะลดทุนโดยวิธีการลดราคาพาร์
นอกจากบริษัทต้องได้รับอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 แล้ว
ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยหรือเปล่าครับ
และต้องมีเงื่อนไขอื่นใดไหมครับ
ที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้การลดพาร์ได้สำเร็จครับ

ขอบพระคุณครับ
เรื่องกฎระเบียบต้องอาจารย์วิเชษฐ์ winnermax ค่ะ เดี๋ยวคงเข้่มาตอบให้
winnermax
Verified User
โพสต์: 38
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

dome@perth wrote:
parporn wrote:
tatar_2522 wrote:
เรียนสอบถามครับ ถ้ามีทุนจดทะเบียน 100 บาท แต่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 50 บาท ต่อมาบริษัทประกาศลดทุนทะเบียนเหลือ 50 บาทเท่าทุนจดทะเบียนชำระแล้ว โดยตัดหุ้นที่ยังไม่ได้จำหน่ายออก ไม่ทราบว่ามีผลต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร ทำให้จำนวนหุ้นลดลงหรือไม่ครับ แล้วมีผลในงบต่างๆอย่างไรครับ งงมานาน ขอบคุณมากครับ


การลดทุนทำได้ 2 แบบค่ะ ไม่ลดจำนวนหุ้น ก็ลดจำนวนเงิน คุณต้องหาข้อมูลมาให้ชัดเจนว่า บริษัททำการลดราคาพาร์ หรือลดจำนวนหุ้น และในกระบวนการลดทุนนั้น บริษัทได้ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสมด้วยหรือไม่

ข้อมูลที่คุณให้ไม่ชัดเจนและฟังขัดแย้งกัน ตกลงบริษัทลด "ทุนจดทะเบียน" หรือ "ทุนเรือนหุ้น (ทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว) ถ้าบริษัทลดทุนที่ออกและเรียกชำระแล้ว บริษัทต้องซื้อคืนหุ้นที่ออกไปแล้ว เพื่อนำมาลดทุน ส่วนผู้ถือหุ้นเดิมที่ไม่ได้ขายหุ้นคืนต้องจ่ายชำระค่าหุ้นให้เต็มจำนวน ทุนเรือนหุ้นจึงจะมีจำนวนกับ 50 บาทตามที่ต้องการ แต่ถ้าบริษัทลดราคาพาร์ บริษัทก็คงไม่ได้ลดจำนวนหุ้น ทุนเรือนหุ้นในงบการเงินจะเท่าเดิมคือ 50 บาท ไม่เปลี่ยนแปลง

ถ้าบริษัทลดราคาพาร์โดยไม่ทำอย่างอื่น เช่น ลดส่วนเกินมูลค่าหุ้นและขาดทุนสะสม งบการเงินจะไม่เปลี่ยนแปลง ยกเว้นราคาพาร์ที่ระบุไว้จะลดเหลือเพียงครึ่งเดียวเทียบกับที่เคยแสดงไว้เดิม

อย่าลืมนะคะ.... คำตอบขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ให้มา ถ้าข้อมูลเป็นอย่างอื่น คำตอบอาจเปลี่ยนไปได้ค่ะ


อาจารย์ครับในกรณีที่บริษัทจะลดทุนโดยวิธีการลดราคาพาร์
นอกจากบริษัทต้องได้รับอนุมัติจาก ผู้ถือหุ้น 3 ใน 4 แล้ว
ต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยหรือเปล่าครับ
และต้องมีเงื่อนไขอื่นใดไหมครับ
ที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้การลดพาร์ได้สำเร็จครับ

ขอบพระคุณครับ


เรื่องกฎระเบียบต้องอาจารย์วิเชษฐ์ winnermax ค่ะ เดี๋ยวคงเข้่มาตอบให้
การบอกกล่าวเจ้าหนี้
เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้ลดทุน และแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5 (ทุน) แล้ว บริษัทต้องประกาศโฆษณาการลดทุนในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้ง และต้องมี หนังสือบอกกล่าวไปยังเจ้าหนี้ของบริษัทเพื่อให้เจ้าหนี้ทราบการลดทุนและมีสิทธิคัดค้านภายใน 30 วัน นับแต่วันที่บอกกล่าว
การยื่นขอจดทะเบียน
• กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัทต้องยื่นคำขอจดทะเบียนมติพิเศษให้ลดทุนภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีมติพิเศษให้ลดทุน
• เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวัน นับแต่วันประกาศหนังสือพิมพ์ หรือวันบอกกล่าวเจ้าหนี้ซึ่งเป็นวันที่ดำเนินการหลังสุด และไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านการลดทุนหรือกรณีเจ้าหนี้คัดค้านให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือวางประกันหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จนพอใจไม่คัดค้านแล้ว ให้กรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ยื่นคำขอจดทะเบียนลดทุน และแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5 (ทุน)
ภาพประจำตัวสมาชิก
Financeseed
Verified User
โพสต์: 1304
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณครับ
มองวิกฤต หาโอกาส
http://link-seed.blogspot.com/
ภาพประจำตัวสมาชิก
dome@perth
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4740
ผู้ติดตาม: 0

Re: การเพิ่มทุนและการลดทุน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอบพระคุณครับ
"ไม่มีสุตรสำเร็จ ไม่มีทางลัด ไม่ใช่แค่โชค
หนทางจะได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน
มันมาจาก ความขยัน การไขว่คว้า หาความรู้
เชื่อและตั้งมั้นในหลักการลงทุนที่ถูกต้อง
"
โพสต์โพสต์