ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น หรือ Warrants คือ สิทธิที่บริษัทมอบให้แก่ผู้รับ(ผู้ถือหุ้นหรือพนักงาน) เพื่อนำมาซื้อหุ้นสามัญของบริษัทตามราคาที่กำหนด (Exercise price) และเวลาที่กำหนดไว้ (Expiry date)
ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นมีหลายประเภทตัวอย่างเช่น
1. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทขายควบกับหุ้นกู้ (หรือที่รู้จักกันในนาม “หุ้นกู้ควบใบสำคัญแสดงสิทธิ”) ใบสำคัญแสดงสิทธิประเภทนี้มักเป็นที่นิยมของนักลงทุน เพรามีราคาซื้อขายในตลาด (เช่น SIRI-W1) ในกรณีที่ใบสำคัญแสดงสิทธิมีราคาในตัวเอง บริษัทต้องบันทึกใบสำคัญแสดงสิทธิพร้อมกับหุ้นกู้ โดยแสดงอยู่ภายใต้ส่วนทุน (ในขณะที่หุ้นกู้แสดงอยู่ภายใต้หนี้สิน)
2. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทออกให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม (Stock Rights) เพื่อให้สิทธิผู้ถือหุ้นเดิมในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่กำลังจะออกใหม่ ซึ่งหมายความว่า บริษัทนั้นๆ ให้ความสำคัญแก่ผู้ถือหุ้นเดิมก่อนในการเลือกว่าจะรักษาสัดส่วนในการถือครองหุ้น และสิทธิในการออกเสียง (Voting rights) ในอัตราส่วนเดิมหรือไม่ ในอีกกรณีหนึ่ง บริษัทอาจแจกใบสำคัญแสดงสิทธิแพนักงานเพื่อให้พนักงานนำมาแลกซื้อหุ้น การให้ใบสำคัญแสดงสิทธิชนิดนี้ต้องออกให้พนักงานอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ หากเป็นเช่นนั้น บริษัทจะไม่ต้องทำการบันทึกบัญชีใดๆ จนกระทั่งผู้ทรงสิทธิใช้สิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ บริษัทจึงจะบันทึกบัญชีเงินสดที่ได้รับเป็นสินทรัพย์พร้อมกับรับรู้หุ้นสามัญในส่วนทุน
3. ใบสำคัญแสดงสิทธิที่บริษัทออกให้แก่ผู้บริหารหรือพนักงานซึ่งเรียกว่า Stock Options ในทางบัญชี บริษัทต้องพิจารณาว่าการให้ Stock options ถือว่าเป็นการแจก ”โบนัส” หรือเป็นการให้ใบสำคัญแสดงสิทธิตามข้อ 2 ข้างต้น หากเป็นการแจกโบนัส บริษัทต้องบันทึกค่าใช้จ่ายโบนัสในงบกำไรขาดทุน ในขณะที่บันทึกหนี้สินควบคู่กันไป จนกระทั่งผู้บริหารหรือพนักงานใช้สิทธิซื้อหุ้น บริษัทจึงจะบันทึกลดหนี้สินไปเพิ่มเป็นหุ้นสามัญในส่วนทุน แต่ถ้าหากเป็นการให้สิทธิตามข้อ 2 บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน
จากข้อมูลข้างต้น เราจะเห็นว่าการออก Warrants แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
1.) แบบที่ไม่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและหนี้สิน (เช่น Stock Rights)
2.) แบบที่ต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายและหนี้สิน (เช่น Stock Options)
นั่นหมายความว่านักลงทุนควรพิจารณาว่า การออก Warrants ของบริษัทที่ท่านสนใจมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายและหนี้สินเพิ่มขึ้นหรือไม่ เพราะจะมีผลกระทบกับกำไรขาดทุน ตัวอย่างเช่น
1.) บริษัทแจก Stock Options ให้แก่พนักงานทุกคน (ไม่ต้องบันทึกบัญชี) หรือเฉพาะบางคน (ถือเป็นการให้โบนัส ต้องบันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
2.) บริษัทแจก Stock Options ให้พนักงานทุกคนในอัตราที่เท่ากัน (ไม่ต้องบันทึกบัญชี) หรือด้วยอัตราที่ไม่เท่ากัน (ถือเป็นการให้โบนัส บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
3.) Stock Options ได้กำหนดกรอบเวลาที่ให้สิทธิแก่พนักงานอย่างเหมาะสมหรือไม่ (ถ้านานเกินไป จะถือเป็นการจ่ายโบนัส บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
4.) ราคา Exercise price ต้องไม่ต่ำกว่าราคาหุ้นในตลาดหุ้นมากเกินไป เพราะถ้าต่ำเกินไปทางบัญชีจะถือว่าเป็นการจ่ายโบนัส (บันทึกค่าใช้จ่ายและหนี้สิน)
พี่ๆท่านไหนมีคำถามตรงไหน โพสต์ถามได้เลยนะคะ
![Wink ;)](./images/smilies/icon_wink.gif)