สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
โพสต์ที่ 1
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
โดยส่วนใหญ่นักลงทุนมักให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ตัวเลขในงบการเงินทั้งในอดีตและปัจจุบันก่อนจะตัดสินใจลงทุน แต่นักลงทุนหลายคนไม่เข้ารายการ “สินทรัพย์ไม่มีตัวตน” หรือ Intangible Assets ที่แสดงอยู่ในงบแสดงฐานะการเงินว่าหมายความถึงอะไรและมีความสำคัญอย่างไร หากนักลงทุนเข้าใจรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมากขึ้น นักลงทุนอาจสามารถวิเคราะห์งบการเงินได้ดีขึ้น
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) กันก่อน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง ไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ แต่สามารถตีมูลค่าเป็นตัวเงินได้ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมักเกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ด้านเทคนิค การออกแบบ การนำระบบหรือขั้นตอนใหม่มาใช้ สิทธิตามใบอนุญาตต่างๆ สินทรัพย์ทางปัญญา ความรู้ด้านการตลาด และเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน (ระยะเวลาของสิทธิ์ที่ได้รับลดลงตามสัดส่วนของมูลค่าที่ลดลง เช่น ลิขสิทธิ์ Copyrights สิทธิบัตร Patents) และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน (สินทรัพย์ไม่เสื่อมค่าลงตามเวลา แต่อาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องหมายการค้า Trademark ซึ่งบริษัทไม่ต้องทำการตัดจำหน่าย)
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจัดเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน ทั้งนี้เนื่องจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือหมุนเวียนไปตามการดำเนินงานของธุรกิจเหมือนเงินสดหรือลูกหนี้การค้า
การรับรู้มูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะเป็นไปตามแหล่งที่มาของสินทรัพย์นั้นๆ หากเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กำเนิดจากกิจกรรมภายนอกบริษัท มูลค่าของสินทรัพย์จะเป็นไปตามราคาที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือทางบัญชีจะเรียกว่า มูลค่ายุติธรรม ยกตัวอย่างเช่น หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากการซื้อ ราคาซื้อจะถือเป็นมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากการรวมธุรกิจ มูลค่าของสินทรัพย์จะขึ้นอยู่กับการตกลงของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ณ วันที่ซื้อธุรกิจ หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาล มูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือจำนวนเงินที่ระบุให้จ่ายเพื่อให้ได้มาซื่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น แต่ถ้าหากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นๆ ได้มาจากการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์อื่น มูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะขึ้นอยู่กับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่นำไปแลก
สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในบริษัท เช่น รายชื่อลูกค้า ชื่อสินค้า การวิจัยและพัฒนา ต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่กิด ยกเว้นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการพัฒนาหากเข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการและสามารถก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่บริษัทในอนาคต
หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน แท้จริงแล้วไม่แตกต่างไปจากวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เท่าใดนัก กล่าวคือ เมื่อบริษัทรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ที่มีอายุการใช้งานจำกัด) เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน บริษัทจะสามารถวัดมูลของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยใช้วิธีราคาทุนหรือราคาที่ตีใหม่ หักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่า
แต่สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน บริษัทจะไม่ตัดจำหน่ายสินทรัพย์นั้น แต่จะต้องพิจารณาการด้อยค่าให้เหมาะสม หากพบว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเกิดการด้อยค่า บริษัทต้องตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที
พี่ๆท่านไหนมีอะไรสงสัยถามได้นะคะ จะตอบคำถามโดยเร็วที่สุดคะ
โดยส่วนใหญ่นักลงทุนมักให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ตัวเลขในงบการเงินทั้งในอดีตและปัจจุบันก่อนจะตัดสินใจลงทุน แต่นักลงทุนหลายคนไม่เข้ารายการ “สินทรัพย์ไม่มีตัวตน” หรือ Intangible Assets ที่แสดงอยู่ในงบแสดงฐานะการเงินว่าหมายความถึงอะไรและมีความสำคัญอย่างไร หากนักลงทุนเข้าใจรายการสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมากขึ้น นักลงทุนอาจสามารถวิเคราะห์งบการเงินได้ดีขึ้น
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับคำว่า สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets) กันก่อน สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หมายถึง สินทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง ไม่สามารถมองเห็นหรือสัมผัสได้ แต่สามารถตีมูลค่าเป็นตัวเงินได้ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนมักเกี่ยวข้องกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ความรู้ด้านเทคนิค การออกแบบ การนำระบบหรือขั้นตอนใหม่มาใช้ สิทธิตามใบอนุญาตต่างๆ สินทรัพย์ทางปัญญา ความรู้ด้านการตลาด และเครื่องหมายการค้า เป็นต้น
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ สินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน (ระยะเวลาของสิทธิ์ที่ได้รับลดลงตามสัดส่วนของมูลค่าที่ลดลง เช่น ลิขสิทธิ์ Copyrights สิทธิบัตร Patents) และสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน (สินทรัพย์ไม่เสื่อมค่าลงตามเวลา แต่อาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องหมายการค้า Trademark ซึ่งบริษัทไม่ต้องทำการตัดจำหน่าย)
สินทรัพย์ไม่มีตัวตนจัดเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนในงบแสดงฐานะการเงิน ทั้งนี้เนื่องจากสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือหมุนเวียนไปตามการดำเนินงานของธุรกิจเหมือนเงินสดหรือลูกหนี้การค้า
การรับรู้มูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะเป็นไปตามแหล่งที่มาของสินทรัพย์นั้นๆ หากเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่กำเนิดจากกิจกรรมภายนอกบริษัท มูลค่าของสินทรัพย์จะเป็นไปตามราคาที่ตกลงกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย หรือทางบัญชีจะเรียกว่า มูลค่ายุติธรรม ยกตัวอย่างเช่น หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากการซื้อ ราคาซื้อจะถือเป็นมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนมาจากการรวมธุรกิจ มูลค่าของสินทรัพย์จะขึ้นอยู่กับการตกลงของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ณ วันที่ซื้อธุรกิจ หากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นได้มาจากการอุดหนุนของรัฐบาล มูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะบันทึกด้วยมูลค่ายุติธรรมหรือจำนวนเงินที่ระบุให้จ่ายเพื่อให้ได้มาซื่งสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้น แต่ถ้าหากสินทรัพย์ไม่มีตัวตนนั้นๆ ได้มาจากการแลกเปลี่ยนกับสินทรัพย์อื่น มูลค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะขึ้นอยู่กับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์ที่นำไปแลก
สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นภายในบริษัท เช่น รายชื่อลูกค้า ชื่อสินค้า การวิจัยและพัฒนา ต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่กิด ยกเว้นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการพัฒนาหากเข้าเงื่อนไขการรับรู้รายการและสามารถก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจแก่บริษัทในอนาคต
หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ทราบได้แน่นอน แท้จริงแล้วไม่แตกต่างไปจากวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์เท่าใดนัก กล่าวคือ เมื่อบริษัทรับรู้สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ที่มีอายุการใช้งานจำกัด) เป็นสินทรัพย์ในงบแสดงฐานะการเงิน บริษัทจะสามารถวัดมูลของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนโดยใช้วิธีราคาทุนหรือราคาที่ตีใหม่ หักค่าตัดจำหน่ายสะสมและค่าเผื่อการด้อยค่า
แต่สำหรับสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่อายุการให้ประโยชน์ไม่ทราบแน่นอน บริษัทจะไม่ตัดจำหน่ายสินทรัพย์นั้น แต่จะต้องพิจารณาการด้อยค่าให้เหมาะสม หากพบว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเกิดการด้อยค่า บริษัทต้องตัดบัญชีสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนทันที
พี่ๆท่านไหนมีอะไรสงสัยถามได้นะคะ จะตอบคำถามโดยเร็วที่สุดคะ
- laohanant
- Verified User
- โพสต์: 372
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
โพสต์ที่ 3
รบกวน 2 คำถามครับ
1. การวัดการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ส่วนที่ไม่ทราบกำหนดเวลา) ทำกันอย่างไร แล้วเราสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้อย่างไร
2. ในกรณีที่มีการซื้อกิจการที่ราคาตำ่กว่ามูลค่ายุติธรรม(หรือมูลค่าตามบัญชี)ของกิจการที่ถูกซื้อ จะมีการบันทึกค่าความนิยมอย่างไร
1. การวัดการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ส่วนที่ไม่ทราบกำหนดเวลา) ทำกันอย่างไร แล้วเราสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้อย่างไร
2. ในกรณีที่มีการซื้อกิจการที่ราคาตำ่กว่ามูลค่ายุติธรรม(หรือมูลค่าตามบัญชี)ของกิจการที่ถูกซื้อ จะมีการบันทึกค่าความนิยมอย่างไร
Detect and Act on the market 's error.
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
โพสต์ที่ 4
@คุณ nearly
ในส่วนของลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรถ้าเกิดการฟ้องร้องแล้วโดนยึดสิทธิเราจะต้องตัดลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรตัวนั่นออกไปจากบัญชีคะ โดยเราจะต้องเครดิตลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรตัวนั่นออกไป และเดบิตเป็นค่าใช้จ่ายคะ โดยค่าใช้จ่ายจะถูกบันทึกลงในงบกำไรขาดทุน ส่วนจะใช้ชื่อค่าใช้จ่ายอะไรนั่นไม่มีข้อบังคับเรื่องชื่อสำหรับรายการนี้ค่ะ เราอาจจะให้ชื่อว่า "ค่าลิขสิทธิที่หมดประโยชน์" เป็นต้นคะในส่วนของลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตรถ้าเกิดการฟ้องร้องแล้วโดนยึดสิทธิไปจะต้องบันทึกลงในส่วนไหนครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
โพสต์ที่ 5
ขอตอบทีละข้อนะคะlaohanant เขียน:รบกวน 2 คำถามครับ
1. การวัดการด้อยค่าของสินทรัพย์ไม่มีตัวตน (ส่วนที่ไม่ทราบกำหนดเวลา) ทำกันอย่างไร แล้วเราสามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือได้อย่างไร
2. ในกรณีที่มีการซื้อกิจการที่ราคาตำ่กว่ามูลค่ายุติธรรม(หรือมูลค่าตามบัญชี)ของกิจการที่ถูกซื้อ จะมีการบันทึกค่าความนิยมอย่างไร
ข้อแรก การวัดการด้อยค่่ามีขั้นตอนละเอียดใน TAS 36 สรุปสั้นๆ คือ
1. ต้องวักการด้อยค่าทุกปี
2. ดูว่าสินทรัพย์มีราคาตลาดหรือไม่ ถ้ามีเทียบกับราคาตลาดหักค่าใช้จ่ายในการขาย
3. ถ้าไม่มีราคาตลาด ให้ดูว่าสินทรัพย์แยกเป็นเอกเทศ (คือก่อให้เกิดกระแสเงินสดด้วยตัวเอง) หรือต้องเกาะกับสินทรัพย์อื่น ( ก่อให้เกิดกระแสเงินสดร่วมกับสินทรัพย์อื่น)
4. ถ้าแยกเป็นเอกเทศ ให้หา discounted net cash flows ของสินทรัพย์เองแล้วนำมาเทียบกับราคาตามบัญชี ถ้าต่ำก็ด้อยค่า
5. ถ้าเกาะกับสินทรัพย์อื่น ต้องหา DCF ของทั้งกลุ่มแล้วเปรียบเทียบ แล้วเทียบกับราคาตามบัญชี ถ้าต่ำก็ด้อยค่า (ทำนองเดียวกับค่าความนิยมคะ รบกวนตามไปอ่านที่กระทู้ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อด้วยนะคะ)
ข้อสอง
ส่วนเรื่องการบันทึกรบกวนตามไปอ่านที่กระทู้ค่าความนิยมและกำไรจากการต่อรองราคาซื้อนะคะ เพราะมีคนถามแล้ว และคนตอบก็ตอบไปละเอียดมากนะคะ เผื่อจะได้ข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมคะguitarz เขียน:ค่าความนิยมติดลบ: ในกรณีที่บริษัทใหญ่สามารถต่อรองราคาจ่ายซื้อบริษัทย่อยได้ต่ำกว่ามูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิ ส่วนต่างระหว่างราคาจ่ายซื้อกับมูลค่ายุติธรรมของสินทรัพย์สุทธิถือว่าเป็น "กำไรจากการต่อรองราคาซื้อ (Bargain Purchase)" ที่บริษัทใหญ่สามารถรับรู้ในงบกำไรหรือขาดทุนทันทีในงวดที่การซื้อกิจการเกิดขึ้น
- kotaro
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1495
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
โพสต์ที่ 7
ขอบคุณครับ
ถ้าสมมุติ เราไปซื้อ เครื่องหมายการค้า มาจากบริษัทอื่น เราก็บันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ตามราคาที่เราซื้อเลยใช่ไหมครับ ไม่ต้องไปตัดค่าเสื่อม/ค่าตัดจำหน่าย อะไรใช่ไหมครับ
เคยสงสัย จาก TCCC ที่ไปขอใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้าจากผู้ถือหุ้นกลุ่มเดิม แล้วบันทึกเป็น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
เข้ามาจำนวนเกือบ 1000 ล้านบาท แล้วก็ตัดค่าเสื่อมไปปีละ 100 ล้านบาท ตัดไปประมาณ 4-5 ปีจนเหลือ 500 กว่าล้านแล้วก็หยุดตัดไปดื้อๆเลยครับ
เลยไม่รุ้ต้องตัด หรือ ไม่ต้องตัดประการใดครับ
ถ้าสมมุติ เราไปซื้อ เครื่องหมายการค้า มาจากบริษัทอื่น เราก็บันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ตามราคาที่เราซื้อเลยใช่ไหมครับ ไม่ต้องไปตัดค่าเสื่อม/ค่าตัดจำหน่าย อะไรใช่ไหมครับ
เคยสงสัย จาก TCCC ที่ไปขอใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้าจากผู้ถือหุ้นกลุ่มเดิม แล้วบันทึกเป็น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
เข้ามาจำนวนเกือบ 1000 ล้านบาท แล้วก็ตัดค่าเสื่อมไปปีละ 100 ล้านบาท ตัดไปประมาณ 4-5 ปีจนเหลือ 500 กว่าล้านแล้วก็หยุดตัดไปดื้อๆเลยครับ
เลยไม่รุ้ต้องตัด หรือ ไม่ต้องตัดประการใดครับ
“Laughter is timeless. Imagination has no age. And dreams are forever.” ― Walt Disney Company
-
- Verified User
- โพสต์: 3
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
โพสต์ที่ 8
ตามหลักมาตรฐานการบัญชีปี 2552 ที่มีผลบังคับใช้ในต้นปี 2554 นั้นเราจะไม่ทำการตัดจำหน่ายคะ ส่วนของ TCCC นั้นอาจเป็นเพราะเขาปฎิบัติตามมาตรฐานเดิมที่บอกให้ตัดจำหน่ายมาจนมาตรฐานเปลี่ยน เขาก็หันมาปฏิบัติตามมาตรฐานใหม่คะ ใช่เปลี่ยนปี 54 หรือเปล่าคะ เข้าใจว่ามาตรฐานใหม่ประกาศใช้ 54นะคะkotaro เขียน:ขอบคุณครับ
ถ้าสมมุติ เราไปซื้อ เครื่องหมายการค้า มาจากบริษัทอื่น เราก็บันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
ตามราคาที่เราซื้อเลยใช่ไหมครับ ไม่ต้องไปตัดค่าเสื่อม/ค่าตัดจำหน่าย อะไรใช่ไหมครับ
เคยสงสัย จาก TCCC ที่ไปขอใช้สิทธิ์เครื่องหมายการค้าจากผู้ถือหุ้นกลุ่มเดิม แล้วบันทึกเป็น สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
เข้ามาจำนวนเกือบ 1000 ล้านบาท แล้วก็ตัดค่าเสื่อมไปปีละ 100 ล้านบาท ตัดไปประมาณ 4-5 ปีจนเหลือ 500 กว่าล้านแล้วก็หยุดตัดไปดื้อๆเลยครับ
เลยไม่รุ้ต้องตัด หรือ ไม่ต้องตัดประการใดครับ
- i-salmon
- Verified User
- โพสต์: 293
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
โพสต์ที่ 9
รบกวนถาม 2 ข้อครับ
1) เครื่องหมายการค้าบริษัทดังๆ เช่น โออิชิ บริษัทสามารถเลือกไม่บันทึกเป็น intangible asset ได้ไหมครับ ?
2) ความสามารถที่โดดเด่นขององค์กร เช่น ความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ วัฒนธรรมองค์กร
จะไม่มีทางรับรู้เป็น intangilbe assets ได้เลยใช่หรือไม่ ? หากไม่มีการซื้อกิจการมากกว่าราคาทุนเดิมและบันทึกเป็น goodwill
1) เครื่องหมายการค้าบริษัทดังๆ เช่น โออิชิ บริษัทสามารถเลือกไม่บันทึกเป็น intangible asset ได้ไหมครับ ?
2) ความสามารถที่โดดเด่นขององค์กร เช่น ความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ วัฒนธรรมองค์กร
จะไม่มีทางรับรู้เป็น intangilbe assets ได้เลยใช่หรือไม่ ? หากไม่มีการซื้อกิจการมากกว่าราคาทุนเดิมและบันทึกเป็น goodwill
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: สินทรัพย์ไม่มีตัวตน (Intangible Assets)
โพสต์ที่ 10
[quote="i-salmon"]รบกวนถาม 2 ข้อครับ
1) เครื่องหมายการค้าบริษัทดังๆ เช่น โออิชิ บริษัทสามารถเลือกไม่บันทึกเป็น intangible asset ได้ไหมครับ ?
2) ความสามารถที่โดดเด่นขององค์กร เช่น ความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ วัฒนธรรมองค์กร
จะไม่มีทางรับรู้เป็น intangilbe assets ได้เลยใช่หรือไม่ ? หากไม่มีการซื้อกิจการมากกว่าราคาทุนเดิมและบันทึกเป็น goodwill[/quote]
1. เครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นภายในบริษัท (ไม่ได้ซื้อมา) และไม่มีราคาซื้อขายในตลาด ไม่สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ถ้าให้เดาจะเดาว่า เครื่องหมายการค้า โออิชิ ได้มีการบันทึบัญชีเฉพาะรายจ่ายที่เกิดจริงที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและรายจ่ายจริงอื่นๆ แต่ตัว brandname โออิชิไม่น่าจะบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2. ถูกส่วนใหญ่ค่ะ นิดเดียวตรงสุดท้าย ถ้าบริษัทใหญ่ซื้อบริษัทย่อยในราคาที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม (คุณพูดเป็น "ราคาทุนเดิม" ซึ่งไม่ถูกต้อง) และบริษัทใหญ่เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเข้าเงื่อนไขที่จะบันทึกบัญชีได้ (เช่น ระบุ เป็นอิสระจากสินทรัพย์อื่น ประเมินมูลค่าได้ ประมาณนั้น) บริษัทใหญ่ต้องบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแยกจาก goodwill
รายละเอียดมีอยู่ในเอกสารการสอนบันไดขั้นที่ 1 เช่นกันค่ะ
1) เครื่องหมายการค้าบริษัทดังๆ เช่น โออิชิ บริษัทสามารถเลือกไม่บันทึกเป็น intangible asset ได้ไหมครับ ?
2) ความสามารถที่โดดเด่นขององค์กร เช่น ความสัมพันธ์กับลูกค้า หรือ วัฒนธรรมองค์กร
จะไม่มีทางรับรู้เป็น intangilbe assets ได้เลยใช่หรือไม่ ? หากไม่มีการซื้อกิจการมากกว่าราคาทุนเดิมและบันทึกเป็น goodwill[/quote]
1. เครื่องหมายการค้าที่เกิดขึ้นภายในบริษัท (ไม่ได้ซื้อมา) และไม่มีราคาซื้อขายในตลาด ไม่สามารถบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน ถ้าให้เดาจะเดาว่า เครื่องหมายการค้า โออิชิ ได้มีการบันทึบัญชีเฉพาะรายจ่ายที่เกิดจริงที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและรายจ่ายจริงอื่นๆ แต่ตัว brandname โออิชิไม่น่าจะบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตน
2. ถูกส่วนใหญ่ค่ะ นิดเดียวตรงสุดท้าย ถ้าบริษัทใหญ่ซื้อบริษัทย่อยในราคาที่สูงกว่ามูลค่ายุติธรรม (คุณพูดเป็น "ราคาทุนเดิม" ซึ่งไม่ถูกต้อง) และบริษัทใหญ่เห็นว่าสินทรัพย์ไม่มีตัวตนเข้าเงื่อนไขที่จะบันทึกบัญชีได้ (เช่น ระบุ เป็นอิสระจากสินทรัพย์อื่น ประเมินมูลค่าได้ ประมาณนั้น) บริษัทใหญ่ต้องบันทึกสินทรัพย์ไม่มีตัวตนแยกจาก goodwill
รายละเอียดมีอยู่ในเอกสารการสอนบันไดขั้นที่ 1 เช่นกันค่ะ