หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 61

โพสต์

ต่ออีกหน่อย

ตอนนี้ เราจะสละโลกของบัญชี แล้วเดินทางไปในโลกของภาษี
ประมวลรัษฎากรบอกว่า ลูกหนี้จะเป็นหนี้สูญได้ก็ต่อเมื่อเราได้ทวงถามถึงที่สุด (จริงๆ ก็ไม่ค่อยรู้กฎภาษีละเอียดนัก รู้แต่ว่า เราต้องติดตามทวงถาม ส่งจดหมาย หรือฟ้องลูกหนี้จนแน่ใจว่าจะไม่่ได้เงินคืน เมื่อนั้น สรรพากรจึงจะยอมให้เราตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่าย) สมมุติว่า 1 ปี ให้หลัง สรรพากรจึงจะยอมให้เราตัดลูกหนี้เป็นค่่าใช้จ่าย

ย้อนกลับไปที่โลกบัญชี
ตอนเราตัดหนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่าย เราก็คิดภาษีของเราตามวิธีการบัญชีว่าเราจะเสียภาษีน้อยลง 30 บาท แต่สรรพากร เขาไม่เอากับเราด้วย เขาบอกว่าเวลามาจ่ายภาษี ช่วยเอาค่่าใช้จ่ายนี้บวกกลับ แล้วจ่ายภาษีให้เต็มด้วย หมายความว่า เราต้องไม่นับค่าใช้จ่ายหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีในเวลานี้

ก็แย่หน่อย เพราะพอเปลี่ยนจากโลกบัญชีไปโลกภาษี เราต้องควักกระเป๋าเพิ่ม 30 บาท เพราะสรรพากรไม่ยอมให้หักค่่าใช้จ่าย

ถึงตรงนี้ ตามทันไหมคะ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 62

โพสต์

เพราะเรามีโลก 2 โลกที่กฎเกณฑ์ไม่เหมือนกัน นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไม เราจึงต้องจ่ายภาษีมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีตามบัญชี (ที่แสดงในงบดุล)

ในทางบัญชี เงินภาษีที่ติดกรมสรรพากร นักบัญชีส่วนใหญ่เรียกมันว่า ภาษีเงินได้ค้างจ่าย ซึ่งถือเป็นหนี้สินหมุนเวียนในงบดุล รอเวลาเมื่อเราเอาเงินไปจ่าย เงินสดก็จะไหลออกจากบริษัทด้วยจำนวนเท่ากับภาษีที่คิดตามประมวลรัษฎากร

แต่เงินที่จ่ายออกไป บังเอิญมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่บันทึก (บัญชีขาเขย่งไม่ได้) เราก็เลยต้องเอาส่วนต่าง 30 บาท ไปบันทึกเป็น สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หรือ Deferred Tax Asset (DTA) ตามที่ฝรั่งเขาเรียกกัน

การที่เราตั้ง DTA เป็นสินทรัพย์ก็เพราะสักวันหนึ่ง เราจะได้ภาษีของเราคืนจากสรรพากรโดยการประหยัดภาษี หมายความว่าเมื่อสรรพากรยอมให้เราเอาลูกหนี้มาตัดเป็นหนี้สูญเมื่อไร ภาษีที่ต้องจ่ายให้กรมสรรพากรก็จะน้อยลง 30 บาท (เพราะเราจ่ายเงินไปล่วงหน้าแล้ว)

คำว่า "น้อยลง" ในที่นี้ หมายถึงน้อยลงกว่าค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่เราจะบันทึกบัญชี เพราะในทางบัญชี เราไม่มีค่าใช้จ่ายหนี้สูญที่จะนำมาหักอีกแล้ว (เพราะหักไปแล้ว) ค่าใช้จ่ายทางบัญชีของเราจึงต่ำ กำไรสูง ภาษีตามบัญชีจะสูงกว่าภาษีที่ต้องจ่ายให้กรมสรรพากร ตอนที่สรรพากรยอมให้เราเอาลูกหนี้มาตัดหนี้สูญ (ซึ่งตามตัวอย่างนี้ มันก็คือปีหน้า)

เราจะเห็นว่า ผลต่างทางภาษี 30 บาท ที่เกิดขึ้นในงวดนี้ มันจะต้องกลับบัญชีในงวดหนึ่งงวดใดในอนาคต (นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม ฝรั่งจึงเรียกผลต่างนี้ว่า Temporary Differences หรือผลต่างชั่วคราว)

เมื่อกลับบัญชี ผลต่างนี้จะทำให้เราควักกระเป๋าจ่ายภาษีน้อยลงกว่าค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชี ดังนั้น ในการบันทึกบัญชี เราจึงต้องนำผลต่างมาลด DTA ที่ตั้งรอไว้ด้วยจำนวน 30 บาท (DTA ถึงได้มีชื่อภาษาไทยว่า สินทรัพย์ภาษีเงินได้ "รอการตัดบัญชี") (คล้ายๆ กับว่า เราจ่ายภาษีเป็นเงินสดบวกคูปอง 30 บาท ที่เราซื้อไว้ล่วงหน้า อะไรทำนองนั้น)

ลองนึกดูว่าถ้าเราไม่ลด DTA อะไรจะเกิดขึ้น
เราก็จะมีสินทรัพย์จำนวนหนึ่งที่ติดบัญชีไปชั่วกาลปาวสาน ทั้งๆ ที่เราได้ใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์นั้นไปแล้ว

พอไหวไหมคะ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 63

โพสต์

เที่ยงคืนแล้ว เริ่มง่วงแล้ว แต่ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่ยังจำเป็นต้องพูดถึง ( ความจริง ยังมีอีกหลายประเด็น แต่เอาประเด็นนี้ก่อน)

ตอนที่เราบันทึก DTA เพราะจ่ายภาษีมากไป อัตราภาษีของเราเป็น 30%
ตอนนั้น เราไม่มีวันจะรู้เลยว่า เมื่อสรรพากรยอมรับว่าลูกหนี้เราเป็นหนี้สูญในปีหน้า รัฐบาลจะบ้าระห่ำลดภาษีลงเหลือ 23% ดังนั้น เวลาที่เราบันทึก DTA เราจึงใช้อัตราภาษี 30% ด้วยความคาดหวังที่ว่า เมื่อผลต่างกลับรายการ เราจะสามารถลดภาษีได้ 30% เท่ากับที่เราได้จ่ายภาษีไปล่วงหน้า

แต่การไม่เป็นดังที่คาด เพราะอยู่ๆ รัฐบาลก็ออกกฎหมายลดอัตราภาษีเป็น 23% สินทรัพย์ภาษีที่ตั้งรอไว้ 30 บาท มีจำนวนที่จะได้ใช้จริงแค่ 23 บาท อีก 7 บาท ด้อยค่าไปในทันที เมื่อสินทรัพย์ด้อยค่า เราก็ต้องตัดสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่าย (แบบเดียวที่ทำกับลูกหนี้)

นั่นหมายความว่า DTA จะถูกลดลงไป 7 บาท ( เหลือ 23 บาท) ค่าใช้จ่ายภาษีก็จะเพิ่มขึ้น7 บาท
เมื่อถึงปีหน้าตอนที่สรรพากรยอมให้เราเอาลูกหนี้มาตัดเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี เราก็จะเสียภาษีน้อยลง 23 บาท เราก็จะกลับบัญชี DTA ซึ่งเหลืออยู่ 23 บาท (พอดิบพอดี) ออกไปให้หมด

ลองกลับไปสมมุติใหม่ว่า ตอนที่เราตั้ง DTA เรารู้แล้วว่าปีหน้า อัตราภาษีของเราจะเหลือ 23 % ทั้งที่ปีนี้ เรายังต้องจ่ายภาษี 30% อยู่ เมื่อลูกหนี้เกิดขึ้นปีนี้ เราต้องจ่ายภาษีสูงกว่าที่ควรเ็น 30 บาท แต่ในปีหน้า เรารู้ดีว่า เมื่อเราสามารถนำลูกหนี้มาตัดเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี เราจะสามารถลดหย่อนภาษีได้แค่ 23 บาท ในกรณีนี้ เราจะต้องบันทึก DTA ไว้แค่ 23 บาทตั้งแต่ต้น ไม่ใช่บันทึกตามอัตราภาษีปัจจุบัน แต่ต้องบันทึกตามอัตราภาษีที่คาดว่าผลต่างนั้นจะกลับรายการ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงเห็นบริษัทจดทะเบียนบางบริษัทมีค่่าใช้จ่ายภาษีเงินได้สูงกว่าปกติ นั่นมาจากการที่ DTA ที่เคยบันทึกไว้ที่อัตราภาษี 30% ด้อยค่าลง 7% หรือ 10% ขึ้นอยู่กับว่า เราคาดว่าผลต่างทางภาษีของเราจะกลับบัญชีเมื่ออัตราภาษีเป็น 23% หรือ 20%

ที่พูดมาเป็นตัวอย่างของ DTA เรายังไปไม่ถึง DTL
แต่จริงๆ DTL ก็บันทึกบัญชีด้วยหลักการเดียวกัน เพียงแต่กลับขากัน

มีอีกเรื่องหนึ่งที่ยังไม่ได้พูดถึง (โดยละเอียด) นั่นคือ เมื่อ DTA และ DTL เกิดขึ้นจากรายการ เช่น การตีราคาสินทรัพย์เพิ่มหรือค่าความนิยม แม้ว่าหลักการจะเหมือนกัน แต่เนื่องจาก DTA กับ DTL ที่บันทึกไว้ไม่มีผลกระทบกับค่าใช้จ่ายภาษี แต่กระทบกับรายการที่ทำให้มันเกิดขึ้น เมื่อผลต่างกลับรายการ ผลกระทบของมันจึงไม่แสดงในค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ แต่กลับไปแสดงที่กำไรจากการตีาคาเพิ่มหรือค่าความนิยม

จริงๆ เรื่องยังมีอีก แต่เอาแค่นี้ก่อนนะคะ จะตี 1 อยู่แล้ว ยิ่งไม่ค่อยจะได้นอน เดี๋ยวป่วยขึ้นมาอีก ทีนี้เลยไม่มีปัญญามาอธิบายให้ฟังอีก
ANDREPETER
Verified User
โพสต์: 64
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 64

โพสต์

รอบห้าทุ่มที่อาจารย์โพสอ่านรอบเดียวเข้าใจเลยครับ

ขอบพระคุณครับ

ขอให้อาจารย์แข็งแรงและสุขภาพดีครับ
Read Read Read
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 65

โพสต์

parporn เขียน:เพราะเรามีโลก 2 โลกที่กฎเกณฑ์ไม่เหมือนกัน นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไม เราจึงต้องจ่ายภาษีมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีตามบัญชี (ที่แสดงในงบดุล)
โทษทีค่ะ เมาไปหน่อย

อาจารย์หมายถึง ค่าใช้จ่ายภาษีในงบกำไรขาดทุนค่ะ ไม่ใช่งบดุล
ตอนเขียนสงสัยจะง่วง
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 66

โพสต์

ขอขอบคุณอาจารย์ภาพรที่อุตส่าห์เข้ามาอธิบายงบการเงินให้แก่สมาชิกเพื่อนๆนักลงทุนได้เข้าใจมากขึ้น

อาจารย์ครับ ผมมีข้อสงสัย เกี่ยวกับการลงทุนบันทึกในงบกำไรขาดทุน

ผมเข้าใจว่าตอนที่นำมาตรฐานบัญชีฉบับนี้มาเริ่มใช้ เราตั้งสินทรัพย์ภาษีรอตัดจ่ายในงบดุลเลย โดยไม่ผ่านการรับรู้รายได้ในงบกำไรขาดทุนเลยใช่ไหมครับ

แต่ตอนที่เราปรับภาษี ทำให้เกิดส่วนต่างในสินทรัพย์ภาษีรอตัดจ่ายนี้ และต้องรับรู้เป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุน ทำไมถึงไม่กระทบเฉพาะในงบดุลเหมือนตอนตั้งละครับ

นักลงทุนเสียผลประโยชน์เห็นๆ ถ้าบริษัทมีการจ่ายเงินปันผลอิงกับกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 67

โพสต์

chatchai เขียน:ขอขอบคุณอาจารย์ภาพรที่อุตส่าห์เข้ามาอธิบายงบการเงินให้แก่สมาชิกเพื่อนๆนักลงทุนได้เข้าใจมากขึ้น

อาจารย์ครับ ผมมีข้อสงสัย เกี่ยวกับการลงทุนบันทึกในงบกำไรขาดทุน

ผมเข้าใจว่าตอนที่นำมาตรฐานบัญชีฉบับนี้มาเริ่มใช้ เราตั้งสินทรัพย์ภาษีรอตัดจ่ายในงบดุลเลย โดยไม่ผ่านการรับรู้รายได้ในงบกำไรขาดทุนเลยใช่ไหมครับ

แต่ตอนที่เราปรับภาษี ทำให้เกิดส่วนต่างในสินทรัพย์ภาษีรอตัดจ่ายนี้ และต้องรับรู้เป็นรายจ่ายในงบกำไรขาดทุน ทำไมถึงไม่กระทบเฉพาะในงบดุลเหมือนตอนตั้งละครับ

นักลงทุนเสียผลประโยชน์เห็นๆ ถ้าบริษัทมีการจ่ายเงินปันผลอิงกับกำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน
ไม่ค่อยเข้าใจคำถามค่ะ
ที่คุณพูดว่า "การลงทุนบันทึกในงบกำไรขาดทุน" นั้นหมายความว่าอะไรคะ? และมาตรฐานการบัญชีที่พูดถึงคือเรื่อง ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี หรือเรื่องเงินลงทุน (ต้องชัดเจนว่าเป็นเงินลงทุนอะไร เพราะเงินลงทุนมีหลายอย่างมาก เช่น เพื่อค้า เผื่อขาย ทั่วไป บริษัทร่วม บริษัทย่อย การร่วมค้า ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด)

ถ้ามีตัวอย่างบริษัทก็จะดีค่ะ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 68

โพสต์

กรณีสมมุตินะครับ

ปี 52 บริษัทมีกำไรก่อนหักภาษี จำนวน 100 ล้านบาท โดยมีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ จำนวนเงิน 10 ล้านบาท ภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนก็จะเท่ากับ 33 ล้านบาท (เพราะค่าเผื่อไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักกรมสรรพากร)

พอสิ้นปี 53 เมื่อมีการนำมาตรฐานบัญชีมาใช้ ก็จะมีการเพิ่มสินทรัพย์ คือ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี จำนวน 3 ล้านบาท และเพิ่มในส่วนผู้ถือหุ้นจำนวน 3 ล้านบาท โดยไม่มีการบันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน

พอสิ้นปี 54 เมื่อมีการปรับอัตราภาษี สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ก็จะลดลงเหลือเพียง 2.3 ล้านบาท โดยเราต้องบันทึกส่วนต่าง จำนวน 0.70 ล้านบาท เป็นรายจ่ายภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนในงวดปี 54

ผมเลยเกิดความสงสัยว่า เมื่อตอนสิ้นปี 53 เมื่อมีการปรับปรุงรายการสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทำไมถึงไม่บันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน แต่เมื่อมีการปรับอัตราภาษีในปี 54 ถึงมีการนำส่วนต่างมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนในปี 54 ครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
BHT
Verified User
โพสต์: 1822
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 69

โพสต์

น่าจะปักหมุดกระทู้นี้นะครับ หรือไม่ก็ตั้งห้องบัญชีแยกมาเลย

จะได้แยกถามประเด็นต่างๆได้ด้วย
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 70

โพสต์

chatchai เขียน:กรณีสมมุตินะครับ

ปี 52 บริษัทมีกำไรก่อนหักภาษี จำนวน 100 ล้านบาท โดยมีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ จำนวนเงิน 10 ล้านบาท ภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนก็จะเท่ากับ 33 ล้านบาท (เพราะค่าเผื่อไม่ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามหลักกรมสรรพากร)

พอสิ้นปี 53 เมื่อมีการนำมาตรฐานบัญชีมาใช้ ก็จะมีการเพิ่มสินทรัพย์ คือ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี จำนวน 3 ล้านบาท และเพิ่มในส่วนผู้ถือหุ้นจำนวน 3 ล้านบาท โดยไม่มีการบันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน

พอสิ้นปี 54 เมื่อมีการปรับอัตราภาษี สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ก็จะลดลงเหลือเพียง 2.3 ล้านบาท โดยเราต้องบันทึกส่วนต่าง จำนวน 0.70 ล้านบาท เป็นรายจ่ายภาษีเงินได้ในงบกำไรขาดทุนในงวดปี 54

ผมเลยเกิดความสงสัยว่า เมื่อตอนสิ้นปี 53 เมื่อมีการปรับปรุงรายการสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี ทำไมถึงไม่บันทึกเป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน แต่เมื่อมีการปรับอัตราภาษีในปี 54 ถึงมีการนำส่วนต่างมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนในปี 54 ครับ
ลองมาไล่บัญชีกัน
ปี 52 บริษัทมีกำไร 100-10 = 90 มีค่าใช้จ่ายภาษีตามงบกำไรขาดทุน 90*.3= 27
ในทางบัญชี ค่าใช้จ่ายภาษีเกิด 27 ล้านบาท แต่ภาษีเงินได้ค้างจ่ายกรมสรรพากร 100*.3 = 30 ล้านบาท (เนื่องจากหนี้สูญ 10 ตัดเป็นค่าใช้จ่่ยทางภาษีไม่ได้)
ผลต่างทำให้บริษัทมี สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี 3 ล้านบาท

ถ้าบริษัทไม่บันทึกสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี บริษัทจะมีค่าใช้จ่ายเท่ากับภาษีค้างจ่ายคือ 30 ล้านบาท

ปี 53 บริษัทเริ่มบันทึก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี สิ่งที่บริษัทต้องทำคือ คำนวณว่าสินทรัพย์รอตัดทั้งหมดมีกี่บาท สมมุติตามคุณว่าเป็น 3 ลบ. สิ่งที่บริษัทต้องทำคือ ถ้าสินทรัพย์นั้นเกิดจากการบันทึกภาษีมากไปในงวดก่อนๆ ทำให้กำไรน้อยไป กำไรที่น้อยไปนั้นได้ปิดเข้าไปในกำไรสะสม (รายการหนึ่งในส่วนทุน) เรียบร้อยแล้ว การจะปรับทุกอย่างให้เสมือนว่าบริษัทบันทึกสินทรัพย์ภาษีรอตัดมาตั้งแต่ 53 คือ บริษัทต้องปรับเพิ่มกำไรสะสม (เพราะตนนี้แสดงต่ำไป) ในขณะเดียวกับที่บันทึกสินทรัพย์ภาษีรอตัด

อีกครั้งนะคะ เหตุผลที่บริษัทต้องบันทึกเพิ่มกำไรสะสมก็เพราะในอดีต บริษัทบันทึกค่าใช้จ่ายภาษีมากไป (บริษัทควรบันทึกแค่ 27 ลบ. ตามบัญชี แต่ดันไปบันทึก 30 ลบ. ตามสรรพากร) กำไรที่โอนไปกำไรสะสมจึงน้อยเกินไป บริษัทจึงต้องปรับเพิ่มกำไรสะสมให้ถูกต้อง

ตรงนี้หรือเปล่าที่คุณคิดว่าบริษัทต้องนำจำนวนนี้มาปรับกับงบกำไรขาดทุนเป็นค่าใช้จ่ายภาษี ความจริงไม่ใช่ค่ะ เพราะภาษีรายการนี้เป็นรายการในอดีต เขาเลยให้ปรับกับกำไรขาดทุนในอดีตที่รวมอยู่ในกำไรสะสมไปแล้ว

พอถึงปี 54 คราวนี้อัตราภาษีลดลง บริษัทต้องปรับประมาณการภาษี (ที่คิดว่าจะได้ในอนาคต 30 แต่กลับมาเหลือ 27) โดยการบันทึก สินทรัพย์ลดลง และค่าใช้จ่ายภาษีเพิ่ม
คุณคงสงสัยว่า ทีนี้ทำไมไม่ปรับกับกำไรสะสม เหตุผลก็เพราะว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องอดีตค่ะ แต่เป็นเรื่องปัจจุบัน ในอดีตคุณได้ปฏิบัติทุกอย่างถูกต้องมาตั้งแต่ปี 53 แล้ว แต่การลดลงของอัตราภาษีในปี 54 มีผลกระทบกับสินทรัพย์ที่คุณมีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งคุณจะได้ประโยชน์ในอนาคตเมื่อคุณได้ลดภาษี ตามกฎบัญชี ถ้าคุณรู้ว่าสินทรัพย์ปัจจุบันด้อยค่าลง คุณต้องบันทึกขาดทุนในงบกำไรขาดทุนทันที ซึ่งขาดทุนนี้เราปรับเข้าไปเป็นค่าใช้จ่ายภาษีค่ะ

คำตอบสำหรับย่อหน้าสุดท้ายของคุณอยู่คำอธิบายของปี 53 ค่ะ วิธีการทำบัญชีแบบนี้ เขาเรียก วิธีปรับย้อนหลัง ซึ่งคุณจะเจอเป็นประจำเมื่อ บริษัทเปลี่ยนนโยบายการบัญชีและแก้ไขข้อผิดพลาดที่ทำไว้ในอดีต

หวังว่าจะช่วยให้เข้าใจมากขึ้นนะคะ
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 71

โพสต์

ขอบคุณครับอาจารย์

ดังนั้น ถ้าใครจะเปรียบเทียบ หรือ นำกำไร ของก่อนปี 53 มาเปรียบเทียบกับปี 53 เป็นต้นไป ก็คงไม่ได้เพราะคำนวณโดยใช้มาตรฐานบัญชีไม่เหมือนกัน

ต่อไป ถ้าบริษัทมีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่เกิดจากผลการดำเนินงานขาดทุนในอดีต ซึ่งปรกติจะใช้ได้ภายใน 5 ปี แต่ปรากฏว่า ในอนาคต บริษัทมีกำไรไม่เพียงพอที่จะใช้สินทรัพย์นี้ได้หมดภายในระยะเวลา 5 ปี บริษัทก็ต้องนำส่วนที่เหลือมาหักเป็นภาษีเงินได้ในงวดที่หมดอายุใช่ไหมครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
tingun
Verified User
โพสต์: 99
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 72

โพสต์

อันนี้เป็นหมายเหตุในส่วนภาษีเงินได้ 54 Q3 ของบริษัท KTC ครับ ซึ่งบริษัทมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
การตั้งหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก

รูปภาพ

อยากรบกวนถามอาจาร์ยครับว่า
1. ผลกระทบทางภาษีของรายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชีแต่มิได้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษี
จำนวน -18,896 นี่มันเกิดจากอะไรเหรอครับ มันเอาไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชีด้วยเหรอครับ
ซึ่งทำให้บริษัทเสียภาษีทางบัญชีสูงถึง 52% ไม่ใช่ 30%

2. ภาษีที่บริษัทจ่ายจริงให้สรรพากรคือยอด -116,779 ใช่ไหมครับ
แล้วค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับผลต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นและที่กลับรายการจำนวน -72,321
มันคืออะไรเหรอครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 73

โพสต์

chatchai เขียน:ขอบคุณครับอาจารย์

ดังนั้น ถ้าใครจะเปรียบเทียบ หรือ นำกำไร ของก่อนปี 53 มาเปรียบเทียบกับปี 53 เป็นต้นไป ก็คงไม่ได้เพราะคำนวณโดยใช้มาตรฐานบัญชีไม่เหมือนกัน

ต่อไป ถ้าบริษัทมีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่เกิดจากผลการดำเนินงานขาดทุนในอดีต ซึ่งปรกติจะใช้ได้ภายใน 5 ปี แต่ปรากฏว่า ในอนาคต บริษัทมีกำไรไม่เพียงพอที่จะใช้สินทรัพย์นี้ได้หมดภายในระยะเวลา 5 ปี บริษัทก็ต้องนำส่วนที่เหลือมาหักเป็นภาษีเงินได้ในงวดที่หมดอายุใช่ไหมครับ
คำตอบของคำถามแรกคือ ถูกต้องค่ะ นี่เป็นปัญหาของการวิเคราะห์งบในระยะหลังนี้ เพราะมาตรฐานการบัญชีเปลี่ยนทุกปี โดยเฉพาะปี 54 เวลาที่บริษัทปรับงบการเงินย้อนหลัง อย่างมากบริษัทก็ทำแค่ 2 ปี เผลอๆ สิงปีก็ยังไม่ต้องทำเลย เพราะสภาวิชาชีพบัญชีเขาออกกฎหมายมายกเว้นให้ ดังนั้น trend analysis แทบจะกลายเป็นหมันไปแล้วค่ะ แต่หลังจากปี 2556 ไปแล้ว สถานการณ์น่าจะดีขึ้น

คำถามที่สอง ตามปกติแล้ว ถ้าบริษัทมีขาดทุน โอกาสที่บริษัทจะมีกำไรมาใช้หักกับขาดทุนนั้นถือว่ามีความเป็นไปได้น้อย ดังนั้น ถ้าไม่มีอะไรมายืนยันว่าบริษัทจะมีกำไรเกิดขึ้นใน 5 ปี ข้างหน้า บริษัทก็ไม่ควรบันทึก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีค่ะ ถ้าบันทึก ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก
chatchai
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 11443
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 74

โพสต์

parporn เขียน:
chatchai เขียน:ขอบคุณครับอาจารย์

ดังนั้น ถ้าใครจะเปรียบเทียบ หรือ นำกำไร ของก่อนปี 53 มาเปรียบเทียบกับปี 53 เป็นต้นไป ก็คงไม่ได้เพราะคำนวณโดยใช้มาตรฐานบัญชีไม่เหมือนกัน

ต่อไป ถ้าบริษัทมีสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีที่เกิดจากผลการดำเนินงานขาดทุนในอดีต ซึ่งปรกติจะใช้ได้ภายใน 5 ปี แต่ปรากฏว่า ในอนาคต บริษัทมีกำไรไม่เพียงพอที่จะใช้สินทรัพย์นี้ได้หมดภายในระยะเวลา 5 ปี บริษัทก็ต้องนำส่วนที่เหลือมาหักเป็นภาษีเงินได้ในงวดที่หมดอายุใช่ไหมครับ
คำตอบของคำถามแรกคือ ถูกต้องค่ะ นี่เป็นปัญหาของการวิเคราะห์งบในระยะหลังนี้ เพราะมาตรฐานการบัญชีเปลี่ยนทุกปี โดยเฉพาะปี 54 เวลาที่บริษัทปรับงบการเงินย้อนหลัง อย่างมากบริษัทก็ทำแค่ 2 ปี เผลอๆ สิงปีก็ยังไม่ต้องทำเลย เพราะสภาวิชาชีพบัญชีเขาออกกฎหมายมายกเว้นให้ ดังนั้น trend analysis แทบจะกลายเป็นหมันไปแล้วค่ะ แต่หลังจากปี 2556 ไปแล้ว สถานการณ์น่าจะดีขึ้น

คำถามที่สอง ตามปกติแล้ว ถ้าบริษัทมีขาดทุน โอกาสที่บริษัทจะมีกำไรมาใช้หักกับขาดทุนนั้นถือว่ามีความเป็นไปได้น้อย ดังนั้น ถ้าไม่มีอะไรมายืนยันว่าบริษัทจะมีกำไรเกิดขึ้นใน 5 ปี ข้างหน้า บริษัทก็ไม่ควรบันทึก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีค่ะ ถ้าบันทึก ก็ไม่น่าจะถูกต้องนัก
ขอบคุณอาจารย์มากครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 75

โพสต์

tingun เขียน:อันนี้เป็นหมายเหตุในส่วนภาษีเงินได้ 54 Q3 ของบริษัท KTC ครับ ซึ่งบริษัทมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
การตั้งหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก

รูปภาพ

อยากรบกวนถามอาจาร์ยครับว่า
1. ผลกระทบทางภาษีของรายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชีแต่มิได้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษี
จำนวน -18,896 นี่มันเกิดจากอะไรเหรอครับ มันเอาไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชีด้วยเหรอครับ
ซึ่งทำให้บริษัทเสียภาษีทางบัญชีสูงถึง 52% ไม่ใช่ 30%

2. ภาษีที่บริษัทจ่ายจริงให้สรรพากรคือยอด -116,779 ใช่ไหมครับ
แล้วค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับผลต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นและที่กลับรายการจำนวน -72,321
มันคืออะไรเหรอครับ

รอก่อนนะคะ เห็นแล้วไม่ค่อนมั่นใจเหมือนกัน เพราะดูแล้วขัดต่อสันชาตญานอย่างไรไม่รู้ กำลังเอางบการเงินมาดู กลัวตอบผิดค่ะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
airazoc
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 904
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 76

โพสต์

มาแสดงตัวว่าตามอ่านอยู่ครับ และมาเชียร์อาจารย์ด้วยครับ แหะๆ
ขอบคุณอาจารย์มากๆที่สละเวลาแวะมาตอบคำถามด้านบัญชีที่เข้าใจได้ยากให้นะครับ
สัปดาห์นี้ลงเรียน กลบัญชี ไว้ด้วยครับ :oops:
ขอขอบคุณสำหรับความรู้ทั้งในเวป และในชั้นเรียนล่วงหน้าเลยครับ :B
"In life and business, there are two cardinal sins ... The first is to act precipitously without thought, and the second is to not act at all.” – Carl Icahn
lhin
Verified User
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 77

โพสต์

ชอบมากครับกระทู้นี้ ขอบคุณอาจารย์มากครับ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 78

โพสต์

tingun เขียน:อันนี้เป็นหมายเหตุในส่วนภาษีเงินได้ 54 Q3 ของบริษัท KTC ครับ ซึ่งบริษัทมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ
การตั้งหนี้สงสัยจะสูญจำนวนมาก

รูปภาพ

อยากรบกวนถามอาจาร์ยครับว่า
1. ผลกระทบทางภาษีของรายได้และค่าใช้จ่ายทางบัญชีแต่มิได้เป็นรายได้และค่าใช้จ่ายทางภาษี
จำนวน -18,896 นี่มันเกิดจากอะไรเหรอครับ มันเอาไปรวมเป็นค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชีด้วยเหรอครับ
ซึ่งทำให้บริษัทเสียภาษีทางบัญชีสูงถึง 52% ไม่ใช่ 30%

2. ภาษีที่บริษัทจ่ายจริงให้สรรพากรคือยอด -116,779 ใช่ไหมครับ
แล้วค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่เกี่ยวข้องกับผลต่างชั่วคราวที่เกิดขึ้นและที่กลับรายการจำนวน -72,321
มันคืออะไรเหรอครับ
ดูงบการเงินแล้วค่ะ ความจริงก็ตรงไปตรงมา แต่ที่ก๋งไปชั่วขณะเพราะคาดว่าค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จะสูงกว่านี้

ตอนนี้ขออธิบายให้ฟังก่อนตอบคำถาม

สิ่งที่บริษัทแสดงให้ดูคือการกระทบยอด ค่าใช้จ่ายภาษี (ที่บันทึกในงบกำไรขาดทุน) กับ ภาษีเงินได้ที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร เราจะเห็นว่าบริษัทเริ่มแสดงตั้งแต่ตัวกำไรที่คำนวณตามบัญชี (85,208) คูณอัตราภาษี 30% ได้เป็นค่าใช้จ่ายภาษีเบื้องต้นที่คำนวณได้ (25,562) มาปรับผลกระทบของรายการที่ทำให้ค่าใช้จ่่ยภาษีเพิ่มขึ้น (18,896) จนได้มาเป็นค่่าใช้จ่ายภาษีที่แสดงในงบกำไรขาดทุน (44,458) จากนั้นบริษัทปรับค่่าใช้จ่่ายภาษีนี้ให้เป็นภาษีที่ต้องจ่ายสรรพากร (116,779) โดยเอาผลต่างอีกตัวหนึ่งจำนวน 72,321 มาปรับเพิ่ม (ผลต่่างส่วนใหญ่เกิดจากหนี้สูญที่กรมสรรพากรไม่ยอมให้นำมาหักภาษี)

นั่นหมายความว่า บริษัทนี้มีกำไรทางบัญชีต่ำเนื่องจากหนี้สูญมาก แต่กรมสรพากรยังไม่ยอมให้เอาหนี้สูญมาหักภาษี ภาษีที่ต้องจ่ายกรมสรรพากรจึงมีจำนวนสูง เมื่อเงินภาษีที่ต้องจ่ายออกสูงกว่่าค่าใช้จ่ายภาษีที่บันทึก สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอตัดบัญชีของบริษัทจึงเพิ่มขึ้นด้วยจำนวน 72,321

อธิบายเสร็จก็ตอบคำถามได้
คำถามข้อ 1 ผลกระทบทางภาษี 18,896 ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีทางบัญชีเพิ่มขึ้น เกิดจากอะไร
เนื่องจากอาจารย์ไม่ได้ไปนั่งไล่อ่านหมายเหตุประกอบงบการเงินเพื่อหาเหตุผลว่าผลต่างนี้เกิดจากอะไร ก็เลยได้แต่เดาว่าทำไมมันจึงทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีสูงขึ้น โดยทั่วไป การจะทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีสูงขึ้นเกิดจากการที่ค่าใช้จ่ายก่อนภาษีลดลง กำไรสูงขึ้น ค่าใช้จ่ายภาษีจึงสูงขึ้น หรือเกิดจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ภาษีเงินได้ DTA ที่เคยบันทึกไว้ในอดีต การด้อยค่าของ DTA ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นตรงๆ อย่างเช่นการลดอัตราภาษีเป็น 23% และ 20% จะทำให้ DTA ด้อยค่า และกลายเป็นค่่าใช้จ่ายภาษีไปในทันที (หรือบริษัทเริ่มทำการลด DTA เนื่องจากผลกระทบของอัตราภาษีใน q3?)

คำถามข้อ 2
ใช่ค่ะ จำนวน 116,779 คือยอดภาษีที่คำนวณตามประมวลรัษฎากร หรือภาษีที่เราต้องควักกระเป๋าจ่่ายกรมสรรพากร ส่วนผลต่่าง 72,321 ส่วนใหญ่เกิดจากหนี้สูญที่บริษัทตัดเป็นค่่าใช้จ่่ายไปแล้ว แต่กรมสรรพากรยังไม่ยอมให้นำมาหักภาษี ยอดภาษีที่ต้องจ่าย 116,779 จึงสูงกว่ายอดที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในงบการเงิน 44,458 (ดูจากหมายเหตุฯ 8 ค่ะ)

หวังว่าจะช่วยให้เข้่าใจมากขึ้นนะคะ

อย่างไรก็ตาม ลองตามดูงบ q4 สิคะ ว่าค่าใช้จ่ายภาษีเพิ่มขึ้นอีกเท่าไร ถ้าเพิ่มมากก็คงมาจากการตัด DTA ไปเข้าค่าใช้จ่่ายนี่แหละค่ะ
tingun
Verified User
โพสต์: 99
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 79

โพสต์

ขอบคุณอาจารย์อย่างสูงครับที่สละเวลามาตอบ :bow:
Poorest
Verified User
โพสต์: 111
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 80

โพสต์

โห สุดยอด ผมเพิ่ง DTA อันที่อาจารย์โพสหลังๆ เนี่ยแหล่ะครับ หน้าแรกๆ ผมไม่เข้าใจเลย


ขอบคุณอาจาร์ยครับ

ปล. ผมก็เป็นแฟนหนังสืออาจารย์ แต่ยังอ่านไม่จบ
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 81

โพสต์

Poorest เขียน:โห สุดยอด ผมเพิ่ง DTA อันที่อาจารย์โพสหลังๆ เนี่ยแหล่ะครับ หน้าแรกๆ ผมไม่เข้าใจเลย


ขอบคุณอาจาร์ยครับ

ปล. ผมก็เป็นแฟนหนังสืออาจารย์ แต่ยังอ่านไม่จบ
ลองกลับไปอ่านหน้าแรกๆ ใหม่สิคะ แล้วจะแปลกใจว่าทำไมมันง่ายอย่างนี้ ไม่เหมือนกับตอนที่อ่านทีแรก
มันเหมือนกับการดูหลังแหละค่ะ ตอนแรกๆ โผล่ขึ้นมา เรายังไม่เข้าใจอะไร ยิ่งตอนสู้กันหลายๆ ฝ่าย ดูไม่ออกว่าใครฆ่าใคร แล้วใครตาย แล้วทำให้เกิดอะไรขึ้น พอดูไปจนจบ ตอนนี้จำชื่อพระเอกได้ ผู้ร้ายก็จำได้ เนื้อเรืื่องก็รู้ ทีนี้ก็สนุกละ พร้อมจะดูตอนต่อไปได้ทันที :wink:
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ขอขัดจังหวะ ถามเรื่องกฎเกณฑ์ของ สรรพากรหน่อยครับ
เท่าที่ตามอ่านพอจะจับเกณฑ์ได้ว่า ทันทีที่รัฐบาลลดภาษีให้ DTA ที่ บ.มีอยู่หากมีเกิน 23% สรรพากรจะตัดยอดลงมาให้เหลือ 23% เท่านั้นใช่ไหมคับ คือผมหมายถึง บ. ไม่สามารถยืดเวลาออกไปได้ใช่ไหมครับ เช่น มียอด dta 30% สามปี แล้วยือเวลาเป็น หักที่ 23% สามปี และปีที่สี่ หัก 21% ทำนองนี้ สรรพากรไม่อนุญาต ใช่ไหมครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 83

โพสต์

jo7393 เขียน:ขอขัดจังหวะ ถามเรื่องกฎเกณฑ์ของ สรรพากรหน่อยครับ
เท่าที่ตามอ่านพอจะจับเกณฑ์ได้ว่า ทันทีที่รัฐบาลลดภาษีให้ DTA ที่ บ.มีอยู่หากมีเกิน 23% สรรพากรจะตัดยอดลงมาให้เหลือ 23% เท่านั้นใช่ไหมคับ คือผมหมายถึง บ. ไม่สามารถยืดเวลาออกไปได้ใช่ไหมครับ เช่น มียอด dta 30% สามปี แล้วยือเวลาเป็น หักที่ 23% สามปี และปีที่สี่ หัก 21% ทำนองนี้ สรรพากรไม่อนุญาต ใช่ไหมครับ
คำถามอาจดู งงๆ ถามแบบโง่ๆ หน่อยนะครับ ผมยังอ่อนเรื่องนี้อยู่มากครับ :wall: :wall:
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 84

โพสต์

jo7393 เขียน:ขอขัดจังหวะ ถามเรื่องกฎเกณฑ์ของ สรรพากรหน่อยครับ
เท่าที่ตามอ่านพอจะจับเกณฑ์ได้ว่า ทันทีที่รัฐบาลลดภาษีให้ DTA ที่ บ.มีอยู่หากมีเกิน 23% สรรพากรจะตัดยอดลงมาให้เหลือ 23% เท่านั้นใช่ไหมคับ คือผมหมายถึง บ. ไม่สามารถยืดเวลาออกไปได้ใช่ไหมครับ เช่น มียอด dta 30% สามปี แล้วยือเวลาเป็น หักที่ 23% สามปี และปีที่สี่ หัก 21% ทำนองนี้ สรรพากรไม่อนุญาต ใช่ไหมครับ
คำถามไม่งงและไม่โง่ค่ะ

จำได้ไหมคะที่ว่า ในเรื่องของภาษีเงินได้ โลกของเรามี 2 โลก

ตอนนี้เราอยู่ในโลกบัญชีนะคะ โลกบัญชีบอกว่า ถ้าเราจ่ายภาษีให้สรรพากรมากไป เราจะมีสินทรัพย์ที่ยังไม่ได้ใช้ คือ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (คล้ายว่าเราจ่ายเงินซื้อคูปองจากสรรพากรโดยที่สรรพากรไม่รู้ตัว เมื่อวันใด ภาษีกลับข้างคือ เรามีค่าใช้จ่ายภาษีสูง เราต้องเอาคูปองของเราออกมาใช้พร้อมกับเงินสดที่เราจ่ายให้สรรพากร)

ในการบันทึกสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเป็นสินทรัพย์ในงบดุลของเรา สรรพากรเขาไม่มารู้เรื่องกับเราด้วย เพราะนั่นเป็นวิธีการบันทึกบัญชีให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไรในบริษัท

แต่ประเด็นที่คนอาจจะงงก็คือ ไอ้สินทรัพย์ภาษีของเรานั้นทำไมจึงยืดๆ หดๆ ตามอัตราภาษีในอนาคต

เหตุผลก็เพราะ ในกระบวนการบันทึกสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของบริษัท บริษัทต้องตัดสินใจในขณะที่บันทึกว่า สินทรัพย์ภาษีนี้จะมีจำนวนเป็นเท่าไร โดยคำนึงถึงประเด็นหลัก 2 ประเด็น นั่นคือ
1. เมื่อไร สรรพากรจึงจะยอมให้เรานำหนี้สูญมาหักภาษี (เมื่อนั้นเราก็สามารถเอาคูปองภาษีของเราออกมาใช้)
2. เมื่อวันที่เราสามารถเอาคูปองออกมาใช้ อัตราภาษีสำหรับคูปองรายการนี้จะเป็นเท่าไร

ในประเด็นแรก สรรพากรจะยอมให้เราเอาหนี้สูญมาหักภาษีเมื่อเราทวงถามลูกหนี้จนถึงที่สุด การคาดการณ์ตรงนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของบริษัท บริษัทต้องทำการคาดการณ์ว่า บริษัทได้ดำเนินการทวงถามลูกหนี้แต่ละรายหรือแต่ละกลุ่มไปในระดับไหน และประมาณว่าเมื่อไร บริษัทจะสามารถนำหนี้สูญมาหักภาษี (และสรรพากรจะยอมรับ) สมมุติว่า บริษัทคาดการณ์ว่า หนี้สูญจำนวน 100 บาท (ที่บริษัทตัดค่าใช้จ่ายไปแล้ว) บริษัทจะดำเนินการตามกฎสรรพากรจนสามารถนำมาหักภาษีได้ในปี 2557

เมื่อจบประเด็นแรกแล้ว ทีนี้ก็ง่าย เพราะบริษัทสามารถตอบประเด็นที่สองได้ในทันทีว่า เมื่อถึงปี 2557 อัตราภาษีตามที่คาดการณ์ไว้คือ 20%

สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีที่บริษัทบันทึก จึงควรมีจำนวนเท่ากับ 20 บาท เพราะบริษัทมีคูปองอยู่เท่านั้นจริงๆ และจะใช้คูปองนี้เกินกว่ามูลค่า 20 บาทไม่ได้ (คือหนี้สูญนำมาหักภาษีได้แค่ 20%) บริษัทจะบันทึกสินทรัพย์เท่ากับ 30 บาท ตามอัตราภาษีปัจจุบันไม่ได้ แต่ต้องบันทึกสินทรัพย์ตามอัตราภาษีที่บริษัทคาดว่าสินทรัพย์ภาษีจะกลับรายการ (หรือเมื่อบริษัทนำคูปองมาใช้)

กลับมาที่ตัวอย่างเดิม สมมุติว่าบริษัทคาดว่่า หนี้สูญนี้ จะกลับบัญชีในปี 2556 ซึ่งอัตราภาษีเป็น 23% บริษัทก็ต้องบันทึกสินทรัพย์ภาษีเท่ากับ 23 บาท ไม่ใช่ 20 บาท ไม่ใช่ 30 บาท

ตามทันไหมคะ?

ทีนี้มาตอบคำถามของคุณ การบันทึกสินทรัพย์รอการตัดบัญชีด้วยจำนวนเท่าไรเป็นเรื่องของการคาดการณ์ตามกระบวนการเก็บหนี้ของบริษัทและอัตราภาษีที่คาดว่าจะเกิดเมื่อกระบวนการเก็บหนี้ของลูกหนี้แต่ละรายเสร็จสิ้นลง

แต่การนำหนี้สูญมาหักภาษี (เพื่อจ่ายภาษี) ขึ้นอยู่กับการปฎิบัติของบริษัท บริษัทสามารถยืดหดการนำหนี้สูญมาหักภาษีได้ในระดับหนึ่ง แต่ตามปกติแล้ว บริษัทจะพยายามนำหนี้สูญมาหักภาษีให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะจะได้ประหยัด cash flow ยิ่งตอนนี้บริษัทยิ่งอยากเอาหนี้สูญมาหักภาษียิ่งเร็ว เพราะถ้าช้าไปจนอัตราภาษีเหลือ 20% บริษัทยิ่งเสียประโยชน์ในการประหยัด cash flow

เรื่องว่าเมื่อไรบริษัทจะนำหนี้สูญมาหักภาษีนั้น กรมสรรพากรเขาไม่มายุ่งเกี่ยวกับบริษัท กรมสรรพากรจะเข้ามาเกี่ยวเฉพาะเมื่อตอนที่พิจารณาว่า หนี้สูญที่บริษัทนำมาหักภาษีนั้น บริษัทได้ปฎิบัติตามประมวลรัษฎากรหรือยังตามความคิดของสรรพากร ถ้ายัง สรรพากรก็จะไม่ยอมให้นำมาหักภาษีในเวลานั้น (คือให้ยืดเวลาออกไปอีก) (โดยเฉพาะตอนที่อธิบดีกรมสรรพากรต้องการแสดงผลงานให้นายกฯ เห็นเพื่อจะได้เลื่อนขั้นเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง บริษัทก็อาจต้องนำหนี้สูญมาบวกกลับมากขึ้น)

กลับมาเรื่องประเด็นการลดภาษีของรัฐบาล

ปัญหาของบริษัทในปีที่แล้วคือ ตอนที่บริษัทบันทึกสินทรัพย์ บริษัทไม่ทราบว่ารัฐบาลจะลดอัตราภาษี บริษัทจึงบันทึกสินทรัพย์ไว้ตามอัตราภาษีที่คาดว่าจะเป็นเมื่อสินทรัพย์กลับบัญชี นั่นคือ 30% ต่อมาอีกไม่กี่เดือน รัฐบาลก็ออกกฎหมายลดภาษี สินทรัพย์ภาษีที่บันทึกไว้ที่ 30 บาท จึงถือว่าบันทึกสูงเกินจริง (ซึ่งมีผลทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีในงวดนั้นต่ำเกินจริง เพราะบัญชีสินทรัพย์ภาษีกับค่่าใช้จ่่ายภาษีสัมพันธ์กัน เหมือนบัญชีอาคารกับค่าเสื่อมราคาอาคาร) บริษัทจึงต้องปรับลดสินทรัพย์ภาษีไปเข้าค่าใช้จ่ายภาษี อย่างที่อาจารย์พูดมาตลอดว่าสินทรัพย์ภาษีด้อยค่าลงไป 7 หรือ 10 บาท และบริษัทต้องตัดสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีเป็นค่าใช้จ่ายภาษีทันทีที่สินทรัพย์ด้อยค่าลง (โดนมาตรฐานการบัญชีบังคับค่ะ)

หวังว่าคงกระจ่างนะคะ

รู้สึกว่าเรื่องเกี่ยวกับภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีนี้เริ่มคลี่คลายไปทีละเปลาะ เหมือนหนังสืบสวนสอบสวนเลย
wj
Verified User
โพสต์: 1255
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 85

โพสต์

อย่าคิดกันให้ยากครับ defer tax นั้นมีสองส่วนคือด้าน A และ L
ด้าน L อย่างของ MBK ก็เพื่อที่จะแสดงฐานะของบริษัทให้สะท้อนมูลค่าในปัจจุบันเท่านั้นเอง แต่ในความเป็นจริง(ทั้งในด้านกำไรจริงๆ และ การเสียภาษีจรงิๆ) คงต้องรอให้ MBK ขายสินทรัพย์ที่ถูกประเมินนั้นออกไปจริงๆ
ดังนั้น defer tax จะมีตัวตนจริงๆก็ต่อเมื่อทำรายการนั้นไปแล้ว

ด้าน A ก็เหมือนกัน จะแสดงภาษีหรือกำไร ก็ต่อเมื่อได้ทำรายการนั้นไปแล้ว เช่า ถ้าเป็นหนี้สงสัยจะสูญ ทางบัญชีให้เป็นรายจ่าย ทางสรรพากรไม่ให้เป็นรายจ่าย ผมว่ามันเป็นธรรมชาติเลยว่า ไม่ควรเป็นรายจ่าย เพราะทางรัฐบาลต้องป้องกันไม่ให้บริษัททั้งหลายคิดจะใช้ช่องทางนี้เพื่อยืดเวลาหรือหลบการเสียภาษี รัฐจำเป็นต้องตีเป็นรายจ่ายเมื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นหนี้สูญจริงๆ จึงทำให้เกิด defer tax ขึ้น

แล้วจะคิดอย่างไรให้ง่ายๆ?
ก็คิดว่า defer tax ไม่มีในโลก

ในรูปผมเอากรณีที่ คุณ chatchai ถามอาจารย์

เราไม่ต้องไปนึกถึงเรื่อง defer tax แต่ให้นึกถึงเรื่อง รายจ่าย(ที่เป็นหนี้เสียที่เกิดขึ้น)
ทำให้เราสามารถคำนวณกำไรขาดทุนและภาษีได้ตามปกติ

ส่วนการขาดทุนของ advanc เรื่อง defer tax นั้นต่างกับกลุ่มการเงิน เพราะการเงินต้องทำแบบนี้ตั้งแต่เริ่มแรก
แต่ advanc เพิ่มมาทำในปี 54 เพราะมาตรฐานบัญชี

ให้ดูในรูปที่วงไว้ ลักษณะของ advanc คือ ตัดเป็นค่าใช้จ่ายไปแล้ว(และได้ลดภาษีด้วย)แต่ใช้ได้จริงต่ำกว่า ทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่ม
แต่ของกลุ่มการเงินคือตัดเป็นค่าใช้จ่ายแต่ไม่ได้นำไปลดภาษี

ถ้าอาจารย์ได้อ่านขอคำชี้แนะอีกรอบครับ (ผมปัญญาน้อยครับอ่านหนังสือบัญชีไม่รู้เรื่อง เพราะติดเรื่อง เครดิต และเดบิต ไม่เข้าใจ 2 คำนี้จริงๆ เลยต้องใช้การเรียนบัญชีแบบธรรมชาติ รายได้-รายจ่าย=กำไร)
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 86

โพสต์

พอจะเห็นภาพแล้วครับ อ. ขอบคุณคับ
เดวต้องอ่านซ้ำหลายๆรอบ :D
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
subdee2009
Verified User
โพสต์: 23
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 87

โพสต์

บทความนี้เกี่ยวกับdefer tax. คะเขียนไว้ค่อนข้างละ้อียดเลยค่ะ :D :D :D

http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/exe ... f/aw15.pdf
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 88

โพสต์

อืม แล้วบริษัทที่ผมถือหุ้นอยู่ ผมจะไปดู defer tax ตรงไหน

เพื่อจะได้รู้ว่า จะมีขาดทุน จาก defer tax มากน้อยแค่ไหน

ขอบคุณครับ
nattawutw
Verified User
โพสต์: 273
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 89

โพสต์

อ่านหลายๆรอบ พอเข้าใจแล้วครับ
ขอบคุณอาจารย์มากๆครับ ที่สละเวลามาสอนพวกเรา :D :D :D
Expect the Unexpected.
parporn
Verified User
โพสต์: 231
ผู้ติดตาม: 0

Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4

โพสต์ที่ 90

โพสต์

ตอบคุณ wj

จากคำถามที่ถามเข้ามา ถึงได้คิดว่่า ภาษีเงินได้ตัดบัญชีนี่ก็เหมือนกับช้าง!

ตัวมันใหญ่มาก จับเจอหูก็ว่าหู จับเจอหางก็ว่าหาง แต่จะบอกว่่าหูหรือหางคือช้างทั้งตัวนั้น ก็ไม่ถูกนัก

จริงอยู่ที่ตามปกติแล้ว การลดลงของ DTA มักมีผลกระทบกับค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ และการลดลงของ DTL มักมีผลกระทบกับส่วนทุน

แต่ก็ไม่แน่เสมอไป (แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นอย่่างนั้น)

ตัวอย่างของ DTL ที่มีผลกระทบกับค่่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ก็เช่น DTL ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงมูลค่าของเงินลงทุนเพื่อค้า

เงินลงทุนเพื่อค้า คือ หุ้นที่บริษัทซื้อไว้เพื่อ trade และเข้าเงื่อนไขเป็นการ trade

สมมุติว่าต้นเดือนธันวาคม บริษัทซื้อหุ้นในตลาดมาด้วยราคา 100 บาท พอสิ้นเดือนธันวาซึ่งเป็นวันปิดงวด ราคาหุ้นขึ้นไปเป็น 200 บาท บริษัทเกิดกำไรจากการที่ราคาหุ้นขึ้น 100 บาท (เรียกกำไรที่ยังไม่เกิดจริงจากการปรับมูลค่่าเงินลงทุนเพื่อค้า) บริษัทต้องบันทึกกำไรที่เกิดขึ้นจำนวน 100 บาทในงบกำไรขาดทุน ทำให้ค่าใช้จ่ายภาษีเพิ่มขึ้น 30 บาท ในขณะเดียวกัน บริษัทก็ต้องบันทึก DTL ด้วยจำนวน 30 บาท ไปพร้อมกัน (สมมุติอัตราภาษีในขณะนั้นเป็น 30%)

เหตุผลก็เพราะ กำไรที่เกิดขึ้นนี้กรมสรรพากรเขายังไม่เรียกเก็บภาษี ดังนั้น ภาษีที่บริษัทจ่ายกรมสรรพากรจึงต่ำกว่าค่าใช้จ่ายภาษีที่บันทึกในงบกำไรขาดทุน เมื่อบริษัทจ่ายเงินน้อยกว่าค่าใช้จ่าย DTL ก็เกิดขึ้น

ทีนี้ถ้าอัตราภาษีเกิดลดลง ผลที่เกิดขึ้นคือ DTL จะลดลงทันที ทั้งนี้เนื่ิองจาก เมื่อบริษัทขายหุ้นออกไปและนำกำไรไปจ่ายภาษี อัตราภาษีจะลดลงเหลือ (สมมุติว่า 20%) นั่นหมายความว่า บริษัทติดภาษีกรมสรรพากรเพียง 20 บาท ไม่ใช่ 30 บาท บริษัทจึงสามารถปรับหนี้สินลง 10 บาท แล้วนำไปลดค่าใช้จ่ายภาษีลง 10 บาท

เงินลงทุนเพื่อค้าเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่า การลดลงของ DTL ไม่จำเป็นต้องมีผลกระทบต่อส่วนทุนเสมอไป แม้ว่าผลกระทบส่วนใหญ่จะเป็นเช่นนั้น (ที่จริง นักลงทุนจะรู้เพียงว่า ถ้า DTL ลดลง ส่วนทุนจะลด ก็น่าที่จะเพียงพอต่อการนำไปใช้ประโยชน์ แต่การที่จะให้คนระดับอาจารย์ออกมาพูดอย่างนั้น เดี๋ยวลูกศิษย์ลูกหานักบัญชีที่เข้ามาอ่านใน web นี้ จะเข้าใจผิด)

นิดหนึ่งนะคะ... ตั้งแต่อธิบายมา (เป็นเวลาหลายวัน) อาจารย์ยังไม่ได้ใช้คำว่าเดบิตหรือเครดิตสักครั้งหนึ่ง นั่นก็เพราะรู้ว่า อาจารย์กำลังอธิบายให้นักลงทุนฟัง นี่ถ้าเป็นการอธิบายให้นักบัญชีฟังละก็ ลองอ่านบทความที่อาจารย์ท่านอื่นเขียน นั่นแหละค่ะ เขาเขียนไว้ให้นักบัญชีอ่าน

เอาใจกันขนาดนี้ แล้วคุณจะว่าอย่่างไร?