ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

บทความต่างๆที่ตีพิมพ์ใน ThaiVI คุณสามารถแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม

โพสต์ โพสต์
ภาพประจำตัวสมาชิก
little wing
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 187
ผู้ติดตาม: 0

ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 1

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

โลกในมุมมองของ Value Investor         25 กุมภาพันธ์ 55 
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

	การลงทุนในหุ้นนั้น หลายๆคนมักจะรู้สึกเครียดและมีกังวลอยู่ตลอดเวลา เขากลัวว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดในประเทศไทยหรือในโลกนี้ซึ่งจะทำให้หุ้นตกทั้งตลาดและทำให้หุ้นเขาตกลงไปด้วย เขากังวลว่าหุ้นตัวที่เขาถืออยู่อาจจะมีปัญหาหรือมีเหตุการณ์ไม่ดีซึ่งทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนักและทำให้เขาขาดทุนมากมายอย่าง “ไม่คาดฝัน” การลงทุนในหุ้นดูเหมือนว่าจะมี “ต้นทุน” ที่ไม่ใช่ตัวเงินแฝงอยู่นั่นก็คือ ความกังวลและความไม่สบายใจ และนั่นอาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราซื้อๆขายๆ หุ้นบ่อยเพื่อ “ลดความไม่สบายใจ” ในสถานการณ์ที่ “ไม่แน่นอน” แต่นี่มักจะทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของเราลดลงในระยะยาว คำถามก็คือ จะทำอย่างไรถึงจะทำให้เราสามารถลงทุนอย่างสบายใจได้?

	สูตรการลงทุนอย่างสบายใจของผมก็คือ ข้อแรก จงตั้งความหวังผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในหุ้นให้เหมาะสมนั่นก็คือ ผลตอบแทนทบต้นต่อปีเฉลี่ยประมาณ 10%  ถ้าเราคิดว่าเรามีความสามารถสูงมาก ก็อาจจะตั้งความหวังได้สูงขึ้น แต่สูงสุดไม่ควรเกิน 15% ต่อปี โดยคำว่าระยะยาวของผมนั้นจะต้องยาวไม่ต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไป การตั้งความหวังที่เหมาะสมนั้นจะทำให้เรามีโอกาสบรรลุผลได้ไม่ยากเกินไปซึ่งจะทำให้เราไม่ต้อง “เร่ง”  ผลตอบแทนโดยวิธีการต่างๆ ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ไม่ต้องเล่น “หุ้นร้อน” หรือ ไม่ต้องใช้มาร์จินในการซื้อขายหุ้น เป็นต้น ซึ่งทำให้เราสามารถลงทุนหุ้นได้แบบ “ชิว ๆ”  

	ข้อสอง เลือกซื้อหุ้นที่เน้นความปลอดภัยของตัวกิจการเป็นหลัก นี่คือหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงช้าในด้านของธุรกิจ เป็นกิจการที่ไม่ล้ำสมัยแต่ไม่ล้าสมัย เป็นกิจการที่เป็น “ผู้นำ” มีฐานะทางการเงินดี และถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็คือ เป็นกิจการที่เราเองมีโอกาสได้พบเห็นหรือได้ใช้บริการเป็นประจำ

	ข้อสาม ต้องมีการกระจายความเสี่ยงในการถือหุ้นอย่างเหมาะสม นั่นก็คือ ถ้ามีเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป ก็ควรต้องมีหุ้นอย่างน้อยประมาณ 5 ตัวโดยที่ตัวใหญ่สุดไม่ควรจะเกิน 30% ของพอร์ต นอกจากนั้น ควรจะถือหุ้นในหลายๆ อุตสาหกรรม แต่ถ้ามีเงินลงทุนค่อนข้างมากเช่นเป็น  10 ล้านบาทขึ้นไป หุ้นที่ลงก็อาจจะมากขึ้นไปได้ แต่ก็ต้องไม่มากจนเกินไป เพราะมิฉะนั้นเราก็อาจจะมีหุ้นที่เป็น “เบี้ยหัวแตก” ที่ทำให้เราขาดการเอาใจใส่และทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของเราด้อยลงไปได้ โดยทั่วไปแล้ว ผมคิดว่าถ้ามีเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท ก็ไม่ควรถือหุ้นเกิน 10-15 ตัว

	ข้อสี่ เราควรพยายามตั้งเป็นกฎคร่าวๆ ว่าในแต่ละปีเราจะมีการซื้อขายหุ้นไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ตการลงทุน กฎง่ายๆ ของผมก็คือ ปริมาณการซื้อขายหุ้นของเราในแต่ละปีไม่ควรจะเกิน 2 เท่าของขนาดของพอร์ตของเรา เช่น ถ้าพอร์ตของเราเท่ากับ 1 ล้านบาทในตอนต้นปี เราควรซื้อขายหุ้นในปีนั้นไม่เกิน 2 ล้านบาท นั่นแปลว่า เราจะถือหุ้นแต่ละตัวเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยเฉลี่ย ถ้าเราซื้อขายหุ้นมากกว่านั้นก็แสดงว่าเราอาจจะถือหุ้นสั้นเกินไปและอาจจะหมายความว่าเราเป็น “นักเก็งกำไร” แทนที่จะเป็น “นักลงทุน”  และประเด็นของผมก็คือ การเป็นนักเก็งกำไรนั้น ก่อให้เกิดความตึงเครียดสูงกว่านักลงทุนมาก

	ข้อห้า อย่าสนใจการขึ้นหรือลงของหุ้นแต่ละตัวมากนัก พยายามมองภาพรวมของพอร์ตหุ้นว่าเติบโตขึ้นหรือลดลง การไปเน้นดูหุ้นแต่ละตัวก่อให้เกิดความเครียดเพราะเราจะพบหุ้นที่มีราคาตกลงไปมากและอาจจะพยายามไปทำอะไรกับมันที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดผลดี ที่สำคัญก็คือ อย่าไปดูราคาหุ้นทุกตัวทุกวัน วิธีที่ผมแนะนำก็คือ ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน  เราก็คำนวณดูว่าพอร์ตการลงทุนของเราเป็นเท่าไรโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่มากมาย โดยการดูเป็นพอร์ตนี้ เราก็จะเห็นว่าความผันผวนมันน้อยลงเมื่อเทียบกับหุ้นแต่ละตัว   และนี่ทำให้เราเครียดน้อยลง และถ้าเราลงทุนเลือกหุ้นได้ถูกต้องโดยเฉลี่ย เราก็ควรจะเห็นพอร์ตของเราโตขึ้นอย่างช้าๆ และมั่นคงเมื่อเวลาผ่านไป

	ข้อหก การที่เราจะทำอะไรกับหุ้นแต่ละตัวนั้น ไม่ควรจะเน้นไปที่ด้านของราคาหุ้นรายวัน สิ่งที่เราควรทำก็คือ ทุกไตรมาศ เราต้องติดตามดูว่าผลประกอบการของบริษัทเป็นอย่างไร มันเป็นไปอย่างที่เราคาดไว้ไหม? เช่น ดีขึ้น ดีขึ้นมาก แย่ลง แย่ลงมาก เพราะอะไร? จากนั้นก็สามารถนำมาตัดสินได้ว่าเราจะทำอะไรกับหุ้น โดยปกติถ้าเราลงทุนหุ้นถูกตัวแล้ว ส่วนใหญ่เราก็มักจะไม่ต้องทำอะไร แต่ในบางกรณีที่เราคาดการณ์ผิด เราก็อาจจะขายทิ้งได้ เช่นเดียวกัน บางครั้งเราก็อาจจะซื้อเพิ่ม โดยวิธีนี้ เราก็ไม่ต้องกังวลเป็นรายวันกับราคาของหุ้นมากนัก

	ข้อเจ็ด เมื่อเราได้รับปันผลมา  อย่านำเงินไปใช้หรือเอาออกจากพอร์ตถ้าไม่จำเป็น นำปันผลนั้นกลับไปซื้อหุ้นกลับเข้าพอร์ตเพื่อทำพอร์ตให้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเป็นหลักการลงทุนแบบทบต้นซึ่งจะทำให้พอร์ตโตเร็วขึ้นแบบทวีคูณ เป้าหมายของเราควรจะตั้งไว้ว่าเราต้องการสร้างพอร์ตนี้เพื่อเป็นเงินเพื่อการเกษียณหรือเป็นเงินมรดกเพื่อลูกหลาน เงินที่เราจะนำไปใช้จ่ายนั้นควรเป็นเงินที่เราทำมาหาได้จากน้ำพักน้ำแรงมากกว่า ถ้าคิดได้แบบนี้ เราก็จะสบายใจว่านี่เป็น “เงินเย็น” ที่จะอยู่กับเราต่อไปอีกนานเราจะเครียดน้อยลง

	ข้อแปด ทุกปี เราต้องคำนวณหาผลตอบแทนประจำปีดูว่าเราทำได้เท่าไรเทียบกับผลตอบแทนของตลาดและเทียบกับเป้าหมายระยะยาวของเราซึ่งก็คือ 10-15% ที่เราตั้งไว้ ถ้าเราทำได้ดีกว่าตลาดและดีกว่าเป้า เราก็ควรจะดีใจโดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น  ถ้าเราทำได้แพ้ตลาดแต่ยังทำได้ตามเป้าเราก็ยังควรจะดีใจเพราะในไม่ช้าเป้าหมายระยะยาวของเราก็ไปได้ถึง แต่ถ้าเราแพ้ทั้งตลาดและก็ไม่ได้ตามเป้าส่วนตัวของเรา เราก็อาจจะเสียใจบ้างแต่ก็ควรจะดูต่อไปว่าปันผลที่ได้รับในปีนั้นของเราเพิ่มขึ้นหรือไม่ ถ้ามันยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน นั่นก็อาจจะเป็นเครื่องปลอบเราว่าที่จริงการลงทุนของเรานั้นไม่ได้ผิดพลาด มันยังก้าวหน้าไป เพียงแต่ในระยะสั้นๆ ตลาดหุ้นอาจจะไม่เป็นใจทำให้ราคามันลดลง แต่ในอนาคต มันก็คงจะปรับตัวขึ้นไปได้ไม่ยาก ว่าที่จริง ในระยะยาวจริงๆแล้ว ปันผลนั้นถือว่าเป็นเครื่องวัดที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่งว่า เราลงทุนได้ถูกต้องหรือเปล่า ถ้าปันผลเพิ่มขึ้นทุกปีในอัตราที่น่าประทับใจ เราก็ไม่มีอะไรต้องวิตกเลย

	ทั้งหมดนั้นก็เป็นกลวิธีการลงทุนที่จะทำให้เรามีความสบายใจ ใช้เวลาไม่มาก ไม่เครียด และได้ผลดี โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีงานประจำเต็มเวลา การลงทุนแบบนี้เปรียบไปก็จะคล้ายๆ กับการปลูกต้นไม้ใหญ่ยืนต้นที่เราเฝ้าดูแลมันเติบโตขึ้นช้าๆ แต่มั่นคง โดยที่เราไม่ต้องเร่งมัน แต่เมื่อถึงวันหนึ่ง เราก็จะได้อาศัยร่มเงาและผลของมันมากินได้ต่อเนื่องยาวนานและเป็นที่พึ่งของเราได้
[/size]
hai1971
Verified User
โพสต์: 12
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ขอบคุณครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
magicbank
Verified User
โพสต์: 26
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 3

โพสต์

ขอบคุณครับ :D

ตัวผมเองอย่างน้อยต้องเช็คหุ้นวันละครั้ง มันทำใจไม่ได้จริงๆ ถ้าไม่ได้รู้ว่าวันนี้เรากำไรหรือขาดทุนเท่าไหร่ ทั้งๆที่นานๆจะซื้อจะขายที แสดงว่ายังห่างไกลนัก :wink:
Sumeth6
Verified User
โพสต์: 625
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 4

โพสต์

ขอบคุณครับ
อาจารย์สรุปมาให้เรียบร้อย ตรงจุด เอาไปใช้ได้เลย ... :D
ภาพประจำตัวสมาชิก
meditate
Verified User
โพสต์: 179
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ขอบคุณมากครับ
สุดท้ายคือ"ไม่มี"
harikung
Verified User
โพสต์: 2232
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เป็น1ในบทความที่ผมชอบที่สุดในระยะหลังๆเลย(จริงๆดีหมดทุกอันแหล่ะครับ)
นักเลงคีย์บอร์ด4.0
yy
Verified User
โพสต์: 6427
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 7

โพสต์

นี่คือสุดยอดของเคล็ดวิชา Port Management ที่หลายๆคนถามหาครับ
ผมขอเอาไว้เป็นคัมภีร์ที่ต้องฝึกปฎิบัติ :bow: :bow: :bow:
คนที่รู้ว่าตัวเองยังไม่รู้ ย่อมมีโอกาสเรียนรู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
canuseeme
Verified User
โพสต์: 302
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 8

โพสต์

บท นี้โดน มากครับ

มิน่า ลงทุน แล้ว ยังรู้สึกแปลก ๆ
เพราะ ไป ลงความคาดหวัง ไว้ ซะเกิน เงินทุนนี้ เองเรา
ปัญญาไม่มีในผู้ไม่พิจารณา

There is no fate but what we make

https://www.facebook.com/pages/คัดหุ้นซวย
woodooshy
Verified User
โพสต์: 185
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 9

โพสต์

:D
ลงทุนในความรู้ นำไปสู่อิสระภาพทางการเงิน

ลงทุนในบุญกุศล นำไปสู่อิสระภาพทางใจ
Tamจัง
Verified User
โพสต์: 189
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 10

โพสต์

ขอบคุณดร.มากๆที่มีบทความดีๆมาเตือนสติอยู่เสมอ
โดยเฉพาะบทความนี้ดึงสติกลับออกมาจากตลาดอันผันผวนได้มาก
ภาพประจำตัวสมาชิก
sai
Verified User
โพสต์: 4090
ผู้ติดตาม: 2

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ขอบพระคุณอาจารย์มากครับ พอคิดว่า คู่แข่งที่สำคัญที่สุด คือตัวเราในอดีต ก็รู้สึกสบายใจในการลงทุนมากขึ้นทีเดียวครับ :D
Small Details Make a Big Difference
pakhakorn
Verified User
โพสต์: 957
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 12

โพสต์

ปีที่แล้ว รู้สึกสงบและเย็นลงกว่าปีก่อนหน้านั้น(ที่ทั้งขวัญอ่อนและโลภจริงๆ) หวังว่าปีนี้จะได้รู้จักตัวเองมากขึ้น จะได้บริหารจัดการความโลภกับความกลัวตัวเองได้ดีขึ้น และจะได้รู้จักหรือรู้สึก "ลงทุนอย่างบายใจ" กับเขาบ้าง

แนวทางที่แนะนำ จากบทสรุปที่ตกผลึกแล้ว ดีจริงๆ

ขอบคุณท่านดร. มากๆ ครับ :bow: :bow: :bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
simpleBE
Verified User
โพสต์: 2333
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เหมือนรู้ใจเลย
กำลังอยากได้คำตอบอยู่พอดี
ขอบคุณครับอาจารย์
:bow:
imerlot
Verified User
โพสต์: 2686
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 14

โพสต์

...อ่านเพิ่มของเก่า ในเรื่องคล้ายๆกัน ของ ดร. ครับ.

http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=47918
Post subject: เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
PostPosted: Sat May 21, 2011 8:56 pm

โลกในมุมมองของ Value Investor 21 พฤษภาคม
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

การลงทุนหรือเล่นหุ้นในตลาดนั้น ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดมักรู้สึกว่าเป็นเรื่องที่เหนื่อยและ เครียด โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็น “ขาลง” อย่างไรก็ตาม แต่ละคนน่าจะมีอาการดังกล่าวไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับวิธีการและเป้าหมายในการ ลงทุน ลองมาดูกันว่าการลงทุนหรือเล่นหุ้นแบบไหนจะทำให้เหนื่อยและเครียดกว่าปกติ

เรื่องแรกที่ผมเห็นว่าเป็นตัวทำให้รู้สึกเหนื่อยและเครียดมากก็คือ การพยายามทำ “ผลตอบแทนสูงสุด” นั่นก็คือ เขาพยายามทำผลตอบแทนสูงสุดในเวลาอันสั้น คนที่คิดและทำแบบนี้มักจะเหนื่อยหนักและเครียดจัด เพราะในบางช่วงบางตอนของชีวิตสิ่งต่าง ๆ อาจไม่เป็นไปตามที่คาด ตัวอย่างของเซียนระดับโลกที่ใช้กลยุทธ์นี้คนแรกก็คือ เจสซี ลิเวอร์มอร์ นักเก็งกำไรระดับโลก ซึ่งซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีระดับของความผันผวนของราคาสูงมากเช่นพวกสินค้า โภคภัณฑ์โดยใช้มาร์จินหรือการกู้เต็มที่และทุ่มเงินทั้งหมดลงในการลงทุน เพียงตัวเดียวไม่มีการกระจายความเสี่ยง ผลก็คือ ในบางช่วงบางตอนเขาสร้างกำไรหรือผลตอบแทนน่าจะเป็นพัน ๆ เปอร์เซ็นต์ในเวลาอันสั้นและทำให้เขาเป็นมหาเศรษฐี เป็น “เซเลบ” ระดับชาติในเวลาข้ามคืน แต่ในบางช่วงที่เขาคาดผิดหรือเหตุการณ์ไม่เอื้ออำนวย เขาก็ขาดทุนอย่างหนักจนล้มละลายภายในเวลาอันสั้นเช่นเดียวกัน ผลก็คือ เขาเหนื่อยและเครียดจัด และหลังจากการร่ำรวยเป็นมหาเศรษฐีและการเป็นคนล้มละลายประมาณ 3 รอบ เขาก็ฆ่าตัวตาย ทิ้งไว้แต่ตำนานของการเป็น “นักเก็งกำไรสุดยอด” ของโลกคนหนึ่ง

ในแวดวงของเซียนหุ้นแบบ VI ระดับโลกนั้น ชื่อของ ปีเตอร์ ลินช์ เป็นตำนานของผู้บริหารกองทุนรวมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกคนหนึ่ง ผลงานการลงทุนของเขาก็คือ เขาทำได้ปีละประมาณ 30% แบบทบต้นเป็นเวลาติดต่อกันประมาณ 13 ปี นี่เป็นผลตอบแทนที่สูงลิ่วจนไม่น่าเชื่อ แต่ ปีเตอร์ ลินช์ บอกว่าเขาต้องแลกมาด้วยชีวิตส่วนตัวที่เหนื่อยหนักแทบไม่มีเวลาพัก ไม่มีเวลาให้กับลูก ๆ ที่กำลังโต และเขากลัวว่าเขาอาจจะต้องตาย “ก่อนวัยอันควร” เนื่องจากการทำงานที่หนักเกินไป ซึ่งทำให้เขาตัดสินใจ “เกษียณก่อนกำหนด” และกลายเป็นตำนานที่ยืนยงต่อมาจนถึงทุกวันนี้

บิล มิลเลอร์ ผู้บริหารกองทุนอีกคนหนึ่งที่เน้นการลงทุนในหุ้นไฮเท็คที่มีราคาหวือหวาและ เป็นหุ้นที่ “เก็งกำไรสุด ๆ” โดยเฉพาะในช่วง 10 ปี ของทศวรรษ 1990 นี่ก็เป็นกลยุทธ์ที่ “เหนื่อยหนัก” เพราะหุ้นไฮเท็คนั้นเวลาที่ดีอาจจะดีสุดยอด แต่เวลาตกนั้นก็จะตกแบบน่าใจหาย ผลก็คือ ในช่วงที่ดีนับเป็นเวลาน่าจะเป็นสิบปี บิล มิลเลอร์ สามารถสร้างผลตอบแทนให้กับกองทุนได้สูงมากยิ่งกว่าของ ปีเตอร์ ลินช์ และกำลังจะกลายเป็นตำนานในระดับเดียวกัน โชคไม่ดี ฟองสบู่หุ้นไฮเท็คแตกเสียก่อน ทำให้ชื่อเสียงของมิลเลอร์ ตกต่ำลงไปและอาจจะทำให้เขาเป็นเพียงคนที่ “เคยเป็นเซียน”

กลับมาที่นักลงทุนธรรมดาในบ้านเรา ผมคิดว่าคนที่หวังรวยเร็วและอาจได้เห็นตัวอย่างของเพื่อนหรือ “เซียน” หุ้นที่มีชื่อเสียงที่สามารถสร้างผลตอบแทนการลงทุนได้มโหฬารอย่างไม่น่า เชื่อในเวลาอันสั้น จึงหาทางเพิ่มผลตอบแทนของตนโดยการซื้อขายหุ้นที่เป็นหุ้นเก็งกำไรที่มีความ ผันผวนของราคาสูง ในเวลาเดียวกันก็ใช้มาร์จินในการลงทุนเต็มที่ และในเวลาเดียวกันไม่มีการกระจายความเสี่ยงที่เพียงพอ ทุ่มเงินซื้อหุ้นเพียงตัวสองตัว การลงทุนแบบนี้ ในภาวะที่ตนเองคาดการณ์ถูกและสถานการณ์เอื้ออำนวย ผลตอบแทนก็จะสูงลิ่วและอาจจะทำให้ “รวยไปเลย” อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ตรงกันข้าม เขาก็อาจจะ “แย่ไปเลย” แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ความเหนื่อยและความเครียดน่าจะมีอยู่ตลอดเวลา จิตใจและอารมณ์อาจจะผูกพันอยู่กับการขึ้นลงของราคาหุ้น ผมเองไม่แน่ใจว่าความสุขที่ได้จากการขึ้นของราคาหุ้นจะสามารถชดเชยกับความ กังวลและความเครียดที่หุ้นตกลงมาจะคุ้มไหมโดยเฉพาะถ้าผลตอบแทนก็ไม่ได้สูง กว่าปกติไปมากมายนัก

คนที่ตั้งความหวังการลงทุนสูงกว่า 10-15% ต่อปีโดยเฉลี่ยแบบทบต้น เช่นหวังถึงปีละ 25-30 หรือแม้แต่ 40-50% ต่อปี คนที่หวังจะมีเงินที่ได้จากการลงทุนเป็น 10 100 หรือ 1000 ล้านบาท หรือตั้งเป้าจะมี “อิสรภาพทางการเงิน” ภายในเวลา 5-10 ปี หรือเมื่อตนเองอายุเพียง 30-40 ปี ทั้ง ๆ ที่เป้าหมายแบบนั้นโดยอัตราผลตอบแทนปกตินั้นเขาไม่สามารถจะบรรลุได้ อย่างไรก็ตาม เขาคิดว่าด้วยผลตอบแทนที่เขาทำได้ในช่วงเวลานี้ที่เขาทำได้สูงมาก เขาคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยากที่เขาจะทำได้ต่อไป และถ้าเป็นอย่างนั้น ความฝันของเขาก็จะเป็นจริง แต่นี่ก็จะเป็น “เป้าหมายที่เหนื่อยหนัก” ที่เขาสร้างให้กับตัวเอง และเขาอาจจะรู้สึกเหนื่อยและเครียดเมื่อสถานการณ์การลงทุนเริ่มพลิกผัน กลยุทธ์ที่ทำกำไรได้อย่างรวดเร็วไม่เป็นไปตามที่เคย บางทีเขากลับขาดทุนอย่างหนัก โดยรวมแล้ว การตั้งเป้าและใช้วิธีหรือกลยุทธ์ในการลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้อาจจะ ยังอยู่ในระดับน่าพอใจแต่ก็ไม่เข้าใกล้เป้าหมายที่เคยฝัน แต่คำถามก็คือ “คุ้มไหม” กับการเหนื่อยหนักและความเครียดที่เกิดขึ้น

การลงทุนโดยคอยเปรียบเทียบผลงานกับเพื่อนฝูงหรือคนรู้จัก เป้าหมายก็คือ สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าหรือมีเงินมากกว่าหรือมีพอร์ตใหญ่กว่า มีคนยอมรับมากกว่า หวังมีชื่อเป็น “เซียน” คนหนึ่งในแวดวงการลงทุน เหล่านี้ทำให้กลยุทธ์หรือวิธีการลงทุนอาจจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใด นี่เป็นความคิดที่ทำให้ “เหนื่อยหนักและเครียด” บางทีแม้ว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าประทับใจมาก แต่เมื่อไปเทียบกับอีกคนหนึ่งที่บางทีก็ไม่ “เก่งกว่า” แต่เรากลับ “แพ้เขา” ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ธรรมชาติของคนก็มักชอบที่จะเปรียบเทียบกับคนที่อยู่เหนือกว่าแล้วก็ต้องการ เอาชนะ ดังนั้น การเปรียบเทียบนั้น ส่วนใหญ่ก็มักจะนำความเหนื่อยและความเครียดมาให้เสมอ

ผมเองผ่านชีวิตการลงทุนมายาวพอสมควร ผ่านสถานการณ์ตลาดหุ้นมาทุกรูปแบบทั้งที่ดี ดีเยี่ยม เลว เลวร้ายจนเป็นวิกฤติ เป็นแบบนี้มาหลายครั้ง ผมพยายามทบทวนความรู้สึกย้อนหลังไปในสถานการณ์ต่าง ๆ ในอดีตแล้วก็พบว่า ความเหนื่อยและความเครียดนั้น บ่อยครั้งไม่ได้สัมพันธ์กับผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน ช่วงที่ลงทุนแล้วมีความสุขที่สุดดูเหมือนว่าจะเป็นช่วงที่ “ลงทุนอยู่คนเดียว” ตลาดเหงาหงอย ไม่มีเวบไซ้ต์การลงทุน ข่าวเกี่ยวกับหุ้นแทบไม่มี ราคาหุ้นขึ้นลงน้อยมากในแต่ละวัน แต่ผลตอบแทนที่ได้ในรอบปีก็ “น่าประทับใจ” ที่ 20% ที่สำคัญ บริษัทที่เราลงทุนก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง เอาชนะคู่แข่งได้และเติบอย่างมั่นคง อนาคตระยะยาวสดใส บางทีเราอาจจะส่งต่อให้ลูกหลานได้อย่างภาคภูมิใจ ราคาหุ้นก็ขึ้นมาบ้างตามฐานะของกิจการ ดัชนีหรือผลตอบแทนของตลาดเป็นเท่าไรหรือ? เออ นึกไม่ออก! ใครแคร์? เพื่อนคนนั้นทำได้กี่เปอร์เซ็นต์? ไม่รู้ ไม่ได้คุยกัน เรามีพอร์ตเท่าไรแล้ว? โอ้ว์ มากขึ้นทีเดียว ดีใจ! ถ้าเป็นแบบนี้อีกหน่อยก็สบาย ไม่ต้องทำงานก็ได้ แต่ตอนนี้ก็ทำไปก่อน ไม่ทำแล้วจะไปบอกญาติพี่น้องยังไง ทำงานยังไงก็ได้เงินเดือนใช้จ่าย ไม่ต้องไปกินพอร์ต พอร์ตจะได้โตไปเรื่อย ๆ ฯ ล ฯ บางทีผมคิดว่า การที่จะมีความสุขและไม่เหนื่อยจากการลงทุนก็เป็นศิลปะที่ต้องเรียนรู้ด้วย เหมือนกัน
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ขอบคุณท่านอาจารย์และเจ้าของกระทู้ที่นำบทความดีๆนำเสนอครับ

คนบางคนก้สามารถลงทุนได้ตลอดชีวิต เพราะบางทีไม่มีแรงกดดันจากบางสิ่ง

แต่บางคนที่ชีวิตอาจจะเหลือไม่มาก (อาจจะเป็นมะเร็ง หรือ เป็นโรคร้าย)


ผมเชื่อว่า คนกลุ่มหลังก้คงจะต้องเร่งเพื่อให้คนข้างหลังได้สุขสบายครับ

ผมเชื่อว่า อายุที่เหลือในชีวิต บางทีก้กดดันให้นักลงทุน ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องนัก เช่น

การเข้าออกหุ้นที่ไวเกินไป หรือการใช้มาร์จิ้นท์

และผมก้เชื่อว่า ถ้าเลือกได้ ถ้าคนเหล่านั้น ยังพอมีเวลาอีกมาก เค้าก้คงไม่อยากจะใช้

วิธีนี้สักเท่าไหร่ ทั้งๆที่บางคนเป็นนักลงทุนที่เน้นด้านคุณค่า

บางทีชีวิตที่เลือกไม่ได้ ก้ย่อมจะทำให้นักลงทุนในบางครั้งในบางคน ต้องก้าวให้เร็วขึ้น

เพื่อให้ถึงฝัน โดยการก้าวให้ถึงฝัน ไม่ได้ทำเพื่อตัวเองแม้แต่น้อย


ผมเชื่อว่าถ้าเค้าไม่มีแรงกดดันบางอย่างจากบางสิ่ง และมีเวลามากพอ เค้าก้อาจจะประสบ

ความสำเร็จ ในฐานะ นักลงทุนคุณค่าแท้ๆๆ คนนึง
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 16

โพสต์

นักลงทุนบางท่าน ที่มีแรงกดดัน(แฝง) ก้คงเหมือน นักขับเครื่องบินของญี่ปุ่นในสมัยก่อน

ที่รู้ว่า แม้ข้างหน้าจะมี ความเสี่ยงจากการถูกยิงตกมาก แต่ก้ต้องขึ้นบิน

เพื่อ คนที่อยู่ข้างหลังและประเทศ

ผมเชื่อว่า คนที่มีทางเลือกมาก บางทีก้คงไม่เอาตัวไปเสี่ยงขับเครื่องบินฝ่าฝูงเครื่องบิน

และ ปตอ ที่ยิงฝ่ามาที่จะทำให้เครื่องเราตกตอนไหนก้ได้

ถ้าโชคดี ฝ่าไปถึงเป้าหมายได้ โดยที่ไม่ถูกยิงตกสักก่อน ก้คงได้มีโอกาศจะแสดงตัว


ผมเชื่อว่า หลายๆท่านในที่นี้ก้ มีแีรงกดดัน(แฝง) ก้ขออวยพรให้ท่านได้โบยบินไปให้ถึง

เป้าหมายที่ท่านต้องการ ความสำเร็จของตัวท่าน คือ ความหวังของคนในแนวหลัง

ก้ได้แต่อวยพรให้ ท่านเลือกเครื่องบินได้ถูกลำ และ บินผ่านห่ากระสุน ปตอ ไปได้

และถึงเป้าหมาย

บทความของท่านอาจารย์ดีเยี่ยม และเหมาะกับคนที่มีเวลาและโอกาศ

แต่ในบางครั้ง คนไม่มีเวลา ก้คงไม่อาจจะเดินได้ถูกต้องตามหลัก คุณค่า
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
chukieat30
Verified User
โพสต์: 3531
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 17

โพสต์

ในสมัยสงครามโลก กองบินญี่ปุ่นได้ใช้กลวิธี กามิกาเซ่ ซึ่งเป็นการตายตกตามกันเมื่อ

เครื่องถูกยิงตกสร้างความเสียหายแก่พันธมิตร และกองเรือพันธมิตรมาก

เนื่องด้วย กองบินเหล่านั้น ล้วนเตรียมใจจะตายตั้งแต่ก้าวขึ้นเครื่องบินไว้แล้ว ถึงแม้จะรู้ว่า

การรบด้วยวิธีนี้ อาจจะต้องเอาตัวเข้าแลก และถึงแม้จะแพ้สงคราม

แต่วิธีการ กามิกาเซ่ ก้ได้รับการกล่าวขวัญในหมู่ทหารช่วงนั้นว่า เป็นการบินที่กล้าหาญ

และเด็ดเดี่ยวที่สุด และนักบินเครื่องซีโร่ ก้ได้รับการกล่าวขวัญจนถึงปัจจุบันว่า

เป็นนักบินที่ทำให้คนทั้งโลกรู้จักประเทศญี่ปุ่น ครับ
ถ้าคุณตีลูกตามไทเกอร์ คุณก้ไม่มีทางจะเหนือกว่า ไทเกอร์ จงนำวงสวิงของไทเกอร์มาปรับใช้ให้เหมาะกับคุณ

หวิ่งชุนหวอซาน หวิ่งชุนยิปมันจีทคุดโด้ พื้นฐานก้มาจากหวิ่งชุน แม้ชื่อจะต่าง
แต่หวิ่งชุนก้คือ หวิ่งชุน
ทำวันนี้ให้ดี ทำพรุ่งนี้ให้ดีกว่า และทำวันข้างหน้าให้ดีที่สุด
tatteerapong
Verified User
โพสต์: 39
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 18

โพสต์

very good
naenae_2
Verified User
โพสต์: 8
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 19

โพสต์

ขอบคุณค่ะ
ทุกวันนี้พยายามเร่งให้ได้ return มากๆ
จนบางครั้งก็เหมือนกดดันตัวเองตลอดเวลา จัดพอร์ทบ่อยๆ รู้สึกเครียด กังวล กลัวจะทำไม่ได้อย่างที่คาดหวังไว้

พอได้มาอ่านบทความของ ดร. ทำให้คิดได้ว่า
ความเครียดและความกังวล ในการลงทุนก็เป็นต้นทุนที่เราไม่ควรมองข้าม ส่งผลต่อสุขภาพจิตในระยะยาว
ฉะนั้น การลงทุนโดยที่พอร์ทเติบโต มั่นคง และยั่งยืน โดยใจเราเป็นสุขด้วย น่าจะเป็นทางออกที่ดีกับชีวิตเรามากที่สุด
ภาพประจำตัวสมาชิก
lengmanutd
Verified User
โพสต์: 125
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 20

โพสต์

ขอบคุณมากครับ :D
ลงทุนในบริษัทที่ดี ราคาหุ้นมี MOS (Downside = Limited) และแนวโน้มกำไรมี Growth (Upside = Infinity)
kanxit
Verified User
โพสต์: 103
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 21

โพสต์

ขอบคุณครับ
OnlyRead
Verified User
โพสต์: 140
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 22

โพสต์

ขอบคุณครับ ถือหุ้นเกิน 10-15 ตัว อยู่ เดียวคงต้องกลับไปพิจารณาพวกหุ้นเบี้ยหัวแตกดู
Rakkiat
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 357
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 23

โพสต์

ขอบคุณครับ :P
ภาพประจำตัวสมาชิก
peacedev
Verified User
โพสต์: 668
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 24

โพสต์

:bow: :bow: :bow:
ภาพประจำตัวสมาชิก
VI Wannabe
Verified User
โพสต์: 1013
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 25

โพสต์

ผมว่าบทความนี้สุดๆแล้วนะ เป็นผลึกที่กลั่นจากประสบการณ์ออกมาเลย
ย่นเวลาลองผิดลองถูกได้เยอะเลยครับสำหรับมือใหม่
:bow:
"Attempt to be fearful when others are greedy and to be greedy only when others are fearful"

"It's far better to buy a wonderful company at a fair price than a fair company at a wonderful price"
anuchitkova
Verified User
โพสต์: 28
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 26

โพสต์

little wing เขียน:

โค้ด: เลือกทั้งหมด

โลกในมุมมองของ Value Investor         25 กุมภาพันธ์ 55 
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

	การลงทุนในหุ้นนั้น  หลาย ๆ  คนมักจะรู้สึกเครียดและมีกังวลอยู่ตลอดเวลา  เขากลัวว่าจะมีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้นไม่ว่าจะเกิดในประเทศไทยหรือในโลกนี้ซึ่งจะทำให้หุ้นตกทั้งตลาดและทำให้หุ้นเขาตกลงไปด้วย   เขากังวลว่าหุ้นตัวที่เขาถืออยู่อาจจะมีปัญหาหรือมีเหตุการณ์ไม่ดีซึ่งทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนักและทำให้เขาขาดทุนมากมายอย่าง “ไม่คาดฝัน”  การลงทุนในหุ้นดูเหมือนว่าจะมี “ต้นทุน”  ที่ไม่ใช่ตัวเงินแฝงอยู่นั่นก็คือ  ความกังวลและความไม่สบายใจ  และนั่นอาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้เราซื้อ ๆ  ขาย ๆ  หุ้นบ่อยเพื่อ  “ลดความไม่สบายใจ”  ในสถานการณ์ที่  “ไม่แน่นอน”  แต่นี่มักจะทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของเราลดลงในระยะยาว   คำถามก็คือ   จะทำอย่างไรถึงจะทำให้เราสามารถลงทุนอย่างสบายใจได้?
	สูตรการลงทุนอย่างสบายใจของผมก็คือ  ข้อแรก  จงตั้งความหวังผลตอบแทนระยะยาวจากการลงทุนในหุ้นให้เหมาะสมนั่นก็คือ  ผลตอบแทนทบต้นต่อปีเฉลี่ยประมาณ 10%    ถ้าเราคิดว่าเรามีความสามารถสูงมาก  ก็อาจจะตั้งความหวังได้สูงขึ้น  แต่สูงสุดไม่ควรเกิน 15% ต่อปี   โดยคำว่าระยะยาวของผมนั้นจะต้องยาวไม่ต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไป   การตั้งความหวังที่เหมาะสมนั้นจะทำให้เรามีโอกาสบรรลุผลได้ไม่ยากเกินไปซึ่งจะทำให้เราไม่ต้อง  “เร่ง”  ผลตอบแทนโดยวิธีการต่าง ๆ  ที่มีความเสี่ยงสูง   เช่น  ไม่ต้องเล่น  “หุ้นร้อน”  หรือ  ไม่ต้องใช้มาร์จินในการซื้อขายหุ้น เป็นต้น   ซึ่งทำให้เราสามารถลงทุนหุ้นได้แบบ  “ชิว ๆ”  
	ข้อสอง  เลือกซื้อหุ้นที่เน้นความปลอดภัยของตัวกิจการเป็นหลัก  นี่คือหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลงช้าในด้านของธุรกิจ  เป็นกิจการที่ไม่ล้ำสมัยแต่ไม่ล้าสมัย   เป็นกิจการที่เป็น  “ผู้นำ”  มีฐานะทางการเงินดี  และถ้าจะให้ดีขึ้นไปอีกก็คือ  เป็นกิจการที่เราเองมีโอกาสได้พบเห็นหรือได้ใช้บริการเป็นประจำ
	ข้อสาม  ต้องมีการกระจายความเสี่ยงในการถือหุ้นอย่างเหมาะสม  นั่นก็คือ  ถ้ามีเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป  ก็ควรต้องมีหุ้นอย่างน้อยประมาณ 5 ตัวโดยที่ตัวใหญ่สุดไม่ควรจะเกิน 30%  ของพอร์ต  นอกจากนั้น  ควรจะถือหุ้นในหลาย ๆ  อุตสาหกรรม   แต่ถ้ามีเงินลงทุนค่อนข้างมากเช่นเป็น  10 ล้านบาทขึ้นไป  หุ้นที่ลงก็อาจจะมากขึ้นไปได้   แต่ก็ต้องไม่มากจนเกินไป  เพราะมิฉะนั้นเราก็อาจจะมีหุ้นที่เป็น  “เบี้ยหัวแตก”  ที่ทำให้เราขาดการเอาใจใส่และทำให้ผลตอบแทนการลงทุนของเราด้อยลงไปได้  โดยทั่วไปแล้ว  ผมคิดว่าถ้ามีเงินไม่เกิน 100 ล้านบาท  ก็ไม่ควรถือหุ้นเกิน  10-15  ตัว
	ข้อสี่  เราควรพยายามตั้งเป็นกฎคร่าว ๆ  ว่าในแต่ละปีเราจะมีการซื้อขายหุ้นไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ของพอร์ตการลงทุน  กฎง่าย ๆ  ของผมก็คือ  ปริมาณการซื้อขายหุ้นของเราในแต่ละปีไม่ควรจะเกิน 2 เท่าของขนาดของพอร์ตของเรา   เช่น  ถ้าพอร์ตของเราเท่ากับ  1  ล้านบาทในตอนต้นปี  เราควรซื้อขายหุ้นในปีนั้นไม่เกิน 2 ล้านบาท  นั่นแปลว่า  เราจะถือหุ้นแต่ละตัวเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 1 ปี โดยเฉลี่ย  ถ้าเราซื้อขายหุ้นมากกว่านั้นก็แสดงว่าเราอาจจะถือหุ้นสั้นเกินไปและอาจจะหมายความว่าเราเป็น  “นักเก็งกำไร”  แทนที่จะเป็น  “นักลงทุน”  และประเด็นของผมก็คือ  การเป็นนักเก็งกำไรนั้น  ก่อให้เกิดความตึงเครียดสูงกว่านักลงทุนมาก
	ข้อห้า  อย่าสนใจการขึ้นหรือลงของหุ้นแต่ละตัวมากนัก  พยายามมองภาพรวมของพอร์ตหุ้นว่าเติบโตขึ้นหรือลดลง  การไปเน้นดูหุ้นแต่ละตัวก่อให้เกิดความเครียดเพราะเราจะพบหุ้นที่มีราคาตกลงไปมากและอาจจะพยายามไปทำอะไรกับมันที่อาจจะไม่ก่อให้เกิดผลดี   ที่สำคัญก็คือ  อย่าไปดูราคาหุ้นทุกตัวทุกวัน  วิธีที่ผมแนะนำก็คือ  ทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน  เราก็คำนวณดูว่าพอร์ตการลงทุนของเราเป็นเท่าไรโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งมีอยู่มากมาย   โดยการดูเป็นพอร์ตนี้  เราก็จะเห็นว่าความผันผวนมันน้อยลงเมื่อเทียบกับหุ้นแต่ละตัว   และนี่ทำให้เราเครียดน้อยลง  และถ้าเราลงทุนเลือกหุ้นได้ถูกต้องโดยเฉลี่ย  เราก็ควรจะเห็นพอร์ตของเราโตขึ้นอย่างช้า ๆ  และมั่นคงเมื่อเวลาผ่านไป
	ข้อหก  การที่เราจะทำอะไรกับหุ้นแต่ละตัวนั้น  ไม่ควรจะเน้นไปที่ด้านของราคาหุ้นรายวัน  สิ่งที่เราควรทำก็คือ  ทุกไตรมาศ  เราต้องติดตามดูว่าผลประกอบการของบริษัทเป็นอย่างไร  มันเป็นไปอย่างที่เราคาดไว้ไหม?  เช่น  ดีขึ้น  ดีขึ้นมาก  แย่ลง  แย่ลงมาก  เพราะอะไร?  จากนั้นก็สามารถนำมาตัดสินได้ว่าเราจะทำอะไรกับหุ้น  โดยปกติถ้าเราลงทุนหุ้นถูกตัวแล้ว  ส่วนใหญ่เราก็มักจะไม่ต้องทำอะไร   แต่ในบางกรณีที่เราคาดการณ์ผิด  เราก็อาจจะขายทิ้งได้   เช่นเดียวกัน  บางครั้งเราก็อาจจะซื้อเพิ่ม  โดยวิธีนี้   เราก็ไม่ต้องกังวลเป็นรายวันกับราคาของหุ้นมากนัก
	ข้อเจ็ด  เมื่อเราได้รับปันผลมา  อย่านำเงินไปใช้หรือเอาออกจากพอร์ตถ้าไม่จำเป็น   นำปันผลนั้นกลับไปซื้อหุ้นกลับเข้าพอร์ตเพื่อทำพอร์ตให้เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ  และเป็นหลักการลงทุนแบบทบต้นซึ่งจะทำให้พอร์ตโตเร็วขึ้นแบบทวีคูณ  เป้าหมายของเราควรจะตั้งไว้ว่าเราต้องการสร้างพอร์ตนี้เพื่อเป็นเงินเพื่อการเกษียณหรือเป็นเงินมรดกเพื่อลูกหลาน  เงินที่เราจะนำไปใช้จ่ายนั้นควรเป็นเงินที่เราทำมาหาได้จากน้ำพักน้ำแรงมากกว่า   ถ้าคิดได้แบบนี้  เราก็จะสบายใจว่านี่เป็น  “เงินเย็น”  ที่จะอยู่กับเราต่อไปอีกนานเราจะเครียดน้อยลง
	ข้อแปด  ทุกปี  เราต้องคำนวณหาผลตอบแทนประจำปีดูว่าเราทำได้เท่าไรเทียบกับผลตอบแทนของตลาดและเทียบกับเป้าหมายระยะยาวของเราซึ่งก็คือ  10-15% ที่เราตั้งไว้  ถ้าเราทำได้ดีกว่าตลาดและดีกว่าเป้า  เราก็ควรจะดีใจโดยไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับคนอื่น   ถ้าเราทำได้แพ้ตลาดแต่ยังทำได้ตามเป้าเราก็ยังควรจะดีใจเพราะในไม่ช้าเป้าหมายระยะยาวของเราก็ไปได้ถึง   แต่ถ้าเราแพ้ทั้งตลาดและก็ไม่ได้ตามเป้าส่วนตัวของเรา   เราก็อาจจะเสียใจบ้างแต่ก็ควรจะดูต่อไปว่าปันผลที่ได้รับในปีนั้นของเราเพิ่มขึ้นหรือไม่  ถ้ามันยังเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน  นั่นก็อาจจะเป็นเครื่องปลอบเราว่าที่จริงการลงทุนของเรานั้นไม่ได้ผิดพลาด  มันยังก้าวหน้าไป  เพียงแต่ในระยะสั้น ๆ  ตลาดหุ้นอาจจะไม่เป็นใจทำให้ราคามันลดลง  แต่ในอนาคต  มันก็คงจะปรับตัวขึ้นไปได้ไม่ยาก  ว่าที่จริง ในระยะยาวจริง ๆ  แล้ว   ปันผลนั้นถือว่าเป็นเครื่องวัดที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่งว่า   เราลงทุนได้ถูกต้องหรือเปล่า  ถ้าปันผลเพิ่มขึ้นทุกปีในอัตราที่น่าประทับใจ  เราก็ไม่มีอะไรต้องวิตกเลย
	ทั้งหมดนั้นก็เป็นกลวิธีการลงทุนที่จะทำให้เรามีความสบายใจ  ใช้เวลาไม่มาก  ไม่เครียด  และได้ผลดี  โดยเฉพาะสำหรับคนที่มีงานประจำเต็มเวลา  การลงทุนแบบนี้เปรียบไปก็จะคล้าย ๆ  กับการปลูกต้นไม้ใหญ่ยืนต้นที่เราเฝ้าดูแลมันเติบโตขึ้นช้า ๆ  แต่มั่นคง   โดยที่เราไม่ต้องเร่งมัน   แต่เมื่อถึงวันหนึ่ง  เราก็จะได้อาศัยร่มเงาและผลของมันมากินได้ต่อเนื่องยาวนานและเป็นที่พึ่งของเราได้
  	  
noname
nattawutw
Verified User
โพสต์: 273
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 27

โพสต์

บทความนี้ ดีมากจริงๆครับ ได้อะไรหลายอย่าง..
ขอบคุณมากๆครับ
Expect the Unexpected.
superboy
Verified User
โพสต์: 1049
ผู้ติดตาม: 0

Re: ลงทุนอย่างสบายใจ/ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

โพสต์ที่ 28

โพสต์

จะพยายามทำตามคำสั่งสอนครับ.
อย่าหลุดแนวที่ตัวเองถนัด สู้สู้
โพสต์โพสต์