ใจสู้ของดร.ภาพร
- romee
- Verified User
- โพสต์: 1850
- ผู้ติดตาม: 0
ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 1
สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมมีโอกาสได้ไปเรียนการหัดดูงบการเงิน สอนโดยดร.ภาพร จากกระทู้ของคุณ Green orange
พึ่งรู้ว่าท่านเคยไม่สบายหนัก ถึงกับเป็นอัมพฤกษ์และต้องกายภาพบำบัด จนหายดีเป็นปกติ ด้วยโรคเนื้องอกของปลอกประสาทไขสันหลัง
ที่เห็นว่าเก่งเรื่องบัญชี แต่จริงๆแล้ว ดร.ท่าน กำลังใจต่างหากที่เก่งกว่าอะไรทั้งหมด
ก็มาเล่าให้ฟังครับ ว่าตอนนี้ใครอยากแกะงบกระแสเงินสดเก่งๆ แนะนำหนังสือ "แกะเงื่อนงบการเงิน"ของดร. เล่มใหญ่ๆ http://www.se-ed.com/TextBook/Quotation ... 9742123864 ท่านบอกว่าเป็นหนังสือที่อธิบายเรื่องงบการเงินได้เยอะมากที่สุดแล้ว ลองหาอ่านกันได้ครับ
พึ่งรู้ว่าท่านเคยไม่สบายหนัก ถึงกับเป็นอัมพฤกษ์และต้องกายภาพบำบัด จนหายดีเป็นปกติ ด้วยโรคเนื้องอกของปลอกประสาทไขสันหลัง
ที่เห็นว่าเก่งเรื่องบัญชี แต่จริงๆแล้ว ดร.ท่าน กำลังใจต่างหากที่เก่งกว่าอะไรทั้งหมด
ก็มาเล่าให้ฟังครับ ว่าตอนนี้ใครอยากแกะงบกระแสเงินสดเก่งๆ แนะนำหนังสือ "แกะเงื่อนงบการเงิน"ของดร. เล่มใหญ่ๆ http://www.se-ed.com/TextBook/Quotation ... 9742123864 ท่านบอกว่าเป็นหนังสือที่อธิบายเรื่องงบการเงินได้เยอะมากที่สุดแล้ว ลองหาอ่านกันได้ครับ
You only live once, but if you do it right, once is enough.
- Linzhi
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1464
- ผู้ติดตาม: 1
Re: ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 2
ชอบหนังสือดร.ภาพรมากครับ ลึก ละเอียดแต่อ่านเข้าใจง่าย
ช่วงลงทุนใหม่ๆ ไม่รู้บัญชี ก็มาเริ่มและจบที่หนังสือแกนี่แหละ
ช่วงลงทุนใหม่ๆ ไม่รู้บัญชี ก็มาเริ่มและจบที่หนังสือแกนี่แหละ
ก้าวช้า ๆ และเชื่อในปาฎิหารย์ของหุ้นเปลี่ยนชีวิต
There is no secret ingredient. It's just you.
There is no secret ingredient. It's just you.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 3
dome@perth Post subject: อ่านงบการเงินให้เป็นPosted: Wed Aug 17, 2011 11:55 pm
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 6&p=893186
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f ... 6&p=893186
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 4
Ii'8N เขียน:ผมก็แฟนอ.ภาพร (fan แบบแฟนพันธุ์แท้นะครับ) ตอนแรก ก็อ่านจากในกรุงเทพธุรกิจ online ที่เป็นคอลัมน์แบบนี้ในsection ถนนนักลงทุน (น่้าจะราว 2546) ต่อมารวมเล่มเริ่มจากเล่มแรกที่อ่านเป็นจริงเป็นจัีง ก็แกะเงื่อนงบการเงินนานมาแล้ว
ตอนหลัง เลยไปรวมรวมมาว่ามีอะไรอีก ...ผมว่าเป็นการลงทุนในราคาไม่แพง ช่วยสนับสนุนให้นักเขียนไทย เขียนผลงานออกมาดีๆ แบบนี้เยอะๆ
ได้มาเกือบครบแล้ว ยกเว้น บัญชีศรีธนญชัยยังอยู่ในรายชื่อสินค้าหมดอยู่
http://www.se-ed.com/eshop/(A(irJBxM6QzAEkAAAAZDIyMzc4ZDAtNjIwZC00ZGMyLTgyZmEtMTgyZTkwYzQxMWI0TNAt6s5wIhvcq_cy9M9td5CNACY1))/Products/Detail.aspx?No=9786160802234&ref=author
อ่านงบการเงินให้เป็น
ดร.ภาพร เอกอรรถพร, บมจ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จัดพิมพ์, 145 บาท
หนังสือบัญชีเล่มนี้อธิบายถึงหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับงบการเงิน เนื้อหาค่อนข้างเบ็ดเสร็จ มีการอธิบายค�าศัพท์รายการบัญชีที่แสดงในงบการเงิน ตัวอย่างงบการเงิน การวิเคราะห์งบการเงิน และเกร็ดความรู้ต่าง ๆ จึงเหมาะส�าหรับ
นักลงทุน นักวิเคราะห์ นักบัญชี อาจารย์ และนักศึกษาที่ต้องการหนังสืออ้างอิงที่เข้าใจง่ายเกี่ยวกับการอ่านและการวิเคราะห์งบการเงินขั้นพื้นฐาน
ส่วนไฟล์แนบ เป็นบทความที่อ.ภาพรเอามาเผยแพร่อีกทาง ในวารสารวิชาชีพบัญชี แต่อ่านดูแล้วเนื้อหาเหมือนในหนังสือ (บางตอนของหนังสือ)
Ii'8N เขียน:ผมซื้อได้จนครบแล้วครับ
ที่ยังไม่มี ไปตั้ง wait list ไว้ใน website e-shop se-ed แล้วได้มาจาก se-ed เพิ่มอีกเล่ม
เกือบสิบปีมาแล้ว...แต่คุณค่ายังไม่เปลี่ยน
รู้บัญชีมีประโยชน์
ชื่อหนังสือ รู้บัญชีมีประโยชน์
โดย ดร.ภาพร เอกอรรถพร
สำนักพิมพ์ สถาบันภาภัทร
ราคา 185 ฿
จำนวน 209 หน้า
จำหน่ายโดย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ISBN 974-90129-7-6
หนังสือ "รู้บัญชีมีประโยชน์" เป็นหนังสือทีได้รวบรวมเรื่องที่น่าสนใจ และน่าศึกษาของมาตรฐานบัญชี ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันกว้างขวางอยู่ในปัจจุบัน โดยผู้เขียนได้หยิบยกเอาปัญหาทางบัญชี ที่นักบัญชีเองก็เห็นว่า เป็นเรื่องที่น่าเข้าใจยาก และกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้มาเขียน ด้วยลักษณะการใช้ภาษาง่ายๆ เป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจ นักวิเคราะห์ นุกลงทุน และนักธุรกิจทั่วไป แม้แต่นักบัญชีที่ยังไม่กระจ่างในเรื่องเหล่านี้ ก็จะเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
ตอนที่ 1 ประโยชน์ต่อนักลงทุน
ตอนที่ 2 มาเลิกนั่งเทียนซื้อหุ้นกันเถอะ
ตอนที่ 3 วิธีอ่านรายงานผู้สอบบัญชี
ตอนที่ 4 งบดุลบอกได้
ตอนที่ 5 ภาพรวม
ตอนที่ 6 กำไรไม่ใช่สูตรสำเร็จ
ตอนที่ 7 สลึงดีกว่าห้าสิบ
ตอนที่ 8 งบกำไรขาดทุนหลอกได้
ตอนที่ 9 งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
ตอนที่ 10 งบกระแสเงินสด
ตอนที่ 11 การด้อยค่าของสินทรัพย์
ตอนที่ 12 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการด้อยค่าของสินทรัพย์
ตอนที่ 13 ทางเลือก
ตอนที่ 14 ราคาทุนเดิมกับราคาที่ดีใหม่
ตอนที่ 15 ต้นทุนการกู้ยืม
ตอนที่ 16 ต้นทุนการกู้ยืม - เหตุผลของนักบัญชี
ตอนที่ 17 หมายเหตุประกอบงบการเงิน
ตอนที่ 18 ใช้แทนยานอนหลับได้
ตอนที่ 19 แปลไทยเป็นไทย
ตอนที่ 20 งบการเงินรวม
ตอนที่ 21 แม่บทการบัญชี - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรบัญชี
ตอนที่ 22 แม่บทการบัญชีที่นักบัญชีต้องเข้าใจ
ไปเจอบทความเก่า ที่ไม่เห็นในหนังสือ แต่อยู่ในคอลัมน์ที่ web เืศรษฐศาสตร์ nida
http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2003q ... eb10p5.htm
รู้บัญชีมีประโยชน์
ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ กรุงเทพธุรกิจ Biz & Money หน้า 2 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2546
มนุษย์เรามี ความอยากได้ ด้วยกันทั้งนั้น ความอยากได้ เป็นแรงจูงใจขั้นพื้นฐานที่ส่งเสริมให้มนุษย์มี ไฟ ที่จะสู้และสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับตัวเอง แต่ความอยากได้ก็อาจกลายเป็น ความโลภ ที่กลับมาบ่อนทำลายสังคมให้เสื่อมลง
ตามปกติวิสัย มนุษย์มักต้องการเพิ่มความมั่งคั่งให้ตัวเองมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ เช่น พยายามทำให้เกิดรายได้สูงสุดแต่ไม่สามารถทำงานเกิน 15 ชั่วโมงต่อวัน เรียกว่าเป็นการ Maximize Wealth
(ในวิชาเศรษฐศาสตร์จุลภาค นักทฤษฎีมักต้องสมมติให้ Maximize อะไรสักอย่างหนึ่ง เนื่องจากสมการที่ใช้ เช่น สมการรายได้ มักเป็นสมการเส้นโค้งยอดสูง ปลายยอดแสดงตำแหน่งของตัวแปรที่จุด Maximum เช่น จำนวนชั่วโมงทำงานที่ทำให้เกิดรายได้สูงสุด ตัวแปรนี้สามารถหาค่าได้ เพียงแต่ต้องนำวิชา Calculus มาช่วยในการ take derivatives สมการเส้นโค้ง เพื่อหาตำแหน่งระนาบที่ปลายยอดหรือจุดที่การเปลี่ยนแปลงเท่ากับศูนย์ จากนั้นเราจะสามารถแกะสมการหาค่าตัวแปรที่จุด maximum ได้)
หาก ความอยากได้ อยู่ในระดับสูงและสถานการณ์เอื้ออำนวย ผู้มีอำนาจอาจเกิด ความโลภ จนทำให้ตัดสินใจหันหลังให้จริยธรรมและทำในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ควร ทั้งที่ทราบดีว่าสิ่งนั้นไม่เป็นที่ยอมรับ ต่อคนส่วนใหญ่หรือต่อข้อกำหนดของกฎหมาย (เรียกว่า Moral Hazard หรือ คุณธรรมวิบัติ ได้เกิดขึ้น)
คุณธรรมอาจวิบัติได้ในองค์กรธุรกิจ เช่น บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ไม่ว่าจะเป็นของประเทศไหนก็ตาม) เนื่องจากบริษัทเหล่านี้กระจายขายหุ้นให้แก่นักลงทุนทั่วไป ตามปกติ ผู้ถือหุ้นทุกคนของบริษัทจดทะเบียน (โดยเฉพาะผู้ถือหุ้นรายย่อย) จะไม่เข้ามาบริหารบริษัทด้วยตัวเอง แต่จะมอบหมายให้ ผู้บริหาร มืออาชีพ (หรือ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่) เข้ามาบริหารงานแทน
กรณีนี้เท่ากับว่า ผู้ถือหุ้นได้มอบความไว้วางใจให้แก่ผู้บริหาร (ที่จ้างมาด้วยราคาแพงๆ) ให้เข้ามาดูแลความเป็นไปในบริษัท และมอบ อำนาจ ในการสั่งการ และดำเนินธุรกิจให้แก่ผู้บริหาร ประหนึ่งว่าผู้บริหารนั้นเป็น ตัวแทน (Agency) และผู้ถือหุ้นนั้นเป็น ตัวการ (Principal)
ตาม หน้าที่ ของการเป็นตัวแทน ผู้บริหารสามารถใช้ อำนาจ ที่ได้รับมอบหมายเข้ากระทำการแทนผู้ถือหุ้น แต่ผู้บริหารก็มี ความรับผิดชอบ ที่จะต้องดูแลผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นไม่ให้เสียหาย เรียกว่ามี Fiduciary Duty หรือมีหน้าที่ในการพิทักษ์รักษาทรัพย์สินและเพิ่มผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นทั้งหลายนำมารวมกันไว้ให้ดูแล
คำว่า Fiduciary Duty จึงไม่ได้มีความหมายแคบๆ เพียงแค่ เขามอบหน้าที่ให้ทำ ก็สักแต่ทำๆ ให้เสร็จไป แต่คำว่า Fiduciary Duty ให้ความหมายลึกซึ้งไปถึงการที่ คนส่วนรวม ได้ให้ ความไว้วางใจ (ฝรั่งเรียกว่า Trust) แก่คนๆ หนึ่งหรือคนกลุ่มหนึ่งให้ดูแลทรัพย์สมบัติอันมีค่าของพวกเขา (สถาบันการเงินหรือกองทุนที่เรียกว่า Trust มีพื้นฐานมาจากความหมายนี้)
ดังนั้น คำว่า Fiduciary Duty โดยนัยแล้ว จึงมีความหมายครอบคลุมไปถึง การปฏิบัติหน้าที่เพื่อคนส่วนรวม และแฝงไว้ซึ่ง คุณธรรม หรือ จริยธรรม ที่ทำให้ผู้ได้รับมอบหมายต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างดีที่สุด เพื่อให้สมกับความไว้วางใจที่ได้รับและเพื่ออำนวยประโยชน์แก่คนส่วนรวม
แต่ก็แปลกที่คำว่า Fiduciary Duty ไม่มีคำแปลตรงๆ ในภาษาไทยที่จะทำให้มองเห็นภาพของคุณธรรมหรือจริยธรรมที่แฝงอยู่ (เหมือนกับคำว่า เกรงใจ ที่ไม่มีคำแปลตรงๆ ในภาษาอังกฤษ คำที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นคำว่า Being courteous)
ที่นึกออกตอนนี้ อาจมีแต่สำนวนไทย ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ที่จะพอกล้อมแกล้มไปได้ แม้ว่าจะไม่ตรงกับความหมายเสียทีเดียว แต่มีข้อแม้ว่า เราต้องสมมติให้ปู่โสมได้รับการมอบหมายให้เฝ้าทรัพย์สมบัติของผู้อื่น เช่น ของเจ้านายหรือของหลวง เพื่อที่เราจะได้เห็นภาพของปู่โสมที่ยึดมั่นต่อหน้าที่ หวงแหนทรัพย์สมบัติที่เฝ้าอยู่ แม้ว่าทรัพย์สมบัตินั้นจะเป็นของผู้อื่น มิฉะนั้น ภาพของปู่โสมอาจผิดเพี้ยนไป กลายเป็นคนแก่ที่ใกล้จะลงโลงแล้ว แต่ยังไม่ยอมปล่อยวาง วันๆ ได้แต่นั่งตะบันเฝ้าทรัพย์สมบัติของตัวเอง (เดี๋ยวเลยจะกลายเป็นเรื่องของ ไก่ตามงู ไป)
ทีนี้ เมื่อปู่โสมได้รับความไว้วางใจให้เฝ้าสมบัติ สิ่งที่เราคาดหวังจาก ปู่โสม คือความซื่อสัตย์สุจริต แต่อย่าลืมว่า ปู่โสม ก็เป็นปุถุชนธรรมดา ในเมื่อปู่มองเห็นและจับต้องทรัพย์สมบัติของคนอื่นอยู่ทุกวัน ปู่อาจเกิดความโลภจนต้องพยายามหาทางทำให้ทรัพย์สมบัตินั้นกลายมาเป็นของตัวเอง
ถ้าปู่โสมเริ่มมองเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม ปู่โสมอาจพยายาม Maximize Wealth จนลืมนึกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ และยักย้ายถ่ายเททรัพย์สมบัติบางส่วนมาเป็นของตน หรือที่เรียกกันว่าการ โอนถ่ายความมั่งคั่ง (Transfer of Wealth) ซึ่งในฐานะผู้เฝ้าสมบัติ ปู่โสมอาจทำได้อย่างไม่ยากเย็นนัก
การเห็นแก่ผลประโยชน์ส่วนตนจนไปขัดแย้งต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย (ให้ดูแลผลประโยชน์ของผู้อื่น) ถือเป็น ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interests) รูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อการเพิ่มผลประโยชน์ให้แก่ตัวเองเกิดจากการไปเบียดบังผลประโยชน์ของผู้อื่น
ในกรณีของบริษัทจดทะเบียน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้บริหารต้องตัดสินใจว่าจะเลือกเดินทางไหน จะซื่อสัตย์ต่อผู้ถือหุ้นหรือจะปฏิบัติตามอำนาจฝ่ายต่ำของตัวเอง
อิทธิพลที่มีต่อการตัดสินใจมาจากปัจจัยหลายประการ เช่น ปัจจัยทางสังคมว่าสังคมยอมรับคนที่ไม่มีจริยธรรมในระดับไหน ปัจจัยทางกฎหมายว่าบทลงโทษรุนแรงและได้ผลเพียงใด หรือปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมว่าในอดีต คนผู้นั้นได้รับการอบรมเลี้ยงดูมาอย่างไร (สมัยก่อนเวลาเขาก่นด่ากันเขาจึงมักใช้คำว่า พ่อแม่ไม่สั่งสอน อยู่เสมอ แต่ปัจจุบัน เนื่องจากสภาพสังคมทำให้พ่อแม่เกือบทุกคนไม่มีเวลา สั่งสอน ลูก คำก่นด่านั้นก็เป็นอันตกไป เพราะถ้าขืนขุดขึ้นมาด่า ก็อาจจะไปกระทบกับคนทั้งบาง (กอก) ได้)
ก่อนที่จะตัดสินใจ ปัจจัยทางสังคมและสิ่งแวดล้อมเหล่านี้จะเป็นตัวชี้ว่าผู้บริหารจะเลือกเดินทางไหน ถ้าผู้บริหารเลือกทางแรก ผู้ถือหุ้นก็ถือว่าโชคดีไป (ถือว่ากรรมดีที่ทำไว้ในอดีตส่งผล) แต่เมื่อไรที่คุณธรรมวิบัติ ผู้บริหารจะตัดสินใจเลือกที่จะยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นให้มาเป็นของตน (ซึ่งถือเป็นกรรมเก่าของผู้ถือหุ้น)
การยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ ตั้งแต่ระดับเบี้ยวเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึงการตั้งใจโกง ซึ่งตอนนี้ การตกแต่งบัญชีมักจะเข้ามามีบทบาทไม่มากก็น้อย จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถส่วนบุคคลและปัจจัยอีกหลายประการ เช่น โครงสร้างการบริหารของบริษัท การควบคุมภายใน อำนาจที่ผู้บริหารได้รับ การตรวจสอบ บทลงโทษ ไปจนถึงความจำเป็นด้านวัตถุและด้านการเงิน และที่จะลืมเสียไม่ได้คือ พื้นฐานนิสัย (Nature) และการอบรมเลี้ยงดูที่ได้รับมาแต่เยาว์วัย (Nurture) ของผู้บริหารเอง
ดังนั้น การสอนในโรงเรียนจึงต้องเน้นไปที่การเสียสละและการเล่านิทานจึงต้องจบด้วย นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เพราะนั่นคือการสอนจริยธรรมควบคู่ไปกับเนื้อหา ถ้าผู้ใหญ่ สอนลูกให้เป็นโจร พร้อมกับทำตัวอย่างให้เด็กดู เมื่อเติบใหญ่ เด็กคนนั้นก็จะกลายเป็น โจร อย่างช่วยไม่ได้ ถ้าอาจารย์สอนศิษย์ให้ เอาชนะโดยไม่ต้องคำนึงถึงอะไรทั้งนั้น ศิษย์ก็จะยึดมั่นในปรัชญานั้นและถ่ายทอดคำสั่งสอนให้ศิษย์รุ่นหลังต่อไป
สรุปว่า ผู้บริหารในฐานะ ตัวแทน ได้เข้ามามี อำนาจ ในการบริหารบริษัทแทนผู้ถือหุ้นซึ่งเป็น ตัวการ ความขัดแย้งทางผลประโยชน์อาจทำให้ผู้บริหารลืม Fiduciary Duty ที่ได้รับมอบหมาย จนทำให้ Moral Hazard เกิดขึ้น เมื่อผู้บริหารเลือกที่จะ Maximize Wealth ของตัวเอง ผู้บริหารจะทำการเบียดบังผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และในที่สุดก็จะหาทางออกโดยการตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อความอยู่รอด
ที่กล่าวมาทั้งหมด อย่าเข้าใจผิดว่าผู้เขียนจะลึกซึ้งถึงขนาดคิดทฤษฎีขึ้นมาเอง ทฤษฎี ตัวการ-ตัวแทน ที่นำมาเล่าให้ฟังข้างต้นเรียกว่า Agency Theory ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี 1958 โดยยอดฝีมือสองท่านคือ Franco Modigliani (รางวัลโนเบลปี 1984) และ Merton Miller (รางวัลโนเบลปี 1990) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า M&M (ชื่อเหมือนช็อกโกเเลตยี่ห้อหนึ่ง)
Agency Theory ได้รับการยกย่องว่าสามารถสะท้อนพฤติกรรมของคนและความเป็นไปในองค์กรได้อย่างลึกซึ้ง จนสามารถนำมาปรับให้เข้ากับองค์กรทุกองค์กรได้ (ไล่ตั้งแต่รัฐบาลลงมา) แถมทฤษฎีนี้ยังสามารถนำมาใช้อธิบายมูลเหตุจูงใจในการตกแต่งบัญชี ที่มักเป็นบ่อเกิดแห่งการยักย้ายถ่ายเทผลประโยชน์ที่ควรเป็นของ ผู้ถือหุ้น ให้กลายมาเป็นของ ผู้บริหาร
แม้ทฤษฎี ตัวการ-ตัวแทน จะสามารถอธิบายมูลเหตุจูงใจในการตกแต่งบัญชีได้ส่วนหนึ่ง แต่มูลเหตุจูงใจในการตกแต่งบัญชีของผู้บริหารอาจเกิดมาจากสาเหตุอื่น เช่น ผู้บริหารเห็นบริษัททำท่าจะไปไม่รอด และด้วยความกลัวที่จะสูญเสียรายได้แพงๆ โบนัสงามๆ (ที่ได้รับจากผู้ถือหุ้น) ผู้บริหารอาจตัดสินใจตกแต่งตัวเลขทางบัญชีเพื่อประวิงเวลาให้แก่ตัวเอง ก่อนที่บริษัทจะล่มหรือตัวเองจะได้งานใหม่
หรือผู้บริหารที่เป็น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ อยากปั่นราคาหุ้นที่ซื้อขายกันในตลาดเพื่อเพิ่มมูลค่าหุ้นที่ตัวเองถืออยู่ จึงพยายามหลอกลวงนักลงทุนใหม่ให้เข้าซื้อหุ้น และเพิ่มความมั่งคั่งให้แก่ตัวเองโดยการตกแต่งบัญชีเพื่อลวงตา
แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีไหน ผู้บริหารก็ได้ละเลย Fiduciary Duty ที่ได้รับมอบหมายจนคุณธรรมวิบัติไป เมื่อผู้บริหารสามารถ Maximize Wealth ของตัวเองได้ ก็หมายความว่า Wealth ของนักลงทุนจะถูกโอนถ่ายไปอยู่ในกระเป๋าของผู้บริหาร
น่าเสียดายที่ทฤษฎีไม่ได้ทำนายต่อว่า ผู้บริหารเหล่านี้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตขนาดไหน
-
- Verified User
- โพสต์: 393
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 7
หนังสือของดร.ภาพรต้องหยิบมาอ่านปีละครับ เพื่อนเตือนความจำ
"If you took our top fifteen decisions out, we’d have a pretty average record. It wasn’t hyperactivity,but a hell of a lot of patience. You stuck to your principles and when opportunities came along,you pounced on them with vigor"-Charlie Munger
- luangrit
- Verified User
- โพสต์: 376
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 8
ไปอบรมวันเดียวกันเลยครับคุณ romee
หลังจากที่เรียนจบ ผมรู้สึกประทับใจในตัวอาจารย์มากจริงๆครับ
ท่านสอนอย่างเต็มที่ โดยไม่หวงความรู้เลย
ได้ข้อคิดต่างๆในระหว่างการเรียนด้วย
และมีรอยยิ้มเสมอ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
ผู้หญิงคนนี้แหละที่คอยออกมาปกป้องนักลงทุนอย่างเราๆเสมอ
ด้วยการออกมาตรฐานบัญชีใหม่ๆ
เพื่อให้ผู้บริหารเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา
รู้เลยครับว่า ท่านต้องต่อสู้หนักแค่ไหน
สำหรับผมแล้วได้ประโยชน์จากการเรียนครั้งนี้อย่างมากเลยครับ
หลังจากที่เรียนจบ ผมรู้สึกประทับใจในตัวอาจารย์มากจริงๆครับ
ท่านสอนอย่างเต็มที่ โดยไม่หวงความรู้เลย
ได้ข้อคิดต่างๆในระหว่างการเรียนด้วย
และมีรอยยิ้มเสมอ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ
ผู้หญิงคนนี้แหละที่คอยออกมาปกป้องนักลงทุนอย่างเราๆเสมอ
ด้วยการออกมาตรฐานบัญชีใหม่ๆ
เพื่อให้ผู้บริหารเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา
รู้เลยครับว่า ท่านต้องต่อสู้หนักแค่ไหน
สำหรับผมแล้วได้ประโยชน์จากการเรียนครั้งนี้อย่างมากเลยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 412
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 9
ขอบคุณมากครับ อยากถามพี่Ii'8N เป็นการเฉพาะหน่อย (เห็นว่าพี่มีทุกเล่มเลย ^^) จิง ๆ พี่ ๆ ทุกท่านอื่นด้วยนะคับ
ตอนนี้ผมมีอยู่เล่นเดียวคือ รู้บัญชีมีประโยชน์
เลยอยากทราบว่า เราต้องอ่านทั้งชุดของอาจารย์เลยหรือไม่คับ
หรือมีเล่มไหนที่แนะนำให้น้องใหม่อย่างผม เข้าใจงบการเงินเพื่อการลงทุนอีกบ้างครับ
ขอบคุณพี่ ๆ ล่วงหน้าด้วยคับ
ตอนนี้ผมมีอยู่เล่นเดียวคือ รู้บัญชีมีประโยชน์
เลยอยากทราบว่า เราต้องอ่านทั้งชุดของอาจารย์เลยหรือไม่คับ
หรือมีเล่มไหนที่แนะนำให้น้องใหม่อย่างผม เข้าใจงบการเงินเพื่อการลงทุนอีกบ้างครับ
ขอบคุณพี่ ๆ ล่วงหน้าด้วยคับ
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 10
ที่ผมสนใจหนังสืออ.ภาพร เพราะเห็นหนังสืออ.ภาพรเขียนสำนวนง่ายๆ
ผมไม่ได้จบบัญชีมาโดยตรง ไม่ได้ทำงานบัญชีการเงินมาเลย
ได้เรียนบ้าง แต่ก็เป็นลักษณะเรียนแบบที่อาจารย์ให้ค้นเอง เลยต้องเป็นนักล่าหนังสือและบทความ เพื่อทำความเข้าใจ
ตอนแรกเห็นชื่อในกรุงเทพธุรกิจ section ถนนนักลงทุน ที่ต่อมามีเอามารวมเล่ม ก็ 'รู้บัญชีมีประโยชน์' เล่มที่คุณ pawattt มี
ผมว่าเล่มหลักที่ควรมี คือ 'แกะเงื่อนงบการเงิน'
และรองลงมา คือ' อ่านงบการเงินให้เป็น' (เพิ่งมีปรับปรุงใหม่ 2554 ดร.ภาพร ยั่วน้ำลาย ด้วยการเอาไปเขียนลงกรุงเทพธุรกิจทุกอาทิตย์)
เล่มอื่น คือการเสริม เหมือนเป็นบทความที่ช่วยให้เราเก็บตก
มีหนังสืออื่นอีกเล่มที่ผมคิดว่าเขียนได้ clear มาก (แต่ไม่ใช่ของอ.ภาพร)
ตอนนี้มีแปลไทยแล้ว อธิบายที่มาของงบ และเลยไปถึงอัตราส่วนการเงินหลักๆ ที่สำคัญ
http://www.amazon.com/Key-Management-Ra ... 0273663453
http://www.se-ed.com/eShop/Products/Det ... 9742124496
วิเคราะห์ เจาะลึก อัตราส่วนทางการเงิน รหัส 9789742124496
วิเคราะห์ เจาะลึก อัตราส่วนทางการเงิน
(Key management ratios)
วิเคราะห์เจาะลึกประเด็นตัวเลขทางการบัญชีและการเงินเพื่อความอยู่รอดขององค์กร
ผู้เขียน Ciaran Walsh (เซียแรน วอลซ์)
ผู้แปล เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์, ผศ.
ผมไม่ได้จบบัญชีมาโดยตรง ไม่ได้ทำงานบัญชีการเงินมาเลย
ได้เรียนบ้าง แต่ก็เป็นลักษณะเรียนแบบที่อาจารย์ให้ค้นเอง เลยต้องเป็นนักล่าหนังสือและบทความ เพื่อทำความเข้าใจ
ตอนแรกเห็นชื่อในกรุงเทพธุรกิจ section ถนนนักลงทุน ที่ต่อมามีเอามารวมเล่ม ก็ 'รู้บัญชีมีประโยชน์' เล่มที่คุณ pawattt มี
ผมว่าเล่มหลักที่ควรมี คือ 'แกะเงื่อนงบการเงิน'
และรองลงมา คือ' อ่านงบการเงินให้เป็น' (เพิ่งมีปรับปรุงใหม่ 2554 ดร.ภาพร ยั่วน้ำลาย ด้วยการเอาไปเขียนลงกรุงเทพธุรกิจทุกอาทิตย์)
เล่มอื่น คือการเสริม เหมือนเป็นบทความที่ช่วยให้เราเก็บตก
มีหนังสืออื่นอีกเล่มที่ผมคิดว่าเขียนได้ clear มาก (แต่ไม่ใช่ของอ.ภาพร)
ตอนนี้มีแปลไทยแล้ว อธิบายที่มาของงบ และเลยไปถึงอัตราส่วนการเงินหลักๆ ที่สำคัญ
http://www.amazon.com/Key-Management-Ra ... 0273663453
http://www.se-ed.com/eShop/Products/Det ... 9742124496
วิเคราะห์ เจาะลึก อัตราส่วนทางการเงิน รหัส 9789742124496
วิเคราะห์ เจาะลึก อัตราส่วนทางการเงิน
(Key management ratios)
วิเคราะห์เจาะลึกประเด็นตัวเลขทางการบัญชีและการเงินเพื่อความอยู่รอดขององค์กร
ผู้เขียน Ciaran Walsh (เซียแรน วอลซ์)
ผู้แปล เฉลิมขวัญ ครุธบุญยงค์, ผศ.
- Ii'8N
- Verified User
- โพสต์: 3682
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ใจสู้ของดร.ภาพร
โพสต์ที่ 11
Ii'8N เขียน: และรองลงมา คือ' อ่านงบการเงินให้เป็น' (เพิ่งมีปรับปรุงใหม่ 2554 ดร.ภาพร ยั่วน้ำลาย ด้วยการเอาไปเขียนลงกรุงเทพธุรกิจทุกอาทิตย์)
สนใจ click ไปดูที่ -> http://www.bangkokbiznews.com/home/news ... list-1.php
ดร.ภาพร เอกอรรถพร
( จำนวนเรื่อง : 44 เรื่อง | จำนวนคนอ่าน : 91019 คน )
คอลัมน์ "อ่านงบการเงินให้เป็น"
อ่านงบการเงินให้เป็น (49) - 5 กุมภาพันธ์ 2555 01:00
ตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เห็นภาพการป้องกันความเสี่ยงกระแสเงินสด
อ่านงบการเงินให้เป็น (48) - 29 มกราคม 2555 01:00
ทำไมผู้ถือหุ้นเดิมจึงต้องการรักษา “สัดส่วนการถือหุ้น”?
อ่านงบการเงินให้เป็น (47) - 22 มกราคม 2555 01:00
ทำไมบริษัทต้องการซื้อหุ้นของตัวเองคืน?
อ่านงบการเงินให้เป็น (46) - 15 มกราคม 2555 01:00
“งบการเงินรวมตามสัดส่วน” แตกต่างจาก “งบการเงินรวม” อย่างไร?
อ่านงบการเงินให้เป็น (45) - 8 มกราคม 2555 01:00
“กิจการที่ควบคุมร่วมกัน” แตกต่างจาก “บริษัทย่อย” อย่างไร?
อ่านงบการเงินให้เป็น (44) - 1 มกราคม 2555 15:07
สรุปการออกงบการเงินของบริษัทมหาชนและบริษัทจำกัดเพื่อให้หายสับสน
อ่านงบการเงินให้เป็น (43) - 25 ธันวาคม 2554 01:00
ความสัมพันธ์ในลักษณะ “บริษัทใหญ่-บริษัทย่อย” และ “บริษัทใหญ่-บริษัทร่วม” สามารถเกิดกับบริษัทจำกัดได้หรือไม่?
อ่านงบการเงินให้เป็น (42) - 18 ธันวาคม 2554 01:00
บริษัทมหาชนที่ลงทุนในบริษัทร่วมแต่ไม่ได้ลงทุนในบริษัทย่อยจะแสดงงบการเงินอย่างไร?
อ่านงบการเงินให้เป็น (41) - 11 ธันวาคม 2554 01:00
งบการเงินรวมสามารถประกอบด้วยงบการเงินมากกว่าสองบริษัทได้หรือไม่?
อ่านงบการเงินให้เป็น (40) - 4 ธันวาคม 2554 01:00
เมื่อบริษัทใหญ่นำเสนอ “งบการเงินรวม” บริษัทใหญ่จะทำอย่างไรกับงบการเงินของบริษัทเอง?
อ่านงบการเงินให้เป็น (39) - 27 พฤศจิกายน 2554 01:00
การ “เวียนกำไรขาดทุน” คืออะไร?
อ่านงบการเงินให้เป็น (38) - 20 พฤศจิกายน 2554 01:00
เงินลงทุนใดที่กฎบัญชีอนุญาตให้นำ“กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง”ไปคำนวณ“กำไรขาดทุนสุทธิ”ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านไปที่“กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น”ก่อน?
อ่านงบการเงินให้เป็น (37) - 13 พฤศจิกายน 2554 01:00
กำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงจากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่หรือกำไรจากการตีราคาสินทรัพย์ใหม่เกิดขึ้นอย่างไร?
อ่านงบการเงินให้เป็น (36) - 6 พฤศจิกายน 2554 01:00
บริษัทมหาชนคืออะไร?
อ่านงบการเงินให้เป็น (35) - 30 ตุลาคม 2554 01:00
สำรองตามกฎหมายคืออะไร?
« หน้าก่อน 1 | 2 | 3 | หน้าถัดไป »
ในหนังสือรายละเอียดขยายความ จะมากกว่า