หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
-
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 1
เห็นว่าหลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
รู้สึกจะเกี่ยวกับการลดภาษีในปีหน้า
แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดครับ
รู้สึกจะเกี่ยวกับการลดภาษีในปีหน้า
แต่ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจในรายละเอียดครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 368
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 3
พี่ฉัตรชัยครับ อยากทราบว่ารายการนี้ มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และเพราะอะไรนะครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 4
เกิดจากการคิดรายได้ และค่าใช้จ่ายบางประเภทของสองระบบแตกต่างกัน คือ ตามหลักเกณฑ์บัญชี กับ ทางสรรพากร
เช่น การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การตั้งสำรองสินค้าเสื่อมคุณภาพ การตั้งสำรองต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ทางกรมสรรพากรไม่ยอมรับว่าเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้นกำไรก่อนจ่ายภาษี และภาษีเงินได้จึงแตกต่างกัน
ส่วนต่างดังกล่าวก็มีการคำนวณและลงบันทึกไว้ในงบดุลทั้งฝั่งสินทรัพย์ และหนี้สิน
เมื่อรัฐบาลลดอัตราภาษีเงินได้ลงจาก 30% ลงเหลือ 23% ทำให้สินทรัพย์และหนี้สินประเภทนี้ลดลงด้วย เพราะเดิมคำนวณจากฐานภาษี 30%
เช่น การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การตั้งสำรองสินค้าเสื่อมคุณภาพ การตั้งสำรองต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ทางกรมสรรพากรไม่ยอมรับว่าเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้นกำไรก่อนจ่ายภาษี และภาษีเงินได้จึงแตกต่างกัน
ส่วนต่างดังกล่าวก็มีการคำนวณและลงบันทึกไว้ในงบดุลทั้งฝั่งสินทรัพย์ และหนี้สิน
เมื่อรัฐบาลลดอัตราภาษีเงินได้ลงจาก 30% ลงเหลือ 23% ทำให้สินทรัพย์และหนี้สินประเภทนี้ลดลงด้วย เพราะเดิมคำนวณจากฐานภาษี 30%
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 107
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 5
ข้อมูลแบบนี้ เราจะหาอ่าน หรือศึกษาได้จากที่ไหนครับ ขอคำแนะนำด้วยครับchatchai เขียน:เกิดจากการคิดรายได้ และค่าใช้จ่ายบางประเภทของสองระบบแตกต่างกัน คือ ตามหลักเกณฑ์บัญชี กับ ทางสรรพากร
เช่น การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การตั้งสำรองสินค้าเสื่อมคุณภาพ การตั้งสำรองต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ทางกรมสรรพากรไม่ยอมรับว่าเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้นกำไรก่อนจ่ายภาษี และภาษีเงินได้จึงแตกต่างกัน
ส่วนต่างดังกล่าวก็มีการคำนวณและลงบันทึกไว้ในงบดุลทั้งฝั่งสินทรัพย์ และหนี้สิน
เมื่อรัฐบาลลดอัตราภาษีเงินได้ลงจาก 30% ลงเหลือ 23% ทำให้สินทรัพย์และหนี้สินประเภทนี้ลดลงด้วย เพราะเดิมคำนวณจากฐานภาษี 30%
-
- Verified User
- โพสต์: 1291
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 6
chatchai เขียน:เกิดจากการคิดรายได้ และค่าใช้จ่ายบางประเภทของสองระบบแตกต่างกัน คือ ตามหลักเกณฑ์บัญชี กับ ทางสรรพากร
เช่น การตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญ การตั้งสำรองสินค้าเสื่อมคุณภาพ การตั้งสำรองต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ทางกรมสรรพากรไม่ยอมรับว่าเป็นค่าใช้จ่าย ดังนั้นกำไรก่อนจ่ายภาษี และภาษีเงินได้จึงแตกต่างกัน
ส่วนต่างดังกล่าวก็มีการคำนวณและลงบันทึกไว้ในงบดุลทั้งฝั่งสินทรัพย์ และหนี้สิน
เมื่อรัฐบาลลดอัตราภาษีเงินได้ลงจาก 30% ลงเหลือ 23% ทำให้สินทรัพย์และหนี้สินประเภทนี้ลดลงด้วย เพราะเดิมคำนวณจากฐานภาษี 30%
พอลดภาษีลงเหลือ 23% เเล้ว ทำไมมันกรมสรรพากรไม่ยอมรับว่าเป็นค่าใช้จ่าย ครับ ผมงงว่ามันเกี่ยวข้องกันอย่างไร มีท่านใดพอทราบบ้างครับ เเล้วลดภาษีนี่เริ่มปี 2555 หรือว่า 2554 ปีที่เเล้วครับ
VI Robot The Great
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 101
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 7
อ้างอิงจากเวบนี้
http://www.cpaccount.net/component/fire ... =3&catid=3
ผมประมวลผลสรุปความตามความเข้าใจ (ถ้าผิดขออภัย) อธิบายง่ายๆ ว่า บริษัทที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหักภาษีได้ เช่นสำรองหนี้สูญ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะนำมาคิดคำนวณเพื่อบันทึกไว้ในบัญชีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ทีนี้แต่เดิมมันคำนวณจาก rate 30% แต่ ณ ตอนนี้ ต้องมาปรับปรุงมันให้เป็น 23% จึงเกิดการบันทึกค่าคืนกลับมา ทำให้มียอดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
อ่านแล้วอาจจะงง ผมยังงงอยู่เลย ดูตัวอย่างจะง่ายกว่า
สมมติ
1. รายได้ 200
2. ค่าใช้จ่ายทั่วๆ ไป 100
3. ค่าใช่จ่ายที่ไม่สามารถหักภาษีได้ 40
4. กำไรทางบัญชี = 60
5. บันทึกบัญชีภาษีั 60 x 30% = 18 บาท
6. แต่ 40 บาทหักภาษีไม่ได้ จึงบันทึกบัญชีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี = 40 x 30% = 12 บาท นำยอดนี้ไปบวกกับภาษี 18 บาท
7. ภาษีจ่ายจริง 18 + 12 = 30 บาท
8. ทีนี้ ณ จังหวะนี้ ภาษีกำลังจะเปลี่ยนเป็น 23% ดังนั้นจริงๆ แล้ว ยอดข้อ 6 ต้องเป็น 40 x 23% = 9.2 บาท
9. ดังนั้นต้องปรับปรุงรายการ เอา 2.8 บาท (จาก 12 - 9.2) ที่เคยตั้งไว้กลับมา สรุปว่างวดนี้จะเกิด ค่าใช้จ่ายพิเศษขึ้น 2.8 บาท
ประมาณนี้ครับ ใครรู้จริงช่วยเสริมด้วย
http://www.cpaccount.net/component/fire ... =3&catid=3
ผมประมวลผลสรุปความตามความเข้าใจ (ถ้าผิดขออภัย) อธิบายง่ายๆ ว่า บริษัทที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหักภาษีได้ เช่นสำรองหนี้สูญ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะนำมาคิดคำนวณเพื่อบันทึกไว้ในบัญชีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ทีนี้แต่เดิมมันคำนวณจาก rate 30% แต่ ณ ตอนนี้ ต้องมาปรับปรุงมันให้เป็น 23% จึงเกิดการบันทึกค่าคืนกลับมา ทำให้มียอดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
อ่านแล้วอาจจะงง ผมยังงงอยู่เลย ดูตัวอย่างจะง่ายกว่า
สมมติ
1. รายได้ 200
2. ค่าใช้จ่ายทั่วๆ ไป 100
3. ค่าใช่จ่ายที่ไม่สามารถหักภาษีได้ 40
4. กำไรทางบัญชี = 60
5. บันทึกบัญชีภาษีั 60 x 30% = 18 บาท
6. แต่ 40 บาทหักภาษีไม่ได้ จึงบันทึกบัญชีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี = 40 x 30% = 12 บาท นำยอดนี้ไปบวกกับภาษี 18 บาท
7. ภาษีจ่ายจริง 18 + 12 = 30 บาท
8. ทีนี้ ณ จังหวะนี้ ภาษีกำลังจะเปลี่ยนเป็น 23% ดังนั้นจริงๆ แล้ว ยอดข้อ 6 ต้องเป็น 40 x 23% = 9.2 บาท
9. ดังนั้นต้องปรับปรุงรายการ เอา 2.8 บาท (จาก 12 - 9.2) ที่เคยตั้งไว้กลับมา สรุปว่างวดนี้จะเกิด ค่าใช้จ่ายพิเศษขึ้น 2.8 บาท
ประมาณนี้ครับ ใครรู้จริงช่วยเสริมด้วย
- jo7393
- Verified User
- โพสต์: 2486
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 8
ถ้าเป็นอย่างที่ว่าภาษีจ่ายต้องน้อยลงซิครับnopy_yoyo เขียน:อ้างอิงจากเวบนี้
http://www.cpaccount.net/component/fire ... =3&catid=3
ผมประมวลผลสรุปความตามความเข้าใจ (ถ้าผิดขออภัย) อธิบายง่ายๆ ว่า บริษัทที่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถหักภาษีได้ เช่นสำรองหนี้สูญ ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะนำมาคิดคำนวณเพื่อบันทึกไว้ในบัญชีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ทีนี้แต่เดิมมันคำนวณจาก rate 30% แต่ ณ ตอนนี้ ต้องมาปรับปรุงมันให้เป็น 23% จึงเกิดการบันทึกค่าคืนกลับมา ทำให้มียอดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
อ่านแล้วอาจจะงง ผมยังงงอยู่เลย ดูตัวอย่างจะง่ายกว่า
สมมติ
1. รายได้ 200
2. ค่าใช้จ่ายทั่วๆ ไป 100
3. ค่าใช่จ่ายที่ไม่สามารถหักภาษีได้ 40
4. กำไรทางบัญชี = 60
5. บันทึกบัญชีภาษีั 60 x 30% = 18 บาท
6. แต่ 40 บาทหักภาษีไม่ได้ จึงบันทึกบัญชีภาษีเงินได้รอตัดบัญชี = 40 x 30% = 12 บาท นำยอดนี้ไปบวกกับภาษี 18 บาท
7. ภาษีจ่ายจริง 18 + 12 = 30 บาท
8. ทีนี้ ณ จังหวะนี้ ภาษีกำลังจะเปลี่ยนเป็น 23% ดังนั้นจริงๆ แล้ว ยอดข้อ 6 ต้องเป็น 40 x 23% = 9.2 บาท
9. ดังนั้นต้องปรับปรุงรายการ เอา 2.8 บาท (จาก 12 - 9.2) ที่เคยตั้งไว้กลับมา สรุปว่างวดนี้จะเกิด ค่าใช้จ่ายพิเศษขึ้น 2.8 บาท
ประมาณนี้ครับ ใครรู้จริงช่วยเสริมด้วย
ข้อ7 ภาษีจ่ายจริง 18+9.2=27.2 บาท
รอฟังด้วยคนครับ
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่
อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 101
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 9
นั่นคือ common sense ที่ทุกคนคิดกัน จึงทำให้งงครับ มันเรื่องเดียวกัน ภาษีจ่ายน้อยลงแน่ครับ แต่มันคนละประเด็นกัน ตัวอย่างของผมคือทำนองว่า "ของเดิม reverse ค่าใช้จ่ายกลับคืนมามากเกินไป แต่ตอนนี้ต้องปรับให้น้อยลง งวดนี้จึงมีค่าใช้จ่ายมากขึ้น"jo7393 เขียน: ถ้าเป็นอย่างที่ว่าภาษีจ่ายต้องน้อยลงซิครับ
ข้อ7 ภาษีจ่ายจริง 18+9.2=27.2 บาท
รอฟังด้วยคนครับ
ลองคิดอย่างงี้ครับ บริษัทจ่ายภาษีไปเป็นเงิน 30 บาทเรียบร้อยแล้วในงวดนี้ แต่บริษัทยืนยันว่ายังไงๆ ตัวเองควรจ่ายจริงแค่ 18 บาท ควรเกิดค่าใช้จ่ายในงวดนี้แค่ 18 บาท ก็เลย reverse 12 บาทกลับมา เพื่อรอไว้บันทึกเป็นค่าใช้่จ่ายในงวดนู้นนนน ที่ยังมาไมุ่ึถึง (ตามที่บริษัทคิด ไม่ใช่ตามสรรพากรสั่ง)
ทีนี้สรรพากรดันเปลี่ยน rate ภาษี ก็กลายเป็นว่า อ้าว พอถึงงวดนู้นนนน ตามที่คิดจริง บริษัทจะบันทึกกลับได้แค่ 9.2 ซะละ อีก 2.8 ที่ reverse มาเกินทำไงดี งั้นก็บันทึกมันกลับซะงวดนี้เลย จบ
ปล. ถ้ามันผิด ช่วยแก้นะครับ ผมเข้าใจงี้เท่าที่อ่านจาก link
- ilekis
- Verified User
- โพสต์: 205
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 10
ดีครับ เกิดผลขาดทุนแค่ทางบัญชี
ถ้าคนเข้าใจผิดว่าผลประกอบการแย่ลง แล้วขายหุ้นออกมา
จะได้มีโอกาสเก็บหุ้นที่เหล่ไว้ซะที
กลัวแต่ว่า จะไปทำให้กลายเป็นกำไรพิเศษทางภาษีหนะสิครับ
ถ้าคนเข้าใจผิดว่าผลประกอบการแย่ลง แล้วขายหุ้นออกมา
จะได้มีโอกาสเก็บหุ้นที่เหล่ไว้ซะที
กลัวแต่ว่า จะไปทำให้กลายเป็นกำไรพิเศษทางภาษีหนะสิครับ
How much can you know about yourself, you've never been in a fight?
Tyler Durden
Tyler Durden
-
- Verified User
- โพสต์: 732
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 11
ขอชื่นชมที่นักลงทุนท่านนี้มองการณ์ไกล และนำความรู้มาแบ่งครับ มันขาดทุนจริงๆด้วย
ลงทุนหุ้นดี มีสตอรี่ ราคาไม่แพง เดี๋ยวก็รวย
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
หนังสือเล่มสองผมครับ เจาะหุ้นร้อน สแกนหุ้นเด้ง การแคะหุ้นจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
-
- Verified User
- โพสต์: 130
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 12
ขออนุญาต WM , moderator และเพื่อนๆ ทุกท่าน
เนื่องจากอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ จึงได้นำเรียน อาจารย์(ดร.)ภาพร เพื่อขอคำอธิบายเพิ่มเติม
ซึ่งอาจารย์ มีความกรุณาอธิบายให้และให้นำมาเผยแพร่คำสอน ณ กระทู้นี้เป็นประโยชน์ต่อทุกท่านได้
http://www.facebook.com/#!/profile.php? ... 3284678465
.......................................................
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
เรื่องที่ว่าคือ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ลงเรียนวิชา "กลบัญชี" หรือเปล่าคะ
อาจารย์จะสอนในห้อง ถ้าไม่ได้เรียนไม่เป็นไรค่ะ บอกมา เดี๋ยวจะอธิบายคร่าวๆ ให้
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
เอาแต่เริมต้นนะคะ เมื่อรัฐบาลลดภาษี ค่าใช้จ่ายภาษีคิดตามวิธีการบัญชีจะเพิ่มขึ้น
เนื่องจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี DTA ลดลง DTA เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต
บริษัทเคยบันทึก DTA ในงบดุลงวดก่อนโดยใช้อัตรา 30% เนื่องจาก
บริษัทจ่ายภาษีมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีที่คิดตามวิธีการของบัญชี ตัวอย่างเช่น
ถ้าบริษัทคิดค่าเสื่อมเร็วกว่าที่ประมวลรัษฎากรอนุญาต ก็เท่ากับบริษัทมีค่าใช้จ่ายภาษีตามบัญชีน้อยกว่าภาษีตามประมวลฯ
เนื่องจากบริษัทใช้งานสินทรัพย์มาก ค่าเสื่อมสูง ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์จะต่ำกว่าที่กรมสรรพากรประเมิน
เพราะการที่สินทรัพย์ของเราโทรมเร็ว เมื่อขายเราก็จะได้ราคาต่ำและเสียภาษีน้อยกว่าภาษีที่ได้จ่ายให้สรรพากรไปแล้ว
ดังนั้น เมื่อราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ต่ำกว่ามูลค่าที่สรรพากรประเมิน เราจึงต้องจ่ายให้สรรพากรสูงกว่าค่าใช้จ่ายภาษีที่เกิดจริง
เราจึงบันทึกภาษีที่จ่ายเกินไปนี้เป็น DTA เพราะเราจะได้ประโยชน์จาก DTA เมื่อเราทะยอยใช้สินทรัพย์หรือเมื่อเราขายสินทรัพย์
นั่นหมายถึง DTA มีประโยชน์กับเรา เราเลยบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของงวดก่อน
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
ทีนี้ เมื่ออัตราภาษีลดลงจาก 30% เป็น 23% สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
ประโยชน์ทางภาษีที่เราได้ตั้งไว้ที่ 30% ได้หมดประโยชน์ไปแล้ว 7%
เพราะปีนี้เมื่อเราจะใช้ประโยชน์ทางภาษี (จากการใช้หรือขายสินทรัพย์)
เราจะได้ประโยชน์ทางภาษีแค่ 23% ไม่ใช่ 30% ดังนั้น DTA ที่เราตั้งไว้
จึงถือว่าด้อยค่าไปในทันที ทำให้เราต้องปรับ DTA ลดลง
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
การปรับสินทรัพย์ลดลง จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเสมอ อาจารย์จะพูดเป็นประจำว่า
สินทรัพย์วันนี้คือค่าใช้จ่่ายในวันหน้า ถ้าอัตราภาษีไม่เปลี่ยน จะช้าหรือเร็ว
บริษัทก็ยังคงต้องตัด DTA เป็นค่าใช้จ่่ายอยู่ดี เพียงแต่มันจะไม่มาพรวดเดียวให้ตกใจเหมือนในขณะนี้
เนื่องจากอ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ จึงได้นำเรียน อาจารย์(ดร.)ภาพร เพื่อขอคำอธิบายเพิ่มเติม
ซึ่งอาจารย์ มีความกรุณาอธิบายให้และให้นำมาเผยแพร่คำสอน ณ กระทู้นี้เป็นประโยชน์ต่อทุกท่านได้
http://www.facebook.com/#!/profile.php? ... 3284678465
.......................................................
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
เรื่องที่ว่าคือ ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ลงเรียนวิชา "กลบัญชี" หรือเปล่าคะ
อาจารย์จะสอนในห้อง ถ้าไม่ได้เรียนไม่เป็นไรค่ะ บอกมา เดี๋ยวจะอธิบายคร่าวๆ ให้
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
เอาแต่เริมต้นนะคะ เมื่อรัฐบาลลดภาษี ค่าใช้จ่ายภาษีคิดตามวิธีการบัญชีจะเพิ่มขึ้น
เนื่องจากสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี DTA ลดลง DTA เกิดขึ้นมาแล้วในอดีต
บริษัทเคยบันทึก DTA ในงบดุลงวดก่อนโดยใช้อัตรา 30% เนื่องจาก
บริษัทจ่ายภาษีมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีที่คิดตามวิธีการของบัญชี ตัวอย่างเช่น
ถ้าบริษัทคิดค่าเสื่อมเร็วกว่าที่ประมวลรัษฎากรอนุญาต ก็เท่ากับบริษัทมีค่าใช้จ่ายภาษีตามบัญชีน้อยกว่าภาษีตามประมวลฯ
เนื่องจากบริษัทใช้งานสินทรัพย์มาก ค่าเสื่อมสูง ราคาตามบัญชีของสินทรัพย์จะต่ำกว่าที่กรมสรรพากรประเมิน
เพราะการที่สินทรัพย์ของเราโทรมเร็ว เมื่อขายเราก็จะได้ราคาต่ำและเสียภาษีน้อยกว่าภาษีที่ได้จ่ายให้สรรพากรไปแล้ว
ดังนั้น เมื่อราคาตามบัญชีของสินทรัพย์ต่ำกว่ามูลค่าที่สรรพากรประเมิน เราจึงต้องจ่ายให้สรรพากรสูงกว่าค่าใช้จ่ายภาษีที่เกิดจริง
เราจึงบันทึกภาษีที่จ่ายเกินไปนี้เป็น DTA เพราะเราจะได้ประโยชน์จาก DTA เมื่อเราทะยอยใช้สินทรัพย์หรือเมื่อเราขายสินทรัพย์
นั่นหมายถึง DTA มีประโยชน์กับเรา เราเลยบันทึกไว้เป็นสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีของงวดก่อน
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
ทีนี้ เมื่ออัตราภาษีลดลงจาก 30% เป็น 23% สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
ประโยชน์ทางภาษีที่เราได้ตั้งไว้ที่ 30% ได้หมดประโยชน์ไปแล้ว 7%
เพราะปีนี้เมื่อเราจะใช้ประโยชน์ทางภาษี (จากการใช้หรือขายสินทรัพย์)
เราจะได้ประโยชน์ทางภาษีแค่ 23% ไม่ใช่ 30% ดังนั้น DTA ที่เราตั้งไว้
จึงถือว่าด้อยค่าไปในทันที ทำให้เราต้องปรับ DTA ลดลง
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
การปรับสินทรัพย์ลดลง จะทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเสมอ อาจารย์จะพูดเป็นประจำว่า
สินทรัพย์วันนี้คือค่าใช้จ่่ายในวันหน้า ถ้าอัตราภาษีไม่เปลี่ยน จะช้าหรือเร็ว
บริษัทก็ยังคงต้องตัด DTA เป็นค่าใช้จ่่ายอยู่ดี เพียงแต่มันจะไม่มาพรวดเดียวให้ตกใจเหมือนในขณะนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 130
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 13
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
นักลงทุนชอบพูดว่า ขาดทุนนี้เป็นขาดทุนตัวเลขไม่ต้องตกใจ
คำพูดนี้ถ้าพูดจนตัวเองเชื่อจนไม่ใส่ใจกับค่าใช้จ่ายตัวนี้ ก็อาจน่าเป็นห่วง
สินทรัพย์อะไรก็ตามที่เคยบันทึกบัญชีไว้แล้วด้อยค่าลง น่าที่จะต้องนำมาพิจารณาทั้งนั้น
แต่บังเอิญว่า กรณีนี้ การลดอัตราภาษี มีผลดีกับอนาคต เพราะบริษัทจะประหยัดเงินสด
ได้จากอัตราภาษีที่ลดลงในปีหน้า เข้าข่ายกำไรต่ำ cash flow สูง (คล้ายกับเรื่งค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ปีะหยัดภาษีนั่นเอง)
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
ข้อสังเกตนิดหนึ่ง บริษัทที่มีค่าใช้จ่ายภาษีเพิ่มขึ้นมาก เพราะเคยบันทึกสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไว้มาก
แต่ถ้าบริษัทมีหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี DTL ในงวดก่อนแทนที่จะเป็น DTA
(บริษัทบางบริษัทเลี่ยงไม่บันทึก DTL เพราะไม่ต้องการให้หนี้สินโผล่ขึ้นในงบดุล)
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จะลดลงเมื่ออัตราภาษีลดลง เพราะอยู่ๆ อัตราภาษีลดลง ทำให้หนี้ลดลง
ดังนั้น ถ้าบริษัทบันทึกทั้ง DTA และ DTL ผลของค่าใช้จ่่ยภาษีที่เพิ่มขึ้นอาจไม่รุนแรง
เท่ากับบริษัทที่บันทึก DTA อย่่งเดียวโดยไม่บันทึก DTL มาเลยในอดีต
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
หวังว่าการอธิบายนี้จะช่วยให้เข้าใจได้บ้างนะคะ ทำอย่างไรคนอื่นจะได้อ่านด้วย
รู้วิธี post ไหมคะ นักลงทุนคนอื่นถามเข้ามาเยอะ เขาอาจจะอยากอ่านด้วย ขอบคุณค่ะ
นักลงทุนชอบพูดว่า ขาดทุนนี้เป็นขาดทุนตัวเลขไม่ต้องตกใจ
คำพูดนี้ถ้าพูดจนตัวเองเชื่อจนไม่ใส่ใจกับค่าใช้จ่ายตัวนี้ ก็อาจน่าเป็นห่วง
สินทรัพย์อะไรก็ตามที่เคยบันทึกบัญชีไว้แล้วด้อยค่าลง น่าที่จะต้องนำมาพิจารณาทั้งนั้น
แต่บังเอิญว่า กรณีนี้ การลดอัตราภาษี มีผลดีกับอนาคต เพราะบริษัทจะประหยัดเงินสด
ได้จากอัตราภาษีที่ลดลงในปีหน้า เข้าข่ายกำไรต่ำ cash flow สูง (คล้ายกับเรื่งค่าใช้จ่ายสูง ทำให้ปีะหยัดภาษีนั่นเอง)
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
ข้อสังเกตนิดหนึ่ง บริษัทที่มีค่าใช้จ่ายภาษีเพิ่มขึ้นมาก เพราะเคยบันทึกสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีไว้มาก
แต่ถ้าบริษัทมีหนี้สินภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี DTL ในงวดก่อนแทนที่จะเป็น DTA
(บริษัทบางบริษัทเลี่ยงไม่บันทึก DTL เพราะไม่ต้องการให้หนี้สินโผล่ขึ้นในงบดุล)
ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้จะลดลงเมื่ออัตราภาษีลดลง เพราะอยู่ๆ อัตราภาษีลดลง ทำให้หนี้ลดลง
ดังนั้น ถ้าบริษัทบันทึกทั้ง DTA และ DTL ผลของค่าใช้จ่่ยภาษีที่เพิ่มขึ้นอาจไม่รุนแรง
เท่ากับบริษัทที่บันทึก DTA อย่่งเดียวโดยไม่บันทึก DTL มาเลยในอดีต
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
หวังว่าการอธิบายนี้จะช่วยให้เข้าใจได้บ้างนะคะ ทำอย่างไรคนอื่นจะได้อ่านด้วย
รู้วิธี post ไหมคะ นักลงทุนคนอื่นถามเข้ามาเยอะ เขาอาจจะอยากอ่านด้วย ขอบคุณค่ะ
-
- Verified User
- โพสต์: 130
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 14
คำถาม แทรกระหว่างอธิบาย(ถามอาจารย์) :
DTA คือการเก็บภาษีซ้ำ/ซ้อน ใช่ไหมคะอาจารย์ ???
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
DTA ไม่ใช่การเก็บภาษีซ้ำซ้อนค่ะ การเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีตัวเดียว
เพียงแต่ว่า เวลาในการจ่ายภาษีตามที่กรมสรรพากรเก็บเงินเรา กับเวลาที่เรา (คือ บริษัท)
คิดเป็นค่่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนอาจเร็วช้าต่างกัน คือแสดงกันคนละงวด
ทำให้ DTA กับ DTL เกิดขึ้น ถ้าเราจ่ายภาษีให้สรรพากรเร็วกว่าที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในบัญชี
เราก็มี DTA เพราะในอนาคตเหตุการณ์ก็จะกลับกันเป็นเราจ่ายภาษีน้อยกว่าค่าใช้จ่ายตามบัญชี
เมื่อนั้นเราก็กลับบัญชี DTA มาใช้ เห็นไหมคะว่า DTA จะโดนทะยอยออกมาเป็นค่่าใช้จ่ายอยู่ดี
เพียงแต่ไม่ได้ออกมาในงวดเดียวแบบนี้ ที่ตอนนี้ DTA พรวดออกมาก็เพราะหมดประโยชน์ค่ะ
ในอนาคตบริษัทจะไม่ได้ใช้ส่วนต่างอัตราภาษี 7% ที่ลดลง
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ (ดร.)ภาพร เอกอรรถพร ที่เมตตาอธิบายให้ความกระจ่างครั้งนี้ด้วยค่ะ _/\_
DTA คือการเก็บภาษีซ้ำ/ซ้อน ใช่ไหมคะอาจารย์ ???
ดร. ภาพร เอกอรรถพร:
DTA ไม่ใช่การเก็บภาษีซ้ำซ้อนค่ะ การเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีตัวเดียว
เพียงแต่ว่า เวลาในการจ่ายภาษีตามที่กรมสรรพากรเก็บเงินเรา กับเวลาที่เรา (คือ บริษัท)
คิดเป็นค่่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนอาจเร็วช้าต่างกัน คือแสดงกันคนละงวด
ทำให้ DTA กับ DTL เกิดขึ้น ถ้าเราจ่ายภาษีให้สรรพากรเร็วกว่าที่บันทึกเป็นค่าใช้จ่ายในบัญชี
เราก็มี DTA เพราะในอนาคตเหตุการณ์ก็จะกลับกันเป็นเราจ่ายภาษีน้อยกว่าค่าใช้จ่ายตามบัญชี
เมื่อนั้นเราก็กลับบัญชี DTA มาใช้ เห็นไหมคะว่า DTA จะโดนทะยอยออกมาเป็นค่่าใช้จ่ายอยู่ดี
เพียงแต่ไม่ได้ออกมาในงวดเดียวแบบนี้ ที่ตอนนี้ DTA พรวดออกมาก็เพราะหมดประโยชน์ค่ะ
ในอนาคตบริษัทจะไม่ได้ใช้ส่วนต่างอัตราภาษี 7% ที่ลดลง
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ (ดร.)ภาพร เอกอรรถพร ที่เมตตาอธิบายให้ความกระจ่างครั้งนี้ด้วยค่ะ _/\_
-
- Verified User
- โพสต์: 3350
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 16
ไม่แน่ใจนะคับTamจัง เขียน:ยังไงๆผลมันก็น้อยกว่า ภาษีที่ประหยัดได้ 7% ไม่ใช่หรือ
หักกลบกันแล้ว กำไรบรรทัดสุดท้ายก็มากขึ้นอยู่ดี
ถ้าเท่าที่มึนๆอ่าน คือ ถ้ามี dtaใหญ่ๆ แล้วต้องตัดจ่าย ออกมาทั้งก้อนลงใน p/l statement
อาจจะทำให้ bottom line ลดลง ไม่ใช่มากขึ้น
แต่จะโชว์ใน กระแสเงินสด มากกว่าคับ ที่ มีส่วนต่างเกิดขึ้น
เด๋วรอคนมาแก้อีกทีละกันคับ
show me money.
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 18
Tamจัง เขียน:ยังไงๆผลมันก็น้อยกว่า ภาษีที่ประหยัดได้ 7% ไม่ใช่หรือ
หักกลบกันแล้ว กำไรบรรทัดสุดท้ายก็มากขึ้นอยู่ดี
คุณกำลังพูดถึง กำไรขาดทุน หรือ cash flow?
ตั้งสติดีๆ นะคะ เพราะมันมาจากคนละงบการเงินกัน
ในงบกำไรขาดทุน ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ที่เกิดจากการเทกระจาด 7% ของงวดนี้ ส่งผลทำให้กำไรขาดทุนสุทธิลดลงแน่ๆ ไม่อย่างนั้น ก็คงไม่เป็นเรื่อง talk of the town ของนักลงทุนในขณะนี้
แต่การเทกระจาดค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ยังไม่ส่งผลกับ cash flow ในปีนี้ (สังเกตว่าเป็นรายการบวกกลับในงบกระแสเงินสด) และการที่รัฐบาลลดอัตราภาษีเหลือ 23% นั้นเป็นการจ่ายภาษีสำหรับปีหน้า และยังไม่ส่งผลกับงบกระแสเงินสดในปีนี้ เพราะปีนี้ บริษัทยังคงจ่ายภาษีที่ 30% อยู่ (จริงๆ แล้ว ในงบกระแสเงินสดปี 2554 เงินภาษีที่จ่ายให้กรมสรรพากรเป็นเงินภาษีของปี 2553 + 2554 เพราะบริษัทจ่ายภาษีครึ่งปีในปีที่ออกงบ และจ่ายภาษีที่เหลือหลังวันออกงบ ในงบกระแสเงินสด ภาษีจึงมาจากการจ่่ายเหลื่อมปีส่วนหนึ่งและจ่ายในปีอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้น ในงบกระแสเงินสด เราจึงจะไม่เห็นผลกระทบของอัตราภาษี 23% จนกระทั่ง หลังเดือนกันยายน ปี 55)
ปี 2555++ บริษัทจึงจะมี cash flow มากขึ้น แต่การเทกระจาดค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ครั้งนี้เกิดขึ้นในงบกำไรขาดทุนที่เป็นเกณฑ์คงค้าง และเกิดจากการที่ สินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี DTA ที่เคยประเมินว่าบริษัทจะได้ประโยชน์จากมันที่ 30% ลดลงกลายเป็น 23% และ 20% ทำให้ DTA ด้อยค่าลง ก็เลยถูกตัดเป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่มีการประกาศกฎหมาย ทั้งที่ผลกระทบต่อ cash flow จากการประหยัดภาษีจะยังไม่เกิดขึ้นจนปีหน้า หรือหลังปีหน้า
อย่าลืมนะคะ DTA คือ สินทรัพย์ ซึ่งมีลักษณะเหมือนสินทรัพย์ทั่วไป เช่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ส่วนใหญ่สินทรัพย์เกิดขึ้นตอนที่บริษัทจ่ายเงินสดออกไป (ซึ่งอาจจะนานมาแล้ว และกระทบกับ cash flow ในงวดก่อนๆ ไปแล้ว) แล้วบริษัทจะค่อยๆ ทะยอยนำสินทรัพย์นั้นมาใช้ประโยชน์ สินทรัพย์จะกลายเป็นค่าใช้จ่ายเมื่อให้ประโยชน์กับบริษัท เช่น ค่าเสื่อมราคา ค่าใช้จ่ายนี้เกิดในงบกำไรขาดทุนทั้งที่ไม่มี cash flow เกี่ยวข้อง เพราะ cash flow แสดงในงบกระแสเงินสดไปแล้วในงวดก่อนๆ เว้นแต่บังเอิญว่าบริษัทจะจ่ายเงินสดสำหรับสินทรัพย์นั้นในงวดเดียวกัน
DTA ก็เหมือนกัน การที่ DTA เกิดขึ้นได้ นั่นหมายความว่า กระแสเงินสดไหลออกจากบริษัทไปแล้วในอดีต ตอนนี้รอนำมาทะยอยใช้เป็นค่าใช้จ่าย แต่ถ้าสินทรัพย์หมดประโยชน์ ค่าใช้จ่ายก็จะเกิดขึ้นแบบเทกระจาดในทันที เหมือนกับที่เกิดขึ้นในขณะนี้
หวังว่าจะช่วยให้ตัดสินซื้อหรือขายหุ้นดีขึ้นนะคะ
-
- Verified User
- โพสต์: 1255
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 21
ใครยังไมเข้าใจผมว่า ดูจากการลงบัญชีและเหตุผลจากหลายๆบริษัทได้ เช่น
MBK ได้ลงภาษีรอตัดบัญชีไว้ (เป็นพันล้าน) เป็นหนี้สินระยะยาว มันเกิดจากมูลค่าการประเมินทรัพย์สินสูงขึ้นกว่าในอดีต
นี่แหละครับประเด็น เพราะMBK เล็งเห็นภาระที่จะต้องเสียหากขายทรัพย์สินนี้ออกไปตามราคาประเมิน ด้วยอัตราภาษี 30%
แต่วันนี้ภาษีจะเหลือ 23% และ 20 %
ดังนั้น MBK ก็จะมี Book Value เพื่อขึ้นจากการลดลงของภาษี 30 ไป 23
กรณีของ MBK คือผลประโยชน์ในอนาคตถูกปรับแก้ให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์
มันก็ทำนองเดียวกันกับผลประโยชน์ ที่ถูกใช้ไปแล้วในอดีตด้วยอัตราภาษี 30% แล้วจะต้องปรับแก้ให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ในปัจจุบันที่เป็น 23% โดยคำนึงถึงการลงบัญชีในอดีต ถ้าลงในงบกำไร/ขาดทุน ก็ต้องปรับเป็นขาดทุนในปัจจุบัน เช่น AIS
แต่ MBK ไม่ได้ลงเป็นกำไร/ขาดทุน ก็ต้องปรับที่ส่วนผู้ถือหุ้นแทน
เรื่อง defer tax ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดครับ
MBK ได้ลงภาษีรอตัดบัญชีไว้ (เป็นพันล้าน) เป็นหนี้สินระยะยาว มันเกิดจากมูลค่าการประเมินทรัพย์สินสูงขึ้นกว่าในอดีต
นี่แหละครับประเด็น เพราะMBK เล็งเห็นภาระที่จะต้องเสียหากขายทรัพย์สินนี้ออกไปตามราคาประเมิน ด้วยอัตราภาษี 30%
แต่วันนี้ภาษีจะเหลือ 23% และ 20 %
ดังนั้น MBK ก็จะมี Book Value เพื่อขึ้นจากการลดลงของภาษี 30 ไป 23
กรณีของ MBK คือผลประโยชน์ในอนาคตถูกปรับแก้ให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์
มันก็ทำนองเดียวกันกับผลประโยชน์ ที่ถูกใช้ไปแล้วในอดีตด้วยอัตราภาษี 30% แล้วจะต้องปรับแก้ให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ในปัจจุบันที่เป็น 23% โดยคำนึงถึงการลงบัญชีในอดีต ถ้าลงในงบกำไร/ขาดทุน ก็ต้องปรับเป็นขาดทุนในปัจจุบัน เช่น AIS
แต่ MBK ไม่ได้ลงเป็นกำไร/ขาดทุน ก็ต้องปรับที่ส่วนผู้ถือหุ้นแทน
เรื่อง defer tax ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 23
อาจารย์มีแกะเงื่อนงบการเงินค่ะ แต่ศรีธนญชัยมีแต่เล่มที่ชำรุดnut776 เขียน:อาจารย์ภาพรคับ
หาซื้อแกะเงื่อนงบการเงิน กับ ศรีธณนชัย ไม่ได้
ไม่ทราบว่าจะพิมใหม่ไหมคับ
ขอบคุณคับ
เข้าไปคุยกันใน fb ดร.ภาพร เอกอรรถพร ดีไหมคะ คุยกันตรงนี้เกรงใจคนอื่น
-
- Verified User
- โพสต์: 231
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 24
ต่อเรื่องภาษีเงินได้อีกนิดหนึ่ง ขยายความที่คุณ wj เขียนมา
DTA อาจไม่ได้เกิดจากการที่เราจ่ายภาษีให้กรมสรรพากรมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีในงบกำไรขาดทุนเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการที่บริษัทตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม ทำให้เกิดผลกระทบกับสินทรัพย์ที่แสดงในงบดุลทั้งที่ยังไม่เกี่ยวกับการจ่ายภาษี
ท้าวความนิด.... การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม ทำให้บริษัทรับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เรียกว่า กำไรจากการตีราคาใหม่ แสดงในส่วนที่เป็น กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
กำไรจากการตีราคาใหม่ทำให้เกิด DTL ในเวลาเดียวกัน โดยที่ DTL จะบันทึกและแสดงเป็นหนี้สินในงบดุลเท่ากับอัตราภาษี x มูลค่าสินทรัพย์ที่ตีเพิ่ม
ถ้าคิดดูให้ดี DTL รายการนี้ยังไม่มีผลกระทบกับภาษีที่บริษัทจ่ายให้กรมสรรพากร จนกระทั่งบริษัทขายสินทรัพย์ ดังนั้น การลดลงของอัตราภาษีที่ทำให้ DTL ลดลง จึงไม่มีผลต่องบกำไรขาดทุน (หมายถึงไม่มีผลต่อ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ในงบกำไรขาดทุน) ดังนั้น เมื่ออัตราภาษีลดลง DTL ที่เกิดจากรายการนี้จึงกลับบัญชีโดยตรงไปยัง กำไรจากการตีราคาใหม่ แทนที่จะบันทึกไปปรับกับค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
ตัวอย่างเช่น บริษัทมีที่ดินราคา 100 ลบ. ปี 2553 บริษัทปรับราคาที่ดินเพิ่มเป็น 150 ลบ. บริษัทบันทึกกำไรจากการตีราคาใหม่ 35 ลบ. และ DTL 15 ลบ. ตามอัตราภาษี 30% พอมาปี 54 อัตราภาษีลดลงเป็น 20% แสดงว่า หนี้สินของบริษัทลดลง 5 ลบ. บริษัทต้องปรับ DTL ออก แต่จำนวน 5 ลบ. ที่ลดลง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจ่ายภาษี เพราะยังไม่ได้จ่าย ลองนึกดีๆ ว่าจำนวน 5 ลบ. จะไปไหน? มันต้องกลับไปเพิ่ม กำไรจากการตีราคาใหม่ ให้เหมือนกับว่า กำไรเกิดขึ้น 80% ของมูลค่าที่ตีเพิ่ม ส่วน DTL ก็จะมีจำนวนเท่ากับ 20% ของมูลค่าที่ตีเพิ่ม (เมื่อกลับบัญชีเสร็จ กำไรจากการตีราคาใหม่จะเท่ากับ 40 ลบ. และ DTL จะเท่ากับ 10 ลบ.)
นี่อธิบายแบบกำปั้นทุบดินนะคะ ถ้าจะเอากฎจุกจิกก็มีอีกเพียบ โดยเฉพาะตัวอย่างที่ยกมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ดิน ที่ไม่มีค่าเสื่อมราคา แต่ถ้าเป็นอาคารและอุปกรณ์ เรื่องก็จะยุ่งกว่านี้ เพราะมีค่าเสื่อมราคามาเกี่ยวข้อง และไปเกี่ยวข้องกับกลบัญชีในการแต่งงบกำไรขาดทุนต่อไปอีก
ขอละไว้ไม่พูดถึงในตอนนี้
ตอนนี้ขอแค่ให้นักลงทุนมองภาพ DTA (สินทรัพย์ที่อยู่ในงบดุลซึ่งอาจแสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน หรือแสดงทั้งหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน) ค่่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (ค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่แสดงในงบกำไรขาดทุน) และภาษีเงินได้ค้างจ่าย (จำนวนภาษีที่ติดกรมสรรพากร ที่แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียนในงบดุล) ให้ทะลุเสียก่อน
แค่นี้ คนอธิบายก็จะดีใจมากแล้ว
DTA อาจไม่ได้เกิดจากการที่เราจ่ายภาษีให้กรมสรรพากรมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีในงบกำไรขาดทุนเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการที่บริษัทตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม ทำให้เกิดผลกระทบกับสินทรัพย์ที่แสดงในงบดุลทั้งที่ยังไม่เกี่ยวกับการจ่ายภาษี
ท้าวความนิด.... การตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม ทำให้บริษัทรับรู้กำไรในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จที่เรียกว่า กำไรจากการตีราคาใหม่ แสดงในส่วนที่เป็น กำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จอื่น
กำไรจากการตีราคาใหม่ทำให้เกิด DTL ในเวลาเดียวกัน โดยที่ DTL จะบันทึกและแสดงเป็นหนี้สินในงบดุลเท่ากับอัตราภาษี x มูลค่าสินทรัพย์ที่ตีเพิ่ม
ถ้าคิดดูให้ดี DTL รายการนี้ยังไม่มีผลกระทบกับภาษีที่บริษัทจ่ายให้กรมสรรพากร จนกระทั่งบริษัทขายสินทรัพย์ ดังนั้น การลดลงของอัตราภาษีที่ทำให้ DTL ลดลง จึงไม่มีผลต่องบกำไรขาดทุน (หมายถึงไม่มีผลต่อ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ ในงบกำไรขาดทุน) ดังนั้น เมื่ออัตราภาษีลดลง DTL ที่เกิดจากรายการนี้จึงกลับบัญชีโดยตรงไปยัง กำไรจากการตีราคาใหม่ แทนที่จะบันทึกไปปรับกับค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้
ตัวอย่างเช่น บริษัทมีที่ดินราคา 100 ลบ. ปี 2553 บริษัทปรับราคาที่ดินเพิ่มเป็น 150 ลบ. บริษัทบันทึกกำไรจากการตีราคาใหม่ 35 ลบ. และ DTL 15 ลบ. ตามอัตราภาษี 30% พอมาปี 54 อัตราภาษีลดลงเป็น 20% แสดงว่า หนี้สินของบริษัทลดลง 5 ลบ. บริษัทต้องปรับ DTL ออก แต่จำนวน 5 ลบ. ที่ลดลง ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจ่ายภาษี เพราะยังไม่ได้จ่าย ลองนึกดีๆ ว่าจำนวน 5 ลบ. จะไปไหน? มันต้องกลับไปเพิ่ม กำไรจากการตีราคาใหม่ ให้เหมือนกับว่า กำไรเกิดขึ้น 80% ของมูลค่าที่ตีเพิ่ม ส่วน DTL ก็จะมีจำนวนเท่ากับ 20% ของมูลค่าที่ตีเพิ่ม (เมื่อกลับบัญชีเสร็จ กำไรจากการตีราคาใหม่จะเท่ากับ 40 ลบ. และ DTL จะเท่ากับ 10 ลบ.)
นี่อธิบายแบบกำปั้นทุบดินนะคะ ถ้าจะเอากฎจุกจิกก็มีอีกเพียบ โดยเฉพาะตัวอย่างที่ยกมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับที่ดิน ที่ไม่มีค่าเสื่อมราคา แต่ถ้าเป็นอาคารและอุปกรณ์ เรื่องก็จะยุ่งกว่านี้ เพราะมีค่าเสื่อมราคามาเกี่ยวข้อง และไปเกี่ยวข้องกับกลบัญชีในการแต่งงบกำไรขาดทุนต่อไปอีก
ขอละไว้ไม่พูดถึงในตอนนี้
ตอนนี้ขอแค่ให้นักลงทุนมองภาพ DTA (สินทรัพย์ที่อยู่ในงบดุลซึ่งอาจแสดงเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนหรือไม่หมุนเวียน หรือแสดงทั้งหมุนเวียนและไม่หมุนเวียน) ค่่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ (ค่าใช้จ่ายทางบัญชีที่แสดงในงบกำไรขาดทุน) และภาษีเงินได้ค้างจ่าย (จำนวนภาษีที่ติดกรมสรรพากร ที่แสดงเป็นหนี้สินหมุนเวียนในงบดุล) ให้ทะลุเสียก่อน
แค่นี้ คนอธิบายก็จะดีใจมากแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 1255
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 28
ก็ MBK ไงครับ ที่บริษัทประเมินทรัพย์สินใหม่ ทำให้มีภาษีรอจ่ายDTA อาจไม่ได้เกิดจากการที่เราจ่ายภาษีให้กรมสรรพากรมากกว่าค่าใช้จ่ายภาษีในงบกำไรขาดทุนเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากการที่บริษัทตีราคาสินทรัพย์เพิ่ม ทำให้เกิดผลกระทบกับสินทรัพย์ที่แสดงในงบดุลทั้งที่ยังไม่เกี่ยวกับการจ่ายภาษี
ผมก็มั่นใจนะครับว่า การประเมินทรัพย์สิน = ตีราคาสินทรัพย์ใหม่ หรือผมเข้าใจผิดมาตั้งนาน ช่วยชี้แนะด้วย
***ที่ผมใช้ทรัพย์สินไม่ใช้สินทรัพย์เพราะผมยึดตามคำศัพย์ในประมวลกฎหมายแพ่ง ม.138***
ใครยังไมเข้าใจผมว่า ดูจากการลงบัญชีและเหตุผลจากหลายๆบริษัทได้ เช่น
MBK ได้ลงภาษีรอตัดบัญชีไว้ (เป็นพันล้าน) เป็นหนี้สินระยะยาว มันเกิดจากมูลค่าการประเมินทรัพย์สินสูงขึ้นกว่าในอดีต
- Financeseed
- Verified User
- โพสต์: 1304
- ผู้ติดตาม: 0
Re: หลายบริษัทจะขาดทุนจาก defer tax ใน q4
โพสต์ที่ 29
ขอบคุนครับ