วิจารณ์ กลต.
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 2
โครงสร้างการบริหารตลาดมันเป็นยังไงครับผมยังไม่รู้เลย
เห็นมีตัวตลาด ตัวกลต. สมาคมนักวิเคราะห์ แต่ไม่รู้ว่าแบ่งอะไรยังไง
เป็นแดนสนธยาของแมงเม่า
น่าจะให้นักลงทุนรายย่อยเข้าไปร่วมบริหารบ้าง ในบางส่วนบางคณะกรรมการก็ยังดี โดยเฉพาะส่วนของนักวิแคะ ถ้ามั่วบ่อยมากขอให้มีโหวดออกได้
เห็นมีตัวตลาด ตัวกลต. สมาคมนักวิเคราะห์ แต่ไม่รู้ว่าแบ่งอะไรยังไง
เป็นแดนสนธยาของแมงเม่า
น่าจะให้นักลงทุนรายย่อยเข้าไปร่วมบริหารบ้าง ในบางส่วนบางคณะกรรมการก็ยังดี โดยเฉพาะส่วนของนักวิแคะ ถ้ามั่วบ่อยมากขอให้มีโหวดออกได้
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
- [v]
- Verified User
- โพสต์: 1402
- ผู้ติดตาม: 0
วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 3
ตอนคดีของผู้บริหารชุดเก่า secc ช่วงนั้นน่าจะหาช่องทางหรือแก้ไขกฎหมายห้ามเดินทางออกนอกประเทศระหว่างนั้น นี่หนีไปเงียบ
เจ้าของบริษัทที่ระดมทุนผ่านตลาดหุ้นแต่มีพฤติกรรม ตั้งบริษัทขึ้นมา ปั่นหุ้น เอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ซ้ำซาก โดนถอดออกจากตลาดแล้วก็พยายามชุบตัวเองกลับเข้ามาใหม่ น่าจะติดบัญชีดำไปเลย ว่าห้ามกลับเข้ามาระดมทุนในตลาดได้อีก
ดำเนินคดีให้เร็วไว อย่านานมาก คนผิดจะย่ามใจ ค่าปรับกรณีปั่นหุ้นก็คิดเป็นจำนวนสิบเท่าของขนาดความเสียหายไปเลย
เจ้าของบริษัทที่ระดมทุนผ่านตลาดหุ้นแต่มีพฤติกรรม ตั้งบริษัทขึ้นมา ปั่นหุ้น เอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง ซ้ำซาก โดนถอดออกจากตลาดแล้วก็พยายามชุบตัวเองกลับเข้ามาใหม่ น่าจะติดบัญชีดำไปเลย ว่าห้ามกลับเข้ามาระดมทุนในตลาดได้อีก
ดำเนินคดีให้เร็วไว อย่านานมาก คนผิดจะย่ามใจ ค่าปรับกรณีปั่นหุ้นก็คิดเป็นจำนวนสิบเท่าของขนาดความเสียหายไปเลย
-
- Verified User
- โพสต์: 1301
- ผู้ติดตาม: 0
วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 4
เสียเวลาเปล่ามั้ง คนในกลต.หลายคนก็รู้ว่าควรทำอะไร ปรับปรุงอะไร ไม่ใช่ไม่รู้
คดี tpipl ที่โยงไปการเมือง ยังไม่ไปถึงไหนเลย ถ้าเป็นจริงนี่ไซฟอนเงินแน่ๆ
เร็วๆนี้ อนุญาติให้การ filing ipo ล่วงหน้าแค่ 15 วัน จากเดิม 30 วัน ก็ไม่รู้ว่า นักลงทุนทั่วไปย่อยข้อมูลกันทันหรือเปล่า
เรื่องกม. class action lawsuite ก็ยังไปไม่ถึงไหน การสั่งปรับ โดยเฉพาะในส่วนที่บริษัททำให้นักลงทุนเข้าใจผิดในฐานะกิจการ ส่วนหนึ่งต้องนำเงินมาให้นักลงทุนในช่วงนั้นๆด้วย ไม่ใช้นำค่าปรับไปเข้าหน่วยงานหรือรัฐ? ไม่เคยรู้เลยว่าจริงๆค่าปรับพวกนี้ไปอญู่กับใคร
เรื่องกฏหมายห้ามคนที่ไม่มีใบอนุญาติวิเคราะห์หุ้น ก็น่าจะปรับปรุงได้แล้ว
ฯลฯ
คดี tpipl ที่โยงไปการเมือง ยังไม่ไปถึงไหนเลย ถ้าเป็นจริงนี่ไซฟอนเงินแน่ๆ
เร็วๆนี้ อนุญาติให้การ filing ipo ล่วงหน้าแค่ 15 วัน จากเดิม 30 วัน ก็ไม่รู้ว่า นักลงทุนทั่วไปย่อยข้อมูลกันทันหรือเปล่า
เรื่องกม. class action lawsuite ก็ยังไปไม่ถึงไหน การสั่งปรับ โดยเฉพาะในส่วนที่บริษัททำให้นักลงทุนเข้าใจผิดในฐานะกิจการ ส่วนหนึ่งต้องนำเงินมาให้นักลงทุนในช่วงนั้นๆด้วย ไม่ใช้นำค่าปรับไปเข้าหน่วยงานหรือรัฐ? ไม่เคยรู้เลยว่าจริงๆค่าปรับพวกนี้ไปอญู่กับใคร
เรื่องกฏหมายห้ามคนที่ไม่มีใบอนุญาติวิเคราะห์หุ้น ก็น่าจะปรับปรุงได้แล้ว
ฯลฯ
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1284
- ผู้ติดตาม: 0
วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 5
ผมว่าคนทั่วไปยังไม่ค่อยเข้าใจว่าตลาดหลักทรัพย์กับ กลต มีหน้าที่อย่างไร
ผมพยายามลองเล่าตามที่ผมเข้าใจก่อนละกัน ท่านอื่นมีความเห็นอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
กลต ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นองกรค์ที่คอยกำกับ
1 หลักทรัพย์ และ
2 ตลาดหลักทรัพย์
ส่วนตลาดหลักทรัพย์ ก็เป็นตลาดชนิดหนึ่งที่เอาไว้ซื้อขายหลักทรัพย์
ถ้าจะให้เข้าใจง่าย คงต้องนึกภาพเป็นตลาดสดแห่งหนึ่่ง
ตลาดหลักทรัพย์ = เจ้าของตลาด
เจ้าของตลาด - มีหน้าที่คอยดูแลให้ผู้เช่าแผงวางขายสินค้าให้เป็นระเบียบงามตา ควบคุมเวลาเปิดปิด วางระบบน้ำไฟให้พร้อม เก็บค่าเช่าแผง
ตลาดหลักทรัพย์ - ให้บริษัทจดทะเบียนส่งผลประกอบการตามระยะเวลาที่กำหนด ให้เปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจนครบถ้วนตามเกณฑ์ มีระบบซื้อขายหุ้นรองรับ เก็บค่าธรรมเนียม listing fee
กลต = ผู้กำกับตลาดและผู้เช่าแผง
ผู้กำกับตลาดและผู้เช่าแผง - เป็นผู้กำหนดกฎ กติกา ว่าใครมีคุณสมบัติที่จะมาเช่าแผงได้ คอยดูแลไม่ให้ผู้เช่าแผงโกงลูกค้าที่มาจ่ายตลาด
กลต - เป็นผู้อนุมัติว่าใครสามารถเอาหุ้นมาขายได้ เช่น เวลาออกหลักทรัพย์ใหม่อย่าง IPO ต้องขออนุญาต กลต ก่อน เป็นคนสอดส่องดูแลไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรายย่อย ไม่ให้ผู้บริหารแต่งงบการเงินหลอก ไม่ให้ insider trading
ไม่แน่ใจว่าทำให้เข้าใจขึ้้นหรือว่างงมากขึ้นก็ไม่รู้ :lol:
ผมพยายามลองเล่าตามที่ผมเข้าใจก่อนละกัน ท่านอื่นมีความเห็นอย่างไร ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ
กลต ย่อมาจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นองกรค์ที่คอยกำกับ
1 หลักทรัพย์ และ
2 ตลาดหลักทรัพย์
ส่วนตลาดหลักทรัพย์ ก็เป็นตลาดชนิดหนึ่งที่เอาไว้ซื้อขายหลักทรัพย์
ถ้าจะให้เข้าใจง่าย คงต้องนึกภาพเป็นตลาดสดแห่งหนึ่่ง
ตลาดหลักทรัพย์ = เจ้าของตลาด
เจ้าของตลาด - มีหน้าที่คอยดูแลให้ผู้เช่าแผงวางขายสินค้าให้เป็นระเบียบงามตา ควบคุมเวลาเปิดปิด วางระบบน้ำไฟให้พร้อม เก็บค่าเช่าแผง
ตลาดหลักทรัพย์ - ให้บริษัทจดทะเบียนส่งผลประกอบการตามระยะเวลาที่กำหนด ให้เปิดเผยข้อมูลให้ชัดเจนครบถ้วนตามเกณฑ์ มีระบบซื้อขายหุ้นรองรับ เก็บค่าธรรมเนียม listing fee
กลต = ผู้กำกับตลาดและผู้เช่าแผง
ผู้กำกับตลาดและผู้เช่าแผง - เป็นผู้กำหนดกฎ กติกา ว่าใครมีคุณสมบัติที่จะมาเช่าแผงได้ คอยดูแลไม่ให้ผู้เช่าแผงโกงลูกค้าที่มาจ่ายตลาด
กลต - เป็นผู้อนุมัติว่าใครสามารถเอาหุ้นมาขายได้ เช่น เวลาออกหลักทรัพย์ใหม่อย่าง IPO ต้องขออนุญาต กลต ก่อน เป็นคนสอดส่องดูแลไม่ให้ผู้บริหารเอาเปรียบรายย่อย ไม่ให้ผู้บริหารแต่งงบการเงินหลอก ไม่ให้ insider trading
ไม่แน่ใจว่าทำให้เข้าใจขึ้้นหรือว่างงมากขึ้นก็ไม่รู้ :lol:
In search of super stocks
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 6
เท่าที่น้องไม้แขวนทราบจากเพื่อนๆและที่เคยเรียนมา เรื่องค่าปรับที่ ก.ล.ต. ปรับจากคนที่ทำความผิด เงินเข้ากระทรวงการคลังไม่ได้เข้า ก.ล.ต.ค่ะ ส่วนรายได้ของ ก.ล.ต.มาจากเงินค่าธรรมเนียมของใบอนุญาตต่างๆ รวมทั้งค่าธรรมเนียมจากบริษัทที่มาขอออกหลักทรัพย์ใหม่ค่ะ ผิดถูกอย่างไรช่วยชี้แนะด้วยนะคะ
- densin
- Verified User
- โพสต์: 1073
- ผู้ติดตาม: 0
วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 10
'อยากให้ตลาดไทยพัฒนาทันตลาดโลก' ... พูดไปอย่างงั้นแต่ไม่รู้ว่าตลาดหลักทรัพย์ที่อื่นเป็นยังไง มีข้อดีข้อเสียต่างกับเรายังไงเหมือนกัน
อยากให้มีการให้ความรู้แมงเม่าว่า ตลาดโลกมันต่างยังไงกับของเรา
แล้วroad mapการพัฒนาการระยะยาวของเราจะเป็นยังไงต่อไป
อยากให้มีการให้ความรู้แมงเม่าว่า ตลาดโลกมันต่างยังไงกับของเรา
แล้วroad mapการพัฒนาการระยะยาวของเราจะเป็นยังไงต่อไป
VI สายมืด = VI หน้ามืดซื้อตัวฮอทๆอย่าไม่ลืมหูลืมตา
- raiden
- Verified User
- โพสต์: 236
- ผู้ติดตาม: 0
วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 13
วิจารณ์ด้วยเหตุผลกันตรง ๆ คงไม่เป็นไรใช่ไหมครับ
ผมอยากให้ กลต เลิกผูกขาดข้อมูลทางสถิติเชิงลึกย้อนหลังของหุ้นบ้านเราน่ะครับ
อย่างเช่นใน yahoo.com (และเว็ปอื่น ๆ อีกหลาย ๆ เว็บ) จะไม่มีข้อมูลย้อนหลังของไทย เพราะ พี่ไทยแกไปวีนกับเว็บพวกนี้ขอให้หยุดเผยแพร่
ปากก็บอกว่าสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติให้มีเม็ดเงินไหลเข้าประเทศ แต่กลับผูกขาดข้อมูล แล้วเอาไปขายให้กับลูกค้าไม่กี่ราย ที่เขายอมจ่ายเงินซื้อข้อมูลส่วนนี้ไป
ผมอยากให้ กลต เลิกผูกขาดข้อมูลทางสถิติเชิงลึกย้อนหลังของหุ้นบ้านเราน่ะครับ
อย่างเช่นใน yahoo.com (และเว็ปอื่น ๆ อีกหลาย ๆ เว็บ) จะไม่มีข้อมูลย้อนหลังของไทย เพราะ พี่ไทยแกไปวีนกับเว็บพวกนี้ขอให้หยุดเผยแพร่
ปากก็บอกว่าสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติให้มีเม็ดเงินไหลเข้าประเทศ แต่กลับผูกขาดข้อมูล แล้วเอาไปขายให้กับลูกค้าไม่กี่ราย ที่เขายอมจ่ายเงินซื้อข้อมูลส่วนนี้ไป
คนดี คนเก่ง คนรวย คนกล้าหาญ เป็นกันได้ โดยใช้คีย์บอร์ด
-
- Verified User
- โพสต์: 99
- ผู้ติดตาม: 0
วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 14
น่าคิดraiden เขียน:วิจารณ์ด้วยเหตุผลกันตรง ๆ คงไม่เป็นไรใช่ไหมครับ
ผมอยากให้ กลต เลิกผูกขาดข้อมูลทางสถิติเชิงลึกย้อนหลังของหุ้นบ้านเราน่ะครับ
อย่างเช่นใน yahoo.com (และเว็ปอื่น ๆ อีกหลาย ๆ เว็บ) จะไม่มีข้อมูลย้อนหลังของไทย เพราะ พี่ไทยแกไปวีนกับเว็บพวกนี้ขอให้หยุดเผยแพร่
ปากก็บอกว่าสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติให้มีเม็ดเงินไหลเข้าประเทศ แต่กลับผูกขาดข้อมูล แล้วเอาไปขายให้กับลูกค้าไม่กี่ราย ที่เขายอมจ่ายเงินซื้อข้อมูลส่วนนี้ไป
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 15
ก.ล.ต.โชว์เจ๋ง ปรับขาป่วนหุ้น 9 เดือน 169 ล. [ โพสต์ทูเดย์, 24 พ.ย. 54 ]
ก.ล.ต.โชว์ผลงาน 9 เดือนแรกปีนี้ จับมือปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลอินไซด์ เปรียบเทียบปรับ 169 ล้านบาท
มากกว่างวดเดียวกันปีก่อน 1,436%
จากข้อมูลประจำไตรมาส 3 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ได้ระบุว่า ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ได้ดำเนินการเปรียบเทียบปีนี้มีจำนวน 105 กรณี
จาก 69 คนที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าเปรียบเทียบปรับรวม 169 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือ
1,436% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 11 ล้านบาท --จบ--
ก.ล.ต.โชว์ผลงาน 9 เดือนแรกปีนี้ จับมือปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลอินไซด์ เปรียบเทียบปรับ 169 ล้านบาท
มากกว่างวดเดียวกันปีก่อน 1,436%
จากข้อมูลประจำไตรมาส 3 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) ได้ระบุว่า ในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ได้ดำเนินการเปรียบเทียบปีนี้มีจำนวน 105 กรณี
จาก 69 คนที่เกี่ยวข้อง คิดเป็นมูลค่าเปรียบเทียบปรับรวม 169 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมาก หรือ
1,436% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน 11 ล้านบาท --จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- extraordinary
- Verified User
- โพสต์: 122
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 16
มากกว่างวดเดียวกันปีก่อน 1,436%
กลต กำลังจะturn aroundใช่มั้ยคับพี่pak
เล่นหุ้นอย่ามักง่ายเดี๋ยวจะกลายเป็นปลาติดเบ็ด
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 17
ก.ล.ต.สั่งปรับ 2 นักลงทุนปั่นหุ้นอาร์เอส [ กรุงเทพธุรกิจ, 25 พ.ย. 54 ]
บอร์ดเปรียบเทียบปรับก.ล.ต.สั่งปรับ "อรรณพ ลิ้มประเสริฐ-กำธร พฤกษ์ศรีสาคร" 1 ล้านบาท
หลังตลาดตรวจสอบพบพฤติกรรมสร้างราคาหุ้นอาร์เอส จนอำพรางให้บุคคลอื่นหลงผิด ล่าสุดวานนี้ ราคาหุ้น
"อาร์เอส" ยังคงวิ่งขึ้นสวนข่าวร้าย โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 2% โดยปิดที่ 2.60 บาท--จบ--
บอร์ดเปรียบเทียบปรับก.ล.ต.สั่งปรับ "อรรณพ ลิ้มประเสริฐ-กำธร พฤกษ์ศรีสาคร" 1 ล้านบาท
หลังตลาดตรวจสอบพบพฤติกรรมสร้างราคาหุ้นอาร์เอส จนอำพรางให้บุคคลอื่นหลงผิด ล่าสุดวานนี้ ราคาหุ้น
"อาร์เอส" ยังคงวิ่งขึ้นสวนข่าวร้าย โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 2% โดยปิดที่ 2.60 บาท--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 18
เล็งเพิ่มอำนาจให้ ก.ล.ต. [ เดลินิวส์, 8 ธ.ค. 54 ]
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนด
มาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น (แอนตี้ คอร์รัปชั่น) เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา
เพื่อกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเน้นกำกับ
ดูแลบริษัทเอกชนด้วยมาตรฐานตลาดทุน การเปิดเผยข้อมูลบัญชี มาตรการจูงใจและมาตรการลงโทษอื่นๆ
รวมถึงดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หรือระเบียบใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตาม
มาตรการที่กำหนดและเรียกให้หน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือขอความร่วมมือกับเอกชน ชี้แจง
ข้อเท็จจริงเพื่อให้ความเห็นด้วยวาจาหรือหนังสือที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและ
แก้ไขการทุจริตระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยจะประชุมคณะกรรมการนัดแรกในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อกำหนด
มาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่น (แอนตี้ คอร์รัปชั่น) เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. ที่ผ่านมา
เพื่อกำหนดมาตรการทางธุรกิจสำหรับป้องกันการทุจริตคอร์รัปชั่นระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยเน้นกำกับ
ดูแลบริษัทเอกชนด้วยมาตรฐานตลาดทุน การเปิดเผยข้อมูลบัญชี มาตรการจูงใจและมาตรการลงโทษอื่นๆ
รวมถึงดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย หรือระเบียบใด ๆ เพื่อให้เป็นไปตาม
มาตรการที่กำหนดและเรียกให้หน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ หรือขอความร่วมมือกับเอกชน ชี้แจง
ข้อเท็จจริงเพื่อให้ความเห็นด้วยวาจาหรือหนังสือที่เป็นประโยชน์ในการกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและ
แก้ไขการทุจริตระหว่างภาครัฐและเอกชน โดยจะประชุมคณะกรรมการนัดแรกในวันที่ 8 ธ.ค.นี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 19
ก.ล.ต.ได้ฤกษ์กล่าวโทษแก๊งปั่นหุ้น เช็กบิล "สุริยา-สมพงษ์-สมชาย" [ ไทยรัฐ, 23 ธ.ค. 54 ]
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. กล่าวโทษ
นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนายสมชาย ศรีพยัคฆ์ ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ
(ดีเอสไอ) เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 54 กรณีมีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่าบุคคลทั้งสามตกลงหรือร่วมรู้เห็นกันกับ
อดีตผู้บริหาร 2 รายของบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลในกลุ่มและบุคคลอื่นใน
การสร้างราคาหุ้น บริษัท เอส.อี.ซี ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (SECC) ในช่วง
ระหว่างวันที่ 12 ก.ย.-24 พ.ย. 51
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก.ล.ต. กล่าวโทษ
นายสุริยา ลาภวิสุทธิสิน นายสมพงษ์ วิทยารักษ์สรรค์ และนายสมชาย ศรีพยัคฆ์ ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ
(ดีเอสไอ) เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. 54 กรณีมีพยานหลักฐานน่าเชื่อว่าบุคคลทั้งสามตกลงหรือร่วมรู้เห็นกันกับ
อดีตผู้บริหาร 2 รายของบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง ใช้บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบุคคลในกลุ่มและบุคคลอื่นใน
การสร้างราคาหุ้น บริษัท เอส.อี.ซี ออโต้เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (SECC) ในช่วง
ระหว่างวันที่ 12 ก.ย.-24 พ.ย. 51
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 20
กระทุ้งตลาด-ก.ล.ต. สอบบัญชีโบรกฯซื้อขายหุ้น [ กรุงเทพธุรกิจ, 27 ธ.ค. 54 ]
วงการตลาดทุน กระทุ้ง "ก.ล.ต.-ตลาด" เกาะติดพฤติกรรมซื้อขายบัญชีพร็อพเทรด หลังวอลุ่มซื้อ
ขายแน่นสูงกว่ากองทุนในประเทศ ตั้งข้อสังเกตโยนหุ้นข้ามโบรกเกอร์ ทำราคาในช่วงต่างชาติเทรดเบาบาง
ด้าน "วรพล" ยันระบบการตรวจสอบของ ก.ล.ต.เข้ม ระบุโบรกเกอร์รายงานบัญชีซื้อขายของพร็อพเทรด
และลูกค้า เป็นประจำอยู่แล้ว ไม่พบความผิดปกติ ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ ชี้วอลุ่มบัญชี บล.เพิ่มเพราะหาช่อง
ทางสร้างรายได้เพิ่ม รับเปิดเสรี
วงการตลาดทุน กระทุ้ง "ก.ล.ต.-ตลาด" เกาะติดพฤติกรรมซื้อขายบัญชีพร็อพเทรด หลังวอลุ่มซื้อ
ขายแน่นสูงกว่ากองทุนในประเทศ ตั้งข้อสังเกตโยนหุ้นข้ามโบรกเกอร์ ทำราคาในช่วงต่างชาติเทรดเบาบาง
ด้าน "วรพล" ยันระบบการตรวจสอบของ ก.ล.ต.เข้ม ระบุโบรกเกอร์รายงานบัญชีซื้อขายของพร็อพเทรด
และลูกค้า เป็นประจำอยู่แล้ว ไม่พบความผิดปกติ ขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ ชี้วอลุ่มบัญชี บล.เพิ่มเพราะหาช่อง
ทางสร้างรายได้เพิ่ม รับเปิดเสรี
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 21
ก.ล.ต.เปิดกลยุทธ์พัฒนาตลาดทุนปีนี้
*ชงเว้นภาษีเงินปันผล- แก้เกณฑ์เกี่ยวกับ B/E
เปิดแผน ก.ล.ต.ปี 55 เสนอเว้นภาษีเงินปันผลทั้งระบบหวังแข่งขันในอาเซียน - แก้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับ B/E กำหนดมูลค่าการขายขั้นต่ำดูแล นลท.รายย่อย พร้อมชู 5 กลยุทธ์เสริมความแข็งแกร่งตลาดทุน ตั้งเป้าเป็นแหล่งระดมทุนธุรกิจทุกขนาด
* กูรู หนุน เลิกเก็บภาษีเงินปันผล เชื่อส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส เปิดเผยถึงกรณีแนวทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่อาจจะมีแนวทางยกเว้นภาษีเงินปันผลในหุ้น จากปัจจุบันที่เก็บในอัตรา 10% ว่า มีความเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพราะจะส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจะสามารถเห็นข้อแตกต่างระหว่างบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีกับหุ้นที่มีปันผล ขณะเดียวกันเงินปันผลที่ได้รับจะเข้ามาช่วยทดแทนในส่วนของนักลงทุนที่สูญเสียเงินจากส่วนต่างของการขาดทุนในราคาหุ้น แม้ว่าจะเป็นส่วนช่วยไม่มาก แต่การยกเว้นภาษีก็ถือว่าเป็นการช่วยสนับสนุน ส่งเสริมการลงทุนได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ดีนักลงทุนควรจะต้องกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นบ้าง โดยเฉพาะนักลงทุนที่ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน โดยได้ผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าจะไม่สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างผลตอบแทนของเงินปันผลกับดอกเบี้ยเงินฝาก เพราะปัจจุบันผลตอบแทนจากเงินฝากจะมีความเสี่ยงต่ำ แต่เสียภาษีจากดอกเบี้ยที่นักลงทุนได้รับ 15% แต่หากยกเว้นภาษีเงินปันผลก็จะทำให้การลงทุนในหุ้นมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการเสียภาษีจากเงินปันผลในอัตรา 10%
ดร.ก้องเกียรติ ได้กล่าวแนะนำกลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ว่า นักลงทุนควรหาแนวทางใหม่ๆในการลงทุน เพราะประเมินว่าตลาดหุ้นไทยถือว่าเริ่มมีราคาที่สูงพอสมควรแล้ว โดยหันไปพิจารณาลงทุนในตลาดต่างประเทศบ้าง และหาแนวคิดการลงทุนในบริษัทใหม่ๆ เพราะบริษัทที่เติบโตดีในปีที่แล้วก็ไม่ได้ดีที่สุดในปีนี้ เพราะหลายบริษัทมี P/E ที่อยู่ในระดับสูงมากพอสมควร
* ก.ล.ต. เผย ชง ก.คลัง เว้นภาษีเงินปันผลทั้งระบบแล้ว หวังแข่งขันในอาเซียน
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในเดือนพ.ย. 54 ที่ผ่านมาก.ล.ต. ได้เสนอแนวทางการงดเว้นการจัดเก็บภาษีเงินปันผลที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 10% ไปยังกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเชื่อว่าจะสอดคล้องกับการปฏิรูปกฏหมายทางด้านภาษีที่กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน
ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากมองว่าการเก็บภาษีเงินปันผลจะเป็นความซ้ำซ้อนกับการเก็บภาษีนิติบุคคลที่บริษัทจะต้องจ่ายอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศหลักๆในภูมิภาคอาเซียนได้ เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่มีการเรียกเก็บภาษีเงินปันผล เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกงเป็นต้น ขณะเดียวกันประเทศดังกล่าวยังมีการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลที่ต่ำกว่า 20% ดังนั้นจะทำให้ประเทศไทยแข่งขันในภูมิภาคนี้ได้ยากขึ้น
อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าหากมีการปรับเปลี่ยนระบบภาษีที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆแล้วนั้นจะช่วยสนับสนุนในการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ เนื่องจากระบบภาษีจะใกล้เคียงกันมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่มีความยุ่งยากและซ้ำซ้อน
'จากการศึกษาพบว่า อุปสรรคเรื่องใหญ่คือเรื่องภาษี เพราะบริษัทต่างชาติจะเข้ามาลงทุนจดทะเบียนในไทย การคิดภาษีก็ต่างกัน มีความซ้ำซ้อน ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถรองรับการแข่งขันในอนาคตได้' นายวรพล กล่าว
* แก้ไขเกณฑ์ตั๋วแลกเงิน รักษาความเสี่ยงให้ นลท.รายย่อย
นายวรพล กล่าวว่า ขณะนี้ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการแก้ไข เพื่อออกกฎเกณฑ์ใหม่ สำหรับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตั๋วแลกเงิน(บี/อี) ซึ่งในเบื้องต้นต้องการให้เกณฑ์ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.55 เป็นต้นไป สำหรับ สา เหตุที่จะมีการแก้ไขเกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากขณะนี้ธนาคารพาณิชย์มีการระดมทุน ในรูปของตั๋วเงินเป็นจำนวนมาก และมีการเสนอขายให้กับผู้ลงทุนรายย่อยขณะที่ตั๋วแลกเงิน ไม่ถือเป็นเงินฝากและไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากดังนั้น ก.ล.ต.จึงต้องการเข้ามาดูแลเรื่องนี้ โดยขณะนี้ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการร่างแก้กฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการออกตั๋ว B/E ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ด้านมูลค่าการขายขั้นต่ำ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ 10 ล้านบาท เพื่อดูแลรักษาความเสี่ยงแก่กลุ่มนักลงทุนรายย่อย ที่ปัจจุบันพบว่าธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากผ่านรูปแบบตั๋ว B/E มากขึ้น ซึ่งพบว่ามีนักลงทุนรายย่อยเข้าลงทุนจำนวนมาก แต่ในหลักการการฝากดังกล่าวจะไม่ได้รับการคุ้มครองเหมือนเงินฝาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวจะทำให้การออก B/E ของธนาคารพาณิชย์เป็นเสมือนหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ต้องผ่านการพิจารณาของก.ล.ต. แต่กฏเกณฑ์ดังกล่าวก็จะไม่คาบเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งนี้คาดว่าจะกำหนดให้มีผลของกฏเกณฑ์นี้ในวันที่ 1 ก.ค. 2555
'ตอนนี้ธนาคารพาณิชย์จำนวนไม่น้อยระดมเงินฝากรูป B/E มากขึ้น ซึ่งรายย่อยเข้าลงทุนจำนวนมาก จึงอยากจำกัดจำนวนการขายขั้นต่ำให้ผู้ลงทุนมีความชัดเจนขึ้น เช่นระดับ 10 ล้านบาทขึ้นไป จะออกเป็นกฏ ซึ่งขณะนี้กำลังร่างแก้กฏเกณฑ์ประมาณ 10 ฉบับให้ออกเป็นกฏเกณฑ์เดียว ตั้งใจประกาศให้มีผล 1 ก.ค. 55 ซึ่งจะให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆเริ่มปรับตัว' นายวรพล กล่าว
* ปี 55 ก.ล.ต. เน้นยุทธศาสตร์ใหม่ 5 ด้าน
1. การสร้างโอกาสให้ตลาดทุนไทยมีบทบาทพัฒนาและฟื้นฟูประเทศ และมีบทบาทในภูมิภาค
2. การเปิดให้มีการแข่งขันในตลาดทุน และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้เกี่ยวข้อง
3. การให้ความคุ้มครองผู้ลงทุน และรักษาความน่าเชื่อถือของตลาดทุน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมระบบให้รองรับความผันผวนที่รุนแรงได้ และ
5. การขยายฐานผู้ลงทุนและทำให้ตลาดทุนรองรับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ก.ล.ต. จะให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสารและเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในเชิงรุก รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในการจัดการด้านบุคลากร ข้อมูลและการเงินอย่างเป็นระบบ
นายวรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยจะสร้างความชัดเจนเรื่องบทบาทภายใต้หลักการทำงาน 4 ด้าน คือ 1. การดำเนินงานเชิงรุก และมีการคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น 2. การใช้มาตรการป้องกันควบคู่กับมาตรการลงโทษ โดยจะแยกกลุ่มคนที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กับกลุ่มที่ฝ่าฝืนออกจากกันให้ชัดเจน 3. การส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนหลักของภาคธุรกิจทุกขนาด และ 4. การยกระดับสู่ความเป็นหนึ่งในทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีบุคลากรที่เป็นมืออาชีพ
* มองปีนี้ ธุรกิจหลักทรัพย์แข่งขันไม่รุนแรงขึ้น แม้เปิดเสรีค่าคอมฯ
นายวรพล กล่าวว่า กล่าวว่า ในปี 55 นี้ การแข่งขันในธุรกิจหลักทรัพย์ จะไม่รุนแรงมากกว่าเดิม โดยเชื่อว่าผู้ประกอบการโบรกเกอร์ จะหันมาพัฒนาคุณภาพมากกว่า
"การเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นในตลาดทุนไทย จะไม่ทำให้การแข่งขันของธุรกิจหลักทรัพย์รุนแรงกว่าเดิม แต่คาดว่าโบรกเกอร์ จะหันมาเน้นการสร้างคุณภาพมากขึ้น และโบรกเกอร์มีเวลาปรับตัวแล้วตั้งแต่ปี 49" นายวรพล กล่าว
นอกจากนี้ ในปี 55 จะได้เห็นภาพการควบรวมกิจการของบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ต่อเนื่องจากปี 54 ที่มีการควบรวมกันไปมากแล้ว จากปัจจุบันที่กลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์จะแบ่งออกเป็นบล.ที่มีธนาคารพาณิชย์ถือหุ้น, บล.ที่มีกลุ่มต่างชาติเข้ามาถือหุ้น และบล.ที่เป็นอิสระและเชื่อว่า ในปีนี้ยังจะได้เห็นภาพต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในบล.ของไทยเพิ่มขึ้นด้วย
ด้านนางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ก.ล.ต. กล่าวว่า การแข่งขันในธุรกิจหลักทรัพย์จะไม่รุนแรงมากขึ้น เพราะการแข่งขันที่รุนแรงเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมาแล้ว แต่คาดว่าในปีนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ จะมีรูปแบบเป็นการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมามากขึ้น และบล.หลายแห่ง จะเริ่มหาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)เข้ามาอยู่ในเครือ เพื่อให้เกิดความหลากหลายของสินค้า และการให้บริการ
ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า โบรกเกอร์จับมือกัน เพื่อกำหนดอัตราค่าคอมมิชชั่นโดยรวมในระบบไว้แล้ว ว่า โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะสามารถทำได้อย่างยั่งยืนเนื่องจากธุรกิจที่จะเติบโตได้ ควรมีโมเดลที่ชัดเจน และพัฒนาที่คุณภาพ เพื่อให้นักลงทุนได้รับประโยชน์มากกว่า อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต.ไม่สามารถห้ามโบรกเกอร์ ไม่ให้ดำเนินการดังกล่าวได้เพราะขณะนี้ได้เข้าสู่การเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นไปแล้ว
นางดวงมน กล่าวว่า ก.ล.ต.อยากแนะนำให้โบรกเกอร์ สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจเช่น การหาโอกาสเพื่อไปทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบอินโดจีน เช่น ลาว และพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังจะพัฒนาด้านการลงทุน โดยโบรกเกอร์ไทยสามารถเข้าไปทำหน้าที่อันเดอร์ไรท์ตราสารต่างๆได้ ซึ่งควรเร่งดำเนินการ ก่อนที่ประเทศอื่น เช่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ จะเข้าไปทำตลาดก่อน
*บลจ.กสิกรไทย ขานรับมาตรการ ก.ล.ต. ดีเดย์ซื้อ-สับเปลี่ยน เข้า KSDLTF ได้ถึงแค่ 13 มกราคม นี้
นางสาวยุพาวดี ตู้จินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ. กสิกรไทย) เปิดเผยว่า บลจ. กสิกรไทย จะหยุดรับคำสั่งซื้อและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมายังกองทุนเปิดเค สตราทีจิค ดีเฟ็นซีฟหุ้นระยะยาวปันผล (KSDLTF) ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งห้ามกองทุน LTF ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจนอัตราส่วนการลงทุนในหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมีผลบังคับใช้เกณฑ์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
“เนื่องจากกองทุนเปิดเค สตราทีจิค ดีเฟ็นซีฟหุ้นระยะยาวปันผล (KSDLTF) ของ บลจ. กสิกรไทย อยู่ในข่ายกองทุนที่ได้รับผลกระทบจากเกณฑ์ที่ได้กล่าวไป บลจ.กสิกรไทย จะเปิดให้ซื้อและสับเปลี่ยนเข้ามายังกองทุน KSDLTF ถึงวันที่ 13 มกราคมนี้เท่านั้น โดยผู้ลงทุนที่ได้ซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ามายังกองทุน KSDLTF ภายใน 13 มกราคม 2555 จะยังคงได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับปีภาษี 2555 และสามารถถือครองหน่วยลงทุนกองทุน KSDLTF ต่อไปจนกว่าจะครบเงื่อนไขทางภาษีของกรมสรรพากร คือ 5 ปีปฏิทินได้เช่นเดิม แต่จะไม่สามารถซื้อเพิ่ม และไม่สามารถสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF อื่นเข้ามายังกองทุนนี้ได้อีกตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนต้องการโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นและรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ก็สามารถสับเปลี่ยนออกจากกองทุน KSDLTF ไปยังกองทุน LTF อื่นๆ ได้ รวมทั้งสามารถขายคืนเมื่อได้เมื่อถือหน่วยลงทุนมาครบตามเงื่อนไขทางภาษี ส่วนผู้ถือหน่วยลงทุนที่สมัครใช้บริการ K-Saving Plan (บริการลงทุนรายงวดกองทุนรวมกสิกรไทย) เพื่อลงทุนอย่างสม่ำเสมอกับกองทุน KSDLTF บลจ. กสิกรไทย จะยกเลิกการหักบัญชีเงินฝากเพื่อซื้อกองทุนดังกล่าวให้โดยอัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2555 เป็นต้นไป” นางสาวยุพาวดีกล่าว
นางยุพาวดีกล่าวเพิ่มเติมว่า “กองทุน KSDLTF เป็นกองทุนที่ได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนพอสมควร โดยปี 2554 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณ 1,600 ล้านบาท รวมเป็น 4,914 ล้านบาท ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2554 คิดเป็นการเติบโตถึงร้อยละ 48 จากปี 2553 เหตุที่ได้รับความนิยมเพราะ KSDLTF มีนโยบายลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่ไม่นิยมความผันผวนจากการลงทุนในหุ้น รวมถึงยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการสับเปลี่ยนเข้ามายังกองทุนนี้เมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากเกณฑ์ ก.ล.ต.บังคับใช้ ผู้ลงทุนที่ต้องการจำกัดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นไม่ให้สูงเกินไปนัก ก็สามารถเลือกลงทุนกับกองทุนเปิดเค 70 หุ้นระยะยาวปันผล ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นไม่เกินร้อยละ 70 เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงได้เช่นกัน”
กองทุนเปิดเค สตราทีจิค ดีเฟ็นซีฟหุ้นระยะยาวปันผล (KSDLTF) เป็นกองทุน LTF ลำดับที่ 6 ของ บลจ. กสิกรไทย จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 และอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตการลงทุน โดย ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2554 กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 4,914.94 ล้านบาท ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาให้โอกาสรับผลตอบแทนที่ 2.62% ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ -1.55%
*ชงเว้นภาษีเงินปันผล- แก้เกณฑ์เกี่ยวกับ B/E
เปิดแผน ก.ล.ต.ปี 55 เสนอเว้นภาษีเงินปันผลทั้งระบบหวังแข่งขันในอาเซียน - แก้กฎเกณฑ์เกี่ยวกับ B/E กำหนดมูลค่าการขายขั้นต่ำดูแล นลท.รายย่อย พร้อมชู 5 กลยุทธ์เสริมความแข็งแกร่งตลาดทุน ตั้งเป้าเป็นแหล่งระดมทุนธุรกิจทุกขนาด
* กูรู หนุน เลิกเก็บภาษีเงินปันผล เชื่อส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทย
ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซียพลัส เปิดเผยถึงกรณีแนวทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่อาจจะมีแนวทางยกเว้นภาษีเงินปันผลในหุ้น จากปัจจุบันที่เก็บในอัตรา 10% ว่า มีความเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว เพราะจะส่งผลบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นไทยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจะสามารถเห็นข้อแตกต่างระหว่างบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กับบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดีกับหุ้นที่มีปันผล ขณะเดียวกันเงินปันผลที่ได้รับจะเข้ามาช่วยทดแทนในส่วนของนักลงทุนที่สูญเสียเงินจากส่วนต่างของการขาดทุนในราคาหุ้น แม้ว่าจะเป็นส่วนช่วยไม่มาก แต่การยกเว้นภาษีก็ถือว่าเป็นการช่วยสนับสนุน ส่งเสริมการลงทุนได้ในระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ดีนักลงทุนควรจะต้องกระจายการลงทุนในตลาดหุ้นบ้าง โดยเฉพาะนักลงทุนที่ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน โดยได้ผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ย แม้ว่าจะไม่สามารถเปรียบเทียบได้ระหว่างผลตอบแทนของเงินปันผลกับดอกเบี้ยเงินฝาก เพราะปัจจุบันผลตอบแทนจากเงินฝากจะมีความเสี่ยงต่ำ แต่เสียภาษีจากดอกเบี้ยที่นักลงทุนได้รับ 15% แต่หากยกเว้นภาษีเงินปันผลก็จะทำให้การลงทุนในหุ้นมากขึ้น เพราะปัจจุบันมีการเสียภาษีจากเงินปันผลในอัตรา 10%
ดร.ก้องเกียรติ ได้กล่าวแนะนำกลยุทธ์การลงทุนตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ว่า นักลงทุนควรหาแนวทางใหม่ๆในการลงทุน เพราะประเมินว่าตลาดหุ้นไทยถือว่าเริ่มมีราคาที่สูงพอสมควรแล้ว โดยหันไปพิจารณาลงทุนในตลาดต่างประเทศบ้าง และหาแนวคิดการลงทุนในบริษัทใหม่ๆ เพราะบริษัทที่เติบโตดีในปีที่แล้วก็ไม่ได้ดีที่สุดในปีนี้ เพราะหลายบริษัทมี P/E ที่อยู่ในระดับสูงมากพอสมควร
* ก.ล.ต. เผย ชง ก.คลัง เว้นภาษีเงินปันผลทั้งระบบแล้ว หวังแข่งขันในอาเซียน
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ในเดือนพ.ย. 54 ที่ผ่านมาก.ล.ต. ได้เสนอแนวทางการงดเว้นการจัดเก็บภาษีเงินปันผลที่ปัจจุบันจัดเก็บอยู่ที่ 10% ไปยังกรมสรรพากรเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเชื่อว่าจะสอดคล้องกับการปฏิรูปกฏหมายทางด้านภาษีที่กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการดำเนินงาน
ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากมองว่าการเก็บภาษีเงินปันผลจะเป็นความซ้ำซ้อนกับการเก็บภาษีนิติบุคคลที่บริษัทจะต้องจ่ายอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศหลักๆในภูมิภาคอาเซียนได้ เนื่องจากประเทศส่วนใหญ่ในปัจจุบันไม่มีการเรียกเก็บภาษีเงินปันผล เช่น ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย และฮ่องกงเป็นต้น ขณะเดียวกันประเทศดังกล่าวยังมีการจัดเก็บภาษีนิติบุคคลที่ต่ำกว่า 20% ดังนั้นจะทำให้ประเทศไทยแข่งขันในภูมิภาคนี้ได้ยากขึ้น
อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่าหากมีการปรับเปลี่ยนระบบภาษีที่ใกล้เคียงกับประเทศอื่นๆแล้วนั้นจะช่วยสนับสนุนในการเข้ามาลงทุนของต่างชาติ เนื่องจากระบบภาษีจะใกล้เคียงกันมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่มีความยุ่งยากและซ้ำซ้อน
'จากการศึกษาพบว่า อุปสรรคเรื่องใหญ่คือเรื่องภาษี เพราะบริษัทต่างชาติจะเข้ามาลงทุนจดทะเบียนในไทย การคิดภาษีก็ต่างกัน มีความซ้ำซ้อน ดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงก็จะสามารถรองรับการแข่งขันในอนาคตได้' นายวรพล กล่าว
* แก้ไขเกณฑ์ตั๋วแลกเงิน รักษาความเสี่ยงให้ นลท.รายย่อย
นายวรพล กล่าวว่า ขณะนี้ก.ล.ต.อยู่ระหว่างการแก้ไข เพื่อออกกฎเกณฑ์ใหม่ สำหรับการออกและเสนอขายหลักทรัพย์ประเภทตั๋วแลกเงิน(บี/อี) ซึ่งในเบื้องต้นต้องการให้เกณฑ์ใหม่ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.55 เป็นต้นไป สำหรับ สา เหตุที่จะมีการแก้ไขเกณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากขณะนี้ธนาคารพาณิชย์มีการระดมทุน ในรูปของตั๋วเงินเป็นจำนวนมาก และมีการเสนอขายให้กับผู้ลงทุนรายย่อยขณะที่ตั๋วแลกเงิน ไม่ถือเป็นเงินฝากและไม่ได้รับการคุ้มครองจากสถาบันคุ้มครองเงินฝากดังนั้น ก.ล.ต.จึงต้องการเข้ามาดูแลเรื่องนี้ โดยขณะนี้ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการร่างแก้กฏเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องในการออกตั๋ว B/E ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ด้านมูลค่าการขายขั้นต่ำ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะอยู่ที่ 10 ล้านบาท เพื่อดูแลรักษาความเสี่ยงแก่กลุ่มนักลงทุนรายย่อย ที่ปัจจุบันพบว่าธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากผ่านรูปแบบตั๋ว B/E มากขึ้น ซึ่งพบว่ามีนักลงทุนรายย่อยเข้าลงทุนจำนวนมาก แต่ในหลักการการฝากดังกล่าวจะไม่ได้รับการคุ้มครองเหมือนเงินฝาก ซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวจะทำให้การออก B/E ของธนาคารพาณิชย์เป็นเสมือนหลักทรัพย์ประเภทหนึ่งที่ต้องผ่านการพิจารณาของก.ล.ต. แต่กฏเกณฑ์ดังกล่าวก็จะไม่คาบเกี่ยวกับการดำเนินงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ทั้งนี้คาดว่าจะกำหนดให้มีผลของกฏเกณฑ์นี้ในวันที่ 1 ก.ค. 2555
'ตอนนี้ธนาคารพาณิชย์จำนวนไม่น้อยระดมเงินฝากรูป B/E มากขึ้น ซึ่งรายย่อยเข้าลงทุนจำนวนมาก จึงอยากจำกัดจำนวนการขายขั้นต่ำให้ผู้ลงทุนมีความชัดเจนขึ้น เช่นระดับ 10 ล้านบาทขึ้นไป จะออกเป็นกฏ ซึ่งขณะนี้กำลังร่างแก้กฏเกณฑ์ประมาณ 10 ฉบับให้ออกเป็นกฏเกณฑ์เดียว ตั้งใจประกาศให้มีผล 1 ก.ค. 55 ซึ่งจะให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆเริ่มปรับตัว' นายวรพล กล่าว
* ปี 55 ก.ล.ต. เน้นยุทธศาสตร์ใหม่ 5 ด้าน
1. การสร้างโอกาสให้ตลาดทุนไทยมีบทบาทพัฒนาและฟื้นฟูประเทศ และมีบทบาทในภูมิภาค
2. การเปิดให้มีการแข่งขันในตลาดทุน และพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้เกี่ยวข้อง
3. การให้ความคุ้มครองผู้ลงทุน และรักษาความน่าเชื่อถือของตลาดทุน
4. ยุทธศาสตร์ด้านการเตรียมระบบให้รองรับความผันผวนที่รุนแรงได้ และ
5. การขยายฐานผู้ลงทุนและทำให้ตลาดทุนรองรับปัญหาสังคมผู้สูงอายุ
นอกจากนี้ก.ล.ต. จะให้ความสำคัญในเรื่องการสื่อสารและเสริมสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในเชิงรุก รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานในการจัดการด้านบุคลากร ข้อมูลและการเงินอย่างเป็นระบบ
นายวรพล กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้านการกำกับดูแลและพัฒนาตลาดทุนไทยจะสร้างความชัดเจนเรื่องบทบาทภายใต้หลักการทำงาน 4 ด้าน คือ 1. การดำเนินงานเชิงรุก และมีการคาดการณ์ล่วงหน้าเพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น 2. การใช้มาตรการป้องกันควบคู่กับมาตรการลงโทษ โดยจะแยกกลุ่มคนที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์กับกลุ่มที่ฝ่าฝืนออกจากกันให้ชัดเจน 3. การส่งเสริมและพัฒนาตลาดทุนไทยให้มีความเข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งระดมทุนหลักของภาคธุรกิจทุกขนาด และ 4. การยกระดับสู่ความเป็นหนึ่งในทุกส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีบุคลากรที่เป็นมืออาชีพ
* มองปีนี้ ธุรกิจหลักทรัพย์แข่งขันไม่รุนแรงขึ้น แม้เปิดเสรีค่าคอมฯ
นายวรพล กล่าวว่า กล่าวว่า ในปี 55 นี้ การแข่งขันในธุรกิจหลักทรัพย์ จะไม่รุนแรงมากกว่าเดิม โดยเชื่อว่าผู้ประกอบการโบรกเกอร์ จะหันมาพัฒนาคุณภาพมากกว่า
"การเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นในตลาดทุนไทย จะไม่ทำให้การแข่งขันของธุรกิจหลักทรัพย์รุนแรงกว่าเดิม แต่คาดว่าโบรกเกอร์ จะหันมาเน้นการสร้างคุณภาพมากขึ้น และโบรกเกอร์มีเวลาปรับตัวแล้วตั้งแต่ปี 49" นายวรพล กล่าว
นอกจากนี้ ในปี 55 จะได้เห็นภาพการควบรวมกิจการของบริษัทหลักทรัพย์(บล.) ต่อเนื่องจากปี 54 ที่มีการควบรวมกันไปมากแล้ว จากปัจจุบันที่กลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์จะแบ่งออกเป็นบล.ที่มีธนาคารพาณิชย์ถือหุ้น, บล.ที่มีกลุ่มต่างชาติเข้ามาถือหุ้น และบล.ที่เป็นอิสระและเชื่อว่า ในปีนี้ยังจะได้เห็นภาพต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในบล.ของไทยเพิ่มขึ้นด้วย
ด้านนางดวงมน จึงเสถียรทรัพย์ ผู้ช่วยเลขาธิการ สายผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ก.ล.ต. กล่าวว่า การแข่งขันในธุรกิจหลักทรัพย์จะไม่รุนแรงมากขึ้น เพราะการแข่งขันที่รุนแรงเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 ปีที่ผ่านมาแล้ว แต่คาดว่าในปีนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมหลักทรัพย์ จะมีรูปแบบเป็นการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ออกมามากขึ้น และบล.หลายแห่ง จะเริ่มหาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)เข้ามาอยู่ในเครือ เพื่อให้เกิดความหลากหลายของสินค้า และการให้บริการ
ส่วนกระแสข่าวที่ระบุว่า โบรกเกอร์จับมือกัน เพื่อกำหนดอัตราค่าคอมมิชชั่นโดยรวมในระบบไว้แล้ว ว่า โดยส่วนตัวไม่เชื่อว่าจะสามารถทำได้อย่างยั่งยืนเนื่องจากธุรกิจที่จะเติบโตได้ ควรมีโมเดลที่ชัดเจน และพัฒนาที่คุณภาพ เพื่อให้นักลงทุนได้รับประโยชน์มากกว่า อย่างไรก็ตาม ก.ล.ต.ไม่สามารถห้ามโบรกเกอร์ ไม่ให้ดำเนินการดังกล่าวได้เพราะขณะนี้ได้เข้าสู่การเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นไปแล้ว
นางดวงมน กล่าวว่า ก.ล.ต.อยากแนะนำให้โบรกเกอร์ สร้างความแข็งแกร่งของธุรกิจเช่น การหาโอกาสเพื่อไปทำธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบอินโดจีน เช่น ลาว และพม่า ซึ่งเป็นประเทศที่กำลังจะพัฒนาด้านการลงทุน โดยโบรกเกอร์ไทยสามารถเข้าไปทำหน้าที่อันเดอร์ไรท์ตราสารต่างๆได้ ซึ่งควรเร่งดำเนินการ ก่อนที่ประเทศอื่น เช่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ จะเข้าไปทำตลาดก่อน
*บลจ.กสิกรไทย ขานรับมาตรการ ก.ล.ต. ดีเดย์ซื้อ-สับเปลี่ยน เข้า KSDLTF ได้ถึงแค่ 13 มกราคม นี้
นางสาวยุพาวดี ตู้จินดา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ. กสิกรไทย) เปิดเผยว่า บลจ. กสิกรไทย จะหยุดรับคำสั่งซื้อและสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมายังกองทุนเปิดเค สตราทีจิค ดีเฟ็นซีฟหุ้นระยะยาวปันผล (KSDLTF) ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป เพื่อให้เป็นไปตามการปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งห้ามกองทุน LTF ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจนอัตราส่วนการลงทุนในหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน โดยมีผลบังคับใช้เกณฑ์ดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป
“เนื่องจากกองทุนเปิดเค สตราทีจิค ดีเฟ็นซีฟหุ้นระยะยาวปันผล (KSDLTF) ของ บลจ. กสิกรไทย อยู่ในข่ายกองทุนที่ได้รับผลกระทบจากเกณฑ์ที่ได้กล่าวไป บลจ.กสิกรไทย จะเปิดให้ซื้อและสับเปลี่ยนเข้ามายังกองทุน KSDLTF ถึงวันที่ 13 มกราคมนี้เท่านั้น โดยผู้ลงทุนที่ได้ซื้อหรือสับเปลี่ยนเข้ามายังกองทุน KSDLTF ภายใน 13 มกราคม 2555 จะยังคงได้รับสิทธิ์ลดหย่อนภาษีสำหรับปีภาษี 2555 และสามารถถือครองหน่วยลงทุนกองทุน KSDLTF ต่อไปจนกว่าจะครบเงื่อนไขทางภาษีของกรมสรรพากร คือ 5 ปีปฏิทินได้เช่นเดิม แต่จะไม่สามารถซื้อเพิ่ม และไม่สามารถสับเปลี่ยนจากกองทุน LTF อื่นเข้ามายังกองทุนนี้ได้อีกตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม หากผู้ลงทุนต้องการโอกาสรับผลตอบแทนจากการลงทุนในหุ้นและรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น ก็สามารถสับเปลี่ยนออกจากกองทุน KSDLTF ไปยังกองทุน LTF อื่นๆ ได้ รวมทั้งสามารถขายคืนเมื่อได้เมื่อถือหน่วยลงทุนมาครบตามเงื่อนไขทางภาษี ส่วนผู้ถือหน่วยลงทุนที่สมัครใช้บริการ K-Saving Plan (บริการลงทุนรายงวดกองทุนรวมกสิกรไทย) เพื่อลงทุนอย่างสม่ำเสมอกับกองทุน KSDLTF บลจ. กสิกรไทย จะยกเลิกการหักบัญชีเงินฝากเพื่อซื้อกองทุนดังกล่าวให้โดยอัตโนมัติ ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2555 เป็นต้นไป” นางสาวยุพาวดีกล่าว
นางยุพาวดีกล่าวเพิ่มเติมว่า “กองทุน KSDLTF เป็นกองทุนที่ได้รับความนิยมจากผู้ลงทุนพอสมควร โดยปี 2554 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิเพิ่มขึ้นประมาณ 1,600 ล้านบาท รวมเป็น 4,914 ล้านบาท ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2554 คิดเป็นการเติบโตถึงร้อยละ 48 จากปี 2553 เหตุที่ได้รับความนิยมเพราะ KSDLTF มีนโยบายลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จึงเหมาะกับผู้ลงทุนที่ไม่นิยมความผันผวนจากการลงทุนในหุ้น รวมถึงยังเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการสับเปลี่ยนเข้ามายังกองทุนนี้เมื่อตลาดหุ้นมีความผันผวนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม หลังจากเกณฑ์ ก.ล.ต.บังคับใช้ ผู้ลงทุนที่ต้องการจำกัดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นไม่ให้สูงเกินไปนัก ก็สามารถเลือกลงทุนกับกองทุนเปิดเค 70 หุ้นระยะยาวปันผล ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นไม่เกินร้อยละ 70 เพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงได้เช่นกัน”
กองทุนเปิดเค สตราทีจิค ดีเฟ็นซีฟหุ้นระยะยาวปันผล (KSDLTF) เป็นกองทุน LTF ลำดับที่ 6 ของ บลจ. กสิกรไทย จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2550 มีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 และอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารพอร์ตการลงทุน โดย ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2554 กองทุนมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 4,914.94 ล้านบาท ผลการดำเนินงานในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมาให้โอกาสรับผลตอบแทนที่ 2.62% ในขณะที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์อยู่ที่ -1.55%
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
- BEN 10
- Verified User
- โพสต์: 518
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 22
อย่าไปว่า กลต. เลยครับ คนของ กลต. ส่วนใหญ่น่าชื่นชม ทำงานหนัก เงินเดือนน้อย ถูกจำกัดสิทธิห้ามลงทุนในหลักทรัพย์ (แต่อนุญาติให้คู่สมรส ไม่ว่าจดทะเบียนหรือไม่ก็ตามลุงทุนได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องเซ็นเอกสารให้ กลต. สามารถตรวจสอบข้อมูลได้ตลอดเวลาป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน
หลายๆ คดี กลต. ได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ แต่ กลต. ได้รับอำนาจดำเนินการมาอย่างจำกัด ผมขอยกตัวอย่างเทียบเคียงให้ฟังดังนี้ครับ
กลต. ทำได้แค่หาหลักฐาน ข้อมูล การทุจริตในการ ปั่นหุ้น หรือซื้อขายหุ้น อะไรก็ตาม เสร็จแล้ว กลต. ต้องส่งเรื่องทั้งหมดให้ DSI เขาไปดำเนินการสืบสวน. สอบสวนต่อ การที่จะฟ้องหรือไม่ หน่วยงานของรัฐ เช่น D เอส จาม (กลัวโดนฟ้องนะ) ต้องดำเนินการต่อครับ
คล้ายกับ ถ้าเราถูกโกง เรารวบรวมหลักฐานแจ้งตำรวจ ถ้าตำรวจไม่ทำอะไรต่อ แล้วเราทำอะไรต่อได้บ้างครับ (สำหรับบ้านนี้เมืองนี้ ที่รัฐมนตรีรอบรู้ รู้ทุกเรื่อง. บกเว้นเรื่องไอ้ปื้ดอยู่ไหน ฮ่า)
คดีต่างๆ ลองไปหาข้อมูลดูสักนิดว่ากี่คดีที่หมดอายุความ (หลังจาก กลต. ส่งเรื่องไปแล้ว) แล้ว D เอส จาม บอกว่าคดีมีมากเกินบุคลากรที่มี ทำไม่ทัน คดีจึงขาดอายุความ
กลต ไม่ได้ถูกออกแบบ ให้เป็น One stop shopping ที่ รวบรวมข้อมูล ดำเนินการฟ้อง และตัดสินคดี ในหน่วยงานเดียว แต่ต้องประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ตากหลัก check and balance ครับ (ผมว่าเราพิ่งผ่าน เหตุน้ำท่วมมา เราได้เห็นการประสานงานของหน่วยงานภาครัฐในภาวะวิกฤติมาแล้ว แล้วกรณี ฟ้องร้องเรื่องหุ้นที่ไม่ได้เป็นภาวะวิกฤติ คุณคิดว่าพวกเขาจะประสานงานกันอย่างไร)
ถ้าผมจะวิจารณ์ กลต. ผมขอวิจารณ์ ว่ามุมมองของ กลต ที่น่าปรับปรุงก็มีแค่ กลต กลัวว่สนักลงทุนขาดความรู้ ทังที่นักลงทุนสมัยนี้มีความรู้ดีๆ มีมาก ดังนั้นกฏระเบียบบางอย่างอาจยืดหยุ่นบ้าง ครับ
ผิดถูก เป็นความเห็นส่วนตัว ขออภัยถ้ามีอะไรที่เข้าใจผิด ขอให้เข้ามาเสริมแก้ไขกันได้ครับ
หลายๆ คดี กลต. ได้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ แต่ กลต. ได้รับอำนาจดำเนินการมาอย่างจำกัด ผมขอยกตัวอย่างเทียบเคียงให้ฟังดังนี้ครับ
กลต. ทำได้แค่หาหลักฐาน ข้อมูล การทุจริตในการ ปั่นหุ้น หรือซื้อขายหุ้น อะไรก็ตาม เสร็จแล้ว กลต. ต้องส่งเรื่องทั้งหมดให้ DSI เขาไปดำเนินการสืบสวน. สอบสวนต่อ การที่จะฟ้องหรือไม่ หน่วยงานของรัฐ เช่น D เอส จาม (กลัวโดนฟ้องนะ) ต้องดำเนินการต่อครับ
คล้ายกับ ถ้าเราถูกโกง เรารวบรวมหลักฐานแจ้งตำรวจ ถ้าตำรวจไม่ทำอะไรต่อ แล้วเราทำอะไรต่อได้บ้างครับ (สำหรับบ้านนี้เมืองนี้ ที่รัฐมนตรีรอบรู้ รู้ทุกเรื่อง. บกเว้นเรื่องไอ้ปื้ดอยู่ไหน ฮ่า)
คดีต่างๆ ลองไปหาข้อมูลดูสักนิดว่ากี่คดีที่หมดอายุความ (หลังจาก กลต. ส่งเรื่องไปแล้ว) แล้ว D เอส จาม บอกว่าคดีมีมากเกินบุคลากรที่มี ทำไม่ทัน คดีจึงขาดอายุความ
กลต ไม่ได้ถูกออกแบบ ให้เป็น One stop shopping ที่ รวบรวมข้อมูล ดำเนินการฟ้อง และตัดสินคดี ในหน่วยงานเดียว แต่ต้องประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ตากหลัก check and balance ครับ (ผมว่าเราพิ่งผ่าน เหตุน้ำท่วมมา เราได้เห็นการประสานงานของหน่วยงานภาครัฐในภาวะวิกฤติมาแล้ว แล้วกรณี ฟ้องร้องเรื่องหุ้นที่ไม่ได้เป็นภาวะวิกฤติ คุณคิดว่าพวกเขาจะประสานงานกันอย่างไร)
ถ้าผมจะวิจารณ์ กลต. ผมขอวิจารณ์ ว่ามุมมองของ กลต ที่น่าปรับปรุงก็มีแค่ กลต กลัวว่สนักลงทุนขาดความรู้ ทังที่นักลงทุนสมัยนี้มีความรู้ดีๆ มีมาก ดังนั้นกฏระเบียบบางอย่างอาจยืดหยุ่นบ้าง ครับ
ผิดถูก เป็นความเห็นส่วนตัว ขออภัยถ้ามีอะไรที่เข้าใจผิด ขอให้เข้ามาเสริมแก้ไขกันได้ครับ
CANSLIM APPRENTICE
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 23
ก.ล.ต.ลงโทษมาร์เก็ตติ้ง 31 รายหลังไม่มีที่มาของคำสั่งจากลูกค้า
อินโฟเควสท์ (18 ม.ค. 55)--นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิด
เผยว่า ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน 13 ราย และตำหนิอีก 18 ราย เนื่องจากไม่บันทึกเทปการให้คำแนะนำและ
ไม่มีหลักฐานแสดงที่มาของคำสั่งจากลูกค้าอย่างครบถ้วนหรือตรงกับความเป็นจริง
สืบเนื่องจากการที่ ก.ล.ต. ตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติของบริษัทหลักทรัพย์จำนวน 9 บริษัท และได้สุ่มตรวจ
สอบรายการซื้อขายของลูกค้าที่สั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านโทรศัพท์และลูกค้าที่ส่งคำสั่งซื้อขายที่ห้องค้า พบว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจำนวน 31
รายไม่สามารถแสดงหลักฐานที่มาของคำสั่งจากลูกค้าได้ ส่วนใหญ่ยอมรับว่ารับคำสั่งจากลูกค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยอ้างว่าลูกค้าไม่
สะดวกหรือไม่คุ้นเคยที่จะส่งคำสั่งผ่านระบบโทรศัพท์บันทึกเทปที่บริษัทจัดไว้
ส่วนกรณีลูกค้าที่ห้องค้านั้น พบว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจัดทำรายงานการส่งคำสั่งของลูกค้าที่มีรายการไม่ครบถ้วน บางรายจัด
ทำหลักฐานที่มาของคำสั่งไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ลูกค้าส่งคำสั่งทางโทรศัพท์ แต่กลับใช้การเขียนใบคำสั่งแทนที่จะบันทึกเทป
เป็นต้น
นายวสันต์ กล่าวว่า หลักฐานการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อเกิดการโต้แย้งกันเกี่ยวกับการส่งคำสั่งระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และลูกค้า หลักเกณฑ์ในเรื่องนี้จึงถูกกำหนดขึ้น
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยบริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดให้มีระบบและเครื่องมือการเก็บหลักฐานการส่งคำสั่ง ซึ่งรวมถึง
ระบบการบันทึกเทปสำหรับการส่งคำสั่งทางโทรศัพท์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนมีหน้าที่เก็บและบันทึกคำสั่งให้ครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง
ในขณะที่ผู้ลงทุนเองก็ไม่ควรละเลยในการปฏิบัติตามระเบียบที่บริษัทหลักทรัพย์จัดไว้เพื่อเป็นการป้องกันกรณีพิพาทและการ
ทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับทรัพย์สินของตนการที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนไม่จัดเก็บหลักฐานการส่งคำสั่งของลูกค้าอย่างครบถ้วนและถูกต้องเป็น
การปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามข้อ 14(7) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก
ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14
ตุลาคม 2552 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็น
ชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2552
ก.ล.ต. จึงลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาดทั้ง 31 ราย มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ดังนี้
1.สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 2 เดือน จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายขจิตสักก์ ชลิตอาภรณ์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ของ บล.ไอร่า
2. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 12 ราย ได้แก่ นางสาวนงลักษณ์ เกษทรัพย์ นางสาว
วราภรณ์ บุตรพลอย และนางสาววิลาวัณย์ สาระทรัพย์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.ซิกโก้, นายนพรัตน์ สุขแสนนพคุณ และ
นางสาวพิมพ์ลดา พัฒนะวราโรจน์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.ยูไนเต็ด, นายคมกฤต แก้วเนิน ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.เคที ซีมิ
โก้, นางสาวนิสารัตน์ หาญพิมาย นายเอกบงกช มานะพันธุ์นิยม และนายสมพล สัจจาพิทักษ์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล. เคจี
ไอ (ประเทศไทย) นางวรรณา อรรถจารุสิทธิ์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.ภัทร และนายวิโรจน์ เดชะผล และนางสาวศัลย์ศ
ยา โชคทวีรัตน์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.โกลเบล็ก
3. ตำหนิพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จำนวน 18 ราย ได้แก่
1. นายไกรศักดิ์ ธัญญานุรักษา 10. นางสาวณฐินี พานิชพันธ์
2. นางสาวอนงค์นาถ ศรีสุข 11. นายเนรมิต โสภาพร
3. นายวิโรจน์ ทองฤกษ์ฤทธิ์ 12. นางสาวคนึงนิจ อาทยะกุล
4. นายวรพจน์ ศิริงาม 13. นายเทพฤทธิ์ ทองโอฬาร
5. นายวีรพงศ์ สิริสัมฤทธิ์ 14. นางสาวสุคนธา ชัชวาลย์
6. นางสาวสุมนรัตน์ ไตรภพภูมิ 15. นางสาวจันทราภา วงศ์ไพบูลย์
7. นางสาวพรปวีณ์ จันทร์คำ 16. นายสมชาย พิเชษฐสุภกิจ
8. นางอุษณีย์ งามจิตสุขศรี 17. นายวัชรินทร์ อรุณแสงสุรีย์
9. นายกนก รัตนไพบูลย์สวัสดิ์ 18. นางสาวอนุสรา เชื้อคำ--จบ--
--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
อินโฟเควสท์ (18 ม.ค. 55)--นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิด
เผยว่า ก.ล.ต. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน 13 ราย และตำหนิอีก 18 ราย เนื่องจากไม่บันทึกเทปการให้คำแนะนำและ
ไม่มีหลักฐานแสดงที่มาของคำสั่งจากลูกค้าอย่างครบถ้วนหรือตรงกับความเป็นจริง
สืบเนื่องจากการที่ ก.ล.ต. ตรวจสอบการดำเนินงานตามปกติของบริษัทหลักทรัพย์จำนวน 9 บริษัท และได้สุ่มตรวจ
สอบรายการซื้อขายของลูกค้าที่สั่งซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านโทรศัพท์และลูกค้าที่ส่งคำสั่งซื้อขายที่ห้องค้า พบว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจำนวน 31
รายไม่สามารถแสดงหลักฐานที่มาของคำสั่งจากลูกค้าได้ ส่วนใหญ่ยอมรับว่ารับคำสั่งจากลูกค้าผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยอ้างว่าลูกค้าไม่
สะดวกหรือไม่คุ้นเคยที่จะส่งคำสั่งผ่านระบบโทรศัพท์บันทึกเทปที่บริษัทจัดไว้
ส่วนกรณีลูกค้าที่ห้องค้านั้น พบว่าผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนจัดทำรายงานการส่งคำสั่งของลูกค้าที่มีรายการไม่ครบถ้วน บางรายจัด
ทำหลักฐานที่มาของคำสั่งไม่ตรงกับความเป็นจริง เช่น ลูกค้าส่งคำสั่งทางโทรศัพท์ แต่กลับใช้การเขียนใบคำสั่งแทนที่จะบันทึกเทป
เป็นต้น
นายวสันต์ กล่าวว่า หลักฐานการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อเกิดการโต้แย้งกันเกี่ยวกับการส่งคำสั่งระหว่างบริษัทหลักทรัพย์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน และลูกค้า หลักเกณฑ์ในเรื่องนี้จึงถูกกำหนดขึ้น
ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยบริษัทหลักทรัพย์มีหน้าที่จัดให้มีระบบและเครื่องมือการเก็บหลักฐานการส่งคำสั่ง ซึ่งรวมถึง
ระบบการบันทึกเทปสำหรับการส่งคำสั่งทางโทรศัพท์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนมีหน้าที่เก็บและบันทึกคำสั่งให้ครบถ้วน ตรงตามความเป็นจริง
ในขณะที่ผู้ลงทุนเองก็ไม่ควรละเลยในการปฏิบัติตามระเบียบที่บริษัทหลักทรัพย์จัดไว้เพื่อเป็นการป้องกันกรณีพิพาทและการ
ทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับทรัพย์สินของตนการที่ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนไม่จัดเก็บหลักฐานการส่งคำสั่งของลูกค้าอย่างครบถ้วนและถูกต้องเป็น
การปฏิบัติไม่เป็นไปตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนตามข้อ 14(7) แห่งประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลัก
ทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 49/2552 เรื่อง การให้ความเห็นชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14
ตุลาคม 2552 และประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ที่ สข. 50/2552 เรื่อง การให้ความเห็น
ชอบผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้าและมาตรฐานการปฏิบัติงาน ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2552
ก.ล.ต. จึงลงโทษเจ้าหน้าที่การตลาดทั้ง 31 ราย มีผลตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2554 ดังนี้
1.สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 2 เดือน จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายขจิตสักก์ ชลิตอาภรณ์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน
ของ บล.ไอร่า
2. สั่งพักการปฏิบัติหน้าที่เป็นระยะเวลา 1 เดือน จำนวน 12 ราย ได้แก่ นางสาวนงลักษณ์ เกษทรัพย์ นางสาว
วราภรณ์ บุตรพลอย และนางสาววิลาวัณย์ สาระทรัพย์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.ซิกโก้, นายนพรัตน์ สุขแสนนพคุณ และ
นางสาวพิมพ์ลดา พัฒนะวราโรจน์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.ยูไนเต็ด, นายคมกฤต แก้วเนิน ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.เคที ซีมิ
โก้, นางสาวนิสารัตน์ หาญพิมาย นายเอกบงกช มานะพันธุ์นิยม และนายสมพล สัจจาพิทักษ์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล. เคจี
ไอ (ประเทศไทย) นางวรรณา อรรถจารุสิทธิ์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.ภัทร และนายวิโรจน์ เดชะผล และนางสาวศัลย์ศ
ยา โชคทวีรัตน์ ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนของ บล.โกลเบล็ก
3. ตำหนิพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม จำนวน 18 ราย ได้แก่
1. นายไกรศักดิ์ ธัญญานุรักษา 10. นางสาวณฐินี พานิชพันธ์
2. นางสาวอนงค์นาถ ศรีสุข 11. นายเนรมิต โสภาพร
3. นายวิโรจน์ ทองฤกษ์ฤทธิ์ 12. นางสาวคนึงนิจ อาทยะกุล
4. นายวรพจน์ ศิริงาม 13. นายเทพฤทธิ์ ทองโอฬาร
5. นายวีรพงศ์ สิริสัมฤทธิ์ 14. นางสาวสุคนธา ชัชวาลย์
6. นางสาวสุมนรัตน์ ไตรภพภูมิ 15. นางสาวจันทราภา วงศ์ไพบูลย์
7. นางสาวพรปวีณ์ จันทร์คำ 16. นายสมชาย พิเชษฐสุภกิจ
8. นางอุษณีย์ งามจิตสุขศรี 17. นายวัชรินทร์ อรุณแสงสุรีย์
9. นายกนก รัตนไพบูลย์สวัสดิ์ 18. นางสาวอนุสรา เชื้อคำ--จบ--
--อินโฟเควสท์ โดย ศศิธร ซิมาภรณ์ โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์: [email protected]--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 25
กลต.ลุ้นจัดการตั้งกองทุน ไพรเวทอีคิวตี้มากขึ้นปี'55 [ ข่าวหุ้น, 23 ม.ค. 55 ]
ก.ล.ต.คาดภายในครึ่งแรกปี 2555 จะเห็นการตั้งกองทุน Private Equity Fund มากขึ้น
หลังกระตุ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีกลุ่มทุนเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ ก่อนผลักดันเข้าตลาดหุ้น
ก.ล.ต.คาดภายในครึ่งแรกปี 2555 จะเห็นการตั้งกองทุน Private Equity Fund มากขึ้น
หลังกระตุ้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีกลุ่มทุนเข้ามาลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพ ก่อนผลักดันเข้าตลาดหุ้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 26
ตลท.เสริมระบบการทำงานไอที 'บจ.' แจ้งเร็วขึ้น [ ข่าวหุ้น, 24 ม.ค. 55 ]
ตลท.เสริมศักยภาพระบบเปิดเผยข้อมูลบจ.เน้นใช้รูปแบบ Straight Through ให้ "บจ." เพิ่ม
ความรวดเร็วในการเผยแพร่ข่าวแก่ผู้ลงทุนโดยตรงทันทีผ่านเว็บไซด์และระบบข้อมูล SET SMART เพื่อ
ความเท่าเทียมกันในการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุน พร้อมยกระดับมาตรฐานเทียบตลาดหุ้นชั้นนำของภูมิภาค
เริ่ม 30 ม.ค.
ตลท.เสริมศักยภาพระบบเปิดเผยข้อมูลบจ.เน้นใช้รูปแบบ Straight Through ให้ "บจ." เพิ่ม
ความรวดเร็วในการเผยแพร่ข่าวแก่ผู้ลงทุนโดยตรงทันทีผ่านเว็บไซด์และระบบข้อมูล SET SMART เพื่อ
ความเท่าเทียมกันในการใช้ข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุน พร้อมยกระดับมาตรฐานเทียบตลาดหุ้นชั้นนำของภูมิภาค
เริ่ม 30 ม.ค.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 27
กลต.จ่อออกกฎคุมชวนผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุม [ โพสต์ทูเดย์, 2 ก.พ. 55 ]
ก.ล.ต.ล้อมคอก ชักชวนหรือมอบฉันทะผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมเตรียมออกกฎเกณฑ์ดูแลให้เปิดเผยตัว
ตนและเป้าหมาย
นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่าปัจจุบัน ก.ล.ต.ไม่มีกฎเกณฑ์ห้ามการชักชวนการมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
แทน แต่ ก.ล.ต.อยู่ระหว่างศึกษาและเห็นว่าควรออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนหรือรวบรวมใบมอบ
ฉันทะมาบังคับใช้ในอนาคต เพื่อทำให้กรณีดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้น
ก.ล.ต.ล้อมคอก ชักชวนหรือมอบฉันทะผู้ถือหุ้นเข้าร่วมประชุมเตรียมออกกฎเกณฑ์ดูแลให้เปิดเผยตัว
ตนและเป้าหมาย
นายวสันต์ เทียนหอม รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่าปัจจุบัน ก.ล.ต.ไม่มีกฎเกณฑ์ห้ามการชักชวนการมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมผู้ถือหุ้น
แทน แต่ ก.ล.ต.อยู่ระหว่างศึกษาและเห็นว่าควรออกกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนหรือรวบรวมใบมอบ
ฉันทะมาบังคับใช้ในอนาคต เพื่อทำให้กรณีดังกล่าวมีความชัดเจนมากขึ้น
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 28
ข่าวหุ้น, 29 ก.พ. 55
อินฟราฟันด์คลอดโรงไฟฟ้า2พันล้านเว้นภาษีให้10ปี
ก.ล.ต.ทำคลอดกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คาดยื่นไฟลิ่งไตรมาสแรกโครงการโรงไฟฟ้า 1-2
พันล้านบาท ด้าน ครม. ยกเว้นจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม และภาษีเงิน
ปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนนาน 10 ปี
ก.ล.ต.ปรับเกณฑ์B/Eใหม่มูลค่าหน้าตั๋วต้องไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
บอร์ด ก.ล.ต.ปรับเกณฑ์กำกับดูแลตั๋วเงิน หุ้นกู้ระยะสั้น และหุ้นกู้ใหม่ คุมเข้มออกตั๋วเงินขาย
ประชาชน ต้องมีมูลค่าหน้าตั๋วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท พร้อมข้อความเตือนไม่ได้รับคุ้มครองเงินฝาก และไม่
มีอนุพันธ์แฝง หลังสถาบันแห่ออกคึกคัก
อินฟราฟันด์คลอดโรงไฟฟ้า2พันล้านเว้นภาษีให้10ปี
ก.ล.ต.ทำคลอดกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน คาดยื่นไฟลิ่งไตรมาสแรกโครงการโรงไฟฟ้า 1-2
พันล้านบาท ด้าน ครม. ยกเว้นจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนรวม และภาษีเงิน
ปันผลแก่ผู้ถือหน่วยลงทุนนาน 10 ปี
ก.ล.ต.ปรับเกณฑ์B/Eใหม่มูลค่าหน้าตั๋วต้องไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
บอร์ด ก.ล.ต.ปรับเกณฑ์กำกับดูแลตั๋วเงิน หุ้นกู้ระยะสั้น และหุ้นกู้ใหม่ คุมเข้มออกตั๋วเงินขาย
ประชาชน ต้องมีมูลค่าหน้าตั๋วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท พร้อมข้อความเตือนไม่ได้รับคุ้มครองเงินฝาก และไม่
มีอนุพันธ์แฝง หลังสถาบันแห่ออกคึกคัก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 29
เสนอจัดเรตติ้ง'เอสเอ็มอี'เพิ่มอำนาจต่อรองเงินกู้แบงก์ทริสเล็งหาช่วงหนุน-ลดค่าฟี [ โพสต์ทูเดย์, 29 ก.พ. 55 ]
ก.ล.ต. เล็งจัดเรตติ้ง"เอสเอ็มอี" หวังให้เป็นเครื่องมือต่อรองแบงก์ เปิดทางเข้าถึงตลาดทุนด้าน
ทริสรุกหาแนวทางส่งเสริม คิดค่าธรรมเนียมราคาพิเศษ
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่าก.ล.ต.มีนโยบายพัฒนาการจัดอันดับเครดิตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(เอสเอ็มอี เรตติ้ง)เพื่อให้เอสเอ็มอีมีเครื่องมือต่อรองหรืออ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เมื่อต้องขอสินเชื่อ
จากธนาคารพาณิชย์
ก.ล.ต. เล็งจัดเรตติ้ง"เอสเอ็มอี" หวังให้เป็นเครื่องมือต่อรองแบงก์ เปิดทางเข้าถึงตลาดทุนด้าน
ทริสรุกหาแนวทางส่งเสริม คิดค่าธรรมเนียมราคาพิเศษ
นายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่าก.ล.ต.มีนโยบายพัฒนาการจัดอันดับเครดิตของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
(เอสเอ็มอี เรตติ้ง)เพื่อให้เอสเอ็มอีมีเครื่องมือต่อรองหรืออ้างอิงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เมื่อต้องขอสินเชื่อ
จากธนาคารพาณิชย์
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: วิจารณ์ กลต.
โพสต์ที่ 30
'บี' หลุดแบล็คลิสต์ก.ล.ต.เดินหน้าซื้อหุ้นบจ.หมื่นล. [ กรุงเทพธุรกิจ, 29 ก.พ. 55 ]
"บี เตชะอุบล" ประกาศหลุดแบล็คลิสต์ก.ล.ต.หลังอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีไออีซีแถมยังไม่ถูกตรวจ
สอบกรณีทีทีเอ ระบุไม่สนใจซื้อหุ้นทีทีเอแล้ว หลังมีกลุ่มมหากิจศิริเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จับมือพันธมิตร
ต่างชาติ เดินหน้าเจรจาซื้อหุ้นบริษัทจดทะเบียน 3 ดีล ในกลุ่มการเงิน อสังหาฯ และก่อสร้างใช้เงินลงทุน
มากกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดได้ข้อสรุปภายในปีนี้
"บี เตชะอุบล" ประกาศหลุดแบล็คลิสต์ก.ล.ต.หลังอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดีไออีซีแถมยังไม่ถูกตรวจ
สอบกรณีทีทีเอ ระบุไม่สนใจซื้อหุ้นทีทีเอแล้ว หลังมีกลุ่มมหากิจศิริเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จับมือพันธมิตร
ต่างชาติ เดินหน้าเจรจาซื้อหุ้นบริษัทจดทะเบียน 3 ดีล ในกลุ่มการเงิน อสังหาฯ และก่อสร้างใช้เงินลงทุน
มากกว่า 1 หมื่นล้านบาท คาดได้ข้อสรุปภายในปีนี้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."