บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 241
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2554 11:53:38 น.
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยจะยังไม่ส่งมอบเงินช่วยเหลือกรีซงวดต่อไปวงเงิน 4.40 แสนล้านยูโร หรือ 1.48 แสนล้านดอลลาร์ จนกว่ามาตรการรัดเข็มขัดของกรีซจะได้รับการสนับสนุนทางการเมืองในวงกว้าง
เดวิด ฮอว์ลีย์ โฆษกของไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า นับเป็นเรื่องที่สำคัญที่รัฐบาลจะต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการทางเศรษฐกิจ และมาตรการต่างๆตามที่ที่ประชุมผู้นำยุโรปได้ให้ความเห็นชอบไว้ในการประชุมเมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา เมื่อใดที่เราสามารถมั่นใจได้ว่า มาตรการเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองในวงกว้าง เราก็จะเดินหน้าทบทวนและปล่อยนเงินช่วยเหลืองวดต่อไปออกมา
นายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ของกรีซ ได้รับการแต่งตั้งให้มาทำหน้าที่ดูแลเรื่องการใช้มาตรการที่เกี่ยวกับงบประมาณ และสร้างความเชื่อมั่นว่า กรีซจะได้รับเงินช่วยเหลืองวดที่ 2 จากไอเอ็มเอฟ และประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่เห็นชอบเรื่องการช่วยเหลือเมื่อเดือนที่แล้ว โดยล่าสุด รัฐบาลกรีซอยู่ในระหว่างการรอเงินช่วยเหลือวงเงิน 8 พันล้านยูโรที่มีกำหนดว่า จะได้รับเงินช่วยเหลือภายในกลางเดือนธ.ค.นี้
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เผยจะยังไม่ส่งมอบเงินช่วยเหลือกรีซงวดต่อไปวงเงิน 4.40 แสนล้านยูโร หรือ 1.48 แสนล้านดอลลาร์ จนกว่ามาตรการรัดเข็มขัดของกรีซจะได้รับการสนับสนุนทางการเมืองในวงกว้าง
เดวิด ฮอว์ลีย์ โฆษกของไอเอ็มเอฟ กล่าวว่า นับเป็นเรื่องที่สำคัญที่รัฐบาลจะต้องแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินโครงการทางเศรษฐกิจ และมาตรการต่างๆตามที่ที่ประชุมผู้นำยุโรปได้ให้ความเห็นชอบไว้ในการประชุมเมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา เมื่อใดที่เราสามารถมั่นใจได้ว่า มาตรการเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนทางการเมืองในวงกว้าง เราก็จะเดินหน้าทบทวนและปล่อยนเงินช่วยเหลืองวดต่อไปออกมา
นายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ของกรีซ ได้รับการแต่งตั้งให้มาทำหน้าที่ดูแลเรื่องการใช้มาตรการที่เกี่ยวกับงบประมาณ และสร้างความเชื่อมั่นว่า กรีซจะได้รับเงินช่วยเหลืองวดที่ 2 จากไอเอ็มเอฟ และประเทศในกลุ่มยูโรโซนที่เห็นชอบเรื่องการช่วยเหลือเมื่อเดือนที่แล้ว โดยล่าสุด รัฐบาลกรีซอยู่ในระหว่างการรอเงินช่วยเหลือวงเงิน 8 พันล้านยูโรที่มีกำหนดว่า จะได้รับเงินช่วยเหลือภายในกลางเดือนธ.ค.นี้
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 242
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2554 09:46:11 น.
ทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ออกแถลงการการณ์ระบุว่า ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซี ของฝรั่งเศส, นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี และ นายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ของอิตาลี ต่างเห็นชอบต่อเรื่องความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับยูโรโซน
ทั้งนี้ ผู้นำทั้ง 3 ประเทศได้ประชุมทางโทรศัพท์เพื่อหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของยูโรโซน และเห็นพ้องว่า การเร่งหามาตรการสำหรับทั้งอียูและกลุ่มประเทศในยูโรโซนที่เข้าร่วมการประชุมจี-20 ที่เมืองคานส์นั้น เป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อรับประกับเสถียรภาพทางการเงินและการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน
แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า "นายมอนติได้ชี้แจงต่อผู้นำประเทศต่างๆ ถึงแผนการของเขาในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาด และแก้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อิตาลีกำลังเผชิญอยู่ โดยนายมอนติยืนยันว่า เขาได้ตัดสินใจดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพื่อรับประกันการรวมงบประมาณและปฏิรูปโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเติบโตและความเท่าเทียมกันทางสังคม"
ผู้นำทั้ง 3 ประเทศยืนยันว่า เยอรมนี ฝรั่งเศส และ อิตาลี ซึ่งเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุด 3 อันดับแรกในเขตยูโรโซน ต่างจะรับผิดชอบเพื่อรับประกันในเรื่องความมีเสถียรภาพ ความมั่งคั่ง และ ความเข้มแข็งของยูโรโซน
ในระหว่างการประชุม นายซาร์โคซีและนางเมอร์เคลต่างก็ให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาของนายมอนติในการใช้มาตรการที่จำเป็นในทันที เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของตลาด สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
ทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศสได้ออกแถลงการการณ์ระบุว่า ประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซี ของฝรั่งเศส, นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี และ นายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ของอิตาลี ต่างเห็นชอบต่อเรื่องความรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับยูโรโซน
ทั้งนี้ ผู้นำทั้ง 3 ประเทศได้ประชุมทางโทรศัพท์เพื่อหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของยูโรโซน และเห็นพ้องว่า การเร่งหามาตรการสำหรับทั้งอียูและกลุ่มประเทศในยูโรโซนที่เข้าร่วมการประชุมจี-20 ที่เมืองคานส์นั้น เป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อรับประกับเสถียรภาพทางการเงินและการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโรร่วมกัน
แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า "นายมอนติได้ชี้แจงต่อผู้นำประเทศต่างๆ ถึงแผนการของเขาในการฟื้นฟูความเชื่อมั่นของตลาด และแก้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่อิตาลีกำลังเผชิญอยู่ โดยนายมอนติยืนยันว่า เขาได้ตัดสินใจดำเนินการอย่างเด็ดขาด เพื่อรับประกันการรวมงบประมาณและปฏิรูปโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเติบโตและความเท่าเทียมกันทางสังคม"
ผู้นำทั้ง 3 ประเทศยืนยันว่า เยอรมนี ฝรั่งเศส และ อิตาลี ซึ่งเป็นประเทศผู้ร่วมก่อตั้งสหภาพยุโรปและมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุด 3 อันดับแรกในเขตยูโรโซน ต่างจะรับผิดชอบเพื่อรับประกันในเรื่องความมีเสถียรภาพ ความมั่งคั่ง และ ความเข้มแข็งของยูโรโซน
ในระหว่างการประชุม นายซาร์โคซีและนางเมอร์เคลต่างก็ให้การสนับสนุนการแก้ปัญหาของนายมอนติในการใช้มาตรการที่จำเป็นในทันที เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของตลาด สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 243
ข่าวเศรษฐกิจ กรมส่งเสริมการส่งออก -- ศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2554 12:07:14 น.
ความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สาธารณะของอิตาลี
นับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2011 ที่เกิดเหตุการณ์ Black Fridayในตลาดซื้อขายพันธบัตรและตลาดหุ้นอิตาลี เนื่องจากทั่วโลกมีความวิตกอย่างมากว่าอิตาลีจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต่อจากกรีซ ดูเหมือนว่ารัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโคนี จะไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือกลับมาให้กับคนในประเทศและทั่วโลกได้อีก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามผลักดันมาตรการต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจออกมาภายใต้การผลักดันจากสหภาพยุโรป จนนายแบร์ลุสโคนีต้องประกาศว่าจะยอมลาออกหากมาตรการปฎิรูปเศรษฐกิจผ่านมติรัฐสภา
ตั้งแต่เกิดวิฤกตหนี้กรีซปี 2010 ก็ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกยุโรปอื่นๆ ด้วยโดยเฉพาะอิตาลีที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเป็นรายต่อไป แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการรัดเข็มขัดในปี 2010 เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ เนื่องจากอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงสูงเป็นอันดับ 2 รองจากกรีซ และมีมูลค่ามากกว่าถึง 8 เท่า เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างฟุ่มเฟือยในการปรับโครงสร้างทางสังคม และสถานการณ์เศรษฐกิจมีการขยายตัวต่ำกว่าประเทศอื่นในยุโรปนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008 ประกอบกับปัญหาทางการเมืองที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ เพราะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโคนีในช่วงปีที่ผ่านมา มีความอ่อนแอในการบริหารประเทศ รัฐบาลแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย ส่งผลให้การออกมาตรการที่จำเป็นต่าง ๆ เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตัวของนายแบร์ลุสโคนีเองก็อยู่ในช่วงขาลงตั้งแต่กลางปี 2010 สืบเนื่องมาจากข่าวอื้อฉาวส่วนตัว และการตกเป็นจำเลยในคดีต่างๆ เช่น การใช้อำนาจในทางมิชอบ สินบน และการฉ้อโกงภาษี ส่งผลให้ขาดความน่าเชื่อถือจากประชาชนและคะแนนนิยมตกต่ำ
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา เป็นวันชี้ชะตาของนายแบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี โดยได้มีการลงมติอนุมัติงบประมาณหลังจากไม่ผ่านความเห็นชอบมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในครั้งนี้ผลปรากฎว่างบประมาณผ่านการอนุมัติจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบเพียง 308 คะแนนเสียง ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของสภาฯ (315 เสียง) แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลผสมของนายแบร์ลุสโคนี หัวหน้าพรรคพีดีแอล (PDL) ไม่ได้รับเสียงข้างมากอีกต่อไป นายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโคนีจึงตัดสินใจประกาศลาออกจากตำแหน่งแต่ต้องภายหลังที่มีการอนุมัติกฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจจากรัฐสภาอิตาลี ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรของอิตาลีถูกเทขายอย่างหนักหน่วงในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554ที่ผ่านมา โดยอัตราผลการตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ถูกปรับเพิ่มพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เริ่มมีการใช้เงินสกุลยูโรคือ 7.25% โดยค่าความต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีเมื่อเทียบกับเยอรมนีสูงขึ้นเหนือ 5.52% (552 จุด) ซึ่งเป็นอัตราที่อันตรายและสะท้อนให้เห็นว่าอิตาลีจะต้องแบกรับภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นอกจากนี้ หลายฝ่ายมองว่าเป็นอัตราที่ยากที่จะปรับลดลง เนื่องจากอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่กรีซได้ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากสภายุโรป
จากสถานการณ์หนี้จำนวนมหาศาลที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง ส่งผลให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ 3 สถาบัน คือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) มูดีส์ และฟิทช์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้สาธารณะอิตาลีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการปรับลดอันดับของอิตาลีอาจส่งผลกระทบถึงเยอรมันและฝรั่งเศส โดยเฉพาะฝรั่งเศสที่มีการลงทุนในประเทศในกลุ่ม PIGS สูงมาก ประกอบกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นจากการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่เดือดร้อน
การเรียกร้องของสภายุโรปต่ออิตาลีในการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
Mr. Olli Rehn ประธานกรรมาธิการฝ่ายการเศรษฐกิจและการเงินยุโรป มีความกังวลเป็นอย่างมากต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของอิตาลีที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปได้เรียกร้องให้อิตาลีชี้แจงถึงมาตรการรัดเข็มขัดอย่างชัดเจนที่ทางรัฐบาลอิตาลีได้มีการปรับเปลี่ยนในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา ภายในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 และได้เรียกร้องให้รัฐบาลอิตาลีขายทรัพย์สิน/แปรรูปรัฐวิสาหกิจกิจการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของรัฐบาล ให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นเจ้าของแทน เพื่อที่รัฐบาลจะได้มีเงินไปลดหนี้สาธารณะที่มีอยู่อย่างมหาศาล นอกจากนี้ ยังให้อิตาลียกเลิกการให้สิทธิเกษียณการทำงานจากอายุงาน ควรนับอายุผู้เกษียณ ซึ่งในปี 2026 อายุเกษียณอยู่ที่ 67 ปี ทั้งนี้ ทางคณะกรรมาธิการยุโรปได้ส่งตัวแทนไปสังเกตการณ์ที่กรุงโรมในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 เพื่อติดตามว่าอิตาลีจะปฎิบัติตามแนวทางในการลดหนี้สาธารณะหรือไม่
การประกาศลาออกของนายแบร์ลุสโคนี
นายแบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ได้ลงนามลาออกจากตำแหน่งตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้แล้วในช่วงดึกของวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 ภายหลังที่กฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจที่เค้าเสนอต่อรัฐสภาได้รับคะแนนเสียง 380 คะแนนเสียงจากสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาในวันศุกร์ที่ 11 ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 156 คะแนนเสียง ซึ่งบรรยกาศในกรุงโรมมีประชาชนนับพันมารวมตัวกันหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเฉลิมฉลองกับการลาออกของนายแบร์ลุสโคนี โดยวันอาทิตย์ที่ผ่านมาประธานาธิบดี จอร์โจ นาโปลีตาโน ได้แต่งตั้งให้นายมาริโอ มอนติ นักเศรษฐศาสตร์ และอดีตกรรมาธิการยุโรปเข้ารับตำแหน่งผู้นำรัฐบาลชั่วคราว ด้วยนายมอนติเป็นนักเจรจาและมีความสัมพันธ์อันกว้างขวางในสหภาพยุโรป จึงเป็นที่เชื่อว่าจะช่วยให้อิตาลีสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดอย่างรวดเร็ว แนวทางของกฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และเพิ่มภาษี โดยได้รวมมาตรการที่สภายุโรปเรียกร้องเข้าไว้ด้วย เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและแก้ไขสิทธิเกษียณ คาดว่าจะส่งผลให้ภาวะการขาดดุลการคลังในปี 2013 คงเหลือเพียงศูนย์ สำหรับการจัดตั้งคณะรัฐบาลจะทราบผลภายในอาทิตย์นี้
คาดการณ์เศรษฐกิจอิตาลีภายใต้นายกรัฐมนตรีคนใหม่
สคต. มิลาน เห็นว่าอิตาลีต้องหาทางเพิ่มรายได้จำนวนมากเพื่อมาลดหนี้จำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะมาจากการช่วยเหลือจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น IMF หรือสภายุโรป ดังนั้น รัฐบาลอิตาลีควรที่จะปฎิบัติตามคำแนะนำของสภายุโรปในการยอมขายทรัพย์สินของรัฐให้กับภาคเอกชน เพื่อที่จะได้นำเม็ดเงินมาใช้ในการชำระหนี้ได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว
สำหรับการที่บริษัทจำนวนมากมีแนวโน้มปิดตัวลงเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ ถือเป็นผลเสียต่ออิตาลีและยุโรปเอง ถ้าอิตาลีสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองเช่นย้ายไปผลิตในประเทศอื่น อาจช่วยให้บริษัทต่างๆยังคงอยู่รอดได้ รวมทั้งชาวอิตาเลียนเองควรที่จะให้ความร่วมมือกับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล เพื่อจะทำให้มาตรการรัดเข็มขัดมีประสิทธิภาพสูงสุดและตอบโจทย์ได้เร็วที่สุด
สคต. มองว่าการส่งออกสินค้าไทยมายังอิตาลียังคงมีโอกาสในกลุ่มสินค้าอาหาร สินค้าทุน และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ทดแทนสินค้าของอิตาลี แต่สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย-ของตกแต่งบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ น่าจะมีการนำเข้าจากอิตาลีลดลง
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th
ความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจและหนี้สาธารณะของอิตาลี
นับตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม 2011 ที่เกิดเหตุการณ์ Black Fridayในตลาดซื้อขายพันธบัตรและตลาดหุ้นอิตาลี เนื่องจากทั่วโลกมีความวิตกอย่างมากว่าอิตาลีจะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต่อจากกรีซ ดูเหมือนว่ารัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโคนี จะไม่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือกลับมาให้กับคนในประเทศและทั่วโลกได้อีก แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามผลักดันมาตรการต่าง ๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจออกมาภายใต้การผลักดันจากสหภาพยุโรป จนนายแบร์ลุสโคนีต้องประกาศว่าจะยอมลาออกหากมาตรการปฎิรูปเศรษฐกิจผ่านมติรัฐสภา
ตั้งแต่เกิดวิฤกตหนี้กรีซปี 2010 ก็ได้ส่งผลกระทบต่อประเทศสมาชิกยุโรปอื่นๆ ด้วยโดยเฉพาะอิตาลีที่ถูกมองว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤตเศรษฐกิจเป็นรายต่อไป แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการรัดเข็มขัดในปี 2010 เพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ เนื่องจากอัตราหนี้สาธารณะต่อ GDP ยังคงสูงเป็นอันดับ 2 รองจากกรีซ และมีมูลค่ามากกว่าถึง 8 เท่า เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณอย่างฟุ่มเฟือยในการปรับโครงสร้างทางสังคม และสถานการณ์เศรษฐกิจมีการขยายตัวต่ำกว่าประเทศอื่นในยุโรปนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกในปี 2008 ประกอบกับปัญหาทางการเมืองที่กำลังได้รับความสนใจอยู่ในขณะนี้ เพราะรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโคนีในช่วงปีที่ผ่านมา มีความอ่อนแอในการบริหารประเทศ รัฐบาลแตกแยกออกเป็นหลายฝ่าย ส่งผลให้การออกมาตรการที่จำเป็นต่าง ๆ เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะมาตรการรัดเข็มขัดเพื่อรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ตัวของนายแบร์ลุสโคนีเองก็อยู่ในช่วงขาลงตั้งแต่กลางปี 2010 สืบเนื่องมาจากข่าวอื้อฉาวส่วนตัว และการตกเป็นจำเลยในคดีต่างๆ เช่น การใช้อำนาจในทางมิชอบ สินบน และการฉ้อโกงภาษี ส่งผลให้ขาดความน่าเชื่อถือจากประชาชนและคะแนนนิยมตกต่ำ
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา เป็นวันชี้ชะตาของนายแบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี โดยได้มีการลงมติอนุมัติงบประมาณหลังจากไม่ผ่านความเห็นชอบมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ในครั้งนี้ผลปรากฎว่างบประมาณผ่านการอนุมัติจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบเพียง 308 คะแนนเสียง ต่ำกว่ากึ่งหนึ่งของสภาฯ (315 เสียง) แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลผสมของนายแบร์ลุสโคนี หัวหน้าพรรคพีดีแอล (PDL) ไม่ได้รับเสียงข้างมากอีกต่อไป นายกรัฐมนตรีแบร์ลุสโคนีจึงตัดสินใจประกาศลาออกจากตำแหน่งแต่ต้องภายหลังที่มีการอนุมัติกฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจจากรัฐสภาอิตาลี ส่งผลให้สถานการณ์ตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรของอิตาลีถูกเทขายอย่างหนักหน่วงในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554ที่ผ่านมา โดยอัตราผลการตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ถูกปรับเพิ่มพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ตั้งแต่เริ่มมีการใช้เงินสกุลยูโรคือ 7.25% โดยค่าความต่างระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีเมื่อเทียบกับเยอรมนีสูงขึ้นเหนือ 5.52% (552 จุด) ซึ่งเป็นอัตราที่อันตรายและสะท้อนให้เห็นว่าอิตาลีจะต้องแบกรับภาระหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล นอกจากนี้ หลายฝ่ายมองว่าเป็นอัตราที่ยากที่จะปรับลดลง เนื่องจากอัตราดังกล่าวเป็นอัตราที่กรีซได้ขอความช่วยเหลือทางการเงินจากสภายุโรป
จากสถานการณ์หนี้จำนวนมหาศาลที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง ส่งผลให้สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐฯ 3 สถาบัน คือ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) มูดีส์ และฟิทช์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือหนี้สาธารณะอิตาลีในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งการปรับลดอันดับของอิตาลีอาจส่งผลกระทบถึงเยอรมันและฝรั่งเศส โดยเฉพาะฝรั่งเศสที่มีการลงทุนในประเทศในกลุ่ม PIGS สูงมาก ประกอบกับหนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้นจากการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศที่เดือดร้อน
การเรียกร้องของสภายุโรปต่ออิตาลีในการเร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
Mr. Olli Rehn ประธานกรรมาธิการฝ่ายการเศรษฐกิจและการเงินยุโรป มีความกังวลเป็นอย่างมากต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและการเงินของอิตาลีที่กำลังเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้ ส่งผลให้วันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรปได้เรียกร้องให้อิตาลีชี้แจงถึงมาตรการรัดเข็มขัดอย่างชัดเจนที่ทางรัฐบาลอิตาลีได้มีการปรับเปลี่ยนในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2554 ที่ผ่านมา ภายในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 และได้เรียกร้องให้รัฐบาลอิตาลีขายทรัพย์สิน/แปรรูปรัฐวิสาหกิจกิจการต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของรัฐบาล ให้ภาคเอกชนเข้ามาเป็นเจ้าของแทน เพื่อที่รัฐบาลจะได้มีเงินไปลดหนี้สาธารณะที่มีอยู่อย่างมหาศาล นอกจากนี้ ยังให้อิตาลียกเลิกการให้สิทธิเกษียณการทำงานจากอายุงาน ควรนับอายุผู้เกษียณ ซึ่งในปี 2026 อายุเกษียณอยู่ที่ 67 ปี ทั้งนี้ ทางคณะกรรมาธิการยุโรปได้ส่งตัวแทนไปสังเกตการณ์ที่กรุงโรมในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2554 เพื่อติดตามว่าอิตาลีจะปฎิบัติตามแนวทางในการลดหนี้สาธารณะหรือไม่
การประกาศลาออกของนายแบร์ลุสโคนี
นายแบร์ลุสโคนี นายกรัฐมนตรีอิตาลี ได้ลงนามลาออกจากตำแหน่งตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้แล้วในช่วงดึกของวันเสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 ภายหลังที่กฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจที่เค้าเสนอต่อรัฐสภาได้รับคะแนนเสียง 380 คะแนนเสียงจากสภาผู้แทนราษฎร และได้รับการอนุมัติจากวุฒิสภาในวันศุกร์ที่ 11 ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียงเห็นด้วย 156 คะแนนเสียง ซึ่งบรรยกาศในกรุงโรมมีประชาชนนับพันมารวมตัวกันหน้าทำเนียบรัฐบาล เพื่อเฉลิมฉลองกับการลาออกของนายแบร์ลุสโคนี โดยวันอาทิตย์ที่ผ่านมาประธานาธิบดี จอร์โจ นาโปลีตาโน ได้แต่งตั้งให้นายมาริโอ มอนติ นักเศรษฐศาสตร์ และอดีตกรรมาธิการยุโรปเข้ารับตำแหน่งผู้นำรัฐบาลชั่วคราว ด้วยนายมอนติเป็นนักเจรจาและมีความสัมพันธ์อันกว้างขวางในสหภาพยุโรป จึงเป็นที่เชื่อว่าจะช่วยให้อิตาลีสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดอย่างรวดเร็ว แนวทางของกฎหมายปฎิรูปเศรษฐกิจมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐ และเพิ่มภาษี โดยได้รวมมาตรการที่สภายุโรปเรียกร้องเข้าไว้ด้วย เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและแก้ไขสิทธิเกษียณ คาดว่าจะส่งผลให้ภาวะการขาดดุลการคลังในปี 2013 คงเหลือเพียงศูนย์ สำหรับการจัดตั้งคณะรัฐบาลจะทราบผลภายในอาทิตย์นี้
คาดการณ์เศรษฐกิจอิตาลีภายใต้นายกรัฐมนตรีคนใหม่
สคต. มิลาน เห็นว่าอิตาลีต้องหาทางเพิ่มรายได้จำนวนมากเพื่อมาลดหนี้จำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะมาจากการช่วยเหลือจากแหล่งเงินทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น IMF หรือสภายุโรป ดังนั้น รัฐบาลอิตาลีควรที่จะปฎิบัติตามคำแนะนำของสภายุโรปในการยอมขายทรัพย์สินของรัฐให้กับภาคเอกชน เพื่อที่จะได้นำเม็ดเงินมาใช้ในการชำระหนี้ได้อย่างตรงจุดและรวดเร็ว
สำหรับการที่บริษัทจำนวนมากมีแนวโน้มปิดตัวลงเนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจ ถือเป็นผลเสียต่ออิตาลีและยุโรปเอง ถ้าอิตาลีสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองเช่นย้ายไปผลิตในประเทศอื่น อาจช่วยให้บริษัทต่างๆยังคงอยู่รอดได้ รวมทั้งชาวอิตาเลียนเองควรที่จะให้ความร่วมมือกับการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล เพื่อจะทำให้มาตรการรัดเข็มขัดมีประสิทธิภาพสูงสุดและตอบโจทย์ได้เร็วที่สุด
สคต. มองว่าการส่งออกสินค้าไทยมายังอิตาลียังคงมีโอกาสในกลุ่มสินค้าอาหาร สินค้าทุน และสินค้าอุตสาหกรรมที่ใช้ทดแทนสินค้าของอิตาลี แต่สำหรับสินค้าฟุ่มเฟือย-ของตกแต่งบ้าน และเฟอร์นิเจอร์ น่าจะมีการนำเข้าจากอิตาลีลดลง
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองมิลาน
ที่มา: http://www.depthai.go.th
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 244
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2554 20:06:13 น.
นายอีแวนเจลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลังกรีซกล่าวว่า กรีซไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดชุดใหม่เพื่อนำมาชดเชยยอดขาดดุลงบประมาณปี 2554 พร้อมกับคาดว่า ตัวเลขขาดดุลงบประมาณจะลดลงอย่างมากในปีหน้า
ถ้อยแถลงของนายเวนิเซลอสมีขึ้นภายหลังการนำเสนองบประมาณรัดเข็มขัดสำหรับปีงบประมาณ 2555 ต่อรัฐสภาในวันนี้
ทั้งนี้ คาดว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซอาจแตะที่ระดับ 9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนาน, ความล่าช้าในการปฏิรูป และการจัดเก็บภาษีรายได้ไม่ดีพอ อย่างไรก็ดี คาดว่ายอดขาดดุลงบประมาณสำหรับปี 2555 จะหดตัวลงเหลือ 5.4% ของจีดีพี ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้มาก เนื่องจากการปรับลดมูลค่าหนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนช่วยเหลือกรีซจากนานาชาติที่ผู้นำยุโรปได้เห็นชอบร่วมกันในเดือนที่แล้ว โดยหากไม่มีแผนกู้วิกฤตดังกล่าว กรีซจะต้องเผชิญกับการล้มละลายและอาจถึงกับต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน
นอกจากนี้ นายเวนิเซลอสกล่าวด้วยว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้สินครั้งใหม่และการปรับลดมูลค่าพันธบัตรกรีซโดยธนาคารต่างๆ จะช่วยให้หนี้สาธารณะของกรีซมีเสถียรภาพ โดยระบุว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้หนี้สาธารณะของกรีซลดลง 1 แสนล้านยูโร (1.35 แสนล้านดอลลาร์) และจะช่วยลดอัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพีของประเทศลงเหลือ 120% ภายในปี 2563
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
นายอีแวนเจลอส เวนิเซลอส รัฐมนตรีคลังกรีซกล่าวว่า กรีซไม่จำเป็นต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดชุดใหม่เพื่อนำมาชดเชยยอดขาดดุลงบประมาณปี 2554 พร้อมกับคาดว่า ตัวเลขขาดดุลงบประมาณจะลดลงอย่างมากในปีหน้า
ถ้อยแถลงของนายเวนิเซลอสมีขึ้นภายหลังการนำเสนองบประมาณรัดเข็มขัดสำหรับปีงบประมาณ 2555 ต่อรัฐสภาในวันนี้
ทั้งนี้ คาดว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซอาจแตะที่ระดับ 9% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนาน, ความล่าช้าในการปฏิรูป และการจัดเก็บภาษีรายได้ไม่ดีพอ อย่างไรก็ดี คาดว่ายอดขาดดุลงบประมาณสำหรับปี 2555 จะหดตัวลงเหลือ 5.4% ของจีดีพี ซึ่งต่ำกว่าการคาดการณ์ก่อนหน้านี้มาก เนื่องจากการปรับลดมูลค่าหนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนช่วยเหลือกรีซจากนานาชาติที่ผู้นำยุโรปได้เห็นชอบร่วมกันในเดือนที่แล้ว โดยหากไม่มีแผนกู้วิกฤตดังกล่าว กรีซจะต้องเผชิญกับการล้มละลายและอาจถึงกับต้องออกจากการเป็นสมาชิกยูโรโซน
นอกจากนี้ นายเวนิเซลอสกล่าวด้วยว่า ข้อตกลงเกี่ยวกับหนี้สินครั้งใหม่และการปรับลดมูลค่าพันธบัตรกรีซโดยธนาคารต่างๆ จะช่วยให้หนี้สาธารณะของกรีซมีเสถียรภาพ โดยระบุว่า ข้อตกลงดังกล่าวจะช่วยให้หนี้สาธารณะของกรีซลดลง 1 แสนล้านยูโร (1.35 แสนล้านดอลลาร์) และจะช่วยลดอัตราส่วนหนี้สินต่อจีดีพีของประเทศลงเหลือ 120% ภายในปี 2563
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 245
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2554 08:24:19 น.
นายมาเรียโน ราจอย ผู้นำพรรคป๊อปปูลาร์ (พีพี) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสเปน ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทุ่มเทการทำงานเพื่อประโยชน์ของชาวสเปนทุกคน หลังจากพรรคพีพีได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า พรรคพีพีได้รับคะแนนเสียงในสัดส่วน 44.5% ซึ่งเพียงพอที่ทำให้พรรคพีพีสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยไม่ได้ต้องดึงพรรคการเมืองพรรคอื่นมาร่วมด้วย และถือเป็นการสิ้นสุดระยะเวลา 7 ปีที่พรรคพีพีทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านมาโดยตลอด
นายราจอยกล่าวที่สำนักงานใหญ่ของพรรคพีพีในเมืองมาดริด โดยเขาเน้นย้ำว่าสเปนต้องมีความเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เป็นสาเหตุให้ชาวสเปนเกือบ 5 ล้านคนไม่มีงานทำ
"ผมไม่มีศัตรูที่ไหน นอกจากการว่างงาน, การขาดดุลงบประมาณ และหนี้สินที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก" นายราจอยกล่าว พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะเป็นผู้นำรัฐบาลที่ทำงานเพื่อประโยชน์ของชาวสเปนทุกคน
ทั้งนี้ นายราจอยยอมรับว่าเขามีเวลาเพียงเล็กน้อยในการป้องกันไม่ให้สเปนกลายเป็นประเทศที่ 4 ในยูโรโซนที่ต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ หลังจากกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ได้ขอความช่วยเหลือดังกล่าวไปแล้ว
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
นายมาเรียโน ราจอย ผู้นำพรรคป๊อปปูลาร์ (พีพี) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ของสเปน ให้คำมั่นสัญญาว่าจะทุ่มเทการทำงานเพื่อประโยชน์ของชาวสเปนทุกคน หลังจากพรรคพีพีได้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในการเลือกตั้งครั้งล่าสุด
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า พรรคพีพีได้รับคะแนนเสียงในสัดส่วน 44.5% ซึ่งเพียงพอที่ทำให้พรรคพีพีสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้โดยไม่ได้ต้องดึงพรรคการเมืองพรรคอื่นมาร่วมด้วย และถือเป็นการสิ้นสุดระยะเวลา 7 ปีที่พรรคพีพีทำหน้าที่เป็นพรรคฝ่ายค้านมาโดยตลอด
นายราจอยกล่าวที่สำนักงานใหญ่ของพรรคพีพีในเมืองมาดริด โดยเขาเน้นย้ำว่าสเปนต้องมีความเป็นเอกภาพในการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่เป็นสาเหตุให้ชาวสเปนเกือบ 5 ล้านคนไม่มีงานทำ
"ผมไม่มีศัตรูที่ไหน นอกจากการว่างงาน, การขาดดุลงบประมาณ และหนี้สินที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก" นายราจอยกล่าว พร้อมกับให้คำมั่นสัญญาว่าจะเป็นผู้นำรัฐบาลที่ทำงานเพื่อประโยชน์ของชาวสเปนทุกคน
ทั้งนี้ นายราจอยยอมรับว่าเขามีเวลาเพียงเล็กน้อยในการป้องกันไม่ให้สเปนกลายเป็นประเทศที่ 4 ในยูโรโซนที่ต้องขอความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ หลังจากกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ได้ขอความช่วยเหลือดังกล่าวไปแล้ว
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 246
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2554 17:44:38 น.
มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เตือนว่า ความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน หลังจากที่ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกับระบุว่า ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับความเสี่ยงช่วงขาลงอย่างมาก
อเล็กซานเดอร์ ค็อคเคอร์เบค นักวิเคราะห์ของมูดีส์ ระบุในรายงานรายสัปดาห์ว่า หากต้นทุนการกู้ยืมของฝรั่งเศสยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีก ก็อาจส่งผลในเชิงลบต่อแนวโน้มความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสที่ปัจจุบันอยู่ในระดับ AAA
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เตือนว่า ความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสยังคงอยู่ภายใต้แรงกดดัน หลังจากที่ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศปรับตัวสูงขึ้น พร้อมกับระบุว่า ฝรั่งเศสกำลังเผชิญกับความเสี่ยงช่วงขาลงอย่างมาก
อเล็กซานเดอร์ ค็อคเคอร์เบค นักวิเคราะห์ของมูดีส์ ระบุในรายงานรายสัปดาห์ว่า หากต้นทุนการกู้ยืมของฝรั่งเศสยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีก ก็อาจส่งผลในเชิงลบต่อแนวโน้มความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสที่ปัจจุบันอยู่ในระดับ AAA
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 247
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 07:38:28 น.
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงหนักสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (21 พ.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า คณะกรรมการร่วมระหว่างสองพรรคการเมืองของสหรัฐ หรือ Super Committee อาจจะไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับแผนการลดงบประมาณรายจ่ายก่อนกำหนดเส้นตายวันพุธนี้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้สหรัฐต้องเผชิญกับการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งใหม่
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 3.2% ปิดที่ 224.76 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 2894.94 จุด ร่วงลง 102.07 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 5606.00 จุด ดิ่งลง 194.24 จุด และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5222.60 จุด ลดลง140.34 จุด
ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงหนักสุดในรอบ 3 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าคณะกรรมการ Super Committee ซึ่งทำหน้าที่ร่างกฎหมายเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐลงให้ได้ประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปี อาจะไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการลดยอดขาดดุลงบประมาณ ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าสหรัฐอาจจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออีก หลังจากที่เอสแอนด์พีได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจากระดับ AAA ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันมากขึ้นหลังจาก มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิสเตือนว่า อันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสอาจจะได้รับผลกระทบในด้านลบ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นว่าวิกฤตหนี้ยุโรปอาจจะลุกลามเป็นวงกว้าง
หุ้นคาร์ฟูร์ ดิ่งลง 3.2% หลังจากมีข่าวว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นของคาร์ฟูร์อาจจะสรรหาบุคคลอื่นมาทำหน้าที่ประธานและประธานบริหารแทนนายลาร์ส โอลอฟสัน
หุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปร่วงลง รวมถึงหุ้นคอมเมิร์ซ แบงก์ ร่วงลง 6.8% หุ้นบีเอ็นพี พาริบาส์ ร่วงลง 4.3% และหุ้นธนาคารบาร์เคลย์สดิ่งลง 5.4%
หุ้นอาดิอาส ร่วงลง 3.2% หลังจากหนังสือพิมพ์ Welt am Sonntag รายงานว่า อาดิอาสอาจจะปรับขึ้นราคาสินค้าในปี 2555 เนื่องจากต้นทุนวัตดุดิบและค่าแรงสูงขึ้น
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงลงหนักสุดในรอบ 3 สัปดาห์เมื่อคืนนี้ (21 พ.ย.) เนื่องจากความวิตกกังวลที่ว่า คณะกรรมการร่วมระหว่างสองพรรคการเมืองของสหรัฐ หรือ Super Committee อาจจะไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับแผนการลดงบประมาณรายจ่ายก่อนกำหนดเส้นตายวันพุธนี้ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจทำให้สหรัฐต้องเผชิญกับการถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือครั้งใหม่
ดัชนี Stoxx Europe 600 ร่วงลง 3.2% ปิดที่ 224.76 จุด
ดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 2894.94 จุด ร่วงลง 102.07 จุด ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 5606.00 จุด ดิ่งลง 194.24 จุด และดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5222.60 จุด ลดลง140.34 จุด
ตลาดหุ้นยุโรปร่วงลงหนักสุดในรอบ 3 สัปดาห์ เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าคณะกรรมการ Super Committee ซึ่งทำหน้าที่ร่างกฎหมายเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐลงให้ได้ประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปี อาจะไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับการลดยอดขาดดุลงบประมาณ ซึ่งทำให้นักลงทุนกังวลว่าสหรัฐอาจจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออีก หลังจากที่เอสแอนด์พีได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจากระดับ AAA ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันมากขึ้นหลังจาก มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิสเตือนว่า อันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสอาจจะได้รับผลกระทบในด้านลบ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นว่าวิกฤตหนี้ยุโรปอาจจะลุกลามเป็นวงกว้าง
หุ้นคาร์ฟูร์ ดิ่งลง 3.2% หลังจากมีข่าวว่ากลุ่มผู้ถือหุ้นของคาร์ฟูร์อาจจะสรรหาบุคคลอื่นมาทำหน้าที่ประธานและประธานบริหารแทนนายลาร์ส โอลอฟสัน
หุ้นกลุ่มธนาคารของยุโรปร่วงลง รวมถึงหุ้นคอมเมิร์ซ แบงก์ ร่วงลง 6.8% หุ้นบีเอ็นพี พาริบาส์ ร่วงลง 4.3% และหุ้นธนาคารบาร์เคลย์สดิ่งลง 5.4%
หุ้นอาดิอาส ร่วงลง 3.2% หลังจากหนังสือพิมพ์ Welt am Sonntag รายงานว่า อาดิอาสอาจจะปรับขึ้นราคาสินค้าในปี 2555 เนื่องจากต้นทุนวัตดุดิบและค่าแรงสูงขึ้น
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 248
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 06:24:17 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 พ.ย.) หลังจากหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานว่า คณะกรรมการร่วมระหว่างสองพรรคการเมืองของสหรัฐ หรือ Super Committee อาจจะไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับแผนการลดงบประมาณรายจ่ายก่อนกำหนดเส้นตายวันพุธนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตือนว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นของฝรั่งเศสอาจจะส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 248.85 จุด หรือ 2.11% ปิดที่ 11,547.31 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 22.67 จุด หรือ 1.86% ปิดที่ 1,192.98 จุด และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 49.36 จุด หรือ 1.92% ปิดที่ 2,523.14 จุด
นักลงทุนจับตาดูผลการประชุมของคณะกรรมการ Super Committee ซึ่งทำหน้าที่ร่างกฎหมายเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณลงให้ได้ประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยคณะกรรมการจะต้องสรุปความคิดเห็นดังกล่าวก่อนกำหนดเส้นตายในวันพุธนี้ อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์และนักวิเคราะห์หลายคนคาดว่า คณะกรรมการ Super Committee อาจะไม่สามารถตกลงกันในเรื่องดังกล่าวได้ เนื่องจากสมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครทยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมากเกี่ยวกับรายละเอียดของการปรับลดการใช้จ่ายและการขึ้นภาษี
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า หากคณะกรรมการไม่สามารถตกลงกันได้ รัฐบาลสหรัฐก็จะต้องปรับลดงบประมาณของโครงการต่างๆลงในวงกว้างโดยอัตโนม้ติ นอกจากนี้ ความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าจะเป็นชนวนเหตุที่ทำให้สหรัฐถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออีก หลังจากที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจากระดับ AAA ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
กระแสความวิตกกังวลในเรื่องดังกล่าวยังสร้างความผันผวนอย่างหนักในตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยดัชนี CBOE Market Volatility Index ซึ่งเป็นดัชนีวัดความผันผวน พุ่งขึ้นเหนือระดับ 35 จุดในระหว่างวัน ก่อนที่จะปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 33 จุดในเวลาต่อมา
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันมากขึ้นเมื่อมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิสเตือนว่า อันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสอาจจะได้รับผลกระทบในด้านลบ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นว่าวิกฤตหนี้ยุโรปอาจจะลุกลามเป็นวงกว้าง
สหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ที่แข็งแกร่งเกินคาดในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ไม่สามารถหนุนตลาดให้ดีดขึ้นสู่แดนบวกได้ โดยสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 1.4% สู่ระดับ 4.97 ล้านยูนิตต่อปี สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.8 ล้านยูนิตต่อปี จากเดือนก.ย.ที่ได้ปรับทบทวนแล้วที่ระดับ 4.90 ล้านยูนิต
นอกจากนี้ ตลาดยังไม่ได้ให้ความสนใจกับข่าวที่ว่า บริษัท Gilead Sciences Inc เตรียมเข้าซื้อกิจการบริษัท Pharmasset Inc ผู้ผลิตยารายใหญ่ของสหรัฐ เป็นเงินสดมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้ราคาหุ้น Pharmasset Inc พุ่งขึ้นเกือบ 85%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ วันอังคาร กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 3/2554 วันพุธ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยรายได้ส่วนบุคคลเดือนต.ค. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค. และกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ส่วนวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ไม่มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจเนื่องจากตลาดปิดทำการในวันพฤหัสบดีเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า ส่วนวันศุกร์ตลาดจะปิดทำการเร็วกว่าปกติ
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (21 พ.ย.) หลังจากหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รายงานว่า คณะกรรมการร่วมระหว่างสองพรรคการเมืองของสหรัฐ หรือ Super Committee อาจจะไม่สามารถตกลงกันได้เกี่ยวกับแผนการลดงบประมาณรายจ่ายก่อนกำหนดเส้นตายวันพุธนี้ นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากการที่มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส เตือนว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่สูงขึ้นของฝรั่งเศสอาจจะส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 248.85 จุด หรือ 2.11% ปิดที่ 11,547.31 จุด ดัชนี S&P 500 ลดลง 22.67 จุด หรือ 1.86% ปิดที่ 1,192.98 จุด และดัชนี Nasdaq ร่วงลง 49.36 จุด หรือ 1.92% ปิดที่ 2,523.14 จุด
นักลงทุนจับตาดูผลการประชุมของคณะกรรมการ Super Committee ซึ่งทำหน้าที่ร่างกฎหมายเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณลงให้ได้ประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยคณะกรรมการจะต้องสรุปความคิดเห็นดังกล่าวก่อนกำหนดเส้นตายในวันพุธนี้ อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์และนักวิเคราะห์หลายคนคาดว่า คณะกรรมการ Super Committee อาจะไม่สามารถตกลงกันในเรื่องดังกล่าวได้ เนื่องจากสมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครทยังคงมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างมากเกี่ยวกับรายละเอียดของการปรับลดการใช้จ่ายและการขึ้นภาษี
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า หากคณะกรรมการไม่สามารถตกลงกันได้ รัฐบาลสหรัฐก็จะต้องปรับลดงบประมาณของโครงการต่างๆลงในวงกว้างโดยอัตโนม้ติ นอกจากนี้ ความขัดแย้งในเรื่องดังกล่าวทำให้นักลงทุนวิตกกังวลว่าจะเป็นชนวนเหตุที่ทำให้สหรัฐถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถืออีก หลังจากที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจากระดับ AAA ในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา
กระแสความวิตกกังวลในเรื่องดังกล่าวยังสร้างความผันผวนอย่างหนักในตลาดหุ้นนิวยอร์ก โดยดัชนี CBOE Market Volatility Index ซึ่งเป็นดัชนีวัดความผันผวน พุ่งขึ้นเหนือระดับ 35 จุดในระหว่างวัน ก่อนที่จะปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวใกล้ระดับ 33 จุดในเวลาต่อมา
ตลาดหุ้นนิวยอร์กได้รับแรงกดดันมากขึ้นเมื่อมูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิสเตือนว่า อันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสอาจจะได้รับผลกระทบในด้านลบ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสูงขึ้นและภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่อ่อนแอ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลมากขึ้นว่าวิกฤตหนี้ยุโรปอาจจะลุกลามเป็นวงกว้าง
สหรัฐเปิดเผยยอดขายบ้านใหม่ที่แข็งแกร่งเกินคาดในช่วงค่ำวานนี้ตามเวลาไทย แต่ข้อมูลดังกล่าวก็ไม่สามารถหนุนตลาดให้ดีดขึ้นสู่แดนบวกได้ โดยสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติของสหรัฐ (NAR) เปิดเผยว่า ยอดขายบ้านมือสองเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น 1.4% สู่ระดับ 4.97 ล้านยูนิตต่อปี สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 4.8 ล้านยูนิตต่อปี จากเดือนก.ย.ที่ได้ปรับทบทวนแล้วที่ระดับ 4.90 ล้านยูนิต
นอกจากนี้ ตลาดยังไม่ได้ให้ความสนใจกับข่าวที่ว่า บริษัท Gilead Sciences Inc เตรียมเข้าซื้อกิจการบริษัท Pharmasset Inc ผู้ผลิตยารายใหญ่ของสหรัฐ เป็นเงินสดมูลค่า 1.1 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งข่าวดังกล่าวทำให้ราคาหุ้น Pharmasset Inc พุ่งขึ้นเกือบ 85%
นักลงทุนจับตาดูข้อมูลเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐในสัปดาห์นี้ วันอังคาร กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่แท้จริงประจำไตรมาส 3/2554 วันพุธ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยรายได้ส่วนบุคคลเดือนต.ค. ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค. และกระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ส่วนวันพฤหัสบดีและวันศุกร์ ไม่มีการรายงานข้อมูลเศรษฐกิจเนื่องจากตลาดปิดทำการในวันพฤหัสบดีเนื่องในวันขอบคุณพระเจ้า ส่วนวันศุกร์ตลาดจะปิดทำการเร็วกว่าปกติ
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 249
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 11:25:21 น.
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยว่า ไอเอ็มเอฟได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากฮังการี
“ไอเอ็มเอฟได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากทางการฮังการี นอกจากนี้ ฮังการียังได้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) อีกด้วย โดยระบุว่า ฮังการีจะดำเนินการอย่างระมัดระวังไม่ว่าจะได้รับความช่วยเหลือใดๆจากไอเอ็มเอฟและอีซีก็ตาม" คริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟกล่าวในแถลงการณ์
“ขณะนี้ คณะของไอเอ็มเอฟอยู่ระหว่างเยือนบูดาเปสต์และจะกลับมายังกรุงวอชิงตันเพื่อหารือกับฝ่ายจัดการและคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ จากนั้นจะสรุปผลการหารือตามมาตรา 4 ปี 2554 ในภายหลัง"
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ฮังการีกำลังเผชิญกับความกดดันทางเศรษฐกิจและการเงินอันเนื่องมาจากวิกฤตหนี้ในยูโรโซนที่เรื้อรังมานาน
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เผยว่า ไอเอ็มเอฟได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากฮังการี
“ไอเอ็มเอฟได้รับคำร้องขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากทางการฮังการี นอกจากนี้ ฮังการียังได้ส่งคำร้องดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) อีกด้วย โดยระบุว่า ฮังการีจะดำเนินการอย่างระมัดระวังไม่ว่าจะได้รับความช่วยเหลือใดๆจากไอเอ็มเอฟและอีซีก็ตาม" คริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟกล่าวในแถลงการณ์
“ขณะนี้ คณะของไอเอ็มเอฟอยู่ระหว่างเยือนบูดาเปสต์และจะกลับมายังกรุงวอชิงตันเพื่อหารือกับฝ่ายจัดการและคณะกรรมการบริหารของไอเอ็มเอฟ จากนั้นจะสรุปผลการหารือตามมาตรา 4 ปี 2554 ในภายหลัง"
สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ฮังการีกำลังเผชิญกับความกดดันทางเศรษฐกิจและการเงินอันเนื่องมาจากวิกฤตหนี้ในยูโรโซนที่เรื้อรังมานาน
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 250
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554 07:10:14 น.
สกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตัดสินใจที่จะจัดหาเงินกู้ให้กับประเทศสมาชิกที่มีความเสี่ยงว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน
สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.13% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3512 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3494 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ขยับลง 0.06% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5634 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5644 ดอลลาร์สหรัฐ
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 0.04% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.960 เยน จากระดับ 76.930 เยน แต่อ่อนตัวลง 0.32% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9140 ฟรังค์ จากระดับ 0.9169 ฟรังค์
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนตัวลง 0.06% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9847 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9853 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.03% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7476 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7479 ดอลลาร์สหรัฐ
สกุลเงินยูโรได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า ไอเอ็มเอฟจะใช้เครื่องมือด้านการปล่อยกู้แบบใหม่ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศสมาชิกที่มีความเสี่ยงว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของปัญหาหนี้สาธารณะ
นอกจากนี้ ยูโรยังได้รับแรงหนุนหลังจากนายเฮอร์แมน แวน รอมปุย ประธานสภายุโรปกล่าวว่า รมว.คลังยูโรโซนพร้อมจะอนุมัติการจ่ายเงินช่วยเหลือ 8 พันล้านยูโรให้แก่กรีซในการประชุมครั้งต่อไปซึ่งจะมีขึ้นในปลายเดือนนี้ ซึ่งการเปิดเผยดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่นายรอมปุยได้หารือกับนายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีกรีซ ซึ่งนายปาปาเดมอสได้ย้ำความมุ่งมั่นของเขาที่จะดำเนินมาตรการเกี่ยวกับงบประมาณทั้งหมดตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
อย่างไรก็ตาม ยูโรแข็งค่าขึ้นไม่มากนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนของรัฐบาลสเปนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.1% ในการประมูลครั้งล่าสุดเมื่อวานนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประมูลในเดือนต.ค.ที่ระดับ 2.3% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 6 เดือนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.2% จากการประมูลครั้งก่อนที่ระดับ 3.3% ซึ่งต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นเช่นนี้ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะการคลังของสเปน
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดันหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการจีดีพีไตรมาส 3 ครั้งที่ 2 เมื่อเวลา 20.30 น.ตามเวลาไทยเมื่อวานนี้ โดยระบุว่า จีดีพีไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตรา 2% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าการประมาณการครั้งแรกที่ 2.5%
ทางการสหรัฐจะเปิดเผยรายได้ส่วนบุคคลเดือนต.ค.,ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ในช่วงค่ำวันนี้ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า รายได้ส่วนบุคคลจะเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนต.ค. และคาดว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ย.จะอยู่ที่ 390,000 ราย เพิ่มขึ้นจากระดับ 388,000 รายของสัปดาห์ก่อนหน้านั้น
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
สกุลเงินยูโรดีดตัวขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ ในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (22 พ.ย.) หลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ตัดสินใจที่จะจัดหาเงินกู้ให้กับประเทศสมาชิกที่มีความเสี่ยงว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน
สกุลเงินยูโรแข็งค่าขึ้น 0.13% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.3512 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3494 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เงินปอนด์ขยับลง 0.06% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 1.5634 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 1.5644 ดอลลาร์สหรัฐ
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น 0.04% เมื่อเทียบกับเงินเยนที่ระดับ 76.960 เยน จากระดับ 76.930 เยน แต่อ่อนตัวลง 0.32% เมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ระดับ 0.9140 ฟรังค์ จากระดับ 0.9169 ฟรังค์
ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนตัวลง 0.06% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.9847 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.9853 ดอลลาร์สหรัฐ และค่าเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์อ่อนตัวลง 0.03% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐที่ระดับ 0.7476 ดอลลาร์สหรัฐ จากระดับ 0.7479 ดอลลาร์สหรัฐ
สกุลเงินยูโรได้แรงหนุนจากข่าวที่ว่า ไอเอ็มเอฟจะใช้เครื่องมือด้านการปล่อยกู้แบบใหม่ เพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับประเทศสมาชิกที่มีความเสี่ยงว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้ยูโรโซน ซึ่งข่าวดังกล่าวช่วยให้นักลงทุนคลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของปัญหาหนี้สาธารณะ
นอกจากนี้ ยูโรยังได้รับแรงหนุนหลังจากนายเฮอร์แมน แวน รอมปุย ประธานสภายุโรปกล่าวว่า รมว.คลังยูโรโซนพร้อมจะอนุมัติการจ่ายเงินช่วยเหลือ 8 พันล้านยูโรให้แก่กรีซในการประชุมครั้งต่อไปซึ่งจะมีขึ้นในปลายเดือนนี้ ซึ่งการเปิดเผยดังกล่าวมีขึ้นหลังจากที่นายรอมปุยได้หารือกับนายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีกรีซ ซึ่งนายปาปาเดมอสได้ย้ำความมุ่งมั่นของเขาที่จะดำเนินมาตรการเกี่ยวกับงบประมาณทั้งหมดตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
อย่างไรก็ตาม ยูโรแข็งค่าขึ้นไม่มากนักเมื่อเทียบกับดอลลาร์ หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนของรัฐบาลสเปนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.1% ในการประมูลครั้งล่าสุดเมื่อวานนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากการประมูลในเดือนต.ค.ที่ระดับ 2.3% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 6 เดือนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.2% จากการประมูลครั้งก่อนที่ระดับ 3.3% ซึ่งต้นทุนการกู้ยืมที่สูงขึ้นเช่นนี้ทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะการคลังของสเปน
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐได้รับแรงกดดันหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการจีดีพีไตรมาส 3 ครั้งที่ 2 เมื่อเวลา 20.30 น.ตามเวลาไทยเมื่อวานนี้ โดยระบุว่า จีดีพีไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตรา 2% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าการประมาณการครั้งแรกที่ 2.5%
ทางการสหรัฐจะเปิดเผยรายได้ส่วนบุคคลเดือนต.ค.,ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนต.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ในช่วงค่ำวันนี้ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า รายได้ส่วนบุคคลจะเพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนต.ค. และคาดว่าจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ย.จะอยู่ที่ 390,000 ราย เพิ่มขึ้นจากระดับ 388,000 รายของสัปดาห์ก่อนหน้านั้น
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 251
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 22:02:00 น.
ทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศสออกแถลงการณ์สั้นระบุว่า ผู้นำฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี จะประชุมร่วมกันที่เมืองสตราสบูร์ก วันพฤหัสบดีนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับอนาคตของยูโรโซนที่กำลังเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะครั้งรุนแรง
แถลงการณ์ระบุว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 24 พ.ย.นี้ ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี จะให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และนายกรัฐมนตรี มาริโอ มอนติ ของอิตาลี เพื่อประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในยุโรป อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมครั้งนี้
ทั้งนี้ จากหมายกำหนดการที่เผยแพร่พร้อมกับแถลงการณ์ดังกล่าวนั้น ผู้นำเยอรมนีและอิตาลีจะเดินทางถึงฝรั่งเศสในช่วงเช้า และคาดว่าผู้นำทั้งสามจะจัดการแถลงข่าวร่วมกันในเวลาประมาณ 14.00 น. (20.00 น.ตามเวลาประเทศไทย) หลังจากที่เสร็จสิ้นการประชุมระหว่างอาหารกลางวัน (working lunch)
ทำเนียบประธานาธิบดีฝรั่งเศสออกแถลงการณ์สั้นระบุว่า ผู้นำฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี จะประชุมร่วมกันที่เมืองสตราสบูร์ก วันพฤหัสบดีนี้ เพื่อหารือเกี่ยวกับอนาคตของยูโรโซนที่กำลังเผชิญกับวิกฤตหนี้สาธารณะครั้งรุนแรง
แถลงการณ์ระบุว่า ในวันพฤหัสบดีที่ 24 พ.ย.นี้ ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี จะให้การต้อนรับนายกรัฐมนตรี อังเกลา แมร์เคิล ของเยอรมนี และนายกรัฐมนตรี มาริโอ มอนติ ของอิตาลี เพื่อประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้นในยุโรป อย่างไรก็ดี แถลงการณ์ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชุมครั้งนี้
ทั้งนี้ จากหมายกำหนดการที่เผยแพร่พร้อมกับแถลงการณ์ดังกล่าวนั้น ผู้นำเยอรมนีและอิตาลีจะเดินทางถึงฝรั่งเศสในช่วงเช้า และคาดว่าผู้นำทั้งสามจะจัดการแถลงข่าวร่วมกันในเวลาประมาณ 14.00 น. (20.00 น.ตามเวลาประเทศไทย) หลังจากที่เสร็จสิ้นการประชุมระหว่างอาหารกลางวัน (working lunch)
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 252
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 21:05:17 น.
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป (อียู) พยายามโน้มน้าวให้เยอรมนีเห็นชอบกับการออกพันธบัตรสกุลเงินยูโร หรือ ยูโรบอนด์ เชื่อจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยบรรเทาวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคได้
นายเรห์นกล่าวในระหว่างการประชุมสมาพันธ์นายจ้างของเยอรมนีที่กรุงเบอร์ลิน วันนี้ว่า แม้เขาเชื่อว่ายูโรบอนด์จะสามารถช่วยคลี่คลายวิกฤตหนี้ได้ แต่เขาก็ตระหนักดีว่ามีกระแสคัดค้านแนวคิดดังกล่าวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเยอรมนี ที่เกรงว่าการออกยูโรบอนด์จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของตนมากกว่าผลดี
อย่างไรก็ดี นายเรห์นกล่าวว่า ก่อนที่จะมีการออกพันธบัตรดังกล่าวได้ในอนาคต เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่าสถานะการคลังของรัฐบาลประเทศต่างๆมีความยั่งยืน และหลีกเลี่ยงไม่ให้ประเทศหนึ่งไปอาศัยประโยชน์จากความพยายามเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการคลังของประเทศอื่นๆ
เขาระบุว่า การออกพันธบัตรสกุลเงินยูโรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิรูปการกำกับดูแลเศรษฐกิจเสียก่อน พร้อมกันนี้เขายังได้เรียกร้องให้ ประเทศสมาชิกยูโรโซนยอมให้คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารของอียู เข้าตรวจสอบงบประมาณประจำปีของแต่ละประเทศได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีภายใต้การนำของนางอังเกลา แมร์เคิล ยืนกรานคัดค้านเสียงเรียกร้องให้มีการออกพันธบัตรร่วมกันโดย 17 ประเทศสมาชิกยูโรโซน เนื่องจากเกรงว่า การออกพันธบัตรร่วม ซึ่งเปรียบเสมือนการนำหนี้สินของทุกประเทศมากองรวมกันนั้น จะผลักดันให้ต้นทุนการกู้ยืมของเยอรมนีปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันผู้เสียภาษีต้องมาแบกรับความเสี่ยงจากหนี้เสียของบรรดาประเทศที่อ่อนแอกว่า และทำให้ประเทศที่ประสบภาวะหนี้สินขาดแรงกระตุ้นในการดูแลการเงินการคลังของตนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
คณะกรรมาธิการยุโรปมีแผนที่จะเปิดเผยข้อเสนอใหม่ๆในวันพรุ่งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการกำกับดูแลเศรษฐกิจร่วมในยุโรป หนึ่งในนั้นรวมถึงการแนะนำพันธบัตรสกุลเงินยูโรหลายประเภท ซึ่งทางคณะกรรมการเรียกว่า "พันธบัตรรักษาเสถียรถาพ" (Stability Bond)
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป (อียู) พยายามโน้มน้าวให้เยอรมนีเห็นชอบกับการออกพันธบัตรสกุลเงินยูโร หรือ ยูโรบอนด์ เชื่อจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยบรรเทาวิกฤตหนี้สาธารณะในภูมิภาคได้
นายเรห์นกล่าวในระหว่างการประชุมสมาพันธ์นายจ้างของเยอรมนีที่กรุงเบอร์ลิน วันนี้ว่า แม้เขาเชื่อว่ายูโรบอนด์จะสามารถช่วยคลี่คลายวิกฤตหนี้ได้ แต่เขาก็ตระหนักดีว่ามีกระแสคัดค้านแนวคิดดังกล่าวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะเยอรมนี ที่เกรงว่าการออกยูโรบอนด์จะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจของตนมากกว่าผลดี
อย่างไรก็ดี นายเรห์นกล่าวว่า ก่อนที่จะมีการออกพันธบัตรดังกล่าวได้ในอนาคต เป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ เพื่อที่จะแน่ใจได้ว่าสถานะการคลังของรัฐบาลประเทศต่างๆมีความยั่งยืน และหลีกเลี่ยงไม่ให้ประเทศหนึ่งไปอาศัยประโยชน์จากความพยายามเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านการคลังของประเทศอื่นๆ
เขาระบุว่า การออกพันธบัตรสกุลเงินยูโรจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการปฏิรูปการกำกับดูแลเศรษฐกิจเสียก่อน พร้อมกันนี้เขายังได้เรียกร้องให้ ประเทศสมาชิกยูโรโซนยอมให้คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารของอียู เข้าตรวจสอบงบประมาณประจำปีของแต่ละประเทศได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น
ทั้งนี้ รัฐบาลเยอรมนีภายใต้การนำของนางอังเกลา แมร์เคิล ยืนกรานคัดค้านเสียงเรียกร้องให้มีการออกพันธบัตรร่วมกันโดย 17 ประเทศสมาชิกยูโรโซน เนื่องจากเกรงว่า การออกพันธบัตรร่วม ซึ่งเปรียบเสมือนการนำหนี้สินของทุกประเทศมากองรวมกันนั้น จะผลักดันให้ต้นทุนการกู้ยืมของเยอรมนีปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ชาวเยอรมันผู้เสียภาษีต้องมาแบกรับความเสี่ยงจากหนี้เสียของบรรดาประเทศที่อ่อนแอกว่า และทำให้ประเทศที่ประสบภาวะหนี้สินขาดแรงกระตุ้นในการดูแลการเงินการคลังของตนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
คณะกรรมาธิการยุโรปมีแผนที่จะเปิดเผยข้อเสนอใหม่ๆในวันพรุ่งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการกำกับดูแลเศรษฐกิจร่วมในยุโรป หนึ่งในนั้นรวมถึงการแนะนำพันธบัตรสกุลเงินยูโรหลายประเภท ซึ่งทางคณะกรรมการเรียกว่า "พันธบัตรรักษาเสถียรถาพ" (Stability Bond)
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 253
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 20:40:00 น.
ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนยังคงปรับตัวสูงขึ้นในการประมูลพันธบัตรของรัฐบาลในวันนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่านักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินในอนาคตของสเปน แม้พรรคการเมืองสายกลาง-ขวาของนายมาเรียโน ราฮอย ซึ่งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปยืนยันว่าจะใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณก็ตาม
กระทรวงการคลังสเปนเปิดเผยในวันนี้ว่า รัฐบาลสเปนสามารถระดมทุนจากการประมูลขายพันธบัตรประเภท 3 เดือน และ 6 เดือนในวันนี้ได้ทั้งสิ้น 2.98 พันล้านยูโร หรือ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้ แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.1% จากการประมูลในเดือนต.ค.ที่ระดับ 2.3% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 6 เดือนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.2% จากการประมูลครั้งก่อนที่ระดับ 3.3%
รัฐบาลชุดใหม่ของสเปนที่เพิ่งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในสัปดาห์นี้ จำเป็นจะต้องเร่งกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่วิตกกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศ และต้องเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ตกงานเกือบ 5 ล้านคน กลับมาทำงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงไม่มั่นใจว่ รัฐบาลจะสามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ซึ่งความกังวลในเรื่องนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนพุ่งขึ้นในการประมูลครั้งล่าสุด
ส่วนอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ถึงภาวะเปราะบางของภาคธนาคารสเปนนั้นมาจากข่าวที่ว่า ธนาคารกลางสเปนประกาศยึดธนาคารบังโค เด บาเลนเซีย เนื่องจากธนาคารมีปัญหาเรื่องความสามารถในการชำระหนี้และปัญหาสภาพคล่องที่เป็นผลมาจากการที่ธนาคารขาดทุนจำนวนมากจากภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนยังคงปรับตัวสูงขึ้นในการประมูลพันธบัตรของรัฐบาลในวันนี้ ซึ่งบ่งชี้ว่านักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานะทางการเงินในอนาคตของสเปน แม้พรรคการเมืองสายกลาง-ขวาของนายมาเรียโน ราฮอย ซึ่งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปยืนยันว่าจะใช้มาตรการรัดเข็มขัดเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณก็ตาม
กระทรวงการคลังสเปนเปิดเผยในวันนี้ว่า รัฐบาลสเปนสามารถระดมทุนจากการประมูลขายพันธบัตรประเภท 3 เดือน และ 6 เดือนในวันนี้ได้ทั้งสิ้น 2.98 พันล้านยูโร หรือ 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งใกล้เคียงกับเป้าหมายที่วางไว้ แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 3 เดือนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.1% จากการประมูลในเดือนต.ค.ที่ระดับ 2.3% และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 6 เดือนพุ่งขึ้นแตะระดับ 5.2% จากการประมูลครั้งก่อนที่ระดับ 3.3%
รัฐบาลชุดใหม่ของสเปนที่เพิ่งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งในสัปดาห์นี้ จำเป็นจะต้องเร่งกอบกู้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่วิตกกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศ และต้องเร่งช่วยเหลือประชาชนที่ตกงานเกือบ 5 ล้านคน กลับมาทำงานได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงไม่มั่นใจว่ รัฐบาลจะสามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ซึ่งความกังวลในเรื่องนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนพุ่งขึ้นในการประมูลครั้งล่าสุด
ส่วนอีกสัญญาณหนึ่งที่บ่งชี้ถึงภาวะเปราะบางของภาคธนาคารสเปนนั้นมาจากข่าวที่ว่า ธนาคารกลางสเปนประกาศยึดธนาคารบังโค เด บาเลนเซีย เนื่องจากธนาคารมีปัญหาเรื่องความสามารถในการชำระหนี้และปัญหาสภาพคล่องที่เป็นผลมาจากการที่ธนาคารขาดทุนจำนวนมากจากภาวะฟองสบู่แตกในภาคอสังหาริมทรัพย์
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 254
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554 09:59:35 น.
กระทรวงการคลังกรีซเปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะของกรีซเพิ่มขึ้นเป็น 3.60379 แสนล้านยูโร (4.8712 แสนล้านดอลลาร์) หรือ 165.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ณ สิ้นเดือนกันยายน
ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาอยู่ 7% และสูงกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 23.6%
การเปิดเผยข้อมูลล่าสุดรายงานของกระทรวงฯ มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลผสมของนายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีกรีซ กำลังเจรจาเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลืองวดถัดไปตามข้อตกลงในปี 2553 กับรัฐบาลประเทศยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยหากไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 8 พันล้านยูโร รัฐบาลกรีซอาจจะต้องประสบภาวะล้มละลายในเดือนธันวาคม
ภายหลังการประชุมร่วมกับนายปาปาเดมอสที่ลักเซมเบิร์กเมื่อวานนี้ นายฌอง-คล็อด จุงเกอร์ ประธานกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า การตัดสินใจอนุมัติเบิกจ่ายเงินช่วยเหลืองวดถัดไปอาจได้ข้อสรุปในการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซนในสัปดาห์หน้า
ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ของกรีซระบุว่า กรีซยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่อไปหลังจากที่ได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าว
โดยจากข้อมูลล่าสุด พันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นสัดส่วนราว 2.76 แสนล้านยูโรของยอดหนี้สินทั้งหมดของกรีซ ส่วนหนี้ที่เหลือเป็นเงินกู้ผ่านกลไกให้ความช่วยเหลือของอียูและไอเอ็มเอฟในปีที่ผ่านมา และเงินกู้จากแหล่งอื่นๆ
รายงานของกระทรวงฯ ระบุว่า พันธบัตรจำนวน 3.97 หมื่นล้านยูโร (5.366 หมื่นล้านดอลลาร์) จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2555 ส่วนในระหว่างปี 2555-2559 กรีซต้องไถ่ถอนพันธบัตรในวงเงินประมาณ 1.828 แสนล้านยูโร
ในขณะที่กรีซกำลังจะเผชิญกับภาวะถดถอยเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันในปี 2555 และการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ นักวิเคราะห์กรีซได้ตั้งคำถามว่า กรีซจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในความร่วมมือกับเจ้าหนี้ต่างประเทศได้หรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลยังมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องมาตรการรัดเข็มขัดและการปฏิรูปที่ได้เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 2553 สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
กระทรวงการคลังกรีซเปิดเผยว่า ยอดหนี้สาธารณะของกรีซเพิ่มขึ้นเป็น 3.60379 แสนล้านยูโร (4.8712 แสนล้านดอลลาร์) หรือ 165.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ณ สิ้นเดือนกันยายน
ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาอยู่ 7% และสูงกว่าในช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 23.6%
การเปิดเผยข้อมูลล่าสุดรายงานของกระทรวงฯ มีขึ้นในขณะที่รัฐบาลผสมของนายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีกรีซ กำลังเจรจาเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลืองวดถัดไปตามข้อตกลงในปี 2553 กับรัฐบาลประเทศยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) โดยหากไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจำนวน 8 พันล้านยูโร รัฐบาลกรีซอาจจะต้องประสบภาวะล้มละลายในเดือนธันวาคม
ภายหลังการประชุมร่วมกับนายปาปาเดมอสที่ลักเซมเบิร์กเมื่อวานนี้ นายฌอง-คล็อด จุงเกอร์ ประธานกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน หรือยูโรกรุ๊ป กล่าวว่า การตัดสินใจอนุมัติเบิกจ่ายเงินช่วยเหลืองวดถัดไปอาจได้ข้อสรุปในการประชุมรัฐมนตรีคลังของกลุ่มยูโรโซนในสัปดาห์หน้า
ในขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ของกรีซระบุว่า กรีซยังต้องเผชิญกับความท้าทายต่อไปหลังจากที่ได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าว
โดยจากข้อมูลล่าสุด พันธบัตรรัฐบาลคิดเป็นสัดส่วนราว 2.76 แสนล้านยูโรของยอดหนี้สินทั้งหมดของกรีซ ส่วนหนี้ที่เหลือเป็นเงินกู้ผ่านกลไกให้ความช่วยเหลือของอียูและไอเอ็มเอฟในปีที่ผ่านมา และเงินกู้จากแหล่งอื่นๆ
รายงานของกระทรวงฯ ระบุว่า พันธบัตรจำนวน 3.97 หมื่นล้านยูโร (5.366 หมื่นล้านดอลลาร์) จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2555 ส่วนในระหว่างปี 2555-2559 กรีซต้องไถ่ถอนพันธบัตรในวงเงินประมาณ 1.828 แสนล้านยูโร
ในขณะที่กรีซกำลังจะเผชิญกับภาวะถดถอยเป็นปีที่ 5 ติดต่อกันในปี 2555 และการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะมีขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ นักวิเคราะห์กรีซได้ตั้งคำถามว่า กรีซจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในความร่วมมือกับเจ้าหนี้ต่างประเทศได้หรือไม่ เนื่องจากรัฐบาลยังมีมุมมองที่แตกต่างกันในเรื่องมาตรการรัดเข็มขัดและการปฏิรูปที่ได้เริ่มประกาศใช้เมื่อปี 2553 สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 255
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 23 พฤศจิกายน 2554 17:38:24 น.
ผลผลิตภาคบริการและการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนพ.ย. ขณะที่วิกฤตหนี้ที่ทวีความรุนแรงทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคใกล้ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย
มาร์กิต อิโคโนมิคส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคบริการและภาคการผลิต ในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 17 ประเทศ ปรับตัวขึ้นแตะ 47.2 จากระดับ 46.5 ในเดือนต.ค.
โดยดัชนี PMI ภาคบริการเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 47.8 จากระดับ 46.4 ในเดือนต.ค. แต่ PMI ภาคการผลิตร่วงลงสู่ระดับ 46.4 ในเดือนพ.ย. จาก 47.1 ในเดือนก่อน
ทั้งนี้ นับเป็นเดือนที่สามแล้วที่ดัชนีดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นจุดแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัว โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว ส่วนดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ถึงภาวะหดตัว
ผลผลิตภาคบริการและการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนพ.ย. ขณะที่วิกฤตหนี้ที่ทวีความรุนแรงทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาคใกล้ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย
มาร์กิต อิโคโนมิคส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคบริการและภาคการผลิต ในกลุ่มประเทศที่ใช้สกุลเงินยูโร 17 ประเทศ ปรับตัวขึ้นแตะ 47.2 จากระดับ 46.5 ในเดือนต.ค.
โดยดัชนี PMI ภาคบริการเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 47.8 จากระดับ 46.4 ในเดือนต.ค. แต่ PMI ภาคการผลิตร่วงลงสู่ระดับ 46.4 ในเดือนพ.ย. จาก 47.1 ในเดือนก่อน
ทั้งนี้ นับเป็นเดือนที่สามแล้วที่ดัชนีดังกล่าวต่ำกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นจุดแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัว โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ถึงการขยายตัว ส่วนดัชนีที่ต่ำกว่าระดับ 50 จุดบ่งชี้ถึงภาวะหดตัว
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 256
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2554 09:59:30 น.
นายจอร์ก ซูเนอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก วีพี แบงก์ กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มต้นอย่างน่าผิดหวังในปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนอาจย่ำแย่หนักยิ่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
นายซูเนอร์แถลงข่าวที่สิงคโปร์ว่า สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าช่วงครึ่งหลังของปี 2555 แต่สายเกินไปที่จะทำให้เศรษฐกิจตลอดปี 2555 ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
เขาคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า โดยการที่รัฐบาลยุโรปขาดทักษะในการบริหารจัดการวิกฤตจะทำให้เศรษฐกิจที่แท้จริงและตลาดการเงินซบเซา และชาติสมาชิกยูโรโซนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนั้น จะเห็นได้ชัดเจนต่อเมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปีหน้าแล้วเท่านั้น
บรรดาธนาคารในยุโรปกำลังอยู่ระหว่างการปรับลดงบดุล ขณะที่ตลาดแรงงานของหลายประเทศยูโรโซนจะมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ โดยแรงงานของประเทศเหล่านั้นต้องยอมรับค่าแรงที่ลดลงหากต้องการอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป
ขณะเดียวกันเขากล่าวว่า อุปสงค์ที่แข็งแกร่งในประเทศเอเชียจะช่วยให้เอเชียไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากนัก สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
นายจอร์ก ซูเนอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก วีพี แบงก์ กล่าวว่า เศรษฐกิจโลกจะเริ่มต้นอย่างน่าผิดหวังในปีหน้า ขณะที่เศรษฐกิจยูโรโซนอาจย่ำแย่หนักยิ่งกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้
นายซูเนอร์แถลงข่าวที่สิงคโปร์ว่า สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าช่วงครึ่งหลังของปี 2555 แต่สายเกินไปที่จะทำให้เศรษฐกิจตลอดปี 2555 ขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง
เขาคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจยุโรปจะหดตัวในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า โดยการที่รัฐบาลยุโรปขาดทักษะในการบริหารจัดการวิกฤตจะทำให้เศรษฐกิจที่แท้จริงและตลาดการเงินซบเซา และชาติสมาชิกยูโรโซนจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรนั้น จะเห็นได้ชัดเจนต่อเมื่อเข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของปีหน้าแล้วเท่านั้น
บรรดาธนาคารในยุโรปกำลังอยู่ระหว่างการปรับลดงบดุล ขณะที่ตลาดแรงงานของหลายประเทศยูโรโซนจะมีการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่ โดยแรงงานของประเทศเหล่านั้นต้องยอมรับค่าแรงที่ลดลงหากต้องการอยู่ในกลุ่มยูโรโซนต่อไป
ขณะเดียวกันเขากล่าวว่า อุปสงค์ที่แข็งแกร่งในประเทศเอเชียจะช่วยให้เอเชียไม่ได้รับผลกระทบรุนแรงมากนัก สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 257
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2554 09:22:30 น.
นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี โต้กลับแนวคิดเรื่องการออกพันธบัตรยูโรหรือยูโรบอนด์ของคณะกรรมาธิการยุโรป โดยกล่าวว่า ยูโรบอนด์ไม่มีทางทำให้ยูโรโซนหลุดพ้นจากวิกฤตหนี้ในตอนนี้ได้
นางแมร์เคลกล่าวในรัฐสภาว่า "เป็นเรื่องน่ากังวลและไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่คณะกรรมาธิการยุโรปเบี่ยงเบนความสนใจไปที่ยูโรบอนด์ในช่วงเวลานี้" หลังจากที่นางแมร์เคลเพิ่งย้ำไปเมื่อวันอังคารว่า เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาพูดเรื่องยูโรบอนด์ และยูโรบอนด์ส่งสัญญาณว่า บางประเทศจะแก้ปัญหาโครงสร้างทางการเงินด้วยการยืมเงินเพิ่มอีก
หลังจากที่นางแมร์เคลแสดงความเห็นไม่กี่ชั่วโมง นายโฮเซ่ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ก็เผยแพร่ร่างข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุมเข้มการกำกับดูแลและบริหารจัดการนโยบายการคลังของชาติสมาชิกยูโรโซน
คณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวถึง 3 ทางเลือกหลักในการออก "พันธบัตรรักษาเสถียรถาพ" (Stability Bond) ซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศที่มีปัญหาหนี้ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉิน แต่ไม่ได้ระบุว่าทางเลือกใดดีที่สุด
นอกจากนั้นคณะกรรมาธิการยุโรปยังย้ำว่า "การออกพันธบัตรรักษาเสถียรภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการคุมเข้มนโยบายงบประมาณควบคู่กันไปด้วย"
อย่างไรก็ตาม นักสังเกตการณ์บางส่วนกล่าวว่า เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในยุโรป ยังเกรงว่าหากมีการออกยูโรบอนด์แล้ว ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศจะพุ่งสูง และชื่อเสียงทางการเงินของเยอรมนีจะด่างพร้อยเพราะประเทศอื่นๆที่ใช้เงินเกินตัว สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี โต้กลับแนวคิดเรื่องการออกพันธบัตรยูโรหรือยูโรบอนด์ของคณะกรรมาธิการยุโรป โดยกล่าวว่า ยูโรบอนด์ไม่มีทางทำให้ยูโรโซนหลุดพ้นจากวิกฤตหนี้ในตอนนี้ได้
นางแมร์เคลกล่าวในรัฐสภาว่า "เป็นเรื่องน่ากังวลและไม่เหมาะสมอย่างยิ่งที่คณะกรรมาธิการยุโรปเบี่ยงเบนความสนใจไปที่ยูโรบอนด์ในช่วงเวลานี้" หลังจากที่นางแมร์เคลเพิ่งย้ำไปเมื่อวันอังคารว่า เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่จะมาพูดเรื่องยูโรบอนด์ และยูโรบอนด์ส่งสัญญาณว่า บางประเทศจะแก้ปัญหาโครงสร้างทางการเงินด้วยการยืมเงินเพิ่มอีก
หลังจากที่นางแมร์เคลแสดงความเห็นไม่กี่ชั่วโมง นายโฮเซ่ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ก็เผยแพร่ร่างข้อกำหนดต่างๆ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุมเข้มการกำกับดูแลและบริหารจัดการนโยบายการคลังของชาติสมาชิกยูโรโซน
คณะกรรมาธิการยุโรปกล่าวถึง 3 ทางเลือกหลักในการออก "พันธบัตรรักษาเสถียรถาพ" (Stability Bond) ซึ่งเปิดโอกาสให้ประเทศที่มีปัญหาหนี้ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินฉุกเฉิน แต่ไม่ได้ระบุว่าทางเลือกใดดีที่สุด
นอกจากนั้นคณะกรรมาธิการยุโรปยังย้ำว่า "การออกพันธบัตรรักษาเสถียรภาพจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการคุมเข้มนโยบายงบประมาณควบคู่กันไปด้วย"
อย่างไรก็ตาม นักสังเกตการณ์บางส่วนกล่าวว่า เยอรมนีซึ่งเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในยุโรป ยังเกรงว่าหากมีการออกยูโรบอนด์แล้ว ต้นทุนการกู้ยืมของประเทศจะพุ่งสูง และชื่อเสียงทางการเงินของเยอรมนีจะด่างพร้อยเพราะประเทศอื่นๆที่ใช้เงินเกินตัว สำนักข่าวซินหัวรายงาน
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 258
สถาบันการเงินโลกฟันธงศก.ยูโรโซนถดถอยแล้วขณะอัตราว่างงานในเยอรมนีทะยานต่อเนื่อง
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ)นำเสนอรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลก ระบุว่า เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนดำดิ่งลงสู่ภาวะถดถอยแล้วและเงื่อนไข ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจด้านต่างๆในกลุ่ม 17 ชาติยูโรโซนเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว
"สถานการณ์เศรษฐกิจในกลุ่มที่ใช้เงินสกุลยูโรเลวร้ายลงอย่างมากในช่วงเดือนที่ผ่านมา และเราเชื่อว่าเศรษฐกิจของทั้ง 17 ชาติในกลุ่มนี้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ซึ่งจะทำให้มีปัญหาขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นและคุณภาพสินทรัพย์ภาคธนาคารจะด้อยค่าลงยิ่งกว่าที่เป็นอยู่" ไอไอเอฟ ระบุ
ไอไอเอฟ ซึ่งมีฐานดำเนินงานในกรุงวอชิงตัน ระบุว่า ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดจนถึงช่วงปลายไตรมาส 3 และต้นไตรมาส 4 บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะอัตราว่างงานที่ทะยานสูงขึ้นในเยอรมนี ซึ่งถือเป็นชาติเศรษฐกิจใหญ่สุดของยุโรป และการชลอตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้
ไอไอเอฟ คาดการณ์ว่า ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)ของยูโรโซน ซึ่งครอบคลุมทั้งสินค้าและการบริการ จะหดตัว 2.0% ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะหดตัวในลักษณะนี้ไปจนถึงไตรมาสแรกของปีหน้า
นอกจากนี้ ไอไอเอฟ ซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารและสถาบันการเงินกว่า 450 แห่งในกว่า 70 ประเทศ ยังคาดการณ์ด้วยว่า จีดีพีในปีหน้าของกลุ่มยูโรโซน จะหดตัวเหลือ 1.0%
"ภาวะความอ่อนแอของเศรษฐกิจในยูโรโซนกำลังลุกลามไปยังส่วนอื่นๆของโลกที่เหลือผ่านทางช่องทางต่างๆ และหนึ่งในช่องทางที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมธนาคาร"ไอไอเอฟ เตือน
ไอไอเอฟ ซึ่งมีสมาชิกประมาณครึ่งหนึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ในยุโรป วิจารณ์บรรดาผู้กำหนดนโยบายในยุโรปเกี่ยวกับการกอบกู้วิกฤติหนี้สาธารณะว่า ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้วิกฤตินี้เลวร้ายลง
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ยแล้ว.html
สถาบันการเงินระหว่างประเทศ (ไอไอเอฟ)นำเสนอรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจทั่วโลก ระบุว่า เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนดำดิ่งลงสู่ภาวะถดถอยแล้วและเงื่อนไข ตลอดจนสภาวะเศรษฐกิจด้านต่างๆในกลุ่ม 17 ชาติยูโรโซนเลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว
"สถานการณ์เศรษฐกิจในกลุ่มที่ใช้เงินสกุลยูโรเลวร้ายลงอย่างมากในช่วงเดือนที่ผ่านมา และเราเชื่อว่าเศรษฐกิจของทั้ง 17 ชาติในกลุ่มนี้เข้าสู่ภาวะถดถอยแล้ว ซึ่งจะทำให้มีปัญหาขาดดุลงบประมาณเพิ่มขึ้นและคุณภาพสินทรัพย์ภาคธนาคารจะด้อยค่าลงยิ่งกว่าที่เป็นอยู่" ไอไอเอฟ ระบุ
ไอไอเอฟ ซึ่งมีฐานดำเนินงานในกรุงวอชิงตัน ระบุว่า ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดจนถึงช่วงปลายไตรมาส 3 และต้นไตรมาส 4 บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจของกลุ่มยูโรโซนอ่อนแอกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเฉพาะอัตราว่างงานที่ทะยานสูงขึ้นในเยอรมนี ซึ่งถือเป็นชาติเศรษฐกิจใหญ่สุดของยุโรป และการชลอตัวของการผลิตภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้
ไอไอเอฟ คาดการณ์ว่า ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)ของยูโรโซน ซึ่งครอบคลุมทั้งสินค้าและการบริการ จะหดตัว 2.0% ในไตรมาส 4 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว และมีแนวโน้มว่าจะหดตัวในลักษณะนี้ไปจนถึงไตรมาสแรกของปีหน้า
นอกจากนี้ ไอไอเอฟ ซึ่งเป็นตัวแทนของธนาคารและสถาบันการเงินกว่า 450 แห่งในกว่า 70 ประเทศ ยังคาดการณ์ด้วยว่า จีดีพีในปีหน้าของกลุ่มยูโรโซน จะหดตัวเหลือ 1.0%
"ภาวะความอ่อนแอของเศรษฐกิจในยูโรโซนกำลังลุกลามไปยังส่วนอื่นๆของโลกที่เหลือผ่านทางช่องทางต่างๆ และหนึ่งในช่องทางที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ อุตสาหกรรมธนาคาร"ไอไอเอฟ เตือน
ไอไอเอฟ ซึ่งมีสมาชิกประมาณครึ่งหนึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ในยุโรป วิจารณ์บรรดาผู้กำหนดนโยบายในยุโรปเกี่ยวกับการกอบกู้วิกฤติหนี้สาธารณะว่า ไม่ได้ทำให้ดีขึ้น ในทางตรงกันข้ามกลับทำให้วิกฤตินี้เลวร้ายลง
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ยแล้ว.html
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 259
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2554 11:10:23 น.
นายยาซูโอะ ฟูกุดะ ประธานคณะกรรมการบริหารป๋อเอ๋า ฟอรัม ฟอร์ เอเชีย กล่าวว่า สหภาพยุโรป (อียู) จะต้องดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อจัดการวิกฤตหนี้
“หากวิกฤตหนี้ยูโรโซนยืดเยื้อยาวนานต่อไป ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเอเชียอย่างแน่นอน" นายฟูกูดะกล่าวเตือน
“ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องบรรลุข้อตกลงร่วมกันให้เร็วที่สุดและดำเนินมาตรการตามที่ตกลงทันที มีเพียงวิธีการนี้เท่านี้ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบลุกลามไปยังภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนี้การจัดการแก้ปัญหาให้ได้โดยเร็วจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือได้ด้วย" อดีตนายกฯญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซินหัว
นายฟูกูดะยังกล่าวถึงวิกฤตหนี้ของญี่ปุ่นเมื่อ 2 ปีที่แล้วด้วยว่า บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนั้นยังคงแจ่มชัด
“ในตอนนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ได้วางมาตรการตอบโต้ทันท่วงที ทำให้พลาดช่วงเวลาที่เหมาะสมไป ด้วยเหตุนี้หนี้สินที่ทวีความรุนแรงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีกระทันหัน ทำให้เมื่อรัฐบาลเริ่มเข้ามาแก้ปัญหาหนี้อย่างจริงจัง ญี่ปุ่นก็สูญเสียมหาศาล อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศเสียหายมากมายไปเรียบร้อย"
เมื่อถามถึงปริมาณหนี้ในญี่ปุ่น นายฟูกูดะยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีความเป็นไปได้ว่าญี่ปุ่นจะเผชิญกับวิกฤตหนี้ซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากพันธบัตรส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวญี่ปุ่นเอง
“แต่เราก็ระวังตัว ญี่ปุ่นกำลังเตรียมความพร้อม เช่น ญี่ปุ่นจะขึ้นภาษีการบริโภค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับสถานการณ์ทางการเงิน"
อย่างไรก็ตาม นายฟูกูดะยอมรับว่า ยังมีอุปสรรคอยู่ที่ประชากรสูงวัย ประเด็นความปลอดภัยของนิวเคลียร์ และการขาดเงินลงทุนเพื่อการขยายโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่แสดงความมั่นใจว่า ญี่ปุ่นมีศักยภาพมากพอที่จะฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้ไปได้
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
นายยาซูโอะ ฟูกุดะ ประธานคณะกรรมการบริหารป๋อเอ๋า ฟอรัม ฟอร์ เอเชีย กล่าวว่า สหภาพยุโรป (อียู) จะต้องดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อจัดการวิกฤตหนี้
“หากวิกฤตหนี้ยูโรโซนยืดเยื้อยาวนานต่อไป ย่อมจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจเอเชียอย่างแน่นอน" นายฟูกูดะกล่าวเตือน
“ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปจะต้องบรรลุข้อตกลงร่วมกันให้เร็วที่สุดและดำเนินมาตรการตามที่ตกลงทันที มีเพียงวิธีการนี้เท่านี้ที่จะสามารถแก้ปัญหาได้ เพื่อป้องกันไม่ให้ส่งผลกระทบลุกลามไปยังภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนี้การจัดการแก้ปัญหาให้ได้โดยเร็วจะประหยัดค่าใช้จ่ายในการปล่อยเงินกู้ช่วยเหลือได้ด้วย" อดีตนายกฯญี่ปุ่นให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซินหัว
นายฟูกูดะยังกล่าวถึงวิกฤตหนี้ของญี่ปุ่นเมื่อ 2 ปีที่แล้วด้วยว่า บทเรียนจากเหตุการณ์ครั้งนั้นยังคงแจ่มชัด
“ในตอนนั้นรัฐบาลญี่ปุ่นไม่ได้วางมาตรการตอบโต้ทันท่วงที ทำให้พลาดช่วงเวลาที่เหมาะสมไป ด้วยเหตุนี้หนี้สินที่ทวีความรุนแรงขึ้นและการเปลี่ยนแปลงคณะรัฐมนตรีกระทันหัน ทำให้เมื่อรัฐบาลเริ่มเข้ามาแก้ปัญหาหนี้อย่างจริงจัง ญี่ปุ่นก็สูญเสียมหาศาล อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศเสียหายมากมายไปเรียบร้อย"
เมื่อถามถึงปริมาณหนี้ในญี่ปุ่น นายฟูกูดะยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่มีความเป็นไปได้ว่าญี่ปุ่นจะเผชิญกับวิกฤตหนี้ซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากพันธบัตรส่วนใหญ่อยู่ในมือของชาวญี่ปุ่นเอง
“แต่เราก็ระวังตัว ญี่ปุ่นกำลังเตรียมความพร้อม เช่น ญี่ปุ่นจะขึ้นภาษีการบริโภค ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการยกระดับสถานการณ์ทางการเงิน"
อย่างไรก็ตาม นายฟูกูดะยอมรับว่า ยังมีอุปสรรคอยู่ที่ประชากรสูงวัย ประเด็นความปลอดภัยของนิวเคลียร์ และการขาดเงินลงทุนเพื่อการขยายโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่แสดงความมั่นใจว่า ญี่ปุ่นมีศักยภาพมากพอที่จะฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านี้ไปได้
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 260
ฟิทช์ชี้ธุรกิจเอเชียรอดผลกระทบวิกฤติหนี้ยูโรโซนเหตุได้ตัวช่วยจากปริมาณการค้าภายในภูมิภาค
ฟิทช์ เรตติ้งส์ ระบุว่า บรรดาบริษัทส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย สามารถบริหารจัดการภาวะเศรษฐกิจขาลงจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนได้ เพราะมีสภาพคล่องมากกว่าและภาคธุรกิจในภูมิภาคนี้เน้นทำการค้าภายในภูมิภาค
"ปริมาณการค้าในภูมิภาคเอเชียที่สูงมาก โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของปริมาณการค้าภายในภูมิภาคช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นเกราะป้องกันผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลงที่เกิดขึ้นได้อย่างดี แต่เศรษฐกิจในบางประเทศของภูมิภาคเอเชีย ยังคงต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับตลาดส่งออกเก่าแก่ในซีกโลกตะวันตกมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ"ฟิทช์ ระบุ
รายงานของฟิทช์ระบุว่า บริษัทผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคสัญชาติญี่ปุ่น อาทิเช่น โซนี ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอจากตลาดพัฒนาแล้วในยุโรปมากกว่าบริษัทคู่แข่งสัญชาติเกาหลีใต้ อาทิเช่น ซัมซุง ที่มุ่งเน้นทำตลาดในชาติกำลังพัฒนามากกว่า
ทั้งนี้ ฟิทช์ คาดการณ์ว่า สามประเทศในเอเชียที่มีตลาดในประเทศขนาดใหญ่ อาทิเช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนน้อยกว่าไทย มาเลเซีย และมองโกเลียที่มีรูปแบบเศรษฐกิจแบบเปิด
"เราเชื่อว่าประเทศเหล่านี้เป็นตลาดที่มีความต้องการภายในประเทศแข็งแกร่งจึงช่วยชดเชยผลกระทบที่เลวร้ายจากพิษเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยูโรโซนที่จะเกิดกับบริษัทส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนมากดำเนินธุรกิจในประเทศหรือไม่ก็ดำเนินธุรกิจเน้นภายในภูมิภาค" ฟิทช์ระบุ และว่า 3ชาติที่กล่าวมาเป็นชาติที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ ฟิทช์ ยังคาดการณ์ว่า ผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในยูโรโซนจะทำให้บรรดาบริษัทในเอเชียเข้าถึงเงินทุนได้อย่างจำกัด
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... โรโซน.html
ฟิทช์ เรตติ้งส์ ระบุว่า บรรดาบริษัทส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย สามารถบริหารจัดการภาวะเศรษฐกิจขาลงจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนได้ เพราะมีสภาพคล่องมากกว่าและภาคธุรกิจในภูมิภาคนี้เน้นทำการค้าภายในภูมิภาค
"ปริมาณการค้าในภูมิภาคเอเชียที่สูงมาก โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของปริมาณการค้าภายในภูมิภาคช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา เป็นเกราะป้องกันผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลงที่เกิดขึ้นได้อย่างดี แต่เศรษฐกิจในบางประเทศของภูมิภาคเอเชีย ยังคงต้องให้ความสำคัญอย่างมากกับตลาดส่งออกเก่าแก่ในซีกโลกตะวันตกมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ"ฟิทช์ ระบุ
รายงานของฟิทช์ระบุว่า บริษัทผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคสัญชาติญี่ปุ่น อาทิเช่น โซนี ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอจากตลาดพัฒนาแล้วในยุโรปมากกว่าบริษัทคู่แข่งสัญชาติเกาหลีใต้ อาทิเช่น ซัมซุง ที่มุ่งเน้นทำตลาดในชาติกำลังพัฒนามากกว่า
ทั้งนี้ ฟิทช์ คาดการณ์ว่า สามประเทศในเอเชียที่มีตลาดในประเทศขนาดใหญ่ อาทิเช่น จีน อินเดีย และอินโดนีเซีย จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ยูโรโซนน้อยกว่าไทย มาเลเซีย และมองโกเลียที่มีรูปแบบเศรษฐกิจแบบเปิด
"เราเชื่อว่าประเทศเหล่านี้เป็นตลาดที่มีความต้องการภายในประเทศแข็งแกร่งจึงช่วยชดเชยผลกระทบที่เลวร้ายจากพิษเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในยูโรโซนที่จะเกิดกับบริษัทส่วนใหญ่ ซึ่งส่วนมากดำเนินธุรกิจในประเทศหรือไม่ก็ดำเนินธุรกิจเน้นภายในภูมิภาค" ฟิทช์ระบุ และว่า 3ชาติที่กล่าวมาเป็นชาติที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคเอเชีย
นอกจากนี้ ฟิทช์ ยังคาดการณ์ว่า ผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในยูโรโซนจะทำให้บรรดาบริษัทในเอเชียเข้าถึงเงินทุนได้อย่างจำกัด
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... โรโซน.html
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 408
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 261
Merkel Rejects Euro Bonds Again After Auction
German Chancellor Angela Merkel again ruled out joint euro-area borrowing and an expanded role for the European Central Bank in fighting the debt crisis.
Euro bonds are “not needed and not appropriate,” Merkel said today at a press conference with Italian Prime Minister Mario Monti and French President Nicolas Sarkozy in Strasbourg, France. She said euro bonds would “level the difference” in euro-region interest rates. “It would be a completely wrong signal to ignore those diverging interest rates because they’re an indicator of where work still needs to be done.”
Merkel, the leader of Europe’s biggest economy, has so far backed a focus on debt reduction and closer economic coordination, calling for a revision of European Union treaties, a move that threatens to bog down in a multiyear negotiation, as core euro economies risk succumbing to the contagion that began in Greece in 2009.
German analysts, newspaper editorials and opposition politicians stepped up calls for Merkel to shift from an incremental approach after the government sold a fraction of the bonds it auctioned yesterday.
“As the crisis deepens with yesterday’s bond auction, the veil has been torn off Merkel’s policy of muddling through,” Sebastian Dullien, a senior fellow at the European Council on Foreign Relations in Berlin, said in a telephone interview. “It’s only got us closer to the end-game, either the breakup of the euro or euro bonds. The strategy has failed.”
http://www.bloomberg.com/news/2011-11-2 ... call-.html
German Chancellor Angela Merkel again ruled out joint euro-area borrowing and an expanded role for the European Central Bank in fighting the debt crisis.
Euro bonds are “not needed and not appropriate,” Merkel said today at a press conference with Italian Prime Minister Mario Monti and French President Nicolas Sarkozy in Strasbourg, France. She said euro bonds would “level the difference” in euro-region interest rates. “It would be a completely wrong signal to ignore those diverging interest rates because they’re an indicator of where work still needs to be done.”
Merkel, the leader of Europe’s biggest economy, has so far backed a focus on debt reduction and closer economic coordination, calling for a revision of European Union treaties, a move that threatens to bog down in a multiyear negotiation, as core euro economies risk succumbing to the contagion that began in Greece in 2009.
German analysts, newspaper editorials and opposition politicians stepped up calls for Merkel to shift from an incremental approach after the government sold a fraction of the bonds it auctioned yesterday.
“As the crisis deepens with yesterday’s bond auction, the veil has been torn off Merkel’s policy of muddling through,” Sebastian Dullien, a senior fellow at the European Council on Foreign Relations in Berlin, said in a telephone interview. “It’s only got us closer to the end-game, either the breakup of the euro or euro bonds. The strategy has failed.”
http://www.bloomberg.com/news/2011-11-2 ... call-.html
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 262
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2554 18:48:47 น.
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป (อียู) ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า มาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจของอิตาลีภายใต้การนำของนายมาริโอ มอนติ กำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลียังอยู่ในระดับที่สูงมากก็ตาม
นายเรห์นยังกล่าวด้วยว่า ปัจจัยพื่นฐานทางเศรษฐกิจของอิตาลียังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากอิตาลีดำเนินมาตรการปฏิรูปอย่างถูกทาง รวมถึงการเปิดเสรีด้านอาชีพและการสนับสนุนนายจ้างให้เพิ่มการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม นายเรห์นกล่าวว่าอิตาลีจำเป็นต้องใช้มาตรการที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการสร้างตำแหน่งงานที่เหมาะสม และผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
การแสดงความคิดเห็นของนายเรห์นมีขึ้นแม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีของรัฐบาลอิตาลีพุ่งขึ้นแตะระดับ 7.814% ในการประมูลที่สามารถระดมทุนได้ 2 พันล้านยูโรครั้งล่าสุดซึ่งอัตราผลตอบแทนดังกล่าวสูงกว่าระดับ 4.628% ในการประมูลครั้งก่อน และถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการใช้สกุลเงินยูโรเมื่อปี 2542 อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นถือเป็นสัญญาณอันตรายว่า รัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีกำลังเผชิญกับภาระหนี้สินมูลค่ามหาศาล
นอกเหนือจากนายเรห์นแล้ว นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปยังได้แสดงความมั่นใจต่อนายมอนติด้วย โดยเขากล่าวว่านายมอนติมีความมุ่งมั่น มีความสามารถ และมีประสบการณ์ ซึ่งจะสามารถพาอิตาลีฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆที่กำลังเผชิญอยู่ได้
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
นายโอลลี เรห์น กรรมาธิการเศรษฐกิจและการเงินของสหภาพยุโรป (อียู) ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า มาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจของอิตาลีภายใต้การนำของนายมาริโอ มอนติ กำลังดำเนินไปในทิศทางที่ถูกต้อง แม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของอิตาลียังอยู่ในระดับที่สูงมากก็ตาม
นายเรห์นยังกล่าวด้วยว่า ปัจจัยพื่นฐานทางเศรษฐกิจของอิตาลียังคงแข็งแกร่ง เนื่องจากอิตาลีดำเนินมาตรการปฏิรูปอย่างถูกทาง รวมถึงการเปิดเสรีด้านอาชีพและการสนับสนุนนายจ้างให้เพิ่มการจ้างงาน อย่างไรก็ตาม นายเรห์นกล่าวว่าอิตาลีจำเป็นต้องใช้มาตรการที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งรวมถึงการสร้างตำแหน่งงานที่เหมาะสม และผลักดันเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน
การแสดงความคิดเห็นของนายเรห์นมีขึ้นแม้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปีของรัฐบาลอิตาลีพุ่งขึ้นแตะระดับ 7.814% ในการประมูลที่สามารถระดมทุนได้ 2 พันล้านยูโรครั้งล่าสุดซึ่งอัตราผลตอบแทนดังกล่าวสูงกว่าระดับ 4.628% ในการประมูลครั้งก่อน และถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการใช้สกุลเงินยูโรเมื่อปี 2542 อัตราผลตอบแทนที่สูงขึ้นถือเป็นสัญญาณอันตรายว่า รัฐบาลชุดใหม่ของอิตาลีกำลังเผชิญกับภาระหนี้สินมูลค่ามหาศาล
นอกเหนือจากนายเรห์นแล้ว นายโฮเซ มานูเอล บาร์โรโซ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรปยังได้แสดงความมั่นใจต่อนายมอนติด้วย โดยเขากล่าวว่านายมอนติมีความมุ่งมั่น มีความสามารถ และมีประสบการณ์ ซึ่งจะสามารถพาอิตาลีฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆที่กำลังเผชิญอยู่ได้
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 263
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 22:20:36 น.
รัฐสภาเยอรมนีอนุมัติงบประมาณสำหรับปี 2555 ซึ่งคาดการณ์ว่า จะต้องกู้ยืมอีก 2.6 หมื่นล้านยูโร (3.5 หมื่นล้านดอลลาร์) จากยอดงบประมาณ 3.06 แสนล้านยูโร ที่ได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลผสมภายใต้การนำของนางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีในวันนี้ หลังมีการอภิปรายในเรื่องดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายวัน
ทั้งนี้ ตัวเลขคาดการณ์เงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นตัวเลขที่เพิ่มอีกเล็กน้อยจากที่ได้คาดการณ์สำหรับปีนี้ที่ 2.2 หมื่นล้านยูโร อย่างไรก็ดี เยอรมนีได้เคยคาดการณ์เงินกู้เพิ่มเติมไว้สูงสุดสำหรับปีนี้ที่ 4.84 หมื่นล้านยูโร แต่ได้ปรับตัวเลขลงหลังเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายค้านได้วิพากษ์วิจารณ์นางแมร์เคลในเรื่องการกู้เงินเพิ่ม เนื่องจากนางแมร์เคลได้แนะนำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ในยุโรปลดการกู้ยืมลงเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สิน
รัฐสภาเยอรมนีอนุมัติงบประมาณสำหรับปี 2555 ซึ่งคาดการณ์ว่า จะต้องกู้ยืมอีก 2.6 หมื่นล้านยูโร (3.5 หมื่นล้านดอลลาร์) จากยอดงบประมาณ 3.06 แสนล้านยูโร ที่ได้รับการอนุมัติโดยรัฐบาลผสมภายใต้การนำของนางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีในวันนี้ หลังมีการอภิปรายในเรื่องดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายวัน
ทั้งนี้ ตัวเลขคาดการณ์เงินกู้ยืมดังกล่าวเป็นตัวเลขที่เพิ่มอีกเล็กน้อยจากที่ได้คาดการณ์สำหรับปีนี้ที่ 2.2 หมื่นล้านยูโร อย่างไรก็ดี เยอรมนีได้เคยคาดการณ์เงินกู้เพิ่มเติมไว้สูงสุดสำหรับปีนี้ที่ 4.84 หมื่นล้านยูโร แต่ได้ปรับตัวเลขลงหลังเศรษฐกิจขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง และทำให้รัฐบาลจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น
อย่างไรก็ดี พรรคฝ่ายค้านได้วิพากษ์วิจารณ์นางแมร์เคลในเรื่องการกู้เงินเพิ่ม เนื่องจากนางแมร์เคลได้แนะนำให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ในยุโรปลดการกู้ยืมลงเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สิน
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 264
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 22:30:32 น.
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 2 ปี พุ่งเหนือระดับ 8% เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในวันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้สกุลเงินยูโร ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยูโรโซน
นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลี ก็ทะยานขึ้นแตะ 7.4% ซึ่งอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า 7% นั้น ถูกมองว่าบ่งชี้ถึงภาวะไร้เสถียรภาพ
ขณะเดียวกัน อิตาลีได้ขายตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือนในวันนี้ ด้วยอัตราผลตอบแทนที่พุ่งขึ้นแตะ 6.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มใช้เงินยูโรเช่นกัน และสูงกว่าในเดือนที่แล้วถึงเกือบสองเท่า
ทั้งนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงขึ้นอีกระลอก หลังจากที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนียืนกรานคัดค้านการขยายบทบาทของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในการแก้ไขวิกฤตหนี้ ระหว่างการประชุมร่วมกับผู้นำฝรั่งเศสและอิตาลีเมื่อวานนี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงาน
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีอายุ 2 ปี พุ่งเหนือระดับ 8% เป็นช่วงเวลาสั้นๆ ในวันนี้ ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้สกุลเงินยูโร ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยูโรโซน
นอกจากนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลี ก็ทะยานขึ้นแตะ 7.4% ซึ่งอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่า 7% นั้น ถูกมองว่าบ่งชี้ถึงภาวะไร้เสถียรภาพ
ขณะเดียวกัน อิตาลีได้ขายตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือนในวันนี้ ด้วยอัตราผลตอบแทนที่พุ่งขึ้นแตะ 6.5% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มใช้เงินยูโรเช่นกัน และสูงกว่าในเดือนที่แล้วถึงเกือบสองเท่า
ทั้งนี้ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยูโรโซนทวีความรุนแรงขึ้นอีกระลอก หลังจากที่นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนียืนกรานคัดค้านการขยายบทบาทของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในการแก้ไขวิกฤตหนี้ ระหว่างการประชุมร่วมกับผู้นำฝรั่งเศสและอิตาลีเมื่อวานนี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงาน
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 265
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2554 22:09:07 น.
สำนักนายกรัฐมนตรีอิตาลีออกแถลงการณ์ว่า นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซีย์ ของฝรั่งเศส เห็นพ้องกับนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ของอิตาลีว่า หากอิตาลีไม่สามารถนำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตหนี้ในภูมิภาคได้ สกุลเงินยูโรก็อาจถึงคราวล่มสลาย
นายมอนติกล่าวกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนียืนยันว่าจะให้การสนับสนุนอิตาลี เนื่องจากตระหนักดีว่า หากอิตาลีล่มสลายก็จะนำไปสู่การสิ้นสุดของสกุลเงินยูโร อีกทั้งยังจะทำให้การรวมตัวเป็นปึกแผ่นของยุโรปหยุดชะงัก และก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ตามมา
ทั้งนี้ ในการขายตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือนวันนี้ อิตาลีต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนถึงเกือบ 7% ขณะที่นักลงทุนกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับอนาคตของอิตาลีว่า อาจจะไม่สามารถควบคุมต้นทุนการกู้ยืมได้
สำนักนายกรัฐมนตรีอิตาลีออกแถลงการณ์ว่า นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โกซีย์ ของฝรั่งเศส เห็นพ้องกับนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ของอิตาลีว่า หากอิตาลีไม่สามารถนำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤตหนี้ในภูมิภาคได้ สกุลเงินยูโรก็อาจถึงคราวล่มสลาย
นายมอนติกล่าวกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆในการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ว่า ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนียืนยันว่าจะให้การสนับสนุนอิตาลี เนื่องจากตระหนักดีว่า หากอิตาลีล่มสลายก็จะนำไปสู่การสิ้นสุดของสกุลเงินยูโร อีกทั้งยังจะทำให้การรวมตัวเป็นปึกแผ่นของยุโรปหยุดชะงัก และก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ตามมา
ทั้งนี้ ในการขายตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือนวันนี้ อิตาลีต้องจ่ายอัตราผลตอบแทนถึงเกือบ 7% ขณะที่นักลงทุนกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับอนาคตของอิตาลีว่า อาจจะไม่สามารถควบคุมต้นทุนการกู้ยืมได้
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 266
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2554 07:32:54 น.
หนังสือพิมพ์ La Stampa ของอิตาลีรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กำลังเตรียมจัดหาเงินกู้มูลค่า 6 แสนล้านยูโร หรือ 7.94 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับอิตาลี ในกรณีที่ปัญหาหนี้ของอิตาลีทวีความรุนแรงจนไม่อาจควบคุมได้
หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวระบุว่า เงินจำนวนดังกล่าวจะช่วยให้รัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของนายมาริโอ มอนติ มีเวลาประมาณ 12-18 เดือนในการดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์หนี้เดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยอิตาลีจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา 4-5%
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
หนังสือพิมพ์ La Stampa ของอิตาลีรายงานว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กำลังเตรียมจัดหาเงินกู้มูลค่า 6 แสนล้านยูโร หรือ 7.94 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับอิตาลี ในกรณีที่ปัญหาหนี้ของอิตาลีทวีความรุนแรงจนไม่อาจควบคุมได้
หนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวระบุว่า เงินจำนวนดังกล่าวจะช่วยให้รัฐบาลอิตาลีภายใต้การนำของนายมาริโอ มอนติ มีเวลาประมาณ 12-18 เดือนในการดำเนินมาตรการปฏิรูปเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็นต้องรีไฟแนนซ์หนี้เดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยอิตาลีจะต้องจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตรา 4-5%
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 267
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2554 14:31:35 น.
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า ไอเอ็มเอฟไม่ได้อยู่ในระหว่างการหารือเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับอิตาลี ขณะที่ญี่ปุ่นก็ระบุว่า ไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นภายในกลุ่ม G7
โฆษกไอเอ็มเอฟระบุในแถลงการณ์ว่า ทางไอเอ็มเอฟไม่ได้หารือกับทางการอิตาลีเรื่องโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแต่อย่างใด ซึ่งความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่ นสพ.ลา สตัมปา ของอิตาลี รายงานว่า ไอเอ็มเอฟอาจกำลังเตรียมเงินกู้วงเงินถึง 6 แสนล้านยูโร (7.98 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อสนับสนุนความพยายามของอิตาลีในการฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ทั้งนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลีพุ่งขึ้นสูงกว่าระดับ 7% ในเดือนนี้ ขณะที่นักลงทุนไม่มั่นใจว่า อิตาลีจะสามารถควบคุมวิกฤตหนี้ได้หรือไม่
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยว่า ไอเอ็มเอฟไม่ได้อยู่ในระหว่างการหารือเพื่อให้ความช่วยเหลือทางการเงินกับอิตาลี ขณะที่ญี่ปุ่นก็ระบุว่า ไม่มีการพูดคุยถึงเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นภายในกลุ่ม G7
โฆษกไอเอ็มเอฟระบุในแถลงการณ์ว่า ทางไอเอ็มเอฟไม่ได้หารือกับทางการอิตาลีเรื่องโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแต่อย่างใด ซึ่งความเคลื่อนไหวครั้งนี้มีขึ้นหลังจากที่ นสพ.ลา สตัมปา ของอิตาลี รายงานว่า ไอเอ็มเอฟอาจกำลังเตรียมเงินกู้วงเงินถึง 6 แสนล้านยูโร (7.98 แสนล้านดอลลาร์) เพื่อสนับสนุนความพยายามของอิตาลีในการฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ทั้งนี้ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลีพุ่งขึ้นสูงกว่าระดับ 7% ในเดือนนี้ ขณะที่นักลงทุนไม่มั่นใจว่า อิตาลีจะสามารถควบคุมวิกฤตหนี้ได้หรือไม่
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย สุนิตา พรรณรักษา/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 268
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2554 13:52:47 น.
นายคริสเตียน นอยเออร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศส กล่าวว่า รัฐบาลประเทศยุโรปจะต้องแสดงให้เห็นถึงวินัยทางการคลังก่อนที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรยูโรโซน ขณะที่ทุกฝ่ายทุ่มความพยายามในการแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สินในยูโรโซน
"ผมรู้สึกว่า จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงวินัยทางการคลังอย่างมีประสิทธิภาพและความคืบหน้าในการควบคุมงบประมาณ ซึ่งจะช่วยรับประกันเรื่องการร่วมรับความเสี่ยงของผู้เสียภาษีในประเทศยุโรปอย่างแท้จริง" นายนอยเยอร์กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังเข้าร่วมการสัมมนาที่โตเกียว
คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ได้เปิดรายงานเผยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรเพื่อรักษาเสถียรภาพ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดสินเชื่อด้านงบประมาณในบางประเทศ ด้วยภาพลักษณ์ที่ดีกว่าของประเทศอื่นๆ ในตลาดพันธบัตร
รายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยพร้อมกับข้อเสนออื่นๆ ของคณะกรรมาธิการ ซึ่งรวมไปถึงข้อเสนอให้อีซีมีอำนาจสูงกว่าในส่วนของงบประมาณของประเทศสมาชิก 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร
"ผมมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า มีความเป็นไปได้ที่เราจะได้หารือในบางเรื่อง หลังจากที่ได้มีกาหารือและดำเนินการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับงบประมาณของรัฐบาลยุโรปไปแล้วเท่านั้น" นายนอยเยอร์กล่าว
สำหรับแผนการเพิ่มอำนาจให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนให้ความช่วยเหลือของยุโรปนั้น นายนอยเยอร์กล่าวว่า "ขึ้นอยู่กับรัฐบาลของประเทศต่างๆ จะตัดสินใจว่า จะวางแผนอย่างไร"
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
นายคริสเตียน นอยเออร์ ผู้ว่าการธนาคารกลางฝรั่งเศส กล่าวว่า รัฐบาลประเทศยุโรปจะต้องแสดงให้เห็นถึงวินัยทางการคลังก่อนที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรยูโรโซน ขณะที่ทุกฝ่ายทุ่มความพยายามในการแก้ปัญหาวิกฤติหนี้สินในยูโรโซน
"ผมรู้สึกว่า จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงวินัยทางการคลังอย่างมีประสิทธิภาพและความคืบหน้าในการควบคุมงบประมาณ ซึ่งจะช่วยรับประกันเรื่องการร่วมรับความเสี่ยงของผู้เสียภาษีในประเทศยุโรปอย่างแท้จริง" นายนอยเยอร์กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังเข้าร่วมการสัมมนาที่โตเกียว
คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 27 ประเทศ ได้เปิดรายงานเผยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรเพื่อรักษาเสถียรภาพ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดสินเชื่อด้านงบประมาณในบางประเทศ ด้วยภาพลักษณ์ที่ดีกว่าของประเทศอื่นๆ ในตลาดพันธบัตร
รายงานดังกล่าวได้รับการเปิดเผยพร้อมกับข้อเสนออื่นๆ ของคณะกรรมาธิการ ซึ่งรวมไปถึงข้อเสนอให้อีซีมีอำนาจสูงกว่าในส่วนของงบประมาณของประเทศสมาชิก 17 ประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร
"ผมมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า มีความเป็นไปได้ที่เราจะได้หารือในบางเรื่อง หลังจากที่ได้มีกาหารือและดำเนินการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับงบประมาณของรัฐบาลยุโรปไปแล้วเท่านั้น" นายนอยเยอร์กล่าว
สำหรับแผนการเพิ่มอำนาจให้กับกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ซึ่งเป็นกองทุนให้ความช่วยเหลือของยุโรปนั้น นายนอยเยอร์กล่าวว่า "ขึ้นอยู่กับรัฐบาลของประเทศต่างๆ จะตัดสินใจว่า จะวางแผนอย่างไร"
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 269
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2554 19:06:43 น.
อิตาลีขายพันธบัตรอิงเงินเฟ้อมูลค่า 567 ล้านยูโร (759 ล้านดอลลาร์) ที่อัตราผลตอบแทน 7.3% ในวันนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองในหนึ่งสัปดาห์ที่อัตราผลตอบแทนการประมูลตราสารหนี้ของอิตาลีสูงกว่า 7% ซึ่งเป็นระดับที่กดดันให้กรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์ ต้องตัดสินใจขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
การขายพันธบัตรอิงเงินเฟ้อของอิตาลีครั้งก่อนหน้านี้ นับย้อนไปเมื่อเดือนมีนาคมปี 2553 ซึ่งในครั้งนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ที่ 2.19% และความต้องการพันธบัตรสูงกว่าจำนวนที่นำออกขายถึง 2.16 เท่า ขณะที่ยอดขายพันธบัตรครั้งล่าสุดซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนกันยายน 2566 ต่ำกว่าเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ที่ 750 ล้านยูโร แต่สูงกว่าเป้าหมายต่ำสุดที่ 500 ล้านยูโรอยู่เล็กน้อย
ขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลียังคงอยู่ในระดับสูง ภายหลังจากการประมูลขายพันธบัตรอิงเงินเฟ้อในวันนี้ โดยขยับลงเล็กน้อยเพียง 0.15% มาอยู่ที่ 7.12% ณ เวลา 10.16 น. ตามเวลาในกรุงลอนดอน
การขายพันธบัตรอิงเงินเฟ้อในวันนี้มีขึ้นในขณะที่นายกรัฐมนตรี มาริโอ มอนติ ของอิตาลี เตรียมจัดทำมาตรการด้านงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อลดหนี้สาธารณะมูลค่า 1.9 ล้านล้านยูโร และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และมีขึ้นก่อนที่อิตาลีจะประมูลขายพันธบัตรวงเงินสูงถึง 8 พันล้านยูโร ซึ่งรวมถึงพันธบัตรอายุ 3 ปี ในวันพรุ่งนี้ โดยจะเป็นบททดสอบความเชื่อมั่นของตลาดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่การประมูลขายตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือน และพันธบัตรอายุ 2 ปีของรัฐบาลอิตาลีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับตลาด เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ได้พุ่งเหนือระดับ 8% ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้สกุลเงินยูโร
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
อิตาลีขายพันธบัตรอิงเงินเฟ้อมูลค่า 567 ล้านยูโร (759 ล้านดอลลาร์) ที่อัตราผลตอบแทน 7.3% ในวันนี้ ซึ่งนับเป็นครั้งที่สองในหนึ่งสัปดาห์ที่อัตราผลตอบแทนการประมูลตราสารหนี้ของอิตาลีสูงกว่า 7% ซึ่งเป็นระดับที่กดดันให้กรีซ โปรตุเกส และไอร์แลนด์ ต้องตัดสินใจขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
การขายพันธบัตรอิงเงินเฟ้อของอิตาลีครั้งก่อนหน้านี้ นับย้อนไปเมื่อเดือนมีนาคมปี 2553 ซึ่งในครั้งนั้น อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ที่ 2.19% และความต้องการพันธบัตรสูงกว่าจำนวนที่นำออกขายถึง 2.16 เท่า ขณะที่ยอดขายพันธบัตรครั้งล่าสุดซึ่งจะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนกันยายน 2566 ต่ำกว่าเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ที่ 750 ล้านยูโร แต่สูงกว่าเป้าหมายต่ำสุดที่ 500 ล้านยูโรอยู่เล็กน้อย
ขณะเดียวกัน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปีของอิตาลียังคงอยู่ในระดับสูง ภายหลังจากการประมูลขายพันธบัตรอิงเงินเฟ้อในวันนี้ โดยขยับลงเล็กน้อยเพียง 0.15% มาอยู่ที่ 7.12% ณ เวลา 10.16 น. ตามเวลาในกรุงลอนดอน
การขายพันธบัตรอิงเงินเฟ้อในวันนี้มีขึ้นในขณะที่นายกรัฐมนตรี มาริโอ มอนติ ของอิตาลี เตรียมจัดทำมาตรการด้านงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อลดหนี้สาธารณะมูลค่า 1.9 ล้านล้านยูโร และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และมีขึ้นก่อนที่อิตาลีจะประมูลขายพันธบัตรวงเงินสูงถึง 8 พันล้านยูโร ซึ่งรวมถึงพันธบัตรอายุ 3 ปี ในวันพรุ่งนี้ โดยจะเป็นบททดสอบความเชื่อมั่นของตลาดอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่การประมูลขายตั๋วเงินคลังอายุ 6 เดือน และพันธบัตรอายุ 2 ปีของรัฐบาลอิตาลีเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมานั้น ได้สร้างความวิตกกังวลให้กับตลาด เมื่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 2 ปี ได้พุ่งเหนือระดับ 8% ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ที่เริ่มมีการใช้สกุลเงินยูโร
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
- บูรพาไม่แพ้
- Verified User
- โพสต์: 2533
- ผู้ติดตาม: 0
Re: บทสรุป กรีซ กับตลาดหุ้น
โพสต์ที่ 270
คณะกก.ยุโรปเผยผู้บริโภค-ผู้บริหารในยุโรปมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจน้อยลงข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2554 22:23:54 น.
คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เปิดเผยในวันนี้ว่า ชาวยุโรปและกลุ่มผู้บริหารในยุโรปมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของยูโรโซนน้อยลง ในขณะที่เศรษฐกิจของ 17 ชาติสมาชิกยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย และหลายประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตการคลัง
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและกลุ่มผู้บริหารในยุโรป ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ +93.7 จุดในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2552 จากเดือนก.ย.ที่ระดับ +94.8 จุด และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที้ระดับ +93.9 จุด
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้ผลิตของยุโรปร่วงลงมาอยู่ที่ะดับ -7.3 จุดในเดือนต.ค. จากเดือนก.ย.ที่ระดับ -6.5 จุด ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในภาคบริการลดลงมาอยู่ที่ระดับ -1.7 จุด จากเดือนก.ย.ที่ +0.1 จุด
นอกจากนี้ ดัชนีความคาดหวังของกลุ่มผุ้ผลิตในยุโรป ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -0.7 จุดในเดือนต.ค. จากเดือนก.ย.ที่ +0.2 จุด และดัชนีการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -14 จุด และดัชนีความคาดหวังด้านการจ้างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับ -3 จุด
รมว.คลังกลุ่มยูโรโซนกำลังประชุมร่วมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้ เพื่อหาแนวทางควบคุมการลุกลามของวิกฤตหนี้ หลังจากผลผลิตภาคบริการและภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนพ.ย. เนื่องจากวิกฤตหนี้ที่ทวีความรุนแรงทำให้เศรษฐกิจของยูโรโซนใกล้ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย
มาร์กิต อิโคโนมิคส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคบริการและภาคการผลิตใน 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 47.2 จุดในเดือนพ.ย. จากระดับ 46.5 ในเดือนต.ค. ซึ่งดัชนีที่เคลื่อนไหวอยู่ต่ำกว่าระดับบ่งชี้ว่า ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนหดตัวลง
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) เปิดเผยในวันนี้ว่า ชาวยุโรปและกลุ่มผู้บริหารในยุโรปมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจของยูโรโซนน้อยลง ในขณะที่เศรษฐกิจของ 17 ชาติสมาชิกยูโรโซนมีแนวโน้มที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย และหลายประเทศกำลังเผชิญกับวิกฤตการคลัง
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและกลุ่มผู้บริหารในยุโรป ร่วงลงมาอยู่ที่ระดับ +93.7 จุดในเดือนต.ค. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 2552 จากเดือนก.ย.ที่ระดับ +94.8 จุด และลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที้ระดับ +93.9 จุด
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นในกลุ่มผู้ผลิตของยุโรปร่วงลงมาอยู่ที่ะดับ -7.3 จุดในเดือนต.ค. จากเดือนก.ย.ที่ระดับ -6.5 จุด ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในภาคบริการลดลงมาอยู่ที่ระดับ -1.7 จุด จากเดือนก.ย.ที่ +0.1 จุด
นอกจากนี้ ดัชนีความคาดหวังของกลุ่มผุ้ผลิตในยุโรป ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -0.7 จุดในเดือนต.ค. จากเดือนก.ย.ที่ +0.2 จุด และดัชนีการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้า ลดลงมาอยู่ที่ระดับ -14 จุด และดัชนีความคาดหวังด้านการจ้างงานลดลงมาอยู่ที่ระดับ -3 จุด
รมว.คลังกลุ่มยูโรโซนกำลังประชุมร่วมกันที่กรุงบรัสเซลส์ในวันนี้ เพื่อหาแนวทางควบคุมการลุกลามของวิกฤตหนี้ หลังจากผลผลิตภาคบริการและภาคการผลิตของยูโรโซนหดตัวลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกันในเดือนพ.ย. เนื่องจากวิกฤตหนี้ที่ทวีความรุนแรงทำให้เศรษฐกิจของยูโรโซนใกล้ที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย
มาร์กิต อิโคโนมิคส์ เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) รวมภาคบริการและภาคการผลิตใน 17 ชาติสมาชิกยูโรโซน ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 47.2 จุดในเดือนพ.ย. จากระดับ 46.5 ในเดือนต.ค. ซึ่งดัชนีที่เคลื่อนไหวอยู่ต่ำกว่าระดับบ่งชี้ว่า ทั้งภาคการผลิตและภาคบริการของยูโรโซนหดตัวลง
--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--