ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 1
บริษัท ก จ้างผู้รับเหมาสร้างอาคารสำนักงานของตัวเอง จ่ายเงินเป็นงวดๆ ตาม progress ของงาน ถ้าตอนนี้อาคารกำลังสร้างอยู่ใช้งานไม่ได้ และจ่ายเงินไปแล้วบางงวด ยังเหลืออีกที่ยังไม่ได้จ่าย
คำถาม
1.ในงบดุลตอนนี้ด้านสินทรัพย์จะมีอาคารกำลังก่อสร้างอยู่เท่ากับทั้งตึก หรือแค่ที่จ่ายไปแล้ว หรือว่าไม่มีเลย
2.ด้านหนี้สิน งวดที่ยังไม่จ่ายจะมีลงเป็นเจ้าหนี้การค้าหรือไม่
3.ถ้าตึกสร้างนานเกิน 1 ปี และยังไม่เสร็จ จะตัดค่าเสื่อมเลยหรือว่าจะรอจนเสร็จก่อนแล้วค่อยเริ่มตัด
คำถาม
1.ในงบดุลตอนนี้ด้านสินทรัพย์จะมีอาคารกำลังก่อสร้างอยู่เท่ากับทั้งตึก หรือแค่ที่จ่ายไปแล้ว หรือว่าไม่มีเลย
2.ด้านหนี้สิน งวดที่ยังไม่จ่ายจะมีลงเป็นเจ้าหนี้การค้าหรือไม่
3.ถ้าตึกสร้างนานเกิน 1 ปี และยังไม่เสร็จ จะตัดค่าเสื่อมเลยหรือว่าจะรอจนเสร็จก่อนแล้วค่อยเริ่มตัด
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 2
1. เงินสดก็จะลดลง สินทรัพย์ถาวรก็จะเพิ่มขึ้น
2. ด้านหนี้สินจะยังไม่เกิด หรือถ้าจะมีก็มีแต่จำนวนเงินของงวดที่ครบกำหนดชำระ
3. จะยังไม่ตัดค่าเสื่อม จนกว่าจะเริ่มใช้งาน
แถมด้วยว่าถ้ามีการกู้ยืมเงินมาก่อสร้าง จำนวนดอกเบี้ยจ่ายจะถือว่าเป็ฯส่วนหนึ่งของทรัพย์สิน ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายด้วยครับ
2. ด้านหนี้สินจะยังไม่เกิด หรือถ้าจะมีก็มีแต่จำนวนเงินของงวดที่ครบกำหนดชำระ
3. จะยังไม่ตัดค่าเสื่อม จนกว่าจะเริ่มใช้งาน
แถมด้วยว่าถ้ามีการกู้ยืมเงินมาก่อสร้าง จำนวนดอกเบี้ยจ่ายจะถือว่าเป็ฯส่วนหนึ่งของทรัพย์สิน ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายด้วยครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
- สุมาอี้
- Verified User
- โพสต์: 4576
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 3
ถามอีกนิดครับ
ถ้าอาคารที่สร้างขึ้นแทบไม่ได้ใช้เงินตัวเองเลย กู้แบงก์เกือบหมดและเอาอาคารที่สร้างขึ้นนี้เป็นหลักประกัน อาคารสร้างเสร็จแล้วแต่ก็ยังต้องผ่อนแบงก์อีกหลายสิบปี แบบนี้อาคารทั้งหลังจะอยู่ในงบดุลด้านสินทรัพย์ตั้งแต่เมื่อก่อสร้างเสร็จเลยหรือเปล่า
ขอบคุณนะครับ
ถ้าอาคารที่สร้างขึ้นแทบไม่ได้ใช้เงินตัวเองเลย กู้แบงก์เกือบหมดและเอาอาคารที่สร้างขึ้นนี้เป็นหลักประกัน อาคารสร้างเสร็จแล้วแต่ก็ยังต้องผ่อนแบงก์อีกหลายสิบปี แบบนี้อาคารทั้งหลังจะอยู่ในงบดุลด้านสินทรัพย์ตั้งแต่เมื่อก่อสร้างเสร็จเลยหรือเปล่า
ขอบคุณนะครับ
http://dekisugi.net
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
ไม่ค่อยได้เช็ค PM เลยครับ ต้องการติดต่อผม อีเมลไปที่ [email protected] จะชัวร์กว่าครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 4
ขออธิบายเพิ่มเติมจากคุณchatchai อีกสักนิดครับ
อาคารหลังนี้จะลงบัญชีในหัวข้อ
construction in progress
ซึ่งแสดงรวมอยู่ในหมวด
fixed assets (สินทรัพย์ถาวร)
แล้วถ้าอาคารหลังนี้เสร็จเมื่อไหร
ก็โอนจาก construction in progress
หรืออาคารระหว่างก่อสร้าง
มาที่บัญชีอาคารครับ
และจะเริ่มตัดบัญชีค่าเสื่อมราคา
ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทันทีที่โอนมาเป็นอาคารครับ
ดอกเบี้ยจ่ายก็อย่างที่คุณ chatchai บอกครับ
ถือเป็นต้นทุนของอาคารด้วยครับ
พูดอย่างง่ายๆเลยคือ ค่าใช้จ่ายแทบทุกอย่าง
ที่ทำให้เกิดอาคารนี้ขึ้นมา
(เช่นค่าที่ปรึกษาสร้างอาคาร ภาษีซื้อที่ขอคืนไม่ได้
ค่าจดทะเบียนอาคารต่างๆ และอื่นๆ)
ถือเป็นต้นทุนของอาคารครับ
สรุปว่า กรณีนี้ถ้ายังสร้างไม่เสร็จ
จะกระทบในงบดุลครับ ไม่กระทบงบกำไรขาดทุน
เพราะจะไม่มีทั้งค่าเสื่อมราคา และค่าเสื่อมราคาสะสมครับ
.
อาคารหลังนี้จะลงบัญชีในหัวข้อ
construction in progress
ซึ่งแสดงรวมอยู่ในหมวด
fixed assets (สินทรัพย์ถาวร)
แล้วถ้าอาคารหลังนี้เสร็จเมื่อไหร
ก็โอนจาก construction in progress
หรืออาคารระหว่างก่อสร้าง
มาที่บัญชีอาคารครับ
และจะเริ่มตัดบัญชีค่าเสื่อมราคา
ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายทันทีที่โอนมาเป็นอาคารครับ
ดอกเบี้ยจ่ายก็อย่างที่คุณ chatchai บอกครับ
ถือเป็นต้นทุนของอาคารด้วยครับ
พูดอย่างง่ายๆเลยคือ ค่าใช้จ่ายแทบทุกอย่าง
ที่ทำให้เกิดอาคารนี้ขึ้นมา
(เช่นค่าที่ปรึกษาสร้างอาคาร ภาษีซื้อที่ขอคืนไม่ได้
ค่าจดทะเบียนอาคารต่างๆ และอื่นๆ)
ถือเป็นต้นทุนของอาคารครับ
สรุปว่า กรณีนี้ถ้ายังสร้างไม่เสร็จ
จะกระทบในงบดุลครับ ไม่กระทบงบกำไรขาดทุน
เพราะจะไม่มีทั้งค่าเสื่อมราคา และค่าเสื่อมราคาสะสมครับ
.
แก้ไขล่าสุดโดย TOMOKI เมื่อ อาทิตย์ พ.ค. 22, 2005 10:16 am, แก้ไขไปแล้ว 2 ครั้ง.
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 5
เรื่องดอกเบี้ยการกู้ยืมอาจซับซ้อนสักนิด
ถ้าเป็นกรณีที่กู้เงินมาจำนวนหนึ่งเพื่อสร้างอาคาร
และที่เหลือเอาไว้ใช้ในการดำเนินงานด้วย
ดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมสำหรับใช้ในการดำเนินงาน
ต้องแยกออกมาต่างหากครับ
ห้ามไปเหมารวมอยู่ในต้นทุนอาคารนะครับ
.
ถ้าเป็นกรณีที่กู้เงินมาจำนวนหนึ่งเพื่อสร้างอาคาร
และที่เหลือเอาไว้ใช้ในการดำเนินงานด้วย
ดอกเบี้ยของเงินกู้ยืมสำหรับใช้ในการดำเนินงาน
ต้องแยกออกมาต่างหากครับ
ห้ามไปเหมารวมอยู่ในต้นทุนอาคารนะครับ
.
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 6
ผมเคยพบงบการเงินของบางบริษัท
มีการกุ้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อที่จะสร้างโรงแรม แต่เศรษฐกิจไม่ดี จึงไม่มีการก่อสร้าง ดอกเบี้ยจ่ายก็บวกเข้าไปในสินทรัพย์ถาวรทุกปี ในงบกำไรขาดทุนก็ไม่มีดอกเบี้ยจ่าย เป็นสิบปีเลยครับ เยี่ยมไหมครับ ซึ่งถ้าคิดตามหลักจริงๆแล้ว ส่วนผุ้ถือหุ้นติดลบไปนานแล้วครับ
มีการกุ้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อที่จะสร้างโรงแรม แต่เศรษฐกิจไม่ดี จึงไม่มีการก่อสร้าง ดอกเบี้ยจ่ายก็บวกเข้าไปในสินทรัพย์ถาวรทุกปี ในงบกำไรขาดทุนก็ไม่มีดอกเบี้ยจ่าย เป็นสิบปีเลยครับ เยี่ยมไหมครับ ซึ่งถ้าคิดตามหลักจริงๆแล้ว ส่วนผุ้ถือหุ้นติดลบไปนานแล้วครับ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 285
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 7
ผมเคยพบงบการเงินของบางบริษัท
มีการกุ้ยืมเงินมาซื้อที่ดินเพื่อที่จะสร้างโรงแรม แต่เศรษฐกิจไม่ดี จึงไม่มีการก่อสร้าง ดอกเบี้ยจ่ายก็บวกเข้าไปในสินทรัพย์ถาวรทุกปี ในงบกำไรขาดทุนก็ไม่มีดอกเบี้ยจ่าย เป็นสิบปีเลยครับ เยี่ยมไหมครับ ซึ่งถ้าคิดตามหลักจริงๆแล้ว ส่วนผุ้ถือหุ้นติดลบไปนานแล้วครับ
ผมไม่แน่ใจว่าที่คุณ chatchai พบมาในกรณีนั้นมันนานแค่ไหนแล้วครับ
เรื่องนี้เมื่อก่อนมีปัญหากันพอสมควรครับ
เลยมีการออกมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 33 (ใช้แทนฉบับที่ 15)
เรื่องต้นทุนการกู้ยืม ซึ่งมีผลบังคับใช้ในรอบระยะเวลาบัญชีหลังวันที่ 1 มกราคม 2542
ซึ่งกรณีนี้ผมว่าน่าผิดหลักการบัญชีนะครับ (ผมคิดเอาเองนะครับ อาจจะผิดก็ได้ครับ)
.
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 8
เป็นบริษัทนอกตลาดนะครับ แต่ผู้ถือหุ้นใหญ่ก็มีหลายบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด เพียงแต่ว่าผู้ตรวจสอบบัญชีผ่านมาได้อย่างไร
ในสมัยที่ทำงานสินเชื่อมาก่อน เพื่อนๆรู้ไหมผมเคยวิเคราะห์สินเชื่อของลูกค้า เคยพบว่าบริษัทที่มีหนี้เงินกู้ระยะยาวกับธนาคารเป็นร้อยล้าน แต่ในงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีมาแล้ว กับไม่มีหนี้เงินกู้เลย แปลกไหมละครับ มาตรฐานผู้ตรวจสอบบัญชีไทย
ไม่นับประเภทที่มีช่องในการลงบัญชีที่แตกต่างกัน หลายบริษัทในตลาด กระแสเงินสดจากการดำเนินงานในงบกระแสเงินสดก็รวมรายการเงินกู้ยืมระยะสั้น เงินลงทุนระยะสั้น งบโฆษณาก็ลงบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย
ในสมัยที่ทำงานสินเชื่อมาก่อน เพื่อนๆรู้ไหมผมเคยวิเคราะห์สินเชื่อของลูกค้า เคยพบว่าบริษัทที่มีหนี้เงินกู้ระยะยาวกับธนาคารเป็นร้อยล้าน แต่ในงบการเงินที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบบัญชีมาแล้ว กับไม่มีหนี้เงินกู้เลย แปลกไหมละครับ มาตรฐานผู้ตรวจสอบบัญชีไทย
ไม่นับประเภทที่มีช่องในการลงบัญชีที่แตกต่างกัน หลายบริษัทในตลาด กระแสเงินสดจากการดำเนินงานในงบกระแสเงินสดก็รวมรายการเงินกู้ยืมระยะสั้น เงินลงทุนระยะสั้น งบโฆษณาก็ลงบันทึกเป็นสินทรัพย์ไม่ใช่ค่าใช้จ่าย
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 9
I agreed with K.Chatchai khab
:lol:
หนี้เงินกู้ระยะยาวกับธนาคารเป็นร้อยล้าน กับไม่มีหนี้เงินกู้เลย
I guess audit fee 5,000 - 10,000 B khab. Accounting fee about 2000B/Month :lol:
Bad excuse for auditor...
As long as Thai government can not solve this problem, we still developing F/S and stock market khab...
Good government with lowest cost....
:lol:
หนี้เงินกู้ระยะยาวกับธนาคารเป็นร้อยล้าน กับไม่มีหนี้เงินกู้เลย
I guess audit fee 5,000 - 10,000 B khab. Accounting fee about 2000B/Month :lol:
Bad excuse for auditor...
As long as Thai government can not solve this problem, we still developing F/S and stock market khab...
Good government with lowest cost....
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 10
การลงบัญชีผิดๆเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป
แม้แต่ในธนาคาร งบการเงินที่ใช้หลบภาษีก็เป็นที่ยอมรับได้ในการขอสินเชื่อครับ
โฆษณาของกรมสรรพากร เรื่องความภูมิใจในการเสียภาษี ก็คงเป็นการผลาญงบเท่านั้นครับ คงไม่สามารถสร้างจิตสำนึกอะไรได้มากมาย เพราะเป็ฯที่ยอมรับกันมานานแล้ว
บริษัทนอกตลาดก็แต่งงบให้กำไรน้อยๆเพื่อจะได้ไม่มีภาษี
บริษัทในตลาดก็แต่งงบเพื่อให้ราคาหุ้นขึ้นสูงๆ
แม้แต่ในธนาคาร งบการเงินที่ใช้หลบภาษีก็เป็นที่ยอมรับได้ในการขอสินเชื่อครับ
โฆษณาของกรมสรรพากร เรื่องความภูมิใจในการเสียภาษี ก็คงเป็นการผลาญงบเท่านั้นครับ คงไม่สามารถสร้างจิตสำนึกอะไรได้มากมาย เพราะเป็ฯที่ยอมรับกันมานานแล้ว
บริษัทนอกตลาดก็แต่งงบให้กำไรน้อยๆเพื่อจะได้ไม่มีภาษี
บริษัทในตลาดก็แต่งงบเพื่อให้ราคาหุ้นขึ้นสูงๆ
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 11
ลองดูงบกระแสเงินสดไตรมาส 1 ปี 48 ของ DISTAR ดูซิครับ
ในกิจกรรมการดำเนินงานจะมีรายการ เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็ฯการกู้ยืมเงินระยะสั้นประเภทหนึ่งจากธนาคาร แทนที่บริษัทจะนำไปจัดไว้ในกิจกรรมการจัดหาเงิน
ที่นี้ถ้าใครดูแต่บรรทัดสุดท้ายของแต่ละกิจกรรมก็เป็นอย่างไรครับ
บริษัทจะมีเงินสดรับสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานสูงถึง 33.23 ล้านบาท และเงินสดจ่ายสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงิน 24.67 ล้านบาท
ก็คงคิดว่าบริษัทดำเนินงานดี สามารถนำเงินไปชำระหนี้ได้
แต่จริงๆแล้ว กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานติดลบถึง 144.86 ล้านบาท ต้องอาศัยเงินกู้ยืมจำนวน 152.77 ล้านบาท
ในกิจกรรมการดำเนินงานจะมีรายการ เจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็ฯการกู้ยืมเงินระยะสั้นประเภทหนึ่งจากธนาคาร แทนที่บริษัทจะนำไปจัดไว้ในกิจกรรมการจัดหาเงิน
ที่นี้ถ้าใครดูแต่บรรทัดสุดท้ายของแต่ละกิจกรรมก็เป็นอย่างไรครับ
บริษัทจะมีเงินสดรับสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานสูงถึง 33.23 ล้านบาท และเงินสดจ่ายสุทธิจากกิจกรรมการจัดหาเงิน 24.67 ล้านบาท
ก็คงคิดว่าบริษัทดำเนินงานดี สามารถนำเงินไปชำระหนี้ได้
แต่จริงๆแล้ว กระแสเงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงานติดลบถึง 144.86 ล้านบาท ต้องอาศัยเงินกู้ยืมจำนวน 152.77 ล้านบาท
จงอยู่เหนือความดี อย่าหลงความดี
-
- สมาชิกกิตติมศักดิ์
- โพสต์: 11443
- ผู้ติดตาม: 0
ถามเรื่องการลงบัญชีอาคาร
โพสต์ที่ 17
เป็นหนี้สำหรับธุรกิจนำเข้าส่งออกนะครับ
คือเวลาที่เราจะสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เราก็ต้องเปิด L/C กับทางธนาคาร
พอเวลาสินค้าส่งมาถึง เราก็ไปรับสินค้า ก็ต้องชำระเงิน แต่ไม่มีเงิน ก็เลยติดเงินธนาคารที่เปิด L/C ไว้ก่อน เรียกว่าหนี้ทรัสต์รีซีท หรือ หนี้ T/R ครับ ปรกติก็จะมีระยะเวลาในการชำระตั้งแต่ 30 วัน ถึง 180 วัน ลูกหนี้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยครับ ถือว่าเป็นหนี้ระยะสั้นเป็นวงเงินครับ คล้ายกับวงเงินเบิกเกินบัญชี
ที่แย่กว่าก็คือ บางบริษัทก็รวมเจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท เข้ากับเจ้าหนี้การค้า ซึ่งผมว่าสองรายการนี้ไม่เหมือนกัน อย่างน้อยเจ้าหนี้ทรัสต์รีซีทก็ต้องเสียดอกเบี้ยนะครับ
คือเวลาที่เราจะสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เราก็ต้องเปิด L/C กับทางธนาคาร
พอเวลาสินค้าส่งมาถึง เราก็ไปรับสินค้า ก็ต้องชำระเงิน แต่ไม่มีเงิน ก็เลยติดเงินธนาคารที่เปิด L/C ไว้ก่อน เรียกว่าหนี้ทรัสต์รีซีท หรือ หนี้ T/R ครับ ปรกติก็จะมีระยะเวลาในการชำระตั้งแต่ 30 วัน ถึง 180 วัน ลูกหนี้ก็ต้องเสียดอกเบี้ยครับ ถือว่าเป็นหนี้ระยะสั้นเป็นวงเงินครับ คล้ายกับวงเงินเบิกเกินบัญชี
ที่แย่กว่าก็คือ บางบริษัทก็รวมเจ้าหนี้ทรัสต์รีซีท เข้ากับเจ้าหนี้การค้า ซึ่งผมว่าสองรายการนี้ไม่เหมือนกัน อย่างน้อยเจ้าหนี้ทรัสต์รีซีทก็ต้องเสียดอกเบี้ยนะครับ