จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
-
- Verified User
- โพสต์: 60
- ผู้ติดตาม: 0
จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
โพสต์ที่ 1
พอดีช่วงนี้หุ้นตกๆ และได้อ่านหนังสือดีเล่มหนึ่งกล่าวไว้ถึงจิตวิทยาการลงทุน ผมก็เลยเอามาใช้ทบทวนตัวเองอีกที เพื่อปรับปรุงการลงทุนของตัวเอง หวังว่าคงมีประโยชน์บ้างนะครับ
กล่าวกันว่านักลงทุนส่วนใหญ่มีอคติทางการรับรู้ ซึ่งส่งผลต่อการซื้อขายหุ้นของเรา ดังนี้
Loss aversion ผลของเรื่องนี้คือ คนให้ความสำคัญของการขาดทุนมากกว่ากำไรที่ได้ ในทางตัวเลขกำไร 10 บาท กับขาดทุน 10 บาทก็มีผลเท่ากัน แต่คนจะกลัวขาดทุน 10 บาทมากกว่ากลัวไม่ได้กำไร 10 บาท (แน่นอนบางคนอาจจะกลัวขาดทุนแค่ 5 บาท เมื่อเทียบกับโอกาสกำไร 15 บาท)
Sunk cost effect คือ ยึดติดกับเงินที่ลงทุนไปแล้ว มากกว่าเงินที่จะต้องเสียในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น หุ้นตัวนึงที่เราถือไว้ จู่ๆ กลับประกาศเพิ่มทุุน โดยเรามองว่าการเพิ่มทุนนั้นไม่สมเหตุสมผล จริงๆ เราควรจะขายทิ้ง แต่เนื่องจากเราถือหุ้นนั้นอยู่และราคาหุ้นนั้นได้ตกลงมาพอควรแล้วเพราะรับข่าวเพิ่มทุน ประกอบกับราคาเพิ่มทุนต่ำกว่ากระดานมาก เราจึงตัดสินใจที่จะใส่เงินเพิ่มตามไป ถ้าการเพิ่มทุนนั้น ไม่มีผลดีอย่างที่เราคิดจริงสุดท้ายเราก็ขาดทุนอยู่ดี
Disposition effect อันนี้เป็นความโน้มเอียงที่ผู้คนจะยอมขายหุ้นเมื่อมันยังมีกำไร แต่ยอมถือตัวที่ Loss ต่อไป
Outcome bias อันนี้ หมายถึงอคติที่เรามีแนวโน้มที่จะตัดสินอะไรจากผลที่ออกมามากกว่า คุณภาพการตัดสินใจ เช่น เราซื้อหุ้นสองตัว ตัวนึงเป็นหุ้นพื้นฐานดี ปันผลดี เราถือไว้กำไรไม่มาก หุ้นอีกตัวเป็นหุ้นพรายกระซิบ แต่ทำกำไรให้เรามหาศาล เพื่อรูปแบบนี้ดำเนินไปสักสองสามครั้ง เราก็มีแนวโน้มที่จะเริ่มไม่เชื่อการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แต่หันไปเล่นหุ้นพรายกระซิบแทน
Recency bias คือ คนเรามีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกิดขึ้นล่าสุด มากกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้า เช่น การขาดทุนที่เพิ่งเกิดวันนี้ ทำให้เราเจ็บปวดมากกว่าการขาดทุนที่เกิดขึ้นปีก่อน
Anchoring อันนี้สำคัญ เป็นแนวโน้มที่บอกว่าเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อในข้อมูลที่มีอยู่ให้เห็นตรงหน้า มากกว่าข้อมูลที่เราไม่เห็น ข้อนี้อาจทำให้เราประเมินภาพไปผิดมากมาย เพราะทำให้เราเชื่อมั่นเกินเหตุกับข้อมูลที่มีอยู่ (อาจจะแค่ 30% ก็ได้ แต่เราไม่รู้ว่ายังมีข้อมูลอีก 70% ที่อาจทำให้เราต้องไปคิดใหม่ทีเดียว)
Bandwagon effect เป็นแนวโน้มที่เราจะคล้อยตามคนหมู่มาก ซึ่งอาจจะไม่ต้องถูกเสมอไป
Belief in the law of small numbers อันนี้คือการที่ผู้คนใช้ข้อสรุปผิดๆ จากจำนวนตัวอย่างที่น้อยเกินกว่าที่จะมาทำข้อสรุปได้ เช่น ถ้าเราเจอผู้หญิง 7 คนจาก 10 คนที่ชอบช็อปปิ้ง คงง่ายไปที่จะสรุปว่าผู้หญิง 70% ชอบช็อปปิ้ง เพราะเมื่อสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น 1000 คน อาจพบว่ามีเพียง 500 คนที่ชอบช็อปปิ้งก็ได้
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการเอามาทบทวนแผนการลงทุนของทุกท่านไม่มากก็น้อยครับ
กล่าวกันว่านักลงทุนส่วนใหญ่มีอคติทางการรับรู้ ซึ่งส่งผลต่อการซื้อขายหุ้นของเรา ดังนี้
Loss aversion ผลของเรื่องนี้คือ คนให้ความสำคัญของการขาดทุนมากกว่ากำไรที่ได้ ในทางตัวเลขกำไร 10 บาท กับขาดทุน 10 บาทก็มีผลเท่ากัน แต่คนจะกลัวขาดทุน 10 บาทมากกว่ากลัวไม่ได้กำไร 10 บาท (แน่นอนบางคนอาจจะกลัวขาดทุนแค่ 5 บาท เมื่อเทียบกับโอกาสกำไร 15 บาท)
Sunk cost effect คือ ยึดติดกับเงินที่ลงทุนไปแล้ว มากกว่าเงินที่จะต้องเสียในอนาคต ยกตัวอย่างเช่น หุ้นตัวนึงที่เราถือไว้ จู่ๆ กลับประกาศเพิ่มทุุน โดยเรามองว่าการเพิ่มทุนนั้นไม่สมเหตุสมผล จริงๆ เราควรจะขายทิ้ง แต่เนื่องจากเราถือหุ้นนั้นอยู่และราคาหุ้นนั้นได้ตกลงมาพอควรแล้วเพราะรับข่าวเพิ่มทุน ประกอบกับราคาเพิ่มทุนต่ำกว่ากระดานมาก เราจึงตัดสินใจที่จะใส่เงินเพิ่มตามไป ถ้าการเพิ่มทุนนั้น ไม่มีผลดีอย่างที่เราคิดจริงสุดท้ายเราก็ขาดทุนอยู่ดี
Disposition effect อันนี้เป็นความโน้มเอียงที่ผู้คนจะยอมขายหุ้นเมื่อมันยังมีกำไร แต่ยอมถือตัวที่ Loss ต่อไป
Outcome bias อันนี้ หมายถึงอคติที่เรามีแนวโน้มที่จะตัดสินอะไรจากผลที่ออกมามากกว่า คุณภาพการตัดสินใจ เช่น เราซื้อหุ้นสองตัว ตัวนึงเป็นหุ้นพื้นฐานดี ปันผลดี เราถือไว้กำไรไม่มาก หุ้นอีกตัวเป็นหุ้นพรายกระซิบ แต่ทำกำไรให้เรามหาศาล เพื่อรูปแบบนี้ดำเนินไปสักสองสามครั้ง เราก็มีแนวโน้มที่จะเริ่มไม่เชื่อการวิเคราะห์ที่ถูกต้อง แต่หันไปเล่นหุ้นพรายกระซิบแทน
Recency bias คือ คนเรามีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องที่เกิดขึ้นล่าสุด มากกว่าเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนหน้า เช่น การขาดทุนที่เพิ่งเกิดวันนี้ ทำให้เราเจ็บปวดมากกว่าการขาดทุนที่เกิดขึ้นปีก่อน
Anchoring อันนี้สำคัญ เป็นแนวโน้มที่บอกว่าเรามีแนวโน้มที่จะเชื่อในข้อมูลที่มีอยู่ให้เห็นตรงหน้า มากกว่าข้อมูลที่เราไม่เห็น ข้อนี้อาจทำให้เราประเมินภาพไปผิดมากมาย เพราะทำให้เราเชื่อมั่นเกินเหตุกับข้อมูลที่มีอยู่ (อาจจะแค่ 30% ก็ได้ แต่เราไม่รู้ว่ายังมีข้อมูลอีก 70% ที่อาจทำให้เราต้องไปคิดใหม่ทีเดียว)
Bandwagon effect เป็นแนวโน้มที่เราจะคล้อยตามคนหมู่มาก ซึ่งอาจจะไม่ต้องถูกเสมอไป
Belief in the law of small numbers อันนี้คือการที่ผู้คนใช้ข้อสรุปผิดๆ จากจำนวนตัวอย่างที่น้อยเกินกว่าที่จะมาทำข้อสรุปได้ เช่น ถ้าเราเจอผู้หญิง 7 คนจาก 10 คนที่ชอบช็อปปิ้ง คงง่ายไปที่จะสรุปว่าผู้หญิง 70% ชอบช็อปปิ้ง เพราะเมื่อสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ เช่น 1000 คน อาจพบว่ามีเพียง 500 คนที่ชอบช็อปปิ้งก็ได้
หวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการเอามาทบทวนแผนการลงทุนของทุกท่านไม่มากก็น้อยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 315
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
โพสต์ที่ 4
ขอบคุณมากครับ
-----------------------------------------
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
เกิดเหตุอะไร อย่าตื่นใจ ไปตามเขา
ปัญญาเรา มีหน้าที่ พิพากษา
ต้องดูน้ำ ดูลม ระดมมา
พิจารณา เชิงชั้น หมั่นตริตรอง
-----------------------------------------
ท่านพุทธทาสภิกขุ
- awesomekid
- Verified User
- โพสต์: 94
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
โพสต์ที่ 5
ขอบคุณครับ ^^
====================================
เก็บเล็กผสมน้อยมาลงทุน เพื่ออนาคตอันเป็นอิสระ
====================================
เก็บเล็กผสมน้อยมาลงทุน เพื่ออนาคตอันเป็นอิสระ
====================================
-
- Verified User
- โพสต์: 950
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
โพสต์ที่ 6
ขุดกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะบอกว่า อ่านหนังสือและฟังเรื่องจิตวิทยาการลงทุนมาไม่น้อย
ล่าสุดเพิ่งเกิดกับตัวเอง ที่ถือหุ้นอยู่สองตัว ตัวหนึ่งวิ่งดีมาก อีกตัวไม่ยอมวิ่งนานมาก เลยขายตัววิ่งช้าไปซื้อตัววิ่งเร็ว
ผลคือ ตัววิ่งเร็วตก ไอ้เจ้าตัววิ่งช้าเป็นเต่ากลับกลายเป็นกระต่ายวิ่งหูดับ
นี่คือผลที่เขาว่า เวลาเราขับรถแล้ว เห็นเลนวิ่งเร็วกว่า ก็เลยเปลี่ยนเลน ปรากฏว่าพอเปลี่ยนเลนปุ๊บติดปั๊บ
ไอ้เจ้าเลนที่เพิ่งเปลี่ยนมากลับวิ่ง
ล่าสุดเพิ่งเกิดกับตัวเอง ที่ถือหุ้นอยู่สองตัว ตัวหนึ่งวิ่งดีมาก อีกตัวไม่ยอมวิ่งนานมาก เลยขายตัววิ่งช้าไปซื้อตัววิ่งเร็ว
ผลคือ ตัววิ่งเร็วตก ไอ้เจ้าตัววิ่งช้าเป็นเต่ากลับกลายเป็นกระต่ายวิ่งหูดับ
นี่คือผลที่เขาว่า เวลาเราขับรถแล้ว เห็นเลนวิ่งเร็วกว่า ก็เลยเปลี่ยนเลน ปรากฏว่าพอเปลี่ยนเลนปุ๊บติดปั๊บ
ไอ้เจ้าเลนที่เพิ่งเปลี่ยนมากลับวิ่ง
-
- Verified User
- โพสต์: 97
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
โพสต์ที่ 8
ขอบอกข้อมูลในมุมกลับบ้างnaphas12 เขียน:ขุดกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะบอกว่า อ่านหนังสือและฟังเรื่องจิตวิทยาการลงทุนมาไม่น้อย
ล่าสุดเพิ่งเกิดกับตัวเอง ที่ถือหุ้นอยู่สองตัว ตัวหนึ่งวิ่งดีมาก อีกตัวไม่ยอมวิ่งนานมาก เลยขายตัววิ่งช้าไปซื้อตัววิ่งเร็ว
ผลคือ ตัววิ่งเร็วตก ไอ้เจ้าตัววิ่งช้าเป็นเต่ากลับกลายเป็นกระต่ายวิ่งหูดับ
นี่คือผลที่เขาว่า เวลาเราขับรถแล้ว เห็นเลนวิ่งเร็วกว่า ก็เลยเปลี่ยนเลน ปรากฏว่าพอเปลี่ยนเลนปุ๊บติดปั๊บ
ไอ้เจ้าเลนที่เพิ่งเปลี่ยนมากลับวิ่ง
ผมถืออยู่ตัวนึง มันไม่ค่อยวิ่งเลย เมื่อเทียบกับตลาดกระทิง
แล้วผมเจอตัวที่วิเคราะห์แล้ว คิดว่าดีกว่า ตอนแรกคิดจะเปลี่ยนตัว
แต่ก็กลัวอย่างที่ว่า... ไม่กล้าเปลี่ยนม้ากลางศึก
สุดท้ายตัวที่ถืออยู่ขยับไปได้นิดหน่อย แต่ตัวที่เห็นว่าดีกว่า ก็ไปซะไกล
ต่อมา ก็เจออีกตัว ก็ยังไม่กล้าเปลี่ยน ..... เหตุการณ์เหมือนเดิม
............... เล่าให้ฟังขำๆ นะครับ
ตอนนี้เจออีกตัวแล้ว ก็ยังไม่กล้าเปลี่ยนอีก 5 5 5
-
- Verified User
- โพสต์: 10
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
โพสต์ที่ 9
กำลังสนใจแนวคิดจิตวิทยา การลงทุนอยู่พอดี
ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันครับ
ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 100
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
โพสต์ที่ 11
Loss aversion. เราแก้ไขโดยคำนึงถึง risk/reward ratio และเลือกหุ้นที่มีmos ในอัตราที่เรารับได้เทียบกับความเสี่ยง
Disposition effect. ใช้หลัก let profit run/cut loss
Outcome bias. เราจะไม่ซื้อหุ้นที่ไม่เข้าใจธุรกิจ ลงทุนใน circle of competency. ดังนั้นเราจะไม่ซื้อหุ้นพรายกระซิบแม้ผลตอบแทนจะดีกว่า
Anchoring เราจะทำchecklist การลงทุน ข้อมูลสำคัญๆ ต้องรู้ให้ครบก่อนซื้อหุ้น. และทำcross check
อีกที เช่นเช็คกับ ir. ไปดูกิจการจริง
Bandwagon effect. เหมือนoutcome bias ลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจ
Belief in the law of small numbers. อันนี้ยากเหมือนกัน. เช่นเราเห็นร้านสาขานึงขายดี แต่ที่เหลืออาจะไม่ดีก็ได้. จะไปสำรวจทุกสาขาก็ไม่ไหว อาจจะต้องใช้ข้อมูลหลายๆตัวประกอบกัน.
ส่วนอคติข้ออื่นคิดไม่ออกแล้ว ยังเป็นอยู่เหมือนกัน
มีอีกข้อคือไม่กล้าซื้อเพิ่มหุ้นที่ราคาขึ้นไปแล้ว. อันนี้ก้อปรับได้พอสมควร กล้าซื้อเฉลี่ยขาขึ้นแล้ว
Disposition effect. ใช้หลัก let profit run/cut loss
Outcome bias. เราจะไม่ซื้อหุ้นที่ไม่เข้าใจธุรกิจ ลงทุนใน circle of competency. ดังนั้นเราจะไม่ซื้อหุ้นพรายกระซิบแม้ผลตอบแทนจะดีกว่า
Anchoring เราจะทำchecklist การลงทุน ข้อมูลสำคัญๆ ต้องรู้ให้ครบก่อนซื้อหุ้น. และทำcross check
อีกที เช่นเช็คกับ ir. ไปดูกิจการจริง
Bandwagon effect. เหมือนoutcome bias ลงทุนในสิ่งที่เราเข้าใจ
Belief in the law of small numbers. อันนี้ยากเหมือนกัน. เช่นเราเห็นร้านสาขานึงขายดี แต่ที่เหลืออาจะไม่ดีก็ได้. จะไปสำรวจทุกสาขาก็ไม่ไหว อาจจะต้องใช้ข้อมูลหลายๆตัวประกอบกัน.
ส่วนอคติข้ออื่นคิดไม่ออกแล้ว ยังเป็นอยู่เหมือนกัน
มีอีกข้อคือไม่กล้าซื้อเพิ่มหุ้นที่ราคาขึ้นไปแล้ว. อันนี้ก้อปรับได้พอสมควร กล้าซื้อเฉลี่ยขาขึ้นแล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 1219
- ผู้ติดตาม: 0
Re: จิตวิทยาการลงทุน เอาไว้ทบทวนตัวเอง
โพสต์ที่ 12
555+Alpha1 เขียน:ขอบอกข้อมูลในมุมกลับบ้างnaphas12 เขียน:ขุดกระทู้นี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะบอกว่า อ่านหนังสือและฟังเรื่องจิตวิทยาการลงทุนมาไม่น้อย
ล่าสุดเพิ่งเกิดกับตัวเอง ที่ถือหุ้นอยู่สองตัว ตัวหนึ่งวิ่งดีมาก อีกตัวไม่ยอมวิ่งนานมาก เลยขายตัววิ่งช้าไปซื้อตัววิ่งเร็ว
ผลคือ ตัววิ่งเร็วตก ไอ้เจ้าตัววิ่งช้าเป็นเต่ากลับกลายเป็นกระต่ายวิ่งหูดับ
นี่คือผลที่เขาว่า เวลาเราขับรถแล้ว เห็นเลนวิ่งเร็วกว่า ก็เลยเปลี่ยนเลน ปรากฏว่าพอเปลี่ยนเลนปุ๊บติดปั๊บ
ไอ้เจ้าเลนที่เพิ่งเปลี่ยนมากลับวิ่ง
ผมถืออยู่ตัวนึง มันไม่ค่อยวิ่งเลย เมื่อเทียบกับตลาดกระทิง
แล้วผมเจอตัวที่วิเคราะห์แล้ว คิดว่าดีกว่า ตอนแรกคิดจะเปลี่ยนตัว
แต่ก็กลัวอย่างที่ว่า... ไม่กล้าเปลี่ยนม้ากลางศึก
สุดท้ายตัวที่ถืออยู่ขยับไปได้นิดหน่อย แต่ตัวที่เห็นว่าดีกว่า ก็ไปซะไกล
ต่อมา ก็เจออีกตัว ก็ยังไม่กล้าเปลี่ยน ..... เหตุการณ์เหมือนเดิม
............... เล่าให้ฟังขำๆ นะครับ
ตอนนี้เจออีกตัวแล้ว ก็ยังไม่กล้าเปลี่ยนอีก 5 5 5
ฮาดีครับ แถมแฝงสาระไว้ด้วย...
ว่าแต่ตอนนี้เจอตัวไหนครับ บอกผม
เดี๋ยวผมซื้อแทนให้จะได้ไม่เสียของ ฮ่า...
ซื้อหุ้นตัวที่เมื่อมองไปในอนาคตแล้ว ที่ปัจจุบันราคายัง undervalue ที่สุด