ถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

โพสต์ โพสต์
chomchon
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

ถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

เรียน พี่ๆ น้องๆ ผู้รู้ทั้งหลาย ผมมือใหม่ครับ

อยากถามดังนี้ การคำนวณราคาที่เหมาะสม (intrinsic valuae) โดยวิธี DDM นำไปใช้จริงอย่างไร

p = D1/(1+K1)^1 + D2/(1+K2)^2 + D3/(1+K3)^3 + ........ + Dn/(1+Kn)^n

p = มูลค่าที่แท้จริง
D1.....Dn = เงินปันผลในปีที่ 1......n
K1....Kn = อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ

การจะทดลองใส่ค่า n หรือ จำนวนปี ที่ต้องการคิดมาจากอะไร ใช่จำนวนปีที่คิดว่าจะลงทุนในหุ้นตัวนั้นหรือไม่ครับ

ผมลงคำนวณเล่นๆ

อัตราผลตอบแทนที่ต้องการ 10% ทุกปี
0.10
ปีที่ ปันผลต่อปี (บาท) ปันผลที่เทียบเป็น PV
1 1 0.909090909
2 1 0.826446281
3 1 0.751314801
4 1 0.683013455
5 1 0.620921323
6 1 0.56447393
7 1 0.513158118
8 1 0.46650738
9 1 0.424097618
10 1 0.385543289
11 1 0.350493899
12 1 0.318630818
13 1 0.28966438
14 1 0.263331254
15 1 0.239392049
16 1 0.217629136
17 1 0.197844669
18 1 0.17985879
19 1 0.163507991
20 1 0.148643628

ราคาที่เหมาะสมปีแรก 8.364920092

และพอไปเปรียบเทียบว่า ราคาหุ้น 8.36 ให้ปันผล 1 บาท คิดเป็น 11.95% ผมก็ไปหาเฟ้นหุ้นปันผล 12%
พบว่าแทบไม่มีหุ้นแบบนี้ หรือมีก็ไม่น่าไว้ใจ
นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยง เรื่องของปันผลไม่เป็นไปตามที่สมมติไว้ทุกปีปีละ 1 บาท
ไอ้ที่วิเคราะห์ยังเป็นสมสมติฐาน 20 ปี อีก

สรุปแล้ว พี่ๆ น้อง ๆ ใช้แนวทางนี้ในการคำนวณหามูลค่าที่เหมาะสมอย่างไรครับ
ขอบคุณครับ
plasmid
Verified User
โพสต์: 94
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

ไม่ชัวร์นะครับ

แต่สูตรข้างบนไม่ได้เอา growth มาคิดครับ เพราะ d1 ก็ไม่ควรเท่ากับ d2 อย่างน้อยๆ d ควรโตซัก 3% (ตามเงินเฟ้อ) ถ้าหุ้นที่โตตามเงินเฟ้อใช้ p = d / (k-g) น่าจะดีกว่า

แต่ส่วนใหญ่ผมจะใช้แบบมันโตเป็นสองช่วง ช่วงแรก g>เงินเฟ้อ จนถึงจุดอิ่มตัวแล้วค่อยบวกกับสูตร p = d / (k-g) (ที่คิดกลับเป็นเงินปัจจุบันครับ)

ถ้าอ่านข้างบนแล้วงง ลองหาหนังสือประเมินมูลค่าหุ้นของคุณสุมาอี้มาอ่านครับ เพราะผมพิมพ์เองก็งงเอง :x
plasmid
Verified User
โพสต์: 94
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

อ้อ n ถ้าระยาวมากๆสูตรด้านบนก็น่าจะให้ค่าใกล้เคียงกับ d/(k-g) เหมือนกันมั้งครับ
chomchon
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

plasmid เขียน:ไม่ชัวร์นะครับ

แต่สูตรข้างบนไม่ได้เอา growth มาคิดครับ เพราะ d1 ก็ไม่ควรเท่ากับ d2 อย่างน้อยๆ d ควรโตซัก 3% (ตามเงินเฟ้อ) ถ้าหุ้นที่โตตามเงินเฟ้อใช้ p = d / (k-g) น่าจะดีกว่า

แต่ส่วนใหญ่ผมจะใช้แบบมันโตเป็นสองช่วง ช่วงแรก g>เงินเฟ้อ จนถึงจุดอิ่มตัวแล้วค่อยบวกกับสูตร p = d / (k-g) (ที่คิดกลับเป็นเงินปัจจุบันครับ)

ถ้าอ่านข้างบนแล้วงง ลองหาหนังสือประเมินมูลค่าหุ้นของคุณสุมาอี้มาอ่านครับ เพราะผมพิมพ์เองก็งงเอง :x
ขอบคุณครับ ถ้าตามสูตรพอเข้าใจ
แต่ที่ไม่เข้าใจ คือ วิธีนี้มันเอาไปใช้จริงในการหาหุ้นได้อย่างไรครับ :wall:

ขอบคุณอีกทีที่มาช่วยอธิบายนะครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
นพพร
Verified User
โพสต์: 1039
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

ให้อัตราเติบโตของตัวปันผลไปด้วยครับ อย่านิ่งอยู่ค่าๆเดียว เพราะมันขึ้นอยู่กับสมมติฐาน
แบ่งการคำนวณเป็นสองช่วง ไปดูการเติบโตของปันผลในอดีตว่าประมาณปีละกี่เปอร์เซนต์ จากนั้นมาดูแนวโน้มที่จะให้ปันผลต่อไปได้ในปัจจุบันครับ เช่น สมมติให้ปันผลโตปีละ 4% ในช่วงห้าปีแรก จากนั้นให้โตปีละ 2.5% พอแล้วก็แบ่งการคำนวณออกเป็นสองช่วง
ช่วงแรกคำนวณคิดลดปันผลแต่ละปี จากสูตร D/(1+r)^n ;. r คือตัวที่เราจะคิดลด เห็นเผื่อไว้ที่ 10%
ช่วงสองคำนวณรวมไปจนถึงอนันต์ให้ใช้สูตร D/(r-g) r คือตัวที่เราจะคิดลด ส่วน g เป็นอัตราเติบโตที่เราบอกไปว่า 2.5% ตลอดชีพ

จากนั้นดูตามรูป
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ก้าวแรกที่เล็กๆ แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต
chomchon
Verified User
โพสต์: 10
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

นพพร เขียน:ให้อัตราเติบโตของตัวปันผลไปด้วยครับ อย่านิ่งอยู่ค่าๆเดียว เพราะมันขึ้นอยู่กับสมมติฐาน
แบ่งการคำนวณเป็นสองช่วง ไปดูการเติบโตของปันผลในอดีตว่าประมาณปีละกี่เปอร์เซนต์ จากนั้นมาดูแนวโน้มที่จะให้ปันผลต่อไปได้ในปัจจุบันครับ เช่น สมมติให้ปันผลโตปีละ 4% ในช่วงห้าปีแรก จากนั้นให้โตปีละ 2.5% พอแล้วก็แบ่งการคำนวณออกเป็นสองช่วง
ช่วงแรกคำนวณคิดลดปันผลแต่ละปี จากสูตร D/(1+r)^n ;. r คือตัวที่เราจะคิดลด เห็นเผื่อไว้ที่ 10%
ช่วงสองคำนวณรวมไปจนถึงอนันต์ให้ใช้สูตร D/(r-g) r คือตัวที่เราจะคิดลด ส่วน g เป็นอัตราเติบโตที่เราบอกไปว่า 2.5% ตลอดชีพ

จากนั้นดูตามรูป
ขอบคุณครับ เห็นภาพครับ
ปล ชอบ รูป avatar อะคับ มีความหมายมั้ยครับ 55
ภาพประจำตัวสมาชิก
นพพร
Verified User
โพสต์: 1039
ผู้ติดตาม: 0

Re: ถามเพื่อทดสอบความเข้าใจ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

จริงๆ เอาไปประยุกต์คำนวณคิดลดกระแสเงินสดที่จะกลับมาเข้าตัวบริษัทจะดีกว่า ลองหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมดูครับ พอได้เงินปัจจุบันที่เป็นเสมือนเงินสดทั้งหมดที่บริษัทจะทำได้ให้เราเอามาหารจำนวนหุ้นของบริษัท เราจะได้ราคาหุ้นคร่าวๆ ตามอัตราคิดลดที่เรากำหนดเผื่อไว้ครับ

ปล. เห็นรูปแล้วรู้สึกถึงความเป็นแรด เลยจัดมาเป็น avatar ซะเลย 55
ก้าวแรกที่เล็กๆ แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ของชีวิต
โพสต์โพสต์